[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
02 พฤษภาคม 2567 18:55:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เขาคันธมาทน์ ในคติทางพุทธศาสนา  (อ่าน 106 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 ตุลาคม 2566 17:29:41 »


จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ห้องที่ ๑๘๕
พระระเบียง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง


เขาคันธมาทน์

เขาคันธมาทน์ เป็นชื่อภูเขาสำคัญลูกหนึ่งตามตำนานการสร้างโลกและจักรวาลในคติทางพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๕ ขุนเขาที่ล้อมรอบสระอโนดาตในป่าหิมพานต์ อันได้แก่ สุทัสนกูฏ จิตรกูฏ กาฬกูฏ คันธมาทนกูฏ และไกรลาส แต่ละลูกมีความสูงถึง ๒๐๐ โยชน์

คำ คันธมาทน์ นี้มาจาก คันธ (กลิ่นหอม) + มาทน (ยินดี) คือ ภูเขาที่ให้ชาวโลกยินดีด้วยกลิ่นหอม ความหมายดังกล่าวนี้เป็นคุณลักษณะประการสำคัญของเขาคันธมาทน์ คือเป็นขุนเขาที่พร้อมพรั่งไปด้วยพรรณไม้ที่ส่งกลิ่นหอม ดังในคัมภีร์โลกทีปกสารและไตรภูมิกถาพรรณนาลักษณะเขาคันธมาทน์ไว้ว่า

ยอดเขาคันธมาทนะนั้น มั่วมูลด้วยกลิ่น ๑๐ ประการเหล่านี้คือ กลิ่นที่รากมีต้นกฤษณาเป็นต้น กลิ่นที่แก่นมีต้นจันทน์เป็นต้น กลิ่นที่กระพี้มีต้นสนเป็นต้น กลิ่นที่เปลือกมีต้นสวังคะเป็นต้น กลิ่นที่สะเก็ดมีมะขวิดเป็นต้น กลิ่นที่ยางมีต้นสัชฌะเป็นต้น กลิ่นที่ใบมีต้นพิมเสน เป็นต้น กลิ่นที่ดอกมีต้นบุนนาคและโกสุมเป็นต้น กลิ่นที่ผลมีต้นชาติผลเป็นต้น กลิ่นที่กลิ่นเพราะเป็นกลิ่นรวมของทุกๆ กลิ่นเป็นแหล่งรวมแห่งโอสถ
               (คัมภีร์โลกทีปกสาร)

เขาอันชื่อคันธมาทนกูฏนั้นเทียรย่อมแก้วอันชื่อมสาลรัตนะ กลวงในเขานั้นดั่งถั่วสะแตกแลราชมาส พรรณไม้ที่เกิดในเขานั้น ลางต้นรากหอม ลางต้นแก่นหอม ลางต้นยอดหอม ลางต้นเปลือกหอม ลางต้นลำหอม ลางต้นดอกหอม ลางต้นลูกหอม ลางต้นใบหอม ลางต้นยางหอม (ลางต้นหอมทุกอย่าง) แลว่าไม้ในเขานั้นหอม ๑๐ สิ่งดั่งกล่าวนี้แล ไม้ทั้งหลายนั้นเทียรย่อมเป็นยา แลว่าเชือกเขาเถาวัลย์อันมีในเขานั้นเทียรย่อมมีทุกสิ่ง แลเทียรย่อมหอมอยู่ทุกเมื่อบ่มิรู้วายรสเลย จึงเรียกว่าคันธมาทนเพื่อดั่งนั้น
               (ไตรภูมิกถา)

ความมหัศจรรย์อีกประการหนึ่งของเขาคันธมาทน์ คือในวันเดือนดับและวันเดือนเพ็ญ ขุนเขาแห่งไม้หอมนี้จะมีแสงสว่างรุ่งโรจน์โชติช่วง ดังในไตรภูมิกถาพรรณนาไว้ว่า “แลเขานั้นเมื่อเดือนดับแลรุ่งเรืองชัชวาลอยู่ดั่งถ่านเพลิง ถ้าเมื่อเดือนเพ็งเรืองอยู่ดั่งไฟไหม้ป่าแลไหม้เมืองแล”

