[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
05 พฤษภาคม 2567 06:17:11 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - กระบวนการสร้างข้อเสนอเพื่อนำไปสู่การได้มาซึ่ง สสร.และรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนใ  (อ่าน 34 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2567 08:06:47 »

กระบวนการสร้างข้อเสนอเพื่อนำไปสู่การได้มาซึ่ง สสร.และรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนในสถานการณ์หลังความขัดแย้ง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-02-12 00:06</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สามชาย ศรีสันต์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="note-box">
<p><span style="color:#2980b9;">บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย การสร้างความหมายรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ตามแนวทางรัฐธรรมนูญนิยมทางสังคม วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์</span></p>
</div>
<p>ภายใต้สถานการณ์ของการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง และกระแสการเรียกร้องถึงความจำเป็นสำหรับการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมใหม่ ที่มีตัวแสดงทางการเมืองสำคัญซึ่งได้แก่เยาวชน คนหนุ่มสาว องค์กรชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ได้รวมกันเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงสังคมในระดับโครงสร้าง  เสนอให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยเฉพาะหมวดที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ ขณะที่มวลชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์มีการรวมกลุ่มกันหลากหลายเพื่อต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  กลไกของรัฐทั้งฝ่ายความมั่นคง ตุลาการ ข้าราชการ บังคับใช้กฎหมายและดำเนินมาตรการเข้มงวดต่อการชุมนุมประท้วง ตลอดจนพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  </p>
<p>ปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมไทยเกิดความขัดแย้งที่ชัดเจนสำหรับการกำหนดโครงสร้างของสังคมในสถานะ และบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นจุดแกนกลางสำคัญของความเห็นที่แตกต่างกัน นำไปสู่การปกป้องรักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 ฝ่ายหนึ่ง กับอีกฝ่ายที่ต้องการให้ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนขึ้นแทนที่ </p>
<p>ข้อเสนอนี้ตั้งอยู่บนสถานการณ์ของการประนีประนอม ที่จะทำให้การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สามารถเกิดขึ้นได้ และผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา  โดยรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องเป็นไปเพื่อสร้างข้อตกลงใหม่ร่วมกัน ออกแบบรัฐ  และการสร้างสัญญาประชาคม (social contract) ที่คนในชาติจะยอมรับเพื่อการอยู่ร่วมกัน ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่จะเข้ามาแก้ปัญหาให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เสียผลประโยชน์ ตกเป็นฝ่ายที่ถูกกระทำ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐธรรมนูญ ดังเช่นการฉีกรัฐธรรมนูญและร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่ผ่านมาของไทย แต่จะต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่จัดวางโครงสร้างใหม่ พัฒนาประชาธิปไตยให้ก้าวหน้า และสร้างตัวตน อัตลักษณ์ความเป็นไทยที่มาจากกลุ่มคน วัฒนธรรมที่หลากหลาย สร้างระบบคุณค่าต่อระบบการเมือง สถาบันทางการเมืองที่มีความยั่งยืน ลดสิทธิพิเศษ อำนาจที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ นับรวมกลุ่มคนทุกกลุ่มในสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วม  การออกแบบรัฐธรรมนูญในลักษณะนี้เท่านั้นที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติได้ (International Institute for Democracy and Electoral Assistance 2011: 1-20)</p>
