Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2566 12:44:14 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 พฤษภาคม 2566 20:11:52 » |
|
พวงมาลัย และ พวงมาลาพวงมาลัย คือ ดอกไม้ทั้งดอกหรือกลีบดอกไม้ที่นำมาร้อยเป็นพวงประดิดประดอยอย่างสวยงาม มักมีอุบะห้อย. ดอกไม้ที่นิยมใช้ เช่น ดอกมะลิ ดอกพุด ดอกรัก ดอกบานไม่รู้โรย ดอกดาวเรือง กลีบดอกไม้ที่นิยมใช้ เช่น กลีบกุหลาบ กลีบกล้วยไม้ กลีบบัว มีใบไม้ประกอบบ้างก็ได้ มีทั้งดอกไม้สดและดอกไม้แห้งที่ทำจากกระดาษหรือพลาสติก
ชาวพุทธนิยมใช้พวงมาลัยสำหรับบูชาพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และนำไปไหว้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ในเทศกาลต่างๆ เช่น วันปีใหม่ วันสงกรานต์
พวงมาลัยที่ร้อยเป็นพวงสั้นๆ มีหลายแบบ เช่น มาลัยข้อมือ มาลัยชายเดียว ส่วนพวงยาวๆ เป็นแบบสวมคอหรือเป็นมาลัยสองชาย มักใช้คล้องคอคู่บ่าวสาวหรือคนสำคัญในงานต่างๆ เช่น แขกบ้านแขกเมือง นักแสดง
ส่วน พวงมาลา คือ พวงดอกไม้ขนาดใหญ่ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่างๆ เช่น วงกลม วงรี ใช้ในการเคารพพระศพของเชื้อพระวงศ์ ใช้พระราชทานเป็นเกียรติแก่ผู้วายชนม์ที่ทำคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน หรือใช้สำหรับวางที่อนุสาวรีย์ หรือพระบรมรูป เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ที่มา : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 26 พฤษภาคม 2566 17:48:40 » |
|
สัดคำว่า สัด เขียน ส เสือ ไม้หันอากาศ ด เด็ก มีความหมายอย่างหนึ่งว่า ภาชนะรูปทรงกระบอก ทำด้วยไม้หรือสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ตวงข้าว
เมื่อใช้เป็นชื่อมาตราตวง ๑ สัด มี ๒๕ ทะนาน ดังในบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ขุนแผนตอบโต้ถ้อยคำต่อว่าของนางวันทองว่า “อันตัวเจ้าแลเสียสัตย์วิบัติคิด | | พี่จึงติดตามทวนมาสวนสัด | เจ้าเจนตวงท่วงทีดีสันทัด | | ป้องปัดปาดหมุนละมุนตา | ขุนช้างได้นางมาสอบสวน | | เจ้าจึงทวนถูกสัดยี่สิบห้า” | สัดยี่สิบห้า คือ ๑ สัด เท่ากับ ๒๕ ทะนาน อย่างไรก็ดี ในมูลบทบรรพกิจของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) มีว่า “สัดหนึ่งยี่สิบทะนานชัด”
การที่ ๑ สัด ลดจาก ๒๕ ทะนาน เป็น ๒๐ ทะนาน เพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีฝรั่งเข้ามาตั้งโรงสีไฟ มีการกำหนดมาตราตวงขึ้นใหม่ สัดซึ่งเคยเป็นหน่วยตวงข้าวเปลือก เปลี่ยนมาใช้เป็นหน่วยตวงข้าวสาร และกำหนดใหม่ว่า ๑ สัดเท่ากับ ๒๐ ทะนานเท่านั้น
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 มิถุนายน 2566 12:34:50 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2566 12:47:06 » |
|
. ลั่นถัน (ทวารบาล) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯลั่นถันคำว่า ลั่นถัน เขียน ล ลิง ไม้หันอากาศ ไม้เอก น หนู ถ ถุง ไม้หันอากาศ น หนู. ลั่นถัน เป็นคำภาษาจีนฮกเกี้ยน ลั่น แปลว่า สับสน, อลหม่าน, วุ่นวาย. ส่วน ถัน แปลว่า กระโดดโลดเต้น
