[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 31 สิงหาคม 2566 00:19:14



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ทำไม กทม. เก็บภาษีได้ลดลง ทำความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและปัญหาจากเน
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 31 สิงหาคม 2566 00:19:14
ทำไม กทม. เก็บภาษีได้ลดลง ทำความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและปัญหาจากเนื้อใน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-08-30 22:35</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล : สัมภาษณ์/เรียบเรียง</p>
<p>กิตติยา อรอินทร์ : ภาพปก </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มาแทนภาษีโรงเรือนและที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่ทำให้จัดเก็บภาษีได้น้อยลง แต่ในอนาคตคาดว่าจะเก็บได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกลับมีปัญหาในตัวเองโดยเฉพาะการยกเว้นภาษี นักเศรษฐศาสตร์อธิบายว่าภาษีนี้ต้องการกระจายอำนาจทางการคลังให้ท้องถิ่น ส่วนการลดความเหลื่อมล้ำต้องใช้ภาษีและมาตรการอื่นๆ</p>
<p>การยกเลิกภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดินมาใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ทำให้รายได้ที่ท้องถิ่นเก็บได้ลดลง ดังที่ชัชชาติ สิทธิพันธุ์เคยให้สัมภาษณ์โดยยกตัวอย่างเขตพญาไทว่าก่อนเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บภาษีสามารถจัดเก็บได้ประมาณ 300 ล้านบาท แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทำให้รายได้ลดลงเหลือประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>'ชัชชาติ' ฝาก รบ.ใหม่ ทบทวนภาษีที่ดิน หลังเก็บห้างใหญ่ได้ลดลง 10 เท่า (https://prachatai.com/journal/2023/05/104329)</li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อดูผลการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2563-2565 เปรียบเทียบกับผลการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ปี 2562 ก็พบว่าตัวเลขลดลงจริงโดยในปี 2563-2564 ลดลงถึงร้อยละ 90</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53153167538_ac49bf7ebc_o.jpg" /></p>
<p>ดวงมณี เลาวกุล จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าตัวเลขที่ลดลงเกิดขึ้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาษีจากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งภาษีโรงเรือนและที่ดินเก็บในอัตราร้อยละ 12.5 จากฐานค่าเช่ารายปี แต่ในระยะเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนมาจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผู้ให้เช่าต่างส่งเสียงถึงรัฐบาลว่าเหตุใดจึงต้องเสียภาษีนี้โดยไม่เข้าใจว่าเดิมทีต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว</p>
<p>แต่แทนที่กระทรวงการคลังจะอธิบายสร้างความเข้าใจ กลับลดกระแสคัดค้านลงโดยเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าในอัตราที่อยู่อาศัยคือร้อยละ 0.02 ซึ่งต่างจากอัตราพาณิชย์ที่ร้อยละ 0.3 ทำให้ อปท. ในเขตเมืองมีรายได้ลดลงมาก</p>
<p>“การให้เก็บตามอัตราที่อยู่อาศัยนี้ไม่ถูกหลักการ เพราะ พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลุกสร้างนี้เก็บกับคนที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น แล้วดูว่าเจ้าของใช้ประโยชน์ทำอะไร การให้เช่าก็ชัดเจนว่าใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ อัตราที่นำมาใช้ก็ต้องเป็นพาณิชย์ ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย อัตราเปอร์เซ็นต์มันต่างกันค่อนข้างเยอะและเป็นเหตุให้รายได้ของ กทม. อปท.ในเขตเมืองลดลง เช่น เทศบาลนครแหลมฉบังก็ลดลง”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/7826/32356882477_cae2673ef0_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ดวงมณี เลาวกุล</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปรับอัตราภาษี เพิ่มรายได้</span></h2>
