[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:27:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  [1] 2 3 ... 368
1  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / Re: สามัคคีคือพลังสร้างสันติ :โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน? เมื่อ: 03 มิถุนายน 2557 12:56:57

    ก่อนอื่น จำเป็นต้องทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งว่า "อัสมิมานะ" คืออะไร?
อัสมิมานะ ซึ่งบางครั้งเราเรียกว่า อหังการ มมังการ คือความรู้สึกว่าเป็นเรา และเป็นของเรา จากความรู้สึกว่าเป็นเรา เป็นของเรานี้เอง นำไปสู่ความคิดชนิดที่เรียกว่า "เป็นเรา เป็นเขา เป็นของเรา ของเขา พวกเรา พวกเขา ชาติเรา ชาติเขา ค่ายเรา ค่ายเขา เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ความขัดแย้งกันอย่างที่มักพูดกันว่า ผลประโยชน์ขัดกันก็เกิดขึ้น จากนั้นเราจะพบวงจรใหม่ที่หมุนไปหาความ วุ่นวายและความทุกข์ ที่คนทั่วไปบอกว่าเกลียด แต่กลับพยายามวิ่งเข้าหามันครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะเจ้าความรู้สึกว่า เป็นเรา เป็นของเรา นั่นเอง ผลักดันให้เป็นไป

    ถ้ามองวงจรย้อนกลับ หรือการย้อนศรของผู้ต้องการ สันติสุข เราจะพบว่า เมื่อเกิดความรู้สึกเป็นเรา เป็นเขา เป็นของเรา เป็นของเขา ความคิดที่จะเอาของเขามาเป็นของเรา หรือทำลายพวกเขาก็บังเกิดขึ้นตามมาด้วย อันเป็นการทำตนให้ตกอยู่ภายใต้การบงการของความอยากได้ อยากเป็น อยากมี เมื่อความอยากรุนแรงมากยิ่งขึ้น ก็จะแสดงออกในรูปของการเบียดเบียน ประทุษร้ายกัน เพื่อเอาของเขามาเป็นของเราหรือเพื่อทำลายพวกเขา การทำลายหรือการเบียดเบียนนี้จะบังเกิดขึ้นจากจุดย่อยๆ คือใจของคนแต่ละคนก่อน
และเพราะเหตุที่คนมีความรู้สึกว่า เป็นเรา เป็นพวกเรา คนจึงหันมาเกาะกลุ่มกันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของตนและพวกตน หากความรู้สึกเหล่านี้รุนแรงมาก การแสวงหาผลประโยชน์ก็จะแสดงออกในลักษณะยื้อแย่ง ต่อสู้ จนถึงขั้นทำลายล้างกันในลักษณะใครดีใครอยู่ อันเป็นสัญชาติญาณป่า การแสดงออกซึ่งพฤติกรรมต่างๆ ของสัตว์โลกเหล่านี้ ตามทัศนะทางพระพุทธศาสนาได้จำแนกออกไปเป็นกลุ่มดังนี้ คือ

    ๑. มีความเป็นเรา มีความเป็นเขาอย่างรุนแรง พบกันก็ต้องทำลายกัน เช่นเดียวกับพังพอนและงูเห่า สัตว์เล็กกับสัตว์ใหญ่ หรือศัตรูคู่อาฆาตกัน เป็นต้น

    ๒. มีความเป็นเรา เป็นเขา ลดลงมา แต่เมื่อขัดผลประโยชน์กัน หรือบางครั้งเข้าใจว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะขัดผลประโยชน์ของตน ก็พร้อมที่จะทำลายล้างกันแย่งชิงกันจนเกิดพฤติกรรมแบบสัตว์ดิรัจฉานขึ้น ด้วยการ
        "แย่งอาหารกันกิน แย่งถิ่นกันอยู่ แย่งคู่กันพิศวาส แย่งอำนาจกันเป็นใหญ่" จนพร้อมที่จะทำลายทุกคน ทุกสิ่ง ที่ขัดขวางความอยากที่จะได้ของตน พฟติกรรมเหล่านี้มีอยู่ทั้งหมู่สัตว์และคนที่ให้ความสำคัญแก่ตน กับพวกของตน ปฏิเสธคนอื่นกับพวกของคนอื่นในระดับมากบ้าง ระดับกลางๆบ้าง

    ๓. มีความรู้สึกเป็นเรา เป็นเขา เป็นพวกเรา พวกเขาในระดับเคารพสิทธิ ผลประโยชน์ สวัสดิภาพของเขา โดยอาศัยความคิดเอาใจเขามาใส่ใจเรา จากพื้นฐานเดิมที่กล่าวมาแล้วคือ "ทุกชีวิตต้องการความสุข ไม่ต้องการความทุกข์" ดังนั้นการกระทำอะไรก็ตามที่เป็นการ "สร้างทุกข์ทำลายสุข" ของคนอื่นก็จะงดเว้นไม่กระทำ มีความเคารพในสิทธิทางร่างกาย ทรัพย์สิน คู่ครอง ผลประโยชน์ สวัสดิภาพของกันและกัน ไม่มีการเบียดเบียนประทุษร้ายกันช่วยให้สามารถสร้างสรรค์ ความสุขความสงบให้เกิดขึ้นได้ ตามนัยแห่งพุทธดำรัสที่ตรัสว่า
       "การไม่เบียดเบียนกัน คือการสำรวมระวังในสัตว์ทั้งหลาย เป็นความสุขในโลก"




                          มีต่อค่ะ
2  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / Re: สามัคคีคือพลังสร้างสันติ :โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน? เมื่อ: 03 มิถุนายน 2557 12:52:16


สามัคคีคือพลังสร้างสันติ :โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน?
:พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร รวบรวมและเรียบเรียง;
ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
พิมพ์เผยแผ่เป็นธรรมบรรณาการ พุทธศักราช ๒๕๔๑
   หากเราจะตั้งคำถามต่อใครก็ตามในโลกนี้ว่า อะไรคือสุดยอดปรารถนาของท่าน ทุกคนแม้จะให้คำตอบที่ดูเหมือนแตกต่างกัน แต่เมื่อว่าโดยเนื้อหาแล้ว สิ่งที่เขาต้องการในส่วนผลจริง คือ "ความสุข" นั่นเอง เหตุนั้นทางพระพุทธศาสนาจึงกล่าวถึงความต้องการของมนุษย์และสัตว์โดยสรุปว่า "ทุกชีวิตต้องการความสุขไม่ต้องการความทุกข์" ใช่แล้ว เป็นความต้องการสั้นๆ แต่ต้องใช้ความเพียรพยายามอันยาวนาน บางคนแม้จะใช้เวลาอันยาวนานแล้วก็ไม่อาจประสพความสุขได้ ทำให้เราพบคนที่บ่นถึงความทุกข์ของตน มากกว่าคนที่บอกว่าเขามีความสุขแล้ว เขาสบายแล้ว ชีวิตของ คน สัตว์  โดยมาก จึงหมดสิ้นไปด้วยการพยายามวิ่งหนีความทุกข์ แสวงหาความสุขกัน

    แม้พระพุทธศาสนาเอง ก็เกิดขึ้นเพราะต้องการหลีกหนีจากความทุกข์ เพื่อได้สำผัสความสุขที่แท้จริง แต่อย่างไรก็ตาม คนที่นับถือพระพุทธศาสนาเองคงมีความทุกข์มากกว่าความสุขอยู่นั่นเอง แม้ว่าหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนามีเป้าหมายที่เด่นชัดของการทำงานคือ "ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมศานต์" ก็ตาม เมื่อเรามองไปที่องค์กรบริหารสูงสุดคือ "รัฐ" ก็จะพบว่ารัฐทำงานบริหารชาติบ้านเมือง เพพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกันกับพระพุทธศาสนา ดังนั้นการกระทำทุกอย่างของรัฐ ที่มีผู้บริหารเป็น "ธรรมมิกราช" จะมุ่งไปที่ "บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่อาณาประชาราษฎร" เป็นสำคัญ แต่ถึงอย่างไร ทุกข์ก็คงมีมากกว่าสุขอยู่ดีนั่นแหละ เรื่องนี้จึงออกจะเป็นเรื่องแปลกแต่จริง และคงเป็นเช่นนี้อยู่ตลอดไป ปัญหาสำคัญใการครองชีวิตประกอบกิจการงาน บริหารบ้านเมือง และเผยแพร่พระศาสนาจึงอยู่ที่
    "ทำอย่างไรความทุกข์จะลดลงมากหน่อย ความสุขจะเพิ่มขึ้นมากหน่อย โดยให้อยู่ดีมีสุข ตามสมควรแก่ฐานะของแต่ละคน"

  17.58  แน่นอน ไม่ว่ายุคใดสมัยใด หรือด้วยการกระทำของใครก็ตาม ย่อมไม่อาจจะให้คนทุกคนมีความสุขเสมอเหมือนกันได้ ปัญหาสำคัญจึงอยู่ที่ทำอย่างไรคนจึงจะได้รับความสุข ความสงบ ตามสมควรแก่ฐานะของตนเท่านั้น การทำความเข้าใจเรื่องนี้ จำเป็นต้องหันไปจับหลักการสำคัญคือ "กฏของเหตุผล" ทั้งนี้เพราะว่า "สิ่งทั้งหลายล้วนมาจากเหตุ"

    ความสุข ความสงบนั้น เป็นเหตุหรือเป็นผล?
ความสุข ความสงบ เป็นผล ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยสร้างเหตุแห่งความสุข ความสงบ ในขณะเดียวกันต้องเว้นเหตุแห่งความทุกข์ความเดือดร้อนด้วย สิ่งที่ก่อให้่กิดความสับสนคือ ในขณะที่คนบอกว่าตนต้องการความสุข  ไม่ต้องการความทุกข์ แต่เขากลับทำในทางตรงกันข้าม คือ
    "สร้างเหตุความทุกข์ ทอดทิ้งเหตุแห่งความสุข"
เหมือนคนที่เขาบอกให้เดินไปทางขวา แล้วจะถึงที่ที่เขาต้องการจะไป แต่เขากลับเดินไปทางซ้ายมือ เมื่อเป็นเช่นนี้ อย่างไรๆ เขาก็ไม่อาจถึงจุดหมายปลายทางที่เขาต้องการได้ไม่ว่าในกาลใดๆก็ตาม
    ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร?
เพราะพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ "ย้อนศร" ทางแห่ง ความสุข ความสงบ นั่นเอง โลกเคยเป็นเช่นนี้และยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป ตราบเท่าที่เขายังบอกว่าต้องการความสุข ความสงบ แต่ในขณะเดียวกันกลับยังคงสร้างเหตุแห่งความทุกข์ความเดือดร้อนอยู่

    เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ขณะเสด็จประทับที่ต้นจิกชื่อว่า มุจลินท์ ได้ทอดพระเนตรดูสัตว์โลกผู้แสวงหาความสุข แล้วทรงแสดงความสุขสุดยอด พร้อมทั้งเหตุให้เกิดความสุขไว้ว่า
    "สันติเป็นความสุขของผู้ยินดีตามมีตามได้สัมผัสธรรมด้วยใจตน
    การไม่เบียดเบียนกัน คือการระมัดระวังในสัตว์ทั้งหลาย เป็นความสุขในโลก
    ความปราศจากความกำหนัด คือก้าวล่วงกามทั้งหลายเสียได้ เป็นความสุขในโลก
    การกำจัดอัสมิมานะเสียได้ นั่นแหละเป็นความสุขอย่างยิ่ง"

พระพุทธดำรัสนี้ ทรงแสดงความสุข ความสงบ ในแง่ที่เป็นกระบวนของเหตุผล โดยทรงเน้นให้เห็นผลขั้นสุดท้ายคือ "สันติสุข" แต่สันติสุขจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ คนสามารถคุมใจตนเอง ให้มีความยินดีในทรัพย์สิน คู่ครอง และประโยชน์ตามที่ตนมีตามที่ตนได้มา เป็นเหตุให้ยุติการเบียดเบียนกันทางกาย ทรัพย์สิน คู่ครอง ผลประโยชน์ แต่การที่คนจะทำเช่นนั้นได้ต้องครอบงำความอยากที่บังเกิดขึ้นได้ อย่างน้อยที่สุดต้องสามารถทำใจของตนให้อยู่เหนือความอยากในขั้นรุนแรง ที่ทำให้ไปละเมิดสิทธิ หน้าที่ ผลประโยชน์ของกันและกัน โดยจะต้องลด ละ สิ่งที่ทรงใข้คำว่า "อัสมิมานะ" ออกจากใจให้จงได้

    อย่างน้อยที่สุดให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย เพราะอัสมิมานะเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้แต่ละคน จนถึงโลกขาด "สันติสุข" ทั้งๆที่มีการเรียกร้องสันติสุขกันตลอดมา จนถึงกับกำหนดเป็นปีสันติภาพสากลแล้ว ตราบใดที่อัสมิมานะยังมีอยู่ สันติสุขย่อมไม่อาจเกิดชึ้นได้อย่างแน่นอน นอกจากคนจะสามารถถ่ายถอนอัสมิมานะออกไปอย่างน้อยในขั้นบรรเทาได้ ความสุข ความสงบ จึงจะค่อยๆเกิด และเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น



มีต่อค่ะ
3  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / Re: สามัคคีคือพลังสร้างสันติ :โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน? เมื่อ: 03 มิถุนายน 2557 12:49:07
พระสูตรที่นำมาเป็นหลักในการอธิบายขยายความ คือ "สาราณียธรรมสูตร" อันเป็นพระสูตรที่เน้นธรรมปฏิบัติ ที่อาจจะเริ่มต้นจากเมตตา ช่วยให้มีท่าทีต่อคน สัตว์ ด้วยความรักและหวังดี หรือมีความเห็นชอบช่วยให้มองโลกอย่างน้อยที่สุดระดับของการยอมรับนับถือ สิทธิ หน้าที่ ของกันและกัน ไม่ล่วงละเมิดกัน จนถึงมีเมตตาพร้อมที่จะแสดงออกมาทาง กาย วาจา ใจ ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อกัน ในพระสูตรยังทรงสะท้อนอาการของ "เมตตา และปัญญาอันเห็นชอบ ออกมาในรูปของ ความรัก ความเคารพ การสงเคราะห์กัน การไม่ทะเลาะวิวาทกัน ความสามัคคีและเอกภาพ" เป็นต้น ไว้ด้วย