เดิมลั่นถัน เป็นชื่องิ้วประเภทหนึ่งซึ่งเล่นกันแพร่หลายในแถบตะวันออกของมณฑลกวางตุ้งและทางใต้ของมณฑลฮกเกี้ยนในช่วงปลายราชวงศ์หมิงต่อกับต้นราชวงศ์ชิง ไทยเรียกว่า งิ้วลั่นถัน เป็นงิ้วที่เมื่อถึงฉากต่อสู้ ตัวงิ้วก็กระโดดฟาดฟันกันจนดูสับสนอลหม่านไปทั่วทั้งเวที
ต่อมาไทยได้นำทำนองเพลงประกอบงิ้วลั่นถันมาประดิษฐ์เป็นเพลงไทยสำเนียงจีน ประเภทเพลงเถา เรียกว่า เพลงลั่นถัน ภายหลังแต่งขยายเป็นเพลงเถา ๓ ชั้น เรียกว่า เพลงจีนลั่นถัน
นอกจากนี้ ลั่นถัน ยังใช้เป็นคำเรียกตุ๊กตาหินแกะสลักเป็นรูปตัวงิ้วทหาร มือหนึ่งถือศัสตราวุธ อีกมือหนึ่งเท้าเอว มักตั้งไว้สองข้างของประตูเข้าพระอารามเพื่อให้เป็นทวารบาลด้วย อย่างประตูเขตพุทธาวาสของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ์ มีตัวลั่นถันยืนเฝ้าอยู่หนึ่งคู่ทุกๆ ประตูทางเข้า ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒ขอขอบคุณเว็บไซต์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (ที่มาข้อมูล)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 14 มิถุนายน 2566 15:51:57 » |
|
กงสุล"กงสุล" คำที่มักเขียนผิด เป็น "กงศุล"
กงสุล เป็นชื่อตำแหน่งทางการเมือง หรือชื่อตำแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประจำอยู่ในเมืองต่างๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือคนในบังคับของตน และคอยดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศผู้แต่งตั้ง
กงสุล มี ๒ ประเภท คือ กงสุลกิตติมศักดิ์ และกงสุลประจำตำแหน่งหรือกงสุลอาชีพ และแบ่งเป็น ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทนกงสุล
กงสุลต่างประเทศคนแรกในประเทศไทยเป็นชาวโปรตุเกส ชื่อ กาโลส มานูเอล ดา ซิลเวย์รา (Carlos Manuel da Silveira) ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินโปรตุเกสโปรดให้อุปราชแห่งอินเดียที่เมืองกัว แต่งตั้งเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๓ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ส่วนกงสุลไทยคนแรกในต่างประเทศนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เด เกรออง (dé Gréhan) เป็นพระสยามธุรานุรักษ์ กงสุลไทยประจำอยู่ที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๐๖ .
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2566 15:32:46 » |
|
สวามิภักดิ์สวามิภักดิ์ (อ่านว่า สะ-หฺวา-มิ-พัก) ประกอบด้วยคำว่า สวามิ กับ ภักดิ์ ซึ่งมาจากภาษาสันสกฤตว่า สฺวามินฺ (อ่านว่า สะ-วา-มิน) และ ภกฺติ (อ่านว่า พัก-ติ). สฺวามินฺ (อ่านว่า สะ-วา-มิน) หรือ สวามิ (อ่านว่า สะ-หฺวา-มิ) แปลว่า เจ้า, เจ้าของ, ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นนาย. ภาษาบาลีใช้ว่า สามี
ส่วนคำว่า ภกฺติ (อ่านว่า พัก-ติ) หรือ ภักดี แปลว่า ความจงรัก, ความภักดี, ความเลื่อมใสยิ่ง
