[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: เรือใบ ที่ 24 มกราคม 2556 14:53:21



หัวข้อ: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 24 มกราคม 2556 14:53:21
คนเราจะสุขหรือทุกข์นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับโชคชะตา ทุกอย่างขึ้นอยู่ที่ตัวของเราเองเป็นผู้กำหนด ดังพุทธภาษิตที่ว่า ใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธาน ความสำเร็จอยู่ที่ใจ  เราไม่สามารถปรับทิศทางลมได้แต่เราสามารถปรับทิศทางเรือได้  





(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQw6WxIo5o9xA_JDGXq-Gr_gfG0IppPzPZl8boBIU3SHSIWHoTWM9NTEfr7)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 24 มกราคม 2556 15:15:59
คนส่วนมากถ้าจะอยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุขก็ต้องอาศัยความมีเมตตาต่อกัน

(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTJFga31pNOeXsy0KLW4IFiy_GIMCPCErHapbZn0Yqbg-bsp2hVBh_R3Kld)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 24 มกราคม 2556 21:52:05

(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQGsT7BISEzrWpTQ6foWc1Jq0WBoVuhWhVTFqHMgnNEd0V_FyKw)

ธรรมรักษาใจสมุนไพรรักษาโรคนะครับ


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 25 มกราคม 2556 06:49:52
(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ9-8Wh90RGnNb60HhifoDGpl5VW7TpTLVPOtQbTHNUItw4y5vxag)

 (:3:)     แสงสว่างเกิดจากใจ ถ้าใจดับความสว่างก็ดับ


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 25 มกราคม 2556 09:50:46
 .        

(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT44k2VeUEwsto0UctLXAqpDzT47EMx2dDpL9wj1Bg0BiRwLNbW)

"คนเรามักไม่ค่อยคิดถึงสิ่งที่ตนมีอยู่ แต่มักจะคิดถึงสิ่งที่ตนไม่มี"
...เราแทบจะไม่คิดเลยว่า เรามีอะไรบ้าง ?...
แต่เราคิดเพียงว่าเราขาดอะไรบ้างเท่านั้น...
...จงรื่นรมย์กับสิ่งที่คุณมี ...ในขณะที่คนโง่พร่ำเพรียกใฝ่หาไม่รู้จบ...
...การสร้างนิสัยให้เกิดความคิด มองหาแต่ด้านดีในทุกสภาพการณ์ ...
เป็นสิ่งที่มีค่ามากกว่าได้รับเงินเป็นล้านๆ ในหนึ่งปี...


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 25 มกราคม 2556 21:24:20
.

(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRwFUhcaTmKIY6U0qHx5MWfWtVL0X2TXUGR5MaftgG8XmfHHRMoZA)
                                 

น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ
บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้น ๆ ลง ๆ

เวลาผิดหวัง บัณฑิตมักสงบเสงี่ยม   เวลาสมหวัง บัณฑิตก็ไม่ลำพอง 
วิถีชีวิตของคน ไม่ได้ดำเนินไปในเส้นทางที่นึกวาดไว้ว่าจะสมหวังหรือผิดหวัง   
พฤติกรรมของตนมีส่วนในการกำหนดอย่างยิ่ง
เวลาใดจิตใจประเสริฐตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม เวลานั้นชีวิตก็ราบเรียบปกติสุข
   
แต่มีบางโอกาสที่ดำเนินชีวิตผิดพลาดด้วยอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือด้วยช่วงที่กำลังเหลิง
ชีวิตก็อาจประสบความผิดหวัง ลุ่ม ๆ ดอน ๆ   
สำหรับคนไม่ฉลาดอาจเสียใจถึงกับทำลายชีวิตตนเองเมื่อผิดหวัง
 หรืออาจลืมตัวจนลืมสภาพเดิมของตัวเองเมื่อสมหวัง

ส่วนบัณฑิตทั้งหลายรู้เท่าทันว่าความผิดหวังและความสมหวัง
ว่าเป็นธรรมประจำโลกจึงไม่แสดงอาการขึ้นลงจนเสียปกติภาวะของตน
บุคคลควรเป็นคนหนักแน่น กระหยิ่มในใจเมื่อสมหวัง 
เตรียมใจพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องเมื่อประสบความผิดหวังอย่างไม่สะทกสะท้าน


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 25 มกราคม 2556 23:33:18
จงเอาอดีตที่ล้มเหลว มาเป็นแรงผลักดัน สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเราเอง (:88:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: อย่าพูดแทรกแม่ลูก มันบาป ที่ 26 มกราคม 2556 01:54:04

สาธุ


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 26 มกราคม 2556 08:54:38
.

(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRxRV834XL-WepPfNzrBKkwSTxJ0S03RqKNRja0UqcfleXiJSiQ)

การอภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้
ยิ่งกว่าแก่ผู้รับเช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน
คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด
จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 27 มกราคม 2556 14:20:14
ชีวิตจะได้รับบทเรียนที่มีค่ามากที่สุด  ท่ามกลางความทุกข์ยาก (:NT:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 28 มกราคม 2556 14:05:51

(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRzBDgSKZnblJicTimaACdj9qXsxW-gzwdrZ2z47GTvXbwHSXHS)

ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่
หากยังมีชีวิตที่ต้องดิ้นรนอยู่
หรือในบางครั้งอาจจะต้องล้มลงแล้วลุกขึ้นมาใหม่
ก็ไม่ต่างจากเด็กที่เพิ่งหัดเดิน
วันเด็กปีนี้ขอให้ทุกคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่
จงลูกขึ้นเดินแล้วก้าวต่อไปข้างหน้า อย่างมั่นคงตลอดไป


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 28 มกราคม 2556 20:09:25


(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTSvVUu6Yf7NC3A-Zf7dMNy5aobnt9YnCEXy5Rm_v_63cezDXXBrA)

ปมาโท มจฺจุโน ปทํ         
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย 
ถ้าพูดถึงความประมาทแล้ว คนทุกคนย่อมมีความประมาทด้วยกันทั้งนั้น
จะน้อยหรือมากขึ้นอยู่กับสติและปัญญาของแต่ละคน
บางคนก็ประมาทในการดำรงชีวิต  บางคนก็ประมาทในการทำความดี 
แต่ในที่นี้เราหมายเอาความประมาทในการทำความดี
การที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์นั้นเป็นเรื่องยาก ควรที่จะสั่งสมความดีกันไว้ให้มาก
เพราะความดีเท่านั้น ที่จะติดตามเราไปได้และจะเป็นเกาะป้องกันภัยให้เราได้
ฉะนั้นหากวันใดที่เราเกิดความประมาทที่จะทำความดีเมื่อไหร่
ก็เท่ากับว่า เราได้ตายไปจากความดีแล้วนั้นเอง


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 31 มกราคม 2556 13:15:18
 (:88:)
(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSa9dNiM7JHrym6rrqmz_wd3s9DK5j-rlGhhyPPFiNTU0GnMvXKXw)                            

“สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ       ยตฺถ กามนิปาตินํ
จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี    จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ
 
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต
ที่เห็นได้แสนยาก ที่ละเอียดยิ่งนัก
มักตกไปในอารมณ์ตามความปรารถนา
เพราะจิตที่รักษาไว้ได้ดีแล้ว เป็นเหตุนำความสุขมาให้”
 (:88:)

 


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2556 19:11:01
                                                                    
(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTRN8jiKYwPCnjyoI1L401-iCHaAWNaRuUPNg098B_idzkORtYZsQ)

กัมมุนา วัตตะตี โลโก  
สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม

สิ่งที่แก้ตัวไม่ได้ในปัจจุบันได้แก่การเกิด
การเกิดมาแล้วจะเป็นสัตว์หรือเป็นมนุษย์ย่อมแก้ไขไม่ได้ ในชาติหนึ่งๆ
เปรียบเสมือนการสอบไล่ เมื่อสอบตกในขณะนั้นแล้ว จะขอสอบแก้ตัวใหม่ในทันทีย่อมไม่ได้
ต้องเรียนต่อไปอีกจนมีภูมิความรู้ควรจะสอบและโอกาสอำนวยแล้ว จึงจะสอบได้อีก
ถ้าสอบได้ก็เลื่อนชั้นขึ้นไป


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 09 กุมภาพันธ์ 2556 15:46:10
(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRmiBgrOBnH5C_PEyazr6IkzRLk_6oqCgEmH96xWNkzfotbk7nv1A)

อรติ โลกนาสิกา

ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย   
ความริษยาเป็นสิ่งน่ารังเกียจ
เป็นเครื่องทำลายความสุขทั้งของตนเองและผู้อื่น


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 22:23:25
(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTRon-uXoxlrUtbrsVT_vC1r_1bxWGtEN-XQGkq4H_ya6bXX5HOdw)         

                             
สติ โลกสฺมิ ชาคโร
สติเป็นเครื่องตื่นในโลก


รู้ตัวมีสติ สมาธิเกิด ทำกันเถิด ความดี ไม่หนีหาย
ทั้งชาตินี้ ชาติหน้า พาสบาย
เพราะไม่ได้ก่อกรรมแต่ทำดี 
 


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 23:45:53

ซ๊าาาาาาา....ธุ !!

 ;D ;D ;D




หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 16:53:07

(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSVB_4Qyz5TAgnr2svibI3T905dYPBimrIZk-h14OH7F3WkTSQ_7w)                            
วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ  
คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร


ชีวิตของคนเราก็เหมือนกับนาฬิกาที่จะต้องเดินต่อไปข้างหน้า
เพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง หากวันไหนเราอ่อนแอ
และหยุดอยู่กับที่ก็ไม่ต่างอะไรกับนาฬิกาที่ตายแล้ว  
 

(:14:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 17:47:50
(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQnnLZdoAJbz13k9nnsN3YIuHDQ_pX4iEheHuBizRSSdi1UtIKncw)

โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา
เมตตาธรรมค้ำจุนโลก


พรหมวิหาร ๔ ธรรมนำชีวิต ...
๑.เมตตา  คือ มีความปราถนาดีให้ผู้อื่นมีความสุข
๒.กรุณา  คือ มีความปราถนาให้หรือเห็นผู้อื่นพ้นทุกข์
๓.มุฑิตา  คือ มีความยินดีเมื่อได้เห็นผู้อื่นมีความสุข
๔.อุเบกขา  คือ การวางเฉยมีใจเป็นกลางไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 12:55:36
.
  (:5:)
 
ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ
ผู้ฝึกตนได้เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์

วันนี้อาจขมขื่น
แต่จะหวานชื่นในวันข้างหน้า
ณ  วันนี้อาจจะหลั่งน้ำตา
แต่ถ้าว่ามันเป็นหลักประกัน
เมื่อเจอะเจออุปสรรคขวางกั้น
เราจะฝ่าฟันได้เพราะมีวันนี้ (ที่ขมขื่น)
สร้างยิ้มด้วยธรรม ธรรมะสร้างยิ้ม
 (:88:)  (:88:)  (:88:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 11:21:20
(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS9PBptmJyGnUBmVqNXPSBKPO_AC3m_fROSZQLg0IS32nUVFVpSsg)

ความสุขที่แท้จริง
....ไม่ได้เดินทางมาถึงก่อน...

ความลำบาก  คือจุดเริ่มต้นของความสุข
ต้องยอมรับว่า ทุกข์คือส่วนหนึ่งของชีวิตเรา"

 (:6:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 01 มีนาคม 2556 12:44:20
(http://sphotos-c.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc6/s480x480/184188_494483943921295_65155400_n.jpg)          
บุคคลที่หาได้ยาก ๒
มี
บุพการี + ผู้มีความกตัญญูกตเวที

(http://www.sookjai.com/index.php?action=dlattach;attach=7216;type=avatar)




หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 01 มีนาคม 2556 19:40:00

(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRhuz9mtB41mYHW45f-MeLlA0BxxgJVn-hJNM2bH39Eic-S6px7)

อยู่ด้วยความไม่หลงในสังขาร คือการปรุงหรือของปรุง,
อยู่ด้วยความรู้เท่าทันในสังขาร ไม่ยึดมั่นถือมั่น,
ถ้าเอาสังขารมาเป็นของคู่จิตคู่ใจ แล้วมันกัดเอา,
ต้องเอาวิสังขาร คือการไม่ปรุงมีความหมายเป็นพระนิพพานนั้น
มาเป็นของคู่จิตคู่ใจ ชีวิตนี้ก็เย็น ตลอดไป....


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 01 มีนาคม 2556 19:43:18

(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRVy4DtxVD6H3NXIEA8EsBHckLnlehHUdekQxSMTe1qwHte_4Xw)
อิสระจะโผผิน
สู่แดนดินถิ่นธรรมา
ทิ้งทุกข์ในมรรคา
มุ่งเบื้องหน้าหานิพพาน
(:11:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 05 มีนาคม 2556 21:27:02
 (:SL:)
ความยากจน ความโง่ ตระกูลต่ำ
อายุสั้น มีโรคมาก ไร้บริวาร ขี้เหร่
เป็นผู้หญิงบัณเฑาะก์ เป็นใบ้บ้า
ตาบอด หูหนวก ทรัพย์วิบัติ
การเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย สัตว์นรก

------> ล้วนชื่อว่าเป็น “อาถรรพ์”
ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา

บริจาคทาน แก้อาถรรพ์ข้อยากจน
การรับฟัง แก้อาถรรพ์ข้อโง่เขลา
การอ่อนน้อม แก้การเกิดในตระกูลต่ำ
การรักษาศีล แก้อายุสั้น (ศีลข้อ ๑)
การไม่เบียดเบียนสัตว์ แก้การมีโรคมาก
การสงเคราะห์สัตว์ แก้การไร้บริวาร
การรักษาศีลไม่ขี้โกรธ แก้การเกิดเป็นคนขี้เหร่
การรักษาศีลข้อ ๒ แก้ทรัพย์วิบัติ
การรักษาศีลข้อ ๓ แก้การเกิดเป็นผู้หญิงบัณเฑาะก์
การรักษาศีลข้อ ๔ แก้ตาบอด หูหนวก ไม่มีคนเชื่อถือ
การรักษาศีลข้อ ๕ แก้เป็นใบบ้า มีสติปัญญาดี

การรดน้ำมนต์ เสกเป่า ล้างอาถรรพ์ให้ชีวิตไม่ได้
การบำเพ็ญบารมีเท่านั้น จึงแก้อาถรรพ์ให้ชีวิตได้


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 06 มีนาคม 2556 19:11:18
“ลักษณะบุญคือ ใจเราดี ใจเรามีความสุข
ใจเรามีความสบาย เย็นอก เย็นใจ
ไม่ทุกข์ ไม่ร้อน ไม่วุ่น ไม่วาย นี่แหละบุญ”

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 06 มีนาคม 2556 19:15:26
การเดินทางของชีวิต เราไม่รู้หรอก
ปลายทางที่เราต้องการใช้เวลานานเท่าใด
สิ่งที่รอคอย จะสมหวังหรือไม่
ระหว่างทาง อาจนับ 1 ใหม่
แต่..ทุกก้าวเราต้องเดินไป
และ..ขอให้เดินไป ด้วยความเข้าใจ และ อดทน
(:NOY:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 06 มีนาคม 2556 19:18:36
แก้วที่คว่ำ...
ย่อมรองรับน้ำไม่ได้ฉันใด

คนที่ปิดใจ...
ก็ย่อมรับความคิดเห็นของผู้อื่นไม่ได้ฉันนั้น
 (:6:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 06 มีนาคม 2556 19:27:38
ดับกิเลส ใช้น้ำ คือธรรมะ
ดับราคะ ดับได้ ด้วยใจสูง
ดับโทสะ ดับได้ ใช้ธรรมจูง
ดับสิ้นฝูง โมหะ ด้วยพระธรรมฯ
 (:SR:) (:SR:) (:SR:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 06 มีนาคม 2556 19:48:07
ทางสายเอกมีไว้ใจตั้งมั่น
สติพลันกำกับนับก้าวย่าง
มีศีลไว้กันภัยได้ทุกทาง
สมาธิไม่วาง ให้ห่างใจ

กำลังใจมีให้ไม่รู้หมด
ให้นักรบธรรมะมานะสู้
สติปัฎฐานสี่ นี้เป็นครู (:NOY:)
ทางลาดปูไว้เดินเจริญธรรม


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 07 มีนาคม 2556 12:03:08
(http://sphotos-g.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc7/s480x480/312920_223307104480283_744243962_n.jpg)
ทางแห่งศีล เป็นทาง สติ และ ปัญญา อนี่งศีลรักษาได้ ย่อมปิดปากอบายภูมิ แก่บุคคลผู้ทรงศีล
 (:88:) (:88:) (:88:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 07 มีนาคม 2556 12:33:59
บุคคลใด เป็นผู้ฉลาด แกล้วกล้า เป็นพหูสูต
ผู้ทรงธรรมประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
บุคคลเช่นนั้น เราเรียกว่าผู้ยังหมู่ให้งาม ภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกา เป็นผู้มีศรัทธา
สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นพหูสูตเหล่านี้แล ย่อมยัง
 หมู่ให้งาม แท้จริง บุคคลเหล่านี้ เป็นผู้ยังหมู่ให้งาม ฯ (:1:)
[/center]


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 08 มีนาคม 2556 13:18:13
"คนมาขอน้ำมนต์ เราคิดว่าทีนี้ต้องเอาน้ำร้อนเดือดๆ รดให้
คนกิเลสหนาทั้งนั้น ให้มันหนังพองไปเลย
ต้องสอนกันเจ็บๆ บ้าง เราบอกให้ภาวนา ก็ไม่เอา
ชอบเอาแต่น้ำมนต์...น้ำมนต์จะช่วยอะไรใครได้
ถ้าได้ดังใจ ก็หัวเราะ ถ้าไม่ได้ดังใจ ก็ร้องไห้
มันเป็นแต่อย่างนั้น กันทุกคน
ดังนั้น คนส่วนมากในโลก จึงมีแต่คนโง่
ผู้มีปัญญา เขามักจะมาหา ทางพ้นทุกข์
แสวงหาทางปฏิบัติ ให้เกิดปัญญาจริงๆ
รู้ธรรมะ มีธรรมะ อยู่ในใจ
เขาก็จะเป็นคนสงบ สอนตัวเองได้ทุกเวลา
มันก็สบายเท่านั้น ไม่ต้องหัวเราะ ไม่ต้องร้องไห้" (:Y:)
[/color]


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 08 มีนาคม 2556 13:28:03
ใจที่ถูกคลุมด้วยทิฐิ
ก็เหมือนดวงตาที่ถูก
ปกคลุมไปด้วยหมอกควัน
แม้รู้จะต้องเดินไปทางไหน
สุดท้ายก็ต้องหลงอยู่ใน
วังวนแห่งหมอกควันนั้น (:DY:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 08 มีนาคม 2556 13:51:33
เบื่อ...ก็ดี

ใคร ๆ ก็ไม่ชอบความเบื่อ ถ้าเกิดขึ้นกับตนเองเมื่อใด ก็จะรู้สึกเป็นทุกข์ และอยากหนีห่าง แต่ถ้าหนีไม่ได้ก็จะรู้สึกกระสับกระส่ายทันที และแทบทนไม่ได้ที่เห็นเวลาผ่านไปอย่างเชื่องช้า ขณะที่โลกรอบตัวก็ดูจืดชืด ไร้ชีวิตชีวา ไม่น่าอยู่เอาเสียเลย

แต่มองอีกแง่หนึ่ง ความเบื่อคือ “ข่าวดี” เพราะแสดงว่าชีวิตเรายังเป็นปกติ ไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น ลองคิดดูว่าหากเราพบว่าตัวเองเป็นมะเร็ง สูญเสียคนรัก การงานล้มเหลว รถหาย บ้านถูกยึด ถูกด่าว่า เราจะรู้สึกเบื่อหรือ ใช่หรือไม่ว่าความเบื่อเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อชีวิตเราดำเนินไปอย่างเรียบ ๆ จนรู้สึกซ้ำซากจำเจ

เทียบกับอารมณ์อื่นแล้ว ความเบื่อสร้างความทุกข์ให้เราน้อยมาก ลองนึกถึงตัวเองเวลาเศร้าโศก โกรธแค้น อิจฉา พยาบาท อารมณ์เหล่านี้กัดกร่อนเผาลนจิตใจยิ่งกว่าความเบื่อมากนัก อีกทั้งยังสามารถทำร้ายสุขภาพของเราจนล้มป่วยได้อีกด้วย ;D