เพื่อให้คนมองเห็นการทำดีหรือทำชั่วก็ตาม เมื่อลงมือทำไปแล้วจะกลายเป็นขบวนการทยอยกันไปจากจุดย่อยๆ จนถึงจุดใหญ่ ทำนองเดียวกันกับ ไฟใหม้ น้ำไหล ไฟสว่าง ลมพัด เป็นต้น หรือการปลูกพืชเราปลูกพืชนิดเดียว แต่ผลของพืช ทยอยให้ผลผ่านเวลาไปอีกนาน และมากจนไม่อาจเทียบกับพืชที่ตนปลูกได้ หากใครก็ตามตระหนักความจริงข้อนี้ มองเห็นโทษของความทุกข์ ความดีของความสุข จนพร้อมที่จะสร้างความสุข จะด้วย เมตตา กรุณา สัมมาทิฏฐิ ความรักความเคารพกัน การสงเคราะห์กัน เป็นต้นก็ตาม ความเป็นพี่น้องกันของชาวโลกก็จะน่าอยู่ขึ้นอีกมากทีเดียว

ตัวอย่างเช่นปัญหายาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆนั้น หากคนผลิต คนเสพ รู้บาปบุญคุณโทษพอต่อการที่จะหยุดหากินด้วยบาปอย่างนั้น หรือมีเมตตาต่อตนเองและคนอื่น ปัญหายาเสพติดก็ยุติได้แล้ว แม้ปัญหาอาชญากรรมอย่างอื่น  รวมถึงการศึก สงคราม ล้วนสืบเนื่องมาจากอวิชา ความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่ถ้าคนมีเมตตาต่อกัน หรือมีปัญญามากพอต่อการจะหยุดการทำชั่วได้ ศึก สงครามทุกลักษณะก็จะยุติลง
    ชาวพุทธจะพบว่าหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงระดับโลก หมายความว่า แม้มีเพียงข้อเดียว ก็สามารถกระจายธรรม กระจายผล ออกไปสู่ระดับโลกได้จริงๆ

"เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
ความไม่เบียดเบียนกันเป็นความสุขในโลก
สติเป็นธรรมเครื่องปลุกให้ตื่นในโลก
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก"


กระบวนการแห่งกุศล อกุศล จึงสำคัญที่จุดเริ่มต้น ทำนองปลูกพืชดังกล่าว เช่น เมตตา ปัญญา เกิดขึ้นในกายในจิต กุศลธรรมในนามอื่นก็จะเกิดขึ้นติดตามมา ที่เกิดแล้วก็จะเจริญมากขึ้น ในขณะเดียวกันนั้นเองอกุศลในรูปแบบต่างๆก็จะลดลง ตามสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของกุศลธรรมเหล่านั้น เหมือนการเพิ่มปริมาณของแสงสว่างมากขึ้นเท่าใด การลดลงของความมืดก็จะกระจายออกไปมากเท่านั้นนั่นเอง

หนังสือเรื่อง โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน? เล่มนี้ ทางราชการกองทัพบกได้เคยนำไปพิมพ์เผยแผ่มาไม่น้อยกว่า ๒ ครั้ง ในนามของ "สามัคคีคือพลังสร้างสันติ" แต่เป็นหนังสือที่แพร่หลายในวงการทหารบก เมื่อนำมาอ่านอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏอาการของธรรมะที่ทรงแสดงว่า "อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา" คือความจริง ทรงแสดงไว้อย่างไรก็คงเป็นอย่างนั้น การนำมาเผยแผ่อีกคงเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจเช่นเดิม จึงได้ตัดสินใจนำมาพิมพ์เผยแผ่อีกครั้งหนึ่ง
    การพิมพ์คราวนี้ ทำในนามขององค์กรกุศลสององค์กรที่รับผิดชอบอยู่คือ ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย และ กองทุนไตรรัตนานุภาพ เพื่อการศึกษา การเผยแผ่ และการพิทักษ์ความมั่นคงของพระพุทธศาสนา

ส่วนที่พิมพ์ในรูปของ "ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย" เน้นไปที่การจำหน่ายด้วยราคาเผยแผ่ เพื่อนำรายได้มาดำเนินงานของศูนย์ฯ ต่อไป
    ในขณะที่พิมพ์ในนามของ กองทุนไตรรัตนานุภาพ เพื่อการศึกษา การเผยแผ่ และการพิทักษ์ความมั่นคงของพระพุทธศาสนา เน้นไปที่ธรรมทาน ธรรมบรรณาการ โดยพร้อมที่จะรับการส่งเสริมสนับสนุนการทำงานของ กองทุนไตรรัตนานุภาพ

เจตน์จำนงในการเผยแผ่ธรรมนั้น เป็นภารกิจของชาวพุทธทุกคน เพียงแต่ว่าใครจะสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหนเพียงไร ในลักษณะใด โดยคาดหวังว่าการเผยแผ่คงเอื้อประโยชน์แก่ท่านที่ได้รับรู้ในรูปแบบใดก็ตาม เจตน์จำนง ความคาดหวังในการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขององค์กรทั้งสองก็ต้องการเช่นนั้น
    ในขั้นของกุศลเจตนาที่แผ่ไปคือ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย ได้โปรดดลบันดาลอภิบาลรักษาให้ท่านผู้ได้รับหนังสือ ให้การสนับสนุนองค์กรทั้งสอง ได้รับความสุขความเจริญ มีความงอกงามไพบูลย์ในธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงประกาศแสดงไว้ดีแล้วโดยทั่วกันตลอดกาลนาน เทอญ.


:พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร รวบรวมและเรียบเรียง

เริ่มคัดลอก เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2014, 11:42:20 PM


มีต่อค่ะ
4  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / สามัคคีคือพลังสร้างสันติ :โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน? เมื่อ: 03 มิถุนายน 2557 12:46:08



สามัคคีคือพลังสร้างสันติ :โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน?
:พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร รวบรวมและเรียบเรียง;
ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
พิมพ์เผยแผ่เป็นธรรมบรรณาการ พุทธศักราช ๒๕๔๑



คำนำ
หนังสือเรื่อง "โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน?" เล่มนี้ สืบเนื่องมาจากการมองปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในสังคมที่มีอาการต่อเนื่องจนกลายเป็นปัญหาอาชญากรรม นำไปสู่ความไม่มั่นคงในด้านต่างๆ ที่มักพูดถึงกันใน ๔ ด้านใหญ่ๆ คือ ความมั่นคงทางด้านการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา ในขณะที่คนสามารถจะกระจายลักษณะของปัญหาออกไปได้โดยพิศดาร จนบางครั้งไม่อาจหาข้อยุติของปัญหาเหล่านั้นได้

ได้มีท่านผู้ใหญ่หลายท่านนำเรื่องนี้มาปรารภกัน และขอให้ช่วยเรียบเรียงเป็นเอกสาร เพื่อเผยแผ่ออกไปในรูปของการกระตุ้นเตือน ชวนให้คิด ในลักษณะของการเตือนจิตสกิดใจกันตามที่จะทำได้ เพราะการจะแก้ปัญหาให้ได้จริงๆ จำต้องอาศัยจิตสำนึกของคนแต่ละคนที่มองเห็น โทษของปัญหา สาเหตุของปัญหา และมองเห็นคุณค่าของ การลดละปัญหาลงไปตามสมควรแก่ฐานะนั้นๆ จนมีความพร้อมที่จะดำเนินชีวิตตนเองไปตามหลักการวิธีการในการแก้ปัญหาตามสมควรแก่ฐานะนั้นๆ ในขณะที่หากสามารถมองสาวให้ตลอดเข้าไปถืงสาเหตุหลัก รวมทั้งวิธีการ หลักการ อันเป็นหลักพื้นฐานจริง การลด ละ บรรเทาปัญหา จะมีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

การมองโลกที่เป็นองค์รวมของพระพุทธเจ้า อันเป็นองค์พระศาสดาของเราทั้งหลายนั้น ก่อนที่จะเสด็จออกบรรพชา ทรงมองเห็นว่าสรรพสัตว์เผชิญปัญหาร่วมกัน ปัญหาเหล่านั้นสืบเนื่องมาจากความเกิด หากยุติความเกิดได้ ปัญหาทุกรูปแบบที่สืบเนื่องมาจากความเกิดก็จะสงบลง แต่ตอนที่ทรงตรัสรู้กลับทรงมองย้อนรอยความเกิด จนทรงพบเห็นสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาทุกระดับว่า ล้วนสืบเนื่องมาจากอวิชา คือความไม่รู้ คนทั่วไปจะไม่มีใครที่มีความรู้สมบูรณ์ การกระทำของเขาจึงมีความไม่รู้ปนลงไปมากบ้างน้อยบ้าง อาการที่ปรากฏจึงสะท้อนความโลภ โกรธ หลง อันเป็นกิ่งก้านสาขาของอวิชา

แม้กระนั้นก็ตาม ยามที่ทรงนำมาสั่งสอนแก่ผู้ฟัง ทรงวางหลักธรรมให้สอดรับกับพื้นฐานของผู้ฟัง ที่จะสามารถได้รับประโยชน์จากการศึกษา การปฏิบัติตามหลักธรรมเหล่านั้น ตามโครงสร้างการสอนธรรมของพระพุทธเจ้าที่ว่า "ทรงแสดงเพื่อให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริง ในสิ่งที่เขาควรรู้ควรเห็น" แต่เพราะตามปรกติแล้วธรรมะเป็นของที่ควรรู้ควรเห็นทั้งนั้น ดังนั้นจึงมองไปที่ศักยภาพของคนที่ฟังในขณะนั้นๆว่า เขาจะสามารถรู้สามารถเห็นหลักธรรมเหล่านั้นหรือไม่ หากเขามีความสามารถมากพอ ก็ทรงมีวิธีแสดงธรรมที่ท่านบอกว่า "ทรงแสดงธรรมมีเหตุ ที่ผู้ตรองตาม พิจารณาตาม ปฏิบัติตาม แล้วจะเห็นความจริงได้" ทั้งนี้เป็นเพราะว่า หลักธรรมที่ทรงตรัสรู้มานั้น มีความอัศจรรย์ คือผู้ประพฤติปฏิบัติจะได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ

การนำเสนอในหนังสือเล่มนี้ จึงอาศัยแนวแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า ทั้ง ๓ วิธีเป็นหลัก และมองปัญหา สาเหตุของปัญหา ที่กระทบต่อสังคมระดับกระทบต่อความมั่นคงดังกล่าว โดยคาดหวังว่าหากใครถือตามปฎิบัติไปตามหลักที่ได้รวบรวม เรียบเรียงได้ ควรจะได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่เหตุ
    หากท่านผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา มองไปที่โอวาทปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักระดับอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา เราจะพบว่าบุคคลที่จัดเป็นระดับอุดมการณ์ของสังคมทุกระดับคือ คนที่สามารถปฎิบัติพัฒนาตนมาถึงจุดที่ "ไม่ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ได้" เป็นเบื้องต้น จนสามารถทำตนเป็นประโยชน์แก่โลกที่ตนเกิดมามากบ้างน้อยบ้าง ตามกำลังความสามารถของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน

    เพราะการมองปัญหาแบบรวบยอดของพระพุทธศาสนา ที่สรุปแบบรวบยอดของพระพุทธศาสนา ที่สรุปรวมเป็นสรรพปัญหา มาจากอวิชชา ดังนั้นเมื่อสภาพของปัญหาที่ถาวร คือ ทุกข์ ภัย โรค หรือสรุปเป็นทุกข์อย่างเดียว ในขณะที่ผลที่คนต้องการสรุปเป็นทุกข์อย่างเดียวนั้น เหตุที่ให้เกิดความทุกข์ที่สืบเนื่องมาจากอวิชชา ที่ทรงแสดงไว้ในที่ต่างๆเช่น
   "บ้านเรือนที่ปกครองไม่ดีนำความทุกข์มาให้
    ความจนเป็นทุกข์ในโลก
    การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก
    คนไม่มีที่พึ่งอยู่เป็นทุกข์
    ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์
    ทุกข์เสมอด้วยขันธ์ไม่มี
    สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง"
เป็นต้น
เมื่อมองในรูปของการสืบสานถึงที่มา จะพบว่า แต่ละอย่าง
ล้วนสืบเนื่องมาจากอวิชชา คือไม่รู้ด้วยกันทั้งนั้น

พอมองไปที่ความสุขที่ทรงแสดงไว้ในที่ต่างๆเช่น
    "การไม่เบียดเบียนกันเป็นความสุขในโลก
    ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง
    ความสงบระงับแห่งสังขารเป็นความสุข
    ความสุขอันยิ่งกว่าความสงบไม่มี
    การเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำความสุขมาให้
    การแสดงธรรมนำความสุขมาให้
    จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์แท้จริง ก็เพราะไม่คบคนพาล
    ผู้เจริญเมตตาดีแล้วย่อมหลับและตื่นเป็นสุข
    นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง"
เป็นต้น

แต่ละข้อล้วนเป็นอาการของความรู้ ความบริสุทธิ์จากกิเลสตามสมควรแก่ฐานะ ความเมตตากรุณาต่อคน สัตว์ ที่แต่ละอย่างเป็นกิ่งก้านสาขาของวิชา คือความรู้
    การเรียบเรียงเรื่องนี้เน้นไปที่หลักการของสามัคคีธรรม อันเป็นอาการของความรู้ ความบริสุทธิ์ใจ ความเมตตากรุณาต่อกัน โดยมองจากหลักพุทธดำรัส ที่ทรงแสดงระดับโลก ๒ ข้อ คือ "การไม่เบียดเบียนกันเป็นความสุขในโลก กับ ความริษยาทำโลกให้พินาศ"

