[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 21:33:12 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2] 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พจนานุกรมพุทธศาสน์ (เรียงตามตัวพยัญชนะ ก ถึงพยัญชนะตัวสุดท้าย อ)  (อ่าน 24081 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2556 16:13:00 »

.

หมวดพยัญชนะ

ปกครอง  คุ้มครอง, ดูแล, รักษา, ควบคุม

ปกตัตตะ   ผู้เป็นภิกษุโดยปกติ, ภิกษุผู้มีศีลและอาจาระเสมอกับภิกษุทั้งหลายตามปกติ คือ ไม่ต้องอาบัติปาราชิก หรือถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม รวมทั้งมิใช่  ภิกษุผู้กำลังประพฤติวุฏฐานวิธีเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสส และภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงนิคกรรมอื่นๆ

ปกรณ์   คัมภีร์, ตำรา,หนังสือ

ปกิณณกทุกข์  ทุกข์เบ็ดเตล็ด, ทุกข์เรี่ยราย, ทุกข์จร  ได้แก่ โศก ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส

ปกิรณกะ   ข้อเบ็ดเตล็ด, ข้อเล็กๆ น้อยๆ, ข้อปลีกย่อย

ปขาว ชายผู้จำศีล

ปชาบดี   ๑. ภรรยา, เมีย  ๒. ดู มหาปชาบดีโคตมี

ปฏลิกา  เครื่องลาดทำด้วยขนแกะที่มีสัณฐานเป็นพวงดอกไม้

ปฏาจารา   พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถี ได้รับวิปโยคทุกข์อย่างหนักเพราะสามีตาย ลูกตาย พ่อแม่พี่น้องตายหมด ในเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นฉับพลันทันทีและติดต่อกัน ถึงกับเสียสติปล่อยผ้านุ่งผ้าหุ่มหลุดลุ่ย เดินบ่นเพ้อไปในที่ต่างๆ จนถึงพระเชตวัน พระศาสดาทรงแผ่พระเมตตา เปล่งพระวาจาให้นางกลับได้สติ แล้วแสดงพระธรรมเทศนา นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชเป็นพระภิกษุณี ไม่ช้าได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางทรงพระวินัย

ปฏิกโกสนา  การกล่าวคิดค้านจังๆ (ต่างจากทิฏฐาวิกัมม์  ซึ่งเป็นการแสดงความเห็นแย้ง ชี้แจงความเห็นที่ไม่ร่วมด้วยเป็นส่วนตัว แต่ไม่ได้คัดค้าน)

ปฏิกัสสนา  กิริยาชักเข้าหาอาบัติเดิม, เป็นชื่อวุฏฐานวิธีสำหรับอันตราบัติคือระเบียบปฏิบัติในการออกกจากอาบัติสังฆาทิเสส สำหรับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสขึ้นใหม่อีก ในเวลาใดเวลาหนึ่งตั้งแต่เริ่มอยู่ปริวาสไปจนถึงก่อนอัพภาน  ทำให้เธอต้องกลับอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตตั้งแต่เริ่มต้นไปใหม่; สงฆ์จตุรวรรคให้ปฏิกัสสนาได้ ดู อันตราบัติ

ปฏิกา  เครื่องลาดทำด้วยขนแกะที่มีสีขาวล้วน

ปฏิการ  การตอบแทน, การสนองคุณผู้อื่น

ปฏิกูล  น่าเกลียด, น่ารังเกียจ

ปฏิคม   ผู้ต้อนรับ, ผู้รับแขก, ผู้ดูแลต้อนรับ

ปฏิคาหก  ผู้รับทาน,  ผู้รับของถวาย

ปฏิฆะ  ความขัดใจ, แค้นเคือง,  ความขึ้งเคียด, ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ

ปฏิจจสมุปบาท   สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์คือหัวข้อ ๑๒  ดังนี้
   ๑. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา  เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี
   ๒. สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ  เพราะสังขาร เป็นปัจจัย  วิญญาณจึงมี
   ๓. วิญฺญาณปจฺจยา  นามรูปํ  เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
   ๔. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ  เพราะนามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
   ๕. สฬายตนปจฺจยา  ผสฺโส  เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
   ๖. ผสฺสปจฺจยา  เวทนา เพราะผัสสะ  เป็นปัจจัย  เวทนาจึงมี
   ๗. เวทนาปจฺจยา  ตณฺหา  เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
   ๘. ตณฺหาปจฺจยา  อุปาทานํ  เพราะตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
   ๙. อุปาทานปจฺจยา ภโว  เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย  ภพจึงมี
  ๑๐. ภวปจฺจยา  ชาติ  เพราะภพ เป็นปัจจัย  ชาติจึงมี
  ๑๑. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ  เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี  
       โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ  
       โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงมีพร้อม
       เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนุธสฺส สมุทโย โหติ  
       ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้

ปฏิจฉันนปริวาส  ปริวาสเพื่อครุกาบัติที่ปิดไว้, ปริวาสที่ภิกษุผู้ปรารถนาจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสอยู่ใช้เพื่ออาบัติที่ปิดไว้ ซึ่งนับวันได้เป็นจำนวนเดียว

ปฏิจฉันนาบัติ  อาบัติ (สังฆาทิเสส) ที่ภิกษุต้องแล้วปิดไว้

ปฏิญญา  ให้คำมั่น,  แสดงความยืนยัน, ให้การยอมรับ

ปฏิญญาตกรณะ  ทำตามรับ ได้แก่ปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์ การแสดงอาบัติก็จัดเข้าในข้อนี้

ปฏิญาณ  การให้คำมั่นโดยสุจริตใจ, การยืนยัน

ปฏิบัติ  ประพฤติ, กระทำ; บำรุง, เลี้ยงดู

ปฏิบัติบูชา  การบูชาด้วยการปฏิบัติ คือ ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของท่าน, บูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติ กระทำสิ่งที่ดีงาม (ข้อ ๒ ในบูชา ๒)

ปฏิบัติสัทธรรม ดู สัทธรรมปฏิปทา  ทางดำเนิน, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ

ปฏิปทา ๔  การปฏิบัติของท่านผู้ได้บรรลุธรรมพิเศษ มี ๔ ประเภท คือ ๑. ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า  ๒. ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติยาก แต่รู้ได้เร็ว  ๓. สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า  ๔. สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา  ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว

ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ  ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ ได้แก่วิปัสสนาญาณ ๙ (ข้อ ๖ ในวิสุทธิ ๗)

ปฏิปทานุตตริยะ   การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม ได้แก่ การปฏิบัติธรรมที่ได้เห็นแล้วในข้อทัสสนานุตตริยะ ทั้งส่วนที่จะพึงละและพึงบำเพ็ญ  ดู อนุตตริยะ

ปฏิปักข์, ปฏิปักษ์  ฝ่ายตรงกันข้าม, คู่ปรับ, ข้าศึก, ศัตรู

ปฏิปักขนัย นัยตรงกันข้าม

ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ  ความหลุดพ้นด้วยสงบระงับ ได้แก่ การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอริยผล  เป็นการหลุดพ้นที่ยั่งยืนไม่ต้องขวนขวายเพื่อละอีก  เพราะกิเลสนั้นสงบไปแล้ว เป็นโลกุตตรวิมุตติ (ข้อ ๔ ในวิมุตติ ๕)

ปฏิพัทธ์  เนื่องกัน, ผูกพัน, รักใคร่

ปฏิภาค  ส่วนเปรียบ, เทียบเคียง, เหมือน

ปฏิภาคนิมิต  นิมิตเสมือน, นิมิตเทียบเคียง เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิต เกิดจากสัญญา สามารถนึกขยายหรือย่อส่วน ให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามความปรารถนา

ปฏิภาณ  โต้ตอบได้ทันทีทันควัน, ปัญญาแก้การณ์เฉพาะหน้า, ความคิดทันการ

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา  ความแตกฉานในปฏิภาณ ได้แก่ ไหวพริบ คือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ (ข้อ ๔ ในปฏิสัมภิทา ๔)

ปฏิมา   รูปเปรียบ, รูปแทน, รูปเหมือน

ปฏิรูป   สมควร, เหมาะสม, ปรับปรุงให้สมควร; ถ้าอยู่ท้ายในคำสมาสแปลว่า เทียม ปลอม ไม่แท้ เช่น สัทธรรมปฏิรูป แปลว่า สัทธรรมเทียม หรือ ธรรมปลอม

ปฏิรูปเทสวาสะ  อยู่ในประเทศอันสมควร,อยู่ในถิ่นที่เหมาะ หมายถึงอยู่ในถิ่นเจริญ มีคนดี มีนักปราชญ์ (ข้อ ๑ ในจักร ๔)

ปฏิโลม  ทวนลำดับ, ย้อนจากปลายมาหาต้น เช่นว่า ตจปัญจกกัมมัฏฐาน จากคำท้ายมาหาคำต้นว่า ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา (ตรงข้ามกับอนุโลม ตามลำดับว่า เกสา โลมา.........), สาวเรื่องทวนจากผลเข้าไปหาเหตุ เช่น วิญญาณเป็นผล  มีเพราะสังขาร เป็นเหตุ, สังขารเป็นผล มีเพราะอวิชชาเป็นเหตุ เป็นต้น

ปฏิวัติ  การเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกกลับ, การหมุนกลับ, การผันแปรเปลี่ยนหลักมูล

ปฏิเวธ   เข้าใจตลอด, แทงตลอด, ตรัสรู้, รู้ทะลุปรุโปร่ง, ลุล่วงผลปฏิบัติ

ปฏิเวธสัทธรรม ดู สัทธรรม

ปฏิสนธิ เกิด, เกิดใหม่, แรกเกิดขึ้นในครรภ์

ปฏิสนธิจิตต์  จิตที่สืบต่อภพใหม่, จิตที่เกิดทีแรกในภพใหม่

ปฏิสสวะ  การฝืนคำรับ, รับแล้วไม่ทำตามรับ เช่น รับนิมนต์ว่าจะไปแล้วหาไปไม่ (พจนานุกรม เขียน ปฏิสวะ)

ปฏิสังขรณ์  ซ่อมแซมทำให้กลับดีเหมือนเดิม

ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ  ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง, ปรีชาคำนึงพิจารณาสังขาร เพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย  ดู วิปัสสนาญาณ

ปฏิสันถาร  การทักทายปราศรัย, การต้อนรับแขก มี ๒ อย่างคือ ๑.อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ  ๒. ธรรมปฏิสันถาร   ต้อนรับด้วยธรรม คือ กล่าวแนะนำในทางธรรม อีกนัยหนึ่งว่า ต้อนรับโดยธรรม คือ การต้อนรับที่ทำพอดีสมควรแก่ฐานะของแขก มีการลุกรับเป็นต้น หรือช่วยเหลือสงเคราะห์ขจัดปัญหาข้อติดขัด ทำกุศลกิจให้ลุล่วง

ปฏิสันถารคารวตา  ดู คารวะ

ปฏิสัมภิทา  ความแตกฉาน, ความรู้แตกฉาน, ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ  ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม  ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา  ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ

ปฏิสัมภิทามรรค  ทางแห่งปฏิสัมภิทา, ข้อปฏิบัติที่ทำให้มีความแตกฉาน;  ชื่อคัมภีร์หนึ่งแห่งขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก เป็นภาษิตของพระสารีบุตร

ปฏิสารณียกรรม  กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงให้กลับไป หมายถึงการที่สงฆ์ลงโทษให้ภิกษุไปขอขมาคฤหัสถ์ กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุปากกล้า ด่าว่าคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นทายกอุปฐากสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ เป็นทางจะยังคนผู้ยังไม่เลื่อมใสมิให้เลื่อมใส จะยังคนผู้เลื่อมใสอยู่แล้วให้เป็นอย่างอื่นไปเสีย: ปฏิสาราณียกรรม ก็เขียน

ปฏิเสธ  การห้าม, การไม่รับ, การไม่ยอมรับ, การกีดกั้น

ปฐพี  แผ่นดิน

ปฐพีมณฑล  แผ่นดิน, ผืนแผ่นดิน

ปฐม  ที่หนึ่ง, ทีแรก, เบื้องต้น

ปฐมฌาน  ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือวิตก (ความตรึก)  วิจาร (ตรอง)  

ปีติ (ความอิ่มใจ) สุข (ความสบายใจ) เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)

ปฐมเทศนา   เทศนาครั้งแรก หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากวันตรัสรู้สองเดือน ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี

ปฐมโพธิกาล  เวลาแรกตรัสรู้, ระยะเวลาช่วงแรกหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว คือระยะประดิษฐานพระพุทธศาสนา นับคร่าวๆ ตั้งแต่ตรัสรู้ถึงได้พระอัครสาวก

ปฐมยาม  ยามต้น, ยามที่หนึ่ง, ส่วนที่หนึ่งแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน

ปฐมวัย  วัยต้น, วัยแรก, วัยซึ่งยังเป็นเด็ก  ดู วัย

ปฐมสมโพธิกถา  ชื่อคัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต  เทวดาอัญเชิญให้มาอุบัติในมนุษยโลก แล้วออกบวชตรัสรู้ประกาศพระศาสนา ปรินิพพาน จนถึงแจกพระธาตุ ต่อท้ายด้วยเรื่องพระเจ้าอโศกยกย่องพระศาสนา และการอันตรธานแห่งพระศาสนาในที่สุด

ปฐมสมโพธิกถา ที่รู้จักกันมากและใช้ศึกษาอย่างเป็นวรรณคดีสำคัญนั้น คือฉบับที่เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพน ทรงรจนาถวายฉลองพระราชศรัทธาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงอาราธนา เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๗  ฉบับที่ทรงรจนานี้ ทรงชำระปฐมสมโพธิกถาฉบับของเก่า ทรงตัดและเติม ขยายความสำคัญบางตอน เนื้อหามีคติทั้งทางมหายานและเถรวาทปนกันมาแต่เดิม และทรงจัดเป็นบทตอนเพิ่มขึ้น รวมมี ๒๙ ปริจเฉท  มีทั้งฉบับภาษาบาลีและฉบับแปลเป็นภาษาไทย (ฉบับภาษาบาลีแบ่งเป็น ๓๐ ปริจเฉท โดยแบ่งปริทเฉทที่ ๑ เป็น ๒ ตอน)

ปฐมสังคายนา การสังคายนาครั้งที่ ๑

ปฐมสังคีติ  การสังคายนาครั้งแรก ดู สังคายนาครั้งที่ ๑

ปฐมสาวก  สาวกองค์แรก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ

ปฐมอุบาสก   อุบาสกคนแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ตปุสสะ กับภัลลิกะ ซึ่งถึงสรณะ ๒ คือพระพุทธเจ้าและพระธรรม; บิดาของพระยสะเป็นคนแรกที่ถึงสรณะครบ ๓

ปฐมอุบาสิกา อุบาสิกาคนแรก หมายถึงมารดาและภรรยาเก่าของพระยสะ

ปฐมาปัตติกะ  ให้ต้องอาบัติแต่แรกทำ หมายถึง อาบัติสังฆาทิเสส ๙ สิกขาบทข้างต้นซึ่งภิกษุล่วงเข้าแล้ว ต้องอาบัติทันที สงฆ์ไม่ต้องสวดสมนุภาสน์ คู่กับยาวตติยกะ

ปฐวีธาตุ  ธาตุดิน คือธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า; อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงปฐวีธาตุในลักษณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้ และที่จะให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน แต่ในทางพระอภิธรรม ปฐวีธาตุเป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง แม้แต่ในน้ำและในลมที่เรียกกันสามัญ ซึ่งรู้สึกถูกต้องได้ด้วยกายสัมผัส

ปณิธาน  การตั้งความปรารถนา

ปติวัตร  ความจงรักในสามี, ความซื่อสัตย์และภักดีต่อสามี, ข้อควรปฏิบัติต่อสามี

ปทปรมะ “ผู้มีบท (คือถ้อยคำ) เป็นอย่างยิ่ง”, บุคคลผู้ด้อยปัญญาเล่าเรียนได้อย่างมากที่สุดก็เพียงถ้อยคำ หรือข้อความ ไม่อาจเข้าใจความหมาย ไม่อาจเข้าใจธรรม ดู บุคคล ๔

ปทุม  บัวหลวง

ปธาน  ความเพียร, ความเพียรที่ชอบเป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่างคือ ๑. สังวรปธาน เพียรละบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น  ๒. ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น  ๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์

ปปัญจะ  กิเลสเครื่องเนิ่นช้า, กิเลสที่ทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร หมายถึงตัณหา มานะ ทิฏฐิ

ปมาณิกา  ดู ประมาณ

ปมาทะ  ความประมาท, ความเลินเล่อ, ความเผลอ, ความขาดสติ, ความปล่อยปละละเลย เทียบ อัปปมาทะ

ปมิตา  เจ้าหญิงองค์หนึ่งในวงศ์ศากยะ เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระเชฏฐภคินีของพระนางอมิตา เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า

ปรทาริกกรรม  การประพฤติล่วงเมียคนอื่น, การเป็นชู้เมียเขา

ปรนปรือ  บำรุงเลี้ยง, เลี้ยงดูอย่างถึงขนาด

ปรนิมมิตวสวัตดี  สวรรค์ชั้นที่ ๖ มีท้าวปรนิมมิตวสวัตดีปกครอง เทวดาชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ต้องนิรมิตเอง มีเทวดาอื่นนิรมิตให้อีกต่อหนึ่ง

ปรภพ  ภพหน้า,  โลกหน้า

ปรมัตถ์  ๑. ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน  ๒. ความหมายสูงสุด,  ความหมายที่แท้จริง เช่น ในคำว่า ปรมัตถธรรม

ปรมัตถธรรม สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์,  สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด ตามหลักอภิธรรมว่ามี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

ปรมัตถบารมี  บารมียอดเยี่ยม, บารมีระดับสูงสุด  สูงกว่าอุปบารมี เช่นการสละชีวิต เป็นทานปรมัตถบารมี เป็นต้น

ปรมัตถปฏิปทา  ข้อปฏิบัติมีประโยชน์อันยิ่ง, ทางดำเนินให้ถึงปรมัตถ์,  ข้อปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงประโยชน์สูงสุดคือบรรลุนิพพาน

ปรมัตถประโยชน์  ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน;  เป็นคำเรียกกันมาติดปาก ความจริงคือ ปรมัตถะ แปลว่าประโยชน์อย่างยิ่ง เหมือนทิฏฐธัมมิกัตถะ แปลว่าประโยชน์ปัจจุบัน และสัมปรายิกัตถะ แปลว่าประโยชน์เบื้องหน้า ก็มักเรียกกันว่า ทิฏฐะธัมมิกัตถประโยชน์และสัมปรายิกัตถประโยชน์

ปรมัตถสัจจะ   จริงโดยปรมัตถ์ คือความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรงข้ามกับสมมติสัจจะ  จริงโดยสมมติ เช่น สัตว์ บุคคล ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก. นาง ข. เป็นต้น

ประคด  ผ้าใช้คาดเอวหรือคาดอกสำหรับพระ (เรียกประคดอก ประคดเอว) มี ๒ อย่าง คือ ประคดแผ่น ๑ ประคดไส้สุกร ๑

ประเคน  ส่งของถวายพระภายในหัตถบาส, ส่งให้ถึงมือ;  องค์แห่งการประเคนมี ๕ คือ ๑. ของไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป พอคนปานกลางคนเดียวยกได้  ๒. ผู้ประเคนเข้ามาอยู่ในหัตถบาส คือ ห่างประมาณศอกหนึ่ง  ๓. เขาน้อมของนั้นเข้ามาให้  ๔. น้อมให้ด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือโยนให้ก็ได้  ๕. ภิกษุรับด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้ (ถ้าผู้หญิงประเคน ใช้ผ้ากราบหรือผ้าเช็ดหน้าที่สะอาดรับ)

ประจักษ์  ชัดเจน, แจ่มแจ้ง, ต่อหน้าต่อตา

ประชวร  เจ็บ, ป่วย

ประชวรพระครรภ์  ปวดท้องคลอดลูก

ประณต  น้อมไหว้

ประณม  ยกกระพุ่มมือแสดงความเคารพ, ยกมือไหว้ (พจนานุกรมเขียนประนม)

ประณาม ๑. การน้อมไหว้  ๒. การขับไล่

ประณีต  ดี, ดียิ่ง, ละเอียด ประดิษฐ์  ตั้งขึ้น, จัดทำขึ้น, สร้างขึ้น, คิดทำขึ้น

ประดิษฐาน  ตั้งไว้, แต่งตั้ง, การตั้งไว้, การแต่งตั้ง

ประเด็น  ข้อความสำคัญ,  หัวข้อหลัก

ประถมวัย  ดู ปฐมวัย

ประทม  นอน

ประทมอนุฏฐานไสยา   นอนชนิดไม่ลุกขึ้นอีก

ประทักษิณ  เบื้องขวา, การเวียนขวา คือ เวียนเลี้ยวไปทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา เป็นอาการแสดงความเคารพ

ประทับ  อยู่ เช่น ประทับแรม (สำหรับเจ้านาย), แนบอยู่ เช่น เอาปืนประทับบ่า, กดลง เช่น ประทับตรา

ประทาน  ให้

ประทีป  ตะเกียง,  โคม, ไฟที่มีเปลวสว่าง

ประทุม  บัวหลวง

ประทุษร้ายสกุล  ดู กุลทูสก

ประเทศบัญญัติ  บัญญัติจำเพาะถิ่น, สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้เฉพาะสำหรับมัธยมประเทศ คือ จังหวัดกลางแห่งชมพูทวีป เช่น สิกขาบทที่ ๗ แห่งสุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ ไม่ให้ภิกษุอาบน้ำในเวลาห่างกันหย่อนกว่ากึ่งเดือน เว้นแต่สมัย

ประเทศราช  เมืองอิสระที่สังกัดประเทศอื่น

ประธาน  หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่ในหมู่

ประธานาธิบดี  หัวหน้าผู้ปกครองบ้านเมืองแบบสาธารณรัฐ

ประนม  ยกกระพุ่มมือ

ประนีประนอม  ปรองดองกัน, ยอมกัน, ตกลงกันด้วยความไกล่เกลี่ย

ประพฤติ  ความเป็นไปที่เกี่ยวด้วยกระทำหรือปฏิบัติตน;  กระทำ, ทำตาม, ปฏิบัติ, ปฏิบัติตน, ดำเนินชีวิต

ประพฤติในคณะอันพร่อง  เป็นประการหนึ่งในรัตติเฉท คือเหตุขาดราตรีแห่งมานัต ๔ ประการ  หมายถึงประพฤติมานัตในถิ่นเช่นอาวาสที่มีปกตัตต ภิกษุไม่ครบจำนวนสงฆ์ คือ หย่อน ๔ รูป

ประพาส  ไปเที่ยว, เที่ยวเล่น, อยู่แรม

ประเพณี  ขนบธรรมเนียม, แบบแผน, เชื้อสาย

ประมาณ  การวัด, การกะ, เครื่องวัด, เกณฑ์, การถือเกณฑ์;  บุคคลในโลกแบ่งตามประมาณคือหลักเกณฑ์ในใจที่ใช้วัดในการที่จะเกิดความเชื่อถือหรือความนิยมเลื่อมใส ท่านแสดงไว้ ๔ จำพวก คือ ๑. รูปประมาณ หรือ รูปปัปปมาณิกา ผู้ถือรูปร่าง เป็นประมาณ  ๒. โฆษประมาณ หรือ โฆสัปปมาณิกา   ผู้ถือเสียงหรือชื่อเสียงเป็นประมาณ  ๓. ลูขประมาณ หรือ ลูขัปปมาณิกา   ผู้ถือความคร่ำหรือปอนๆ เป็นประมาณ  ๔. ธรรมประมาณ หรือ ธัมมัปปมาณิกา  ผู้ถือธรรมคือเอาเนื้อหาสาระเหตุผลหลักการและความถูกต้องเป็นประมาณ

ประมาท  ดู ปมาทะ

ประมุข  ผู้เป็นหัวหน้า

ประโยค  การประกอบ, การกระทำ, การพยายาม

ประโยชน์ (เกิดแต่การถือเอาโภคทรัพย์) ๕ ดู โภคอาทิยะ ๕

ประลัย  ความตาย, ความย่อยยับ, ความป่นปี้

ประวัติ  ความเป็นไป, เรื่องราว

ประศาสนวิธี  วิธีการปกครอง, ระเบียบแห่งการปกครองหมู่คณะ

ประสก  เป็นคำเลือนมาจาก อุบาสก  พระสงฆ์ครั้งก่อนมักใช้เรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย คู่กับ สีกา แต่บัดนี้ได้ยินใช้น้อย

ประสาท  ๑. เครื่องนำความรู้สึกสำหรับคนและสัตว์ เรียกประสาทรูปก็ได้  ๒. ความเลื่อมใส  ดู ปสาท  ๓. ยินดีให้,  โปรดให้

ประสาทรูป   รูปคือประสาท

ประสาธน์  ทำให้สำเร็จ,  เครื่องประดับ

ประสิทธิ์  ความสำเร็จ,  ทำให้สำเร็จ,  ให้

ประสิทธิ์พร  ให้พร,  ทำพรให้สำเร็จ

ประสูติ  เกิด,  การเกิด  การคลอด

ประเสริฐ  ดีที่สุด,  ดีเลิศ  วิเศษ

ประหาน  ละ, กำจัด;  การละ,  การกำจัด;  ตามหลักภาษาควรเขียน  ปหาน หรือ ประหาณ

ประหาร  การตี,  การทุบตี,  การฟัน,  การล้างผลาญ;  ฆ่า, ทำลาย

ปรัตถะ  ประโยชน์ผู้อื่น,  ประโยชน์เพื่อคนอื่น อันพึงบำเพ็ญด้วยการช่วยให้เขาเป็นอยู่ด้วยดี  พึ่งตนเองได้  ไม่ว่าจะเป็นทิฏฐธัมมิกัตถะหรือสัมปรายิกัตถะ  หรือปรมัตถะก็ตาม;  เทียบ อัตตัตถะ

ปรัปวาท  (ปะรับปะวาด)  คำกล่าวของคนพวกอื่นหรือลัทธิอื่น,  คำกล่าวโทษคัดค้านโต้แย้งของคนพวกอื่น, หลักการของฝ่ายอื่น, ลัทธิภายนอก

ปรัมปรโภชน์  โภชนะทีหลัง คือ ภิกษุรับนิมนต์ในที่แห่งหนึ่งด้วยโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไม่ไปฉันในที่นิมนต์นั้น ไปฉันเสียในที่อื่นที่เขานิมนต์ทีหลัง ซึ่งพ้องเวลากัน

ปราการ  กำแพง, เครื่องล้อมกั้น

ปราชญ์  ผู้รู้,  ผู้มีปัญญา

ปรามาส  (ปฺรามาด)  ดูถูก,  ดูหมิ่น

ปรามาส  (ปะรามาด)  การจับต้อง, การยึดฉวย, การจับไว้มั่น, การลูบหรือเสียดสีไปมา, ความยึดมั่น; มักแปลกันว่า การลูบคลำ

ปราโมทย์  ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ

ปรารภ  ตั้งต้น, ดำริ, กล่าวถึง

ปรารมภ์  เริ่ม, ปรารภ, เริ่มแรก, วิตก, รำพึง, ครุ่นคิด

ปราศรัย พูดด้วยความเอ็นดู, กล่าว

ปราสาท   เรือนหลวง, เรือนชั้น

ปริกรรมนิมิต  นิมิตแห่งบริกรรม, นิมิตขั้นตระเตรียมหรือเริ่มเจริญสมถกรรมฐาน ได้แก่สิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์ เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู หรือพุทธคุณที่นึกว่าอยู่ในใจเป็นต้น (ข้อ ๑ ในนิมิต ๓)

ปริกัป  ๑. ความตรึก,  ความดำริ,  ความคำนึง,  ความกำหนดในใจ  ๒. การกำหนดด้วยเงื่อนไข, ข้อแม้

ปริกัมม  ดู บริกรรม

ปริจเฉท  กำหนดตัด, ข้อความที่กำหนดไว้เป็นตอนๆ, ข้อความที่รวบรวมเอามาจัดเป็นหมวดๆ, บท, ตอน; การกำหนดแยก, การพิจารณาตัดแยกออกให้เห็นแต่ละส่วน (พจนานุกรมเขียน ปริเฉท)

ปริจเฉทรูป  รูปที่กำหนดเทศะ  ได้แก่ อากาสธาตุ หรืออากาศ  คือ ช่องว่าง เช่น ช่องว่างในส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ปริญญา  การกำหนดรู้, การทำความเข้าใจโดยครบถ้วน  มี ๓ คือ ๑. ญาตปริญญา   กำหนดรู้ขั้นรู้จัก  ๒. ตีรณปริญญา   กำหนดรู้ขั้นพิจารณา  ๓. ปหานปริญญา   กำหนดรู้ถึงขั้นละได้

ปริณายก  ผู้นำ, ผู้เป็นหัวหน้า

ปริเทวะ  ความร่ำไรรำพัน, ความคร่ำครวญ, ความรำพันด้วยเสียใจ, ความบ่นเพ้อ

ปริเทวนาการ  ดู ปริเทวะ

ปรินิพพาน  การดับรอบ, การดับสนิท, ตาย (สำหรับพระพุทธเจ้าและพระ
อรหันต์)  ดู นิพพาน

ปรินิพพานบริกรรม  การกระทำขั้นต้นก่อนที่จะปรินิพพาน, การเตรียมปรินิพพาน  ในพุทธประวัติ ได้แก่ การทรงเข้าอนุปุพพวิหารสมาบัติก่อนแล้วเสด็จปรินิพพาน

ปรินิพพานสมัย  เวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน

ปริพาชก  นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนาพวกหนึ่งในชมพูทวีป ชอบสัญจรไปในที่ต่างๆ สำแดงทรรศนะทางศาสนาปรัชญาของตน

ปริพาชิกา  ปริพาชกเพศหญิง

ปริมณฑล  วงรอบ, วงกลม;  เรียบร้อย

ปริยัติ  พุทธพจน์อันจะพึงเล่าเรียน, สิ่งที่ควรเล่าเรียน (โดยเฉพาะหมายเอาพระบาลีคือพระไตรปิฎก พุทธพจน์หรือพระธรรมวินัย);  การเล่าเรียนพระธรรมวินัย

ปริยัติสัทธรรม  ดู สัทธรรม

ปริยาย  การเล่าเรื่อง, บรรยาย; อย่าง, ทาง, นัยอ้อม, แง่

ปริยายสุทธิ  ความบริสุทธิ์โดยปริยาย คือ จัดเป็นความบริสุทธิ์ได้บางแง่บางด้าน ยังไม่บริสุทธิ์สิ้นเชิง ยังมีการละ และการบำเพ็ญอยู่ ตรงข้ามกับนิปปริยายสุทธิ  ดู สุทธิ

ปริเยสนา  การแสวงหา มี ๒ คือ ๑. อนริยปริเยสนา แสวงหาอย่างไม่ประเสริฐ ตนยังมีทุกข์ ก็ยังแสวงหาสภาพที่มีทุกข์  ๒. ปริยปริเยสสนา   แสวงหาอย่างประเสริฐ ตนมีทุกข์แต่แสวงหาสภาพที่ไม่มีทุกข์ ได้แก่นิพพาน; สำหรับคนทั่วไป ท่านอธิบายว่า มิจฉาอาชีวะ เป็น อนริยปริเยสนา  สัมมาอาชีวะ เป็นอริยปริเยสนา

ปริโยสาน  ที่สุดลงโดยรอบ, จบ, จบอย่างสมบูรณ์

ปริวัฏฏ์  หมุนเวียน, รอบ; ญาณทัสสนะมีปริวัฏฏ์ ๓ หรือเวียนรอบ ๓ ในอริยสัจจ์ ๔ หมายถึง รู้อริยสัจจ์ ๔ แต่ละข้อโดยสัจจญาณ  กิจจญาณและกตญาณ รวม ๔ ข้อเป็น ๑๒ เรียกว่ามีอาการ ๑๒

ปริวาส  การอยู่ชดใช้ เรียกสามัญว่าอยู่กรรม, เป็นชื่อวุฏฐานวิธี (ระเบียบปฏิบัติสำหรับออกจากครุกาบัติ) อย่างหนึ่ง ซึ่งภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ จะต้องประพฤติเป็นการลงโทษตนเองชดใช้ให้ครบเท่าจำนวนวันที่ปิดอาบัติ ก่อนที่จะประพฤติมานัตอันเป็นขั้นตอนปกติของการออกจากอาบัติต่อไป, ระหว่างอยู่ปริวาส ต้องประพฤติวัตรต่างๆ เช่น งดใช้สิทธิบางอย่าง ลดฐานะของตนและประจานตัวเป็นต้น; ปริวาส มี ๓ อย่าง คือ ปฏิจฉันนปริวาส สโมธานปริวาส และ สุทธันตปริวาส;  มีปริวาสอีกอย่างหนึ่งสำหรับนักบวชนอกศาสนา จะต้องประพฤติก่อนที่จะบวชในพระธรรมวินัย เรียกว่า ติตถิยปริวาส ซึ่งท่านจัดเป็น อปฏิจฉันนปริวาส

ปริวิตก  ความคิดนึก, คำนึง; ไทยใช้หมายความว่านึกเป็นทุกข์หนักใจ, นึกห่วงใย

ปริสะ  บริษัท, ที่ประชุมสงฆ์ผู้ทำกรรม

ปริสทูสโก  ผู้ประทุษร้ายบริษัท เป็นคนพวกหนึ่งที่ถูกห้ามบรรพชา หมายถึงผู้มีรูปร่างแปลกเพื่อน เช่น สูงหรือเตี้ยจนประหลาด ศีรษะโต หรือ หลิมเหลือเกิน เป็นต้น

ปริสวิบัติ  เสียเพราะบริษัท, วิบัติโดยบริษัท, บกพร่องเพราะบริษัท หมายถึงเมื่อสงฆ์จะทำสังฆกรรม ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์กำหนด, หรือครบแต่ไม่ได้นำฉันทะของผู้ควรแก่ฉันทะมา, หรือมีผู้คัดค้านกรรมที่สงฆ์ทำ

ปริสสมบัติ  ความพร้อมมูลแห่งบริษัท, ถึงพร้อมด้วยบริษัท, ความสมบูรณ์ของที่ประชุม คือไม่เป็นปริสสวิบัติ (ตัวอย่าง ประชุมภิกษุให้ครบองค์กำหนด เช่น จะทำกฐินกรรม ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป จะให้อุปสมบทในมัธยมประเทศ ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๑๐ รูป เป็นต้น)

ปริสัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักประชุมชนและกิริยาที่จะต้องปฏิบัติต่อประชุมชนนั้นๆ เช่นรู้จักว่า ประชุมชนนี้ เมื่อเข้าไป จะต้องทำกิริยาอย่างนี้จะต้องพูดอย่างนี้ เป็นต้น (ข้อ ๖ ในสัปปุริสธรรม ๗)

ปริสุปัฏฐาปกะ  ภิกษุผู้เป็นนิสัยมุตก์ คือพ้นจากการถือนิสัยแล้ว มีคุณสมบัติสมควรเป็นผู้ปกครองหมู่ สงเคราะห์บริษัท)

ปรีชา   ความรอบรู้, ความหยั่งรู้, ความกำหนดรู้

ปฤษฎางค์  อวัยวะเบื้องหลัง, ส่วนหลัง, ข้างหลัง

ปลงตก  พิจารณาเห็นจริงตามสภาพของสังขาร แล้ววางใจเป็นปกติได้

ปลงบริขาร  มอบบริขารให้แก่ผู้อื่นในเวลาใกล้จะตาย เป็นการให้อย่างขาดกรรมสิทธิ์ไปทีเดียวตั้งแต่เวลานั้น (ใช้สำหรับภิกษุผู้จะถึงมรณภาพเพื่อให้ถูกต้องตามพระวินัย)

ปลงผม  โกนผม (สำหรับบรรพชิต)

ปลงพระชนมายุสังขาร  ดู ปลงอายุสังขารปลงศพ  เผาผี, จัดการเผาฝังให้เสร็จสิ้นไป

ปลงสังขาร  ทอดอาลัยในกายของตนว่าจะตายเป็นแน่แท้แล้ว

ปลงอาบัติ  แสดงอาบัติเพื่อให้พ้นจากอาบัติ, ทำตนให้พ้นจากอาบัติด้วยการเปิดเผยอาบัติของตนแก่สงฆ์หรือแก่ภิกษุอื่น, แสดงความผิดของตนเพื่อเปลื้องโทษทางวินัย, ใช้สำหรับอาบัติที่แสดงแล้วพ้นได้ ถือ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ และทุพภาสิต

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พฤษภาคม 2556 16:24:29 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2556 17:18:48 »

.

ปลงอายุสังขาร  “สลัดลงซึ่งปัจจัยเครื่องปรุงแต่งอายุ”, ตกลงใจกำหนดการสิ้นสุดอายุ, ตกลงพระทัยว่าจะปรินิพพาน, กำหนดพระทัยเกี่ยวกับการที่จะปรินิพพาน

ปละ (ปะละ) ชื่อมาตราสำหรับชั่งน้ำหนักประมาณ ๕ ชั่ง มีดังนี้
     ๔ เมล็ดข้าวเปลือกเป็น ๑ กุญชา (กล่อม)
     ๒ กุญชา  เป็น ๑ มาสก (กล่ำ)
     ๕ มาสก  เป็น ๒ อักขะ
     ๘ อักขะ  เป็น ๑ ธรณะ
     ๑๐ ธรณะ เป็น ๑ ปละ
     ๑๐๐ ปละ  เป็น ๑ ตุลา
     ๒๐ ตุลา  เป็น ๑ ภาระ
           หนังสือเก่าเขียนปะละ

ปลา  ในโภชนะ ๕ อย่างคือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑   ปลาในที่นี้หมายความรวมไปถึง หอย กุ้ง และสัตว์น้ำเหล่าอื่นที่ใช้เป็นอาหาร

ปลาสะ  ตีเสมอ คือยกตนเทียมท่าน (ข้อ ๖ ในอุปกิเลส ๑๖)

ปลิโพธิ  เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเป็นเหตุให้ใจพะวักพะวนห่วงกังวล, เหตุกังวล, ข้อติดข้อง; ปริโพธที่ผู้จะเจริญกรรมฐานพึงตัดเสียให้ได้ เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดีมี ๑๐ อย่าง คือ ๑. อาวาสปลิโพธ  ความกังวลเกี่ยวกับวัดหรือที่อยู่  ๒. กุลปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฏฐาก  ๓. ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ ๔. คณะปลิโพธิ   ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ  ๕. กรรมปลิโพธิ ความกังวลเกี่ยวกับการงาน เช่น การก่อสร้าง  ๖. อัทธานปลิโพธ  ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื่องด้วยกิจธุระ  ๗. ญาติปลิโพธิ   ความกังวลเกี่ยวกับญาติหรือคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น  ๘. อาพาธปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับความเจ็บไข้ของตนเอง  ๙. คันถปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน  ๑๐. อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื่อม (ข้อท้ายนี้เป็นปลิโพธสำหรับผู้จะเจริญวิปัสสนาเท่านั้น

ในทางพระวินัยเกี่ยวกับการกรานกฐิน ปลิโพธ หมายถึงความกังวลที่เป็นเหตุให้กฐินยังไม่เดาะ (คือยังรักษาอานิสงส์กฐินและเขตแห่งจีวรกาลตามกำหนดไว้ได้) มี ๒ อย่างคือ ๑. อาวาสปลิโพธ  ความกังวลในอาวาส (ยังอยู่ในวัดนั้นหรือหลีกไปแต่ยังผูกใจว่าจะกลับมา)  ๒. จีวรปลิโพธ ความกังวลในจีวร (ยังไม่ได้ทำจีวรหรือทำค้างอยู่ หรือหายเสียในเวลาทำแต่ยังไม่สิ้นหวังว่าจะได้จีวรอีก) ถ้าสิ้นปลิโพธครบทั้งสองอย่าง จึงเป็นอันเดาะกฐิน (หมดอานิสงส์และสิ้นเขตจีวรกาลก่อนกำหนด)

ปวัตตมังสะ   เนื้อที่มีอยู่แล้ว คือเนื้อสัตว์ที่เขาขายอยู่ตามปกติสำหรับคนทั่วๆ ไป ไม่ใช่ฆ่าเพื่อเอาเนื้อมาถวายพระ; ตรงข้ามกับ อุทิสสมังสะ

ปวัตตินี  คำเรียกผู้ทำหน้าที่อุปัชฌาย์ในฝ่ายภิกษุณี

ปวารณา  ๑. ยอมให้ขอ, เปิดโอกาสให้ขอ  ๒. ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน, เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือน, ชื่อสังฆกรรมที่พระสงฆ์ทำในวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษา คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่าวันมหาปวารณา โดยภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณา คือ เปิดโอกาสให้กันและกันว่ากล่าวตักเตือนได้ดังนี้ “สงฺฆมฺภนฺเต ปวาเรมิ, ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา; วทนฺตุ มํ, อายสฺมนฺโต อนุกมฺปํ อุปาทาย; ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสามิ. ทุติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ ปวาเรมิ,.....”  แปลว่า “ข้าพเจ้าขอปวารณากะสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วยได้ยินก็ตาม ด้วยน่าระแวงสงสัยก็ตาม, ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงว่ากล่าวกะข้าพเจ้าด้วยอาศัยความหวังดีเอ็นดู, เมื่อข้าพเจ้ามองเห็น จักแก้ไข แม้ครั้งที่สอง....แม้ครั้งที่สาม...” (ภิกษุผู้มีพรรษาสูงสุดในที่ประชุมว่า อาวุโส แทน ภนฺเต)

ปวารณาเป็นสังฆกรรมประเภทญัตติกรรม คือ ทำโดยตั้งญัตติ (คำเผดียงสงฆ์) อย่างเดียว ไม่ต้องสวดอนุสาวนา (คำขอมติ); เป็นกรรมที่ต้องทำโดยสงฆ์ปัญจวรรค คือ มีภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป

ปวารณา ถ้าเรียกชื่อตามวันที่ทำแบ่งได้เป็น ๓ อย่าง คือ ๑. ปัณณรสิกา ปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยปกติในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ คือวันออกพรรษา)  ๒. จาตุททสิกา ปวารณา (ในกรณีที่มีเหตุสมควร ท่านอนุญาตให้เลื่อนปวารณาออกไปปักษ์หนึ่งหรือเดือนหนึ่งโดยประกาศให้สงฆ์ทราบ ถ้าเลื่อนออกไปปักษ์หนึ่งก็ตกในแรม ๑๔ ค่ำ เป็นจาตุททสิกา แต่ถ้าเลื่อนไปเดือนหนึ่งก็เป็นปัณณรสิกาอย่างข้อแรก)  ๓. สามัคคีปวารณา (ปวารณาที่ทำในวันสามัคคี คือ ในวันที่สงฆ์ซึ่งแตกกันแล้วกลับปรองดองเข้ากันได้ อันเป็นกรณีพิเศษ)

ถ้าแบ่งโดยการก คือ ผู้ทำปวารณาแบ่งเป็น ๓ อย่าง คือ ๑. สังฆปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยสงฆ์ คือมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป)  ๒. คณปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยคณะคือมีภิกษุ ๒-๔ รูป)  ๓. ปุคคลปวารณา (ปวารณาที่ทำโดยบุคคลคือมีภิกษุรูปเดียว) และโดยนัยนี้ อาการที่ทำปวารณาจึงมี ๓ อย่าง คือ ๑. ปวารณาต่อที่ชุมนุม (ได้แก่สังฆปวารณา)  ๒. ปวารณากันเอง (ได้แก่ คณปวารณา)  ๓. อธิษฐานใจ (ได้แก่ ปุคคลปวารณา)

ในการทำสังฆปวารณา ต้องตั้งญัตติคือ ประกาศแก่สงฆ์ก่อน แล้วภิกษุทั้งหลายจึงจะกล่าวคำปวารณาอย่างที่แสดงไว้ข้างต้น ตามธรรมเนียมท่านให้ปวารณารูปละ ๓ หน  แต่ถ้ามีอันตรายคือเหตุฉุกเฉินขัดข้องจะทำอย่างนั้นไม่ได้ตลอด (เช่น แม้แต่ทายกมาทำบุญ) จะปวารณารูปละ ๒ หน หรือ ๑ หน หรือ พรรษาเท่ากันว่าพร้อมกันก็ได้  ทั้งนี้ จะปวารณาอย่างไรก็พึงประกาศให้สงฆ์รู้ด้วยญัตติก่อน   โดยนัยนี้ การตั้งญัตติในสังฆปวารณาจึงมีต่างๆ กัน ดังมีอนุญาตไว้ดังนี้  ๑. เตวาจิกา ญัตติ คือ จะปวารณา ๓ หน พึงตั้งญัตติว่า : สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ. อชฺช ปวารณา ปณฺณรสี, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโฆ เตวาจิกํ ปวาเรยฺย  แปลว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ปวารณาวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณาอย่างกล่าววาจา ๓ หน (ถ้าเป็นวันแรม ๑๔ ค่ำ หรือวันสามัคคีก็พึงเปลี่ยน ปณฺณรสี เป็น จาตุทฺทสี หรือ สามคฺคี ตามลำดับ)  ๒. เทฺววาจิกา ญัตติ คือจะปวารณา ๒ หน ตั้งญัตติอย่างเดียวกัน แต่เปลี่ยน เตวาจิกํ เป็น เทฺววาจิกํ ๓. เอกวาจิกา ญัตติ คือจะปวารณาหนเดียว ตั้งญัตติอย่างเดียวกันนั้น แต่เปลี่ยน เตวาจิกํ เป็น เอกวาจิกํ  ๔. สมานวัสสิกา ญัตติ คือ จัดให้ภิกษุที่มีพรรษาเท่ากัน ปวารณาพร้อมกัน ตั้งญัตติก็เหมือน แต่เปลี่ยน เตวาจิกํ เป็นสมานวสฺสิกา (จะว่า ๓ หน ๒ หน หรือหนเดียวได้ทั้งนั้น) ๕. สัพพสังคาหิกา ญัตติ คือ แบบตั้งครอบทั่วไป ไม่ระบุว่ากี่หน ตั้งญัตติคลุมๆ โดยลงท้ายว่า ...สงฺโฆ ปวาเรยฺย (ตัดคำว่า เตวาจิกํ ออกเสีย และไม่ใส่คำใดอื่นแทนลงไป อย่างนี้จะปวารณากี่หนก็ได้);  ธรรมเนียมคงนิยมแต่แบบที่ ๑, ๒ และ ๔  และท่านเรียกชื่อปวารณาตามนั้นด้วยว่า เตวาจิกา ปวารณา, เทฺววาจิกา ปวารณา, สมานวัสสิกา ปวารณา ตามลำดับ

ในการทำคณปวารณ ถ้ามีภิกษุ ๓-๔ รูป พึงตั้งญัตติก่อนว่า: สุณนฺตุ เม อายสฺมนฺโต, อชฺช ปวารณา ปณฺณรสี, ยทายสุมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ, มยํ อญฺญมญฺญํ ปวาเรยฺยาม  แปลว่า ท่านเจ้าข้า ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ปวารณาวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณากันเถิด (ถ้า ๓ รูปว่า อายสฺมนฺตา แทน อายสฺมนฺโต) จากนั้นแต่ละรูปปวารณา ๓ หน ตามลำดับพรรษาดังนี้: มี ๓ รูปว่า อหํ อาวุโส  อายสฺมนฺเต ปวาเรมิ ฯเปฯ  วทนฺตุ มํ อายสฺมนฺตา อนุกมฺปํ อุปาทาย, ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสามิ.  ทุติยมฺปิ อาวุโส ฯเปฯ  ตติยมฺปิ อาวุโส ฯเปฯ  ปฏิกฺกริสฺสามิ. (ถ้ารูปอ่อนกว่าว่า เปลี่ยน อาวุโส เป็น ภนฺเต);  มี ๔ รูป เปลี่ยน อายสฺมนฺเต และ อายสฺมนฺตา เป็น อายสฺมนฺโต อย่างเดียว;   ถ้ามี ๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติ  คำปวารณาก็เหมือนอย่างนั้น เปลี่ยนแต่ อายสฺมนฺเต เป็น อายสฺมนฺตํ,  อายสฺมนฺตา เป็น อายสฺมา และ วทนฺตุ เป็น วทตุ

ถ้าภิกษุอยู่รูปเดียว เธอพึงตระเตรียมสถานที่ไว้ และคอยภิกษุอื่นจนสิ้นเวลา เมื่อเห็นว่าไม่มีใครอื่นแล้วพึงทำ ปุคคลปวารณา โดยอธิษฐาน คือกำหนดใจว่า อชฺช เม ปวารณา แปลว่า ปวารณาของเราวันนี้

เหตุที่จะอ้างเพื่อเลื่อนวันปวารณาได้ คือจะมีภิกษุจากที่อื่นมาสมทบปวารณาด้วย โดยหมายจะคัดค้านผู้นั้นผู้นี้ให้เกิดอธิกรณ์ขึ้น หรืออยู่ด้วยกันผาสุก ถ้าปวารณาแล้วต่างก็จะจาริกจากกันไปเสีย

ปวิเวกกถา  ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัดกายสงัดใจ (ข้อ ๓ ในกถาวัตถุ ๑๐)

ปสาทะ  ความเลื่อมใส, ความชื่นบานผ่องใส, อาการที่จิตเกิดความแจ่มใสโปร่งโล่งเบิกบานปราศจากความอึดอัดขุ่นมัว ต่อบุคคลหรือสิ่งที่พบเห็นสดับฟังหรือระลึกถึง; มักใช้คู่กับ ศรัทธา

ปสุสัตว์, ปศุสัตว์  สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ แพะ แกะ สุกร เป็นต้น

ปเสนทิ  พระเจ้าแผ่นดินแคว้นโกศล ครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครสาวัตถี

ปหานะ   การละ, การกำจัด หมายถึง กำจัดกิเลส, ละตัณหา, กำจัดบาปอกุศลธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

ปหานปธาน  เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว (ข้อ ๒ ในปธาน ๔)

ปหานปริญญา  กำหนดรู้ถึงขั้นละได้ คือ กำหนดรู้สังขารว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนถึงขั้นละนิจจสัญญา เป็นต้น  ในสังขารนั้นได้ (ข้อ ๓ ในปริญญา ๓)
ปหานสัญญา  กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตก และบาปธรรมทั้งปวง (ข้อ ๕ ในสัญญา ๑๐)

ปะละ  ดู ปละ

ปกฺขหตตา   ความเป็นผู้ชาไปซีกหนึ่ง ได้แก่โรคอัมพาต

ปักขันทิกาพาธ  โรคท้องร่วง พระสารีบุตรนิพพานด้วยโรคนี้

ปักขิกะ  อาหารที่เขาถวายปักษ์ละครั้งคือสิบห้าวันครั้งหนึ่ง

ปักขิกภัต  ดู ปักขิกะ

ปักษ์  ปีก, ฝ่าย, ข้าง, กึ่งของเดือนทางจันทรคติ คือเดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (ฝ่ายขาวหมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (ฝ่ายดำ หมายเอาเดือนมืด);  ชุณหปักษ์ และกัณหปักษ์ก็เรียก

ปัคคหะ  การยกย่อง

ปังสุกูลิกังคะ  องค์แห่งผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ใช้เฉพาะแต่ผ้าบังสุกุล คือไม่รับจีวรจากทายก เที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลมาเย็บย้อมทำจีวรเอง

ปัจจยาการ  อาการที่เป็นปัจจัยแก่กัน ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท

ปัจจเวกขณญาณ  ญาณที่พิจารณาทบทวน,  ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนตรวจตรามรรคผล กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และนิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่);  ญาณนี้เกิดแก่ผู้บรรลุมรรคผลแล้ว คือ ภายหลังจากผลญาณ;  ดู ญาณ ๑๖

ปัจจัตตลักษณะ  ลักษณะเฉพาะตน, ลักษณะเฉพาะของสิ่งต่างๆ เช่นเวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ สัญญามีลักษณะจำได้เป็นต้น,  คู่กับ สามัญลักษณะ

ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ  พระธรรมอันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน  ผู้อื่นไม่พลอยตามรู้ตามเห็นด้วย เหมือนรสอาหาร ผู้บริโภคเท่านั้นจึงจะรู้รส ผู้ไม่ได้บริโภคจะพลอยรู้รสด้วยไม่ได้

ปัจจัตถรณะ  ผ้าปูนอน, บรรจถรณ์ก็ใช้

ปัจจันตชนบท  เมืองชายแดนนอก มัชฌิมชนบทออกไป

ปัจจันตประเทศ  ประเทศปลายแดน, ประเทศชายแดน, หัวเมืองชั้นนอก, ถิ่นที่ยังไม่เจริญ คือ นอกมัธยมประเทศ หรือ มัชฌิมชนบท

ปัจจัย  ๑. เหตุที่ให้ผลเป็นไป, เหตุ, เครื่องหนุนให้เกิด  ๒. ของสำหรับอาศัยใช้,  เครื่องอาศัยของชีวิต, สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต มี ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) คิลานเภสัช (ยาบำบัดโรค)

ปัจจัยปริคคหญาณ  ดู นามรูปปัจจัย ปริคคหญาณ

ปัจจัยปัจจเวกขณะ  การพิจารณาปัจจัย, พิจารณาก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา (ข้อ ๔ ในปาริสุทธิศีล ๔)

ปัจจามิตร ข้าศึก, ศัตรู

ปัจจุทธรณ์  ถอนคืน คือถอนคืนผ้าที่อธิษฐานไว้ เช่น อธิษฐานสบงคือ ตั้งใจกำหนดไว้ให้เป็นสบงครอง ก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง, ตัวอย่าง ปัจจุทธรณ์สบงว่า “อิมํ อนตรวาสกํ ปจฺจุทฺธรามิ” (เปลี่ยน อนฺตรวาสกํ  เป็น สงฺฆาฏิ  เป็น อุตฺตราสงฺคํ เป็นต้น สุดแต่ว่าจะถอนอะไร)

ปัจจุปปันนังสญาณ  ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน, ปรีชากำหนดรู้เหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่  รู้ว่าควรทำอย่างไรในเมื่อมีเหตุหรือผลเกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นต้น (ข้อ ๓ ในญาณ ๓)

ปัจเจกพุทธะ  พระพุทธเจ้าประเภทหนึ่งซึ่งตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น  ดู พุทธะ

ปัจฉาสมณะ  พระตามหลัง, พระผู้ติดตาม เช่น พระพุทธเจ้ามักทรงมีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ (คู่กับปุเรสมณะ พระนำหน้า)

ปัจฉาภัต  ทีหลังฉัน, เวลาหลังอาหาร หมายถึงเวลาเที่ยงไปแล้ว

ปัจฉิมกิจ  ธุระที่พึงทำภายหลัง, กิจที่พึงทำตอนท้าย เช่น ปัจฉิมกิจแห่งอุปสมบทมี ๖ ได้แก่ วัดเงาแดด, บอกประมาณแห่งฤดู, บอกส่วนแห่งวัน, บอกสังคีติ (บอกรวบหรือบอกประมวล เช่น วัดที่บวช อุปัชฌาย์ กรรมวาจาจารย์ และจำนวนสงฆ์ เป็นต้น)  บอกนิสัย ๔ และบอกอกรณียกิจ ๔ (ที่รวมเรียกอนุศาสน์)

ปัจฉิมชาติ  ชาติหลัง คือ ชาติสุดท้ายไม่มีชาติใหม่หลังจากนี้อีกเพราะดับกิเลสได้สิ้นเชิงแล้ว

ปัจฉิมทัสสนะ  ดูครั้งสุดท้าย, เห็นครั้งสุดท้าย

ปิจฉิมทิส  ทิศเบื้องหลัง หมายถึงบุตร ภรรยา  ดู ทิศหก

ปัจฉิมโพธิกาล   โพธิกาลช่วงหลัง, ระยะเวลาบำเพ็ญพุทธกิจตอนท้ายคือ ช่วงใกล้จนถึงปรินิพพานสูตร ตั้งแต่ปลงพระชนมายุสังขารถึงปรินิพาน

ปัจฉิมภพ  ภพหลัง, ภพสุดท้าย  ดู ปัจฉิมชาติ

ปัจฉิมยาม  ยามสุดท้าย, ช่วงสุดท้ายแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน

ปัจฉิมวัย  วัยหลัง (มีอายุระยะ ๖๗ ปีล่วงไปแล้ว)  ดู วัย

ปัจฉิมวาจา   ดู ปัจฉิมโอวาท

ปัจฉิมสักขิสาวก  สาวกผู้เป็นพยานการตรัสรู้องค์สุดท้าย, สาวกที่ทันเห็นองค์สุดท้าย ได้แก่พระสุภัททะ

ปัจฉิมโอวาท  คำสอนครั้งสุดท้าย หมายถึง ปัจฉิมวาจา คือ พระดำรัสสุดท้ายของพระพุทธเจ้าก่อนจะปรินิพพานว่า “วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ”  แปลว่า “สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจง (ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น) ให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

ปัจฉิมิกา  วันเข้าพรรษาหลัง ได้แก่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙; อีกนัยหนึ่งท่านสันนิษฐานว่า เป็นวันเข้าพรรษาในปีที่มีอธิกมาส (เดือน ๘ สองหน) เทียบปุริมิกา

ปัจฉิมิกาวัสสูปนายิกา  วันเข้าพรรษาหลัง  ดู ปัจฉิมิกาปัญจกะ  หมวด ๕

ปัญจขันธ์  ขันธ์ห้า คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

ปัญจพิธกามคุณ  กามคุณ ๕ อย่าง คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะที่น่ารักใคร่น่าชอบใจ

ปัญจพิธพันธนะ  เครื่องตรึง ๕ อย่าง คือ ตรึงเหล็กอันร้อนที่มือทั้ง ๒ ข้างที่เท้าทั้ง ๒ ข้าง และที่กลางอก ซึ่งเป็นการลงโทษที่นายนิรยบาลกระทำต่อสัตว์นรก

ปัญจเภสัช  เภสัชทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

ปัญจมหาบริจาค  ดู มหาบริจาค

ปัญจมหาวิโลกนะ   ดู มหาวิโลกนะ

ปัญจมหาสุบิน  ดู มหาสุบินปัญจวรรค  สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวน ๕ รูป จึงจะถือว่าครบองค์ เช่นที่ใช้ในการกรานกฐิน และการอุปสมบทในปัจจันตชนบท เป็นต้น

ปัญจวัคคีย์  พระพวก ๕ คือ อัญญาโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานาม อัสสชิ เป็นพระอรหันตสาวกรุ่นแรกของพระพุทธเจ้า

ปัญจสติกขันธกะ  ชื่อขันธกะที่ ๑๑ แห่งจุลวรรค วินัยปิฏก ว่าด้วยเรื่องการสังคายนาครั้งที่ ๑

ปัญจังคะ  เก้าอี้มีพนักด้านเดียว, เก้าอี้ไม่มีแขน

ปัญจาละ  ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของแคว้นกุรุ มีแม่น้ำภาคีรถี ซึ่งเป็นแควหนึ่งของแม่น้ำคงคาตอนบนไหลผ่าน นครหลวงชื่อกัมปิลละ

ปัญญา  ความรู้ทั่ว, ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้เข้าใจชัดเจน, ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ, ความรอบรู้ในกองสังขารมองเห็นตามเป็นจริง  ดู ไตรสิกขา, สิกขา

ปัญญากถา  ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา (ข้อ ๘ ในกถาวัตถุ ๑๐)

ปัญญาขันธ์  กองปัญญา, หมวดธรรมว่าด้วยปัญญา เช่น ธรรมวิจยะ การเลือกเฟ้นธรรม กัมมัสสกตาญาณ  ความหยั่งรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัวเป็นต้น (ข้อ ๓ ในธรรมขันธ์ ๕)

ปัญญาจักขุ, ปัญญาจักษุ  จักษุคือปัญญา, ตาปัญญา; เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยปัญญาจักขุ (ข้อ ๓ ในจักขุ ๕)

ปัญญาภาวนา   ดู ภาวนา

ปัญญาวิมุติ  “ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา”  หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็จด้วยบำเพ็ญวิปัสสนาโดยมิได้อรูปสมบัติมาก่อน

ปัญญาวิมุตติ   ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตตผลและทำให้เจโตวิมุตติ เป็น เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือไม่กลับกลายได้อีกต่อไป เทียบ เจโตวิมุตติ

ปัญญาสมวาร  วันที่ ๕๐, วันที่ครบ ๕๐

ปัญญาสัมปทา  ความถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ และเข้าใจชีวิตนี้ตามความเป็นจริง ที่จะไม่ให้ลุ่มหลงมัวเมา (ข้อ ๔ ในธรรมที่เป็นไปเพื่อสัมปรายิกัตถะ ๔)

ปัญญาสิกขา  สิกขา คือ ปัญญา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้เข้าใจเหตุผล รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ ตลอดจนรู้แจ้งสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ที่ถูกต้องเขียน อธิปัญญาสิกขาปัญหา  คำถาม, ข้อสงสัย, ข้อติดขัดอัดอั้น ข้อที่ต้องคิดต้องแก้ไข

ปัณฑกะ   บัณเฑาะก์, กะเทย

ปัณฑุกะ  ชื่อภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในพวกภิกษุเหลวไหลทั้ง ๖ ที่เรียกว่า ฉัพพัคคีย์ (พระพวก ๖ ที่ชอบก่อเรื่องเสียหายทำให้พระพุทธเจ้าต้องทรงบัญญัติสิกขาบทหลายข้อ)

ปัณฑุปลาส  ใบไม้เหลือง (ใบไม้แก่); คนเตรียมบวช, คนจะขอบวช

ปัณณเภสัช  พืชมีใบเป็นยา, ยาทำจากใบพืช  เช่น สะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอม ใบกะเพรา เป็นต้น

ปัณณัตติวัชชะ  อาบัติที่เป็นโทษทางพระบัญญัติ คือคนสามัญทำเข้าไปเป็นความผิดความเสีย เป็นผิดเฉพาะแก่ภิกษุ โดยฐานละเมิดพระบัญญัติ เช่น ฉันอาหารในเวลาวิกาล ขุดดิน ใช้จีวรที่ไม่ได้พินทุ นั่งนอนบนเตียงตั่งที่ไม่ได้ตรึงเท้าให้แน่น เป็นต้น

ปัตตคาหาปกะ  ภิกษุผู้ได้รับสมมติคือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่เป็นผู้แจกบาตร

ปัตตปิณฑิกังคะ  องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือ ถือการฉันเฉพาะในบาตร ไม่ใช้ภาชนะอื่น (ข้อ ๖ ในธุดงค์ ๑๓)

ปัตตวรรค  หมวดอาบัติกำหนดด้วยบาตร, ชื่อวรรคที่ ๓ แห่งนิสสัคคิยปาจิตตีย์

ปัตตานุโมทนามัย  บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ, ทำบุญด้วยการยินดีในการทำดีของผู้อื่น (ข้อ ๗ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

ปัตติทานมัย  บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ, ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น (ข้อ ๖ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

