[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 20 กันยายน 2566 22:34:12



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ‘แสงธรรมดา’ คนเดือนตุลา ผู้ปลุก soft power หลังแนวรบเทือกเขาบรรทัด
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 20 กันยายน 2566 22:34:12
‘แสงธรรมดา’ คนเดือนตุลา ผู้ปลุก soft power หลังแนวรบเทือกเขาบรรทัด
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-09-20 21:56</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>เรื่อง: ชาลินี ทองยศ</p>
<p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์</p>
<p>รายงานชิ้นนี้อยู่ภายใต้โครงการ Journalism that Builds Bridges</p>
<p>เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 20 ก.ย. 2566</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ดนตรีทำหน้าที่อะไรในขบวนประชาธิปไตย ? คุยกับ ‘น้าแสง’ หรือ สหายแสง คนเดือนตุลา ผู้ปลุก soft power หลังแนวรบเทือกเขาบรรทัด </p>
<p>ก่อนจะมีกระแส soft power จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน จนกลายเป็นนโยบายในการเลือกตั้งปี 2566 นั้น ในอดีตก็มีการใช้ soft power ในการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมือง ทำให้ผู้คนมีส่วนร่วมและเข้าถึงง่าย โดยใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือ สกัดความคิด ทฤษฎี การถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ ปลุกขวัญกำลังใจในการต่อสู้กับผู้กดขี่ สมัยที่มีการหนีเข้าป่าก็ใช้เพลงปลอบประโลมเพื่อชีวิตในป่าที่กำลังคิดถึงบ้าน คนรัก และเพื่อนพ้องในเมือง  เพราะอำนาจรัฐไทยสมัยก่อนเป็นเผด็จการทหาร รัฐใช้อำนาจทั้งกฏหมาย มีการการคุกคามโดยเฉพาะการใช้อำนาจทางทหารปราบปรามสังหารนักเรียนนักศึกษาประชาชนฝ่ายก้าวหน้า ทำให้หลายคนต้องเข้าป่าจับอาวุธในการต่อสู้ครั้งนี้</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53200705707_562980fdf7_b.jpg" /> </p>
<p>น้าแสง–แสงธรรมดา กิติเสถียรพร เป็นอีกหนึ่งคนที่ตัดสินใจเข้าป่าร่วมต่อสู้เพื่อต้องการเปลี่ยนสังคม ก่อนจะเป็นสหายแสง แต่เดิมมีชื่อว่า โต้ง เป็นชาวจังหวัดสงขลา เกิดเมื่อวันที่ 15 ก.ค. พ.ศ. 2497 จบการศึกษามัธยมที่โรงเรียนแสงทองวิทยา อำเภอหาดใหญ่หาด เป็นโรงเรียนชื่อดังเรื่องภาษาอังกฤษ</p>
<p>น้าแสงเล่าให้เราฟังว่า พอเข้าไปศึกษารู้ตัวว่าไม่ได้ชอบและสนใจในภาษาอังกฤษ แต่สิ่งที่ได้รู้จักและเป็นตัวตนในตอนเรียนคือ ไปสมัครเข้าวงโยธวาทิต เลยเข้าใจตัวโน๊ตและศิลปะแขนงนี้ ซึ่งเป็นประตูบานเเรกที่เปิดโอกาสให้หลงรักในดนตรีจนมาเป็นศิลปินทุกวันนี้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทหารอเมริกาหัดกีตาร์ให้ </span></h2>
<p>อีกจุดเปลี่ยนหนึ่งที่สำคัญในชีวิตของน้าแสง คือ ในอดีตทางการไทยเคยอนุญาตให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาตั้งฐานทัพทั้งหมด 8 แห่งเพื่อทำสงครามกับเวียดนามและปราบปรามคอมมิวนิสต์ โดยอเมริกามีส่วนสำคัญในการสร้างฐานคิดความเป็นไทยแบบอนุรักษนิยมและการก่อรูปรัฐไทยอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากเล็งเห็นว่าประเทศไทยมีภูมิรัฐศาสตร์พร้อมรบ ประหยัดงบประมาณในการส่งทหารมาแต่ละครั้งได้ ประเทศไทยจึงได้รับบทบาทผู้ให้บริการ 3 ด้าน ได้แก่ การให้ที่ตั้งฐานทัพ เป็นที่ตั้งอุปกรณ์สืบราชการลับ และศูนย์พักผ่อนพักฟื้นของทหารอเมริกัน</p>