สวามิภักดิ์ หรือ สามิภักดิ์ แปลว่า ความจงรักภักดีต่อเจ้านาย หมายถึง ยอมตนหรือมอบตนให้อยู่ใต้อำนาจ เช่น รามเกียรติ์ ตอนพิเภกสวามิภักดิ์ คือ ตอนที่พิเภกถวายตัวเป็นข้าจงรักภักดีต่อพระราม ในคำกลอนสุภาษิตของ พระธรรมศาสตร์ (สุข) เรื่องพิเภกสอนบุตร กล่าวถึงคำสอนของพิเภกที่ให้มีความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อเจ้านายว่า
“จงสัตย์ซื่อสวามิภักดิ์รักนาย อย่ามองหมายถมทับลับหลัง”
เรื่องสามก๊กตอนสุมาอี้สั่งเสียสุมาสูกับสุมาเจียวบุตรของตนว่า “…บัดนี้บิดาจะตายแล้ว เจ้าจะเป็นข้าราชการสืบไป จงตั้งใจสัตย์ซื่อสามิภักดิ์ต่อเจ้าแผ่นดิน กว่าจะสิ้นชีวิต ทำการสิ่งใดอย่าเบาแก่ความ จงตรึกตรองให้ละเอียดแล้วจึงทำ…”ขอขอบคุณเว็บไซต์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (ที่มาข้อมูล) 550
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2566 15:53:02 » |
|
ภาพวาดโดย อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต หน้าสดคำว่า หน้าสด ประกอบด้วยคำว่า หน้า กับ สด
คำว่า หน้า นอกจากหมายถึงส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจรดคางและซีกของร่างกายที่อยู่ตรงข้ามกับหลังแล้ว ยังมีความหมายอื่นๆ อีก เช่น ส่วนหน้าของขาซึ่งเรียกว่า หน้าขา, ส่วนบนของของบางอย่าง อาทิ หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง หน้าปกหนังสือ, หมายถึงฤดูกาล เช่น หน้าทุเรียน หน้าแล้ง หน้าหนาว. หน้าฉาก หมายถึงที่แสดงให้ปรากฏอย่างเปิดเผย เช่น หน้าฉากเขาทำตัวเป็นคนดี แต่หลังฉากเป็นโจรปล้นทรัพย์ชาวบ้าน
ส่วนคำว่า สด มีความหมายว่าใหม่หรือเพิ่งได้มาใหม่ เช่น ปลาตัวนี้เพิ่งจับมาได้ จึงยังสดอยู่มาก. มีความหมายว่าดิบหรือยังไม่สุกด้วยไฟ เช่น ฉันชอบกินผักสด. มีความหมายว่าไม่แห้ง เช่น เขาชอบกินยำปลาหมึกสด, สมัยนี้มีคนทำขนมเปียกปูนสดออกขาย. สด หมายถึง ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน เช่น พูดสดออกมาทันที.
ปัจจุบันมีผู้นำคำว่า สด มาใช้ในความหมายว่า ยังไม่ปรุงแต่ง เช่น คำว่า หน้าสด หมายถึง ใบหน้าที่ปราศจากเครื่องสำอางใดๆ เช่น ดาราคนนี้โฆษณาครีมบำรุงผิวด้วยการล้างเครื่องสำอางออกจนหมดเพื่ออวดหน้าสดที่ดูอ่อนนุ่มและเกลี้ยงเกลาของเธอ.
คำว่า หน้าสด นี้ ในอักขราภิธานศรับท์ซึ่งเป็นพจนานุกรมสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เก็บไว้ที่คำว่า “อีหน้าสด” ให้ความหมายไว้ว่า เป็นคำหยาบด่าประจานหญิงว่ามีหน้าระรื่นอย่างหญิงคนชั่วอยู่เป็นนิจขอขอบคุณเว็บไซต์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (ที่มาข้อมูล)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2566 18:15:51 » |
|
.ลิ่นลิ่น เขียน ล ลิง สระอิ ไม้เอก น หนู. ลิ่น เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตัวยาว เกล็ดใหญ่หนาแข็งซ้อนเหลื่อมกันคล้ายกระเบื้องมุงหลังคา หน้าแหลม เล็บหนายาวโค้งปลายแหลมใช้ขุดดินและปีนต้นไม้ หางยาวม้วนงอได้ เมื่อตกใจหรือป้องกันศัตรูจะม้วนตัวกลม ลิ้นยาวเป็นเส้นมีน้ำลายเหนียวใช้จับมดและปลวก, เรียกว่า นิ่ม ก็ได้, บางท้องถิ่นเรียกว่า นางอาย.