ปัปผาสะ  ปอด

ปัพพชาจารย์  อาจารย์ผู้ให้บรรพชา; เขียนเต็มรูปเป็น ปัพพัชชาจารย์ จะเขียน บรรพชาจารย์ ก็ได้

ปัพพชาเปกขะ  กุลบุตรผู้เพ่งบรรพชา, ผู้ตั้งใจจะบวชเป็นสามเณร, ผู้ขอบวชเป็นสามเณร; เขียนเต็มรูปเป็น ปัพพัชชาเปกขะ

ปัพพัชชา  การถือบวช, บรรพชาเป็นอุบายฝึกอบรมตนในทางสงบ เว้นจากความชั่วมีการเบียดเบียนกันและกัน เป็นต้น (ข้อ ๒ ในสัปปุริสบัญญัติ ๓)

ปัพพาชนียกรรม  กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันพึงจะไล่เสีย, การขับออกจากหมู่, การไล่ออกจากวัด, กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุล และประพฤติเลวทรามเป็นข่าวเซ็งแซ่หรือแก่ภิกษุผู้เล่นคะนอง ๑ อนาจาร ๑ ลบล้างพระบัญญัติ ๑ มิจฉาชีพ ๑ (ข้อ ๓ ในนิคหกรรม ๖)

ปัสสัทธิ  ความสงบกายสงบใจ, ความสงบใจและอารมณ์, ความสงบเย็น, ความผ่อนคลายกายใจ (ข้อ ๕ ในโพชฌงค์ ๗)

ปัสสาวะ  เบา, เยี่ยว, มูตร

ปัสสาสะ  ลมหายใจออก

ปาจิตติยุทเทส  หมวดแห่งปาจิตติยสิกขาบท ที่ยกขึ้นแสดง คือที่สวดในปาฏิโมกข์

ปาจิตตีย์  แปลตามตัวอักษรว่า การละเมิดอันยังกุศลให้ตก, ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่ง จัดไว้ในจำพวกอาบัติเบาเรียกลหุกาบัติ พ้นได้ด้วยการแสดง;  เป็นชื่อสิกขาบท ได้แก่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ และสุทธิกปาจิตตีย์  ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่า ปาจิตตีย์ อีก ๙๒  ภิกษุล่วงละเมิดสิกขาบท ๑๒๒ ข้อเหล่านี้ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ เช่น ภิกษุพูดปด ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน ว่ายน้ำเล่น เป็นต้น  ต้องอาบัติปาจิตตีย์  ดู อาบัติ

ปาจีน  ทางทิศตะวันออก, ชาวตะวันออก  ดู ชาวปาจีน

ปาจีนทิศ  ทิศตะวันออก

ปาฐา  ชื่อเมืองหนึ่งในมัธยมประเทศครั้งพุทธกาล  ภิกษุชาวเมืองนี้คณะหนึ่ง เป็นเหตุปรารภให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการกรานกฐิน; พระไตรปิฎกบางฉบับเขียนเป็น ปาวา

ปาฏลีบุตร  เมืองหลวงของแคว้นมคธ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

ปาฏิเทสนียะ   “จะพึงแสดงคืน”, อาบัติที่จะพึงแสดงคืน เป็นชื่อลหุกาบัติ คืออาบัติเบาอย่างหนึ่งถัดรองมาจากปาจิตตีย์ และเป็นชื่อสิกขาบท ๔ ข้อ ซึ่งแปลได้ว่า พึงปรับด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ เช่น ภิกษุรับของเคี้ยวของฉัน จากเมืองของภิกษุณีที่มิใช่ญาติด้วยมือของตนมาบริโภค ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ  ดู อาบัติ

ปาฏิบท  วันขึ้นค่ำหนึ่ง หรือวันแรมค่ำหนึ่ง แต่มักหมายถึงอย่างหลัง คือแรมค่ำหนึ่ง

ปาฏิบุคลิก  ดู ปาฏิปุคคลิก

ปาฏิปทิกะ   อาหารถวายในวันปาฏิบท

ปาฏิปุคคลิก  เฉพาะบุคคล, ไม่ทั่วไป, ถวายเป็นส่วนปาฏิปุคคลิก คือถวายเจาะจงบุคคลไม่ใช่ถวายแก่สงฆ์

ปาฏิโมกข์  ชื่อคัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา ได้แก่อาทิพรหมจริยกาสิกขา มีพระพุทธานุญาต ให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า พระสงฆ์ทำอุโบสถ, คัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ (พจนานุกรมเขียน ปาติโมกข์)

ปาฏิโมกข์ย่อ  มีพุทธานุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ย่อได้ ในเมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งในเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. ไม่มีภิกษุจำปาฏิโมกข์ได้จนจบ (พึงสวดเท่าอุเทศที่จำได้)  ๒. เกิดเหตุฉุกเฉินขัดข้องที่เรียกว่าอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งในอันตรายทั้ง ๑๐ (กำลังสวดอุเทศใดค้างอยู่  เลิกอุเทศนั้นกลางคันได้ และพึงย่อตั้งแต่อุเทศนั้นไปด้วยสุตบท คือ คำว่า “สุต” ที่ประกอบรูปเป็นสุตา ตามไวยากรณ์ ทั้งนี้ยกเว้นนิทานุทเทสซึ่งต้องสวดให้จบ)

สมมตว่าสวดปาราชิกุทเทสจบแล้ว ถ้าสวดย่อตามแบบที่ท่านวางไว้จะได้ดังนี้ : สุตา โข อายสฺมนฺเตหิ เตรส สงฺฆาทิเสสา ธมฺมา,  สุตา โข อายสฺมนฺเตหิ เทฺว อนิยตา ธมฺมา,  ฯเปฯ ลงท้ายว่า  เอตฺตกํ ตสฺส ภควโต  ฯเปฯ  สิกฺขิตพฺพํ

แบบที่วางไว้เดิมนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ไม่ทรงเห็นด้วยในบางประการและทรงมีพระมติว่าควรสวดย่อดังนี้ (สวดปาราชิกุทเทสจบแล้ว สวดคำท้ายทีเดียว : อุทฺทิฏฺฐํ โข อายสฺมนฺโต นิทานํ, อุทฺทิฏฺฐา จฺตตาโร ปาราชิกา ธมฺมา, สุตา เตรส สงฺฆาทิเสสา ธมฺมา, ฯลฯ สุตา สตฺตาธิกรณสมถา ธมฺมา, เอตฺตกํ  ฯเปฯ สิกฺขิตพฺพํ  ดู อันตราย ๑๐

ปาฏิโมกขสังวร  สำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์อนุญาต (ข้อ ๑ ในปาริสุทธิศีล ๔)

ปาฏิหาริย์  สิ่งที่น่าอัศจรรย์, เรื่องที่น่าอัศจรรย์ มี ๓ คือ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ ๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ทายใจได้เป็นอัศจรรย์  ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนมีผลจริงเป็นอัศจรรย์ ใน ๓ อย่างนี้ข้อสุดท้ายดีเยี่ยมประเสริฐสุด

ปาณาติบาต  ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป, ฆ่าสัตว์

ปาณาติปาตา เวรมณี  เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง, เว้นจากการฆ่าสัตว์ (ข้อ ๑ ในศีล ๕ ฯลฯ)   

ปาตลีบุตร   ชื่อเมืองหลวงของพระเจ้าอโศกมหาราช;  เขียน ปาฏลีบุตร ก็มี

ปาตาละ  นรก, บาดาล (เป็นคำที่พวกพราหมณ์ใช้เรียกนรก)

ปาติโมกข์  ดู ปาฏิโมกข์ปาทุกา  รองเท้าประเภทหนึ่ง แปลกันมาว่า เขียงเท้า เป็นรองเท้าที่ต้องห้ามทางพระวินัย อันภิกษุไม่พึงใช้  ดู รองเท้า

ปานะ  เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ ๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง  ๒. ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า  ๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด  ๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด  ๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร)  ๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือน้ำองุ่น  ๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล  ๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่ นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)

วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุก เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า  เติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร)  แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลงไปพอให้ได้รสดี ข้อกำกัดที่พึงทราบคือ ๑. ปานะนี้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ (ข้อนี้พระมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่าแม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ)    ๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำ จึงควรฉันในเวลาวิกาล (ถ้าภิกษุทำถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล)  ๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้ (แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)

ปาปโรโค  คนเป็นโรคเลวร้าย, บางที่แปลว่า โรคเป็นผลแห่งบาป อรรถกถาว่าได้แก่ โรคเรื้อรัง เช่น ริดสีดวงกล่อน เป็นต้น เป็นโรคที่ห้ามไม่ให้รับบรรพชา

ปาปสมาจาร  ความประพฤติเหลวไหลเลวทราม ชอบสมคบกับคฤหัสถ์ด้วยการอันมิชอบ ที่เรียกว่าประทุษร้ายสกุล  ดู กุลทูสก

ปาพจน์  คำเป็นประธาน หมายถึงพระพุทธพจน์ ซึ่งได้แก่ธรรมและวินัย

ปายาส  ข้าวสุกที่หุงด้วยนมโค นางสุชาดาถวายแก่พระมหาบุรุษในเวลาเช้าของวันที่พระองค์ได้ตรัสรู้

ปาราชิก  เป็นชื่ออาบัติหนักที่ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อบุคคลผู้ที่พ่ายแพ้ คือ ต้องอาบัติปาราชิกที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อสิกขาบท ที่ปรับอาบัติหนักขั้นขาดจากความเป็นภิกษุมี ๔ อย่าง คือ เสพเมถุน ลักของเขา ฆ่ามนุษย์ อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน

ปาริจริยานุตตริยะ  การบำเรออันเยี่ยม ได้แก่ การบำรุงรับใช้พระตถาคตและตถาคตสาวกอันประเสริฐกว่า การที่จะบูชาไฟหรือบำรุงบำเรออย่างอื่น เพราะช่วยให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ได้จริง (ข้อ ๕ ในอนุตตริยะ ๖)

ปาริฉัตตก์  “ต้นทองหลาง”,  ชื่อต้นไม้ประจำสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อยู่ในสวนนันทวันของพระอินทร์;  ปาริฉัตร หรือ ปาริชาต ก็เขียน

ปาริเลยยกะ  ชื่อแดนบ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองโกสัมพีที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยอยู่ในป่ารักขิตวันด้วยทรงปลีกพระองค์จากพระสงฆ์ผู้แตกกันในกรุงโกสัมพี;  ช้างที่ปฏิบัติพระพุทธเจ้าที่ป่านั้น ก็ชื่อ ปาริเลยยกะ; เราเรียกกันในภาษาไทย ว่า ปาเลไลยก์ก็มี ป่าเลไลยก์ ก็มี ควรเขียน ปาริไลยก์ หรือปาเรไลยก์

ปาริวาสิกขันธกะ  ชื่อขันธกะที่ ๒ แห่งจุลวรรค ในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องภิกษุอยู่ปริวาส

ปาริวาสิกภิกษุ  ภิกษุผู้อยู่ปริวาส  ดู ปริวาส

ปาริวาสิกวัตร  ธรรมเนียมที่ควรประพฤติของภิกษุผู้อยู่ปริวาส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พฤษภาคม 2556 17:30:22 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2556 17:21:07 »

.

ปาริสุทธิ  ความบริสุทธิ์ของภิกษุ;  เป็นธรรมเนียมว่า ถ้ามีภิกษุอาพาธอยู่ในสีมาเดียวกัน เมื่อถึงวันอุโบสถไม่สามารถไปร่วมประชุมได้ ภิกษุผู้อาพาธต้องมอบปาริสุทธิแก่ภิกษุรูปหนึ่งมาแจ้งแก่สงฆ์ คือให้นำความมาแจ้งแก่สงฆ์ว่าตนมีความบริสุทธิ์ทางพระวินัยไม่มีอาบัติติดค้าง หรือในวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่เพียงสองหรือสามรูป (คือเป็นเพียงคณะ) ไม่ครบองค์สงฆ์ที่จะสวดปาฏิโมกข์ได้ ก็ให้ภิกษุสองหรือสามรูปนั้นบอกความบริสุทธิ์แก่กันแทนการสวดปาฏิโมกข์

ปาริสุทธิศีล  ศีลเป็นเครื่องทำให้บริสุทธิ์, ประพฤติบริสุทธิ์ หรือความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีลมี ๔ อย่างคือ ๑. ปาฏิโมกขสังวรศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์  ๒. อินทรียสังวรศีล สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  ๓. อาชีวปาริสุทธิศีล เลี้ยงชีพโดยทางที่ชอบธรรม  ๔. ปัจจัยสันนิสิตศีล พิจารณาก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช

ปาริสุทธิอุโบสถ  อุโบสถที่ภิกษุทำปาริสุทธิ คือแจ้งแต่ความบริสุทธิ์ของกันและกัน ไม่ต้องสวดปาฏิโมกข์ปาริสุทธิอุโบสถนี้ กระทำเมื่อมีภิกษุอยู่ในวัดเพียงเป็นคณะ คือ ๒-๓ รูป ไม่ครบองค์สงฆ์ ๔ รูป ถ้ามีภิกษุ ๓ รูปพึงประชุมกันในโรงอุโบสถแล้ว รูปหนึ่งตั้งญัตติดังนี้ : สุณนฺตุ เม ภนฺเต อายสฺมนฺตา, อชฺชุโปสโถ ปณฺณรโส ยทายสฺมนฺตานํ ปตฺตกลฺลํ,  มยํ อญฺญมญฺยํ ปาริสุทฺธิ อุโปสถํ กเรยฺยาม. แปลว่า ท่านทั้งหลาย อุโบสถวันนี้ที่ ๑๕ ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงทำปาริสุทธิอุโบสถด้วยกัน (ถ้ารูปที่ตั้งญัตติแก่กว่าเพื่อนว่า อาวุโส แทน ภนฺเต,  ถ้าเป็นวัน ๑๔ ค่ำ ว่า จาตุทฺทโส แทน ปณฺณรโส)  ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าเฉวียงบ่านั่งกระหย่งประนมมือบอกปาริสุทธิว่า : ปริสุทฺโธ อหํ อาวุโส, ปริสุทฺโธติ มํ ธาเรถ (๓ หน)  แปลว่า : ฉันบริสุทธิ์แล้วเธอ ขอเธอทั้งหลายจงจำฉันว่าผู้บริสุทธิ์แล้ว อีก ๒ รูปพึงทำอย่างเดียวกันนั้นตามลำดับพรรษา คำบอกเปลี่ยนเฉพาะ อาวุโส เป็น ภนฺเต แปลว่า ผมบริสุทธิ์แล้วขอรับ ของท่านทั้งหลายจงจำผมว่าผู้บริสุทธิ์แล้ว

ถ้ามี ๒ รูป ไม่ต้องตั้งญัตติพึงบอกปาริสุทธิแก่กัน ผู้แก่ว่า : ปริสุทฺโธ อหํ อาวุโส, ปริสุทฺโธ มํ ธาเรหิ (๓ หน)  ผู้อ่อนกว่าว่า : ปริสุทฺโธ อหํ ภนฺเต, ปริสุทฺโธติ มํ ธาเรถ (๓ หน) ดู อุโบสถ

ปาวา  นครหลวงของแคว้นมัลละ คู่กับกุสินารา คือนครหลวงเดิมของแคว้นมัลละชื่อกุสาวดี แต่ภายหลังแยกเป็นกุสินารา กับ ปาวา

ปาวาริกัมพวัน  ดู นาลันทา

ปาวาลเจดีย์  ชื่อเจดียสถานอยู่ที่เมืองเวสาลี พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสครั้งสุดท้ายและทรงปลงพระชนมายุสังขาร ณ เจดีย์นี้ก่อนปรินิพพาน ๓ เดือน

ปาสราสิสูตร  ชื่อสูตรที่ ๒๖ ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก; เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อริยปริเยสนสูตร เพราะว่าด้วย อริยปริเยสนา

ปาสาณเจดีย์  เจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ในแคว้นมคธ มาณพ ๑๖ คนซึ่งเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ได้เฝ้าพระศาสดาและทูลถามปัญหา ณ ที่นี้

ปาสาทิกสูตร  ชื่อสูตรที่ ๖ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก

ปาหุเนยฺโย ผู้ควรแก่ของต้อนรับ, พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้รับของต้อนรับคือของสำหรับรับแขกที่ควรถวายเมื่อไปถึงบ้าน เช่น น้ำดื่ม อาหาร เป็นต้น (ข้อ ๖ ในสังฆคุณ ๙)

ปิงคิยมาณพ  ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดาที่ปาสาณเจดีย์

ปิฎก  ตามศัพท์แปลว่ากระจาด หรือตะกร้าอันเป็นภาชนะสำหรับใส่ของต่างๆ เอามาใช้ในความหมายเป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว มี ๓ คือ ๑. วินัยปิฎก รวบรวมพระวินัย  ๒. สุตตันตปิฎก รวบรวมพระสูตร  ๓. อภิธรรมปิฎก รวบรวมพระอภิธรรม เรียกรวมกันว่าพระไตรปิฎก (ปิฎก ๓)  ดู ไตรปิฎก

ปิณฑปาติกธุดงค์  องค์คุณเครื่องขจัดกิเลสแห่งภิกษุเป็นต้น ผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร หมายถึง ปิณฑปาติกังคะ นั่นเอง

ปิณฑปาติกังคะ  องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คือ ไม่รับนิมนต์ หรือลาภพิเศษอย่างอื่นใด ฉันเฉพาะอาหารที่บิณฑบาตมาได้ (ข้อ ๓ ในธุดงค์ ๑๓)

ปิณโฑล ภารทวาชะ   พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลภารทวาชโคตร  ในพระนครราชคฤห์ เรียนจบไตรเพท ออกบวชในพระพุทธศาสนา ได้สำเร็จพระอรหัต เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสติ สมาธิ ปัญญา มักเปล่งวาจาว่า “ผู้ใดมีความเคลือบแคลงสงสัยในมรรคก็ดี ผลก็ดี ขอผู้นั้นจงมาถามข้าพเจ้าเถิด” พระศาสดาทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางบันลือสีหนาท

ปิตฺตสมุฏฺฐานา อาพาธา  ความเจ็บไข้มีดีเป็นสมุฏฐาน

ปิตตะ  น้ำดี, น้ำจากต่อมตับ, โรคดีเดือด

ปิตุฆาต  ฆ่าบิดา (ข้อ ๒ ในอนันตริยกรรม ๕)

ปิปผลิ, ปิปผลมาณพ ชื่อของพระมหากัสสปเถระ เมื่อก่อนออกบวช: ส่วนกัสสปะ เป็นชื่อที่เรียกตามโคตร

ปิปาสวินโย  ความนำออกไปเสียซึ่งความกระหาย, กำจัดความกระหายคือตัณหาได้ (เป็นไวพจน์ของวิราคะ)

ปิยรูป สาตรูป  สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจ มุ่งเอาส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหามี ๑๐ หมวดๆ ละ ๖ อย่าง คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖   สัญเจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนา  เป็นต้น ตัณหา ๖ มีรูปตัณหา เป็นต้น  วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น วิจาร ๖ มีรูปวิจาร เป็นต้น

ปิยวาจา  วาจาเป็นที่รัก, พูดจาน่ารักน่านิยมนับถือ, วาจาน่ารัก, วาจาที่กล่าวด้วยจิตเมตตา, คำที่พูดด้วยความรักความปรารถนาดี เช่น คำพูดสุภาพอ่อนโยน คำแนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี ดู สังคหวัตถุ

ปิยารมณ์  อารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่น่าปรารถนา น่าชอบใจ เช่น รูปที่สวยงาม เป็นต้น

ปิลินทวัจฉะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลพราหมณ์วัจฉโคตร ในเมืองสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า มีศรัทธาเลื่อมใสออกบวชในพระพุทธศาสนา เจริญวิปัสสนาแล้วได้บรรลุอรหัตตผล ต่อมาได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นที่รักของพวกเทวดา

ปิลินทวัจฉคาม  ชื่อหมู่บ้านของคนงานวัดจำนวน ๕๐๐ ที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้เป็นผู้ช่วยทำที่อยู่ของพระปิลันทวัจฉะ

ปิสุณาย วาจาย เวรมณี  เว้นจากพูดส่อเสียด, เว้นจากพูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ข้อ ๕ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)

ปิสุณาวาจา  วาจาส่อเสียด, พูดส่อเสียด, พูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ข้อ ๕ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

ปิหกะ  ไต

ปีติ  ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำในใจ มี ๕ คือ ๑. ขุททกาปีติ   ปีติเล็กน้อยพอขนชันน้ำตาไหล  ๒. ขณิกาปีติ   ปีติชั่วขณะรู้สึกแปลบๆ ดุจฟ้าแลบ  ๓. โอกกันติกาปีติ   ปีติเป็นระลอกรู้สึกซู่ลงมาๆ ดุจคลื่นซัดฝั่ง  ๔. อุพเพคาปีติ   ปีติโลดลอย ให้ใจฟูตัวเบาหรืออุทานออกมา  ๕. ผรณาปีติ   ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์เป็นของประกอบกับสมาธิ

ปีฬก  พุพอง, ฝี, ต่อม

ปุกกุสะ  บุตรของกษัตริย์มัลละ เป็นศิษย์ของอาฬารดาบส กาลามโคตร ได้ถวายผ้าสิงคิวรรณแต่พระพุทธเจ้าในวันปรินิพพาน

ปุคคลสัมมุขตา   ความเป็นต่อหน้าบุคคล, ในวิวาทาธิกรณ์ หมายความว่าคู่วิวาทอยู่พร้อมหน้ากัน

ปุคคลัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักบุคคล คือ รู้ความแตกต่างแห่งบุคคล ว่าโดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น เป็นอย่างไร ควรคบควรใช้ควรสอนอย่างไร(ข้อ ๗ ในสัปปุริสธรรม ๗)

ปุคคลิก  ดู บุคลิก

ปุจฉา  ถาม, คำถาม

ปุญญาภิสังขาร  อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่กุศลเจตนา (เฉพาะที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร) (ข้อ ๑ ในอภิสังขาร ๓)

ปุณณกมาณพ  ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี  ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดาที่ปาสาณเจดีย์

ปุณณชิ  บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี เป็นสหายของยสกุลบุตร  ได้ทราบข่าวยสกุลบุตรออกบวช จึงได้บวชตามพร้อมด้วยสหายอีก ๓ คน คือ วิมละสุพาหุ และควัมปติ  ได้เป็นองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก

ปุณณมันตานีบุตร   พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะเดิมชื่อปุณณะ เป็นบุตรของนางมันตานี ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อโทณวัตถุ ไม่ไกลจากเมืองกบิลพัสดุ์ เป็นหลานของพระอัญญาโกณทัญญะ  ได้บรรพชาเมื่อพระเถระผู้เป็นลุงเดินทางมายังเมืองกบิลพัสดุ์ บวชแล้วไม่นานก็บรรลุอรหัตตผล เป็นผู้ปฏิบัติตนตามหลักกถาวัตถุ ๑๐ และสอนศิษย์ของตนให้ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาพระธรรมกถึก หลักธรรมเรื่องวิสุทธิ ๗ ก็เป็นภาษิตของท่าน

ปุณณมาณพ  คือพระปุณณมันตานีบุตรเมื่อก่อนบวช

ปุตตะ  เป็นชื่อนรกขุมหนึ่งของลัทธิพราหมณ์ พวกพราหมณ์ถือว่าชายใดไม่มีลูกชาย ชายนั้นตายไปต้องตกนรกขุม “ปุตตะ” ถ้ามีลูกชาย ลูกชายนั้นช่วยป้องกันไม่ให้ตกนรกขุมนั้นได้ ศัพท์ว่า บุตร จึงใช้เป็นคำเรียกลูกชายสืบมา  แปลว่า ลูกผู้ป้องกันพ่อจากขุมนรก ปุตตะ

ปุถุชน  คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส, คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนธรรมดาทั่วๆ ไป ซึ่งยังไม่เป็นอริยบุคคล หรือพระอริยะ

ปุนัพพสุกะ  ชื่อภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในภิกษุเหลวไหล ๖ รูป ที่เรียกว่าพระฉัพพัคคีย์ คู่กับพระอัสสชิ

ปุปผวิกัติ  ดอกไม้ที่แต่งเป็นชนิดต่างๆ เช่น ร้อยตรึง ร้อยคุม ร้อยเสียบ ร้อยผูก ร้อยวง ร้อยกรอง เป็นต้น

ปุพพเปตพลี  การทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย (ข้อ ๓ ในพลี ๕ แห่งโภคอาทิยะ ๕)

ปุพพัณณะ  ดู บุพพัณณะปุพเพกตปุญญตา  ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในก่อน, ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อนแล้ว (ข้อ ๔ ในจักร ๔)

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ  ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้ (ข้อ๑ ในวิชชา ๓, ข้อ ๔ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๖ ใน วิชชา ๘, ข้อ ๘ ในทศพลญาณ)

ปุรณมี  วันเพ็ญ, วันพระจันทร์เต็มดวง, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ

ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า หมายถึงมารดาบิดา  ดู ทิศหก

ปุราณจีวร  จีวรเก่า

ปุราณชฎิล  พระเถระสามพี่น้องพร้อมด้วยบริวาร คือ อุรุเวลกัสสป นทีกัสสป คยากัสสป ซึ่งเคยเป็นชฎิลมาก่อน

ปุริมกาล  เรื่องราวในพุทธประวัติที่มีขึ้นในกาลก่อนแต่บำเพ็ญพุทธกิจ

ปุริมพรรษา  พรรษาต้น เริ่มแต่วันแรมค่ำหนึ่งเดือนแปด ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป เป็นเวลา ๓ เดือนคือถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑

ปุริมิกา  วันเข้าพรรษาต้น ได้แก่วันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ เทียบ ปัจฉิมิกา

ปุริสภาวะ  ความเป็นบุรุษ  หมายถึงภาวะอันให้ปรากฏมีลักษณะอาการต่างๆ ที่แสดงถึงความเป็นเพศชาย

ปุริสเมธ  ความฉลาดในการบำรุงข้าราชการ  รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ เป็นสังคหวัตถุประการหนึ่งของผู้ปกคอรงบ้านเมือง

ปุริสสัพพนาม  คำทางไวยากรณ์ หมายถึงคำแทนชื่อเพื่อกันความซ้ำซาก ในภาษาบาลีหมายถึง ต, ตุมฺห, อมฺห,  ศัพท์ในภาษาไทย เช่น ฉัน, ผม, ท่าน, เธอ, เขา, มัน เป็นต้น

ปุเรสมณะ  พระนำหน้า  คู่กับปัจฉาสมณะ พระตามหลัง

ปุเรภัต  ก่อนภัต, ก่อนอาหาร หมายถึงเวลาก่อนฉันของภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็ได้ แต่เมื่อพูดอย่างกว้าง หมายถึง ก่อนหมดเวลาฉัน คือ เวลาเช้าจนถึงเที่ยง ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ภิกษุฉันอาหารได้

ปุโรหิต  พราหมณ์ผู้เป็นที่ปรึกษาของพระราชา

ปุสสมาส  เดือน ๒, เดือนยี่

ปูชนียบุคคล  บุคคลที่ควรบูชา

ปูชนียวัตถุ  วัตถุที่ควรบูชา

ปูชนียสถาน  สถานที่ควรบูชา

เปรต  ๑. ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว, คนที่ตายไปแล้ว  ๒. สัตว์จำพวกหนึ่งซึ่งเกิดอยู่ในอบายชั้นที่เรียกว่า ปิตติวิสัยหรือเปตติวิสัย ได้รับความทุกข์ทรมานเพราะไม่มีอาหารจะกิน แม้เมื่อมีก็กินไม่ได้ หรือกินได้โดยยาก

เปลี่ยวดำ  หนาวอย่างใหญ่, โรคอย่างหนึ่งเกิดจากความเย็นมาก

เปสละ  ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก, ภิกษุผู้มีความประพฤติดีน่านิยมนับถือ

เปสุญญวาท  ถ้อยคำส่อเสียด  ดู ปิสุณาวาจา

โปตลิ  นครหลวงของแคว้นอัสสกะ อยู่ลุ่มน้ำโคธาวรี ทิศเหนือแห่งแคว้นอวันตี

โปสาลมาณพ  ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พฤษภาคม 2556 17:51:56 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2556 08:33:46 »

.

หมวดพยัญชนะ

ผทม  นอน (สำหรับเจ้า)

ผนวช  บวช  (สำหรับเจ้า)

ผรณาปีติ  ความอิ่มใจซาบซ่าน เมื่อเกิดขึ้นทำให้รู้สึกซาบซ่านทั่วสารพางค์ (ข้อ ๕ ในปีติ ๕)

ผรุสวาจา วาจาหยาบ, คำพูดเผ็ดร้อน, คำหยาบคาย (ข้อ ๖ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

ผรุสาย  วาจาย  เวรมณี  เว้นจากพูดคำหยาบ (ข้อ ๖ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)

ผล  สิ่งที่เกิดจากเหตุ, ประโยชน์ที่ได้; ชื่อแห่งโลกุตตรธรรมคู่กับมรรค และเป็นผลแห่งมรรค มี ๔ ชั้น คือโสดาปัตติผล ๑  สกทาคามิผล ๑ อนาคามิผล ๑ อรหัตตผล ๑

ผลญาณ  ญาณในอริยผล, ญาณที่เกิดขึ้นในลำดับ ต่อจากมัคคญาณและเป็นผลแห่งมัคคญาณนั้น ซึ่งผู้บรรลุแล้วได้ชื่อว่าเป็นพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ มีโสดาบัน เป็นต้น; ดู ญาณ ๑๖

ผลภาชกะ  ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นผู้มีหน้าที่แจกผลไม้

ผลเภสัช  มีผลเป็นยา, ยาทำจากลูกไม้ เช่น ดีปลี พริก สมอไทย มะขามป้อม เป็นต้น

ผลเหตุสนธิ  ต่อผลเข้ากับเหตุ  หมายถึงเงื่อนต่อระหว่างผลในปัจจุบัน กับเหตุในปัจจุบัน ในวงจรปฏิจจสมุปบาท คือ ระหว่างวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ข้างหนึ่ง (ฝ่ายผล) กับ ตัณหา อุปาทาน ภพ อีกข้างหนึ่ง (ฝ่ายเหตุ)

ผลาสโว  ผลาสวะ, น้ำดองผลไม้

ผะเดียง  ดู เผดียง

ผัคคุณมาส  เดือน ๔

ผัสสะ  การถูกต้อง, การกระทบ; ผัสสะ ๖ ดู สัมผัส

ผัสสาหาร  อาหารคือผัสสะ, ผัสสะเป็นอาหาร คือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดเวทนา ได้แก่ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณกระทบกัน ทำให้เกิดเวทนา คือ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เป็นอุเบกขาบ้าง (ข้อ ๒ ในอาหาร ๔)

ผ้ากฐิน  ผ้าผืนหนึ่งที่ใช้เป็นองค์กฐินสำหรับกราน แต่บางทีพูดคลุมๆ หมายถึงผ้าทั้งหมดที่ถวายพระในพิธีทอดกฐิน, เพื่อกันความสับสน จึงเรียกแยกเป็นองค์กฐินอย่างหนึ่ง กับผ้าบริวารหรือผ้าบริวารกฐินอีกอย่างหนึ่ง ดู กฐิน

ผ้ากรองน้ำ  ผ้าสำหรับกรองน้ำกันตัวสัตว์  ดู ธมกรก

ผ้ากาสายะ  ดู กาสาวะ

ผ้ากาสาวะ  ดู กาสาวะ

ผ้าจำนำพรรษา  ผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล; เรียกเป็นคำศัพท์ ผ้าวัสสาวาสิกา วัสสาวสิกสาฎก หรือ วัสสาวาสิกสาฏิกา;  ดู อัจเจกจีวร

ผาณิต  รสหวานเกิดแต่อ้อย, น้ำอ้อย (ข้อ ๕ ในเภสัช ๕)

ผาติกรรม  การทำให้เจริญ หมายถึง การจำหน่ายครุภัณฑ์ เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างหนึ่งอย่างใด โดยเอาของเลวแลกเปลี่ยนเอาของดีกว่าให้แก่สงฆ์ หรือเอาของของตนถวายสงฆ์เป็นการทดแทนที่ตนทำของสงฆ์ชำรุดไป, รื้อของที่ไม่ดีออกทำให้ใหม่ดีกว่าของเก่า เช่น เอาที่วัดไปทำอย่างอื่นแล้วสร้างวัดถวายให้ใหม่; การชดใช้, การทดแทน

ผ้าไตร, ผ้าไตรจีวร  ดู ไตรจีวร

ผ้าทรงสะพัก  ผ้าห่มเฉียงบ่า

ผ้าทิพย์  ผ้าห้อยหน้าตักพระพุทธรูป (โดยมากเป็นปูนปั้นมีลายต่างๆ)

ผ้านิสีทนะ  ดู นิสีทนะ

ผ้าบริวาร  ผ้าสมทบ  ดู บริวาร

ผ้าบังสุกุล  ดู บังสุกุล

ผ้าป่า  ผ้าที่ทายกถวายแก่พระโดยวิธีปล่อยทิ้งให้พระมาชักเอาไปเอง อย่างเป็นผ้าบังสุกุล, ตามธรรมเนียมจะถวายหลังเทศกาลกฐินออกไป;  คำถวายผ้าป่าว่า “อิมานิ มยํ ภนฺเต, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสังฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย”  แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ผ้าบังสุกุลจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ

ผ้าวัสสาวาสิกสาฏิกา ดู ผ้าจำนำพรรษา

ผ้าวัสสิกสาฏิกา  ดู ผ้าอาบน้ำฝน ผ้าสาฏิกา  ผ้าคลุม, ผ้าห่ม

ผาสุก ความสบาย, ความสำราญ

ผาสุวิหารธรรม  ธรรมเป็นเครื่องอยู่สบาย

ผ้าอาบน้ำฝน  ผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน ซึ่งพระภิกษุจะแสวงหาได้ในระยะเวลา ๑ เดือน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ และให้ทำนุ่งได้ในเวลากึ่งเดือน ตั้งแต่ขึ้น ๑ ถึง ๑๕ ค่ำเดือน ๘  ปัจจุบันมีประเพณีทายกทายิกาทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝนตามวัดต่างๆ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘; เรียกเป็นคำศัพท์ว่า วัสสิกสาฏิกา หรือ วัสสิกสาฎก;  คำถวายผ้าอาบน้ำฝนเหมือนคำถวายผ้าป่า เปลี่ยนแต่ ปํสุกูลจีวรานิ เป็น วสฺสิกสาฏิกานิ และผ้าบังสุกุลจีวรเป็นผ้าอาบน้ำฝน

ผู้มีราตรีเดียวเจริญ  ผู้มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท

เผดียง  บอกแจ้งให้รู้, บอกนิมนต์, บอกกล่าวหรือประกาศเชื้อเชิญเพื่อให้ร่วมทำกิจโดยพร้อมเพรียงกัน;  ประเดียง ก็ว่า  ดู ญัตติ

แผ่เมตตา  ตั้งจิตปรารถนาดีขอให้ผู้อื่นมีความสุข;  คำแผ่เมตตาที่ใช้เป็นหลักว่า สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยา ปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ  แปลว่า ขอสัตว์ทั้งหลาย, (ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน) หมดทั้งสิ้น, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด), อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด), อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด), อย่าได้มีทุกข์กายทุกข์ใจเลย, จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตน (ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น) เถิด. (ข้อความในวงเล็บเป็นส่วนที่เพิ่มเข้ามาในคำแปลเป็นไทย)

ผู้เจริญเมตตาธรรมอยู่เสมอ จนจิตมั่นในเมตตา มีเมตตาเป็นคุณสมบัติประจำใจ จะได้รับอานิสงส์ คือผลดี ๑๑ ประการ คือ ๑. หลับก็เป็นสุข  ๒. ตื่นก็เป็นสุข  ๓. ไม่ฝันร้าย  ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย  ๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย  ๖. เทวดาย่อมรักษา  ๗. ไม่ต้องภัยจากไฟ ยาพิษ หรือศัสตราอาวุธ  ๘.จิตเป็นสมาธิง่าย  ๙. สีหน้าผ่องใส  ๑๐. เมื่อจะตาย ใจก็สงบ ไม่หลงใหลไร้สติ  ๑๑. ถ้ายังไม่บรรลุคุณพิเศษที่สูงกว่า ย่อมเข้าถึงพรหมโลก

โผฏฐัพพะ  อารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย, สิ่งที่ถูกต้องกาย เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นต้น (ข้อ ๕ ในอายตนะภายนอก ๖ และในกามคุณ ๕)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 พฤษภาคม 2556 08:43:22 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2556 11:11:21 »

.

หมวดพยัญชนะ

พยัญชนะ  อักษร,  ตัวหนังสือที่ไม่ใช่สระ;  กับข้าวนอกจากแกง  คู่กับสูปะ;ลักษณะของร่างกาย

พยากรณ์  ทาย,  ทำนาย,  คาดการณ์;ทำให้แจ้งชัด,ตอบปัญหา

พยากรณศาสตร์  วิชาหรือตำราว่าด้วยการทำนาย

พยาธิ  ความเจ็บไข้

พยาน   ผู้รู้เห็นเหตุการณ์,  คน  เอกสาร  หรือสิ่งของที่อ้างเป็นหลักฐาน

พยาบาท   ความขัดเคืองแค้นใจ,  ความเจ็บใจ,  ความคิดร้าย,  ตรงข้ามกับเมตตา;  ในภาษาไทยหมายถึง  ผูกใจเจ็บและคิดแก้แค้น

พยาบาทวิตก  ความตริตรึกในทางคิดร้ายต่อผู้อื่น,  ความคิดนึกในทางขัดเคืองชิงชัง  ไม่ประกอบด้วยเมตตา  (ข้อ  ๒  ในอกุศลวิตก ๓)

พยุหแสนยากร  กองทัพ

พร  คำแสดงความปรารถนาดี,  สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์;  ดู  จตุรพิธพร

พรต  ข้อปฏิบัติทางศาสนา,  ธรรมเนียมความประพฤติของผู้ถือศาสนาที่คู่กันกับศีล,  วัตร,  ข้อปฏิบัติประจำ

พรรณนา  เล่าความ,  ขยายความ,  กล่าวถ้อยคำให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ

พรรษกาล  ฤดูฝน  (พจนานุกรมเขียนพรรษากาล)

พรรษา  ฤดูฝน,  ปี,  ปีของระยะเวลาที่บวช

พรรษาธิษฐาน  อธิษฐานพรรษา,  กำหนดใจว่าจะจำพรรษา  ดู  จำพรรษา

พรหม   ผู้ประเสริฐ,  เทพในพรหมโลกเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม  มี  ๒  พวกคือ  รูปพรหมมี  ๑๖  ชั้น  อรูปพรหมมี  ๔  ชั้น  ดู  พรหมโลก;  เทพสูงสุดหรือพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์

พรหมจรรย์   การศึกษาพระเวท,  การบวชซึ่งละเว้นเมถุน,  การประพฤติธรรมอันประเสริฐ,  การครองชีวิตประเสริฐ,  มรรค,  พระศาสนา

พรหมจารี  ผู้ประพฤติพรหมจรรย์,  นักเรียนพระเวท,  ผู้ประพฤติธรรมมีเว้นจากเมถุน  เป็นต้น

พรหมทัณฑ์  โทษอย่างสูง  คือ  สงฆ์ตกลงกันลงโทษภิกษุรูปใดรูปหนึ่งโดยภิกษุทั้งหลายพร้อมใจกันไม่พูดด้วย  ไม่ว่ากล่าวตักเตือน  หรือสั่งสอนภิกษุรูปนั้น,  พระฉันนะซึ่งเป็นพระเจ้าพยศ  ถือตัวว่าเป็นคนเก่าใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาก่อนใครอื่น  ใครว่าไม่ฟัง  ภายหลังถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ถึงกับเป็นลมล้มสลบหายพยศได้

พรหมไทย   ของอันพรหมประทาน,  ของให้ที่ประเสริฐสุด  หมายถึง  ที่ดินหรือบ้านเมืองที่พระราชทานเป็นบำเหน็จ  เช่น  เมืองอุกกุฏฐะที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานแก่โปกขรสาติพราหมณ์  และนครจัมปาที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้โสณทัณฑพราหมณ์ปกครอง

พรหมบุญ   บุญอย่างสูง  เป็นคำแสดงอานิสงส์ของผู้ชักนำให้สงฆ์สามัคคีปรองดองกัน  ได้พรหมบุญจักแช่มชื่นในสวรรค์ตลอดกัลป์

พรหมโลก  ที่อยู่ของพรหม  ตามปกติหมายถึงรูปพรหม  ซึ่งมี  ๑๖  ชั้น  (เรียกว่า  รูปโลก)  ตามลำดับดังนี้  ๑.  พรหมปาริสัชชา  ๒.  พรหมปุโรหิตา  ๓.  มหาพรหมา  ๔.  ปริตตาภา  ๕.  อัปปมาณาภา  ๖.  อาภัสสรา  ๗.  ปริตตสุภา  ๘.  อัปปมาณสุภา  ๙.  สุภกิณหา  ๑๐.  อสัญญีสัตตา  ๑๑.  เวหัปผลา  ๑๒.  อวิหา  ๑๓.  อตัปปา  ๑๔.  สุทัสสา  ๑๕.  สุทัสสี  ๑๖.  อกนิฏฐา;  นอกจากนี้ยังมีอรูปพรหม  ซึ่งแบ่งเป็น  ๔  ชั้น  (เรียกว่าอรูปโลก)  คือ ๑.  อากาสานัญจายตนะ  ๒.  วิญญาณัญจายตนะ  ๓.  อากิญจัญญายตนะ ๔.  เนวสัญญานาสัญญายตนะ

พรหมวิหาร  ธรรมเครื่องอยู่ของพรหม,  ธรรมประจำใจอันประเสริฐ,  ธรรมประจำใจของท่านผู้มีคุณความดียิ่งใหญ่มี  ๔  คือ  เมตตา  กรุณา  มุทิตา  อุเบกขา 

พรหมายุ  ชื่อพราหมณ์คนหนึ่ง  อายุ  ๑๒๐  ปี  เป็นผู้เชี่ยวชาญไตรเพท  อยู่  ณ  เมืองมิถิลา  ในแคว้นวิเทหะ  ได้ส่งศิษย์มาตรวจดูมหาบุรุษลักษณะของพระพุทธเจ้า  ต่อมาได้พบกับพระพุทธเจ้า  ทูลถามปัญหาต่าง  ๆ  มีความเลื่อมใส  และได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี

พร้อมหน้าธรรมวินัย  (ระงับอธิกรณ์)  โดยนำเอาธรรมวินัย  และสัตถุสาสน์ที่เป็นหลักสำหรับระงับอธิกรณ์นั้นมาใช้โดยครบถ้วน  คือวินิจฉัยถูกต้องโดยธรรมและถูกต้องโดยวินัย  (ธัมมสัมมุขตา  วินยสัมมุขตา)

พร้อมหน้าบุคคล  บุคคลผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้ากัน  เช่น  คู่วิวาทหรือคู่ความพร้อมหน้ากันในวิวาทาธิกรณ์และในอนุวาทาธิกรณ์  เป็นต้น  (ปุคคลสัมมุขตา)

พร้อมหน้าวัตถุ  ยกเรื่องที่เกิดนั้นขึ้น

พิจารณาวินิจฉัย   เช่น  คำกล่าวโจทเพื่อเริ่มเรื่อง  และข้อวิวาทที่ยกขึ้นแถลง  เป็นต้น  (วัตถุสัมมุขตา)

พร้อมหน้าสงฆ์  ต่อหน้าภิกษุเข้าประชุมครบองค์  และได้นำฉันทะของผู้ควรแก่ฉันทะมาแล้ว  (สังฆสัมมุขตา)

พระโคดม,  พระโคตมะ  พระนามของพระพุทธเจ้า  เรียกตามพระโคตร

พระชนม์  อายุ,  การเกิด,  ระยะเวลาที่เกิดมา

พระชนมายุ  อายุ

พระธรรม  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลักความจริงและหลักความประพฤติ

พระนม  แม่นม

พระนาคปรก   พระพุทธรูปปางหนึ่งมีรูปนาคแผ่พังพานอยู่ข้างบน  ดู  มุจจลินท์

พระบรมศาสดา  พระผู้เป็นครูผู้ยิ่งใหญ่,  พระผู้เป็นครูสูงสุด  หมายถึงพระพุทธเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า  พระนามของพระพุทธเจ้า

พระพรหม  ดู  พรหม

พระพุทธเจ้า  พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว  สอนผู้อื่นให้รู้ตาม,  ท่านผู้รู้ดีรู้ชอบด้วยตนเองก่อนแล้ว  สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย  วาจา  ใจ;  พระพุทธเจ้า  ๗  พระองค์ที่ใกล้กาลปัจจุบันที่สุดและคัมภีร์กล่าวถึงบ่อย  ๆ  คือ  พระวิปัสสี  พระสิขี  พระเวสสภู  พระกกุสันธะ  พระโกนาคมน์  พระกัสสปและพระโคดม;  พระพุทธเจ้า  ๕  พระองค์แห่งภัทรกัปปัจจุบันนี้  คือ  พระกกุสันธะ  พระโกนาคมน์  พระกัสสป  พระโคดม  และพระเมตเตยยะ  (เรียกกันสามัญว่าพระศรีอาริย์  หรือพระศรีอริยเมตไตรย);  พระพุทธเจ้า  ๒๕  พระองค์นับแต่พระองค์แรกที่พระโคตมพุทธเจ้า(พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน)  ได้ทรงพบและทรงได้รับการพยากรณ์ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า  (รวม  ๒๔  พระองค์)  จนถึงพระองค์เองด้วย  คือ  ๑.  พระทีปังกร  ๒.  พระโกณฑัญญะ  ๓.  พระมังคละ  ๔.  พระสุมนะ  ๕.  พระเรวตะ  ๖.  พระโสภิตะ  ๗.  พระอโนมทัสสี  ๘.  พระปทุมะ  ๙.พระนารทะ  ๑๐.  พระปทุมุตตระ  ๑๑.  พระสุเมธะ  ๑๒.  พระสุชาตะ  ๑๓.  พระปิยทัสสี  ๑๔.  พระอัตถทัสสี  ๑๕.  พระธัมมทัสสี  ๑๖.  พระสิทธัตถะ  ๑๗.  พระติสสะ  ๑๘.  พระปุสสะ  ๑๙.  พระวิปัสสี  ๒๐.  พระสิขี  ๒๑.  พระเวสสภู  ๒๒.  พระกกุสันธะ  ๒๓.  พระโกนาคมน์  ๒๔.  พระกัสสปะ  ๒๕.  พระโคตมะ  (เรื่องมาในคัมภีร์พุทธวงส์  แห่งขุททกนิกาย  พระสุตตันตปิฎก);  ดู  พุทธะ   ด้วย

ข้อควรทราบบางประการเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน  ตามที่ตรัสไว้ในคัมภีร์พุทธวงส์  คือ  พระองค์เป็นสัมพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม  (โคตมพุทธ)  เจริญในศากยสกุล  พระนครอันเป็นถิ่นกำเนิดชื่อกบิลพัสดุ์  พระบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนะ  พระมารดามีพระนามว่า  มายาเทวี  ทรงครองฆราวาสอยู่ ๒๙  ปี  มีปราสาท ๓  หลังชื่อ  สุจันทะ  โกกนุท  และโกญจะมเหสีพระนามว่ายโสธรา  โอรสพระนามว่าราหุล  ทอดพระเนตรเห็นนิมิต  ๔  ประการแล้ว  เสด็จออกผนวชด้วยม้าเป็นราชยาน  บำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่  ๖  ปี  ประกาศธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  แขวงเมืองพาราณสีพระอัครสาวกทั้งสอง  คือ  พระอุปติสสะ(พระสารีบุตร)  และพระโกลิตะ  (พระมหาโมคคัลลานะ)  พุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานนท์  พระอัครสาวิกาทั้งสองคือ  พระเขมา  และพระอุบลวรรณา  อุบาสกสองผู้เป็นอัครอุปัฏฐาก  คือ  จิตตคฤหบดี

และหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีอุบาสิกาสองผู้อัครอุปัฏฐายิกา  คือ  นันทมารดา  และอุตราอุบาสิกาสองผู้อัครอุปัฏฐายิกา  คือ  นันทมารดา  และอุตราอุบาสิกา  บรรลุสัมโพธิญาณที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์  (คือต้นโพธิ์ได้แก่ไม้อัสสัตถะ)  มีสาวกสันนิบาต  (การประชุมพระสาวก)  ครั้งใหญ่  ครั้งเดียว  ภิกษุผู้เข้าร่วมประชุม  ๑,๒๕๐  รูป  คำสั่งสอนของพระองค์ผู้เป็นศากยมุนี  เจริญแพร่หลายกว้างขวางงอกงามเป็นอย่างดีบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว  เป็นประโยชน์แก่ประชาชนจำนวนมาก

พระยม  ดู  ยม

พระยศ   ดู  ยส

พระรัตนตรัย  ดู  พระรัตนตรัย

พระวินัย  ดู  วินัยพระศาสดา  ผู้สอน  เป็นพระนามเรียกพระพุทธเจ้า ดู  ศาสดา

พระสงฆ์  หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย,  หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า  ดู  สงฆ์

พระสมณโคดม  คำที่คนภายนอกนิยมใช้เมื่อกล่าวถึงพระพุทธเจ้า

พระสัมพุทธเจ้า  พระผู้ตรัสรู้เอง  หมายถึง  พระพุทธเจ้า

พระสาวก  ผู้ฟังคำสอน,  ศิษย์ของพระพุทธเจ้า  ดู สาวก

พระสูตร  ดู สูตรพระเสขะ  ดู  เสขะ

พระอูรุ   ดู  อูรุ

พราหมณ์   คนวรรณะหนึ่งใน  ๔  วรรณะ  คือ  กษัตริย์  พราหมณ์  แพศย์  ศูทร;พราหมณ์เป็นวรรณะนักบวชและเป็นเจ้าพิธี  ถือตนว่าเป็นวรรณะสูงสุด  เกิดจากปากพระพรหม  ดู  วรรณะ

พราหมณสมัย   ลัทธิพราหมณ์

พราหมณมหาสาล  พราหมณ์ผู้มั่งคั่ง

พราหมณี   นางพราหมณ์,  พราหมณ์ผู้หญิง

พละ   กำลัง  ๑.พละ ๕  คือธรรมอันเป็นกำลัง  ซึ่งเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค  จัดอยู่ในจำพวกโพธิปักขิยธรรมมี ๕  คือ  สัทธา  วิริยะ  สติ  สมาธิ  ปัญญา;ดู  อินทรีย์  ๕  ๒.  พละ ๔   คือธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ  ไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยต่างๆได้แก่  ๑.  ปัญญาพละ  กำลังปัญญา  ๒.  วิริยพละ  กำลังความเพียร  ๓.  อนวัชชพละ  กำลังคือการกระทำที่ไม่มีโทษ  (กำลังความสุจริตและการทำแต่กิจกรรมที่ดีงาม)  ๔.  สังคหพละ  กำลังการสงเคราะห์  คือช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี  ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม ๓.  พละ  ๕  หรือ  ขัตติยพละ  ๕ ได้แก่กำลังของพระมหากษัตริย์  หรือกำลังที่ทำให้มีความพร้อมสำหรับความเป็นกษัตริย์  ๕  ประการ  ดังแสดงในคัมภีร์ชาดกคือ ๑.  พาหาพละ  หรือ  กายพละ  กำลังแขนหรือกำลังกาย  คือแข็งแรงสุขภาพดี  สามารถในการใช้แขนใช้มือใช้อาวุธมีอุปกรณ์พรั่งพร้อม  ๒.  โภคพละ กำลังโภคสมบัติ  ๓.  อมัจจพละ กำลังข้าราชการที่ปรึกษาและผู้บริหารที่สามารถ  ๔.  อภิชัจจพละ   กำลังความมีชาติสูง  ต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชนและได้รับการศึกษาอบรมมาดี  ๕.  ปัญญาพละ  กำลังปัญญา  ซึ่งเป็นข้อสำคัญที่สุด

พลความ  ข้อความที่ไม่ใช่สาระสำคัญ

พลี  ทางพราหมณ์  คือ  บวงสรวง,  ทางพุทธ  คือ  สละเพื่อช่วยหรือบูชามี  ๕  คือ ๑.  ญาติพลี  สงเคราะห์ญาติ  ๒.  อติถิพลี  ต้อนรับแขก  ๓.  ปุพพเปตพลี  ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย  ๔.  ราชพลี  ถวายเป็นหลวง  เช่น  เสียภาษีอากร  ๕.  เทวตาพลี  ทำบุญอุทิศให้เทวดา

พหุบท  มีเท้ามาก  หมายถึงสัตว์ดิรัจฉานที่มีเท้ามากกว่าสองเท้าและสี่เท้าเช่น  ตะขาบ  กิ้งกือ  เป็นต้น 

พหุปุตตเจดีย์  เจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองเวสาลี  นครหลวงของแคว้นวัชชี  เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

พหุปุตตนิโครธ  ต้นไทรอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา  ปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าและขอบวชที่ต้นไทรนี้

พหุพจน์,  พหูพจน์   คำที่กล่าวถึงสิ่งมากกว่าหนึ่ง  คือตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป,  เป็นคำที่ใช้ในไวยากรณ์บาลีและไทยคู่กับเอกพจน์  ซึ่งกล่าวถึงสิ่งเดียว;  แต่ในไวยากรณ์สันสกฤตจำนวนสองเป็นทวิพจน์หรือ  ทวิวจนะ  จำนวนสามขึ้นไป  จึงจะเป็นพหุพจน์

พหุลกรรม  กรรมทำมาก  หรือกรรมชินได้แก่  กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำบ่อย  ๆ  จนเคยชิน  ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่นเว้นครุกรรม  เรียกอีกอย่างว่าอาจิณณกรรม  (ข้อ  ๑๐  ในกรรม  ๑๒)

พหุวจนะ  ดู  พหุพจน์

พหุสูต,  พหูสูต  ผู้ได้ยินได้ฟังมามากคือทรงจำธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก,  ผู้เล่าเรียนมาก,  ผู้ศึกษามาก,  ผู้คงแก่เรียน;  ดู  พาหุสัจจะ  ด้วย

พหูชน  คนจำนวนมาก

พักมานัต  ดู  เก็บวัตร

พัทธสีมา  แดนผูก  ได้แก่  เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นเอง  โดยจัดตั้งนิมิตคือสิ่งที่เป็นเครื่องหมายกำหนดเอาไว้  ดู  สีม

พันธุ์  เหล่ากอ,  พวกพ้อง

พัสดุ   สิ่งของ,  ที่ดิน

พากุละ   พระมหาสาวกองค์หนึ่ง  เป็นบุตรเศรษฐีเมืองโกสัมพี  มีเรื่องเล่าว่า  เมื่อยังเป็นทารกขณะที่พี่เลี้ยงนำไปอาบน้ำเล่นที่แม่น้ำ  ท่านถูกปลาใหญ่กลืนลงไปอยู่ในท้อง  ต่อมาปลานั้นถูกจับได้ที่เมืองพาราณสี  และถูกขายให้แก่ภรรยาเศรษฐีเมืองพาราณสี  ภรรยาเศรษฐีผ่าท้องปลาพบเด็กแล้วเลี้ยงไว้เป็นบุตร  ฝ่ายมารดาเดิมทราบข่าวจึงขอบุตรคืน  ตกลงกันไม่ได้  จนพระราชาทรงตัดสินให้เด็กเป็นทายาทของทั้งสองตระกูล  ท่านจึงได้ชื่อว่า  “พากุละ”   แปลว่า  คนสองตระกูล  หรือผู้ที่สองตระกูลเลี้ยง  ท่านอยู่ครองเรือนมาจนอายุ  ๘๐  ปี  จึงได้ฟังพระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา  มีความเลื่อมใสขอบวชแล้วบำเพ็ญเพียรอยู่  ๗  วัน  ได้บรรลุพระอรหัตได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้มีอาพาธน้อย  คือ  สุขภาพดี;  พักกุละ  ก็เรียก

พาณิช  พ่อค้า

พาณิชย์   การค้าขาย

พาราณสี  ชื่อเมืองหลวงของแคว้นกาสีอยู่ริมแม่น้ำคงคา  ปัจจุบันเรียกพานาราสหรือเบนาราส(Banaras,Benares)  ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาซึ่งปัจจุบันเรียกว่า  สารนาถ  อยู่ห่างจากตัวเมืองพาราณสีปัจจุบันประมาณ ๖ ไมล์

พาวรี  พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพทแก่ศิษย์อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี  ณ  สุดเขตแดนแคว้นอัสสกะได้ส่งศิษย์  ๑๖  คนไปถามปัญหาพระศาสดา  เพื่อจะทดสอบว่าพระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธะจริงหรือไม่  ภายหลังได้รับคำตอบแล้วศิษย์ชื่อปิงคิยะซึ่งเป็นหลานของท่านได้กลับมาเล่าเรื่องและแสดงคำตอบปัญหาของพระศาสดา  ทำให้ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี

พาหิย  ทารุจีริยะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่ง  เกิดในครอบครัวคนมีตระกูลในแคว้นพาหิยรัฐ  ลงเรือเดินทะเลเพื่อจะไปค้าขาย  เรือแตกกลางทะเลรอดชีวิตไปได้  แต่หมดเนื้อหมดตัว  ต้องแสดงตนเป็นผู้หมดกิเลสหลอกลวงประชาชนเลี้ยงชีวิต  ต่อมาพบพระพุทธเจ้าทูลขอให้ทรงแสดงธรรม  พระองค์ทรงแสดงวิธีปฏิบัติต่ออารมณ์ที่รับรู้ทางอายตนะทั้งหก  พอจบพระธรรมเทสนาย่นย่อนั้น  พาหิยะก็สำเร็จอรหัต  แต่ไม่ทันได้อุปสมบท  กำลังเที่ยวหาบาตรจีวร  เผอิญถูกโคแม่ลูกอ่อนขวิดเอาสิ้นชีวิตเสียก่อน  ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางตรัสรู้ฉับพลัน

พาหิรทุกข์  ทุกข์ภายนอก

พาหิรลัทธิ   ลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนา

พาหุสัจจะ  ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก,  ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก  หรือคงแก่เรียน  มีองค์  ๕  คือ  ๑.  พหุสฺสุตา  ได้ยินได้ฟังมาก  ๒.  ธตา  ทรงจำไว้ได้  ๓.วจสา  ปริจิตา  คล่องปาก   ๔.  มนสานุเปกฺขิตา  เจนใจ  ๕.  ทิฏฺฐิยา  สุปฏิวิทฺธา  ขบได้ด้วยทฤษฎี  ดู  พหูสูต

พิกัด  กำหนด,  กำหนดที่จะต้องเสียภาษี

พิณ  เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง  มีสายสำหรับดีด

พิทยาธร  ดู  วิทยาธรพิทักษ์  ดูแลรักษา,  คุ้มครอง,  ป้องกัน

พินทุ   จุด,  วงกลมเล็ก  ๆ  ในที่นี้หมายถึง  พินทุกัปปะ

พินทุกัปปะ  การทำพินทุ,  การทำจุดเป็นวงกลม  อย่างใหญ่เท่าแววตานกยูงอย่างเล็กเท่าหลังตัวเรือด  ที่มุมจีวรด้วยสีเขียวคราม  โคลน  หรือดำคล้ำ  เพื่อทำจีวรให้เสียสีหรือมีตำหนิตามวินัยบัญญัติ  เป็นเครื่องหมายช่วยให้จำได้ด้วย;  เขียนพินทุกัป  ก็ได้,  คำบาลีเดิมเป็นกัปปพินทุ,  เรียกกันง่าย  ๆ  ว่า  พินทุ

พินัยกรรม  หนังสือสำคัญที่เจ้าทรัพย์ทำไว้ก่อนตาย  แสดงความประสงค์ว่าเมิ่อตายแล้วขอมอบมรดกที่ระบุไว้ในหนังสือสำคัญนั้น  ให้แก่คนนั้น  ๆ,  ตามพระวินัย  ถ้าภิกษุทำเช่นนี้  ไม่มีผลต้องปลงบริขาร  จึงใช้ได้

พิพากษา  ตัดสินอรรถคดี

พิมพา  บางแห่งเรียก  ยโสธรา  เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะ กรุงเทวทหะ  เป็นพระชายาของพระสิทธัตถะ  เป็นพระมารดาของพระราหุลภายหลังออกบวชมีนามว่า พระภัททกัจจานา   หรือ ภัททา กัจจานา

พิมพิสาร   พระเจ้าแผ่นดินมคธครองราชย์สมบัติอยู่ที่พระนครราชคฤห์  เป็นผู้ถวายพระราชอุทยานเวฬุวันเป็นสังฆาราม  นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา  ต่อมา  ถูกพระราชโอรสนามว่าอชาตศัตรู  ปลงพระชนม์

พิรุธ  ไม่ปรกติ,  มีลักษณะน่าสงสัย

พิโรธ  โกรธ,  เคือง

พีชคาม  พืชพันธุ์อันถูกพรากจากที่แล้วแต่ยังจะเป็นได้อีก

พุทธะ  ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว,  ผู้รู้อริยสัจจ์  ๔  อย่างถ่องแท้  ตามอรรถกถาท่านแบ่งเป็น  ๓  คือ  ๑.  พระพุทธเจ้า  ท่านผู้ตรัสรู้เองและสอนผู้อื่นให้รู้ตาม  (บางทีเรียกพระสัมมาสัมพุทธะ) ๒.  พระปัจเจกพุทธะ  ท่านผู้ตรัสรู้เองจำเพาะผู้เดียว  ๓.  พระอนุพุทธะ  ท่านผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า  (เรียกอีกอย่างว่า  สาวกพุทธะ);  บางแห่งจัดเป็น  ๔  คือ  สัพพัญญูพุทธะ  ปัจเจกพุทธะ  จตุสัจจพุทธะ  (=  พระอรหันต์)  และสุตพุทธะ  (=  ผู้เป็นพหูสูต)

พุทธกาล  ครั้งพระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่

พุทธกิจ  กิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ,  การงานที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำ

พุทธกิจประจำวัน ๕  พุทธกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเป็นประจำในแต่ละวันมี  ๕  อย่าง  คือ  ๑.  ปุพฺพณฺเหปิณฺฑปาตญฺจ  เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต  ๒.  สายณฺเห  ธมฺมเทสนํ   เวลาเย็นทรงแสดงธรรม  ๓.  ปโทเส  ภิกฺขุโอวาทํ  เวลาค่ำประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุ  ๔.  อฑฺฒรตฺเต  เทวปญฺหนํ  เที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา  ๕.  ปจฺจุสฺเสว  คเตกาเล  ภพฺพาภพฺเพ  วิโลกนํ  จวนสว่างทรงตรวจพิจารณาสัตว์ที่สามารถและที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันควรจะเสด็จไปโปรดหรือไม่  (สรุปท้ายว่าเอเต  ปญฺจวิเธ  กิจฺเจ  วิโสเธติ  มุนิปุงฺคโว  พระพุทธเจ้าองค์พระมุนีผู้ประเสริฐ  ทรงยังกิจ  ๕  ประการนี้ให้หมดจด)