<p>น้าแสงเล่าว่า ในช่วงที่ทหารอเมริกาพักรบ มีทหารอเมริกาชื่อ “จอน” จากแคมป์ฐานทัพอากาศโคราชมาพักร้อน จอนมาหาเพื่อนนักดนตรีของน้าแสงที่ไนต์คลับแห่งหนึ่งในหาดใหญ่ และเขามาร่วมเล่นดนตรีที่นั่นด้วย ระหว่างการพักร้อนจอนเช่าบ้านพักซึ่งอยู่ติดกันกับบ้านของน้าแสง ทำให้น้าแสงมีโอกาสไปคลุกคลีที่บ้านของจอนอยู่บ่อยๆ นั่นน้าแสงได้เห็นได้เห็นกีตาร์ตัวเป็นๆ ครั้งแรก  ได้ฟังเพลงสากลครั้งแรกจากแผ่นเสียง ได้รู้จักเพลงของวงต่างประเทศ เช่น The Beatles Santana CCR และ Bob Dylan</p>
<p>“ไปอยู่กับจอน จนจอนรับเป็นลูกศิษย์สอนดนตรี เพลงแรกในการหัดกีตาร์ คือเพลง ‘Why Do I Love You So’ แต่เรียนไปสักพักเกือบจะได้เลิกเรียนแล้ว เพราะจอนหัดเป็นเดือนแล้วไม่ได้เรื่องเลย สอนก็ไม่จำทำก็ไม่ได้”</p>
<p>น้าแสงเล่าพร้อมบอกว่าตนมีหน้าที่ไปซื้อกาแฟ ชาเย็น บุหรี่ รวมถึงหากัญชาให้กับจอน</p>
<p>จนวันหนึ่งก็ถึงจุดเปลี่ยน จอนชวนน้าแสงให้ไปให้ช่วยตอกตะปูติดรูปนักดนตรีคนโปรดของจอน น้าแสงก็ไปตอกตะปูติดรูป Elvis Presley The Beatles Jimmy Hendrix พอจอนเห็นน้าแสงถือค้อนตอกตะปูมือซ้าย จอนเลยถามว่า “อ่าวถนัดซ้ายเหรอ ทำไมไม่บอก” เพราะตอนที่จอนสอนใช้กีตาร์มือขวา</p>
<p>หลังจากนั้นจอนบอกให้ไปหากีตาร์มาหนึ่งตัว จะเป็นกีตาร์ใหม่กีตาร์ยืมก็ได้ แต่สมัยนั้นกีตาร์หายากมากเพราะของแปลกยังไม่เป็นที่นิยมเหมือนทุกวันนี้ น้าแสงจึงเริ่มสะสมเงินได้ 200 บาท ขอยืมแม่อีก 300 บาท เมื่อได้เงินครบแล้วจึงออกเดินทางไปปาดังเบซาร์เพื่อไปหาซื้อกีตาร์ กีตาร์ตัวแรกที่ได้มาชื่อยี่ห้อกะโป๊ของจีน ราคาตัวละ 500 บาท (ราคาเปรียบเทียบทองบาทละ 3,000 บาท) พอได้กีตาร์จากปาดังเบซาร์มาจอนก็เอามาปรับสายกีตาร์ให้เป็นกีตาร์ซ้าย จากนั้นฝึกเดือนหนึ่งเล่นเพลงได้เลย </p>
<p>ก่อนจะเจอกับจอน ชีวิตประจำวันน้าแสงมักฟังเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง สุนทราภรณ์ เพลงที่ชอบที่สุดในตอนนั้นคือ “เป็นโสดทำไม” ของสุรพล สมบัติเจริญ ได้ฟังจากช่องทางการรับฟังจากวิทยุ ชื่อช่อง วปถ.5 ดีเจสมาน ตันตะนุ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ “จะเป็นอินฟลูเอนเซอร์สมัยก่อน” </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ชีวิตเปลี่ยนหลัง 14 ตุลา</span></h2>
<p>น้าแสงเล่าว่า ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ตนเองเป็นวัยรุ่นทั่วไป เรียนหนังสือให้จบทำตามความหวังของพ่อแม่และการหล่อหลอมของสังคม ยิ่งถ้าได้เป็นข้าราชการก็ถือว่าสุดยอด “ดูหนังก็มีแต่หนังไทยก็มีทัศนคติเเบบเก่าๆ ตำรวจเป็นพระเอกเป็นคนดี คนดีแบบที่ผู้ปกครองอยากให้เป็น” แต่หลัง 14 ตุลา น้าแสงและเพื่อนร่วมรุ่นที่เรียนหนังสือด้วยกัน หลายคนเปลี่ยนไปครึ่งต่อครึ่ง</p>