<p><strong>1. ตัวแสดงทางการเมืองในฐานะกลุ่มผลประโยชน์ และภาคประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ</strong></p>
<p>การเจรจาสันติภาพเป็นขั้นตอนสำคัญก่อนการออกแบบรัฐธรรมนูญ ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่ได้ประโยชน์ และสูญเสียประโยชน์จากรัฐธรรมนูญปี 2560 จะต้องสร้างกระบวนการให้เกิดการพูดคุยเจรจาเพื่อออกแบบโครงสร้างของประเทศที่ยอมรับร่วมกัน  จากประสบการณ์ในหลายประเทศ หากปราศจากกระบวนการเจรจาสันติภาพที่สร้างข้อตกลงร่วมกันได้ในระดับหนึ่งแล้ว กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย (Wahiu 2011: 6) การศึกษาของวิจัยนี้พบว่า ผู้มีส่วนได้เสียไม่เพียงแต่พรรคการเมืองสองฝ่าย (แบ่งโดยจุดยืนที่มีต่อ มาตรา 112) แต่ยังมีประชาชนที่แบ่งเป็นสองฝ่าย  นอกจากนั้นยังมีกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากรัฐธรรมนูญได้แก่  กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มคนทำงานทั้งในสถานประกอบการและรับจ้างอิสระ กลุ่มเกษตรกรผู้สูญเสียที่ดินทำกิน กลุ่มชาติพันธุ์และคนไทยพลัดถิ่น ตลอดจนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ควบคุมพิเศษ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มคนเหล่านี้มีข้อเรียกร้องในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ เป็นการเฉพาะในประเด็นปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ เนื่องจากอดีตที่ผ่านมาเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับการรับรองในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ  ซึ่งเกิดจากการไม่ยอมรับความแตกต่างทางอัตลักษณ์ วิถีชีวิตภายใต้วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น  และกลุ่มเหล่านี้ยังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 นอกจากนั้นยังมีกลุ่มผู้ถูกจับกุมดำเนินคดีทางการเมือง และคดีเกี่ยวกับความมั่นคงอีกจำนวนหนึ่งที่ถูกกระทำจากการรัฐประหาร และใช้รัฐธรรมนูญ 2560</p>
<p>ดังนั้นจึงควรมีเวทีสำหรับการเจรจาสันติภาพเพื่อวางแนวทางการออกแบบรัฐธรรมนูญ ที่เปิดโอกาสให้ผู้แทนกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้ได้เจรจากัน ในรูปของคณะกรรมการซึ่งควรประกอบไปด้วย ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน ตัวแทนภาคแรงงาน ตัวแทนเกษตรกร ตัวแทนเยาวชน ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ และคนไทยพลัดถิ่นในพื้นที่ นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ มาทำงานร่วมกันเพื่อสร้างข้อตกลงร่วมสำหรับการกำหนดโครงสร้าง และบรรทัดฐานที่จะเปลี่ยนผ่าน โดยเสนอแนวทางของการเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อออกแบบโครงสร้างที่เป็นไปได้มากที่สุด สำหรับการยอมรับร่วมกันของคนในชาติ คณะกรรมการชุดนี้จะต้องเป็นตัวแทนที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในหลากหลายกลุ่ม และทำหน้าที่ในลักษณะคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองและคณะกรรมการสมานฉันท์ โดยใช้รัฐธรรมนูญที่จะยกร่างขึ้นใหม่เป็นกลไกของการสร้างสันติภาพ</p>
<p><strong>2. ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างความหมายทางสังคมให้กับรัฐธรรมนูญ</strong></p>