<p>ดวงมณียังอธิบายต่อว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินเก็บจากฐานค่าเช่ารายปี ขณะที่ภาษีของภาษีโรงเรือนและที่ดินเก็บจากฐานมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นราคาประเมินของกรมธนารักษ์ซึ่งราคาประเมินจะต่ำกว่าราคาซื้อขายจริง</p>
<p>“แค่เปลี่ยนมาเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลุกสร้างด้วยอัตราเชิงพาณิชย์ หลายแห่งก็จะเสียภาษีลดลงจากภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว เพราะถ้าเป็นบ้านที่ปลูกมานานมันมีการหักค่าเสื่อมราคา มูลค่าของสิ่งปลุกสร้างก็แทบไม่เหลือ ปลูกมาสี่สิบห้าสิบปี แม้ว่าจะอยู่แหล่งเมืองหรือพาณิชย์ ฉะนั้นการเปลี่ยนจากภาษีโรงเรือนและที่ดินมาเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แม้จะเก็บอัตราพาณิชย์ หลายแห่งก็เสียภาษีน้อยลงกว่าเดิม ซ้ำร้ายว่าไปเก็บในอัตราที่อยู่อาศัยก็ทำให้รายได้ท้องถิ่นในเขตเมืองลดลงไปอีก แต่ก็มีบางแห่งเสียเพิ่มขึ้น แล้วแบบนี้ก็ผิดหลักการด้วย คือเจ้าของให้เช่าเพื่อการพาณิชย์หรือกรณีอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่อาศัยเอง”</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ประเด็นรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลงกรณีการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงกรณีเดียว ยังมีประเด็นอื่นอีกที่มีปัญหาคือพวกธุรกิจศูนย์การค้า โรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากพบว่าเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลุกสร้างน้อยลงกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน เช่น ศูนย์การค้าที่แบ่งเป็นล็อคๆ ให้เช่าซึ่งเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามค่าเช่า ถ้าค่าเช่าสูง ท้องถิ่นเก็บร้อยละ 12.5 ก็ทำให้ท้องถิ่นได้รายได้จากตรงนี้มาก แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลุกสร้างซึ่งเก็บจากมูลค่าทำให้รายได้ท้องถิ่นลดลงไปจากเดิม</p>
<p>ส่วนกรณีโรงงานอุตสาหกรรม การเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินจะนับรวมเครื่องจักรด้วย แต่พอเป็นฐานภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทำให้เครื่องจักรไม่ถือว่าเป็นสิ่งปลุกสร้าง แต่ดูมูลค่าที่ดินและสิ่งปลุกสร้างเท่านั้นทำให้โรงงานเสียภาษีลดลง ซึ่งเป็นตัวอย่างทำให้ กทม. และองค์กรปกครองท้องถิ่นในเขตเมืองอย่างแหลมฉบังมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะแหลมฉบังรายได้ลดลงไปถึง 180 ล้านบาท</p>
<p>นอกจากนี้ อปท.ในเขตเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยแออัดอาจจะสำรวจได้ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ การแจ้งภาษีไปยังผู้เสียภาษีไม่ครบถ้วน ดวงมณีแจ้งว่าทางแก้คือสำรวจให้ครบ ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าก็ต้องเปลี่ยนมาเป็นอัตราที่ควรจะเป็นอัตราในเชิงพาณิชย์ ไม่ใช่เชิงการอยู่อาศัย ส่วนศูนย์การค้า โรงงานอุตสาหกรรมเป็นเพียงตัวอย่าง แต่อาจจะมีประเภทอื่นๆ อีก</p>
<p>“เราสามารถไปปรับอัตราส่วนให้เหมาะสมได้ ในปัจจุบันนี้เราใช้อัตราเดียวกัน เริ่มต้นที่ 0.3 แล้วก็เพิ่มขึ้นตามมูลค่า แต่ในกฎหมายมีการเปิดช่องไว้ว่าสามารถกำหนดอัตราภาษีตามเงื่อนไขในแต่ละประเภทการใช้ประโยชน์ได้ ถ้าเชิงพาณิชย์แบบศูนย์การค้าหรือโรงงานอุตสาหกรรมก็อาจจะกำหนดให้สูงกว่าเดิมได้ ถ้าเราวิเคราะห์แล้วว่าลดลงจากภาษีโรงเรือนและที่ดินค่อนข้างเยอะ ถ้าพิจารณาแล้วเหมาะสมที่จะกำหนดอัตราใหม่ขึ้นมา ในกฎหมายก็สามารถทำได้ หลังจากมีการใช้กฎหมายไปแล้วก็มาพิจารณาอีกทีว่าต้องปรับปรุงหรือไม่อย่างไร ความเหมาะสมเป็นอย่างไร”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มีโอกาสที่จะเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น</span></h2>