<p>“หลังเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 การเคลื่อนไหวเข้มข้นมาก มีกลุ่มนั้นกลุ่มนี้เกิดขึ้นในหลายมหาวิทยาลัยเป็น สิบๆ กลุ่ม มีทั้งกลุ่มที่ต้องการปฎิรูป มีกลุ่มนักต่อสู้ด้านสิทธิ มีกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มที่จะปฏิรูปการศึกษา มีกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อต้องการอำนาจรัฐ จนกระทั่งกลุ่มที่ต้องการการปฏิวัติ ขบวนการนิสิตนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยเติบใหญ่ มีนักศึกษาออกไปเผยแพร่ประชาธิปไตยในชนบท มีหนังสือให้อ่าน มีหนังสือวิชาการ มีกระแสเปลี่ยนความคิดคน”</p>
<p>“จากคนที่ไม่มีเป้าหมายในชีวิตอะไร กลายเป็นคนที่ต้อง เอ๊ะ กูต้องทำอะไรสักอย่าง ในช่วงนั้นมีหนังสือวรรณกรรมที่เป็นเป้าหลอม เช่น  เสนีย์ เสาวพงศ์ เรื่อง ปีศาจ ความรักของวัลยา ศรีบูรพา เรื่องจนกว่าจะพบกันใหม่ ฯลฯ ได้อิทธิพลความคิดจากวรรณกรรมเหล่านี้ ได้เห็นโลกกว้างขึ้น ได้รู้ว่าใครกำหนดเกมส์ แบ่งเป็นกี่ค่าย และกำลังสู้กับอะไร ประเทศไทยตอนนี้คืออะไร เป็นประชาธิปไตยจริงหรือป่าว หรือว่ามันเป็นประชาธิปไตยแบบทหาร”</p>
<p>วรรณกรรมต่างมีอิทธิพลอย่างมากในการเปลี่ยนความคิดความเชื่อของคนสมัยนั้น สิ่งเหล่านี้ทำให้น้าแสงได้รู้จักสังคมประวัติศาสตร์ของมนุษย์มากขึ้น ต่อมาก็ได้พบกับลัทธิมากซ์ ทำให้ความคิดเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง รู้จักกับวัตถุนิยมวิพากษ์ประวัติศาสตร์ วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ว่าด้วยความขัดแย้ง ว่าด้วยการดัดแปลงตนเอง ว่าด้วยการต่อสู้ ว่าด้วยการปฏิวัติ</p>
<p>“ทำให้เรากลายเป็นอีกคนหนึงซึ่งเราไม่เคยเจอสิ่งเหล่านี้มาก่อน มันหล่อหลอมให้เรากลายเป็นนักต่อสู้” </p>
<p>จุดเริ่มต้นของนักสู้เกิดขึ้นพร้อมกันกับวงดนตรีเพื่อชีวิต วงเพื่อชีวิตวงแรกในประเทศไทยคือ คาราวาน หลังจากนั้นในยุคเดียวกันก็มีวงกรรมาชน วงคุรุชน วงโคมฉาย วงกงล้อ วงต้นกล้า หลายๆ วงเหล่านี้คือวงดนตรีจากส่วนกลางศูนย์อำนาจ ส่วนต่างจังหวัดในตอนนั้นน้าแสงได้ไปเรียนแผนกวิชาสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย) ก็ได้ร่วมมือกับเพื่อนทำวงดนตรี ชื่อ วงโลกที่สาม</p>
<p>“ที่ชื่อวงว่าโลกที่สามเพราะว่าสมัยก่อนจะแบ่งเป็น 3 โลก โลกที่ 1 คือโลกที่พัฒนาแล้ว โลกที่ 2 คือกำลังพัฒนา โลกที่ 3 คือประเทศที่ด้อยการพัฒนา ประเทศไทยสมัยนั้นถือว่าเป็นประเทศโลกที่ 3 ประเทศล้าหลัง พอตั้งวงแล้วก็ไปตะเวนเล่นงานกิจกรรมตามมหาลัย งานการเมือง งานเสวนา งานอภิปราย เพลงที่เล่นส่วนใหญ่ เป็นเพลงคาราวาน กรรมมาชน คุรุชน โคมฉาย กงล้อ ตอนนั้นเอาเพลงมาโคฟเวอร์”</p>
<p>ชีวิตจากนักสู้ทางความคิดสู่นักดนตรีที่อยากจะมีส่วนในการสร้าง Soft Power อย่างเต็มตัว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53201495705_013c21cce1_o.jpg" /> </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จากถังแดงสู่เมืองคอน(กรีด)</span></h2>
<p>“มีการจับผู้บริสุทธิ์มาเผาทั้งเป็นถีบลงเขาเผาลงถัง มีเรื่องจริงอยู่เพราะก่อนหน้านั้นสมัยที่ถนอม ประภาส เรืองอำนาจอยู่เรื่องเล่านี้ถูกปกปิด โดยทหาร กอรมน. มีแต่ข่าวชาวบ้านพูดกันปากต่อปากว่ามีการจับคนเผาลงถังแดง แต่มันคลุมเครือ พอหลัง 14 ตุลา โครงสร้างอำนาจรัฐของถนอม ประภาส ถูกพังทลายลง จึงมีนักศึกษามาหาข้อมูล” </p>
<p>น้าแสงเล่าถึงสมัยตนเองเรียนอยู่เทคโน ช่วงปี 2517-18 มีโครงการของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ในขณะนั้นคนที่เป็นเลขาฯ คือ สุธรรม แสงประทุม เขามาลงพื้นที่จังหวัดพัทลุงเพื่อที่จะมาหาข้อมูลกรณีถังแดง เพื่อนำข้อมูลไปจัดนิทรรศการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสนามหลวงให้ประชาชนได้รับรู้</p>
