[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 19:45:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อความบางตอนจาก{ตัณหาสูตร}  (อ่าน 1736 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 18.0.1025.142 Chrome 18.0.1025.142


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 05 เมษายน 2555 16:03:56 »




ถ่ายภาพประกอบกระทู้โดย Sometime...สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมายอยากได้ภาพต้องไปถ่ายเองดิ





ดูก่อนภิกษุทั้งหลายด้วยประการดังนี้การคบสัปบุรุษที่..................

บริบูรณ์ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์

ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์การทำไว้ในใจโดย

แยบคายที่บริบูรณ์ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์สติสัมปชัญญะ

ที่บริบูรณ์ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์.......................

ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์

สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์

ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์

สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์

โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ย่อมยัง{วิชชาและวิมุตติ}ให้

บริบูรณ์วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้และบริบูรณ์อย่างนี้...............

จากพระสูตรนี้พอจะสรุปได้ว่า.........................

1. การคบสัปบุรุษ เป็นอาหารของการได้ฟังพระสัทธรรม

2. การได้ฟังพระสัทธรรมเป็น อาหารของ ศรัทธา

3. ศรัทธา เป็นอาหารของ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย

4. การทำไว้ในใจโดยแยบคาย เป็นอาหารของ{สติสัมปชัญญะ}

5. สติสัมปชัญญะ เป็นอาหารของ การสำรวมอินทรีย์

6. การสำรวมอินทรีย์เป็นอาหารของ สุจริต ๓

7. สุจริต ๓ เป็นอาหารของ สติปัฏฐาน ๔

8. สติปัฏฐาน ๔ เป็นอาหารของ โพชฌงค์ ๗

9. โพชฌงค์ ๗ เป็นอาหารของ{วิชชาและวิมุตติ}


<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 64px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-shockwave-flash" src="http://www.flash-mp3-player.net/medias/player_mp3_maxi.swf?mp3=http://www.fungdham.com/download/song/sec1/1/sound025.mp3&amp;width=250&amp;showstop=1&amp;showinfo=1&amp;showvolume=1&amp;volumewidth=35&amp;sliderovercolor=ff0000&amp;buttonovercolor=ff0000" width="800px" height="64px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" autoplay="false" autostart="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/sec1/1/sound025.mp3" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/sec1/1/sound025.mp3</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 เมษายน 2555 18:20:47 โดย 時々Sometime » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.52 Chrome 19.0.1084.52


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2555 09:42:11 »



๑๑.ตัณหาสูตร   
 พุทธพจน์ และ พระสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒

             [๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ และมานะ ๓ ควรละ
ตัณหา ๓ เป็นไฉน คือ กามตัณหา ๑   ภวตัณหา ๑   วิภวตัณหา ๑   ตัณหา ๓ นี้ควรละ
มานะ ๓ เป็นไฉน คือ ความถือตัวว่าเสมอเขา ๑   ความถือตัวว่าเลวกว่าเขา ๑   
             ความถือตัวว่าดีกว่าเขา ๑
   มานะ ๓ นี้ควรละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ตัณหา ๓ และมานะ ๓ นี้ย่อมเป็นธรรมชาติ อันภิกษุละได้แล้ว
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ตัดตัณหา ขาดแล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว
ได้กระทำที่สุดทุกข์เพราะละมานะได้โดยชอบ ฯ
             จบสูตรที่ ๑๑


ตัณหาสูตรที่ ๓
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕
ว่าด้วยโลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคืออะไร
             [๑๘๒] เทวดาทูลถามว่า
                          โลกอันอะไรหนอ ย่อมนำไป อันอะไรหนอ ย่อมเสือกไสไป
                          โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคืออะไร ฯ
             [๑๘๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
                          โลกอันตัณหาย่อมนำไป  อันตัณหาย่อมเสือกไสไป
                          โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือตัณหา
             จบสูตรที่ ๓



๘. ตัณหาสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖
ว่าด้วย เที่ยงหรือไม่เที่ยง
             [๖๑๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ...
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกร ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปตัณหา ... สัททตัณหา ... คันธตัณหา ... รสตัณหา ... โผฏฐัพพตัณหา ... ธัมมตัณหา เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
             ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ... ฯ

             [๖๑๕] ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูปตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัททตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในคันธตัณหา
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรสตัณหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโผฏฐัพพตัณหา ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในธัมมตัณหา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ ฯ
             จบสูตรที่ ๘


๘. ตัณหาสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗
ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล
             [๔๗๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปตัณหาไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็น อย่างอื่นเป็นธรรมดา
สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา ฯลฯ โผฏธัพพตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหาไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหว ซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า.

             จบ สูตรที่ ๘.


๘. ตัณหาสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗
ว่าด้วยความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งทุกข์
             [๔๙๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งรูปตัณหา ฯลฯ
แห่งสัททตัณหา ฯลฯ แห่งคันธตัณหา ฯลฯ แห่งรสตัณหา ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ
แห่งธรรมตัณหา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่ แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.

             [๔๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความสูญแห่ง รูปตัณหา ฯลฯ
แห่งสัททตัณหา ฯลฯ แห่งคันธตัณหา ฯลฯ แห่งรสตัณหา ฯลฯ แห่ง โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ
แห่งธรรมตัณหา นี้เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นความสงบ ระงับแห่งโรค เป็นความดับสูญแห่งชราและมรณะ.
             จบ สูตรที่ ๘.


บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.4 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กุมภาพันธ์ 2567 16:05:56