[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 พฤษภาคม 2567 19:23:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 6 ปีที่ไม่มีหนังสือ: โอกาสที่สูญเสียไปของเยาวชนชาวโรฮีนจา  (อ่าน 84 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 29 สิงหาคม 2566 16:24:41 »

6 ปีที่ไม่มีหนังสือ: โอกาสที่สูญเสียไปของเยาวชนชาวโรฮีนจา
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-08-29 15:55</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>Lucky Karim</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เดือนสิงหาคม ปี 2560 กองทัพเมียนมาปฏิบัติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชุมชนชาวโรฮีนจา ส่งผลให้เกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ร้ายแรง ฉันเป็นหนึ่งในผู้หนีภัยที่ต้องเดินทางด้วยเท้าเป็นเวลา 11 วัน จาก บ้านเกิดของฉันและครอบครัวทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ในเมียนมา ไปยังค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองคอกเซสบาซาร์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของบังกลาเทศ ฉันเข้าไปสมทบกับชาวโรฮีนจาอีกกว่า 1 ล้านคน ที่ต้องพลัดถิ่นฐานเช่นกันจากการโจมตีและข่มขู่ครั้งแล้วครั้งเล่าของกองทัพเมียนมา ตอนนั้นฉันอายุเพียง 14 ปี ต้องหลบหนีจากบ้านเกิด ต้องออกจากโรงเรียน และต้องเริ่มชีวิตใหม่ในประเทศที่เคยไม่รู้จัก </p>
<p>ถึงวันนี้เป็นเวลาหกปีแล้วหลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ซึ่งส่งผลให้ชาวโรฮีนจาจำนวนมากอพยพไปบังกลาเทศ แม้จะมีความพยายามสนับสนุนให้ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาเข้าถึงบริการที่ช่วยรักษาชีวิต และที่พักอาศัยในบังกลาเทศ แต่รัฐบาลของบังกลาเทศแทบไม่ได้ดำเนินการใดๆ เพื่อช่วยให้ผู้ลี้ภัยเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการศึกษา ข้อจำกัดร้ายแรงอย่างหนึ่งที่ผู้ลี้ภัยต้องเผชิญระหว่างอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย คือการเข้าถึงการศึกษาในระบบของบังกลาเทศ เพราะนับตั้งแต่เกิดวิกฤต รัฐบาลบังกลาเทศขัดขวางความพยายามใดๆ ที่จะส่งเสริมให้ชาวโรฮีนจา สามารถปรับตัวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมบังกลาเทศในระยะยาว ห้ามไม่ให้ชาวโรฮีนจาทำงาน ไม่ให้สถานะผู้ลี้ภัยกับพวกเรา และปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงการศึกษาในระบบ</p>
<p>หกปีที่ไม่มีหนังสือและการศึกษา ทำให้เยาวชนชาวโรฮีนจาต้องสูญเสียโอกาสอย่างมาก เพราะเมื่อไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา เยาวชนชาวโรฮีนจาจึงต้องอพยพออกจากบังกลาเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ต้องเสี่ยงภัยเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังมาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เพื่อแสวงหาชีวิตที่ปลอดภัยและดีกว่า เด็กผู้หญิงชาวโรฮีนจาถูกบังคับให้ต้องแต่งงานตั้งแต่เด็ก เพราะไม่ได้รับการศึกษาและขาดโอกาสด้านเศรษฐกิจ พวกเธอจึงไม่มีอิสรภาพทางการเงิน ไม่มีสิทธิจัดการชีวิตของตนเอง ทำให้เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อความรุนแรงและการละเมิดในครอบครัว ฉันเห็นกับตาเมื่อเพื่อนผู้หญิงที่สนิทกันถูกบังคับให้แต่งงานตั้งแต่เด็ก</p>