<p>การจัดนิทรรศการในครั้งนั้น น้าแสงไปร่วมเป็นสต๊าฟ ทำให้มีโอกาสทำความรู้จักกับเหล่าสหายที่เข้าป่า น้าแสงจึงได้เข้ามาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างเต็มตัว</p>
<p>“คนสมัยก่อนพอได้เข้าร่วมขบวนการต่อสู้ เขาจะเรียกคนเหล่านี้ว่า ‘ฝ่ายก้าวหน้า’ จะสนใจสังคม สนใจการเมือง สนใจการต่อสู้ มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม พวกปานกลางจะเป็นพวกที่สนใจบ้างไม่สนบ้าง หรือบางทีก็คบกับเราบ้าง ไม่คบกับเราบ้าง อันไหนที่เขาสนุกอยากร่วมด้วยก็มาร่วม อันไหนไม่ตรงกับคอนเซ็ปต์ ไม่ตรงกับรสนิยมเขาก็ไม่มาร่วม แต่ก็ยังดีตรงที่ว่ายังสนใจเพื่อนอยู่ว่าเพื่อนทำอะไร สนใจเฉพาะบางกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง อย่างเช่น งานดนตรีจะชอบไป งานนิทรรศการการเมืองก็จะไม่ไป ถ้ามีเคลื่อนไหว ทำม็อบประท้วง มีปัญหากับอำนาจรัฐ มีปัญหากับกระทรวงมหาดไทย หรือตำรวจก็จะไม่ร่วม ‘คนล้าหลัง’ คือ คนที่ไม่สนใจสิ่งรอบตัวรอบข้างตัวเอง สนใจแต่เรื่องตัวเองอย่างเดียว เรียนอย่างเดียว ไม่แบ่งปัน ไม่มีจิตใจสาธารณะ เขาเรียกว่าไม่มีจิตใจเพื่อส่วนรวมเพื่อประเทศ” </p>
<p>เครื่องมือของฝ่ายอนุรักษ์นิยมขณะนั้นมีกรมประชาสัมพันธ์ หนังสือพิมพ์ ทีวีที่ประโคมข่าวใส่ร้ายให้กลายเป็นผู้ร้ายนิยมความรุนแรง เป็นพวกก่อการร้าย” คำใส่ร้ายจากฝ่ายตรงข้ามที่มักประโคมเล่นงาน นี่คือสิ่งที่ฝ่ายก้าวหน้าต้องพบเจอหลังน้าแสงได้มาเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมทำวงดนตรี ณ ช่างกลพระราม 6 กรุงเทพฯ อย่างจริงจัง เพราะเป็นอาชีวะที่อยู่กับนิสิตนักศึกษา ตอนนั้นมีกลุ่มฝ่ายขวาอย่างกระทิงแดง นวพล ลูกเสือชาวบ้าน เป็นคู่เห็นต่าง การเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกในยุคนั้นทำให้บางคนต้องหนีเข้าป่า น้าแสงคือหนึ่งในนั้น ระหว่างรอเข้าป่าได้วงชื่อ ‘วงพิราบแดง’ ได้เล่นงานเดียวที่สนามหลวง </p>
<p>“เพลงเพื่อชีวิตในตอนนั้น มีเพลงคนกับควาย มีสองวงที่บันทึกเสียงคือ คาราวานกับกรรมาชน หลังจากมีการกระจายเสียงออกอากาศ กระทรวงมหาดไทยมีแบล็คลิสต์หากใครเล่นเพลงนี้มีความผิดจะโดนจับ เขาห้ามเล่นห้ามฟัง ห้ามเผยเเพร่ ทันทีที่มีคำสั่งจากกระทรวงมหาดไทยห้ามเล่นเพลง นักศึกษาก็จัดม็อบปิดสนามหลวง จากวงดนตรีเพื่อชีวิตประมาณสิบวงแต่เดิมมี คาราวาน กรรมมาชน คุรุชน โคมฉาย กงล้อ  กลายเป็นร้อยวง มีวงต่างจังหวัดมาสมทบ มาจากของแก่น เชียงใหม่ มีมอ.(มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)ไปสมทบด้วย”</p>
<p>เมื่อเกิดกระแสสั่งห้าม ผู้คนก็ยิ่งประจักษ์มากขึ้น เมื่อดนตรีกลายเป็นสิ่งต้องห้าม จากวงดนตรีไม่กี่วงกลายมาเป็นร้อยวง นักดนตรีจำนวนมากได้ออกมาต่อต้านกับคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยที่ห้ามเล่นเพลงเพื่อชีวิตโดยเฉพาะเพลงคนกับควาย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">‘สหายแสง’ แห่งเขตงานพัทลุง</span></h2>
