[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 13:19:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เหลียวมองอินเดีย ก้มลงมองตีน ฝันถึงอนาคต: รัฐธรรมนูญแห่งอินเดียที่ออกแบบมาเพื  (อ่าน 48 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 29 มกราคม 2567 01:41:41 »

เหลียวมองอินเดีย ก้มลงมองตีน ฝันถึงอนาคต: รัฐธรรมนูญแห่งอินเดียที่ออกแบบมาเพื่ออินเดียทุกคน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-01-28 19:16</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภัทรพล เป็งวัฒน์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p><strong>เหลียวมองอินเดีย: อยู่ร่วม - หลากหลาย</strong></p>
<p>ถ้าพูดถึง ‘อินเดีย’ คุณผู้อ่านนึกถึงอะไรกันครับ อาหารสตรีทฟู๊ดชวนหิว ประเทศที่มีประวัติศาสตร์แสนยาวนาน ดินแดนปฐมภูมิอันเป็นบ่อเกิดของศาสนาและศาสนาดาบันลือโลก พื้นที่ของความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ หรืออาจเป็นศูนย์รวมแห่งความแตกต่างทางด้านภาษาและด้านวัฒนธรรม นอกจากคำนิยามเหล่านี้ อินเดียยังนับเป็นประเทศที่มีพื้นที่เป็นอันดับเจ็ดของโลก (3,287,263 ตารางกิโลเมตร) และ อินเดียยังเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก ราว 1,482 ล้านคน ด้วยจำนวนประชากรที่มากเหลือล้นและพื้นที่อันมหาศาล สองสิ่งนี้ทำให้สังคมของชาวอินเดียมีความแตกต่างและหลากหลาย (Diversity) หากจะนิยามอินเดีย ในทางหนึ่งเราอาจนิยามได้ว่า ความเป็นอินเดีย คือ การผสมผสานปนเปกันระหว่าง หลากวัฒนธรรม หลายศาสนา หลายผู้คนต่างเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ที่อาศัยและร้อยเรียงกันเอาไว้อยู่ในพื้นที่แห่งการอยู่ร่วมและรวมกันได้ในแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาลเดียวกัน (ฟังดูอลังการเลยทีเดียว) แต่ทว่า ท่ามกลางความหลากหลายและแตกต่างเหล่านี้ สิ่งที่ชวนฉงนคงเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกเสียจากคำถามที่ว่า คนอินเดียอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ทำไมคนที่มีความเชื่อต่างกันและคนที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันจึงอยู่ร่วมกันได้ในพื้นที่เดียวกัน (ความน่าสนใจอยู่ตรงนี้) คุณผู้อ่านคิดว่าคำตอบคืออะไรครับ ? (คำตอบอยู่บรรทัดถัดไป)</p>
<p><strong>รัฐธรรมนูญแห่งอินเดีย</strong></p>
<p>ใช่ครับ คำตอบ คือ รัฐธรรมนูญแห่งอินเดีย</p>
<p>หากย้อนกลับไปในหน้าประวัติศาสตร์ ภายหลังจากที่อินเดียได้รับอิสรภาพในการปกครองตนเองปลดเปลื้องพันธนาการจากการเป็นประเทศภายใต้อาณานิคมของอังกฤษเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1947 อินเดียได้แต่งตั้งคณะกรรมร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งอินเดียในวันที่ 29 สิงหาคม 1947 (เพียง 2 สัปดาห์จากวันที่ได้รับเอกราช อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 1946 สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งอินเดียมีการพบปะพูดเป็นครั้งแรก ณ ที่ประชุมรัฐธรรมนูญ เป็นไปได้ว่าอินเดียมีการเตรียมการเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญอย่างกระตือรือร้นแข็งขัน) คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแห่งอินเดียเริ่มทำงานร่างและแก้ไขรายละเอียดในฉบับร่างรัฐธรรมนูญหลายต่อหลายครั้ง ข้อมูลจากอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ดร.อัมเบดการ์ บันทึกไว้ว่าในขณะที่พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญมีการลงมติ ถกเถียง ปัดตกข้อเสนอบางประการ และอภิปรายเพื่อแก้ไขมากถึง 7,635 การแปรญัตติ<a href="#_ftn1" name="_ftnref1" title="" id="_ftnref1">[1][/url] และมี 2,473 การแปรญัตติ ที่ถูกยอมรับ) ในแต่ละครั้งมีการออกแบบปรับปรุงเพื่อให้ครอบคลุมต่อความหลากหลายที่มีอยู่ในอินเดีย คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแห่งอินเดียตรากตรำทำงานจนรัฐธรรมนูญสำเร็จผ่านการรับรองโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 1949 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 26 มกราคม 1950 (นับเป็นเวลาราว 3 