นอกจากนี้เขาคันธมาทน์ยังเป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย  ดังในคัมภีร์จักรวาฬทีปนีกล่าวไว้อย่างละเอียดว่า

ภูเขาชื่อคันธมาทน์ล่วงเลยภูเขาทั้งเจ็ด คือ จูฬกาฬบรรพต มหากาฬบรรพต ขุทกบรรพต จันทบรรพต สุริยบรรพต มณีบรรพต และสุวรรณบรรพต ในหิมวันตประเทศ ณ ภูเขาคันธมาทน์นั้นแลมีเงื้อมชื่อนันทมูลกะเป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีถ้ำ๓ ถ้ำ คือ ถ้ำทอง ถ้ำแก้วมณี และถ้ำเงิน ที่ปากถ้ำแก้วมณี มีต้นคำสูงโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง ต้นคำนั้นย่อมผลิดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้นโดยทั่วถึงทั้งในน้ำหรือบนบก โดยวิเศษในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้ามา ข้างหน้าต้นคำนั้นเป็นโรงกลมสำเร็จด้วยสรรพรัตนะ ณ โรงกลมนั้น  สัมมัชนกวาต (ลมกวาด)  กวาดหยากเยื่อทิ้ง สมกรณวาต (ลมเกลี่ย)  เกลี่ยทรายซึ่งล้วนแล้วด้วยสรรพรัตนะ ให้เสมอ สิญจนวาต (ลมรด)  นำน้ำจากสระอโนดาตมารด สุคันธกรณวาต (ลมกลิ่น) นำกลิ่นของต้นไม้หอมทุกอย่างมาจากป่าหิมพานต์  โอจินกวาต (ลมโปรย)  โปรยดอกไม้  สันถรกวาต (ลมลาด) ปูลาดในที่ทุกแห่ง ในโรงกลมนี้มีอาสนะปูไว้ทุกเมื่อ ซึ่งเป็นที่นั่งประชุมของพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกองค์ในวันอุบัติแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้า และในวันอุโบสถพระปัจเจกพุทธเจ้า ครั้นนั่งแล้วย่อมเข้าสมาบัติบางอย่าง แล้วออก (จากสมาบัตินั้น) จากนั้นพระสังฆเถระก็ถามพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์มาใหม่ถึงกรรมฐานว่าท่านได้บรรลุอย่างไร  เพื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวงจะได้อนุโมทนาในกาลนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์มาใหม่ก็จะกล่าวคาถาพยากรณ์อันเป็นคำอุทานของตนนั้นแล
               (จักรวาฬทีปนี)

ในลิลิตโองการแช่งน้ำ วรรณคดีไทยสมัยอยุธยาตอนต้น พรรณากำเนิดของภูเขาคันธมาทน์ในนาม “ผาหอมหวาน” หลังยุคไฟ น้ำ และลมบรรลัยกัลป์ล้างโลกว่า


               ๏ กล่าวถึงน้ำฟ้าฟาดฟองหาว     ดับเดโชฉ่ำหล้า
               ปลาดินดาวเดือนแอ่น       ลมกล้าป่วนไปมา
               แลเป็นแผ่นเมืองอินทร์        เมืองธาดาแรกตั้ง     
               ขุนแผนแรกเอาดินดูที่        ทุกยั้งฟ้าก่อคืน
               แลเป็นสี่ปวงดิน      เป็นเขายืนทรง้ำหล้า   
               เป็นเรือนอินทร์ถาเถือก         เป็นสร้อยฟ้าจึ่งบาน
               จึ่งเจ้าตั้งผาเผือกผาเยอ       ผาหอมหวานจึ่งขึ้น
               หอมอายดินเลอก่อน     สรดึ้นหมู่แมนมาฯ

ที่มา : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.384 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 29 พฤศจิกายน 2566 04:18:11