[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
05 พฤษภาคม 2567 23:06:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เเหม่มมะตูน ตั้งโรงเรียนการเรือนเป็นครั้งแรกในเมืองไทย  (อ่าน 150 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5471


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 มกราคม 2566 20:33:10 »


ภาพวาด : ครูเหม เวชกร

เเหม่มมะตูนตั้งโรงเรียนการเรือน

งานของมิชชันนารีอเมริกันที่เข้ามาเมืองไทยตั้งแต่ต้นสมัยรัชกาลที่ ๓ มีหลายอย่าง ฝ่ายชายดำเนินงานแยกออกได้กว้างๆ เป็น ๓ ทาง คือ ทางศาสนา มีสอนศาสนาทางหนึ่ง ทางเพทย์ มีรับรักษาโรคภัยไข้เจ็บทางหนึ่ง และทางเผยแผ่วัฒนธรรม มีตั้งโรงพิมพ์และนำของวิทยาศาสตร์แบบใหม่เข้ามา เช่น เครื่องไฟฟ้า เครื่องจักรกลไกต่างๆ อีกทางหนึ่ง ฝ่ายหญิงดำเนินงานไปในทางการศึกษา คือสอนวิชาหนังสือเด็กชายหญิง

ว่าถึงการศึกษาของไทยสมัยนั้น ยังไม่มีสถานที่สอนที่เรียกว่า "โรงเรียน" อย่างในปัจจุบัน เท่าที่ปฏิบัติกันทั่วไป เด็กชายเรียนหนังสือกับพระภิกษุสงฆ์ตามวัด จนมีความรู้พอสมควรแล้วก็ทำงานตามสกุล ส่วนเด็กหญิงเรียนอยู่กับบ้าน แต่ไม่นิยมเรืยนมาก เรียนเพียงเล็กน้อยอย่างที่พูดกันว่า "เรียนพออ่านฉลากยาออก" ฉลากยาคือหนังสือที่หมอเขียนไว้ที่กระดาษห่อยารักษาโรคให้ใว้ในบ้าน เมื่อเจ็บป่วยก็หยิบมาใช้ได้ถูกต้อง ที่ไม่เรียนมากมักจะว่ากันว่ากลัวเล่นเพลงยาวกับผู้ชาย นอกจากวิชาหนังสือ เด็กหญิงส่วนมากก็ฝึกหัดวิชาช่าง เช่น เย็บปักถักร้อย และการช่าง การฝีมือต่างๆ ไปตามสกุลเหมือนกัน

มิชชันนารีหญิงที่ดำเนินงานทางการศึกษาเป็นคนแรก ก็คือ แหม่มดาเวนปอร์ต ภรรยาหมอดาเวนปอร์ต ที่เข้ามาเมืองไทยเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๙ เป็นปีที่ ๑๓ ในรัชกาลที่ ๓ แหม่มดาเวนปอร์ตได้ตั้งสถานที่ศึกษาขึ้น สอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นแบบ School (โรงเรียน) สอนเด็กไทยเป็นครั้งแรก ต่อมาถึงปื พ.ศ.๒๓๘๓ มีมิชชันนารีหญิงสาวชื่อ เพียร์ส เข้ามา มิสเพียร์สได้ตั้งสถานที่ศึกษาเป็นแบบที่เรียกว่า Boarding School (โรงเรียนกินนอน) ขึ้นเป็นครั้งแรกอีกคนหนึ่ง แต่สมัยนั้นไทยเรายังไม่นิยมการศึกษากันนัก ประจวบกับมิสเพียร์สถึงแก่กรรมลงในปี พ.ศ.๒๓๘๗ และหมอดาเวนปอร์ตที่ย้ายไปจากเมืองไทยในปี พ.ศ.๒๓๘๘ งานทางด้านศึกษาก็ชะงักไปถึงปี พ.ศ.๒๓๘๙ หมอมะตูน กับภรรยาเข้ามา แหม่มมะตูนได้จัดตั้งสถานที่สอนเด็กหญิงขึ้นในบ้าน พ.ศ.๒๓๙๑ อีกครั้งหนึ่ง ได้สอนมาจนกระทั่งสิ้นรัชกาลที่ ๓

ขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๔ ปี พ.ศ.๒๓๙๕ แหม่มมะตูนได้เริ่มตั้งสถานศึกษาขึ้นในหมู่บ้านมอญแห่งหนึ่ง สอนทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย กับตั้งที่ริมวัดแจ้งอีกแห่งหนึ่ง สอนเฉพาะเด็กชาย สถานศึกษาทั้งสองแห่งนี้จัดเข้ารูปอย่างที่เรียกว่า "โรงเรียน"