ปีจากวันที่เริ่มต้นปรึกษาหารือเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญแห่งอินเดีย) ชาวอินเดียถือเอาวันดังกล่าวเป็น ‘วันแห่งสาธารณรัฐอินเดีย’ (The Republic Day of India) วันสำคัญที่สาธารณรัฐแห่งอินเดียถือกำเนิดขึ้น และ จากวันที่รัฐธรรมนูญแห่งอินเดียถูกประกาศใช้จวบจนวันนี้ รัฐธรรมนูญแห่งอินเดียถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เคยถูกล้มล้าง และประเทศอินเดียเป็นประเทศที่ไม่เคยมีการรัฐประหาร ใช่ครับ คุณผู้อ่านไม่ได้อ่านผิด ทั้งๆ ที่อินเดียเป็นประเทศที่มีความแตกต่างหลากหลายสูงมากและความแตกต่างหลากหลายโดยทั่วไปมักนำไปสู่ความไม่ลงรอยกันในทางสังคมและการเมือง แต่อินเดียไม่เคยใช้ข้ออ้างเรื่องความไม่ลงรอยกันของความแตกต่างหลากหลายนี้เพื่อเป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหาร และ การทำรัฐประหารไม่เคยเกิดขึ้นเลยสักครั้งในอินเดีย จากความพิเศษดังกล่าวนี้เป็นที่น่าสนใจว่า ชาวอินเดียมีวิธีการคิดและมีวิธีการออกแบบรัฐธรรมนูญอย่างไร? ที่ทำให้รัฐธรรมนูญเล่มเดียวนี้ไม่เคยถูกล้มล้างและใช้รัฐธรรมนูญเล่มเดิมนี้มาเป็นระยะเวลายาวนานถึง 74 ปี (จากปี 1950 ถึงปัจจุบัน)</p>
<p><strong>การออกแบบรัฐธรรมนูญแห่งอินเดีย</strong></p>
<p>ความท้าทายที่เกิดขึ้นในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งอินเดีย คือ การออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อประชากรจำนวนมาก เพื่อการปกครองในพื้นที่ทางกายภาพที่กว้างใหญ่ระดับอนุทวีป และเพื่อครอบคลุมถึงความหลากหลายแตกต่างในทุกๆ มิติของชาวอินเดีย โจทย์ใหญ่ของการออกแบบนี้จึงต้องการคณะสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มองเห็นและเข้าใจองคาพยพเหล่านี้ และ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบไปด้วยบุคคลเหล่านี้<a href="#_ftn2" name="_ftnref2" title="" id="_ftnref2">[2][/url]</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53493185995_5a6154342e_o_d.jpg" style="width: 624px; height: 381px;" />
<span style="color:#2980b9;">คณะสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งอินเดีย (Drafting Committee for Constitution of India)</span><a href="#_ftn3" name="_ftnref3" title="" id="_ftnref3"><span style="color:#2980b9;">[3]</span>[/url]</p>
<p>ดร. ภิมเรา รามจี อัมเบดการ์ (Dr. Bhimrao Ramji Ambedkar) นักวิชาการและนักปฏิรูปสังคมที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับชาวอินเดียด้วยความคิดที่เขาเชื่อว่าสังคมที่เท่าเทียมเป็นจริงได้และมนุษย์สามารถสร้างโครงสร้างสังคมที่ดีกว่าได้ อัมเบดการ์ยังถือเป็นนักต่อสู้เพื่อความยุติธรรมชาวอินเดีย ตามชีวประวัติของเขา อัมเบดการ์เกิดในวรรณะทลิต/ดลิต (Dalit) หรือ จัณฑาล วรรณะที่มาจากล่างสุดของสังคมอินเดีย เขาต่อสู้ฟันฝ่าความไม่เท่าเทียมกันในสังคมอินเดียจนเรียนจบปริญญาเอกจาก London School of Economics สถาบันภายใต้ University of London และกลับมาทำงานในอินเดีย ภายหลังอินเดียได้รับอิสรภาพ เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ และต่อมาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกฎหมายและยุติธรรมคนแรกของอินเดีย ภายใต้คณะทำงานนายกรัฐมนตรีชวาหระลาล เนห์รู<a href="#_ftn4" name="_ftnref4" title="" id="_ftnref4">[4][/url]</p>
<p>คานายาลาล มาเนคลาล มุนชี (Kanaiyalal Maneklal Munshi) นักกิจกรรมและนักเคลื่อนไหวด้านอิสรภาพ นักการเมือง และนักวรรณกรรมชาวคุชราช (Gujarat) มุนชีเป็นหนึ่งในนักต่อสู้ เรียกร้อง และเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของชาวอินเดีย เขาสนับสนุนประชาธิปไตย ความหลากหลายทางสังคม และสนใจการพัฒนาวัฒนธรรมอินเดีย มุนชีมีวิสัยทัศน์ต่อวัฒนธรรมของอินเดีย เขาเห็นว่าควรพัฒนาประชาธิปไตยไปพร้อมกับการธำรงมรดกทางวัฒนธรรมอินเดีย เขาคือผู้ก่อตั้ง Bharatiya Vidya Bhavan สถาบันที่มุ่งเน้นส่งเสริมให้วัฒนธรรมอินเดียเกิดการผนวกรวม รักษาจุดร่วมสงวนจุดต่างต่อกันในสังคม สร้างสังคมวัฒนธรรมให้มีความร่วมสมัยและยั่งยืน และหลอมรวมความแตกต่างให้เป็นหนึ่งเดียว<a href="#_ftn5" name="_ftnref5" title="" id="_ftnref5">[5][/url]</p>
