[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:16:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การจัดดอกไม้ คืออะไร?  (อ่าน 821 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 122.0.0.0 Chrome 122.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 16 มีนาคม 2567 15:41:53 »



ภาพระบายสีน้ำ

การจัดดอกไม้

การจัดดอกไม้ เป็นการสร้างผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ของผู้จัดดอกไม้และวัสดุต่างๆ
ให้ออกมาดูสวยงาม ท้าให้ผู้ดูเกิดความประทับใจ เข้าใจในความคิดของผู้จัด และมองดูไม่
ขัดตา โดยนำมาจัดให้อยู่ในองค์ประกอบทางศิลปะ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กันและทำให้เกิด
มุมมองที่สวยงาม
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 มีนาคม 2567 14:06:20 »


ภาพระบายสีน้ำ

ลักษณะของดอกไม้

ดอกไม้ที่เราเลือกซื้อมาใช้นั้นจะมีให้เลือกมากมายหลายชนิด หลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับนักจัดดอกไม้จะแบ่งลักษณะดอกไม้ออกเป็น ๔ รูปแบบด้วยกัน ได้แก่

๑. Line Flowers คือ ดอกไม้ ใบไม้ที่มีลักษณะเป็นแนว หรือเป็นเส้น ซึ่งดอกไม้ ใบไม้ เหล่านี้จะเป็นดอกใบ หรือกลุ่มช่อดอกที่เรียงขึ้นไปตามความยาวของก้านดอก เช่น กลาดิโอลัส กกธูป ซ่อนกลิ่น ลีอาทรีส เดฟีเนี่ยม แบกราส สติลกราส เป็นต้น   ด้วยลักษณะของความเป็นเส้นที่เด่นชัดของ Line Flowers นี้เอง จึงมักถูกน้ามาจัดวางให้เป็นตัวก้าหนดโครงร่างของรูปทรงการจัดดอกไม้ในภาชนะต่างๆ โดยเฉพาะก้าหนดความสูงและความกว้างของรูปทรง นอกจากนี้ยังมีเส้นที่เด่นชัดมากๆ สามารถที่จะน้ามาปักให้เป็นตัวน้าสายตาได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

๒. Form Flowers คือ ดอกไม้ ใบไม้ที่มีรูปทรงที่เด่นชัดมีกลีบไม่มาก ไม่มีความซับซ้อนในรูปทรงมากจนเกินไป เช่น ดอกหน้าวัว ดอกลิลลี่ ดอกแคทรียา ใบไม้ตระกูลพิโลเดนดรอน เป็นต้น  ลักษณะที่เด่นชัดของรูปทรงของดอกไม้ ใบไม้ ประเภทนี้จึงมักถูกน้ามาปักให้เป็นจุดเด่นหรือ Focal Point ในการจัดดอกไม้ลงในภาชนะ

๓. Mass Flowers คือ ดอกไม้เดี่ยวที่มีกลีบซ้อนมากๆ และจะมองดูมีน้้าหนัก เช่น เยอร์บีร่า คาร์เนชั่น กุหลาบ เป็นต้น ดอกไม้ประเภทนี้จะมีมากในท้องตลาด เป็นดอกไม้ที่ท้าหน้าที่ในการเติมเต็มให้กับการจัดดอกไม้สามารถสร้างความสมดุลและความแตกต่างในชิ้นงานแต่ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างให้เกิดความกลมกลืนให้กับชิ้นงานที่จัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย  นอกจากนี้ในบางโอกาสที่เราไม่สามารถจัดหาดอกไม้ประเภท Form Flowers มาใช้ได้นั้น เราสามารถ Mass Flowers มาใช้แทนได้โดยการจับรวมกลุ่มในลักษณะของ Clustering ซึ่งหมายถึงการรวมกลุ่มของสิ่งเล็กๆ ให้เกิดพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นท้าให้เกิดความเด่นชัดในตัวเองมากขึ้น

๔. Filler Flowers คือ ดอกไม้ ใบไม้ ที่ใช้แต่งเติม หรือเสริมแซมเข้าไปในแจกันที่เราจัดขึ้นมาเพื่อให้เกิดความนุ่มนวลของสีและผิวสัมผัส ดอกไม้ ใบไม้ ประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นดอกเล็กๆ ฝอยๆ เช่น ยิปโซฟิลล่า สร้อยทอง แคสเปียร์ เล็บครุฑผักชี หลิวทอง ใบโปร่งฟ้า ปริกแคระ แว็กซ์ เป็นต้น เนื่องจากลักษณะของดอกไม้ ใบไม้ประเภทนี้จะมีลักษณะเล็กๆ เมื่อใช้ปริมาณมากจนเกินไปจะท้าให้เกิดความรกรุงรัง เราสามารถที่จะน้าดอกไม้ใบไม้ประเภทนี้มาปักให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันก็จะสามารถเพิ่มความเด่นชัดและลดความรุงรังได้เป็นอย่างดี

ปัญหาของนักจัดดอกไม้ที่มักพบกันอยู่เสมอคือ ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะน้าดอกไม้ประเภทใดมาใช้ในการจัดแจกันสักหนึ่งแจกัน บางท่านอาจเคยได้ยินค้าว่า “นักจัดดอกไม้ที่ดี มีอะไรก็ต้องจัดได้” แต่ถ้านักจัดดอกไม้ที่ดีมีโอกาสที่จะเลือกดอกไม้ที่จะน้ามาใช้จัด ควรเลือกดอกไม้ให้ครบทั้งสี่ประเภท มาใช้ในการจัดแจกันหนึ่งแจกัน ซึ่งจะท้าให้สามารถจัดดอกไม้ได้อย่างลงตัวง่ายขึ้น



ขอขอบคุณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฎเพชรบูรณ์ (ที่มาข้อมูล)
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 01 เมษายน 2567 18:17:10 »


ภาพวาดระบายสีน้ำ

หลักการจัดดอกไม้เบื้องต้น

การเลือกซื้อดอกไม้สด
ดอกไม้ที่เราได้ซื้อมาใช้กันนั้นจะตัดจากต้นไม้ในเวลาเช้า และนำมาแช่น้้าให้อิ่มตัว บางชนิดจะต้องเพิ่มความยืดหยุ่นขณะขนส่ง โดยการทำให้ลดลง หลังจากนั้นนำมามัดรวมกันเป็นกำหุ้มด้วยกระดาษหรือพลาสติก และสุดท้ายคือการนำจัดส่งตลาดเพื่อกระจายสู่ร้านค้าย่อยต่อไป  จะเห็นได้ว่ากว่าดอกไม้จะมาถึงมือของผู้จัดจริงๆ นั้น จะผ่านมาหลายขั้นตอน จึงมักจะเกิดความบอบช้ำ ฉะนั้นเราจำเป็นต้องท้าความเข้าใจถึงสภาพดอกไม้ว่าถ้าเราต้องการซื้อดอกไม้เราจะต้องสังเกตจากอะไรบ้าง

       ๑. ก้าน จะต้องไม่เน่า โดยก้านจะต้องไม่ผ่านการแช่น้ำมาเป็นเวลานานจนกระทั่งมีกลิ่นเหม็น
       ๒. ใบ จะต้องไม่เหี่ยวช้ำและเน่า จะต้องมีความแข็งแรงตามสภาพของใบไม้ชนิดนั้นๆ
       ๓. กระเปาะดอก จะต้องไม่ลีบและแห้ง เมื่อใช้มือบีบดูจะรู้สึกว่ากระเปาะจะแข็ง
       ๔. กลีบดอก จะต้องไม่ช้ำ ไม่เหี่ยว และเน่า โดยทั่วไปดอกไม้ที่เราจะเลือกซื้อนั้นจะต้องเลือกที่ความสดให้มากที่สุด ฉะนั้นจะต้องมีความรู้และความเข้าใจในสภาพของดอกไม้แต่ละชนิด ซึ่งย่อมจะต้องมีความแตกต่างกันออกไปนอกจากนั้นควรดูเหตุผลอื่นๆ มาใช้เป็นองค์ประกอบในการเลือกซื้อด้วย เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ แหล่งเพาะปลูก และความเหมาะสมกับสภาพการใช้งาน เป็นต้น


การดูแลรักษาดอกไม้สด
ปัจจุบันดอกไม้เป็นสิ่งส้าคัญต่อการจัดงานต่างๆ เป็นอย่างมาก ฉะนั้นเราควรมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลดอกไม้ให้มีความสดและสมบูรณ์มากที่สุดก่อนที่เราจะนำเอามาใช้จัดตกแต่งให้สวยงามต่อไป

๑. Cleaning คือ การดูแลก่อนการแช่น้้า จะต้องทำความสะอาดก้านบริเวณช่วงล่างที่ต้องแช่ลงในถังน้ำโดยการปลิดใบช่วงล่างของช่อออกให้หมด ซึ่งใบไม้เหล่านี้เมื่ออัดกันแน่นๆ จะท้าให้เกิดก๊าชเอทธิลีนที่มีผลท้าให้ก้านดอกไม้และน้ำที่แช่ดอกไม้เกิดการเน่าเสียได้ง่าย

๒. Cutting under water คือ การตัดก้านดอกไม้ด้วยมีดคมๆ ใต้น้ำ น้าไปแช่ในถังน้ำที่จัดเตรียมไว้ ส่วนน้ำที่จะใช้แช่ดอกไม้จะมีปริมาณและลักษณะที่แตกต่างกันไป ดังนี้

       ๒.๑ ถ้าต้องการให้บานเร็ว ให้แช่ในน้ำอุ่น และมีปริมาณน้ำมาก เช่น ดอกลิลลี่ ดอกกุหลาบ ดอกยิปโซฟิลล่า เป็นต้น
       ๒.๒ ถ้าต้องการให้บานช้า ให้แช่ในน้่ำธรรมดาและมีประมาณน้ำน้อย
       ๒.๓ ถ้าต้องการให้บานอย่างสมบูรณ์ และมีก้านที่แข็งแรงมากๆ ควรแช่ในน้้ำอุ่นที่ผสมอาหารดอกไม้ในปริมาณ ๐.๕ ช้อนชา ต่อน้ำ ๕ ลิตร

๓. Conditioning out of refrigeration คือ เมื่อเราแช่ดอกไม้ในถังน้ำเรียบร้อยแล้ว ควรนำถังดอกไม้วางไว้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิปกติประมาณ ๑ – ๓ ชั่วโมงเพื่อให้ดอกไม้มีการปรับสภาพตัวเองเสียก่อน จากนั้นจึงนำเอาไปแช่ในตู้ส้าหรับแช่ดอกไม้


การฟื้นตัวของดอกไม้
ดอกไม้หรือใบไม้ที่จัดส่งมาตามร้านค้าต่างๆ ที่จะนำไปใช้ในงานต่อไป ต้องผ่านการบรรจุหีบห่อ ที่มักจะขาดน้ำ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการขนส่ง เมื่อต้องการจะใช้งานจะต้องช่วยให้ดอกไม้ฟื้นตัวเร็ว และมีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ต่อไป

