[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
03 พฤษภาคม 2567 17:57:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธปรัชญาเรื่องอนัตตา  (อ่าน 1237 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 17.0.963.56 Chrome 17.0.963.56


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 29 กุมภาพันธ์ 2555 20:52:43 »



ถ่ายภาพประกอบกระทู้โดย......Sometimeสงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย



จะเข้าใจว่าอะไรคือ อนัตตา ก็ต้องทำความเข้าใจว่าอะไรคือ อัตตา เสียก่อน

อภิปรัชญา ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาได้ให้ความหมายของ อัตตา หรือตัวตน สรุปได้ ๓ นัย คือ...........

๑ ตัวตน หมายถึงศูนย์รวมแห่งความเปลี่ยนแปลง หรือการแปรสภาพและเป็นหลักแห่งการคงเดิม

๒ ตัวตน หมายถึงศูนย์รวมแห่งคุณสมบัติทั้งหลาย

๓ ตัวตน หมายถึงสิ่งที่มีอยู่โดยตัวมันเอง มีบูรณภาพในตัวมันเอง

ตามความหมายนัยที่หนึ่ง นักปรัชญาอธิบายโดยยกตัวอย่างว่าสมมติเราเก็บมะม่วงมาลูกหนึ่ง เมื่อสองสามวันก่อน มะม่วงลูกนั้นแก่แล้วแต่ยังไม่สุก มีสีและกลิ่นของผลไม้ดิบอยู่ เราเอามะม่วงมาบ่ม พอถึงวันนี้มะม่วงผลนี้กลับมีสีผิว กลิ่น ต่างไปจากมะม่วงดิบเมื่อสองสามวันก่อน แต่เรา

ทราบดีว่ามันเป็นมะม่วงผลเดียวกัน มะม่วงดิบเมื่อสองสามวันกับมะม่วงสุกวันนี้ จึงน่าจะมี อะไรบางสิ่งบางอย่าง อยู่ร่วมกัน อะไรบางอย่าง นี้แหละ คือตัวตนที่แท้จริงของมะม่วงผลนี้ ตัวตนนี้เป็นตัวยืนโรงหรือหลักแห่งการคงเดิมที่ทำให้มะม่วงดิบเมื่อสองสามวันก่อน กับมะม่วงสุกใน
วันนี้เป็นผลเดียวกัน แม้คุณสมบัติอื่น ๆ จะเปลี่ยนไปก็ตาม

ในความหมายที่สอง ท่านอธิบายโดยยกตัวอย่างว่า เรามีโต๊ะสี่เหลี่ยมผืนผ้าตัวหนึ่ง ต่อมาเราดัดแปลงให้โต๊ะตัวนี้เป็นโต๊ะกลม โต๊ะกลมตัวนี้เรารู้ว่าเป็นตัวเดียวกันกับโต๊ะสี่เหลี่ยมผืนผ้าตัวก่อน แต่คุณสมบัติของมันเปลี่ยนแปลงไป แสดงว่า มีตัวตนที่แท้จริงของโต๊ะ สำหรับรองรับคุณสมบัติของโต๊ะไม่ว่ามันจะเปลี่ยนรูปร่างไปอย่างใดก็ตาม

ตัวตนในความหมายที่สาม คือสิ่งซึ่งมีอยู่โดยตัวของมันเองไม่เกิดจากอะไร แต่มีอยู่และเป็นมาอย่างนั้นโดยตัวเอง มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
(ขอให้ดูรายละเอียดในหนังสืออนัตตาในพุทธปรัชญา โดย ดร.วิทย์ วิศทเวทย์ ข้อความข้างบนนั้นผมจำฝีปากท่านมา)

ตามมติพุทธศาสนา ถือว่าตัวตนทั้ง ๓ นัยข้างต้นนั้นไม่มี เพราะทุกสิ่งเป็นอนัตตาไม่มี อะไรบางอย่าง ซึ่งเป็นแก่นแท้ของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นตัวยืนโรง และดำรงอยู่อย่างไม่แปรสภาพ พุทธศาสนาถือว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย เปลี่ยนแปลงและสิ้นสุดลง เพราะหมดเหตุปัจจัย

เพื่อความกระจ่าง ขอให้ย้อนไปศึกษาเรื่องไตรลักษณ์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นเป็นทุกขัง สิ่งใดเป็นอนิจจัง ทุกขัง สิ่งนั้นเป็นอนัตตา" นั่นแสดงว่าทั้งสามอย่างนี้คือสิ่งเดียวกัน เมื่อเข้าใจอย่างหนึ่งก็จะเข้าใจอีกอย่างด้วย และวิธีที่จะเข้าใจง่าย ก็เห็นจะต้องเริ่มที่อนิจจัง เพราะอนิจจังถือว่าเป็นกุญแจที่จะไขให้เข้าใจอีกสองอย่างได้ง่ายขึ้น