<p>สำนักงานเศรษฐกิจการคลังออกมาชี้แจงว่าจะเก็บได้มากขึ้นในปีต่อๆ ไป ดวงมณีอธิบายว่าถ้าวิเคราะห์ตามตัวเลขในปี 2566 ในภาพรวมก็ควรเก็บได้สูงขึ้น</p>
<p>“เพียงแต่ว่าในพื้นที่ที่เป็นเมือง เช่น กทม. จะเก็บได้เพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน เพราะมันมีส่วนที่ไปดึงภาษีลดลงจากเดิมอยู่ในส่วนของศูนย์การค้า การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้าไม่ได้ปรับตรงนี้ กทม. แทนที่จะสามารถเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นเยอะ เขาก็จะยังคงโดนกดเรื่องพวกนี้อยู่</p>
<p>“ถ้าจะถามว่า สศค. พูดแบบนั้นจะไม่เป็นจริงหรือเปล่า ก็พูดขนาดนั้นไม่ได้ว่าไม่เป็นจริง เพราะดูตัวเลขก็มีแนวโน้มที่จะสามารถเพิ่มรายได้ได้ และตัวฐานภาษีของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างก็มาจากมูลค่าของราคาประเมิน พอรอบภาษีถัดไปคืออีก 4 ปีถัดไปราคาประเมินโดยภาพรวมโดยเฉลี่ยก็จะสูงขึ้นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะเก็บภาษีได้มากขึ้นก็จะมี”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทำไมต้องเปลี่ยนการจัดเก็บภาษี</span></h2>
<p>เหตุที่ต้องปรับเปลี่ยนการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดินมาเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพราะมีปัญหา 2 ประการ</p>
<p>ดวงมณีอธิบายว่าประการแรกฐานภาษีเดิมใช้ราคาประมาณการที่ดินเป็นหลัก แต่เป็นราคารประมาณการที่ดินตั้งแต่ 2521-2524 และไม่มีการปรับปรุงให้ทันยุคทันสมัยอีกเลยแม้ว่าที่ดินจะมีมูลค่าสูงขึ้น กลายเป็นว่าเก็บภาษีได้ในอัตราถดถอย ทั้งยังมีการลดหย่อนให้กับพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางวา ถึง 50 ไร่ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่</p>
<p>ประการต่อมา ภาษีโรงเรือนและที่ดินที่เก็บจากค่าเช่าร้อยละ 12.5 ในแง่หนึ่งก็ถือว่าซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้ ทำให้ผู้เสียภาษีจำนวนมากเลือกหนีภาษี และถ้าการประเมินค่าเช่ารายปีไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน ขึ้นกับดุลพินิจของเจ้าพนักงาน ผู้ให้ก็อาจแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าให้เช่าในราคาที่ต่ำกว่าที่เป็นจริงเพื่อลดภาระภาษีของตน</p>
<p>จากปัญหาสองประการนี้ทำให้ท้องถิ่นไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้มากเท่าที่ควรจะเป็น และขาดอิสระทางการคลัง ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะนำเงินรายรับส่วนนี้ไปทำอะไรที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่จึงจำเป็นต้องยกเลิกภาษีทั้งสอง</p>
<p>“พอมาถึง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลุกสร้าง ฐานภาษีมาจากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งต่างจากภาษีโรงเรือนและที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่ มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นการประเมินมูลค่าของกรมธนารักษ์ ฉะนั้นทุกคนที่เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลุกสร้างก็สามารถเช็คได้ว่าราคาเท่าไหร่ ไม่ต้องใช้ดุลยพินิจเจ้าพนักงาน แล้วผู้ครอบครอบสิ่งปลุกสร้าง เจ้าของที่ดินเหล่านี้ก็ต้องเสียภาษี ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บ เขาก็ต้องดูว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ใช้ประโยชน์อะไร โดยแบ่งเป็น 4 ประเภท เกษตรกรรม ที่พักอาศัย อื่นๆ เช่น เพื่อการพาณิชย์ อุตสาหกรรม สถานศึกษา และที่ดินรกร้าง เป็นต้น”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อัตราภาษีต่ำเกินไป</span></h2>