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 13 มีนาคม 2556 11:31:46
‎"
สติ ปัญญา สมาธิ"
การลงทุนที่น้อยที่สุด
แต่ได้ผลมากที่สุดก็คือ
การใช้ชีวิตด้วยสติปัญญา
การรู้จักไตรตรองด้วยเหตุและผล
ของสิ่งที่เป็นไป ตามความเป็นจริง
ของสรรพสิ่ง คิดก่อนพูด ก่อนทำเสมอ
ไม่ปล่อยให้ความคิด และการกระทำ
เป็นทาสของอารมณ์ เพื่อตอบสนองกิเลส
ตัณหาของตัวเราเอง...
 (:SR:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 02 เมษายน 2556 18:28:54
"ถ้าแลบุคคลมาปรารถนาเอาแต่รวงข้าว แต่หารักษาต้นข้าวไม่ เป็นผู้เกียจคร้าน จะปรารถนาจนวันตายรวงข้าวก็จะไม่มีขึ้นมาให้ฉันใด วิมุตติธรรมก็ฉันนั้นนั่นแล มิใช่สิ่งอันบุคคลจะพึงปรารถนาเอาได้ คนผู้ปรารถนาวิมุตติธรรมแต่ปฏิบัติไม่ถูก หรือไม่ปฏิบัติ มัวเกียจคร้านจนวันตาย จะประสพวิมุตติธรรมไม่ได้เลย ด้วยประการฉะนี้"
 (:5:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 02 เมษายน 2556 19:00:09
"ยินดี กับสิ่งที่ได้มา และยอมรับ กับสิ่งที่เสียไป หลังพายุพ้นไป ฟ้าย่อมสดใสเสมอ หลังผ่านปัญหา จะรู้ว่าปัญหานั้นเล็กนิดเดียว ปัญหาทุกอย่าง อยู่ที่ตัวเราทั้งสิ้น"
 (:Y:) (:Y:) (:Y:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 02 เมษายน 2556 20:35:09
ความกตัญญูไม่ใช่ส่วนเติมเต็ม
ให้เป็นคนดีโดยสมบูรณ์
แต่มันเป็นพื้นฐานของคนดี
ถ้าหากไม่มีสิ่งนี้ตั้งแต่ต้น
คุณก็ไม่มีทางเป็นคนดีที่สมบูรณ์ได้
 (:KM:) (:SL:) (:88:) (:SR:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 03 เมษายน 2556 11:50:15
ธรรมะเป็นสมบัติกลาง เป็นสมบัติสากล ไม่เลือก
ชาติ ชั้น วรรณะไม่เลือกผิวพรรณ เมื่อใดปฏิบัติตาม
ผู้นั้นย่อมได้รับความสะอาด สงบ สว่าง และร่มเย็น”
 (:88:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 13 เมษายน 2556 11:57:20
คนที่เกิดมามีทุกข์ยากลำบากนานัปการก็เพราะว่ามีกรรม
มีอกุศลกรรมตามมาเบียดเบียน ทำให้ต้องเจ็บ ต้องป่วย
ผ่าตัดตรงนั้นตรงนี้ ต้องประสบอุบัติเหตุบ้าง เสียทรัพย์บ้าง
ถูกโกง ถูกแกล้ง ถูกใส่ร้ายป้ายสีอะไรเหล่านี้
คือเราต้องเสวยผลของอกุศลกรรมต้องเอาตัวไปชดเชย ต้องใช้หนี้กรรม
 (:88:) (:QS:) (:Y:) (:KM:) (:SR:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 16 เมษายน 2556 10:32:48
ธรรมชาติยังรู้จักปรับสภาพให้เกิดความสมดุล เพื่อการอยู่รอดของแมกไม้นานาพันธุ์ หากสังคมของคนเราอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี มีเมตตาต่อกันบ้าง ก็คงอยู่ร่วมกันได้เหมือนแมกไม้นานาพันธุ์
 ;D (:88:) (:SR:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 14 พฤษภาคม 2556 13:11:29
น้ำที่กำลังใหลอยู่ต่อให้เราเอามือไปขวางทางน้ำมันก็ยังรู้จักที่จะหลบเพื่อที่จะใหลต่อไปของมัน แล้วใจเราละเมื่อมีอะไรมากระทบก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรับไว้ ให้ปล่อยวางสิ่งที่มากระทบแล้วปรับแนวทางเดินของใจให้เหมาะสมก็พอแล้ว
 (:SL:) (:88:) (:Y:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 01 มิถุนายน 2556 19:53:06
ภายใต้แสงเงาแห่งชีวิตของทุกคน
มักจะมีสิ่งมหัศจรรย์ซ้อนอยู่เสมอ อยู่ที่ว่าใครจะค้นพบได้มากน้อยแค่ใหน
และนำมาปรับแต่ง ใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดในการดำเนินชีวิตก็จะพบกับความสุข ;D


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 01 มิถุนายน 2556 19:58:58
จงทำใจยอมรับกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง เพราะไม่มีอะไรจะคงที่เสมอไป
จะสุขหรือทุกข์ใจเรานี้แหละสำคัญว่าจะยอมรับกับสะภาวะที่เปลี่ยนแปลงได้แค่ใหน (:SL:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 01 มิถุนายน 2556 20:02:30
มองธรรมชาติให้เป็น หากเข้าใจธรรมชาติเมื่อไหร่ เราก็จะเข้าใจธรรมะ
ใจของเรา สังขารของเราก็เป็นธรรมชาตินะอย่าลืม
ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติเมื่อไหร่ก็เข้าใจธรรมะเมื่อนั้น
 (:SR:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 11 มิถุนายน 2556 22:01:51
คนโง่อาจจะเป็นคนฉลาด คนฉลาดอาจจะเป็นคนโง่หากว่าเรายังไม่รู้จักรักษาความสะอาดให้กับตัวเราเองยังปล่อยให้กิเลศคือโลภะโทสะโมหะเข้ามาครอบงำจิตใจของเราทุกๆวันโดยไม่รีบหาวิธีทำความสะอาดและขจัดมันออกไป ก็ยังถือว่าเป็นคนโง่อยู่นั้นเอง (:88:) (:SL:) (:KM:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 12 มิถุนายน 2556 21:34:56
ในพุทธกาล เคยมีอุบาสกใส่บาตรพระปลอม โดยเข้าใจว่าเป็นพระจริง เขาใส่ด้วยศรัทธา สุคติโลกสวรรค์คือที่เขาได้ไป
อีกประการหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญการให้ทานแม้ให้แก่สัตว์เดรัชฉาน การให้ทานแก่ภิกษุแม้ทุศีลก็ยังได้บุญ ผู้ที่ห้ามผู้อื่นให้ทานเสียอีก ทรงติเตียนว่าเป็นโจรปล้นบุญ
[๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มีผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น ดูกรอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้นเราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่ามีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลย ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

ดูก่อนวัจฉะ ผู้ใดแลห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง วัตถุ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
ย่อมทำอันตรายแก่บุญของทายก ๑
ย่อมทำอันตรายแก่ลาภของปฏิคาหก ๑
ตนของบุคคลนั้นย่อมเป็นอันถูกกำจัดและถูกทำลายก่อนทีเดียวแล ๑

ดูก่อนวัจฉะ ก็เราพูดเช่นนี้ว่า ผู้ใดสาดน้ำล้างภาชนะหรือน้ำล้างขันไปแม้ที่สัตว์ซึ่งอาศัยอยู่ที่บ่อน้ำคลำ หรือที่บ่อโสโครกข้างประตูบ้าน ด้วยตั้งใจว่า สัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่นั้นจงยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้นเถิดดังนี้ ดูก่อนวัจฉะ เรากล่าวกรรมซึ่งมีการราดล้างน้ำภาชนะนั้นเป็นเหตุว่า เป็นที่มาแห่งบุญ จะป่วยการกล่าวไปไย ถึงในสัตว์มนุษย์เล่า
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
 (:SL:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: ใบบุญ ที่ 13 มิถุนายน 2556 07:21:14



                ส๊า.า..า..า ธุ(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTA0iTUM3lFx-6l9jmbRiybZlo_rYdNPpVc3HGwNgjETRLzzNBE_Q)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 13 มิถุนายน 2556 22:32:09
แสดงถึงการเคารบในธรรม
พระพุทธเจ้าประทับยืนฟังการสอนอันยาวของพระนันทกจนปวดพระปรษฏางค์ และกล่าวชมว่าพระนันทกแสดงธรรมได้แจ่มแจ้งดี พร้อมทั้งประทานสาธุการ
อ่านแล้วนึกถึงตัวเอง คงพูดมาก พูดยาว คนฟังคงเมื่อยหู แต่ถ้าสิ่งที่เราพูดเป็นเรื่องดีๆ เป็นการชักชวนให้ผู้อื่นมีทาน ศีล ภาวนา โดยอรรถาธิบายคุณของเรื่องต่างๆเหล่านี้
“.....ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา (ซึ่งพระนันทกะกำลังแสดงธรรมอยู่) ประทับยืนรอจนจบการแสดง ณ ซุ้มประตุด้านอก ครั้นทรงทราบว่าการแสดงจบแล้วทรงกระแอมไอและทรงเคาะที่ลิ่มประตู ภิกษุเหล่านั้นเปิดประตูให้พระผู้มีพระภาคลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้วตรัสกะพระนันทกะว่า ดูก่อนนัทกะ ธรรมบรรยายของเธอที่ยาวมาก แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ เรายืนฟังจนจบ การแสดงที่ซุ้มประตูด้านนอก หลังของเราย่อมเมื่อย ....”
นันทกสูตร น. อํ. (๒๐๘) (:SL:)



หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 13 มิถุนายน 2556 22:43:35
ศีลและกดหมาย
ผิดศีลคือผิดกฏหมาย อาญาคือความเดือดร้อนในโลกนี้ ทุคติ วินิบาต นรก คือความเดือดร้อนในโลกหน้า
การกระทำที่ถูกกฏหมายอาจจะเป็นการกระทำที่ผิดศีล ส่วนการกระทำที่ผิดศีลแล้วจะไม่ผิดกฏหมายบ้านเมืองนั้นไม่มีเลย ในอกุศลกรรมบถ วจีกรรมมีองค์กรรมบถที่ล่วงง่ายที่สุด ในทางกฏหมายความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่น มีองค์ประกอบความผิดที่ผิดง่ายที่สุดเช่นกัน และคดีความที่เกี่ยวกับวจีทุจริตมีการฟ้องร้องกันในศาลมากที่สุด เพราะล่วงละเมิดต่อกฏหมายได้ง่ายที่สุดนั่นเอง
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าจะกล่าวถึงการลงโทษผู้กระทำความผิดในฝ่ายอาณาจักร ทัณฑกรรมที่เกิดขึ้นแก่ผู้กระทำความผิดคือวิบากกรรมที่ให้ผลเป็นความเดือดร้อนในโลกนี้ ส่วนทุคติ วินิบาต นรก เป็นความเดือดร้อนในโลกหน้า การที่เขาต้องรับโทษในฝ่ายอาณาจักรล้วนมาจากกรรมชั่วที่เขาทำเองทั้งสิ้น
อิธ ตปฺปติ เปจฺจ ตปฺปติ ปาปการี อุภยตฺถ ตปฺปต
ปาปํ เม กตนฺติ ตปฺปติ ภิยฺโย ตปฺปติ ทุคฺคตึ คโต
ผู้มีปกติทำบาป ย่อมเดือดร้อนในโลกนี้ ละไปแล้ว ย่อมเดือดร้อน เขาย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสอง,
เขาย่อมเดือดร้อนว่า ‘กรรมชั่วเราทำแล้ว’, ไปสู่ทุคติ ย่อมเดือดร้อนยิ่งขึ้น
การด่ากันคือ ผรุสวาจา มีองค์กรรมบถน้อย ย่อมละเมิดง่าย ในทางกฏหมาย ความผิดฐานดูหมิ่น ก็มีองค์ประกอบความผิดน้อย จึงละเมิดต่อกฏหมายได้มากเช่นกัน
ผรุสวาจาที่จะสำเร็จเป็นกรรมบถได้นั้น ต้องประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. คนอื่นที่พึงถูกด่า
๒. จิตคิดจะพูดคำหยาบ
๓. พูดคำหยาบออกไป
ผรุสวาจามีโทษมาก เพราะเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. ผรุสวาจานั้น ถึงความเป็นกรรมบถ
๒. คนที่ถูกด่าเป็นคนมีคุณธรรมมาก
๓. ผู้พูดมีกิเลส (โทสะ พยาบาท) แรงกล้า
ในทางกฏหมายก็เช่นกัน ความผิดฐานดูหมิ่นจะมีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับสถานภาพของผู้ถูกดูหมิ่น การดูหมิ่นบุคคลธรรมดา การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน การดูหมิ่นศาล ก็มีโทษต่างกันไป
คดีความในศาล เป็นไปด้วยความผิดเกี่ยวกับมิจฉาวาจา หรือวจีทุจริตทั้งสี่ นี้มากกว่าคดีฆ่า ชิง ทรัพย์ ข่มขืน ฯลฯ เสียอีก แม้แต่ความผิดฐานฉ้อโกง ก็มีมุสาวาจาอยู่ด้วย

กรรมใดทำแล้วต้องเดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นไม่ดีไม่ควรทำ
คำสอนของพระศาสดา ให้คิดดี พูดดี ทำดี ทำจิตให้มั่นคง ผ่องใส ถ้าทำได้เช่นนี้ เวรภัยจะไม่มี ถ้าละเมิดเมื่อไหร่ ต่อให้มีอภิญญาปาฏิหาริย์ มีวิชาเหิรฟ้า ดำดิน ก็หนีเงื้อมมือของกฏหมายไปไม่ได้ หนีอบายไปไม่พ้น หนีความเดือดร้อนทั้งโลกนี้และโลกหน้าไปไม่ได้เลย  (:SR:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 13 มิถุนายน 2556 23:05:56
สร้างบุญบารมีของตน ก่อนจะขอยืมบุญบารมีของใคร
“ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สิน ในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมจนพ้นตัว… เมื่อทำบุญทำกุศลจนได้บุญบารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว… แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้… แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง…!” “จงจำไว้นะ…เมื่อยังไม่ถึงเวลา เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้… ครั้นถึงเวลา… ทั่วฟ้าจบดิน...
ธรรมโอวาท หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ;D


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 14 มิถุนายน 2556 17:22:20
ในท่ามกลางความขุ่น ก็มีความใส...
ในท่ามกลางความวุ่น ก็มีความสว่าง...
ในท่ามกลางความร้อน ก็มีความเย็น...
ในท่ามกลางความชุลมุนวุ่นวาย ก็มีความสงบ...
แม้นที่สุดในวัฏสงสาร ก็มีพระนิพพาน...
คำสอน....ท่านหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
 (:SR:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 15 มิถุนายน 2556 23:09:57
มนุษย์เราเกิดมาพร้อมกับตัณหา เคยชินกับตัณหา คุ้นเคยกับตัณหา
จนเห็นตัณหาเป็นเพื่อนสนิทไว้วางใจ กินด้วยกัน อยู่ด้วยกัน
ถ้าขาดตัณหาแล้ว ก็กลัวว่าจะขาดรสชาติของชีวิตที่เคยได้ เคยอยู่ เคยเป็น
แต่ความเป็นจริงแล้ว ตัณหานั้นเป็นเพียงเพื่อนเทียมไม่แท้ที่คอยหลอกล่อนำทุกข์มาให้เรา พอเราเกิดทุกข์ ตัณหาก็ยืนหัวเราะชอบใจอิอิ เราโดนตัณหาหลอกแล้ว
มนุษย์เราต้องการหาความสุข แต่เราไปสร้างเหตุแห่งความทุกข์ขึ้นมา... เราจึงหาความสุขไม่ได้... เราไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุแห่งความทุกข์ ตัณหาความดิ้นรนความต้องการเป็นเหตุแห่งความทุกข์ เราก็ไม่รู้.. เราก็เลยไปสร้างมันขึ้นมา และไปดิ้นรนตามกระแสมันขึ้นมา เราก็เลยไม่มีความสุขซักกะที...
 ;D (:BR:) (:NOY:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 17 มิถุนายน 2556 20:21:44
พระพุทธเจ้า ต้นแบบแห่งกระบวนการยุติธรรมในระบบไต่สวน
ถ้าเราศึกษาในพระไตรปิฎกและนิทานธรรมบท เราจะเห็นว่า ไม่ว่าจะมีใครไปทูลฟ้องพระพุทธเจ้า พระองค์จะทรงสั่งไต่สวนทุกครั้ง แม้แต่การกล่าวหาว่าพระอรหันต์กระทำความผิด ซึ่งพระองค์ก็รู้อยู่แก่พระทัยดีว่า พระอรหันต์ไม่มีวันข่มขืนใคร หรือประทุษร้ายใคร แต่พระองค์ก็ทรงดำรงในความยุติธรรม ไต่สวนทวนความทำความจริงให้ปรากฏในทุกครั้งๆ เช่น
กรณีพระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในการจัดเสนาสนะ ถูกกล่าวหาว่าข่มขืนภิกษุณี
พระทัพพมัลลบุตรเถระนี้ ท่านบรรลุธรรมตั้งแต่เจ็ดขวบ ในขณะที่โกนผมเพื่อบรรพชาเป็นสามเณร ต่อมาพระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าท่านมีอายุยังน้อยนัก แต่มารับภาระอันหนักซึ่งควรจะเป็นหน้าที่ของพระภิกษุมากกว่า ในการจัดเสนาสนะ โดยจัดให้ภิกษุที่มีอุปนิสัยคล้ายกันได้อยู่ร่วมกันเพื่อความไม่ขัดแย้งกัน เป็นต้น
ดังนั้น เพื่อให้ท่านปฏิบัติหน้าที่นี้ได้อย่างสะดวกพระพุทธองค์จึงทรงบวชให้ด้วยการยกท่านจากการเป็นสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุในวันนั้น ด้วยพระดำรัสว่า “อชฺชโต ปฏฺฐาย ภิกฺขุ โหหิ” ซึ่งแปลว่า เธอจงเป็นภิกษุตั้งแต่วันนี้ไป การบวช
ด้วยวิธีนี้เรียกว่า “ทายัชชอุปสัมปทา” แปลว่า การรับเข้าหมู่โดยความเป็นทายาท
สมัยหนึ่ง มีพระบวชใหม่สองรูป ชื่อ “พระเมตติยะ กับพระภุมมชกะ” เป็นผู้มีบุญ
วาสนาน้อย เมื่อได้อาหารหรือเสนาสนะก็มักจะได้แต่ของชั้นเลวเสมอ วันหนึ่ง พระทัพพมัลล
บุตร จัดให้ท่านไปฉันที่บ้านคหบดีผู้มีปกติถวายแต่ของชั้นดีแก่ภิกษุทั้งหลาย แต่วันนั้นคหบดี
ทราบว่าท่านทั้งสองมา จึงสั่งให้สาวใช้จัดอาหารชั้นเลวถวายท่าน คือทำอาหารด้วยปลายข้าว
และน้ำผักดอง เสานาสนะก็จัดให้นั่งที่ซุ้มประตู มิให้เข้ามาในบ้าน ทำให้ท่านทั้งสองขัดเคืองใจ
แล้วคิดว่า ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะพระทัพพมัลลบุตร กลั่นแกล้ง
วันหนึ่งมีนางภิกษุณีชื่อเมตติยามาหาท่าน จึงเล่าเรื่องความทุกข์ให้ฟังแล้วขอร้องให้นางกล่าวหาพระทัพพมัลลบุตร ว่าข่มขืนนาง เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วนำความกราบทูลพระผู้มีพระภาค ขอให้ลงโทษพระเถระด้วยการให้ลาสิกขาออกไป
พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วตรัสถามพระเถระว่า
“ดูก่อนทัพพะ เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่ภิกษุณีนี่กล่าวหา ?”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าเกิดมายังไม่รู้จักการเสพเมถุน แม้แต่ใน
ความฝันเลย จึงไม่จำต้องกล่าวถึงตอนตื่นอยู่ พระเจ้าข้า”

