[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
07 พฤษภาคม 2567 16:01:11 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พิธีกรรมสัลเลขณะ ทุกรกิริยาเพื่อหลุดพ้นสังสารวัฏ  (อ่าน 504 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2329


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 97.0.4692.71 Chrome 97.0.4692.71


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 14 มกราคม 2565 14:48:31 »


ศาสนิกชนผู้เคร่งครัดในศาสนาเชนขณะประกอบพิธี “สัลเลขณะ”
ภาพที่เห็นในเบื้องหลังคือนักบวชในศาสนาเชน (ภาพจาก The Independent, Thursday 4 August 2005 p.28)



สัลเลขณะ ทุกรกิริยาเพื่อหลุดพ้นสังสารวัฏ

ที่มา - ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ 2549
ผู้เขียน - ศิริธาดา กองภา
เผยแพร่ - วันพฤหัสที่ 13 มกราคม พ.ศ.2565


แม้ว่าในศตวรรษที่ 21 โลกได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคที่มนุษย์สามารถนั่งยานอวกาศออกไปสำรวจนอกโลกได้แล้ว ความเจริญทางด้านวัตถุยังพัฒนาไปได้เรื่อย ๆ ไม่หยุดยั้ง แต่ความเชื่อ ความศรัทธาของมนุษย์ที่มีต่อลัทธิศาสนาของตนนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาเลย 2,000 ปีก่อนมนุษย์มีความเชื่อในหลักศาสนาอย่างไร ปัจจุบันความเชื่อเหล่านั้นก็ยังคงอยู่

กลางเดือนสิงหาคม 2548 หนังสือพิมพ์ The Independent ได้ลงข่าวเกี่ยวกับหญิงชราชื่อศรัทธา ศรี (Shradha Shri) ในเมืองวีทิศ (Vidisha) ทางตอนใต้ของอินเดีย เสียชีวิตเนื่องจากอดอาหารเกือบ 7 สัปดาห์ ถ้าข่าวนี้เกิดขึ้นในประเทศแถบแอฟริกา คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่จะมีคนเสียชีวิตเพราะขาดอาหาร แต่นี่คืออินเดีย ประเทศที่แม้จะมีคนจนมากกว่าคนรวย แต่ก็เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่กำลังจะกลายมาเป็นผู้นำเศรษฐกิจอีกประเทศหนึ่งในเอเชีย

แต่เปล่าเลย การเสียชีวิตของหญิงชราผู้นี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหรือความอดอยากแต่ประการใด

การเสียชีวิตของเธอ เป็นผลมาจากความเชื่อในศาสนาเชนที่เรียกว่าพิธีกรรมสัลเลขณะ (Sallekhana)

ศาสนาเชนเป็นศาสนาเก่าแก่ของอินเดียที่มีอายุนับย้อนหลังไปเกือบ 600 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ… ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดกันว่า ศาสนาเชนและฮินดูเป็นศาสนาเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่ 2 ศาสนานี้แตกต่างกันทั้งในเรื่องวิถีปฏิบัติและหลักความเชื่อโดยสิ้นเชิง

หนึ่งในความเชื่อหลักของเชน คือ ลัทธิอหิงสา ซึ่งเป็นหลักความเชื่อในการไม่เบียดเบียน และดำเนินชีวิตหรือกระทำการใด ๆ ด้วยสันติวิธี มหาตมะ คานธี คือผู้ที่ทำให้ลัทธิอหิงสาเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก และมีผู้ศรัทธาปฏิบัติตามแนวความคิดนี้ แม้ว่าในท้ายที่สุด มหาตมะ คานธี จะต้องจบชีวิตด้วยสิ่งที่ท่านต่อต้านมาตลอดชีวิต