<p>“ในตอนแรกสหายยังไม่ไว้ใจให้อยู่ในหมู่บ้านก่อนเพราะไปผิดวิธี ปกติพรรคจะส่งคนเข้าป่าต้องไปตามสายจัดตั้งมีจดหมายส่งตัว แต่สายจัดตั้งน้าแสงเข้าป่าไปก่อนแล้ว เนื่องจากเคยมาเจอกับทางสหายตอนเป็นสต๊าฟงานถังแดงเพียงครั้งเดียวทางสหายยังระแวงอยู่กลัวเป็นสายจากฝ่ายขวา”</p>
<p>น้าแสงเล่าถึงช่วงที่ต้องเข้าป่าและสาเหตุเปลี่ยนมาชื่อแสง เนื่องจากวันที่น้าแสงเข้าป่ามีนักศึกษาโดนลอบสังหารหลายคน ในจำนวนนั้นมีคนที่มีชื่อเสียงและเป็นสายจัดตั้งของพรรคที่อยู่ในรามคำแหง ชื่อ “แสง รุ่งนิรันดร์กุล” เขาเป็นนักจัดตั้ง โดนฝ่ายขวาอุ้มฆ่า วงกรรมาชนยังแต่งเพลงชื่อ “เเสงดับ” เพื่อไว้อาลัยถึงเขา สหายจึงตั้งชื่อให้ตนว่า “เเสง” เพื่อที่จะเป็นแสงที่แทนแสงที่ถูกยิงไปจึงเป็นที่มาของชื่อ แสงธรรมดา จนถึงทุกวันนี้</p>
<p>ดนตรีคือหนึ่งภารกิจของแสง น้าแสงต้องไปเล่นดนตรีตามบ้าน</p>
<p>“แต่ละหมู่บ้านจะเรียกคนมาประมาณ 20-30 คน ตะเวนเล่นตามหมู่บ้าน เล่นเพลงตัวเองสองเพลงคนกับตะเกียง อีกเพลงที่แต่งคือเพลงถังแดง เล่นเพลงเพื่อชีวิต คาราวาน กรรมชน กงล้อ พอคนพัทลุงได้ฟังเพลงถังแดงทางสหายก็มองว่ามันดี เพราะเป็นเรื่องที่ชาวบ้านรู้เหตุการณ์ทุกคน เพลงที่เขียนก็เกิดจากเรื่องจริงทั้งหมด คนกับตะเกียงก็ถ่ายทอดจากชีวิตของเขาชีวิตของคนชาวสวนยาง จึงทำให้งานขยายความคิดแข็งเเรงขึ้นเริ่มมีนักศึกษามาร่วมกับพรรค ทางสหายเคยวิเคราะห์ตั้งแต่ก่อน 6 ตุลาว่าอีกไม่นานนักศึกษาในเมืองจะโดนฝ่ายขวา เผด็จการทหารปราบปราม แล้วนักศึกษาจะมาอยู่กับพวกเรา”</p>
<p>น้าแสงเล่า โดยระหว่างนั้นสหายก็ได้ส่งคนมาถามไถ่กับน้าแสงตลอดเพื่อมาเช็กความคิดว่ามีความคิดเช่นเดียวกันหรือไม่ คิดแบบนักปฏิวัติแล้วหรือยัง หลังจากอยู่ได้ 3 เดือน เหล่าสายจัดตั้งของน้าแสงก็รวมตัวกันได้แล้วตามหาน้าแสงเพื่อมารับรองเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่สายสืบจากฝ่ายขวา จากนั้นก็ได้ไปตระเวนเล่นดนตรีตามเขตงานต่างๆ</p>
<p>“ไปเกือบทุกตำบลในพัทลุง ทางสหายก็สรุปกันว่า การที่มีแนวรบทางด้านศิลปะวัฒนธรรมเข้ามา มันเห็นผลทำให้ภาพพจน์ดีขึ้นการขยายงานทางความคิดกว้างขึ้นผ่านบทเพลง ทำไปสัก 6 เดือนก็ได้ไปเจอ คณะกรรมการจังหวัดของพรรค ได้ยินข่าวว่ามีนักศึกษาที่มีชื่อเสียงมาเล่นดนตรี ทางคณะกรรมการพรรคจึงขอตัวให้ไปร่วมทำงานกับคณะกรรมการพรรค” </p>
<p>หลังจากมีโอกาสได้ไปร่วมทำงานน้าแสงก็ไปตะเวนทำหน้าที่เดิมนั่นคือเล่นดนตรี แต่เขตงานพื้นที่กว้างขึ้น จากพัทลุงต้องไปตรัง สตูล สงขลา </p>
<p>ช่วงประมาณเดือนสิงหาคม ในเเต่ละเขตงานได้มีมติว่าหลังจากเดือน ส.ค. ต้องเตรียมที่พัก อาหารการกิน ที่เพาะปลูก และเสบียง</p>
<p>ในวันที่ 7 ส.ค. 2519 วงคาราวานได้รับการติดต่อมาเล่นดนตรีที่กองทัพประชาชน น้าแสงได้เป็นตัวแทนไปร่วมเล่นกับวงคาราวานเป็นครั้งแรก </p>
<p>“ในคืนนั้นคนเยอะมาก ส่งผลสะเทือนมหาศาล คนในป่าฟังแต่เทปวงคาราวานไม่เคยเห็นแสดงสด ไม่มีภาพวิดีโอ เคยเห็นแต่วงดนตรีลูกทุ่ง เครื่องเป่า เครื่องไฟฟ้า คนเป็น 30 ชีวิตเป็น 100 ชีวิต แต่วงคาราวานวันนั้นมา 4 คน คืนนั้นมี พี่หงา พี่หว่อง น้าอืด น้าแดง พงษ์เทพ (ตอนนั้นเป็นโฆษกเป็นนักดนตรีบองโก้)” น้าแสงเล่าด้วยสีหน้าประทับใจ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">วิถีดนตรีในป่า หลัง 6 ตุลา</span></h2>