พุทธกิจ  ๔๕  พรรษา   ในระหว่างเวลา  ๔๕  ปีแห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ  พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา  ณ  สถานที่ต่าง  ๆ  ซึ่งท่านได้ประมวลไว้  พร้อมทั้งเหตุการณ์สำคัญบางอย่างอันควรสังเกต  ดังนี้  พรรษาที่  ๑  ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  ใกล้กรุงพาราณสี  (โปรดพระเบญจวัคคีย์)  พ.๒-๓-๔  พระเวฬุวัน  กรุงราชคฤห์  (ระยะประดิษฐานพระศาสนา  เริ่มแต่โปรดพระเจ้าพิมพิสาร  ได้อัครสาวก  ฯลฯ  เสด็จนครกบิลพัสดุ์ครั้งแรก  ฯลฯ  อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นอุบาสกถวายพระเชตวัน  ;  ถ้าถือตามพระวินัยปิฎก  พรรษาที่  3  น่าจะประทับที่พระเชตวัน  นครสาวัตถี)  พ. ๕  กูฏาคารในป่ามหาวัน  นครเวสาลี  (โปรดพุทธบิดาปรินิพพานที่กรุงกบิลพัสดุ์โปรดพระญาตที่วิวาทเรื่องแม่น้ำโรหิณี  มหาปชาบดีผนวช  เกิดภิกษุณีสงฆ์)  พ.๖  มกุลบรรพต  (ภายหลังทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่นครสาวัตถี)  พ. ๗  ดาวดึงสเทวโลก  (แสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา)  พ. ๘  เภสกลาวัน  ใกล้เมืองสุงสุมารคีรีแคว้นภัคคะ  (พบนกุลบิดาและนกุลมารดา)  พ. ๙  โฆสิตาราม  เมืองโกสัมพี  พ. ๑๐  ป่าตำบลปาริเลยยกะ  ใกล้เมืองโกสัมพี  (ในคราวที่ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะกัน)  พ. ๑๑  หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลา  พ. ๑๒  เมืองเวรัญชา  พ. ๑๓  จาลิยบรรพต  พ. ๑๔พระเชตวัน  (พระราหุลอุปสมบทคราวนี้)  พ. ๑๕  นิโครธาราม  นครกบิลพัสดุ์  พ.๑๖  เมืองอาฬวี  (ทรมานอาฬวกยักษ์)  พ. ๑๗  พระเวฬุวัน  นครราชคฤห์  พ. ๑๘-๑๙  จาลิยบรรพต  พ. ๒๐  พระเวฬุวัน  นครราชคฤห์  (โปรดมหาโจรองคุลิมาล,  พระอานนท์ได้รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำ)  พ. ๒๑-๒๔  ประทับสลับไปมา  ณ  พระเชตวัน  กับบุพพาราม  พระนครสาวัตถี  (รวมทั้งคราวก่อนนี้ด้วยอรรถกถาว่าพระพุทธเจ้าประทับที่เชตวนาราม  ๑๙  พรรษา  ณ  บุพพาราม ๖  พรรษา)  พ  ๔๕  เวฬุวคาม  ใกล้นครเวสาลี

พุทธคารวตา   ดู  คารวะ

พุทธคุณ   คุณของพระพุทธเจ้า  มี  ๙  คือ  ๑.  อรหํ

  เป็นพระอรหันต์  ๒.  สมฺมาสมฺพุทฺโธ  ตรัสรู้เองโดยชอบ  ๓.  วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน  ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ  ๔.  สุคโต  เสด็จไปดีแล้ว  ๕.  โลกวิทู  เป็นผู้รู้แจ้งโลก  ๖.  อนุตฺตโร   ปุริสทมฺมสารถิ  เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า  ๗.  สตฺถา  เทวมนุสฺสานํ   เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  ๘.  พุทฺโธ   เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว ๙.  ภควา  เป็นผู้มีโชค

พุทธคุณทั้งหมดนั้น  โดยย่อมี  ๒  คือ  ๑.  พระปัญญาคุณ  พระคุณคือ  พระปัญญา  ๒.  พระกรุณาคุณ  พระคุณคือพระมหากรุณา  หรือตามที่นิยมกล่าวกันในประเทศไทย  ย่อเป็น ๓ คือ  ๑.  พระปัญญาคุณ  พระคุณคือพระปัญญา  ๒.  พระวิสุทธิคุณ  พระคุณคือความบริสุทธิ์  ๓.  พระมหากรุณาคุณ   พระคุณคือพระมหากรุณา

พุทธโฆษาจารย์ ดู วิสุทธิมรรค;  พุทธโฆษาจารย์  ก็เขียน

พุทธจริยา  พระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้า,  การบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้า  มี  ๓  คือ  ๑.  โลกัตถจริยา  การบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก  ๒.  ญาตัตถจริยา  การบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ  ๓.  พุทธัตถจริยา  การบำเพ็ญประโยชน์โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า

พุทธจักขุ   จักษุของพระพุทธเจ้า  ได้แก่  ญาณที่หยั่งรู้อัธยาศัย  อุปนิสัยและอินทรีย์ที่ยิ่งหย่อนต่าง  ๆ  กันของเวไนยสัตว์  (ข้อ  ๔  ในจักขุ  ๕)

พุทธจักร   วงการพระพุทธศาสนา

พุทธจาริก  การเสด็จจาริกคือเที่ยวไปประกาศพระศาสนาของพระพุทธเจ้า

พุทธเจ้า  ๕,  ๗,  ๒๕  ดู  พระพุทธเจ้าและ  พุทธะ

พุทธบริวาร  บริวารของพระพุทธเจ้าผู้เป็นบริวารของพระพุทธเจ้า

พุทธบริษัท  หมู่ชนที่นับถือพระพุทธศาสนามี  ๔  จำพวก  คือ  ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก อุบาสิกา

พุทธบัญญัติ  ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้,  วินัยสำหรับพระ

พุทธบาท  รอยเท้าของพระพุทธเจ้าอรรถกถาว่าทรงประทับแห่งแรกที่บนหาดชายฝั่งแม่น้ำนัมมทา  แห่งที่สองที่ภูเขาสัจจพันธคีรี  นอกจากนี้ตำนานสมัยต่อ  ๆ  มาว่ามีที่ภูเขาสุมนกูฏ(ลังกาทวีป)  สุวรรณบรรพต  (สระบุรีประเทศไทย)  และเมืองโยนก  รวมเป็น  ๕  สถาน

พุทธปฏิมา  รูปเปรียบของพระพุทธเจ้า,  พระพุทธรูป

พุทธประวัติ  ประวัติของพระพุทธเจ้า

พุทธปรินิพพาน  การเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า,  การตายของพระพุทธเจ้า

พุทธพจน์   พระดำรัสของพระพุทธเจ้า,  คำพูดของพระพุทธเจ้า

พุทธภาษิต   ภาษิตของพระพุทธเจ้า,  คำพูดของพระพุทธเจ้า,  ถ้อยคำที่พระพุทธเจ้าพูด

พุทธมามกะ  “ผู้ถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา”,  ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน,  ผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา;  พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะนั้น  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้ทรงเรียบเรียงตั้งเป็นแบบไว้  ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดจะส่งเจ้านายคณะหนึ่งออกไปศึกษาในทวีปยุโรป  ทรงถือตามคำแสดงตนเป็นอุบาสกของเดิมแต่แก้บท  “อุบาสก”  ที่เฉพาะผู้ใหญ่ผู้ได้ศรัทธาเลื่อมใสด้วยตนเอง  เป็น  “พุทธมามกะ”  และได้เกิดเป็นประเพณีนิยมแสดงตนเป็นพุทธมามกะสืบต่อกันมา  โดยจัดทำในกรณีต่าง  ๆ  โดยเฉพาะ  ๑.  เมื่อบุตรหลานพ้นวัยทารก  อายุ  ๑๒-๑๕  ปี  ๒.  เมื่อจะส่งบุตรหลานไปอยู่ในถิ่นที่มิใช่ดินแดนของพระพุทธศาสนา  ๓.  โรงเรียนประกอบพิธีให้นักเรียนที่เข้าศึกษาใหม่แต่ละปีเป็นหมู่  ๔.  เมื่อบุคคลผู้เคยนับถือศาสนาอื่นต้องการประกาศตนเป็นผู้นับถือศาสนาอื่นต้องการประกาศตนเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา;  ท่านวางระเบียบพิธีไว้สรุปได้ดังนี้  ก.  มอบตัว  (ถ้าเป็นเด็กให้ผู้ปกครองนำตัวหรือครูนำรายชื่อไป)  โดยนำดอกไม้ธูปเทียนใส่พานไปถวายพระอาจารย์ที่จะให้เป็นประธานสงฆ์ในพิธี  พร้อมทั้งเผดียงสงฆ์รวมทั้งพระอาจารย์เป็นอย่างน้อย  ๔  รูป  ข.  จัดสถานที่  ในอุโบสถ  หรือวิหาร  ศาลาการเปรียญ  หรือหอประชุมที่มีโต๊ะบูชามีพระพุทธรูปประธาน  และจัดอาสนะสงฆ์ให้เหมาะสม  ค.  พิธีการ  ให้ผู้แสดงตน  จุดธูปเทียนเปล่งวาจาบูชาพระรัตนตรัยว่า  อิมินา  สกฺกาเรน,  พุทฺธํ  ปูเชมิ.  ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้าด้วยเครื่องสักการะนี้(กราบ)....ธมฺมํ  ......พระธรรม......(กราบ)  ......สงฺฆํ........พระสงฆ์....(กราบ)  จากนั้นเข้าไปสู่ที่ประชุมสงฆ์  ถวายพานเครื่องสักการะแก่พระอาจารย์กราบ  ๓  ครั้งแล้ว  คงนั่งคุกเข่า  กล่าวคำปฏิญาณว่า  :  นโม  ตสฺส  ภควโต อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส  (๓  หน)  ข้าพเจ้าขอนอบน้อม  แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น  (๓  หน)  เอสาหํ  ภนฺเต,  สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ,  ตํ  ภควนฺตํ  สรณํ  คจฺฉามิ,  ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ,  พุทฺธมามโกติ มํ สงฺโฆ  ธาเรตุ.  ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  แม้ปรินิพพานนานแล้ว  ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์  เป็นสรณะที่ระลึกนับถือขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่า  เป็นพุทธมามกะ  ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน  คือผู้นับถือพระพุทธเจ้า  (ถ้าเป็นหญิงคนเดียวเปลี่ยน  พุทฺธมามโกติเป็น  พุทฺธมามกาติ;  ถ้าปฏิญาณพร้อมกันหลายคน  ชายเปลี่ยน  เอสาหํ  เป็น เอเต  มยํ  หญิงเป็น  เอตา  มยํ;  และทั้งชายและหญิงเปลี่ยน      คจฺฉามิ  เป็น  คจฺฉาม,  พุทฺธมามโกติ  เป็น  พุทฺธมามกาติ,  มํ  เป็น  โน)  จากนั้นฟังพระอาจารย์ให้โอวาท  จบแล้วรับคำว่า  “สาธุ”  ครั้นแล้วกล่าวคำอาราธนาเบญจศีลและสมาทานศีลพร้อมทั้งคำแปล  จบแล้วกราบ  ๓  หน  ถวายไทยธรรม  (ถ้ามี)  แล้วกรวดน้ำเมื่อพระสงฆ์อนุโมทนา  รับพรเสร็จแล้ว  คุกเข่ากราบพระสงฆ์  ๓  ครั้ง  เป็นเสร็จพิธี


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 พฤษภาคม 2556 11:13:49 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2556 11:16:56 »

.

พุทธรูป  รูปพระพุทธเจ้า

พุทธฤทธานุภาพ  ฤทธิ์และอานุภาพของพระพุทธเจ้า

พุทธเวไนย  ผู้ที่พระพุทธเจ้าควรแนะนำสั่งสอน,  ผู้ที่พระพุทธเจ้าพอแนะนำสั่งสอนได้

พุทธศักราช   ปีนับแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน

พุทธศาสนา  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า,  อย่างกว้างขวางในบัดนี้  หมายถึง  ความเชื่อถือ  การประพฤติปฏิบัติและกิจการทั้งหมดของหมู่ชนผู้กล่าวว่าตนนับถือพระพุทธศาสนา

พุทธศาสนิก  ผู้นับถือพระพุทธศาสนา,  ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

พุทธศาสนิกมณฑล  วงการของผู้นับถือพระพุทธศาสนา

พุทธสรีระ  ร่างกายของพระพุทธเจ้า

พุทธสาวก  สาวกของพระพุทธเจ้า,  ศิษย์ของพระพุทธเจ้า

พุทธอาณา  อำนาจปกครองของพระพุทธเจ้า,  อำนาจปกครองฝ่ายพุทธจักร

พุทธอาสน์  ที่ประทับนั่งของพระพุทธเจ้า

พุทธอิทธานุภาพ  ฤทธิ์และอานุภาพของพระพุทธเจ้า

พุทธอุปฐาก  ผู้คอยรับใช้พระพุทธเจ้าในครั้งพุทธกาล  มี  พระอานนท์  พุทธอนุชาเป็นผู้เลิศในเรื่องนี้

พุทธโอวาท  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  มีหลักใหญ่  ๓ ข้อ  คือ  ๑.  สพฺพปาปสฺส  อกรณํ   ไม่ทำความชั่วทั้งปวง  ๒.  กุสลสฺสูปสมฺปทา  ทำความดีให้เพียบพร้อม ๓.  สจิตฺตปริโยทปนํ   ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์

พุทธัตถจิยา  ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตว์โลก  โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า  เช่น  ทรงแสดงธรรมแก่เวไนยสัตว์และบัญญัติวินัยขึ้นบริหารหมู่คณะ  ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนมาตราบเท่าทุกวันนี้

พุทธาณัติ  คำสั่งของพระพุทธเจ้า

พุทธาณัติพจน์  พระดำรัสสั่งของพระพุทธเจ้า,  คำสั่งของพระพุทธเจ้า

พุทธาทิบัณฑิต  บัณฑิตมีพระพุทธเจ้า  เป็นต้น  (พุทธ  +  อาทิ  +  บัณฑิต)

พุทธาธิบาย  พระประสงค์ของพระพุทธเจ้า,  พระดำรัสชี้แจงของพระพุทธเจ้า

พุทธานุญาต  ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต

พุทธานุพุทธประวัติ  ประวัติของพระพุทธเจ้าและพระสาวก

พุทธานุสติ  ตามระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า  (ข้อ  ๑  ในอนุสติ  ๑๐)

พุทธิจริต  พื้นนิสัยที่หนักในความรู้มักใช้ความคิด  พึงส่งเสริมด้วยแนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ  (ข้อ  ๕  ในจริต  ๖)

พุทธุปบาทกาล  กาลเป็นที่อุบัติเหตุของพระพุทธเจ้า,  เวลาที่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก

พุทฺโธ  ทรงเป็นผู้ตื่น  ไม่หลงงมงายเองด้วย  และทรงปลุกผู้อื่นให้ตื่นพ้นจากความหลงงมงายนั้นด้วย  ทรงเป็นผู้เบิกบาน  มีพระทัยผ่องแผ้ว  บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์

เพ็ญ  เต็ม  หมายถึง  พระจันทร์เต็มดวงคือวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ

เพทางค์  วิชาประกอบกับการศึกษาพระเวท  มี ๖  อย่าง  คือ  ๑.  ศึกษาวิธีออกเสียงคำในพระเวทให้ถูกต้อง  ๒.  ไวยากรณ์  ๓. ฉันท์  ๔.  โชยติส  ดาราศาสตร์  ๕.  นิรุกติ  กำเนิดของคำ  ๖.  กัลป  วิธีจัดทำพิธี

เพลิงทิพย์  ไฟเทวดา,  ไฟที่เป็นของเทวดา,  เพลิงคราวถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

เพศ  ลักษณะที่ให้รู้ว่าหญิงหรือชาย,  เครื่องหมายว่าเป็นชายหรือเป็นหญิง,  ลักษณะและอาการที่ปรากฏให้เห็นว่าเป็นบุคคลประเภทนี้  เช่น  โดยเพศแห่งฤษี  เพศบรรพชิต  เพศแห่งช่างไม้  เป็นต้น,  ขนบธรรมเนียม

เพียรชอบ  เพียรในที่  ๔  สถาน  ดู  ปธาน

เพื่อน  ผู้ร่วมธุระร่วมกิจร่วมการหรือร่วมอยู่ในสภาพอย่างเดียวกัน,  ผู้ชอบพอรักใคร่คบหากัน,  ในทางธรรม  เนื้อแท้ของความเป็นเพื่อน  อยู่ที่ความมีใจ  หวังดีปรารถนาดีต่อกัน  กล่าวคือ  เมตตา  หรือไมตรี  เพื่อนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้  ท่านเรียกว่า มิตร   การคบเพื่อนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่จะนำชีวิตไปสู่ความเสื่อมความพินาศ  หรือสู่ความเจริญงอกงาม  พึงหลีกเลี่ยงมิตรเทียมและเลือกคบหาคนที่เป็นมิตรแท้  ดู มิตตปฏิรูป,  มิตรแท้

บุคคลที่ช่วยชี้แนะแนวทาง  ชักจูงตลอดจนแนะนำสั่งสอน  ชักนำผู้อื่นให้ดำเนินชีวิตที่ดีงาม  ให้ประสบผลดีและความสุข  ให้เจริญก้าวหน้า  ให้พัฒนาในธรรม  แม้จะเป็นบุคคลเสมอกัน  หรือเป็นมารดาบิดาครูอาจารย์  ตลอดทั้งพระสงฆ์  จนถึงพระพุทธเจ้า  ก็นับว่าเป็นเพื่อน  แต่เป็นเพื่อนใจดี  หรือเพื่อนมีธรรม  เรียกว่า  กัลยาณมิตร  แปลว่า  มิตรดีงาม  กัลยาณมิตรมีคุณสมบัติที่เรียกว่า  กัลยาณมิตรธรรม  หรือธรรมของกัลยาณมิตร ๗ ประการ  คือ ๑.  ปิโย น่ารัก  ด้วยมีเมตตา  เป็นที่สบายจิตสนิทใจ  ชวนให้อยากเข้าไปหา  ๒.  ครุ   น่าเคารพ  ด้วยความประพฤติหนักแน่นเป็นที่พึ่งอาศัยได้  ให้รู้สึกอบอุ่นใจ ๓.  ภาวนีโย   น่าเจริญใจด้วยความเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตน  ควรเอาอย่าง  ให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ  ๔.  วัตตา   รู้จักพูดให้ได้ผล  รู้จักชี้แจงแนะนำ  เป็นที่ปรึกษาที่ดี ๕.  วจนักขโม   อดทนต่อถ้อยคำ  พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถาม  ตลอดจนคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ ๖.  คัมภีรัญจะ  กถังกัตตา  แถลงเรื่องล้ำลึกได้  สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจ  และสอนให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ๗. โน จัฏฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน  คือ  ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสียหรือเรื่องเหลวไหลไม่สมควร

แพศย์  คนวรรณะที่สาม  ในวรรณะสี่ของคนในชมพูทวีป  ตามหลักศาสนาพราหมณ์  หมายถึงพวกชาวนาและพ่อค้า

แพศยา  หญิงหากินในทางกาม,  หญิงหาเงินในทางร่วมประเวณี

โพชฌงค์  ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือองค์ของผู้ตรัสรู้มี  ๗  อย่าง  คือ  ๑.  สติ  ๒.  ธัมมวิจยะ  (การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม)  ๓.  วิริยะ  ๔.  ปีติ  ๕.  ปัสสัทธิ  ๖.  สมาธิ  ๗.  อุเบกขา

โพธิ์,  โพธิพฤกษ์  ต้นโพธิ์,  ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ  ณ  ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้,  ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น  สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน  ได้แก่  พันธุ์ไม้อัสสัตถะ     (ต้นโพ)  ต้นที่อยู่  ณ  ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  ตำบลคยา;  ต้นโพธิ์  ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยาได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล  (ปลูกจากเมล็ด)  ที่ประตูวัดพระเชตวันโดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐีและเรียกชื่อว่า  อานันทโพธิ;  หลังพุทธกาลในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช  พระนางสังฆมิตตาเถรี   ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิที่คยานั้นไปมอบ  แด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงปลูกไว้  ณ  เมืองอนุราธปุระ  ในลังกาทวีป  ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน;  ในประเทศไทย  สมัยราชวงศ์จักรี  พระสมณทูตไทยในสมัย  ร.๒  ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์  ที่เมืองอนุราธปุระมาณ ๖  ต้น  ในพ.ศ.  ๒๓๕๗  โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช  ๒  ต้น  นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ  วัดสุทัศน์  วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน  แห่งละ  ๑  ต้น;   ต่อมาในสมัย  ร. ๕  ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรกได้ปลูกไว้  ณ  วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิต

โพธิปักขิยธรรม  ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้,  ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค  มี  ๓๗  ประการคือ  สติปัฏฐาน  ๔  
สัมมัปปธาน  ๔  อิทธิบาท  ๔  อินทรีย์  ๕  พละ  ๕  โพชฌงค์  ๗  มรรคมีองค์  ๘

โพธิมัณฑะ  ประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่ง

โพธิญาณ,  บริเวณต้นโพธิ์เป็นที่ตรัสรู้

โพธิราชกุมาร  เจ้าชายโพธิ  พระราชโอรสของพระเจ้าอุเทน  พระเจ้าแผ่นดินแคว้นวังสะ

โพธิสมภาร  บุญบารมีของพระมหากษัตริย์

โพธิสัตว์  ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี  ๑๐  คือ  ทาน  ศีล  เนกขัมมะ  ปัญญา  วิริยะ  ขันติ  สัจจะ  อธิษฐาน  เมตตา  อุเบกขา

โพนทนา  กล่าวโทษ,  ติเตียน,  พูดกล่าวโทษท่านต่อหน้าผู้อื่น  (พจนานุกรมเขียน  โพนทะนา)

ไพศาลี  ดู  เวสาลี  




หมวดพยัญชนะ

ฟั่นเฝือ  เคลือบคลุม,  พัวพันกัน,  ปนคละกัน,  ยุ่ง

ฟูมฟาย  มากมาย,  ล้นเหลือ,  สุรุ่ยสุร่าย,  น้ำตาอาบหน้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 พฤษภาคม 2556 14:48:56 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 22 พฤษภาคม 2556 15:45:58 »

.

หมวดพยัญชนะ

ภควา  พระผู้มีพระภาค,  พระนามพระพุทธเจ้า  แปลว่า  ทรงเป็นผู้มีโชค  คือ  หวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง  ประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา  มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายได้;  อีกนัยหนึ่งว่าทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม

ภคันทลา  โรคริดสีดวงทหารหนัก

ภคินี  พี่หญิง  น้องหญิง

ภคุ  ดู  ภัคคุ

ภพ  โลกเป็นที่อยู่ของสัตว์,  ภาวะชีวิตของสัตว์  มี  ๓  คือ ๑. กามภพ  ภพของผู้ยังเสวยกามคุณ  ๒.  รูปภพ  

ภพเข้าผู้เข้าถึงรูปฌาน  ๓. อรูปภพ  ภพของผู้เข้าถึงอรูปฌาณ

ภพหลัง  โลกที่สัตว์เกิดมาแล้วในชาติที่ผ่านมา,  ภพก่อน,  ชาติก่อน  ตรงข้ามกับภพหน้า

ภยตูปัฏฐานฌาน  ปรีชาหยั่งเห็นสังขารปรากฏโดยอาการเป็นของน่ากลัว  เพราะสังขารทั้งปวงนั้นล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป  ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น  (ข้อ  ๓  ในวิปัสสนาญาณ  ๙)

ภยันตราย  ภัยและอันตราย,  อันตรายที่น่ากลัว

ภยาคติ  ลำเอียงเพราะกลัว  (ข้อ  ๔  ในอติ  ๔)

ภวตัณหา  ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่  หรืออยากเกิดอยากมีอยู่คงอยู่ตลอดไป,  ความทะยานอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ  (ข้อ ๓ ในตัณหา ๓)

ภวทิฏฐิ  ความเห็นเนื่องด้วยภพ,  ความเห็นว่าอัตตาและโลกจักมีอยู่คงอยู่เที่ยงแท้ตลอดไป  เป็นพวกสัสสตทิฏฐิ

ภวังค์  ดู  ภวังคจิต

ภวังคจิต  จิตที่เป็นองค์แห่งภพ,  ตามหลักอภิธรรมว่า  จิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิและจุติ  คือ  ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย  ในเวลาที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖  มีจักขุทวารเป็นต้น  แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์  เช่น  เกิดการเห็น  การได้ยิน  เป็นต้น  ก็เกิดเป็นวิถีจิตขึ้นแทนภวังคจิต  เมื่อวิถีจิตดับหมดไป  ก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นอย่างเดิม

ภวาสวะ  อาสวะคือภพ,  กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน  ทำให้อยากเป็นอยากเกิดอยากมีอยู่คงอยู่ตลอดไป  (ข้อ ๒ ในอาสวะ ๓ และ ๔)

ภักษา,  ภักษาหาร   เหยื่อ,  อาหาร

ภัคคะ  ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปครั้งพุทธกาล  นครหลวงชื่อ  สุงสุมารคีระ

ภัคคุ  เจ้าศากยะองค์หนึ่ง  ที่ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ  ได้บรรลุพระอรหัต  และเป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่งเขียน  ภคุ  ก็มี

ภังคะ  ผ้าทำด้วยของเจือกัน  คือ  ผ้าทำด้วยเปลือกไม้ ฝ้าย ไหม ขนสัตว์  เปลือกป่าน  ๕ อย่างนี้  อย่างใดก็ได้ปนกัน  เช่น  ผ้าด้ายแกมไหม  เป็นต้น

ภังคญาณ  ปัญญาหยั่งเห็นความย่อยยับ  คือ  เห็นความดับแห่งสังขาร ภังคานุปัสสนาญาณ   ก็เรียก

ภงฺคํ  ดู ภังคะ

ญาณตามเห็นความสลาย,  ปรีชาหยั่งเห็นเฉพาะความดับของสังขารเด่นชัดขึ้นมาว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องแตกสลายไปทั้งหมด  (ข้อ ๒ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

ภัณฑไทย  ของที่จะต้องให้  (คืน)  แก่เขา,  สินใช้,  การที่จะต้องชดใช้ทรัพย์ที่เขาเสียไป

ภัณฑาคาริก  ภิกษุผู้ได้รับสมมติคือ  แต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นผู้มีหน้าที่รักษาเรือนคลังเก็บพัสดุของสงฆ์,  ผู้รักษาคลังสิ่งของ

ภัณฑูกรรม  ดู  ภัณฑูกัมม์

ภัณฑูกัมม์  การปลงผม,  การบอกขออนุญาตกะสงฆ์เพื่อปลงผมคนผู้จะบวชในกรณีที่ภิกษุจะปลงให้เอง  เป็นอปโลกนกรรมอย่างหนึ่ง

ภัต, ภัตร  อาหาร,  ของกิน,  ของฉัน,  อาหารที่รับประทาน (หรือฉัน) เป็นมื้อ  ๆ

ภัตกาล  เวลาฉันอาหาร,  เวลารับประทานอาหาร  เดิมเขียน  ภัตตกาล  

ภัตกิจ  การบริโภคอาหาร  เดิมเขียนภัตตกิจ

ภัตตัคควัตร  ข้อควรปฏิบัติในหอฉัน,  ธรรมเนียมในโรงอาหาร  ท่านจัดเข้าเป็นกิจวัตรประเภทหนึ่ง  กล่าวย่อ  มี  ๑๑ ข้อ คือ  นุ่งห่มให้เรียบร้อย,  รู้จักอาสนะอันสมควรแก่ตน,  ไม่นั่งทับผ้าสังฆาฏิในบ้าน,  รับน้ำและโภชนะของถวายจากทายกโดยเอื้อเฟื้อ  และคอยระวังให้ได้รับทั่วถึงกัน,  ถ้าพอจะแลเห็นทั่วกัน  พระสังฆเถระพึงลงมือฉัน  เมื่อภิกษุทั้งหมดได้รับโภชนะทั่วกันแล้ว,  ฉันด้วยอาการเรียบร้อยตามหลักเสขิยวัตร,  อิ่มพร้อมกัน  (หัวหน้ารอยังไม่บ้วนปากและล้างมือ),  บ้วนปากและล้างมือกระเซ็น,  ฉันในที่มีทายกจัดถวาย  เสร็จแล้วอนุโมทนา,  เมื่อกลับอย่าเบียดเสียดกันออกมา,  ไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวหรือของเป็นเดนในบ้านเขา

ภัตตาหาร  อาหารคือข้าวของฉัน,  อาหารที่สำหรับฉันเป็นมื้อๆ

ภัตตุทเทสกะ  ผู้แจกภัต,  ภิกษุที่สงฆ์สมมติคือแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจกภัต  นิยมเขียน  ภัตตุเทศก์

ภัตตุเทศก์  ดู  ภัตตุทเทสกะ

ภัตร  ดู  ภัต

ภัททกาปิลานี  พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง  เป็นธิดาพราหมณ์โกสิยโคตรในสาคลนครแห่งมัททรัฐ  (คัมภีร์อปทานว่าไว้ชัดดังนี้  แต่อรรถกถาอังคุตตรนิกายคลาดเคลื่อนเป็นแคว้นมคธ)  พออายุ  ๑๖  ปี  ได้สมรสกับปิปผลิมาณพ  (พระมหากัสสปะ)  ต่อมามีความเบื่อหน่ายในฆราวาส  จึงออกบวชเป็นปริพาชิกา  เมื่อพระมหาปชาบดีผนวชเป็นภิกษุณีแล้ว  นางได้มาบวชอยู่ในสำนักของพระมหาปชาบดี  เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยความไม่ประมาท  ได้บรรลุพระอรหัต  ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ  ในทางปุพเพนิวาสานุสสติ  เรียกภัททากาปิลานี  บ้าง  ภัททากปิลานีบ้าง

ภัททปทมาส  เดือน  ๑๐  เรียกง่ายว่าภัทรบท

ภัททวัคคีย์  พวกเจริญ,  เป็นชื่อคณะสหาย  ๓๐  คนที่พากันเข้ามาในไร่ฝ้ายแห่งหนึ่งเพื่อเที่ยวตามหาหญิงแพศยาผู้ลักห่อเครื่องประดับหนีไป  และได้พบพระพุทธเจ้าซึ่งพอดีเสด็จแวะเข้าไปประทับพักอยู่ที่ไร่ฝ้ายนั้น  ได้ฟังเทศนาอนุปุพพีกถา  และอริยสัจ  ๔  ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วขออุปสมบท

ภัททา  กัจจานา  พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง  เป็นธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะแห่งโกลิยวงศ์  พระนามเดิมว่า ยโสธราหรือ พิมพา  เป็นพระมารดาของพระราหุลพุทธชิโนรส  ได้นามว่า  ภัททากัจจานา  เพราะทรงมีฉวีวรรณดุจทองคำเนื้อเกลี้ยง  บวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนาเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน  ไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหัตได้รับการยกย่องว่า  เป็นเอตทัคคะในทางบรรลุมหาภิญญา  เรียกภัททกัจจานาก็มี

ภัททา กุณฑลเกสา  พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง  เป็นธิดาของเศรษฐีในพระนครราชคฤห์  เคยเป็นภรรยาโจรผู้เป็นนักโทษประหารชีวิต  โจรคิดจะฆ่านางเพื่อเอาทรัพย์สมบัติ  แต่นางใช้ปัญญาคิดแก้ไขกำจัดโจรได้  แล้วบวชในสำนักนิครนถ์  ต่อมาได้พบกับพระสารีบุตร  ได้ถามปัญหากันและกัน  จนนางมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงได้สำเร็จพระอรหัต  แล้วบวชในสำนักนางภิกษุณี  ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา  คือ  ตรัสรู้ฉับพลัน

ภัททิยะ  ๑.  ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์  เป็นพระอรหันต์รุ่นแรก  ๒.  กษัตริย์ศากยวงศ์  โอรสของนางกาฬิโคธา  สละราชสมบัติที่มาถึงตามวาระและออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ  สำเร็จอรหัตตผล  ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้มาจากตระกูลสูง  และจัดเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน  ๘๐

ภัททิยศากยะ  ดู  ภัททิยะ  ๒.

ภัทเทกรัตตสูตร   ชื่อสูตรหนึ่งในมัชฌิมนิกาย  อุปริปัณณาสก์  แห่งพระสุตตันตปิฎก  แสดงเรื่องบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ  คือ  คนที่เวลาวันคืนหนึ่ง  ๆ  มีแต่ความดีงามความเจริญก้าวหน้าได้แก่  ผู้ที่ไม่มัวครุ่นคำนึงอดีต  ไม่เพ้อหวังอนาคต  ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นแจ้งประจักษ์สิ่งที่เป็นปัจจุบัน  ทำความดีเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยไป  มีความเพียรพยายาม  ทำกิจที่ควรทำเสียแต่วันนี้ไม่รอวันพรุ่ง

ภัทราวุธมาณพ  ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน  ๑๖  คน  ของพราหมณ์พาวรี  ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา  ที่ปาสาณเจดีย์

ภันเต  “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ”  เป็นคำที่ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่าเรียกภิกษุผู้แก่พรรษากว่า  (ผู้น้อยเรียกผู้ใหญ่)  หรือคฤหัสถ์กล่าวเรียกพระภิกษุ,  คู่กับคำว่า  “อาวุโส”  ;  บัดนี้ใช้เลือนกันไปกลายเป็นคำแทนตัวบุคคลไป  ก็มี

ภัพพบุคคล  คนที่ควรบรรลุธรรมพิเศษได้  เทียบ  อภัพบุคคล

ภัลลิกะ  พ่อค้าที่มาจากอุกกลชนบทคู่กับ  ตปุสสะ   พบพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่  ณ  ภายใต้ต้นไม้ราชายตนะได้ถวายเสบียงเดินทาง  คือ  ข้าวสัตตุผง  ข้าวสัตตุก้อน  แล้วแสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระพุทธเจ้ากับพระธรรมเป็นสรณะ  นับเป็นปฐมอุบาสก

ภาชกะ  ผู้แจก,  ผู้จัดแบ่ง

ภาณวาร  “วาระแห่งการสวด”,  ข้อความในคัมภีร์ต่าง ๆ  เช่น  ในพระสูตรขนาดยาวที่ท่านจัดแบ่งไว้เป็นหมวดหนึ่ง  ๆ  สำหรับสาธยายเป็นคราว  ๆ  หรือเป็นตอน  ๆ

ภาระ  “สิ่งที่ต้องนำพา”,  ธุระหนัก,  การงานที่หนัก,  หน้าที่ที่ต้องรับเอา,  เรื่องที่พึงรับผิดชอบ,  เรื่องหนักที่จะต้องเอาใจใส่หรือจัดทำ

ภารทวาชโคตร  ตระกูลภารทวาชะเป็นตระกูลพราหมณ์เก่าแก่  ปรากฏตั้งแต่สมัยร้อยกรองพระเวท  แต่ในพุทธกาลปรากฏตามคัมภีร์วินัยปิฎกว่าเป็นตระกูลต่ำ

ภาวนา การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ ๑. การฝึกอบรม  ตามหลักพระพุทธศาสนา  มี  ๒  อย่างคือ ๑. สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตใจให้เกิดความสงบ ๒. วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง, อีกนัยหนึ่งจัดเป็น ๒  เหมือนกันคือ  ๑. จิตตภาวนา   การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม  มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใสพร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ  ๒.  ปัญญาภาวนา   การฝึกอบรมเจริญปัญญา  ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง  จนมีจิตใจเป็นอิสระไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์  ๒. การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ  มี  ๓  ขั้น  คือ  ๑. บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือ กำหนดอารมณ์กรรมฐาน ๒. อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือ เกิดอุปจารสมาธิ  ๓. อัปปนาภาวนา   ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือ เกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน ๓. ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็นการท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆ ให้ขลัง ก็มี

ภาวนาปธาน  เพียรเจริญ, เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่มียังไม่เกิดให้เกิดให้มีขึ้น  (ข้อ ๓ ในปธาน ๔)

ภาวนามัย  บุญที่สำเร็จด้วยการเจริญภาวนา,  ความดีที่ทำด้วยการฝึกอบรมจิตใจให้สุขสงบมีคุณธรรม  เช่น  เมตตากรุณา  (จิตตภาวนา) และฝึกอบรมเจริญปัญญาให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง (ปัญญาภาวนา) ดู ภาวนา   (ข้อ ๓ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐)

ภาวรูป รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ  มี ๒ คือ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย

ภาษา เสียงหรือกิริยาอาการซึ่งทำความเข้าใจซึ่งกันและกันได้, ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน, คำพูด

ภาษามคธ ภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ, ภาษาของชาวแคว้นมคธ หมายถึงภาษาบาลี

ภาษิต  คำกล่าว, คำหรือข้อความที่พูดไว้

ภาษี  ค่าสิ่งของที่เก็บตามจำนวนสินค้าเข้าออก

ภิกขาจาร  เที่ยวไปเพื่อภิกษา, เที่ยวไปเพื่อขอ, เที่ยวบิณฑบาต

ภิกขุนีปาฏิโมกข์  ประมวลสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุณี มี  ๓๑๑  ข้อ

ภิกขุนีวิภังค์  คัมภีร์ที่จำแนกความแห่งสิกขาบททั้งหลายในภิกขุนีปาฏิโมกข์  อยู่ในพระวินัยปิฎก

ภิกขุนูปัสสยะ สำนักนางภิกษุณี,  เขตที่อยู่อาศัยของภิกษุณีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในวัด

ภิกขุปาฏิโมกข์ ประมวลสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุ  มี  ๒๒๗  ข้อ

ภิกขุวิภังค์ คัมภีร์จำแนกความแห่งสิกขาบทในภิกขุปาฏิโมกข์  อยู่ในพระวินัยปิฎก  มักเรียกว่า  มหาวิภังค์

ภิกษาจารกาล  เวลาเป็นที่เที่ยวไปเพื่อภิกษา,  เวลาบิณฑบาต

ภิกษุ  ชายผู้ได้อุปสมบทแล้ว,  ชายที่บวชเป็นพระ,  พระผู้ชาย;  แปลตามรูปศัพท์ว่า  ผู้ขอ หรือผู้มองเห็นภัยในสังขาร หรือผู้ทำลายกิเลส  ดู บริษัท  ๔,  สหธรรมิก, บรรพชิต, อุปสัมบัน  

ภิกษุสาวกรูปแรก ได้แก่  พระอัญญาโกณฑัญญะ

ภิกษุณี  หญิงที่ได้อุปสมบทแล้ว, พระผู้หญิงในพระพุทธศาสนา เทียบ ภิกษุ

ภิกษุณีสงฆ์  หมู่แห่งภิกษุณี,  ประดาภิกษุณีทั้งหมดกล่าวโดยส่วนรวมหรือโดยฐานเป็นชุมนุมหนึ่ง,  ภิกษุณีตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ประชุมกันเนื่องในกิจพิธี;  ภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นในพรรษาที่ ๕ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจโดยมีพระมหาปชาบดีโคตมี พระมาตุจฉาซึ่งเป็นพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัตถะ  เป็นพระภิกษุณีรูปแรกดังเรื่องปรากฏในภิกษุณีขันธกะและในอรรถกถา  สรุปได้ความว่า  หลังจากพระเจ้าสุทโธทนะปรินิพพานแล้ว  วันหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นิโครธารามในเมืองกบิลพัสดุ์  พระนางมหาปชาบดีโคตมีเสด็จเข้าไปเฝ้าและทูลขออนุญาตให้สตรีสละเรือนออกบวชในพระธรรมวินัย  แต่การณ์นั้นมิใช่ง่าย  พระพุทธเจ้าตรัสห้ามเสียถึง ๓ ครั้ง ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองเวสาลี ประทับที่กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน พระนางมหาปชาบดีโคตมีไม่ละความพยายาม  ถึงกับปลงผมนุ่งห่มผ้ากาสาวะเอง  ออกเดินทางพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะจำนวนมาก (อรรถกถาว่า  ๕๐๐  นาง)  ไปยังเมืองเวสาลีและได้มายืน  กันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูนอกกูฏาคารศาลา  พระบาทพระบวมพระวรกายเปรอะเปื้อนธุลี  พระอานนท์มาพบเข้า  สอบถามทราบความแล้วรีบช่วยไปกราบทูลขออนุญาตให้  แต่เมื่อพระอานนท์กราบทูลต่อพระพุทธเจ้าก็ถูกพระองค์ตรัสห้ามเสียถึง  ๓  ครั้ง  ในที่สุดพระอานนท์เปลี่ยนวิธีใหม่  โดยกราบทูลถามว่าสตรีออกบวชในพระธรรมวินัยจะสามารถบรรลุโสดาปัตติผลจนถึงอรหัตตผลได้หรือไม่  พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่าได้  พระอานนท์จึงอ้างเหตุผลนั้นพร้อมทั้งการที่พระนางมหาปชาบดีเป็นพระมาตุจฉาและเป็นพระมารดาเลี้ยงมีอุปการะมากต่อพระองค์  แล้วขอให้ทรงอนุญาตให้สตรีออกบวช  พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า  พระนางจะต้องรับปฏิบัติตามครุธรรม ๘ ประการ พระนางยอมรับตามพุทธานุญาตที่ให้ถือว่า การรับครุธรรมนั้นเป็นการอุปสมบทของพระนาง  ส่วนเจ้าหญิงศากยะที่ตามมาทั้งหมด  พระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้  ในคราวนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่าการให้สตรีบวชจะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์  คือพระศาสนาหรือสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่ยั่งยืน  จะมีอายุสั้นเข้า  เปรียบเหมือนตระกูลที่มีบุรุษน้อยมีสตรีมาก  ถูกผู้ร้ายทำลายได้ง่าย  หรือเหมือนนาข้าวที่มีหนอนขยอกลง  หรือ  เหมือนไร่อ้อยที่มีเพลี้ยลง  ย่อมอยู่ได้ไม่ยืนนาน  พระองค์ทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการกำกับไว้ก็เพื่อเป็นหลักคุ้มกันพระศาสนา  เหมือนสร้างคันกั้นสระใหญ่ไว้ก่อนเพื่อกันไม่ให้น้ำไหลท้นออกไป  (พระศาสนาจักอยู่ได้ยั่งยืนเช่นเดิม)  และได้ทรงแสดงเหตุผลที่ไม่ให้ภิกษุไหว้ภิกษุณี  ให้ภิกษุณีไหว้ภิกษุได้ฝ่ายเดียวเพราะนักบวชในลัทธิศาสนาอื่นทั้งหลายไม่มีใครไหว้สตรีกันเลย  กล่าวโดยสรุปว่า  หากถือเหตุผลทางด้านสภาพสังคม-ศาสนาแล้ว  จะไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวชเลย  แต่ด้วยเหตุผลในด้านความสามารถโดยธรรมชาติจึงทรงยอมให้สตรีบวชได้  เมื่อภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นแล้ว สตรีที่จะบวชต่อมาต้องเป็น สิกขมานารักษาสิกขาบท ๖ (คือ ๖ ข้อแรกในศีล ๑๐)  ไม่ให้ขาดเลยตลอด ๒ ปีก่อนจึงขออุปสมบทได้ และต้องรับการอุปสมบทโดยสงฆ์สองฝ่าย คือบวชโดยภิกษุณีสงฆ์แล้ว  ต้องบวชโดยภิกษุสงฆ์อีกชั้นหนึ่ง  เมื่อเป็นภิกษุณีแล้วต้องรักษาสิกขาบท  ๓๑๑ ข้อ (ศีล ๓๑๑) ภิกษุณีสงฆ์เจริญแพร่หลายในชมพูทวีปอยู่ช้านาน เป็นแหล่งให้การศึกษาแหล่งใหญ่แก่สตรีทั้งหลาย

ภิกษุณีสงฆ์ประดิษฐานในลังกาทวีปในรัชกาลของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ โดยพระสังฆมิตตาเถรี พระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชเดินทางจากชมพูทวีปมาประกอบอุปสมบทกรรมแก่พระนางอนุฬาเทวี ชายาของเจ้ามหานาค อนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ  พร้อมด้วยสตรีอื่นอีก ๑ พันคน ภิกษุณีสงฆ์เจริญรุ่งเรืองในลังกาทวีปยาวนานไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี แต่ในที่สุดได้สูญสิ้นไป ด้วยเหตุใดและกาลใดไม่ปรากฏชัด ส่วนในประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้เคยมีการประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์

ภิกษุบริษัท  ชุมนุมภิกษุ, ชุมชนชาวพุทธฝ่ายภิกษุ (ข้อ ๑ ในบริษัท  ๔)

ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม  ดู มูลายปฏิกัสสนารหภิกษุ

ภิกษุสงฆ์  หมู่ภิกษุ,  หมู่พระ  ดู สงฆ์

ภุมมชกภิกษุ  ชื่อภิกษุผู้โจทพระทัพพมัลลบุตร คู่กับพระเมตติยะ

ภุมมเทวะ  เทวดาผู้อาศัยอยู่บนแผ่นดิน เช่น พระภูมิ เป็นต้น  

ภูต,  ภูตะ  ๑. สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเกิดเสร็จไปแล้ว, นัยหนึ่ง หมายถึงพระอรหันต์ เพราะไม่แสวงหาภพเป็นที่เกิดอีก อีกนัยหนึ่งหมายถึงสัตว์ที่เกิดเต็มตัวแล้ว เช่น คนคลอดจากครรภ์แล้ว ไก่ออกจากไข่แล้ว เป็นต้น ต่างกับ สัมภเวสี คือสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ซึ่งได้แก่ปุถุชนและพระเสขะผู้ยังแสวงหาภพที่เกิดอีกหรือสัตว์ในครรภ์และในไข่ที่ยังอยู่ระหว่างจะเกิด ๒.  ผี, อมนุษย์ ๓. ภูตรูป คือ ธาตุ ๔ มักเรียก มหาภูต

ภูตกสิณ  กสิณ คือ ภูตรูป, กสิณคือธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี ดิน, อาโป น้ำ, เตโช ไฟ, วาโย ลม

ภูตคาม  ของเขียวหรือพืชพรรณอันเป็นอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด  ๑.พืชเกิดจากเหง้า  คือใช้เหง้าเพาะ เช่น ขมิ้น  ๒. พืชเกิดจากต้น คือตอนออกได้จากไม้ต้นทั้งหลาย  เช่น  ต้นโพธิ์  ๓. พืชเกิดจากข้อ  คือใช้ข้อปลูก ได้แก่ไม้ลำ เช่น  อ้อย  ไม้ไผ่  ๔. พืชเกิดจากยอดคือ ใช้ยอดปักก็เป็น ได้แก่ผักต่างๆ  มีผักชีล้อม ผักบุ้ง เป็นต้น  ๕. พืชเกิดจากเมล็ด คือใช้เมล็ดเพาะ ได้แก่ ถั่ว งา ข้าว,แปลตามรูปศัพท์ว่า บ้านของภูต, คู่กับ พีชคาม

ภูตคามวรรค  หมวดที่ว่าด้วยภูตคามเป็นวรรคที่ ๒ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ในมหาวิภังค์แห่งพระวินัยปิฎก

ภูตรูป ดู มหาภูต

ภูมิ ๑. พื้นเพ, พื้น, ชั้น, ที่ดิน, แผ่นดิน ๒. ชั้นแห่งจิต, ระดับจิตใจ, ระดับชีวิตมี ๔  คือ ๑. กามาวจรภูมิ ชั้นที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม ๒. รูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป หรือชั้นของพวกที่ได้รูปฌาน ๓. อรูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปฌาน ๔. โลกุตตรภูมิ ชั้นที่พ้นโลกหรือระดับพระอริยบุคคล

ภูษา เครื่องนุ่งห่ม, ผ้าทรง

ภูษามาลา ช่างแต่ผม

เภทกรวัตถุ เรื่องทำความแตกกัน, เรื่องที่จะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความแตกแยกในสงฆ์, เหตุให้สงฆ์แตกกันท่านแสดงไว้ ๑๘ อย่าง  ดู  อัฏฐารสเภทกรวัตถุ

เภทนกปาจิตตีย์   อาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องทำลายสิ่งของที่เป็นเหตุให้ต้องอาบัติเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้ ได้แก่  สิกขาบทที่ ๔ แห่งรตนวรรคที่ ๙ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ (ปาจิตตีย์  ข้อที่  ๘๖  ทำกล่องเข็มด้วยกระดูก  งา  หรือ  เขาสัตว์)

เภริ, เภรี  กลอง

เภสัช  ยา, ยารักษาโรค, ยาแก้โรคเป็นอย่างหนึ่งในปัจจัย ๔, เภสัช ๕ ที่เป็นสัตตาหกาลิก รับไว้ฉันได้ตลอด ๗ วัน คือ ๑. สัปปิ  เนยใส  ๒. นวนีตะ เนยข้น  ๓. เตละ น้ำมัน ๔. มธุ น้ำผึ้ง ๕. ผาณิต น้ำอ้อย; ส่วนยาแก้โรคที่ทำจากรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ เป็นต้น จัดเป็นยาวชีวิก คือรับประเคนไว้แล้วเก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิต

เภสัชชขันธกะ   ชื่อขันธกะที่ ๖ แห่งคัมภีร์มหาวรรควินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องเภสัชคือ ยาบำบัดโรค ตลอดจนเรื่องยาคู อุทิสสมังสะ กัปปิยะอกัปปิยะ และกาลิก  ๔  

โภคอาทิยะ  ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์มี  ๕  คือ ๑. เลี้ยงตัว มารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข ๒. เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข ๓. บำบัดป้องกันภยันตราย  ๔. ทำ พลี ๕ อย่าง ๕. ทำทานในสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติชอบ

โภชชยาคู  ข้าวต้มสำหรับฉันให้อิ่ม  เช่น ข้าวต้มหมู เป็นต้น  มีคติอย่างเดียวกันกับอาหารหนัก เช่น ข้าวสวย ต่างจากยาคูที่กล่าวถึงตามปกติในพระวินัย ซึ่งเป็นของเหลวใช้สำหรับดื่ม ภิกษุรับนิมนต์ในที่แห่งหนึ่งไว้ฉันยาคูสามัญไปก่อนได้  ต่จะฉันโภชชยาคูไปก่อนไม่ได้  ดู ยาคู

โภชนะ  ของฉัน,  ของกิน, โภชนะทั้ง ๕ ได้แก่ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ

โภชนปฏิสังยุต  ธรรมเนียมที่เกี่ยวกับโภชนะ, ข้อที่ภิกษุสามเณรควรประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับการรับบิณฑบาตและฉันอาหาร, เป็นหมวดที่  ๒ แห่งเสขิยวัตร มี ๓๐ สิกขาบท

โภชนวรรค  หมวดที่ว่าด้วยเรื่องอาหารเป็นวรรคที่ ๔  แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์ แห่งพระวินัยปิฎก

โภชนะทีหลัง ดู ปรัมปรโภชน์

โภชนะเป็นของสมณะ (ในสิกขาบทที่  ๒  แห่งโภชนวรรค) พวกสมณะด้วยกันนิมนต์ฉัน (ฉันเป็นหมู่ได้ ไม่ต้องอาบัติปาจิตตีย์)

โภชนะอันประณีต  เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม

โภชนาหาร  อาหารคือของกิน

โภชนียะ  ของควรบริโภค, ของสำหรับฉัน ได้แก่ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ

โภชเนมัตตัญญุตา   ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร, รู้จักประมาณในการกิน คือ กินเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา (ข้อ  ๒  ในอปัณณกปฏิปทา  ๓)


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มิถุนายน 2556 17:45:19 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2556 19:28:40 »

.

หมวดพยัญชนะ

มกุฏพันธนเจดีย์  ที่ถวายพระเพลิง  พระพุทธสรีระ  อยู่ทิศตะวันออกของนครกุสินารา

มคธ ๑.  ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา  ๑๖  แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล  ตั้งอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคาตอนกลาง  เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่งกับแคว้นโกศล  และเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา  ในสมัยพุทธกาล  มคธมีนครหลวงชื่อ  ราชคฤห์  ราชาผู้ปกครองพระนามว่าพิมพิสาร ตอนปลายพุทธกาล  พระเจ้าพิมพิสารถูกโอรสชื่ออชาตศัตรูปลงพระชนม์  และขึ้นครองราชย์สืบแทน  ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาลาโศก  หรือก่อนนั้น เมืองหลวงของมคธ  ย้ายไปตั้งที่เมืองปาฏลีบุตร  บนฝั่งแม่น้ำคงคา  เหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป  มคธรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช  ซึ่งแคว้นใหญ่อื่นทั้งหมดได้รวมเข้าอยู่ภายในมหาอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมดแล้ว  บัดนี้  บริเวณที่เคยเป็นแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล  เรียกว่า  แคว้นพิหาร ๒.  เรียกภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ  หรือภาษาของชาวแคว้นมคธว่า  ภาษามคธ  และถือกันว่า  ภาษาบาลีที่ใช้รักษาพระพุทธพจน์สืบมาจนบัดนี้  คือ  ภาษามคธ

มคธชนบท  แคว้นมคธ,  ประเทศมคธ

มคธนาฬี  ทะนานที่ใช้อยู่ในแคว้นมคธ,  ทะนานชาวมคธ

มคธภาษา  ภาษาของชนชาวมคธ,  ภาษาของชนผู้อยู่ในแคว้นมคธ

มคธราช  ราชาผู้ครองแคว้นมคธ,  หมายถึงพระเจ้าพิมพิสาร

มฆเทวะ  พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้นวิเทหะพระองค์หนึ่ง  สมัยก่อนพุทธกาลเรียก  มขาเทวะ  ก็มี

มงคล  สิ่งที่ทำให้มีโชคดี,  ตามหลักพระพุทธศาสนา  หมายถึง  ธรรม  ที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญ,  มงคล  ๓๘  ประการ  หรือเรียกเต็มว่า  อุดมมงคล  (มงคลอันสูงสุด)  ๓๘ ประการมีดังนี้
คาถาที่  ๑  =  ๑. อเสวนา จ พาลานํ ไม่คบคนพาล  ๒.  ปณฺฑิตานญฺจ  เสวนา  คบบัณฑิต  ๓. ปูชา จ ปูชนียานํ  บูชาคนที่ควรบูชา  คาถาที่  ๒  =  ๔. ปฏิรูปเทสวาโส จ  อยู่ในปฏิรูปเทศ,  อยู่ในถิ่นมีสิ่งแวดล้อมดี  ๕. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา   ได้ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อน,  ทำความดีเตรียมพร้อมไว้แต่ต้น  ๖. อตฺตสมฺมาปณิธิ จ  ตั้งตนไว้ชอบ  คาถาที่ ๓  =  ๗. พาหุสจฺจญฺจ   เล่าเรียนศึกษามาก,  ทรงความรู้กว้างขวาง,  ใส่ใจสดับตรับฟังค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ  ๘.สิปฺปญฺจ มีศิลปวิทยา,  ชำนาญในวิชาชีพของตน  ๙. วินโย จ สุสิกฺขิโต   มีระเบียบวินัย,  ได้ฝึกอบรมตนไว้ดี  ๑๐. สุภาสิตา จ ยา วาจา   วาจาสุภาษิต,  รู้จักใช้วาจาพูดให้เป็นผลดี  คาถาที่  ๔  =  ๑๑. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ  บำรุงมารดาบิดา ๑๒/๑๓. ปุตฺตทารสฺส  สงฺคโห   =  ปุตฺตสงฺคห   สงเคราะห์บุตร และทารสงฺคห  สงเคราะห์ภรรยา  ๑๔. อนากุลา จ กมฺมนฺตา   การงานไม่อากูล  คาถาที่  ๕  =  ๑๕. ทานญฺจ รู้จักให้,  เผื่อแผ่แบ่งปัน,  บริจาคสงเคราะห์และบำเพ็ญประโยชน์  ๑๖. ธมฺมจริยา จ  ประพฤติธรรม,  ดำรงอยู่ในศีลธรรม  ๑๗. ญาตกานญฺจ สงฺคโห   สงเคราะห์ญาติ  ๑๘. อนวชฺชานิ กมฺมานิ  การงานที่ไม่มีโทษ,  กิจกรรมที่ดีงาม  เป็นประโยชน์  ไม่เป็นทางเสียหาย  คาถาที่ ๖  =  ๑๙. อารตี  วิรตี ปาปา เว้นจากความชั่ว  ๒๐. มชฺชปานา จ สญฺญโม  เว้นจากการดื่มน้ำเมา  ๒๑. อปฺปมาโท  จ  ธมฺเมสุ  ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย  คาถาที่ ๗  =  ๒๒. คารโว จ  ความเคารพ,  การแสดงออกที่แสดงถึงความเป็นผู้รู้จักคุณค่าของบุคคล  สิ่งของหรือกิจการนั้น  ๆ  และรู้จักให้ความสำคัญและความใส่ใจเอื้อเฟื้อโดยเหมาะสม  ๒๓. นิวาโต จ   ความสุภาพอ่อนน้อม, ถ่อมตน  ๒๔. สนฺตุฏฺฐี จ  ความสันโดษ, ความเอิบอิ่มพึงพอใจในผลสำเร็จที่ได้สร้างขึ้นหรือในปัจจัยลาภที่แสวงหามาได้  ด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตนเองโดยทางชอบธรรม ๒๕. กตญฺญุตา   มีความกตัญญู  ๒๖. กาเลน  ธมฺมสฺสวนํ   ฟังธรรมตามกาล,  หาโอกาสแสวงความรู้  ในเรื่องที่แสดงหลักความจริง  คาถาที่ ๘  =  ๒๗. ขนฺตี จ  มีความอดทน  ๒๘. โสวจสฺสตา  เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย  ๒๙. สมณานญฺจ ทสฺสนํ   พบเห็นสมณะ,  เยี่ยมเยือนเข้าหาท่านผู้สงบกิเลส  ๓๐. กาเลน ธมฺมสากจฺฉา   สนทนาธรรมตามกาล,  หาโอกาสสนทนาถกเถียงเกี่ยวกับหลักความจริงและหลักความถูกต้องดีงาม  คาถาที่ ๙  =  ๓๑. ตโป จ  มีความเพียรเผากิเลส,  รู้จักบังคับควบคุมตน  ไม่ปรนเปรอตามใจอยาก  ๓๒. พฺรหฺมจริยญฺจ ประพฤติพรหมจรรย์,  ดำเนินตามอริยมรรค,  การรู้จักควบคุมตนในทางเพศ  หรือถือเมถุนวิรัติตามควร  ๓๓. อริยสจฺจาน  ทสฺสนํ  เห็นอริยสัจจ์,  เข้าใจความจริงของชีวิต  ๓๔. นิพฺพานสจฺฉิ  กิริยา จ  ทำพระนิพพานให้แจ้ง,  บรรลุนิพพาน  คาถาที่  ๑๐   =  ๓๕. ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ   ถูกโลกธรรม  จิตไม่หวั่นไหว  ๓๖. อโสกํ จิต  ไร้เศร้า  ๓๗. วิรชํ  จิตปราศจากธุลี  ๓๘. เขมํ  จิตเกษม
  
มณฑป  เรือนยอดที่มีรูปสี่เหลี่ยม

มณฑล  วงรอบ,  บริเวณ, แคว้น, ดินแดน, วงการ

มณฑารพ  ดอกไม้ทิพย์  คือ  ดอกไม้ในเมืองสวรรค์ที่ตกลงมาบูชาพระพุทธเจ้า  ในวันปรินิพพาน  ดาดาษทั่วเมืองกุสินารา  และพระมหากัสสปได้เห็นอาชีวกคนหนึ่งถืออยู่ขณะเดินทางระหว่างเมืองกุสินารา  กับ  เมืองปาวา  จึงได้ถามข่าวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า  และทราบการปรินิพพานจากอาชีวกนั้น  เมื่อ  ๗  วันหลังพุทธปรินิพพาน

มณเฑียร  ดู  มนเทียร

มตกภัต  “ภัตเพื่อผู้ตาย”,  อาหารที่ถวายแก่สงฆ์เพื่ออุทิศกุศลแก่ผู้ตาย  ดู สังฆทาน

มติ  ความคิด,  ความเห็น

มทะ  ความมัวเมา  (ข้อ  ๑๕  ในอุปกิเลส  ๑๖)

มทนิมฺมทโน  ธรรมยังความเมาให้สร่าง,  ความสร่างเมา  (ไวพจน์อย่างหนึ่งของวิราคะ)

มธุกะ  มะทราง,  น้ำคั้นมะทรางเจือน้ำแล้ว  เรียกมธุกปานะ  เป็นสัตตาหกาลิกอย่างหนึ่ง  ดู  ปานะ

มธุรสูตร  พระสูตรที่พระมหากัจจายนะแสดงแก่พระเจ้ามธุรราช  อวันตีบุตร  กล่าวถึงความไม่ต่างกันของวรรณะ  4  เหล่า  คือ  กษัตริย์  พราหมณ์  แพศย์  ศูทร  ใจความว่าวรรณะ  ๔  นี้  แม้จะถือตัวอย่างไร  เหยียดหยามกันอย่างไร  แต่ถ้าทำดีก็ไปสู่ที่ดีเหมือนกันหมด  ถ้าทำชั่วก็ต้องได้รับโทษไปอบายเหมือนกันหมด  ทุกวรรณะเสมอกันในพระธรรมวินัย  ออกบวชบำเพ็ญสมณธรรมแล้ว  ไม่เรียกว่าวรรณะไหน  แต่เป็นสมณะเหมือนกันหมด  เมื่อจบเทศนาพระเจ้ามธุรราชประกาศพระองค์เป็นอุบาสก  (สูตรที่  ๓๔  ในมัชฌิมนิกาย  มัชฌิมปณณาสก์  พระสุตตันตปิฎก)  

มนะ  ใจ

มนตร์  คำที่เชื่อถือว่าศักดิ์สิทธิ์,  คำสำหรับสวด,  คำสำหรับเสกเป่า  (มักใช้สำหรับศาสนาพราหมณ์)

มนเทียร  เรือนหลวง;  โบราณใช้  มณเฑียร

มนสิการ  การทำในใจ,  ใส่ใจ,  พิจารณา

มนัส  ใจ

มนุษย์  “ผู้มีใจสูง”  ได้แก่คนผู้มีมนุษยธรรม  เช่น  เมตตา  กรุณา  เป็นต้น,  สัตว์ที่รู้จักคิดเหตุผล,  สัตว์ที่มีใจสูง,  คน

มนุษยชาติ  เหล่าคน,  มวลมนุษย์

มนุษยธรรม  ธรรมที่ทำคนให้เป็นมนุษย์  ได้แก่  ศีล  ๕  และคุณธรรม  เช่น  เมตตา  กรุณา  เป็นต้น

