[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 08:02:20 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - แม้สังคมไทยจะคลั่งไคล้สิทธารถะ เเต่ก็เป็นได้เเค่โควินทะ  (อ่าน 36 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2567 11:45:36 »

แม้สังคมไทยจะคลั่งไคล้สิทธารถะ เเต่ก็เป็นได้เเค่โควินทะ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-02-24 07:47</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>เจษฎา บัวบาล</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="note-box">
<p>บทความนี้มีข้อเสนอ 2 อย่าง คือ (1) แม้ตัวละครสิทธารถะจะถูกใช้เป็นตัวอย่างในการแสวงหา/พัฒนาตนทางจิตวิญญาณในสังคมไทย แต่ไม่ใช่การค้นหาอิสรภาพแบบที่สิทธารถะทำ เเค่เป็นการปฏิเสธพระสงฆ์หรือพุทธกระเเสหลัก แล้วรวมตัวกันศึกษา/ปฏิบัติธรรมในนามของกลุ่มฆราวาสเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้พบได้ทั่วไปในคริตศตวรรษที่ 20 และ (2) หนังสือเล่มนี้ไม่ได้นำเสนอหลักการพุทธเป็นแกนหลัก แต่ตรงกันข้าม คือใช้เเก่นของศาสนาพราหมณ์มาเกทับศาสนาพุทธ กล่าวคือผู้พ้นทุกข์ที่แท้จริงคือผู้เข้าใจพรหมันหรือปรมาตมัน ในขณะที่ผู้สมาทานวิถีแบบพุทธกลับไม่บรรลุธรรม</p>
</div>
<p><strong>(1) เราเป็นสิทธารถะหรือโควินทะ</strong>
สิทธารถะ (Siddhartha) เป็นนิยายคลาสสิคของ เฮอร์มานน์ เฮสเส (Hermann Hesse) ซึ่งพูดถึงการเเสวงหาความหลุดพ้นทางจิตวิญญาณ เเต่สิทธารถะเลือกที่จะไม่ถวายตนหรือสังกัดกับองค์กร/ความเชื่อใด เพราะเห็นว่า การบรรลุธรรมสอนกันไม่ได้ แต่ละคนต้องค้นหาด้วยตนเอง ตรงกันข้ามกับเพื่อนของเขาคือ โควินทะ ที่บวชเพราะศรัทธาพุทธะ และตั้งใจปฏิบัติตามคำสอนพุทธ เช่น มรรคแปด </p>
<p>จริงๆ แล้วเราแบ่งแบบง่ายๆ ไม่ได้ว่า หากมาบวชก็จะเป็นโควินทะ ใครใช้ชีวิตฆราวาสต่อไปก็เป็นสิทธารถะ เพราะฆราวาสจำนวนมากยังศรัทธาต่อคำสอนของศาสนาและไม่ได้หาทางอื่นๆ ที่นอกตำราหรือนอกคำบรรยายเพื่อจะพ้นทุกข์ด้วยตัวเอง ดังนั้นการรวมกลุ่มกันของฆราวาสเหล่านี้ ที่อาจมีฆราวาสผู้มีชื่อเสียงมาคอยบรรยายธรรมให้ฟัง มีการรวมตัวกันจัดเวิร์คชอปเป็นต้น ก็ควรจัดเป็นกลุ่มของโควินทะอยู่นั่นเอง</p>
<p>คือเราเเค่มองว่าการบวชไม่สำคัญ ดังนั้นปฏิบัติธรรมในคราบฆราวาสก็ได้ เเต่คนจำนวนมากนี้เเหละ ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานภายใต้การแนะนำของพระหรือครูอาจารย์ดัง เช่น ดร.สิริ กรินชัย ซึ่งเป็นวิธีที่สืบมาจากกระเเสวิปัสสนาในหมู่ฆราวาสของพม่าตั้งเเต่ ค.ศ. 1900 โดยการนำของ Ledi Sayadaw มาพร้อมกับการส่งเสริมอภิธรรม</p>