<p>รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เกิดขึ้นได้ก็ด้วยข้อเรียกร้อง การณรงค์เคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม ในกระบวนการเจรจาสันติภาพ เพื่อหาทางออกสำหรับโครงสร้างที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่าย รัฐบาล ฝ่ายความมั่นคง จะต้องหยุดแทรกแซง และสนับสนุนงบประมาณ ช่องทางการเผยแพร่ และเปิดให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหว กิจกรรมรณรงค์ กระบวนการให้ความรู้ และสร้างกระแสการถกเถียง การแสวงหาทางออก เทคนิค รูปแบบ นวัตกรรมที่จะถูกนำมาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ความขัดแย้ง ความรุนแรง และความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นได้อีกในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะมีขึ้น การเคลื่อนไหวทางสังคมจึงเป็นกระตุ้น ติดตาม และช่วยส่งเสริมให้คณะกรรมการสร้างข้อตกลงร่วมและเสนอแนวทางการเขียนรัฐธรรมนูญ สามารถเชื่อมต่อกับภาคประชาสังคมและทำงานได้รวดเร็วขึ้น ข้อเสนอที่เกิดขึ้นอาจไม่สร้างความพึงพอใจให้กับทุกฝ่าย แต่อย่างน้อยที่สุดต้องทำให้ทุกฝ่ายยอมรับได้ วาระการเจรจา พูดคุยเพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ จึงควรเป็นวาระแห่งชาติสำหรับรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศเพื่อสร้างความเห็นพ้องต้องกันให้ได้มากที่สุดสำหรับรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะยกร่างขึ้น ทางออกของความขัดแย้งคือการสร้างฉันทามติร่วมกันของคนทุกกลุ่มให้ได้มากที่สุด จึงต้องเปิดให้มีส่วนร่วมและสร้างอนาคตที่ต้องการร่วมกัน (Brandt et al. 2011: 22) แม้ว่าจะต้องใช้เวลานานแต่ขั้นตอนนี้เป็นความจำเป็นสำหรับการออกแบบอนคตของประเทศในระยะยาวร่วมกัน</p>
<p><strong>3. กลไกการไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน</strong></p>
<p>กลไกสำหรับการสร้างการยอมรับ และความเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญของคนในชาติเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการปกป้องรักษาให้รัฐธรรมนูญมีความมั่นคง เป็นหลักยึดสำหรับการเมือง การปกครอง และจัดระเบียบทางสังคม กลไกการยกร่างรัฐธรรมนูญจึงต้องสร้างการมีส่วนร่วมการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ต้องมาจากประชาชน รัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นหลังรัฐธรรมนูญ 2560 จึงต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่เริ่มต้นมาจากภาคประชาสังคม และในกระบวนการยกร่างใหม่ต้องเปิดให้มีการสื่อสารทางการเมืองสองทาง ก่อนที่จะมีการทำประชามติจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากคนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผลประโยชน์ผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนที่ได้รับผลกระทบ หลักการสำคัญจึงได้แก่การนับรวม (inclusion) คนทุกกลุ่มให้มีส่วนเสนอประเด็น เนื้อหาที่ต้องการจะบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และในท้ายที่สุดวิธีการที่จะสร้างความชอบธรรมให้เกิดการยอมรับ และการเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญได้ดีที่สุด คือการประชามติต่างร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกยกร่างขึ้น ดังนั้นโดยหลักการแล้วรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเป็นเจ้าของจะต้องมาจากประชาชน ในขั้นตอนการยกร่างจะต้องเปิดให้มีการแสดงความเห็น การคัดค้าน สนับสนุน โดยเปิดช่องทางการสื่อสารให้กับทุกฝ่าย เป็นการสื่อสารสองทางระหว่างผู้ทำหน้าที่ยกร่างและประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ ในรูปของการปรึกษาหารือ นับรวมคนทุกกลุ่ม และท้ายที่สุดคือการเปิดให้มีการออกเสียงประชามติ (Saati 2016: 18-28) ดังนั้นกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ที่ดีที่สุดในสถานการณ์หลังความขัดแย้ง (post conflict) คือการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ผู้ยกร่างมาจากประชาชนทุกกลุ่มในสังคม</p>