มนุษยโลก,  มนุสสโลก  โลกมนุษย์  คือ  โลกที่เราอาศัยอยู่นี้

มนุษย์วิบัติ  มีความเป็นมนุษย์บกพร่อง  เช่น  คนที่ถูกตอน  เป็นต้น

มโน  ใจ  (ข้อ  ๖  ในอายตนะภายใน  ๖)

มโนกรรม  การกระทำทางใจ  ทางชั่ว  เช่น  คิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาของเขา  ทางดี  เช่น  คิดช่วยเหลือผู้อื่น  ดู  กุศลกรรมบถ,  อกุศลกรรมบถ

มโนทวาร  ทวารคือใจ,  ทางใจ,  ใจ  โดยฐานเป็นทางทำมโนกรรม  คือ  สำหรับคิดนึกต่าง  ๆ  (ข้อ  ๓  ในทวาร  ๓)

มโนทุจริต  ความประพฤติชั่วด้วยใจ,  ความทุจริตทางใจมี  ๓  อย่าง  ๑.  อภิชฌา   ความเพ่งเล็งอยากได้จ้องจะเอาของเขา  ๒.  พยาบาท   ความขัดเคืองคิดร้าย  ๓. มิจฉาทิฏฐิ   ความเห็นผิดจากคลองธรรม  (ข้อ  ๓  ในทุจริต  ๓)

มโนภาวนีย์  ผู้เป็นที่เจริญใจ,  ผู้ทำให้จิตใจของผู้นึกถึงเจริญงอกงาม  หมายถึง  บุคคลที่เมื่อเราระลึก  คะนึง  ใส่ใจถึง  ก็ทำให้สบายใจ  จิตใจสดชื่น  ผ่องใส  (ตามปกติ  เป็นคุณสมบัติของพระภิกษุ)

มโนมยิทธิ  ฤทธิ์ทางใจ  คือนิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ได้  เหมือนชักดาบออกจากฝัก  หรืองูออกจากคราบ  (ข้อ  ๒  ในวิชชา  ๘)

มโนรถ  ความประสงค์,  ความหวัง

มโนรม, มโนรมย์  เป็นที่ชอบใจ,  น่ารื่นรมย์ใจ,  งาม

มโนวิญญาณ  ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะธรรมารมณ์เกิดกับใจ,  ธรรมเกิดกับใจ  เกิดความรู้ขึ้น,  ความรู้อารมณ์ทางใจ  ดู  วิญญาณ

มโนสัญเจตนาหาร  ความจงใจเป็นอาหาร  เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดกรรม  คือ  ทำให้พูดให้คิด  ให้ทำการต่าง  ๆ  (ข้อ  ๓  ในอาหาร  ๔)

มโนสัมผัส  อาการที่ใจ  ธรรมารมณ์และมโนวิญญาณประจวบกัน  ดู  สัมผัส

มโนสัมผัสสชาเวทนา  เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ

มโนสัมผัส,  ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ใจ  ธรรมารมณ์และมโนวิญญาณประจวบกัน  ดู  เวทนา

มโนสุจริต   ความประพฤติชอบด้วยใจ,  ความสุจริตทางใจ  มี  ๓  อย่าง  คือ  ๑. อนภิชฌา   ไม่โลภอยากได้ของเขา  ๒. อพยาบาท   ไม่พยาบาทปองร้ายเขา  ๓. สัมมาทิฏฐิ   เห็นชอบตามคลองธรรม  (ข้อ  ๓  ในสุจริต  ๓)

มรณะ  ความตาย

มรณธรรม  มีความตายเป็นธรรมดา,  ธรรมคือความตาย

มรดก  ทรัพย์สมบัติของผู้ตาย

มรณภัย  ภัยคือความตาย,  ความกลัวต่อความตาย

มรณสติ  ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา  พิจารณาให้ใจสงบจากอกุศลธรรม  เกิดความไม่ประมาทและไม่หวาดกลัว  คิดเร่งขวนขวายบำเพ็ญกิจและทำความดี  (ข้อ  ๗  ในอนุสติ  ๑๐)

มรณัสสติ  ดู  มรณสติ

มรรค  ทาง,  หนทาง  ๑.  มรรค  ว่าโดยองค์ประกอบ  คือ  ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์  เรียกเต็มว่าอริยอัฏฐังคิกมรรค  แปลว่าทางมีองค์  ๘  ประการอันประเสริฐ  เรียกสามัญว่า  มรรคมีองค์  ๘  คือ  ๑. สัมมาทิฏฐิ   เห็นชอบ  ๒. สัมมาสังกัปปะ   ดำริชอบ  ๓. สัมมาวาจา   เจรจาชอบ  ๔. สัมมากัมมันตะ   ทำการชอบ  ๕. สัมมาอาชีวะ   เลี้ยงชีพชอบ  ๖. สัมมาวายามะ   เพียรชอบ  ๗. สัมมาสติ   ระลึกชอบ  ๘. สัมมาสมาธิ   ตั้งจิตมั่นชอบ ๒.  มรรค  ว่าโดยการระดับการให้สำเร็จกิจ  คือ  ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละขั้น,  ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด  เป็นชื่อแห่งโลกุตตรธรรมคู่กับผล  มี  ๔  ชั้นคือ  โสดาปัตติมรรค  ๑  สกทาคามิมรรค  ๑  อนาคามิมรรค  ๑  อรหัตตมรรค  ๑

มรรคจิต  จิตที่สัมปยุตด้วยมรรค ดู มรรค  ๒,  พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค  มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น  ตั้งอยู่ชั่วขณะมรรคจิตเท่านั้น  พ้นจากนั้นก็จะเกิดผลจิต  กลายเป็นผู้ตั้งอยู่ในผล  มีโสดาปัตติผล  เป็นต้น

มรรคนายก  “ผู้นำทาง”,  ผู้แนะนำจัดแจงในเรื่องทางบุญทางกุศล  และเป็นหัวหน้านำชุมชนฝ่ายคฤหัสถ์ในศาสนพิธี  ตามปกติทำหน้าที่ประจำอยู่กับวัดใดวัดหนึ่ง  เรียกว่าเป็นมรรคนายกของวัดนั้น  ๆ,  ผู้นำทางบุญของเหล่าสัปบุรุษ

มรัมมนิกาย  นิกายพม่า  หมายถึงพระสงฆ์พม่า  เรียกชื่อโดยสัญชาติ

มรัมมวงศ์  ชื่อนิกายพระสงฆ์ลังกาที่บวชจากพระสงฆ์พม่า

มฤคทายวัน  ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อหมายความว่าห้ามทำอันตรายแก่สัตว์ในป่านี้  เขียน  มิคทายวัน  ก็ได้  เช่น  อิสิปตนมฤคทายวัน  มัททกุจฉิมิคทายวัน  เป็นต้น

มฤตยุราช  ยมราช,  พญายม,  ความตาย  (พจนานุกรม  เขียน
 มฤตยูราช)

มละ  มลทิน, เครื่องทำให้มัวหมอง เปรอะเปื้อน, กิเลสดุจสนิมใจ มี ๙ อย่างคือ ๑. โกธะ  ความโกรธ ๒. มักขะ  ความลบหลู่คุณท่าน ๓. อิสสา  ความริษยา ๔. มัจฉริยะ   ความตระหนี่ ๕. มายา มารยา ๖. สาเถยยะ ความโอ้อวดหลอกเขา ๗. มุสาวาท การพูดเท็จ ๘. ปาปิจฉา ความปรารถนาลามก ๙. มิจฉาทิฏฐิ  ความเห็นผิด

มลทิน  ความมัวหมอง,  ความไม่บริสุทธิ์  เช่น  ผ้าขาวเมื่อเป็นจุดสีต่าง  ๆ  ก็เรียกว่า  ผ้ามีมลทิน  นักบวชผิดศีลก็เรียกได้ว่า  นักบวชมีมลทิน  ดู มละ

มลัยชนบท  ชื่อชนบทแห่งหนึ่งในเกาะลังกา  เป็นที่ทำสังคายนาครั้งที่  ๕  จารึกพระไตรปิฎกเป็นตัวอักษรลงในใบลานเป็นครั้งแรก

มหกรรม  การฉลอง,  การบูชา

มหรคต  “อันถึงความเป็นสภาพใหญ่”  “ซึ่งถึงความยิ่งใหญ่”  หรือ  “ซึ่งดำเนินไปด้วยฉันทะวิริยะจิตตะและปัญญาอย่างใหญ่”  คือ  เข้าถึงฌาน,  เป็นรูปาวจรหรืออรูปาวจร,  ถึงระดับวิกขัมภนวิมุตติ  (เขียนอย่างบาลีเป็น  มหัคคตะ)

มหรรณพ  ห้วงน้ำใหญ่,  ทะเล

มหรสพ  การเล่นรื่นเริง

มหหมัด, มุหัมมัด  ชื่อนบีคนสุดท้ายซึ่งเป็นผู้ประกาศศาสนาอิสลาม  ปัจจุบันให้เขียน  มะหะหมัด

มหัคฆภัณฑ์  ของมีค่ามาก  เช่น  แก้ว  แหวน  เงิน  ทอง  เป็นต้น

มหันตโทษ  โทษหนัก,  โทษอย่างหนัก คู่กับ  ลหุโทษ  โทษเบา

มหัศจรรย์  แปลกประหลาดมาก,  น่าพิศวงมาก

มหากรุณา   ความกรุณายิ่งใหญ่,  กรุณามาก

มหากัจจายนะ   พระมหาสาวกองค์หนึ่งเกิดในกัจจายนโคตรที่พระนครอุชเชนี  เป็นบุตรปุโรหิตของพระราชาแห่งแคว้นอวันตี  เรียนจบไตรเพทแล้ว  ต่อมาได้เป็นปุโรหิตแทนบิดา  พระเจ้าจัณฑปัชโชตตรัสสั่งให้หาทางนำพระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่กรุงอุชเชนี  กัจจายนปุโรหิตจึงเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า  ได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว  บรรลุอรหัตตผล  อุปสมบทแล้ว  แสดงความประสงค์ที่จะอัญเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าสู่แคว้นอวันตี  พระพุทธองค์ตรัสสั่งให้ท่านเดินทางไปเอง  ท่านเดินทางไปยังกรุงอุชเชนี  ประกาศธรรม  ยังพระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวเมืองทั้งหมดให้เลื่อมใสในพระศาสนาแล้ว  จึงกลับมาเฝ้าพระบรมศาสดา  ต่อมาได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางขยายความคำย่อให้พิสดาร  มีเรื่องเล่าเป็นเกร็ดว่าท่านมีรูปร่างสวยงาม  ผิวพรรณดังทองคำ  บุตรเศรษฐีคนหนึ่งชื่อโสเรยยะเห็นแล้วเกิดมีอกุศลจิตต่อท่านว่าให้ได้อย่างท่านเป็นภรรยาตนหรือให้ภรรยาตนมีผิวพรรณงามอย่างท่าน  เพราะอกุศลจิตนั้น  เพศของโสเรยยะกลายเป็นหญิงไป  นางสาวโสเรยยะแต่งงานมีครอบครัว  มีบุตรแล้ว  ต่อมาได้พบและขอขมาต่อท่านเพศก็กลับเป็นชายตามเดิม  โสเรยยะขอบวชในสำนักของท่าน  และได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง

มหากัปปินะ   พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นกษัตริย์ครองราชย์สมบัติในนครกุกกุฏวดีในปัจจันตประเทศ  ได้ทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าแล้วบังเกิดปีติศรัทธา  สละราชสมบัติทรงม้าเดินทางไกลถึง  ๓๐๐  โยชน์มาเฝ้าพระพุทธเจ้า  สดับธรรมกถา  บรรลุพระอรหัตแล้วได้รับอุปสมบท  ส่วนพระอัครมเหสีชื่ออโนชา  เมื่อทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าก็เกิดปีติและศรัทธาเช่นเดียวกัน  พระนางทรงรถเสด็จมาเฝ้าพระพุทธเจ้า  ฟังธรรมบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว  รับบรรพชาจากพระอุบลวรรณาเถรีไปอยู่ในสำนักภิกษุณี  ฝ่ายมหากัปปินเถระชอบอยู่สงบสงัดและมักอุทานว่าสุขจริงหนอ  สุขจริงหนอ  ท่านสามารถแสดงธรรมให้ศิษย์บรรลุอรหัตตผลได้พร้อมคราวเดียวถึง  ๑,๐๐๐  องค์ พระบรมศาสดายกย่องว่าท่านเป็นเอตทัคคะในทางให้โอวาทแก่ภิกษุ

มหากัสสปะ   พระมหาสาวกองค์หนึ่ง  เกิดที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อมหาติตถะในแคว้นมคธ  เป็นบุตรของ   กปิลพราหมณ์มีชื่อเดิมว่าปิปผลิมาณพ  เมื่ออายุ  ๒๐  ปี  ได้สมรสกับนางภัททกาปิลานีตามความประสงค์ของมารดาบิดา  แต่ไม่มีความยินดีในชีวิตครองเรือน ต่อมาทั้งสามีภรรยาได้สละเรือน  นุ่งห่มผ้ากาสาวะออกบวชกันเอง  เดินทางออกจากบ้านแล้วแยกกันที่ทางสองแพร่ง  ปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าที่พหุปุตตกนิโครธระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา  ได้อุปสมบทด้วยโอวาท  ๓  ข้อ  และได้ถวายผ้าสังฆาฏิของตนแลกกับจีวรเก่าของพระพุทธเจ้า  แล้วสมาทานธุดงค์  ครั้นบวชล่วงไปแล้ว  ๗  วัน  ก็ได้บรรลุพระอรหัต  เป็นผู้มีปฏิปทามักน้อยสันโดษ  ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางถือธุดงค์  เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว  ท่านได้เป็นผู้ริเริ่มและเป็นประธานในปฐมสังคายนา  ท่านดำรงชีวิตสืบมาจนอายุ  ๑๒๐  ปี  จึงปรินิพพาน

มหากาล  ชื่อพระสาวกรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล  ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์เป็นพี่ชายของพระจุลกาลที่ถูกภรรยาเก่าสองคนรุมกันจับสึกเสีย

มหาโกฏฐิตะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่งเกิดในตระกูลพราหมณ์ในเมืองสาวัตถี  บิดาเป็นมหาพราหมณ์ชื่ออัสสลายนะ  มารดาชื่อจันทวดี  ท่านเรียนจบไตรเพทได้ฟังเทศนาของพระศาสดามีความเลื่อมใส  บวชแล้ว  เจริญวิปัสสนา  ได้บรรลุพระอรหัต  ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา  ๔

มหาโกลาหล  เสียงกึกก้องเอิกเกริกอย่างมาก,  เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความแตกตื่นอย่างมาก

มหาคัณฐี  ชื่อนิกายพระสงฆ์พม่านิกายหนึ่ง

มหาชนบท  แคว้นใหญ่,  ประเทศใหญ่

มหานาม  ๑.  ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในคณะพระปัญจวัคคีย์  เป็นพระอรหันต์รุ่นแรก  ๒.  เจ้าชายใน      ศากยวงศ์  โอรสของพระเจ้าอมิโตทนศากยะ  เป็นเชฏฐภาดา  (พี่ชาย)  ของพระอนุรุทธะ  ได้เป็นราชาปกครองแคว้นศากยะในสมัยพุทธกาล  (ภายหลังพระเจ้าสุทโธทนะ)  และเป็นอุบาสกผู้มีศรัทธาแรงกล้าได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ถวายของประณีต

มหานามศากยะ  ดู  มหานาม ๒

มหานิกาย  ดู  คณะมหานิกาย

มหาบพิตร   คำสำหรับพระสงฆ์ใช้พูดแทนพระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสี

มหาบริจาค  การสละอย่างใหญ่ของพระโพธิสัตว์ตามที่อรรถกาแสดงไว้มี  ๕  อย่าง  คือ  ๑. ธนบริจาค   สละทรัพย์สมบัติเป็นทาน   สละอวัยวะเป็นทาน  ๓. ชีวิตบริจาค สละชีวิตเป็นทาน  ๔. บุตรบริจาค   สละลูกเป็นทาน  ๕. ทารบริจาค   สละเมียเป็นทาน

มหาบันถก  ดู  มหาปันถกะ

มหาบุรุษ  บุรุษผู้ยิ่งใหญ่,  คนที่ควรบูชา,  ผู้มีมหาบุรุษลักษณะ  เป็นคำใช้เรียกพระพุทธเจ้าเมื่อก่อนตรัสรู้

มหาบุรุษลักษณะ   ลักษณะของมหาบุรุษมี  ๓๒  ประการ  มาในมหาปทานสูตร  แห่งทีฆนิกาย  มหาวรรค  และลักขณสูตร  แห่งทีฆนิกาย  ปาฏิกวรรคพระสุตตันตปิฎก  โดยย่อ  คือ  ๑.  สุปติฏฺฐิตปาโท  มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน  ๒.  เหฏฺฐาปาทตเลสุ  จกฺกานิ  ชาตานิ  ลายพื้นพระบาทเป็นจักร  ๓.  อายตปณฺหิ  มีส้นพระบาทยาว  (ถ้าแบ่ง  ๔,  พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่  ๓)  ๔.  ทีฆงฺคุลิ  มีนิ้วยาวเรียว  (หมายถึงนิ้วพระหัตถ์และพระบาทด้วย)  ๕.  มุทุตลนหตฺถปาโท  ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม  ๖.  ชาลหตฺถปาโท  ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย  ๗.  อุสฺสงฺขปาโท  มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำอัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท  กลับกลอกได้คล่อง  เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน  ๘.  เอณิชงฺโฆ  พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย  ๙.  ฐิตโก  ว  อโนนมนฺโต  อุโภหิ  ปาณิตเลหิ  ชณฺณุกานิ  ปรามสติเมื่อยืนตรง  พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับถึงพระชานุ  ๑๐.  โกโสหิตวตฺถคุยฺโห  มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก  ๑๑.  สุวณฺณวณฺโณ  มีฉวีวรรณดุจสีทอง  ๑๒.  สุขุมจฺฉวิ  พระฉวีละเอียด  ธุลีละอองไม่ติดพระกาย  ๑๓.  เอเกกโลโม  มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้น  ๆ  ๑๔.  อุทฺธคฺคโลโม  เส้นพระโลมาดำสนิทเวียนเป็นทักษิณาวัฏ  มีปลายงอนขึ้นข้างบน  ๑๕.  พฺรหฺมุชุคตฺโต  พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม  ๑๖.  สตฺตุสฺสโท  มีพระมังสะอูมเต็มในที่  ๗  แห่ง  (คือ  หลังพระหัตถ์ทั้ง  ๒,  และหลังพระบาททั้ง  ๒,  พระอังสาทั้ง  ๒,  กับลำพระศอ)  ๑๗.  สีหปุพฺพฑฺฒกาโย  มีส่วนพระสรีรกายบริบูรณ์  (ล่ำพี)  ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์  ๑๘.  ปีตนฺตรํโส  พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน  ๑๙.  นิโคฺรธปริมณฺฑโล  ส่วนพระกายเป็นปริมณฑล  ดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร  (พระกายสูงเท่ากับวาของพระองค์)  ๒๐.  สมวฏฺฏกฺขนฺโธ  มีลำพระศอกลมงามเสมอตลอด  ๒๑.  รสคฺคสคฺคี  มีเส้นประสาทสำหรับรับรสพระกระยาหารอันดี  ๒๒.  สีหหนุ  มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์  (โค้งเหมือนวงพระจันทร์)  ๒๓.  จตฺตาฬีสทนฺโต  มีพระทนต์  ๔๐  ซี่  (ข้างละ  ๒๐  ซี่)  ๒๔.  สมทนฺโต  พระทนต์เรียบเสมอกัน  ๒๕.  อวิวรทนฺโต  พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง  ๒๖.  สุสุกฺกทาโฐ  เขี้ยวพระทนต์ทั้ง  ๔  ขาวงามบริสุทธิ์  ๒๗.  ปหูตชิวฺโห  พระชิวหาอ่อนและยาว  (อาจแผ่ปกพระนลาฏได้)  ๒๘.  พฺรหฺมสโร  กรวิกภาณี  พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหมตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก  ๒๙.  อภินีลเนตฺโต  พระเนตรดำสนิท  ๓๐.  โคปขุโม  ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด  ๓๑.  อุณฺณา  ภมุกนฺตเร  ชาตามีอุณาโลมระหว่างพระโขนง  เวียนขวาเป็นทักษิณาวัฏ  ๓๒.  อุณฺหิสสีโส  มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์

มหาบุรุษลักษณพยากรณศาสตร์  วิชาว่าด้วยการทำนายลักษณะของมหาบุรุษ

มหาปชาบดีโคตมี พระน้านางของพระพุทธเจ้า  เดิมเรียกว่าพระนางปชาบดี  เป็นธิดาของเจ้าสุปปพุทธะ  แห่งโกลิยวงศ์เป็นพระภคินีของพระนางสิริมหามายา  เมื่อพระมหามายาสิ้นพระชนม์แล้ว  พระเจ้าสุทโธทนะได้มอบพระสิทธัตถะให้พระนางเลี้ยงดู  ต่อมาเมื่อพระเจ้าสุทโธทนะสวรรคตแล้ว  พระนางได้ออกบวชเป็นภิกษุณีองค์แรก  ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางรัตตัญญู  (บวชนานรู้เหตุการณ์ก่อนใคร  ๆ)  ดู  ภิกษุณีสงฆ์

มหาปทานสูตร  สูตรแรกในคัมภีร์ทีฆนิกาย  มหาวรรค  พระสุตตันตปิฎกว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า  ๗  พระองค์  เฉพาะอย่างยิ่ง  พระวิปัสสีซึ่งเป็นองค์แรกในจำนวน  ๗  นั้น

มหาปเทส  ข้อสำหรับอ้างใหญ่,  หลักอ้างอิงสำหรับเทียบเคียง  ๔  คือ  
   ๑. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควรแต่เข้ากับสิ่งเป็นอกัปปิยะ  ขัดต่อสิ่งเป็นกัปปิยะ  สิ่งนั้นไม่ควร
   ๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควรแต่เข้ากันกับสิ่งเป็นกัปปิยะ  ขัดต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ  สิ่งนั้นควร
   ๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควรแต่เข้ากันกับสิ่งเป็นอกัปปิยะ  ขัดต่อสิ่งเป็นกัปปิยะ  สิ่งนั้นไม่ควร
   ๔. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควรแต่เข้ากันกับสิ่งเป็นกัปปิยะ  ขัดต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ  สิ่งนั้นควร

มหาปรันตปะ  นามหนึ่งที่ท่านถือกันมาว่าอยู่ในรายชื่ออสีติมหาสาวก  แต่ไม่ปรากฏว่ามีชาติภูมิเป็นมาอย่างไร  บางทีจะเกิดความสับสนกับพระนามพระราชบิดาของพระเจ้าอุเทนผู้ครองราชย์สมบัติที่กรุงโกสัมพีก็ได้

มหาปรินิพพานสูตร  สูตรที่  ๓  ในคัมภีร์ทีฆนิกาย  มหาวรรค  พระสุตตันตปิฏก  ว่าด้วยเหตุการณ์ใกล้พุทธปรินิพพาน  จนถึงโทณพราหมณ์แจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จ

มหาปวารณา  ดู  ปวารณา

มหาปันถกะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นบุตรของธิดาเศรษฐี  กรุงราชคฤห์ไปวัดกับเศรษฐีผู้เป็นตา  ได้ฟังเทศนาของพระศาสดาอยู่เสมอ  จิตก็น้อมไปทางบรรพชา  จึงบวชเป็นสามเณรตั้งแต่ยังเด็ก  เมื่ออายุครบ  ก็อุปสมบท  ต่อมาได้สำเร็จพระอรหัตพระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะทางด้านเป็นผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฏฎ์  เพราะท่านชำนาญในอรูปาวจรฌานและเชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนา  ท่านเคยรับหน้าที่เป็นภัตตุทเทสก์  คือ  ผู้จัดแจกอาหารของสงฆ์ด้วย,  ท่านเป็นพี่ชายของพระจุลลปันถกะ  หรือจูฬบันถก

มหาปุริสลักษณะ  ดู  มหาบุรุษลักษณะ

มหาปุริสวิตก  ธรรมที่พระมหาบุรุษตรึก,  ความนึกคิดของพระโพธิสัตว์

มหาปุริสอาการ  อาการของพระมหาบุรุษ,  ท่าทางของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่

มหาโพธิ  ต้นโพธิเป็นที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้  เรียกกันสั้น  ๆ  ว่า  โพธิ์ตรัสรู้  ดู  โพธิ์

มหาภารตะ  ชื่อบทประพันธ์มหากาพย์เรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งของอินเดีย  แสดงเรื่องสงคราม  ระหว่างกษัตริย์เผ่าปาณฑพกับกษัตริย์เผ่าโกรพ  เพื่อแย่งความเป็นใหญ่  ในหัสตินาปุระนครหลวงของกษัตริย์จันทรวงศ์  เผ่าโกรพ

มหาภิเนษกรมณ์  การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่,  การเสด็จออกบวชของพระพุทธเจ้า

มหาภูต  ธาตุทั้ง ๔  คือ  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  ดู  มหาภูตรูป

มหาภูตรูป   รูปใหญ่,  รูปต้นเดิม  คือ  ธาตุ  ๔  ได้แก่  ปฐวี  อาโป  เตโช  และวาโย  ดู ธาตุ ๔

มหาโมคคัลลานะ  ชื่อพระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า  เกิดที่หมู่บ้านโกลิตคาม  ไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์  เป็นบุตรของพราหมณ์นายบ้านแห่งนั้น  มารดาชื่อนางโมคคัลลีพราหมณี  เดิมเรียกชื่อว่าโกลิตะ  ตามชื่อหมู่บ้านซึ่งบิดาของตนเป็นใหญ่ต่อมาเรียก  โมคคัลลานะ  เพราะเป็นบุตรของนางพราหมณีโมคคัลลี  หรือโมคคัลลานีนั้น  ได้เป็นสหายกับอุปติสสะ  (คือพระสารีบุตร)  มาแต่เด็กต่อมาทั้งสองได้ออกบวชเป็นปริพาชกอยู่ในสำนักของสญชัยปริพาชกจนกระทั่งอุปติสสะได้พบพระอัสสชิสหายทั้งสองจึงได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้าบวชในพระธรรมวินัย  เมื่อบวชแล้วถึงวันที่  ๗  โกลิตะ  ซึ่งบัดนี้เรียกว่ามหาโมคคัลลานะก็ได้บรรลุอรหัตตผล  ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีฤทธิ์มาก  ในตอนปลายพุทธกาลท่านถูกพวกโจรซึ่งได้รับจ้างจากพวกเดียรถีย์  ลอบสังหารด้วยการทุบตีจนร่างแหลก  พระพุทธเจ้าโปรดให้ก่อสถูปบรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้ใกล้ซุ้มประตูวัดเวฬุวัน  ในเขตเมืองราชคฤห์,  ชื่อของท่านนิยมเรียกกันง่าย  ๆ  ว่า  พระโมคคัลลาน์

มหายาน  ยานใหญ่,  ชื่อเรียกพระพุทธศาสนา  นิกายที่มีผู้นับถือมากในประเทศฝ่ายเหนือของทวีปอาเซีย  เช่น  จีน  เกาหลี  ญี่ปุ่น  ทิเบต  และมองโกเลีย  บางทีเรียก  อุตรนิกาย  (นิกายฝ่ายเหนือ)  บ้าง  อาจารยวาท  (ลัทธิของอาจารย์)  บ้าง  เป็นคู่กับนิกายฝ่ายใต้  (ทักษิณนิกาย)  คือ  เถรวาท ที่ฝ่ายมหายาน  เรียกว่า หีนยาน  อย่างที่นับถืออยู่ในประเทศไทยและลังกา  เป็นต้น

มหาวงส์  ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกาเรื่องใหญ่  แต่งขึ้นในสมัยอรรถกถาพรรณนาความเป็นมาของพระพุทธศาสนาและชาติลังกา  ตั้งแต่เริ่มตั้งวงศ์กษัตริย์สิงหล  ในตอนพุทธปรินิพพาน  จนถึงประมาณ  พ.ศ.  ๙๐๔  ประวัติต่อจากนั้นมีคัมภีร์ชื่อ  จูฬวงส์พรรณนาต่อไป

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 มิถุนายน 2556 06:13:10 โดย Mckaforce » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2556 19:39:03 »

.

มหาวรรค  ชื่อคัมภีร์อันเป็นหมวดที่  ๓  ใน  ๕  หมวด  แห่งพระวินัยปิฎก  คือ  อาทิกัมม์  ปาจิตตีย์  มหาวรรค  จุลวรรค  บริวาร,  มหาวรรค  มี  ๑๐  ขันธกะ  (หมวด  ตอน  หรือบท)  คือ  ๑. มหาขันธกะ  (ว่าด้วยการบรรพชาอุปสมบท  เริ่มแต่เหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่  ๆ  และการประดิษฐานพระศาสนา)  ๒. อุโปสถขันธกะ   (ว่าด้วยอุโบสถและสีมา)  ๓. วัสสูปนายิกขันธกะ   (ว่าด้วยการเข้าพรรษา)  ๔. ปวารณาขันธกะ   (ว่าด้วยปวารณา)  ๕. จัมมขันธกะ   (ว่าด้วยเครื่องหนัง  เช่น  รองเท้าและเครื่องลาด) ๖. เภสัชชขันธกะ   (ว่าด้วยเรื่องยาตลอดจนเรื่องกัปปิยะ  อกัปปิยะและกาลิกทั้ง  ๔)  ๗. กฐินขันธกะ   (ว่าด้วยกฐิน)  ๘. จีวรขันธกะ  (ว่าด้วยเรื่องจีวร)  ๙. จัมเปยยขันธกะ   (ว่าด้วยข้อควรทราบบางอย่างเกี่ยวกับนิคหกรรมต่าง  ๆ)  ๑๐. โกสัมพิกขันธกะ   (ว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพีวิวาทกันและสังฆสามัคคี)  ดู  ไตรปิฎก

มหาวัน  ๑.  ป่าใหญ่ใกล้นครกบิลพัสดุ์ที่พระพุทธเจ้าเคยไปทรงพักผ่อนระหว่างประทับอยู่ที่นิโครธาราม  ๒.  ป่าใหญ่ใกล้เมืองเวสาลี  ณ  ที่นี้พระศาสดาทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีขึ้นเป็นครั้งแรก  โดยประทานอนุญาตให้พระมหาปชาบดีบวชเป็นภิกษุณี  ด้วยวิธีรับครุธรรม  ๘  ประการ

มหาวิกัฏ  ยา  ๔  อย่าง  คือ  มูตร  คูถ  เถ้า  ดิน  ภิกษุอาพาธฉันได้โดยไม่ต้องรับประเคน  คือไม่ต้องอาบัติเพราะขาดประเคน

มหาวิโลกนะ  “การตรวจดูอันยิ่งใหญ่”,  ข้อตรวจสอบพิจารณาที่สำคัญ  หมายถึง  สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาตรวจดู  ก่อนจะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณ  รับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลายว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิด  ในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  มี  ๕  อย่าง  (นิยมเรียกว่าปัญจมหาวิโลกนะ)  คือ  ๑.  กาล  คือ  อายุกาลของมนุษย์จะต้องอยู่ระหว่าง  ๑๐๐  ถึง  ๑  แสนปี  (ไม่สั้นกว่าร้อยปีไม่ยาวเกินแสนปี)  ๒.ทีปะ  คือทวีปจะอุบัติแต่ในชมพูทวีป  ๓.เทสะ  คือ  ประเทศ  หมายถึงถิ่นแดน  จะอุบัติในมัธยมประเทศ  และทรงกำหนดเมืองกบิลพัสดุ์เป็นที่พึงบังเกิด  ๔.  กุละ  คือ  ตระกูล  จะอุบัติเหตุเฉพาะในขัตติยสกุลหรือในพราหมณสกุล  และทรงกำหนดว่าเวลานั้นโลกสมมติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูลพราหมณ์  จึงจะอุบัติในตระกูลกษัตริย์  โดยทรงเลือกพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา  ๕.  ชเนตติอายุปริจเฉท  คือมารดา  และกำหนดอายุของมารดา  มารดาจะต้องมีศีลห้าบริสุทธิ์  ไม่โลเลในบุรุษ  ไม่เป็นนักดื่มสุรา  ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัลป์  ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา  และทรงทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่เกิน  ๑๐  เดือนไปได้  ๗  วัน  (สรุปตามแนวอรรถกถาชาดก)

มหาวิหาร  ชื่อวัดสำคัญวัดหนึ่ง  เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศลังกาสมัยอดีต  เคยเป็นที่พำนักของพระพุทธโฆษาจารย์ชาวชมพูทวีปเมื่อครั้งท่านมาแปลคัมภีร์สิงหฬเป็นมคธ

มหาศาล  ผู้มั่งคั่ง,  ผู้มั่งมี,  ยิ่งใหญ่

มหาศาลนคร  ชื่อถิ่นที่กั้นอาณาเขตด้านตะวันออกของมัชฌิมชนบท

มหาสติปัฏฐานสูตร  ชื่อสูตรที่  ๙  แห่งทีฆนิกาย  มหาวรรค  พระสุตตันตปิฎกว่าด้วยสติปัฏฐาน  ๔

มหาสมณะ  พระนามหนึ่งสำหรับเรียกสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

มหาสังคาม  ชื่อตอนหนึ่งในคัมภีร์บริวาร  พระวินัยปิฎก

มหาสัจจกสูตร  สูตรที่  ๓๖  ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  พระสุตตันตปิฎก  ว่าด้วยการอบรมกาย  อบรมจิต  และมีเรื่องราวในพุทธประวัติตอนแสวงหาโมกขธรรมคือ  ตอนตรัสรู้รวมอยู่ด้วย

มหาสัตว์  “สัตว์ผู้มีคุณความดีอันยิ่งใหญ่”  หมายถึงพระโพธิสัตว์

มหาสาล  ดู  มหาศาล

มหาสาวก   สาวกผู้ใหญ่,  สาวกชั้นหัวหน้า  เรียนกันมาว่ามี  ๘๐  องค์  ดู  อสีติมหาสาวก

มหาสีมา  สีมาใหญ่ผูกทั่ววัด  มีขัณฑสีมาซ้อนภายในอีกชั้นหนึ่งโดยมีสีมันตริกคั่น

มหาสุทธันตปริวาส  สุทธันตปริวาสที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเลสหลายคราวด้วยกันจนจำจำนวนอาบัติและจำนวนวันที่ปิดไม่ได้เลย  อยู่ปริวาสจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์  โดยกะเอาตั้งแต่บวชมาถึงเวลาใดยังไม่เคยต้องสังฆาทิเลสเลยเป็นช่วงแรก  แล้วถอยหลังจากปัจจุบันไปจนตลอดเวลาที่ไม่ได้ต้องอีกช่วงหนึ่ง  กำหนดเอาระหว่างช่วงทั้งสองนี้

มหาสุทัศน์  พระเจ้าจักรพรรดิผู้ครองราชย์สมบัติอยู่ที่กุสาวดีราชธานีในอดีตกาล  ก่อนพุทธกาลช้านาน  เมืองกุสาวดีนี้ในสมัยพุทธกาลมีชื่อว่าเมืองกุสินารา,  เรื่องมาในมหาสุทัสสนสูตรแห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย  มหาวรรค  พระสุตตันตปิฎก

มหาสุบิน  ความฝันอันยิ่งใหญ่,  ความฝันครั้งสำคัญ  หมายถึงความฝัน  ๕  เรื่อง  (ปัญจมหาสุบิน)  ของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  (พระอรรถกถาจารย์ระบุว่าทรงพระสุบินในคืนก่อนตรัสรู้  คือ  ขึ้น  ๑๔  ค่ำ  เดือน  ๖)  ดังตรัสไว้ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย  ปัญจกนิบาตพระสุตตันตปิฎก  ใจความว่า  ๑.เสด็จบรรทมโดยมีมหาปฐพีนี้เป็นพระแท่นไสยาสน์  ขุนเขาหิมวันต์เป็นเขนย  พระหัตถ์ซ้ายเหยียดหยั่งลงในมหาสมุทรด้านบูรพทิศ  พระหัตถ์ขวาเหยียดหยั่งลงในมหาสมุทรด้านปัจฉิมทิศพระบาททั้งสองเหยียดหยั่งลงในมหาสมุทรด้านทักษิณ  (ข้อนี้เป็นบุพนิมิต  หมายถึง  การได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันไม่มีสิ่งใดยิ่งใหญ่กว่า)  ๒.  มีหญ้าคางอกขึ้นจากนาภีของพระองค์สูงขึ้นจดท้องฟ้า  (หมายถึงการที่ได้ตรัสรู้อารยอัษฎางคิกมรรคแล้วทรงประกาศออกไปถึงมวลมนุษย์และหมู่เทพ)  ๓.  หมู่หนอนตัวขาวศีรษะดำพากันไต่ขึ้นมาจากพระบาทคลุมเต็มถึงชานุมณฑล  (หมายถึงการที่คนนุ่งขาวชาวคฤหัสถ์มากมายพากันถึงตถาคตเป็นสรณะตลอดชีวิต)  ๔.  นกทั้งหลายสี่จำพวกมีสีต่าง  ๆ  กันบินมาแต่ทิศทั้งสี่  แล้วมาหมอบจับที่เบื้องพระบาท  กลับกลายเป็นสีขาวไปหมดสิ้น  (หมายถึงการที่ชนทั้งสี่วรรณะมาออกบวชรวมกันในพระธรรมวินัย  และได้ประจักษ์แจ้งวิมุตติธรรม)  ๕.  เสด็จดำเนินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่  แต่ไม่ทรงแปดเปื้อนด้วยคูถ  (หมายถึงการทรงเจริญลาภในปัจจัยสี่พรั่งพร้อม  แต่ไม่ทรงลุ่มหลงติดพัน  ทรงบริโภคด้วยพระปัญญาที่ดำรงจิตปลอดโปร่งเป็นอิสระ)

มหาอุทายี  พระเถระผู้ใหญ่องค์หนึ่งเป็นบุตรพราหมณ์ในเมืองกบิลพัสดุ์เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า  เมื่อคราวที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระญาติ  จึงออกบวชและได้สำเร็จอรหัตตผล  ท่านเป็นพระธรรมกถึกองค์หนึ่ง  มีเรื่องเกี่ยวกับการที่ท่านแสดงธรรมบ้าง  สนทนาธรรมบ้าง  ปรากฏในพระไตรปิฎกหลายแห่ง  คราวหนึ่งพระอานนท์เห็นท่านนั่งแสดงธรรมอยู่  มีคฤหัสถ์ล้อมฟังอยู่เป็นชุมนุมใหญ่จึงได้กราบทูลเล่าถวายพระพุทธเจ้าเป็นข้อปรารภให้พระองค์ทรงแสดงธรรมเทศกธรรม หรือองค์คุณของธรรมกถึก   ๕  ประการคือ  ๑. แสดงธรรมไปโดยลำดับ  ไม่ตัดลัดให้ขาดความ  ๒. อ้างเหตุผลให้ผู้ฟังเข้าใจ  ๓. มีจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง  ๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ  ๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น

มหินทเถระ   พระเถระองค์หนึ่ง  เป็นราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช  และเป็นผู้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานที่เกาะลังกา

มหี  ชื่อแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำใหญ่  ๕  สาย  ที่เรียกว่าปัญจมหานทีของอินเดีย  (คงคา  ยมุนา  อจิรวดี  สรภู  มหี)

มเหสี  ๑.  ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่,  ฤษีใหญ่,  พระพุทธเจ้า  ๒.  ชายาของพระเจ้าแผ่นดิน

มักขะ  ลบหลู่คุณท่าน,  หลู่ความดีของผู้อื่น  (ข้อ  ๕  ในอุปกิเลส  ๑๖)

มักน้อย  พอใจด้วยของเพียงน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น  (อัปปิจฉะ)

มักมาก  โลภ,  อยากได้มาก  ๆ

มักใหญ่  อยากเป็นใหญ่เป็นโต  เกินคุณธรรมและความสามารถของตน

มัคคญาณ  ญาณในอริยมรรค,  ปัญญาสูงสุดที่กำจัดกิเลสเป็นเหตุให้บรรลุความเป็นอริยบุคคลชั้นหนึ่งๆ,  ดู  ญาณ ๑๖

มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ  ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง  (ข้อ  ๕  ในวิสุทธิ  ๗)

มังสะ  เนื้อ,  ชิ้นเนื้อ

มังสจักขุ   จักษุคือดวงตา  เป็นคุณพิเศษของพระพุทธเจ้า  คือ  มีพระเนตรที่งาม  แจ่มใส  ไว  และเห็นได้ชัดเจนแม้ในระยะไกล  (ข้อ  ๑  ในจักขุ  ๕)

มังสวิรัติ   การงดเว้นกินเนื้อสัตว์  (เป็นคำบัญญัติภายหลัง)

มัจจุ,  มัจจุราช  ความตาย

มัจจุมาร   ความตายเป็นมาร  เพราะตัดโอกาสที่จะทำความดีเสียทั้งหมด  (ข้อ  ๕  ในมาร  ๕)

มัจฉะ   ชื่อแคว้นหนึ่งใน  ๑๖  แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล  อยู่ทิศใต้ของแคว้นสุรเสนะ  นครหลวงชื่อ วิราฏ  (บางแห่งว่าสาคละ  แต่ความจริงสาคละเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัททะ)

มัจฉริยะ  ความตระหนี่,  ความหวง  (ข้อ  ๔  ในมละ  ๙),  มัจฉริยะ  ๕  คือ  ๑. อาวาสมัจฉริยะ  ตระหนี่ที่อยู่  ๒. กุลมัจฉริยะ  ตระหนี่สกุล  ๓. ลาภมัจฉริยะ  ตระหนี่ลาภ  ๔. วัณณมัจฉริยะ  ตระหนี่วรรณะ  ๕. ธัมมมัจฉริยะตระหนี่ธรรม

มัชชะ  ของเมา,  น้ำที่ทำผู้ดื่มให้เมา  หมายถึงสุราและเมรัย

มัชฌันติกสมัย   เวลาเที่ยงวัน

มัชฌิมะ  ภิกษุผู้มีพรรษาครบ ๕ แล้วแต่ยังไม่ถึง ๑๐ พรรษา  (ต่ำกว่า  ๕  เป็นนวกะ,  ๑๐ พรรษาขึ้นไปเป็นเถระ)

มัชฌิมชนบท,  มัชฌิมประเทศ  ประเทศที่ตั้งอยู่ในท่ามกลาง, ถิ่นกลางเป็นอาณาเขตที่กำหนดว่า  มีความเจริญรุ่งเรือง  มีประชาชนหนาแน่นมีเศรษฐกิจดี  เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย  เป็นที่อยู่แห่งนักปราชญ์ผู้มีวิชาความรู้  เป็นที่รวมของการศึกษา  เป็นต้น  กำหนดเข  ทิศบูรพา  ภายในนับแต่มหาศาลนครเข้ามา อาคเนย์   นับแต่แม่น้ำสัลลวตีเข้ามา ทักษิณ  นับแต่เสตกัณณิกนิคมเข้ามา ปัศจิม  นับแต่ถูนคามเข้ามา อุดร   นับแต่ภูเขาอุสีรธชะเข้ามา  นอกจากนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท  หรือ  ปัจจันตประเทศ

มัชฌิมนิกาย  นิกายที่สองแห่งพระสุตตันตปิฎก  มีพระสูตรยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร

มัชฌิมโพธิกาล  ระยะเวลาบำเพ็ญพุทธกิจของพระพุทธเจ้าตอนกลางระหว่างปฐมโพธิกาลกับปัจฉิมโพธิกาล  นับคร่าว  ๆ  ตั้งแต่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธไปแล้ว  ถึงปลงประชนมายุสังขาร

มัชฌิมภาณกาจารย์  อาจารย์ผู้สาธยายคัมภีร์มัชฌิมนิกาย  คือ  ผู้ได้ศึกษาทรงจำและชำนาญในมัชฌิมนิกาย

มัชฌิมภูมิ  ขั้น ชั้น หรือระดับพระมัชฌิมะ คือพระปูนกลาง, ระดับอายุคุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าเป็นพระปูนกลาง  (ระหว่างพระนวกะ  กับพระเถระ)  คือ  มีพรรษาเกิน ๕ แต่ยังไม่ครบ ๑๐ และมีความรู้พอรักษาตัว เป็นต้น

มัชฌิมยาม  ยามกลาง,  ส่วนที่ ๒ ของราตรี  เมื่อแบ่งคืนหนึ่งเป็น ๓ ส่วน, ระยะเที่ยงคืน

มัชฌิมวัย  ตอนท่ามกลางอายุ,  วัยเมื่อเป็นผู้ใหญ่หรือกลางคน,  วัยกลางคน  ระหว่างปฐมวัยกับปัจฉิมวัย  ดู วัย

มัชฌิมา  ท่ามกลาง,  กลาง

มัชฌิมาปฏิปทา  ทางสายกลาง,  ข้อปฏิบัติเป็นกลาง  ๆ  ไม่หย่อนจนเกินไป  และไม่ตึงจนเกินไป  ไม่ข้องแวะที่สุด  ๒  อย่างคือ  กามสุขัลลิกานุโยค  และ  อัตตกิลมถานุโยค,  ทางแห่งปัญญา  (เริ่มด้วยปัญญา,  ดำเนินด้วยปัญญา  นำไปสู่ปัญญา)  อันพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย คือ ความดับกิเลสและความทุกข์  หรือความหลุดพ้นเป็นอิสระสิ้นเชิง  ได้แก่มรรคมีองค์ ๘  มีสัมมาทิฏฐิ  เป็นต้น  สัมมาสมาธิเป็นที่สุด

มัตตัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักประมาณ คือความพอเหมาะพอดี เช่น รู้จักประมาณในการใช้จ่ายพอเหมาะพอควร เป็นต้น  ดู  สัปปุริสธรรม

มัตถลุงค์  มันสมอง

มัททกุจฉิมิคทายวัน  ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ  ชื่อมัททกุจฉิ  อยู่ที่พระนครราชคฤห์  เป็นแห่งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

มัธยม  มีในท่ามกลาง;  ระดับกลาง;  เที่ยงวัน  หมายถึงเวลาเที่ยงที่ปรากฏตามเงาแดด  ถ้าเป็นเวลาที่คิดเฉลี่ยกันแล้วเรียกว่า  สมผุส

มัธยมชนบท  เมืองในท่ามกลางชมพูทวีป  ดู  มัชฌิมชนบท

มัธยมประเทศ  ดู มัชฌิมชนบท

มันตานี  นางพราหมณีผู้เป็นมารดาของปุณณมาณพ

มันตานีบุตร  บุตรของนางมันตานี  หมายถึงพระปุณณมันตานีบุตร

มัลละ  ชื่อแคว้นหนึ่งบรรดา  ๑๖  แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล  ปกครองแบบสามัคคีธรรม  โดยมีพวกมัลลกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง  นครหลวงเดิมชื่อกุสาวดี  แต่ภายหลังแยกเป็น กุสินารา กับ ปาวา

มัลลกษัตริย์   คณะกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นมัลละ  แบ่งเป็น  ๒  พวก  คณะหนึ่งปกครองที่นครกุสินารา  อีกคณะหนึ่งปกครองที่นครปาวา

มัลลชนบท  แคว้น  มัลละ

มัลลปาโมกข์   มัลลกษัตริย์ชั้นหัวหน้า

มัสสุ   หนวด

มาคสิรมาส  เดือน ๑,  เดือนอ้าย

มาฆบูชา  การบูชาใหญ่ในวันเพ็ญ  เดือน  ๓  ในโอกาสคล้ายวันประชุมใหญ่แห่งพระสาวก  ซึ่งเรียกว่า  จาตุรงคสันนิบาต  ณ  พระเวฬุวันหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว  ๙ เดือน  ที่พระองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์   (การปลงพระชนมายุสังขารก็ตรงในวันนี้)

มาฆมาส เดือน ๓

มาณพ  ชายหนุ่ม, ชายรุ่น, คนรุ่นหนุ่ม  (มักใช้แก่ชายหนุ่มในวรรณะพราหมณ์)

มาตรา  กิริยากำหนดประมาณ,  เครื่องวัดต่างๆ เช่นวัดขนาด จำนวน เวลา ระยะทางเป็นต้น, มาตราที่ควรรู้ดังนี้  
          มาตราเวลา 
๑๕ หรือ  ๑๔ วัน  เป็น ๑ ปักษ์
 ๒  ปักษ์             “  ๑ เดือน
 ๔  เดือน            “   ๑ ฤดู
 ๓  ฤดู              “   ๑ ปี
(๑๔ วัน  คือ ข้างแรมเดือนขาด,  ๑๒  เดือนตั้งแต่เดือนอ้ายมีชื่อดังนี้:  มาคสิร,  ปุสส,  มาฆ,  ผัคคุณ,  จิตต,  เวสาข,  เชฏฐ,  อาสาฬห,  สาวน,  ภัททปทหรือโปฏฐปท,  อัสสยุชหรือปฐมกัตติก,  กัตติก;  พึงเติม  มาสต่อท้ายทุกคำเช่น  มาฆมาส;  ฤดู  ๓  คือ  เหมันต  -  ฤดูหนาว เริ่มเดือนมาคสิระ  ของเราเป็นแรม ๑  ค่ำเดือน ๑๒, คิมห - ฤดูร้อน  เริ่มเดือนจิตตะ ของเราเป็นแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔,  วัสสาน   - ฤดูฝน เริ่มเดือนสาวนะ  ของเราเป็นแรม  ๑ ค่ำเดือน ๘)

         มาตราวัด
  ๗ เล็ดข้าว  เป็น  ๑ นิ้ว
 ๑๒ นิ้ว        “    ๑ คืบ
   ๒ คืบ       “    ๑ ศอก
   ๔ ศอก     “    ๑ วา  
 ๒๕ วา        “    ๑ อุสภะ
 ๘๐ อุสภะ    “    ๑ คาวุต
  ๔  คาวุต    “    ๑ โยชน์

           หรือ
   ๔ ศอก    เป็น ๑ ธนู
๕๐๐ ธนู       “   ๑ โกสะ
   ๔ โกสะ    "   ๑ คาวุต
   ๔  คาวุต    “   ๑ โยชน์

           มาตราตวง
   ๔  มุฏฐิ(กำมือ)  เป็น ๑ กุฑวะ  (ฟายมือ)
   ๒  กุฑวะ           “   ๑ ปัตถะ  (กอบ)
   ๒  ปัตถะ           “   ๑ นาฬี  (ทะนาน)
   ๔  นาฬี            “   ๑ อาฬหก

          มาตรารูปิยะ
   ๕ มาสก     เป็น ๑ บาท
   ๔ บาท        “  ๑ กหาปณะ

มาตาปิตุอุปัฏฐาน  การบำรุงมารดาบิดาให้มีความสุข  (ข้อ  ๓  ในสัปปุริสบัญญัติ  ๓,  ข้อ  ๑๑  ในมงคล  ๓๘)

มาติกา  ๑. หัวข้อ  เช่น  หัวข้อแห่งการเดาะกฐิน  ๒. แม่บท  เช่นตัวสิกขาบท  เรียกว่าเป็นมาติกา  เพราะจะต้องขยายความต่อไป

มาตุคาม  ผู้หญิง

มาตุฆาต  ฆ่ามารดา  (ข้อ  ๑  ในอนันตริยกรรม  ๕)

มาตุจฉา  พระน้านาง, น้าผู้หญิง

มานะ  ความถือตัว,  ความสำคัญตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่  (ข้อ ๕ ในอนุสัย ๗, ข้อ ๘ ในสังโยชน์ ๑๐, ข้อ ๑๓ ในอุปกิเลส ๑๖)

มานัต  ชื่อวุฏฐานวิธี  คือระเบียบปฏิบัติในการออกจากครุกาบัติ  แปลว่า  นับหมายถึงการนับราตรี ๖ ราตรี คือ ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเลสแล้ว  เมื่อจะปลดเปลื้องตนจากอาบัติ  ตามธรรมเนียมแห่งอาบัติสังฆาทิเลส  จะต้องไปหาสงฆ์จตุรวรรค  ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง  กราบภิกษุแก่กว่า  นั่งกระหย่งประนมมือ  กล่าวคำขอมานัตตามอาบัติที่ต้อง  ภิกษุรูปหนึ่งสวดประกาศให้มานัตแล้ว  ภิกษุรูปนั้นประพฤติมานัต ๖ ราตรี  เป็นวุฏฐานวิธีเบื้องต้น แห่งการออกจากครุกาบัติ แล้วสงฆ์จึงสวดระงับอาบัตินั้น (แต่ถ้าปกปิดอาบัติไว้  ต้องอยู่ปริวาสก่อนจึงประพฤติมานัตได้)

มานัตตจาริกภิกษุ  ภิกษุผู้ประพฤติมานัต

มานัตตารหภิกษุ  ภิกษุผู้ควรแก่มานัตคือ  ภิกษุที่อยู่ปริวาสครบกำหนดแล้ว  มีสิทธิขอมานัตกะสงฆ์  และสงฆ์จะให้มานัตเพื่อประพฤติในลำดับต่อไป
มายา  เจ้าหญิงแห่งเทวทหนคร  เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าอัญชนะเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์  เป็นพระราชชนนีของเจ้าชายสิทธัตถะ  เป็นพระพุทธมารดา  เจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๗ วัน พระนางก็สวรรคต,  คำว่า “มายา” ในที่นี้  มิได้หมายความว่ามารยา ที่แปลว่า เล่ห์เหลี่ยม หรือ ล่อลวง แต่หมายถึงความงามที่ทำให้ผู้ประสบงวยงงหลงใหล, นิยม เรียกว่า พระนางสิริมหามายา

มายา  มารยา คือเจ้าเล่ห์  (ข้อ ๕ ในมละ ๙, ข้อ ๙ ในอุปกิเลส ๑๖)

มาร  ๑. สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ,  ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ คือ  ๑. กิเลสมาร   มารคือกิเลส  ๒. ขันธมาร  มารคือเบญจขันธ์  ๓. อภิสังขารมาร   มารคืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม  ๔. เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร  ๕. มัจจุมาร มารคือ ความตาย  ๒. พระยามารที่มีเรื่องราวปรากฏบ่อยๆ  ในคัมภีร์  คอยมาแทรกแซงเหตุการณ์ต่างๆ  ในพุทธประวัติ เช่นยกพลเสนามาผจญพระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์ชนะพระยามารได้ด้วยทรงนึกถึงบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ  ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา  มารในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านอธิบายออกชื่อว่าเป็นวสวัตดีมาร  ซึ่งครองแดนหนึ่งในสวรรค์ชั้นสูงสุดแห่งระดับกามาวจรคือปรนิมมิตวสวัตดี  เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้มิให้ล่วงพ้นจากแดนกามซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน  อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาพึงพิจารณาเทียบจากมาร ๕. ในความหมายที่ ๑. ด้วย

มารยา  การแสร้งทำ, เล่ห์เหลี่ยม, การล่อลวง, กิริยาที่แสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง

มารยาท  กิริยา, กิริยาวาจาที่ถือว่าเรียบร้อย

มาลัย  ดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวง

มาลา  พวงดอกไม้, ดอกไม้ทั่วไป, สร้อยคอ

มาลี  ดอกไม้ทั่วไป, ผู้แต่งด้วยพวงดอกไม้

มาส  เดือน ดู มาตรา, เดือน

มาสก  ชื่อมาตราเงินในครั้งโบราณ ห้ามาสก เป็นหนึ่งบาท

มิคจิรวัน  พระราชอุทยานของพระเจ้าโกรัพยะ ผู้ครองแคว้นกุรุ

มิจฉัตตะ   ความเป็นผิด, ภาวะที่ผิดมี ๑๐ อย่าง คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ  มิจฉาวาจา  มิจฉากัมมันตะ  มิจฉาอาชีวะ  มิจฉาวายามะ  มิจฉาสติ  มิจฉาสมาธิ  มิจฉาญาณ  มิจฉาวิมุตติ

มิจฉา  ผิด

มิจฉากัมมันตะ  ทำการผิดได้แก่กายทุจริต  ๓  คือ  ๑. ปาณาติบาต   ฆ่าสัตว์  ๒. อทินนาทาน   ลักทรัพย์  ๓. กาเมสุมิจฉาจาร   ประพฤติผิดในกาม

มิจฉาจริยา, มิจฉาจาร  ความประพฤติผิด

มิจฉาชีพ  การหาเลี้ยงชีพในทางผิด  ดู  มิจฉาอาชีวะ  

มิจฉาญาณ  รู้ผิด  เช่น  ความรู้ในการคิดอุบายทำความชั่วให้สำเร็จ

มิจฉาทิฏฐิ  เห็นผิด,  ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม  เช่นเห็นว่าทำดีได้ชั่ว  ทำชั่วได้ดี  มารดาบิดาไม่มี  เป็นต้น  และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์  (พจนานุกรมเขียน  มิจฉาทิฐิ)

มิจฉาวณิชชา  การค้าขายไม่ชอบธรรม,  การค้าขายที่ผิดศีลธรรม  หมายถึง  อกรณียวณิชชา  (การค้าขายที่  อุบาสกไม่ควรทำ)  ๕  อย่าง  คือ  ๑. สัตถวณิชชา  ค้าอาวุธ  ๒. สัตตวณิชชา   ค้ามนุษย์  ๓. มังสวณิชชา   ค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร  ๔. มัชชวณิชชา  ค้าของเมา  ๕. วิสวณิชชา   ค้ายาพิษ

มิจฉาวาจา  วาจาผิด,  เจรจาผิด  ได้แก่  ๑. มุสาวาท  พูดปด  ๒. ปิสุณาวาจา  พูดส่อเสียด  ๓. ผรุสวาจา  พูดคำหยาบ  ๔. สัมผัปปลาป  พูดเพ้อเจ้อ

มิจฉาวายามะ  พยายามผิด  ได้แก่พยายามทำบาป  พยายามทำอกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น  เป็นต้น

มิจฉาวิมุตติ  พ้นผิด  เช่นการระงับกิเลสบาปธรรมได้ชั่วคราว  เพราะกลัวอำนาจพระเจ้าผู้สร้างโลก  การระงับกิเลสนั้นดี  แต่การระงับเพราะกลัวอำนาจพระเจ้าสร้างโลกนั้น  ผิดทาง  ไม่ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง

มิจฉาสติ  ระลึกผิด  ได้แก่ระลึกถึงการอันจะยั่วให้เกิดราคะ  โทสะ  โมหะ

มิจฉาสมาธิ  ตั้งใจผิด  ได้แก่จดจ่อ  ปักใจแน่วในกามราคะ  ในพยาบาท  เป็นต้น

มิจฉาสังกัปปะ  ดำริผิด  ได้แก่ดำริแส่ไปในกาม  ดำริพยาบาท  ดำริเบียดเบียนเขา

มิจฉาอาชีวะ  เลี้ยงชีพผิด  ได้แก่หาเลี้ยงชีพในทางทุจริตผิดวินัยหรือผิดศีลธรรม  เช่น  หลอกลวงเขา  เป็นต้น

มิตตปฏิรูป  คนเทียมมิตร,  มิตรเทียมไม่ใช่มิตรแท้  มี  ๔  พวก  ได้แก่  ๑. คนปอกลอก   มีลักษณะ  ๔ คือ  ๑.คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว  ๒. ยอมเสียน้อยโดยหวังจะเอาให้มาก  ๓. ตัวมีภัย  จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน  ๔. คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว  ๒. คนดีแต่พูด มีลักษณะ  ๔ คือ ๑. ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย  ๒. ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย  ๓. สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้  ๔. เมื่อเพื่อนมีกิจ  อ้างแต่เหตุขัดข้อง  ๓. คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔ คือ  ๑. จะทำชั่วก็เออออ  ๒.  จะทำดีก็เออออ  ๓. ต่อหน้าสรรเสริญ  ๔. ลับหลังนินทา  ๔. คนชวนฉิบหาย   มีลักษณะ ๔ คือ ๑. คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา  ๒. คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน  ๓. คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น  ๔.ค อยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน

มิตร  เพื่อน,  ผู้มีความเยื่อใยดี, ผู้มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ แยกเป็นมิตรแท้ ๔ พวก มิตรเทียม (มิตตปฏิรูป) ๔ พวก

มิตรแท้  มิตรด้วยใจจริง  มี ๔ พวก ได้แก่  ๑. มิตรอุปการะ  มีลักษณะ  ๔ คือ  ๑. เพื่อนประมาท  ช่วยรักษาเพื่อน  ๒. เพื่อนประมาท  ช่วยรักษาทรัพย์ของเพื่อน  ๓. เมื่อมีภัย  เป็นที่พึ่งพำนักได้  ๔. มีกิจจำเป็น  ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก  ๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์  มีลักษณะ ๔ คือ  ๑. บอกความลับแก่เพื่อน  ๒. ปิดความลับของเพื่อน  ๓. มีภัยอันตรายไม่ละทิ้ง  ๔. แม้ชีวิตก็สละให้ได้  ๓. มิตรแนะประโยชน์  มีลักษณะ ๔ คือ  ๑. จะทำชั่วเสียหายคอยห้ามปรามไว้  ๒. คอยแนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี  ๓. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง  ๔.  มิตรมีน้ำใจ  มีลักษณะ ๔ คือ  ๑. เพื่อนมีทุกข์พลอยทุกข์ด้วย  ๒. เพื่อนมีสุข  พลอยดีใจ  ๓. เขาติเตียนเพื่อน  ช่วยยับยั้งแก้ให้  ๔. เขาสรรเสริญเพื่อน  ช่วยพูดเสริมสนับสนุน

มิถิลา  ชื่อนครหลวงของแคว้นวิเทหะ

มิทธะ  ความท้อแท้,  ความเชื่อมซึม,  มาคู่กับถีนะ  ในนิวรณ์  ๕  ดู  ถีนมิทธะ 

มิลักขะ  คนป่าเถื่อน,  คนดอย,  คนที่ยังไม่เจริญ,  พวกเจ้าถิ่นเดิมของชมพูทวีป  มิใช่ชาวอริยกะ

มิลินท์  มหากษัตริย์เชื้อชาติกรีก  แห่งสาคลประเทศในชมพูทวีป  ผู้เป็นปราชญ์ยิ่งใหญ่  โต้วาทะชนะนักปราชญ์ทั้งหลายในสมัยนั้น  จนในที่สุดได้โต้กับพระนาคเสน  ยอมเลื่อมใสหันมานับถือพระพุทธศาสนา  และเป็นองค์อุปถัมภกสำคัญ  พระนามภาษากรีกว่า พระเจ้าเมนานเดอร์  ครองราชย์  พ.ศ. ๔๒๓  สวรรคต  พ.ศ. ๔๕๓  

มิลินทปัญหา  คัมภีร์สำคัญ  บันทึกคำสนทนาตอบปัญหาธรรมระหว่างพระนาคเสนกับพระยามิลินท์

มิสสกสโมธาน  การประมวลครุกาบัติระคนกัน,  เป็นชื่อปริวาสสำหรับภิกษุผู้ปรารถนาจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสต่างวัตถุกัน  หมายความว่าต้องอาบัติสังฆาทิเลสหลายตัวต่างสิกขาบทกัน  ซึ่งมีวันปิดเท่ากันบ้าง  ไม่เท่ากันบ้าง  ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสเหล่านั้น  ขอปริวาสจากสงฆ์เพื่ออยู่กรรมชดใช้ทั้งหมด

มุข  หัวหน้า,  หัวข้อ,  ปาก,  ทาง

มุขปาฐ  คำออกจากปาก,  ข้อความที่ท่องจำกันมาด้วยปากเปล่า  ไม่ได้เขียนไว้,  ต่อปากกันมา  (พจนานุกรมเขียน  มุขบาฐ)  

มุขปุญฉนะ  ผ้าเช็ดปาก

มุจจลินท์  ๑. ต้นจิก, ไม้จิก  ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ  พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นไม้นี้  ๗  วัน  (สัปดาห์ที่  ๓  ตามพระวินัย,  สัปดาห์ที่  ๖  ตามคัมภีร์ชาดก)  ๒.  ชื่อพระยานาคที่เข้ามาเฝ้าพระพุทธเจ้า  ขณะที่ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ได้ต้นจิก  (มุจจลินท์)  ฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาวตลอด  ๗  วัน  พระยามุจจลินทนาคราชจึงแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าเพื่อป้องกันฝนและลมมิให้ถูกต้องพระกาย  นี่เป็นมูลเหตุของการสร้างพระพุทธรูปนาคปรก

มุจจิตุกัมยตาญาณ  ดู  มุญจิตุกัมยตาญาณ

มุจฉา  ลมจับ,  สลบ,  สวิงสวาย

มุญจิตุกัมยตาญาณ  ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย,  ความหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย  คือ  ต้องการจะพ้นไปเสียจากสังขารที่เบื่อหน่ายแล้ว  ด้วยนิพพิทานุปัสสนาญาณ  (ข้อ  ๖  ในวิปัสสนาญาณ  ๙)

มุฏฐิ  กำมือ  ดู มาตรา

มุตตะ  ดู มูตร

มุทิตา  ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี,  เห็นผู้อื่นอยู่ดีมีสุข  ก็แช่มชื่นเบิกบานใจด้วย  เห็นเขาประสบความสำเร็จเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป  ก็พลอยยินดีบันเทิงใจ  พร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนไม่กีดกันริษยา;  ธรรมตรงข้ามคืออิสสา  (ข้อ  ๓  ในพรหมวิหาร  ๔)

มุนี  นักปราชญ์,  ผู้สละเรือนและทรัพย์สมบัติแล้ว  มีจิตใจตั้งมั่นเป็นอิสระไม่เกาะเกี่ยวติดพันในสิ่งทั้งหลาย  สงบเย็น  ไม่ทะเยอะทะยานฝันใฝ่  ไม่แส่พร่านหวั่นไหว  มีปัญญาเป็นกำลังและมีสติรักษาตน,  พระสงฆ์หรือนักบวชที่เข้าถึงธรรมและดำเนินชีวิตอันบริสุทธิ์

มุสา  เท็จ,  ปด,  ไม่จริง

มุสาวาท  พูดเท็จ,  พูดโกหก,  พูดไม่จริง  (ข้อ  ๔  ในกรรมกิเลส  ๔,  ข้อ  ๗  ในมละ  ๙,  ข้อ  ๔  ในอกุศลกรรมบถ  ๑๐)

มุสาวาทวรรค  ตอนที่ว่าด้วยเรื่องพูดปด  เป็นต้น  เป็นวรรคที่  ๑  แห่ง  ปาจิตติยกัณฑ์  ในมหาวิภังค์  แห่งวินัยปิฎก  

มุสาวาทา เวรมณี   เว้นจากการพูดเท็จ,  เว้นจากการพูดโกหก,  เว้นจากการพูดไม่จริง  (ข้อ  ๔  ในศีล  ๕  ศีล  ๘  ศีล  ๑๐  และกุศลกรรมบถ  ๑๐)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มิถุนายน 2556 19:48:46 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2556 19:52:51 »

.