มีสัตว์ทะเลจำพวกหอย มีหลายชนิด ลำตัวเป็นรูปไผ่ซีก เปลือกคลุมตัวด้านหลังมี ๘ ชิ้น วางเหลื่อมซ้อนกันคล้ายเกล็ดของตัวลิ่น เกาะอยู่ตามโขดหินชายทะเล เรียกว่า ลิ่นทะเล หรือ หอยแปดเกล็ด.
ลิ่นอีกคำหนึ่ง เป็นชื่อต้นไม้ เรียกว่า ต้นลิ่น เป็นไม้พุ่มขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณ ช่อดอกยาว ดอกเล็กอยู่ภายในกาบรูปหอยแครง ซึ่งประกบเรียงกันไปตามแนวก้านช่อดอก เรียกเกล็ดปลาช่อนก็ได้ขอขอบคุณเว็บไซต์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (ที่มาข้อมูล)
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ธันวาคม 2566 18:18:07 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 09 มีนาคม 2567 15:03:49 » |
|
ให้แก่-ให้กับ : ระหว่าง … กับ-ระหว่าง … และ ภาษาสำนวนไทยที่ในปัจจุบันใช้สับสนกันมากที่สุดทั้งในหมู่นักวิชาการ นักการเมือง และในข่าวสารทั่ว ๆ ไป ก็คือสำนวนว่า “ให้แก่”-“ให้กับ” และ “ระหว่าง…กับ”-“ระหว่าง…และ”
ข้าพเจ้าขอกล่าวถึงสำนวนว่า “ให้แก่” - “ให้กับ” ก่อนในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุมของวุฒิสภา พบว่าบรรดาสมาชิกวุฒิสภาที่อภิปรายในที่ประชุมวุฒิสภานั้น จะใช้คำว่า “ให้กับ” กว่าร้อยละ ๙๐ และเมื่อได้ฟังการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ถ่ายทอดออกอากาศทางสถานีวิทยุรัฐสภา ก็ได้ยินคำว่า “ให้กับ” อยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน เมื่อได้ยินการสัมภาษณ์ การให้สัมภาษณ์ การสนทนา และข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ก็จะพบสำนวนว่า “ให้กับ” ประมาณร้อยละ ๙๐ เช่นเดียวกัน
การใช้คำว่า “ให้กับ” นี้คงมีมานานแล้ว อาจจะก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ก็เป็นได้ ซึ่งคงทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทนรำคาญพระราชหฤทัยไม่ได้จึงได้ทรงมี “ประกาศ” ฉบับหนึ่งเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๒ เป็นฉบับที่ ๑๗๙ “ประกาศให้ใช้คำ กับ แก่ แต่ แต่ ต่อ ใน ยัง ในที่ควร” เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม ๕ ค่ำ ปีมะแม เอกศก มีข้อความตอนหนึ่ง แห่งประกาศฉบับนั้นเป็นดังนี้
“…นอกกว่านี้ใช้ แก่ คือ พระราชทานแก่ ให้แก่ บอกแก่ แจ้งความแก่ ทำโทษแก่ ลงโทษแก่ ใครๆ อะไรๆ ว่าไม่สุดแล้ว คำที่ต่อกับ แจ้งแก่ ร้องเรียนแก่ ทำคุณแก่ ทำให้แก่ บอกให้แก่ แจกจ่ายแก่ เสียไปแก่ ลงพระราชอาณาแก่ ให้ปรับไหมแก่ ได้แก่ เสียแก่ ไว้แก่ ไว้ใจแก่ ไว้ความแก่ เอ็นดูแก่ เห็นแก่ ให้ถ้อยคำแก่ ย่อมแก่ โกรธแก่ ไว้ธุระแก่ ให้ศีลให้พรแก่ สมควรแก่ จงมีแก่ สงสารแก่ ขายให้แก่ ให้ช่องแก่ และอื่นๆ ที่คล้ายกัน ให้ว่าแก่ อย่าว่ากับเลย …”
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของชาติไทย ทั้งในด้านศาสนา ด้านวิเทโศบายในการติดต่อกับต่างประเทศ ฯลฯ และทรงมีความห่วงใยต่อการใช้ภาษาไทยของคนในชาติมาก แม้พระองค์จะทรงมี “ประกาศ” เรื่องการใช้คำว่า “ให้แก่” มาเป็นเวลาเกือบ ๑๔๐ ปีแล้ว ประชาชนชาวไทยแทบทุกระดับชั้นก็ยังคงใช้ “ให้กับ” กันอยู่ ทั้งในการพูดและการเขียน ในการตรวจรายงานการประชุมของวุฒิสภา ข้าพเจ้าได้เสนอให้ใช้สำนวนไทยๆ อยู่หลายคำรวมทั้งคำว่า “ให้แก่” ด้วย ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจรายงานการประชุมฯ เห็นชอบด้วย เมื่อเราพบคำว่า “ให้กับ” ก็ได้แก้เป็น “ให้แก่” หมด ทั้งนี้เพราะบันทึกรายงานการประชุมวุฒิสภาจะเป็นเอกสารสำคัญของชาติตลอดไป เพื่อเด็กรุ่นหลังมาอ่านรายงานการประชุมฯ ของวุฒิสภาแล้วจะได้ใช้ตามมากขึ้น ถือว่าเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เป็นอย่างดียิ่งวิธีหนึ่ง