ปี พ.ศ.๒๓๙๙ แหม่มะตูนได้ตั้งสถานศึกษาแบบโรงเรียนการเรือนขึ้นสอนวิชาการเรือนแก่สตรีที่แต่งงานแล้วมีนักเรียนเข้าเรียน ๗ คน นับเป็นโรงเรียนการเรือนที่มีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย วิชาการเรือนนั้นตามปรกติไทยเราก็มีกันอยู่แล้ว กล่าวคือสอนให้หญิงสาวรู้จักเย็บปักถักร้อยตลอดจนการครัว อย่างที่พูดกันว่า "ให้รู้จักหม้อข้าวหม้อแกง" คือทำอาหารคาวหวานเป็น สมัยก่อนการสู่ขอหญิงสาว ถ้าผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงไม่เต็มใจหรืออยากจะให้รอไปก่อน ก็มักจะพูดเบี่ยงบ่ายว่า "ยังไม่รู้จักหม้อข้าวหม้อแกง" ไทยเรากันว่าผู้ที่จะเป็นแม่เรือนนั้น ถ้าไม่รู้จักวิชาปรุงกับข้าวของกิน แล้วก็ยังนับว่าเป็นแม่เรือนแท้ไม่ได้ การปรุงกับข้าวของกินจึงเป็นเรื่องสำคัญของผู้หญิงที่จะเป็นเแม่เรือน แต่โรงเรียนการเรือนของแหม่มมะตูนจะสอนอะไรบ้างไม่ทราบ

สมัยก่อนแม่ค้าพายเรือขายขนม เคยร้องขายว่า "อ้อยจีนบางใหญ่ อ้อยไทยบางคูวัด ข้าวหลามตัดวัดระฆัง ขนมฝรั่งกะฎีจีนแม่เอ๊ย" ของที่ขายนั้นระบุชื่อที่กำเนิดอันเป็นตำบลมีชื่อเสียง คืออ้อยจีนต้องเป็นอ้อยที่บางใหญ่ อ้อยไทยต้องเป็นอ้อยที่บางคูวัด (สองแห่งอยู่ในคลองบางกอกน้อย) ข้าวหลามตัดต้องเป็นข้าวหลามตัดทำที่วัดระฆัง แล้วขนมฝรั่งก็ต้องเป็นขนมทำที่ตำบลกะฎีจีน แสดงว่าของที่มาจากตำบลดังกล่าวแล้ว ต้องเป็นของดีมีชื่อเสียง ตำบลกะฎีจีนเคยเป็นที่อยู่ของพวกฝรั่งมาตั้งแต่สมัยศรีอยุธยา และเมื่อพวกมิชชันนารีอเมริกันเข้ามาก็มาอยู่แถวกะฎีจีนกันมาก ขนมที่เรียกชื่อว่า "ขนมฝรั่ง" ก็บอกอยู่ในตัวว่าเป็นของฝรั่ง

อนึ่ง สมัยก่อนอาหารที่ได้ของฝรั่งปรุง ก็เคยมีชื่ออยู่หลายอย่าง เช่น พล่าไก่งวงแฮม ไก่งวงแฮมหลน พล่าปลาอันโชวี (ตำรับท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์) ดังนั้นโรงเรียนการเรือนของแหม่มมะตูนก็คงจะสอนวิชาปรุงอาหารและทำขนมแบบฝรั่งด้วยเหมือนกัน อาจสอนทั้งที่เป็นอาหารฝรั่งแท้ เช่น พวกสลัด สเต็ก สตู และขนมเค้ก และที่ดัดแปลงมาเป็นไทย เช่นพวกที่ปรุงด้วยหมูแฮม แอโชวี่ ฯลฯ และขนมที่เรียกว่า "ขนมฝรั่ง" (คล้ายเค้ก) ซึ่งกะฎีจีนเคยมีชื่อเสียง และปัจจุบันก็ยังทำกันหลายแห่ง


......................................

ที่มา - (ประวัติ เเละวรรณคดีไทย) ชัยพฤกษ์ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑๕ ออก ๑ สิงหาคม ๒๕๐๗ ต้นฉบับของครูวิน เลขะธรรม
เรื่อง - ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
มูลนิธิเหม เวชกร (เรื่อง/ภาพ)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.276 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กุมภาพันธ์ 2567 14:44:06