พระพุทธองค์สดับแล้ว จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายสึกนางภิกษุณีเมตติยา นั้น แต่
พระเมตติยะกับพระภุมมชกะกราบทูลและสารภาพว่าทั้งหมดเป็นแผนการของตนทั้ง ๒ รูปพระผู้มีพระภาค ทรงปรารภเหตุนั้นจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า “ภิกษุโกรธเคืองภิกษุอื่นแล้วแกล้งโจทก์ด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
จากความทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นต้นแบบแห่งกระบวนการไต่สวนตามระบบไต่สวนในปัจจุบัน ซึ่งมีความสอดคล้องกับระบบกฏหมายแบบ Civil law คือ ถือบทบัญญัติกฏหมายเป็นหลัก เหมือนพระวินัยที่ถือบทบัญญัติเป็นหลักเช่นกัน
 (:SR:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 20 มิถุนายน 2556 18:09:49
..ดูกร...
พระนางมัลลิกา มาตุคามบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้มักโกรธไม่มากไปด้วยความ
คับแค้นใจ ถูกว่าแม้มากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงความโกรธความขัดเคืองและความไม่พอใจให้ปรากฏ
* เป็นผู้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน
ระเบียบ ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ
แก่สมณะหรือพราหมณ์..
และถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้
กลับมาเกิดในชาติใดๆ ย่อมเป็น..
* ผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก
ทั้งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากและสูงศักดิ์ ฯ
 (:Y:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 20 มิถุนายน 2556 18:45:06
การทำกรรมฐานนี้ ก็คือ มาฝึกจิตของเรานั่นเอง เพื่อให้รู้จักจิตใจของเรา เพราะจิตของเราเกิดขึ้นมาไม่เคยได้ฝึก ปล่อยตามใจของมัน เมื่อมันโมโหก็ปล่อยตามใจของมัน เมื่อมันโกรธใคร ก็ปล่อยตามเรื่องของมัน เราเป็นเด็กๆ เกิดมาเป็นลูกของพ่อแม่ พ่อแม่ก็ยิ่งปล่อยตามใจ ไม่เคยรู้จิต ไม่เคยฝึกจิต เราจึงมาทำกรรมฐาน มาฝึกจิต รู้จักที่จะอบรมจิตของเรา เรียกว่ามาปฏิบัติธรรม”
 (:NOY:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: joojee ที่ 20 มิถุนายน 2556 19:25:34
ธรรมะสอนใจดีค่ะ


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 21 มิถุนายน 2556 14:15:32
ท่านพุทธทาส...
ความทุกข์มันเป็นปัญหา
เป็นสิ่งที่เราไม่ปรารถนา
หากเรายังได้ตามที่เราประสงค์ ตามต้องการอะไรอยู่
ปัญหาก็ยังไม่มี ความทุกข์ก็ยังไม่เกิด
....แท้ที่จริง
ความทุกข์ทั้งหมดมันก็รวมอยู่ตรงที่
เราตั้งใจหรือวางใจไว้ไม่ถูก
คือปล่อยให้ไปหลงยึดมั่นถือมั่น
ในสิ่งใดว่าเป็นตัวเรา หรือของเรา
พอมีความยึดมั่น หรือสำคัญผิดเช่นนี้
ความทุกข์ก็มีทันที แล้วก็มีทุกข์อยู่ตลอดเวลา
ที่ประพฤติ หรือกระทำอะไรอยู่
เพราะฉะนั้น....
เคล็ดลับสำคัญของพระพุทธศาสนาก็อยู่ตรงที่
....สอนอย่าให้ทำอะไรด้วยความยึดมั่นถือมั่น....
....แต่ให้ทำด้วยสติปัญญาที่บริสุทธิ์....
....ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลสตัณหา....
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนา...
 (:SR:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 22 มิถุนายน 2556 15:42:29
คุณทำประกัน การเกิดเป็นมนุษย์" แล้วหรือยัง
ประกันชีวิตและสุขภาพ.......... ด้วยศีลข้อ 1
ประกันรายได้และทรัพย์สิน..... ด้วยศีลข้อ 2
ประกันครอบครัวแสนอบอุ่น..... ด้วยศีลข้อ 3
ประกันสังคม มีเครดิตดี.......... ด้วยศีลข้อ 4
ประกันสติปัญญา ไม่ประมาท... ด้วยศีลข้อ 5
ศีลทั้ง 5 ข้อนี้ ถ้าคุณมีและรักษาอย่างมั่นคง คุณจะได้รับการประกัน "การเกิดเป็นมนุษย์" ไปถึงชาติหน้าเลย..นะครับ..
 (:Y:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 23 มิถุนายน 2556 10:54:55
ไม่ต้องสงสัยว่าชาติหน้ามีหรือไม่มี
ไม่ต้องไปถามว่า คนตายแล้วจะเกิดหรือไม่เกิด
อันนั้นมันไม่ใช่ปัญหา มันไม่ใช่หน้าที่ของเรา
หน้าที่ของเรา คือ เราจะต้องรู้จักเรื่องราวของตัวเองในปัจจุบัน
เราต้องรู้ว่า เรามีทุกข์ไหม?
ถ้าทุกข์ มันทุกข์เพราะอะไร?
นี้คือสิ่งที่เราจะต้องรู้ และเป็นหน้าที่โดยตรงที่เราจะต้องรู้ด้วย
 (:SL:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 23 มิถุนายน 2556 11:00:02
"จิตของคนเรา ไม่ว่าคิด ไม่ว่าพูด..
ไม่ว่าทำออกมาแล้ว เราเดือนร้อน คนอื่นเดือดร้อน อันนั้นแหละชั่ว
คิดพูดออกมาแล้วเราสบายใจ..คนอื่นสบายใจ
คนอื่นได้รับความสุขใจ เราก็สุขใจ อันนั้นหนะมันดี.."
 (:SR:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 23 มิถุนายน 2556 11:06:13
จิตของเรานะมันก็ดิ้นรนไปทั่วแหละมันไม่ค่อยอยู่นิ่งหรอกขนาดตัวอยู่เมืองไทยใจยังไปอยู่ต่างประเทศเลยนะถ้ามันไปอยู่ผิดที่ผิดทางมันก็ทำให้เกิดความทุกข์ได้นะเราต้องฝึกให้มันอยู่นิ่งๆบ้างให้อยู่ในที่ๆควรอยู่จะได้ทุกข์น้อยๆ
 (:2:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 23 มิถุนายน 2556 11:10:05
รองเท้า..ถ้าใส่แล้วมันคับไปก็ทำให้เราเจ็บเท้าได้เหมือนกัน...อาจจะเดินไม่สะดวก
เราลองถอดรองเท้าที่คับนั้นวางไว้ แล้วลองเดินเท้าเปล่า อาจจะมีความรู้สึกที่ดี กว่าการใส่ร้องเทาที่คับนั้นก็ได้.....คิด....คิด...คิด
 (:7:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 23 มิถุนายน 2556 17:54:04
"ความสุข ยิ่งอยากได้ ยิ่งห่างไกล"
ความสุขนั้นใคร ๆ ก็ปรารถนา แต่เคยสังเกตไหมว่า ทันทีที่เราอยากได้ความสุข ความสุขกลับเลือนหาย ยิ่งอยากได้ความสุขมากเท่าไร เรากลับมีความสุขน้อยลง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
เหตุผลนั้นมีหลายประการ ทุกครั้งที่เราอยากมีความสุข เรามักจะนึกถึงสิ่งที่เรายังไม่มี เช่น เงิน รถยนต์ ชื่อเสียง ความสำเร็จ หรือสิ่งที่ยังไปไม่ถึง เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานที่ท่องเที่ยว แต่พอคิดเช่นนั้น เราก็จะรู้สึกไม่พอใจกับสภาพปัจจุบันทันที เพราะตรงนี้เดี๋ยวนี้ไม่มีสิ่งที่เราอยากได้ อีกทั้งไม่ใช่สิ่งที่เราอยากไปถึง
ทั้ง ๆ ที่สภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันอาจให้ความสุขแก่เราอยู่แล้ว เช่น บ้านที่สะดวกสบาย ร่างกายที่ไม่ป่วยไข้ พ่อแม่และคนรักที่รู้ใจ แต่ความสุขเหล่านี้กลับถูกเรามองข้ามเพียงเพราะว่ามันไม่ใช่สิ่งที่เราอยากได้หรือไม่ใช่สิ่งที่เราอยากไปถึง ใช่แต่เท่านั้นเมื่ออยากได้สิ่งที่ยังไม่มี เราก็ต้องดิ้นรนหามันมาให้ได้ ระหว่างที่ดิ้นรนนั้นก็รู้สึกเป็นทุกข์ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้มันมา ยิ่งมีคู่แข่งมากมายด้วยแล้ว จะมีความสุขได้อย่างไร
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทันทีที่เราอยากได้ความสุข เราจะไม่เห็นความสุขที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะใจนั้นมัวจดจ่อใส่ใจกับความสุขที่อยู่ข้างหน้า แค่นั้นก็ทำให้ความสุขเลือนหายไปจากใจแล้ว คนส่วนใหญ่ที่อยากมีความสุขนั้นที่จริงเขามีความสุขอยู่แล้ว แต่มองไม่เห็น เพราะเอาแต่มองออกไปนอกตัว เขามองข้ามปัจจุบัน ฝากความหวังไว้กับอนาคต จึงเสียโอกาสที่จะเก็บเกี่ยวความสุขที่มีอยู่ในปัจจุบัน
 (:6:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 24 มิถุนายน 2556 19:19:39
"รู้หรือไม่ว่า ทานของท่าน ที่อุทิศให้ญาติที่ล่วงลับ ญาติเหล่านั้นจะได้รับหรือไม่?" โปรดอ่าน....
ชาณุสโสณีสูตร
[๑๖๖] ครั้งนั้นแล ชาณุสโสณีพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้
ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านโคดมผู้เจริญพวกข้าพเจ้าได้นามว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมให้ทาน ย่อมทำความเชื่อว่า ทานนี้ต้องสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วขอญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วจงบริโภคทานนี้ ท่านโคดมผู้เจริญ ทานนั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วหรือญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้นย่อมได้บริโภคทานนั้นหรือ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ทานนั้นย่อมสำเร็จในฐานะแล ย่อมไม่สำเร็จในอฐานะ ฯ
ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ฐานะเป็นไฉน อฐานะเป็นไฉน ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตปองร้าย มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในนรกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรกนั้น ด้วยอาหารของสัตว์นรก ดูกรพราหมณ์ ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นอฐานะ ฯ
ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด บุคคลนั้น
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ย่อมตั้งอยู่ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ดูกรพราหมณ์แม้ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ ฯ
ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์จากการลักทรัพย์จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียดจากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตไม่ปองร้าย มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกมนุษย์ เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพในมนุษย์โลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในมนุษย์นั้นด้วยอาหารของมนุษย์ ดูกรพราหมณ์ แม้ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์
ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ ฯ
ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ฯลฯ มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเทวโลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเทวโลกนั้น ด้วยอาหารของเทวดา ดูกรพราหมณ์ แม้ฐานะเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แลก็เป็นอฐานะ ฯ
ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด บุคคลนั้น
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในเปรตวิสัย หรือว่ามิตร อำมาตย์หรือญาติสาโลหิตของเขา ย่อมเพิ่มให้ซึ่งปัตติทานมัยจากมนุษย์โลกนี้ เขาเลี้ยงอัตภาพอยู่ ในเปรตวิสัยนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ด้วยปัตติทานมัยนั้น ดูกรพราหมณ์ฐานะอันเป็นที่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นฐานะ ฯ
ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึงฐานะนั้น
ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของทายกนั้นที่เข้าถึง
ฐานะนั้นมีอยู่ ญาติสาโลหิตเหล่านั้นย่อมบริโภคทานนั้น ฯ
ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึงฐานะนั้น และญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของทายกนั้น ก็ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ ฐานะที่จะพึงว่างจากญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกาลช้านานเช่นนี้ มิใช่ฐานะมิใช่โอกาสที่จะมีได้ อีกประการหนึ่ง แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล ฯ
ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ย่อมตรัสกำหนดแม้ในอฐานะหรือ ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ เรากล่าวกำหนดแม้ในอฐานะ ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นผิด บุคคลนั้นย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้ายาน มาลา ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของช้าง เขาย่อมได้ข้าว น้ำ มาลาและเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดช้างนั้นดูกรพราหมณ์ข้อที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นผิด ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของช้างด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ ผู้นั้นย่อมได้ข้าว น้ำ มาลาและเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดช้างนั้นด้วยกรรมนั้น ฯ
ดูกรพราหมณ์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นผิด บุคคลนั้นย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์ ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของม้า ... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของโค ... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข เขาย่อมได้ข้าว น้ำ มาลาและเครื่องอลังการต่างๆในกำเนิดสุนัขนั้น ดูกรพราหมณ์ ข้อที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์... มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข ด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ ผู้นั้นย่อมได้ข้าว น้ำ มาลาและเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดสุนัขนั้น ด้วยกรรมนั้น ฯ
ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์จากการลักทรัพย์จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียดจากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตไม่ปองร้าย มีความเห็นชอบ ให้ข้าว น้ำ ผ้ายาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกมนุษย์ เขาย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นของมนุษย์ในมนุษย์โลกนั้น ดูกรพราหมณ์ ข้อที่บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อไม่มีความอยากได้ของผู้อื่นมีจิตไม่ปองร้าย มีความเห็นชอบ ผู้นั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของมนุษย์ด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าวน้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นของมนุษย์ในมนุษย์โลกนั้น ด้วยกรรมนั้น ฯ
ดูกรพราหมณ์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ
มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นย่อมให้ข้าว น้ำ ยาน มาลา ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเขาย่อมได้เบญจกามคุณ อันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้น ดูกรพราหมณ์ ข้อที่บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯมีความเห็นชอบ ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้น ด้วยกรรมนั้น ดูกรพราหมณ์ แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล ฯ
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีแล้ว ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อที่แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผลนี้ เป็นของควรเพื่อให้ทานโดยแท้ เป็นของควรเพื่อกระทำศรัทธาโดยแท้ ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนี้ๆ ดูกรพราหมณ์ แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล ฯ
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบชาณุสโสณีวรรคที่ ๒
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
หน้าที่ ๒๔๓-๒๔๖ ข้อที่ ๑๖๖
 (:5:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 29 มิถุนายน 2556 03:06:15
ความทุกข์เกิดที่จิตเพราะเห็นผิดเรื่องผัสสะ
เมื่อผัสสะสิ่งไรๆ เราเกิดทุกข์ เพราะเราไม่เข้าใจความจริงในสิ่งนั้น นี่คือหัวใจ ของการฝึกฝนขัดเกลาตนเอง ไม่เข้าใจความจริงเรื่องอะไร เรื่องความไม่มีตัวตนของสิ่งนั้น เราผัสสะสิ่งไร เราจะสมมติชื่อให้สิ่งนั้น เช่น คน สัตว์ รถ ความดี ความเลว แล้วเราก็มีความรู้สึกว่า สิ่งนั้นคือสภาพที่มีจริงเป็นจริงตามที่สมมติ มีคนจริงๆ ไม่มีใครที่เรียกคนแล้วจิตรู้ว่ามันคือธาตุ มีสัตว์จริงๆ ไม่มีใครเรียกสัตว์ แล้วในใจคิดว่ามันเป็นสิ่งปรุงแต่ง มีรถจริงๆ ไม่มีใครคิดว่ารถคือธาตุต่างๆผสมกันอยู่
นี่คือความจริงของผู้มีอวิชชา สภาพอวิชชาห่อหุ้มเป็นเช่นไร ดูเราทุกคน ตอนนี้คือผู้มีอวิชชา เห็นคนเป็นคนแล้วคิดว่า คนมีตัวตนอยู่ในคน เห็นจิตเป็นจิตแล้วคิดว่า ตัวจิตมีจริงๆ เมื่อยังไม่รู้ความจริง หรือยังมีอวิชชาอยู่ย่อมเห็นผิดไปจากความจริง เห็นผิดจากความเป็นจริง สัมผัสสิ่งไรก็จะมี ตัวฉัน ของฉัน จิตฉัน แม้เห็นความเกิดดับก็ยังเป็นจิตฉันเกิดดับ มีตัวฉันเกิดเมื่อใดแสดงว่าเรามีอวิชชาอยู่เต็มร้อย และการไม่รู้ความจริงเมื่อสัมผัสสิ่งไรมันจึงเกิดทุกข์ อย่างที่เลี่ยงไม่ได้
อยากเลี่ยงความทุกข์ทำเช่นไร ก็รู้ความตามที่เป็นจริง รู้ว่า อะไรๆทุกสิ่งทุกอย่างเลย ไม่ใช่มีตัวตนที่ไหนเลย มันเป็นเพียงธาตุ ธาตุทั้งนั้น จิตก็ไม่มีมีแต่ธาตุผสมกัน แล้วเราคิดเองว่ามันคือจิต สัตว์ก็ธาตุมาผสมกัน สิ่งของก็ธาตุมาผสมกัน นี่เป็นตัวอย่างที่เรียกว่ารู้ความตามที่เป็นจริง ทำได้ก็หมดทุกข์ ทำได้ชั่วคราว หมดทุกข์ชั่วคราว ทำได้ถาวรหมดทุกข์ถาวร
ใครทำได้เช่นนี้คือผู้ไม่โง่เรื่องผัสสะ หรือ ทุกข์ไม่มีวันโผล่ เพราะสังขารกลุ่มนี้ไม่โง่เรื่องผัสสะแล้วจ้า
ธรรมะติดดิน โดย สมสุโขภิกขุ
 (:1:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 29 มิถุนายน 2556 03:13:41
เพราะเราคู่กัน ทุกอย่างบนโลกนี้ล้วนแต่ถูกส่งมาเป็นคู่ ทุกข์กับสุขก็คู่กัน
สุขอยู่คู่กับทุกข์
เสมือนเราหยิบแก้วน้ำขึ้นมา
เราหยิบตรงปากแก้ว ก้นแก้วก็ต้องติดขึ้นมาด้วย
เมื่อใดมีสุข อย่าประมาท...ทุกข์ รอเสียบอยู่แล้ว
อะไรก็ตามที่ทำให้คุณสุขมาก
มันก็สามารถทำให้คุณทุกข์มาก ได้เช่นกัน
 (:SL:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 29 มิถุนายน 2556 03:16:16
ชีวิตของคนไม่ต่างอะไรกับน้ำทะเล
มีขาขึ้น ก็ต้องมีขาลง เป็นธรรมดา
ยามได้ดี ไม่ควรประมาท
ยามตกต่ำ ไม่ควรท้อถอย
 (:NOY:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 29 มิถุนายน 2556 03:21:06
ความโกรธ เหมือนหินผา มีน้ำหนักมาก แข็งแกร่ง
และเพราะความแข็งแกร่งนั่นเอง
จึงมักถูกนายทุนระเบิดมาทำถนนหนทาง
คนเจ้าอารมณ์มักโกรธ ก็คือคนที่จุดระเบิดทำลายตนเอง
 (:7:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 30 มิถุนายน 2556 21:58:42
สิ่งที่พ่อแม่ควรพูดให้ลูกฟัง