ที่มาจากพื้นฐานต่างกัน การไม่เบียดเบียนกันเป็นอาการของเมตตา กรุณา อันสืบเนื่องมาจากวิชชา ความริษยาเป็นอาการร่วมของความโลภในของดีที่คนอื่นได้ ความโกรธในคนที่ไม่ได้สิ่งดีที่ตนชอบ อันสืบเนื่องมาจากอวิชา
    ภาวะอวิชาเป็นความมืด ในขณะที่วิชาเป็นแสงสว่าง ที่จะไม่ปรากฎร่วมกันในจุดเดียวกัน ในขณะเดียวกัน การสร้างสำนึกว่า "โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน" จึงเป็นการมองจากวิชชา คือปัญญาที่พิจารณาจนประจักษ์ความจริงของ "คน สัตว์ สิ่ง" ว่าเป็นเพื่อนร่วมโลก อาศัยโลก ร่วมทุกข์สุขกันตามธรรมชาติ และการกระทำของแต่ละชีวิต

มีต่อค่ะ
5  สุขใจในธรรม / กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ / การฆ่าตัวตายบาปมากแค่ไหนมาดูกัน เมื่อ: 30 ตุลาคม 2556 11:14:57


การฆ่าตัวตายบาปมากแค่ไหนมาดูกัน
ฆ่าตัวตายเค้าว่าจะต้องตามไปฆ่าตัวเองอีก 500 ชาติ เคยมีเรื่องราวสมัยพุทธกาลเล่าว่า มีพระรูปหนึ่งจะมาลาพระพุทธเจ้าไปเผยแผ่ศาสนา ก่อนไปพระพุทธเจ้าถามพระองค์นั้นว่า
ตถาคต: ถ้ามีคนมาว่าท่านหละ
ภิกษุ: เขามามาว่าเราก็ดีกว่าเขาเอาก้อนดินมาปา
ตถาคต: ถ้าเขาเอาก้อนดินมาปาท่านหละ
ภิกษุ: เขาเอาก้อนดินมาปาก็ดีกว่าเขาเอาไม้มาตี
ตถาคต: ถ้าเอาไม้มาตีท่านหละ
ภิกษุ: เขาเอาไม้มาตีก็ดีกว่าเขาเอามีดมาฟันให้บาดเจ็บ
ตถาคต: ถ้าเขาทำให้ท่านบาดเจ็บหละ
ภิกษุ: เขาทำให้บาดเจ็บก็ดีกว่าเขาฆ่าเราให้ตาย
ตถาคต: ถ้าเขาฆ่าท่านให้ตายหละ
ภิกษุ: เขาฆ่าเราให้ตายก็ดีกว่าเราฆ่าตัวตาย
พระพุทธเจ้าจึงอนุญาติให้พระองค์นั้นไปตามแคว้นอื่นได้

โทษของการฆ่าตัวตาย
คน รวมทั้งสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในวัฏสงสารนั้น เมื่อตายแล้วจะเกิดใหม่เป็นอะไร หรือจะไม่ต้องเกิดอีกนั้น ก็ขึ้นกับสภาวะจิตตอนใกล้จะตาย ที่เรียกว่า มรณาสันนวิถี เป็นสำคัญ คือถ้าขณะนั้นจิตผ่องใส ไม่เศร้าหมองด้วยกิเลส ก็จะไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดี คือ สุคติภูมิ แต่ถ้าขณะนั้นจิตเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส เพราะถูกกิเลส หรืออุปกิเลสครอบงำแล้ว (ดูเรื่องอุปกิเลส 16 ในหมวดธรรมทั่วไป ประกอบ) ก็จะไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ไม่ดี คือ ทุคติภูมิ (คือจะไปเกิดในภพภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับจิตในมรณา สันนวิถีมากที่สุดนั่นเอง) และถ้าขณะนั้นจิตหมดความยินดีพอใจ หรือหมดความยึดมั่นถือมั่นในภพภูมิใดๆ รวมทั้งในสิ่งทั้งปวงแล้ว ก็จะหมดเหตุให้ต้องเกิดอีก (ดูเรื่องปฏิจจสมุปบาท ในหมวดธรรมทั่วไป ประกอบ)

ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ ดังนี้
พระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม 4 มัชฌิมนิกาย
มูลปัณณาสก์ วัตถูปมสูตร
[๙๒] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่เศร้าหมองมลทินจับ ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นใส่ลงในน้ำย้อมใดๆ คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมภู ผ้านั้นพึงเป็นของมีสีที่เขาย้อมไม่ดี มีสีมัวหมอง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะผ้าเป็นของไม่บริสุทธิ์ ฉันใด เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น.

ผ้าที่บริสุทธิ์สะอาด ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นใส่ลงในน้ำย้อมใดๆ คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมภู ผ้านั้นพึงเป็นของมีสีที่เขาย้อมดี มีสีสด ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะผ้าเป็นของบริสุทธิ์ ฉันใด เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น.

คนทั่วไปก่อนฆ่าตัวตายนั้น จิตจะน้อมไปในทางโทสะอย่างแรงกล้า (ความโกรธ เศร้า หดหู่ หมดหวัง กลัว ความทุกข์ทางใจทั้งหลาย) เพราะธรรมดาแล้ว ชีวิตของตนย่อมเป็นที่รักยิ่งของคนทั่วไป คนทั่วไปนั้นเมื่อรู้ตัวว่าความตายกำลังจะมาถึง จะมีความหวาดหวั่น พลั่นพลึง กลัวตาย และจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาชีวิตเอาไว้ แม้จะต้องอยู่อย่างยากลำบาก ก็ยังดีกว่าจะต้องตายไป แม้สัตว์ทั้งหลายก็ยังดิ้นรนเพื่อหนีความตาย

ดังนั้น คนที่จะสามารถฆ่าตัวตายได้นั้น ขณะนั้นจะต้องถูกความทุกข์ทางใจ (ทุกทางใจทุกชนิด เป็นจิตที่มีโทสะเป็นมูล) ครอบงำอย่างรุนแรง จึงจะสามารถทำลายชีวิตอันเป็นที่รักยิ่งของตนลงได้ ซึ่งความทุกข์ทางใจ หรือโทสมูลจิตนี้ อาจจะมีสาเหตุจากเรื่องทางใจ หรือเรื่องทางกายก็ได้ เช่น อกหัก ผิดหวัง เป็นหนี้สินล้นพ้นตัว ความล้มเหลวในชีวิต ฯลฯ

เมื่อเป็นดังนี้แล้ว หลังจากตายไปก็ย่อมจะต้องไปเกิดในทุคติภูมิอย่างไม่ต้องสงสัย และด้วยความรุนแรงของไฟโทสะที่ครอบงำจิตใจนั้น ทุคติภูมิที่ว่าก็คงไม่พ้นนรกอย่างแน่นอน เพราะเป็นภพภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับโทสะที่สุดนั่น เอง



ดังนั้น ผู้ที่คิดสั้นจะยุติปัญหาด้วยการฆ่าตัวตายนั้น ขอให้คิดดูให้ดี เพราะนอกจากจะต้องไปพบกับทุกข์ครั้งใหม่ในนรก ซึ่งเป็นทุกข์ที่รุนแรงกว่าแล้ว ยังเป็นการสร้างทุกข์ สร้างปัญหาให้กับคนอื่นๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้ต้องรับความทุกข์ที่เขาไม่ได้ก่ออีกด้วย กรุณาให้ความเป็นธรรมกับเขาเหล่านั้นด้วย

มรณานุสสติ แปลว่า นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เรื่องของความตายเป็นของธรรมดา
ของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมา เมื่อมีความเกิดมาได้แล้ว ก็ต้องตายในที่สุดเหมือนกันหมด ความตายนี้รู้สึกว่าเป็นปกติธรรมดาของคนและสัตว์ทั่ว ไป
พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน คือย้ำตามความเป็นจริงว่า ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความตายนั้นเป็นสิ่งปกติธรรมดาไม่มีใครจะหลีกหนีพ้น ความตายนี้แบ่งออกเป็นสาม
อย่างด้วยกัน คือ

๑. สมุจเฉทมรณะ ความตายขาดตอน หมายถึงความตายของพระอรหันต์ท่านเสร็จ กิจแห่งพรหมจรรย์ คือสิ้นกิเลสแล้ว เหตุที่จะต้องทำให้เกิด คือกิเลสและตัณหาที่จะควบคุมบังคับท่านให้เกิดอีกไม่มี ท่านมรณะแล้วท่านไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เรียกว่า สมุจเฉทมรณะ แปลว่า ตายขาดตอนไม่กลับมาเกิดอีก

๒. ขณิกมรณะ แปลว่า ตายเล็กๆ น้อย ๆ ท่านหมายเอาความตาย คือ ความดับ หรือการ เคลื่อนไปของชีวิต ที่มีการเคลื่อนไปวันหนึ่ง ๆ วันเวลาล่วงไป ชีวิตก็เคลื่อนไปใกล้จุดจบสุดยอดคือตายดับทุกขณะ การผ่านไปของชีวิตท่านถือเป็นความตาย คือ ตายทุกลมหายใจออกและเกิดต่อทุกๆ ลมหายใจเข้า อาหารเก่าที่บริโภคเข้าไปเป็นการหล่อเลี้ยงชีวิตชั่ว คราวเมื่อสิ้นอำนาจของอาหารเก่า ร่างกายต้องการอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงแทนแต่ถ้าไม่ได้อาหารใหม่เข้าไปทดแทนชีวิตก็จะต้องดับ ชีวิตที่ทรงอยู่ได้ก็เพราะอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยง ไว้ เมื่อสิ้นสภาพของอาหารเก่า ท่านถือว่าร่างกายต้องตายแล้วไปยุคหนึ่ง พอได้อาหารใหม่มาทดแทน ชีวิตก็เกิดใหม่อีกวาระหนึ่ง การเกิดการตายต่อเนื่องกันทุกวันเวลาอย่างนี้ ถ้าอาหารเก่าหมดสภาพไม่บริโภคใหม่ หรือลมหายใจออกแล้ว ไม่หายใจเข้า สภาพของร่างกายก็จะสิ้นลมปราณ คือตายทันที ที่ทรงอยู่ได้อย่างนี้ก็เพราะได้ปัจจัยบางอย่างค้ำจุนทดแทนกันเข้าไป ท่านสอนให้มองเห็นสภาพของสังขารร่างกายว่ามีความตายเป็นปกติทุกวันเวลาอย่างนี้ท่านเรียกว่า ขณิกมรณะ แปลว่า ตายทีละเล็กละน้อย หรือตายเล็ก ๆ น้อย ๆ

๓. กาลมรณะ และ อกาลมรณะ กาลมรณะ แปลว่า ตายตามกาลตามสมัยที่ชาวโลกนิยม เรียกว่า ถึงที่ตาย คือสิ้นอายุ อย่างชนิดที่ไม่มีการแก้ไขได้ อกาลมรณะ แปลว่า ตายในโอกาสที่ยังไม่ถึงกาลควรตาย แต่ต้องตายเพราะกรรมบางอย่างที่เป็นอกุศลเข้ามาบีบคั้นให้ตาย การตายประเภทหลังนี้พอมีทางต่อให้อายุยืนยาวต่อไปได้ ตามสมควรแก่กรรมในอดีต จะต่อให้เลยพอดีนั้นไม่ได้ พวกตายตามแบบกาลมรณะตายไปแล้วเสวยผลกรรมทันที แต่พวกที่ตายตามแบบอกาลมรณะนี้ ตายแล้วยังไม่ไปเสวยผลกรรมทันที ต้องไปเป็นสัมภเวสี แสวงหาที่เกิดก่อน คือรอกาลที่จะถึงกาลมรณะก่อน เมื่อถึงเวลาแล้วจึงจะได้รับผลกรรมดีและกรรมชั่วที่ทำไว้ขณะที่ยังไม่ได้รับผลกรรมที่ทำไว้นั้นต้องลำบากใน เรื่องอาหารและที่อยู่ ท่องเที่ยวไปตามความต้องการ พวกตายแบบอกาลมรณะนี้ ที่ชาวโลกนิยมเรียกว่า ตายโหงนั่นเอง เช่น ถูกฆ่าตายคลอดลูกตาย รถทับตาย ฟ้าผ่าตาย ฆ่าตัวตาย งูกัดตาย รวมความว่าตายแบบผิดปกติ ไม่ใช่ป่วยตายตามธรรมดาเรียกว่า อกาลมรณะ คือตายก่อนกำหนด ตายทั้งนั้น การตายแบบนี้ ถ้ามีท่านผู้รู้ช่วยเหลือสามารถช่วยให้พ้นตายได้ เช่น ที่นิยมเรียกกันว่า สะเดาะเคราะห์หรือต่ออายุ การสะเดาะ-เคราะห์หรือต่ออายุนั้น ต้องทำโดยธรรมจริง ๆ และรู้จริงจึงใช้ได้

 จากหนังสือเตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว
ถาม – การฆ่าตัวตายถือเป็นปาณาติบาตหรือเปล่าคะ?
การฆ่าตัวตายไม่ใช่ปาณาติบาต แต่เป็นอัตวินิบาต เป็นกรรมคนละอย่างครับ ปาณาติบาตคือปลงชีวิตสัตว์อื่น มีผลให้ชีวิตของสัตว์อื่นขาดก่อนถึงอายุขัย พรากสิทธิ์ในการมีชีวิตไปจากเขา โดยเฉพาะหากเขามีบุญมาก ก็เท่ากับตัดโอกาสเสวยสุขของเขาทิ้งทั้งยวง ส่วนอัตวินิบาตคือการปลงชีวิตตนเอง มีผลให้ไม่ได้ใช้กรรมที่ควรใช้ก่อนถึงอายุขัย โดยเฉพาะหากมีบาปมาก ก็เท่ากับพยายามแหกคุกเพื่อหนีโทษด้วยทางลัด

การไม่รอให้มีการล้างไพ่ใหม่ตามกาล จัดเป็นการตัดตอน สร้างปมยุ่งเหยิงขึ้น ไม่ให้เป็นไปตามวิถีธรรมชาติกรรมวิบาก เปรียบกับหนี้ก็ซับซ้อนกว่าหนี้ชนิดไหนๆ เนื่องจากการทบหนี้กรรมนั้นแตกต่างจากการทบต้นทบดอกข องหนี้สินเงินทองมาก ถ้าคุณฆ่าคนมีบุญ โอกาสเสวยบุญของเขาที่ถูกตัดทิ้ง ย่อมสะท้อนกลับมาเป็นความหมดโอกาสเสวยบุญของคุณเช่นกัน คุณจะมีอายุมากในอัตภาพที่เป็นทุกข์ แต่จะมีอายุสั้นในอัตภาพที่เป็นสุข
และถ้าฆ่าตัวเองขณะต้องใช้บาป การหนีโทษย่อมเป็นการเพิ่มโทษในตัวเอง ทุกข์ที่ยังไม่เสวยก็ต้องเสวยอยู่ดี แถมพ่วงทุกข์อันเกิดจากการพยายามแหกคุกเข้าไปอีกกระทง นั่นคือแทนที่จะต้องทนทุกข์ในสภาพมนุษย์ตามเดิม ก็ต้องไปทนทุกข์ในสภาพเปรต สภาพเดรัจฉาน หรือสภาพสัตว์นรก ซึ่งเป็นอัตภาพที่แย่หนักเข้าไปใหญ่

