[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
07 พฤษภาคม 2567 09:01:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ชาวพุทธ-มุสลิมชายแดนใต้ ถกกันสมานมิตร เปิด 24 ปมประวัติศาสตร์ที่อยากคุย  (อ่าน 36 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 06 เมษายน 2567 12:20:02 »

ชาวพุทธ-มุสลิมชายแดนใต้ ถกกันสมานมิตร เปิด 24 ปมประวัติศาสตร์ที่อยากคุย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-04-06 11:35</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>รายงาน: มูฮำหมัด ดือราแม</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>สานเสวนา ประวัติศาสตร์เพื่อสังคมสมานมิตร 4 เวทีในชายแดนใต้ ใช้ "กระบวนการค้นหาความจริง 3 ระดับ" เปิด 24 หัวข้อ ปวศ.ที่คนชายแดนใต้อยากคุย เป็นกุญแจสมานไมตรี หวังสร้างพื้นที่ปลอดภัยในมิติประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า และความทรงจำที่ต่างกัน ส่งให้ ปวศ.เป็นหลังสร้างสรรค์สันติภาพ หวั่น รบ.เมิน ทำลายด้วยการพัฒนาขนาดใหญ่</li>
<li>ชวนเรียนรู้ความจริง 3 ระดับ ที่ "เรามักทะเลาะกันเพราะพูดถึงความจริงคนละชั้น" ความจริงเห็นพ้องที่ผู้มีอำนาจบอกว่าจริง ยิ่งกดความจริงเหมือนฝันไว้ ยิ่งจะกลายเป็นระเบิดเวลา แต่ถ้าความจริงแก่นแท้ต้องเปิดหูเปิดใจรับฟังให้ถึงแก่น</li>
</ul>
</div>
<p>สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดเวทีสานเสวนา ประวัติศาสตร์เพื่อสังคมสมานมิตร (Historical Dialogue Southern T้hailand) ขึ้นในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสงขลา ระหว่างวันที่ 23-31 มี.ค. 2567</p>
<p>ทั้งนี้ เพื่อชวนผู้เกี่ยวข้องมาคลี่คลายปมความขัดแย้งอันเนื่องมาจากมิติทางอัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และประวัติศาสตร์ ที่หล่อเลี้ยงสถานการณ์ความรุนแรงชายแดนใต้มานานนับศตวรรษก่อนที่จะมีเหตุรุนแรงในปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา</p>
<p>โดยประสานความร่วมมือกับวิทยาลัยการจัดการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตปัตตานี และได้เชิญผู้เข้าร่วมมาจากทังภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา ข้าราชการในพื้นที่และฝ่ายความมั่นคงมาเข้าร่วมเวที</p>
<p>นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งที่สำคัญที่ให้ฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะระดับประชาชนที่มีทั้งชาวพุทธ มุสลิม และเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงได้เข้าร่วมเวทีพูดคุยและเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์และชาติพันธุ์ของพื้นที่</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53634606346_c60f27fb54_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">"กระบวนการค้นหาความจริง 3 ระดับ" เป็นกุญแจสมานไมตรี</span></h2>