มูควัตร  ข้อปฏิบัติของผู้ใบ้,  ข้อปฏิบัติของผู้เป็นดังคนใบ้,  การถือไม่พูดจากันเป็นวัตรของเดียรถีย์อย่างหนึ่ง  มีพุทธบัญญัติห้ามไว้มิให้ภิกษุถือ  เพราะเป็นการเป็นอยู่อย่างปศุสัตว์

มูตร   ปัสสาวะ,  น้ำเบา,  เยี่ยว

มูรธาภิเษก  พิธีหลั่งน้ำรดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่น

มูล  (ในคำว่า  “อธิกรณ์อันภิกษุจะพึงยกขึ้นว่าได้นั้น  ต้องเป็นเรื่องมีมูล”)  เค้า,  ร่องรอย,  ลักษณะอาการที่ส่อว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น,  เรื่องที่จัดว่ามีมูลมี  ๓  อย่าง  คือ  เรื่องที่ได้เห็นเอง  ๑  เรื่องที่ได้ยินเอง  หรือผู้อื่นบอกและเชื่อว่าเป็นจริง  ๑  เรื่องที่รังเกียจโดยอาการ  ๑

มูลค่า  ราคา

มูลเฉท  ตัดรากเหง้า,  หมายถึงอาบัติปาราชิก  ซึ่งผู้ต้องขาดจากความเป็นภิกษุและภิกษุณี

มูลนาย  (ในคำว่า  “เลขสม  คือ  เลขสมัครมีมูลนาย”) ผู้อุปการะเป็นเจ้าบุญนายคุณ  อย่างที่ใช้ว่า  เจ้าขุนมูลนาย

มูลบัญญัติ  ข้อบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้เดิม,  บัญญัติเดิม คู่กับ อนุบัญญัติ  (ตามปกติใช้เพียงว่า  บัญญัติกับอนุบัญญัติ)

มูลเภสัช  มีรากเป็นยา,  ยาทำจากรากไม้  เช่น  ขมิ้น  ขิง  ว่านน้ำ  ข่า  แห้วหมู  เป็นต้น

มูลแห่งพระบัญญัติ  ต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัย

มูลายปฏิกัสสนา  การชักเข้าหาอาบัติเดิม  เป็นชื่อวุฏฐานวิธีอย่างหนึ่ง  ดู ปฏิกัสสนา

มูลายปฏิกัสสนารหภิกษุ  ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม  หมายถึง  ภิกษุผู้กำลังอยู่ปริวาส  หรือประพฤติมานัตอยู่  ต้องอาบัติสังฆาทิเลสข้อเดียวกันหรืออาบัติสังฆาทิเลสข้ออื่นเข้าอีกก่อนที่สงฆ์จะอัพภาน  ต้องตั้งต้นอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตใหม่

เมฆิยะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่ง  เคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์  คราวหนึ่ง  ได้เห็นสวนมะม่วงริมฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา  น่ารื่นรมย์  จึงขอลาพระพุทธเจ้าไปบำเพ็ญเพียรที่นั่น  พระพุทธเจ้าห้ามไม่ฟัง  ท่านไปบำเพ็ญเพียร  ถูกอกุศลวิตกต่าง  ๆ  รบกวนในที่สุดต้องกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องธรรม  ๕  ประการสำหรับบ่มเจโตวิมุตติ  เป็นต้น  ที่พระศาสดาทรงแสดงจึงได้สำเร็จพระอรหัต

เมณฑกานุญาต  ข้ออนุญาตที่ปรารภเมณฑกเศรษฐี  คืออนุญาตให้ภิกษุยินดีของที่กัปปิยการก  จัดซื้อมาด้วยเงินที่ผู้ศรัทธาได้มอบให้ไว้ตามแบบอย่างที่เมณฑกเศรษฐีเคยทำ

เมตตคูมาณพ  ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน  ๑๖  คน  ของพราหมณ์พาวรีที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา  ณ  ปาสาณเจดีย์

เมตตา  ความรัก,  ความปรารถนาให้เขามีความสุข,  แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า  (ข้อ  ๑  ในพรหมวิหาร  ๔,  ข้อ  ๒  ในอารักขกรรมฐาน  ๔)  ดู  แผ่เมตตา

เมตตากรุณา  เมตตา และกรุณา  ความรักความปรารถนาดีและความสงสาร  ความอยากช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์  (ข้อแรกในเบญจธรรม)

เมตตาจิต  จิตประกอบด้วยเมตตา,  ใจมีเมตตา

เมตติยะ  ชื่อภิกษุผู้โจทพระทัพพมัลลบุตร  คู่กับพระภุมมชกะ

เมตติยาภิกษุณี  ภิกษุณีผู้เป็นตัวการรับมอบหมายจากพระเมตติยะและพระภุมมชกะมาเป็นผู้โจทพระทัพพมัลลบุตรด้วยข้อหาปฐมปาราชิก

เมตเตยยะ,  เมตไตรย  ดู ศรีอารยเมตไตรย

เมถุน  “การกระทำของคนที่เป็นคู่  ๆ”, การร่วมสังวาส,  การร่วมประเวณี

เมถุนวิรัติ  การเว้นจากร่วมประเวณี

เมถุนสังโยค  อาการพัวพันเมถุน,  ความประพฤติที่ยังเกี่ยวเนื่องกับเมถุน  มี  ๗  ข้อ  โดยใจความคือ  สมณะบางเหล่าไม่เสพเมถุน  แต่ยังยินดีในเมถุนสังโยคคือ  ชอบการลูบไล้และการนวดของหญิง,  ชอบซิกซี้  เล่นหัวสัพยอกกับหญิง,  ชอบจ้องดูตากับหญิง,  ชอบฟังเสียงหัวเราะขับร้องของหญิง,  ชอบนึกถึงการเก่าที่เคยหัวเราะพูดเล่นกับหญิง,  เห็นชาวบ้านเขาบำรุงบำเรอกันด้วยกามคุณแล้วปลื้มใจ, หรือแม้แต่ประพฤติพรหมจรรย์  โดยตั้งความปรารถนาที่จะเป็นเทพเจ้า

เมทนีดล  พื้นแผ่นดิน

เมทฬุปนิคม  นิคมหนึ่งในสักกชนบท

เมโท, เมท  มันข้น

เมธี   นักปราชญ์,  คนมีความรู้

เมรัย  น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น,  น้ำเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่

แม่หม้ายงานท่าน   พระสนมในรัชกาลก่อน  ๆ

โมกข์  ๑.  ความหลุดพ้นจากกิเลส  คือ  นิพพาน  ๒.  ประธาน,  หัวหน้า,  ประมุข

โมกขธรรม  ธรรมนำสัตว์ให้หลุดพ้นจากกิเลส,  ความหลุดพ้น,  นิพพาน

โมคคัลลานะ  ดู  มหาโมคคัลลานะ

โมคคัลลานโคตร  ตระกูลพราหมณ์โมคคัลลานะ

โมคคัลลี  ชื่อนางพราหมณีผู้เป็นมารดาของพระมหาโมคคัลลานะ

โมคคัลลีบุตรติสสเถระ  พระเถระผู้ใหญ่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช  ท่านได้อาศัยพระบรมราชูปถัมภ์กำจัดพวกเดียรถีย์ที่เข้ามาปลอมบวชในสังฆมณฑล  และเป็นประธานในการสังคายนาครั้งที่  ๓

โมฆบุรุษ  บุรุษเปล่า,  คนเปล่า,  คนที่ใช้การไม่ได้,  คนโง่เขลา,  คนที่พลาดจากประโยชน์อันพึงได้พึงถึง

โมฆราชมาณพ  ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน  ๑๖  คน  ของพราหมณ์พาวรี  ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา  ที่ปาสาณเจดีย์  ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วอุปสมบทเป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่ง  และได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางทรงจีวรเศร้าหมอง

โมทนา  บันเทิงใจ,  ยินดี;  มักใช้พูดเป็นคำตัดสั้น  สำหรับคำว่าอนุโมทนาหมายความว่าพลอยยินดี  หรือชื่นชมเห็นชอบในการกระทำนั้น  ๆ  ด้วย เป็นต้น ดู อนุโมทนา

โมไนย   ความเป็นมุนี,  ความเป็นปราชญ์,  คุณธรรมของนักปราชญ์,  ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี

โมริยกษัตริย์   กษัตริย์ผู้ครองเมืองปิปผลิวัน  ส่งทูตมาไม่ทันเวลาแจกพระบรมสารีริกธาตุ  จึงได้แต่พระอังคารไปสร้างอังคารสตูปที่เมืองของตน

โมลี, เมาลี  จอม,  ยอด,  ผมที่มุ่นเป็นจอม

โมหะ  ความหลง,  ความไม่รู้ตามเป็นจริง,  อวิชชา  (ข้อ  ๓  ในอกุศลมูล  ๓)

โมหจริต  พื้นนิสัยที่หนักในโมหะ  โง่เขลางมงาย  พึงแก้ด้วยให้มีการเรียน  การถาม  การฟังธรรม  สนทนาธรรมตามกาล  หรืออยู่กับครู  (ข้อ  ๓  ในจริต  ๖)

โมหันธ์  มืดมนด้วยความหลง,  มืดมนเพราะความหลง

โมหาคติ  ลำเอียงเพราะเขลา  (ข้อ  ๓  ในอคติ  ๔)

โมหาโรปนกรรม  กิริยาที่สวดประกาศยกโทษภิกษุว่า  แสร้งทำหลง  คือรู้แล้วทำเป็นไม่รู้;  เมื่อสงฆ์สวดประกาศแล้ว  ยังแกล้งทำไม่รู้อีก  ต้องปาจิตตีย์  (สิกขาบทที่  ๓  แห่งสหธรรมิกวรรคปาจิตติยกัณฑ์)

โมโห  โกรธ,  ขุ่นเคือง;  ตามรูปศัพท์เป็นคำภาษาบาลี  ควรแปลว่า  ความหลง  แต่ที่ใช้กันมาในภาษาไทย  ความหมายเพี้ยนไปเป็นอย่างข้างต้น

ไม่มีสังวาส  ไม่มีธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย,  ขาดสิทธิอันชอบธรรมที่จะถือเอาประโยชน์แห่งความเป็นภิกษุ, ขาดจากความเป็นภิกษุ,  อยู่ร่วมกับสงฆ์ไม่ได้

ไมตรี “คุณชาติ (ความดีงาม) ที่มีในมิตร”, ความเป็นเพื่อน, ความรัก, ความหวังดีต่อกัน, ความเยื่อใยต่อกัน, มิตรธรรม, เมตตา

ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร  ไตรจีวรอยู่กับตัว  คืออยู่ในเขตที่ตัวอยู่


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มิถุนายน 2556 17:19:45 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2556 17:37:03 »

.

หมวดพยัญชนะ

ยกน  (ยะกะนะ)  ตับ

ยชุพเพท  ชื่อคัมภีร์ที่  ๒  แห่งพระเวทในศาสนาพราหมณ์  เป็นตำรับประกอบด้วยมนตร์สำหรับใช้สวดในยัญพิธีและแถลงพิธีทำกิจบูชายัญ  เขียนอย่างสันสกฤตเป็น  ยชุรเวท  ดู ไตรเพท,  เวท

ยติ  ผู้สำรวมอินทรีย์,  นักพรต,  พระภิกษุ

ยถาภูตญาณ  ความรู้ตามความเป็นจริง,  รู้ตามที่มันเป็น

ยถาภูตญาณทัสสนะ   ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง

ยถาสันถติกังคะ   องค์แห่งผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามแต่เขาจัดให้  ไม่เลือกเสนาสนะเอาตามพอใจตัวเอง(ข้อ  ๑๒  ในธุดงค์  ๑๓)

ยม  เทพผู้เป็นใหญ่ประจำโลกของคนตาย

ยมกะ  ชื่อภิกษุรูปหนึ่งที่มีความเห็นว่าพระขีณาสพตายแล้วดับสูญ  ซึ่งเป็นความเห็นที่ผิด  ภายหลังได้พบกับพระสารีบุตร  พระสารีบุตรได้เปลื้องท่านจากความเห็นผิดนั้นได้

ยศ  ความเป็นใหญ่และความยกย่องนับถือ

ยศกากัณฑกบุตร   พระเถระองค์สำคัญผู้ชักชวนให้ทำสังคายนาครั้งที่  ๒  หลังพุทธปรินิพพาน  ๑๐๐  ปี  เดิมชื่อยศ  เป็นบุตรกากัณฑกพราหมณ์  ดู  สังคายนาครั้งที่  ๒

ยส, ยสะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่ง  เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์  วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตน  เป็นเหมือนป่าช้าเกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย  จึงออกจากบ้านไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  ในเวลาใกล้รุ่ง  พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุปุพพิกถา  และอริยสัจโปรด  ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม  ต่อมาได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เศรษฐีบิดาของตน  ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วขออุปสมบท  เป็นภิกษุสาวกองค์ที่  ๖  ของพระพุทธเจ้า

ยสกุลบุตร  พระยสะเมื่อก่อนอุปสมบทเรียกว่ายสกุลบุตร

ยโสชะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่ง  เป็นบุตรหัวหน้าชาวประมง  ใกล้ประตูเมืองสาวัตถี  ได้ฟังพระธรรมเทศนากปิลสูตร  ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง  มีความเลื่อมใสขอบวช  ต่อมาไปเจริญสมณธรรมที่ฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา  ได้สำเร็จพระอรหัต

ยโสธรา ๑.  เจ้าหญิงศากยวงศ์  เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าชยเสนะ  เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอัญชนะผู้ครองกรุงเทวทหะ  เป็นพระมารดาของพระนางสิริมหามายา  และพระนางปชาบดีโคตมี ๒.  อีกชื่อหนึ่งว่าพิมพา  เป็นเจ้าหญิงแห่งเทวทหนคร  เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะ  เป็นพระชายาของพระสิทธัตถะ  เป็นมารดาของพระราหุล  ต่อมาออกบวช  เรียกชื่อว่า  พระภัททา  กัจจานายอพระเกียรติ  ชื่อประเภทหนังสือที่แต่งเชิดชูพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ให้สูงเด่น

ยักยอก  เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความรักษาของตนไปโดยทุจริต

ยักษ์  มีความหมายหลายอย่าง  แต่ที่ใช้บ่อยหมายถึงอมนุษย์พวกหนึ่งเป็นบริวารของท้าวกุเวร  หรือเวสสวัณ,  ตามที่ถือกันมาว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัวมีเขี้ยวงอกโง้ง  ชอบกินมนุษย์กินสัตว์โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้  จำแลงตัวได้

ยักษิณี นางยักษ์

ยัญ  การเซ่น,  การบูชา,  การบวงสรวงชนิดหนึ่งของพราหมณ์  เช่น  ฆ่าสัตว์บูชาเทพเจ้าเพื่อให้ตนพ้นเคราะห์ร้าย  เป็นต้น

ยัญพิธี  พิธีบูชายัญ

ยาคุภาชกะ  ภิกษุผู้ได้รับสมมติคือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นผู้มีหน้าที่แจกยาคู

ยาคู  ข้าวต้ม,  เป็นอาหารเบาสำหรับฉันรองท้องก่อนถึงเวลาฉันอาหารหนักเป็นของเหลว  ดื่มได้  ซดได้  ไม่ใช่ของฉันให้อิ่ม  เช่น  ภิกษุดื่มยาคูก่อนแล้วไปบิณฑบาต  ยาคูสามัญอย่างนี้  ที่จริงจะแปลว่าข้าวต้มหาถูกแท้ไม่  แต่แปลกันมาอย่างนั้นพอให้เข้าใจง่าย  ๆ  ข้าวต้มที่ฉันเป็นอาหารมื้อหนึ่งได้อย่างที่ฉันกันอยู่โดยมากมีชื่อเรียกต่างออกไปอีกอย่างหนึ่งว่า  โภชชยาคู

ยาจก  ผู้ขอ,  คนขอทาน,  คนขอทานโดยไม่มีอะไรแลกเปลี่ยน

ยาตรา  เดิน,  เดินเป็นกระบวน

ยาน  เครื่องนำไป,  พาหนะต่าง  ๆ  เช่น  รถ,  เรือ,  เกวียน  เป็นต้น

ยาม  คราว,  เวลา,  ส่วนแห่งวันคืน

ยามะ,  ยามา  สวรรค์ชั้นที่  ๓  มีท้าวสุยามเทพบุตรปกครอง

ยามกาลิก  ของที่ให้ฉันได้  ชั่วระยะวันหนึ่ง  กับคืนหนึ่ง  ดู  กาลิก

ยาวกาลิก  ของที่อนุญาตให้ฉันได้ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน  ดู  กาลิก

ยาวชีวิก  ของที่ให้ฉันได้ไม่จำกัดเวลาตลอดชีวิต  ดู  กาลิก

ยาวตติยกะ  แปลว่า  “ต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสน์จบครั้งที่ ๓”  หมายความว่าเมื่อภิกษุล่วงละเมิดสิกขาบทเข้าแล้วยังไม่ต้องอาบัติ  ต่อเมื่อสงฆ์สวดประกาศสมนุภาสน์หนที่  ๓  จบแล้ว  จึงจะต้องอาบัตินั้น  ได้แก่  สังฆาทิเสสข้อที่  ๑๐-๑๑-๑๒-๑๓  และสิกขาบทที่ ๘ แห่งสัปปาณกวรรคในปาจิตติยกัณฑ์

ยินร้าย  ไม่พอใจ,  ไม่ชอบใจ

ยี่  สอง  โบราณเขียน  ญี่  เดือนยี่  ก็คือเดือนที่สองต่อจากเดือนอ้ายอันเป็นเดือนที่หนึ่ง

ยุกติ  ชอบ,  ถูกต้อง,  สมควร

ยุค  คราว,  สมัย

ยุคล  คู่,  ทั้งสอง

ยุคลบาท,  บาทยุคล  เท้าทั้งสอง, เท้าทั้งคู่

ยุติธรรม  ความเที่ยงธรรม,  ความชอบธรรม,  ความชอบด้วยเหตุผล

ยุทธนา  การรบพุ่ง,  การต่อสู้กัน

ยุบล  ข้อความ,  เรื่องราว

ยุพราช  พระราชกุมารที่ได้รับอภิเษกหรือแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่จะสืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบไป

เยภุยยสิกา  กิริยาเป็นไปตามข้างมากได้แก่  วิธีตัดสินอธิกรณ์  โดยถือเอาตามคำของคนข้างมาก  เช่น  วิธีจับสลากเพื่อชี้ข้อผิดถูก  ข้างไหนมีภิกษุผู้ร่วมพิจารณาลงความเห็นมากกว่า  ก็ถือเอาพวกข้างนั้น  เป็นวิธีอย่างเดียวกับการโหวตคะแนนเสียง,  ใช้สำหรับระงับวิวาทาธิกรณ์  ดู  อธิกรณสมถะ

เยวาปนกธรรม  “ก็หรือว่าธรรมแม้อื่นใด”  หมายถึงธรรมจำพวกที่กำหนดแน่ไม่ได้ว่าข้อไหนจะเกิดขึ้น ได้แก่  เจตสิก ๑๖   เป็นพวกที่เกิดในกุศลจิต   ๙ คือ ๑. ฉันทะ  ๒. อธิโมกข์  ๓. มนสิการ ๔. อุเบกขา (ตัตรมัชฌัตตตา)  ๕. กรุณา  ๖. มุทิตา ๗. มมาวาจา (วจีทุจริตวิรัติ)  ๘. สัมมากัมมันตะ  (กายทุจริตวิรัติ)  ๙. สัมมาอาชีวะ  (มิจฉาชีววิรัติ)  เป็นพวกที่เกิดในอกุศลจิต ๑๐ คือ  ๑. ฉันทะ  ๒. อธิโมกข์  ๓. มนสิการ  ๔. มานะ  ๕. อิสสา  ๖. มัจฉริยะ  ๗. ถีนะ  ๘. มิทธะ ๙. อุทธัจจะ  ๑๐. กุกกุจจะ  นับเฉพาะที่ไม่ซ้ำ (คือเว้น ๓ ข้อแรก) เป็น ๑๖

เยี่ยง  อย่าง,  แบบ,  เช่น

โยคะ  ๑. กิเลสเครื่องประกอบ  คือประกอบสัตว์ไว้ในภพ  หรือผูกสัตว์ดุจเทียมไว้กับแอก  มี ๔ คือ  กาม  ภพ  ทิฏฐิ อวิชชา  ๒. ความเพียร

โยคเกษม,  โยคเกษมธรรม  “ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ”  ความหมายสามัญว่าความปลอดโปร่งโล่งใจหรือสุขกายสบายใจ  เพราะปราศจากภัยอันตรายหรือล่วงพ้นสิ่งที่น่าพรั่นกลัวมาถึงสถานที่ปลอดภัย;  ในความหมายขั้นสูงสุด  มุ่งเอาพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่เกษมคือโปร่งโล่งปลอดภัยจากโยคกิเลสทั้ง  ๔  จำพวก ดู โยคะ,  เกษมจากโยคธรรม

โยคธรรม  ธรรมคือกิเลสเครื่องประกอบ  ในข้อความว่า  “เกษมจากโยคธรรม”  คือความพ้นภัยจากกิเลส  ดู  โยคะ

โยคักเขมะ ดู โยคเกษมโยคาวจร  ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร,  ผู้ประกอบความเพียร,  ผู้เจริญภาวนา คือ กำลังปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน  เขียน  โยคาพจรก็มี

โยคี  ฤษี,  ผู้ปฏิบัติตามลัทธิโยคะ;  ผู้ประกอบความเพียร ดู โยคาวจร

โยชน์  ชื่อมาตราวัดระยะทาง  เท่ากับ  ๔  คาวุต  หรือ  ๔๐๐  เส้น

โยธา  ทหาร,  นักรบ

โยนิ  กำเนิดของสัตว์  มี  ๔  จำพวก  คือ  ๑. ชลาพุชะ   เกิดในครรภ์  เช่น  คน  แมว ๒. อัณฑชะ เกิดในไข่ เช่น  นก ไก่  ๓. สังเสทชะ เกิดในไคล  คือที่ชื้นแฉะสกปรก เช่น  หนอนบางอย่าง  ๔. โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น เช่น เทวดา สัตว์นรก

โยนิโส   โดยแยบคาย,  โดยถ่องแท้,  โดยวิธีที่ถูกต้อง,  ตั้งแต่ต้นตลอดสาย,  โดยตลอด

โยนิโสมนสิการ   การทำในใจโดยแยบคาย,  กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย,  การพิจารณาโดยแยบคาย  คือ พิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยหรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว  ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา,  ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มิถุนายน 2556 17:38:36 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2556 18:15:49 »

.

หมวดพยัญชนะ

รจนา  แต่ง,  ประพันธ์ เช่น  อาจารย์ผู้รจนาอรรถกถา  คือผู้แต่งอรรถกถา

รตนะ  ดู รัตนะ

รตนวรรค  ตอนที่ว่าด้วยเรื่องรัตนะเป็นต้นเป็นวรรคที่  ๙  แห่งปาจิตติยกัณฑ์  ในมหาวิภังค์  พระวินัยปิฎก

รตนวรรคสิกขาบท  สิกขาบทในรตนวรรค

รติ  ความยินดี

ร่ม  สำหรับพระภิกษุ  ห้ามใช้ร่มที่กาววาว  เช่น  ร่มปักด้วยไหมสีต่างๆ  และร่มที่มีระบายเป็นเฟือง  ควรใช้ของเรียบๆ  ซึ่งทรงอนุญาตให้ใช้ได้ในวัดและอุปจาระแห่งวัด  ห้ามกั้นร่มเข้าบ้านหรือกั้นเดินตามถนนหนทางในละแวกบ้าน  เว้นแต่เจ็บไข้  ถูกแดดถูกฝนอาพาธจะกำเริบ เช่น ปวดศีรษะ  ตลอดจน (ตามที่อรรถกถาผ่อนให้) กั้นเพื่อกันจีวรเปียกฝนในเวลาฝนตก กั้นเพื่อป้องกันภัย  กั้นเพื่อรักษาตัวเช่นในเวลาแดดจัด

รมณีย์  น่าบันเทิงใจ,  น่ารื่นรมย์,  น่าสนุก

รส  อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยลิ้น  (ข้อ ๔ ในอารมณ์ ๖),  โยปริยาย หมายถึงความรู้สึกชอบใจ

รองเท้า  ในพระวินัยกล่าวถึงรองเท้าไว้  ๒  ชนิด  ๑. ปาทุกา   แปลกันว่าเขียงเท้า (รองเท้าไม้หรือเกี๊ยะ) ซึ่งรวมไปถึงรองเท้าโลหะ รองเท้าแก้ว หรือรองเท้าประดับแก้วต่าง ๆ  ตลอดจนรองเท้าสานรองเท้าถักหรือปักต่างๆ  สำหรับพระภิกษุห้ามใช้ปาทุกาทุกอย่าง  ยกเว้นปาทุกาไม้ที่ตรึงอยู่กับที่สำหรับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะและเป็นที่ชำระขึ้นเหยียบได้ ๒. อุปาหนา รองเท้าสามัญ  สำหรับพระภิกษุทรงอนุญาตรองเท้าหนังสามัญ (ถ้าชั้นเดียว หรือมากชั้นแต่เป็นของเก่าใช้ได้ทั่วไป  ถ้ามากชั้นเป็นของใหม่  ใช้ได้เฉพาะแต่ในปัจจันตชนบท) มีสายรัด หรือใช้คีบด้วยนิ้วไม่ปกหลังเท้า ไม่ปกส้น ไม่ปกแข้ง นอกจากนั้น  ตัวรองเท้าก็ตาม  หูหรือสายรัดก็ตาม จะต้องไม่มีสีที่ต้องห้าม  (คือ สีขาบ เหลือง แดง บานเย็น แสด ชมพู ดำ) ไม่ขลิบด้วยหนังสัตว์ที่ต้องห้าม (คือ หนังราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง ชะมด นาค แมว ค่าง นกเค้า) ไม่ยัดนุ่น  ไม่ตรึงหรือประดับด้วยขนนกกระทาขนนกยูง ไม่มีหูเป็นช่อดังเขาแกะเขาแพะหรือง่ามแมลงป่อง รองเท้าที่ผิดระเบียบเหล่านี้ถ้าแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว เช่น สำรอกสีออก เอาหนังที่ขลิบออกเสีย เป็นต้น ก็ใช้ได้ รองเท้าที่ถูกลักษณะทรงอนุญาตให้ใช้ได้ในวัดส่วนที่มิใช่ต้องห้ามและในป่า ห้ามสวมเข้าบ้าน และถ้าเป็นอาคันตุกะเข้าไปในวัดอื่นก็ให้ถอด  ยกเว้นแต่ฝ่าเท้าบางเหยียบพื้นแข็งแล้วเจ็บ  หรือในฤดูร้อนพื้นร้อนเหยียบแล้วเท้าพอง  หรือในฤดูฝนไปในที่แฉะภิกษุผู้อาพาธด้วยโรคกษัยสวมกันเท้าเย็นได้

ร้อยกรอง ได้แก่ดอกไม้ที่ร้อยถักเป็นตาเป็นผืนที่เรียกว่าตาข่าย

ร้อยคุม  คือเอาดอกไม้ร้อยเป็นสายแล้วควบหรือคุมเข้าเป็นพวง เช่น พวงอุบะสำหรับห้อยปลายภู่ หรือสำหรับห้อยตามลำพังเช่น พวง “ภู่สาย”  เป็นตัวอย่าง  ; ร้อยควบ  ก็เรียก

ร้อยตรึง  คือเอาดอกไม้เช่น  ดอกมะลิ เป็นต้น เสียบเข้าในระหว่างใบตองที่เจียนไว้  แล้วตรึงให้ติดกันโดยรอบ แล้วร้อยประสมเข้ากับอย่างอื่นเป็นพวง  เช่น  พวงภู่ชั้นเป็นตังอย่าง

ร้อยผูก   คือช่อดอกไม้และกลุ่มดอกไม้ที่เขาเอาไม้เสียบก้านดอกไม้แล้วเอาด้ายพันหรือผูกทำขึ้น

ร้อยวง  คือดอกไม้ที่ร้อยสวมดอกหรือร้อยแทงก้านเป็นสาย  แล้วผูกเข้าเป็นวงนี้คือพวงมาลัย

ร้อยเสียบ  คือดอกไม้ที่ร้อยสวมดอก เช่น  สายอุบะ หรือพวงมาลัย มีพวกมาลัยดอกปีบและดอกกรรณิการ์  เป็นต้น  หรือดอกไม้ที่ใช้เสียบไม้  เช่น  พุ่มดอกพุทธชาด  พุ่มดอกบานเย็นเป็นตัวอย่าง

ระยะบ้านหนึ่ง  ในประโยคว่า  “โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง  เป็นปาจิตติยะ”  ระยะทางชั่วไก่บินถึง  แต่ในที่คนอยู่คับคั่ง  ให้กำหนดตามเครื่องกำหนดที่มีอยู่โดยปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง  (เช่นชื่อหมู่บ้าน)

ระลึกชอบ  ดู  สัมมาสติ

รักขิตวัน   ชื่อป่าที่พระพุทธเจ้าเสด็จหลีกไปสำราญพระอิริยาบถเมื่อสงฆ์เมืองโกสัมพีแตกกัน  ดู ปาริเลยยกะ

รังสฤษฏ์   สร้าง,  แต่งตั้ง

รังสี แสง,  แสงสว่าง,  รัศมี

รัชกาล เวลาครองราชสมบัติแห่งพระราชาองค์หนึ่ง  ๆ

รัชทายาท  ผู้จะสืบราชสมบัติ,  ผู้จะได้ครองราชสมบัติสืบต่อไป

รัฏฐานุบาลโนบายราชธรรม  ธรรมของพระราชา  ซึ่งเป็นวิธีปกครองบ้านเมือง,  หลักธรรมสำหรับพระราชาใช้เป็นแนวปกครองบ้านเมือง

รัฏฐปาละ  ดู  รัฐบาล

รัฐชนบท   ชนบทคือแว่นแคว้น

รัฐบาล  พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นบุตรแห่งตระกูลหัวหน้าในถุลลโกฏฐิตนิคมในแคว้นกุรุ  ฟังธรรมแล้วมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ลาบิดามารดาบวช  แต่ไม่ได้รับอนุญาต เสียใจและอดอาหารจะได้ตายเสีย  บิดามารดาจึงต้องอนุญาต  ออกบวชแล้วไม่นานก็สำเร็จพระอรหัต  ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางบวชด้วยศรัทธา

รัตตัญญู  ผู้รู้ราตรี  คือผู้เก่าแก่  รู้กาลนานมีประสบการณ์มาก  รู้เหตุการณ์มาแต่ต้น  เช่นพระอัญญาโกณฑัญญะได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้า
ว่า เป็นเอตทัคคะในทาง “รัตตัญญู”

รัตติกาล  เวลากลางคืน

รัตติเฉท  การขาดราตรี  หมายถึงเหตุขาดราตรีแห่งมานัต  หรือปริวาส;  สำหรับมานัต  มี ๔ คือ  สหวาโส   อยู่ร่วม ๑ วิปฺปวาโส   อยู่ปราศ ๑ อนาโรจนา ไม่บอก ๑ อูเน คเณ จรณํ ประพฤติในคณะอันพร่อง ๑  ;  สำหรับปริวาส  มี ๓ คือ สหวาโส   อยู่ร่วม ๑  วิปฺปวาโส อยู่ปราศ ๑ อนาโรจนา ไม่บอก ๑ เมื่อขาดราตรีในวันใด  ก็นับวันนั้นเข้าในจำนวนวันที่จะต้องอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตไม่ได้;  ดูความหมายที่คำนั้น  ๆ

รัตน์, รัตนะ  แก้ว,  ของวิเศษหรือมีค่ามาก, สิ่งประเสริฐ, สิ่งมีค่าสูงยิ่ง เช่น  พระรัตนตรัย  และรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ; ในประโยคว่า “ที่รัตนะยังไม่ออก เป็นปาจิตติยะ” หมายถึง พระมเหสี, พระราชินี

รัตนฆรเจดีย์  เจดีย์คือเรือนแก้ว  อยู่ทางทิศตะวันตกของรัตนจงกรมเจดีย์  หรือทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ  ณ  ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกสิ้น ๗ วัน(สัปดาห์ที่ ๔ แห่งการเสวยวิมุตติสุข)  ดู  วิมุตติสุข

รัตนจงกรมเจดีย์  เจดีย์คือที่จงกรมแก้วอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ ระหว่างต้นพระศรีมหาโพธิ  กับอนิมิสเจดีย์  ณ  ที่นี้พระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมตลอด ๗ วัน
(สัปดาห์ที่ ๓ แห่งการเสวยวิมุตติสุข)  ดู  วิมุตติสุข

รัตนตรัย  แก้ว ๓ ดวง,  สิ่งมีค่าและเคารพบูชาสูงสุดของพุทธศาสนิกชน ๓ อย่าง  คือ  พระพุทธ พระธรรม  พระสงฆ์

รัตนบัลลังก์   บัลลังก์ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้,  ที่ประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ

รัศมี  แสงสว่าง,  แสงที่เห็นกระจายออกเป็นสาย  ๆ,  แสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลาง;  เขียนอย่างบาลีเป็น  รังสี  แต่ในภาษาไทยใช้ในความหมายที่ต่างกันออกไปบ้าง

รัสสะ  สระอันพึงว่าโดยระยะสั้นกึ่งหนึ่งแห่งสระยาว  ได้แก่  อ  อิ  อุ

รากขวัญ  ส่วนของร่างกายที่เรียกว่าไหปลาร้า;  ตำนานกล่าวว่า  ในบรรดาพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนั้น  พระรากขวัญเบื้องขวาขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในจุฬามณีเจดีย์   ณ  ดาวดึงสเทวโลก พระรากขวัญเบื้องซ้าย  ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์  (เจดีย์ที่ฆฏิการพรหมสร้างขึ้นไว้ก่อนแล้ว  ให้เป็นที่บรรจุภูษาเครื่องทรงในฆราวาสที่พระโพธิสัตว์สละในคราวเสด็จออกบรรพชา)  ณ พรหมโลก

ราคะ  ความกำหนัด,  ความยินดีในกาม,  ความติดใจหรือความย้อมใจติดอยู่ในอารมณ์

ราคจริต  พื้นนิสัยที่หนักในราคะ  เช่น  รักสวย  รักงาม  แก้ด้วยเจริญกายคตาสติ หรืออสุภกัมมัฏฐาน  (ข้อ  ๑  ในจริต  ๖)

ราคา   ชื่อลูกสาวพระยามาร  อาสาพระยามารเข้าไปประโลมพระพุทธเจ้าด้วยอาการต่าง  ๆ  พร้อมด้วยนางตัณหาและนางอรดี  ในขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ  หลังจากตรัสรู้

ราคี  ผู้มีความกำหนัด;  มลทิน,  เศร้าหมอง,  มัวหมอง

ราชการ  กิจการงานของประเทศ  หรือของพระเจ้าแผ่นดิน,  หน้าที่หลั่งความยินดีแก่ประชาชน

ราชกุมาร  ลูกหลวง

ราชคฤห์  นครหลวงของแคว้นมคธเป็นนครที่มีความเจริญรุ่งเรือง  เต็มไปด้วยคณาจารย์เจ้าลัทธิ พระพุทธเจ้าทรงเลือกเป็นภูมิประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นปฐม  พระเจ้าพิมพิสารราชาแห่งแคว้นมคธ ครองราชย์สมบัติ ณ นครนี้

ราชทัณฑ์  โทษหลวง,  อาญาหลวง

ราชเทวี  พระมเหสี,  นางกษัตริย์

ราชธรรม  ธรรมสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน,  คุณสมบัติของนักปกครองที่ดี  สามารถปกครองแผ่นดินโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี  มี  ๑๐  ประการ  (นิยมเรียกว่า  ทศพิธราชธรรม)  คือ  ๑. ทาน  การให้ทรัพย์สินสิ่งของ ๒ ศีล  ประพฤติดีงาม  ๓. ปริจจาคะ  ความเสียสละ  ๔. อาชชวะ  ความซื่อตรง  ๕. มัททวะ  ความอ่อนโยน  ๖. ตบะ  ความทรงเดชเผากิเลสตัณหา ไม่หมกมุ่นในความสุขสำราญ  ๗. อักโกธะ  ความไม่กริ้วโกรธ  ๘. อวิหิงสา ความไม่ข่มเหงเบียดเบียน  ๙. ขันติ  ความอดทนเข้มแข็งไม่ท้อถ้อย  ๑๐. อวิโรธนะ  ความไม่คลาดธรรม

ราชธานี  เมืองหลวง,  นครหลวง

ราชธิดา  ลูกหญิงของพระเจ้าแผ่นดิน

ราชนิเวศน์  ที่อยู่ของพระเจ้าแผ่นดิน,  พระราชวัง

ราชบริวาร  ผู้แวดล้อมพระราชา,  ผู้ห้อมล้อมติดตามพระราชา

ราชบุตร  ลูกชายของพระเจ้าแผ่นดิน

ราชบุตรี  ลูกหญิงของพระเจ้าแผ่นดิน

ราชบุรุษ  คนของพระเจ้าแผ่นดิน

ราชพลี  ถวายเป็นหลวง  มีเสียภาษีอากร  เป็นต้น  (ข้อ  ๔  แห่งพลี  ๕  ในโภคอาทิยะ  ๕)

ราชภฏี  ราชภัฏหญิง,  ข้าราชการหญิง

ราชภัฏ ผู้อันพระราชาเลี้ยง คือ ข้าราชการ

ราชวโรงการ  คำสั่งของพระราชา

ราชสมบัติ  สมบัติของพระราชา,  สมบัติคือความเป็นพระราชา

ราชสาสน์  หนังสือทางราชการของพระราชา

ราชอาสน์  ที่นั่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน

ราชา  “ผู้ยังเหล่าชนให้อิ่มเอมใจ” หรือ “ผู้ทำให้คนอื่นมีความสุข”, พระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ปกครองประเทศ

ราชาณัติ  คำสั่งของพระราชา

ราชาธิราช  พระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าพระราชาอื่นๆ

ราชาภิเษก  พระราชพิธีในการขึ้นสืบราชสมบัติ

ราชายตนะ  ไม้เกต อยู่ทิศใต้แห่งต้นพระศรีมหาโพธิ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ๗ วัน พ่อค้า ๒ คนคือ ตปุสสะกับภัลลิกะ ซึ่งมาจากอุกกลชนบท ได้พบพระพุทธเจ้าที่นี่ ดู วิมุตติสุข

ราชูปถัมภ์  การที่พระราชาทรงเกื้อกูลอุดหนุน

ราชูปโภค  เครื่องใช้สอยของพระราชา

ราโชวาท  คำสั่งสอนของพระราชา

ราตรี  กลางคืน,  เวลามืดค่ำ

ราธะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นพราหมณ์ในเมืองราชคฤห์  เมื่อชราลงถูกบุตรทอดทิ้ง อยากจะบวชก็ไม่มีภิกษุรับบวชให้  เพราะเห็นว่าเป็นคนแก่เฒ่าราธะเสียใจ  ร่างกายซูบซีด  พระศาสดาทรงทราบจึงตรัสถามว่า  มีใครระลึกถึงอุปการะของราธะได้บ้าง  พระสารีบุตรระลึกถึงภิกษาทัพพีหนึ่งที่ราธะถวาย  จึงรับเป็นอุปัชฌาย์  และราธะได้เป็นบุคคลแรกที่อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา  ท่านบวชแล้วไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต  พระราธะเป็นผู้ว่าง่าย  ตั้งใจรับฟังคำสั่งสอน  มีความสุภาพอ่อนโยน  เป็นตัวอย่างของภิกษุที่บวชเมื่อแก่  ทั้งพระพุทธเจ้าและพระสารีบุตรก็ชมท่าน  ท่านเคยได้ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า  เคยทำหน้าที่เป็นพุทธอุปฐาก  ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางก่อให้เกิดปฏิภาณ

รามคาม  นครหลวงของแคว้นโกลิยะ  บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล  เป็นที่ประดิษฐานสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแห่งหนึ่ง

รามัญนิกาย  นิกายมอญ  หมายถึงพระสงฆ์ผู้สืบเชื้อสายมาจากรามัญประเทศส่วนมากเป็นมอญเองด้วยโดยสัญชาติ

รามัญวงศ์  ชื่อนิกายพระสงฆ์ลังกาที่บวชจากพระสงฆ์มอญ

รามายณะ เรื่องราวของพระราม ว่าด้วยเรื่องศึกระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์  พระฤษีวาลมีกิเป็นผู้แต่ง  ไทยเรียกรามเกียรติ์

ราศี  ๑. ชื่อมาตราวัดจักรราศีคือ  ๓๐  องศาเป็น  ๑  ราศี  และ ๑๒ ราศีเป็น ๑ รอบจักรราศี (อาณาเขตโดยรอบดวงอาทิตย์ที่ดาวพระเคราะห์เดิน)  ;  ราศี  ๑๒ นั้น คือ ราศีเมษ(แกะ), พฤษภ(วัว), เมถุน(คนคู่), กรกฏ(ปู), สิงห์(ราชสีห์), กันย์(หญิงสาว), ตุล(คันชั่ง), พฤศจิก(แมลงป่อง), ธนู(ธนู), มกร(มังกร), กุมภ์(หม้อน้ำ), มีน(ปลาสองตัว)  ๒. อาการที่รุ่งเรือง,  ลักษณะที่ดีงาม ๓. กอง เช่น บุญราศี ว่ากองบุญ

ราหุล  พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ คราวพระพุทธเจ้าเสด็จนครกบิลพัสดุ์  ราหุลกุมารเข้าเฝ้าทูลขอทายาทสมบัติตามคำแนะนำของพระมารดา  พระพุทธเจ้าจะประทานอริยทรัพย์  จึงให้พระสารีบุตรบวชราหุลเป็นสามเณร  นับเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา  ต่อมาได้อุปสมบทเป็นภิกษุได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา อรรถกถาว่าพระราหุลปรินิพพานในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ก่อนพุทธปรินิพพานและก่อนการปรินิพพานของพระสารีบุตร

ริบราชบาทว์  เอาเป็นของหลวงตามกฎหมาย  เพราะเจ้าของต้องโทษแผ่นดิน

ริษยา  ความไม่อยากให้คนอื่นได้ดี,  เห็นเขาได้ดีทนอยู่ไม่ได้,  เห็นผู้อื่นได้ดีไม่สบายใจ, คำเดิมเป็น สสา (ข้อ ๓ ในมละ ๙, ข้อ ๘ ในสังโยชน์  ๑๐ หมวด ๒, ข้อ ๗ ในอุปกิเลส ๑๖)

รุกข์, รุกขชาติ  ต้นไม้        

รุกขมูลิกังคะ  องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร  ไม่อยู่ในที่มุงบัง  (ข้อ  ๙  ในธุดงค์  ๑๓)

รุจิ  ความชอบใจ

รูป  ๑. สิ่งที่จะต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆ  อันขัดแย้ง,  สิ่งที่เป็นรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะอาการของมัน, ส่วนร่างกาย จำแนกเป็น ๒๘ คือ มหาภูต  หรือ ธาตุ ๔ และ อุปาทายรูป   ๒๔ (=รูปขันธ์ในขันธ์ ๕)  ๒. อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ, สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (ข้อ ๑ ในอารมณ์ ๖ หรือในอายตนะภายนอก ๖) ๓. ลักษณะนาม ใช้เรียกพระภิกษุสามเณร  เช่น ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณร ๕ รูป; ในภาษาพูดบางแห่งนิยมใช้ องค์

รูปกัมมัฏฐาน กรรมฐานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์

รูปกาย  ประชุมแห่งรูปธรรม,  กายที่เป็นส่วนรูป  โดยใจความได้แก่รูปขันธ์หรือร่างกาย

รูปฌาน  ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์  มี ๔ คือ ๑) ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ  วิตก(ตรึก) วิจาร(ตรอง) ปีติ(อิ่มใจ) สุข(สบายใจ)  เอกัคคตา(จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)  ๒) ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ, สุข, เอกัคคตา ๓) ตติยฌาน ฌานที่  ๓  มีองค์ ๒ คือ สุข, เอกัคคตา  ๔) จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา, เอกัคคตา

รูปตัณหา  ความอยากในรูป

รูปธรรม  สิ่งที่มีรูป,  สภาวะที่เป็นรูป  คู่กับ  นามธรรม

รูปนันทา  พระราชบุตรีของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางปชาบดีโคตมีเป็นพระกนิฏฐภคินีต่างพระมารดาของพระสิทธัตถะ

รูปพรรณ เงินทองที่ทำเป็นเครื่องใช้หรือเครื่องประดับ, ลักษณะ, รูปร่าง และสี

รูปพรหม พรหมในชั้นรูปภพ, พรหมที่เกิดด้วยกำลังรูปฌาน  มี  ๑๖  ชั้น  ดู  พรหมโลก

รูปภพ  โลกเป็นที่อยู่ของพวกรูปพรหม  ดู  พรหมโลก

รูปราคะ  ความติดใจในรูปธรรม คือติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน  หรือในรูปธรรมอันประณีต (ข้อ ๖ ในสังโยชน์ ๑๐)

รูปวิจาร  ความตรองในรูป  เกิดต่อจากรูปวิตก

รูปวิตก  ความตรึกในรูป  เกิดต่อจากรูปตัณหา

รูปสัญเจตนา   ความคิดอ่านในรูปเกิดต่อจากรูปสัญญา

รูปสัญญา  ความหมายรู้ในรูป เกิดต่อจากจักขุสัมผัสสชา เวทนา

รูปัปปมาณิกา  ผู้ถือรูปเป็นประมาณคือ  พอใจในรูป  ชอบรูปร่างสวยสง่างาม  ผิวพรรณหมดจดผ่องใส  เป็นต้น

รูปารมณ์  อารมณ์คือรูป,  สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา

รูปาวจร  ซึ่งท่องเที่ยวไปในรูป,  อยู่ในระดับจิตชั้นรูปฌาน,  ระดับที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์,  เนื่องในรูปภพ

รูปิยสังโวหาร  การแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ,  การซื้อขายด้วยเงินตรา,  ภิกษุกระทำ  ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ (โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๙)

รูปียะ,  รูปิยะ  เงินตรา

เรวตะ  ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์ทำสังคายนาครั้งที่ ๒

เรวต ขทิรวนิยะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นบุตรพราหมณ์ชื่อวังคันตะ มารดาชื่อนางสารี เป็นน้องชายคนสุดท้องของพระสารีบุตร  บวชอยู่ในสำนักของภิกษุพวกอยู่ป่า (อรัญวาสี) บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่าไม้ตะเคียนประมาณ ๓ เดือนเศษ ก็ได้สำเร็จพระอรหัต  ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางอยู่ป่า

แรกนาขวัญ  พิธีเริ่มไถนาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา

โรหิณี  ๑. เจ้าหญิงองค์หนึ่งแห่งศากยวงศ์เป็นพระธิดาของพระเจ้าอมิโตทนะซึ่งเป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้าเป็นกนิษฐภคินี  คือน้องสาวของพระอนุรุทธ  ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ๒.  ชื่อแม่น้ำที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างแคว้นศากยะกับแคว้นโกลิยะ การแย่งกันใช้น้ำในการเกษตรเคยเป็นมูลเหตุให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างแคว้นทั้งสองจนจวนเจียนจะเกิดสงครามระหว่างพระญาติ  ๒  ฝ่าย  พระพุทธเจ้าเสด็จมาระงับศึก  จึงสงบลงได้ สันนิษฐานกันว่า เป็นเหตุการณ์ในพรรษาที่ ๕ (บางท่านว่า ๑๔ หรือ ๑๕)  แห่ง การบำเพ็ญพุทธกิจ และเป็นที่มาของพระพุทธรูปปางห้ามญาติ; ปัจจุบันเรียก Rowai หรือ Rohwaini
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2556 18:20:23 »

.

หมวดพยัญชนะ

ฤกษ์  คราวหรือเวลาซึ่งถือว่าเหมาะเป็นชัยมงคล

ฤคเวท   ชื่อคัมภีร์ที่หนึ่งในไตรเพท  ประกอบด้วยบทมนตร์สรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย  ดู  ไตรเพท

ฤดู   คราว,  สมัย,  ส่วนของปีซึ่งแบ่งเป็น  ๓  คราวขึ้นไป  เช่น  ฤดูฝน  ฤดูหนาว  ฤดูร้อน  ดู  มาตรา

ฤทธิ์   อำนาจศักดิ์สิทธิ์,  ความเจริญ, ความสำเร็จ,  ความงอกงาม,  เป็นรูปสันสกฤตของ  อิทธิ

ฤษี  ผู้แสวงธรรม  ได้แก่นักบวชนอกพระศาสนาซึ่งอยู่ในป่า,  ชีไพร,  ผู้แต่งคัมภีร์พระเวท
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2556 18:39:48 »

.

หมวดพยัญชนะ

ลกุณฏก ภัททิยะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรในตระกูลมั่งคั่ง ชาวพระนครสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาที่พระเชตวันมีความเลื่อมใสจึงบวชในพระพุทธศาสนาท่านมีรูปร่างเตี้ยค่อมจนบางคนเห็นขัน วันหนึ่งมีหญิงนั่งรถผ่านมาเห็นท่านแล้วหัวเราะจนเห็นฟัน ท่านกำหนดฟันนั้นเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้สำเร็จอนาคามิผล ต่อมาท่านได้บรรลุพระอรหัตในสำนักพระสารีบุตร  แต่เพราะความที่มีรูปร่างเล็กเตี้ยค่อม  ท่านมักถูกเข้าใจผิดเป็นสามเณรบ้าง ถูกพระหนุ่มเณรน้อยล้อเลียนบ้าง ถูกเพื่อนพระดูแคลนบ้าง แต่พระพุทธเจ้ากลับตรัสยกย่องว่าถึงท่านจะร่างเล็ก แต่มีคุณธรรมฤทธานุภาพมาก  ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีเสียงไพเราะ

ลบหลู่คุณท่าน  ดู  มักขะ

ล่วงสิกขาบท  ละเมิดสิกขาบท,  ไม่ประพฤติตามสิกขาบท,  ฝ่าฝืนสิกขาบท

ลหุ  เสียงเบา  ได้แก่  รัสสสระไม่มีตัวสะกด  คือ อ อิ อุ เช่น น ขมติ

ลหุกาบัติ อาบัติเบา คือ อาบัติที่มีโทษเล็กน้อย ได้แก่อาบัติถุลลัจจัย  ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต; คู่กับ  ครุกาบัติ

ลหุโทษ  โทษเบา  คู่กับ  มหันตโทษ  โทษหนัก

ลหุภัณฑ์ ของเบา เช่น บิณฑบาต เภสัชและของใช้ประจำตัว มีเข็ม มีดพับ  มีดโกน เป็นต้น;  คู่กับ  ครุภัณฑ์

ลักซ่อน เห็นของเขาทำตก มีไถยจิตเอาดินกลบเสีย หรือเอาของมีใบไม้ เป็นต้น ปิดเสีย

ลักเพศ  แต่งตัวปลอมเพศ เช่นไม่เป็นภิกษุ แต่นุ่งห่มผ้าเหลีอง แสดงตัวเป็นภิกษุ (อ่าน  ลัก-กะ-เพด)

ลักษณะ  สิ่งสำหรับกำหนดรู้, เครื่องกำหนดรู้,  อาการสำหรับหมายรู้,  เครื่องแสดงสิ่งหนึ่งให้เห็นว่าต่างจากอีกสิ่งหนึ่ง, คุณภาพ, ประเภท

ลักษณะ ๓ ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน  ดู ไตรลักษณ์

ลักษณพยากรณศาสตร์   ตำราว่าด้วยการทายลักษณะ

ลักษณะตัดสินธรรมวินัย  ดู  หลักตัดสินธรรมวินัย

ลัคน์  เวลาในดวงชาตาคนเกิดและในดวงทำการมงคล

ลัชชินี  หญิงผู้มีความละอายต่อบาป เป็น อิตถีลิงค์  ถ้าเป็นปุงลิงค์ เป็นลัชชี

ลัชชีธรรม  ธรรมแห่งบุคคลผู้ละอายต่อบาป

ลัฏฐิวัน  สวนตาลหนุ่ม  (ลัฏฐิ  แปลว่าไม้ตะพดก็ได้  บางท่านจึงแปลว่าป่าไม้รวก) อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับที่นั่น พระเจ้าพิมพิสารไปเฝ้าพร้อมด้วยราชบริพารจำนวนมาก ทรงสดับพระธรรมเทศนาได้ธรรมจักษุ  ประกาศพระองค์เป็นอุบาสกที่นั่น

ลัทธิ  ความเชื่อถือ,  ความรู้และประเพณีที่ได้รับและปฏิบัติสืบต่อกันมา

ลัทธิสมัย  สมัยคือลัทธิ  หมายถึงลัทธินั่นเอง

ลาภ ของที่ได้,  การได้ ดูโลกธรรม

ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ ได้แก่หวงผลประโยชน์  พยายามกีดกันผู้อื่นไม่ให้ได้  (ข้อ ๓ในมัจฉริยะ  ๕)

ลาภานุตตริยะ  การได้ที่ยอดเยี่ยม  เช่น  ได้ศรัทธาในพระพุทธเจ้า  ได้ดวงตาเห็นธรรม  (ข้อ ๓ ในอนุตตริยะ ๖)

ลาสิกขา   ปฏิญญาตนเป็นผู้อื่นจากภิกษุต่อหน้าภิกษุด้วยกัน  หรือต่อหน้าบุคคลอื่นผู้เข้าใจความ  แล้วละเพศภิกษุเสีย  ถือเอาเพศที่ปฏิญญานั้น,  ละเพศภิกษุสามเณร, สึก  ;คำลาสิกขาที่ใช้ในบัดนี้ คือ ตั้ง “นโม  ฯลฯ” ๓ จบ แล้วกล่าวว่า “สิกขัง ปัจจักขามิ, คิหี ติ มัง ธาเรถะ”  (ว่า ๓ ครั้ง) แปลว่า “กระผมลาสิกขา,  ขอท่านทั้งหลายจงทรงจำกระผมไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์” (คิหีติ  ออกเสียงเป็น  คิฮีติ)

ลำเอียง  ดู อคติ

ลิงค์  เพศ,  ในบาลีไวยากรณ์มี ๓ อย่าง คือปุลิงค์ เพศชาย, อิตถีลิงค์ เพศหญิง, นํปุสกลิงค์   มิใช่เพศชายมิใช่เพศหญิง

ลิจฉวี   กษัตริย์ที่ปกครองแคว้นวัชชี  ดู  วัชชี

ลุแก่โทษ  บอกความผิดของตนเพื่อขอความกรุณา

ลุมพินีวัน ชื่อสวนเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นสังเวชนียสถานหนึ่งในสี่แห่ง ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ  บัดนี้เรียกรุมมินเด อยู่ที่ปาเดเรีย ในเขตประเทศเนปาล  ห่างจากเขตแดนประเทศอินเดียไปทางเหนือประมาณ ๖ กิโลเมตรครึ่ง พระสิทธัตถะประสูติที่สวนนี้เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี  (มีปราชญ์คำนวณว่าตรงกับวันศุกร์ ปีจอ เวลาใกล้เที่ยง) ดู สังเวชนียสถาน

ลูกถวิน  ลูกกลม  ๆ  ที่ผูกติดสายประคดเอว, ห่วงร้อยสายรัดประคด

ลูกหมู่  คนที่ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการเป็นกำลังงานของเจ้านายสมัยโบราณ

ลูขปฏิบัติ  ประพฤติปอน, ปฏิบัติเศร้าหมอง คือใช้ของเศร้าหมอง ไม่ต้องการความสวยงาม (หมายถึงของเก่าๆ เรียบๆ สีปอนๆ แต่สะอาด)

ลูขัปปมาณิกา  ผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ  ชอบผู้ที่ประพฤติปอน ครองผ้าเก่า อยู่เรียบๆ ง่ายๆ

เลข  คนสามัญ  หรือชายฉกรรจ์ (พจนานุกรมเขียน  เลก)

เลขทาส  ชายฉกรรจ์ที่เป็นทาสรับทำงานด้วย

เลขวัด จำพวกคนที่ท่านผู้ปกครองแคว้นจัดให้มีสังกัดขึ้นวัด  สงฆ์อาจใช้ทำงานในวัดได้  และไม่ต้องถูกเกณฑ์ทำงานในบ้านเมือง (พจนานุกรมเขียน เลกวัด)

เลขสม  คนที่ยินยอมเป็นกำลังงานของผู้มีอำนาจคนใดคนหนึ่งด้วยความสมัครใจในสมัยโบราณ

เลฑฑุบาต  ระยะโยนหรือขว้างก้อนดินตก (อ่านว่า เลดดุบาด)

เลศ  แสดงอาการให้รู้ในที;  อาการที่พอจะยกขึ้นอ้างเพื่อใส่ความ

เลียบเคียง  พูดอ้อมค้อมหาทางให้เขาถวายของ

โลก แผ่นดินเป็นที่อยู่อาศัย, หมู่สัตว์ผู้อาศัย; โลก ๓ คือ ๑. สังขารโลก   โลกคือสังขาร ๒. สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์ ๓. โอกาสโลก โลกคือแผ่นดิน; อีกนัยหนึ่ง ๑. มนุษยโลก โลกมนุษย์ ๒. เทวโลก จิตใจของพระอริยเจ้า (ข้อ ๔ ในภูมิ ๔ อีก ๓ ภูมิ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ)

โลกุตตรวิมุตติ  วิมุตติที่เป็นโลกุตตระคือ ความหลุดพ้นที่เหนือวิสัยโลกซึ่งกิเลสและความทุกข์ที่ละได้แล้วไม่กลับคืนมาอีกไม่กลับกลาย  ได้แก่วิมุตติ ๓ อย่างหลัง คือ สมุจเฉทวิมุตติ, ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ  ละนิสสรณวิมุตติ ดู วิมุตติ, โลกกิยวิมุตติ

โลกุตตรสุข, โลกุตรสุข ความสุขอย่างโลกุตระ,  ความสุขที่เหนือกว่าระดับของชาวโลก, ความสุขเนื่องด้วยมรรค ผล นิพพาน

โลกุตตราริยมรรคผล  อริยมรรคและอริยผลที่พ้นวิสัยของโลก

โลณเภสัช  เกลือเป็นยา  เช่นเกลือทะเล  เกลือดำ  เกลือสินเธาว์  เป็นต้น

โลน  กิริยวาจาหยาบคายไม่สุภาพ

โลภ  ความอยากได้  (ข้อ ๑ ในอกุศลมูล ๓ )

โลภเจตนา เจตนาประกอบด้วยโลภ, จงใจคิดอยากได้,  ตั้งใจจะเอา

โลมะ, โลมา  ขน

โลมชาติชูชัน  ขนลุก

โลลโทษ  โทษคือความโลเล,  ความมีอารมณ์อ่อนไหว  โอนเอนไปตามสิ่งเย้ายวนอันสะดุดตาสะดุดใจ

โลหิต  เลือด;  สีแดง

โลหิตกะ   ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในพวกเหลวไหลทั้ง ๖ ที่เรียกว่า พระฉัพพัคคีย์

โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อ  (ข้อ ๔ ในอนันตริยกรรม ๕)

ไล่เบี้ย  เรียกร้องเอาค่าเสียหายเป็นลำดับไปจนถึงคนที่สุด  

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 กรกฎาคม 2556 19:17:51 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2556 19:16:26 »

.

