[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ => ข้อความที่เริ่มโดย: พัดลมเพดานหมุนติ้ว ที่ 17 เมษายน 2557 16:14:16



หัวข้อ: “ไอซอน” ดาวหางแห่งศตวรรษกลางหมู่มวลกาแล็กซี
เริ่มหัวข้อโดย: พัดลมเพดานหมุนติ้ว ที่ 17 เมษายน 2557 16:14:16
“ไอซอน” ดาวหางแห่งศตวรรษกลางหมู่มวลกาแล็กซี

(http://webboard.sanook.com/forum/?Old_Topic=1&action=dlattach;topic=3754688.0;attach=1250555;image)

       กล้องฮับเบิลบันทึกภาพอันแสนงดงามของ “ดาวหางไอซอน” ท่ามกลางดวงดาวและกาแล็กซี ซึ่งจะเข้าสู่ด้านในของระบบสุริยะ และคาดว่าคนบนโลกจะเห็นได้ด้วยตาเปล่าในช่วงปลาย พ.ย.56นี้ ด้วยความสว่างราวกับดวงจันทร์เลยทีเดียว
       
       กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) บันทึกภาพดาวหางไอซอน (ISON) ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย.2013 ที่ผ่านมา และหลังจากประมวลภาพเข้าด้วยกัน 5 ภาพก็เผยให้ภาพดาวหางท่ามกลางดวงดาวที่สว่างเจิดจ้าและกาแล็กซีที่อยู่แสนไกล
       
       จากรายงานของสเปซด็อทคอมซึ่งอ้างคำอะบายของนักวิจัยในโครงการฮับเบิลระบุว่า ภาพดังกล่าวบันทึกด้วยกล้อง 5 ตัวที่บันทึกย่านแสงที่ต่างกัน 3 ตัวแรกเป็นกล้องที่กรองแสงสีเหลืองและเขียว ทำให้ได้ภาพในย่านแสงสีน้ำเงิน ส่วนอีก 2 ตัวเป็นกล้องที่บันทึกแสงสีแดงและรังสีอินฟราเรด
       
       จอช โซกอล (Josh Sokol) จากสถาบันวิทยาการกล้องโทรทรรศน์อวกาศ (Space Telescope Science Institute) ในบัลติมอร์ แมรีแลนด์ ซึ่งควบคุมการทำงานของฮับเบิล ให้ความเห็นว่า โดยทั่วไปสีแดงยิ่งเข้มหมายถึงสิ่งนั้นยิ่งเก่าแก่มาก มีวิวัฒนาการมามากกว่าสิ่งที่เป็นสีน้ำเงิน
       
       ดาวหางไอซอนจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 28 พ.ย.นี้ ด้วยระยะห่างจากผิวดวงอาทิตย์เพียง 1.16 ล้านกิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะทำให้ดาวหางดวงนี้ส่องสว่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว โดยนักวิทยาศาสตร์คาดว่าอาจจะสว่างราวกับพระจันทร์เต็มดวงเลยทีเดียว กระนั้นเราก็ไม่อาจคาดหวังอะไรมากกับดาวหางดวงนี้ เพราะดาวหางทั้งหลายมีชื่อเสียงแง่ลบว่ายากต่อการคาดการณ์ และพฤติกรรมของดาวหางไอซอนก็อาจจะมีลูกเล่นให้ยากจะพยากรณ์



นักสังเกตปรากฏการณ์ฟ้าและนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกต่างจดจ้องการเดินของดาวหางดวงนี้ ที่ถูกขนานนามว่า “ดาวหางแห่งศตวรรษ” โดยคลิปวิดีโอจากศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ด (Goddard Space Flight Center) ของนาซาอธิบายว่า ดาวหางล้วนโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่มีดาวหางประเภทที่เรียกว่า ดาวหางเฉียดดวงอาทิตย์ (sun grazing comet) นั้นจะเฉียดใกล้ดวงอาทิตย์มาก และมีระยะจุดปลายวงโคจร (perihelion) ไม่เกิน 1.37 ล้านกิโลเมตร บางดวงก็ใกล้จนพุ่งชนพื้นผิวดาว ซึ่งไอซอนก็จัดอยู่ในประเภทนี้
       
       ไอซอนถูกค้นพบเมื่อเดือน ก.ย.2012 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเข้ามาชั้นในของระบบสุริยะครั้งนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งมีถิ่งกำเนิดแถบเมฆออร์ต (Oort Cloud) ที่ระบบสุริยะชั้นนอกเช่นเดียวกับดาวหางอื่น และเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์แล้วไอซอนจะถูกโมเมนตัมเหวี่ยงออกจากระบบสุริยะชั้นในแล้วไม่กลับมาอีกเลย
       
       ดาวหางไม่ต่างจากดาวเคราะห์ที่เกิดขึ้นจากองค์ประกอบเดียวกันระหว่างช่วงก่อกำเนิดเมื่อ 4.5 พันล้านปีก่อน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดหวังว่าการศึกษาองค์ประกอบของดาวหางไอซอนที่เดือดจากการเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ได้อย่างใกล้ๆ นั้น จะเผยให้เห็นอดีตของระบบสุริยะเมื่อแรกเริ่ม


เครดิต  โพสจัง