[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: sometime ที่ 01 มีนาคม 2553 16:10:58



หัวข้อ: โลภะ
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 01 มีนาคม 2553 16:10:58
(http://img200.imageshack.us/img200/8526/34156436.jpg)


http://www.fungdham.com/download/song/allhits/29.mp3


แทนที่จะสนใจในอกุศลจิตของผู้อื่น เราควรจะระลึกรู้อกุศลจิตของเราเอง
ถ้าเราศึกษาและเข้าใจจิตประเภท ต่าง ๆ มากขึ้น เราก็จะรู้ด้วยตนเองว่า จิตประเภทใดเกิดบ่อยและเราก็จะรู้จักตัวเองดีขึ้น
โลภะมีลักษณะ ยึดมั่น หรือ ติดข้อง
ขณะใดที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจปรากฏ ขณะนั้นโลภะย่อมเกิดขึ้นวันหนึ่ง ๆ โลภะเกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วน
อารมณ์ที่ดีซึ่งสามารถรู้ได้ทางทวาร 5 นั้นว่า กามคุณ 5
โสมนัสซึ่งเกิดกับโลภมูลจิตต่างกับโสมนัสซึ่ง เกิดกับกุศลจิต
โลภะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เมื่อเราต้องพลัดพรากจากบุคคลผู้เป็นที่รักหรือสูญเสียสิ่งที่รัก เราย่อมเป็นทุกข์
ทิฏฐิเป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดพร้อมกับ โลภมูลจิต
การยึดถือร่างกายว่าเป็นตัวตนนั้นเป็น ความเห็นผิด อย่างหนึ่ง ในภาษาบาลีเรียกว่า ทิฏฐิ
เวทนา ที่เกิดพร้อมกับโลภมูลจิตนั้น อาจเป็น โสมนัสเวทนา หรือ อุเบกขาเวทนา ก็ได้ แต่โทมนัสเวทนาจะไม่เกิดกับ โลภมูลจิต
ตัวอย่างของโลภ มูลจิตซึ่งไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิและเป็นสสังขาริกเช่น คนที่ตอนแรกไม่ดื่มสุราแต่เมื่อถูกชักชวนให้ดื่ม ตอนหลังก็มีความยินดีพอใจในการดื่มตัวอย่างของโลภมูลจิตที่ไม่ ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา เช่น ขณะที่เพลิดเพลินพอใจในสีสวย ๆ
หรือเสียงเพราะ ๆตัวอย่างของโลภะ มูลจิตซึ่งไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ  มีอุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย เช่น ขณะที่อยากจะยืนหรืออยากจะหยิบจับอะไร ๆจิตมีมากมายหลายประเภท มีอกุศลจิต จิตที่ไม่ดีงาม กุศลจิต จิตที่ดีงาม วิบากจิต จิตที่เป็นผล และกิริยาจิต จิตที่ไม่เป็นทั้งเหตุและผล จิตต่าง ๆเหล่านี้เกิดขึ้นในวันหนึ่ง ๆ แต่ว่าเราไม่ค่อยรู้เรื่องจิตเหล่านี้เลย โดยมากเราไม่รู้ว่า จิตเป็น อกุศล หรือ กุศล หรือ วิบาก หรือ กิริยา ถ้าเราพิจารณาสภาพ ของจิตก็จะเข้าใจตัวเองและผู้อื่นมากขึ้น เราจะมีความเมตตากรุณาต่อผู้อื่นมากขึ้น แม้ว่าผู้นั้นจะประพฤติไม่สมควร เราไม่ชอบอกุศลจิตของผู้อื่นเราไม่พอใจเมื่อผู้อื่นตระหนี่หรือกล่าววาจาหยาบคาย แต่เรารู้บ้างไหมว่าเรามีอกุศลจิตขณะไหนบ้าง ขณะที่เราไม่พอใจวาจาหยาบคายของผู้อื่นขณะนั้นเราเองมีอกุศลจิตซึ่งประกอบด้วยโทสะแทนที่จะสนใจในอกุศลจิตของผู้อื่น เราควรจะระลึกรู้อกุศลจิตของเราเองผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระอภิธรรมซึ่งอธิบาย สภาพธรรมไว้อย่างละเอียด อาจไม่รู้ว่าอะไรเป็นอกุศล อาจเข้าใจว่าอกุศลเป็นกุศล ฉะนั้นจึงสะสมอกุศลโดยไม่รู้ถ้าเราศึกษาและเข้าใจจิตประเภทต่าง ๆ มากขึ้นเราก็จะรู้ด้วยตนเองว่า จิตประเภทใดเกิดบ่อย และเราก็จะรู้จักตัวเองดีขึ้น........................................
เราควรรู้ความแตกต่างกันของ กุศล ธรรม และ อกุศลธรรม ในอัฏฐสาลินี จิตตุปปาทกัณฑ์ อธิบายคำว่า กุศล ว่ากุศลมีความหมายหลายอย่าง คือชื่อว่ากุศล เพราะอรรถว่าไม่มีโรคไม่มีโทษ เกิดแต่ความฉลาดมี วิบากที่น่าปราถนาเป็นสุข
ขณะให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนานั้นจิตเป็นกุศล กุศลต่าง ๆ เช่น อนุโมทนากุศลกรรมของผู้อื่นสงเคราะห์เกื้อกูลผู้อื่น ความสุภาพอ่อนโยน
ความอ่อนน้อม การรักษาศีล การศึกษาธรรม การแสดงธรรม การเจริญสมถะและการเจริญวิปัสสนานั้น รวมอยู่ในทาน ศีล หรือภาวนา กุศลมีวิบากที่น่าปราถนา กุศลกรรมทุกอย่างย่อมนำมาซึ่งวิบากที่น่าปราถนา.............................