<p>หนึ่งสัปดาห์หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา นักศึกษาเริ่มทยอยเข้าป่า น้าแสงอยู่ฝ่ายต้อนรับ คอยบอกระเบียบวินัยแนะนำชีวิตการเป็นอยู่ในป่า เริ่มมีนักดนตรี จากวงคุรุชน และกงล้อขึ้นมาสองคน เข้ามาในป่าด้วย น้าแสงเลยเสนอกองทัพประชาชนว่าให้จัดตั้งหน่วยศิลปะขึ้นมา ทางกองทัพรับหลักการโดยให้น้าแสงไปคัดเลือกคนมาเป็นหน่วยศิลป์</p>
<p>สำหรับชีวิตในป่า นักศึกษาที่เข้าป่ามาจะผ่านการเข้าโรงเรียนการเมืองและการทหาร 6 เดือนก่อนที่จะไปกระจายตามความถนัด ช่วงเช้าเรียนทฤษฎีทางการเมือง ช่วงบ่ายเรียนการทหาร การใช้อาวุธ การเอาตัวรอดในป่า ตกเย็นก็ซ้อมดนตรี สามารถรวมกลุ่มได้วงดนตรีมาหนึ่งวงประกอบด้วยนักดนตรีทั้งหมด 7 คน และตั้งชื่อว่า “หน่วยศิลปะจารยุทธ”  ภายหลังมีแผนกละครทีมีนักศึกษามาจากธรรมศาสตร์ และมีแผนกนาฏศิลป์เกิดขึ้น </p>
<p>วงจรยุทธ์อัดเพลงประมาณ 10 เพลง เช่น  ฝากใจสู่นาคร  ภูบรรทัดปฏิวัติ ปากใต้แดนทอง น้าแสงเล่าว่าในสมัยก่อนยังไม่มีลำโพง ในป่าใช้ระบบคอนเดนเซอร์(Condenser) คือ คอนเดนเซอร์มีหน้าที่รับเสียงร้อง เสียงดนตรีต่างๆ เสียงโซโล เข้ามาอยู่ในเครื่องส่งวิทยุ FM คอนเดนเซอร์จะรวบรวมเป็นคลื่นเดียว ในระยะ 4 กิโลเมตร </p>
<p>การไปเล่นดนตรีไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการปราบปรามอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา นี่คือสิ่งที่ผู้คนผู้เห็นต่างต้องพบเจอในสมัยนั้น </p>
<p>เวลาวงจรยุทธ์ไปเล่นก็จะกระจายเสียงผ่านคอนเดนเซอร์ เวลาจะเดินทางไปเล่นดนตรี ต้องไปเตรียมเวทีสถานที่และการกระจายเสียงพร้อมทหารหนึ่งหน่วยที่คอยติดตามเฝ้าระวัง ดูแลความปลอดภัยให้วงจรยุทธ์ขณะตระเวนไปเล่นดนตรีตามหมู่บ้านต่างๆ ระหว่างเดินทางเคยปะทะสองครั้ง</p>
<p>น้าแสงเคยโดนซุ่มยิงขณะกำลังเดินทางไปยังหมู่บ้านต่อไป</p>
<p>“ในวันที่สะเทือนใจที่สุดไม่ใช่วันที่ออกจากบ้าน ไม่ใช่วันที่ถูกโดนซุ่มยิง แต่เป็นวันที่ออกจากป่า ยืนดูเทือกเขาบรรทัด วาระสุดท้ายที่พัทลุง น้ำตาไหล ไม่คิดว่าจะมีวันนี้ ไม่ได้ดีไซน์ไว้ก่อนเลยว่าชีวิตนี้จะพบกับความพ่ายแพ้ พกพาความพ่ายแพ้กลับบ้าน การปฏิวัติล้มเหลว องค์กรปฏิวัติล่มสลาย เป็นวันที่สะเทือนใจตราตรึง แต่ยังคิดในใจอยู่ว่า กูไม่เลิกต่อสู้หรอก กูกลับไปในอยู่เมืองก็จะสู้ต่อ แต่ด้วยวิธีไหนก็อีกแบบหนึ่ง ฝังใจมาตลอดว่า ขบวนมันจบแต่กูไม่จบ”</p>
<p>กำเนิด ‘แสง ธรรมดา’ หลังป่าแตก</p>
<p> </p>
<p>หลังป่าแตก นักศึกษาที่กลับมาอยู่ในเมืองมี 3 ประเภทใหญ่ๆ หนึ่ง คนที่กลับมาเรียนหนังสือต่อได้เลยแบบไม่ต้องสอบเอ็นทรานส์ กลุ่มนี้ฝ่ายขวาเอาใจเป็นอย่างมาก กลุ่มที่สองคือคนฐานะร่ำรวยที่ไปเรียนต่างประเทศ กลุ่มที่สามคือคนที่ไม่เรียนต่อแล้ว เบื่อระบบการศึกษา น้าแสงอยู่ประเภทสุดท้าย  ไม่อยากกลับไปเรียนเพราะได้จบมหาวิทยาลัยการปฏิวัติแล้ว</p>
<p> </p>
<p>หลังออกมาจากป่า น้าแสงได้มาอยู่มูลนิธิโกมลคีมทอง ไปทำหนังสือพิมพ์ “เพื่อนชาวบ้าน” เพราะตอนอยู่ป่านอกจากจะทำดนตรีแล้วก็มีประสบการณ์ทำหนังสือพิมพ์ตะวันแดงด้วย</p>
<p> </p>
<p>“เผอิญว่าคนที่ทำงานทั้งหมดเป็นคนที่ลงมาจากป่า ก็พูดคุยเรื่องเก่า ให้กำลังใจกันและกัน ลืมความตรอมใจได้บ้าง ทำงานไปสามปีก็ออกจากโกมลคีมทอง มีสหายมาติดต่อให้เข้าไปทำงานที่มติชน ซึ่งมีพี่เสถียร จันทิมาธร เป็น บก. เพราะแกเคยเข้าป่าสหายเลยฝากให้ดูแล”</p>
