[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤษภาคม 2567 18:00:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติการเชิดสิงโต ตามประเพณีจีน  (อ่าน 10086 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5478


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 มกราคม 2557 11:33:35 »

.

สิงโตเป็นสัตว์ในจินตนาการของชาวจีน เชื่อว่าเป็นหนึ่งในบุตร ๙ ตัวของมังกร มีอำนาจและทรงพลังมากที่สุดในบรรดาบุตรทั้งหมด รับมอบหมายจากสวรรค์ในฐานะผู้พิทักษ์ จึงถือเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังอำนาจ ความกล้าหาญ และความจงรักภักดี เชื่อกันว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เพียงเสียงคำรามสามารถปัดเป่าวิญญาณและสิ่งชั่วร้ายได้

ชาวจีนนิยมสร้างรูปสลักสิงโตไว้หน้าประตูพระราชวัง ประตูบ้าน หรือสถานที่ต่างๆ ให้คอยคุ้มครองป้องกันภยันตราย ภูตผีปีศาจ และสิ่งชั่วร้าย

สิงโตตัวผู้จะอยู่ด้านขวา และตัวเมียจะอยู่ด้านซ้าย

ส่วนกำเนิดการเชิดสิงโตมีหลายตำนานด้วยกัน เช่น ตำนานสมัยห้าราชวงศ์ระบุว่า ในวันตรุษจีนจะปรากฏสัตว์ร้ายชื่อว่า เหนียน คอยทำร้ายผู้คน สัตว์เลี้ยง และทำลายพืชผลไร่นาเสียหาย

ผู้คนจึงต้องบวงสรวงต่อเทพเจ้าบนสวรรค์ เง็กเซียนฮ่องเต้จึงส่งเทพสิงโตมาขับไล่เจ้าตัวเหนียน ในวันตรุษจีนปีต่อมา เหนียนก็กลับมาสร้างความเดือดร้อนอีก แต่เทพสิงโตไม่ลงมาช่วย ผู้คนจึงต้องร่วมกันแต่งตัวทำเลียนแบบสิงโตจึงไล่ตัวเหนียนไปได้ เกิดเป็นประเพณีเชิดสิงโตขึ้นมา

บางตำนานระบุว่า การเชิดสิงโตเริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ้อง แม่ทัพจงอวี่ ยกทัพไปออกรบที่ดินแดนหลินหยี ทางตอนใต้ของจีนแถวประเทศลาว และพม่า ข้าศึกชาวพื้นเมืองใช้กองทัพช้างทำให้สู้ไม่ได้ จึงใช้อุบายให้ทหารแต่งตัวเป็นสิงโต จนกองทัพช้างเกิดความกลัวแตกตื่นและแตกพ่ายไป จึงมีประเพณีเชิดสิงโตเพื่อฉลองชัยชนะ

สิงโตสามแบบที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุย ตัวละครในสามก๊ก

สิงโตเล่าปี่ หน้าสีทอง เคราและขนสีขาว สื่อถึงความเฉลียวฉลาด ส่วนหางมีหลายสีรวมธาตุทั้งห้าเอาไว้ สื่อถึงการมีอำนาจควบคุมธาตุทั้งห้า

สิงโตกวนอู มีใบหน้าสีแดง ขนสีดำ และมีเครายาวสีดำ หางแดงขลิบดำ รู้จักในชื่อว่า "สิ่ง-ซือ" มีความหมายว่าสิงโตผู้ตื่นตัว นิยมเชิดกันมากที่สุด

สิงโตเตียวหุย มีใบหน้าสีดำ และมีเคราสั้นสีดำ ที่หูทั้งสองข้างประดับดอกไม้ และมีขนสีดำ หางสีดำขลิบขาว เป็นสิงโตนักสู้ เป็นที่ชื่นชอบของนักธุรกิจ

ต่อมามีสิงโตอีกสามแบบเพิ่มเข้ามา ได้แก่ สิงโตหน้าเขียว คือ ตัวแทนของจูล่ง (เจ้าจื่อหลง) เป็นสิงโตวีรบุรุษ