ข้อแตกต่างระหว่างปาณาติบาตกับอัตวินิบาตยังมีอีกมาก เช่น ปาณาติบาตมีผลในกาลต่อไปเป็นความโหดเหี้ยมของจิตใจ มีใบหน้าเหี้ยมเกรียม มีความเดือดร้อนเรื่องสุขภาพกาย อาจถูกรังแก อาจถูกฆ่าให้ตายก่อนวัยอันควร ส่วนอัตวินิบาตมีผลในกาลต่อไปเป็นความอ่อนแอทางใจ มีใบหน้าเศร้าหมอง มีความเดือดร้อนเรื่องสุขภาพจิต คิดมากและน้อยใจเก่ง รู้สึกอ่อนแอ อยากตายด้วยเหตุบีบคั้นแค่ง่ายๆ เป็นต้น

การฆ่านั้น ไม่ว่าฆ่าผู้อื่นหรือฆ่าตนเอง ย่อมได้ชื่อว่าทำจิตให้เศร้าหมอง เมื่อจิตเศร้าหมองย่อมมีคติวิบัติเป็นที่หวัง แต่หากฆ่าตนเองโดยไม่มีจิตเศร้าหมอง ทำจิตให้ขาดจากอุปาทานว่าเป็นตัวตน
อันนั้นพระพุทธเจ้าสรรเสริญ การสิ้นชีวิตขณะไร้อุปาทานไม่ถือเป็นบาปด้วยประการทั้งปวง ที่ทำอย่างนั้นได้ก็มีแต่ผู้ศึกษาธรรมจนเข้าใจ และปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงแล้วเท่านั้นครับ



ที่มา http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=21805
mmm :http://www.tairomdham.net/index.php/topic,318.0.html
6  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก / Re: ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวร :"ศรีศตวรรษ สังฆราชา" เมื่อ: 05 ตุลาคม 2556 10:34:41





"ศรีศตวรรษ สังฆราชา"

สามตุลมาสครบร้อย    พระชันษา
องค์พระสังฆราชา    ประโชติด้าว
มงคลแห่งเนื้อนา    บุญเขต
โพสพหยาดรวงข้าว    ประณตน้อมประนมถวาย

สืบสายพุทธศาสน์สร้าง    สาธุชน
สืบขนบคุณานิพนธ์    นุภาพ ร้อย
สืบศตวรรษสกาวสกล    สมพระเกียรติ
สืบสัจจานุสัจถ้อย    จิตแท้ ใจถึง

หนึ่งศรีศตวรรษเจ้า    จอมสงฆ์
ศรีศุภวาระวรงค์    วิเลิศแล้ว
ถวายกวิภิวาทพระองค์    สมเด็จ พระเอย
สังฆราชพระบาทแก้ว มกุฏแก้วเมืองกาญจน์

"ญาณสังวร" วิสิฐแท้    วิสุทโธ
จารณสัมปันโน    หนึ่งรู้
ศักดิ์สิทธิ์พุทธชยันติโย    ไตรตรัส
อร่ามพระบารมีผู้    พระภาคพื้นพุทธภูมิ

เจริญ ภูมิปริยัติ ขั้น    เอกอุดม
เจริญ ปฏิบัติปฏิเวธประนม    สนิทไหว้
"เจริญ สุวัฒฑโน" สม    สมณะชื่อ
เจริญ สุข สงบ สะอาดได้    สว่างด้วยธรรมเขษม


โดย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
- ผู้จัดการออนไลน์ -


ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา



G+ ไชย กมลาสน์


พระประวัติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระชันษา 100 ปี
ชมวีดิทัศน์พระประวัติสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระชันษา ๑๐๐ ปี
ขอเชิญร่วมลงนามถวายพระพรที่ออนไลน์ อ่านพระประวัติ และผลงาน
ได้ที่ http://www.sangharaja.org/

เรียนขออนุญาต.. ร่วมเทอดพระเกียรติค่ะ...
7  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เมื่อ: 04 ตุลาคม 2556 22:38:59

ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า

หมวดที่ ๑ - พระพุทธสรีระ
   มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ
   อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ
   พระฉัพพรรณรังสีที่แผ่จากพระวรกายพระพุทธเจ้า

หมวดที่ ๒ - พระพุทธเจ้า พระนาม
   พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ อุบัติในภัททกัปนี้
   พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ ใกล้กาลปัจจุบัน
   พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ ที่พระโคดมพุทธเจ้าทรงพบ
   พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา
   พระพุทธเจ้าทรงณาน ๕ พระองค์
   ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ทรงเลือก ๕ อย่าง
   ๗ สหชาติของพระพุทธเจ้า
   ความฝัน ๕ เรื่องของพระบรมโพธิสัตว์
   พระนามของพระพุทธเจ้า
   พระพุทธประวัติ

หมวดที่ ๓ - พุทธสาวก และ พุทธบริษัท
   อุบาสกสำคัญในสมัยพุทธกาล
   อุบาสิกาสำคัญในสมัยพุทธกาล
   ปฐมเทศนา-ปฐมสาวก และพระอรหันต์ ๖ องค์แรก
   พระมหาสาวก ๘๐ องค์
   ภิกษุณีสงฆ์ในสมัยพุทธกาล
   พระเถรีสำคัญในสมัยพุทธกาล

หมวดที่ ๔ - พุทธสถาน
   หมู่บ้าน ตำบล เมืองและแคว้น
   มหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล
   พระวิหารที่ประทับของพระพุทธเจ้า
   สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
   ๘ พุทธสถานสำคัญในสมัยพุทธกาล
   ๑๖ ตำบล ทรงแสดงนิมิตต์โอภาส
   เจดีย์และสถูปสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
   ต้นไม้ สวนและป่า
   แม่น้ำ
   ถ้ำและภูเขา
   ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ๒๙ พระองค์

หมวดที่ ๕ - พุทธจริยา
   พุทธกิจประจำวัน ๕ ประการ และพุทธจริยา ๓ ประการ
   หลักในการตอบ ๔ วิธี
   หลักในการแสดงธรรม ๔ วิธี
   พุทธกิจ ๔๕ พรรษา

หมวดที่ ๖ - พระธรรม
   เวสารัชญาณ ในฐานะทั้ง ๔
   พุทธคุณ ๙ ประการ
   พระธรรมทุกข้อตกอยู่ในกลุ่มอริยสัจ ๔
   ลักษณะแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
   หลักธรรม ๓ เรื่องที่มีประโชน์ต่อชีวิตประจำวันมาก

หมวดที่ ๗ - พุทธอิทธานุภาพ
   ทรงปาฏิหารย์ ๓ คำรบปรากฏแก่พระพุทธบิดา
   แสดงอิทธานุภาพสยบคณาจารย์ใหญ่นักบวชชฏิล
   ยมกปาฏิหาริย์ อัศจรรย์ไฟคู่น้ำ
   รัตนสูตรปราบภัย ๓ ประการ ณ เมืองไศาลี อาณาจักรวัชชี
   ทรงเปิดโลก เสด็จลีลาลงจากดาวดึงส์สวรรค์

หมวดที่ ๘ - หลังพุทธปรินิพพาน
   พระพุทธเจ้าทรงปรินิิพพาน
   พระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
   สังคายนา ๕ ครั้ง
   กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป
   พุทธศาสนา ๒ นิกายใหญ่ มหายาน กับเถรวาท
   วันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา
   เทศกาลสำคัญในทางพระพุทธศาสนา

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข
http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-

มีต่อค่ะ
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3985.0.html
8  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / Re: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว] เมื่อ: 25 มิถุนายน 2556 12:58:46

























9  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า "พระธรรมทุกข้อตกอยู่ในกลุ่มอริยสัจ ๔" เมื่อ: 23 มิถุนายน 2556 00:20:03




ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข

"พระธรรมทุกข้อตกอยู่ในกลุ่มอริยสัจ ๔"
     พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการ (อริยสัจ มีความหมายถึง ความจริงอย่างประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้คนเป็นพระอริยะ มี ๔ อย่างคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ดังนั้น คำสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องของอริยสัจทั้ง ๔ แต่ที่ทรงแสดงออกไปพิศดารมากจนถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อย่างที่ท่านว่าไว้ เพราะอัธยาศัยของผู้ฟังแตกต่างกันนั้นเอง การที่ท่านสรุปพระธรรมทั้งมวลลงในอริยสัจนั้น หมายความว่า พระธรรมแต่ละข้อที่ทรงแสดงนั้นจะต้องอยู่ในกลุ่มของอริยสัจ ๔ ไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง คือ

๑. กลุ่มทุกขสัจ
     กลุ่มทุกขสัจ ได้แก่กลุ่มที่เป็นปริญญาตัพพธรรม คือธรรมที่ต้องศึกษาให้รู้ เพื่อกำหนดให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไร เป็นธรรมกลุ่มที่เป็นผลมาจากกิเลส จำต้องศึกษาให้รู้ไว้ในด้านประเภท ฐานะ ภาวะ ลักษณะของธรรมเหล่านั้น แต่ไม่อาจที่จะแก้ไขอะไรได้ ธรรมกลุ่มนี้ เช่น

          ผัสสะอันมีอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปทาน นามรูปได้แก่ รูป ๑ นาม ๔ คือ
          รูปขันธ์ กองรูปได้แก่รูป ๒๘ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น
          ส่วนนาม ๔ ได้แก่
          เวทนาขันธ์ คือกองเวทนา ได้แก่ เวทนาเจตสิก สัญญาขันธ์ คือสัญญาเจตสิก สังขารขันธ์ กองสังขาร ได้แก่ จิต ๘๙ ดวง
          อาหาร ๔ คือ กวฬิงการาหาร อาหารที่กลืนกินเข้าไปทางปาก ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ วิญญาณาหาร อาหารคือ วิญญาณ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือ มโนสัญเจตนา
          อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
          โลกธรรม ๘ คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญสุข ทุกข์
          อายตนะ ๘ คือ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส โผฏฐัพพะกับกาย ใจกับอารมณ์ (โผฎฐัพพะ มีความหมายถึง อารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย , สิ่งที่ถูกต้องกายเช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นต้น)


          วิญญาณฐิติ ๗ คือที่ตั้งแห่งวิญญาณอันเกิดขึ้นด้วยการถือปฎิสนธิในกำเนิด ๔ ได้แก่
                    ๑. สัตว์ที่มีร่างกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น มนุษย์ เทวดาบางพวก วินิบาตบางพวก (วินิบาต มีความหมายถึงสัตว์ในนรกหรืออสุรกาย)
                    ๒.สัตว์ที่มีกายต่างกัน มีสัญญาเหมือนกัน ได้แก่ เทพผู้เกิดในชั้นพรหม ด้วยอำนาจปฐมฌาน และสัตว์ที่เกิดในอบายภูมิ ๔
                    ๓. สัตว์ ที่มีกายเหมือนกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พรหมชั้นอาสัสรา (พรหมโลกชั้นที่ ๖ จากที่อยู่ของพรหมซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๖ ชั้น)
                    ๔. สัตว์ที่มีกายเหมือนกัน มีสัญญาเหมือนกัน ได้แก่ พรหมชั้น สุภกิณหะ (พรหมโลกชั้นที่ ๙ จากที่อยู่ของรูปพรหม ซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๖ ชั้น)
                    ประเภทที่ ๕ ที่ ๖ และ ๗ ได้แก่ ท่านที่เกิดในอรูปภูมิด้วยกำลังแห่งอรูปฌาน และมีชื่อตามฌานข้อนั้น ๆ

          แม้ประเภทแห่งทุกข์ที่ทรงแสดงในอริยสัจ ๔ คือ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น ก็อยู่ในกลุ่มของรูปที่จะต้องกำหนดรู้ กล่าวโดยสรุป ธรรมในกลุ่มนี้คือพวกที่เป็น "ธรรมชาติอันเป็นไปตามอำนาจแห่งธรรมดา" ทั้งหลายนั้นเอง

๒.กลุ่มสมุทัยสัจ
     กลุ่มสมุทัยสัจ ที่เรียกว่า ปหานตัพพธรรม คือธรรมที่เรียนให้รู้แล้วควรละ อันได้แก่พวกกิเลสทั้งหลาย ซึ่งมีชื่อเรียกตามอาการของกิเสส เหล่านั้น เช่น

          อัสสมิมานะ ความยึดถือขันธ์ ๕ ว่า เป็นตัวตน หรือมีตัวตน เป็นต้น

          อวิชชา ๘ คือ ความไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้สมุทัย ไม่รู้นิโรธ ไม่รู้มรรค ความไม่รู้อดีต ความไม่รู้อนาคต ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต และไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท (การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา)

          ตัณหา ๓ คือ "กามตัณหา" ความทะเยอทะยานอยากได้ในวัตถุกามด้วยอำนาจของกิเลสกาม "ภวตัณหา" ความอยากมีอยากเป็นต่าง ๆ ด้วยอำนาจสัสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง คือ ความเห็นว่าอัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป) "วิภวตัณหา" ความทะเยอทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็นจนถึงอยากขาดสูญไปเลยด้วยอำนาจของอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้แล้วขาดสูญ) และตัณหาในอายตนะภายนอก ๖ คือ ตัณหาทั้ง ๓ ประการที่เกิดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ (อารมณ์ทางใจ , สิ่งที่ใจนึกคิด)