<p>ทั้งนี้อัตราภาษีในการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทไม่เท่ากัน ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมมีอัตราต่ำสุด เก็บได้ไม่เกินร้อยละ 0.15 แต่อัตราเก็บจริงคือร้อยละ 0.001-0.1 ซึ่งดวงมณีเห็นว่าเป็นอัตราที่ต่ำและยังมีการยกเว้นให้บุคคลธรรมดาในเขตปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ที่ถือครองที่ดินหรือสิ่งปลุกสร้างมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท</p>
<p>ส่วนที่พักอาศัยเก็บได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 0.3% แต่จัดเก็บจริงร้อยละ 0.02-0.1 และหากบ้านหลังหลักเจ้าของมีชื่อในโฉนดหรือในทะเบียนบ้านก็จะได้ยกเว้นหากบ้านมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่ถ้ามีชื่อเป็นเจ้าของบ้านอย่างเดียวโดยไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินจะยกเว้นอยู่ที่ 10 ล้านบาท ส่วนบ้านหลังอื่นๆ ที่ไม่ได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.02-0.1</p>
<p>“ส่วนอัตราอื่นๆ อัตราเพดานอยู่ที่ 1.2 เปอร์เซ็นต์จัดเก็บจริงร้อยละ 0.3-0.7 ประเภทสุดท้าย ที่ดินรกร้างว่างเปล่า อัตราจัดเก็บเดียวกับพาณิชย์และเพิ่มขึ้น 0.3 เปอร์เซ็นต์ทุก 3 ปี เช่น 3 ปีแรกไม่ใช่ประโยชน์ 0.3 เปอร์เซ็นต์ แล้ว 3 ปีต่อมายังไม่ใช้ประโยชน์อีกก็เก็บ 0.6 เปอร์เซ็นต์ แต่ว่าสุดท้ายแล้วจะกำหนดไว้ว่าไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ ประมาณเกือบ 20 ปี ถึงจะเกือบถึง 3 เปอร์เซ็นต์”</p>
<p>เมื่อพื้นที่เกษตรที่มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทได้รับการยกเว้นภาษี เกษตรกรที่เคยเสียภาษีบำรุงท้องที่เดิมจึงได้รับการยกเว้นเกือบทั้งหมด ขณะที่บ้านที่มีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท จากข้อมูลปี 2558 มีอยู่ประมาณ 10,000 หลังเท่านั้นที่ต้องเสียภาษี</p>
<p>“ถ้าดู กทม. เดิมในปี 2562 ภาษีบำรุงท้องที่กับภาษีที่ดินและโรงเรือนอยู่ที่ 15,000 ล้านบาท แต่พอดี 2565 ได้แค่ 13,000 กว่าล้าน แต่ก็มีภาษีที่ค้างชำระอยู่ด้วย ถ้าบวกก็เพิ่มมาอีกส่วนหนึ่ง แต่จะเห็นได้ว่าลดไปประมาณ 2 พันกว่าล้าน เหตุก็อย่างที่อธิบายไปข้างต้นว่าเก็บภาษีอาคารที่ปล่อยให้เช่าในอัตราที่อยู่อาศัยไม่ใช่อัตราพาณิชย์ ศูนย์การค้าเดิมที่เก็บจากฐานค่าเช่า พอมาเป็นสิ่งปลุกสร้างและมูลค่าที่ดินก็รายได้ลดลง พวกโรงงานอุตสาหกรรมก็ด้วย วิธีแก้ก็มาเก็บในเชิงอัตราพาณิชย์ซะให้ตรงตามหลักการ ศูนย์การค้าและโรงงานอุตสาหกรรมต้องพิจารณาว่าต้องปรับเพิ่มมั้ย ของเดิมที่เก็บ 12.5 เปอร์เซ็นต์ของค่าเช่า มันก็อาจจะเป็นอัตราภาษีที่มากกว่าเดิมไปหน่อย</p>
<p>“ประเด็นคือเจ้าของธุรกิจเหล่านี้รับภาระภาษีน้อยลง แต่ไม่ลดค่าเช่าหรือลดราคาสินค้าให้กับผู้บริโภค ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์อะไรกลับมา แต่เมื่อภาระภาษีเพิ่มขึ้นก็ผลักมาให้ผู้บริโภค มันก็เลยเกิดข้อโต้แย้งตรงนี้ว่าทำไมไม่คืนกลับมาให้ผู้บริโภคบ้าง การสำรวจพื้นที่เขตเมืองมันก็หนาแน่นมาก ไม่สามารถสำรวจได้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ถ้าครบก็จะจัดภาษีได้มากขึ้น”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปัญหาจากเนื้อใน</span></h2>
<p>ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจึงถือว่ามีปัญหาตั้งแต่ต้น เช่น การยกเว้นภาษีให้กับพื้นที่เกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ซึ่งการจัดเก็บภาษีที่ดีต้องไม่มีการยกเว้น แต่จัดเก็บในอัตราที่ที่ไม่สูงให้ประชาชนสามารถจ่ายภาษีได้</p>
<p>“พ.ร.บ.ฉบับนี้กลัวว่าจะกระทบกับประชาชนก็ไปละเว้นให้ที่ 50 ล้านบาท คือถ้าจะดูแลคนที่ไม่มีความสามารถในการจ่ายหรือมีความสามารถในการจ่ายน้อยก็ต้องทำให้มันเฉพาะกลุ่ม ไม่ควรละเว้นถึง 50 ล้าน คนที่ใช้ที่ดินเกษตรหรืออยู่อาศัยทั่วไปก็ไม่เกิน 3-5 ล้าน ก็แสดงว่าเขาไม่มีความสามารถในการจ่ายภาษีมากนัก ก็ควรจะยกเว้นแค่นี้ ดูแลเฉพาะกลุ่มนี้ พอไปยกเว้นถึง 50 ล้าน ทุกคนก็ถูกละเว้นได้ ถ้ามีบ้านขนาดนั้นก็ต้องสามารถจ่ายภาษีได้ แล้วอัตราเก็บภาษีเกษตรที่ต่ำก็ไปโยงกับการที่คนหลีกเลี่ยงภาษี เปลี่ยนที่ดินรกร้างมาทำเกษตร  ซึ่งก็ไม่ได้ทำเกษตรจริงๆ แต่เขาก็ไม่ต้องเสียภาษีเลย”</p>