<p>หน่วยงานมนุษยธรรมในค่ายผู้ลี้ภัยของบังกลาเทศได้รับอนุญาตให้ตั้งศูนย์การเรียนรู้ชั่วคราวที่เรียกว่า “พื้นที่ที่เป็นมิตรกับเด็ก” (Child-friendly spaces) แต่ก็รับเพียงเด็กเล็กให้เข้าเรียนหนังสือเท่านั้น เด็กๆ ได้รับการศึกษานอกระบบซึ่งเป็นหลักสูตรที่ไม่ได้รับการรับรองหรือเป็นที่ยอมรับจากประเทศใดๆ และแม้จะใช้ชีวิตอยู่ในบังกลาเทศ แต่พวกเขาก็ถูกห้ามไม่ให้เรียนภาษาเบงกาลี ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลเริ่มอนุญาตให้มีโครงการการศึกษานำร่องขนาดเล็ก เป็นการสอนตามหลักสูตรภาษาเมียนมาในค่าย แต่โครงการเช่นนี้ก็ไม่ได้แพร่หลายมากนัก</p>
<p>เนื่องจากรัฐบาลบังกลาเทศอนุญาตให้เยาวชนชาวโรฮีนจาเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบนอกระบบเท่านั้น เยาวชนที่จำเป็นต้องเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาจึงเข้าถึงโอกาสอื่นๆ ในชีวิตน้อยลงไปอีก การจำกัดไม่ให้เดินทางออกนอกค่าย ทำให้ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาไม่สามารถออกไปทำงาน หรือเข้าเรียนในโรงเรียนในระบบได้ ตัวฉันเองก็ไม่ได้รับการศึกษาระหว่างอยู่ในค่าย ฉันจึงเรียนรู้ด้วยตัวเองจากการดูยูทูป และใช้โลกอินเทอร์เน็ตเป็นโรงเรียน</p>
<p>ฉันโชคดีที่ได้เข้าอบรมกับหน่วยงานมนุษยธรรมในค่ายเกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพและความปลอดภัยของผู้หญิง และได้มีโอกาสเผยแพร่ความรู้เหล่านี้ไปยังผู้หญิงและเด็กผู้หญิงผู้ลี้ภัยคนอื่นๆ แต่ฉันต้องเผชิญกับภัยคุกคามในบังกลาเทศจากการทำงานของฉันในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและผู้หญิงที่รณรงค์เรื่องการศึกษา ฉันจึงจำต้องลี้ภัยไปยังสหรัฐอเมริกาช่วงปลายปี 2565 พร้อมกับครอบครัวชาวโรฮีนจาคนอื่นๆ ที่มาจากค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศเช่นกัน ตอนนี้ฉันได้โอกาสเรียนต่อในสหรัฐอเมริกา ต่างจากเพื่อนอีกหลายคนที่ยังอยู่ในบังกลาเทศ </p>
<p>เราควรให้ความสำคัญต่อการยืนหยัดของชาวโรฮีนจาในการแสวงหาทางออกให้กับชุมชนของตนเอง แม้ต้องเผชิญกับข้อจำกัดที่ร้ายแรงด้านการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชน แต่ที่ผ่านมาชุมชนได้พัฒนาหลายโครงการเพื่อปิดช่องว่างนั้น มีการสร้างโรงเรียนที่ชุมชนจัดตั้งขึ้นและจัดการเรียนการสอนในที่พักของพวกเขา โรงเรียนชุมชนเหล่านี้จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมไปจนจบมัธยมศึกษา </p>
<p>โรงเรียนที่ว่านี้เปิดสอนหลายวิชา ตั้งแต่ภาษาพม่า คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ให้โอกาสแก่เด็กๆ ในการสอบวัดผลช่วงปลายภาค ที่สำคัญ โรงเรียนชุมชนเหล่านี้ ทำให้เด็กมีโอกาสพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษ แต่แทนที่รัฐบาลบังกลาเทศจะสนับสนุนโรงเรียนชุมชนอย่างจริงจัง กลับสั่งปิดโรงเรียนเหล่านี้ในเดือนธันวาคม ปี 2564 และยังจำกัดการเข้าถึงการศึกษาของเยาวชนชาวโรฮีนจาอย่างเข้มงวดอีกด้วย </p>
<p>โรงเรียนที่ดำเนินการโดยชุมชนบางแห่งยังคงเปิดทำการแบบลับๆ การเรียนการสอนเช่นนี้มีความจำเป็นอย่างมาก ครูชาวโรฮีนจาจำเป็นต้องเก็บค่าเล่าเรียน โดยเฉลี่ยแล้ว นักเรียนแต่ละคนจะต้องจ่ายเงินประมาณ 500 ถึง 1,000 ตากาต่อเดือน (ราว 160 ถึง 320 บาท) แต่ใช่ว่าทุกครอบครัวจะมีเงินใช้จ่ายในส่วนนี้ โดยเฉพาะเมื่อไม่นานมานี้ สถานการณ์ในค่ายกลับยิ่งเลวร้ายลงหลังจากโครงการอาหารโลกขององค์การสหประชาชาติตัดการอุดหนุนด้านอาหาร หลายครอบครัวใช้เงินตนเองจ่ายค่าเล่าเรียนให้ลูก ในขณะเดียวกันก็ต้องรับภาระค่าอาหารที่เพิ่มขึ้น
 
