[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ จิบกาแฟ => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 29 มีนาคม 2567 11:18:44



หัวข้อ: พิธีทศระ : ภาพฮินดู
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 มีนาคม 2567 11:18:44
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/90069049058689_12374783_916648011705712_35292.jpg)

พิธี ทศระ

พิธี ทศระ เป็นพิธีสำคัญของฮินดู ถือว่าเป็นพิธีของพระมหากษัตริย์ และทำกันอย่างมโหฬาร

วันพิธีมีในวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนอัศวัน หรือ อาศวยุธ (เดือน ๑๑) ถือว่าวันนี้เป็นวันที่พระทุรคาได้ฆ่ายักษ์มหิษาสูร และเป็นวันที่พระรามได้ชัยชนะทศกัณฐ์แล้วยกทัพกลับอโยธยา

รายละเอียดของพิธีมีมากมาย สรุปย่อๆ เริ่มด้วยสมโภชเครื่องราชูปโภค ช้างต้น ม้าต้น ราชรถ พระแสงศัสตราวุธต่างๆ ฯลฯ เดินขบวน ช้างเครื่อง ม้าเครื่อง พลทหาร ฯลฯ ผ่านหน้าที่นั่งถวายตัว เสร็จแล้วพระราชทานสิ่งของแก่พวกพราหมณ์  ตอนบ่ายตั้งกระบวนแห่ที่หน้าพระราชวัง เสด็จทรงช้างพระที่นั่งออกประตูวัง เจ้าพนักงานช้างนำ ลั่นกลองพิไชยเภรี  ขบวนมโหฬารเคลื่อนจากพระราชวังไปยังทุ่งนอกพระนครที่จัดไว้เป็นมณฑลพิธี มีต้นศมีพร้อมทั้งเครื่องบูชาที่ต้นศมี มีกิ่งไม้ชนิดหนึ่งพร้อมทั้่งใบ เรียกว่า อาปตะ (ชื่อละตินเรียก Bauhinia tomentosa ตรงกับชงโค) ผูกไว้รอบใบชงโคนั้น สมมุติแทนทองคำ (ชงโคเป็นพวกปาริชาตที่กล่าวข้างต้น คงจะสมมุติเป็นไม้กัลปพฤกษ์ที่นึกเอาทองเอาเงินอะไรก็ได้) ถึงมณฑลพิธี พระมหากษัตริย์เสด็จลงจากช้างพระที่นั่งไปทำพิธีบูชาที่ต้นศมี เสร็จแล้วชักพระแสงออกฟันผลฟักทองแทนฟันสัตว์ที่ทำกันมาแต่สมัยโบราณ จากนั้นพวกเสนาอมาตย์ราชบริพารก็เข้าแย่งเก็บใบชงโคที่สมมุติเป็นทองคำนั้น นับเป็นจบพิธี  พระมหากษัตริย์ทรงช้างกลับคืนเข้าพระนคร เมื่อถึงพระราชวัง โปรดพระราชทานเครื่องยศขุนนางตามยศฐาน์บรรดาศักดิ์อีกครั้งเป็นเสร็จการ  

ในสมัยโบราณ การออกรณรงค์สงครามหรือออกปราบศัตรูหมู่ร้าย ถือเอาวันทศระนี้เป็นวันยาตราทัพ พิธีทศระดังกล่าว ตรงกับคำให้การของพราหมณ์ชื่อ อจุตนันนำ ที่เข้ามาในรัชกาลที่ ๓ เล่าถึงเมืองพาราณสีตอนหนึ่งว่า "เดือน ๑๑ พระราชพิธีชื่อว่า อาสุชะวิทานำ ขึ้น ๕ ค่ำ พระมหากษัตริย์และทหารชำระอาวุธแล้วแต่งเครื่องบูชาทำขวัญอาวุธ ที่ตั้งอยู่ในศีล ไม่ฆ่าสัตว์นั้น เอาอาวุธไปฟันต้นมะพร้าว ที่ไม่อยู่ในศี่ลนั้น เอาอาวุธไปฟันโคกระบือ ลองอาวุธ แล้วทหารนำไปสำแดงแผลงอาวุธถวายพระมหากษัตริย์หน้าพระที่นั่งพร้อมๆ กัน  ในขณะนั้น ชาวเมืองที่มีทรัพย์ ก็เอาเงินและทองไปถวายพระมหากษัตริย์ตามมากแลน้อย ที่ไม่มีทรัพย์ ได้แต่ดอกไม้ไปถวาย พระมหากษัตริย์สั่งเสนาบดีให้พิจารณาดูสุข ทุกข์ ของราษฎร แล้วสั่งให้ตระเตรียมทหาร ไพร่พลรบให้พร้อมสรรพ"

อีกตอนหนึ่งว่า "เดือน ๑ พระราชพิธีชื่อ มิคะศีระวิทานำ วันขั้น ๕ ค่ำ เอาธงใหญ่สำหรับเมืองปักไว้แปดทิศพระนคร แต่งเครื่องพลีกรรม บวงสรวงพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เป็นเทวดารักษาพระนคร ๑๐ วัน  ครั้น ณ วันเป็นคำรบ ๑๐ ทหารถืออาวุธขึ้นขี่ช้างขี่ม้า ลองเชิงเล่นหน้าพระที่นั่งพระมหากษัตริย์ แล้วจึงถอนธง ถ้าศึกสงครามจะไปตีบ้านใดเมืองใด ก็ให้ยกไปในเดือนนั้น"

ในอินเดียปัจจุบันนี้ พิธีทศระก็ยังเป็นพิธีสำคัญของพวกฮินดูท้่วไป แคว้นทางอินเดียเหนือหลายแคว้น มีมหาราชาที่มีเชื้อสายสืบเนื่องกันมาจากกษัตริย์สุริยวงศ์ และจันทรวงศ์หลายองค์ เช่น มหาราชาโยธปุระ สืบเนื่องมาจากพระรามที่ครองอโยธยา  มหาราชาไชยปุระ สืบเนื่องมาจาก พระกุศ โอรสพระรามที่ครองสาวัตถี  มหาราชาไชยสัลเมระ สืบเนื่องมาจากพระกฤษณะจันทรวงศ์  มหาราชาชากโรลิ ก็สืบเนื่องมาจากพระกฤษณะจันทรวงศ์ (แคว้นเหล่านี้ รวมอยู่ในแว่นแคว้นราชปุตน์) ล้วนมีพิธีทศระเป็นพิธีหลวง ทำกันใหญ่โตมโหฬาร มีมหรสพทั่วไป มีฟ้อนรำที่เรียกว่า รามลีลา มีการเล่นมวยปล้ำและการต่อสู้แบบกระบี่กระบองของเรา ทางอินเดียใต้ มหาราชาไมโสร์ก็ทำเป็นงานใหญ่เช่นเดียวกัน