<p> </p>
<p>น้าแสงเล่าว่าตอนนั้นได้ไปเขียนการ์ตูน ได้ชิ้นงานละ 100 บาท (เปรียบเทียบข้าวราคา 5 บาท ห้องเช่าเดือนละ 1,500 บาท) ระหว่างที่ทำงานเขียนการ์ตูน ก็เริ่มซุ่มเขียนเพลงและศึกษาเพลงตลาด เป็นยุคที่เริ่มมีคาราบาว ลุงขี้เมา คาราวานก็กลับมาจากป่า มีวงเพื่อชีวิตใหม่ๆ ขึ้นมาจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น วงอมตะ วงคนด่านเกวียน วงสองวัย </p>
<p> </p>
<p>จุดพลิกผันในชีวิตอีกหนึ่งอย่าง คือ วงแฮมเมอร์เอาเพลงคนกับตะเกียงไปบันทึกเสียง โดยที่ไม่ได้มีการติดต่อกันเป็นการส่วนตัว รู้เพียงว่าคนแต่งเพลงนั้นชื่อแสง “อัดเพลงเป็นเดือนยังไม่ออกก็รอ เพราะทางค่ายต้องให้น้าแสงเซ็นลิขสิทธิ์ ทางวงเลยติดต่อน้าแสงให้เข้าไปคุยกับค่ายเพลง ก่อนออกจากบ้านน้าแสงก็เอาเพลงที่บันทึกไว้ 4 เพลงนำติดตัวไปด้วย เพราะคิดว่าเผื่อเขาจะซื้อเพลงอีก พอได้ไปคุยกับผู้บริหารถามไถ่ประวัติ คุยไปคุยมาแหลงใต้ใส่กันเพราะคนที่คุยก็เป็นคนใต้ ก่อนออกเขาก็ถามว่ามีเพลงอีกไหม ก็เอาเทปคาสเซ็ทที่อัดไว้ให้ค่ายเพลง</p>
<p> </p>
<p>หลังจากนั้นทางค่ายก็ติดต่อกลับมาเพื่อชวนน้าแสงร่วมงานเป็นศิลปิน ได้มีการแต่งเพิ่มอีก 6 เพลง ทางค่ายก็ให้นักดนตรีมาเป็นแบ็คอัพ ให้นักแต่งเพลงมาตั้งชื่อวงให้ มีหลายๆ คนเสนอชื่อเป็นร้อยๆ ชื่อ น้าแสงดูแล้วมีแต่ชื่อที่ฟังเพราะๆ ออกจะเกินตัวไป ซึ่งน้าแสงไม่ชอบ ทางค่ายเลยถามว่าจะเอาชื่ออะไร น้าแสงตอบว่า อยากได้ชื่อธรรมดาๆ ทางค่ายเลยบอก งั้นเอาชื่อ “วงธรรมดา” เป็นที่มาของแสงธรรมดาในตอนนี้</p>
<p> </p>
<p>ในช่วงคาราบาวทำเพลง เมด อิน ไทยแลนด์ วงธรรรมดาก็ปล่อยเพลงเเรกของสู่ตลาดตีคู่กันมา คือเพลง ไทยนิปปอน ที่ทำให้ แสง ธรรมดา กลายเป็นที่รู้จักในประเทศญี่ปุ่น </p>
<p> </p>
<p>ด้วยเนื้อเพลงพูดถึงสินค้าญี่ปุ่นที่อยู่ในชีวิตคนไทยตั้งแต่เช้าจนเข้านอน ทำให้ทีวีทุกช่องในญี่ปุ่นทั้งหลายมาสัมภาษณ์ เนื่องจากทางญี่ปุ่นกลัวเพลงดังกล่าวจะปลุกกระแสการต่อต้านญี่ปุ่น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ค้นหาตัวตนในบทเพลง</span></h2>
<p>“คืนหนึ่งที่บ้านน้าซู น้าซูถามขึ้นมาลอยๆ ภาคอื่นเขามีเพลงประจำภาคกันหมดแล้วนะ ภาคเหนือมีจรัลมโนเพ็ชร ภาคอีสานมีเยอะเเยะเลย พี่หว่อง  สีเผือก ซูซู พงษ์เทพ ภาคกลางก็มีแอ๊ด คาราบาว ทำไมภาคใต้ไม่มีเพลงเพื่อชีวิตที่เป็นภาษาใต้”</p>
<p>คำพูดของ น้าซู—ระพินทร์ พุฒิชาติ อีกหนึ่งนักดนตรีเพื่อชีวิตผู้เป็นตำนาน จุดประกายให้น้าแสงทำเพลง “นายหัวครก” เพลงนี้มีน้าซูมาช่วยทำดนตรีเป็นที่ปรึกษาและอัดเสียงให้ จนเพลงนี้กลายเป็นที่รู้จักเรียกได้ว่าเป็นเพลงแจ้งเกิดของ แสง ธรรมดา</p>
<p>หากย้อนดูความเป็นมาของชีวิตแสง ธรรมดาคนนี้สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยหายไปไหนเลยคือ ดนตรี ดนตรีของน้าแสงมักจะถ่ายทอดอุดมการณ์ความคิดให้คนฟังเสมอ</p>