นอกจากนั้น เมื่อข้าพเจ้าได้ตรวจผลงานทางวิชาการของบรรดาอาจารย์ที่ขอเลื่อนฐานะเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ก็ดี เป็นรองศาสตราจารย์ก็ดี เป็นศาสตราจารย์ก็ดี หรือเป็นอาจารย์ ๓ ก็ดี ได้พบอยู่เสมอว่า เวลาใช้คำว่า “ระหว่าง” มักจะใช้คู่กับคำว่า “และ” เช่น ระหว่างไทยและฝรั่งเศส ระหว่างฮินดูและมุสลิม ระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกและวัฒนธรรมตะวันตก ฯลฯ ข้าพเจ้าต้องแก้เป็น “ระหว่าง … กับ” ทุกแห่งเสมอไป เพราะรู้สึกรำคาญสำนวนว่า “ระหว่าง … และ” เต็มที ทั้งนี้ก็คงเป็นเพราะได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอังกฤษนั่นเอง เพราะภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า “between…and…” จึงแปลตามตัวว่า “ระหว่าง…และ” แม้แต่อาจารย์ที่เสนอผลงานเพื่อขอเป็นศาสตราจารย์บางคน ยังใช้ “ระหว่าง … และ” อยู่เกือบตลอดทั้งเล่ม และเป็นอย่างนี้ทุกเล่มด้วยยกเว้นในบัตรเชิญไปร่วมพิธีมงคลสมรส ข้าพเจ้ายังไม่เคยพบข้อความว่า “ระหว่างนาย … และนางสาว…” เลยในเมื่อบัตรเชิญไปร่วมพิธีมงคลสมรสยังใช้ “ระหว่าง … กับ” ได้ แต่ทำไมในการเขียนผลงานทางวิชาการ หรือในการเขียนข่าว จึงต้องใช้ “ระหว่าง … และ” ทำไมจึงไม่ใช้ “ระหว่าง … กับ” ซึ่งเป็นสำนวนไทยที่ดีอยู่แล้วบ้าง
ในเวลาตรวจรายงานการประชุมฯ ของวุฒิสภา ก็ได้พบสำนวนฝรั่งอีกสำนวนหนึ่งก็คือ สำนวนที่ต่อด้วยคำว่า “ของ” เช่น “ในเรื่องของ” “ในกรณีของ” ฯลฯ เราก็ได้ตัดคำว่า “ของ” ออก เพราะเห็นว่าไม่จำเป็น เช่น “ในเรื่องของการส่งสินค้าออก” เราก็แก้เป็น “ในเรื่องการส่งสินค้าออก” หรือสำนวน เช่น “ในกรณีของการสั่งสินค้าเข้ามา” ก็แก้เป็น “ในกรณีสั่งสินค้าเข้ามา” ในกรณีดังกล่าวมานี้ แม้ไม่มีคำว่า “ของ” ก็อ่านรู้เรื่อง สำนวนอย่างนี้ก็คงติดมาจากสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า “story of” หรือ “in the case of” นั่นเอง ข้าพเจ้าเห็นว่าเราควรหันมาใส่ใจและสนใจการใช้ภาษาไทย สำนวนไทยให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแบบฉบับให้อนุชนรุ่นลูกหลานของเราได้ใช้ภาษาไทย สำนวนไทยให้ถูกต้องยิ่งขึ้น เพราะภาษาไทยก็นับว่าเป็นวัฒนธรรมไทยที่สำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากแสดงให้เห็น “เอกลักษณ์” ของความเป็นไทยอย่างแท้จริง. ผู้เขียน : ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต ประเภทปรัชญา สาขาวิชาตรรกศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑๐๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 14 มีนาคม 2567 11:24:14 » |
|
กำหนดการ-หมายกำหนดการคำว่า “กำหนดการ” และ “หมายกำหนดการ” นี้มักจะใช้กันผิดเสมอ หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าคำทั้ง ๒ คำนี้มีความหมายเหมือนกัน สามารถใช้แทนกันได้ จึงมักจะเห็นป้ายปิดประกาศงานทั่ว ๆ ไปที่จัดขึ้นใช้คำว่า “หมายกำหนดการ” เพื่อบอกกำหนดขั้นตอนของงานที่จะทำตามลำดับ ซึ่งไม่ถูกต้อง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำทั้ง ๒ คำนี้ไว้อย่างชัดเจนเพื่อจะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ดังนี้
