[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => นิทาน - ชาดก => ข้อความที่เริ่มโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 20 กรกฎาคม 2555 16:05:18



หัวข้อ: "อานันทเศรษฐี" ผู้มีความตระหนี่ในการให้ทาน
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 20 กรกฎาคม 2555 16:05:18
"อานันทเศรษฐี" ผู้มีความตระหนี่ในการให้ทาน

(http://2.bp.blogspot.com/-4nHqfR4pyA0/TvCHicABFNI/AAAAAAAAAZo/7sUGRLa86yE/s200/257084_154963221240366_100001800682400_330226_7113811_o.jpg)

.......การที่บุคคลจะได้สมบัติทุกภพทุกชาตินั้นเป็นเพราะเหตุว่า เขาได้รักษาสมบัติเอาไว้ได้ ดังที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อาทิตตสูตร ว่า

" เมื่อเรือนถูกไฟไหม้ เจ้าของเรือนขนเอา
ภาชนะใดออกไปได้ ภาชนะนั้นย่อมเป็น
ประโยชน์แก่เขา ส่วนสิ่งของที่ขนออกไปไม่ได้
ย่อมถูกไฟไหม้ ฉันใด

โลก ( คือหมู่สัตว์ ) อันชราและมรณะเผา
แล้วก็ฉันนั้น ควรนำออก ( ซึ่งโภคทรัพย์สมบัติ )
ด้วยการให้ทาน เพราะทานวัตถุที่บุคคลให้แล้ว
ได้ชื่อว่านำออกดีแล้ว ทานวัตถุที่บุคคลให้แล้ว
นั้น ย่อมมีสุขเป็นผล ที่ยังมิได้ให้ย่อมไม่เป็น
เหมือนเช่นนั้น โจรยังปล้นได้ พระราชายังริบ
เอาไปได้ ไฟยังไหม้ได้ หรือสูญหายไปได้

อนึ่ง บุคคลจำต้องละร่างกายพร้อมด้วย
สิ่งเครื่องอาศัย ด้วยตายจากไป ผู้มีปัญญา รู้
ชัดดังนี้แล้ว ควรใช้สอยและให้ทาน เมื่อได้ให้
ทานและใช้สอยตามควรแล้ว จะไม่ถูกติฉิน
เข้าถึงสถานที่อันเป็นสวรรค์ "

.......จากพุทธพจน์ที่กล่าวในเบื้องต้น ทำให้เห็นอานิสงส์ของการทำ และไม่ทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตร
ทั้งกับตนเองและผู้อื่น ซึ่งพอจะขยายความตามพุทธพจน์ได้ว่า " บุคคลที่ทำบุญเอง แต่ไม่ได้บอก
บุญผู้อื่น จะไปเกิดเป็นผู้ที่ร่ำรวยด้วยทรัพย์สมบัติ แต่ไม่มีพวกพ้องบริวาร "

เพราะว่า " เมื่อบุคคลทำบุญด้วยตนเอง " ชื่อว่าเขาได้รักษาทรัพย์สมบัติของตนไว้ แต่ " เขาไม่ได้
บอกบุญผู้อื่น " ชื่อว่าเขาไม่ได้ติดตามรักษาทรัพย์สมบัติให้ผู้อื่น เสมือนปล่อยให้ทรัพย์นั้นถูกไฟไหม้
จนหมดสิ้น ฉะนั้นเวลาไปเกิดในภพชาติใด จึงมีโภคทรัพย์สมบัติมากมาย แต่ไม่มีบริวาร เมื่อทำกิจ
การใดๆ ก็ต้องเหน็ดเหนื่อยยากลำบากมาก ไม่มีคนช่วยเหลือ เพราะขาดพวกพ้อง

" บุคคลที่ไม่ได้ทำบุญเอง ได้แต่บอกบุญคนอื่น จะไปเกิดเป็นคนยากจน แต่มีพวกพ้องบริวาร "

เพราะว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติของตนเองไว้ ได้แต่ตามรักษาทรัพย์สมบัติให้คนอื่น ฉะนั้นไปเกิดใน
ภพชาติใด ตนจึงต้องลำบากและยากจนค่นแค้น แต่เวลาจะทำอะไรก็มีคนคอยช่วยเหลือสนับสนุนตลอดเวลา

" บุคคลที่ไม่ได้ทำบุญด้วยตนเอง และไม่บอกบุญ จะไปเกิดเป็นคนยากจน ทั้งไม่มีพวกพ้องบริวาร "