หมวดพยัญชนะ


วงศกุล  วงศ์และตระกูล

วจนะ  คำพูด;  สิ่งที่บ่งจำนวนนามทางไวยากรณ์  เช่น  บาลีมี ๒ วจนะ คือ  เอกวจนะ   บ่งนามจำนวนเพียงหนึ่ง  และพหุวจนะ  
บ่งนามจำนวนตั้งแต่สองขึ้นไป

วจีกรรม  การกระทำทางวาจา,  การกระทำด้วยวาจา,  ทำกรรมด้วยคำพูด,  ที่ดี เช่น  พูดจริง  พูดคำสุภาพ  ที่ชั่ว  เช่น  พูดเท็จ  พูดคำหยาบ  ดู  กุศลกรรมบถ,  อกุศลกรรมบถ

วจีทวาร   ทวารคือวาจา,  ทางวาจา,  ทางคำพูด   (ข้อ  ๒  ในทวาร  ๓ )

วจีทุจริต ประพฤติชั่วด้วยวาจา, ประพฤติชั่วทางวาจามี ๔ อย่างคือ ๑.  มุสาวาท  พูดเท็จ ๒. ปิสุณาวาจา   พูดส่อเสียด ๓. ผรุสวาจา  พูดคำหยาบ ๔. สัมผัปปลาป พูดเพ้อเจ้อ  ดู  ทุจริต

วจีวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา ได้แก่ การพูด การกล่าวถ้อยคำ

วจีสมาจร  ความประพฤติทางวาจา

วจีสังขาร   ๑.  ปัจจัยปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก (ตรึก) และ วิจาร (ตรอง) ถ้าไม่มีตรึกตรองก่อนแล้ว พูดย่อมไม่รู้เรื่อง ๒. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา  ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือความจงใจทางวาจา ที่ก่อให้เกิดวจีกรรม ดู สังขาร

วจีสุจริต   ระพฤติชอบด้วยวาจา, ประพฤติชอบทางวาจา มี ๔ อย่าง  คือ  เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ดู สุจริต เทียบ  วจีทุจริต

วณิพก  คนขอทานโดยร้องเพลงขอ  คือ  ขับร้องพรรณนาคุณแห่งการให้ทานและสรรเสริญผู้ให้ทาน  ที่เรียกว่าเพลงขอทาน

วทัญญูู ผู้รู้ถ้อยคำ คือใจดี เอื้ออารียอมรับฟังความทุกข์ยากเดือดร้อนและความต้องการของผู้อื่น เข้าใจคำพูดของเขาได้ดี

วนปรัสถะ  คำเพี้ยน ดู วานปรัสถ์

วโนทยาน  สวนป่า  เช่น  สาลวโนทยาน  คือ  สวนป่าไม้สาละ

วรฺคานฺต   อักษรที่สุดวรรคแห่งพยัญชนะตามหลัง

วรรค หมวด, หมู่, ตอน, พวก; กำหนดจำนวนภิกษุที่ประกอบเข้าเป็นสงฆ์หมวดหนึ่งๆ ซึ่งเมื่อครบจำนวนแล้วจึงจะทำสังฆกรรมอย่างนั้นๆ ได้มี ๔ พวก  คือ  ๑. สงฆ์ จตุรวรรค  (สงฆ์พวก  ๔  คือต้องมีภิกษุ  ๔  รูปขึ้นไป ทำกรรมได้ทุกอย่างเว้นปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบทและอัพภาน) ๒. สงฆ์ ปัญจวรรค (สงฆ์ ๕ คือ ต้องมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไปทำปวารณา ให้ผ้ากฐิน และอุปสมบทในปัจจันตชนบท)  ๓. สงฆ์ ทศวรรค  (สงฆ์พวก ๑๐ คือต้องมีภิกษุ  ๑๐  รูปขึ้นไป  ให้อุปสมบทในมัธยมชนบทได้)  ๔.สงฆ์ วีสติวรรค (สงฆ์พวก ๒๐ คือต้องมีภิกษุ  ๒๐ รูปขึ้นไป ทำอัพภานได้)

วรรณะ  ผิว,  สี, เพศ, ชนิด, พวก, เหล่า, หนังสือ, คุณความดี, ความยกย่องสรรเสริญ;  ชนชั้นที่จัดแบ่งออกไปตามหลักศาสนาพรหมณ์เรียกว่า  วรรณะ  ๔  คือ  กษัตริย์  พราหมณ์  แพศย์  ศูทร

วรรณนา  คำพรรณนา,  อธิบายความคล้ายกับคำว่าอรรถกถา แต่คำว่าอรรถกถา ใช้ความหมายทั้งคัมภีร์ คำว่าวรรณนาใช้เฉพาะคำอธิบายเป็นตอนๆ

ววัตถิตะ  บทที่แยก  เช่น  ตุณฺหี  อสฺส  ตรงข้ามกับสัมพันธ์  คือ  บทที่เข้าสนธิ เช่น ตุณฺหสฺส,  ตุณฺหิสฺส

วสวัตดี, วสวัดดี  ชื่อพระยามาร  เป็นเทพในสวรรค์ชั้นสูงสุดแห่งระดับกามาวจร  เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไม่ให้ล่วงพ้นจากแดนกาม  ซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน ดู มาร ๒,  เทวปุตตมาร

วสันต์  ฤดูใบไม้ผลิ เทียบ วัสสานะ (ฤดูฝน)

วสี ความชำนาญ  มี ๕ อย่าง  คือ ๑. อาวัชชนวสี   ความชำนาญคล่องแคล่วในการนึก  ตรวจองค์ฌานที่ตนได้ออกมาแล้ว  ๒. สมาปัชชนวสี   ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่เข้าฌานได้รวดเร็วทันที  ๓. อธิฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะรักษาไว้มิให้ฌานจิตต์นั้นตกภวังค์  ๔. วุฏฐานวสี  ความชำนาญคล่องแคล่วในการจะออกจากฌานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ  ๕. ปัจจเวกขณวสี   ความชำนาญคล่องแคล่วในการพิจารณาทบทวนองค์ฌาน

วักกะ  ม้าม

วักกลิ  พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ชาวพระนครสาวัตถีเรียนจบไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์ บวชในพระพุทธศาสนา ด้วยความอยากเห็นพระรูปพระโฉมของพระศาสดา ครั้นบวชแล้วก็คอยติดตามดูพระองค์ตลอดเวลา จนไม่เป็นอันเจริญภาวนา พระพุทธเจ้าทรงรอเวลาให้ญาณของเธอสุกงอม ครั้นแล้วก็ตรัสเตือนเธอว่า “จะมีประโยชน์อะไรที่ได้เห็นกายเปื่อยเน่านี้ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ดังนี้ เป็นต้น  และทรงสอนต่อไปด้วยอุบายวิธีจนในที่สุดพระวักกลิก็ได้สำเร็จพระอรหัต และต่อมาได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุติ คือ หลุดพ้นด้วยศรัทธา

วังคันตะ  ชื่อพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของพระสารีบุตร

วังคีสะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี ได้ศึกษาไตรเพทจนมีความชำนาญเป็นที่พอใจของอาจารย์  จึงได้เรียนมนต์พิเศษชื่อ ฉวสีสมนต์  สำหรับพิสูจน์ศีรษะซากศพ เอานิ้วเคาะหัวศพก็ทราบว่าผู้นั้นตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร ที่ไหน ท่านมีความชำนาญในมนต์นี้มาก ต่อมาได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้แสดงความสามารถของตน แต่เมื่อเคาะศีรษะของผู้ปรินิพพานแล้วไม่สามารถบอกคติได้ ด้วยความอยากเรียนมนต์เพิ่มอีก จึงขอบวชในพระพุทธศาสนา ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเอตทัคคะในทางมีปฏิภาณ

วังสะ  ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่ในเขตมัชฌิมชนบท ทางทิศใต้ของแคว้นโกศล ทางทิศตะวันตกของแคว้นกาสี และทางทิศเหนือของแคว้นอวันตี นครหลวงชื่อโกสัมพี  บัดนี้เรียกว่าโกสัม (Kosam) อยู่บนฝั่งใต้ของแม่น้ำยมุนา ในสมัยพุทธกาล วังสะเป็นแคว้นที่รุ่งเรืองและมีอำนาจมากแคว้นหนึ่ง มีราชาปกครองพระนามว่า พระเจ้าอุเทน

วัจกุฎี  ส้วม,  ที่ถ่ายอุจจาระสำหรับภิกษุสามเณร

วัจกุฎีวัตร  ข้อปฏิบัติอันภิกษุพึงกระทำในวัจกุฎี,  ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้ใช้ส้วม  โดยย่อมี  ๗  ข้อ  คือ  ใช้ตามลำดับผู้ไปถึง,  รักษากิริยาในการจะเข้าจะออกให้สุภาพเรียบร้อยและไม่ทำเสียงดัง,  รักษาบริขารคือจีวรของตน,  รักษาตัวเช่นไม่เบ่งแรง  ไม่ใช้สิ่งที่จะเป็นอันตราย,  ไม่ทำกิจอื่นไปพลาง,  ระวังไม่ทำสกปรก,  ช่วยรักษาความสะอาด

วัชชี  ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา  ๑๖  แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป  ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำคันธกะอยู่ทางทิศตะวันออกของแคว้นมัลละ  ทางทิศเหนือของแคว้นมคธ  นครหลวงชื่อเวสาลี  แคว้นวัชชีปกครองด้วยระบอบสามัคคีธรรม  พวกกษัตริย์ที่ปกครองเรียกว่า  กษัตริย์ลิจฉวี  (นอกจากพวกลิจฉวีแล้วยังมีพวกวิเทหะซึ่งปกครองอยู่ที่เมืองมิถิลา  แต่ในสมัยพุทธกาลมีอำนาจน้อย)  แคว้นวัชชีรุ่งเรืองเข้มแข็งและมีอำนาจมากตอนปลายพุทธกาลได้กลายเป็นคู่แข่งกับแคว้นมคธ  แต่หลังพุทธกาลไม่นานก็เสียอำนาจแก่มคธเพราะอุบายทำลายสามัคคี  ของวัสสการพราหมณ์

วัชชีบุตร   ชื่อภิกษุพวกหนึ่งชาวเมืองเวสาลี  แสดงวัตถุ  ๑๐  ประการ  ละเมิดธรรมวินัย  เป็นต้นเหตุแห่งการสังคายนาครั้งที่ ๒

วัฏฏะ การวนเวียน, การเวียนเกิด เวียนตาย, การเวียนว่ายตายเกิด, ความเวียนเกิด หรือวนเวียน  ด้วยอำนาจกิเลสกรรม  และวิบาก  เช่นกิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทำกรรม  เมื่อทำกรรมแล้วย่อมได้รับผลของกรรมเมื่อได้รับผลของกรรมแล้ว  กิเลสก็เกิดอีกแล้วทำกรรม  แล้วเสวยผลกรรมหมุนเวียนต่อไป  ดู  ไตรวัฏฏ์

วัฏฏคามณีอภัย  ชื่อพระเจ้าแผ่นดินแห่งเกาะลังกาพระองค์หนึ่ง  ครองราชย์ประมาณ  พ.ศ.  ๕๑๕  -  ๕๒๗  ถูกพวกทมิฬแย่งชิงราชสมบัติ  เสด็จไปซ่อนพระองค์อยู่ในป่า  และได้รับความช่วยเหลือจากพระเถระรูปหนึ่ง  ต่อมาพระองค์กู้ราชสมบัติคืนมา  ได้ทรงสร้างอภัยคีรีวิหารและอาราธนาพระเถระรูปนั้นมาอยู่ครอง  กับทั้งได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอีกเป็นอันมาก  การสังคายนาครั้งที่  ๕  ที่จารึกพุทธพจน์ลงในใบลาน  ก็จัดทำในรัชกาลนี้

วัฏฏูปัจเฉท  ความเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ  (เป็นไวพจน์ของวิราคะ)

วัฑฒกีประมาณ  ประมาณของช่างไม้,  เกณฑ์หรือมาตราวัดของช่างไม้

วัฑฒลิจฉวี เจ้าลิจฉวีชื่อว่าวัฑฒะ ถูกพระเมตติยะ และพระภุมมชกะเสี้ยม สอนให้ทำการโจทพระทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปฐมปาราชิก เป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติการลงโทษคว่ำบาตร

วัณณกสิณ ๔ กสิณที่เพ่งวัตถุมีสีต่าง ๆ ๔ อย่าง คือ นีลํ สีเขียว, ปีตํ สีเหลือง, โลหิตํ สีแดง, โอทาตํ สีขาว, ดู กสิณ

วัณณมัจฉริยะ   ตระหนี่วรรณะ  คือหวงผิวพรรณ  ไม่พอใจให้คนอื่นสวยงาม  หรือหวงคุณวัณณะ  ไม่พอใจให้ใครมีคุณความดีมาแข่งตน  (ข้อ  ๔  ในมัจฉริยะ  ๕)

วัตตขันธกะ  ชื่อขันธกะที่  ๘  แห่งคัมภีร์จุลวรรค  วินัยปิฎก  ว่าด้วยวัตรประเภทต่างๆ

วัตตปฏิบัติ ดู วัตรปฏิบัติ

วัตตเภท  ความแตกแห่งวัตรหมายความว่าละเลยวัตร,  ละเลยหน้าที่  คือไม่ทำตามข้อปฏิบัติที่กำหนดไว้  เช่น  ภิกษุผู้กำลังประพฤติมานัต  หรือกำลังอยู่ปริวาส  ละเลยวัตรของตน  พระอรรถกถาจารย์ปรับอาบัติทุกกฏ

วัตถิกรรม  การผูกรัดที่ทวารหนักคือผูกรัดหัวริดสีดวงงอกที่ทวารหนัก  ท่านสันนิษฐานว่า  อาจจะหมายถึงการสวนทวารเบาก็ได้

วัตถุ  เรื่อง,  สิ่ง,  ข้อความ,  ที่ดิน;  ที่ตั้งของเรื่อง  หมายถึงบุคคลผู้เป็นที่ตั้งแห่งการทำกรรมของสงฆ์  เช่นในการให้อุปสมบท  คนที่จะบวชเป็นวัตถุแห่งการให้อุปสมบท

วัตถุ ๑๐  เรื่องที่เป็นต้นเหตุ,  ข้อซึ่งเป็นที่ตั้งหรือเป็นจุดเริ่มเรื่อง, ข้อปฏิบัติ ๑๐ ประการของพวกภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี  ที่ผิดเพี้ยนย่อหย่อนทางพระวินัย  แปลกจากสงฆ์พวกอื่นเป็นเหตุปรารถให้มีการสังคายนาครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๑๐๐ มีดังนี้  ๑. สิงคิโลณกัปปะ   เรื่องเกลือเขนง  ถือว่าเกลือที่เก็บไว้ในเขนง(ครั้งนั้นภิกษุเก็บเกลือไว้ในเขนง  ความหมายคือ  รับประเคนไว้ค้างคืนแล้ว)  เอาออกผสมอาหารฉันได้ ๒. ทวังคุลกัปปะ   เรื่องสองนิ้ว  ถือว่าเงาแดดบ่ายเลยเที่ยงเพียง  ๒  นิ้ว  ฉันอาหารได้  ๓. คามันตรกัปปะ   เรื่องเข้าละแวกบ้านถือว่า  ภิกษุฉันแล้ว  ห้ามอาหารแล้ว  ปรารภว่าจะเข้าละแวกบ้านเดี๋ยวนั้น  ฉันโภชนะเป็นอนติริตตะได้  ๔. อาวาสฺกัปปะ   เรื่องอาวาส  ถือว่าภิกษุในหลายอาวาสที่มีสีมาเดียวกันแยกทำอุโบสถต่างหากกันได้  ๕. อนุมติกัปปะ   เรื่องอนุมัติ  ถือว่า  ภิกษุยังมาไม่พร้อม  ทำสังฆกรรมไปพลาง ภิกษุที่มาหลังจึงขออนุมัติก็ได้ ๖. อาจิณณกัปปะ  เรื่องเคยประพฤติมา  ถือว่าธรรมเนียมใดอุปัชฌาย์อาจารย์เคยประพฤติมาแล้ว  ควรประพฤติตามอย่างนั้น  ๗. อมถิตกัปปะ   เรื่องไม่กวนถือว่า น้ำนมสดแปรไปแล้วแต่ยังไม่เป็นทธิคือนมส้ม  ภิกษุฉันแล้วห้ามอาหารแล้ว  ดื่มน้ำนมอย่างนั้นอันเป็นอนติริตตะได้  ๘. ชโลคิง  ปาตุง   ถือว่าสุราอย่างอ่อน  ไม่ให้เมา  ดื่มได้  ๙. อทสกัง นิสีทนัง   ถือว่า  ผ้านิสีทนะไม่มีชายก็ใช้ได้  ๑๐.  ชาตรูปรชตัง   ถือว่าทองและเงินเป็นของควร  รับได้

กรณีวัตถุ ๑๐ ประการนี้   จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ใหญ่เรื่องหนึ่ง

วัตถุกาม  พัสดุอันน่าใคร่  ได้แก่กามคุณ  ๕  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ  อันน่าใคร่  น่าปรารถนา  น่าชอบใจ  ดู กาม

วัตถุเทวดา  เทวดาที่ดิน,  พระภูมิ

วัตถุวิบัติ   วิบัติโดยวัตถุ  คือ  บุคคลหรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสังฆกรรมนั้น  ๆ  ขาดคุณสมบัติ  ทำให้สังฆกรรมเสีย  ใช้ไม่ได้  เช่น  ในการอุปสมบทผู้อุปสมบทอายุไม่ครบ  ๒๐  ปี  หรือมีเรื่องที่เป็นความผิดอย่างร้ายแรง  เช่น  ฆ่าบิดามารดา  หรือเป็นปาราชิกเมื่อบวชเป็นภิกษุคราวก่อน  หรือไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเป็นภิกษุ  หรือเป็นสตรีดังนี้เป็นต้น

วัตถุสมบัติ  ความถึงพร้อมแห่งวัตถุ,  ความสมบูรณ์โดยบุคคลหรือวัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการทำสังฆกรรมนั้น ๆ  มีคุณสมบัติถูกต้อง  ทำให้สังฆกรรมใช้ได้ไม่บกพร่องในด้านนี้ เช่น ในการอุปสมบท ผู้ขอบวชเป็นชายมีอายุครบ ๒๐ ปี ไม่เป็นมนุษย์วิบัติเช่นถูกตอน  ไม่ได้ทำความผิดร้ายแรงเช่นฆ่าบิดามารดา ไม่ใช่คนทำความเสียหายในพระพุทธศาสนาอย่างหนัก  เช่น ปาราชิก เมื่อบวชคราวก่อน ดังนี้เป็นต้น

วัตร  กิจพึงกระทำ, หน้าที่, ธรรมเนียม, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ จำแนกออกเป็น กิจวัตร ว่าด้วยกิจที่ควรทำ (เช่นอุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร อาคันตุกวัตร) ๑ จริยาวัตร   ว่าด้วยมารยาทอันควรประพฤติ (เช่น  ไม่ทิ้งขยะทางหน้าต่างหรือทิ้งลงนอกฝานอกกำแพงไม่จับวัตถุอนามาส)  ๑ วิธีวัตร  ว่าด้วยแบบอย่างที่พึงกระทำ  (เช่น  วิธีเก็บบาตร  วิธีพับจีวร  วิธีเปิดปิดหน้าต่างตามฤดู  วิธีเดินเป็นหมู่)๑;  วัตรส่วนมากมาในวัตตขันธกะ

วัตรบท ๗  หลักปฏิบัติ  หรือข้อที่ถือปฏิบัติประจำ  ๗  อย่าง  ที่ทำให้มฆมาณพได้เป็นท้าวสักกะหรือพระอินทร์คือ ๑. มาตาเปติภโร   เลี้ยงมารดาบิดา  ๒. กุเลเชฏฺฐาปจายี  เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล  ๓. สณฺหวาโจ พูดคำสุภาพอ่อนหวาน  ๔. อปิสุณวาโจ   หรือ เปสุเณยฺยปฺปหายี  ไม่พูดส่อเสียด  พูดสมานสามัคคี  ๕. ทานสํวิภาครโต  หรือ มจฺเฉรวินย   ชอบเผื่อแผ่ให้ปัน  ปราศจากความตระหนี่  ๖.  สจฺจวาโจ มีวาจาสัตย์ ๗. อโกธโน หรือ โกธาภิกู  ไม่โกรธ ระงับความโกรธได้

วัตรปฏิบัติ  การปฏิบัติตามหน้าที่, การทำตามข้อปฏิบัติที่พึงกระทำเป็นประจำ, ความประพฤติที่เป็นไปตามขนบธรรมเนียมแห่งเพศ ภาวะหรือวิถีดำเนินชีวิตของตน

วัน  ระยะเวลา  ๑๒  ชั่วโมง  ตั้งแต่ย่ำรุ่งจนถึงย่ำค่ำ,  ระยะเวลา  ๒๔  ชั่วโมง  ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำรุ่ง  หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน  การที่เรียกว่า  วัน  นั้นเพราะแต่โบราณถือเอากำหนดพระอาทิตย์ซึ่งเรียกตะวันขึ้นจนถึงตะวันตกเป็นกำหนด  จึงเรียกว่าวันคือมาจากคำว่าตะวันนั่นเอง

วันอุโบสถ  ดู  อุโบสถ

วัปปะ  ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์  เป็นพระอรหันต์รุ่นแรก

วัปปมงคล  พิธีแรกนาขวัญ  คือพิธีเริ่มไถนาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา

วัย  ส่วนแห่งอายุ,  ระยะของอายุ,  เขตอายุ  นิยมแบ่งเป็น  ๓  วัย  คัมภีร์วิสุทธิมรรคจัดดังนี้  ๑. ปฐมวัย   วัยต้น ๓๓ ปี คือ อายุ ๑ ถึง  ๓๓  ปี  ๒. มัชฌิมวัย   วัยกลาง ๓๔ ปี คือ อายุ ๓๔ ถึง ๖๗ ปี  ๓. ปัจฉิมวัย วัยปลาย ๓๓ ปี คือ อายุ ๖๘ ถึง ๑๐๐ ปี

วัสวดี  ชื่อของพระยามาร  ดู  วสวัตดี

วัสสานะ, วัสสานฤดู  ฤดูฝน  ดู  มาตรา

วัสสาวาสิกพัสตร์  ดู  ผ้าจำนำพรรษา

วัสสิกสาฎก  ดู  ผ้าอาบน้ำฝน

วัสสิกสาฏิกา  ดู  ผ้าอาบน้ำฝน

วัสสูปนายิกา  วันเข้าพรรษา  ดู  จำพรรษา

วางไว้ทำร้าย  ได้แก่  วางขวาก  ฝังหลาวไว้ในหลุมพราง  วางของหนักไว้ให้ตกทับ  วางยาพิษ  เป็นต้น

วาจา  คำพูด,  ถ้อยคำ

วาจาชอบ  ดู  สัมมาวาจา

วาจาชั่วหยาบ  ในวินัยหมายถึงถ้อยคำพาดพิงทวารหนักทวารเบาและเมถุน ดู ทุฏฐุลลวาจา

วาตสมุฏฺฐานา อาพาธา  ความเจ็บไข้ที่มีลมเป็นสมุฏฐาน

วานปรัสถ์  ผู้อยู่ป่า,  เป็นธรรมเนียมของพราหมณ์ว่าผู้ที่ครองเรือน  มีครอบครัวเป็นหลักฐาน  ครั้นลูกหลานเติบโตก็จัดแจงให้มีครอบครัว  ตนเองชราลงก็มุ่งแสวงบุญกุศล  เข้าป่าจำศีลถือพรตบำเพ็ญตบะต่อไป  ดู อาศรม

วาโยธาตุ  ธาตุลม  คือธาตุที่มีลักษณะพัดไปมา,  ภาวะสั่นไหว  เคร่งตึง  ค้ำจุน;  ในร่างกายนี้  ส่วนที่ใช้กำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน  ได้แก่ลมพัดขึ้นเบื้องบน  ลมพัดลงเบื้องต่ำ  ลมในท้องลมในไส้  ลมพัดไปตามตัว  ลมหายใจ  (ตามสภาวะ  วาโยธาตุ  คือ  สภาพสั่นไหว  หรือค้ำจุน)  ดู  ธาตุ

วาร  วันหนึ่ง  ๆ  ในสัปดาห์,  ครั้ง,  เวลากำหนด

วาระ  ครั้งคราว,  เวลาที่กำหนดสำหรับผลัดเปลี่ยน

วารี  น้ำ

วาลิการาม  ชื่อวัดหนึ่งในเมืองเวสาลีแคว้นวัชชีเป็นที่ประชุมทำสังคายนาครั้งที่  ๒  ชำระวัตถุ  ๑๐  ประการที่เป็นเสี้ยนหนามพระธรรมวินัย

วาสภคามิกะ   ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์  ผู้ทำสังคายนาครั้งที่  ๒

วิกขัมภนวิมุตติ  พ้นด้วยข่มหรือสะกดไว้  ได้แก่ความพ้นจากกิเลสและอกุศลธรรมได้ด้วยกำลังฌาน อาจสะกดไว้ได้นานกว่าตทังควิมุตติ  แต่เมื่อฌานเสื่อมแล้ว  กิเลสอาจเกิดขึ้นอีก จัดเป็นโลกิยวิมุตติ  (ข้อ ๒ ในวิมุตติ ๕;  ในบาลีเป็นข้อ ๑ ถึงชั้นอรรถกถา จึงกลายมาเป็นข้อ ๒)

วิกติกา  เครื่องลาดที่เป็นรูปสัตว์ร้ายเช่นราชสีห์ เสือ เป็นต้น

วิกัป, วิกัปป์  ทำให้เป็นของสองเจ้าของคือ  ขอให้ภิกษุสามเณรอื่นร่วมเป็นเจ้าของบาตรหรือจีวรนั้น  ๆ  ด้วย  ทำให้ไม่ต้องอาบัติเพราะเก็บอติเรกบาตรหรืออติเรกจีวรไว้เกินกำหนด  เช่น  วิกัปจีวรผืนหนึ่งต่อหน้าในหัตถบาสว่า “อิมํ  จีวรํ  ตุยฺหํ  วิกปฺเปมิ”   ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน

วิกัปปิตจีวร  จีวรที่วิกัปป์ไว้,  จีวรที่ทำให้เป็นของ  ๒  เจ้าของ

วิการ   ๑.  พิการ, ความแปรผัน, ความผิดแปลก, ผิดปรกติ  ๒. ทำต่าง ๆ, ขยับเขยื้อน  เช่น  กวักมือ  ดีดนิ้ว  เป็นต้น

วิกาล ผิดเวลา,  ในวิกาลโภชนสิกขาบท  (ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล)  หมายถึง  ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงก่อนอรุณวันใหม่;  ส่วนในอันธการวรรค  สิกขาบทที่ ๗ ในภิกขุนีวิภังค์  (ห้ามภิกษุณีเข้าสู่ตระกูลในเวลาวิกาล  เอาที่นอนปูลาดนั่งนอนทับโดยไม่บอกกล่าวขออนุญาตเจ้าบ้าน)  หมายถึงตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนถึงก่อนอรุณวันใหม่; ในสิงคาลกสูตร  ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สุตตันตปิฎก  กล่าวถึงการเที่ยวซอกแซกในเวลาวิกาลว่าเป็นอบายมุขนั้น ก็หมายถึงเวลาค่ำ

วิกาลโภชน์ การกินอาหารในเวลาวิกาล, การฉันอาหารผิดเวลา  ดู  วิกาล

วิกุพพนฤทธิ์,  วิกุพพนาอิทธิ  ฤทธิ์คือการแผลง,  ฤทธิ์บิดผัน,  ฤทธิ์ผันแผลงคือ  เปลี่ยนจากรูปร่างปกติ  แปลงเป็นเด็ก  เป็นครุฑ  เป็นเทวดา  เป็นเสือ  เป็นงู  เป็นต้น (ต้องห้ามทางพระวินัย)

วิขัมภนปหาน  การละกิเลสได้ด้วยข่มไว้ด้วยฌาน;  มักเขียน  วิกขัมภนปหาน

วิขัมภนวิมุติ ดู  วิกขัมภนวิมุตติ

วิจาร  ความตรอง,  การพิจารณาอารมณ์,  การตามฟั้นอารมณ์  (ข้อ  ๒  ในองค์ฌาน  ๕)

วิจารณญาณ  ปัญญาที่ไตร่ตรองพิจารณาเหตุผล

วิจิกิจฉา  ความลังเลไม่ตกลงได้,  ความไม่แน่ใจ,  ความสงสัย,  ความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย,  ความลังเลเป็นเหตุไม่แน่ใจในปฏิปทาเครื่องดำเนินของตน  (ข้อ  ๕  ในนิวรณ์  ๕)

วิจิตร งาม, งดงาม, แปลก, ตระการ, หรู, แพรวพราว

วิชชา  ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ;วิชชา ๓ คือ ๑. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ  ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้  ๒. จุตูปปาตญาณ  ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย  ๓. อาสวักขยญาณ  ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น; วิชชา ๘  คือ  ๑. วิปัสสนาญาณ  ญาณในวิปัสสนา ๒. มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ  ๓. อิทธิวิธี  แสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ   ๔. ทิพพโสต  หูทิพย์  ๕. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้  ๖. ปุพเพนิวาสานุสติ  ๗. ทิพพจักขุ  ตาทิพย์  (=จุตูปปาตญาณ)  ๘. อาสวักขยญาณ

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน  ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ  ประกอบด้วยวิชชา  ๓  หรือวิชชา  ๘  และจรณะ  ๑๕ อันเป็นปฏิปทาเครื่องบรรลุวิชชานั้น,  มีความรู้ประเสริฐ  ความประพฤติประเสริฐ  (ข้อ  ๓  ในพุทธคุณ  ๙)

วิชชาธร,  วิชาธร  ดู  วิทยาธร

วิญญัติ  ๑. การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย, การสื่อความหมาย  มี ๒  คือ  ๑. กายวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยกาย เช่น พยักหน้า กวักมือ ๒. วจีวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยวาจา คือพูด หรือบอกกล่าว ๒. การออกปากขอของต่อคนไม่ควรขอหมายถึงภิกษุขอสิ่งของต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ  ผู้ไม่ใช่คนปวารณา

วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์,  จิต, ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน  เช่น รู้อารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา  เป็นต้น  ได้แก่  การเห็น  การได้ยินเป็นอาทิ;  วิญญาณ ๖  คือ  ๑. จักขุวิญญาณ   ความรู้อารมณ์ทางตา(เห็น)  ๒. โสตวิญญาณ   ความรู้อารมณ์ทางหู(ได้ยิน)  ๓. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก(ได้กลิ่น)  ๔. ชิวหาวิญญาณ   ความรู้อารมณ์ทางลิ้น  (รู้รส)  ๕. กายวิญญาณ   ความรู้อารมณ์ทางกาย  (รู้สิ่งต้องกาย)  ๖. มโนวิญญาณ   ความรู้อารมณ์ทางใจ  (รู้เรื่องในใจ)

วิญญาณฐิติ  ภูมิเป็นที่ตั้งของวิญญาณมี  ๗  คือ  ๑. สัตว์เหล่าหนึ่ง  มีกายต่างกันมีสัญญาต่างกัน  เช่น  พวกมนุษย์  พวกเทพบางหมู่  พวกวินิปาติกะ  บางหมู่  ๒. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน  มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น  พวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหมผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน  ๓. สัตว์เหล่าหนึ่ง  มีกายอย่างเดียวกัน  มีสัญญาต่างกัน  เช่น  พวกเทพอาภัสสระ  ๔. สัตว์เหล่าหนึ่ง  มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน  เช่น  พวกเทพสุภกิณหะ  ๕. สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ  ๖. สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ  ๗.  สัตว์เหล่าหนึ่ง  ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ

วิญญาณธาตุ  ธาตุรู้,  ความรู้แจ้ง,  ความรู้อะไรได้  (ข้อ  ๖  ในธาตุ  ๖)

วิญญาณณัญจายตนะ  ฌานอันกำหนดวิญญาณหาสุดมิได้เป็นอารมณ์หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ (ข้อ ๒ ในอรูป ๔ )

วิญญาณาหาร  อาหารคือวิญญาณ, วิญญาณเป็นอาหารคือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดนามรูป  (๔  ในอาหาร ๔)

วิญญู  ผู้รู้แจ้ง,  นักปราชญ์;  ผู้รู้ผิดรู้ชอบ ตามปรกติ

วิตก   ความตรึก, ตริ, การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือปักจิตลงสู่อารมณ์ (ข้อ ๑ ในองค์ฌาน ๕), การคิด, ความดำริ; ไทยใช้ว่าเป็นห่วงกังวล

วิตกจริต  พื้นนิสัยหนักในทางตรึก,  มีวิตกเป็นปรกติ,  มีปรกตินึกพล่านหรือคิดจับจดฟุ้งซ่าน,  ผู้มีจริตชนิดนี้พึงแก้ด้วย  เพ่งกสิณ  หรือเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน  (ข้อ  ๖  ในจริต  ๖)

วิติกกมะ  ดู  วีติกกมะ

วิทยา  ความรู้

วิทยาธร  “ผู้ทรงวิทยา”,  ผู้มีวิชากายสิทธิ์,  ผู้มีฤทธิ์ที่สำเร็จวิทยาอาคมหรือของวิเศษ,  พ่อมด

วิเทหะ  ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีป  นครหลวงชื่อมิถิลา  เป็นดินแดนพวกวัชชีอีกถิ่นหนึ่ง  ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำคงคา  ตรงข้ามแคว้นมคธ

วิธัญญา  ชื่อนครหรือถิ่นหนึ่งในสักกชนบท ปกครองโดยกษัตริย์วงศ์ ศากยะ; เวธัญญะ ก็เรียก

วินยวาที  ผู้มีปรกติกล่าวพระวินัย

วินยสมฺมุขตา  ความเป็นต่อหน้าวินัยในวิวาทาธิกรณ์ หมายความว่าปฏิบัติตามธรรมวินัยและสัตถุศาสน์อันเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์นั้น

วินัย  พระบัญญัติ, ข้อบัญญัติ, ข้อบังคับ, ระเบียบสำหรับกำกับความประพฤติให้เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน, สิกขาบทของพระสงฆ์; ถ้าพูดว่าพระวินัย มักหมายถึงพระวินัยปิฎก

วินัยกถา  คำพูดเกี่ยวกับพระวินัย, คำบรรยาย คำอธิบาย หรือเรื่องสนทนาเกี่ยวกับพระวินัย

วินัยกรรม  การกระทำเกี่ยวกับพระวินัยหรือการปฏิบัติตามวินัย เช่น การปลงอาบัติ การอธิษฐานบริขาร การวิกัปบาตรและจีวร เป็นต้น

วินัยธร  “ผู้ทรงวินัย”, ภิกษุผู้ชำนาญวินัย, พระอุบาลีเถระ ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาพระวินัยธร

วินัยปิฎก  ดู ไตรปิฎก

วินัยมุข  มุขแห่งวินัย, หลักใหญ่ๆหรือหัวข้อสำคัญๆ ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพระวินัยเป็นชื่อหนังสือที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงรจนาขึ้น เพื่อชี้ประโยชน์แห่งพระวินัยมุ่งช่วยให้พระภิกษุสามเณรตั้งอยู่ในปฏิบัติพอดีพองาม ผู้ไม่เคร่งจะได้รู้จักสำรวมรักษามรรยาทสมเป็นสมณะฝ่ายผู้เคร่งครัดเกินไปจะได้หายงมงายไม่สำคัญตนว่าดีกว่าผู้อื่น ตั้งรังเกียจผู้อื่นเพราะเหตุเล็กน้อย เพียงสักว่าธรรมเนียมหรือแม้ชักนำผู้อื่นในปฎิบัติอันดี ต่างจะได้อนิสงส์คือไม่มีวิปฏิสาร; ทรงมุ่งหมายเพื่อจะแต่งแก้หนังสือบุพพสิกขาวัณณนาของพระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส; จัดพิมพ์เป็น ๓ เล่ม ใช้เป็นแบบเรียนนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก ตามลำดับ

วินัยวัตถุ  เรื่องเกี่ยวกับพระวินัย

วินิจฉัย  ไตร่ตรอง, ใคร่ครวญ, ชี้ขาด, ตัดสิน, ชำระความ

วินิบาต  โลกหรือวิสัยเป็นที่ตกไปแห่งสัตว์อย่างไร้อำนาจ, แดนเป็นที่ตกลงไปพินาศย่อยยับ; อรรถกถาแห่งอิติวุตตกะอธิบายนัยหนึ่งว่าเป็นไวพจน์ของคำว่านรกนั่นเอง อีกนัยหนึ่งว่าหมายถึงกำเนิดอสุรกาย

วินิปาติกะ ท่านว่าได้แก่พวกเวมานิกเปรต คือ พวกเปรตมีวิมานอยู่ได้เสวยสุขและต้องทุกข์ทรมานเป็นช่วงๆสลับกันไป มีสุขบ้างทุกข์บ้างคละระคน

วินีตวัตถุ  เรื่องที่ท่านวินิจฉัยแล้ว, เรื่องที่ตัดสินแล้ว ท่านแสดงไว้เป็นตังอย่างสำหรับเทียบเคียงตัดสิน ในการปรับอาบัติ (ทำนองคำพิพากษาของศาลสูงสุดที่นำมาศึกษากัน)

วิบัติ  ความเสีย, ความผิดพลาด, ความบกพร่อง, ความเสียหายใช้การไม่ได้ ๑. วิบัติความเสียของภิกษุมี ๔ อย่างคือ ๑.ศีลวิบัติ ความเสียแห่งศีล ๒. อาจารวิบัติ ความเสียมรรยาท ๓. ทิฏฐิวิบัติ ความเห็นผิดธรรมผิดวินัย ๔. อาชีววิบัติ  ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ ๒. วิบัติ คือความเสียหายใช้ไม่ได้ของสังฆกรรม มี๔ คือ ๑. วัตถุวิบัติ เสียโดยวัตถุ เช่น อุปสมบทคนอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ๒. สีมาวิบัติ เสียโดยสีมา เช่น สีมาไม่มีนิมิต ๓. ปริสวิบัติ เสียโดยบริษัทคือที่ประชุม เช่น ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์สงฆ์ ๔. กรรมวาจาวิบัติ เสียโดยกรรมวาจา เช่น สวดผิดพลาดตกหล่น สวดแต่อนุสาวนาไม่ได้ตั้งญัตติ เป็นต้น (ข้อกรรมวาจาวิบัติบางกรณีแยกเป็นญัตติวิบัติและอนุสาวนาวิบัติ กลายเป็นวิบัติ ๕ ก็มี) เทียบ สมบัติ

วิบาก  ผล, ผลแห่งกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน

วิปจิตัญญู   ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น, รู้ต่อเมื่อขยายความ (ข้อ ๒ ในบุคคล ๔)

วิปฏิสาร  ความเดือดร้อน, ความร้อนใจ เช่น ผู้ประพฤติผิดศีล เกิดความเดือดร้อนขึ้นในใจ ในเพราะความไม่บริสุทธิ์ ของตนเรียกว่า “เกิดวิปฏิสาร”

วิปปวาส  อยู่ปราศ เป็นประการหนึ่งในรัตติเฉท การขาดราตรีแห่งการประพฤติมานัตและการอยู่ปริวาส; สำหรับผู้ประพฤติมานัต วิปปวาส หมายถึง อยู่ในถิ่น (จะเป็นวัดหรือมิใช่วัดเช่นป่าเป็นต้นก็ตาม) ที่ไม่มีสงฆ์อยู่เป็นเพื่อน คืออยู่ปราศจากสงฆ์, สำหรับผู้อยู่ปริวาส หมายถึง อยู่ในถิ่นปราศจากปกตัตตภิกษุ (มีปกตัตตภิกษุอยู่เป็นเพื่อนรูปเดียวก็ใช้ได้) ดู รัตติเฉท

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 กรกฎาคม 2556 19:28:34 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #35 เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2556 19:22:19 »

.

วิปริณาม  ความแปรปรวน, ความผันแปรเปลี่ยนแปลงเรื่อยไป

วิปลาส, พิปลาส  กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้  ก.วิปลาสด้วยอำนาจจิตต์และเจตสิก ๓ ประการ คือ ๑.วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า “สัญญาวิปลาส” ๒.วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า “จิตตวิปลาส” ๓.วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า “ทิฏฐิวิปลาส”  ข. วิปลาสด้วยสามารถวัตถุเป็นที่ตั้ง ๔ ประการ คือ ๑.วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง ๒.วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๓. วิปลาสในของที่ไม่ใช่ของตนว่าเป็นของตน ๔.วิปลาส ในของที่ไม่งาม ว่างาม

วิปัสสนา  ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม; ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเอง (ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒) ดู ภาวนา, ไตรลักษณ์

วิปัสสนากัมมัฏฐาน  กรรมฐานคือ วิปัสสนา ดู วิปัสสนา

วิปัสสนาญาณ  ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่างคือ ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย ๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง ๘. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร ๙.สัจจานุโลมิกญาณ  ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์

วิปัสสนาธุระ   ธุระฝ่ายวิปัสสนา, ธุระด้านการเจริญวิปัสสนา, กิจพระศาสนาในด้านการบำเพ็ญกรรมฐาน; เทียบ คันถธุระ

วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่ถึงขั้นเป็นวิปัสสนา, ปัญญาที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเข้าใจสังขารตามความเป็นจริง

วิปัสสนาภาวนา  การเจริญวิปัสสนา ดู ภาวนา, วิปัสสนา

วิปัสสนายานิก  ผู้มีวิปัสสนาเป็นยานคือผู้เจริญวิปัสสนาโดยยังไม่ได้ฌานสมาบัติมาก่อน

วิปัสสนูปกิเลส  อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่เจริญก้าวหน้าในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ คือ ๑. โอภาส แสงสว่าง ๒. ปีติ ความอิ่มใจ ๓. ญาณ ความรู้ ๔. ปัสสิทธิ ความสงบกายและจิต ๕. สุข ความสบายกายบายใจ ๖. อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี ๘. อุปัฏฐาน สติชัด ๙. อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง ๑๐. นิกันติ ความพอใจ

วิปัสสี  พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า ๗

วิปากญาณ  ปรีชาหยั่งรู้ผลแห่งกรรมคือรู้จักแยกได้ว่า บรรดาผลที่สัตว์ทั้งหลายได้รับอันซับซ้อน อันใดเป็นผลของกรรมดีหรือกรรมชั่วอย่างใดๆเรียกเต็มว่า กรรมวิปากญาณ (ข้อ ๒ ในทสพลญาณ)

วิปากทุกข์  ทุกข์ที่เป็นผลของกรรมชั่ว เช่น ถูกลงอาชญาได้รับความทุกข์หรือตกอบาย หรือเกิดวิปฏิสารคือเดือดร้อนใจ

วิปากวัฏฏ์  วนคือวิบาก, วงจรส่วนวิบาก, หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาทประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา, ชาติ ชรามรณะ ดู ไตรวัฏฏ์

วิปากสัทธา  ดู สัทธา

วิภวตัณหา  ความอยากในวิภพ คือความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น อยากไม่เป็นนั้น ไม่เป็นนี่ อยากตายเสีย อยากขาดสูญ อยากพรากพ้นจากไปจากภาวะที่ตนเกลียดชังไม่ปรารถนา, ความทะยานอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ (ข้อ ๓ ในตัณหา ๓)

วิภังค์  ๑. (ในคำว่า”วิภังค์แห่งสิกขาบท”) คำจำแนกความแห่งสิกขาบทเพื่ออธิบายแสดงความหมายให้ชัดขึ้น; ท่านใช้เป็นชื่อเรียกคัมภีร์ที่จำแนกความเช่นนั้นในพระวินัยปิฎกว่าคัมภีร์วิภังค์ คือคัมภีร์จำแนกความสิกขาบทในภิกขุปาฏิโมกข์ เรียกว่ามหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ คัมภีร์จำแนกความสิกขาบทในภิกขุนีปาฏิโมกข์เรียกว่า ภิกขุนีวิภังค์ เป็นหมวดต้นแห่งพระวินัยปิฎก ๒. ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ แห่งพระอภิธรรมปิฎกที่อธิบายจำแนกความแห่งหลักธรรมสำคัญเช่น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ปัจจยาการ เป็นต้น ให้ชัดเจนจบไปทีละเรื่องๆ

วิภัชชวาที  “ผู้กล่าวจำแนก”, “ผู้แยกแยะพูด”, เป็นคุณบทหรือคำแสดงคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้าหมายความว่า ทรงแสดงธรรมแยกแยะแจกแจงออกไป ให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ มาประชุมกันเข้าอย่างไร เช่น แยกแยะกระจายนามรูปออกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น สิ่งทั้งหลายมีด้านที่เป็นคุณและด้านที่เป็นโทษอย่างไร เรื่องนั้นๆ มีข้อจริงข้อเท็จอะไรบ้างการกระทำอย่างนั้นๆ มีแง่ถูกแง่ผิดแง่ที่ดีและแง่ไม่ดีประการใด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งนั้นเรื่องนั้นอย่างชัดเจน มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง เช่นมองเห็นความเป็นอนัตตา เป็นต้น ไม่มองอย่างตีคลุมหรือเห็นแต่ด้านเดียวแล้วยึดติดในทิฏฐิต่างๆอันทำให้ไม่เข้าถึงความจริงแท้ตามสภาวะ

วิภัตติ  ชื่อวิธีไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต สำหรับแจกศัพท์โดยเปลี่ยนท้ายคำให้มีรูปต่างๆ กันเพื่อบอกการกและกาลเป็นต้น เช่นคำนาม โลโก ว่าโลก, โลกํ ซึ่งโลก, โลกา จากโลก, โลเกในโลก; คำกิริยา เช่น นมติ ย่อมน้อม, นมตุ จงน้อม, นมิ น้อมแล้ว เป็นต้น

วิภาค  การแบ่ง, การจำแนก, ส่วน, ตอน

วิมติวิโนทนี  ชื่อคัมภีร์ฎีกาอธิบายพระ

วินัย แต่งโดยพระกัสสปเถระ ชาวแคว้นโจฬะ ในอินเดียตอนใต้

วิมละ  บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีเป็นสหายของยสกุลบุตร ได้ทราบข่าวยสกุลบุตรออกบวช จึงได้บวชตามพร้อมด้วยสหายอีก ๓ คน คือ สุพาหุ ปุณณชิ และ ควัมปติ จัดเป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่ง

วิมังสา  การสอบสวนทดลอง, การตรวจสอบ, การหมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น (ข้อ ๔ ในอิทธิบาท ๔)

วิมาน  ที่อยู่หรือที่ประทับของเทวดา

วิมุต อักขระที่ว่าปล่อยเสียงเช่น สุณาตุ เอสา ญตฺติ

วิมุตตานุตตริยะ  การพ้นอันเยี่ยมคือหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ ได้แก่ พระนิพพาน (ข้อ ๓ ในอนุตตริยะ ๓)

วิมุตติ  ความหลุดพ้น, ความพ้นจากกิเลส มี  ๕  อย่างคือ  ๑. ตทังควิมุตติ พ้นด้วยธรรมธรรมคู่ปรับหรือพ้นชั่วคราว  ๒. วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดไว้  ๓.  สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยตัดขาด ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ  ๕. นิสสรณวิมุตติ พ้นด้วยออกไป;  ๒  อย่างแรก  เป็น  โลกิยวิมุตติ ๓ อย่างหลังเป็น โลกุตตรวิมุตติ

วิมุตติกถา  ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลส  (ข้อ ๙ ในกถาวัตถุ  ๑๐)

วิมุตติขันธ์  กองวิมุตติ, หมวดธรรมว่าด้วยวิมุตติ คือการทำจิตให้พ้นจากอาสวะ เช่น ปหานะ การละ, สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้ง (ข้อ ๔ ในธรรมขันธ์  ๕)

วิมุตติญาณทัสสนะ  ความรู้ความเห็นในวิมุตติ,  ความรู้เห็นว่าจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย

วิมุตติญาณทัสสนกถา  ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส (ข้อ ๑๐ ในกถาวัตถุ ๑๐)

วิมุตติญาณทัสสนขันธ์  กองวิมุตติญาณทัสสนะ,  หมวดธรรมว่าด้วยความรู้ความเห็นว่า จิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ เช่น ผลญาณ  ปัจจเวกขณญาณ  (ข้อ  ๕  ในธรรมขันธ์  ๕)

วิมุตติสุข  สุขเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะและปวงทุกข์; พระพุทธเจ้าภายหลังตรัสรู้แล้วใหม่ๆ ได้เสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์ตามลำดับคือ สัปดาห์ที่ ๑ ประทับใต้ร่มไม้มหาโพธิ์ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จไปประทับยืนด้านอีสาน ทรงจ้องดูต้นมหาโพธิ์ไม่กระพริบพระเนตร ที่นั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์ สัปดาห์ที่ ๓ ทรงนิรมิตที่จงกรมขึ้นระหว่างกลางแห่งพระมหาโพธิ์และอนิมิสเจดีย์  เสด็จจงกรมตลอด ๗ วัน ที่นั้นเรียก รัตนจงกลมเจดีย์ สัปดาห์ที่ ๔ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมปิฎก ณ เรือนแก้วที่เทวดานิรมิตในทิศพายัพแห่งต้นมหาโพธิ์ ที่นั้นเรียก รัตนฆรเจดีย์  สัปดาห์ที่ ๕ ประทับใต้ต้นไม้ไทร ชื่ออชปาลนิโครธ ทรงตอบปัญหาของพราหมณ์หํหุกชาติ แสดงสมณะและพราหมณ์ที่แท้ พร้อมทั้งธรรมที่ทำให้เป็นสมณะพราหมณ์ พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า ธิดามาร ๓ คนได้มาประโลมพระองค์ ณ ที่นี้  สัปดาห์ที่ ๖ ประทับใต้ต้นไม้จิก ชื่อ มุจจลินท์ มีฝนตก มุจจลินทนาคราชมาวงขนดแผ่พังพานปกป้องพระองค์ ทรงเปล่งอุทานแสดงความสุขที่แท้ อันเกิดจากการไม่เบียดเบียนกัน เป็นต้น  สัปดาห์ที่ ๗ ประทับใต้ต้นไม้เกต ชื่อราชายตนะ พาณิช ๒ คน คือ ตปุสสะและภัลลิกะ เข้ามาถวายสัตตุผง สัตตุก้อน และได้แสดงตนเป็นปฐมอุบาสกถึงสรณะ ๒ เมื่อสิ้นสัปดาห์ที่เจ็ด ณ ที่นี้แล้ว เสด็จกลับไปประทับใต้ต้นอชปาลนิโครธอีก ทรงดำริถึงความลึกซึ้งแห่งธรรมที่ตรัสรู้คือ ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน แล้วน้อมพระทัยที่จะไม่แสดงธรรม เป็นเหตุให้สหัมบดีพรหมมากราบทูลอาราธนา และ ณ ที่นี้เช่นกัน ได้ทรงพระดำริเกี่ยวกับสติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นเอกายนมรรคและอินทรีย์ ๕ อันมีอมตธรรมเป็นที่หมาย; พึงสังเกตว่าเรื่องในสัปดาห์ที่ ๒-๓-๔ นั้น เป็นส่วนที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวแทรกเข้ามา ความนอกนั้นมาในมหาวรรคแห่งพระวินัยปิฎก (เรื่องดำริถึงสติปัฏฐานและอินทรีย์มาในสังยุตตนิกายมหาวารวรรค พระสุตตันตปิฎก)

วิมุติ  ดู วิมุตติ

วิโมกข์  ความหลุดพ้นจากกิเลส มี ๓ ประเภทคือ ๑. สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตาแล้วถอนความยึดมั่นได้ มองเห็นความว่าง  ๒. อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจัง แล้วถอนนิมิตได้   ๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกข์ แล้วถอนความปรารถนาได้

วิรัติ   ความเว้น, งดเว้น; เจตนาที่งดเว้นจากความชั่ว; วิรัติ ๓ คือ ๑. สัมปัตตวิรัติ เว้นซึ่งได้สิ่งที่ประจวบเข้า ๒. สมาทานวิรัติ เว้นด้วยการสมาทาน ๓. สมุจเฉทวิรัติ เว้นได้โดยเด็ดขาด

วิราคะ   ความสิ้นกำหนัด, ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ, ความคลายออกได้หายติด เป็นไวพจน์ของนิพพาน

วิราคสัญญา  กำหนดหมายธรรมเป็นที่สิ้นราคะ หรือภาวะปราศจากราคะว่าเป็นธรรมละเอียด (ข้อ ๖ ในสัญญา ๑๐)

วิริยะ  ความเพียร, ความบากบั่น, ความเพียรเพื่อจะละความชั่ว ประพฤติความดี, ความพยายามทำกิจ ไม่ท้อถอย (ข้อ ๒ ในอิทธิบาท ๔)

วิริยารัมภะ  ปรารภความเพียร คือ ลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว, ระดมความเพียร (ข้อ ๔ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕, ข้อ ๗ ในลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘, ข้อ ๕ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๗ ในนาถกรณธรรม ๑๐)

วิริยารัมภกถา  ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร (ข้อ ๕ ในกถาวัตถุ ๑๐)

วิวัฏฏ์, วิวัฏฏะ  ปราศจากวัฏฏะ, ภาวะพ้นวัฏฏะ ได้แก่ นิพพาน

วิวัฏฏคามีกุศล  บุญกุศลที่ให้ถึงวิวัฏฏ์คือพระนิพพาน

วิวาท  การทะเลาะ, การโต้แย้งกัน, การกล่าวเกี่ยงแย่งกัน, กล่าวต่าง คือ ว่าไปคนละทาง ไม่ลงกันได้

วิวาทมูล  รากเหง้าแห่งการเถียงกัน,เหตุที่ก่อให้เกิดวิวาท กลายเป็นวิวาทาธิกรณ์ขึ้น มี ๒ อย่าง คือ ๑. ก่อวิวาทขึ้นด้วยความปรารถนาดี เห็นแก่ธรรมวินัย มีจิตประกอบด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ ๒. ก่อวิวาทด้วยความปรารถนาเลว ทำด้วยทิฏฐิมานะ มีจิตประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ

วิวาทมูลกทุกข์   ทุกข์มีวิวาทเป็นมูล, ทุกข์เกิดเพราะการทะเลาะกันเป็นเหตุ

วิวาทาธิกรณ์  วิวาทที่จัดเป็นอธิกรณ์, การวิวาทซึ่งเป็นเรื่องที่สงฆ์จะต้องเอาธุระดำเนินการพิจารณาระงับ ได้แก่ การเถียงกันปรารภพระธรรมวินัย เช่นเถียงกันว่า สิ่งนี้เป็นธรรม เป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ข้อนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ข้อนี้ไม่ได้ตรัสไว้ ดังนี้เป็นต้น

วิวาหะ  การแต่งงาน, การสมรส

วิเวก  ความสงัด มี ๓ คือ อยู่ในที่สงัดเป็น กายวิเวก จิตสงบเป็น จิตวิเวก หมดกิเลสเป็น อุปธิวิเวก

วิศวามิตร  ครูผู้สอนศิลปวิทยาแก่พระราชกุมารสิทธัตถะ

วิศาขนักษัตร  หมู่ดาวฤกษ์ชื่อวิศาขะ(ดาวคันฉัตร) เป็นหมู่ดาวฤกษ์ที่ ๑๖ มี ๕ ดวง ดู ดาวนักษัตร

วิศาขบูชา  การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ เพื่อรำลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระองค์; วิสาขบูชา ก็เขียน

วิศาขปุรณมี  วันเพ็ญเดือน ๖, วันกลางเดือน ๖, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖, ดิถีมีพระจันทร์เต็มดวง ประกอบด้วยวิศาขฤกษ์ (วิศาขนักษัตร)

วิศาล  กว้างขวาง, แผ่ไป

วิสภาค  มีส่วนไม่เสมอกัน คือขัดกันเข้ากันไม่ได้ ไม่ถูกกัน หรือไม่กลมกลืนกัน

วิสมปริหารชา อาพาธา  ความเจ็บไข้ที่เกิดจากบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ คือ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่พอดี

วิสสาสะ ๑. ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม การถือว่าเป็นกันเอง, ในทางพระวินัย การถือเอาของผู้อื่นที่จัดว่าเป็นการถือวิสสาสะ มีองค์ ๓ คือ ๑. เคยเห็นกันมา เคยคบกันมา หรือได้พูดกันไว้ ๒. เจ้าของยังมีชีวิตอยู่ ๓. รู้ว่าของนั้นเราถือเอาแล้วเขาจักพอใจ, บัดนี้นิยมเขียน วิสาสะ  ๒. ความนอนใจ ดังพุทธดำรัสว่า “ภิกษุเธอยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะแล้วอย่าได้ถึง วิสสาสะ (ความนอนใจ)”

วิสสาสิกชน  คนที่สนิทสนมคุ้นเคย, คนคุ้นเคยกัน, วิสาสิกชนก็ใช้

วิสังขาร  ธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง, ธรรมอันมิใช่สังขาร คือ พระนิพพาน

วิสัชชกะ  ผู้จ่าย, ผู้แจกจ่าย; ผู้ตอบ, ผู้วิสัชชนา

วิสัชชนา  คำตอบ, คำแก้ไข; คำชี้แจง (พจนานุกรม เขียน วิสัชนา)

วิสัญญี  หมดความรู้สึก, สิ้นสติ, สลบ;

วิสัย  ภูมิ, พื้นเพ, อารมณ์, เขต, แดน, ลักษณะที่เป็นอยู่, ไทยใช้ในความหมายว่า ขีดขั้นแห่งความเป็นไปได้ หรือ ขอบเขตความสามารถ

วิสาขบูชา  การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า,  วิศาขบูชา ก็เขียน

วิสาขปุรณมี  วันเพ็ญเดือน ๖, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ดู วิศาขปุรณมี

วิสาขมาส, เวสาขมาส  เดือน ๖

วิสาขา  ชื่อมหาอุบาสิกาสำคัญในครั้งพุทธกาล เป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐีและนางสุมนา เกิดที่เมืองภัททิยะในแคว้นอังคะ ได้บรรลุโสดาปัตติผลตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ต่อมาได้ย้ายตามบิดามาอยู่ที่เมืองสาเกตในแคว้นโกศลแล้วได้สมรสกับนายปุณณวัฒน์บุตรชายมิคารเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถีและย้ายไปอยู่ในตระกูลฝ่ายสามี นางสามารถกลับใจมิคารเศรษฐี บิดาของสามี ซึ่งนับถือนิครนถ์ ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา มิคารเศรษฐีนับถือนางมาก และเรียกนางวิสาขาเป็นแม่ นางวิสาขาจึงได้ชื่อใหม่อีกอยางหนึ่งว่า มิคารมารดา (มารดาของมิคารเศรษฐี) นางวิสาขาได้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์อย่างมากมาย และได้ให้ขายเครื่องประดับประจำตัวตั้งแต่แต่งงาน เรียกชื่อว่า มหาลดาปสาธน์ ซึ่งมีค่าสูงยิ่ง นำเงินมาสร้างวัดถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์คือ มิคารมาตุปราสาท วัดบุพพาราม ณ พระนครสาวัตถี นางวิสาขามีบุตรหลานมากมายล้วนมีสุขภาพดีแทบทั้งนั้น แม้นางจะมีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปี ก็ดูไม่แก่ และเป็นบุคคลที่ได้รับความนับถืออย่างกว้างขวางในสังคม ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาทายิกาทั้งปวง

วิสามัญ  แปลกจากสามัญ, ไม่ใช่ธรรมดา, ไม่ทั่วไป, เฉพาะ

วิสารท   แกล้วกล้า, ชำนาญ, ฉลาด

วิสาสะ  ดู วิสสาสะ

วิสาสิกชน  คนคุ้นเคย, ดู วิสสาสิกชน

วิสุงคาม  แผนกหนึ่งจากบ้าน, แยกต่างหากจากบ้าน

วิสุงคามสีมา  แดนแผนกหนึ่งจากแดนบ้าน คือ แยกต่างหากจากเขตบ้าน, ในที่นี้หมายถึง ที่ตั้งวัดที่พระเจ้าแผ่นดินประกาศพระราชทานให้แก่สงฆ์

วิสุทธิ  ความบริสุทธิ์, ความหมดจด, การชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ด้วยการบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมายคือพระนิพพาน มี ๗ ขั้น คือ ๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล ๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิตต์ ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง ๖.ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ กล่าวคือ มรรคญาณ

วิสุทธิเทพ  เทวดาโดยความบริสุทธิ์ได้แก่พระอรหันต์ (ข้อ ๓ ในเทพ ๓)

วิสุทธิมรรค  ปกรณ์พิเศษอธิบายศีลสมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ ๗ พระพุทธโฆสาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา; พระพุทธโฆสาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธเมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๕๖ เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยวชาญมาก ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ มีความสามารถมากได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น  พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกาเพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์ ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้คาถามา ๒ บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้ พระพุทธโฆส จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้งสองนั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงานแปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป พระพุทธโฆสาจารย์เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดมีผลงานมากที่สุด

วิสุทธิอุโบสถ  อุโบสถที่ประกอบด้วยความบริสุทธิ์ หรืออุโบสถที่ทำโดยที่ประชุมสงฆ์ซึ่งมีความบริสุทธิ์หมายถึง การทำอุโบสถซึ่งที่ประชุมมีแต่พระอรหันต์ล้วนๆ เช่น กล่าวถึงการประชุมพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูปคราวจาตุรงคสันนิบาต ว่าทำวิสุทธิอุโบสถ

วิสูตร  ม่าน

วิหาร  ที่อยู่, ที่อยู่ของพระสงฆ์;  ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่กับโบสถ์; การพักผ่อน, การเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิต

วิหารธรรม  ธรรมเป็นเครื่องอยู่, ธรรมประจำใจ, ธรรมที่เป็นหลักในการดำเนินชีวิต

วิหารวัตถุ  พื้นที่ปลูกกุฏิ วิหาร

วิหิงสา  การเบียดเบียน, การทำร้าย

วิหิงสาวิตก  ความตรึกในทางเบียดเบียน, ความคิดในทางทำลายหรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น (ข้อ ๓ ในอกุศลวิตก ๓)

วิเหสกกรรม กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก คือ ภิกษุผู้ประพฤติอนาจาร สงฆ์เรียกตัวมาถาม นิ่งเฉยเสียไม่ตอบ เรียกว่าเป็นผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก, สงฆ์ยกวิเหสกกรรมขึ้น คือสวดประกาศการที่เธอทำตัวเช่นนั้น ด้วยญัตติทุติยกรรมเมื่อสงฆ์สวดประกาศแล้วเธอยังขืนทำอย่างนั้นอีก ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สิกขาบทที่ ๒ ในภูตคามวรรคที่๒) คู่กับ อัญญวาทกกรรม