          นิวรณ์ คือสิ่งที่กั้นจิตคนไว้มิให้บรรลุความดี ท่านเรียกว่านิวรณ์มี ๕ ประเภทคือ
               ๑. กามฉันทะ คือความรักใคร่ชอบใจในวัตถุกามทั้งหลายมีรูปเป็นต้น
               ๒. พยาบาท คือ ความอาฆาตพยาบาท มุ่งจองล้างจองผลาญต่อคน สัตว์ที่ตนไม่ชอบ
               ๓. ถีนมิทธะ คือการเคลิบเคลิ้ม ง่วงนอน หงอยเหงา คร้านกายคร้านใจ
               ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านซัดส่ายของใจจนเกิดความรำคาญ
               ๕. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยไม่มั่นใจ ตัดสินใจในเรื่องอะไรไม่ได้


          โอฆะ กิเลสที่เป็นดุจห้วงน้ำ ห้วงน้ำคือกาม ห้วงน้ำคือภพ ห้วงน้ำคือความเห็นผิด และห้วงน้ำคืออวิชชา บางคราวเรียกว่า คันถะเพราะทำหน้าที่ร้อยรัดจิตเรียกว่า อาสวะ เพราะหมักหมมอยู่ภายในจิต

          อนุสัย คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายในจิต คือกามราคะ (ความกำหนัดในกาม) ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ ความที่จิตหวุดหวิดด้วยอำนาจโสทะ) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) มานะ (ความถือตัวถือตน) ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ)และอวิชชา (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง)

          มิจฉัตตะ ๘ คือความเห็นผิด ความดำริผิด การพูดผิด การทำงานงานผิด การเลี้ยงชีวิตผิด ความพยายามผิด การตั้งสติผิด ความตั้งใจมั่นผิด

          กิเลสทั้งหลายที่ปรากฏแก่จิต ซึ่งเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ได้แก่อกุศลมูล ๓ ประการคือโลภ โกรธ หลง โดยมีรากใหญ่ของกิเลสอยู่ที่อวิชชากับตัณหา

๓.กลุ่มของนิโรธสัจ

     กลุ่มของนิโรธสัจ ที่เรียกว่า สัจฉิกาตัพพธรรม คือ ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ สมาธิปัญญา เช่น

          เจโตวิมุติ คือการหลุดพ้นจากอำนาจของกิเลส ด้วยการบำเพ็ญเพียรทางจิตจน บรรลุฌานแล้วเจริญวิปัสสนาต่อ และปัญญาวิมุตติคือ จิตที่หลุดพ้นด้วยการเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว จนบรรลุอรหัต

          วิมุตติ ๕ คือ ความหลุดพ้นจากอำนาจของกิเลส ๕ ระดับคือ
          ๑. ตทังควิมุตติ คือ หลุดพ้นด้วยองค์นั้น ๆ เช่น เกิดโกรธขึ้นมาห้ามความโกรธไว้ได้
          ๒. วิกขัมภนวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากกิเลสด้วยกำลังแห่งฌานที่ได้บรรลุ
          ๓. สมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากอำนาจกิเลสอย่างเด็ดขาดโดยกิเลสไม่กำเริบอีกต่อไป
          ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสอย่างสงบราบคาบ
          ๕. นิสสรณวิมุตติ คือ จิตที่หลุดพ้นจากอำนาจกิเลสด้วยการออกไปคือ นิพพาน

          สามัญญผล คือ ผลแห่งการบวชหรือจากความเป็นสมณะ ๔ ได้แก่โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
          ธรรมขันธ์ ๕ คือ การทำให้แจ้งในกองแห่งศีล สมาธิ ปัญญา และ วิมุตติ ในกรณีที่เป็นผล

          อภิญญา ๖ คือว่ารู้ยิ่งหรือความรู้พิเศษ อันเกิดจากเหตุมีความสงบจากกิเลส เป็นต้น ได้แก่
          ๑. อิทธิวิธี การแสดงฤทธิ์ ได้ คือความสำเร็จที่เกิดจากจิตสงบบ้างกรรมบ้าง วิชาบ้าง
          ๒.ทิพพโสต หูทิพย์ คือสามารถฟังเสียงเบา หนัก ไกลใกล้ได้ตามความต้องการ
          ๓.เจโตปริยญาณ รู้ความคิด สภาพจิตของคนอื่นได้ว่า ขณะนั้น เขามีความคิดต้องการอะไรเป็นต้น
          ๔.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติต่าง ๆ ย้อนหลังไปในอดีตได้
          ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ คือสามารถมองเห็นภาพที่ปรากฏในที่ต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
          ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำอาสวะให้หมดสิ้นไป

          อนุบุพพวิหาร ๙ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ (การดับสัญญาและเวทนา เป็นสมาบัติคือ ภาวะสงบ ประณีตซึ่งพึงเข้าถึง)

          อเสกขธรรม คือ ธรรมที่เป็นของพระอเสขะ ๑๐ ประการ (อเสขะมีความหมายถึง ผู้ไม่ต้องศึกษาเพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์) คือ มรรคมีองค์ ๘ ประการ กับสัมมาญาณ (รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณ) และสัมมาวิมุตติ (พ้นชอบ ได้แก่อรหัตตผลวิมุตติ) ที่เป็นผลถาวรอยู่ภายในใจของพระอรหันต์ทั้งหลาย

          ธรรมกลุ่มที่เป็นสักฉิกาตัพธรรมนี้ เมื่อกล่าวโดยสรุปได้แก่ผลในชั้นต่าง ๆที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามหลักธรรมที่ทรงแสดงไว้ แม้องค์ธรรมจะชื่อเหมือนกัน แต่ในกลุ่มนี้ท่านหมายเอาตัวผลเช่นตัวความรู้ที่เกิดจากการเรียน ซึ่งเป็นผลถาวรที่ติดอยู่ในใจคน

๔.กลุ่มทุกขนิดโรธคามินีปฏิปทา
     กลุ่มทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสงบระงับแห่งทุกข์ ท่านเรียกกลุ่มนี้ว่า ภาเวตัพพธรรม คือ ธรรมที่ต้องลงมือกระทำบำเพ็ญให้บังเกิดขึ้น เช่น

          วิสุทธิหรือปาริสุทธิ ๙ ประการ ได้แก่
             ๑. สีลวิสุทธิ คือความบริสุทธิ์ หมดจดแห่งศีล ตามสมควรแก่ฐานะของบุคคล
             ๒. จิตตวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งจิต คือจิตที่สงบจากนิวรณธรรม (สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม) ทั้ง ๕ ประการเป็นต้น
             ๓.ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์หมดจดแห่งความเห็นคือ เกิดความรู้เห็นตามความเป็นจริง
             ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความลังเลสงสัย
             ๕.มัคคามัคคญาณทัสสวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณที่ช่วยให้รู้ว่าอะไรเป็นทางหรือไม่ใช่ทาง
             ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งความรู้ความเห็นซึ่งปฏิทาในการปฏิบัติ
             ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งความรู้ความเห็นอันเป็นผลแห่งการปฏิบัติ
             ๘. ปัญญาวิสุทธิคือ ความบริสุทธิ์แห่งปัญญาเครื่องรู้
             ๙. วิมุตติวิสุทธิคือ ความบริสุทธิ์แห่งความหลุดพ้นจากเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์

อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ
          ๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่ เห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
          ๒. สัมมาสังกัปปะ คือความดำริชอบได้แก่ ดำริในการออกจากกามดำริในการไม่พยาบาท และดำริในการไม่เบียดเบียน ๒ ข้อนี้จัดเป็นปัญญาสิกขา
          ๓. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ คือเว้นจาการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบและเพ้อเจ้อ
          ๔. สัมมากัมมันตะ คือ การทำงานชอบคือการเว้นจาการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
          ๕. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ คือการละมิจฉาชีพดำรงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาชีพอันถูกต้องตามกฎหมาย ศีลธรรม หน้าที่ฐานะและภาวะของแต่ละบุคคล ๓ ข้อนี้ จัดเป็นสีลสิกขา
          ๖. สัมมาวายามะ คือ ความพยายามชอบ ได้แก่ พยามสำรวมระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน พยายามละบาปที่เกิดขึ้นแล้วพยายามทำกุศลให้เกิดขึ้นในสันดาน พยายามรักษากุศลที่เกิดขั้นแล้วไม่ให้เสื่อมไป
          ๗. สัมมาสติ คือความระลึกชอบ ได้แก่ การระลึกถึงกาย เวทนา จิต ธรรมอันนำไปสู่ความสงบจิต จนเกิดปัญญาเห็นประจักษ์ชัดว่า กายเวทนา จิต ธรรม นี้ก็สักแต่ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา ก็เรียกกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน ธัมมานุปัสสนาสติ ปัฎฐาน
          ๘. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่ ความสงบจิตอันเกิดจาก ผลแห่งสมถกรรมฐานจนบรรลุฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติฌาน ตติฌาน จตุตถฌาน


          เมื่อบุคคลปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์แล้วจะเกิดฌานคือความรู้ขึ้น เรียกว่า สัมมาญาณ อันเป็นองค์อริยมรรคที่แท้จริง จิตของท่านผู้นั้นก็เข้าถึงสัมมาวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสและทุกข์โดยชอบ อันเป็นหลักการสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาพระธรรมที่มีชื่ออย่างอื่นอันทรงแสดงไว้โดยพิศดารที่กล่าวกันว่ามีถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น เมื่อจัดเป็นกลุ่มธรรมแล้ว จะสงเคราะห์เข้าในกลุ่มธรรมทั้ง ๔ ประเภทนี้ได้ทั้งหมด ซึ่งผู้ศึกษาจนเข้าใจแล้วสามารถสงเคราะห์ได้ด้วยตนเอง

"ลักษณะแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน"
     พระธรรมคือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อกล่าวโดยลักษณะท่านจัดออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ

          ๑. สวากขาตธรรม เป้นพระธรรมอันพระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ดีแล้วทั้งที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (เป็นกลาง ๆ ไม่มีไม่ชั่วไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล) เป็นพระธรรมอันมีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุด สมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ

          ๒. สัลเลขธรรม เป็นพระธรรมที่ทำน้าที่ขัดเกลาจิต หรือบาปอกุศลให้ออกไปจากจิต ตามคุณสมบัติแห่งองค์ธรรมนั้น เช่น ปัญญาขจัดความโง่เขลา เมตตาขจัดความพยาบาทความโกรธ เป็นต้น

          ๓. นิยยานิกธรรม เป็นธรรมที่นำสัตว์ผู้ปฏิบัติ ให้ออกจากอำนาจของกิเลส ทุกข์ และสังสารวัฎ นำออกจากเวรภัยในปัจจุบัน

          ๔. สันติธรรม เป็นพระธรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุขในชั้นนั้น ๆ ตามสมควรแก่ธรรมที่บุคคลได้เข้าถึงและปฏิบัติตาม จนถึงสันติสุขอย่างยอดเยี่ยมคือนิพพาน ดังที่ทรงแสดงไว้ว่า
                    นตฺถิ สนติ ปรํ สุขํ (สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี)

          อย่างไรก็ตาม พระธรรมทั้งมวลที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้นทรงแสดงว่าเป็นธรรมที่มีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น คือจะเป็นกุศล อกุศลและอัพยากฤต และแม้แต่มรรคผลนิพพาน เป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยามคือพระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม พระธรรมคงมีสภาพเป็นอย่างนั้น พระองค์ได้ทรงค้นพบธรรมเหล่านี้ นำมาเปิดเผยชี้แจงแสดงแก่โลกตามความเป็นจริงแห่งธรรมเหล่านั้น หน้าที่ ของพระองค์ในฐานะผู้ค้นพบคือ ทรงแสดงธรรมเหล่านั้นให้ฟัง อันเป็นการชี้บอกทางที่ควรเดินและควรเว้นให้เท่านั้น ส่วนการประพฤติปฏิบัติเป็นหน้าที่ของผู้ฟัง จะต้องลงมือทำด้วยตนเอง อำนาจในการดลบันดาล การสร้างโลก เป็นต้น จึงไม่มีในพระพุทธศาสนา

          อันที่จริงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น ทำให้พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู คือ ทรงรู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง แต่ในการสอนนั้นทรงมีหลักการสอนดังกล่าวแล้วคือ ทรงมุ่งไปที่คนนั้น ๆ จะได้รับประโยชน์สามารถเกื้อกูลและอำนวยความสุขให้แก่ผู้ฟัง ธรรมที่พระองค์นำมาสอนจึงมีน้อย อุปมาเหมือนใบไม้ในป่ากับใบไม้ในฝ่ามือ คือที่ทรงรู้นั้นมากเหมือนใบไม้ในป่า แต่ที่ทรงนำมาสั่งสอนนั้นเหมือนใบไม้ในกำมือเท่านั้น

"หลักธรรม ๓ เรื่องที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมาก"
     พระพุทธเจ้าได้เทศนาสั่งสอนประชาชนหลังจากตรัสรู้แล้วเป็นเวลาถึง ๔๕ ปี พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์จึงมีมากมายรวมเรียกว่า พระไตรปิฎก มีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อันประกอบด้วย พระวินัยปิฎก (๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) พระสูตร หรือ พระสุตตันตปิฎก(๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) พระอภิธรรมปิฎก (๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) เป็นหนังสือภาษาบาหลีจำนวน ๔๕ เล่ม และแปลเป็นภาษาไทยออกมาได้ ๘๐ เล่มขนาดใหญ่

     หลักธรรม ๓ เรื่องที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมากคือ
     ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือปฐมเทศนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงโปรดพระปัญจวัคคีย์ (มี ๕ องค์ คือ อัญญาโกณฑัญญะ, วัปปะ, ภัททิยะ, มหานานะ,อัสสชิ) เป็นครั้งแรกจนทำให้ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม อันแสดงว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอาจ อาจมีผู้สามารถรู้ตามได้ ในสูตรนี้พระองค์ทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ ๑ เหตุให้เกิดทุกข์ ๑ การดับทุกข์ ๑ และทางที่จะดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ ๑ ซึ่งทางที่จะดำเนินไปสู่ความดับทุกข์นี้ เรียกกันว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง
     ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป หรือพระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม พระพุทธเจ้าทรงแสดงที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ในวันขึ้น ๑๕ คำ เดือน ๘ หลักจากวันซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้สองเดือน