๑. กล้วยไม้ช่อชนิดต่างๆ จะต้องตัดก้านและนำไปแช่ลงในน้ำทั้งช่อประมาณ ๑๐ – ๑๕ นาที หลังจากนั้นให้นำขึ้นไปแช่ในน้ำปกติ แต่ถ้าดอกของกล้วยไม้แช่อยู่ในน้ำนานจนเกินไป จะทำให้กลีบดอกมีสภาพช้ำน้ำ ซึ่งจะลดปริมาณความคงทนลงมาก

๒. ดอกบัว ในสมัยก่อนมีการช่วยให้ดอกบัวฟื้นตัวเร็วด้วยกรรมวิธีต่างๆ มากมายหลายวิธีด้วยกัน แต่ในปัจจุบันปริมาณการใช้ดอกบัวมีเพิ่มมากขึ้น แต่ดอกบัวเป็นดอกไม้ที่ค่อนข้างเหี่ยวเร็ว และจะดูดน้ำขึ้นไปเลี้ยงดอกได้ค่อนข้างช้า ฉะนั้นเมื่อซื้อดอกบัวมาแล้วให้ตัดก้านแช่ในน้ำเย็นหรือน้ำที่ผสมน้ำแข็ง แต่จะต้องใช้น้ำปริมาณมากๆ หลังจากนั้นให้ใช้พลาสติกคลุมดอกบัวไว้ให้มิดชิด เพื่อป้องกันลมที่จะมากระทบดอกท้าให้เกิดการดำเร็วกว่าปกติ บางท่านอาจใช้ผ้าคลุมดอกบัวแทนพลาสติก แต่การคลุมด้วยผ้ามีผลท้าให้ความชื่นจากดอกบัว และจากน้ำที่แช่ดอกบัวระเหยไปอย่างรวดเร็ว ท้าให้ดอกบัวไม่เกิดความสดชื่นเท่าที่ควร เราควรแช่ดอกบัวให้อิ่มน้ำ โดยใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงจึงจะนำดอกบัวไปพับในแบบต่างๆ แต่ถ้าดอกบัวยังไม่อิ่มน้ำแล้วน้าไปพับ จะท้าให้กลีบดอกบัวดำเร็วกว่าปกติ และเมื่อพับแล้วให้นำดอกบัวไปจุ่มในน้ำที่ผสมสารส้ม แล้วจึงน้ามาจัดลงในภาชนะได้ น้ำสารส้มจะช่วยล้างยางที่เกิดจากการพับกลีบดอกบัว ทำให้ดอกบัวดำช้ากว่าปกติ เมื่อจัดดอกบัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่นำไปใช้งาน ให้ใช้พลาสติกคลุมกันลม และเก็บความชื้นของดอกบัวทำให้มีความสดชื่น

๓. ดอกคริสชานติมัม หรือที่คนไทยมักนิยมเรียกว่า “มัม” เมื่อเปิดห่อออกให้ปลิดใบช่วงล่างออก แต่เนื่องจากดอกไม้ชนิดนี้จะมีใบที่เหี่ยวเร็วมากถ้าต้องการให้ดอกไม้ชนิดนี้อยู่ได้ทน จะต้องปลิดใบออกให้หมดทั้งช่อ หลังจากนั้นให้ตัดก้านด้วยมีดคมๆ แต่คริสซานติมัมเป็นดอกไม้ที่จัดอยู่ในประเภทก้านแข็ง จึงทำให้ดูดน้ำได้ยาก จะต้องทุบปลายก้านให้แตกเล็กน้อย ล้างบริเวณที่ทุบให้สะอาด หลังจากนั้นให้เอาน้ำเทราดหรือพรมทั้งช่อ และนำไปแช่ในถังน้ำที่มีประมาณน้ำไม่มากนัก เพราะถ้าน้ำมากจะท้าให้ก้านเน่าเร็ว  ควรใช้น้ำปริมาณน้อย แต่ตัดก้านเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ จะท้าให้ดอกคริสซานติมัมสามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด

๔. ดอกกุหลาบ เป็นดอกไม้ที่ต้องการน้ำปริมาณมากกว่าดอกไม้ชนิดอื่นๆ จะต้องปลิดใบและหนามบริเวณช่วงล่างของก้านออก เอาน้ำราดบริเวณใบ ส่วนบริเวณดอกไม่ควรราดหรือพรมน้ำ เพราะน้ำจะท้าให้ดอกกุหลาบบานเร็วกว่าปกติ และที่ส้าคัญคนไทยไม่ค่อยนิยมดอกกุหลาบที่บาน หลังจากนั้นให้ตัดก้านในน้ำด้วยมีดคมๆ น้าไปแช่ลงในถังน้ำที่ผสมอาหารดอกไม้ไว้เรียบร้อยแล้ว

๖. ดอกยิปโซฟิลล่า เป็นดอกไม้จำพวกไม้เล็กๆ ฝอยๆ เมื่อซื้อมาให้กระจายช่อออกมาจากกัน โดยการคว่ำช่อลง ค่อยๆ จับช่อเขย่าให้แยกจากกัน ปลิดใบออกให้หมด จับมารวมช่อกันใหม่อีกครั้ง ห่อด้วยกระดาษ หรือพลาสติก ตัดก้านและแช่ในน้ำอุ่น เพื่อช่วยให้ดอกยิปโซฟิลล่าบานได้อย่างสมบูรณ์ ข้อส้าคัญที่ควรรู้คือห้ามนำดอกยิปโซฟิลล่าไปแช่รวมกับดอกไม้ตระกูลคริสซานติมัม เพราะคริสซานติมัมจะมีสารไซยาไนที่มีผลท้าให้ดอกยิปโซฟิลล่าแห้งเร็วกว่าปกติ นอกจากนั้นจะต้องไม่ฉีดน้ำที่บริเวณดอก เพราะดอกยิปโซฟิลล่าจะดูดนำไว้ ท้าให้ดอกช้ำน้ำและจะดำเร็วกว่าปกติ