<p style="text-align:justify; margin:0in 0in 8pt"><strong>4. สภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่มาจากประชาชน</strong></p>
<p>ในรายงานการออกแบบองค์กรผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญของ องค์การสหประชาชาติระบุว่า องค์กรยกร่างรัฐธรรมนูญมีที่มาจากสองแหล่งสำคัญคือ ผู้เขี่ยวชาญ บุคคลที่เป็นกลางทางการเมือง และนักการเมืองหรือผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งสองกลุ่มมีข้อดีข้อเสียต่างกัน ผู้เชี่ยวชาญจะไม่ถูกสถานการณ์ทางการเมือง พรรคการเมืองที่ครองอำนาจอยู่เข้ามาแทรกแซงได้มากนัก และอาจสร้างความเชื่อใจ และการยอมรับจากนักการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ได้มากกว่า สามารถมองปัญหาในภาพกว้างกว่ากลุ่มที่มีส่วนได้เสียกับรัฐธรรมนูญโดยตรง แต่ข้อเสียที่เกิดขึ้นคือรัฐธรรมนูญที่ยกร่างขึ้นอาจไม่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมือง หรือรัฐบาลที่มีอำนาจ และเป็นการยากที่จะสามารถแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญที่มีความเป็นกลางทางการเมือง  ขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากนักการเมือง หรือตัวแทนที่ถูกเลือกมาจากประชาชน มีจุดแข็งที่สามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าจะสามารถสร้างข้อตกลงร่วมกันในกลุ่มนักการเมืองได้ง่ายขึ้น เพราะคนเหล่านี้เกี่ยวข้องและมีบทบาทในทางการเมืองอยู่แล้ว  แต่ข้อเสียคืออาจจะไม่มีความชำนาญในกฎหมายรัฐธรรมนูญ และเข้าใจสถานการณ์ได้ลึกซึ้งเท่ากับนักวิชาการ และอาจสร้างความเห็นพ้องต้องกันให้กับสังคมได้ยาก สหประชาชาติระบุว่าจะเลือกที่มาขององค์กรยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับ กฎหมาย สถานการณ์ทางการเมือง บริบททางสังคมและความมั่นคงของประเทศ แต่สิ่งสำคัญคือ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่สามารถร่างรัฐธรรมนูญขึ้นจากการยอมรับร่วมกันภายใต้กระบวนการเจรจา และการนับรวมให้ประชาชนได้มีส่วนในการตัดสินใจรวมทั้งผู้ร่างจะต้องเป็นตัวแทนของผู้มีส่วนได้เสียในทุกกลุ่ม (Constitutionmaker 2014: 1-9) อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยมั่นคงจะต้องทำให้การยกร่างปลอดพ้นจากอำนาจ การแทรกแซงของฝ่ายการเมือง การต่อรองของผู้ปกครอง โดยสร้างสถาบันที่สามารถสร้างกระบวนการตัดสินใจ หรือสร้างแนวร่วมที่มีความเห็นตรงกัน ปกป้องผลประโยชน์ของการเมือง สถาบันที่ทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญไม่จำเป็นต้องทำให้เกิดความเห็นพ้องต้องกันในทุกเรื่อง แต่ต้องทำให้เกิดความชอบธรรม และทำให้สถาบันตุลาการคอยถ่วงดุลยอำนาจรัฐบาล (Negretto 2020: 106)</p>
<p>ในบริบทของประเทศไทย เป็นความเห็นพ้องต้องกันของภาคประชาชนที่ไม่ต้องการให้พรรคการเมือง นักการเมือง เป็นผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งไม่เห็นด้วยสำหรับการแต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่มาจากผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากไม่ไว้วางใจว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะสามารถเป็นตัวแทนของกลุ่มทางสังคมที่มีความหลากหลายในสังคมไทยได้ ข้อเสนอของภาคประชาชนคือการให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนทั้งหมด  อย่างไรก็ตามแนวทางนี้มีสิ่งที่น่าเป็นห่วง 3 ประการ คือ</p>