1. พ่อกับแม่ รักลูกเสมอ และสิ่งนี้จะไม่เปลี่ยนไป ไม่ว่าลูกจะทำสิ่งไหน จะพูดอย่างไรและจะคิดยังไง ความรักของพ่อแม่จะอยู่กับลูกเสมอ
2. ลูกเป็นสิ่งมหัศจรรย์และพิเศษที่สุดของพ่อและแม่ ไม่ใช่ที่ความสามารถที่ลูกมี แต่เพราะลูกเป็นในสิ่งที่ลูกเป็น และลูกไม่จำเป็นจะต้องเหมือนใครๆ ลูกเป็นตัวของลูก
3. การร้องไห้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ไม่ว่าลูกจะเศร้า เสียใจ ผิดหวัง มีความสุข โกรธ กลัว หรือกังวลใจ ลูกร้องไห้ได้ และใครๆก็ร้องไห้ได้ทั้งนั้น ไม่เว้นแม้แต่พ่อกับแม่
4. ลูกสามารถทำผิดพลาดได้ คนเราอาจทำในสิ่งผิด ใครๆก็เคยผิดพลาดด้วยกันทั้งนั้น พ่อกับแม่ก็เคยทำผิดพลาด แต่เราจะต้องแก้ไขมัน และเราจะช่วยกันแก้ไข ทุกๆเรื่อง ลูกสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ และพ่อกับแม่รู้ดีว่าลูกรู้สึกเสียใจ และพ่อกับแม่พร้อมเสมอที่จะให้อภัยลูก
5. เมื่อลูกตั้งใจทำในสิ่งที่ดี มันอาจต้องใช้ความกล้าและมีความยาก และถึงแม้ว่ามันจะไม่ง่าย แต่ลูกยังเลือกที่จะทำ พ่อและแม่ภูมิใจในตัวลูกที่สุด และลูกก็ต้องรู้สึกภูมิใจในตัวเอง
6. พ่อ/แม่ขอโทษ พ่อ/แม่รู้สึกเสียใจจริงๆ ลูกให้อภัยพ่อ/แม่ได้มั้ย
7. ลูกสามารถเปลี่ยนความคิดของตัวเองได้ การตัดสินใจของลูกเป็นสิ่งที่ดี แต่มันควรจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
8. อะไรเป็นความคิดที่ดีที่สุดของลูก ลูกคิดอะไรอยู่ และลูกตัดสินใจจะทำอย่างไรต่อเกี่ยวกับความคิดนั้น ขอให้ลูกเล่าให้พ่อกับแม่ฟังได้มั้ย ความคิดลูกเป็นความคิดที่ดี(เราอยากฟัง)
9. ไม่ว่าอะไรก็ตามที่ลูกได้รับจากผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความช่วยเหลือหรือสิ่งอื่นใด ให้ลูกสำนึก และไม่ลืมที่จะกล่าวคำว่า ขอบคุณ
10. เราทุกคนต้องรู้จักที่จะรอคอย เรามีเวลา อย่ารีบร้อนและอย่าประมาท
11. อะไรก็ตามที่ลูกอยากจะทำ ลูกสามารถกลับไปเลือกทำมันได้ตามความคิดของลูก มันเป็นเรื่องที่สำคัญของคนเรา ที่จะเลือกเดินตามความฝันและทำในสิ่งที่เราชอบ
12. ให้ลูกเล่าเรื่องนั้นให้พ่อกับแม่ฟัง พ่อกับแม่อยากได้ยินความจริงจากลูกมากกว่าฟังจากคนอื่น และไม่ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม พ่อกับแม่จะรับฟังลูกเสมอ
13. พ่อกับแม่จะอยู่ตรงนี้ และจะไม่ทิ้งลูกไปไหนโดยที่ไม่บอกลูกก่อน พ่อกับแม่จะเฝ้าดูลูกและคอยรับฟังลูกเสมอ
14. คำว่าขอโทษและคำว่าขอบคุณเป็นคำที่สำคัญ ถ้ามีครั้งไหนที่พ่อกับแม่ลืมพูดมัน ขอให้ลูกทวงถาม
15. พ่อกับแม่ คิดถึงลูกเสมอ และจะคิดถึงลูกทุกครั้งเวลาที่เราไม่ได้อยู่ด้วยกัน
16. ให้ลูกลองทำดู ค่อยๆลอง ทีละขั้นตอน ทีละน้อย ลูกอาจจะชอบมันก็ได้ พ่อกับแม่จะคอยช่วยเหลือถ้าลูกต้องการ และเราเชื่อว่า ลูกทำได้
17. เราจะคอยช่วยลูก แค่ลูกเรียกเราเราจะคอยอยู่ตรงนี้ ถ้าเราช่วยกัน เราจะทำมันได้สำเร็จ และเราเชื่อว่าลูกสามารถทำมันได้ด้วยตัวเองอย่างแน่นอน แต่เราจะยินดีถ้าลูกจะเรียกให้พ่อกับแม่ช่วย
18. ไม่ว่าลูกจะปรารถนาสิ่งใด อย่าอธิษฐานมันแค่ตอนจุดเทียนในวันเกิดของลูก พ่อกับแม่อยากได้ยินว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกต้องการ ความหวังความใฝ่ฝันของลูก เราจะมีความสุขและเป็นกำลังใจให้ลูกสมปรารถนา

ถ้าเราเลี้ยงลูกด้วยคำพูดเหล่านี้ ทุกวัน ทุกวัน เรากับลูกจะเข้าใจกัน รักกัน ไม่มีอะไรจะดีเท่าสถาบันครอบครัวเข้มแข็ง
(:5:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 01 กรกฎาคม 2556 19:17:05
ทรงพร้อมที่จะสอน

                    พระพุทธเจ้าในสมัยเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี จากอาจารย์ที่มีชื่อเสียง คือ อาจารย์วิศวามิตร วิชาที่ทรงศึกษา คือ ศิลปศาสตร์ 18 ประการ อันเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้จะเป็นกษัตริย์ จะต้องศึกษาศิลปศาสตร์ 18 ประการ คือ
                    1. ยุทธศาสตร์  วิชานักรบ
                    2. รัฐศาสตร์  วิชาการปกครอง
                    3. นิติศาสตร์   วิชากฎหมายและจารีตประเพณีต่างๆ
                    4. พาณิชยศาสตร์  วิชาการค้า
                    5. อักษรศาสตร์  วิชาวรรณคดี
                    6. นิรุกติศาสตร์   วิชาภาษาทั้งของตน และของชนชาติ ที่เกี่ยวข้องกัน
                    7. คณิตศาสตร์  วิชาคำนวณ
                    8. โชติยศาสตร์  วิชาดูดวงดาว
                    9. ภูมิศาสตร์  วิชาดูพื้นที่ และรู้จักแผนที่ของประเทศต่างๆ
                   10.โหราศาสตร์   วิชาโหรรู้จักพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ
                   11.เวชศาสตร์   วิชาแพทย์
                   12.เหตุศาสตร์   วิชาว่าด้วยเหตุผล หรือตรรกวิทยา
                   13.สัตวศาสตร์   วิชาดูลักษณะสัตว์ และรู้เสียงสัตว์ว่าดี หรือร้าย
                   14.โยคศาสตร์   วิชาช่างกล
                   15.ศาสนศาสตร์   วิชาศาสนารู้ความเป็นมา และหลักศาสนาทุกศาสนา
                   16.มายาศาสตร์   วิชาอุบาย หรือตำหรับพิชัยสงคราม
                   17.คันธัพพศาสตร์   วิชาร้องรำ หรือนาฎยศาสตร์ และวิชาดนตรี หรือดุริยางค์ศาสตร์
                   18.ฉันทศาสตร์   วิชาการประพันธ์
                    พระพุทธเจ้าทรงศึกษาศิลปศาสตร์ 18 ประการนี้ จนมีความรู้แตกฉาน ยากที่หาใครเสมอเหมือนได้ จึงกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงมีความรู้ ในทางโลกเพียบพร้อม เป็นอย่างดีอยู่แล้ว เมื่อได้เสด็จออกบรรพชา พระองค์ทรงได้ศึกษาเพิ่มเติมจากอาฬารดาบส และอุททกดาบส ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา และทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตใจ จนได้ตรัสรู้ พระองค์จึงทรงพร้อมที่จะสอนบุคคลทุกชั้น ตั้งแต่คนธรรมดา จนถึงนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียง ทุกโอกาสและสถานที่
                    ในที่นี้ไม่ได้ประสงค์ จะให้ครูไทยของเราเป็นสัพพัญญู เหมือนพระพุทธเจ้า เพียงแต่ให้พร้อมเพื่อจะสอนนักเรียน คือ ครูต้องมีความรู้ ในเนื้อหาวิชาที่สอน มากกว่านักเรียนหลายเท่า ความรู้ที่ครูเคยศึกษาเล่าเรียนมา อาจลืมได้ ถ้าไม่พยายามศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม ความรู้จะค่อยๆ หดสั้นเข้า เหลือเพียงความรู้ เท่าระดับชั้นที่สอนเท่านั้น เมื่อครูกับนักเรียนมีความรู้พอๆ กัน แล้วจะสอนให้ได้ผลดีอย่างไรเล่า ครูจึงควรศึกษา หาความรู้เพิ่มเติม อยู่เสมอทุกด้าน และทุกระดับของการศึกษา ให้เป็นผู้พร้อมที่จะสอน ไม่ใช่สอนโดยการบอกให้จดจำจากตำรา ซึ่งครูในสมัย 2,500 ปีเศษมาแล้ว ก็ยังไม่ทำ 


 (:5:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 02 กรกฎาคม 2556 12:40:28
ผู้แสวงหา.!
ผู้มีความประสงค์
แสวงหาความสุขที่แท้จริง พึงมองข้ามกามารมณ์
ความอิ่มในกามทั้งหลายไม่มีในสัตว์
สังขารที่เสื่อมทรามไปตามอายุขัย ยิ่งทำให้กามารมณ์เป็นเสมือนหนึ่งขุมนรก
จะมีใครร้อนเร่า ยิ่งไปกว่าผู้กระหายในกามารมณ์ แต่ไม่สมประสงค์
กามารมณ์ที่ร้อนเร่า ย่อมเผาใจ ให้ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่เป็นสุข
ผู้มักมากในกามารมณ์ยอมดิ้นรนมาก ลำบากมาก ทุกข์มาก
การลด ละ สละ เว้น ซึ่งกามฉันทะเสียได้
จึงเป็นเสมือนหนึ่งได้ดื่ม-อาบ น้ำอมฤต
ผู้มีความประสงค์
แสวงหามิตรที่แท้จริง พึงแสวงหากุศลธรรม
กุศลธรรม เป็นมิตรที่ประเสริฐสุด
ไม่เสแสร้ง ไม่เป็นภัย ไม่ทรยศ ไม่หลอกลวง ไม่ฉ้อฉล ไม่ปิดบังอำพราง
ใครเล่าจะให้ความสุข
เท่ากับใจที่เปี่ยมด้วยกุศล
ใครเล่าจะปกป้องเราจากภัยอันตรายทุกเมื่อได้
เท่ากับใจที่กุศลธรรมได้อบรมไว้ดีแล้ว
ใครเล่าจะห้ามเราไม่ให้หลงผิดคิดชั่ว
เท่ากับใจที่มีกุศลธรรมธำรงอยู่
ใครเล่าจะชี้ทางไปสู่อนาคตที่สดใส-ราบรื่น-สุคติ
เท่ากับใจที่น้อมนำกุศลธรรมเป็นเครื่องนำทาง
กุศลธรรมจึงเป็นมิตรแท้ที่ประเสริฐสุด
คำมั่นสัญญา ไม่ยืนยีนความจงรักภักดี
คำอาราธนาศีล ไม่รับรองความจริงใจของคน
คำยกย่องสรรเสริญ ไม่สนับสนุนความสุจริตของใคร
เสื้อผ้าสีขาว ไม่ประกันความบริสุทธิ์ของผู้สวมใส่
ผ้าเหลือง ไม่ใช่ป้าย ประพฤติพรหมจรรย์
กรรมฐานและภาวนา ไม่สามารถชำระล้างใจของผู้ทะยานอยากให้หมดจด
สถานภาพและบทบาท
อาจปรากฏดั่งคนละด้านของเหรียญอันเดียวกัน
ผู้ให้ อาจปรากฏเป็นผู้แย่งชิง
ผู้สร้าง อาจปรากฏเป็นผู้ทำลาย
ผู้ปกป้อง อาจปรากฏเป็นผู้เบียดเบียน
ผู้รักษา อาจปรากฏเป็นผู้เอารัดเอาเปรียบ
ผู้ให้ความรู้ อาจปรากฏเป็นผู้ให้ความหลง
คนรัก อาจปรากฏเป็นคนลวง
แต่ไม่ว่าใคร
ก็ไม่เป็นภัยเท่ากับ ความไม่รักดีของตัวเอง
ความหลงใหล ทำให้มืดมน
ความมักง่าย ทำให้ลำบาก
ความงมงาย ทำให้หลงผิด
ความมัวเมา ทำให้เสียอนาคต
ความเกียจคร้าน ทำให้เสื่อมความเจริญ
ความประมาท ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่ชีวิต ฯ
 ;D


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 03 กรกฎาคม 2556 12:20:57
ถ้าใครเห็นธรรมชาติ...ก็เห็นธรรมะ
ถ้าใครเห็นธรรมะ...ก็เห็นธรรมชาติ
ถ้าผู้ใดเห็นธรรมชาติ...เห็นธรรมะ
ผู้นั้นก็เป็นผู้รู้จักธรรมะนั่นเอง
ไม่ใช่อยู่ไกล...
 (:6:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 05 กรกฎาคม 2556 07:40:57
จิตผู้ปฎิบัติเป็นจิต อริยะ เป็นจิตที่ไม่ตกนรก จิตที่ไม่คิดทำบาป จิตที่คิดเป็นบุญเป็นกุศล จิตที่ดีที่แต่งไว้ดีแล้ว จิตที่จะดีได้ ไม่ใช่ว่าเกิดมาแล้วจะดีเลย เกิดมาแล้วต้องฝึก ต้องสมาคมคบคนดี มีพ่อแม่ดี มีครูบาอาจารย์ดี เพื่อนฝูงดี สังคมดี พยายามคิดทำดี แล้วก็ฝึกการมีศิลมีสมาธิ จิตจึงจะดีได้ ถือว่าเป็นบุญเป็นกุศลบารมี ที่พวกเราได้มีโอกาสมา ฝึกจิต 

 (:Y:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 05 กรกฎาคม 2556 18:53:27
อย่าเฝ้ามองจริตหรือการกระทำความดีความชั่วของคนอื่นอยู่เลย
ใครทำสิ่งใดไว้ย่อมรับผลแห่งการกระทำของพวกเขาด้วยตัวของพวกเขาเอง แม้แต่ตัวของเราเองก็ตาม กฎแห่งกรรมยุติธรรมและเที่ยงตรงเสมอ เราจงนำเวลาที่เพ่งโทษคนอื่นนั้น มาทำความดีดีกว่า เพราะได้บุญได้กุศลและสามารถเก็บเป็นอริยทรัพย์ภายในติดตัวไว้ได้ตลอดไป...
 (:Y:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 07 กรกฎาคม 2556 00:00:41
คำสอนจากหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
1. ศัตรูที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ตัวเราเอง
2. ความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอวดดี
3. การกระทำที่โง่เขลาที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การหลอกลวง
4. สิ่งที่แสนสาหัสที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอิจฉาริษยา
5. ความผิดพลาดมหันต์ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การยอมแพ้ตัวเอง
6. สิ่งที่เป็นอกุศลที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การหลอกตัวเอง
7. สิ่งที่น่าสังเวชที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความถดถอยของตัวเอง
8. สิ่งที่น่าสรรเสริญที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอุตสาหะ วิริยะ
9. ความล้มละลายที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความสิ้นหวัง
10. ทรัพย์สมบัติที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ สุขภาพที่สมบูรณ์
11. หนี้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ หนี้บุญคุณ
12. ของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การให้อภัยและความเมตตากรุณา
13. ข้อบกพร่องที่ใหญ่หลวงที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การมองโลกในแง่ร้ายและไร้เหตุผล
14. สิ่งที่ทำให้อิ่มอกอิ่มใจที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การให้ทาน
 (:Y:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 08 กรกฎาคม 2556 08:54:06
"ใจเดิม"
ใจใหม่..ใจปลอม
เวลาเป็นทุกข์เป็นร้อน คนเรามักไปโทษใจ ชอบพูดกันว่า ไม่สบายใจ
ความจริงใจมันจะมีอะไร ใจมันสบายอยู่แล้ว เหมือนกับใบไม้ในป่า
ตามปกติใบไม้จะอยู่นิ่งๆ แต่บางครั้งใบไม้กวัดแกว่งไปมา เพราะอะไร
เพราะถูกลมพัด ถ้าไม่มีลมพัด ใบไม้ก็อยู่นิ่งๆ เป็นปกติ
ใจเราก็เหมือนกัน เป็นของสงบ สะอาดอยู่แล้ว
ใจเดิมของเราเป็นอย่างนั้น ที่กวัดแกว่งหวั่นไหวไปมานั้น
คือใจใหม่..ใจปลอม เป็นใจที่ถูกตัณหาชักจูงไปมา
เราจึงรู้สึกสุขบ้างทุกข์บ้างตลอดเวลา...
พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
 (:6:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 10 กรกฎาคม 2556 17:49:08
การให้พรที่ถูกต้องในการใส่บาตร
เวลาใส่บาตร เรามักจะเห็นผู้ใส่บาตรนั่งไหว้ พระก็สวดยาวๆ ตั้งแต่สัพพี...ต่อด้วย อภิวาทนสีฯลฯ
บทว่า สัพพีฯลฯ เป็นอนุโมทนากถา
พระบางรูปท่านรู้ว่าเป็นอาบัติ แต่ท่านเกรงใจโยม สำหรับโยมผู้ต้องการรักษาพระธรรมวินัย มีจิตเมตตาพระคุณเจ้า ควรขอให้พระแค่อนุโมทนา สาธุ หรือขอให้ท่านกล่าวว่า "เอวัง โหตุ" แปลว่า ขอความปรารถนาจงสำเร็จเถิด ก็เพียงพอนะ เพราะบท อภิวาทนสี ฯลฯ เป็นพุทธพจน์ ภิกษุผู้ยืนอยู่ไม่แสดงธรรมแก่ผู้สวมรองเท้า นั่ง นอน ที่มิได้ป่วยไข้ บทว่า อภิวาทนสี ฯลฯ จึงเป็นการแสดงธรรม ภิกษุรูปใดแสดงธรรมเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
ถ้าเราต้องการฟังธรรม ใส่บาตรแล้ว ควรถอดรองเท้าแล้วยืนค่ะ อย่านั่งยองลงกับพื้น คนอื่นไม่รู้ไม่เป็นไร เมื่อเรารู้เราควรทำตามพระวินัย เพื่อรักษาพระพุทธศาสนาสืบไป
พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกัน ด้วยเรื่องอะไรหนอ?" เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "ด้วยเรื่องชื่อนี้"
จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อายุเจริญอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่, ก็สัตว์เหล่านี้ไหว้ท่านผู้มีพระคุณ ย่อมเจริญด้วยเหตุ ๔ ประการ, พ้นจากอันตราย ดำรงอยู่จนตลอดอายุทีเดียว" ดังนี้แล้ว
เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ.
ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ เจริญแก่บุคคลผู้กราบไหว้เป็นปกติ ผู้อ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญเป็นนิตย์.
เอวัง โหตุ ฯ /
 (:SR:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 11 กรกฎาคม 2556 09:19:12
อดทน ให้ได้ดั่ง ก้อนหิน
ติดดิน ให้ได้ดั่ง ต้นหญ้า
ใจกว้าง ให้ได้ดั่ง ท้องฟ้า
มุ่งไปข้างหน้า ให้ได้ดั่ง สายธาร....
 (:Y:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 11 กรกฎาคม 2556 09:29:48
ร้อนอะไรในมนุษย์ที่จุดจบ ไม่ร้อนลบแรงราดซ้ำยากเผา
เพลิงโมโหโทสามิซาเซา ร้อนลุ่มเราลุกลนไปจนตาย
อันร้อนกายไข้หนักพอรักษา ใช้หยูกยาถูตรงก็คงหาย
แต่ร้อนจิตติดแน่นสุดแคลนคลาย เป็นโรคร้ายเรื้อรังไม่ฟังยา
 (:KM:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 11 กรกฎาคม 2556 09:33:06
ใจของเรานี้มันร้อนนะร้อนเพราะยังมีไฟ คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ต้องหา น้ำ มาดับไฟ มันถึงจะคลายความร้อนลงไปได้บ้าง
น้ำ คือ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงจะสามารถ
ดับไฟ ที่อยู่ในใจเราได้ ใจมันถึงจะเย็น..
 (:2:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 12 กรกฎาคม 2556 18:27:28
“เสียงพิณนั้น สายหนึ่งขึงตึงไป พอดีดหน่อยก็ขาด
สายหนึ่งหย่อนเกินไป พอดีดเสียงก็ไม่ดังกังวาน
สายหนึ่งไม่ตึงไม่หย่อน ปานกลาง พอดีดก็บังเกิดเสียงไพเราะ
ก้องกังวาน โอ…การปฏิบัติตามทางสายกลางนั่นเอง
คือหนทางแห่งการตรัสรู้บรรลุพระโพธิญาณ”


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 14 กรกฎาคม 2556 18:08:44
ปัญหา เป็นสิ่งที่เราต้องแก้