800-28

ขอขอบคุณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฎเพชรบูรณ์ (ที่มาข้อมูล)
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 14 พฤษภาคม 2567 19:26:46 »


ภาพระบายสีน้ำ

การเตรียมการจัดดอกไม้และการดูแลหลังการจัดดอกไม้
       ๑. การแช่ Floral Foam ให้นำน้ำใส่ภาชนะปากกว้างปริมาณมากๆ วางก้อน Floral Foam ลงบนน้ำให้น้ำค่อยๆ ซึมผ่านขึ้นมา ห้ามกดให้จมน้ำหรือห้ามนำน้ำมาราดบนก้าน Floral Foam เด็ดขาด เพราะน้ำจะไปอุดตันช่องระบายอากาศ ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปข้างในได้ยาก การแช่ Floral Foam ควรแช่อย่างน้อย ๒ ชั่วโมง เพื่อให้ดูดซึมน้ำได้อย่างเต็มที่ และเพื่อให้เกลือที่ผสมอยู่ไหลออกมา หรือทางที่ดีควรแช่ค้างคืนไว้ก็ได้ เกลือที่ผสมอยู่ในก้อน Floral Foam จะมีลักษณะเป็นน้ำมีสีน้ำตาลแดงมีผลทำให้ก้านดอกไม้เน่าเร็ว และทำให้น้ำที่แช่ Floral Foam มีกลิ่นเหม็นเร็วขึ้น
        ๒. การบรรจุ Floral Foam ลงในภาชนะ ถ้าเป็นภาชนะประเภทตะกร้าควรมีการรองรับน้ำให้เรียบร้อย แต่ไม่ว่าภาชนะจะเป็นตะกร้าหรือแจกันก็ตาม จะต้องเปิดช่องไว้สำหรับเติมน้ำและจะต้องบรรจุให้สูงกว่าปากภาชนะประมาณ ๒ – ๓ เซนติเมตร หรือถ้าต้องการปักดอกไม้ปริมาณมากๆ ให้บรรจุให้สูงกว่าที่กำหนดก็ได้ นอกจากนั้นควรปาดเหลี่ยม Floral Foam บริเวณปากภาชนะออก เพื่อเปิดพื้นที่ในการปักให้มากขึ้น และเพื่อเพิ่มความสะดวกในการปิดฐานของการจัดได้ง่ายขึ้น การบรรจุ Floral Foam ถ้าต้องการให้มีความปลอดภัยต่อการแตกกระจายในขณะจัดและปลอดภัยต่อการเคลื่อนย้าย ควรหุ้มด้วยลวดตาข่ายให้แน่นหนา เมื่อบรรจุเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรเปิดน้ำใส่ให้เต็มและเทน้ำทิ้ง เพื่อเป็นการล้างเกลือและเศษของ Floral Foam เติมน้ำลงไปใหม่ เป็นอันพร้อมที่จะจัดดอกไม้ได้
        ๓. การตัดก้านดอกไม้ ต้องตัดก้านด้วยมีดคมๆ ให้เฉียงมากๆ โดยใช้มือซ้ายจับก้านหงายขึ้น มือขวาจับมีด หัวแม่มือขวาจะเป็นตัวประคองก้านดอกไม้ไว้ตลอดเวลา การตัดก้านด้วยมีด จะทำให้ก้านดอกไม้ไม่ช้ำ สามารถดูดน้ำได้เต็มที่ และนอกจากนี้ยังสามารถบังคับองศาของการตัดได้อย่างที่เราต้องการการตัดก้านให้เฉียงมากๆ จะมีผลดีต่อการดูดน้ำของดอกไม้และยังสามารถทำให้ Floral Foam แตกได้ยาก การตัดก้านดอกไม้ ควรตัดบริเวณก้านที่เป็นส่วนหน้าของดอกไม้ และเวลาปักจะต้องหันหน้าของดอกไม้ขึ้นไปหากลางภาชนะ ซึ่งเท่ากับทำให้ดอกไม้หันหน้าขึ้นไปรับแสงอาทิตย์ การทำลักษณะนี้จะทำให้สภาพการปักดอกไม้มีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด
        ๔. การดูแลรักษาหลังการจัดดอกไม้สด จะต้องหมั่นเติมน้ำทุกวัน เพราะในแต่ละวันดอกไม้ต้องการน้ำสำหรับนำไปสร้างความเจริญเติบโตให้กับดอก ก้าน และใบ นอกจากนี้ถ้าต้องการให้ดอกไม้มีความคงทนมากขึ้นให้เปลี่ยนน้ำทุกๆ ๓ วัน และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนน้ำควรดึงดอกไม้ขึ้นมาตัดก้าน และปักลงไปใหม่ ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดเอาเซลล์ที่ตายแล้วทิ้งไป ดอกไม้ก็จะสามารถดูดน้ำได้ดีขึ้น