<p>1) ผู้ที่ได้รับเลือกเข้ามายกร่างรัฐธรรมนูญ อาจไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์มากเพียงพอสำหรับการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยละเลยปัญหาเชิงโครงสร้างที่ดำรงอยู่และเป็นเงื่อนไขสำคัญของความขัดแย้ง ซึ่งต่างจากที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในปี 2539 ที่กำหนดให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ 76 คน มาจากตัวแทนระดับจังหวัด และอีก 23 คนมาจากนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา<a href="#_ftn1" name="_ftnref1" title="" id="_ftnref1">[1][/url]</p>
<p>2) นอกจากนั้นการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยตรงตามข้อเสนอของภาคประชาชนมีเจตนาสำคัญที่ไม่ต้องการให้พรรคการเมือง นักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ปัจจุบันเป็นที่ชัดเจนว่า พรรคการเมืองแบ่งเป็น 2 ขั้วอย่างชัดเจน   และท้ายที่สุดพรรคการเมืองที่มีที่นั่งในสภาฯ เหล่านี้จะเป็นผู้ออกเสียงลงคะแนนให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบกับรัฐธรรมนูญที่ยกร่างขึ้นใหม่ หากตัดกระบวนการมีส่วนร่วมของพรรคการเมืองตั้งแต่กระบวนการแรกของการได้มาซึ่ง สสร. โอกาสที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะไม่ผ่านความเห็นชอบจึงมีโอกาสเป็นไปได้</p>
<p>3) จากการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ได้แก่กลุ่มผู้เปราะบาง และผู้ที่ถูกกันแยกออกไปจากการได้รับความคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญ กลุ่มคนเหล่านี้ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้มีความหลากหลายทางเพศ เยาวชน ผู้ใช้แรงงานทั้งแรงงานในประเทศและแรงงานข้ามชาติ ผู้พลัดถิ่น และเกษตรกรรายย่อย ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองและความมั่นคง แน่นอนว่ากลุ่มทางสังคมเหล่านี้มีโอกาสน้อยมากที่จะได้รับเลือกให้เข้าเป็นตัวแทนยกร่างรัฐธรรมนูญหากมีการเลือกตั้งโดยไม่กำหนดสัดส่วน</p>
<p>ดังนั้นเพื่อลดข้อจำกัดของที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่อาจขาดความหลากหลายในความเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในสังคม รวมทั้งเพื่อให้เกิดการยอมรับร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้ผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายการเมือง  จึงเสนอให้กำหนดสัดส่วน สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งเป็น 2 ส่วนดังนี้</p>
<p>1) มาจากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอ 1 ใน 3 ของจำนวน สสร. ทั้งนี้บัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอต้องมีสัดส่วนผู้แทน กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้มีความหลากหลายทางเพศ เยาวชน ผู้ใช้แรงงาน ผู้พลัดถิ่น และเกษตรกรรายย่อย ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองและความมั่นคง ทั้งนี้กลุ่มเหล่านี้จะมีโอกาสได้รับเลือกเป็น สสร. ในระดับจังหวัดได้ยาก จึงกำหนดสัดส่วนไว้ในบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง</p>
<p>อีกกลุ่มที่ควรอยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง คือ สสร. ที่มาจากนักวิชาการในระดับอุดมศึกษา โดยพรรคการเมืองทำหน้าที่สรรหา บุคคลที่ได้รับการยอมรับนับถือ  และเชื่อมั่นจากประชาชน  ให้ความสำคัญกับผู้ที่สามารถจะถอดถอนตัวเองออกจากผลประโยชน์ในกลุ่มของตนเองได้มากที่สุด (veil of ignorance) เพื่อกำหนดกติกาทางสังคมของการอยู่ร่วมกันในสภาวะที่ประเทศแบ่งเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน  จึงกำหนดสัดส่วนของกลุ่มนักวิชาการแต่ละสาขา ที่มีความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทย  เป็นผู้มีทักษะที่สามารถจะออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อยุติปัญหาความขัดแย้ง และสร้างข้อตกลงใหม่ร่วมกันสำหรับประเทศไทย  อย่างไรก็ตามควรจำกัดบทบาทของผู้เชียวชาญ นักกฎหมายเชิงเทคนิคให้น้อยที่สุด การยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่ควรตั้งผู้เชียวชาญมาตรวจแก้ภายหลังไม่ใช่มาเป็นผู้ยกร่างตั้งแต่เริ่มต้น (Brandt et al. 2011: 27)</p>