กรรม เป็นสิ่งที่เราต้องชดใช้

ทุกข์ เป็นสิ่งที่เราต้องดับ

เหล่านี้เป็นภาระชีวิตของเรา อีกทั้งเป็นบทฝึกฝน

ของคนเพื่อก้าวสู่ ความเป็นมนุษย์

ของผู้ที่เห็นแจ้งในความสงบสุข ... อันแท้จริง

- ท่านพุทธทาสภิกขุ
 (:SR:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 16 กรกฎาคม 2556 13:04:15
รองเท้าที่เคยหาซื้อมาแพงๆสวยๆ ไม่นานมันก็ต้องถูกทิ้งไป
สรรพสิ่งในโลกของความเป็นจริง ย่อมมีวันเปลี่ยนแปลง
อยู่ที่ว่าเราจะยอมรับสภาวะของความเป็นจริงได้มากน้อยแค่ใหน
 (:6:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 16 กรกฎาคม 2556 13:12:49
ใครมีเงิน มีบ้าน มีรถ มีถานะดี ก็ต้องเสียภาษี
หรือถูกตรวจสอบ หาว่ารวยผิดปกติอีกเนาะ
แต่ถ้าใคร รวยศีล รวยทาน รวยน้ำใจ รวยบุญกุศล
มันเป็นสิ่ง มหัศจรรย์ ที่ไม่ต้องเสียภาษี
ไม่ต้องถูกตรวจสอบ...
 ;D


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 17 กรกฎาคม 2556 17:05:08
ินิทานเรื่องสั้นของท่านพุทธทาส เรื่อง เจ้าของเรือ

"พ่อจ๋า พ่อว่า พ่อเป็นเจ้าของเรือ แต่พ่อต้องล้างเรือ เช็ดถูเรือ ต้องชะโลมน้ำมัน ให้มันบ่อยๆ พ่อต้องเก็บรักษา แจวพาย และ เครื่องใช้ ในเรือ ทุกๆ อย่าง แล้วพ่อก็แจว เมื่อพาพวกเราไปนั่งเรือเล่น พร้อมกับเพื่อนบ้านของเราทุกคน พ่อเหนื่อยเกือบตาย ทีพวกนั้น ทำไมนั่งสบาย ไม่ช่วยพ่อแจว ไม่ช่วยพ่อเช็ดล้างเรือบ้างเล่าพ่อจ๋า?" หนูจ้อย ถามพ่อ ทำตาแดงๆ
"ก็พ่อเป็น เจ้าของเรือ นี่ลูกเอ๋ย"
"ใครเป็นเจ้าของอะไร ก็ต้องเหนื่อยเกือบตาย ใครไม่เป็นเจ้าของก็สบาย พ่อเห็นว่า มันจะยุติธรรมหรือ?"
"ธรรมเนียม มันเป็นอย่างนั้นเอง ใครเป็นเจ้าของ ก็ต้องทนเหนื่อย ทนหนักใจ"
"แล้วพ่อจะขืน เป็นเจ้าของเรือ ไปทำไม ให้เขาเสีย แล้วขอนั่งกะเขา เป็นครั้งคราว เหมือนที่เขานั่งเรือเรา อย่างสนุกสนาน มิดีกว่าหรือ?"
"ก็ พ่อ อยากจะเป็น เจ้าของเรือสักลำหนึ่ง นี่ลูกเอ๋ย"
"ขออย่าให้ ฉันต้องเป็น เจ้าของเรือ ร่วมกับพ่อ ฉันจะ ไม่ยอมเป็น เจ้าของ อะไรๆ เลย แม้แต่ ตัวของฉันเอง!"
"แล้วลูก จะอยู่ได้อย่างไร?"
"อยู่อย่าง ไม่ต้อง ทนเหนื่อย เหมือนพ่อ และตรงกันข้าม จากพ่อ ทุกประการ!"

ดังนั้น หนูจ้อยจึงกลายเป็น เณรจ้อยไป เพราะเขา ไม่อยากเป็น เจ้าของสิ่งใด แต่อยากเป็นอยู่ ชนิดที่เขาเห็นว่า ตรงกันข้าม จากพ่อ ทุกประการ

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า: ถ้าใครไม่เป็น เจ้าของสิ่งใด กลับจะได้กิน "ไข่แดง" ของสิ่งนั้น (เหมือน คนที่มาพลอย นั่งเรือเล่น กับพ่อ) ส่วนใครที่เป็น เจ้าของสิ่งใด เขาจะกินได้เพียง "ไข่ขาว" ของสิ่งนั้น ซึ่งบางที ถึงกับอาจจะต้อง กินเปลือกไข่ หรือ มูลโสโครก ที่ติดอยู่กับ เปลือกไข่ เข้าไปด้วยกัน ดังนี้แล้ว ใครจะอยู่ใน สภาพที่น่าสงสาร กว่าใคร ในระหว่าง พ่อ-ลูก สองคนนี้ เพื่อตอบปัญหา เกี่ยวกับ ตัวเราโดยตรง สืบไป


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 17 กรกฎาคม 2556 17:14:19
อย่าลืมนะว่าการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ก็คือการยอมรับและนับถือเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งเป็นสรณะไมใช่เอาตัวบุคคลเป็นสรณะ
(:5:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 18 กรกฎาคม 2556 14:57:51
อาหารที่เราชอบ เพราะว่ามันถูกกิเลสที่ใจเราต้องการ
มันคืออาหารที่ถูกปรุงแต่งตามความต้องการ
ถ้าไม่ปรุงแต่งเป็นแต่เพียงอาหารมันก็ไม่ถูกกิเลส
คือความอยากความต้องการ
อวิชา  คือสิ่งที่เข้ามาแล้วเราต้องการที่จะครอบครอง
เพราะใจมันคิดปรุงแต่งว่า ถ้ามีแล้วครอบครองแล้วจะทำให้มีความสุขใจเราจึงไปยึดติดคิดว่าดีงาม แต่จริงๆแล้วมันไม่ต่างจากยาพิษเมื่อยึดติดหรือดื่มกินย่อมต้องเกิดโทษ......
 (:13:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 19 กรกฎาคม 2556 18:14:52
มันไม่แน่.!
“โลกนี้หาความจีรังยั่งยืนไม่ได้
แปรเปลี่ยนเป็นนิจ
สิ่งที่เรายกย่องเชิดชูว่าดีวิเศษในวันนี้
สามารถกลายเป็นอื่นในวันหน้า
นี้เป็นธรรมดาของสิ่งที่เรียกว่าสมมติ
ใครที่ยึดติดถือมั่นกับสมมติ
ปักใจเชื่อว่ามันต้องดีไปตลอด
ย่อมเป็นทุกข์เมื่อเจอความเปลี่ยนแปลง”
 (:2:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 23 กรกฎาคม 2556 12:56:53
ปาท่องโก๋ มันก็ไม่ใช่อาหารที่วิเศษอะไรมากมายนะ
ราคาก็ถูก แต่ทำไมคนถึงชอบกิน
นี้ก็เท่ากับว่า อะไรที่ใจเรายอมรับมันได้มันก็ดีก็สุข
ชีวิตเราก็เป็นสุขได้ถ้าเรายอมรับในสิ่งที่มี ที่เป็นเหมือนยอมรับรสชาติของปาท่องโก๋
 (:6:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 25 กรกฎาคม 2556 20:55:44
..ทรงตรัสรู้...ที่ใต้ต้นไม้...
......"ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ๒๙ พระองค์"
ต้นไม้ตรัสรู้ที่สามารถนำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้ มีต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ๒๙ พระองค์ โดยต้นไม่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑ ถึงองค์ที่ ๓ พบในชินกาลมาลีปกรณ์และต้นไม้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ ถึงองค์ที่ ๒๙ พบในพุทธวงศ์อันมีความดังต่อไปนี้
๑. พระตัณหังกร ไม้สัตตปัณณะ (ตีนเป็ดขาว)
๒. พระเมธังกร ไม้กิงสุกะ (ทองกวาว)
๓. พระสรณังกร ไม้ปาตลี (แคฝอย)
๔. พระที่ปังกร ไม้ปิปผลิ (เลียบ)
๕. พระโกณฑ์ญญะ ไม้สาลกัลยาณี (ขานาง)
๖. พระมังคละ ไม้นาคะ (กากะทิง)
๗. พระสุมนะ ไม้นาคะ (กากะทิง)
๘. พระเรวตะ ไม้นาคะ (กากะทิง)
๙. พระโสภิตะ ไม้นาคะ (กากะทิง)
๑๐. พระอโนมทัสสี ไม้อัชชุนะ (รกฟ้าขาว)
๑๑. พระปทุมะ ไม้มหาโสณะ (อ้อยช้าง, คำมอก)
๑๒. พระนารทะ ไม้มหาโสณะ (อ้อยช้าง,คำมอก)
๑๓. พระปทุมุทตระ ไม้สลฬะ (สน)
๑๔. พระสุเมธะ ไม้มหานิมพะ (สะเดาป่า)
๑๕. พระสุชาตะ ไม้มหาเวฬุ (ไผ่ใหญ่)
๑๖. พระปิยทัสสี ไม้กกุธะ (กุ่ม)
๑๗. พระอัตถทัสสี ไม้จัมปกะ (จำปาป่า)
๑๘. พระธัมมทัสสี ไม้พิมพชาละ หรือกุรวกะ (มะพลับ,ซ้องแมว)
๑๙. พระสิทธัตถะ ไม้กัณณิการะ (กรรณิการ์)
๒๐. พระติสสะ ไม้อสนะ (ประดู่ลาย)
๒๑. พระปุสสะ ไม้อาลมกะ (มะขามป้อม)
๒๒. พระวิปัสสี ไม้ปาตลิ (แคฝอย)
๒๓. พระสิขี ไม้ปุณฑริกะ (มะม่วงป่า)
๒๔. พระเวสสภู ไม้มหาสาละ (สาละใหญ่)
๒๕. พระกะกุสันธะ ไม้มหาสิริสะ (ซึกใหญ่)
๒๖. พระโกนาคมนะ ไม้อุทุมพระ (มะเดื่อ)
๒๗. พระกัสสปะ ไม้นิโครธ (ไทร,กร่าง)
๒๘. พระโคตมะ คือ พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน พระพุทธเจ้าพระบรมศาสดาของเราทั้งหลาย ไม้อัสสตถะ (พระศรีมหาโพธิ)
๒๙. พระเมตไตรย คือ พระพุทธเจ้าในอนาคตกาลข้างหน้า ไม้นาคะ (กากะทิง)
 (:5:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 25 กรกฎาคม 2556 20:58:19
จิตใจของการเป็นผู้ให้...
ยิ่งใหญ่ไร้เสแสร้ง...ก่อเกิดเป็นความกรุณา
เมื่อสั่งสมบ่อยขึ้น..บ่อยขึ้น.
ก็สามารถทำลายความเห็นแก่ตัวลงได้...
และนั่นคือ..จิตของผู้ให้  (:SR:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 02 สิงหาคม 2556 20:26:31
"ในตัวของเราเองมีโลกทั้งใบอยู่ และถ้าคุณรู้ว่าจะมองดูและเรียนรู้อย่างไรแล้ว ประตูก็อยู่ที่นั่นกุญแจก็อยู่ในมือคุณ ไม่มีใครในโลกสามารถมอบกุญแจ หรือช่วยเปิดประตูให้คุณ ยกเว้นตัวคุณเอง " (:Y:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 04 สิงหาคม 2556 14:14:46
คนทุกคน มีกรรมมาแต่กำเนิด
มากน้อยต่างกันไป
ทุกคนได้รับความยุติธรรมเสมอ
เหมาะสมตาม "กรรม" ของตน
มิใช่เหมาะสมตาม "ความเห็น" ของตน. (:BR:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 13 สิงหาคม 2556 20:08:49
หากบุคคลใด ได้หมั่นพิจารณาการกระทำของตนเองอยู่เนื่องๆ และเฝ้าดูจิตของตนเองให้มีแต่กุศลมูล นอกจากจะเป็นผู้ที่มีสติปัญญาแล้ว จิตใจสะอาดผ่องแผ้วแล้ว ยังเป็นผู้ที่หนักแน่นและมั่นใจในตนเองอีกด้วย จะไม่หวั่นวิตกต่อคำวิพากวิจารณ์ของผู้อื่น
 (:5:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 สิงหาคม 2556 22:46:40

(http://www.oknation.net/blog/home/user_data/blog_data/201204/04/794963/comment/794963_images/10_1333551813.jpg)


สาธุ !!



หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 15 สิงหาคม 2556 20:43:23
บนหนทางแห่งการต่อสู้...
ไม่มีใครแพ้ตลอดกาล...
และ ไม่มีใครชนะตลอดไป...
คนที่มีความสุขที่สุด...
คือ คนที่สงบได้ในวันที่ชนะ...
และ ยิ้มได้ในวันพ่ายแพ้...
 (:SL:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 18 สิงหาคม 2556 17:40:30
อืม...บางครั้งเส้นทางชีวิตที่มันไม่สามารถเดินไปตรงๆได้
ก็ต้องรู้จักยึดหยุ่นเสียบ้าง เหมือนเส้นทางของถนนยังเป็นไปตามภูมิประเทศ
คนเราถ้ารู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนเสียบ้าง คนรอบข้างก็ย่อมให้ความชื่นชมและเมตตา
 (:2:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 28 สิงหาคม 2556 15:55:58
หลวงพ่อดีเนาะ ผู้มองโลกในแง่ดี "

...มีหลวงพ่อองค์หนึ่งซึ่งเลื่องลือกันว่า เป็นพระที่มีแต่ความสุข ไม่เคยมีความทุกข์ วันหนึ่ง โยมมานิมนต์ท่านไปเทศน์ที่บ้าน บอกท่านว่าจะมารับแต่เช้า หลวงพ่อก็นั่งรอจนสายโยมก็ไม่มาสักที ท่านจึงว่า “ไม่มา ก็ดีเหมือนกันเนาะ เราฉันข้าวของเราดีกว่า”
ท่านฉันข้าวได้ไม่กี่คำ โยมก็มารับพอดี กราบกรานขอโทษที่มาช้าเหตุเพราะว่ารถเสีย
หลวงพ่อจึงหยุดฉัน “ก็ดีเนาะ ไปฉันที่งานเนาะ”
หลวงพ่อนั่งรถไปได้สักพัก เครื่องรถก็ดับ คนขับบอก “รถเสียครับ”
หลวงพ่อก็ว่า “ดีเนาะ ได้หยุดพักชมวิวเนาะ”
คนขับง่วนอยู่กับรถพักใหญ่ ทำอย่างไรเครื่องก็ไม่ติด จึงออกปากขอร้องให้หลวงพ่อช่วยเข็นรถ ความจริงหลวงพ่อก็แก่แล้ว ข้าวก็ฉันได้ไม่กี่คำ แต่แทนที่จะบ่น ท่านกลับยิ้มบอกว่า “โอ้ดีเนาะ ได้ออกกำลังเนาะ”
แล้วท่านก็ขมีขมันออกแรงช่วยเข็นรถจนวิ่งได้ ปรากฏว่ากว่าจะถึงบ้านงานก็เลยเที่ยงแล้ว หมดเวลาฉันอาหารไปแล้ว เป็นอันว่า วันนั้นหลวงพ่ออดข้าวทั้งสองมื้อ แต่เนื่องจากได้เวลาเทศน์แล้ว เจ้าภาพจึงนิมนต์ท่านขึ้นเทศน์ทันที หลวงพ่อก็สนองด้วยดี “ดีเนาะ มาถึงก็ได้ทำงานเลยเนาะ”
ว่าแล้วท่านก็ขึ้นธรรมมาสน์เทศน์จนจบ มีคนชงกาแฟถวาย แต่เผลอตักเกลือใส่แทนน้ำตาล หลวงพ่อจิบกาแฟไปได้หน่อยก็โยมว่า “ดีเนาะ” แล้วก็วาง ธรรมเนียมของญาติโยมที่ศรัทธาเกจิอาจารย์ เวลาท่านฉันอะไรเหลือ ลูกศิษย์ก็อยากได้บ้าง ถือเป็นสิริมงคล แต่ลูกศิษย์ดื่มกาแฟแค่อึกแรกเท่านั้นก็พ่นพรวดออกมา
“เค็มปี๋เลยหลวงพ่อ ฉันเข้าไปได้ยังไง !”
“ดีเนาะ ฉันกาแฟหวานๆ มานาน”
หลวงพ่อว่า “ฉันเค็มๆ มั่งก็ดีเหมือนกัน”
ไม่ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับท่าน จะแย่แค่ไหน หลวงพ่อก็มองเห็นแต่แง่ดี ท่านจึงไม่มีความทุกข์เลย
เคยมีลูกศิษย์ใกล้ชิดคนหนึ่งไปทำผิด ถูกจับติดคุก ท่านก็ว่า “ก็ดีเนาะ มันจะได้ศึกษาชีวิต”
หลวงพ่อดีเนาะมิใช่เป็นหลวงตาธรรมดาๆ หากเป็นพระผู้ใหญ่ที่มีชื่อของจังหวัดอุดรธานี ที่ใครๆ ก็รู้จัก ท่านมีลูกศิษย์ลูกหาและผู้เคารพนับถือทั่วประเทศ การประพฤติปฏิบัติของท่านเป็นที่เล่าขานกันมากมายหลายเรื่อง เช่น มีผู้เล่าว่า กุฏิของท่านเป็นที่จับตาของโจรผู้หนึ่ง เพราะเห็นว่ามีสิ่งของมีค่ามากมายที่ญาติโยมนำมาถวาย วันหนึ่งได้โอกาสบุกเข้าประชิดตัวหลวงพ่อบนกุฏิ พร้อมปืนในมือ “นี่คือการปล้น อย่าได้ขัดขืนนะหลวงพ่อ”
หลวงพ่อแทนที่จะตกใจหรือโมโห ยิ้มให้โจรด้วยอารมณ์ดี และกล่าวกับโจรอย่างนิ่มนวลว่า “ปล้นก็ดีเนาะ”
โจรแปลกใจในคำพูดและท่าทีของหลวงพ่อ จึงพูดว่า “ถูกปล้นทำไมว่าดีละหลวงพ่อ”
หลวงพ่อตอบว่า “ทำไม่จะไม่ดีละ ก็ข้าต้องทนทุกข์ทรมานเฝ้าไอ้สมบัติบ้าๆ นี้ตั้งนานแล้ว เอ็งเอาไปเสียให้หมด ข้าจะได้ไม่ต้องเฝ้ามันอีก”

โจรตอบว่า “ไม่ใช่ปล้นอย่างเดียว ฉันต้องฆ่าหลวงพ่อด้วย เพื่อปิดปากเจ้าทรัพย์”
หลวงพ่อก็ตอบเหมือนเดิม “ฆ่าก็ดีเนาะ”
โจรแปลกใจจึงถามว่า “ถูกฆ่ามันจะดีได้อย่างไรล่ะหลวงพ่อ”
หลวงพ่อตอบ “ข้ามันแก่แล้ว ตายเสียได้ก็ดี จะได้ไม่ทุกข์ร้อนอะไร”
โจรรู้สึกอ่อนใจเลยบอกว่า “ถ้าอย่างนั้นฉันไม่ฆ่าหรอก”
หลวงพ่อก็พูดเหมือนเคย “ไม่ฆ่าก็ดีเนาะ”
โจรถามอีก “ทำไมฆ่าก็ดี ไม่ฆ่าก็ดีอีก”
หลวงพ่อตอบว่า “การฆ่ามันเป็นบาป เอ็งจะต้องใช้เวรทั้งชาตินี้และชาติหน้า อย่างน้อยตำรวจเขาจะต้องตามจับเอ็งเข้าคุก เข้าตะราง หรือไม่ก็ถูกฆ่าตาย ตายแล้วก็ยังตกนรกอีก”
ได้ยินเช่นนี้โจรเลยเปลี่ยนใจ “ถ้าอย่างนั้นฉันไม่ปล้นหลวงพ่อแล้ว”
หลวงพ่อก็ตอบอีกว่า “ไม่ปล้นก็ดีเนาะ”
มีผู้เล่าต่อมาว่า ในที่สุดโจรคนนั้นก็สำนึกบาปเข้ามอบตัวกับตำรวจ เมื่อพ้นโทษออกมาก็ขอให้หลวงพ่อบวชให้และอยู่ในผ้าเหลืองเป็นเวลานาน ส่วนหลวงพ่อมีคนให้ฉายาท่านว่า “หลวงพ่อดีเนาะ” มาจนทุกวันนี้
หลวงพ่อดีเนาะ แห่งวัดมัชฌิมาวาส อุดรธานี เป็นผู้ที่มองเห็นข้อดีของทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับท่าน อีกทั้งท่านยังมองคนอื่นในแง่ดีเสมอ ไม่เคยว่าใครหรือจับผิดใคร เจอปัญหาอะไรๆ ก็พูดว่า “ดีเนาะ” ในที่สุดจึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น “พระเทพวิสุทธาจารย์ สาธุอุทานธรรมวาที” ซึ่งแปลว่า ผู้สอนธรรมด้วยการเปล่งคำว่าดีเนาะ
“พระเทพวิสุทธาจารย์ สาธุอุทานธรรมวาที”
วัดมัชฌิมาวาส ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี
เขียนเล่าเรื่องโดย พระไพศาล วิสาโล
 