<p>หรืออาจเป็นกลุ่มนักเดินทางด้านในแบบประมวล เพ็งจันทร์ อดีตมหาเปรียญและอาจารย์สอนปรัชญาซึ่งมีลูกศิษย์ทั้งที่ร่วมกิจกรรมด้วยและอ่านหนังสือของเขาจำนวนมาก ผมสันนิษฐานว่า ประมวลน่าจะได้รับอิทธิพลอย่างมากจากหนังสือสิทธารถะ เวลาบรรยายธรรมเขาจะพูดถึงการได้ค้นพบความหมายของสิ่งเล็กๆ ที่ได้พบเจอในชีวิตประจำวัน และสำนวนภาษาคล้ายกับสิ่งที่สิทธารถะพูด</p>
<p>ซึ่งความสนใจเหล่านี้มักเกิดในหมู่คนชั้นกลางที่พอมีจะกิน มีการศึกษาหรืออยู่ในเมือง บ้างก็อาจมองว่าพิธีกรรมตามวัด เช่น การปลุกเสกและสะเดาะเคราะห์เป็นเรื่องงมงาย ในขณะที่วิปัสสนาหรือมิติด้านจิตวิญญาณเป็นเรื่องสากลกว่า แต่ทั้งนี้ คนเหล่านี้ก็มักจะไม่ทิ้งการใส่บาตร ทำบุญวันเกิด หรือบริจาคเงินจัดพิมพ์หนังสือธรรมะ (ที่ตนเชื่อว่าถูกต้องมีเหตุผล) เพื่อให้คนได้เข้าถึงอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นการเผยเเผ่ศาสนาในรูปแบบหนึ่ง</p>
<p>ขณะที่สิทธารถะคือคนปฏิเสธศาสนาที่มีแบบฟอร์ม องค์กรและกลุ่มก้อน เขามองว่า มันเเค่การย้ายอัตตาจากตัวเองแล้วไปผูกไว้กับกลุ่มหรือความภักดีในพระรัตนตรัยเป็นต้น (น. 38-39) เขายอมรับว่า การออกมาจากกลุ่มสร้างความเปล่าเปลี่ยวอย่างมาก “เเม้ดาบสที่อยู่คนเดียวในป่าก็ไม่ได้เดียวดาย เพราะเขายังมีชนชั้น (ออกมาข้างนอกก็มีคนกราบไหว้ เพราะคนรับรู้สถานะ/อัตลักษณ์ของดาบส) โควินทะไปบวชเป็นพระก็มีพระสงฆ์นับหมื่นเป็นวงศ์วาน ห่มจีวรเหมือนกัน ร่วมศรัทธาและภาษาพูดด้วยกัน” (น. 45-46)</p>
<p>สิทธารถะเชื่อว่า เราควรมีอิสระที่จะเรียนรู้และเข้าถึงธรรมผ่านประสบการณ์ส่วนตัว เมื่อออกมาจากกลุ่มสมณะแล้ว เขาไม่ไปรวมกลุ่มกับนักบวชหรือผู้ฝึกฝนทางจิตวิญญาณที่ไหน แต่ในไทย เเค่อาจปฏิเสธพุทธเเบบรัฐหรือพระ (หรือปฏิบัติควบคู่กันไปเลย) แล้วจับกลุ่มกันในหมู่ฆราวาส ซึ่งคนที่ทำหน้าที่บรรยายก็มักเป็นผู้รู้ศาสนามากกว่าพระด้วย เเค่ไม่ห่มจีวร แต่นั่นคือความเท่ที่ตอบสนองคนจำนวนหนึ่งได้ว่าตนเปิดใจกว้าง เป็น spiritual not religious ย้ำนะครับว่านั่นไม่ได้ผิดอะไร ผมแค่จะยืนยันว่า นั่นเป็นวิถีแบบโควินทะนี่เอง</p>