<p>ผศ.ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า เวทีสานเสวนาประวัติศาสตร์เพื่อสังคมสมานมิตรครั้งนี้ เป็นความพยายามหนึ่งของกระบวนการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งร้าวลึกด้วยจิตวิทยากระบวนการเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์และแสวงหาจุดร่วมในการก้าวข้ามกับดักความขัดแย้ง เนื่องจากมิติทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ และความรู้สึกถูกกดทับทางประวัติศาสตร์ไม่ได้รับความเป็นธรรม</p>
<p>โดยใช้ "กระบวนการค้นหาความจริง 3 ระดับ" เป็นกุญแจสำคัญที่คณะทำงานสานเสวนาประวัติศาสตร์เพื่อสังคมสมานมิตร เพื่อออกแบบสังคมที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสมานไมตรีมีความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมร่วมราก</p>
<p>ทั้งนี้ เป็นกระบวนการที่อยู่ภายใต้กรอบแนวคิดในการวิเคราะห์เจาะให้ลึกถึงรากเหง้าของความจริงที่ซ่อนอยู่เบื้องลึกเบื้องหลังความขัดแย้งร้าวลึกที่ตกตะกอนในชั้นจิตสำนึก อันเป็นขั้นความจริงแก่นแท้ที่ความขัดแย้งเข้าไปซ่อนแอบอย่างแนบเนียน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53634606341_45b76523fa_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยในมิติประวัติศาสตร์ เรื่องเล่าและความทรงจำที่ต่างกัน</span> </h2>
<p>ผศ.ดร.พัทธ์ธีรา กล่าวว่า เป้าหมายหลักของโครงการคือ เพื่อการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการก้าวข้ามกับดักความขัดแย้ง อันมีมิติเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า ความทรงจำของผู้คนที่มีความแตกต่างกัน จนถึงขั้นเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งของความขัดแย้งรุนแรง </p>
<p>เพื่อฟื้นฟูเยียวยาความสัมพันธ์และสร้างความร่วมมือในการค้นหาประวัติศาสตร์ร่วมรากที่จะสามารถใช้เป็นจุดยึดโยงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในฐานะสมาชิกร่วมสังคมชุมชนมาแต่ก่อนเก่า และส่งต่อไปยังอนาคตที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติและเคารพในศักดิ์ศรีของกันและกันได้อย่างเสมอกัน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เปิด 24 หัวข้อประวัติศาสตร์ ที่คนชายแดนใต้อยากคุย</span></h2>
<p>ทั้ง 4 เวที มีดังดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2567 ที่ห้องประชุมอัล-บุคอรีย์ ชั้น 2 คณะวิทยาการอิสลาม ม.อ.ปัตตานี, วันที่ 30 มีนาคม 2567 ห้องประชุมสุริยะวิถี ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จ.นราธิวาส, วันที่ 24 มีนาคม 2567 ห้องประชุมประดู่ ดิอามานรีสอร์ท อ.เทพา จ.สงขลา และวันที่ 31 มีนาคม 2567 ห้องประชุม ชั้น 1 ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)</p>
<p>แต่ละเวที คณะทำงานได้ให้ผู้เข้าร่วมได้เสนอหัวข้อเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่จะสานเสวนากันขึ้นมา โดยมีคำถามและหัวข้อที่นำเสนออย่างน่าสนใจรวมทั้ง 4 เวที จำนวน 24 หัวข้อ ดังนี้ 
ประวัติศาสตร์ชุมชน-กลุ่มชาติพันธุ์-การเมืองการปกครอง</p>