ศาสนาเชนแบ่งออกเป็น 2 นิกายใหญ่ ๆ คือ นิกายเศวตัมพร นักบวชนิกายนี้จะนุ่งขาวห่มขาว และถือศีลทั่ว ๆ ไป ส่วนนิกายทิฆัมพรนั้น นักบวชจะเปลือยกาย (นุ่งลมห่มฟ้า) ถือเพียงพัดหางนกยูงเพื่อใช้ปัดไล่มด แมลง และบำเพ็ญทุกรกิริยาเพื่อไปสู่การหลุดพ้น

ความเชื่อในเรื่องการละทิ้งสังขารเพื่อไปสู่การหลุดพ้นนี้ ปรากฏออกมาในรูปแบบของพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่าสัลเลขณะ ซึ่งผู้ที่ศรัทธาในศาสนาเชนเชื่อว่าเป็นพิธีกรรมที่จะชำระจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์ เพื่อจะได้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ หรือการเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง

พิธีกรรมสัลเลขณะ คือการเตรียมพร้อมละสังขารเพื่อไปสู่ความหลุดพ้น ผู้ที่ทำพิธีกรรมนี้ต้องค่อย ๆ อดอาหารจนกว่าจะถึงแก่ความตาย และในขณะเดียวกันต้องทำจิตให้ว่างและตัดซึ่งกิเลสทั้งปวง นักบวชชั้นสูงเท่านั้นที่จะอนุญาตให้ผู้มีศรัทธาประกอบพิธีกรรมนี้ได้ เพราะผู้นับถือศาสนาเชนจะศรัทธาและเชื่อฟังนักบวช เพียงแค่แตะปลายเท้านักบวชพวกเขาก็ถือว่าได้รับพรอันสูงสุดแล้ว นักบวชจะอนุญาตก็ต่อเมื่อได้พิจารณาว่าผู้ขอกระทำพิธีมีความกระตือรือร้น หรือสังขารของผู้นั้นร่วงโรยแล้ว หรือเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาได้ และต้องไม่มีพันธะหรือหน้าที่ใด ๆ และต้องได้รับความเห็นชอบจากครอบครัวของผู้นั้นด้วย

อย่างกรณีของนางศรัทธา ศรี ที่กระทำพิธีสัลเลขณะ ด้วยการอดอาหารจนถึงแก่ความตายภายใน 1 เดือนนั้น ได้รับความเห็นชอบจากนักบวชชั้นสูง เนื่องจากเธอไม่มีพันธะทางโลกแล้ว สามีเธอเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเมื่อ 4 ปีก่อน ส่วนลูก ๆ ของเธอแต่งงานและมีครอบครัวกันหมดแล้ว


นายธรรเมศ เชน (Dharmesh Jain) ลูกชายคนรองของเธอเชื่อว่ามารดาของเขาได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องและน่ายกย่อง เธอมีความกล้าในการตัดสินใจละทิ้งสังขารที่ร่วงโรยด้วยตนเอง มารดาของเขาเลือกการบำบัดทางจิตวิญญาณและไม่กลัวการเผชิญหน้ากับความตาย เธอไม่ได้รู้สึกกลัวหรือครวญครางด้วยความทุกข์ทรมาน ตรงกันข้ามเธอดูมีความสุข พวกเขาจะจัดพิธีศพอย่างสมเกียรติและเฉลิมฉลองการหลุดพ้นของเธอ

แม้จะมีเสียงซุบซิบว่านางศรัทธา ศรี ป่วยเป็นซีสต์ในกระเพาะอาหาร เธอเพียงต้องการหนีความทุกข์ทรมานด้วยการเลือกความตายก่อนเวลาอันควร หาใช่การกระทำเพื่อชำระจิตวิญญาณเพื่อการหลุดพ้นแต่อย่างใด แต่ถึงอย่างไรก็ตามผู้คนจากทั่วทุกสารทิศต่างเดินทางมาเฝ้าดูวาระสุดท้ายของเธอ เพราะปัจจุบันนี้พิธีกรรมสัลเลขณะไม่ค่อยมีให้เห็นมากนัก ผู้ที่ศรัทธาเชื่อว่าเป็นการกระทำที่สูงส่งและต้องการมีส่วนร่วม แต่สำหรับคนทั่วไปที่ไม่รู้หลักความเชื่อนี้ต่างลงความเห็นว่านี่เป็นเพียงการฆ่าตัวตาย