 (:SR:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 20 กันยายน 2556 15:31:09
(*-*) ...เพราะชีวิต...ต้องพบเจอหลายสิ่งหลายอย่างตั้งแต่ก้าวแรกของชีวิต ต้องก้าวเดินต่อไปตราบที่ยังไม่ถึงจุดจบของเส้นทางเดิน
คนที่มองโลกในแง่ดี.. มักมีโอกาสดีกว่าคนอื่นเสมอ เพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหนทุกอย่างก็เป็นบวก ซึ่งช่วยให้สุขภาพจิตดี มีความคิดโปร่งใส ไม่ว่าจะลงมือทำอะไรก็ดูว่าจะง่ายและสบายกว่าคนอื่น
คิดบวก ++ เราสามารถยิ้มได้อย่างสุขใจตั้งแต่คิด แม้ว่าเรา ยังไม่ลงมือทำสิ่งใดเลย  (:6:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 23 กันยายน 2556 19:00:42
วันนี้มีคนขับรถพาไปดูน้ำท้วม ตลาดลาดยาว นครสวรรค์
ได้ยินแต่ข่าว ได้ไปเห็นด้วยตาตัวเองมันท้วมจริงๆนะจะบอกให้
ธรรมะก็เหมือนกันนะรู้อย่างเดี๋ยว ศึกษาอย่างเดียวมันก็แค่นั้น
มันต้องปฏิบัติด้วยตังเอง สัมผัสด้วยตัวเองมันถึงจะเข้าใจ
ทุกข์มันเป็นอย่างไร สุขมันเป็นอย่างไร ต้องรู้ด้วยตัวเอง
 (:2:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: joojee ที่ 24 กันยายน 2556 19:44:53
น้ำ้ท้วมเหมือนหุ่นหลวงพี่เรือใบด้วยใช่ก่อ ท้วมจริงๆ นะจะบอกให่


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 08 ตุลาคม 2556 14:18:21
ดวงอาทิตย์มันโพล่ขึ้นมาพร้อมกับแสงสว่าง
คนเราเกิดมา ทั้งทีขอให้มีแสงสว่างอยู่บ้างก็ยังดีนะ
 (:SL:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 11 พฤศจิกายน 2556 18:35:20
ทุกอย่างที่เรามีอยู่..เป็นอยู่นั้น
มันเป็นสักแต่ว่า "อาศัย" เท่านั้น
ถ้ารู้ได้เช่นนี้ ท่านว่ารู้เท่าตามสังขาร
ที่นี้..แม้จะมีอะไรอยู่ก็เหมือนไม่มี
ได้ก็เหมือนเสีย..เสียก็เหมือนได้..!
...หลวงปู่ชา สุภัทโท
 (:2:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 25 พฤศจิกายน 2556 21:46:41
วิถีแห่งบุญบารมี 10 ประการ
คนเราไม่ใช่ทำบุญแค่การไปไหว้พระ หรือตักบาตร ทำบุญแค่ผ่านชีวิตไปวันๆเท่านั้น
หากแต่ในการดำเนินชีวิตแต่ละวัน คนเราก็มีวิถีทางในการเพิ่มบุญ ที่เราสามารถสะสมกันได้ในทุกวัน และทุกๆวัย
เมื่อเดินไปในวิถีทาง 10 ทางนี้แล้ว เชื่อว่า ผลบุญบารมี จะนำมาซึ่งสิ่งดีๆ ในชีวิต และส่งเสริมแก่เจ้าของชะตานั้นๆ ตลอดไป
1 บริจาคทาน
2 รักษาศีล
3 เจริญภาวนา
4 ประพฤติถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
5 การขวนขวายในกิจที่ชอบ
6 การให้ส่วนบุญ
7 การอนุโมทนาส่วนบุญ
8 ฟังธรรม
9 แสดงธรรม
10 ทำความเห็นให้ตรง
 (:5:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 06 ธันวาคม 2556 17:41:04
"ธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ กำหนดเข้าๆ รู้เท่าทันเหตุ เหตุดับมันก็ถึงความสุข
เพราะวางอุปทานเหตุจึงดับไป อวิชชาความมืดไม่รู้แจ้งมันก็ดับไป เวลาพูดดูเป็น
ของง่าย แต่เวลาทำยาก อย่าไปยึดเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้ ฟังแต่น้อย แต่ต้องทำให้มาก
อาศัยความพากเพียร ทำการงานด้วยกายของเรา ทุกสิ่งทุกอย่าง ทำให้เป็น
อริยมรรค อย่าให้เป็นกิเลส ถ้าเป็นกิเลสเป็นทุกข์"

(หลวงปู่แหวน สุจิณโณ)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 15 มกราคม 2557 19:34:01
จิตใจของเรามีคุณภาพระดับไหน เราก็เห็นธรรมะระดับนั้น ถ้าวันไหนจิตใจเราขุ่นมัว โลกทั้งโลกจะขุ่นมัวไปหมด วันไหนจิตใจเราเบิกบานแจ่มใส โลกนี้เบิกบานแจ่มใสไปกับเราด้วย ถ้าวันใดใจของเราพ้นจากความปรุงแต่ง เราจะเห็นธรรมที่พ้นความปรุงแต่ง
(:5:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 16 มกราคม 2557 20:46:55
ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ อย่าให้เสียชีวิตลมหายใจไปเปล่าที่ได้มีวาสนามาเกิดเป็นมนุษย์" และ "เราเกิดเป็นมนุษย์มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ มนุษย์ของเราจะต่ำลงกว่าสัตว์ และจะเลวกว่าสัตว์อีกมาก เวลาตกนรกจะตกหลุมที่ร้อนกว่าสัตว์มากมาย อย่าพากันทำ ;D (:NOY:) (:SL:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 18 มกราคม 2557 21:05:27
มนุษย์อยากสุขแต่ไม่รู้จักสุข อยากหนีทุกข์แต่ไม่รู้จักทุกข์ สุ่มสี่สุ่มห้าเดินคลำไปคลำมาในความมืด เอาความหวัง ในความสุขข้างหน้าเป็นที่ปลอบใจ บางคนอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยเนรมิตให้ความมืดกลายเป็นความสว่าง แต่พระพุทธศาสนาสอนว่า โยม มันสว่างอยู่แล้ว ไม่ต้องไปบนบานศาลกล่าวที่ไหนหรอก ลืมตาก็จะเห็นเอง
 (:BYE:) (:88:) (:SL:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 21 มกราคม 2557 18:20:04
การมีกัลยาณมิตร เคียงคู่อยู่ใกล้ๆ อย่างน้อย ก็คอยพูดคุย แนะนำพร่ำสอน ปลอบโยน ไม่ให้เราพลั้งเผลอ กระทำในสิ่งที่ไม่สมควร ไม่ถูกต้อง กัลยาณมิตรจะชักชวนไปในทางเจริญก้าวหน้าของชีวิต กัลยาณมิตรจึงเปรียบประหนึ่งแสงสว่างที่ส่องนำทางชีวิตของเรา...

 (:2:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 29 มกราคม 2557 19:15:10
ยังหลับอยู่หรือ?? ตื่นได้แล้ว...
การอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์การทำพิธีรีตองเพื่อจะกำจัดความทุกข์หรือเพื่อจะให้หมดบาปหมดกรรมให้หมดทุกข์นั้นน่ะมันเป็นเรื่องของคนหลับที่ยังหลับอยู่เพราะไม่รู้ตามที่เป็นจริงว่า ความทุกข์นั้นเกิดมาจากอะไร
(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc3/t1/p480x480/1618701_387696194708039_158984786_n.jpg)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 16:55:08
อำนาจของกรรมใหญ่ยิ่งที่สุดในโลก
แม้อำนาจของกรรมดี
ก็ไม่อาจทำลายอำนาจของกรรมชั่ว
และอำนาจของกรรมชั่ว
ก็ไม่อาจทำลายอำนาจของกรรมดี
มีเมตตาต่อเขาผู้เป็นทุกข์นั้นดีนัก
แต่... อย่าลืมเมตตาตน
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (:PING:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2557 21:49:33
(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/t1/p526x296/1932467_399546033523055_1248372446_n.jpg)
__/|\__มองให้เห็นความจริง__/|\__
มนุษย์เรา มีอารมณ์และความรู้สึกอันหลากหลาย
แต่ละอารมณ์ จะสนองตอบตามความเคยชินของสิ่งที่กระทบ
โกรธ เมื่อมีคนมาด่าว่า หรือนินทา
ชื่นชอบ พอใจ เมื่อคำเยินยอหรือสรรเสริญ เอ่ยถึงชื่อตน
แต่สิ่งเหล่านี้ก็มิได้อยู่กับเรา คงทนหรือถาวร
มีเกิดขึ้น...แล้วหายไป...เกิดขึ้น....แล้วดับไป
เป็นเช่นนี้ ครั้งแล้วครั้งเล่า

ทุกสิ่งอย่างเป็นไปตามกฏแห่งธรรมชาติ (ธรรมะ)
มิได้เป็นไปตามความต้องการของใจ
เราโกรธเขา เกลียดเขา ว่าร้ายเขา
ด้วยคิดว่าได้ความสะใจ สาสมใจ ที่ได้โกรธ ได้เกลียด
และคิดว่าตนเองอยู่เหนือเขา ชนะเขา
แต่หารู้ไม่ว่า ความรู้สึกและอารมณ์นั้นๆ....
กำลังข่มขี่ และทำร้ายตัวเราเอง....
ให้เราเป็น...ผู้แพ้


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 03 มีนาคม 2557 22:29:18
(https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc1/t1/1965007_403930849751240_160184815_n.jpg)
ก็เพราะมีตัวเองเป็นศูนย์กลาง กูก็เลยดีซะไม่มี
ก็เพราะมีตัวเองเป็นศูนย์กลาง มึงก็เลยเลวซะไม่มี...เหมือนกัน
 (:2:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 06 มีนาคม 2557 21:00:04
ธรรมชาติจะบังคับให้เราทิ้งทุกคนไปอยู่ดี เราเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม เรารักและหวังหอบหิ้วใครไปด้วยก็ตาม พวกเราต่างก็เป็นนักเดินทางผู้โดดเดี่ยว มาสวมหัวโขนเป็นพ่อ แม่ พี่ น้อง คนรัก เพื่อน ศัตรู หรืออะไรอื่นเดี๋ยวเดียว แล้วก็ต้องตายจากไปเป็นอื่น แม้ในชาติเดียวกันก็อาจเป็นอะไรหลาย ๆ ฐานะ บางคนเดินชนไหล่หรือเหยียบเท้าใครอีกคนบนถนน ทะเลาะกันเลือดขึ้นหน้าเป็นพัก กว่าจะจำได้ว่าเคยเป็นเพื่อนรักสุดรักสมัยประถมมัธยมที่เคยอยากไปไหน ๆ ด้วยกันตลอดชีวิต แต่พอห่างกันมาก ๆ เจออีกทีอาจกลายเป็นศัตรูก็ได้ เราต่างถูกหลอกว่ามีคนรักและเครือข่ายญาติมิตร ทั้งที่จริงทุกคนไม่มีแม้แต่เงาติดตามตัวเองไปได้ตลอด
 (:1:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 26 มีนาคม 2557 23:45:42
คนเราทุกคนย่อมได้รับในสิ่งที่ตนสมควรได้รับเสมอ
มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาบนโลกนี้ ต่างก็มีกรรมเก่าที่ติดมาจากภพชาติก่อนๆ ในชีวิตที่มาเกิดใหม่นี้ เป็นโอกาสและทางเลือก ที่เราจะใช้ชีวิตของเราอย่างไร จะปล่อยไปตามเวรตามกรรมหรือจะเกิดมาเพื่อสร้างสมบารมี สร้างสมบุญกุศล อันนี้ก็สุดแล้วแต่เราจะเลือกเอาเอง
แต่....จำไว้เสมอว่า ทุกสิ่งที่เราคิด ทุกสิ่งที่เราพูด หรือ ทุกสิ่งที่เรากระทำไปนั้น นั่น คือ กรรม
(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc3/t1.0-9/1962599_224467371088741_639237795_n.jpg)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 22 เมษายน 2557 20:34:49
คนเราเกิดมามีร่างกายเป็นที่อาศัย
อุปมาเป็นบ้านที่กำลังไหม้ไฟ
เพราะการเกิดแก่ เจ็บตาย เป็นเหตุ
บัดนี้ไฟกำลังไหม้บ้านเรือนเราอยู่เสมอๆ ตลอดเวลา
ผู้มีสติ ผู้มีปัญญา นำสมบัติอันมีค่า
ค่อยๆ ขนออกจากบ้านที่กำลังไหม้ไฟอยู่นี้
สมบัติอันมีค่านั้นก็คือการกระทำคุณงามความดี
เร่งสร้างบุญกุศล ความดีที่ทำลงไปแล้วไม่มีวันสูญหาย
จงจำใส่ใจไว้ ไม่มีสิ่งใดที่ไหน
จะนำทางชีวิตของเราให้ไปสู่สุขคติโลกสวรรค์ได้ มีแต่บุญกุศลเท่านั้น
เมื่อจะรักการภาวนาธรรม
ก็ต้องดูเยี่ยงอย่างของพระพุทธเจ้าเป็นแนวทาง ให้น้อมไว้เป็นสรณะ
สมัยการเดินธุดงค์กรรมฐานของหลวงปู่
ต้องสละทุกอย่าง แม้ชีวิตเลือดเนื้อต้องสละหมดสิ้น
ไม่เห็นกังวล ถ้าจะต้องตายก็ให้ตายไป
หลวงปู่เชื่อในการทำความดี
เมื่อถึงคราวต้องตายก็ถวายหมดสิ้นแล้ว อย่างไม่มีความสงสัย
การปฏิบัติธรรมนั้นต้องอาศัยปัญญาภายใน
เป็นดวงธรรมอันสว่างไสว
แล้วจะรู้แจ้งในธรรมนั้นๆ
จงรีบขวนขวาย พยายามอย่าประมาท
อย่าทอดทิ้งเป็นอันขาดเน้อ
หลวงปู่ครูบาพรหมจักร
วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน
 (:SR:) (:KM:) (:Y:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 23 พฤษภาคม 2557 14:59:40
(https://scontent-a-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-frc3/t1.0-9/10300692_258395694366450_6785310833111628010_n.jpg)
..สัจจธรรมนำชีวตลิขิตพลัดพราก
คือวิบากกรรมที่เคยสร้างสม
พบแล้วจากพรากไปใจระทม
ไม่งายงมในสิ่งที่ไม่มีจริง
เมื่อสิ่งนั้นยังอยู่จงเห็นค่า
เฝ้าฟูมฟักรักเมตตาเอาใจใส่
เมื่อถึงกาลสิ่งนั้นจากแสนไกล
ก็ยังเหลือเยื่อใยแห่งความดี
ความพลัดพรากจากไกลพาใจคิด
ในดวงจิตเฝ้าภาวนาอย่าหมองศรี
ทุกสิ่งเกิดตั้งอยู่แล้วจรรี
เพราะโลกนี้ไม่มีสิ่งไหนไม่ดับลง
 (:2:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 21 มิถุนายน 2557 20:02:48
(https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/t1.0-9/p350x350/10420208_470257903118534_8325459552311543153_n.jpg)
.. ความตายนี้พระพุทธเจ้า พระองค์สอนไว้ว่าให้นึกบ่อย ๆ
นึกจนมันเห็น แล้วก็นึกจนมันเข้าใจลึกซึ้ง จนเกิดความสลดสังเวชในมรณะ
ถ้าผู้ใดภาวนามรณานุสสติกรรมฐานจนเกิดขึ้นจิตสงบ ระงับความตั้งมั่นเป็นสมาธิก็ดี หรือจะเป็นความสลดสังเวชในมรณภัย
จิตใจจะเปลี่ยนแปลงไป ความโกรธก็จะเบาบาง เลิกได้ละได้
ความโลภ ความอยากได้ในใจ ความหลงในจิตใจก็จะเลิกได้ละได้
เพราะว่าความตายนั้น เมื่อมาถึงบุคคลผู้ใด บุคคลผู้นั้นจำเป็นต้องตาย ไม่มีข้อยกเว้น


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 24 กรกฎาคม 2557 20:49:19
(https://scontent-a-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xpa1/t31.0-8/q79/s720x720/10557712_488686567942334_8732616100034172536_o.jpg)
เมื่อเกิดมาอาภัพชาติ แล้วอย่าให้ใจอาภัพอีก
ผู้เกิดมาชาตินี้อาภัพแล้ว อย่าให้ใจอาภัพ คิดแต่ผลิตโทษทำบาปอกุศลเผาผลาญตนให้ได้ทุกข์ เป็นบาปกรรมอีกเลย (:5:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 02 สิงหาคม 2557 19:38:51
อย่าลืม...ดับไฟสามกองอันนี้ใช่ แต่การดับไฟสามกองเราต้องดับที่ต้นเพลิงมิใช่ดับที่เปลวไฟ ต้นเพลิงไฟสามกองคืออวิชชา อย่ามัวหลงเพลินอยู่กับการดับไฟสามกองอย่างเดียว ต้องดับที่อวิชชาด้วย ดับอวิชชา ดับมิจฉาทิฐิตัวเดียว เหมือนปิดวาล์วท่อส่งก๊าซ ไม่มีต้นเพลิงไฟปลายเพลิงก็ดับไปเอง

ในสมัยก่อนพุทธกาล มีการสอนการกระทำเพื่อดับกิเลสตัณหาอุปาทานต่างๆนานา เช่นใช้สมาธิ ใช้ทรมานร่างกาย ใช้ตัดอวัยวะ ใช้ เวทมนต์คาถา ใช้วิธีหลีกหนีไม่เกี่ยวข้อง แต่ไม่มีใครทำสำเร็จ จนพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมา พระองค์จึงพบวิธีดับกิเลสตัณหาอุปาทานอย่างชนิดไม่มีเศษเหลือคือดับที่อวิชชา ฉะนั้นวิธีดับกิเลสตัณหาที่ดับได้สนิทต้องดับที่อวิชชา คือถอนความเห็นผิดว่ามีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาเสียทุกๆเมื่อ นี่คือการดับกิเลสตัณหาอย่างแท้จริง เมื่อกิเลสตัณหาสิ้นเชื้อเกิดอีกไม่ได้ เราก็ไม่มีทุกข์จะให้ดับตามไปด้วย