<p>เวที จ.ปัตตานี คำถามคือ มีเสียงอะไรบ้างในประวัติศาสตร์ชายแดนใต้? มี 7 หัวข้อ ได้แก่ 1. ประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนใต้ 2. ประวัติศาสตร์สังคม/ชุมชน/หมู่บ้าน 3. ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองในพื้นที่ชายแดนใต้ 4. ประวัติศาสตร์การศึกษาท้องถิ่น 5. ประวัติศาสตร์การสื่อสารข้อมูลข่าวสาร 6. ประวัติศาสตร์ที่ไม่ถูกเปิดเผย และ 7.ประวัติศาสตร์บาดแผล (ที่ยังไม่ได้รับการสมานแผล)</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การจัดการความจริง-การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ใน ร.ร.</span></h2>
<p>เวที จ.สงขลา มีเรื่องอะไรบ้างในประวัติศาสตร์ชายแดนใต้ที่อยากคุยกัน? มี 5 หัวข้อ ได้แก่ 1. การจัดการความจริง: ใครเป็นผู้ตรวจสอบ และใช้ประวัติศาสตร์? หลักการ/หลักฐาน/หลัก(ศาสนา)ธรรมในการศึกษาประวัติศาสตร์ 2. ประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น/ประวัติศาสตร์จับต้องได้ 3. ประวัติศาสตร์มลายู 4. ประวัติศาสตร์บอกเล่า/เรื่องเล่าต่างๆ 5. การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในโรงเรียน/มหาวิทยาลัย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ประวัติศาสตร์การพัฒนา-ความสัมพันธ์เชื่อมโลกมลายู</span></h2>
<p>เวที จ.ยะลา เรื่องในประวัติศาสตร์ที่อยากพูดคุยกัน มี 6 เรื่อง ได้แก่ 1.ประวัติศาสตร์การพัฒนาของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชน 2.การเขียนหลักสูตรและแบบเรียนประวัติศาสตร์ชายแดนใต้ 3.ประวัติศาสตร์ความขัดแย้งชายแดนใต้ 4.ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย 5.ประวัติศาสตร์ศาสนาและการอยู่ร่วมกัน 6.ประวัติศาสตร์ความรุ่งเรืองของศิลปะวิทยาการภูมิปัญญา</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53635053125_6f9289f73e_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ประวัติศาสตร์พหุวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว</span></h2>
<p>เวที จ.นราธิวาส มีเรื่องอะไรบ้างในประวัติศาสตร์ชายแดนใต้ที่อยากคุยกัน? มี 6 หัวข้อ ได้แก่ 1. วิถีมลายู 2. ประวัติศาสตร์การศึกษานราธิวาส (ชายแดนใต้) 3. ประวัติศาสตร์ของรัฐไทยที่รองรับหลากหลายของชายแดนใต้ 4. การชำระประวัติศาสตร์กระแสหลักและเพิ่มประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 5. ประวัติศาสตร์สังคมพหุวัฒนธรรม 6. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของชายแดนใต้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ให้ประวัติศาสตร์เป็นพลังสร้างสรรค์สันติภาพ</span></h2>
<p>ผศ.ดร.พัทธ์ธีรา เปิดเผยว่า ในเวที จ.ปัตตานี มีผู้เข้าร่วมสานเสวนากว่า 40 คน โดยมีพระสงฆ์เข้าร่วมด้วย และได้รับเกียรติจากนางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีมาเป็นประธานเปิดงาน โดยกล่าวว่า ประวัติศาสตร์ถูกนำมาใช้เป็นเงื่อนไขสร้างความขัดแย้งซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเป็นกับดักความรุนแรงที่บ่อนทำลายสันติภาพและความดีงามของพื้นที่ ทำให้ผู้คนชายแดนใต้เสียโอกาสในการนำเอาความรุ่มรวยทางประวัติศาสตร์ขึ้นมาเป็นพลังสร้างสรรค์ขับเคลื่อนสังคม</p>