วีติกกมะ  การละเมิดพระพุทธบัญญัติ, การทำผิดวินัย

วีสติวรรค   สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวน ๒๐ รูป (ทำอัพภานได้) ดู วรรค

วุฏฐานะ   การออก เช่น ออกจากฌาน ออกจากอาบัติสังฆาทิเสส เป็นต้น

วุฏฐานคามินี  ๑. วิปัสสนาที่ให้ถึงมรรค, วิปัสสนาที่เจริญแก่กล้าถึงจุดสุดยอดทำให้เข้าถึงมรรค (มรรคชื่อว่าวุฎฐานะโดยความหมายว่าเป็นที่ออกไปได้จากสิ่งที่ยึดติดถือมั่น หรือออกไปพ้นจากสังขาร), วิปัสสนาที่เชื่อมต่อให้ถึงมรรค  ๒. “อาบัติที่ให้ถึงวุฏฐานวิธี” คือ อาบัติที่จะพ้นได้ด้วยอยู่กรรมหมายถึงอาบัติสังฆาทิเสส, คู่กับ เทสนาคามินี คืออาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดง (ตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมา)

วุฏฐานวิธี  ระเบียบเป็นเครื่องออกจากอาบัติ หมายถึงระเบียบวิธีปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้จะเปลื้องตนจากอาบัติหนักขั้นสังฆาทิเสส, มีทั้งหมด ๔ อย่างคือ ปริวาส มานัต อัพภาน และปฏิกัสสนา

วุฏฐานสมมติ  มติอนุญาตให้ออกจากความเป็นสิกขมานาเพื่ออุปสมบทเป็นภิกษุณี, นางสิกขมานาผู้สมาทานสิกขาบท ๖ ข้อ ตั้งแต่ปาณาติปาตาเวรมณี ถึงวิกาลโภชนา เวรมณี โดยมิได้ขาด ครบเวลา ๒ ปีแล้ว จึงมีสิทธิขอวุฏฐานสมมติ เพื่ออุปสมบทเป็นภิกษุณีต่อไป

วุฑฒิ  ธรรมเป็นเครื่องเจริญ, ธรรมเป็นเหตุให้ถึงความเจริญ มี ๔ อย่างคือ ๑. สัปปุริสสังเสวะ คบหาสัตบุรุษ ๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังสัทธรรม ๓. โยนิโสมนสิการ   ทำในใจโดยแยบคาย ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม, เรียกและเขียนเป็นวุฒิบ้าง วุฑฒิธรรมบ้าง วุฒิธรรมบ้าง, ในบาลีเรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อปัญญาวุฑฒิ หรือปัญญาวุฒิ คือเพื่อความเจริญแห่งปัญญา

วุฒบรรพชิต  ผู้บวชเมื่อแก่

วุฒิ  ความเจริญ, ความงอกงาม, ความเป็นผู้ใหญ่; ธรรมให้ถึงความเจริญ ดู วุฑฒิ
 
วุฒิ คือ ความเป็นผู้ใหญ่ ๓ อย่างที่นิยมพูดกันในภาษาไทยนั้นมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาและฎีกา ได้แก่ ๑. ชาติวุฒิ ความเป็นผู้ใหญ่โดยชาติ คือ เกิดในชาติกำเนิดฐานะอันสูง ๒. วัยวุฒิ ความเป็นผู้ใหญ่โดยวัย คือเกิดก่อน ๓. คุณวุฒิ ความเป็นผู้ใหญ่โดยคุณความดีหรือโดยคุณพิเศษที่ได้บรรลุ (ผลสำเร็จที่ดีงาม)
(อนึ่งในคัมภีร์ท่านมิได้กล่าวถึงภาวะแต่กล่าวถึงบุคคล คือไม่กล่าวถึงวุฒิแต่กล่าวถึงวุฑฒหรือวุฒ เป็น ชาติวุฒ วัยวุฒ คุณวุฒ; นอกจากนั้น ในอรรถกถาแห่งสุตตนิบาต ท่านแบ่งเป็น ๔, โดยเพิ่มปัญญาวุฒ ผู้ใหญ่โดยปัญญาเข้ามาอีกอย่างหนึ่ง และเรียงลำดับสำคัญในทางธรรม เมื่อเปลี่ยนวุฒ เป็น วุฒิ จะได้ดังนี้ ๑. ปัญญาวุฒิ ๒. คุณวุฒิ ๓. ชาติวุฒิ ๔. วัยวุฒิ)

เวท, พระเวท  ดู ไตรเพท

เวทนา  ความเสวยอารมณ์, ความรู้สึก, ความรู้สึกสุขทุกข์ มี ๓ อย่าง คือ ๑. สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบาย  ๒. ทุกขเวทนา   ความรู้สึกไม่สบาย ๓. อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ คือ เฉยๆ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา; อีกหมวดหนึ่งจัดเป็น เวทนา ๕ คือ ๑. สุข สบายกาย ๒. ทุกข์ ไม่สบายกาย ๓. โสมมนัส สบายใจ ๔. โทมนัส ไม่สบายใจ ๕. อุเบกขา เฉยๆ; ในภาษาไทย ใช้หมายความว่าเจ็บปวดบ้าง สงสารบ้าง ก็มี

เวทนาขันธ์  กองเวทนา (ข้อ ๒ ในขันธ์ ๕)

เวทนานุปัสสนา  สติตามดูเวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์เป็นอารมณ์โดยรู้เท่าทันว่า เวทนานี้ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา (ข้อ ๒ ในสติปัฏฐาน ๔)

เวทมนตร์  คำที่เชื่อถือว่าศักดิ์สิทธิ์บริกรรมแล้วให้สำเร็จความประสงค์

เวเนยยสัตว์  ดู เวไนยสัตว์

เวไนยสัตว์  สัตว์ผู้ควรแก่การแนะนำสั่งสอน, สัตว์ที่พึงแนะนำได้, สัตว์ที่พอดัดได้สอนได้

เวภารบรรพต  ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในภูเขาห้าลูก ที่เรียก เบญจคีรี อยู่ที่กรุงราชคฤห์

เวมานิกเปรต  เปรตอยู่วิมาน ได้เสวยสุขและทุกข์สลับกันไป บางตนข้างแรมเสวยทุกข์ ข้างขึ้นเสวยสุข บางตนกลางคืนเสวยสุข กลางวันเสวยทุกข์ เวลาเสวยสุขอยู่ในวิมาน มีร่างเป็นทิพย์สวยงาม เวลาจะเสวยทุกข์ต้องจากวิมานไป และร่างกายก็กลายเป็นผีน่าเกลียดน่ากลัว

เวยยาวัจจมัย  บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ, ทำดีด้วยการช่วยเหลือรับใช้ผู้อื่น (ข้อ ๕ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐); ไวยาวัจมัย ก็เขียน

เวร  ความแค้นเคือง, ความปองร้ายกัน, ความแก้เผ็ด, ความคิดร้ายตอบแก่ผู้ทำร้าย; ในภาษาไทยใช้อีกความหมายหนึ่งด้วยว่าคราว, รอบ , การผลัดกันเป็นคราวๆ, ตรงกับ วาร หรือวาระในภาษาบาลี

เวสสภู  พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า ๗

เวสารัชชกรณธรรม   ธรรมทำความกล้าหาญ, ธรรมเป็นเหตุให้กล้าหาญ, คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้ามี ๕ อย่างคือ ๑. ศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ๒. ศีล มีความประพฤติดีงาม ๓. พาหุสัจจะ   ได้สดับหรือศึกษามาก ๔. วิริยารัมภะ เพียรทำกิจอยู่อย่างจริงจัง ๕. ปัญญา รู้รอบและรู้ชัดเจนในสิ่งที่ควรรู้

เวสารัชชญาณ  พระปรีชาญาณอันทำให้พระพุทธเจ้าทรงมีความแกล้วกล้าไม่ครั่นคร้าม ด้วยไม่ทรงเห็นว่าจะมีใครท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรมในฐานะทั้ง ๔ คือ ๑. ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่รู้แล้ว ๒. ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว ๓. ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ๔. ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบได้จริง

เวสาลี ชื่อนครหลวงของแคว้นวัชชี ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกแห่งลำน้ำคันธกะบางทีเรียก ไพศาลี

เวหาสกุฎี  โครงที่ตั้งขึ้นในวิหาร ปักเสาตอม่อขึ้นแล้ววางรอดบนนั้น สูงพอศีรษะไม่กระทบพื้น ถ้าไม่ปูพื้นข้างบนก็เอาเตียงวางลงไป ให้พื้นเตียงคานรอดอยู่ ขาเตียงห้อยลงไป ใช้อยู่ได้ทั้งข้างบนข้างล่าง ข้างบนเรียกว่า เวหาสกุฎี เป็นของต้องห้ามตามสิกขาบทที่ ๘ แห่งภูตคามวรรค ปาจิตตีย์

เวฬุวะ  ผลมะตูม

เวฬุวคาม  ชื่อตำบลหนึ่งใกล้นครเวสาลีแคว้นวัชชี เป็นที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาในพรรษาที่ ๔๕ นับแต่ได้ตรัสรู้ คือพรรษาสุดท้ายที่จะเสด็จปรินิพพาน; เพฬุวคาม ก็เรียก

เวฬุวัน  ป่าไผ่ สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสาร อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระนครราชคฤห์ เป็นที่ร่มรื่นสงบเงียบ มีทางไปมาสะดวก พระเจ้าพิมพิสารถวายเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา

เวิกผ้า  ในประโยคว่า “เราจักไม่ไปในละแวกบ้านด้วยทั้งเวิกผ้า” เปิดสีข้างให้เห็น เช่นถกจีวรขึ้นพาดไว้บนบ่า

โวหาร  ถ้อยคำ, สำนวนพูด, ชั้นเชิงหรือกระบวนแต่งหนังสือ หรือพูด

ไวพจน์  คำที่มีรูปต่างกันแต่มีความหมายคล้ายกัน, คำสำหรับเรียกแทนกัน เช่น คำว่า มทนิมฺมทโน เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ วิราคะ คำว่า วิมุตติ วิสุทธิ สันติ อสังขตะ วิวัฏฏ์ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของนิพพาน ดังนี้เป็นต้น

ไวยากรณ์  ๑. ระเบียบของภาษา, วิชาว่าด้วยระเบียบแห่งภาษา  ๒. คำหรือข้อความที่เป็นร้อยแก้ว, ความร้อยแก้ว ดู นวังคสัตถุศาสน์

ไวยาวัจกร  ผู้ทำกิจธุระแทนสงฆ์, ผู้ช่วยขวนขวายทำธุระ, ผู้ช่วยเหลือรับใช้พระ

ไวยาวัจจะ  การขวนขวายช่วยทำกิจธุระ; การช่วยเหลือรับใช้

ไวยาวัจมัย  ดู เวยยาวัจจมัย



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 สิงหาคม 2556 14:23:47 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2556 14:44:05 »

.

หมวดพยัญชนะ


ศตมวาร  วันที่ ๑๐๐, วันที่ครบ ๑๐๐

ศรัทธา   ความเชื่อ, ความเชื่อถือ; ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม ดู สัทธา

ศรัทธาไทย  ของที่เขาถวายด้วยศรัทธา

ศราทธ์  การทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว (ต่างจาก สารท)

ศรี  มิ่งขวัญ, ราศี, อาการที่น่านิยม

ศรีอารยเมตไตรย  พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ซึ่งจะอุบัติขึ้นในภายหน้า หลังจากสิ้นศาสนาพระโคดมแล้ว ในคราวที่มนุษย์มีอายุยืน ๘๐,๐๐๐ ปี นับเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๕ แห่งภัทรกัปนี้; ดู พระพุทธเจ้า ๕

ศักดิ์  อำนาจ, ความสามารถ, กำลัง, ฐานะ

ศักดินา  อำนาจปกครองที่นา หมายความว่าพระมหากษัตริย์พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้านาย และขุนนางเป็นต้น ถือนาได้มีกำหนดจำนวนไร่ เป็นเรือนหมื่นเรือนพันตามฐานานุรูป การพระราชทานให้ถือศักดินานั้น เป็นเครื่องเทียบยศและเครื่องปรับผู้ก้ำเกิน หรือเป็นเครื่องปรับผู้ถือศักดินานั่นเอง เมื่อทำผิด

ศักดิ์สิทธิ์  ขลัง, มีความสำเร็จตามอำนาจ

ศัพท์   เสียง, คำ, คำยากที่ต้องแปล, คำยากที่ต้องอธิบาย

ศัสตรา   ของมีคมเป็นเครื่องแทงฟัน

ศัสตราวุธ  อาวุธมีคมเป็นเครื่องฟันแทง (ศัสตรา =ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง, อาวุธ = เครื่องประหาร)

ศากยะ  ชื่อกษัตริย์พวกหนึ่ง ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากราชซึ่งเป็นผู้สร้างและครองกรุงกบิลพัสดุ์พระพุทธเจ้าก็เป็นกษัตริย์วงศ์นี้; ศากยะ เป็นคำสันสกฤต เรียกอย่างบาลีเป็น สักกะบ้าง, สักยะบ้าง, สากิยะบ้าง, ศากยะ หรือสักกะนี้ ใช้เป็นคำเรียกชื่อถิ่นหรือแคว้นของพวกเจ้าศากยะด้วย ดู สักกชนบท

ศากยกุมาร  กุมารวงศ์ศากยะ, เจ้าชายวงศ์ศากยะ

ศากยตระกูล  ตระกูลศากยะ, วงศ์ศากยะ

ศากยราช   กษัตริย์ศากยะ, พระเจ้าแผ่นดินวงศ์ศากยะ

ศากยวงศ์  เชื้อสายพวกศากยะ

ศากยสกุล  ตระกูลศากยะ, เหล่ากอพวกศากยะ

ศาสดา  ผู้อบรมสั่งสอน, เป็นพระนามอย่างหนึ่งที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้า;  ปัจจุบันใช้เรียกผู้ตั้งศาสนาโดยทั่วไป, ในพุทธกาล ครูทั้ง ๖ คือ ปูรณกัสสปมักขลิโคสาล
อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถนาฏบุตร ถ้าเรียกตามบาลีก็เป็นศาสดา ๖

ศาสตร์  ตำรา, วิชา

ศาสนา  คำสอน, คำสั่งสอน; ปัจจุบันใช้หมายถึงลัทธิความเชื่อถืออย่างหนึ่งๆ พร้อมด้วยหลักคำสอน ลัทธิพิธี องค์การ และกิจการทั่วไปของหมู่ชนผู้นับถือลัทธิความเชื่อถืออย่างนั้นๆ ทั้งหมด

ศาสนูปถัมภก  ผู้ทะนุบำรุงศาสนา

ศิลปะ  ฝีมือ, ความฉลาดในฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การแสดงออกมาให้ปรากฏอย่างงดงามน่าชม, วิชาที่ใช้ฝีมือ, วิชาชีพต่างๆ

ศิลปวิทยา ศิลปะและวิทยาการ

ศิลปศาสตร์ ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่างๆ มี ๑๘ ประการ เช่น ตำราว่าด้วยการคำนวณ ตำรายิงธนู เป็นต้น อันได้มีการเรียนการสอนกันมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล; ๑๘ ประการนั้นมีหลายแบบ ยกมาดูแบบหนึ่งจากคัมภีร์โลกนิติ และธรรมนิติ ได้แก่ ๑. สูติ ความรู้ทั่วไป ๒.สัมมติ ความรู้กฎธรรมเนียม ๓.สังขยา คำนวณ ๔.โยคยันตร์ การช่างการยนตร์ ๕. นีติ  นิติศาสตร์ ๖. วิเสสิกา ความรู้การอันให้เกิดมงคล ๗.คันธัพพา วิชาร้องรำ ๘. คณิกา วิชาบริหารร่างกาย ๙. ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา โบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาแพทย์ ๑๒. อิติหาสา ตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ ดาราศาสตร์ ๑๔. มายา ตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา การประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชามนต์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์, ทั้ง ๑๘ อย่างนี้โบราณเรียกรวมว่าสิปปะ หรือศิลปะ ไทยแปลออกเป็นศิลปศาสตร์ (ตำราว่าด้วยศิลปะต่างๆ);แต่ในสมัยปัจจุบัน ได้แยกความหมายศิลปะ กับ ศาสตร์ ออกจากกัน คือ ศิลปะ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรงความงาม เช่น ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ และจิตรกรรม เป็นต้น ศาสตร์ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรงความจริง เช่น คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

ศิลาดวด  หินที่สูงขึ้นไปบนพื้นดิน

ศิลาดาด   หินที่เป็นแผ่นราบใหญ่

ศิลาเทือก  หินที่ติดเป็นพืดยาว

ศิลาวดี   ชื่อนครหนึ่งในสักกชนบท

ศิวาราตรี  พิธีลอยบาปของพราหมณ์ทำในวันเพ็ญเดือน ๓ เป็นประจำปี วิธีทำคือ ลงอาบน้ำในแม่น้ำ สระเกล้า ชำระกายให้สะอาดหมดจดเท่านี้ถือว่าได้ลอยบาปไปตามกระแสน้ำแล้วเป็นอันสิ้นบาปกันคราวหนึ่งถึงปีก็ทำใหม่ (คำสันสกฤตเดิมเป็นศิวราตริ แปลว่า ราตรีของพระศิวะพจนานุกรมสันสกฤตว่า ตรงกับแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓)

ศีล   ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการเว้นความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาและอาชีพ; มักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า อธิศีลสิกขา

ศีลธรรม   ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ความประพฤติดีงาม; นิยมแปลกันว่าศีลและธรรม โดยถือว่า ศีลหมายถึง เว้นชั่วหรือเว้นจากข้อห้าม ธรรม หมายถึงประพฤติดี หรือทำตามคำแนะนำสั่งสอน, แต่แปลตามหลักว่าธรรมขั้นศีล เพราะศีลเป็นธรรมอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับสมาธิและปัญญา (ในไตรสิกขา)

ศีลวัตร, ศีลพรต  ศีลและวัตร, ศีลและพรต, ข้อที่จะต้องสำรวมระวังไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่า ศีล ข้อที่พึงถือปฏิบัติชื่อว่า วัตร, หลักความประพฤติทั่วไปอันจะต้องรักษาเสมอกัน ชื่อว่า ศีล ข้อปฏิบัติพิเศษเพื่อฝึกฝนตนให้ยิ่งขึ้นไป ชื่อว่า วัตร

ศีลวิบัติ  ดู สีลวิบัติ

ศีล ๕  สำหรับทุกคน คือ ๑. เว้นจากการทำลายชีวิต ๒.เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๔. เว้นจาการพูดเท็จ ๕. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท; คำสมาทานว่า ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ๒. อทินฺนาทานา- ๓. กาเมสุมิจฺฉาจารา- ๔. มุสาวาทา- ๕. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา- (คำต่อท้ายเหมือนข้อ๑); ดู อาราธนาศีล ด้วย

ศีล ๘   สำหรับฝึกตนให้ยิ่งขึ้นไปโดยรักษาในบางโอกาส หรือมีศรัทธาจะรักษาในบางโอกาส หรือมีศรัทธาจะรักษาประจำก็ได้ เช่น แม่ชีมักรักษาประจำ หัวข้อเหมือนศีล ๕ แต่เปลี่ยน ข้อ ๓ และเติมข้อ ๖-๗-๘ คือ ๓. เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี ๖. เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป ๗. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง ๘. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่หรูหราฟุ่มเฟือย; คำสมาทาน (เฉพาะที่ต่างจากศีล ๕) ว่า ๓. อพฺรหฺมจริยา ๖. วิกาลโภชนา-  ๗. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา  มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฐานา- ๘. อุจฺจาสยนมหาสยนา- (คำต่อท้ายเหมือนข้อ ๑ ในศีล ๕); ดู อาราธนาศีล ด้วย

ศีล ๑๐  สำหรับสามเณร แต่ผู้ใดศรัทธาจะรักษาก็ได้ หัวข้อเหมือนศีล ๘ แต่แยกข้อ ๗ เป็น ๒ ข้อ (=๗-๘)เลื่อนข้อ ๘  เป็น  ๙  และเติมข้อ  ๑๐ คือ ๗. เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ฯลฯ ๘. เว้นจากการทัดทรงดอกไม้ ฯลฯ ๙.  เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ ฯลฯ ๑๐. เว้นจากการรับทองและเงิน; คำสมาทาน (เฉพาะที่ต่าง) ว่า ๗. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา- ๘. มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา- ๙ .อุจฺจาสยนมหาสยนา- ๑๐. ชาตรูปรชตปฏิคฺคหณา- (คำต่อท้าย เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาธิยามิ เหมือนกันทุกข้อ); ดู อาราธนาศีล ด้วย

ศีล ๒๒๗  ศีลสำหรับพระภิกษุ มีในภิกษุปาฏิโมกข์

ศีล ๓๑๑  ศีลสำหรับพระภิกษุณี มีในภิกขุนีปาฏิโมกข์

ศีลอุโบสถ  คือ ศีล ๘ ที่สมาทานรักษาพิเศษในวันอุโบสถ ดู อุโบสถศีล

ศีลาจาร   ศีลและอาจาระ, การปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัติ และมารยาททั่วไป; นัยหนึ่งว่า ศีล คือไม่ต้องอาบัติปาราชิกและสังฆาทิเลส อาจาระ คือ ไม่ต้องอาบัติเบาตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมา

ศึกษา   การเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม, ในพระพุทธศาสนา ได้แก่ สิกขา

ศุกลปักษ์   ซีกสว่าง คือ ข้างขึ้น

ศุภวารฤกษ์   ฤกษ์งามยามดี

ศูทร  ชื่อวรรณะที่สี่ ในวรรณะสี่ ของคนในชมพูทวีป ตามหลักศาสนาพราหมณ์ จัดเป็นชนชั้นต่ำ ได้แก่พวกทาสและกรรมกร ดู วรรณะ

เศวต  สีขาว

เศวตฉัตร  ฉัตรขาว, ร่มขาว, พระกลดขาวซึ่งนับว่าเป็นของสูง

เศวตอัสดร  ม้าสีขาว

โศก   ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ, ความแห้งใจ

โศกศัลย์  ลูกศรคือความโศก, เป็นทุกข์เดือดร้อนเหมือนถูกศรแทง

โศกาลัย  ความเศร้าเหี่ยวแห้งใจและความห่วงใย, ทั้งโศกเศร้าทั้งอาลัยหรือโศกเศร้าด้วยอาลัย, ร้องไห้สะอึกสะอื้น (เป็นคำกวีไทยผูกขึ้น)

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2556 15:32:05 »

.

หมวดพยัญชนะ


สกทาคามิผล ผลที่ได้รับจากการละสักกายทิฏฐิ  วิจิกิจฉา  สีลัพพตปรามาส กับทำ ราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง ซึ่งสืบเนื่องมาแต่สกทาคามิมรรค, สกิทาคามิผล  ก็เขียน

สกทาคามิมรรค  ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล  คือความเป็นพระสกทาคามี, ญาณคือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ  วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำ  ราคะ โทสะ โมหะ  ให้เบาบางลง, สกิทาคามิมรรค ก็เขียน

สกทาคามี พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุสกทาคามิผล,  สกิทาคามี  ก็เขียน

สกสัญญา ความสำคัญว่าเป็นของตน, นึกว่าเป็นของตนเอง

สกุล วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์

สงกรานต์  การย้าย  คือ  ดวงอาทิตย์ย้ายราศี ในที่นี้หมายถึงมหาสงกรานต์  คือพระอาทิตย์ย้ายเข้าสู่ราศีเมษ  นับเป็นเวลาขึ้นปีใหม่อย่างเก่า  ดเป็นนักขัตฤกษ์ ซึ่งตามสุริยคติตกวันที่ ๑๓,  ๑๔, ๑๕ เมษายน ตามปรกติ

สงคราม   การรบกัน, เป็นโวหารทางพระวินัย เรียกภิกษุผู้จะเข้าสู่การวินิจฉัยอธิกรณ์ ว่าเข้าสู่สงคราม

สงเคราะห์ ๑. การช่วยเหลือ, การเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ดู สังคหวัตถุ  ๒. การรวมเข้า, ย่นเข้า, จัดเข้า

สงฆ์ หมู่, ชุมนุม ๑. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ  ประกอบด้วยคู่บุรุษ  ๔  บุรุษบุทคล  ๘  เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค  จนถึงพระอรหันต์ต่างจาก ภิกขุสงฆ์ คือ  หมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ  (ดูความหมาย  ๒),  ต่อมา  บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า  สมมติสงฆ์ ๒. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง

สงฆ์จตุรวรรค สงฆ์พวก ๔ คือ มีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไปจึงจะครบองค์กำหนด, สงฆ์จตุวรรค ก็เขียน  ดู วรรค

สงฆ์ทศวรรค สงฆ์พวก ๑๐ คือ มีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด  ดู วรรค

สงฆ์ปัญจวรรค สงฆ์พวก ๕ คือ มีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด  ดู วรรค

สงฆมณฑล  หมู่พระ, วงการพระ

สงฆ์วีสติวรรค สงฆ์พวก ๒๐ คือ มีภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด  ดู  วรรค

สงสาร ๑. การเวียนว่ายตายเกิด,การเวียนตายเวียนเกิด ๒. ในภาษาไทยมักหมายถึงรู้สึกในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น (= กรุณา)

สงสารทุกข์ ทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด

สงสารวัฏฏ์   วังวนแห่งสงสาร คือ ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

สงสารสาคร ห้วงน้ำคือการเวียนว่ายตายเกิด

สจิตตกะ มีเจตนา,  เป็นไปโดยตั้งใจ, เป็นชื่อของอาบัติพวกหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยสมุฏฐานมีเจตนา  คือ  ต้องจงใจทำจึงจะต้องอาบัตินั้น  เช่น ภิกษุหลอน ภิกษุให้กลัวผี ต้องปาจิตตีย์ ข้อนี้เป็นสจิตตกะ คือ  ตั้งใจหลอกจึงต้องปาจิตตีย์แต่ถ้าไม่ได้ตั้งใจจะหลอก  ไม่ต้องอาบัติ

สญชัย  ดู สัญชัย

สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้  (ข้อ ๑ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒, ข้อ ๓ ในพละ ๕, ข้อ  ๑ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๖ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๙ ในนาถกรณธรรม ๑๐)

สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ,  ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่าง ๆ  และความเป็นไปทั้งหลาย  โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส  มี  ๔ อย่างคือ ๑.กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย ๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา ๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน  การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต ๔. ธัมมานุปัสสนา  สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม; เรียกสั้น ๆ ว่ากาย เวทนา จิต ธรรม

สติวินัย  ระเบียบยกเอาสติขึ้นเป็นหลักได้แก่กิริยาที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ ว่าเป็นผู้มีสติเต็มที่ เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ ที่มีผู้โจทท่านด้วยศีลวิบัติ หมายความว่าจำเลยเป็นพระอรหันต์ สงฆ์เห็นว่าไม่เป็นฐานะที่จำเลยจะทำการล่วงละเมิดดังโจทก์กล่าวหา จึงสวดกรรมวาจาประกาศความข้อนี้ไว้ เรียกว่าให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสียภายหลังจำเลยจะถูกผู้อื่นโจทด้วยอาบัติอย่างนั้นอีก ก็ไม่ต้องพิจารณา ให้อธิกรณ์ระงับด้วยสติวินัย

สติสังวร  ดู  สังวร

สติสมฺโมสา  อาการที่จะต้องอาบัติด้วยลืมสติ

สตูป  สิ่งก่อสร้างสำหรับบรรจุของควรบูชา  นิยมเรียก สถูป

สเตกิจฉา  อาบัติที่ยังพอเยียวยาหรือแก้ไขได้  ด้แก่ อาบัติอย่างกลางและอย่างเบา คือตั้งแต่สังฆาทิเลสลงมา; คู่กับ อเตกิจฉา

สถลมารค  ทางบก

สถาปนา  ก่อสร้าง, ยกย่องโดยแต่งตั้งให้สูงขึ้น

สถาพร  มั่นคง, ยั่งยืน, ยืนยง

สถิต อยู่, ยืนอยู่, ตั้งอยู่

สถูป  สิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา  เป็นอนุสรณ์ที่เตือนใจให้เกิดปสาทะและกุศลธรรมอื่น ๆ  เช่น  พระสารีริกธาตุ  อัฐิแห่งพระสาวกหรือกระดูกแห่งบุคคลที่นับถือ (บาลี: ถูป, สันสกฤต: สฺตูป) ดู ถูปารหบุคคล

สทารสันโดษ  ความพอใจด้วยภรรยาของตน,  ความยินดีเฉพาะภรรยาของตน  (ข้อ  ๓  ในเบญจธรรม),  จัดเป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่ง

สนตพาย ร้อยเชือกสำหรับร้อยจมูกควาย ที่จมูกควาย (สน=ร้อย,  ตพาย=เชือกที่ร้อยจมูกควาย) (พจนานุกรมเขียน  ตะพาย)

สนาน  อาบน้ำ, การอาบน้ำ

สบง  ผ้านุ่งของภิกษุสามเณร, คำเดิมเรียก อันตรวาสก;  ดู ไตรจีวร

สปทานจาริกังคะ  องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร  คือ รับตามแถวเดียวกัน ไม่รับข้ามแถว หรือนัยหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตไปตามตรอกตามห้องแถวที่เป็นแนวเดียวกัน ไม่รับที่โน้นบ้างที่นี่บ้างตามใจชอบ (ข้อ ๔ ในธุดงค์ ๑๓)

สปิณฑะ ผู้ร่วมก้อนข้าว, พวกพราหมณ์หมายเอาบุรพบิดร ๓ ชั้น คือ บิดา, ปู่, ทวด ซึ่งเป็นผู้ควรที่ลูกหลานเหลนจะเซ่นด้วยก้อนข้าว

สพรหมจารี  ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน,  เพื่อนพรหมจรรย์, เพื่อนบรรพชิต, เพื่อนนักบวช

สภา  “ที่เป็นที่พูดร่วมกัน”, ที่ประชุม, สถาบันหรือองค์การอันประกอบด้วยคณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยหรืออำนวยกิจการ  ด้วยการประชุมปรึกษาหารือออกความคิดเห็นร่วมกัน

สภาค มีส่วนเสมอกัน, เท่ากัน, ถูกกัน, เข้ากันได้, พวกเดียวกัน

สภาคาบัติ  ต้องอาบัติอย่างเดียวกัน

สภาพ, สภาวะ ความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเอง, ธรรมดา

สภาวทุกข์ ทุกข์ที่เป็นเองตามคติแห่งธรรมดา ได้แก่  กข์ประจำสังขาร  คือ ชาติ ชรา มรณะ

สภาวธรรม หลักแห่งความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย

สภิยะ พระเถระผู้ใหญ่ชั้นมหาสาวก  เคยเป็นปริพาชกมาก่อน  ได้ฟังพระพุทธเจ้าพยากรณ์ปัญหาที่ตนถาม  มีความเลื่อมใส  ขอบวช  หลังจากบวชแล้วไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหัต

สโภชนสกุล สกุลที่กำลังบริโภคอาหารอยู่, ครอบครัวที่กำลังบริโภคอาหารอยู่  (ห้ามมิให้ภิกษุเข้าไปนั่งแทรกแซงตามสิขาบทที่ ๓ แห่งอเจลกวรรคปาจิตติยกัณฑ์)

สมจารี ผู้ประพฤติสม่ำเสมอ, ประพฤติถูกต้องเหมาะสม (มาคู่กับธรรมจารี)

สมโจร  เป็นใจกับโจร

สมชีวิตา มีความเป็นอยู่พอเหมาะพอดี คือเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ฝืดเคืองนัก ไม่ฟูมฟายนัก (ข้อ ๔ ในทิฏฐธัมมิกัตถฯ ๔)

สมณะ  ผู้สงบ หมายถึงนักบวชทั่วไปแต่ในพระพุทธศาสนา  ท่านให้ความหมายจำเพาะ หมายถึงผู้ระงับบาปได้แก่พระอริยบุคคล  และผู้ปฏิบัติเพื่อระงับบาป ได้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอริยบุคคล

สมณคุณ คุณธรรมของสมณะ, ความดีที่สมณะควรมี

สมณโคดม  คำที่คนทั่วไปหรือคนภายนอกพระศาสนา  นิยมใช้เรียกพระพุทธเจ้า

สมณพราหมณ์ สมณะและพราหมณ์  (เคยมีการสันนิษฐานว่าอาจแปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า  พราหมณ์ผู้เป็นสมณะหรือพราหมณ์ผู้ถือบวช  แต่หลักฐานไม่เอื้อ)

สมณวัตต์  ดู สมณวัตร

สมณวัตร  หน้าที่ของสมณะ,  กิจที่พึงทำของสมณะ,  ข้อปฏิบัติของสมณะ

สมณวิสัย  วิสัยของสมณะ, ลักษณะที่เป็นอยู่ของสมณะ, ลักษณะที่เป็นอยู่ของผู้สงบ

สมณสัญญา ความสำคัญว่าเป็นสมณะ, ความกำหนดใจไว้ว่าตนเป็นสมณะ, ความสำนึกในความเป็นสมณะของตน

สมณสารูป ความประพฤติอันสมควรของสมณะ

สมณุทเทส, สมณุเทศ  สามเณร

สมเด็จ เป็นคำยกย่อง หมายความว่า ยิ่งใหญ่ หรือประเสริฐ

สมถะ  ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต,  ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ (ข้อ ๑ ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)

สมถกัมมัฏฐาน  กรรมฐานคือสมถะ, งานฝึกจิตให้สงบ ดู สมถะ

สมถขันธกะ  ชื่อขันธกะที่ ๔ แห่งจุลวรรค  ในพระวินัยปิฎก  ว่าด้วยวิธีระงับอธิกรณ์

สมถภาวนา  การเจริญสมถกัมมัฏฐานทำจิตให้แน่วแน่เป็นสมาธิ  ดู  ภาวนาสมถยานิก  ผู้มีสมถะเป็นยาน  หมายถึงผู้เจริญสมถกรรมฐาน  จนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อ

สมถวิธี  วิธีระงับอธิกรณ์  ดู  อธิกรณสมถะ

สมถวิปัสสนา   สมถะและวิปัสสนา

สมนุภาสนา การสวดสมนุภาสน์, สวดประกาศห้ามไม่ให้ถือรั้นการอันมิชอบ
สมบัติ ๑  ความถึงพร้อม, สิ่งที่ได้ที่ถึงด้วยดี, เงินทองของมีค่า, สิ่งที่มีอยู่ในสิทธิอำนาจของตน,  ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์, สมบัติ ๓ ได้แก่ มนุษยสมบัติ สมบัติในขั้นมนุษย์  สวรรคสมบัติ   สมบัติในสวรรค์  (เทวสมบัติ  หรือทิพยสมบัติก็เรียก) และนิพพานสมบัติ   สมบัติคือนิพพาน

สมบัติ ๒ ความถึงพร้อม, ความสมบูรณ์, ความครบถ้วนของสังฆกรรม เช่น  อุปสมบท เป็นต้น ที่จะทำให้สังฆกรรมนั้นถูกต้อง ใช้ได้ มีผลสมบูรณ์  มี ๔ คือ ๑. วัตถุสมบัติ   วัตถุถึงพร้อม  เช่น  ผู้อุปสมบทเป็นชายอายุครบ ๒๐ ปี ๒. ปริสสมบัติ   บริษัทคือที่ประชุมถึงพร้อม  สงฆ์ครบองค์กำหนด  ๓. สีมาสมบัติ   เขตชุมนุมถึงพร้อม  เช่น  สีมามีนิมิตถูกต้องตามพระวินัย  และประชุมทำในเขตสีมา ๔. กรรมวาจาสมบัติ   กรรมวาจาถึงพร้อม  สวดประกาศถูกต้องครบถ้วน  (ข้อ ๔ อาจแยกเป็น  ๒  ข้อ  คือเป็น ๔ ญัตติสมบัติ ญัตติถึงพร้อม คือคำเผดียงสงฆ์ถูกต้อง ๕. อนุสาวนาสมบัติ   อนุสาวนาถึงพร้อมคำหารือตกลงถูกต้อง  รวมเป็นสมบัติ  ๕); เทียบ วิบัติ
สมบัติของอุบาสก ๕ คือ ๑. มีศรัทธา ๒. มีศีลบริสุทธิ์ ๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว  เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล ๔. ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา ๕. ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา (ข้อ ๕ ตามแบบเรียนว่าบำเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา)

สมผุส  เป็นคำเฉพาะในโหราศาสตร์  หมายถึงการคำนวณชนิดหนึ่ง  เกี่ยวกับโลกและดาวนพเคราะห์เล็งร่วมกันและ  ดู  มัธยม

สมพงศ์ การร่วมวงศ์หรือตระกูลกัน, ร่วมวงศ์กันได้ ลงกันได้

สมเพช   ในภาษาไทย  ใช้ในความหมายว่า สลดใจ ทำให้เกิดความสงสารแต่ตามหลักภาษาตรงกับ  สังเวช

สมโพธิ การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

สมโภค การกินร่วม; ดู  กินร่วม

สมโภช งานฉลองในพิธีมงคลเพื่อความรื่นเริงยินดี

สมภพ  การเกิด

สมมติ การรู้ร่วมกัน, การตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน; การที่สงฆ์  ประชุมกันตกลงมอบหมายหรือแต่งตั้งภิกษุให้ทำกิจหรือเป็นเจ้าหน้าที่ในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น  สมมติภิกษุเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณี  สมมติภิกษุเป็นภัตตุเทศก์  เป็นต้น; ในภาษาไทย  ใช้ในความหมายว่า  ตกลงกันว่า ต่างว่า

สมมติเทพ  เทวดาโดยสมมติ  คือโดยความตกลงหรือยอมรับร่วมกันของมนุษย์  ได้แก่พระราชา  พระราชเทวี  พระราชกุมาร  (ข้อ ๑ ในเทพ ๓)

สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ  คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์  เช่น  นาย  ก. นาย  ข. ช้าง  ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน  เป็นต้น ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว  ก็เป็นเพียง สังขาร  หรือนามรูป  หรือขันธ์  ๕  เท่านั้น;  คู่กับปรมัฅถสัจจะ

สมรภูมิ  ที่ร่วมตาย,  สนามรบ

สมันตจักขุ  จักษุรอบคอบ,  ตาเห็นรอบ  ได้แก่พระสัพพัญฌุตญาณ  อันหยั่งรู้  ธรรมทุกประการ  เป็นคุณสมบัติพิเศษของพระพุทธเจ้า  ข้อ  ๕  ในจักขุ  ๕)

สมัย  คราว,  เวลา;  ลัทธิ;  การประชุม;  การตรัสรู้

สมาคม  การประชุม,  การเข้าร่วมพวกรวมคณะ

สมาจาร  ความประพฤติที่ดี;  มักใช้ ในความหมายที่เป็นกลาง  ๆ  ว่า  ความประพฤติ  โดยมีคำอื่นประกอบขยายความ  เช่น  กายสมาจาร  วจีสมาจาร  ปาปสมาจาร  เป็นด้น

สมาทปนา  การให้สมาทาน  หรือชวนให้ปฎิบัติคือ อธิบายให้เห็นว่าเป็นความจริง  ดีจริง  จนใจยอมรับที่จะนำ ไปปฎิบัติ; เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการสอนที่ดี  (ข้อก่อนคือสันทัสสนา, ข้อต่อไปคือ  สมุตเตชนา)

สมาทาน การถือเอารับเอาเป็นข้อปฏิบัติ, การถือปฏิบัติ เช่น สมาทานศีล  คือรับเอาศีลมาปฏิบัติ

สมาทานวัตร  ดู  ขึ้นวัตร

สมาทานวิรัติ  การเว้นด้วยการสมาทาน คือ ได้สมาทานศีลไว้ก่อนแล้ว เมื่อประสบเหตุที่จะให้ทำความชั่ว ก็งดเว้นได้ตามที่สมาทานนั้น (ข้อ ๒ ในวิรัติ ๓)

สมาธิ  ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ  มักใช้เป็นคำเรียกง่าย  ๆ  สำหรับอธิจิตตสิกขา; ดู  เอกัคคตา,  อธิจิตตสิกขา

สมาธิ ๒  คือ  ๑. อุปจารสมาธิ สมาธิจวนเจียน  หรือสมาธิเฉียด ๆ  ๒. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่

สมาธิ ๓ คือ ๑. สุญญตสมาธิ  ๒. อนิมิตตสมาธิ  ๓. อัปปณิหิฅสมาธิ; อีกหมวดหนึ่ง  ได้แก่ ๑. ขณิกสมาธิ  ๒. อุปจารสมาธิ  ๓. อัปปนาสมาธิ

สมาธิกถา ถ้อยดำที่ชักชวนให้ทำใจให้สงบตั้งมั่น (ข้อ ๗ ในกถาวัตถุ ๑๐)

สมาธิขันธ์ หมวดธรรมจำพวกสมาธิ เช่น ฉันทะ วิริยะ จิตตะ ชาคริยานุโยค  กายคตาสติ เป็นต้น

สมานกาล  เวลาปัจจุบัน

สมานฉันท์ มีความพอใจร่วมกัน, พร้อมใจกัน

สมานลาภสีมา แดนมีลาภเสมอกัน ได้แก่เขตที่สงฆ์ตั้งแต่ ๒ อาวาสขึ้นไป  ทำกติกากันไว้ว่า ลาภเกิดขึ้นในอาวาสหนึ่ง  สงฆ์อีกอาวาสหนึ่งมีส่วนได้รับแจกด้วย;  ดู กติกา ด้วย

สมานสังวาส มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมเสมอกัน, ผู้ร่วมสังวาส หมายถึง ภิกษุสงฆ์ผู้สามัคคีร่วมอุโบสถสังฆกรรมกัน;  เหตุให้ภิกษุผู้แตกกันออกไปแล้วกลับเป็นสมานสังวาสกันได้อีก  มี ๒ อย่าง  คือ ๑. ทำตนให้เป็นสมานสังวาสเอง  คือ  สงฆ์ปรองดองกันเข้าได้  หรือภิกษุนั้นแตกจากหมู่แล้วกลับเข้าหมู่เดิม  ๒. สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรมที่ลงโทษภิกษุนั้น  แล้วรับเข้าสังวาสตามเดิม

สมานสังวาสสีมา แดนมีสังวาสเสมอกัน, เขตที่กำหนดความพร้อมเพรียง และสิทธิในการเข้าอุโบสถปวารณา และสังฆกรรมด้วยกัน

สมานัตตตา  ความเป็นผู้มีตนเสมอ หมายถึง การทำตัวให้เข้ากันได้  ด้วยการร่วมสุขร่วมทุกข์ ไม่ถือตัว มีความเสมอภาค และวางตัวเหมาะสม (ข้อ ๔ ในสังคหวัตถุ ๔)

สมานาจริยกะ ภิกษุผู้ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน

สมานาสนิกะ ผู้ร่วมอาสนะกัน หมายถึง ภิกษุผู้มีพรรษารุ่นราวคราวเดียวกัน  แก่หรืออ่อนกว่ากันไม่ถึง ๓ พรรษา นั่งร่วมอาสนะเสมอกันได้ เทียบ อสมานาสนิกะ

สมานุปัชฌายกะ ภิกษุผู้ร่วมพระอุปัชฌายะเดียวกัน

สมาโนทก   ผู้ร่วมน้ำ, ตามธรรมเนียมพราหมณ์ หมายถึง บุรพบิดรพ้นจากทวดขึ้นไปก็ดี ญาติผู้มิได้สืบสายตรงก็ดี ซึ่งเป็นผู้จะพึงได้รับนํ้ากรวด  คู่กับสปิณฑะ)

สมาบัติ  ภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง;  สมาบัติมีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ อนุปุพพวิหารสมาบัติ เป็นต้น  สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ  ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ ๘ อันได้แก่ รูป ฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ถ้าเพิ่มนิโรธสมาบัติต่อท้ายสมาบัติ  ๘ นี้ รวมเรียกว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙

สมุจจยขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๓ ในจุลวรรคแห่งพระวินัยปิฎก ว่าด้วยวุฏฐานวิธีบางเรื่อง

สมุจเฉท  การตัดขาด

สมุจเฉทปหาน การละกิเลสได้โดยเด็ดขาดด้วยอริยมรรค

สมุจเฉทวิมุตติ หลุดพ้นด้วยตัดขาด ได้แก่ พ้นจากกิเลสด้วยอริยมรรค กิเลสเหล่านั้นขาดเด็ดไป ไม่กลับเกิดขึ้นอีก เป็นโลกุตตรวิมุตติ (ข้อ ๓ ในวิมุตติ ๕)

สมุจเฉทวิรัติ การเว้นด้วยตัดขาด หมายถึงการเว้นความชั่วได้เด็ดขาดของพระอริยเจ้า  เพราะไม่มีกิเลสที่จะเป็นเหตุให้ทำความชั่วนั้น ๆ (ข้อ ๓ ในวิรัติ ๓)

สมุฏฐาน ที่เกิด, ที่ตั้ง, เหตุ; ทางที่เกิดอาบัติ โดยตรงมี ๔ คือ ๑. ลำพังกาย  ๒. ลำพังวาจา ๓. กายกับจิต ๔. วาจากับจิต และที่ควบกันอีก ๒ คือ ๑. กายกับวาจา ๒. กายกับวาจากับทั้งจิต

สมุตเตชนา การทำให้อาจหาญ คือ เร้าใจให้แกล้วกล้า ปลุกใจให้คึกคักเกิดความกระตือรือร้น  มีกำลังใจแข็งขัน มั่นใจที่จะทำให้สำเร็จ ไม่กลัวเหน็ดเหนื่อยหรือยากลำบาก; เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการสอนที่ดี  (ข้อก่อนคือสมาทปนา, ข้อสุดท้ายคือ  สัมปหังสนา)

สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่  ตัณหา คือความทะยานอยาก เช่น  อยากได้นั่นได้นี่ อยากเป็นโน่นเป็นนี่ อยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่  (ข้อ ๒ ในอริยสัจ ๔) ดู ตัณหา

สโมธานปริวาส  ปริวาสแบบประมวลเข้าด้วยกันคือ  ปริวาสที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสต่างคราว  มีจำนวนวันปิดต่างกันบ้าง ไม่ต่างบ้าง ปรารถนาจะออกจากอาบัตินั้น จึงอยู่ปริวาสโดยประมวลอาบัติและราตรีเข้าด้วยกันจำแนกเป็น ๓ อย่างคือ  ๑. โอธานสโมธาน   สำหรับอาบัติมากกว่าหนึ่ง  แต่ปิดไว้นานเท่ากัน เช่น ต้องอาบัติ ๒ คราว ปิดไว้คราวละ ๕ วัน ประมวลเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาส ๕ วัน ๒. อัคฆสโมธาน สำหรับอาบัติมากกว่าหนึ่งและปิดไว้นานไม่เท่ากัน  เช่น  ต้องอาบัติ ๓ คราว ปิดไว้ ๓ วันบ้าง ๕ วันบ้าง ๗ วันบ้าง  ประมวลเข้าด้วยกันอยู่ปริวาสเท่าจำนวนวันที่มากที่สุด (คือ ๗ วัน)  ๓. มิสสกสโมธาน   สำหรับอาบัติที่ต่างวัตถุกัน (เช่น  กายสังสัคคะก็มี ทุฎฐุลลวาจาก็มี สัญจริตตะก็มี)  มีวันปิดเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้างประมวลเข้าด้วยกัน อยู่ปริวาสรวมเป็นคราวเดียว

สยัมภู  พระผู้เป็นเอง  คือตรัสรู้ได้เองโดยไม่มีใครสั่งสอน  หมายถึงพระพุทธเจ้า

สยัมภูญาณ  ญาณของพระสยัมภู,  ปรีชาหยั่งรู้ของพระสยัมภู

สยามนิกาย . นิกายสยาม  หมายถึงพวกพระไทย เรียกชื่อโดยสัญชาติ ๒. ดู สยามวงศ์

สยามวงศ์  ชื่อนิกายพระสงฆ์ลังกาที่บวชจากพระสงฆ์สยาม (คือพระสงฆ์ไทย)  ในสมัยอยุธยา  ซึ่งพระอุบาลีเป็นหัวหน้าไปประดิษฐาน  ใน  พ.ศ.  ๒๒๙๖

สรณะ  ที่พึ่ง, ที่ระลึก

สรณคมน์   การถึงสรณะ, การยึดเอาเป็นที่พึ่ง, การยึดเอาเป็นที่ระลึก  ดู  ไตรสรณคมน์,  รัตนตรัย

สรณคมนอุปสัมปทา  วิธีอุปสมบทด้วยการเปล่งวาจาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์  เป็นสรณะเป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกใช้อุปสมบทกุลบุตรในตอนปฐมโพธิกาล  ต่อมามื่อพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว  การบวชด้วยสรณคมน์ก็ใช้สำหรัอุปสัมปทา

สรณตรัย  ที่พึ่งทั้งสาม คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  ดู รัตนตรัย

สรภังคะ  นามของศาสดาคนหนึ่งในอดีต เป็นพระโพธิสัตว์ มีคุณสมบัติคือ เป็นผู้ปราศจากราคะในกามทั้งหลายได้ประกาศคำสอนมีศิษย์จำนวนมากมาย

สรภัญญะ  ทำนองสวดคำฉันท์

สรร   เลือก,  คัด

สรรค์  สร้าง

สรรพ  ทั้งปวง,  ทั้งหมด,  ทุกสิ่ง

สรรพางค์  ทุก  ๆ  ส่วนแห่งร่างกาย,  ร่างกายทุกๆ  ส่วน

สรรเพชญ  ผู้รู้ทั่ว,  ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่างหมายถึงพระพุทธเจ้า  (=สัพพัญญู)

สรีระ   ร่างกาย

สรีรยนต์  กลไกคือร่างกาย

สรีราพยพ  ส่วนของร่างกาย, อวัยวะในร่างกาย

สลาก  เครื่องหมายหรือวัตถุที่ใช้ในการเสี่ยงโชค เช่น สลากภัต ก็ได้แก่อาหารที่เขาถวายสงฆ์โดยเขียนชื่อเจ้าภาพลงในกระดาษใบละชื่อม้วนรวมคละกันเข้าแล้วให้ภิกษุทั้งหลายจับตามลำดับพรรษากันมา หรือเขียนเลขหมายไว้ที่ของจำนวนหนึ่ง ภิกษุจับได้สลากของผู้ใดก็ได้รับอาหารของทายกนั้น; ฉลาก  ก็เรียก

สลากภัต  อาหารถวายตามสลาก  หมายเอาสังฆภัตอันทายกเข้ากันถวาย ต่างคนต่างจัดมาเป็นของต่างกัน เขามักทำในเทศกาลที่ผลไม้เผล็ดแล้วถวายพระด้วยวิธีจับสลาก;  ดู สลาก

ส่วนข้างปลายทั้งสอง อดีต กับอนาคต

ส่วนท่ามกลาง  ในประโยคว่า  “ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง”  ปัจจุบัน

สวนานุตตริยะ   การสดับที่ยอดเยี่ยม เช่น ได้สดับธรรมของพระพุทธเจ้า (ข้อ ๒ ในอนุตตริยะ ๖)

สวรรค์  แดนอันแสนดีเลิศล้ำด้วยกามคุณทั้ง ๕,  โลกของเทวดา ตามปกติหมายถึง กามาพจรสวรรค์ (สวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม) ๖ ชั้น คือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี

สวรรคต  ไปสู่สวรรค์ คือ ตาย  (ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น) คำเต็มคือ สวรรคต

สวัสดิ์,  สวัสดี  ความดีความงาม, ความเจริญรุ่งเรือง, ความปลอดโปร่ง, ความปลอดภัยไร้อันตราย

สวัสดิมงคล  มงคล คือความสวัสดี

สวากขาตธรรม  พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว  คือตรัสได้จริง ไม่วิปริต ไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด

สวากขาตนิยยานิกธรรม  ธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว  นำผู้ประพฤติตามให้ออกไปจากทุกข์

สวาธยาย  ดู  สาธยาย

สวิญญาณกะ  สิ่งที่มีวิญญาณ  ได้แก่  สัตว์ต่างๆ  เช่น แพะ แกะ สุกร โค กระบือ เป็นต้น เทียบ อวิญญาณกะ

สสังขารปรินิพพายี  พระอนาคามีผู้จะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียร ดู อนาคามี

สหคตทุกข์  ทุกข์ไปด้วยกัน,  ทุกข์กำกับ  ได้แก่ ทุกข์ที่พ่วงมาด้วยกับผลอันไพบูลย์ มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นต้น  แต่ละอย่างย่อมพัวพันด้วยทุกข์

สหชาตธรรม  ธรรมที่เกิดพร้อมกัน

สหชีวินี  คำเรียกแทนคำว่า  สัทธิวิหารินีของภิกษุณี ทั้ง ๒ คำนี้แปลว่าผู้อยู่ร่วมตรงกับสัทธิวิหาริกในฝ่ายภิกษุ,  ศิษย์ของปวัตตินี




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 สิงหาคม 2556 15:33:28 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #38 เมื่อ: 14 สิงหาคม 2556 17:39:03 »

.

สหธรรมิก  ผู้มีธรรมร่วมกัน,  ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน  แสดงไว้ในคัมภีร์มหานิทเทส  แห่งพระสุตตันตปิฎก  มี ๗ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา;  ในสัตตาหกรณียะ  หมายถึง ๕ อย่างแรกเท่านั้น  เรียกว่าหธรรมิก๕ (คัมภีร์ฝ่ายวินัยทั่วไปก็มักหมายเฉพาะจำนวน ๕)

สหธรรมิกวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องภิกษุถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม เป็นต้น เป็นวรรคที่ ๘ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ มี ๑๒ สิกขาบท

สหรคต  ไปด้วยกัน, กำกับกัน, ร่วมกัน

สหวาส  อยู่ร่วม  เป็นประการหนึ่งในรัตติเฉท คือเหตุขาดราตรีแห่งการประพฤติมานัตและการอยู่ปริวาส หมายถึง การอยู่ร่วมในชายคาเดียวกับปกตัตตภิกษุ  ดู รัตติเฉท

สหเสยยสิกขาบท  สิกขาบทเกี่ยวกับการนอนร่วมมี ๒ ข้อ  ข้อหนึ่งปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัมบันเกิน ๒-๓ คืน  อีกข้อหนึ่งปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วม (คือนอนในที่มุงที่บังเดียวกัน) กับหญิงแม้ในคืนแรก (ข้อ ๕ และ ๖ ในมุสาวาทวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)

สหไสย  การนอนด้วยกัน, การนอนร่วม

สหัมบดี  ชื่อพระพรหมผู้อาราธนาพระพุทธเจ้าให้แสดงธรรมโปรดสัตว์

สหาย  เพื่อน,  เพื่อนร่วมการงาน  (แปลตามศัพท์ว่า ผู้ไปด้วยในกิจทั้งหลายหรือผู้มีความเสื่อมและความเจริญร่วมกัน)

สองต่อสอง  สองคนโดยเฉพาะไม่มีผู้อื่นอยู่ด้วย, ตัวต่อตัว

ส่อเสียด  ยุให้แตกกัน  คือฟังคำของข้างนี้แล้ว เก็บเอาไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายข้างนี้  ฟังคำของข้างโน้นแล้วเก็บเอามาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายข้างโน้น ดู ปิสุณาวาจา

สอุปาทิเสสนิพพาน  นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ  คือ นิพพานของพระอรหันต์ ผู้ยังมีชีวิตอยู่ นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับกิเลส  คือ โลภะ โทสะ โมหะ; เทียบ อนุปาทิเสสนิพพาน

สอุปาทิเสสบุคคล  บุคคลผู้ยังมีเชื้อกิเลสเหลืออยู่,  ผู้ยังไม่สิ้นอุปาทาน  ได้แก่ พระเสขะ คือพระอริยบุคคลทั้งหมด ยกเว้น พระอรหันต์, เทียบ อนุปาทิเสสบุคคล

สักกะ  ๑.  พระนามจอมเทพ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  เรียกกันว่า  ท้าวสักกะหรือพระอินทร์;  ดู วัตรบท ๗ ๒. ชื่อดงไม้ที่อยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ  แถบเขาหิมาลัยในเขตป่าหิมพานต์  ๓. ชื่อชนบทที่ตั้งอยู่ในดงไม้สักกะ  ดู สักกชนบท

สักกชนบท  ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปตอนเหนือ นครหลวงชื่อกบิลพัสดุ์ เป็นชาติภูมิของพระพุทธเจ้ามีการปกครองโดยสามัคคีธรร  มีประวัติสืบมาแต่สมัยพระเจ้าโอกกากราช บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล

สักกรนิคม  เป็นนิคมหนึ่งอยู่ในสักกชนบท;  สักขรนิคม ก็เรียก

สักกายทิฏฐิ  ความเห็นว่าเป็นตัวของตน,  ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น  (ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)

สักการ,  สักการะ  เคารพนับถือบูชา, เครื่องแสดงความเคารพบูชา

สักขิสาวก  สาวกที่ทันเห็นองค์พระพุทธเจ้า, พระสุภัททะผู้เคยเป็นปริพาชก เป็นสักขิสาวกองค์สุดท้ายของพระพุทธเจ้า

สักยปุตติยะ   ผู้เป็นเหล่ากอแห่งพระศากยบุตร (ศากยบุตร หรือ สักยปุตต หมายถึงพระพุทธเจ้า), โดยใจความ คือผู้เป็นลูกพระพุทธเจ้าได้แก่ พระภิกษุ (ภิกษุณีเรียกว่า สักยธิดา)

สักยราช  กษัตริย์วงศ์ศากยะ, พระราชาวงศ์ศากยะ

สังกัจฉิกะ  ผ้ารัดหรือโอบรักแร้  เป็นจีวรอย่างหนึ่งในจีวร ๕ ของภิกษุณี คือ สังฆาฏิ ผ้าทาบ ๑ อุตราสงค์ ผ้าห่ม ๑ อันตรวาสก สบง ๑ สังกัจฉิกะ  ผ้ารัดหรือผ้าโอบรักแร้ ๑ อุทกสาฏิกา ผ้าอาบ ๑ (มากกว่าของภิกษุซึ่งมีจำนวนเพียง ๓ อย่างข้างต้น)

สังกิเลส  เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง

สังขตะ  สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง,  สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยแต่งขึ้น ได้แก่ สภาพที่เกิดแต่เหตุทั้งปวง, สังขตธรรม; ตรงข้ามกับ อสังขตะ

สังขตธรรม  ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ตรงกับสังขารในคำว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น;  ตรงข้ามกับ อสังขตธรรม

สังขตลักษณะ  ลักษณะแห่งสังขตธรรม, ลักษณะของปรุงแต่ง มี ๓ อย่าง  ๑. ความเกิดขึ้น ปรากฏ ๒. ความดับสลาย ปรากฏ๓.  เมื่อตั้งอยู่  ความแปร ปรากฏ

สังขาร  ๑.  สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า  สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น ๒. สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล ที่กลาง ๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่ เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวงเว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว, ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น;  
อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรม
หรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่าง คือ  ๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา ๒. วจีสังขาร   สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา ๓. จิตตสังขาร หรือมโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ  คือมโนสัญเจตนา ๓. สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ  ๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่  อัสสาสะ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้าลมหายใจออก  ๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่วิตกและวิจาร  ๓. จิตตสังขาร  
สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา

สังขาร  ๒  คือ  ๑.  อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมครอบครอง ๒. อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ครอบครอง, โดยปริยายแปลว่าสังขารที่มีใจครองและสังขารที่ไม่มีใจครอง

สังขารทุกข์  ทุกข์เพราะเป็นสังขาร  คือ  เพราะเป็นสภาพอันถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น จึงต้องผันแปรไปตามเหตุปัจจัย  เป็นสภาพอันเป็นปัจจัยบีบคั้นขัดแย้ง คงทนอยู่มิได้

สังขารโลก  โลกคือสังขาร ได้แก่  ชุมนุมแห่งสังขารทั้งปวงอันต้องเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย

สังขารุเปกขาญาณ  ปรีชาหยั่งรู้ถึงขั้นเกิดความวางเฉยในสังขาร, ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ รู้เท่าทันสภาวะของสังขารว่าที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นต้นนั้น มันเป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา  จึงเลิกเบื่อหน่าย เลิกคิดหาทางแต่จะหนี วางใจเป็นกลางต่อมันได้เลิกเกี่ยวเกาะและให้ญาณแล่นมุ่งสู่นิพพานอย่างเดียว  (ข้อ ๘ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

สังเขป  ย่อ,  การย่อ,  ใจความ,  เค้าความ

สังคหวัตถุ  เรื่องสงเคราะห์กัน,  คุณเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้, หลักการสงเคราะห์ คือช่วยเหลือกัน ยึดเหนี่ยวใจกันไว้  และเป็นเครื่องเกาะกุมประสานโลก  คือสังคมแห่งหมู่สัตว์ไว้ ดุจสลักเกาะยึดรถที่กำลัง แล่นไปให้คงเป็นรถและวิ่งแล่นไปได้  มี ๔ อย่าง คือ ๑. ทาน การแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ๒. ปิยวาจา พูดจาน่ารั  น่านิยมนับถือ ๓. อัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์ ๔. สมานัตตตา ความมีตนเสมอ  คือ ทำตัวให้เข้ากันได้ เช่นไม่ถือตัว ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน เป็นต้น

สังคายนา  การสวดพร้อมกัน,  การร้อยกรองพระธรรมวินัย,  การประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าวางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียว;  สังคายนาครั้งที่  ๑  ถึง  ๕  มีดังนี้  :-

ครั้งที่  ๑  ปรารภเรื่อง  สุภัททภิกษุผู้บวชเมื่อแก่กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย  และปรารภที่จะทำให้ธรรมรุ่งเรืองอยู่สืบไป  พระอรหันต์  ๕๐๐ รูป มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน และเป็นผู้ถาม พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม  ประชุมสังคายนาที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาเวภารบรรพต เมืองราชคฤห์ เมื่อหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน โดยพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก์  สิ้นเวลา ๗  เดือนจึงเสร็จ

ครั้งที่  ๒  ปรารภพวกภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ  ๑๐  ประการ  นอกธรรม  นอกวินัย  พระยศกากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน  ได้พระอรหันต์  ๗๐๐  รูป  พระเรวตะเป็นผู้ถาม  พระสัพพกามีเป็นผู้วิสัชนา  ประชุมทำที่วาลิการาม  เมืองเวสาลี  เมื่อ  พ.ศ.  ๑๐๐ โดยพระเจ้ากาลาโศกราช เป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๘ เดือนจึงเสร็จ

ครั้งที่  ๓  ปรารภเดียรถีย์มากมายปลอมบวชในพระศาสนาเพราะมีลาภสักการะเกิดขึ้นมาก พระอรหันต์ ๑,๐๐๐  รูป  มีพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน ประชุมทำที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร เมื่อประมาณ พ.ศ.  ๒๓๔ (พ.ศ. ๒๑๘  เป็นปีที่พระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์) โดยพระเจ้าอโศกหรือศรีธรรมาโศกราช เป็นศาสนูปถัมภก์  สิ้นเวลา  ๙  เดือน  จึงเสร็จ