เราพูดกันสอนกันและเข้าใจกันว่าต้องดับกิเลสตัณหาอุปาทานจึงจะพ้นทุกข์ และสอนกันฝึกกัน พยายามดับกิเลสตัณหาอุปาทาน ทำตามๆกันมาพูดตามๆกันมา โดยบางทีไม่รู้ด้วยซ้ำว่าแล้วจะดับอย่างไร บางทีก็อธิบายข้างๆคูๆว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ทำแล้วดับไม่ได้ก็ทำต่อไปด้วยหวังว่าจะดับได้สักวัน กิเลสตัณหาอุปาทานดับได้ แต่มิใช่ไปดับที่ตัวกิเลสตัณหาอุปาทาน มันไม่มีตัวให้ดับ แต่ต้องดับที่ความคิดผิดๆ ความหลงผิดว่ามีตัวตนต่างหาก ดับความหลงผิดได้เมื่อไร กิเลสตัณหาอุปาทานมันจึงจะดับ.
 (:SL:) (:SL:) (:SL:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 13 สิงหาคม 2557 09:35:48
วัดกันที่บาปบุญ
พระติสสเถระ....ได้เข้าไปยังบ้านของช่างทำพลอย ในบ้านมีพลอยแดงเปื้อนเลือดวางอยู่ นกกระเรียนของนายช่างคิดว่าพลอยแดงเป็นเนื้อจึงกินพลอยแดงเข้าไป นายช่างเข้าใจว่าพระติสสะขโมยพลอยแดงไปจึงคาดคั้น พระติสสะเกรงว่านายช่างจะฆ่านกกระเรียนจึงไม่ยอมบอก ทำให้นายช่างโกรธทำร้ายพระติสสะจนเลือดสาด นกกระเรียนได้กลิ่นเลือดเดินเข้ามาหมายจะกิน นายช่างเตะนกนั้นจนได้ พระติสสะเห็นดังนั้นจึงยอมบอกความความจริง นายช่างผ่าท้องนกจึงพบพลอยแดงแล้วกราบขอขมาพระติสสะ ด้วยกรรมอันนายช่างทำแก่พระติสสะเมื่อนายช่างตายไปจึงตกนรก พระภิกษุทั้งหลายโจษกันด้วยเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสภาษิตว่า
สัตว์บางพวกกลับมาเกิดอีก
พวกที่ทำบาปไปนรก
พวกที่ทำดีไปสวรรค์
พวกที่หมดอาสวกิเลส ปรินิพพาน (:5:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 01 ตุลาคม 2557 21:04:53
(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/v/t1.0-9/10689722_328092070696756_3097550071142070222_n.jpg?oh=46b711466d979a3ef2e69cd63f67d4ac&oe=54C4B2C6&__gda__=1421753260_e5d53d4856b7406b68479f8b5bd217b6)
ตอนกลางวันเราอาจจะไม่มีเวลานั่งดูตัวเอง หรือทำความเข้าใจตัวเอง มัวแต่ส่งใจไปวุ้นวายอยู่กับสังคมรอบข้าง พอตอนดึกๆจึงลุกขึ้นมาศึกษาใจตัวเองบ้างก็ดีเหมือนกันนะ
 (:NOY:) (:NOY:) (:NOY:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 16 พฤศจิกายน 2557 20:17:14
กาลครั้งหนึ่งมนุษย์หลงเข้าใจว่าตัวเองเป็นผู้ฉลาดเป็นผู้ที่เก่งในเล่ห์กลอุบาย เพื่อที่จะเอาชนะฝ่ายตรงข้ามแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่คิดถึงผลที่จะตามมาว่าจะเป็นเช่นไร แต่โดยแท้จริงแล้ว มนุษคือผู้ที่ตกหลุมพรางและได้อยู่ในวงล้อมของข้าศึกคือกิเลสที่อยู่ในใจนั้นโดยรู้เท่าไม่ถึงกาล ;D (:SR:) ;D


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 17 ธันวาคม 2557 13:02:14
"_ชีวิต คือ อะไร_"
กรรม หรือ กฎแห่งธรรมชาติสร้างมนุษย์ขึ้นมา ปรุงแต่งด้วยธาตุทั้งหลายจนเกิดเป็น กาย-ใจ ครบความเป็นร่างกายมนุษย์แล้ว ธรรมชาติยังให้ธาตุความอร่อย ติดมากับสัญชาตญาณของมนุษย์อีกด้วย และความอร่อยนี้แหละ ทำให้มนุษย์หลงติดอยู่ในโลกแห่งโลกีย์ตะพืดตะพือ จนไม่ยอมศึกษาศาสนา และปฎิบัติธรรม ความลุ่มหลงอยู่ในรสของโลก. ไม่ว่าจะในเรื่อง กิน กาม เกียรติ ดรื่องโลกธรรมฝ่ายบวก ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ ทำให้ชีวิตของเรามีแต่ความบ้า หลงมัวเมาคลั่งไคล้ในรสอร่อยจนเป็นทุกข์ทุก ๆ วัน ชีวิตอย่างนี้ย่อมมิใช่ชีวิตอันประเสริฐ ท่านพุทธทาสแนะให้เราหยุดความบ้าให้ได้ โดยปฎิบัติตามอริยมรรคองค์ 8 ประการให้ถูกต้อง ชีวิตนี้มีแต่เพื่อพระนิพพาน เพื่อความสงบกายเย็นใจเท่านั้น


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 14 มกราคม 2558 20:05:02
ไม่ต้องรู้มากมาย
ถ้าจะภาวนาสู่ความรู้แจ้ง
รู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่ไม่เป็นเหตุให้กิเลสกำเริบ
เช่นกาย หรือคำบริกรรม
รู้ว่า สิ่งเหล่านั้นถูกรู้สึกอยู่
รู้ไปจนมีจิตตั้งมั่นต่ออารมณ์
ไม่ไหล หรือจมไปกับอารมณ์
เมื่อนั้นจึงมารู้ตามเป็นจริงของกาย
ของอารมณ์ความรู้สึกทั้งหลาย
ว่ามันล้วนเป็นไตรลักษณ์ทั้งสิ้น
รู้เท่านี้ก็พอ รู้สึกตัว นี่แหละพอแล้ว.... (:5:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 02 เมษายน 2558 20:34:21
รวยจนเมื่อหมดเวลาก็สิ้นลมเหมือนกันมันอยู่ที่ว่าก่อนสิ้นลมสิ้นอายุขัยใครจะทุกข์น้อยกว่ากันหรือไม่ทุกข์เลยก็มีนะเช่นพระอรืยะท่านจะไม่ทุกข์เพราะท่านละอุปาทานเสียได้แต่พวกเรานี้สิยังต้องทุกข์แต่จะทุกข์มากหรือน้อยก็อยู่ที่ตัวเราใจเราที่มันวุ้นวายอยู่ มันเกาะเกี่ยว เรื่องของเขา เรื่องของเราอยู่ ตัวกูของกูอยู่มันจึงทุกข์ (:SL:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 14 พฤษภาคม 2558 10:21:22
การรักษาจิตเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสะภาวะของจิตมักจะชอบวิ่งไปทั่วและลงสู่ที่ต่ำเสมอ ถ้าขาดการดูแลอบรมณ์เท่าที่ควรจะเป็น เมื่อจิตถูกฝึกดีแล้วก็จะสามารถ ยกระดับให้อยู่ในกรอบที่มีสัมมาทิฐทิมีความเห็นชอบ และดำริชอบไม่ให้ตกไปอยู่ในอำนาจของความชั่วต่างๆ ที่มีจิตเป็นอกุศล เมื่อจิตได้รับการชำระทำความสะอาดเป็นนิจ ก็จะผ่องใสความสว่างย่อมเกิดมีขึ้นพร้อมกับความสุขสงบที่เกิดมีขึ้นในใจ
 (:2:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 21 พฤษภาคม 2558 18:49:44
โดย
หลวงพ่อชา สุภัทโท
เปรียบน้ำฝน มันเป็นน้ำที่สะอาด มันจะมีความใสที่สะอาดปกติดี
ถ้าหากเราเอาสีเขียว สีเหลืองใส่เข้าไป
น้ำมันก็เป็นสีเหลือง สีเขียว
จิตใจเรานี้เช่นกัน ฉันนั้น
เมื่อมันถูกอารมณ์ที่ชอบใจ ใจมันก็สบาย
ถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ใจมันก็ไม่สบาย
เหมือนกับใบไม้ ที่มันถูกลม มันก็กวัดแกว่ง เอาแน่นอนไม่ได้
ดอกไม้ ผลไม้ มันก็ถูกลมเหมือนกัน ถูกลมมาพัด มันก็ตกไปเลย ไม่มีสุก
จิตใจมนุษย์เรานี้ก็เหมือนกัน
ถูกอารมณ์มาพัดไป ถูกอารมณ์มาฉุดไป มาดึงไป ตกไป
ก็เหมือนกันกับผลไม้


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 29 พฤษภาคม 2558 22:48:58
ถ้าชีวิตคนเราไม่ได้เรียนรู้ความทุกข์เสียก่อน เราจะไม่มีวันเข้าใจความสุขที่เกิดมีขึ้นอย่างแท้จริง เพราะความสุขที่เราได้รับมาโดยง่ายนั้นเช่นการกิน การอยู่อย่างสุขสบาย จนลืมเห็นคุณค่าลืมที่จะนำความเป็นอยู่ที่พร้อม ที่มี มาใช้มาพัฒนาจิตใจตัวเองให้ได้รับความสุขที่ประเสริฐกว่าดีกว่านี้ สังคนของความสุขมันจึงติดอยู่ที่เปลือกนอก ที่เรียกว่าความสุขจอมปอมทีผสมด้วยความทุกข์ ก็อยากที่จะพัฒนาให้ถึงแก่นแท้ของความสุข หรือพัฒทนาได้ก็มีอยู่น้อยคนนัก แต่ถ้าคนที่มีความทุกข์มาก่อน ลำบากมาก่อน แล้วมาพบความสุขในภายหลังก็อาจจะเข้าใจความสุขได้ลึกซึ้งมากกว่ากัน เช่นคนบางคนที่เคยประสบกับปัญหาของชีวิตมาก่อน ได้รับความทุกข์ใจมาก่อน จนจะเป็นบ้าก็มี แต่เมื่อมีโอกาศได้รับการศึกษาธรรมะ และปฏิบัติตามคำสอน หลักการดำเนินดำเนินชีวิต ที่มีพระธรรมเป็นที่พึ่งทางใจเขาย่อมได้พบกับความสุข ที่มีความละเอียดอ่อน และลึกซึ้งเหมือนได้ดื่มนำอันมีรสชาติวิเศษที่ไม่เคยดื่มมาก่อน แม้ร้างกายการเป็นอยู่จะลำบากไปบ้างไม่ได้มีพร้อมเหมือนคนที่มีฐานะทั้วไป แต่เมื่อนึกถึงความสุขที่เกิดมีขึ้นในจิต ที่บริสุทธิ์ที่ได้รับ เขาย่อมภาคภูมิใจเป็นที่สุด
 (:5:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 17 มิถุนายน 2558 20:40:14
ทุกข์เพราะกิเลส ความทุข์ที่มันเกิดขึ้นมาได้เพราะความอยากที่ไม่มีประมาณของเราเอง อยากมากก็ทุกข์มาก อยากน้อยก็ทุกข์น้อย ความอยากมันก็เป็นกิเลสที่ทำให้คนเราเกิดความทุกข์ อยากมีสิ่งนั้นสิ่งนี้ อยากได้นั้นอยากได้นี้ ถ้าได้มาสมใจ ก็ดีใจสุขใจที่ได้มาสมใจอยากไปชั่วขณะ แต่ไม่นานสุขนั้นก็จะค่อยๆจางลงไป ไม่นานเดี๋ยวความทุกข์มันก็จะมาในรูปแบบใหม่ มันจะมาทดลองทดสอบใจเราอยู่ตลอดเวลา ทุกข์มันคู่กันกับตัวกิเลสที่เป็นต้นเหตุให้เราฟุ้งซ่านและเศร้าหมอง ให้เราเกิดความร้อนขึ้นมาในจิต โลภะ โทสะ โมหะ มันก็คือกิเลส ที่พร้อมจะครอบคุมจิตใจเราอยู่ตลอดเวลาทุกขณะจิตที่เรายังมีลมหายใจ เรียกว่าโลภะ โทสะ โมหะ จัดเป็นแกนนำของกิเลสก็ว่าได้ ถ้าเราจะลด หรือขจัดความทุกข์ออกไปจากตัวเราใจเราให้ได้นั้น เราต้องหาวิธี ควบคุมแกนนำคือกิเลสพวกนี้ให้ได้ มันจะได้ไม่นำพาเอาความทุกข์มาให้เราอีก ตราบไดที่ยังมีกิเลสเป็นตัวปรุงแต่ง เป็นตัวนำความอยาก ความทุกข์ก็ย่อมเกิดมีขึ้น ถ้าเราดับกิเลสได้เมื่อไหร่ ความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นกับเราอีกต่อไป
 (:SR:) (:4:) (:SY:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 21 มิถุนายน 2558 21:13:13
ศพที่เดินได้ ทุกวันนี้คนเราก็ไม่ต่างอะไรจากศพที่รอวันเน่าเปลื่อย คำว่าศพที่เราเคยได้ยินนั้นหมายถึงคนที่ตายไปแล้ว หรือสิ้นอายุขัยไปแล้วนั้นเองไม่มีลมหายใจ ธาตุทั้งสี่ที่เคยมาประชุมกันเป็นรูปเป็นร่างได้อยุดการทำงาน อวัยวะภายในเริ่มจะเน่าและมีกลิ่นเหม็น นี้แหละที่คนเราเข้าใจว่าศพ แต่เป็นศพที่ไม่มีวิญญาณครอง ส่วนศพที่มีวิญญาณครองก็คือศพที่ยังมีระบบอะวัยวะยังทำงานอยู่ ยังมีลมหายใจ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์มนุษย์คือคนเรา ตลอดไปถึงสัตว์เดรัจฉาน นี้แหละที่เราเรียกว่าศพมีวิญญาณครอง คือยังมีความรู้สึกนึกคิด รู้หนาว รู้ร้อน รู้สุข รู้ทุกข์ ที่เราเรียกว่าศพ มีวิญญาณครองหรือศพเดินได้ มีชีวิตเพราะขนาดมีชีวิตมันยังมีกลิ่นเหม็น แต่ละคนก็มีกลิ่นเหม็นทุกๆคน แต่ด้วยความที่เราเคยชินบางกลิ่นที่เหม็นกลับเข้าใจว่าหอมก็มี บางครั้งเหม็นออกมาทางผิงหนัง บางครั้งเหม็นออกมาทางปากบางครั้งเหม็นออกมาทางทะวารหนัก ทะวารเบา นี้แหละมันไม่ต่างอะไรจากศพที่เดินไม่ได้ เพราะมันเหม็นเหมือนกัน แต่ว่าการที่เรามีชีวิตมีความรู้สึกต่างๆที่ได้มาอาสัยอยู่ในร่างกายที่เหม็น ก็นับว่าดีนะที่ทำให้เราได้มีโอกาศที่จะได้สร้างความดีให้ตัวเอง ให้ได้พิจจรณาถึงสภาวะธรรม เอาร่างกายที่มีกลิ่นเหม็นนี้แหละ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติธรรม จนกว่าจะสิ้นลมหายใจ หรือใช้ร่างกายนี้ไม่ได้ วิญญาณของเราก็จะต้องละทิ้งร่างกายนี้ให้เป็นศพที่ไร้วิญญาณและแตกสะลายไปในที่สุดคืนสู้สะภาวะธรรมชาติเดิม
 (:2:) (:14:) (:5:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 02 สิงหาคม 2558 19:49:30
มีวัตถุมงคลเขาให้มีไว้เพื่อเป็นที่ระลึก เป็นเครื่องเตือนสติ เตือนใจ ให้รู้ว่าเราก็มีครู มีอาจารย์ ไม่ใช่เป็นคนเถื่อนที่ไม่มีครูไม่มีอาจารย์อบรมณ์สั่งสอน พ่อแม่ของเราก็เป็นครูเป็นอาจารย์ เพราะฉะนั้น คนที่มีครูมีอาจารย์ ควรที่จะนึก คิดให้รอบครอบและทำในสิ่งที่ถูกที่ต้องที่เหมาะสมให้เป็นมงคลแก่ชีวิตตัวเอง วัตถุมงคลถึงจะคุ้มครองเราได้ไม่ใช่ไปชวนชาวบ้านเขาทะเลาะ ตบตี หรือฆ่ากัน เบียดเบียนกัน ทำให้คนอื่นเดือดร้อน เช่นนี้แล้ววัตถุมงคลที่มีอยู่ก็หนีหายไปหมด กลายเป็นก้อนหินธรรมดาเท่านั้นเอง ครู อาจารย์ก็หนีหายไปหมด คนที่มีพระวัตถุมงคลที่ว่าดังว่าดีห้อยคอ แต่ไปฆ่าเขาตายถูกจับเข้าคุก วัตถุมงคงที่ว่าก็กลายเป็นก้อนหินธรรมไปแล้วจะเหลืออยู่ก็แต่วัตถุ ที่ไม่มีมงคล เพราะครู อาจารย์ท่านไม่อยู่ด้วยแล้ว คนที่ไม่เครารพครูอาจารย์ ย่อมถึงความเสื่อม
(http://pe1.isanook.com/ns/0/ud/359/1796675/big.jpg)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 10 สิงหาคม 2558 21:44:36
 ความเป็นมาของการอยู่จำพรรษา

การอยู่จำพรรษาหรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันว่า "การเข้าพรรษา" นั้น เป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งของภิกษุในพุทธศาสนา ได้ทำติดต่อกันมาตั้งแต่พุทธกาลจวบจนปัจจุบัน นับเป็นธรรมเนียมที่สืบทอดโดยไม่ขาดสายได้อย่างอัศจรรย์

เดิมทีเดียว เมื่อภิกษุยังมีจำนวนน้อย ไม่มีการเข้าพรรษา เมื่อถึงฤดูฝนท่านหยุดจาริกของท่านเอง พ้นหน้าฝนแล้วออกจาริกสั่งสอนประชาชนต่อไป ต่อมาเมื่อภิกษุมากขึ้น พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งเป็นธรรมเนียมให้มีการอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือนฤดูฝน คงจะด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น

1. เพื่ออนุโลมตามธรรมเนียมของบ้านเมืองในสมัยนั้น "เป็นธรรมเนียมของบ้านเมืองในครั้งโบราณ เมื่อถึงฤดูฝนต้องงดการไปมาหาสู่ต่างเมืองชั่วคราว มีตัวอย่างเช่นพ่อค้า สัตว์พาหนะ ถึงฤดูฝน ณ ที่ใดต้องหยุดพัก ณ ที่นั้น เป็นอย่างนี้เพราะทางเดินเป็นหล่มไปไม่สะดวก นอกจากนี้ยังจะถูกน้ำป่าหลากมาท่วมด้วย"(วินัยมุข ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส)

2. เพื่อป้องกันการตำหนิติเตียนของชาวเมือง ข้อนี้มีเรื่องเล่าไว้ในพระวินัยปิฎกมหาวรรควัสสูปนายิกขันธกะ (หมวดที่ว่าด้วยการเข้าพรรษา) ว่า "สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เวฬุวนาราม นครราชคฤห์ ครั้งนั้นยังมิได้ทรงบัญญัติการอยู่จำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษติเตียนว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงได้เที่ยวจาริกไปเช่นนั้น เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนสัตว์มีชีวิต เช่นสัตว์หรือแมลงเล็ก ๆ จำนวนมากให้วอดวาย แม้พวกเดียรถีย์ปริพพาชกผู้กล่าวธรรมอันต่ำทราม ยังรู้จักพักอาศัยอยู่ประจำที่ตลอดฤดูฝน อนึ่ง ฝูงนกยังรู้จักทำรังอยู่บนยอดไม้และพักอาศัยอยู่ตลอดฤดูฝนเหมือนกัน แต่เหตุไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้จึงยังท่องเที่ยวอยู่" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเหตุนี้ จึงทรงบัญญัติธรรมเนียมการอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือนฤดูฝน ความจริงฤดูฝนมี 4 เดือน คือตั้งแต่กลางเดือน 8 ถึงกลางเดือน 12 แต่ออกพรรษา 1 เดือนก่อนสิ้นฤดูฝน เพื่อให้เตรียมตัวหาจีวรและบริขารอันจำเป็นอื่น ๆ ในการจาริกเพื่อสั่งสอนประชาชนต่อไป

3. เพื่อถือเป็นโอกาสอันดีของภิกษุ จะได้เก็บตัวปฏิบัติธรรม ฝึกฝนอบรมจิต เติมพลังความรู้ความสามารถให้แก่ตัวเองเมื่อออกพรรษาแล้ว จะได้จาริกออกสั่งสอนประชาชนต่อไปด้วยความกระปรี้กระเปร่าเหมือนการปิดเทอมใหญ่ของโรงเรียนให้ครูได้พักผ่อนและเพิ่มเติมความรู้ พอเปิดเทอมใหม่ก็รู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้น
วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษามี 2 คราว คือคราวแรกกำหนดวันแรมค่ำ 1เดือน8 (อาสาฬหะ) เรียกวันเข้าพรรษาต้น (ปุริมิกา วัสสูปนายิกา) ถ้าพระรูปใดเข้าพรรษาต้นไม่ทันด้วยเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านอนุญาตให้เข้าพรรษาหลังได้ ถือไปเข้าพรรษาเอาแรม 1 ค่ำ เดือน 9 เรียก ปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา แต่ถ้าถึงวันเข้าพรรษาแรกแล้วเที่ยวเตร่เสียไม่ยอมเข้าพรรษา ด้วยเห็นว่าเข้าพรรษาหลังก็มีอยู่ ค่อยเข้าพรรษาหลังก็ได้ ดังนี้ไม่สมควร ถ้าทำท่านปรับอาบัติทุกฎ (ทุกฎ แปลว่าทำไม่ดี ไม่ควร ไม่ถูกต้อง) จะไม่ยอมเข้าพรรษาเลยก็ไม่ได้ ปรับอาบัติทุกฎเหมือนกัน