มีพุทธวจนะบทหนึ่งว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน แปลว่าสังขารทั้งหลายเป็นอนิจจังมีการเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา สังขาร หมายถึงสิ่งผสมทุกชนิด การเกิดและการเสื่อมสลายเป็นลักษณะที่แท้จริงของสังขาร โปรดสังเกตการใช้คำศัพท์ ท่านใช้ในรูปเป็นปัจจุบัน คือ การเกิด กับ การเสื่อมสลาย เป็นไปพร้อมกันในขณะเดียว

พูดให้ชัดก็คือ การเสื่อมสลายมีตั้งแต่วาระแรกที่สิ่งนั้นเกิดหรือการเกิดมีในขณะแรกที่สิ่งนั้นดับ เป็นลักษณะสืบสายต่อเนื่องกันเป็นกระแสโดยสภาวะที่กำลังดับถ่ายโอนพลังเอื้ออำนวยทั้งหมดให้แก่สภาวะที่รับช่วงต่อมา จึงไม่มีแม้แต่ขณะเดียวที่มันจะคงที่

ลักษณะเช่นนี้แหละเรียกอนิจจัง และทุกขัง และเมื่อมันเป็นอย่างนี้มันจึงเป็นอนัตตา คือปราศจากตัวยืนโรง หรือตัวตนที่เป็นศูนย์รวมแห่งการแปรสภาพ

ปรัชญาเมธีต่าง ๆ ไม่ว่าตะวันตก ตะวันออก ดูเหมือนจะยอมรับว่าทุกอย่างแปรสภาพไม่คงที่ คือ มองเห็นว่ามันเป็นอนิจจัง ทุกขัง แต่ยังมีความรู้สึกว่า เบื้องหลังการแปรสภาพนั้นจะต้องมี อะไรบางอย่าง ที่ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นตัวยืนโรงหรือเชื่อมประสาน หาไม่แล้ว มะม่วงดิบเมื่อสองสามวันก่อน มันจะเป็นลูกเดียวกับมะม่วงสุกวันนี้ได้อย่างไร ถ้าไม่มีสิ่งคอยเชื่อมหรือควบคุมการแปรสภาพ

พุทธศาสนาชี้ว่า การที่มะม่วงดิบเมื่อสองสามวันก่อนยังเป็นลูกเดียวกับมะม่วงสุกในวันนี้ เพราะผลแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สืบเนื่องกันเป็นกระแส
ที่ถ่ายโอนศักยภาพสืบต่อกันมา พูดแบบนักธรรมะก็คือ เพราะสันติความสืบต่อที่ไม่ขาดสาย เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามเงื่อนไขของธรรมชาติ
ก็ไม่จำเป็นต้องมี ผู้ หรือ สิ่งที่มาบันดาลให้มันเป็นไป หากแต่มันเป็นไปตามเงื่อนไข

เมื่อมีเชื้อมีไฟ การลุกไหม้ก็เกิดขึ้น เมื่อหมดเชื้อ ไฟก็ดับ จำเป็นด้วยหรือจะต้องมีผู้ไหม้อยู่เบื้องหลังการไหม้ หรือผู้ดับอยู่เบื้องหลังการดับ

ความรู้สึกว่ามีตัวตน คอยควบคุมกลไกอะไรต่าง ๆ อยู่เบื้องหลังนั้น พุทธศาสนาเรียกว่าเป็นความรู้สึกหลอกหรือความเข้าใจผิด ความรู้สึกหลอก
นี้เอง เป็นตัวสร้างความคิดว่ามีตัวตนขึ้นมา ปรัชญาเมธีอย่าง เดส์ คาร์ทส์ ก็รู้สึกอย่างนี้ จึงกล่าวยืนยันว่า ฉันคิดเพราะฉะนั้นฉันจึงมี

ข้อความข้างต้นได้อธิบายไตรลักษณ์เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ (ผมคิดเอาเองว่าง่าย แต่ท่านผู้อ่านยิ่งอ่าน ยิ่งงง ก็อาจเป็นได้) คราวนี้ขออธิบายอีกแนวหนึ่ง เพื่อสนับสนุนแนวแรกที่กล่าวมาแล้ว



พุทธศาสนา ทรรศนะและวิจารณ์ ศาตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต



(:LOVE:)กดแล้วฟังได้เลยความยาว 6 นาทีโดยประมาณ รัก



<a href="http://www.4shared.com/embed/1183309662/b449d38c" target="_blank">http://www.4shared.com/embed/1183309662/b449d38c</a>


Sometime Home..........http://poerlife.fx.gs/index.php?topic=1075.0

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 กุมภาพันธ์ 2555 21:25:54 โดย 時々Sometime » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.264 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 13 เมษายน 2567 11:04:46