[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
05 พฤษภาคม 2567 09:51:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'ธำรงศักดิ์' เผยผลสำรวจ กว่าครึ่งนักเรียน ม.ปลาย หนุน 20 ปี ลง สส.ได้ - นศ.มหา'ลัย  (อ่าน 57 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2567 04:48:41 »

'ธำรงศักดิ์' เผยผลสำรวจ กว่าครึ่งนักเรียน ม.ปลาย หนุน 20 ปี ลง สส.ได้ - นศ.มหา'ลัย 27% อยากลงสมัคร
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-02-12 01:46</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ธำรงศักดิ์ นักวิชาการคณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เผยผลสำรวจ Gen Z มัธยมปลาย เห็นควรให้อายุ 20 ปี ลงสมัคร สส. ได้ ร้อยละ 51 จากตอบ 504 คน ขณะที่ Gen Z มหาวิทยาลัย ปรารถนาจะลงสมัคร สส. ในอนาคต ร้อยละ 27 จากผู้ตอบ 500 คน</p>
<p>12 ก.พ.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (11 ก.พ.) ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์รายงานวิจัยผ่าน เฟซบุ๊ก 'ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์' โดยระบุว่า งานวิจัยส่วนบุคคลของตน  เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคน Gen Z (ช่วงอายุ 15-19 ปี) ที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 504 คน (13 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม 2566) และจากคน Gen Z (ช่วงอายุ 18-26 ปี) ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย จำนวน 500 คน (13-15 กันยายน 2566)</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">1. ข้อคำถาม คน Gen Z มัธยมปลาย ว่า “ท่านคิดว่า ควรให้คนอายุ 20 ปีบริบูรณ์ สามารถสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ได้หรือยัง”</span></h2>
<p>ผลการวิจัยพบว่า</p>
<p>คน Gen Z มัธยมปลาย เห็นว่าควรสมัครได้ ร้อยละ 51.2 (258 คน) เห็นว่ายังสมัครไม่ได้ ร้อยละ 20.8 (105 คน) ไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 28.0 (141 คน)</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53523240874_687c37c77d_b.jpg" /></p>
<p>จากการสัมภาษณ์เชิงลึก คน Gen Z มัธยมปลาย เห็นว่าคนอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ควรสมัคร สส. ได้ ให้เหตุผล เช่น เป็นผู้ใหญ่แล้ว, เป็นเกณฑ์ของสังคมไทยมาแต่อดีตว่าโตแล้ว, เป็นคนรุ่นที่มีสิติปัญญาที่สอดรับกับยุคโลกาภิวัตน์, เป็นคนรุ่นใหม่ที่จะช่วยให้สังคมไทยหลุดออกจากหล่มสังคมเก่า, คนรุ่นใหม่มีความคิดและประสบการณ์ใหม่ๆ จะช่วยพัฒนาประเทศให้ดีขึ้นได้เร็วขึ้น, ควรยกเลิกระบบที่ทำให้คนสูงวัยเป็นผู้มีอำนาจในการเมืองการปกครองแต่ฝ่ายเดียว, จะทำให้การเมืองไทยมีสีสัน, คน Gen Z ที่มีจำนวนหลายล้านคนจะได้มีผู้แทนที่เป็นคนรุ่น Gen ของตนเอง, อายุ 18 ปีมีสิทธิเลือกตั้งได้แล้ว ดังนั้น อายุ 20 ปี ก็ต้องเป็น สส. ได้แล้ว, ที่จริงควรมีสิทธิสมัคร สส. ตั้งแต่อายุ 18 ปีเพราะมีสิทธิเลือกตั้งได้แล้ว, หลายประเทศที่พัฒนาแล้วก็ให้เป็น สส. เป็นรัฐมนตรีโดยใช้เกณฑ์ที่อายุ 18 ปี</p>
<p>คน Gen Z มัธยมปลาย เห็นว่า ยังสมัคร สส. ไม่ได้ ให้เหตุผล เช่น ยังไม่เป็นผู้ใหญ่, ยังโตไม่พอ, ยังศึกษาอยู่, ยังไม่มีวุฒิภาวะ, ยังไม่มีประสบการณ์มากพอ, ยังไม่ได้ทำงาน,</p>
