[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 12 มีนาคม 2567 05:00:35



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ผู้เชี่ยวชาญ UN ร้องเรียกร้องความจริง-ความยุติธรรม หลัง 'ทนายสมชาย' ถูกอุ้มหา
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 12 มีนาคม 2567 05:00:35
ผู้เชี่ยวชาญ UN ร้องเรียกร้องความจริง-ความยุติธรรม หลัง 'ทนายสมชาย' ถูกอุ้มหายร่วม 20 ปี
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-03-11 21:12</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก : นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี จัดโครงการวิชาการ "You lost We born 20 ปี การถูกอุ้มหายของทนายสมชาย นีละไพจิตร" เมื่อวันที่ 29 ก.พ.2567</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติเรียกร้องความจริงและความยุติธรรมหลังทนายสมชายถูกกระทำให้สูญหายร่วม 20 ปี</p>
<p> </p>
<p>11 มี.ค.2567 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า วันนี้ (11 มี.ค.67) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ กล่าววันนี้ว่า ประเทศไทยต้องเปิดเผยชะตากรรมและถิ่นที่อยู่ของ สมชาย นีละไพจิตร ทนายความสิทธิมนุษยชนซึ่งถูกกระทำให้สูญหายเมื่อ 20 ปีก่อน</p>
<p>“เจ้าหน้าที่ไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศของประเทศไทย สอบสวนอาชญากรรมที่เกิดขึ้น และนำผู้กระทำผิดที่ทำให้คุณสมชายสูญหายมารับผิดทางอาญา” กลุ่มผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติกล่าว</p>
<p>มีการสันนิษฐานว่า สมชาย นีละไพจิตร นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและสมาชิกอาวุโสของสมาคมทนายความสองแห่งในประเทศไทย ถูกกระทำให้สูญหายไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2547 โดยเชื่อว่าสาเหตุการหายตัวไปของเขามีความเกี่ยวข้องกับการทำงานในฐานะทนายความเพื่อปกป้องสิทธิของชาวมุสลิมซึ่งถือเป็นชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย จนถึงปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดถูกดำเนินคดีเพื่อรับผิดชอบต่อการกระทำให้คุณสมชายสูญหาย</p>
<p>“คดีดังกล่าวเป็นตัวอย่างให้เห็นอย่างประจักษ์ชัดถึงผลกระทบอันร้ายแรงและยาวนานของการกระทำให้สูญหายต่อสมาชิกครอบครัวของผู้เสียหาย นับเป็นการละเมิดสิทธิในการรับรู้ความจริงและการได้รับความยุติธรรมที่ญาติของผู้เสียหายพึงมีทุกประการ” กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกล่าว</p>
<p>อังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของสมชายและบุตรทั้งห้าคนต่างมีชีวิตอยู่กับความเจ็บปวดรวดร้าว หลังจากที่คุณสมชายถูกกระทำให้สูญหาย อีกทั้งยังต้องเผชิญกับความไม่รู้ถึงชะตากรรมและถิ่นที่อยู่ของเขา</p>
<p>“คุณอังคณา นีละไพจิตรไม่สยบยอมต่อความสิ้นหวังหลังจากสามีถูกกระทำให้สูญหาย และได้พยายามเสาะแสวงหาความจริงและความยุติธรรมอย่างไม่หยุดยั้งในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชนตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา” กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกล่าว</p>
<p>ทั้งนี้ อังคณา นีละไพจิตร ประกอบอาชีพพยาบาลโดยไม่มีประสบการณ์หรือได้รับการอบรมทางกฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรมมาก่อน</p>
<p>“บ่อยครั้งผู้หญิงมักเป็นแนวหน้าของการต่อสู้เพื่อยุติการกระทำให้บุคคลสูญหาย ทั้งตั้งองค์กรและสมาคมเพื่อตามหาคนที่พวกเขารัก เอาชนะอุปสรรคนานับประการ ก้าวข้ามการเหมารวมทั้งหลาย อีกทั้งขจัดลำดับชั้นทางเพศ” กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกล่าว</p>
<p>“คุณอังคณา เป็นผู้จุดประกายสิทธิในการรับรู้ความจริงและยังเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ” กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกล่าวเพิ่มเติม</p>
