[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 12:52:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จุดกำเนิดของ การเจริญพระพุทธมนต์ หรือการสวดมนต์  (อ่าน 1282 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5489


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 กันยายน 2556 14:31:17 »

.



ความเป็นมาของ "การสวดมนต์"
เกี่ยวกับการเจริญพระพุทธมนต์ หรือการสวดมนต์ อ่านบทความของท่านเจ้าคุณพระวิจิตรธรร มาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ท่านเล่าไว้ว่า การเจริญพระพุทธมนต์มีจุดกำเนิดมาจากการศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์ เพื่อทรงจำและสืบต่อคำสั่งสอนของพระพุทธองค์โดยตรง โดยพระสงฆ์สาวกสมัยพุทธกาลได้นำพระสูตรต่างๆ มาสวดสาธยายในรูปแบบการบริกรรมภาวนาให้เกิดเป็นสมาธิ จึงเรียกว่าพระพุทธมนต์

เมื่อบริกรรมภาวนาพระพุทธพจน์จนจิตเป็นสมาธิย่อมเกิด พลานุภาพในด้านต่างๆ เช่น ทำให้เกิดสิ่งที่ดีงามขึ้นในชีวิต จิตใจไม่ดีก็จะดี ชีวิตไม่ดีก็จะดี สุขภาพไม่ดีก็จะดี หน้าที่การงานไม่ดีก็จะดี ครอบครัวไม่ดีก็จะดี ในขณะเดียวกันก็ต้านทานสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากชีวิต

ต่อมาจึงมีผู้นิยมนำพระพุทธพจน์มาใช้เป็นพระพุทธมนต์เพื่อต้านทานสิ่งไม่ดีทั้งหลาย พระพุทธมนต์จึงถูกเรียกว่า "พระปริตร" แปลว่า เครื่องต้านทาน ป้องกัน รักษา ภายหลังพระพุทธมนต์ที่มีอานุภาพในการต้านทาน คุ้มครอง ป้องกัน รักษา จึงถูกเรียกว่า พระปริตร ตามไปด้วย

การศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์ในครั้งพุทธกาลใช้วิธีเรียนแบบบอกปากต่อปาก แล้วท่องจำสวดสาธยายต่อๆ กันมา เรียกว่า มุขปาฐะ วิธีเล่าเรียนพระพุทธพจน์ที่เรียกว่ามุขปาฐะนี้ พระสาวกใช้มาตั้งแต่สมัยพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ โดยพระสงฆ์ในสมัยนั้นแบ่งหน้าที่กันท่องเป็นหมู่คณะตามความถนัด เช่น พระอุบาลีเถระทำหน้าที่ทรงจำพระวินัย ภิกษุผู้สนใจเกี่ยวกับพระวินัยก็เรียนพระวินัยจากพระอุบาลีเถระ, พระอานนท์เถระทรงจำพระสูตร ภิกษุผู้สนใจเกี่ยวกับพระสูตรก็เรียนพระสูตรต่อจากพระอานนท์เถระ และพระสารีบุตรเถระทรงจำพระอภิธรรม ภิกษุผู้สนใจเกี่ยวกับพระอภิธรรมก็เรียนพระอภิธรรมต่อจากพระสารีบุตรเถระ แล้วก็ร่วมกันสวดสาธยายเป็นหมู่คณะตามโอกาส แม้ที่พักอาศัยก็จะอยู่รวมกันเป็นคณะเพื่อสะดวกต่อการร่วมกันสวดสาธยายพระพุทธพจน์ที่ตนถนัด
 
ในพระวินัยปิฎกยังระบุว่า ในอาวาสที่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่มากรูปจะต้องให้มีพระภิกษุสวดปาติโมกข์ คือการสวดทบทวนศีล ๒๒๗ ข้อของพระสงฆ์ได้ ๑ รูปเป็นอย่างน้อย หากไม่มีจะต้องขวนขวายส่งไปเรียนยังสำนักที่มีผู้สวดได้ หากไม่ทำเช่นนั้นจะปรับอาบัติแก่เจ้าอาวาสเพราะโทษที่ไม่ใส่ใจจะให้มีผู้ทรงจำพระปาติโมกข์ แสดงให้เห็นว่าสมัยพุทธกาลนั้นได้มีการนำพระพุทธพจน์มาท่องบ่นสาธยายกันอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว

ลำดับพระเถระที่สืบต่อพระพุทธพจน์ ในสมันตปาสาทิกาคัมภีร์อรรถกถาอธิบายพระวินัยปิฎกได้แสดงลำดับพระเถระที่สืบต่อพระวินัยตั้งแต่พระอุบาลีเถระจนถึงสังคายนาครั้งที่ ๓ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มีลำดับพระเถระ ๕ ท่าน ดังนี้ พระอุบาลีเถระ ทรงจำไว้เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้า, พระทาสกะ ทรงจำต่อจากพระ อุบาลีเถระ, พระโสณกะ ทรงจำต่อจากพระทาสกะ, พระสิคควะ ทรงจำต่อจากพระโสณกะ และพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ทรงจำต่อจากพระสิคควะ นอกจากนั้นเมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ พระสารีบุตรเถระได้ริเริ่มจัดหมวดหมู่พระพุทธพจน์ไว้เป็นแบบอย่างแล้วเพื่อสะดวกแก่การทรงจำ จนเกิดพระสูตรหนึ่งชื่อ สังคีติสูตร แปลว่า พระสูตรว่าด้วยการสังคายนา หรือพระสูตรว่าด้วยการจัดระเบียบคำสอนนั่นเอง

ภายหลังพระพุทธองค์ปรินิพพานได้ ๓ เดือน ได้มีการจัดระเบียบแบบแผนการทรงจำคำสอนใหม่อย่างเป็นระบบ เรียกว่า การสังคายนา โดยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน และได้มีมติจะรักษาพระพุทธพจน์ที่จัดระเบียบไว้แล้วด้วยวิธีมุขปาฐะ หรือวิธีท่องจำ ภายหลังพระพุทธองค์ปรินิพพานประมาณ ๔๕๐ ปี จึงได้มีการบันทึกพระพุทธพจน์เป็นตัวหนังสือที่ลังกาทวีป สาเหตุมาจากบ้านเมืองมีความผันผวนอันเกิดจากภาวะสงครามจึงยากแก่การทรงจำพระพุทธพจน์


ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า ๒๔ ฉบับประจำวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๖

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.254 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 01 ตุลาคม 2566 14:49:16