 (:LOVE:)หมายเหตุ.................ขอเชิญดาวน์โหลดไฟล์ตามอัทยาศัย ขออนุโมทนา (:LOVE:)


หัวข้อ: Re: โลภะ
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 01 มีนาคม 2553 16:19:05
(http://img200.imageshack.us/img200/8526/34156436.jpg)


................................โลภมูลจิต 8 ดวงคือ......................................


จิตที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
เป็นอสังขาริก
โสมนสฺส สหคตํ ทิฏฺฐิคต สมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ
จิตที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
เป็นสสังขาริก
โสมนสฺส สหคตํ  ทิฏฺฐิคต สมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกเมกํ
จิตที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
เป็นอสังขาริก
โสมนสฺส สหคตํ ทิฏฺฐิคต วิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ
จิตที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
เป็นสสังขาริก
โสมนสฺส สหคตํ ทิฏฺฐิคต วิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกเมกํ
จิตที่เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
เป็นอสังขาริก
อุเปกฺขา สหคตํ ทิฏฺฐิคต สมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ
จิตที่เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
เป็นสสังขาริก
อุเปกฺขา สหคตํ  ทิฏฺฐิคต สมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกเมกํ
จิตที่เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
เป็นอสังขาริก
อุเปกฺขา สหคตํ ทิฏฺฐิคต วิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ
จิตที่เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
เป็นสสังขาริก
อุเปกฺขา สหคตํ ทิฏฺฐิคต วิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกเมกํ


หัวข้อ: Re: โลภะ
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 01 มีนาคม 2553 16:23:19
(http://img200.imageshack.us/img200/8526/34156436.jpg)


ฉะนั้น...จะเห็นว่าโลภมูลจิตเป็นอสังขาริกหรือสสังขาริกก็ได้ ในอัฏฐสาลินี มีตัวอย่างของโลภมูลจิตที่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิและเป็นสสังขาริกอุปมาว่า บุตรชายเศรฐีคนหนึ่งแต่งงานกับหญิงที่มีความเห็นผิด เขาจึงส้องเสพกับพวกที่มีความเห็นผิด ไม่ช้าเขาก็คล้อยตามและพอใจในความเห็นผิดนั้นตัวอย่างของโลภมูลจิต ซึ่งไม่ประกอบด้วย
มิจฉาทิฏฐิและเป็นสสังขาริก เช่น คนที่ตอนแรกไม่ดื่มสุรา แต่เมื่อถูกชักชวนให้ดื่ม ตอนหลังก็มีความยินดีพอใจในการดื่ม
จะเห็นได้ว่า โลภะ มูลจิตมีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย หรือ มีอุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วยก็ได้ ตัวอย่างของโลภมูลจิตที่ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา เช่น ขณะที่เพลิดเพลินพอใจในสีสวย ๆ หรือเสียงเพราะ ๆ ขณะนั้นเรายินดีพอใจโดยไม่ได้มีความเห็นเรื่องตัวตน เวลาเราชอบเสื้อผ้าสวย ๆ ไปดูหนัง หรือหัวเราะและคุยกับคนอื่นเรื่องความสนุกสนานต่าง ๆ ขณะนั้นเป็นความเพลิดเพลินที่ไม่มีมิจฉาทิฏฐิเกิดร่วมด้วย แต่ก็มีบางขณะที่มีมิจฉาทิฏฐิที่เห็นว่าเป็นตัวตนเกิดร่วมด้วยตัวอย่างของโลภะมูลจิตซึ่งไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีอุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย เช่น ขณะที่อยากจะยืนหรืออยากจะหยิบจับอะไร ๆ เพราะธรรมดาเราไม่ได้รู้สึกว่าเป็นสุขที่ทำอย่างนั้น ขณะนั้นก็เป็นโลภะที่เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าโลภะเป็นเหตุให้ทำสิ่งที่ธรรมดาที่สุดบ่อย ๆในชีวิตประจำวัน


หัวข้อ: Re: โลภะ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 มีนาคม 2553 18:44:03



(:LOVE:) (:LOVE:) (:LOVE:)
 (:SY:)