[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤษภาคม 2567 20:00:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หอระฆัง  (อ่าน 241 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5478


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 ตุลาคม 2566 18:47:11 »


หอระฆังวัดพระยาทำ (ภาพถ่ายของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
หอระฆัง คืออาคารประเภทหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งก่อสร้างในวัดทุกแห่ง
ใช้เป็นอาคารสำหรับแขวนระฆังเพื่อใช้ตีบอกสัญญาณเวลาแก่พระสงฆ์ในการลงทำวัตร
และประกอบกิจของสงฆ์
...วิกิพีเดียฯ (ที่มาข้อมูล)


หอระฆังวัดพระยาทำ ปี ๒๕๖๖
ได้รับการบูรณะแล้วโดยกรมศิลปากร อยู่ในขั้นตอนทำกระเบื้องประดับลวดลายต่อไป


หอระฆัง

หอระฆังเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของวัดไทย เป็นสิ่งก่อสร้างเพื่อใช้แขวนระฆัง อุปกรณ์สื่อสารที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณให้พระภิกษุและสามเณรทราบถึงเวลาปฏิบัติศาสนกิจ เพื่อให้วัตรปฏิบัติของพระภิกษุ เช่น ปลุกให้ตื่นเพื่อครองผ้าให้เรียบร้อยก่อนออกบิณฑบาต การทำวัตรเช้า ฉันเพล และทำวัตรเย็น ดำเนินไปโดยพร้อมเพรียงกัน ทั้งยังใช้ส่งสัญญาณในวาระอันเป็นมงคลต่างๆ เช่น วันสำคัญทางศาสนา วันปีใหม่ รวมถึงกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินภายในวัดอีกด้วย โดยวัดส่วนใหญ่นิยมสร้างหอระฆังไว้ระหว่างเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส เพื่อให้กระจายเสียงสัญญาณไปยังพระสงฆ์สามเณรที่อยู่ตามจุดต่างๆ ของวัดได้อย่างทั่วถึง

ในประเทศไทย หอระฆังมีการสร้างกันมาตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันได้อย่างชัดเจน แต่เท่าที่มีหลักฐานคือในสมัยกรุงศรีอยุธยา พบภาพเขียนของฝรั่งชาวตะวันตกที่เข้ามาในสมัยตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา วาดภาพวัดพระยาคลัง (วัดสมณโกฏฐาราม) ซึ่งเป็นวัดที่สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ปรากฏมีหอระฆังลักษณะเป็นอาคารโปร่งชั้นเดียวสร้างด้วยไม้อยู่ในภาพ

นอกจากนี้ ยังปรากฏพบร่องรอยของหอระฆังสร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมากตามโบราณสถานวัดต่างๆ ในกรุงศรีอยุธยาอีกด้วย โดยหอระฆังในช่วงอยุธยาตอนปลายนี้ได้พัฒนารูปแบบไปอย่างหลากหลายแล้ว บางแห่งสร้างเป็นรูปแบบพิเศษ อย่างที่วัดหอระฆัง ริมคลองมะขามเรียง (คลองนายก่าย) อำเภอพระนครศรีอยุธยา มีการสร้างหอระฆังโดยทำเป็นซุ้มประตูของวัดไปด้วยในตัว

จึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า หอระฆังเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่คู่กับวัดไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ อาจมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น โดยแบ่งเป็นสองรูปแบบตามวัสดุที่ใช้คือ หอระฆังที่สร้างด้วยไม้ (ในยุคแรก หอระฆังส่วนใหญ่คงสร้างด้วยไม้ แต่เพราะไม้เป็นวัสดุเสื่อมสภาพได้ง่าย ไม่คงทนต่อสภาพอากาศ จึงไม่หลงเหลือหลักฐานให้เห็น นอกจากในภาพวาด) และหอระฆังที่สร้างแบบก่ออิฐถือปูน ที่นิยมสร้างกันมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย

หอระฆังทั้งแบบไม้และแบบก่ออิฐถือปูนยังคงมีการสร้างกันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ด้วยเหตุผลในด้านงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้าง หอระฆังไม้จึงนิยมสร้างในวัดราษฏร์ ดังปรากฏหลงเหลือให้เห็นอยู่ตามวัดในเขตปริมณฑลรอบนอก ในขณะที่หอระฆังห่ออิฐถือปูนนิยมสร้างในวัดหลวง เพื่อความคงทนถาวรกว่า