<p>ในสังคมไทย มีการโจมตีวัตถุนิยม (ส.ศิวรักษ์ เป็นหนึ่งในนี้) จึงต้องหันมาโปรโมทศาสนาหรือมิติทางจิตวิญญาณ คำนำที่เขียนโดยสดใสก็ระบุแบบนี้ (น. 14) แน่นอนว่า สิทธารถะเคยคิดแบบนี้ เขารู้สึกว่าตัวเองเสียเวลาไปกับเรื่องหาเงิน เรื่องผู้หญิง เรื่องทางโลกและคิดว่าเป็นชีวิตที่ว่างเปล่าไร้ค่า (น. 92) แต่นั่นไม่ใช่บทสรุปของเรื่อง เพราะถ้าเป็นแบบนั้นก็จะเหมือนกับที่พุทธะเเละสมณะสอน ในทางตรงกันข้ามคือต่อมาเขาข้ามพ้นการมองแบบนั้น จึงสามารถพบสัจธรรมได้ ซึ่งจะอธิบายในข้อถัดไป แต่ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า เรามักอ่านสิทธารถะแบบเถรวาทอยู่เสมอ</p>
<p>ไม่ใช่เฉพาะในไทย เเม้ในสารคดีที่ทำโดยวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ฝรั่งก็รวมตัวกันเป็นหมู่บ้าน ทำฟาร์ม ใช้ชีวิตออกจากวัตถุนิยมมาอยู่กับธรรมชาติ และบอกว่านั่นคืออิทธิพลของสิทธารถะ เเน่นอนว่าเราตีความได้หลายแบบ เเต่ต้องไม่ลืมว่า สิทธารถะไม่ได้ตั้งกลุ่มมารวมตัวกันหรือทำเพื่อคนรุ่นหลัง ไม่แม้เเต่จะช่วยลูกตัวเอง แต่มันเป็นการพ้นทุกข์แบบปัจเจก อาจเพราะเชื่อว่า แต่ละคนมีวิธีเข้าถึงสัจธรรมที่ไม่เหมือนกัน ต้องปล่อยให้เขาไปหา/เรียนรู้สิ่งที่เขาปรารถนา</p>
<p><strong>2. ใช้หลักคำสอนพราหมณ์เกทับพุทธ</strong>
การที่สิทธารถะเชื่อว่าพุทธะคือคนหนึ่งที่เข้าถึงสัจธรรมแล้ว อาจทำให้ผู้อ่านที่เป็นชาวพุทธเชื่อต่อไปว่า หนังสือเล่มนี้เขียนบนหลักการของพุทธ และบ้างก็ตีความแม่น้ำ/โอม ในเรื่องว่าเป็น “สติ/สติปัฏฐาน” เป็นต้น แต่เราจะพบว่า สิทธารถะพูดอย่างตรงไปตรงมาหลายครั้งถึงการเข้าถึงพรหมัน/ปรมาตมัน ซึ่งเป็นสิ่งสูงสุดของแนวคิดแบบพราหมณ์ ผ่านการบริกรรม “โอม” เป็นต้น</p>
<p>ที่สิทธารถะเชื่อว่าพุทธะก็เข้าถึงพรหมัน/นิพพานได้ เพราะเป็นปกติของคนอินเดียโบราณที่ไม่ได้ยึดกับอัตลักษณ์ศาสนามาก ว่าต้องเพราะพุทธหรือพราหมณ์ หรือพราหมณ์นิกายไหน มีคนออกบวชเยอะซึ่งเรียกรวมๆ ว่า “สมณะ” มีวิธีปฏิบัติที่หลากหลายแล้วแต่ใครจะออกแบบ อาจเรียกธรรมเนียมนี้ว่า Shamanism และไม่ได้ผูกขาดว่าการบรรลุธรรมต้องมีแบบเดียว อินเดียจึงมีศาสดาจำนวนมากและชาวบ้านก็ใส่บาตรสมณะเหล่านั้น ในปัจจุบัน คนฮินดูยังใส่บาตรให้พระนักศึกษาไทย เพราะมองว่านั่นคือ “สมณะ”</p>
<p><strong>สิทธารถะไม่เคยทิ้งคำสอนพราหมณ์</strong>
ฉะนั้นการเชื่อว่า พุทธะ หรือ มหาวีระ หรือใครอีกกี่คนจะบรรลุธรรมได้จึงเป็นเรื่องปกติ แต่ที่สำคัญคือ สิทธารถะเองมีวิธีคิดแบบพราหมณ์ คือการบรรลุธรรมหมายถึงการเข้าถึงพรหมัน เขาท่องจำอุปนิษัทได้และเชื่อว่า “พรหมันคือสัจธรรม”  (น. 9) และเเม้จะไม่เป็นสมณะเเล้ว เขายังไม่เคยทิ้งวิธีคิด/ความสันโดษแบบสมณะ ดังที่กมลาพูดเสมอว่า “นัยน์ตาของคุณเหมือนสมณะคนนั้น” (น. 118) คือเเม้จะเเต่งตัวเเบบคนรวย เปลี่ยนไปทำการค้าขายและเสพกาม หรือมาเป็นคนแจวเรือเเล้ว แต่ก็ยังดูเหมือนวันที่เขาเป็นสมณะ </p>