<p>“ฝากใจสู่นาคร” เป็นหนึ่งในบทเพลงที่น้าแสงชอบที่สุด เพลงนี้เป็นเพลงที่แต่งขึ้นนณะอยู่ในป่า น้าแสงได้ร่วมแต่งคนละบรรทัดกับ ‘ปกรณ์ รวีวร’ วงกงล้อ นักภาษาศาสตร์ ที่สอนให้น้าแสงได้เรียนรู้ภาษา เพลงนี้จึงถือว่าเป็นเพลงจบการศึกษาวิชาภาษาศาสตร์ ส่วนเพลงที่ให้อารมณ์คนที่อยู่ในป่าที่คิดถึงบ้าน คิดถึงเพื่อน คือเพลง “ไม่เคยลืมเลือน” มีเนื้อร้องบางส่วนว่า ไม่เคยลืมเลือน ย้ำเตือนสัมพันธ์ มั่นใจใฝ่ฝัน สักวันคงได้กลับคืน มุ่งไปเถิดหนา ผ่าผองไพด้วยใจระรื่น ยิ้มเย้ยกับความข่มขืนหยัดยืนท้าทายทมิฬ อีกหนึ่งเพลงที่ชอบคือ ‘นายหัวครก’ น้าแสงให้เหตุผลว่าเพราะเพลงนี้แสดงตัวตนชัดเจนที่สุดของแสงธรรมดา เป็นเพลงใต้เพื่อชีวิตเพลงแรกที่ร้องสำเนียงใต้และโดยคนใต้เพื่อคนใต้อย่างแท้จริง เพลงเหล่านี้มักจะบอกเล่าเรื่องราวของผู้ถ่ายทอดเสมอ บทเพลงของน้าแสงก็เช่นกัน</p>
<p>ปัจจุบันแม้จะได้ปลดเกษียณงานดนตรีไปแล้วแต่ก็ยังคงเล่นดนตรีอยู่บ้าง บางครั้งบางคราวแล้วแต่ตามงานสังคม งานอนุรักษ์ หรืองานที่มีประโยชน์มีคุณค่า พร้อมทั้งทำร้านกาแฟอยู่ในหุบเขามีสายน้ำ มีลำธารไหลเล็กๆ ที่อำเภอนาหม่อม ชื่อร้านแสงธรรมดา โฮมคาเฟ่ เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับผู้ที่มีความคิดอุดมการณ์แบบเดียวกันนี้มาร่วมพูดคุยพบปะกัน แม้น้าแสงจะไม่ได้มาร่วมเคลื่อนไหวกับขบวนการคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน แต่เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าอุดมการณ์มันได้รับไม้ต่อแล้ว และคงเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนถึงสิ่งที่คาดหวังนั้นเป็นจริง</p>
<p>“สิ่งที่ผมดีใจอย่างหนึ่งก็คือ ยังเห็นรุ่นลูกรุ่นหลานเด็กๆ น้องขึ้นมาต่อสู้ ยังมีคนที่ลูกขึ้นสู้เพื่อสังคมที่ดีกว่าก็คือว่าเชื้อมันยังไม่ทิ้งแถว คือการต่อสู้ยังไม่จบ จะจบเมื่อไหร่ผมไม่รู้นะ แต่ว่าก็ดีใจตรงที่ว่า ยังมีคนต่อสู้กันอยู่”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53201495720_db713c7e08_b.jpg" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วัฒนธรรม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ต่างประเทศ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/journalism-that-builds-bridges" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">Journalism that Builds Bridges[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">โครงการวารสารศาสตร์ที่สร้างสะพาน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เพลงเพื่อชีวิต[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วงดนตรีเพื่อชีวิต[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คนเดือนตุลา[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คอมมิวนิสต์[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/14%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B216" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">14ตุลา16[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/6%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B219" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">6ตุลา19[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/soft-power" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">soft power[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">น้าแสง[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แสงธรรมดา กิติเสถียรพร[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/105988