<p>ดี.พี.ไคตัน (D P Khaitan) นักอุตสาหกรรมจากเบงกอลตะวันตก (West Bengal) และ ประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดีย (Federation of Indian Chambers of Commerce &amp; Industry: FICCI) ไคตันเสียชีวิตหลังได้รับตำแหน่งได้ไม่นาน<a href="#_ftn6" name="_ftnref6" title="" id="_ftnref6">[6][/url]</p>
<p>ติรุเวลลอร์ ทัตไต กฤษณะมาชารี (Tiruvellore Thattai Krishnamachari) นักเศรษฐศาสตร์และศาสตราจารย์ชาวมาสดราส (Madras) แห่ง Madras Chirstian College เขาได้รับเลือกเป็นหนึ่งในทีมงานร่างรัฐธรรมนูญหลังจากการเสียชีวิตของไคตัน กฤษณะมาชารีมีบทบาทในการตั้งกระทู้เรื่องเสรีภาพในการพูด (Freedom of Speech) ในระหว่างทำงานร่างรัฐธรรมนูญ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีกลางด้านแร่เหล็กและเหล็กกล้า ต่อมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมคนแรกของอินเดีย ทำงานด้านการปฏิรูปภาษีอินเดีย และมีบทบาทร่วมจัดตั้งองค์กรทางการเงินต่างๆ ของอินเดีย และ สถาบันการเงินที่สำคัญของอินเดีย เช่น Industrial Development Bank of India และ Unit Trust of India<a href="#_ftn7" name="_ftnref7" title="" id="_ftnref7">[7][/url]</p>
<p>นราสิมหา โกปาลาสวามี อัยยางการ์ (Narasimha Gopalaswami Ayyangar) อัยยางการ์เป็นชาวมาสดราสที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐจัมมูและแคชเมียร์ (Jammu and Kashmir) เขามีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปกรมป่าไม้และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในแคชเมียร์ ต่อมาหลังมีรัฐธรรมนูญ เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรถไฟและการขนส่ง เขามีบทบาทสำคัญในการพัฒนางานเกี่ยวกับการรถไฟของอินเดีย ทั้งด้านการบริการและงานอุปกรณ์<a href="#_ftn8" name="_ftnref8" title="" id="_ftnref8">[8][/url]</p>
<p>อัลลาดี กฤษณสวามี อัยยาร (Alladi Krishnaswamy Ayyar) นักกฎหมายในทีมร่างรัฐธรรมนูญ ในการทำงาน อัยยารเป็นอนุกรรมการด้านสิทธิขั้นพื้นฐาน เขามีส่วนในการผลักดันประเด็นความสำคัญของการเป็นพลเมือง (Citizenship) สิทธิขั้นพื้นฐาน และรายละเอียดเกี่ยวกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน<a href="#_ftn9" name="_ftnref9" title="" id="_ftnref9">[9][/url]</p>
<p>มูฮัมหมัด ซาดุลลา (Muhammad Saadulla) ทนายความ ผู้นำสันนิบาตมุสลิม และนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐอัสสัม (Assam) ซาดุลลาผลักดันนโยบายด้านการรักษาความมั่นคงทางการเงินของรัฐอัสสัมและสิทธิของชนกลุ่มน้อย<a href="#_ftn10" name="_ftnref10" title="" id="_ftnref10">[10][/url]</p>
<p>บี.แอล. มิตเตอร์ (B. L. Mitter) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและทนายความ เป็นสมาชิกคณะสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่เนื่องด้วยปัญหาด้านสุขภาพ ทำให้เขาตัดสินใจลาออกจากการทำงาน ภายหลังจากที่เริ่มต้นทำงานด้านการร่างรัฐธรรมนูญได้ไม่นาน<a href="#_ftn11" name="_ftnref11" title="" id="_ftnref11">[11][/url]</p>
<p>นยาปาตี มาธาวา เรา (Nyapathi Madhava Rau) เป็นเจ้าหน้าที่รัฐและเลขาธิการสูงสุดแห่งเมืองไมซอร์ (Mysore) เป็นตัวแทนชาวโอริสสา (Odisha) เขาเข้ารับตำแหน่งแทนที่มิตเตอร์<a href="#_ftn12" name="_ftnref12" title="" id="_ftnref12">[12][/url]</p>
<p>จากบรรดาทีมงานร่างรัฐธรรมนูญข้างต้น ผมเห็นว่า สิ่งสำคัญที่เราจะเห็นได้จากทีมออกแบบรัฐธรรมนูญ นั่นคือ เราจะเห็นถึงความหลากหลายของสมาชิกที่มีที่มาแตกต่างกัน ในทีมประกอบไปด้วยคนจากต่างวรรณะ ต่างความเชื่อทางศาสนา เป็นคนจากหลายพื้นที่จากเหนือสุดจรดใต้สุด จากตะวันออกไปตะวันตก การออกแบบเป็นการร่วมกันออกแบบผสมผสานมุมมองที่มองออกมาจากวิธีคิดของผู้คนหลายความคิดหลายเลนส์ และ การออกแบบเป็นการนำปัญหามาตั้งวงหารือถกเถียงกันอย่างมีอารยะ ร่วมกันแก้ไข ปรับปรุง (ดังจะเห็นได้จากการแปรญัตติจำนวนหลายครั้ง) เพื่ออ้าแขนรับความหลากหลายในทุกๆ มิติเท่าที่จะสามารถทำได้ รัฐธรรมนูญอินเดียจึงเป็นผลผลิตที่มีลักษณะคำนึงถึงความหลากหลายและแสดงลักษณะของการไม่แบ่งแยก ออกแบบมาเพื่อรองรับอย่างครอบคลุมทั้งในแง่อาณาบริเวณด้านกายภาพภูมิประเทศและอาณาเขตด้านสังคม ความคิด และวัฒนธรรม</p>