ฆ่าตัวตาย หรือเตรียมละทิ้งสังขารเพื่อมุ่งสู่การหลุดพ้น อาจจะแตกต่างในเชิงความคิดแต่ไม่ได้แตกต่างในเชิงปฏิบัติเลย น่าแปลกที่ว่า โลกาภิวัตน์และการศึกษาไม่ได้ทำให้ความเชื่อในพิธีกรรมนี้เปลี่ยนไปเลย ดังเช่น นายธรรเมศ เชน ที่ยังเชื่อว่าพิธีกรรมนี้คือการชำระจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์ ทั้ง ๆ ที่เขาได้รับการศึกษาถึงระดับ MBA และมีหน้าที่การงานที่น่านับถือในสังคม

ไม่ใช่ว่าสังคมอื่น ๆ ในอินเดียจะเพิกเฉยต่อพิธีกรรมนี้ ตรงกันข้ามประเด็นนี้เป็นข้อโต้เถียงมาช้านาน เมื่อคนทั่วไปมองว่ามันคือการฆ่าตัวตาย และเมื่อหลายปีก่อนเคยมีภาพของชายผู้กระทำพิธีสัลเลขณะตอนเสียชีวิตแพร่ออกไปเกือบทั่วประเทศ ร่างกายที่เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ซึ่งเป็นภาพที่ชวนสลดอย่างยิ่ง คนอินเดียเห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐควรยื่นมือเข้ามาจัดการเรื่องนี้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ควรยกย่องและลอกเลียนแบบ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการฆ่าตัวตายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายของอินเดีย แต่ตำรวจก็ไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับพิธีกรรมสัลเลขณะ เนื่องจากสิ่งนี้เป็นความเชื่ออย่างแรงกล้าของผู้ที่นับถือศาสนาเชน และพวกเขายืนยันว่าพิธีนี้ไม่ได้มีผลกระทบต่อผู้นับถือศาสนาอื่นแม้แต่น้อย และเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นเกรงว่าหากเข้าไปจัดการเรื่องนี้อาจทำให้เกิดความขัดแย้งกับกลุ่มผู้นับถือศาสนาเชนได้

ปัจจุบันพิธีกรรมสัลเลขณะมีให้เห็นไม่มากนัก อาจจะเป็นเพราะไม่มีใครมีศรัทธาแรงกล้าที่ต้องการหลุดพ้นจากสังสารวัฏ แต่ก็ใช่ว่าความเชื่อในพิธีกรรมนี้จะเลือนหายไป ความเชื่อนี้ยังคงแทรกซึมอยู่ในสังคมของผู้นับถือศาสนาเชน ซึ่งรอคอยที่จะแสดงความยกย่องกับผู้ที่กล้าละทิ้งสังขารด้วยวีธีนี้ พวกเขายังคงรักษาความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมเอาไว้

แม้ว่าวิธีการหลุดพ้นนี้จะแตกต่างจากหลักความเชื่อศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ที่ถือว่าการฆ่าตัวตายเป็นบาปมหันต์

แม้ว่าคนภายนอกจะตั้งคำถามว่าการละทิ้งสังขารด้วยพิธีกรรมสัลเลขณะเป็นการหลุดพ้นที่แท้จริงหรือ และพิธีกรรมนี้ต่างจากการฆ่าตัวตายอย่างไร

เชื่อว่าผู้ที่จะตอบคำถามนี้ได้คงเป็นเพียงผู้ที่ได้กระทำพิธีสัลเลขณะแล้วเท่านั้น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 มกราคม 2565 14:50:30 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.444 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 ตุลาคม 2566 07:37:20