     ๒. อนัตตลักขณสูตร ในสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นความไม่เที่ยงของสิ่งต่าง ๆ คือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปได้ทั้งเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนจริง ๆ เลย เป็นการสมมุติขึ้นมาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถบังคับให้มันอยู่ในอำนาจของเราได้
     อนัตตลักณสูตร เป็นพระสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่าเป็นอนัตตา พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ภายหลังจากแสดงปฐมเทศนาแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ได้สำเร็จพระอรหัตด้วยได้ฟังอนัตตลักขณสูตรนี้

     ๓. กาลามสูตร พระสูตรนี้ได้แสดงให้เห็นความเป็นนักเสรีประชาธิปไตยของพระพุทธเจ้า เพราะพระองค์ทรงสอนให้คนใช้ความคิดด้วยเหตุผลโดยรอบคอบเสียก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าจงอย่าได้เชื่อโดยการอ้างตำรา หรือเพราะครูอาจารย์สอนไว้อย่างนั้น หรือเพราะคำพูดนั้นตรงกับความเห็นของเรา หรือเพราะผู้นั้นเป็นบุคคลที่ควรเชื่อ หรือโดยการคาดคะเนหรือ นึกเดาเอาหรือโดยการใช้เหตุผลตามหลักตรรกศาสตร์ พระองค์ทรงสอนว่าการกระทำใด ๆ ถ้าจะไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ในภายหลัง นักปราชญ์ไม่ติเตียน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นแล้ว พึงทำเถิดแต่ถ้าตรงกันข้ามกันก็อย่าทำเลย
          กาลามสูตร เป็นสูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อเพราะ
          ๑. ด้วยการฟังตามกันมา
          ๒. ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
          ๓. ด้วยการเล่าลือ
          ๔.ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
          ๕. ด้วยตรรก
          ๖. ด้วยการอนุมาน
          ๗. ด้วยการคิดตรึกตรองตามแนวเหตุผล
          ๘. ด้วยเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน
          ๙. ด้วยเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ
          ๑๐. ด้วยเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

     ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลเป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือปฏิบัติตามนั้น


"ทรงปาฏิหาริย์ ๓ คำรบปรากฏแก่พระพุทธบิดา"
     ในกาลที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จพระนครกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้พระองค์ทรงสำแดงปาฏิหาริย์เป็นมหัศจรรย์ ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาทรงประนมหัตถ์ถวายนมัสการ แล้วกราบทูลว่าเป็นปาฏิหาริย์ที่มหัศจรรย์ได้ปรากฏแก่พระองค์ ในครั้งนี้นับเป็นคำรบสามแล้ว อันมีความดังต่อไปนี้

          ปาฏิหาริย์คำรบแรก เมื่อพระสิทธัตถะกุมารทรงประสูติได้ ๑ วัน ครั้งนั้นมีดาบสองค์หนี่งมีนามว่า กาฬเทวิล แต่มหาชนเรียกว่า อสิตะเป็นกุลุปกาจารย์ (อาจารย์ประจำตระกูล) ของพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ทราบข่าวจากเทพยดาว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ได้พระเจ้าสุทโธทนะ ได้พระราชโอสร จึงได้เดินทางไปยังกบิลพัสดุ์นคร เข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะถวายพระพรถามข่าวถึงการประสูติของพระราชโอรส

พระเจ้าสุทโธทนะทรงปีติปราโมทย์ รับสั่งให้เชิญพระโอรสมาถวายเพื่อนนมัสการท่านอสิตดาบส แต่พระบาททั้งสองของพระโอรสกลับขึ้น ปรากฏบนเศียรเกล้าของอสิตดาบส เป็นอัศจรรย์ พระดาบสเห็นดังนั้นก็สะดุ้งตกใจ ครั้นพิจารณาดูลักษณะของพระกุมารก็ทราบชัดด้วยปัญญาญานมีน้ำใจเบิกบาน ยิ้มแย้มแจ่มใส หัวเราะออกมาด้วยความปีติโสมนัส ประณมหัตถ์ถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาทของพระกุมาร และแล้วอสิตดาบสกลับได้คิด เกิดโทมนัสจิตร้องไห้เสียใจในวาสนาอาภัพของตน

          พระเจ้าสุทโธทนะได้ทอดพระเนตรเห็นอาการของท่านอาจารย์พิกลก็แปลกพระทัย เดิมก็ทรงปีติเลื่อมใสในการอภิวาทของท่านอสิตดาบส ว่าอภินิหารของพระปิโยรสนั้นยิ่งใหญ่ประดุจดังท้าวมหาพรหมจึงทำให้ท่านอาจารย์มีจิตนิยมชื่นชมอัญชลี ครั้นเห็นท่านอสิตดาบสคลายความยินดีเป็นโสกาอาดูร ก็ประหลาดพระทัยเกิดสงสัย รับสั่งถามถึงเหตุแห่งการร้องไห้ และการหัวเราะเฉพาะหน้า

          อสิตดาบสก็ถวายพระพรพรรณนา ถึงมูลเหตุว่า เพราะอาตมาพิจารณาเห็นเห็นมหัศจรรย์ พระกุมารนี้มีพระลักษณะพระโพธิสัตว์เจ้าบริบูรณ์จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าโดยแท้ และจะเปิดโลกนี้ให้กระจ่างสว่างไสวด้วยกระแสแห่งพระธรรมเทศนาเป็นคุณที่น่าโสมนัสปรีดายิ่งนัก แต่เมื่ออาตมานึกถึงอายุสังขารของอาตมาซึ่งชราเช่นนี้แล้วคงจะอยู่ไปไม่ทันเวลาของพระกุมาร ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระบรมครูสั่งสอน จึงได้วิปฏิสารโศกเศร้า เสียใจที่มีอายุไม่ทันได้สดับรับพระธรรมเทศนา อาตมาจึงได้ร้องไห้
          ครั้นอสิตดาบสถวายพระพรแล้ว ก็ทูลลากลับไปบ้านน้องสาว นำข่าวอันนี้ไปบอกนาลกมาณพผู้หลานชาย และกำชับให้พยายามออกบวชตามพระกุมารในกาลเมื่อหน้าโน้นเถิด

          ปาฏิหาริย์คำรบสอง ต่อมาวันหนึ่ง เป็นวันพระราชพิธีวัปปมงคล (พิธีมงคลแรกนาขวัญ) พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จไปทรงแรกนาขวัญในงานราชพิธีนั้นก็โปรดเกล้าให้เชิญพระกุมารไปในงานพระราชพิธีนั้นด้วย ครั้นเสด็จไปถึงภูมิสถานที่แรกนาขวัญ ก็โปรดให้จัดร่มไม้หว้าซึ่งหนาแน่นด้วยกิ่งใบ อันอยู่ใกล้สถานที่นั้นเป็นที่ประทับของพระกุมารโดยแวดวงด้วยม่านอันงามวิจิตร ครั้นถึงเวลาพระเจ้าสุทโธทนะทรงไถแรกนาขวัญ บรรดาพระพี่เลี้ยงนางนมที่เฝ้าถวายบำรุงพระกุมารพากันหลีกออกมาดูพิธีนั้นเสียหมด คงปล่อยให้พระกุมารประทับ ณ ภายใต้ร่มไม้หว้าแต่พระองค์เดียว
          เมื่อพระกุมารเสด็จอยู่พระองค์เดียว ได้ความสงัดเป็นสุขก็ทรงนั่งขัดสมาธิเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน ยังปฐมฌานให้บังเกิดในเวลานั้นเป็นเวลาบ่าย เงาแห่งต้นไม้ทั้งหลายย่อมชายไปตามแสงตะวันทั้งสิ้น แต่เงาไม้หว้านั้นทรงรูปปรากฏเป็นปริมณฑลตรงอยู่ดุจเวลาตะวันเที่ยงเป็นมหัศจรรย์

          ครั้งนางนมพี่เลี้ยทังหลายกลับมาเห็นปาฏิหาริย์ดังนั้นก็พลันพิศวงจึงรีบไปกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงสดับก็รีบเสด็จมาโดยเร็ว ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหารย์เป็นมหัศจรรย์เช่นนั้น ก็ทรงยกพระหัตถ์ถวายอภิวันทนาการ ออกพระโอษฐ์ดำรัสว่าเมื่อวันเชิญมาให้ถวายนมัสการพระกาฬเทวิลดาบสก็ทรงทำปาฏิหาริย์ขึ้นไปยืนชฎาพระดาบส อาตมะก็ประณตครั้งหนึ่งแล้ว และครั้งนี้อาตมะก็ถวายอัญชลีเป็นวาระที่สอง ตรัสแล้วก็ให้เชิญพระกุมารเสด็จคืนเข้าพระนคร ด้วยความเบิกบานพระทัย

          ปาฏิหาริย์คำรบสาม เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จยังนครกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้ ตามคำทูลเชิญของพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา ครั้นพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จถึงกบิลพัสดุ์นคร บรรดาพระประยูรญาติที่มาสโมสรต้อนรับอยู่หน้า มีพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาเป็นประธาน ต่างแสดงออกซึ่งความเบิกบานตามควรแก่วิสัยแล้วทูลเชิญให้เสด็จขึ้นประทับยังพระนิโครธารามพระมหาวิหาร พระบรมศาสดาก็เสด็จขึ้นประทับบนพระบวรพุทธาอาสน์ บรรดาพระสงฆ์ ๒ หมื่นต่างก็ขึ้นนั่งบนอาสนะ อันมโหฬาร ดูงามตระการปรากฏสมพระเกียรติศากยบุตรพุทธชิโนรสบรรดามี

          ครั้นนั้นบรรดาพระประยูรญาติทั้งหลายมีมานะทิฏฐิอันกล้า นึกละอายใจใม่อาจน้อมประนมหัตถ์ถวายนมัสการพระบรมศาสดาได้ด้วยดำริว่า "พระสิทธัตถะมีอายุยังอ่อน ไม่ควรแก่ชุลีกรนมัสการ จึงจัดให้พระประยูรญาติราชกุมารที่พระชนมายุยังน้อย คราวน้องคราวบุตรหลานออกไปนั่งอยู่ข้างหน้าเพื่อจะได้ถวายบังคมพระบรมศาสดา ซึ่งเห็นว่าควรแก่วิสัย ส่วนพระประยูรญาติผู้ใหญ่พากันประทับนั่งอยู่เบื้องหลังเหล่าพระราชกุมารไม่ประนมหัตถ์ ไม่นมัสการ หรือคาระแต่ประการใด ด้วยมานะ จิตคิดในใจว่าตนแก่กว่า ไม่ควรจะวันทาพระสิทธัตถะ"

          เมื่อพระบรมศาสดาประสบเหตุ ทรงพระประสงค์จะให้เกิดสลดจิตคิดสังเวชแก่พระประยูรญาติที่มีมานะจิตคิดมมังการ จึงทรงสำแดงปาฏิหารย์ เหาะขึ้นลอยอยู่ในอากาศ ให้ปรากฏประหนึ่งว่าละอองธุลีพระบาทได้หล่นลงตรงเศียรเกล้าแห่งพระประยูรญาติทั้งหลายด้วยพุทธานุภาพเป็นอัศจรรย์





ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
Credit by http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-
ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข
นำมาแบ่งปันโดย :
sithiphong
: http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3985.msg34312/topicseen.html#msg34312
คลิ๊ก เพื่ออ่านต่อค่ะ

10  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / เล่านิทานเซ็น เรื่องที่ 1-15 /15ผู้คายเหยื่อตามแบบของเซ็น เมื่อ: 16 มิถุนายน 2556 13:39:59


เล่านิทานเซ็น ผู้คายเหยื่อตามแบบของเซ็น
The Noble Path Published on May 17, 2013
เล่านิทานเซ็น สำหรับการดำเนินชีวิตใหม่ในโลกใบเก่า
เล่าไว้โดย อ.อภิปัญโญ
เรื่องที่ 15 ผู้คายเหยื่อตามแบบของเซ็น

1. เล่านิทานเซ็น บุรุษใจสิงห์ตามแบบเซ็น
2. เล่านิทานเซ็น ศิษย์ผู้ตามส่งอาจารย์
3. เล่านิทานเซ็น พุทธศาสนาอย่างเซ็นไม่มีผู้หญิง
4. เล่านิทานเซ็น เด็กในวัดเซ็น
5. เล่านิทานเซ็น อาจารย์เซ็นปราบผี


6. เล่านิทานเซ็น ประตูสวรรค์
7. เล่านิทานเซ็น ไฟไหม้บนธรรมมาสน์
8. เล่านิทานเซ็น พระธรรมทูตของเซ็น
9. เล่านิทานเซ็น เซ็นตามทัศนะคนตาบอด
10. เล่านิทานเซ็น ผู้ก้าวพ้นเปลือกตม

11. เล่านิทานเซ็น เรื่องของความถูกผิด
12. เล่านิทานเซ็น ลำบากเพราะชื่อ
13. เล่านิทานเซ็น ใครกันแน่ที่ต้องยถาสัพพี
14. เล่านิทานเซ็น ศิริมงคลตามประสาของเซ็น

15. เล่านิทานเซ็น ผู้คายเหยื่อตามแบบของเซ็น

Playlist
: http://www.youtube.com/playlist?list=PLd91rcaNKk5_pCJZSkTyf1e9g9dsHSOFb

11  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / Re: แกงป่าขาหมูหน่อไม้ดอง กับ เคล็ดลับกำจัดเปรี้ยวหน่อไม้ เมื่อ: 16 มิถุนายน 2556 13:36:16


 รัก ตกหลุมรัก รัก

12  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / Re: สูตร ผัดกระเพราหมูกรอบไข่เยี่ยวม้า เมื่อ: 16 มิถุนายน 2556 13:30:04


 ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม

13  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / เสียงอ่านมหาสติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการตั้งสติอย่างใหญ่ค่ะ เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2556 16:19:19


<a href="http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&amp;v=70cgMDBOa90" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&amp;v=70cgMDBOa90</a>
มหาสติปัฏฐานสูตร
สมพร กิ่งภาร Uploaded on Jan 23, 2012
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้ เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้ คือ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล
คำที่เรากล่าวดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคนี้กล่าวแล้ว.
พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นยินดี ชื่นชม ภาษิต ของพระผู้มีพระภาค แล้วแล.