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดดอกไม้
        วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้กับการจัดดอกไม้ ควรเลือกให้เหมาะสม สะดวกต่อการใช้งานและการเก็บรักษา
        ๑. มีด จะแยกเป็นมีดตัดดอกไม้และมีดตัด Floral Foam ไม่ควรจะใช้มีดตัดดอกไม้มาตัด Floral Foam เพราะจะทำให้เสียคมได้ง่าย
        ๒. กรรไกร จะแยกเป็นกรรไกร หรือคีมตัดลวด กรรไกรตัดกระดาษ กรรไกรตัดริบบิ้น และกรรไกรตัดดอกไม้และกิ่งไม้ กรรไกรเหล่านี้ควรแยกประเภทให้แน่นอน แต่ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรใช้กรรไกรตัดก้านดอกไม้ เพราะกรรไกรมีคมที่หนา เวลาตัดก้านดอกไม้คมของกรรไกรจะบีบก้านดอกไม้ทำให้เกิดความช้ำ ดอกไม้จะดูดน้ำได้ไม่เต็มที่ มีผลทำให้ดอกไม้ไม่ทน
        ๓. คีมบิดลวด ควรมีปากกว้างพอสมควร
        ๔. แป้นสก็อตเทป ควรมีความใหญ่ และมีน้ำหนักพอสมควรเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการใช้งาน ส่วนสก็อตเทปควรเลือกชนิดที่ทนต่อการเปียกน้ำให้มากที่สุด
        ๕. ภาชนะเติมน้ำดอกไม้ ควรมีปากแคบ และยาว
        ๖. ภาชนะแช่ดอกไม้ ควรมีทั้งทรงสูงและทรงเตี้ย ปากกว้าง สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย และจะต้องเก็บได้สะดวก
        ๗. แป้นหมุน ใช้สำหรับรองรับภาชนะที่ใช้จัดดอกไม้ ทำให้สะดวกต่อการจัดและการตรวจเช็คผลงาน
        ๘. ฟลอร่าเทป ควรเลือกสีให้เหมาะสำหรับก้านดอกไม้ แต่ถ้าต้องการใช้สำหรับตกแต่งอาจเลือกสีที่มีความแตกต่างก็ได้ เช่น สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีขาว เป็นต้น นอกจากนี้ควรเลือกฟลอร่าเทปที่เป็นของแท้ ซึ่งจะสังเกตได้จากความเหนียวในขณะพันก้านดอกไม้
        ๙. ลวด มีทั้งชนิดเป็นขด และชนิดดึงยืดเป็นเส้นตรงที่ตัดสำเร็จมาเรียบร้อยแล้ว มีหลายขนาด สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน
        ๑๐. กระดาษและพลาสติก สามารถเลือกขนาดความกว้างคุณภาพสีและลวดลายตามต้องการ
        ๑๑. ภาชนะสำหรับแช่ Floral Foam ควรมีที่เฉพาะสามารถถ่ายน้ำได้สะดวกและกักเก็บน้ำได้อย่างดี อาจใช้อ่างที่น้ำมีปุ่มกักหรือถ่ายน้ำออกได้ แต่ต้องระมัดระวังการอุดตันของท่อน้ำด้วย
        ๑๒. ตู้แช่ดอกไม้ จะต้องมีขนาดและอุณหภูมิที่เหมาะสมกับดอกไม้
        ๑๓. ลวดตาข่ายหรือลวดกรงไก่ มีทั้งตาหกเหลี่ยม และสี่เหลี่ยม ปัจจุบันมีชนิดที่เป็นพลาสติกด้วย
        ๑๔. คีมปลิดหนามและใบกุหลาบ สามารถทำงานได้รวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือ ทำให้ก้านกุหลาบหักง่ายและถลอกไม่สวยงาม เราอาจเปลี่ยนมาใช้มีดปลิดหนามและใบแทนก็ได้
        ๑๕. แจกัน ควรเลือกชนิดที่มีการเคลือบภายในเพื่อสะดวกต่อการล้างทำความสะอาด และยังป้องกันไม่ให้เกิดการตกค้างของเชื้อแบคทีเรีย ควรเลือกชนิดที่ตั้งได้อย่างมั่นคงและมีปากกว้าง เพื่อจะได้เพิ่มความสะดวกต่อการจัดดอกไม้
        ๑๖. ตะกร้า มีหลายขนาด หลายแบบให้เลือกปัจจุบันนี้มีการนำเอาวัสดุต่างๆ มาใช้ในการผลิตตะกร้าทำให้เราสามารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการและความเหมาะสมในการจัด แต่ทางที่ดีควรเลือกตะกร้าชนิดที่มีหูหิ้ว เพื่อสะดวกต่อการขนส่งให้กับลูกค้า
        ๑๗. Floral Foam ใช้สำหรับปักดอกไม้ ใบไม้ มีหลายชนิดให้เลือก ชนิดที่ใช้กับดอกไม้สดจะเรียกกว่า “Oasis” ส่วนชนิดที่ใช้กับดอกไม้แห้งหรือดอกไม้ประดิษฐ์เรียกว่า “Sahara