“กำหนดการ น. ระเบียบการที่บอกถึงขั้นตอนของงานที่จะต้องทำตามลำดับ. (อ. programme)” (หน้า ๙๗)
“หมายกำหนดการ น. เอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีที่จะต้องอ้างพระบรมราชโองการ คือขึ้นต้นด้วยข้อความว่า ‘นายกรัฐมนตรีหรือเลขาธิการพระราชวัง รับสนองพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า’ เสมอไป.” (หน้า ๘๕๔)
ดังนั้นคำว่า “หมายกำหนดการ” จึงใช้เป็นเอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีโดยเฉพาะ ลักษณะของเอกสารจะต้องอ้างพระบรมราชโองการ และในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่จะต้องนำหมายกำหนดการดังกล่าวนี้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เพื่อให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เช่น หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ หมายกำหนดการวันขึ้นปีใหม่
ส่วนคำว่า “กำหนดการ” ใช้เป็นเอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานทั่ว ๆ ไปที่ทางราชการหรือส่วนเอกชนจัดขึ้นเอง แม้ว่างานนั้น ๆ จะเป็นงานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน แต่ถ้างานนั้นมิได้เป็นงานพระราชพิธีซึ่งกำหนดขึ้นโดยพระบรมราชโองการแล้ว เรียกว่า กำหนดการ ทั้งสิ้น เช่น ขั้นตอนของงานสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ก็ใช้ว่ากำหนดการเพราะงานนี้มิใช่งานพระราชพิธีที่มีพระบรมราชโองการให้จัดทำขึ้น หากแต่เป็นทางราชการทหารจัดขึ้นเพื่อแสดงความสวามิภักดิ์ต่อเบื้องพระยุคลบาท
การกำหนดความหมายและวิธีใช้คำทั้ง ๒ คำนี้ มีอยู่ใน “รวมเรื่องและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับราชสำนัก” ซึ่งสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ.๒๕๑๘ และสำนักพระราชวังได้จัดพิมพ์ขึ้นอีกเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ จึงสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ที่ต้องการใช้คำดังกล่าวจะได้ศึกษาความหมายที่ถูกต้องก่อนที่จะนำไปใช้.ที่มา - ข้อมูล : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา Office of the Royal Society - สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๕๓๒ - ภาพประกอบ : เพจ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มรภ.วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 มีนาคม 2567 11:26:12 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 28 มีนาคม 2567 15:51:47 » |
|
จำนง กับ อารมณ์ คำบางคำในภาษาไทยนั้นสะกดอย่างไรกันแน่ พจนานุกรมเป็นเครื่องมือหาคำตอบที่ถูกต้อง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
จำนง ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ระบุว่า จำนง เป็นคำกริยา หมายถึง “ประสงค์ มุ่งหวัง ตั้งใจ (แผลงมาจาก จง)” มีอยู่บ่อยครั้งที่หลายคนสะกดผิดเป็น จำนงค์
เจตจำนง เป็นคำนาม หมายถึง “ความตั้งใจมุ่งหมาย ความจงใจ” ในทางปรัชญา เจตจำนง เป็นคำที่บัญญัติแทนคำภาษาอังกฤษว่า will มีความหมายว่า “๑. ความจงใจ ๒. แรงปรารถนาซึ่งเป็นพลังอย่างหนึ่งที่ผลักดันให้มนุษย์กระทำการต่างๆ” บางครั้งสะกดผิดเป็น “เจตจำนงค์” หรือ “เจตน์จำนง” ก็มี
มีเกร็ดเกี่ยวกับคำว่า “จำนงค์” ซึ่งเป็นวิสามานยนามของราชบัณฑิตท่านหนึ่ง คือ ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ท่านเล่าให้ฟังว่า ชื่อท่านนั้นแยกเป็น จำนะ + องค์ โดยที่คำว่า “จำนะ” นั้นแผลงมาจาก “ชำนะ” และ “ชำนะ” ก็แผลงมาจาก “ชนะ” รวมกับคำว่า “องค์” ซึ่งแปลว่า “ส่วนของร่างกาย” รวมกันแล้วแปลว่า “ผู้ชนะ”