<p>สสร.บัญชีรายชื่อพรรคการเมือง จะต้องได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน โดยคำนวณคะแนนแบบ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง</p>
<p>2) ส่วนที่สองให้มาจากการเลือกตั้งในเขตจังหวัด 2 ใน 3 และ โดยเลือกตั้งจากผู้สมัครอิสระที่จะต้องเปิดกว้างไม่จำกัด เพศ อายุ อาชีพ ทั้งนี้ควรเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น และแนวทางของการออกแบบรัฐธรรมนูญ เสนอให้ประชาชนเลือก วิธีนี้จะทำให้ลดอิทธิพลของพรรคการเมือง ที่จะแทรกแซงการเลือกตั้ง สสร. ในระดับจังหวัดด้วยเพราะพรรคการเมืองมี สสร. แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคตนเองเสนออยู่แล้ว</p>
<p>การกำหนดสัดส่วนเช่นนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการร่างรัฐธรรมนูญที่ต้องการหาทางออกสำหรับความขัดแย้งทางการเมือง ที่มีพรรคการเมืองสองฝ่ายเป็นตัวแทนของชนชั้นนำ และเป็นตัวแทนของประชาชนที่ผ่านระบบการเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้แทนในสภาฯ ทั้งพรรคการเมืองเหล่านี้ยังต้องทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบต่อรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะเขียนขึ้นด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องมี สสร. จากบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง เข้ามาทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะวางกติกาการอยู่ร่วมกันในสถานการณ์ความขัดแย้ง ต้องการประนีประนอม ภายใต้ความเห็นพ้องต้องกันของคนทุกกลุ่มในสังคม โดยเฉพาะอำนาจในระบอบเก่า และระบอบที่กำลังจะเปลี่ยนผ่าน</p>
<p>ขณะที่ผู้แทนในระดับจังหวัดที่มีสัดส่วนมากกว่าจะเป็นหลักประกันของความแตกต่างหลากหลายในถิ่นที่อยู่ วัฒนธรรม และการเข้าถึงสิทธิที่จะกำหนดจัดการตนเองของชุมชน ท้องถิ่นในจังหวัดนั้น</p>
<p> </p>
<p> </p>
<p style="margin: 0in 0in 8pt; text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53523152735_ab934b2221_h_d.jpg" style="width: 640px; height: 450px;" />
<a name="_Toc158216413" id="_Toc158216413">ข้อเสนอที่มาและสัดส่วนสภาร่างรัฐธรรมนูhttps://live.staticflickr.com/65535/53523125280_3c28fa5f2c_o_d.png" style="width: 640px; height: 360px;" />
<span style="color:#2980b9;">คณะรณรงค์รณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) หนึ่งในองค์กรเครือข่ายรัฐธรรมนูญคนจน ทำกิจกรรม "ทวงคืนมรดกคณะราษฎร ทวงสัญญารัฐธรรมนูญประชาชน" 24 มิถุนายน 2563 </span><span style="font-size:16pt"><span style="line-height:normal"><span style="font-family:&quot;TH Sarabun New&quot;,sans-serif"><a name="_Toc142225517" id="_Toc142225517"> [/url]</span></span></span><span style="color:#2980b9;"> </span></p>
<p><strong>สรุป</strong>
ขั้นตอนการสร้างข้อเสนอเพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนควรเริ่มต้นจาก</p>
<p>1. สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหนึ่งคณะ ในลักษณะเดียวกันกับคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตยทำหน้าที่ศึกษา วิจัย และ เป็นเวทีสำหรับการเจรจาสันติภาพเพื่อสร้างข้อเสนอแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในแต่ละประเด็นที่เป็นความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำรงอยู่ ข้อเสนอเหล่านี้จะต้องเป็นข้อเสนอที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด สำหรับข้อตกลงร่วมกันของคนในชาติที่จะไม่นำไปสู่ความขัดแย้งครั้งใหม่ขึ้นมาอีก</p>