ลักษณะของดอกไม้
        ดอกไม้ที่เราเลือกซื้อมาใช้นั้นจะมีให้เลือกมากมายหลายชนิด หลากหลายรูปแบบ แต่สำหรับนักจัดดอกไม้จะแบ่งลักษณะดอกไม้ออกเป็น ๔ รูปแบบด้วยกัน ได้แก่
        ๑. Line Flowers คือ ดอกไม้ ใบไม้ที่มีลักษณะเป็นแนว หรือเป็นเส้น ซึ่งดอกไม้ ใบไม้ เหล่านี้จะเป็นดอกใบ หรือกลุ่มช่อดอกที่เรียงขึ้นไปตามความยาวของก้านดอก เช่น กลาดิโอลัส กกธูป ซ่อนกลิ่น ลีอาทรีส เดฟีเนี่ยม แบกราส สติลกราส เป็นต้น   ด้วยลักษณะของความเป็นเส้นที่เด่นชัดของ Line Flowers นี้เอง จึงมักถูกนำมาจัดวางให้เป็นตัวกำหนดโครงร่างของรูปทรงการจัดดอกไม้ในภาชนะต่างๆ โดยเฉพาะกำหนดความสูงและความกว้างของรูปทรง นอกจากนี้ยังมีเส้นที่เด่นชัดมากๆ สามารถที่จะนำมาปักให้เป็นตัวนำสายตาได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
        ๒. Form Flowers คือ ดอกไม้ ใบไม้ที่มีรูปทรงที่เด่นชัดมีกลีบไม่มาก ไม่มีความซับซ้อนในรูปทรงมากจนเกินไป เช่น ดอกหน้าวัว ดอกลิลลี่ ดอกแคทรียา ใบไม้ตระกูลพิโลเดนดรอน เป็นต้น  ลักษณะที่เด่นชัดของรูปทรงของดอกไม้ ใบไม้ ประเภทนี้จึงมักถูกนำมาปักให้เป็นจุดเด่นหรือ Focal Point ในการจัดดอกไม้ลงในภาชนะ
        ๓. Mass Flowers คือ ดอกไม้เดี่ยวที่มีกลีบซ้อนมากๆ และจะมองดูมีน้ำหนัก เช่น เยอร์บีร่า คาร์เนชั่น กุหลาบ เป็นต้น  ดอกไม้ประเภทนี้จะมีมากในท้องตลาด เป็นดอกไม้ที่ทำหน้าที่ในการเติมเต็มให้กับการจัดดอกไม้  สามารถสร้างความสมดุลและความแตกต่างในชิ้นงาน แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างให้เกิดความกลมกลืนให้กับชิ้นงานที่จัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย  นอกจากนี้ในบางโอกาสที่เราไม่สามารถจัดหาดอกไม้ประเภท Form Flowers มาใช้ได้นั้น เราสามารถ Mass Flowers มาใช้แทนได้โดยการจับรวมกลุ่มในลักษณะของ Clustering ซึ่งหมายถึงการรวมกลุ่มของสิ่งเล็กๆ ให้เกิดพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดความเด่นชัดในตัวเองมากขึ้น
        ๔. Filler Flowers คือ ดอกไม้ ใบไม้ ที่ใช้แต่งเติมหรือเสริมแซมเข้าไปในแจกันที่เราจัดขึ้นมา เพื่อให้เกิดความนุ่มนวลของสีและผิวสัมผัส ดอกไม้ ใบไม้ ประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นดอกเล็กๆ ฝอยๆ เช่น ยิปโซฟิลล่า สร้อยทอง แคสเปียร์ เล็บครุฑผักชี หลิวทอง ใบโปร่งฟ้า ปริกแคระ แว็กซ์ เป็นต้น เนื่องจากลักษณะของดอกไม้ ใบไม้ประเภทนี้จะมีลักษณะเล็กๆ เมื่อใช้ปริมาณมากจนเกินไปจะทำให้เกิดความรกรุงรัง เราสามารถที่จะนำดอกไม้ใบไม้ประเภทนี้มาปักให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันก็จะสามารถเพิ่มความเด่นชัดและลดความรุงรังได้เป็นอย่างดี  ปัญหาของนักจัดดอกไม้ที่มักพบกันอยู่เสมอคือ ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะนำดอกไม้ประเภทใดมาใช้ในการจัดแจกันสักหนึ่งแจกัน บางท่านอาจเคยได้ยินคำว่า “นักจัดดอกไม้ที่ดี มีอะไรก็ต้องจัดได้” แต่ถ้านักจัดดอกไม้ที่ดีมีโอกาสที่จะเลือกดอกไม้ที่จะนำมาใช้จัด ควรเลือกดอกไม้ให้ครบทั้งสี่ประเภท มาใช้ในการจัดแจกันหนึ่งแจกัน ซึ่งจะทำให้สามารถจัดดอกไม้ได้อย่างลงตัวง่ายขึ้น




800-28
ขอขอบคุณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฎเพชรบูรณ์ (ที่มาข้อมูล)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 พฤษภาคม 2567 19:29:33 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2567 16:51:03 »



ภาพระบายสีน้ำ

ลักษณะการปักดอกไม้ตามธรรมชาติ
        ธรรมชาติจะมีให้เราเห็นกันมากมาย แต่เราจะสังเกตได้ว่าลักษณะของการเกิดของธรรมชาติจะมีอยู่ด้วยกัน ๒ ลักษณะ เช่นเดียวกับการปักดอกไม้ในภาชนะได้แก่
        ๑. Radial Vegetaiva Style หมายถึง การแตกกระจายของเส้นหลายๆ เส้นออกจากจุดศูนย์รวมจุดเดียวกัน โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการแตกกิ่งก้านของพุ่มไม้ ต้นข้าว กอตะไคร้ กอหญ้า หรือต้นไม้ขนาดเล็กชนิดต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ เส้นทุกเส้นที่ใช้ปัก แบบ Radial จะต้องไม่ไขว้กันไปมา ดอกที่นำมาจัดในลักษณะนี้จะมีอิสระของตัวเอง ก้านดอกไม้จะคว่ำหรือหงายขึ้นอยู่กับลักษณะของดอกไม้เอง มีมิติหรือความสูงต่ำในกลุ่มอย่างเด่นชัด
        ๒. Parallel Vegetative Style คือการปักให้มีเส้นขนานกัน จุดปลายของเส้นแต่ละเส้นจะไม่สัมผัสกันเลย ฉะนั้นในหนึ่งภาชนะย่อมจะต้องมีจุดกำหนดหลายจุด การปักแบบนี้เป็นการจำลองภาพของการเกิดของต้นไม้ในป่า เช่น ป่าสน ป่าสัก ต้นกกธูป ต้นกกชนิดต่างๆ เป็นต้น    การปักแบบ Parallel นี้จะตัดเป็นกลุ่มคู่ขนาน ประกอบไปด้วยกลุ่มดอกไม้สองฝั่งจะมีช่องว่างระหว่างกลุ่ม และข้อสำคัญจะต้องปิดฐานอย่างมิดชิด การปักแบบ Parallel โดยปกติจะนิยมจัดในภาชนะที่มีปากกว้างและเตี้ย ดอกไม้ ใบไม้จะมีเส้นก้านที่เป็นแนวตรง ฐานจะถูกปิดมิดชิด มีจังหวะและความสม่ำเสมอในการปัก และมีระดับความสูงที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด

องค์ประกอบในการจัดดอกไม้
       Elements หรือ องค์ประกอบเป็นเสมือนรูปธรรม ที่สามารถจับต้องได้ไม่ว่าจะด้วยการมองและการสัมผัสด้วยมือ ประกอบไปด้วย
        ๑. Line เส้น จะมีอยู่ด้วยกัน ๒ ลักษณะ คือ
            ๑.๑ Static Line เส้นตรง มีความเข้มแข็งมีพลังและมองดูแล้วเหมือนมีจุดมุ่งหมายที่เด่นชัด จึงมักจะถูกนำมาเป็นโครงร่างของการจัดดอกไม้ เช่น ใช้เป็นตัวกำหนดความสูง และความกว้างของการจัดดอกไม้
            ๑.๒ Dynamic Line เส้นไม่ตรง เป็นเส้นที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จึงนับได้ว่าเป็นเส้นที่มีชีวิตชีวา ฉะนั้นจึงนิยมนำเอา Dynamic Line มาใช้เป็นตัวนำสายตาและความรู้สึกให้เข้าสู่รูปทรงการจัด
        ๒. Form รูปทรงของการจัดดอกไม้จะมีด้วยกัน ๒ ลักษณะ คือ
            ๒.๑ รูปทรงปิด คือลักษณะดอกไม้ที่มีช่องว่างระหว่างกลีบดอกน้อยมาก เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ เป็นต้น
            ๒.๒ รูปทรงเปิด คือลักษณะของดอกไม้ที่มีช่องว่างระหว่างกลีบมาก เช่น ดอกลิลลี่ เฮลิโคเนีย เป็นต้น
        ๓. Color สี สี่ที่ใช้ในการจัดดอกไม้ก็จะเป็นสีที่ใช้ในงานศิลปะทุกๆ แขนงที่ได้มาจากวงจรสี ซึ่งมีทั้งหมด ๑๒ สี ได้แก่
            สีขั้นที่ ๑ ได้แก่ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน
            สีขั้นที่ ๒ ได้แก่ สีส้ม สีเขียว และสีม่วง
            สีขั้นที่ ๓ ได้แก่ สีม่วงแดง สีม่วงน้ำเงิน สีเขียวน้ำเงิน สีเหลืองเขียว สีส้มเหลือง และสีส้มแดง
        การนำสีมาใช้นั้นมีด้วยกันหลายลักษณะ ดังต่อไปนี้
            ๓.๑ Monochromatic Color สีโทนเดียว คือสีที่เกิดจากการผสมของสีกลางซึ่งได้แก่ สีเทาหรือสีดำ สีตัวใดตัวหนึ่งมาผสมกับสีในวงจรสีตัวใดตัวหนึ่ง เช่น สีขาวผสมกับสีเหลือง ก็จะทำให้สีเหลืองค่อยๆ มีความจางลงเรื่อยๆ จนกระทั่งกลายเป็นสีขาว เมื่อเรานำสีนี้มาใช้ในการจัดดอกไม้หนึ่งแจกัน เราก็จะได้ดอกไม้ และวัสดุตกแต่งที่มีสีเหลืองสว่างไล่ไปจนกระทั่งดอกไม้เหล่านั้นกลายเป็นสีขาว เป็นต้น สีลักษณะนี้จะทำให้เกิดความกลมกลืนมากที่สุด ง่ายต่อการจัด และทำให้เกิดความสบายตามากที่สุด Monochromatic Color จึงเป็นสีที่นิยมจัดกันมากที่สุด
            ๓.๒ Analogous Color คือสีที่อยู่ติดกันสามสีในวงจรสี เช่น สีแดง สีส้มแดง และสีส้ม เป็นต้น จัดอยู่ในประเภทสีกลมกลืนที่ทำให้จัดดอกไม้ได้อย่างสวยงามได้ง่าย อาจเรียกสีลักษณะนี้ว่า “สีตระกูลเดียวกัน”
            ๓.๓ Complementary Color คือสีที่อยู่ตรงข้างกันอย่างแท้จริงในวงจรสี เช่น สีแดงอยู่ตรงข้ามกับสีเขียว นับว่าเป็นสีที่นิยมจัดอีกสีหนึ่ง เนื่องจากเป็นสีที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกันที่เด่นชัด เมื่อมองแล้วจะทำให้รู้สึกสะดุดตามากที่สุด
            ๓.๔ Split Complementary Color คือสีที่อยู่ข้างๆ ของสีตรงข้าม หรือจะเรียกว่า “สีตัววาย” ก็ได้ เช่น สีม่วง สีส้มเหลือง และสีเขียวเหลือง เป็นต้น
            ๓.๕ Triadic Color คือสีสามมุมที่อยู่ในวงจรสี เช่น สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน เป็นต้น  Triadic Color เป็นอีกสีหนึ่งที่จะทำให้เกิดความตื่นเต้นและน่าสนใจ
        ๔. Texture ผิวสัมผัส ต้องการให้มีผิวสัมผัสที่ดี จะต้องมีความแตกต่างกันจนสามารถสัมผัสได้ด้วยสายตาและความรู้สึก เช่น ขรุขระ นุ่มนวลคล้ายกำมะหยี่ เกลี้ยงเกลา เป็นมันวาว มีความนูนหรือมีความแหลมคม ราบเรียบ เป็นต้น เราต้องพยายามหาวัสดุต่างๆ ที่มีความแตกต่างกัน เพื่อส่งเสริมให้มีความขัดแย้งในชิ้นงานมากที่สุด และข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือพยายามหาวัสดุที่แตกต่างกันทั้งในเรื่องของสี ผิวสัมผัส และความสูงต่ำมาจัดวางไว้ใกล้ๆ กัน
        ๕. Space ช่องว่างในรูปทรงการจัด ประกอบไปด้วยช่องว่างปิดและช่องว่างเปิด
            ๕.๑ ช่องว่างปิด คือลักษณะการจัดดอกไม้ที่มีช่องว่างระหว่างทรงที่จัดน้อยมาก ทำให้มองผ่านได้ยาก โดยเฉพาะรูปทรงพื้นฐานที่อยู่ในลักษณะทรงเรขาคณิต เช่น ทรงกลม ทรงพระจันทร์เสี้ยว ทรงตัวที ทรงตัวเอส ทรงสามเหลี่ยม เป็นต้น
            ๕.๒ ช่องว่างเปิด ลักษณะการจัดดอกไม้ที่มีช่องว่างระหว่างการจัดมาก สามารถมองผ่านได้ง่าย