.
14  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / โทสะและอกุศลจิต เป็นเหมือนปุ๋ยคอก :พระราชสุเมธาจารย์ เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2556 17:36:53




โทสะและอกุศลจิต เป็นเหมือนปุ๋ยคอก
พระราชสุเมธาจารย์

"....จิตเปรียบเหมือนกระจกเงา มันสะท้อนภาพ
ผู้ฉลาดรู้ว่า ภาพมันก็สักแต่ว่าภาพ ไม่ใช่ตัวตน
ภาพที่ไม่ทำอันตรายต่อตัวกระจกแต่ประการใด
กระจกสะท้อนสภาวะที่โสโครกที่สุด
แต่ตัวกระจกเองจะเปรอะเปื้อนก็หาไม่
และภาพนั้นก็เปลี่ยนไป ไม่เที่ยง

สิ่งโสโครกและโคลนตม มีบทบาทสำคัญเหมือนกัน
โทสะและอกุศลจิต เป็นเหมือนปุ๋ยคอก มันเหม็น
ไม่มีใครอยากเข้าใกล้
แต่มันให้อาหารแก่ต้นไม้ ทำให้เราได้ดอกไม้สวยๆ งามๆ

ถ้าบุคคลสามารถพิจารณาดูปุ๋ยคอก
และรู้เรื่องราวของมัน
แทนที่จะรังเกียจแล้วละก็
บุคคลผู้นั้นก็รู้ถึงคุณค่าของมัน....."

พระราชสุเมธาจารย์


G+ The Noble Path

15  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: ส้วมเคลื่อนที่ :หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2556 16:52:02





ส้วมเคลื่อนที่
:หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

ภายใต้หนังกำพร้าของคนเรามีแต่ความโสโครก
น่าเกลียดน่าสะอิดสะเอียน
มีอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ไส้น้อย ไส้ใหญ่ กระเพาะ
น้ำเลือด น้ำเหลือง
น้ำหนอง น้ำดี อุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อไคล ขังอยู่ภายในร่างกาย
โดยมีหนังกำพร่าห่อหุ้มอยู่

ถ้าลอกหนังออกจะเห็นร่างมีเลือดไหลโซมกาย
เนื้อที่ปราศจากผิวหนังห่อหุ้มจะมองไม่เห็น
ความสวยสดงดงามเลย มองแล้วอยากจะอาเจียนมากกว่าน่ารัก
ที่พอจะมองเห็นว่าสวยงามก็ตรงผิวหนังห่อหุ้มเท่านั้น
ผิวหนังนี้ก็ใช่ว่าจะเกลี้ยงเกลาเสมอไปไม่ คนเราต้องคอย
อาบน้ำชำระล้างทุกวัน

เพราะสิ่งโสโครกเหงื่อไคลภายใน หลั่งไหลออกมาลบเลือน
ความผุดผ่องของผิวกายอยู่ตลอดวัน
ถ้าไม่คอยชำระล้างก็จะสกปรกเหม็นสาบน่ารังเกียจ
ทางช่องทวารขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
ก็หลั่งไหลออกมาตามกำหนดเวลาของมัน ทุกวัน

น่ารังเกียจ เลอะเทอะโสมม ซึ่งเจ้าของไม่ปรารถนาจะแตะต้อง
ทั้งๆ ที่เป็นของในกายของตัวเอง
ยิ่งพิจารณาไปคนเราก็คือส้วมเคลื่อนที่ หรือป่าช้า
ที่บรรจุซากศพเคลื่อนที่ และเป็นผีเน่าที่เดินได้ดีๆ นี่เอง



หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
G+ The Noble Path

16  สุขใจในธรรม / กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ / ไม่มีแรงใด เสมอแรงกรรม เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2556 16:40:44





ไม่มีแรงใด เสมอแรงกรรม
เมื่อกรรมจะให้ผล ย่อมไม่มีสิ่งใด ต้านทาน ได้
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นไป ตามกรรมของตน



17  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / จาก... บทเพลงแห่งเซน เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2556 19:09:38





จากหนังสือ บทเพลงแห่งเซน
จิตแห่งความเชื่อมั่น
(บทกวีเกี่ยวกับต้นตออันสมบูรณ์ของชีวิต)




หนทางอันยิ่งใหญ่นั้นไม่ใช่สิ่งที่ยากลำบากอะไร
สำหรับบุคคลผู้ไม่มีความรู้สึกเปรียบเทียบ

เมื่อรักและชังไม่มีอยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างก็แจ่มแจ้ง
และเปิดเผยตัวเองออก
แต่ถ้ามีการแยกความแตกต่างแม้เพียงเล็กน้อยที่สุด
ฟ้าและดินก็จะถูกแยกห่างกันอย่างหาประมาณมิได้

ถ้าเธอปรารถนาจะเห็นความจริง จงอย่าได้
ยึดถือความเห็นที่คล้อยตามหรือขัดแย้ง
การดิ้นรนระหว่างสิ่งที่ตนเองชอบกับสิ่งที่ตนเองไม่ชอบ
เป็นเชื้อโรคร้ายแห่งจิตใจ
เมื่อไม่เข้าใจความหมายอันล้ำลึกของสรรพสิ่ง
สันติสุขอันแท้จริงของจิตใจ ก็ถูกรบกวนไม่ให้มีอยู่

หนทางนั้นเป็นสิ่งสมบูรณ์เหมือนที่ว่างอันกว้างใหญ่
ซึ่งไม่มีสิ่งใดขาดและไม่มีสิ่งใดเกิน
แท้จริงแล้วนั้นเป็นเพราะการเลือกของเรา
ที่จะยอมรับและการปฏิเสธต่างหาก
ที่ทำให้เราไม่เห็นธรรมชาติอันแท้จริงของสิ่งทั้งปวง



อย่าได้อยู่ทั้งในความยุ่งเหยิงของสิ่งภายนอก
และในความรู้สึกภายในแห่งความว่าง
จงสงบอยู่ในความเป็นหนึ่งของสรรพสิ่ง
และความเห็นที่ผิดทั้งหลายก็จะหมดไปโดยตัวของมันเอง

เมื่อเธอพยายามที่จะ..
..หยุดการกระทำเพื่อจะได้ให้ถึงความหยุดนิ่ง
ความพยายามของเธอนั้นแหละ
ที่ทำให้เธอเต็มไปด้วยการกระทำ
ตราบใดที่เธอยังอยู่ในภาวะสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง
เธอจะไม่มีวันรู้จักภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง

ผู้ที่มิได้อยู่บนหนทางอันเป็นหนึ่ง ย่อมตกลงไปสู่
ทั้งการกระทำและความหยุดนิ่ง ทั้งการยืนยันและปฏิเสธ
การปฏิเสธความจริงของสรรพสิ่ง..
.. เป็นการพลาดไปจากความจริงนั้น
การยืนยันถึงความว่างของสรรพสิ่ง..
.. ก็เป็นการพลาดไปจากความจริงนั้นเช่นกัน



ยิ่งเธอพูดและคิดมากเท่าใด
เธอก็ยิ่งห่างไกลความจริงมากเท่านั้น
จงหยุดการพูดและคิด
และจะไม่มีสิ่งใดที่เธอจะไม่รู้

การกลับคืนสู่รากเหง้าคือการค้นพบความหมาย
แต่การเดินตามสิ่งปรากฏภายนอก
เป็นการพลาดไปจากต้นตอ
ในชั่วขณะแห่งความเห็นแจ้งภายใน
มีการข้ามพ้นสิ่งภายนอกและความว่าง

ความเปลี่ยนแปลงที่ดูเหมือนเกิดขึ้นในโลกที่ว่างนี้
เราบอกว่าเป็นจริงเพราะอวิชชาของเรานั่นเอง
อย่าได้ค้นหาสัจธรรม ให้เพียงแต่..
..... หยุดยึดถือความเห็นต่างๆ เท่านั้น

อย่าได้ดำรงอยู่ในภาวะความเป็นคู่
จงหลีกเลี่ยงหนทางนั้นด้วยความระมัดระวัง
ถ้ามีเพียงร่องรอยของสิ่งนี้และสิ่งนั้น ของความถูกและผิด
จิตเดิมแท้ก็จะสูญเสียไปในความยุ่งเหยิง

แม้ภาวะของความเป็นคู่ทั้งหมดจะมาจากความเป็นหนึ่ง
ก็จงอย่าได้ยึดติดแม้ในความเป็นหนึ่งนี้

เมื่อจิตดำรงอยู่โดยไม่ถูกรบกวน ก็ไม่มีสิ่งใดในโลก
จะสามารถทำให้ขุ่นเคืองได้
และเมื่อสิ่งต่างๆ ไม่สามารถทำให้ขุ่นเคืองได้ต่อไป มันจึงไม่มี



เมื่อปราศจากความคิดแบ่งแยก จิตก็ไม่มี
เมื่อความคิดหายไป ตัวที่ทำหน้าที่คิดก็หายไป
เช่นเดียวกับเมื่อจิตหายไป วัตถุก็หายไปด้วย

สิ่งทั้งหลายมีอยู่เพราะว่ามีตัวรับรู้
จิตมีอยู่ก็เพราะว่าสิ่งทั้งหลายมีอยู่
ขอจงได้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งสองนี้
และความจริงพื้นฐาน
นั่นคือความเป็นหนึ่งแห่งความว่าง

ในความว่างนี้ สิ่งทั้งสองแยกกันไม่ได้
และแต่ละสิ่งในตัวของมันเองก็ได้รวมโลกทั้งหมดเข้าไว้ด้วย
ถ้าเธอไม่แบ่งแยกระหว่างความหยาบและความละเอียด
เธอก็จะไม่ถูกลวงล่อให้ตกอยู่ในทิฐิและความคิดเห็นต่างๆ

การดำเนินอยู่ในหนทางอันยิ่งใหญ่
มิใช่สิ่งที่ง่ายหรือยาก
แต่บุคคลที่มีความเห็นอันจำกัดมักจะกลัวและลังเล
ยิ่งเขารีบร้อนเท่าใด เขาจะยิ่งไปช้าเท่านั้น
และจะยิ่งยึดติดอย่างไม่สิ้นสุด

แม้การยึดติดต่อความคิดในเรื่องการตรัสรู้ ก็เป็นสิ่งที่พลาด
ออกนอกทาง
เพียงแต่ปล่อยให้สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามวิถีทางของมัน
และก็จะไม่มีการมาหรือการไป

จงเชื่อฟังธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย และเธอจะเดินได้อย่างอิสระ
และไม่ถูกรบกวน
เมื่อความคิดถูกพันธนาการ ความจริงก็ถูกซ่อนเร้น
เพราะทุกสิ่งทุกอย่างจะมืดดำและคลุมเครือ
และการเที่ยวเป็นภาระไปตัดสินสิ่งต่างๆ นั้น
มีแต่จะทำให้น่าเวียนหัวและเหนื่อยอ่อน
จะมีประโยชน์อะไรจากการแยกแยะและแบ่งแยก



ถ้าเธอปรารถนาจะเข้าสู่หนทางของความเป็นหนึ่ง
อย่าได้เกลียดแม้โลกแห่งผัสสะและความคิด
แท้จริงแล้วนั้นการยอมรับมันอย่างเต็มที่
เป็นสิ่งเดียวกับการตรัสรู้อันถูกตรง

ผู้มีปัญญามิได้มุ่งหวังเพื่อจะลุถึงผลใดๆ
แต่ผู้ไร้ปัญญาใส่โซ่ตรวนให้แก่ตนเอง
ธรรมนั้นมีเพียงหนึ่ง มิได้มีมากมาย
การแบ่งแยกเกิดจากความยึดถือของผู้โง่หลง

การใช้จิตแสวงหาจิต เป็นความผิดพลาดที่ใหญ่หลวงที่สุด
ความสงบและไม่สงบเกิดจากความหลงผิด

ในความรู้แจ้ง ไม่มีความชอบและความไม่ชอบ
ภาวะของความเป็นคู่ทั้งหลายนั้นเกิดจากความเห็นที่ผิด
มันเหมือนกับความฝันหรือดอกไม้ในอากาศ
ซึ่งจะเป็นความเขลาที่จะไขว่คว้ามัน
การได้และการเสีย ความถูกและความผิด
ความคิดเหล่านี้ในที่สุดแล้วจะต้องทำให้หายไปในทันที

ถ้าดวงตาไม่เคยหลับใหล
ความฝันทั้งหมดก็จะหยุดลงโดยธรรมชาติ
ถ้าจิตไม่สร้างการแบ่งแยก
สรรพสิ่งทั้งหลายก็จะเป็นเช่นที่มันเป็น
อันมีสาระดั้งเดิมแต่เพียงอย่างเดียว



การเข้าใจในความเร้นลับของสาระแห่งความเป็นหนึ่งนี้
เป็นการพ้นจากความยุ่งเหยิงทั้งปวง
เมื่อสรรพสิ่งถูกเห็นอย่างเดียวกันหมด
ย่อมเข้าถึงสาระอันแท้จริงที่อยู่เหนือกาล
ไม่มีข้อเปรียบเทียบหรือข้ออุปมาใดๆ จะเป็นไปได้
ในภาวะแห่งความปราศจากเหตุผลและเกี่ยวพันใดๆ นี้

จงพิจารณาความเคลื่อนไหวในความนิ่ง..
.. และความนิ่งในความเคลื่อนไหว
และทั้งภาวะแห่งความเคลื่อนไหว กับภาวะแห่งความสงบนิ่งก็จะหายไป
เมื่อความเป็นคู่ไม่มี ความเป็นหนึ่งที่จะให้ยึดถือก็ไม่มีด้วย
ผลบั้นปลายสุดท้ายนี้ ไม่มีกฎหรือคำอธิบายใดๆ ที่จะนำมาใช้ได้
สำหรับจิตที่เป็นหนึ่งตามหนทางนั้น

การดิ้นรนที่เกิดจากตัวตนทั้งหมดจะหยุดลง
ความสงสัยและความลังเลจะหายไปได้
และชีวิตแห่งความเชื่อมั่นอันแท้จริงก็เป็นไปได้
ชั่วขณะแห่งความเห็นแจ้ง เราเป็นอิสระจากเครื่องจองจำ
ไม่มีสิ่งใดมายึดเกาะเรา และเราก็ไม่ยึดเกาะในสิ่งใด