อีกคำหนึ่ง คือ อารมณ์ เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู เครื่องยึดถือเป็นจริงเป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย ปรกตินิสัย เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์ ความรู้สึกซึ่งมักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์ เป็นวิเศษ หมายถึง มีอัธยาศัย มีปรกตินิสัย เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคนอารมณ์ร้อน
อารมณ์ ในความหมายดังกล่าวมา บางครั้งสะกดผิดเป็น อารมย์ ก็มี เช่น สะกดว่า เจตนารมย์ เพราะอาจคุ้นชินกับคำว่า รื่นรมย์ ซึ่งคำ รื่นรมย์ นี้ พจนานุกรมฯ ระบุว่า เป็นวิเศษณ์ หมายถึง สบายใจ บันเทิง เช่น สวนสาธารณะปลูกต้นไม้ไว้สวยงามน่ารื่นรมย์ ส่วนคำ “อารมย์” พจนานุกรมฯ ไม่ได้เก็บคำนี้ไว้ “อารมย์” เป็นคำมาจากบาลีสันสกฤต มาจาก อา (อุปสรรค) + รมย์ รวมแล้วมีความหมายเท่ากับคำว่า “รื่นรมย์” นั่นเองที่มาข้อมูล : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา Office of the Royal Society
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 20 เมษายน 2567 18:01:40 » |
|
youtube (ที่มาภาพประกอบ) บำเพ็ญพระราชกุศล บำเพ็ญพระกุศล ถวายพระกุศล มีหลักเกณฑ์การใช้คำอย่างไรคำว่า บำเพ็ญพระราชกุศล บำเพ็ญพระกุศล ถวายพระกุศล มีหลักเกณฑ์การใช้คำอย่างไร เป็นคำถามที่ผู้ปฏิบัติงานทางด้านพระพุทธศาสนาสอบถามมา ซึ่งคำตอบก็คือราชาศัพท์ของคำว่า ทำบุญ มีใช้ทั้งคำว่า ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทรงบำเพ็ญพระกุศล และ ทรงบำเพ็ญกุศล ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกใช้แก่พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ในพระยศชั้นใด
หากใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ราชาศัพท์ของคำกริยา ทำบุญ ใช้ว่า ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล หากใช้แก่พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงบำเพ็ญพระกุศล และหากใช้แก่พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงบำเพ็ญกุศล แต่หากสามัญชนทำบุญทำกุศลเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ควรใช้วลีว่า บำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศล หรือ บำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศลแด่… และหากสามัญชนทำบุญทำกุศลเพื่อถวายเป็นพระกุศลของพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า ใช้วลีว่า บำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระกุศล หรือ บำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระกุศลแด่… ซึ่งหากทำบุญทำกุศลถวายเป็นกุศลของพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ใช้วลีว่า บำเพ็ญกุศลถวายเป็นกุศล หรือ บำเพ็ญกุศลถวายเป็นกุศลแด่… หรือจะใช้ถ้อยคำกลางๆ แก่พระมหากษัตริย์จนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ว่า บำเพ็ญกุศลถวาย (ระบุพระนาม) บำเพ็ญกุศลถวายแด่ (ระบุพระนาม) ก็ได้ โดยวลีเหล่านี้ใช้ในกรณีที่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ยังมีพระชนมชีพอยู่