<p>ในทางหนึ่ง ศุภวิชญ์ แก้วคูนอก นักวิชาการด้านการเมืองการปกครองอินเดียเองก็ได้ให้ความเห็นไว้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งอินเดียมีลักษณะบางประการที่พิเศษ ประการแรก คณะสภาร่างรัฐธรรมนูญมีสมาชิกประกอบไปด้วยผู้นำจากกลุ่มต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่จะโอบอุ้มความหลากหลายทั้งภูมิภาค ศาสนา กลุ่มภาษา และกลุ่มความคิด ไว้ให้ได้มากที่สุด ประการที่สอง รัฐธรรมนูญแห่งอินเดียเป็นรัฐธรรมนูญรูปแบบผสม ที่มีเบื้องหลังแนวคิดสองแนวคิด นั่นคือ แนวคิดชาตินิยม และ แนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม เป็นพื้นฐาน ทำให้อินเดียมีรูปแบบการเลือกตั้งทางตรง คือ การเลือกนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บริหารประเทศ และมีการเลือกตั้งแบบทางอ้อมจากรัฐบาลท้องถิ่น คือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีในฐานะประมุขของประเทศ ในด้านรูปแบบการจัดการโครงสร้างรัฐ อินเดียมีรัฐบาลกลางและรัฐบาลระดับรัฐ โดยรัฐบาลกลางและรัฐบาลแต่ละรัฐจะทำงานร่วมกัน มีการถ่วงดุลอำนาจจากรัฐบาลกลางโดยการส่งผู้ว่าการรัฐไปประจำยังรัฐต่างๆ เพื่อไม่ให้มุขมนตรีหรือผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากรัฐนั้นๆ มีอำนาจมากจนเกินไป ประการต่อมา รัฐธรรมนูญแห่งอินเดียแสดงท่าทีที่ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย มีการออกนโยบายที่ทำให้คนทุกคนเข้าถึงสิทธิประโยชน์เท่ากัน และ มีการบัญญัติข้อบังคับที่เน้นย้ำความเสมอภาค สิทธิการเข้าถึงบริการของรัฐอย่างเท่าเทียม ทั้งในด้านการปกป้องสิทธิแก่กลุ่มเปราะบางและชนกลุ่มน้อยในสังคมในทุกๆ ด้าน เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษา และการสำรองที่นั่งให้สิทธิ์แก่คนที่เข้าถึงโอกาสได้ยากได้รับประโยชน์จากรัฐเทียมเท่าคนในระดับที่สูงกว่า รวมถึงมีการรองรับภาษาถิ่นเป็นภาษาราชการตามแต่ละรัฐมากถึง 22 ภาษา เป็นต้น ประการที่สี่ รัฐธรรมนูญอินเดียอนุญาตให้ศาลสูงสุดมีอำนาจในการตัดสินชี้ขาดการออกกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล โดยศาลมีสิทธิ์ชี้โทษแก่รัฐบาล หากกฎหมายที่ออกจากรัฐบาลนั้นๆ ขัดต่อสิทธิพื้นฐานตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และ ประการที่ห้า รัฐธรรมนูญแห่งอินเดียมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ เพื่อตอบสนองสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป<a href="#_ftn13" name="_ftnref13" title="" id="_ftnref13">[13][/url]</p>
<p>ในแง่ของแบบแผนหรือรูปแบบที่คณะสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งอินเดียใช้อ้างอิงเพื่อเทียบดูเป็นตัวอย่างนั้นมีแหล่งที่มาจากหลายประเทศมากถึง 10 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา สกอตแลนด์ แคนาดา ออสเตรเลีย เยอรมันนี สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (ในขณะนั้น) ฝรั่งเศส อเมริกาใต้ และญี่ปุ่น โดยคณะสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งอินเดีย หยิบเอาจุดเด่นและข้อบัญญัติที่คาดว่าน่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดจากรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศดังกล่าวมาปรับใช้และเขียนลงในรัฐธรรมนูญแห่งอินเดีย เช่น การรับเอาระบบรัฐสภาของรัฐบาลตามแบบอังกฤษ รับเอาแนวคิดเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง หลักการทบทวนการพิจารณาคดี และ ความเป็นอิสระของศาลยุติธรรมจากสหรัฐอเมริกา วิธีการเลือกตั้งประธานาธิบดีจากสกอตแลนด์ ระบบสหพันธรัฐกับรัฐที่มีอำนาจและการคงอำนาจเหลือไว้ในศูนย์กลางจากแคนาดา ความมีเสรีทางการค้าและการพาณิชย์จากออสเตรเลีย หรือ แนวคิดเรื่องความยุติธรรมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองจากส่วนนำของรัฐธรรมนูญโซเวียต และ แนวคิดเรื่องเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพจากฝรั่งเศส เป็นต้น<a href="#_ftn14" name="_ftnref14" title="" id="_ftnref14">[14][/url] จากการอ้างอิงตัวอย่างจากรัฐธรรมนูญจากประเทศอื่นๆ เป็นอีกข้อยืนยันได้ว่า ทุกอณูข้อความในรัฐธรรมนูญแห่งอินเดียมีความพยายามออกแบบเพื่อเฟ้นหาหนทางที่ดีที่สุดเพื่อคนอินเดียอย่างแท้จริง และ ขณะเดียวกันก็นับว่าเป็นการสร้างชาติอินเดียให้ก้าวทันทัดเทียมกับนานาอารยประเทศอีกด้วย หรืออาจกล่าวได้ในอีกทางหนึ่งว่า “รัฐธรรมนูญอินเดียออกแบบมาเพื่อคนอินเดียทุกคน” ก็คงไม่ผิดแต่ประการใด</p>