เพราะว่าไม่รักษาทั้งทรัพย์สมบัติของตนเอง และผู้อื่น บางทีถึงกับขัดขวางคนอื่นไม่ให้ทำอีก ฉะนั้น
ไปเกิดในภพชาติใด ก็พบแต่ความลำบากยากจน ต่ำต้อย ไม่มีพวกพ้องเลย จะทำอะไรก็ลำบากมาก
และไปเกิดกับกลุ่มชนที่มีความลำบากด้วยกัน มีแต่คนรังเกียจ เหมือนดังเรื่องต่อไปนี้



หัวข้อ: Re: "อานันทเศรษฐี" ผู้มีความตระหนี่ในการให้ทาน
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 20 กรกฎาคม 2555 16:06:28
อานันทเศรษฐี

.......ในสมัยพุทธกาล ที่เมืองสาวัตถี มีเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่ออานันทะ มีสมบัติมากถึง ๘๐ โกฏิ แต่ว่าเป็น
คนตระหนี่ไม่ทำบุญ ทั้งห้ามบุตรหลานทุกคนทำบุญ เขาสอนบุตรวันละ ๓ เวลาว่า

" อย่าคิดว่าทรัพย์ที่เรามีอยู่นี้มาก ควรทำทรัพย์ใหม่ให้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆ วัน ไม่ควรให้ทานแก่
ใครๆ เพราะทรัพย์ที่มีมากย่อมสิ้นไปทีละน้อย พึงดูอย่างยาหยอดตา เมื่อหยอดทีละหยดยังหมดได้
พึงดูอย่างการพอกพูนขึ้นของจอมปลวก ที่เพิ่มขึ้นทีละน้อย ยังเป็นจอมปลวกใหญ่ได้ คนครองเรือนก็
ควรเป็นอย่างนี้ "

เขาได้ฝังขุมทรัพย์ใหญ่ไว้ ๕ แห่ง แต่ด้วยความที่ตระหนี่มาก จึงไม่ยอมบอกให้ใครทราบ แม้แต่บุตร
ของตนชื่อ มูลสิริ อานันทเศรษฐีมีชีวิตอยู่อย่างเศร้าหมอง เพราะความตระหนี่ เมื่อเขาตาย มูลสิริได้
ดำรงตำแหน่งเศรษฐีต่อมา

อานันทเศรษฐีเมื่อเขาละโลกไปแล้ว ไปเกิดในครรภ์ของหญิงยากจนคนจัณฑาล หาเลี้ยงชีพด้วยการ
ขอทาน ขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา ไม่ว่าจะไปขอทานที่ไหนก็ตาม มารดาจะอดอยากยากจนไปด้วย ที่ว่า
จนแล้วก็ยิ่งกลายเป็นคนจนในหมู่ยาจกทีเดียว รวมทั้งทำให้กลุ่มที่หญิงยากจนคนนี้ไปอาศัยอยู่พลอยยาก
ลำบากไปด้วย ทำให้หมู่คณะสงสัยว่า ต้องมีคนกาลกิณีอยู่แน่นอน จึงได้แบ่งกลุ่มออกเป็น ๒ ฝ่าย และ
ถ้าหญิงมีครรภ์ผู้นี้ไปอยู่ฝ่ายไหน ฝ่ายนั้นก็จะตกยากลำบาก ขอทานไม่ได้ทุกครั้ง จนเป็นที่รังเกียจของผู้
อื่น จึงขับนางออกจากกลุ่ม


.......เมื่อนางคลอดบุตร ได้เห็นหน้าบุตรแล้วอยากจะร้องไห้สัก ๕๐ ปี เพราะบุตรของนางพิกลพิการสารพัด
อย่าง มือ เท้า หู จมูก ปาก นัยน์ตา พิการไปหมด เหมือนปีศาจคลุกฝุ่น น่าเกลียดเหลือเกิน แต่นางก็ไม่
ละทิ้งบุตร ทั้งนี้เพราะความมีเยื่อใย ความรักความผูกพันตามธรรมชาติของแม่ที่มีต่อลูกอย่างแรงกล้า นาง
เลี้ยงบุตรด้วยความฝืดเคือง วันใดที่พาบุตรไปขอทานด้วย วันนั้นจะไม่ได้อะไรเลย ส่วนวันใดทิ้งบุตร
ไว้ที่บ้าน วันนั้นจะได้อาหารพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องพอดำรงชีวิตอยู่ได้เท่านั้น