<p>อธิบายโดยผู้วิจัย : สังคมไทยในอดีตใช้เกณฑ์อายุ 20 จึงบวชได้ เป็นเกณฑ์ของการมีวุฒิภาวะเป็นผู้ใหญ่ เมื่อเริ่มมีการตั้งผู้ใหญ่บ้านกำนัน พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 สมัย ร.6 ใช้เกณฑ์อายุ 20 ปีเป็นผู้ใหญ่บ้านกำนันได้ ต่อมาเมื่อปฏิวัติ 2475 คณะราษฎรใช้เกณฑ์อายุ 20 ปีทั้งชายหญิงให้มีสิทธิเลือกตั้ง และมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น สส. และเป็นรัฐมนตรีได้ แต่รัฐประหารที่เกิดขึ้นต่อมา จะมุ่งเขยิบเกณฑ์อายุให้สูงขึ้น เป็น 23 ปีโดยรัฐประหารปี 2476 ส่วนรัฐประหาร 2490 เขยิบเกณฑ์อายุ สส. สูงสุดในประวัติศาสตร์เป็น 35 ปีจึงสมัคร สส. ได้ รัฐธรรมนูญปี 2492 ลดลงมาเหลืออายุ 30 ปี จึงสมัคร สส. ได้ รัฐธรรมนูญฉบับ คสช. 2560 ให้อายุ 25 ปีมีสิทธิสมัคร สส. ได้ อายุ 35 ปี จึงมีสิทธิเป็นรัฐมนตรีได้ นี่คือการเมืองเรื่องอายุ ที่ฝ่ายรัฐทหารรัฐประหารมุ่งกีดกันคนอายุน้อยออกจากสนามแห่งอำนาจของไทยเพื่อรักษาระบอบเดิมไว้ให้ยาวนานที่สุด</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">2. ข้อคำถาม คน Gen Z มหาวิทยาลัย ว่า “ท่านคิดจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ในอนาคตหรือไม่”</span></h2>
<p>ผลการวิจัยพบว่า</p>
<p>คน Gen Z มหาวิทยาลัย คิดลงสมัคร สส. ร้อยละ 27.0 (135 คน) ไม่คิดลงสมัคร สส. ร้อยละ 52.0 (260 คน) ไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 21.0 (105 คน)</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53522027182_8b649fa2d3_b.jpg" /></p>
<p>จากการสัมภาษณ์เชิงลึก คน Gen Z มหาวิทยาลัย ที่คิดลงสมัคร สส. ในอนาคต ให้เหตุผล เช่น จะสร้างประเทศชาติให้เจริญได้ ต้องทำงานทางการเมือง, ถ้าได้เป็นรัฐบาล จะยิ่งสามารถสร้างชาติได้, ถ้าเป็น สส.ฝ่ายค้าน ก็จะตรวจสอบการคอรัปชั่นได้ดีขึ้น, จะตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้ดียิ่งขึ้น, จะช่วยเร่งรัดประสานให้ราชการและหน่วยท้องถิ่นมีการแก้ไขปัญหาของประชาชนได้ดีขึ้น, สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เพราะการเมืองไม่ใช่เรื่องของบ้านใหญ่, การเมืองไม่ใช่เรื่องของชนชั้นนำ, การเมืองไม่ใช่เรื่องของตระกูลเก่า, การเมืองไม่ใช่เรื่องของกลุ่มเศรษฐี, การเมืองไม่ใช่เรื่องของการซื้อเสียง, ประชาชนไทยต้องการความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น</p>
<p>กลุ่มที่ไม่คิดลงสมัคร สส. ให้เหตุผล เช่น ขอแค่เป็นคนกาบัตรลงคะแนนให้คนรุ่นใหม่ไปทำงาน, ส่วนตัวไม่ชอบอาชีพนี้ เพราะคิดว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ถ้าทำงานจริงจังจะไม่มีเวลาเป็นของตนเองและครอบครัว, อาชีพทุกอาชีพก็ร่วมสร้างชาติให้พัฒนาได้, ไม่ได้มองว่าเป็นอาชีพของคนไม่ดีแบบคนรุ่นก่อน แต่เป็นอาชีพที่มีงานรอบด้าน, งาน สส. ดูจะเป็นงานที่ต้องพูดเยอะคิดเยอะ, งาน สส. ดูจะต้องใช้อิเนอร์จี้เยอะ, งาน สส. ดูจะต้องปะทะเผชิญหน้ากับกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มอำนาจต่างๆ เยอะ, เป็นอาชีพของคนมีเงิน มีตระกูล, เป็นอาชีพของนักธุรกิจ ข้าราชการเกษียณระดับสูง, เป็นอาชีพไม่ซื่อสัตย์ต่อคำพูด,</p>
<p>อธิบายโดยผู้วิจัย : จำนวนผู้ที่ปรารถนาลงสมัคร สส. ในอนาคตมีร้อยละ 27 นับว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตเมื่อทศวรรษก่อนๆ เป็นอย่างยิ่ง เพราะกระบวนทัศน์ในอดีต คนหนุ่มสาวถูกทำให้ถอยห่างจากสนามการเมืองการเลือกตั้ง เว้นแต่เป็นคนมีตระกูลหรือคนบ้านใหญ่ ในปัจจุบัน มีคนเรียนในระดับมหาวิทยาลัยอยู่กว่า 1.4 ล้านคน หากมีคนจำนวน 1 ใน 4 ของคนรุ่นนี้เข้าสู่สนามการเมืองในอนาคต กล่าวได้ว่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมืองไทยไปอย่างมากทีเดียว</p>
<div class="note-box">