ทุกสิ่งว่าง ชัดเจน และแจ่มแจ้งในตัวของมันเอง
โดยที่จิตไม่ต้องใช้พละกำลังแต่อย่างใด
ณ ที่นี้ ความคิด ความรู้สึก ความรู้ และจินตนาการไร้คุณค่าโดยสิ้นเชิง

ในโลกแห่งความเป็นเช่นนั้น
ไม่มีตัวตนหรือสิ่งที่นอกเหนือตัวตน
เพื่อที่จะรวมเป็นหนึ่งกับความจริงนี้โดยตรง
เมื่อความสงสัยเกิดขึ้น เพียงแต่กล่าวว่า “ไม่ใช่สอง”

ในความ “ไม่ใช่สอง” นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ถูกแบ่งแยก
ไม่มีสิ่งใดที่ถูกจำแนกออกต่างหาก
ไม่ว่าจะเป็นเมื่อไรหรือที่ไหน

การตรัสรู้หมายถึงการเข้าสู่ความจริงนี้
และความจริงนี้อยู่เหนือการขยายหรือการย่นย่อในเรื่องเวลาหรือสถานที่
ในความจริงนี้ความคิดเพียงชั่วแวบคือเวลานับพันปี



ความว่างที่นี่ ความว่างที่นั่น
แต่จักรวาลอันไร้ขอบเขตจำกัดได้ปรากฏอยู่ต่อหน้าเธอ
สิ่งที่ใหญ่เหลือคณากับสิ่งที่เล็กเหลือประมาณ ไม่มีความแตกต่าง
เพราะคำจำกัดความต่างๆ ได้หายไป
และขอบเขตต่างๆ ก็ไม่มีให้เห็น
ความมีกับความไม่มีก็เช่นเดียวกัน
อย่าได้เสียเวลาในการสงสัยและโต้แย้ง
ซึ่งไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความจริงนี้

สิ่งหนึ่งและสิ่งทั้งหมดต่างก็เคลื่อนไหว
อยู่ในกันและกันโดยปราศจากการแบ่งแยก การอยู่ในความเห็นแจ้งนี้
เมื่อการอยู่ที่ปราศจากความวิตกกังวลต่อความไม่สมบูรณ์
การดำเนินอยู่ในความเชื่อมั่นนี้คือหนทางที่อยู่เหนือความเป็นคู่
เพราะว่าการอยู่เหนือความเป็นคู่นี้เป็นสิ่งเดียวกับจิตแห่งความเชื่อมั่น

คำพูด!
หนทางนั้นอยู่เหนือภาษาใดๆ
เพราะว่าในหนทางนั้น
ไม่มีเมื่อวานนี้
ไม่มีพรุ่งนี้
ไม่มีวันนี้

จากหนังสือ บทเพลงแห่งเซน


>>> F/B Sathid tongrak.
https://www.facebook.com/tongrak.s
18  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / Re: คำสอนของฮวงโป :จะใช้อะไรตัดผักเหล่านั้นเล่า ? เมื่อ: 14 เมษายน 2556 21:10:24


     
   ๓๒. จะใช้อะไรตัดผักเหล่านั้นเล่า ?

   ครั้งหนึ่ง ท่านครูบาของเราได้ขออนุญาตเพื่อออกไปข้างนอกสักครู่และท่าน นาน-ซาน ได้ถามว่าจะไปไหน
   “ข้าพเจ้าจะออกไปเอาผักสักหน่อยเท่านั้นเอง” ท่านครูตอบ
   “ท่านจะใช้อะไรตัดผักเหล่านั้นเล่า ?” ท่าน นาน-ซาน ถาม

   ท่านครูบาของเราได้ชูมีดของท่านขึ้น ทันใดนั้น ท่าน นาน-ซาน ได้ท้วงว่า “อ้าว การทำอย่างนั้น ใช้ได้สำหรับแขกแต่ใช้ไม่ได้สำหรับเจ้าของบ้าน”
   ท่านครูบาของเราได้แสดงความชอบใจด้วยการโค้ง ๓ ครั้ง

19  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ / ประวัติ ตำนาน :นางสงกรานต์นาม “มโหทรเทวี” เมื่อ: 14 เมษายน 2556 19:16:10




นางสงกรานต์นาม “มโหทรเทวี”
ทรงพาหุรัด ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาทรงจักร หัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จไสยาสน์หลับเนตร (นอนหลับตา) มาเหนือหลังมยุรา (นกยุง) เป็นพาหนะ เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ศุกร์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 600 ห่า ตกในเขาจักรวาล 240 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 180 ห่า ตกในมหาสมุทร 120 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 60 ห่า นาคราชให้น้ำ 1 ตัว เกณฑ์ธาราธิคุณ ชื่ออาโป (ธาตุน้ำ) น้ำมาก ด้านคำทำนายตามปฏิทินสุริยฯ โบราณว่า ฝนต้นปีมาก กลางปีงาม ปลายปีน้อย เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ ปาปะ ข้าวกล้าในไร่นาจะได้ 1 เสีย 9 ส่วน มหาชนร้อนใจด้วยอาหาร เพราะพืชผลเสียหาย ข้าวยากหมากแพง จะเกิดอันตรายกลางเมือง จะเกิดเพลิง โจรผู้ร้าย จะเจ็บไข้นัก จะได้ยินเสียงคนต่างภาษา ท้าวพระยาจะร้อนใจนักแลฯ ความโดยรวมแล้วนางสงกรานต์ “มโหทรเทวี” สวยแต่ดุ!



ประวัติ ตำนานวันสงกรานต์
มีท่านเศรษฐีผู้หนึ่งไม่มีบุตรแต่ต้องการบุตรมาก ด้วยถูกนักเลงสุราที่บ้านใกล้กันนั้นกล่าวคำหยาบช้าต่อเศรษฐี ท่านเศรษฐีจึงกล่าวถามว่า "เหตุใดท่านจึง กล่าวดูถูกเราผู้มีสมบัติมาก" นักเลงสุราตอบกลับว่า "ถึงแม้ท่านเป็นผู้มีสมบัติมาก แต่ท่านก็ไม่มีบุตร เมื่อเสียชีวิตแล้ว สมบัติเหล่านี้ก็สูญเปล่า เรานั้นมีบุตร ย่อมประเสริฐกว่า" ท่านเศรษฐีจึงได้จัดพิธีบวงสรวงขอบุตรจากพระอาทิตย์ และพระจันทร์ รอนานสามปีก็มิได้เกิดบุตร เมื่ออาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ท่านเศรษฐีจึงพาบริวารไปบวงสรวงขอบุตรจากพระไทร พระไทรมีความเมตตาสงสารเศรษฐีผู้นี้ จึงได้ขึ้นไปบนสวรรค์ทูลขอบุตรจากพระอินทร์ให้แก่เศรษฐี ผู้นั้น พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลกุมารเทวบุตรลงมาเกิดเป็นบุตรของท่านเศรษฐี เมื่อภรรยาของท่านเศรษฐีคลอดบุตร ท่านเศรษฐีได้ปลูกปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ใต้ต้นไทรริมฝั่งแม่น้ำ และตั้งชื่อให้ว่าธรรมบาลกุมารธรรมบาลกุมารนี้เป็น เด็กที่มีปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างมาก เรียนรู้ไตรเทพจบเมื่ออายุ ๗ ขวบอีกทั้งยังสามารถเรียนรู้ภาษานกได้อีก ความดังกล่าวได้ล่วงรู้ถึงท้าวกบิลพรหม ท่านจึงต้องการที่จะทดสอบปัญญาของธรรมบาลกุมาร ท้าวกบิลพรหมจึงได้เสด็จลงมายังโลกมนุษย์ ถามปัญหาธรรมบาลกุมาร ๓ ข้อคือ

ข้อที่ ๑ เช้าราศีสถิตอยู่แห่งใด
ข้อที่ ๒ เที่ยงราศีสถิตอยู่แห่งใด
ข้อที่ ๓ ค่ำราศีสถิตอยู่แห่งใด

และตกลงกันว่า ถ้าธรรมกุมารสามารถตอบปัญหา ๓ ข้อนี้ได้ ภายใน ๗ วัน จะตัดเศียรของตนบูชาธรรมบาลกุมาร แต่ถ้าธรรมบาลกุมารไม่สามารถตอบปัญหาได้ ธรรมบาลกุมารต้องตัดศีรษะของตนบูชาท้าวกบิลพรหมเช่นกัน

เวลาล่วงเลยไปถึง ๖ วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ ด้วยความกลัวอาญาท้าวกบิลพรหม ธรรมบาลกุมาร จึงได้หนีไปแอบซ่อนอยู่ใต้ต้นตาลและบนต้นตาลนั้นมีนกอินทรี ๒ ตัว ผัวเมียทำรังอยู่นกอินทรีทั้งสองได้สนทนากันอยู่ในเรื่องการออกไปหากินในวันพรุ่งนี้ นางนกอินทรี : "พรุ่งนี้เราจะไปหากินที่ไหนกันดี "

นกอินทรีตัวผู้ : "พรุ่งนี้เราไม่ต้องออกไปหากินไกลหรอก ด้วยพรุ่งนี้ธรรมบาลกุมารจะต้องตัดศีรษะบูชาท้าวกบิลพรหม เนื่องจากตอบปัญหาไม่ได้"
นางนกอินทรี : "น่าสงสารกุมารน้อยยิ่งนัก ท้าวกบิลพรหมก็ช่างถามปัญหาที่มนุษย์เกินจะตอบได้" นกอินทรีรู้สึกหมั่นไส้นางนกอินทรีจึงได้บอกถึงคำตอบที่ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารให้นางนกอินทรีได้รู้

นกอินทรีตัวผู้ : "ราศีแห่งมนุษย์นั้นจะสถิตอยู่ที่ร่างกายต่างวาระกัน คือ เวลาเช้าจะสถิตอยู่ที่หน้า มนุษย์จึงต้องล้างหน้า เวลาเที่ยงราศีสถิตอยู่ที่อก มนุษย์จึงต้องปะพรมน้ำที่หน้าอก และเวลาค่ำสถิตอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงต้องล้างเท้า จึงจะพ้นอัปรีย์จัญไรทั้งปวง"

ธรรมบาลกุมารเมื่อได้ยินดังนั้น ก็ได้จดจำคำตอบและนำไปบอกแก่ท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงจำต้องตัดเศียรของตนบูชาธรรมบาลกุมาร แต่เศียรของท้าวกบิลพรหมมีพิษมาก คือ ถ้าตัดแล้วตั้งไว้บนแผ่นดิน แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ ถ้าโยนขึ้นสู่ท้องฟ้าฝนก็จะตกไม่ถูกต้องตามฤดูกาล และถ้าทิ้งลงมหาสมุทรน้ำก็จะเหือดแห้ง ท้าวกบิลพรหมจึงรับสั่งเรียกธิดาทั้ง ๗ เพื่อให้นำเศียรของท้าวกบิลพรหมไปแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ ๖๐ นาที แล้วจึงนำไปเก็บไว้ในมณฑปถ้ำธุลีเขาไกรลาศ ครั้นครบกำหนด ๓๖๕ วัน (โลกสมมุติว่าเป็น ๑ปี) เป็นสงกรานต์ ซึ่งหมายถึงขึ้นปีใหม่นั้นเอง นางสงกรานต์ก็จะต้องนำเศียรของท้าวกบิลพรหมแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุเป็นประจำทุกปี



       นางสงกรานต์
เป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม หรือท้าวมหาสงกรานต์ และเป็นนางฟ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช (สวรรค์ชั้นที่ ๑ ในทั้งหมด ๖ ชั้น) ซึ่งมีหน้าที่ในการรับศีรษะของท้าวกบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุในแต่ละรอบปี หรือในวันสงกรานต์นั้นเอง โดยมีเกณฑ์กำหนดที่ว่าวันสงกรานต์ คือวันที่ ๑๓ เมษายน ตรงกับวันใดก็ให้นางสงกรานต์ประจำวันนั้นเป็นผู้แห่ นางสงกรานต์มีทั้งหมด ๗ องค์ ได้แก่

๑. นางสงกรานต์ทุงษเทวี
ทุงษเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ ทัดดอกทับทิม มีปัทมราค (แก้วทับทิม) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ อุทุมพร (มะเดื่อ) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือสังข์ เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์ครุฑ

๒. นางสงกรานต์โคราดเทวี
โคราดเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ ทัดดอกปีป มีมุกดาหาร (ไข่มุก) เป็นเครื่องประดับภักษาหาร คือ เตละ (น้ำมัน) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จประทับเหนือพยัคฆ์ (เสือ)

๓. นางสงกรานต์รากษสเทวี
รากษสเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร ทัดดอกบัวหลวง มีโมรา (หิน) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ โลหิต (เลือด) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายถือธนู เสด็จประทับเหนือวราหะ (หมู)

๔. นางสงกรานต์มัณฑาเทวี
มัณฑาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ ทัดดอกจำปา มีไพฑูรย์ (พลอยสีเหลืองแกมเขียว) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ นมและเนย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ ขวาถือเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์คัสพะ (ลา)

๕. นางสงกรานต์กิริณีเทวี
กิริณีเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี ทัดดอกมณฑา (ยี่หุบ) มีมรกตเป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ ถั่วและงา อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือปืน เสด็จไสยาสน์เหนือปฏษฎางค์ชสาร (ช้าง)

๖. นางสงกรานต์กิมิทาเทวี
กิมิทาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ ทัดดอกจงกลนี มีบุษราคัมเป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ กล้วยและน้ำ อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือพิณ เสด็จประทับยืนเหนือมหิงสา (ควาย)

๗. นางสงกรานต์มโหทรเทวี
มโหทรเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) มีนิลรัตน์เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ เนื้อทราย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือตรีศูล เสด็จประทับเหนือมยุราปักษา (นกยูง)

*https://plus.google.com/118390229871421792377/posts?utm_source=chrome_ntp_icon&utm_medium=chrome_app&utm_campaign=chrome

20  สุขใจในธรรม / ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม / Re: ปฏิทิน วันพระ 2555 ...เรามาทำดีกันเถอะ เมื่อ: 03 เมษายน 2556 10:16:56








หน้า:  [1] 2 3 ... 368
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.307 วินาที กับ 24 คำสั่ง

Google visited last this page 01 สิงหาคม 2567 06:58:24