[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ อนามัย => ข้อความที่เริ่มโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 17 พฤษภาคม 2563 14:13:47



หัวข้อ: การปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
เริ่มหัวข้อโดย: ฉงน ฉงาย ที่ 17 พฤษภาคม 2563 14:13:47
                                                                                                                                      การปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

การปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก  

                    อุบัติเหตุไฟไหม้ น้ำร้อนลวก พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงควรมีการป้องกันตนเองให้เหมาะสม และหากเกิดขึ้นก็สามารถดูแลตัวเองและคนรอบข้างได้อย่างถูกวิธี

 
แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้

ดีกรีความลึกระดับ 1 คือ บาดแผลอยู่แค่เพียงผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ผิวหนังเป็นรอยแดง ไม่บวมพองน้ำ มีอาการแสบร้อนมาก นาน 24-72 ชั่วโมง อาการแสบร้อนจะทุเลาลง แผลชนิดนี้ไม่ติดเชื้อ โดนน้ำได้ ไม่จำเป็นต้องทำแผล รอยแดงจะค่อยๆจางลงและไม่เป็นแผลเป็น

ดีกรีความลึกระดับ 2 คือ บาดเจ็บในบริเวณชั้นหนังแท้ ผิวหนังบวมพองน้ำ มีอาการแสบร้อน ควรทำแผลและปิดแผลป้องกันการติดเชื้อ แผลหายภายใน 7-10 วันและไม่เป็นแผลเป็น

ดีกรีความลึกระดับ 3 คือ ชั้นผิวหนังทั้งหมดถูกทำลายด้วยความร้อน เป็นแผลแดง มีอาการแสบร้อน ควรทำแผลด้วยครีมที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะและสารที่ช่วยเร่งการหายของแผล หากไม่มีภาวะติดเชื้อ แผลจะสร้างผิวหนังทดแทนภายในเวลา 14-28 วัน แล้วแต่ขนาดของแผล

              

 

การปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ดังนี้

      - ล้างด้วยน้ำสะอาดที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งเชื่อว่าจะมีผลช่วยลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณบาดแผลได้

     - หลังจากนั้นซับด้วยผ้าแห้งสะอาด แล้วสังเกตว่าถ้าผิวหนังมีรอยถลอก มีตุ่มพองใสหรือมีสีของผิวหนังเปลี่ยนไป ควรรีบไปพบแพทย์

     - หากมีแผลบริเวณใบหน้า จะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะบริเวณใบหน้ามักจะเกิดอาการระคายเคืองจากยาที่ใช้ ห้ามใส่ยาใดๆก่อนถึงมือแพทย์

 

ข้อห้าม เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

      - ไม่ควรใส่ตัวยา/สารใด ๆ ทาลงบนบาดแผล ถ้าไม่แน่ใจในสรรพคุณที่ถูกต้องของยาชนิดนั้น โดยเฉพาะ”ยาสีฟัน” “น้ำปลา” เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อบาดแผล เพิ่มโอกาสการเกิดบาดแผลติดเชื้อ และทำให้รักษาได้ยากขึ้น

 

การดูแลตนเองหลังการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

      - หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นผง หรืออะไรก็ตามที่จะทำให้ระคายเคือง

     - หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ทุกชนิด เพราะหากโดนบริเวณแผลก็อาจทำให้คันหรือมีการติดเชื้อได้ง่าย

     - รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ เพื่อเสริมการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ทำให้บาดแผลสมานปิดเร็วขึ้น

     - หมั่นทายา/รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญต้องรักษาความสะอาดแผลให้ดีด้วย



ขอขอบคุณบทความจาก   แพทย์หญิงธัญลักษณ์ ศรีบูระเดช    สาขา: ศัลยศาสตร์