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อมูลพื้นฐาน</span></h2>
<p>Gen Z มัธยมปลาย (ข้อนี้ตอบ 504 คน)</p>
<p>เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากโรงเรียนมัธยมปลายในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑล สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร รวม 6 จังหวัด</p>
<p>มีผู้ตอบคำถามทั้งสองข้อนี้ข้อละ 501 คน</p>
<p>เพศ : หญิง 235 คน (46.6%) ชาย 232 คน (46.0%) เพศหลากหลาย 37 คน (7.4%)</p>
<p>โรงเรียนมัธยมปลาย: กรุงเทพฯ 109 คน (21.6%) สมุทรปราการ 160 คน (31.7%) นครปฐม 90 คน (17.9%) ปทุมธานี 117 คน (23.2%) นนทบุรี 20 คน (4.0%) สมุทรสาคร 8 คน (1.6%)</p>
<p>(หมายเหตุ: ปี 2566 โรงเรียนมัธยมปลายทั้งประเทศ มี 2505 โรง มีนักเรียน 1,073,311 คน)</p>
<p>อายุ : อายุ 15 ปี 104 คน (20.6%) อายุ 16 ปี 136 คน (27.0%) อายุ 17 ปี 130 คน (25.8%) อายุ 18 ปี 95 คน (18.8%) อายุ 19 ปี 39 คน (7.8%)</p>
<p>ระดับชั้นการศึกษา : ม.4 จำนวน 182 คน (36.9%) ม.5 จำนวน 129 คน (26.2%) ม.6 จำนวน 182 คน (36.9%) (ระบุข้อนี้ 493 คน)</p>
<p>Gen Z มหาวิทยาลัย (ข้อนี้ตอบ 500 คน)</p>
<p>เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม : หญิง 298 คน (59.6%) ชาย 150 คน (30.0%) เพศหลากหลาย 52 คน (10.4%)</p>
<p>โรงเรียนที่ท่านจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากเขตภูมิภาคใด : กรุงเทพฯ 128 คน (25.6%) ภาคกลาง 178 คน (35.6%) ภาคเหนือ 41 คน (8.2%) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 80 คน (16.0%) ภาคใต้ 73 คน (14.6%)</p>
<p>อายุของผู้ตอบแบบสอบถาม อายุ 18 ปี 232 คน (46.4%) อายุ 19 ปี 184 คน (36.8%) อายุ 20 ปี 54 คน (10.8%) อายุ 21 ปี 20 คน (4.0%) อายุ 22 ปี 8 คน (1.6%) อายุ 23 ปี 1 คน (0.2%) อายุ 24 ปี 1 คน (0.2%) อายุ 25 ปี 0 คน (0%) อายุ 26 ปี 0 คน (0%)</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108030
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - 'ธำรงศักดิ์' เผยผลสำรวจ นศ.ป.ตรี Gen Z 60% ไม่เชื่อมั่น ครม.เศรษฐา จะทำตามสัญญาหาเส
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 105 กระทู้ล่าสุด 25 กันยายน 2566 18:30:15
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'ธำรงศักดิ์' เผยผลสำรวจ นศ.ป.ตรี Gen Z 60% ไม่เชื่อมั่น ครม.เศรษฐา จะทำตามสัญญาหาเส
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 82 กระทู้ล่าสุด 26 กันยายน 2566 09:56:06
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'ธำรงศักดิ์' เผยผลสำรวจ นักเรียน ม.ปลาย 69% หนุนเลิกเข้าแถวหน้าเสาธง 68% เลิกวิช
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 53 กระทู้ล่าสุด 22 มกราคม 2567 03:42:59
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'ธำรงศักดิ์' เผยผลสำรวจนักเรียน ม.ปลาย ไม่อยากเรียนกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมแล
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 37 กระทู้ล่าสุด 19 กุมภาพันธ์ 2567 07:54:14
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'ธำรงศักดิ์' เผยผลสอบถามปมศาสนา 'ทั้งประเทศ' ระบุ 'ไม่มีศาสนา' 2% ขณะที่ ม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 56 กระทู้ล่าสุด 04 มีนาคม 2567 04:41:19
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.145 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 02 พฤษภาคม 2567 19:03:44