หากสามัญชนทำบุญทำกุศลถวายพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้ว หรือพระบรมวงศานุวงศ์ที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ใช้ว่า บำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย บำเพ็ญกุศลอุทิศถวายแด่… และหากพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทำบุญถวายพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้วหรือพระบรมวงศานุวงศ์ที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ใช้ราชาศัพท์ว่า ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย หากพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าทรงทำบุญถวายพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้ว หรือพระบรมวงศานุวงศ์ที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ใช้ราชาศัพท์ว่า ทรงบำเพ็ญพระกุศลอุทิศถวาย หากพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าทรงทำบุญถวายพระมหากษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้วหรือพระบรมวงศานุวงศ์ที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย. ที่มาข้อมูล : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา Office of the Royal Society
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 125.0.0.0
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 30 พฤษภาคม 2567 15:32:39 » |
|
https:///png.pngtree.com (ที่มาภาพประกอบ) ผรุสวาทคำ ผรุสวาท (อ่าน ผะ-รุด-สะ-วาด) เขียน ผ ผึ้ง ร เรือ สระอุ ส เสือ ว แหวน สระอา ท ทหาร ประกอบด้วยคำว่า ผรุส (อ่าน ผะ-รุด-สะ) ซึ่งมาจากคำภาษาบาลีแปลว่า รุนแรง. ในเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ ตอนพายุพัดขอนไม้ที่พระสมุทรโฆษและพระนางพินทุมดีเกาะข้ามมหาสมุทรไปยังอีกฝั่งหนึ่งจนขาดออกเป็น ๒ ท่อน กวีใช้คำเรียกลมที่มีกำลังแรงว่า ผรุสมรุตะ (อ่านว่า ผะ–รุ-สะ-มะ–รุ-ตะ) ดังในข้อความว่า
“ผรุสมรุตะพัดพาน คลื่นฉฉ่าฉาน (อ่านว่า ผะ-รุ-สะ-มะ-รุ-ตะ-พัด-พาน คฺลื่น-ฉะ-ฉ่า-ฉาน) คนองฟอง”
ส่วนคำว่า วาท (อ่าน วา-ทะ) มาจากคำภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า คำพูด หรือถ้อยคำ เมื่อรวมกันเป็นคำว่า ผรุสวาท หมายถึง ถ้อยคำรุนแรง ซึ่งมักเป็นคำด่า คำหยาบ เช่น เวลาโกรธ เขามักลืมตัวและกล่าวคำผรุสวาทโดยไม่ระวังปาก
การใช้ถ้อยคำผรุสวาทไม่ใช่วาจาของคนที่เป็นผู้ดี.ที่มาข้อมูล : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา Office of the Royal Society
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2567 17:00:18 » |
|
ห้าม (สำ) ก. เป็นการย้ำไม่ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ห้ามไม่ให้เขียน ห้ามไม่ให้พูด ห้ามไม่ให้กระทำ.
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กันยายน 2567 18:50:14 โดย Kimleng »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5746
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 02 กันยายน 2567 18:56:05 » |
|
billboss.wordpress.com - ที่มาภาพประกอบ หาบหาบ (คำนาม) ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ เท่ากับ ๖๐ กิโลกรัม, หาบหลวง ก็เรียก, ถ้าเป็นมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบจีน ๑๐๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ.
หาบ (คำกริยา) ความหมาย แบกของขึ้นบ่า ด้วยไม้คาน โดยห้อยของน้ำหนักเท่าๆ กันไว้ที่ปลายไม้คานทั้ง ๒ ข้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
|
กำลังโหลด...