แม้ที่ผ่านมาจะมีบริการการศึกษาออนไลน์ แต่การเข้าถึงยังมีข้อจำกัด และในค่ายก็ไม่ได้มีบริการอินเทอร์เน็ตที่ทั่วถึง มีนักเรียนเพียงไม่กี่คนที่มีเงินซื้อสมาร์ทโฟน ซื้อบริการอินเทอร์เน็ต หรือซื้อคอมพิวเตอร์ได้</p>
<p>หกปีที่ผ่านมาที่ไม่มีการให้บริการการศึกษาอย่างเพียงพอ สร้างความเสียหายให้กับชุมชนผู้ลี้ภัยโรฮีนจา มีเยาวชนชาวโรฮีนจาแบบฉันที่ต้องหาทางออกให้กับตนเอง แต่ประชาคมโลกก็ต้องให้การสนับสนุนพวกเราด้วย เมื่อเร็วๆ นี้ ฉันได้เดินทางไปกรุงวอชิงตันดีซีเพื่อพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐฯ ถึงปัญหาข้อท้าทายสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นกับชุมชนของเราทั้งภายในและภายนอกบังกลาเทศ
 
เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รัฐบาลของประเทศผู้ให้ทุนช่วยเหลือฯ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และองค์กรระหว่างประเทศ ควรให้ทุนสนับสนุนโครงการด้านการศึกษาที่ดำเนินการโดยชาวโรฮีนจาในค่ายผู้ลี้ภัย โครงการเหล่านี้อาจรวมถึงโรงเรียนชุมชน ห้องสมุด และการอบรมผู้นำและการสร้างเสริมศักยภาพอื่นๆ โครงการทั้งหมดนี้ ควรบริหารจัดการโดยครูชาวโรฮีนจาเอง เพราะพวกเขาเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจและมีประสบการณ์มากที่สุดในการสอนเยาวชนของเรา</p>
<p><strong>สุดท้ายนี้ รัฐบาลบังกลาเทศต้องยุติข้อจำกัดต่อโรงเรียนที่ดำเนินการโดยชาวโรฮีนจา และอนุญาตให้มีการจัดการศึกษาในระบบในค่ายผู้ลี้ภัย</strong></p>
<div class="note-box">
<p><strong>หมายเหตุ</strong>
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษใน The Diplomat เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566: https://thediplomat.com/2023/07/six-years-without-books-a-lost-generation-of-rohingya-youth/</p>
<p><strong>ลัคกี้ คาริม</strong> เป็นผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา นักสิทธิสตรี และเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของรัฐบาลทหารเมียนมาในปี 2560 ซึ่งเป็นเหตุให้เธอต้องหลบหนีจากเมียนมา เธอเคยทำงานกับหน่วยงานมนุษยธรรมในคอกเซสบาซาร์ บังกลาเทศ อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยเป็นเวลาหกปี ก่อนจะย้ายมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2565</p>
<p><strong>ภาพประกอบ</strong> ผู้อพยพชาวโรฮิงญา (ที่มาภาพ: แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย)</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทคhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105673
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 463 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 477 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 363 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 375 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 280 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.39 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 03 มีนาคม 2567 17:38:46