<p style="margin-bottom:0in; text-align:justify; margin:0in 0in 8pt"> </p>
<p><strong>ก้มลงมองตีน: แล้วรัฐธรรมนูญแห่งอินเดียบอกอะไรกับเรา ?</strong></p>
<p>เมื่อเงยหน้ามองอินเดียไปแล้ว คงจะดูมืดมนอนธการไปหน่อย หากเราเอาแต่ชายตามองเพื่อน แล้วไม่หันกลับมาก้มลงมองเท้าของตัวเอง คำถามที่เกิดขึ้นต่อมาคือ ในประเทศไทย (ที่รักสงบของเรานี้) ใครเป็นคนออกแบบรัฐธรรมนูญให้กับเรา (ประชาชนตาดำๆ ผู้หาเช้ากินค่ำ) ? และ พวกเขาออกแบบรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการอย่างไร ?</p>
<p>เป็นที่ทราบกันดีว่า รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยถูกประกาศใช้ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 1932 มีผู้ยกร่าง คือ นายปรีดี พนมพงค์ ตัวแทนจากคณะราษฎร และ วันดังกล่าวถือเป็นที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบรัฐธรรมนูญ (ดูเพิ่มเติมที่ รวินทร์ คำโพธิ์ทอง<a href="#_ftn15" name="_ftnref15" title="" id="_ftnref15">[15][/url]) รัฐธรรมนูญไทยและคนไทยผ่านร้อนผ่านหนาวกับเหตุการณ์ทางการเมืองเรื่อยมา โดยประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ ในระยะเวลา 92 ปี นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแรกถูกประกาศใช้ รัฐธรรมนูญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (ต่อจากนี้จะใช้คำว่า รัฐธรรมนูญ 60) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560<a href="#_ftn16" name="_ftnref16" title="" id="_ftnref16">[16][/url]</p>
<p>ที่มาของรัฐธรรมนูญ 60 เริ่มต้นขึ้นภายหลังจากการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คสช. เข้าควบคุมอำนาจ ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 และแต่งตั้งบุคคลขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวฯ ปี 2557” ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ ปี 2560 คณะร่างได้เขียนให้ คสช. มีอำนาจสามารถคัดเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะองค์กรเพื่อทำหน้าที่นิติบัญญัติ (เทียบเท่ากับสภาผู้แทนราษฎร หรือ วุฒิสภา) รวมถึงการเขียนข้อบังคับให้ คสช. สามารถใช้มาตรา 44 ได้ ซึ่งมาตรา 44 นั้นเป็นอำนาจที่สามารถออกคำสั่งใดๆ ก็ได้ ทั้งนี้คำสั่งจากมาตรา 44 นั้นเทียบเท่าการใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 อำนาจ กล่าวคือ มีผลทั้งในทางบริหาร(เทียบเท่า ระเบียบ คำสั่ง  กฎกระทรวง) ทางนิติบัญญัติ (เทียบเท่า พระราชบัญญัติ) หรือ ทางตุลาการ (เทียบเท่า คำวินิจฉัย คำพิพากษา) นอกจากแต่งตั้ง สนช. และ สปช. คสช. ยังแต่งตั้งคณะกรรมมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กมธ. ทำหน้าที่ในการร่างรัฐธรรมนูญ ในยุคของ คสช. มีคณะร่างรัฐธรรมนูญ 2 ชุด ชุดที่หนึ่ง “คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ” โดย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ร่างรัฐธรรมนูญชุดแรกไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ทำให้ต้องเริ่มร่างใหม่โดยคณะร่างรัฐธรรมนูญชุดที่สอง มีประธานร่าง คือ มีชัย ฤชุพันธุ์ ในชื่อ “คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ” <a href="#_ftn17" name="_ftnref17" title="" id="_ftnref17">[17][/url]  ช่างเป็นความโชคดีของประชาชนชาวไทย (หรือเปล่า?) ที่รัฐธรรมนูญ 60 ผ่านการพิจารณาและถูกประกาศใช้จนสำเร็จ</p>