<p>นางพาตีเมาะ ยังเชิญชวนให้ร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ที่ถูกตอกย้ำด้วยความรุนแรง ให้เป็นพลังสร้างสรรค์สันติภาพของปัตตานี โดย "ใช้ความรักเป็นเครื่องมือในการพูดคุย" สร้างความไว้วางใจพัฒนาเป็นความใส่ใจเกื้อกูลและร่วมกันหาทางออกที่สร้างสรรค์</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รุ่มรวยประวัติศาสตร์อารยธรรม ต้นทุนสร้างสังคมสมานมิตร </span></h2>
<p>ส่วนในเวที จ.สงขลา ที่ดิอามานรีสอร์ต อ.เทพา จ.สงขลา ผศ.ดร.พัทธ์ธีรา ระบุว่า วงสานเสวนาตกผลึกร่วมกันประการหนึ่งว่า ประวัติศาสตร์สังคมชายแดนใต้วางอยู่บนฐานความหลากหลายของผู้คนต่างศาสนา ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมโดยมีองค์ประกอบ คือความรุ่มรวยของฐานทรัพยากรธรรมชาติ และเคยมีความรุ่งเรืองในเรื่องการเป็นแหล่งอารยธรรม แหล่งการศึกษาทางศาสนา และศิลปะวิทยาการหลายอย่าง</p>
<p>อีกทั้ง ยังเคยเป็นเส้นทางการค้าสำคัญของคาบสมุทรมลายู และยังมีโบราณสถานสำคัญของชาวพุทธ เช่น เจดีย์เขาหัวล้อน ศาลเจ้าของชุมชนชาวจีนริมน้ำปากบาง และสุสานผู้นำสำคัญของชาวมุสลิมที่ทุกปีจะมีชาวมุสลิมอินโดนีเซีย มาเลเซียเดินทางมาเคารพปีละหลายคันรถยนต์ 
แต่หวั่นรัฐบาลไม่ใส่ใจ กลับยิ่งทำลายด้วยการพัฒนาขนาดใหญ่</p>
<p>"สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมที่สำคัญที่ควรค่าแก่การศึกษาและนำมาเป็นกลไกในการสร้างสังคมสมานมิตร มากกว่าที่จะติดกับดักกับการใช้ประวัติศาสตร์ไปสร้างความขัดแย้งในวงจรเดิมๆ" ผศ.ดร.พัทธ์ธีรา กล่าว</p>
<p>ผศ.ดร.พัทธ์ธีรา กล่าวด้วยว่า วงสานเสวนาสะท้อนให้เห็นว่า การติดกับดักการรับรู้แต่ประวัติศาสตร์ความขัดแย้งและจมปลักอยู่นั้น นอกจากจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสร้างสันติภาพแล้ว การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลที่เน้นการพัฒนาขนาดใหญ่โดยไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา และมรดกทางวัฒนธรรมล้ำค่าของพื้นที่ ก็กลายเป็นการสร้างปมปัญหาใหม่ที่จะทำให้เป็นประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในอนาคต</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">"เรามักทะเลาะกันเพราะพูดถึงความจริงคนละชั้น"</span></h2>
<p>ดร.ชาญชัย ชัยสุขโกศล วิทยากรในคณะทำงานโครงการ บรรยายเรื่องกรอบแนวคิดความจริง 3 ระดับว่า มาจากงานสายจิตวิทยางานกระบวนการ (process work psychology) ซึ่งเรามักจะทะเลาะกัน เพราะพูดถึงความจริงคนละชั้นกันเสมอ</p>
<p>ดร.ชาญชัย กล่าวว่า กรอบแนวคิดนี้ถูกนำมาใช้ในพื้นที่สงคราม พื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์บาดแผล พื้นที่ที่มีความเจ็บปวดหรือมีความรุนแรงเพื่อที่จะคุยกันได้มากขึ้น เพราะเมื่อพูดถึงประวัติศาสตร์เรามักถามว่าของจริงหรือเปล่า อะไรคือความจริง ซึ่งไม่มีความจริงที่เป็นหนึ่งเดียวแท้ๆ 
ความจริงเห็นพ้อง-ที่ผู้มีอำนาจบอกว่าจริง</p>