สิงโตหน้าเหลืองแทนฮองตง (หรือหวงจง) เป็นสิงโตนักสู้ยอดคุณธรรม

สิงโตขาว คือ ม้าเฉียว (หรือหม่าเฉา) สิงโตตัวนี้ยังรู้จักในชื่อว่าสิงโตงานศพ ใช้เชิดสำหรับพิธีศพของอาจารย์ (ซือฟู) หรือหัวหน้าคนสำคัญของคณะ และจะเผาสิงโตหลังจากเสร็จพิธี

สำหรับการเชิดสิงโตในไทย บ้างว่าเริ่มในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ที่มีชาวจีนอพยพเข้ามาค้าขายและอาศัยพระบรมโพธิสมภารเป็นจำนวนมาก แต่ในพระราชพงศาวดาร ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ระบุว่า องเชียงสือ (เจ้าญวน) ฝึกหัดคนญวนให้เล่นสิงโตล่อแก้วและสิงโตคาบแก้ว เพื่อใช้ในการเล่นถวายตัวแด่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ที่ทรงโปรดให้เล่นถวายหน้าพลับพลาที่ประทับ จนสืบทอดต่อมาถึงปัจจุบัน

ในจีนจะเชิดสิงโตเฉพาะในช่วงตรุษจีนเป็นสำคัญ ขณะที่ไทยใช้เชิดกันเกือบทุกเทศกาล และวันมงคลต่างๆ



ตรุษจีนนครสวรรค์ปีนี้ พบกับลูกหมู เชิดหมีน้อย


I'm Mckaforce

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 มกราคม 2557 10:36:18 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5478


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 31 มกราคม 2557 10:54:08 »

.
















ขบวนอังกอร์
การแสดงอังกอร์ เสียงไม้ที่เคาะได้จังหวะกับท่าเต้น..การแสดงชุดนี้น่าชมมากที่สุด




ที่กลัวเมื่อตอนเป็นเด็กๆ ก็กลัวสีสันบนใบหน้าและตาดุๆ แบบนี้
















ชุดนี้เป็นชุดรุ่นจิ๋ว แสดงต่อจากชุดผู้ใหญ่





ขบวนแห่มังกรทองปากน้ำโพ
ขบวนนี้เป็นขบวนปิดท้าย
และเป็นการสิ้นสุดการรอคอยของบรรดาพี่ๆ น้องๆ ในสำนักงาน


ป้ายเขียนว่า "ขบวนแห่มังกรทอง จ้าวพ่อ-จ้าวแม่ ปากน้ำโพ
















มังกรนี้ มีความยาว 300 เมตร
จากภาพ จึงมองไม่เห็นทั้งหัวและหาง หัวเลี้ยวมุมอาคารที่สองไปแล้ว หางยังอยู่ที่อาคารหนึ่ง


สิ้นสุดการรอคอย
ที่ข้อมือของเพื่อนและน้องร่วมงาน คือหนวดมังกร
ที่ถูกถอนทุกปีๆ  กลับจากศาลากลางต้องไปปลูกหนวด (ร้อยหนวด)
กันอีกพักใหญ่กว่าจะนำไปแห่ต่อได้






โผล่เข้ามาในสำนักงาน มันน่าตกใจมั๊ยล่ะ
ในห้องทำงานมีบุคลากร 30 คน ลูกน้องแต่งตัวยังเงี๊ยะเกือบครึ่ง
...อายุก็ปาเข้าสามสิบกว่าขวบ...ดูที่ทรงผม!












ลูกหลานคนในสำนักงาน "น้องอ็องฟองต์" (ถ่ายโพสต์กระทู้ "วันเด็กแห่งชาติ")
ก็มาเยี่ยมป้ากิมในห้องทำงาน ใส่ชุดกี่เพ้าสีแดงมาด้วย





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กุมภาพันธ์ 2557 09:23:13 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.257 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 04 เมษายน 2567 10:43:58