<p>ในด้านเนื้อหาในบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 60 มีหลายประการที่ออกแบบมาเพื่อประชาชนชาวไทย (จะเป็นการออกแบบมาเพื่อชาวไทยทุกคนหรือเปล่านะ) เช่น มีการเขียนบทเฉพาะกาลให้มาตรา 44 ยังคงอยู่และมีผลบังคับใช้จนกว่าจะมีการออกพระราชบัญญัติมายกเลิก,  คสช. มีอำนาจในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา 250 คน มีวาระการทำงาน 5 ปี และ สว. มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีได้, นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ประชาชนเลือกมา แต่เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีที่มาในฐานะคนนอกได้, องค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ และ สร้างกลไกให้รัฐธรรมนูญ 60 มีความยากลำบากเมื่อต้องการแก้ไข สร้างเงื่อนไข คือ ต้องให้ ส.ว. เห็นชอบ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ทั้งในวาระแรกและวาระที่สาม และ ต้องได้รับเสียงจาก ส.ส. จากพรรคฝ่ายค้าน ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของพรรคฝ่ายค้านทุกพรรค<a href="#_ftn18" name="_ftnref18" title="" id="_ftnref18">[18][/url] เป็นต้น</p>
<p>สำหรับรัฐธรรมนูญ 60 มีความเห็นจากนักวิชาการที่อธิบายลักษณะพิเศษของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ (จะเหมือนหรือต่างจากรัฐธรรมนูญแห่งอินเดียหรือเปล่านะ?) ไว้ เช่น มุนินทร์ พงศาปาน เห็นว่า รัฐธรรมนูญ 60 ในรายละเอียดมีการสร้างนวัตกรรมใหม่ทางรัฐธรรมนูญ เช่น การให้อำนาจ สว. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีได้  และ การให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวาง เป็นต้น เมื่อใช้เกณฑ์การจัดประเภทรัฐธรรมนูญโดยยึดตามสิทธิเสรีภาพประชาชน สามารถจัดรัฐธรรมนูญ 60 เข้าข่ายรัฐธรรมนูญประเภทที่เป็นเครื่องมือในการจำกัดบทบาทของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ให้เจ้าของอำนาจอธิปไตยสามารถใช้อำนาจได้อย่างบริบูรณ์ ผ่านการวางกลไกต่างๆ ไว้ในรัฐธรรมนูญ และพบว่ารัฐธรรมนูญ 60 ถูกออกแบบผ่านแนวคิดที่มองว่าประชาชนไทยเป็นผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องมีองค์กรของรัฐและกลไกที่ซ่อนไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมมาคอยตัดสินใจแทนตลอดเวลา นักวิชาการอีกท่านอย่าง พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย มองว่ารัฐธรรมนูญ 60 เป็นการรัฐประหารผ่านรัฐธรรมนูญ (Constitutional Coup) เขียนขึ้นโดยมีความพยายามลดทอนความเป็นประชาธิปไตย มีความพยายามควบคุมการเมืองผ่านรัฐธรรมนูญ มีความต้องการกำจัดศัตรูทางการเมืองผ่านรัฐธรรมนูญ และคงสถานะและอำนาจของคณะรัฐประหารของรัฐธรรมนูญ พรสันต์ยกตัวอย่างประกอบข้อเสนอนี้ เช่น การออกแบบระบบเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสม การมอบอำนาจศาลฎีกาให้พิจารณาคดีจริยธรรมนักการเมือง และ การสร้างความยากลำบากในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ตัวอย่างเหล่านี้ทำให้สถานะของรัฐธรรมนูญ 60 กลายเป็นเครื่องมือใช้เพื่อประโยชน์อะไรบางอย่างและส่งผลกระทบต่อหลักนิติธรรมของสังคม<a href="#_ftn19" name="_ftnref19" title="" id="_ftnref19">[19][/url]</p>
<p>จากข้อมูลข้างต้น คาดว่าคุณผู้อ่านคงพอจะเห็นความแตกต่างระหว่างอินเดียกับไทย ทั้งวิธีคิดในการออกแบบรัฐธรรมนูญ ที่มาของรัฐธรรมนูญ และผู้ออกแบบรัฐธรรมนูญ รวมถึงจุดประสงค์รัฐธรรมนูญว่าถูกออกแบบและนำไปใช้เพื่อใครและเป็นโยชน์ต่อใคร (ผมขอเว้นพื้นที่ว่างไว้ให้คุณผู้อ่านเปรียบเทียบ ตัดสินใจและตอบคำถามเหล่านี้ด้วยตัวเองนะครับ)</p>
<p><strong>ฝันถึงอนาคต: หลับตาฝัน ฉันฝันถึงเธอ … เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ฉบับประชาชนเพื่อประชาชน</strong></p>
<p>คงจะดีไม่น้อยนะครับ ถ้ารัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นรัฐธรรมนูญที่ถูกออกแบบมาเพื่อประชาชนทุกคน ในสนามเลือกตั้ง ปี 66 ที่ผ่านมา พรรคก้าวไกล และ พรรคเพื่อไทย เป็นเพียง 2 พรรคที่นำเสนอนโยบายแก้ไขรัฐธรรมนูญ 60 หากได้รับเลือกเป็นรัฐบาล พรรคเพื่อไทยในช่วงที่มาหลังจากที่ได้รับตำแหน่งพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล เมื่อผ่านการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรก รัฐบาลข้ามพันธุ์ผสมขั้วที่นำโดยพรรคเพื่อไทยได้บรรจุการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 60 ไว้ เป็น นโยบายเร่งด่วนสุดท้าย ด้วยเหตุผลว่า ต้องการให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และยึดรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่แก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้รัฐบาลจะหารือและดำเนินการต่อไป<a href="#_ftn20" name="_ftnref20" title="" id="_ftnref20">[20][/url]</p>