<p>ดร.ชาญชัย กล่าวว่า ชั้นแรกสุดเรียกว่า ความจริงเห็นพ้อง หรือความจริงกระแสหลัก เป็นความจริงที่เราเห็นอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น กฎหมาย ธรรมเนียมปฏิบัติ กติกา โครงสร้าง นโยบาย เหตุการณ์ พฤติกรรม ข้อเท็จจริง ฯลฯ เหล่านี้เป็นความจริงในระดับความจริงเห็นพ้อง</p>
<p>"ความจริงเห็นพ้องเป็นสิ่งที่ค่อนข้างชัดเจนในสังคม จะชอบไม่ชอบว่ากันไปแต่มันมีอยู่ และส่วนใหญ่เราทะเลาะกันบนความจริงชั้นนี้เยอะ เพราะความจริงเห็นพ้องส่วนใหญ่เป็นความจริงที่ผู้มีอำนาจมากกว่าคนอื่นเป็นคนบอกว่าสิ่งนั้นจริง หรือมักเป็นคนกำหนดว่าอะไรคือความจริงเห็นพ้อง" ดร.ชาญชัย กล่าว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53634942549_05464ef391_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความจริงเหมือนฝัน-ยิ่งกดไว้ยิ่งกลายเป็นระเบิดเวลา</span></h2>
<p>ดร.ชาญชัย อธิบายว่า ความจริงชั้นที่ 2 คือ ความจริงเหมือนฝัน มีทั้งเชิงบวกเชิงลบหลากหลายแบบมาก เช่น กรณีมาติน ลูเธอร์คิง ผู้นำขบวนการสิทธิพลเมืองสีผิวที่กล่าวว่า I have a dream ฉันมีความฝันว่าคนลูกคนผิวสีและลูกคนผิวขาวจะอยู่ร่วมกัน ที่ถูกทำให้เป็นจริงในเวลาต่อมา </p>
<p>"คนที่นี่มีความจริงเหมือนฝันว่าจะมีสันติภาพที่รอวันจะเป็นความจริงเห็นพ้อง แบบเดียวกับความจริงเหมือนฝันของหะยีสุหลงและคนอื่นๆในสังคมไทย และการพูดถึงประวัติศาสตร์โดยเฉพาะในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงจำเป็นต้องพูดถึงประวัติศาสตร์หลายๆ อย่างของหลายๆบุคคลที่เรารู้สึกว่าสำคัญสำหรับพื้นที่นี้" ดร.ชาญชัย กล่าว</p>
<p>ดร.ชาญชัย นิยามว่า มีหลายอย่างเป็นความจริงเหมือนฝัน คือ "ความจริงที่อยากพูดแต่พูดไม่ได้" เพราะอันตราย เกรงใจ มีอำนาจกดอยู่ กลัวเสียมิตรภาพ โกรธเคือง ฯลฯ แต่นานวันเข้ามันจะกลายเป็นระเบิดเวลา เช่นเดียวกับปัญหาชายแดนใต้ที่ความจริงหลายอย่างพูดไม่ได้ แล้วมันลงใต้ดินกลายเป็นความรุนแรงทางกายภาพขึ้นมา ซึ่งในหลายประเทศเป็นแบบนี้</p>
<p>"อคติที่มิอาจกล่าวถึง" ทุกคนล้วนมีอคติบางอย่างเสมอที่อาจพูดหรือทำพลาดไปหรือเผลอตัดสินคนอื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ ยิ่งคนมีอำนาจไปตัดสินคนอื่นโดยอคติอย่างไม่รู้ตัวก็จะมีผลกระทบตามมา</p>
<p>"ความรู้สึกที่ไม่ได้พูดออกมา" เพราะเกรงใจ มีความรู้สึกบางอย่างที่ไม่พูด ไม่รู้จะพูดยังไง รวมถึง "ความเชื่อที่ไม่ถูกตั้งคำถาม" ซึ่งทุกคนมีความเชื่อบางอย่างเสมอ เช่น เชื่อว่าคนพุทธเป็นอย่างไร เชื่อว่าคนมุสลิมเป็นอย่างไร และ "สมมติฐานที่ไม่ทันได้ตระหนักรู้" ซึ่งมีเยอะมาก เช่น คนจนเพราะขี้เกียจ คนรวยเพราะขยัน ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เชื่อกันเยอะมากแต่ก็ผิดอย่างรุนแรง</p>
<p>"ในชั้นความจริงเหมือนฝันมันมีอะไรอีกเยอะที่เราพูดไม่ได้ทั้งๆที่รู้สึกว่ามันจริง และบ้านเมืองที่เป็นเผด็จการมีความจริงมหาศาลที่พูดไม่ได้ เช่นที่เมียนม่าร์เห็นชัดมาก ทหารเมียนม่าร์กลัวศิลปินมากๆโดยเฉพาะศิลปินตลกพูดความจริงให้มันดูตลกเสียดสี ฉะนั้นเขาจึงจับศิลปินหรือพวกกวี นักเขียนก่อนเลย" </p>