พ่อแม่จึงปรึกษากันว่า ตั้งแต่ลูกคนนี้เกิดมา ไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็พบแต่ความอัตคัดขัดสนตลอดเวลา
แม้กระนั้นก็ยังสู้ทนเลี้ยงดูลูกเรื่อยมา จนกระทั่งลูกสามารถดูแลตัวเองได้ จึงบอกกับลูกว่า " ลูกเอ๋ย เอา
กระเบื้องใบนี้ไป ต่างคนต่างไปเถอะ ถึงแม้ว่าพ่อกับแม่จะรักลูกแค่ไหน แต่ถ้าเอาลูกไปด้วยก็คงจะอด
อยากมาก ดังนั้นลูกจงไปหาเลี้ยงชีพด้วยตนเองเถิด "

ลูกจึงจำต้องจากไปเพื่อหาเลี้ยงชีพ แต่ไม่ว่าจะไปทางไหนก็หาทรัพย์ไม่ได้ เด็กน้อยตะเกียกตะกาย
ขอทานช่วยเหลือตัวเองไปจนถึงบ้านของมูลสิริเศรษฐี ก็ระลึกชาติได้ว่า บ้านนี้เคยเป็นบ้านของตนมาก่อน
และเศรษฐีนี้ คือ ลูกชายของตนเอง จึงเดินไปในบ้านนั้น ฝ่ายลูกของมูลสิริเศรษฐีเห็นเด็กขอทานที่หน้า
ตาน่าเกลียด น่ากลัวเข้าก็ตกใจ จึงให้คนใช้ขับไล่ออกไป


.......ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ ( พระผู้ติดตาม ) เสด็จผ่านไปถึงที่นั้น
พระองค์ทรงชี้ให้ดูเด็กขอทานคนนั้น แล้วตรัสว่า " อานนท์ เด็กขอทานที่มีหน้าตาอัปลักษณ์น่าเกลียด
นั้น คือ อานันทเศรษฐี "

ทั้งยังตรัสกับมูลสิริเศรษฐีให้ทราบอีกด้วยว่า นี่คือ อานันทเศรษฐี ซึ่งเป็นพ่อของเขาในอดีตชาติ

มูลสิริเศรษฐีจึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เขาจะทราบได้อย่างไร พระองค์ตรัสตอบว่า เด็กคนนี้
จำที่ฝังสมบัติได้ มูลสิริเศรษฐีจึงให้เด็กขอทานนั้นไปชี้ที่ฝังสมบัติ เมื่อให้คนขุดดู ก็พบว่ามีสมบัติจริงตาม
ที่ชี้


.......จะเห็นได้ว่า การไม่รักษาสมบัติของตนและไม่ตามรักษาสมบัติของผู้อื่น จำทำให้เข้าถึงความวิบัติ
ของรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ และคุณสมบัติต่างๆ ทำให้มีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ ยากจนค่นแค้นเป็นที่
รังเกียจของคนทั่วไป

ส่วน " บุคคลที่ทำบุญเองและบอกบุญผู้อื่นด้วย ย่อมร่ำรวยด้วยโภคทรัพย์สมบัติ และ บริวารสมบัติ "

เพราะว่า นอกจากตนเองได้รักษาทรัพย์สมบัติของตนไว้ดีแล้ว ยังติดตามไปรักษาทรัพย์สมบัติให้ผู้อื่น
ฉะนั้นไปเกิดในภพชาติใด ก็จะมั่งคั่งร่ำรวยและมีพวกพ้องบริวารมาก จะทำสิ่งใดก็สำเร็จได้โดยง่าย

เพราะผู้ที่ได้รับการชักชวนทั้งหลาย ได้เสวยผลบุญเกิดมา มีความสุขความเจริญด้วยโภคทรัพย์สมบัติ
เขาจะระลึกถึงบุคคลที่ตามไปรักษาทรัพย์ของเขาไว้ให้พ้นจากวิบัติ ฉะนั้นจะเกิดกระแสบุญชนิดหนึ่ง
แล่นมาถึงผู้ที่ตามไปรักษาทรัพย์สมบัตินั้นไว้ พร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้รุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป จะมีแต่
คนที่ซื่อสัตย์สุจริต บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ มาเป็นบริวาร เป็นมิตรสหาย คนภัยคนพาลเข้าใกล้ไม่ได้
เพราะเดินสวนทางกัน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ที่ไม่ดีจะไม่เกิดขึ้นเลย จะได้แต่สิ่งที่ดีๆ
ทั้งโภคทรัพย์สมบัติ และบริวารสมบัติทุกอย่าง

ที่มา จากเว็บธรรมจักร