<p>อย่างไรก็ตามมีแคมเปญหนึ่งที่น่าสนใจของ กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ คือ การเสนอให้มีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และ สภาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ (สสร.) ต้องมาจากการเลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ โดยกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญให้หลักการไว้ว่า รัฐธรรมนูญ 60 มีการร่างขึ้นเพื่อสืบทอดอำนาจให้กับคณะรัฐประหาร และมีที่มาของรัฐธรรมนูญโดย คสช. แต่งตั้งกลุ่มคนของตนเองขึ้นมาร่าง และเห็นว่า การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่โดยเปิดให้แก้ไขได้เพียงบางเรื่องไม่ได้เป็นการ ‘เขียนรัฐธรรมใหม่’ แต่อย่างใด ดังนั้น ‘การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ’ จึงเป็นทางออกของปัญหา<a href="#_ftn21" name="_ftnref21" title="" id="_ftnref21">[21][/url]</p>
<p>ในประเด็น สสร. กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่คณะทำงานในนามผู้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน การให้ประชาชนได้เป็นผู้เลือกตั้งคนที่มาร่างรัฐธรรมนูญให้กับประชาชนชาวไทย เป็นกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมและมีส่วนในการตัดสินใจใช้อำนาจกำหนดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านการเลือกคนที่ตนเองไว้วางใจ<a href="#_ftn22" name="_ftnref22" title="" id="_ftnref22">[22][/url] นอกจากนี้ก็มีข้อเสนอเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานในการออกแบบ สสร. จาก 101 PUB (101 Public Policy Think Tank) โดยข้อเสนอดังกล่าวนี้ชูโรงสิ่งที่เรียกว่าความชอบธรรมให้เป็นแนวคิดพื้นฐาน และ ความชอบธรรม จะต้องไม่แยกขาดกันกับอำนาจของประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศนี้ หลักการในข้อเสนอประกอบด้วย<a href="#_ftn23" name="_ftnref23" title="" id="_ftnref23">[23][/url]</p>
<p>1. ยึดโยงกับประชาชน: สสร. ต้องเป็นตัวแทนที่มาจากประชาชน รับฟัง และรับผิดชอบ ต่อเสียงของประชาชน</p>
<p>2. เปิดกว้างโอบรับความคิดที่หลากหลาย: มีตัวแทนที่มาจากหลากหลายกลุ่มและครอบคลุมทุกคนในสังคม</p>
<p>3. เปิดรับการมีส่วนร่วมของประชาชนตลอดกระบวนการ: มีพื้นที่ให้ประชาชนแสดงความเห็นและถกเถียง และ</p>
<p>4. ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ: กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ สสร. และ กรอบเวลาในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ลดอุปสรรคให้ สสร. ได้อย่างสะดวกเพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยเร็วและมีคุณภาพควบคู่กัน</p>
<p>อย่างไรก็ตาม การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นี้ เราคงจะต้องติดตามกันต่อไป ว่าหน้าตาของรัฐธรรมนูญจะคลอดออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร จะมีการเล่นแร่แปรธาตุอะไรให้เห็นอีกหรือไม่</p>
<p><strong>บทส่งท้าย</strong></p>
<p>หลังจากอ่านบทความนี้จบ ถ้ามีใครสักคนถามคุณอีกครั้งว่า ถ้าพูดถึง ‘อินเดีย’ คุณนึกถึงอะไร?</p>
<p>คำตอบที่คุณตอบไป อาจไม่ใช่ ‘โรตี’ หรือ ‘พระพิฆเนศ’ เหมือนเดิมอีกแล้ว</p>
<p>เพราะคำตอบ อาจจะเป็น ‘อินเดีย คือ ประเทศประชาธิปไตยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก’ ก็เป็นได้ครับ</p>
<p>จะว่าไปแล้วก็แอบอิจฉาคนอินเดียเหมือนกันนะครับ … คุณผู้อ่านคิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ</p>
<div>
<div id="ftn1">
<p class="MsoFootnoteText" style="margin:0in"> </p>
<p><strong>อ้างอิง</strong></p>
<p><a href="#_ftnref1" name="_ftn1" title="" id="_ftn1">[1][/url] การแปรญัตติ (Amendment) ความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่า แก้ถ้อยคำหรือเนื้อความในร่างกฎหมายที่สภารับหลักการแล้ว</p>
</div>
<div id="ftn2">
<p><a href="#_ftnref2" name="_ftn2" title="" id="_ftn2">[2][/url] อิงตามข้อมูลจากอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ดร.อัมเบดการ์ Dr. Ambedkar National Memorial, 26 Alipur Road, Delhi.</p>
