[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
03 พฤษภาคม 2567 06:05:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม ฝั่งธนบุรี  (อ่าน 571 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2329


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 ธันวาคม 2561 15:29:23 »



สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม)
วัดอนงคาราม ฝั่งธนบุรี

ในวงการคณะสงฆ์ กล่าวกันว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม ฝั่งธนบุรี คือ นักประชาธิปไตยรูปหนึ่ง และมีความเฉียบแหลมในการดำเนินนโยบายอันเหมาะสมได้ทันสมัย หรือทันกับเหตุการณ์เสมอ

มีลูกศิษย์ลูกหานับไม่ถ้วน ทั้งที่เป็นสงฆ์และขุนนางชั้นสูงทั่วไป ไม่ว่าที่กรุงเทพฯ ธนบุรี หรือที่ชัยนาทบ้านเกิดของท่าน รวมไปถึงจังหวัดอื่นๆ เกือบทั่วเมืองไทย

มีนามเดิมว่า นวม เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 ก.ค.2407 เป็นบุตรของหมื่น นรา (อินทร์) กับนางใย มีพี่น้องร่วมบิดากัน 8 คน ภูมิลำเนาอยู่บ้านวังแม่ลูกอ่อน อ.สรรพยา จ.ชัยนาท

เริ่มแรกศึกษาที่วัดโคกเข็ม จ.ชัยนาท อายุ 13 ปี จึงย้ายมาศึกษาที่วัดอนงคาราม บวชเป็นสามเณรในปี พ.ศ.2424

พ.ศ.2428 เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร โดยมีพระครูเมธังกร เจ้าคณะอำเภอเมืองในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยธรวันและพระสมุห์เปรม เป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า พุทฺธสโร

จากนั้นกลับมาอยู่จำพรรษาวัดอนงคาราม เพื่อศึกษาต่อ

ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอาจารย์สอนพระปริยัติธรรม ครูโรงเรียนวัดอนงคาราม ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก จนถึงวันที่ 9 ก.ย.2470 จึงได้รับโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2449 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระธรรมธราจารย์ พ.ศ.2463 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระรัชชมงคลมุนี พ.ศ.2468 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระมงคลเทพมุนี พ.ศ.2472 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระโพธิวงศาจารย์

พ.ศ.2484 เลื่อนเป็นพระราชาคณะเทียบชั้นเจ้าคณะรองฝ่ายอรัญวาสีที่ พระมหาโพธิวงศาจารย์

พ.ศ.2488 สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) มีฝีมือในทางศิลปะ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้กำกับการบูรณะพระพุทธบาท จ.สระบุรี และแม้แต่การซ่อมสร้างในบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดารามทุกครั้ง สมเด็จจะต้องมีส่วนร่วมเป็นกรรมการด้วย

ความสามารถในกิจการของสงฆ์ เป็นที่ยอมรับกันว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) เป็นเอตทัคคะในทางนี้อย่างดียิ่ง ดังในปี 2484 ภายหลังที่ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ประกาศใช้แล้ว สมเด็จได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสังฆสภา และยังเป็นสังฆมนตรีว่าการสาธารณูปการ

ตลอดเวลาที่อยู่ในตำแหน่งสังฆมนตรีว่าการสาธารณูปการ แม้จะอยู่ในวัยชรา แต่ก็ยังมีความสามารถที่จะวางระเบียบการปกครอง การศึกษา การเผยแผ่ ตลอดจนการสาธารณูปการที่มีหน้าที่แก่ภิกษุสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร ก็สั่งการและวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง

เหนือสิ่งอื่นใดในวงการศึกษา คือ สมเด็จนับเป็นปรมาจารย์แห่งโรงเรียนราษฎร์ทั้งปวง

ในปี พ.ศ.2432 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การศึกษาของไทยยังถูกทอดทิ้งให้เล่าเรียนกันตามวัด พออ่านออกเขียนได้และบวกเลขเป็น ก็สามารถที่จะออกมาประกอบอาชีพส่วนตัว หรือเข้ารับราชการได้นั้น

สมเด็จได้เปิดโรงเรียนขึ้นที่กุฏิของท่านที่วัดอนงคาราม ขณะที่ยังเป็นพระอันดับ เรียกกันว่าท่านอาจารย์นวม โดยเป็นครูคนเดียวในโรงเรียน มีลูกศิษย์ทั้งสิ้น 9 คน ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้ จะเรียกเป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกของประเทศไทยก็ว่าได้

หลักสูตรที่สมเด็จสอนในขณะนั้น นอกจากการศึกษาภาษาไทยเป็นพื้นทั่วไปแล้ว ก็มีวิชาคำนวณและจรรยามารยาทของผู้ดีรวมอยู่ด้วย ที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับตัวท่านอาจารย์ใหญ่และลูกศิษย์ลูกหา ก็คือ วิชาลูกคิด ซึ่งสมเด็จเป็นเลิศโดยศึกษามาตั้งแต่ยังไม่ได้บวชเป็นเณร

หลังเรียนจบหลักสูตร ศิษย์รุ่นแรกที่จบจากโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกนี้ ได้เป็นข้าราชการตามกระทรวงหมด จึงมีผู้เห็นผลจากการศึกษาที่โรงเรียนของท่านอาจารย์นวม

รัชกาลที่ 5 เมื่อทรงทราบว่ามีนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนราษฎร์ของท่านอาจารย์นวม ก็นิมนต์ให้มาเฝ้าฯ เพื่ออยากจะทอดพระเนตรตัวจริง ทรงชมเชยว่าท่านอาจารย์มีคุณูปการแก่ชาติ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) แม้จะได้วางมือจากภารกิจต่างๆ เมื่อชราภาพ แต่โดยหน้าที่สังฆสมาชิก และสังฆมนตรีว่าการสาธารณูปการ ปรากฏว่าสมเด็จเคร่งครัดต่อหน้าที่ จนมีคำกล่าวกันทั่วไปว่าท่านไม่ได้ชราภาพไปตามวัย

กระทั่งวาระสุดท้ายแห่งอายุขัย เมื่อวันที่ 28 ก.ย.2499 จึงมรณภาพด้วยอาการสงบที่กุฏิวัดอนงคาราม

สิริอายุ 92 ปี พรรษา 72


[

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
คติธรรมคำสอน ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 1 5996 กระทู้ล่าสุด 24 พฤษภาคม 2555 16:28:04
โดย เงาฝัน
อานิสงส์การแผ่เมตตา โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
ธรรมะจากพระอาจารย์
Maintenence 0 2339 กระทู้ล่าสุด 12 มกราคม 2558 15:26:00
โดย Maintenence
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ) อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 907 กระทู้ล่าสุด 02 กรกฎาคม 2560 09:45:08
โดย ใบบุญ
สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 712 กระทู้ล่าสุด 05 ตุลาคม 2561 13:03:53
โดย ใบบุญ
สมเด็จพระพุฒาจารย์(นวม) วัดอนงคาราม ฝั่งธนบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 768 กระทู้ล่าสุด 29 กรกฎาคม 2563 14:03:31
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.257 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 29 มีนาคม 2567 20:42:45