หลักการจัดดอกไม้
        หลักการจัดดอกไม้ เป็นหลักการทางทฤษฎีศิลปะ เป็นเรื่องราวต่างๆ ที่สร้างผลงานให้ออกมาดูสวยงาม ทำให้ผู้ดูเกิดความประทับใจ เข้าใจในความคิดของผู้จัด และมองดูไม่ขัดตา ซึ่งหลักการเหล่านี้จะเป็นตัวเชื่อมความประทับใจระหว่างผลงานกับผู้ดู
        Principles จะมีสภาพเป็นนามธรรมไม่สามารถจับต้องได้ ผลงานที่ออกมาจะประสบผลสำเร็จหรือไม่จะต้องประกอบไปด้วยประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ของผู้จัดเองด้วย นอกจากนี้การจัดดอกไม้ให้สวยงามจะต้องประกอบไปด้วย
        ๑. Composition ความโดดเด่นเป็นเอกเทศในแต่ละกลุ่มของดอกไม้จะต้องมีความเด่นชัด โดยการแบ่งด้วยกรรมวิธีต่างๆ เช่น แบ่งด้วยกลุ่มสี แบ่งด้วยลักษณะของผิวสัมผัส เป็นต้น
        ๒. Unity คือการผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของดอกไม้ วัสดุต่างๆ รวมทั้งภาชนะที่ใช้จัดด้วย
        ๓. Proportion สัดส่วนที่เหมาะสมในการจัด โดยจะคำนึงถึงสถานที่จัดวางโอกาสที่ใช้งานวัสดุที่นำมาจัด และที่สำคัญคือความต้องการของผู้จัดและผู้ให้จัด
        ๔. Accent ความแปลกใหม่ในการจัด เช่น การใช้นกเกาะในกระเช้าดอกไม้ การใส่ตุ๊กตาในกระเช้าวันเกิด เป็นต้น
        ๕. Balance ความสมดุลในการจัด ประกอบไปด้วย
            ๕.๑ Symmetrical Balance คือความสมดุลอย่างแท้จริง จะมีรูปทรงด้านเท่าทั้งซ้ายและขวา ประกอบไปด้วยวัสดุที่เหมือนกันทั้งความสูง ขนาดของดอก สี ชนิดของวัสดุและดอกไม้
            ๕.๒ Asymmetrical Balance คือความสมดุลอย่างไม่แท้จริง สามารถวัดได้ด้วยความรู้สึกแต่ไม่สามารถวัดได้ด้วยวัสดุ ประกอบไปด้วย ๒ ลักษณะ คือ
                  ๕.๒.๑ Actual Balance คือเท่ากันด้านรูปทรงแต่แตกต่างด้านวัสดุ
                  ๕.๒.๒ Visual Balance คือไม่เท่ากันทางรูปทรงแต่เท่ากันทางความรู้สึก
        ๖. Harmony ความกลมกลืน คือการเลือกวัสดุต่างๆ มาใช้ในการจัดโดยคำนึงถึงสี และผิวสัมผัสของดอกไม้และวัสดุต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความกลมกลืนไปด้วยกันได้ทั้งชิ้นงาน
        ๗. Rhythm จังหวะ คือการปักดอกไม้ให้มีความต่อเนื่องกันไป ทำให้สามารถท้าสายตาเข้าสู้ชิ้นงานที่จัดได้อย่างต่อเนื่อง



800-28
ขอขอบคุณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฎเพชรบูรณ์ (ที่มาข้อมูล)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 พฤษภาคม 2567 16:54:47 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.335 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 พฤศจิกายน 2567 15:53:29