<p>ในทางกลับกัน นโยบายรัฐเรื่องโฉนดชุมชนที่มีการถือครองร่วมกันในนามสหกรณ์กลับใช้การประเมินภาษีที่ดินโดยการรวมแปลงทั้งหมดของเกษตรกรแต่ละคนทำให้ต้องเสียภาษีในอัตราสูง ซึ่งหากแบ่งที่ดินตามโฉนดของเกษตรกรแต่ละคนจะได้รับการยกเว้นภาษี จึงต้องมีการทบทวนการประเมินภาษีที่ดินตามนโยบายรัฐด้วย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เป้าหมายคือกระจายอำนาจทางการคลัง</span></h2>
<p>อย่างไรก็ตาม ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ดวงมณีอธิบายว่าวัตถุประสงค์ของภาษีนี้คือต้องให้ อปท. มีแหล่งรายได้จากภาษี เนื่องจากการที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ใน อปท. แต่ละแห่ง ผู้เป็นเจ้าของย่อมได้รับประโยชน์โดยตรงจากการพัฒนาของท้องถิ่นหรือบริการสาธารณะต่างๆ ฉะนั้นก็ควรมีส่วนร่วมในการจ่ายภาษีรวมถึงราคาสิ่งปลูกสร้างที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี</p>
<p>“ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นภาษีของท้องถิ่นที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง เพื่อที่จะได้มีความเชื่อมโยงระหว่างคนที่เป็นเจ้าของที่ได้ประโยชน์จากบริการสาธารณะต่างๆ และการพัฒนาท้องถิ่น”</p>
<p>กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่ท้องถิ่น ถึงกระนั้นก็จะเกิดปัญหาว่าท้องถิ่นแต่ละแห่งมีขนาดการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่เท่ากัน ทำให้ท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กให้อาจภาษีได้ไม่มากเพียงพอต่อการนำไปพัฒนาพื้นที่ ประเด็นนี้ดวงมณีกล่าวว่า</p>
<p>“ถ้าเป็นท้องถิ่นเล็กๆ ห่างไกลก็จะไม่ได้รายได้จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมากนัก อันนี้ก็จริง ซึ่งส่วนนี้ในโครงสร้างรายรับของ อปท. จะมีส่วนเงินอุดหนุนหรือส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นไปตาม พ.ร.บ.การกระจายอำนาจว่ารัฐจะต้องแบ่งกี่เปอร์เซ็นต์ให้กับท้องถิ่น ส่วนงบประมาณเหล่านี้จะเข้ามาช่วยลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ภาษีที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองในแต่ละแห่ง มันมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่สามารถเข้ามาช่วยลดความเหลื่อมล้ำตรงนี้ได้</p>
<p>“ตอนนี้ทางคณะกรรมการกระจายอำนาจกำลังดูอยู่ว่าจะสามารถทำยังไงจะจัดสรรรายได้ให้ อปท. ที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้เพราะก็เห็นปัญหาตรงนี้อยู่ คือมันมีโครงสร้างที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้อยู่ แต่เราจะทำยังไงให้มันสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้จริง”</p>
<p>ส่วนการลดความเหลื่อมล้ำด้านทรัพย์สินต้องใช้ภาษีทรัพย์สินและมาตรการอื่นๆ เข้ามาประกอบ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะผลักดันออกมา</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สัมภาษณ์[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิ่งแวดล้อม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%B5-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ดวงมณี เลาวกุล[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ภาษีโรงเรือนและที่ดิน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ภาษีบำรุงท้องที่[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การกระจายอำนาจทางการคลั่ง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ภาษีทรัพย์สิน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ความเหลื่อมล้ำ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105696