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ช่วงรัชกาลที่ ๑-๓ มีความพยายามที่จะสร้างกรุงเทพฯ ให้เหมือนกับกรุงศรีอยุธยา จึงมีการสร้างพระอารามหลวงขึ้นเป็นจำนวนมาก มีทั้งสร้างพระอารามขึ้นใหม่ และบูรณปฏิสังขรณ์วัดเก่าที่มีอยู่แต่เดิมขึ้นมาใหม่อีกทางหนึ่ง

วัดพระยาทำวรวิหารที่เป็นข่าวดังนี้จัดอยู่ในกลุ่มหลัง เนื่องจากเป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แต่เดิมชื่อ “วัดนาค” พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) สมุหนายก รับหน้าที่บูรณปฏิสังขรณ์วัดนาคแบบสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด วัดนาคจึงได้รับนามใหม่ว่า “วัดพระยาทำ” หมายถึงวัดที่เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ทำขึ้นใหม่นั่นเอง พร้อมกับได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี

หอระฆังวัดพระยาทำ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น ประดับประดาด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหลัง ชั้นล่างสุดทั้งสี่ด้านเป็นซุ้มโค้งแหลม บริเวณมุมประดับด้วยประติมากรรมยักษ์ยืนหิ้วห่วงที่คล้องกับฐานหอระฆังประจำทั้งสี่มุม เหนือขึ้นไปบนวงกรอบของซุ้มแต่ละด้านประดับประติมากรรมรูปครุฑยุดนาค สลับด้วยประติมากรรมเทพนมประจำมุมทิศทั้งสี่มุม ชั้นบนอันเป็นที่แขวนระฆังย่อมุมไม้สิบสองแต่ละด้านเป็นซุ้มโค้งประดับด้วยพญานาค ยอดหอระฆังเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ด้วยการประดับประดาอันละเอียดลออแทบทุกตารางนิ้ว ทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็นหอระฆังที่มีความงดงามอลังการที่สุดของประเทศไทย

สันนิษฐานว่าหอระฆังนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ พร้อมกับวัด แล้วได้รับการบูรณะในรัชกาลที่ ๓  ด้วยลักษณะทางศิลปกรรมแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓  เนื่องจากมีประวัติว่าได้รับการปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมในสมัยรัชกาลที่ ๓ และ ๕ ตามลำดับ  โดยในสมัยปัจจุบันได้บูรณะครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗ ก่อนที่กรมศิลปากรจะเข้ามาทำการบูรณปฏิสังขรณ์ และพังทลายลงมาเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๑

ในส่วนของการบูรณปฏิสังขรณ์หอระฆังวัดพระยาทำวรวิหาร ในขั้นตอนการขุดฐานรากเพื่อเสริมความมั่นคงก่อนการปรับยกหอระฆัง ได้ขุดลึกลงไปในชั้นดินประมาณ ๑.๓๐ เมตร พบร่องรอยการประดับตกแต่งส่วนฐานหอระฆังด้วยชิ้นส่วนกระเบื้องเคลือบจีน กระเบื้องเคลือบลายเทพนมบนพื้นลายพรรณพฤกษา เครื่องเคลือบเขียว-น้ำตาล (ถ้วยปลา) เครื่องเคลือบเขียว-น้ำตาล (ถ้วยปู) กระเบื้องเคลือบลายคราม กระเบื้องเคลือบลายมังกร เครื่องเขียนสีบนเคลือบ และชิ้นส่วนประติมากรรมปูนปั้นประดับกระเบื้องเคลือบที่ใช้ประดับส่วนล่างของอาคาร

เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการบันทึกข้อมูลและเก็บหลักฐานตามกระบวนการทางโบราณคดี ถ่ายภาพ ทำแผนผัง แผนภาพ จัดทำบัญชีประเภทโบราณวัตถุไว้อย่างชัดเจน โดยระบุตำแหน่ง ชิ้นส่วนกระเบื้อง พร้อมให้เลขหมายไว้บนชิ้นส่วนกระเบื้องแต่ละชิ้น แยกเก็บหลักฐานตามตำแหน่งที่พบตามหลักวิชาการอย่างละเอียดรอบคอบและเคร่งครัด โดยจะใช้โบราณวัตถุเหล่านี้เป็นต้นแบบในการบูรณะและจัดทำชิ้นส่วนใหม่ขึ้นทดแทน กรณีชำรุดเสียหาย  ทั้งนี้ก่อนที่หอระฆังจะพังลงมาได้มีการสแกนรายละเอียดต่างๆ ของหอระฆังเก็บไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การซ่อมแซมให้กลับมาเหมือนเดิมจึงไม่ใช่เรื่องยาก


ขอขอบคุณ อนุสาร อ.ส.ท. (ที่มาเรื่อง/ภาพประกอบ)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.321 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 1 ชั่วโมงที่แล้ว