<p>เมื่อปี 2548 อังคณา นีละไพจิตร ได้รายงานคดีการสูญหายของสามีต่อคณะทำงานแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยบังคับหรือไม่สมัครใจ (The United Nations Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances) และคดีดังกล่าวยังคงค้างอยู่ในการดูแลของคณะทำงานฯ คุณอังคณาเผชิญทั้งการข่มขู่และการตอบโต้กลับ (reprisals) จากความพยายามในการรับรู้ชะตากรรมและถิ่นที่อยู่ของสามี และเรียกร้องความยุติธรรม แต่กลับไม่ยอมแพ้เพื่อให้ได้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวทั้งของสามี และผู้เสียหายอีกหลายพันคนในประเทศไทยและทั่วโลก การข่มขู่และการตอบโต้กลับที่คุณอังคณาพบเจอและความจำเป็นที่เธอต้องได้รับการคุ้มครองเป็นประเด็นที่ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติ ( UN Special Procedures) ได้หยิบยกขึ้นต่อทางการไทยในปี 2554 2557 และ 2566   </p>
<p>ในปี 2565 คุณอังคณา นีละไพจิตร เป็นผู้หญิงเอเชียคนแรกที่ได้เป็นสมาชิกของคณะทำงานแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยบังคับหรือไม่สมัครใจ “การปฏิบัติหน้าที่ในคณะทำงานฯ ของคุณอังคณามีความหมายอย่างที่สุดต่อญาติของผู้สูญหายทั่วโลก และสื่อถึงความหมายอันทรงพลังของการยืนหยัดขึ้นอีกครั้ง (resilience) และความหวัง” กลุ่มเชี่ยวชาญกล่าว</p>
<p>“ยี่สิบปีผ่านไป ความจริง ความยุติธรรมและการเยียวยาในคดีการกระทำให้คุณสมชาย นีละไพจิตรสูญหายสามารถเกิดขึ้นได้ และต้องเกิดขึ้นโดยไม่ล่าช้าอีกต่อไป” กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกล่าว</p>
<p>อนึ่ง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วย Aua Baldé (ประธานและผู้รายงาน), Gabriella Citroni (รองประธาน), Grażyna Baranowska, Ana Lorena Delgadillo Pérez คณะทำงานว่าด้วยการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยบังคับหรือไม่สมัครใจ; Margaret Satterthwaite ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและทนายความ; Mary Lawlor  ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน; Dorothy Estrada Tanck (ประธาน), Claudia Flores, Ivana Krstić, Haina Lu, และ Laura Nyirinkindi คณะกรรมการว่าด้วยการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและเด็ก; Olivier de Frouville (ประธาน), Matar Diop (รองประธาน), Milica Kolakovic-Bojovic (รองประธาน), Horacio Ravenna (รองประธาน), Juan Pablo Albán Alencastro (ผู้รายงาน), Mohammed Ayat, Suela Janina, Fidelis Kanyongolo, Barbara Lochbihler, และ Carmen Rosa Villa Quintana, คณะกรรมการว่าด้วยการกระทำให้บุคคลสูญหาย</p>
<p>สำหรับ “ผู้รายงานพิเศษ” “ผู้เชี่ยวชาญอิสระ” และ “คณะทำงานของสหประชาชาติ” เป็นส่วนหนึ่งของกลไกพิเศษ (Special Procedures) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน “ผู้รายงานพิเศษ” ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญอิสระที่มีจำนวนมากที่สุดในระบบสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ เป็นคำเรียกทั่วไปของกลไกอิสระที่ทำหน้าที่ค้นหาความจริงและติดตามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเทศใดประเทศหนึ่งโดยตรงหรือประเด็นใดประเด็นหนึ่งทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้รายงานพิเศษนี้ทำงานด้วยความสมัครใจ พวกเขาไม่ใช่เจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติและไม่ได้รับเงินเดือนจากการทำงานในฐานะผู้รายงานพิเศษ พวกเขาทำงานเป็นอิสระจากรัฐบาลหรือหน่วยงานใด และทำงานในฐานะปัจเจกบุคคล</p>
<p>คณะกรรมการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการกระทำให้บุคคลสูญหาย มีหน้าที่ติดตามรัฐภาคีในการทำตามพันธกรณีที่มีต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ ปัจจุบันมีรัฐภาคี 72 ประเทศ คณะกรรมการฯ มีสมาชิก 10 คนซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสิทธิมนุษยชนจากทั่วโลก ทำงานในฐานะปัจเจกบุคคลและไม่ได้เป็นตัวแทนของรัฐภาคี</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สมชาย นีละไพจิตร[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B2-%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อังคณา นีละไพจิตร[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การกระทำให้บุคคลสูญหาย[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การอุ้มหาย[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108392