ครั้งที่  ๔  ปรารภจะให้พระศาสนาประดิษฐานมั่นคงในลังกาทวีป  พระสงฆ์  ๖๘,๐๐๐  รูป  มีพระมหินทเถระเป็นประธานและเป็นผู้ถาม  พระอริฏฐะเป็นผู้วิสัชนา  ประชุมทำที่ถูปาราม  เมืองอนุราชบุรี  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๓๖  โดยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะเป็นศาสนูปถัมภก์  สิ้นเวลา  ๑๐  เดือน  จึงเสร็จ

ครั้งที่  ๕  ปรารภพระสงฆ์แตกกันเป็น ๒ พวก คือ พวกมหาวิหารกับพวกอภัยคีรีวิหาร  และคำนึงว่าสืบไปภายหน้ากุลบุตรจะถอยปัญญา  ควรจารึกพระธรรมวินัยลงในใบลาน พระอรหันต์  ๕๐๐  รูป ประชุมกันสวดซ้อมแล้วจารพุทธพจน์ลงในใบลาน ณ อาโลกเลณสถาน ในมลยชนบท  ในลังกาทวีป  เมื่อ  พ.ศ. ๔๕๐ (ว่า ๔๓๖ ก็มี) โดยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัยเป็นศาสนูปถัมภก์ (ครั้งที่ ๔  และ ๕ ไม่เป็นที่รับรองทั่วไป)

สังคีติ  ๑. การสังคายนา ดู สังคายนา  ๒. ในคำว่า  “บอกสังคีติ”  ซึ่งเป็นปัจฉิมกิจอย่างหนึ่งของการอุปสมบท ท่านสันนิษฐานว่า  หมายถึง  การประมวลบอกอย่างอื่นนอกจากที่ระบุไว้  เช่น  สีมาหรืออาวาสที่อุปสมบท  อุปัชฌายะ กรรมวาจาจารย์  จำนวนสงฆ์

สังคีติกถา  ถ้อยคำที่กล่าวถึงเรื่องสังคายนา,  แถลงความเรื่องสังคายนา

สังคีติปริยาย  บรรยายเรื่องการสังคายนา,  การเล่าเรื่องสังคายนา

สังฆกรรม  งานของสงฆ์,  กรรมที่สงฆ์พึงทำ,  กิจที่พึงทำโดยที่ประชุมสงฆ์มี  ๔  คือ  ๑. อปโลกนกรรม กรรมที่ทำเพียงด้วย บอกกันในที่ประชุมสงฆ์  ไม่ต้องตั้งญัตติและไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่น แจ้งการลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุ  ๒. ญัตติกรรม กรรมที่ทำเพียงตั้งญัตติไม่ต้องสวดอนุสาวนา  เช่น  อุโบสถและปวารณา  ๓. ญัตติทุติยกรรม กรรมที่ทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนหนึ่ง  เช่น  สมมติสีมา  ให้ผ้ากฐิน  ๔.  ญัตติจตุตถกรรม   กรรมที่ทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนา  ๓  หน  เช่นอุปสมบท ให้ปริวาสให้มานัด

สังฆการี  เจ้าหน้าที่ผู้ทำการสงฆ์,  เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับสงฆ์ในงานหลวง,  เจ้าหน้าที่ผู้เป็นพนักงาน  ในการพิธีสงฆ์  มีมาแต่โบราณสมัยอยุธยา  สังกัดในกรมสังฆการี  ซึ่งรวมอยู่ด้วยกันกับกรมธรรมการเรียกรวม ว่ากรมธรรมการสังฆการี เดิมเรียกว่า สังกะรีหรือสังการี เปลี่ยนเรียกสังฆการีในรัชกาลที่  ๔  ต่อมาเมื่อตั้งกระทรวงธรรมการใน  พ.ศ. ๒๔๓๒ กรมธรรมการสังฆการีเป็นกรมหนึ่งในสังกัดของกระทรวงนั้น  จนถึง  พ.ศ. ๒๔๕๔  กรมสังฆการีจึงแยกเป็นกรมต่างหากกันกับกรมธรรมการ  ต่อมาใน  พ.ศ. ๒๔๗๖  กรมสังฆการี ถูกยุบลงเป็นกองสังกัดในกรมธรรมการ  กระทรวงศึกษาธิการ  ต่อมาอีกใน  พ.ศ. ๒๔๘๔ กรมธรรมการ เปลี่ยนชื่อเป็นกรมการศาสนา และในคราวท้ายสุด  พ.ศ.  ๒๕๑๕ กองสังฆการีได้ถูกยุบเลิกไป  และมีกองศาสนูปถัมภ์ขึ้นมาแทน  ปัจจุบันจึงไม่มีสังฆการี;  บางสมัยสังฆการีมีอำนาจหน้าที่กว้างขวาง  มิใช่เป็นเพียง เจ้าพนักงานในราชพิธีเท่านั้น  แต่ทำหน้าที่ชำระอธิกรณ์พิจารณาโทษแก่พระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดสิกขาบทประพฤติผิดธรรมวินัยด้วย

สังฆคารวตา  ดู คารวะ

สังฆคุณ  คุณของพระสงฆ์  (หมายถึง  สาวกสงฆ์  หรือ  อริยสงฆ์)  มี ๙ คือ  ๑. สุปฏิปนฺโน  ภควโต  สาวกสงฺโฆ  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี  ๒. อุชุปฏิปนฺโน  เป็นผู้ปฏิบัติตรง  ๓. ญายปฏิปนฺโน  เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง ๔. สามีจิปฏิปนฺโน  เป็นผู้ปฏิบัติสมควร  (ยทิทํ  จตฺตาริ  ปุริสยุคานิ  อฏฺฐ  ปุริสปุคฺคลา  ได้แก่  คู่บุรุษ  ๔  ตัวบุคคล  ๘  เอส ภควโต  สาวกสงฺโฆ  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้)  ๕. อาหุเนยฺโย  เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ  คือ  ควรรับของที่เขานำมาถวาย ๖. ปาหุเนยฺโย  เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ  ๗. ทกฺขิเณยฺโย  เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา คือควรแก่ของทำบุญ  ๘. อญฺชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คือควรแก่การกราบไหว้  ๙. อนุตฺตรํ  ปุญฺญกฺเขตฺตํ  โลกสฺส เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก คือ เป็นแหล่งเพาะปลูกและเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยมของโลก

สังฆเถระ  ภิกษุผู้เป็นเถระในสงฆ์  คือ เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์,  กษุผู้มีพรรษามากกว่าภิกษุอื่นในชุมนุมนั้นทั้งหมด

สังฆทาน  ทานเพื่อสงฆ์,  การถวายแก่สงฆ์  คือ ถวายเป็นกลางๆ ไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เช่น จะทำพิธีถวายของที่มีจำนวนจำกัดพึงแจ้งแก่ทางวัดให้จัดพระไปรับตามจำนวนที่ต้องการ หัวหน้าสงฆ์จัดภิกษุใดไปพึงทำใจว่า  ท่านมารับในนามของสงฆ์  หรือ  เป็นผู้แทนของสงฆ์ทั้งหมด  ไม่พึงเพ่งเล็งว่าเป็นบุคคลใด  คิดตั้งใจแต่ว่าจะถวายอุทิศแก่สงฆ์; ในพิธีพึงจุดธูปเทียนบูชาพระ อาราธนาศีล รับศีลจบแล้ว ตั้งนโม  ๓  จบ กล่าวคำถวายเสร็จแล้วประเคนของ  และเมื่อพระสงฆ์อนุโมทนา  พึงกรวดน้ำ  รับพร  เป็นเสร็จพิธี;  คำถวายสังฆทานว่าดังนี้  :-  อิมานิ  มยํ  ภนฺเต,  ภตฺตานิ,  สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส,  โอโณชยาม,  สาธุ  โน  ภนฺเต,  ภิกฺขุสงฺโฆ,  อิมานิ,  ภตฺตานิ,  สปริวารานิ,  ปฏิคฺคณฺหาตุ,  อมฺหากํ,  ทีฆรตฺตํ,  หิตาย,  สุขาย,  แปลว่า  :  ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนานเทอญฯ

อนึ่ง  ถ้าเป็นสังฆทานประเภทอุทิศผู้ตาย  เรียกว่า  มตกภัต  พึงเปลี่ยนแปลงคำถวายที่พิมพ์ตัวเอนไว้คือ  ภตฺตานิ  เป็น  มตกภตฺตานิ, อมฺหากํ เป็น อมฺหากญฺเจว มาตาปิตุอาทีนญฺจ ญาตกานํ กาลกตานํ;  ภัตตาหาร เป็น มตกภัตตาหาร,  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  เป็น  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย  แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย  มีมารดา บิดา เป็นต้น ผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย

สังฆนวกะ  ภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์ คือ บวชภายหลังภิกษุทั้งหมดในชุมนุมสงฆ์นั้น

สังฆภัต  อาหารถวายสงฆ์  หมายถึง อาหารที่เจ้าของนำมา หรือส่งมาถวายสงฆ์ในอารามพอแจกทั่วกัน

สังฆเภท  ความแตกแห่งสงฆ์, การทำสงฆ์ให้แตกจากกัน  (ข้อ ๕ ในอนันตริยกรรม ๕), กำหนดด้วยไม่ทำอุโบสถปวารณาและสังฆกรรมด้วยกัน

สังฆเภทขันธกะ  ชื่อขันธกะที่ ๗ แห่งจุลวรรคในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องพระเทวทัตทำลายสงฆ์และเรื่องควรทราบเกี่ยวกับสังฆเภท  สังฆสามัคคี

สังฆมิตตา  พระราชบุตรีของพระเจ้าอโศกมหาราช  ทรงผนวชเป็นภิกษุณีและไปประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์ที่ลังกาทวีป  พร้อมทั้งนำกิ่งพระศรีมหาโพธิไปถวายแก่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะด้วย

สังฆราชี  ความร้าวรานแห่งสงฆ์ คือจะแตกแยกกันแต่ยังไม่ถึงกับแยกทำอุโบสถปวารณาและสังฆกรรมต่างหากกัน  เทียบ สังฆเภท

สังฆสัมมุขตา  ความเป็นต่อหน้าสงฆ์ หมายความว่า  ารระงับอธิกรณ์นั้นกระทำในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ซึ่งภิกษุ ผู้เข้าประชุมมี
จำนวนครบองค์เป็นสงฆ์ ได้นำฉันทะของผู้ควรแก่ฉันทะมาแล้ว และผู้อยู่พร้อมหน้ากันนั้นไม่คัดค้าน

สังฆสามัคคี  ความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์

สังฆอุโบสถ  อุโบสถของสงฆ์ คือการทำอุโบสถของสงฆ์ที่ครบองค์กำหนด  คือมีภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป สวดปาฏิโมกข์ได้ตามปกติ  (ถ้ามีภิกษุอยู่  ๒-๓ รูป ต้องทำคณอุโบสถ คือ อุโบสถของคณะ ซึ่งเป็นปาริสุทธิอุโบสถ คือ อุโบสถที่ทำโดยบอกความบริสุทธิ์ของกันและกัน ถ้ามีภิกษุรูปเดียว ต้องทำบุคคลอุโบสถ คือ อุโบสถของบุคคลซึ่งเป็นอธิษฐานอุโบสถ คือ อุโบสถที่ทำโดยการอธิษฐานกำหนดใจว่า  วันนั้นเป็นวันอุโบสถ) ดู อุโบสถ

สังฆาฏิ  ผ้าทาบ,  ผ้าคลุมกันหนาวที่พระใช้ทาบบนจีวร เป็นผ้าผืนหนึ่งในสามผืนที่เรียกว่า ไตรจีวร

สังฆาทิเสส  ชื่อหมวดอาบัติหนักรองจากปาราชิก  ต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้  คือ เป็นครุกาบัติ  (อาบัติหนัก)  แต่ยังเป็นสเตกิจฉา (แก้ไขหรือเยียวยาได้);  ตามศัพท์ สังฆาทิเสส  แปลว่า หมวดอาบัติอันจำปรารถนาสงฆ์ในกรรมเบื้องต้นและกรรมที่เหลือ,  หมายความว่า  วิธีการที่จะออกจากอาบัตินี้  ต้องอาศัยสงฆ์  ตั้งแต่ต้นไปจนตลอด  กล่าวคือ เริ่มต้นจะอยู่ปริวาสก็ต้องขอปริวาสจากสงฆ์  ต่อจากนั้นจะประพฤติมานัตก็ต้องอาศัยสงฆ์เป็นผู้ให้  ามีมูลายปฏิกัสสนาก็ต้องสำเร็จด้วยสงฆ์อีกและท้ายที่สุดก็ต้องอัพภานจากสงฆ์;  สิกขาบทที่ภิกษุละเมิดแล้ว  จะต้องอาบัติสังฆาทิเสส  มี ๑๓ ข้อ คำว่า สังฆาทิเสส ใช้
เป็นชื่อเรียกสิกขาบท ๑๓ ข้อ นี้ด้วย

สังฆาทิเสสกัณฑ์  ตอนอันว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส,  ในพระวินัยปิฎก ท่านเรียกว่า เตรสกัณฑ์ (ตอนว่าด้วย สิกขาบท  ๑๓) อยู่ในคัมภีร์มหาวิภังค์เล่มแรก

สังฆานุสติ  ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์  (ข้อ ๓ ในอนุสติ ๑๐)  ดู  สังฆคุณ

สังฆิกาวาส  อาวาสที่เป็นของสงฆ์,  อาวาสของสงฆ์

สังยมะ  ดู  สัญญมะ

สังโยชน์  กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์,  ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์  มี ๑๐ อย่าง  คือ  ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่  ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน  ๒. วิจิกิจฉา  ความลังเลสงสัย  ๓. สีลัพพตปรามาส  ความถือมั่นศีลพรต ๔. กามราคะ  ความติดใจในกามคุณ  ๕. ปฏิฆะ  ความกระทบกระทั่งในใจ  ข. ทธัมภาคิยสังโยชน์   สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่  ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม  ๘. มานะ  ความถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่  ๙. อุทธัจจะ  ความฟุ้งซ่าน  ๑๐. อวิชชา  ความไม่รู้จริง;  พระโสดาบัน ละสังโยชน์  ๓  ข้อต้นได้,  พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ  ๔  และ  ๕  ให้เบาบางลงด้วย,  พระอนาคามี ละสังโยชน์  ๕ ข้อต้นได้หมด,  พระอรหันต์  ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ;   ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ  ๑. กามราคะ  ๒. ปฏิฆะ  ๓. มานะ  ๔. ทิฏฐิ  (ความเห็นผิด)  ๕. วิจิกิจฉา  ๖. สีลัพพตปรามาส  ๗. ภวราคะ  (ความติดใจในภพ)  ๘. อิสสา  (ความริษยา)  ๙. มัจฉริยะ  (ความตระหนี่)  ๑๐. อวิชชา

สังวร  ความสำรวม,  การระวังปิดกั้นบาป อกุศล  มี ๕ อย่าง  คือ  ๑. ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในปาฏิโมกข์  (บางแห่งเรียก  
สีลสังวร  สำรวมในศีล)  ๒. สติสังวร   สำรวมด้วยสติ  ๓. ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ ๔. ขันติสังวร สำรวมด้วยขันติ ๕. วินัยสังวร สำรวมด้วยความเพียร

สังวรปธาน  เพียรระวัง คือ เพียรระวังบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น  (ข้อ ๑ ในปธาน ๔)

สังวรปาริสุทธิ  ความบริสุทธิ์ด้วยสังวร, ความสำรวมที่เป็นความบริสุทธิ์ หรือเป็นเครื่องทำให้บริสุทธิ์ หมายถึง ศีลที่ประพฤติถูกต้อง เป็นไปเพื่อความไม่มีวิปฏิสาร เป็นต้น ตามลำดับจนถึงพระนิพพาน จัดเป็น อธิศีล

สังวรรณนา  พรรณนาด้วยดี,  อธิบายความ

สังวรสุทธิ  ความบริสุทธิ์ด้วยสังวร,  ความสำรวมที่เป็นเครื่องทำให้บริสุทธิ์ หมายถึง อินทรียสังวร

สังวาส  ธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมกันของสงฆ์  ได้แก่ การทำสังฆกรรมร่วมกัน สวดปาฏิโมกข์ร่วมกัน มีสิกขาบท เสมอกัน เรียกง่าย ๆ ว่า  ทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกัน คือ เป็นพวกเดียวกัน อยู่ด้วยกันได้ มีฐานะและสิทธิ เสมอกัน;  ในภาษาไทย ใช้หมายถึงร่วมประเวณีด้วย

สังวาสนาสนา  ให้ฉิบหายจากสังวาส  หมายถึง การทำอุกเขปนียกรรมยกเสียจากสังวาส คือ ทำให้หมดสิทธิที่จะอยู่ร่วมกับสงฆ์

สังเวคกถา ถ้อยคำแสดงความสลดใจให้เกิดความสังเวช คือ เร้าเตือนสำนึก

สังเวควัตถุ  เรื่องที่น่าสลดใจ,  เรื่องที่พิจารณาแล้วจะทำให้เกิดความสังเวช คือ เร้าเตือนสำนึกให้มีจิตใจน้อมมาในทางกุศล เกิดความไม่ประมาทและมีกำลังใจที่จะทำความเพียรปฏิบัติธรรมต่อไป  เช่น ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย  และอาหารปริเยฏฐิทุกข์ คือ ทุกข์ในการหากิน เป็นต้น

สังเวช  ความสลดใจ, ความกระตุ้นให้คิด, ความรู้สึกเตือนสำนึก; ในทางธรรมความรู้สึกสลดใจที่ทำให้คิดได้  ทำให้จิตใจหันมานึกถึงสิ่งที่ดีงาม เกิดความไม่ประมาท เพียรพยายามทำสิ่งที่เป็นกุศลต่อไป จึงจะเรียกว่า สังเวช ความสลดใจแล้วหงอยหรือหดหู่เสีย ไม่เรียกว่าเป็นความสังเวช

สังเวชนียสถาน  สถานเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช, ที่ที่ให้เกิดความสังเวชมี ๔ คือ  ๑. ที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือ อุทยานลุมพินี ปัจจุบันเรียก ลุมพินีหรือรุมมินเด  (Lumbini หรือ Rummindei)  ๒. ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ควงโพธิ์ ที่ตำบลพุทธคยา (Buddha Gaya หรือ Bodh-Gaya) ๓. ที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา คือป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันเรียกสารนาถ   ๔. ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน คือ ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา หรือกุสินคร บัดนี้
เรียก กาเซีย (Kasia หรือ Kusinagara)  ดู สังเวช  ด้วย

สังเวย  บวงสรวง,  เซ่นสรวง  (ใช้กับผีและเทวดา)

สังสารวัฏ  ภพที่เวียนเกิดเวียนตาย,  การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลก; สังสารวัฏฏ์ หรือ สงสารวัฏ ก็เขียน

สังสารสุทธิ   ความบริสุทธิ์ด้วยการเวียนว่ายตายเกิด คือลัทธิของมักขลิโคสาล  ซึ่งถือว่าสัตว์ทั้งหลายท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อย ๆ ก็จะค่อยบริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ไปเอง การปฏิบัติธรรมไร้ประโยชน์ไม่อาจช่วยอะไรได้

สังสุทธคหณี  มีครรภ์ที่ถือปฏิสนธิสะอาดหมดจดดี

สังเสทชะ  สัตว์เกิดในของชื้นแฉะโสโครก  เช่น หมู่หนอน (ข้อ ๓ ในโยนิ ๔)

สังหาร  การทำลาย,  ฆ่า,  ล้างผลาญชีวิต

สังหาริมะ  สิ่งที่เคลื่อนที่ได้  คือนำไปได้  เช่น สัตว์และสิ่งของที่ตั้งอยู่ลอย ๆ ไม่ติดที่ ได้แก่ เงิน ทอง เป็นต้น เทียบ อสังหาริมะ

สังหาริมทรัพย์  ทรัพย์เคลื่อนที่ได้  เช่น  สัตว์เลี้ยง เตียง ตั่ง ถ้วย ชาม เป็นต้น คู่กับ อสังหาริมทรัพย์

สัจจะ  ๑.  ความจริง มี ๒  คือ ๑. สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น คน พ่อค้า ปลา แมว โต๊ะ  เก้าอี้ ๒.  ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร  วิญญาณ  ๒. ความจริง  คือจริงใจ ได้แก่ซื่อสัตย์ จริงวาจาได้แก่ พูดจริง  และจริงการ ได้แก่ทำจริง  (ข้อ ๑ ในฆราวาสธรรม ๔,  ข้อ ๒ ในอธิษฐานธรรม ๔,  ข้อ ๔ ในเบญจธรรม,  ข้อ ๗ ในบารมี ๑๐)

สัจจญาณ  ปรีชากำหนดรู้ความจริง,  ความหยั่งรู้สัจจะ คือ รู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่างตามภาวะที่เป็นจริงว่านี้ทุกข์  นี้ทุกขสมุทัย เป็นต้น (ข้อ ๑ ในญาณ ๓)

สัจธรรม,  สัจจธรรม  ธรรมที่จริงแท้,  หลักสัจจะ เช่น ในคำว่า อริยสัจธรรมทั้งสี่

สัจจานุโลมญาณ  ดู สัจจานุโลมิกญาณ

สัจจานุโลมิกญาณ  ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจ,  ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ,  อนุโลมญาณ  ก็เรียก  (ข้อ ๙ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

สัจฉิกรณะ  การทำให้แจ้ง, การประสบ, การเข้าถึง, การบรรลุ เช่น  ให้แจ้งซึ่งนิพพาน คือ บรรลุนิพพาน

สัญจร  เที่ยวไป,  เดินไป,  ผ่านไป, ผ่านไปมา, เดินทางกันไปมา

สัญจริตตะ  การชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน  เป็นชื่อสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕  ห้ามการชักสื่อ

สัญเจตนา   ความจงใจ,  ความแสวงหาอารมณ์,  เจตนาที่แต่งกรรม,  ความคิดอ่าน;  มี ๓ คือ กายสัญเจตนา วจีสัญเจตนาและมโนสัญเจตนา;  ดู  สังขาร ๓;  มี ๖  คือ  รูปสัญเจตนา  สัทท-  คันธ-  รส-  โผฏฐัพพ-  และธัมมสัญเจตนา,  ดู  ปิยรูปสาตรูป


สัญเจตนิกา  มีความจงใจ,  มีเจตนา;  เป็นชื่อสังฆาทิเสสสิกขาบทที่หนึ่ง ข้อที่จงใจทำอสุจิให้เคลื่อน เรียกเต็มว่า สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ

สัญชัย  ชื่อปริพาชกผู้เป็นอาจารย์ใหญ่คนหนึ่งในพุทธกาล  ตั้งสำนักสอนลัทธิอยู่ในกรุงราชคฤห์  มีศิษย์มาก พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเคยบวชอยู่ในสำนักนี้  ภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะพร้อมด้วยศิษย์  ๒๕๐  คน  พากันไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า  สัญชัยเสียใจเป็นลมและอาเจียนเป็นโลหิต;  นิยมเรียกว่า  สญชัยปริพาชก  เป็นคนเดียวกับ  สัญชัยเวลัฏฐบุตร  คนหนึ่งใน  ติตถกร  หรือครูทั้ง  ๖

สัญญมะ   การยับยั้ง,  การงดเว้น  (จากบาป  หรือจากการเบียดเบียน),  การบังคับควบคุมตน;  ท่านมักอธิบายว่า สัญญมะ  ได้แก่ ศีล,  บางทีแปลว่าสำรวม เหมือนอย่าง  “สังวร”;  เพื่อความเข้าใจชัดเจนในเบื้องต้น     พึงเทียบความหมายระหว่างข้อธรรม ๓ อย่าง คือ สังวร เน้นความระวังในการรับเข้า คือ ปิดกั้นสิ่งเสียหายที่จะเข้ามาจากภายนอก สัญญมะ ควบคุมตนในการแสดงออก  มิให้เป็นไปเพื่อการเบียดเบียน เป็นต้น ทมะ  ฝึกฝนแก้ไขปรับปรุงตน  มกำจัดส่วนร้ายและเสริมส่วนที่ดีงามให้ยิ่งขึ้นไป;  สังยมะ ก็เขียน

สัญญัติ  (ในคำว่า  “อุปัชฌายะชื่ออะไรก็ตาม ตั้งสัญญัติลงในเวลานั้นว่าชื่อ “ติสสะ”)  การหมายรู้,  ความหมายรู้ร่วมกัน,  ข้อสำหรับหมายรู้ร่วมกัน,  ข้อตกลง

สัญญา  การกำหนดหมาย,  ความจำได้หมายรู้  คือ  หมายรู้ไว้  ซึ่ง  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะและอารมณ์ ที่เกิดกับใจว่าเขียว  ขาว  ดำ  แดง  ดัง  เบา  เสียงคน  เสียงแมว  เสียงระฆัง กลิ่นทุเรียน  รสมะปราง  เป็นต้น  และจำได้ คือรู้จักอารมณ์นั้น ว่าเป็นอย่างนั้น ๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก  (ข้อ  ๓  ในขันธ์  ๕)  มี  ๖  อย่าง  ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้ รูป  สัททสัญญา หมายรู้เสียง  เป็นต้น;  ความหมายสามัญ ในภาษาบาลีว่าเครื่องหมาย  ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้น ๆ, ในภาษาไทยมักใช้หมายถึง  ข้อตกลง, คำมั่น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 สิงหาคม 2556 17:45:10 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #39 เมื่อ: 14 สิงหาคม 2556 17:43:36 »

.

สัญญา ๑๐  ความกำหนดหมาย,  สิ่งที่ควรกำหนดหมายไว้ในใจ มี ๑๐ อย่าง  คือ  ๑. อนิจจสัญญา  กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร ๒. อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง ๓. อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย  ๔. อาทีนวสัญญา กำหนดหมายโทษแห่งกาย  คือ มีอาพาธต่าง ๆ  ๕. ปทานสัญญา  กำหนด
หมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม  ๖. วิราคสัญญา  กำหนดหมายวิราคะ คือ อริยมรรคว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต  ๗. นิโรธสัญญา  กำหนดหมายนิโรธ  คือ อริยผล ว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต  ๘. สัพพโลเก  อนภิรตสัญญา  กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง  ๙. สัพพสังขาเรสุ  อนิฏฐสัญญา  กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง  ๑๐. อานาปานัสสติ  สติกำหนดลมหายใจเข้าออก

สัญญาเวทยิตนิโรธ  การดับสัญญาและเวทนา  เป็นสมาบัติ  เรียกเต็มว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ  เรียกสั้น ๆ ว่า นิโรธสมาบัติ  (ข้อ ๙ ในอนุปุพพวิหาร  ๙)  ดู นิโรธสมาบัติ

สัญโญชน์  ดู สังโยชน์

สัณฐาน   ซวดทรง,  ลักษณะ,  รูปร่าง

สัตตกะ  หมวด  ๗

สัตตบรรณคูหา  ชื่อถ้ำที่ภูเขาเวภารบรรพต  ในกรุงราชคฤห์ เป็นที่พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์ และเป็นที่ทำ  สังคายนา  ครั้งแรก;  เขียน  สัตตปัณณิคูหา หรือ สัตตบัณณคูหา ก็มี

สัตตมวาร  วันที่ ๗,  วันที่ครบ ๗;  พจนานุกรมเขียน สัตมวาร

สัตตสติกขันธกะ  ชื่อขันกะที่ ๑๒  แห่งจุลวรรคในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยการสังคายนาครั้งที่ ๒

สัตตักขัตตุปรมะ  พระโสดาบัน  ซึ่งจะไปเกิดในภพอีก ๗ ครั้ง  เป็นอย่างมาก  จึงจะได้บรรลุพระอรหัต  (ข้อ ๓ ในโสดาบัน ๓)

สัตตังคะ   เก้าอี้มีพนักสามด้าน,  เก้าอี้มีแขน

สัตตัพภันตรสีมา  อพัทธสีมาชนิดที่กำหนดเขตแห่งสามัคคีขึ้นในป่า อันหาคนตั้งบ้านเรือนมิได้ โดยวัดจากที่สุดแนวแห่งสงฆ์ออกไปด้านละ ๗ อัพภันดรโดยรอบ

สัตตัมพเจดีย์  เจดียสถานแห่งหนึ่งที่นครเวสาลี  แคว้นวัชชี  ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

สัตติบัญชร  เรือนระเบียบหอก,  ซี่กรงทำด้วยหอก

สัตตาวาส  ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์  มี ๙ เหมือนกับ วิญญาณณัฏฐิติ ๗ ต่างแต่เพิ่มข้อ ๕ เข้ามาเป็น ๕. สัตว์ เหล่าหนึ่งไม่มีสัญญา  ไม่มีการเสวยเวทนาเช่นพวกเทพผู้เป็นอสัญญีสัตว์, เลื่อนข้อ  ๕-๖-๗  ออกไปเป็นข้อ  ๖-๗-๘  แล้วเติมข้อ  ๙. สัตว์เหล่าหนึ่งผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ

สัตตาหะ  สัปดาห์,  เจ็ดวัน;  มักใช้เป็นคำเรียกย่อ หมายถึง สัตตาหกรณียะ

สัตตาหกรณียะ  ธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดในระหว่างพรรษาได้ ๗ วัน  ได้แก่  ๑. ไปเพื่อพยาบาลสหธรรมิกหรือมารดาบิดาผู้เจ็บไข้  ๒. ไปเพื่อระงับสหธรรมิกที่กระสันจะสึก  ๓. ไปเพื่อกิจสงฆ์  เช่น  ไปหาทัพพสัมภาระมาซ่อมวิหารที่ชำรุดลงในเวลานั้น  ๔. ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของทายกซึ่งส่งมานิมนต์เพื่อการบำเพ็ญกุศลของเขา และธุระอื่นจากนี้ที่เป็น
กิจจะลักษณะอนุโลมตามนี้ได้

สัตตาหกาลิก   ของที่รับประเคนเก็บไว้ฉันได้ชั่ว ๗ วัน ได้แก่เภสัชทั้ง ๕ คือ  เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย  ดู กาลิก

สัตติกำลัง  ในคำว่า  “ตามสัตติกำลัง”  แปลว่า ตามความสามารถและตามกำลัง หรือตามกำลังความสามารถ  (สัตติ  = ความสามารถ)  มาจากคำบาลีว่า ยถาสตฺติ  ยถาพลํ; พูดเพี้ยนกันไปเป็น ตามสติกำลัง ก็มี

สัตตุ  ข้าวคั่วผง,  ขนมผง  ขนมแห้งที่ไม่บูด เช่น ขนมที่เรียกว่า จันอับและขนมปัง เป็นต้น

สัตตุผง  สัตตุก้อน  ข้าวตู  เสบียงเดินทางที่สองพ่อค้า คือ ตปุสสะ กับภัลลิกะ ถวายแด่พระพุทธเจ้าขณะที่ประทับอยู่ใต้ต้นราชายตนะ

สัตถะ  เกวียน,  ต่าง,  หมู่เกวียน,  หมู่พ่อค้าเกวียน

สัตถกรรม  การผ่าตัด
สตฺถา  เทวมนุสฺสานํ   ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ, ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครูและทรงทำหน้าที่ของครูเป็นอย่างดี  คือ ทรงพร่ำสอนด้วยมหากรุณาหวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง,  ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นที่ตั้ง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ด้วยประโยชน์ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ 
สัมปรายิกัตถะและปรมัตถะ, ทรงรู้จริงและปฏิบัติด้วยพระองค์เองแล้ว  จึงทรงสอนผู้อื่นให้รู้และปฏิบัติตาม  ทรงทำกับตรัส
เหมือนกัน  ไม่ใช่ตรัสสอนอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง, ทรงฉลาดในวิธีสอน, และทรงเป็นผู้นำหมู่ดุจนายกองเกวียน  (ข้อ ๗ 
ในพุทธคุณ ๙)

สัตถุศาสน์,  สัตถุสาสน์  คำสั่งสอนของพระศาสดา  หมายถึงพระพุทธพจน์  ดู นวังคสัตถุศาสน์

สัตบุรุษ   คนสงบ,  คนดี,  คนมีศีลธรรม,  คนที่ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม

สัตมวาร   วันที่ ๗,  วันที่ครบ ๗;  เขียนเต็มรูปเป็น สัตตมวาร

สัตย์  ความจริง, ความซื่อตรง, ความจริงใจ

สัตยาธิษฐาน  การตั้งความจริงเป็นหลักอ้าง, ความตั้งใจแน่วแน่มุ่งต่อผลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยการอ้างความจริงเป็นหลักประกัน

สัตว์   “ผู้ติดข้องในรูปารมณ์  เป็นต้น”,  สิ่งที่มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์  เปรต อสุรกาย  รัจฉาน และสัตว์นรก ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น, ไทยมักเพ่งเอาดิริจฉาน

สัตวนิกาย   หมู่สัตว์

สัตวโลก  โลกคือหมู่สัตว์

สัทธรรม  ธรรมที่ดี,  ธรรมที่แท้,  ธรรมของคนดี,  ธรรมของสัตบุรุษมี ๓ อย่าง  คือ  ๑. ปริยัติสัทธรรม  สัทธรรมคือสิ่งที่ พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์ ๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติ  ได้แก่ไตรสิกขา ๓. ปฏิเวธสัทธรรม  สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรคผล และนิพพาน; สัทธรรม ๗  คือ  ๑. ศรัทธา  ๒. หิริ  ๓. โอตตัปปะ  ๔. พาหุสัจจะ  ๕. วิริยารัมภะ  ๖. สติ  ๗. ปัญญา

สัทธรรมปฏิรูป  สัทธรรมปลอม, สัทธรรมเทียม

สัทธัมมัสสวนะ   ฟังสัทธรรม,  ฟังคำสั่งสอนของสัตบุรุษ,  ฟังคำสั่งสอนของท่านที่ประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ, สดับเล่าเรียนอ่านคำสอนเรื่องราวที่แสดงหลักความจริงดีงาม  (ข้อ ๒ ในวุฑฒิ  ๔)

สัทธา   ความเชื่อ;  ในทางธรรม หมายถึงเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริง ความดี  สิ่งดีงาม  และในการทำความดี ไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก ท่านแสดงสืบ ๆ กันมาว่า  มี ๔ อย่าง  คือ ๑.กัมมสัทธา  เชื่อกรรม ๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต; เขียนอย่างสันสกฤตเป็นศรัทธา

สัทธาจริต  พื้นนิสัยหนักในสัทธา เชื่อง่าย พึงแก้ด้วยปสาทนียกถา คือ ถ้อยคำที่นำให้เกิดความเลื่อมใสในทางที่ถูกที่ควร และด้วยความเชื่อที่มีเหตุผล  (ข้อ ๔ ในจริต ๖)

สัทธาสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือ เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ เช่นเชื่อว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น (ข้อ ๑ ในสัมปรายิกัตถฯ ๔)

สัทธิวิหาริก,  สัทธิงวิหาริก  ศิษย์,  ผู้อยู่ด้วย  เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌายะองค์ใดก็เป็นสิทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะองค์นั้น

สัทธิวิหาริกวัตร  ข้อควรปฏิบัติต่อสัทธิวิหาริก, หน้าที่อันอุปัชฌาย์จะพึงกระทำแก่สัทธิวิหาริก คือ ๑. เอาธุระในการศึกษา ๒. สงเคราะห์ด้วยบาตร  จีวร  และบริขารอื่น ๆ  ๓. ขวนขวายป้องกัน หรือ ระงับความเสื่อมเสีย  เช่น ระงับความคิดจะสึก เปลื้องความเห็นผิด ฯลฯ  ๔. พยาบาลเมื่ออาพาธ  เทียบ อุปัชฌายวัตร

สัทธิวิหารินี  สัทธิวิหาริกผู้หญิง  คือ  สัทธิวิหาริกในฝ่ายภิกษุณี  แต่ตามปกติไม่เรียกอย่างนี้  เพราะมีคำเฉพาะ เรียกว่า  สหชีวินี

สันดาน  ความสืบต่อแห่งจิต  คือ  กระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกันมา;  ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่าอุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด,  อัธยาศัยที่มีติดต่อมา

สันโดษ   ความยินดี,  ความพอใจ,  ยินดีด้วยปัจจัย  ๔  คือ  ผ้านุ่งผ้าห่ม  อาหาร  ที่นอนที่นั่ง  และยา  ตามมีตามได้,  ยินดีของของตน,  การมีความสุขความพอใจด้วยเครื่องเลี้ยงชีพที่หามาได้ด้วยความเพียรพยายามอันชอบธรรมของตน  ไม่โลภ  ไม่ริษยาใคร;  สันโดษ ๓ คือ  ๑. ยถาลาภสันโดษ  ยินดีตามที่ได้ คือได้สิ่งใดมาด้วยความเพียรของตน  ก็พอใจด้วยสิ่งนั้นไม่เดือดร้อนเพราะของที่ไม่ได้  ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่นไม่ริษยาเขา  ๒. ยถาพลสันโดษ  ยินดีตามกำลัง คือ พอใจเพียงแค่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและขอบเขตการใช้สอยของตน  ของที่เกินกำลังก็ไม่หวงแหนเสียดายไม่เก็บไว้ให้เสียเปล่า  หรือฝืนใช้ให้เป็นโทษแก่ตน  ๓. ยถาสารุปปสันโดษ  ยินดีตามสมควร  คือพอใจตามที่สมควรแก่ภาวะฐานะแนวทางชีวิต  และจุดหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน  เช่น ภิกษุพอใจแต่ของอันเหมาะกับสมณภาวะ  หรือได้ของใช้ที่ไม่เหมาะกับตนแต่จะมีประโยชน์แก่ผู้อื่นก็นำไปมอบให้แก่เขา  เป็นต้น;  สันโดษ ๓ นี้เป็นในปัจจัย ๔ แต่ละอย่าง จึงรวม
เรียกว่า สันโดษ ๑๒

สันตติ  การสืบต่อ  คือ  การเกิดดับต่อเนื่องกันไปโดยอาการที่เป็นปัจจัยส่งผลแก่กันในทางรูปธรรมที่พอมองเห็นอย่างหยาบ เช่น  ขนเก่าหลุดร่วงไปขนใหม่เกิดขึ้นแทน ความสืบต่อแห่งรูปธรรม  จัดเป็น อุปาทายรูป อย่างหนึ่ง; ในทางนามธรรม จิตก็มีสันตติ คือ เกิดดับเป็นปัจจัยสืบเนื่องต่อกันไป

สันตาปทุกข์  ทุกข์ คือความร้อนรุ่ม,  ทุกข์ร้อน ได้แก่ความกระวนกระวายใจเพราะถูกไฟกิเลส คือ ราคะ โทสะ และโมหะแผดเผา

สันติ,  สันติภาพ  ความสงบ

สันติเกนิทาน   เรื่องใกล้ชิด หมายถึง เรื่องราวหรือความเป็นมาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าตั้งแต่ตรัสรู้แล้วจนเสด็จปรินิพพาน

สันติวิหารธรรม  ธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างสงบ

สันตุฏฐิกถา  ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ (ข้อ ๒ ในกถาวัตถุ ๑๐)

สันถัต  ผ้ารองนั่ง หล่อด้วยขนเจียม

สันทัด   ถนัด,  จัดเจน,  ชำนาญ;  ปานกลาง

สันทัสสนา  การให้เห็นชัดแจ้ง  หรือชี้ให้ชัด  คือ  ชี้แจงให้เข้าใจชัดเจน มองเห็นเรื่องราวและเหตุผลต่าง ๆ  แจ่มแจ้งเหมือนจูงมือไปดูเห็นประจักษ์กับตา;  เป็นลักษณะอย่างแรกของการสอนที่ดีตามแนวพุทธจริยา  (ข้อต่อไป คือ สมาทปนา)

สนฺทิฏฺฐิโก   พระธรรมอันผู้ได้บรรลุย่อมเห็นเองรู้เอง ประจักษ์แจ้งกับตนไม่ต้องขึ้นต่อผู้อื่น ไม่ต้องเชื่อต่อถ้อยคำของใคร  (ข้อ ๒ ในธรรมคุณ ๖)

สันนิธิ   การสั่งสม,  ของที่สั่งสมไว้  หมายถึง ของเคี้ยวของฉันที่รับประเคนแล้วเก็บไว้ค้างคืนเพื่อจะฉันในวันรุ่งขึ้น ภิกษุฉันของนั้นเป็นปาจิตตีย์ทุกคำกลืน  (สิกขาบทที่ ๘ แห่งโภชนาวรรคปาจิตติยกัณฑ์)

สันนิบาต  การประชุม,  ที่ประชุม

สนฺนิปาติกา  อาพาธา  ความเจ็บไข้เกิดจากสันนิบาต  (คือ  ประชุมกันแห่งสมุฏฐานทั้งสาม), ไข้สันนิบาต คือ ความเจ็บไข้ที่เกิดขึ้นแต่ดี เสมหะ และลม ทั้งสามเจือกัน

สันนิวาส  ที่อยู่,  ที่พัก; การอยู่ด้วยกัน, การอยู่ร่วมกัน

สันนิษฐาน  ความตกลงใจ, ลงความเห็นในที่สุด; ไทยใช้ในความหมายว่า  ลงความเห็นเป็นการคาดคะเนไว้ก่อน

สันยาสี  ผู้สละโลกแล้วตามธรรมเนียมของศาสนาฮินดู  ดู อาศรม

สันสกฤต  ชื่อภาษาโบราณของอินเดียภาษาหนึ่ง ใช้ในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน

สัปดาห์ ๗ วัน, ระยะ ๗  วัน

สัปบุรุษ   ดู สัปปุรุษ

สัปปาณกวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องสัตว์มีชีวิตเป็นต้น, เป็นวรรคที่ ๗ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ในมหาวิภังค์แห่งพระวินัยปิฎก

สัปปายะ สิ่ง สถาน หรือบุคคล ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะกัน เกื้อกูล หรือเอื้ออำนวยโดยเฉพาะที่ช่วยเกื้อกูลแก่การบำเพ็ญและประคับประคองรักษาสมาธิ  ท่านแสดงไว้ ๗ อย่าง คือ อาวาส (ที่อยู่) โคจร (ที่บิณฑบาตหรือแหล่งอาหาร) ภัสสะ(เรื่องพูดคุยที่เสริมการปฏิบัติ) บุคคล (ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วช่วยให้จิตผ่องใสสงบมั่นคง) โภชนะ (อาหาร) อุตุ   (สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิ) อิริยาบถ; ทั้ง ๗ นี้ ที่เหมาะกันเป็นสัปปายะ ที่ไม่สบายเป็นอสัปปายะ

สัปปิโสณฑิกา ชื่อเงื้อมเขาแห่งหนึ่งอยู่ที่สีตวัน ใกล้กรุงราชคฤห์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

สัปปุริสธรรม ธรรมของสัตบุรุษ,  ธรรมของคนดี, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ มี ๗ อย่าง คือ ๑  ธัมมัญญุตา   รู้หลักหรือรู้จักเหตุ  ๒. อัตถัญญุตา  รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล  ๓. อัตตัญญุตา  รู้จักตน  ๔. มัตตัญญุตา  รู้จักประมาณ ๕. กาลัญญุตา  รู้จักกาล  ๖. ปริสัญญุตา  รู้จักชุมชน  ๗. ปุคคลัญญุตา  รู้จักบุคคล; อีกหมวดหนึ่งมี ๘ อย่าง  คือ  ๑. ประกอบด้วย  สัทธรรม ๗  ประการ  ๒. ภักดีสัตบุรุษ (คบหาผู้มีสัทธรรม ๗)  ๓. คิดอย่างสัตบุรุษ  ๔. ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ ๕. พูดอย่างสัตบุรุษ  ๖. ทำอย่างสัตบุรุษ  (๓-๔-๕-๖ คือ คิด ปรึกษา พูด ทำ มิใช่เพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น) ๗. มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ  (คือเห็นชอบว่าทำดี มีผลดี  ทำชั่วมีผลชั่วเป็นต้น)  ๘. ให้ทานอย่างสัตบุรุษ  (คือให้โดยเคารพเอื้อเฟื้อแก่ของและผู้รับทาน เป็นต้น) 

สัปปุริสบัญญัติ  ข้อที่ท่านสัตบุรุษตั้งไว้,  บัญญัติของคนดี  มี ๓ คือ  ๑. ทาน  ปันสละของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น  ๒. ปัพพัชชา  ถือบวช  เว้นจากการเบียดเบียนกัน  ๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน  บำรุงมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข

สัปปุริสูปัสสยะ   คบสัตบุรุษ,  คบคนดี,  ได้คนดีเป็นที่พึ่งอาศัย  (ข้อ ๒ ในจักร ๔)

สัปปุริสูปสังเสวะ  คบสัตบุรุษ,  คบคนดี,  คบท่านที่ประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ,  เสวนาท่านผู้รู้ผู้ทรงคุณ  (ข้อ ๑ ในวุฑฒิ ๔)

สุปปุรุษ  เป็นคำเลือนปะปนระหว่างสัปปุริสที่เขียนอย่างบาลี  กับสัตบุรุษที่เขียนอย่างสันสกฤต  มีความหมายอย่างเดียวกัน (ดู  สัตบุรุษ)  แต่ในภาษาไทยเป็นคำอยู่ข้างโบราณ ใช้กันในความหมายว่า  คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาในพระศาสนา  เฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไปร่วมกิจกรรมทางบุญทางกุศล รักษาศีลฟังธรรมเป็นประจำที่วัดใดวัดหนึ่ง บางทีเรียกตามความผูกพันกับวัดว่าสัปปุรุษวัดนั้น  สัปปุรุษวัดนี้

สัพพกามี   ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์  ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒ เป็นผู้มีพรรษาสูงสุด  และทำหน้าที่วิสัชนา

สัพพโลเกอนภิรตสัญญา กำหนดหมายถึงความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง (ข้อ ๘ ในสัญญา ๑๐)

สัพพสังขาเรสุอนิฏฐสัญญา  กำหนดหมายถึง ความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง (ข้อ ๙ ในสัญญา ๑๐)

สัพพัญญุตญาณ   ญาณ คือความเป็นพระสัพพัญญู, พระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

สัพพัญญู   ผู้รู้หมด,  ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, พระนามของพระพุทธเจ้า

สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ  ปรีชาหยั่งรู้ทางที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ ทั้งสุคติ ทุคติ และทางแห่งนิพพาน (ข้อ ๓ ในทศพลญาณ) สัมปชัญญะ  ความรู้ตัวทั่วพร้อม,  ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้; มักมาคู่กับสติ  (ข้อ ๒ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒)

สัมปชานมุสาวาท  รู้ตัวอยู่กล่าวเท็จ, การพูดเท็จทั้งที่รู้ คือ รู้ความจริง แต่จงใจพูดให้คลาดจากความจริง เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจเป็นอย่างอื่นจากความจริง  (สิกขาบทที่ ๑ แห่งมุสาวาทวรรคปาจิตติยกัณฑ์)

สัมปยุต   ประกอบด้วย;  สัมปยุตต์  เขียน

สัมปโยค  การประกอบกัน

สัมประหาร  การสู้รบกัน,  การต่อสู้กัน

สัมปรายภพ   ภพหน้า

สัมปรายิกัตถะ  ประโยชน์ภายหน้า,  ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไป  อันได้แก่  ความมีจิตใจเจริญงอกงามด้วยคุณธรรม ความดี  ทำให้ชีวิตนี้มีค่าและเป็นหลักประกันชีวิตในภพหน้า  ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยธรรม ๔ ประการ  คือ ๑. สัทธาสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ๓. จาคสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา ธรรม ๔ อย่างนี้เรียกเต็มว่า สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม

สัมปหังสนา  การทำให้ร่าเริง  หรือปลุกให้ร่าเริง  คือ  ทำบรรยากาศให้สนุกสดชื่นแจ่มใส  เบิกบานใจ  ให้ผู้ฟังแช่มชื่นมีความหวัง มองเห็นผลดีและทางสำเร็จ;  เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการสอนที่ดีตามแนวพุทธจริยา  (ข้อก่อนคือสมุตเตชนา)

สัมปัตตวิรัติ  ความเว้นจากวัตถุอันถึงเข้า, การเว้นเมื่อประสบซึ่งหน้า คือไม่ได้สมาทานศีล หรือตั้งใจละเว้นมาก่อนแต่เมื่อประสบเหตุอันจะทำให้ทำความชั่วหรือละเมิดศีลเข้าเฉพาะหน้า ก็ละเว้นได้ในขณะนั้นเอง  ไม่ล่วงละเมิดศีล (ข้อ ๑ ในวิรัติ  ๓)

สัมผัปปลาปะ   พูดเพ้อเจ้อ,  พูดเหลวไหล,  พูดไม่เป็นประโยชน์ ไม่มีเหตุผล ไร้สาระ ไม่ถูกกาลถูกเวลา (ข้อ ๗ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

สัมผัปปลาปา  เวรมณี  เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ, เว้นจากพูดเหลวไหลไม่เป็นประโยชน์, พูดคำจริง มีเหตุผลมีประโยชน์ถูกกาลเทศะ  (ข้อ ๗ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)

สัมผัส  ความกระทบ, การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก,  ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน  อายตนะภายนอก  และวิญญาณมี ๖ เริ่มแต่จักขุสัมผัส สัมผัสทางตา  เป็นต้น จนถึง มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ (เรียงตามอายตนะภายใน  ๖);  ผัสสะ ก็เรียก

สัมพันธ์  ๑.   เกี่ยวข้อง,  ผูกพัน,  เนื่องกัน ๒. ในทางอักขรวิธีภาษาบาลี หมายถึงบทที่เชื่อมกับบทอื่น เช่น ตุณฺหสฺส หรือตุณฺหิสฺส  (= ตุณฺหี+อสฺส)

สัมพุทธะ   ท่านผู้ตรัสรู้เอง,  พระพุทธเจ้า

สัมภเวสี  ผู้แสวงสมภพ,  ดู  ภูตะ

สัมภาระ  สิ่งของต่าง ๆ,  วัตถุ,  วัสดุ,  เครื่องใช้,  องค์,  ส่วนประกอบ;  การประชุมเข้า

สัมภูตสาณวาสี  ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์  ผู้ทำสังคายนาครั้งที่  ๒

สัมโภคนาสนา  ให้ฉิบหายเสียจากการกินร่วม,  เป็นศัพท์ผูกใหม่ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  ว่าน่าจะใช้แทนคำว่า  ทัณฑกรรมนาสนา  (การให้ฉิบหายด้วยทัณฑกรรม คือ ลงโทษสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมเทศนาโดยไล่จากสำนัก และไม่ให้ภิกษุทั้งหลายคบด้วยตามสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งสัปปาณกวรรค  ปาจิตติยกัณฑ์)

สัมมติกา  กับปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ คือ กุฏีที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยะกุฏีแล้วสวดประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม  ดู  กัปปิยภูมิ

สัมมสนญาณ  ญาณหยั่งรู้ด้วยพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์, ญาณที่พิจารณาหรือตรวจตรานามรูปหรือสังขาร  มองเห็นตามแนวไตรลักษณ์  คือรู้ว่า ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน  (ข้อ ๓ ในญาณ ๑๖)

สัมมัตถะ  ความเป็นถูก,  ภาวะที่ถูกมี ๑๐ อย่าง  ๘ ข้อต้น ตรงกับองค์มรรคทั้ง ๘  ข้อ  เพิ่ม ๒ ข้อท้าย  คือ ๙. สัมมาญาณ รู้ชอบ ได้แก่ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ  ๑๐. สัมมาวิมุตติ  พ้นชอบ ได้แก่อรหัตตผลวิมุตติ;  เรียกอีกอย่างว่า อเสขธรรม ๑๐; ตรงข้ามกับ  มิจฉัตตะ ๑๐

สัมมา  โดยชอบ,  ดี,  ถูกต้อง,  ถูกถ้วน,  สมบูรณ์,  จริง,  แท้

สัมมากัมมันตะ   ทำการชอบ  หรือการงานชอบ  ได้แก่  การกระทำที่เว้นจากความประพฤติชั่วทางกายสามอย่าง คือ  ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์  ประพฤติผิดในกาม คือ เว้นจากกายทุจริต ๓ (ข้อ ๔ ในมรรค)

สัมมาญาณะ  รู้ชอบ ได้แก่ ผลญาณ คือ ญาณอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากมรรคญาณ เช่น โสดาปัตติผล  เป็นต้น และปัจจเวกขณญาณ  (ข้อ ๙ ในสัมมัตตะ ๑๐)

สัมมาทิฏฐิ   ปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ ๔,  เห็นชอบตามคลองธรรมว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว มารดาบิดามี (คือ มีคุณความดีควรแก่ฐานะหนึ่งที่เรียกว่า มารดาบิดา) ฯลฯ, เห็นถูกต้องตามที่เป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นต้น (ข้อ ๑ ในมรรค)

สัมมาทิฏฐิสูตร  พระสูตรแสดงความหมายต่าง ๆ แห่งสัมมาทิฏฐิ เป็นภาษิตของพระสารีบุตร (สูตรที่ ๙ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก)

สัมมาปฏิบัติ  ปฏิบัติชอบ  คือปฏิบัติชอบธรรม, ปฏิบัติถูกทำนองคลองธรรม, ดำเนินในมรรคามีองค์ ๘ ประการ (ปฏิบัติตามมรรค)

สัมมาวาจา   เจรจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต ๔ (ข้อ ๓ ในมรรค)

สัมมาวายามะ  เพียรชอบ คือ เพียรในที่ ๔ สถาน ได้แก่  ๑. สังวรปธาน  ๒. ปหานปธาน  ๓. ภาวนาปธาน  ๔. อนุรักขนาปธาน (ข้อ ๖ ในมรรค);  ดู  ปธาน

สัมมาวิมุตติ  พ้นชอบ  ได้แก่  อรหัตตผลวิมุตติ  (ข้อ ๑๐ ในสัมมัตตะ ๑๐)

สัมมาสติ   ระลึกชอบ  คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔  (ข้อ ๗ ในมรรค)

สัมมาสมาธิ   ตั้งจิตมั่นชอบ,  จิตมั่นชอบ  คือ สมาธิที่เจริญตามแนวของ ฌาน ๔  (ข้อ ๘  นมรรค)

สัมมาสังกัปปะ  ดำริชอบ  คือ  ๑. เนกขัมมสังกัปปะ ดำริจะออกจากกาม  หรือปลอดจากโลภะ ๒. อัพยาปาทสังกัปปะ ดำริในอันไม่พยาบาท  ๓. อวิหิงสาสังกัปปะ ดำริในอันไม่เบียดเบียน  (ข้อ ๒ ในมรรค)

สัมมาสัมพุทธเจดีย์  เจดีย์ที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า,  เจดีย์ที่เป็นเครื่องเตือนจิตให้ระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ดู  เจดีย์

สมฺมาสมฺพุทฺโธ  ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ คือ รู้อริยสัจ ๔ โดยไม่เคยได้เรียนรู้จากผู้อื่น  จึงทรงเป็นผู้เริ่มประกาศ สัจจธรรมเป็นผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนา และจึงได้พระนามอย่างหนึ่งว่า ธรรมสามี คือเป็นเจ้าของธรรม  (ข้อ ๒ ในพุทธคุณ ๙)

สัมมาสัมโพธิญาณ  ญาณเป็นเครื่องตรัสรู้เองโดยชอบ

สัมมาอาชีวะ  เลี้ยงชีวิตชอบ คือ เว้นจากการเลี้ยงชีวิตโดยทางที่ผิด  เช่นโกงเขา หลอกลวง สอพลอ บีบบังคับขู่เข็ญ ค้าคน  ค้ายาเสพติด  ค้ายาพิษ  เป็นต้น  (ข้อ ๕ ในมรรค)

สัมมุขาวินัย   ระเบียบอันพึงทำในที่พร้อมหน้า, วิธีระงับต่อหน้า ได้แก่ การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าสงฆ์  (สังฆสัมมุขตา คือภิกษุเข้าประชุมครบองค์สงฆ์),  ในที่พร้อมหน้าบุคคล  (ปุคคลสัมมุขตา คือบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้ากัน),  ในที่พร้อมหน้าวัตถุ (วัตถุสัมมุขตา  คือยกเรื่องที่เกิดนั้นขึ้นวินิจฉัย, ในที่พร้อมหน้าธรรมวินัย  (ธัมมสัมมุขตา และ วินยสัมมุขตา  คือนำเอาหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามพระธรรมวินัยมาใช้ปฏิบัติ ได้แก่วินิจฉัยถูกธรรม ถูกวินัย); สัมมุขาวินัย ใช้เป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ได้ทุกอย่าง

สัมฤทธิ์   ความสำเร็จ

สัลลวตี   แม่น้ำที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบท  ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้

สัสสตทิฏฐิ  ความเห็นว่าเที่ยง  คือความเห็นว่าอัตตาและโลกเป็นสิ่งเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว  ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป  ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป  เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง ตรงข้ามกับอุจเฉททิฏฐิ  (ข้อ ๑ ในทิฏฐิ ๒)

สัสสเมธะ  ความฉลาดในการบำรุงข้าวกล้า, พระปรีชาในการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์  เป็นสังคหวัตถุประการหนึ่งที่พระราชาจะพึงทรงบำเพ็ญ

สากัจฉา  การพูดจา,  การสนทนา

สากิยานี  เจ้าหญิงวงศ์ศากยะ

สาเกต  ชื่อมหานครแห่งหนึ่ง อยู่ในแคว้นโกศล ห่างจากเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์ ธนัญชัยเศรษฐี บิดาของนางวิสาขาได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าปเสนทิโกศล  ห้เข้าตั้งถิ่นฐานและสร้างขึ้นเมื่อคราวที่ท่านเศรษฐีอพยพจากเมืองราชคฤห์มาอยู่ในแคว้นโกศลตามคำเชิญชวนของพระองค์

สาขนคร  เมืองกิ่ง,  เมืองเล็ก

สาคตะ   พระมหาสาวกองค์หนึ่ง  เกิดในตระกูลพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี  ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดามีความเลื่อมใส  ขอบวชแล้วทำความเพียรเจริญสมาบัติ ๘ ประการ จนมีความชำนาญในสมาบัติ ท่านเป็นต้นบัญญัติสุราปานสิกขาบท  และเพราะเกิดความสังเวชในเหตุการณ์ที่เกิดกับตนครั้งนี้จึงเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานจนได้สำเร็จพระอรหัต 
ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเตโชธาตุสมาบัติ

สาคร   ทะเล

สาคละ  ชื่อนครหลวงของแคว้นมัททะ  และต่อมาภายหลังพุทธกาลได้เป็นราชธานีของพระเจ้ามิลินท์กษัตริย์นักปราชญ์ที่ได้โต้วาทะกับพระนาคเสน,  ปัจจุบันอยู่ในแคว้นปัญจาบ;  แคว้นมัททะนั้นบางคราวถูกเข้าใจสับสนกับแคว้นมัจฉะ ทำให้สาคละพลอยถูกเรียกเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัจฉะไปก็มี

สาชีพ  แบบแผนแห่งความประพฤติที่ทำให้มีชีวิตร่วมเป็นอันเดียวกัน ได้แก่สิกขาบททั้งปวงที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ในพระวินัย  นทำให้ภิกษุทั้งหลายผู้มาจากถิ่นฐานชาติตระกูลต่าง ๆ กันมามีความเป็นอยู่ เสมอเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน;  มาคู่กับ สิกขา

สาณะ   ผ้าทำด้วยเปลือกป่าน,  ผ้าป่าน

สาณัตติกะ   อาบัติที่ต้องเพราะสั่ง คือสั่งผู้อื่นทำตัวเองไม่ได้ทำก็ต้องอาบัติ เช่น สั่งให้ผู้อื่นลักทรัพย์ เป็นต้น

สาฎก  ผ้า,  ผ้าห่ม,  ผ้าคลุม

สาตรูป  รูปเป็นที่ชื่นใจ;  ดู  ปิยรู

สาเถยยะ  โอ้อวด,  ความโอ้อวดหลอกเขา;  เขียน สาไถย ก็ได้  (ข้อ ๖ ในมละ ๙, ข้อ ๑๐ ในอุปกิเลส ๑๖)

สาธก  อ้างตัวอย่างให้เห็นสม,  ยกตัวอย่างมาอ้างให้เห็น

สาธยาย  การท่อง,  การสวด

สาธารณ์   ทั่วไป,  ทั่วไปแก่หมู่, ของส่วนรวม ไม่ใช่ของใครโดยเฉพาะ

สาธารณสถาน  สถานที่สำหรับคนทั่วไป

สาธารณสิกขาบท  สิกขาบทที่ทั่วไป,  สิกขาบทที่ใช้บังคับทั่วกันหรือเสมอเหมือนกัน หมายถึงสิกขาบทสำหรับภิกษุณี  ที่เหมือนกันกับสิกขาบทของภิกษุ เช่น ปาราชิก ๔  ข้อต้นในจำนวน ๘ ข้อของภิกษุณีเหมือนกันกับสิกขาบทของภิกษุ เทียบ  อสาธารณสิกขาบท

สาธุการ   การเปล่งวาจาว่า  สาธุ (แปลว่า ดีแล้ว ชอบแล้ว)  เพื่อแสดงความเห็นชอบด้วย ชื่นชม หรือยกย่องสรรเสริญ

สาธุชน  คนดี,  คนมีศีลธรรม,  คนมีสัมมาทิฏฐิ

สานต์  สงบ

สามเณร   เหล่ากอแห่งสมณะ,  บรรพชิตในพระพุทธศาสนาผู้ยังมิได้อุปสมบทเพียงแต่รับบรรพชาด้วยไตรสรณคมน์  ถือสิกขาบท  ๑๐  และกิจวัตรบางอย่างตามปกติ  มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์;  พระราหุลเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา

สามเณรเปสกะ   ภิกษุผู้ได้รับสมมติ  คือ  แต่งตั้งจากสงฆ์ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ใช้สามเณร (เป็นเจ้าอธิการแห่งอารามประเภทหนึ่ง)

สามเณรี  สามเณรผู้หญิง,  หญิงรับบรรพชาในสำนักภิกษุณี ถือสิกขาบท ๑๐ เหมือนสามเณร

สามเพท   ชื่อคัมภีร์ที่ ๓ ของพระเวท;  ดู ไตรเพท

สามัคคีปวารณา  กรณีอย่างสามัคคีอุโบสถนั่นเอง เมื่อทำปวารณา เรียกว่าสามัคคีปวารณา และวันที่ทำนั้นก็เรียก วันสามัคคี

สามัคคีอุโบสถ  อุโบสถที่ทำขึ้นเป็นกรณีพิเศษเมื่อสงฆ์สองฝ่ายซึ่งแตกกันกลับมาปรองดองสมานกันเข้าได้  สามัคคีอุโบสถไม่กำหนดด้วยวันที่ตายตัว  สงฆ์พร้อมเพรียงกันเมื่อใดก็ทำเมื่อนั้น เรียกวันนั้นว่าวันสามัคคี
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า:  1 [2] 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.508 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 01 พฤษภาคม 2567 11:37:40