<p>"สมมติฐานที่เราไม่ตระหนักรู้ สิ่งเหล่านี้เป็นความจริงสำหรับหลายๆคนมาก แต่ในกระแสหลักถือว่าไม่เป็นความจริง ซึ่งก็ไม่ได้แปลว่าไม่เป็นความจริง เพียงแค่คนที่อยู่ในกระแสหลัก/คนที่อยู่ในอำนาจไม่ยอมรับ อำนาจของคนที่พูดถึงความจริงในความจริงเหมือนฝันแค่มีน้อยกว่า จึงพูดได้ให้คนอื่นยอมรับว่าเป็นความจริงได้น้อยกว่าเท่านั้นเอง" ดร.ชาญชัย เผย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความจริงแก่นแท้-ต้องเปิดหู เปิดใจฟังให้ถึงที่เขาต้องการให้ได้</span></h2>
<p>ดร.ชาญชัย อธิบายถึงความจริงชั้นที่ 3 ว่า คือความจริงแก่นแท้ ไม่ว่าความจริงเห็นพ้องหรือความจริงเหมือนฝันเรื่องใดก็ตาม สุดท้ายถ้าเราเปิดหู เปิดใจเยอะๆ ฟังให้ถึงความจริงแก่นแท้ที่เขาต้องการจะพูดให้ได้ เช่น ฝ่ายความมั่นคงพูดบางอย่างอาจจะขัดหู แต่ความจริงแก่นแท้คือความปลอดภัยของดินแดนและของทุกคน ส่วนพี่น้องบางคนเรียกร้องเรื่องคดีทั้งที่ให้เงินเยียวยาแล้วตั้งหลายล้านซึ่งนั่นคือชั้นความจริงเห็นพ้อง แต่ความจริงแก่นแท้คือไม่มีความเป็นธรรมเกิดขึ้น เพราะยังไม่มีความรับผิดชอบของคนที่กระทำ</p>
<p>หลายอย่างสิ่งที่เราพูดหรือกระทำทั้งหลายลึกๆ แล้วเราต้องการ "ศักดิ์ศรี ความเคารพ ความไว้วางใจ ความใส่ใจ ความปลอดภัยและสันติภาพ" ซึ่งไม่ใช่สันติภาพระหว่างประเทศหรือรัฐเท่านั้น แต่เป็นสันติภาพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องคอยหวาดระแวงว่าจะมีใครระเบิดที่ไหนบ้าง หรือจะมีใครติดตามหรือไม่ เป็นต้น ส่วน "ความปรองดอง" ก็ไม่มีใครไม่ต้องการถ้าเป็นการปรองดองแบบที่บังคับให้คนปรองดองกัน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/04/108708
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ปฏิญญา กรุงเทพฯ วิสาขบูชานานาชาติครั้งที่13 ชาวพุทธ 85 ประเทศ สร้างสันติภาพโลก
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1155 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2559 00:21:57
โดย มดเอ๊ก
[ข่าวมาแรง] - เปิด 3 ช่องทางเช็คสิทธิ์และติดตามสถานะ 'เงินอุดหนุนบุตร' หลังรอบเดือนตุลาคม 6
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 113 กระทู้ล่าสุด 12 ตุลาคม 2566 08:20:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เปิด 10 ปี 'กอ.รมน.' กวาดงบ 'แสนล้าน'
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 117 กระทู้ล่าสุด 01 พฤศจิกายน 2566 14:45:06
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เปิด 72 รายชื่อพิจารณางบฯ 67 'ภูมิธรรม' นั่งประธาน กมธ.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 51 กระทู้ล่าสุด 07 มกราคม 2567 09:48:57
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เปิด 'โลกผู้ป่วยจิตเวช-โรคมีราคา' กับสิทธิการรักษาที่มีอยู่โดยที่บางคนยังต
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 37 กระทู้ล่าสุด 24 กุมภาพันธ์ 2567 03:46:30
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.132 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 ชั่วโมงที่แล้ว