<p>2. ให้มีการเลือกตั้ง สสร. จากประชาชน โดยแบ่ง สสร. เป็นสองประเภท คือ 1 ใน 3 จากบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองและ 2 ใน 3 จากผู้สมัครในแต่ละจังหวัด</p>
<p>3. ให้มีการรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอจากประชาชนทั้งประเทศโดยจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในระดับตำบล สสร. กำกับดูแลกระบวนการรับฟังความคิดเห็น</p>
<p>4. การยกร่างรัฐธรรมนูญอยู่ภายใต้กรอบข้อเสนอของคณะกรรมการที่สภาผู้แทนราษฎรตั้งขึ้น และผลการรับฟังความเห็นจากประชาชน เมื่อยกร่างแล้วเสร็จเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทั่วประเทศ แล้วจึงนำไปสู่การจัดทำประชามติ</p>
<p>สาระสำคัญที่เป็นศูนย์กลางของรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนได้แก่ สิทธิของประชาชน ซึ่งสำคัญที่สุดสำหรับการผลักดันให้เกิดรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน สิทธิเสรีภาพคือสิ่งที่จะสร้างความมั่นคงให้กับประชาชน ขณะเดียวกันถ้าเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ในเรื่องความมั่นคงของชาติ ที่ไม่ใช่เพียงความมั่นคงของรัฐ แต่ต้องเป็นความมั่นคงของประชาชนเป็นหลัก รัฐธรรมนูญที่จะสร้างบูรณาการ แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ความเหลื่อมล้ำของคนในชาติ จะต้องให้สิทธิเสรีภาพอย่างกว้างขวางแก่ประชาชน ซึ่งสิทธินี้รวมถึง สิ่งที่รัฐจะต้องจัดสรรให้ในรูปของสวัสดิการถ้วนหน้า สิทธิที่จะเป็นเจ้าของทรัพยากร สิทธิที่จะปกครองตนเอง สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม สิทธิที่จะรวมตัวกันต่อสู้เรียกร้องในรูปแบบขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม</p>
<p>ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญจึงควรมีลักษณะที่ยืดหยุ่น แก้ไขได้ง่าย และควรมีการทบทวนปรับปรุงเมื่อใช้ไปในระยะเวลาหนึ่งตามพลวัตรของสังคม   รัฐธรรมนูญทางสังคมต้องกลับทิศกลับทางของพื้นที่ความมั่นคงของประชาชนขึ้นไปอยู่ด้านบน และพื้นที่ความมั่นคงของรัฐอยู่ด้านล่าง โดยต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่โดยต้องเชื่อมั่นว่า <strong>รัฐจะมั่นคงได้ ต่อเมื่อประชาชนมั่นคง และการมีรัฐดำรงอยู่ได้ ก็ต้องเป็นรัฐที่มาจากประชาชนไม่ใช่กลุ่มคนที่ทำการยึดอำนาจไว้และสืบทอดส่งต่ออำนาจได้ตามอำเภอใจ</strong></p>
<p>รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ไม่ใช่เป็นเพียงตัวบท แต่เป็นสนามวาทกรรมของการต่อสู้ วาดภาพสังคมไทยร่วมกันเป็นการสะท้อนกลับสองทาง (double reflexivity) ระหว่างกฎหมายของผู้มีอำนาจ กับกฎหมายของกลุ่มทางสังคม จากระบบย่อยในสังคม (social subsystem) มาจากบริบททางสังคมที่แตกต่างซ้อนทับกันระหว่างกลุ่มทางสังคม เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้หยุดนิ่ง แช่แข็ง แต่เป็นกระบวนการ ความเคลื่อนไหว เพื่อจัดระเบียบการอยู่ร่วมกัน   ในบริบทของสังคมไทยรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนจะต้องสร้างองค์กรภาคประชาชนให้มีความเข้มแข็ง นับรวมบรรทัดฐานของกลุ่มขยายไปสู่บรรทัดฐานกลาง และเปิดพื้นที่ให้กับการเคลื่อนไหวเรียกร้องในรูปแบบขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยมีสิทธิ เสรีภาพ เป็นหัวใจสำคัญของการอยู่ร่วมกัน</p>
<p><strong>รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเป็นรัฐธรรมนูญทางสังคมในความหมายของ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรมซึ่งตกผลึกทางความคิดจากบทสนทนาของกลุ่มที่มีความแตกต่างหลากหลายในสังคมมีความเห็นพ้อง ยอมรับร่วมกันที่จะกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกันในสังคม</strong></p>