<p><a href="#_ftnref3" name="_ftn3" title="" id="_ftn3">[3][/url] Photo by https://www.constitutionofindia.net/blog/this-month-in-constitution-making-nov-1949-drafting-committee-comes-under-fire/</p>
</div>
<div id="ftn4">
<p><a href="#_ftnref4" name="_ftn4" title="" id="_ftn4">[4][/url] https://www.inc.in/our-inspiration/dr-b-r-ambedkar และ ข้อมูลจาก Dr. Ambedkar National Memorial, 26 Alipur Road, Delhi.</p>
</div>
<div id="ftn5">
<p><a href="#_ftnref5" name="_ftn5" title="" id="_ftn5">[5][/url] https://www.bhavansnbs.ac.in/munshi/ และ ข้อมูลจาก Dr. Ambedkar National Memorial, 26 Alipur Road, Delhi.</p>
</div>
<div id="ftn6">
<p><a href="#_ftnref6" name="_ftn6" title="" id="_ftn6">[6][/url] ข้อมูลจาก Dr. Ambedkar National Memorial, 26 Alipur Road, Delhi.</p>
</div>
<div id="ftn7">
<p><a href="#_ftnref7" name="_ftn7" title="" id="_ftn7">[7][/url] https://www.constitutionofindia.net/members/t-t-krishnamachari-2/  และ ข้อมูลจาก Dr. Ambedkar National Memorial, 26 Alipur Road, Delhi.</p>
</div>
<div id="ftn8">
<p><a href="#_ftnref8" name="_ftn8" title="" id="_ftn8">[8][/url] https://www.constitutionofindia.net/members/n-gopalaswami-ayyangar/ </p>
</div>
<div id="ftn9">
<p><a href="#_ftnref9" name="_ftn9" title="" id="_ftn9">[9][/url] https://www.constitutionofindia.net/members/alladi-krishnaswamy-ayyar/</p>
</div>
<div id="ftn10">
<p><a href="#_ftnref10" name="_ftn10" title="" id="_ftn10">[10][/url] https://www.constitutionofindia.net/members/muhammad-saadulla/</p>
</div>
<div id="ftn11">
<p><a href="#_ftnref11" name="_ftn11" title="" id="_ftn11">[11][/url] ข้อมูลจาก Dr. Ambedkar National Memorial, 26 Alipur Road, Delhi.</p>
</div>
<div id="ftn12">
<p><a href="#_ftnref12" name="_ftn12" title="" id="_ftn12">[12][/url] ข้อมูลจาก Dr. Ambedkar National Memorial, 26 Alipur Road, Delhi.</p>
</div>
<div id="ftn13">
<p><a href="#_ftnref13" name="_ftn13" title="" id="_ftn13">[13][/url] https://www.kpi-corner.com/content/9199/kpibrief08 , https://www.kpi.ac.th/uploads/pdf/DYO3jzJZk6URzaXcumkxRCZ4gk0rbWiVoGpLk0lE.pdf และ https://www.facebook.com/watch/live/?extid=CL-UNK-UNK-UNK-AN_GK0T-GK1C&amp;ref=watch_permalink&amp;v=1341353909637975</p>
</div>
<div id="ftn14">
<p><a href="#_ftnref14" name="_ftn14" title="" id="_ftn14">[14][/url] History and Development of the Constitution of India (legalserviceindia.com)</p>
</div>
<div id="ftn15">
<p><a href="#_ftnref15" name="_ftn15" title="" id="_ftn15">[15][/url] https://www.the101.world/constitution-2475/</p>
</div>
<div id="ftn16">
<p><a href="#_ftnref16" name="_ftn16" title="" id="_ftn16">[16][/url] https://parliamentmuseum.go.th/constitution.html</p>
</div>
<div id="ftn17">
<p><a href="#_ftnref17" name="_ftn17" title="" id="_ftn17">[17][/url] https://ilaw.or.th/node/6231</p>
</div>
<div id="ftn18">
<p><a href="#_ftnref18" name="_ftn18" title="" id="_ftn18">[18][/url] อ้างอิงและดูเพิ่มเติม https://ilaw.or.th/node/4474 และ ดูเพิ่มเติม https://ilaw.or.th/node/5060</p>
</div>
<div id="ftn19">
<p><a href="#_ftnref19" name="_ftn19" title="" id="_ftn19">[19]&

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 422 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 433 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 331 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 337 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 251 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.055 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 28 เมษายน 2567 07:33:26