<p>แน่นอนว่าวิธีคิดเขาพัฒนาไปแล้ว คือ พยายามไม่มองโลกแบบขาว/ดำ มายา/จริงแท้ ช่วงที่ทำธุรกิจกับกามสวามี เขาก็ทำอย่างผ่อนคลายไม่หวังผลกำไร มีความสุขกับการได้เรียนรู้ชีวิตผู้คน (น. 72) ที่สำคัญคือ เมื่อเขาเบื่อโลกแล้วออกไปจากเมือง กำลังจะฆ่าตัวตายริมแม่น้ำ เสียงจากวิญญาณส่วนลึกก็ดังขึ้นมาปลุกจิตสำนึกเขา นั่นคือคำว่า “โอม” ซึ่งแปลว่า พระองค์ผู้ทรงความสมบูรณ์/พระเจ้า (น. 93) และนั่นก็คือมนต์ที่เขาได้เรียนมาตั้งเเต่เป็นพราหมณ์ หรือขณะปลอบลูกที่ร้องไห้เพราะแม่ตาย เขาก็ท่องโศลกพราหมณ์เป็นทำนองแบบเพลงกล่อม (น. 119)</p>
<p><strong>คำสอนและการบรรลุธรรมอยู่บนฐานคิดของพราหมณ์</strong>
พราหมณ์เชื่อเรื่องความจริงแท้ไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่พุทธมองสรรพสิ่งว่าเปลี่ยนแปลงเสมอจนไม่อาจยึดเป็นอัตตาตัวตนได้ ซึ่งสิทธารถะเป็นแบบเเรก เช่น เมื่อเขามองใบหน้าและปากที่หดเหี่ยวของกมลาผู้ซึ่งกำลังจะตาย เเล้วนึกเปรียบเทียบว่า เมื่อก่อนเขาเคยชมว่าเธอมีริมฝีปากเเดงสดชื่น “และชั่วโมงนั้นเอง เขาได้รู้สึกอย่างเฉียบคม ว่าทุกชีวิตไม่อาจทำลาย ชีวิตเป็นนิรันดร์ทุกขณะจิต” (น. 121) นั่นเป็นความเชื่อแบบอาตมัน/พรหมัน ว่าชีวิตไม่เคยตาย เช่นในเรื่องภควัทคีตา แต่หากเป็นแบบพุทธก็ต้องพูดว่า ร่างกายนี้ไม่เที่ยง เกิดแก่เจ็บตาย เห็นความไม่งามแล้วปล่อยวาง เป็นต้น</p>
<p>ช่วงที่เขาสนทนาครั้งสุดท้ายกับโควินทะ สะท้อนให้เห็นคำสอนพุทธและพวกสมณะทั้งหลายได้ชัด ซึ่งมักสอนแบบเเบ่งแยกว่า มีทุกข์ มีการดับทุกข์ มีสังสารวัฏ มีนิพพาน ดังที่สิทธารถะเถียงว่า “สิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามก็เป็นจริงได้เท่ากัน .. โลกที่อยู่ภายในและรอบๆ ตัวเราไม่ได้มีด้านเดียว ไม่มีใครหรือการกระทำใดที่เป็นสังสารวัฏล้วนๆ หรือนิพพานล้วนๆ” (น. 149)</p>
<p>“ฟังนะเพื่อนรัก ! ผมเป็นคนบาป คุณก็เป็นคนบาป แต่สักวันหนึ่งคนบาปจะกลับสู่พรหมัน เขาจะบรรลุนิพพานได้ในวันหนึ่ง .. “วันหนึ่ง” เป็นเพียงมายา เพราะอนาคตของเขาอยู่ตรงนั้นแล้ว โลกนี้ไม่ได้ขาดความสมบูรณ์ หรือกำลังหมุนไปบนเส้นทางสู่ความสมบูรณ์ ทุกสิ่งล้วนสมบูรณ์ ทุกสิ่งคือพรหมัน” (น. 150-151) และจุดพีคของการปฏิเสธคำสอนพุทธคือ</p>