<p style="text-align:justify; margin:0in 0in 8pt"> </p>
<p><strong>อ้างอิง</strong></p>
<p>Brandt, Michele, Jill Cottrell, Yash Ghai, and Anthony Regan. 2011. Constitution-Making and Reform Options for the Process. Geneva: Interpeace.</p>
<p>Constitutionmaker, UN. 2014. Selecting Constitution-Making Bodies.</p>
<p>International Institute for Democracy and Electoral Assistance. 2011. Constitution Building after Conflict: External Support to a Sovereign Process. Stockholm.</p>
<p>Negretto, Gabriel L. 2020. “Replacing Constitutions in Democratic Regimes: Elite Cooperation and Citizen Participation.” Pp. 101–28 in Redrafting Constitutions in Democratic Regimes: Theoretical and Comparative Perspectives, Comparative Constitutional Law and Policy, edited by G. L. Negretto. Cambridge: Cambridge University Press.</p>
<p>Saati, Abrak. 2016. “Different Types of Participation in Constitution Making Processes : Towards a Conceptualization.” "Southern African Journal of Policy and Development 2(2):18–28.</p>
<p>Wahiu, Winluck. 2011. A Practical Guide to Constitution Building: An Introduction. Stockholm.</p>
<p>สามชาย ศรีสันต์. 2567. รายงานวิจัย การสร้างความหมายรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ตามแนวทางรัฐธรรมนูญนิยมทางสังคม. กรุงเทพฯ.</p>
<div> 

<hr align="left" size="1" width="33%" />
<div id="ftn1">
<p class="MsoFootnoteText" style="text-align:justify; margin:0in"><span style="font-size:10pt"><span style="text-justify:inter-cluster"><span style="font-family:&quot;TH Sarabun New&quot;,sans-serif"><a href="#_ftnref1" name="_ftn1" title="" id="_ftn1"><span class="MsoFootnoteReference" style="vertical-align:super"><span style="font-size:14.0pt"><span class="MsoFootnoteReference" style="vertical-align:super"><span style="font-size:14.0pt"><span style="line-height:107%"><span style="font-family:&quot;TH Sarabun New&quot;,sans-serif">[1]</span></span></span></span></span></span>[/url]<span style="font-size:14.0pt">  ในปี 2539 รัฐธรรมนูญระบุให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) แบ่งเป็นสองประเภท คือสมาชิก สสร. ประเภท ‘ตัวแทนจังหวัด’ กำหนดอายุขั้นต่ำ 35 ปี และจบการศึกษาปริญญาตรี โดยเปิดให้มีการลงสมัคร และเลือกกันเองให้เหลือ 10 คน แล้วให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอรายชื่อส่งให้รัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาเลือกผู้แทนของแต่ละจังหวัด 1 คน รวม 76 คน  ส่วนสมาชิกอีกประเภทคือ ‘คณะผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์’ มาจากสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการเรียนการสอนและให้ปริญญาในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ คัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติประเภทละไม่เกิน 5 คน เสนอต่อประธานรัฐสภา เพื่อใ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 356 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 363 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 270 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 278 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 210 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.206 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 14 มีนาคม 2567 01:52:26