<p>“นี่คือก้อนหิน เมื่อกาลเวลาผ่านไปมันจะกลายเป็นดิน จากดินกลายเป็นต้นไม้ เป็นสัตว์หรือเป็นมนุษย์ .. ในกฎของความเปลี่ยนแปลง (เมื่อก่อน) ผมคงจะคิดเช่นนี้” </p>
<p>“แต่ตอนนี้ผมคิดว่า ก้อนหินก็คือก้อนหิน มันเป็นสัตว์ด้วย เป็นพระเจ้าและเป็นพุทธะ ผมไม่ได้เคารพเเละรักหินนี้เพราะมันเป็นสิ่งหนึ่งและจะกลายเป็นอีกสิ่งหนึ่ง แต่เพราะมันเป็นทุกสิ่งมานานแล้ว และเป็นทุกสิ่งตลอดไป .. ก้อนหินแต่ละก้อนแตกต่างกัน ต่างบูชาโอมตามแนวทางของมัน แต่ละก้อนคือพรหมัน .. ผมเห็นว่ามันน่าอัศจรรย์และมีค่าควรบูชา” (น. 151-152) ฉะนั้น แม่น้ำซึ่งมีอยู่ทุกที่หรือโอมเป็นต้นจึงไม่ใช่สติในแบบพุทธ แต่คือพรหมันหรือพระเจ้าที่ดำรงอยู่เช่นนั้นและเป็นทุกอย่างในเวลาเดียวกัน ไม่ใช่การรอเพื่อที่จะกลายเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ในอนาคต หรือเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะแบบอนิจจัง</p>
<p>เรื่องนี้ไม่ได้บอกว่าเมื่อฟังธรรมแล้วโควินทะได้บรรลุไหม แต่เขาก็เห็นบางอย่างแบบที่สิทธารถะพูด เช่น มองหน้าผากของสิทธารถะเป็นจอภาพที่มีทุกอย่างอยู่ในนั้น ตั้งเเต่ปลา ทารก ฆาตกร คนร่วมเพศ ฯลฯ และเขาก็เชื่อว่า สิทธารถะได้บรรลุธรรมไม่ต่างกับพุทธะ แต่หากจะตีความว่าโควินทะยังไม่บรรลุธรรมก็เป็นได้ เพราะเรื่องนี้ไม่ได้สอนให้คนเป็นสาวก แบบที่โควินทะฟังธรรมและปฏิบัติมาทั้งชีวิตก็ยังไม่ได้บรรลุ หากแต่ต้องการสื่อว่าเราต้องค้นพบผ่านประสบการณ์ตัวเอง </p>
<p style="text-align: center;"><strong>0000</strong></p>
<p> </p>
<p><strong>หนังสือที่ใช้อ้างอิง</strong>
เฮอร์มาน เฮสเส (เขียน). 2566. สิทธารถะ. แปลโดย สดใส. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 19.
<strong>ขอบคุณภาพจาก:</strong> positivepsychology.com
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทคhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108190
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 400 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 414 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 314 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 316 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 238 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.191 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กุมภาพันธ์ 2567 17:40:18