ข้าพเจ้าเคยสงสัยว่า พระสงฆ์ไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศเช่นอังกฤษ หรืออเมริกา ซึ่งฤดูฝนไม่ตรงกับทางบ้านเมืองเรานั้น ท่านควรเข้าพรรษาในเดือนใดจึงจะเหมาะ ถ้าถือเอาวันแรมค่ำ 1เดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษาก็คงทำเพียงเพื่อรักษาธรรมเนียมเท่านั้น หาได้สำเร็จประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายแต่ประการใดไม่ เพราะจุดมุ่งหมายของการอยู่จำพรรษาก็เพื่อได้หยุดจาริกในฤดูฝน ถ้าท่านจำพรรษาในฤดูฝนของประเทศนั้น ๆ ก็เรียกว่าได้ทำตามจุดมุ่งหมาย แต่อาจขัดกับธรรมเนียมที่เคยประพฤติมา ไม่เป็นที่ถูกใจของผู้ที่เคร่งในธรรมเนียมก็ได้ ทำนองเดียวกับความเชื่อและความปลงใจเห็นว่าเมื่อพระขึ้นเทศน์บนธรรมาสน์จะต้องถือถัมภีร์ พระสมัยก่อนนี้ เมื่อท่านเทศน์บนธรรมาสน์ท่านอ่านข้อความในคัมภีร์ใบลานต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็นคัมภีร์กระดาษพับอย่างเดียวกับคัมภีร์ใบลาน เรียกว่า ถือคัมภีร์และได้ใช้ประโยชน์ของคัมภีร์นั้น แต่เห็นพระสมัยนี้นั่งเทศน์บนธรรมาสน์ปจุฉาวิสัชนา 2 ธรรมาสน์ ท่านไม่ต้องดูคัมภีร์เลย แต่ท่านก็ยังคงถือคัมภีร์ไว้ในมือหรือวางไว้บนตัก เรียกว่าถือคัมภีร์พอเป็นธรรมเนียมเท่านั้นเอง ไม่มีประโยชน์อะไรอย่างอื่น

เรื่องของศาสนานั้น บางอย่างปฏิบัติกันไปตามธรรมเนียมโดยไม่คำนึงถึงสาระหรือจุดมุ่งหมาย บางอย่างถ้าต้องการให้ได้สาระก็ต้องทิ้งธรรมเนียมที่เคยทำกันมาบ้าง บางอย่างธรรมเนียมกับสาระสอดคล้องกันดีก็น่าจะรักษาไว้ให้ยั่งยืนต่อไป ทำนองคนจะกินพุทรา มังคุด หรือเงาะ ทั้งเปลือกก็ดูจะไม่สมควร เรียกว่าไม่รู้จักกินผลไม้
ธุรกิจที่ทรงผ่อนผันให้ไปแรมคืนได้ในพรรษา

ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาในกุฏิใด ในวัดใดอันเหมาะสมที่จะอยู่ได้ตลอด 3 เดือนแล้ว ท่านไม่ให้ไปแรมคืนที่อื่นนอกจากมีธุระจำเป็นจริง ๆ ก็ไปได้ และไปแรมคืนได้อย่างมากเพียง 7 วัน ถ้าเกิน 7 วันพรรษาขาด ครบ 5 วันหรือ 6 วันแล้วรีบกลับมานอนในวัดหรือในกุฏิที่เข้าพรรษาเดิมเสีย วันต่อไปอาจไปได้อีก การไปแรมคืนที่อื่นในลักษณะนี้ท่านเรียกว่า"สัตตาหกรณียะ "(กรณียกิจที่จะพึงทำได้ภายใน 7 วัน)

ธุรกิจอันเป็นเหตุให้ทำสัตตาหะได้นั้น มีหลายอย่างเช่น

1. ผู้มีศรัทธาต้องการทำบุญส่งคนมานิมนต์ไปฉลองศรัทธาของเขาได้ ข้อนี้มีเรื่องอันเป็นปฐมเหตุเล่าไว้ในวินัยปิฎกว่า อุบาสกคนหนึ่งชื่ออุเทน สร้างที่อยู่อุทิศสงฆ์ไว้ในแคว้นโกศล ส่งทูตไปนิมนต์พระสงฆ์ให้มารับที่อยู่และเขาปรารถนาจะถวายทานฟังธรรม ปรารถนาพบเห็นภิกษุทั้งหลาย แต่ภิกษุทั้งหลายตอบไปกับทูตว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติให้เข้าพรรษา 3 เดือน เพราะฉะนั้นรับนิมนต์ไม่ได้ อุบาสกอุเทนติเตียนว่าเหตุไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่ฉลองศรัทธาในเรื่องนี้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องแล้วทรงอนุญาตให้ไปได้ด้วยวิธีสัตตาหกรณียะ

2. มารดาบิดาหรือสหธรรมมิก (เพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยกันเช่นภิกษุ) ป่วยไข้ ไปเพื่อรักษาพยาบาลได้

3. สหธรรมมิกกระสันใคร่จะสึก ไปเพื่อระงับความคิดอย่างนั้นเสียก็ได้

4. สถานที่อยู่ เสนาสนะของสงฆ์ในที่ใดที่หนึ่งชำรุดทรุดโทรม ตนเป็นผู้ฉลาดสามารถในการซ่อมแซม ไปเพื่อซ่อมแซมก็ได้

5. แม้ธุระอื่น ๆ อันสมควร เป็นงานพระศาสนา หรือเรื่องอันเกี่ยวกับการประพฤติธรรม ก็ทรงอนุญาตให้สัตตาหกรณียะไปได้
อันตรายของการอยู่จำพรรษา

ขณะอยู่จำพรรษาถ้ามีอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น จะอยู่ต่อไปไม่ได้ ทรงอนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้ พรรษาขาด แต่ไม่ปรับอาบัติ อันตรายอันพอถือเป็นเหตุให้หลีกไปได้ท่านแสดงไว้ดังนี้

1. ถูกสัตว์ร้าย โจร หรือปิศาจเบียดเบียน

2. เสนาสนะถูกน้ำท่วมหรือไฟไหม้

3. อุทกภัยหรือัคคีภัยเกิดขึ้นแก่ชาวบ้าน อันภิกษุอาศัยที่บิณฑบาต พวกเขาอพยพไป ภิกษุจะตามเขาไปก็ได้ แต่ทรงอนุญาตให้ตามไปในกรณีที่ชาวบ้านเขาเลื่อมใส และเต็มใจเท่านั้น

4. ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต ไม่ได้อาหารหรือเภสัชอันสมควร หรือไม่ได้อุปฐากอันเหมาะสม ในข้อนี้ถ้ายังพอทนอยู่ได้ ท่านว่าควรทนอยู่ต่อไป พระศาสดาเคยทรงทำเป็นตัวอย่างเมื่อครั้งทรงจำพรรษาอยู่เมืองเวรัญชา เวรัญชพราหมณ์นิมนต์ให้อยู่จำพรรษาแล้วลืมเสีย ไม่ได้อุปถัมภ์บำรุงใด ๆ เลย สมัยนั้นข้าวยากหมากแพง ภิกษุสงฆ์ต้องอดอยาก ได้อาศัยพวกพ่อค้าม้าพักแรมอยู่ใกล้ ๆ ได้นำข้าวตากแห้งมาถวายพอยังชีพไปตลอดพรรษา ในเรื่องนี้ท่านว่าถ้าทนไม่ไหวจริง ๆ แล้วจึงค่อยไป

5. มีหญิงมาเกลี้ยกล่อม มีญาติมารบกวนให้สึก ล่อด้วยทรัพย์และกามารมณ์ จิตเป็นธรรมชาติกลับกลอก อาจเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ได้

6. เห็นทรัพย์หาเจ้าของมิได้ จิตเป็นธรรมชาติกลับกลอก อาจทำให้โลภเจตนาเกิดขึ้นถือเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน ทรัพย์นั้นอาจเป็นทรัพย์ที่พวกโจรลักพามาซ่อนไว้ใกล้ที่จำพรรษาของภิกษุ เจ้าของทรัพย์ตามมาพบเข้าอาจเข้าใจผิดว่าภิกษุเป็นขโมย

7. สงฆ์ในอาวาสอื่นแตกกันแล้วหรือกำลังจะแตกกัน ไปเพื่อห้ามหรือเพื่อสมานสามัคคีก็ได้ ในข้อนี้ท่านว่ากลับมาทันควรไปด้วยสัตตาหกรณียะ

"อนึ่ง ภิกษุรับนิมนต์ของชาวบ้านหรือนัดกันเองก็ดีว่าจะจำพรรษาในที่ใดแล้ว พอถึงวันเข้าจริงไม่อยู่ในที่นั้น แกล้งทำให้คลาดเคลื่อนเสีย ต้องอาบัติปฏิสสวทุกฎ แปลว่าทุกฏเพราะรับคำ"
สถานที่จำพรรษาและที่ไม่ควรอยู่จำพรรษา

ที่จำพรรษานั้นนอกจากกุฏิวิหารต่าง ๆ แล้ว ทรงอนุญาตให้จำพรรษาในหมู่โคต่าง คือกลุ่มพวกพ่อค้าโคก็ได้ เมื่อเขาย้ายไปก็เดินทางไปกับเขาได้ แม้ในหมู่พวกเกวียนก็เหมือนกัน จวนจะเข้าพรรษาต้องการจะเดินทางไปกับพวกเรือ จำพรรษาในเรือก็ได้ไม่ทรงอนุญาตให้อยู่จำพรรษาในที่ต่อไปนี้คือ

1. ในโพรงไม้ เคยมีภิกษุอยู่จำพรรษา คนทั้งหลายติเตียนว่าเหมือนพวกปิศาจ

2. บนคาคบไม้ เคยมีภิกษุอยู่จำพรรษา คนทั้งหลายติเตียนว่าเหมือนพวกพรานเนื้อ

3. ในที่แจ้ง พอฝนตกก็พากันวิ่งเข้าโพรงไม้บ้าง เข้าชายคาบ้านเขาบ้าง

4. ในกระท่อมผี คนทั้งหลายติเตียนว่าเหมือนพวกสัปเหร่อ

5. ในร่ม สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงขยายความว่า เช่นกลดพระธุดงค์หรือกุฏิผ้าเช่นเต็นท์ คนทั้งหลายติเตียนว่าเหมือนคนเลี้ยงวัว

6. ในตุ่ม สมเด็จฯ ทรงขยายความว่ากุฏิดินเผา (กระมัง) คนทั้งหลายติเตียนว่าเหมือนพวกเดียรถีย์ ท่านว่า ถ้าไม่มีเสนาะสนะจริง ๆ จะไม่อยู่จำพรรษาก็ได้
สิ่งที่ไม่ควรตั้งกติกาในพรรษา

กติกาคือข้อกำหนดหมายให้รู้ทั่วกัน และขอร้องให้ทุกคนปฏิบัติตาม ในพรรษานั้นท่านให้ตั้งกติกาที่เป็นธรรมเป็นวินัย เอื้ออำนวยในการทำความดียุ่ง ๆ ขึ้นไป ห้ามมิให้ตั้งกติกาอันไม่ชอบธรรม ไม่ถูกต้อง เช่น ตั้งกติกาว่าจะไม่บรรพชาอุปสมบทให้ผู้ใด เป็นต้น มีเรื่องอันเป็นต้นเหตุดังนี้

หลานชายคนหนึ่งของนางวิสาขา ศรัทธาใคร่จะบวช ได้เข้าไปขอบวชต่อภิกษุสงฆ์ แต่ภิกษุทั้งหลายไม่ยอมบวชให้บอกว่าในพรรษานี้ได้ตั้งกติกากันไว้ว่าจะไม่บรรพชาอุปสมบทให้ใคร ขอให้รอจนออกพรรษาเสียก่อน

เมื่อออกพรรษาแล้ว ภิกษุได้บอกแก่หลานของนางวิสาขาว่า ถ้าจะบวชก็ได้ เขาบอกว่าถ้าได้บวชตอนนั้นก็จะยินดีหาน้อยไม่ แต่เดี๋ยวนี้ไม่บวชละ นางวิสาขาได้ทราบเรื่องนี้ก็ติเตียนพระสงฆ์ว่าไฉนจึงต้องตั้งกติกาอย่างนั้นด้วย กาลเช่นไรจึงไม่ควรประพฤติธรรมเล่า พระศาสดาทรงทราบเรื่องนี้จึงตรัสห้ามมิให้ตั้งกติกาอันไม่เป็นธรรม

"คราวเข้าพรรษาเป็นอภิลักขิตสมัยที่ภิกษุบำเพ็ญสมณธรรม จะตั้งข้อกติกานัดหมายกัน ห้ามไม่ให้ตั้งข้ออันไม่เป็นธรรม ท่านแสดงตัวอย่างไว้เช่นห้ามมิให้บอกมิให้เรียนธรรมวินัย ไม่ให้สาธยายธรรมไม่ให้เทศนา ห้ามไม่ให้ให้ บรรพชาอุปสมบทและให้นิสัย ห้ามไม่ให้พูดกัน เกณฑ์ให้ถือธุดงค์ เกณฑ์ให้บำเพ็ญสมณธรรม (บังคับ)"

"ให้นัดหมายกันแต่ในข้ออันเป็นธรรม พูดชักนำให้เกิดอุตสาหะในการบอกการเรียนธรรมวินัยเป็นต้น เพื่อขวนขวายในกิจพระศาสนา เพื่อรู้ประมาณในการพูด เพื่อมีแก่ใจสมาทานธุดงค์และบำเพ็ญสมณธรรมตามสติกำลัง เพื่อเอื้อเฟื้อแนะนำกันในวัตรนั้น ๆ เพื่อรักษาสามัคคี ไม่วิวาทแก่งแย่งกันเพื่อรู้จักนับถือเกรงใจภิกษุอื่นเช่น จะสาธยายธรรมไม่ทำความรำคาญแก่ภิกษุผู้บำเพ็ญภาวนา"
ประโยชน์ที่ควรได้จากการเข้าพรรษา

รวมความว่าการเข้าพรรษาเป็นเรื่องของพระสงฆ์โดยตรง เพื่อปฏิบัติตามพระพุทธบัญญัติและความเหมาะแก่กาล พระสงฆ์ในอารามต่าง ๆ ถือเป็นโอกาสพิเศษที่จะทำความดียุ่ง ๆ ขึ้นไป อนึ่ง กุลบุตรไทยก็นิยมอุปสมบทกันในพรรษาเหมือนกันด้วย เข้าใจว่าจะได้กุศลแรงกว่าบวชนอกพรรษา แต่ความจริงคงเป็นดังที่นางวิสาขาว่า "ไม่มีกาลใดที่ไม่ควรประพฤติธรรม" การจะได้กุศลมากหรือน้อยมิได้ขึ้นอยู่กับการบวชในพรรษาหรือนอกพรรษา แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของผู้นั้นเอง ปฏิบัติดีมากก็ได้กุศลมาก ปฏิบัติเลว ก็ติดลบได้บาปไป อย่าว่าแต่จะโปรดพ่อโปรดแม่เลย แม้แต่ตัวเองก็เอาตัวไม่รอด นี่พูดถึงผู้ที่บวชแล้วปฏิบัติเลว

ฝ่ายคฤหัสถ์ หรือฆราวาสผู้ที่โดยปกติ ธรรมดาไม่ค่อยเอาใจใส่ทำคุณงามความดี พอใจแต่จะทำความชั่วตามใจชอบ พอเข้าพรรษาก็คิดว่าจะเว้นนั่นเว้นนี่ ทำนั่นทำนี่ บางคนก็เว้นได้จริง ทำได้จริง บางคนก็เว้นได้ ทำได้ 6-7 วันแล้วเข้ารูปเดิม ถึงจะเว้นได้จริง ทำได้จริงตลอดพรรษา แต่พอออกพรรษาแล้วก็ประพฤติเหมือนเดิมก็คงไปไม่ได้เท่าไร เพราะปีหนึ่งมี 12 เดือน ทำได้เพียง 3 เดือน เพียง 1 ใน 4 เท่านั้น ถ้าเปรียบด้วยการค้า ก็ยังเสียดุลอยู่นั่นเอง ส่วนท่านผู้ประพฤติดีอยู่เป็นปรกติแล้ว เมื่อเข้าพรรษาตั้งใจทำความดีมากขึ้นก็นับได้ว่ากำไร

วัสสานฤดู แปลว่าฤดูฝน พรรษากาลก็แปลว่า กาลฝน หรือฤดูที่ฝนตกชุก ผู้ไม่มีร่ม เมื่อเดินออกไปย่อมเปียกฝน ผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยย่อมลำบากด้วยฝน ส่วนผู้มีร่มย่อมไม่เปียก ร่มช่วยคุ้มครอง ผู้มีที่อยู่อาศัยเช่นเรือนอันมีที่มุงที่บังดีย่อมสุขสบาย แม้ฝนจะตกหนักก็ไม่เดือดร้อนเพราะฝน ฉันใด ชีวิตภายใน (internal life) ก็ฉันนั้น ถูกฝนคือ ราคะ โทสะ และโมหะ หรือโลภ โกรธ หลง รั่วรดซัดสาดอยู่เนืองนิตย์ ผู้มีธรรมเป็นร่มเป็นที่อาศัยย่อมไม่ถูกเบียดเบียนให้เดือดร้อนเพราะกิเลสนั้น ธรรมย่อมคุ้มครองเขาให้อยู่เป็นสุขสมดังสุภาษิตที่ว่า

ธมฺโมหเว รกฺขติ ธมฺมจารี ฉตฺตํ มหนฺตํ วิย วสฺสกาเล แปลว่า ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเหมือนร่มคันใหญ่ในฤดูฝน
 (:5:) (:4:) (:2:)


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 18 สิงหาคม 2558 20:07:15
การแก้อาถรรพ์ของชีวิต
พระราชสุทธิญาณมงคล


      ความยากจน  ความโง่  ตระกูลต่ำ  อายุสั้น  มีโรคมาก  ไร้บริวาร  ขี้เหร่  เป็นผู้หญิงบัณเฑาะก์  เป็นใบ้บ้า  ตาบอด  หูหนวก  ทรัพย์วิบัติ  การเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน  เปรต  อสูรกาย  สัตว์นรก 
   ล้วนชื่อว่าเป็นอาถรรพ์  ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
   บริจาคทาน   แก้อาถรรพ์ข้อยากจน
   การรับฟัง   แก้อาถรรพ์ข้อโง่เขลา
   การอ่อนน้อม   แก้การเกิดในตระกูลต่ำ
   การรักษาศีล   แก้อายุสั้น (ศีลข้อ ๑)
   การไม่เบียดเบียนสัตว์   แก้การมีโรคมาก
   การสงเคราะห์สัตว์   แก้การไร้บริวาร
   การรักษาศีลไม่ขี้โกรธ   แก้การเกิดเป็นคนขี้เหร่
   การรักษาศีลข้อ ๒   แก้ทรัพย์วิบัติ
   การรักษาศีลข้อ ๓   แก้การเกิดเป็นผู้หญิงบัณเฑาะก์
   การรักษาศีลข้อ ๔   แก้ ตาบอด  หูหนวก  ไม่มีคนเชื่อถือ
   การรักษาศีลข้อ ๕    แก้เป็นใบบ้า  มีสติปัญญาดี
   การรดน้ำมนต์   เสกเป่าล้างอาถรรพ์ให้ชีวิตไม่ได้
   การบำเพ็ญบารมีเท่านั้น   จึงแก้อาถรรพ์ให้ชีวิตได้
 
------------------------------


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 27 สิงหาคม 2558 19:17:38
เรื่อง    กรรมใดใครก่อ . . . กรรมนั้นต้องตอบสนอง
 
เมื่อวันที่   ๑๘   มีนาคม   พ.ศ. ๒๕๓๘   ที่โรงพยาบาลสมิติเวช        ผลจากการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ก้อนหน้าอกด้านซ้ายของสามีพบว่า   เป็นมะเร็งกระดูกอ่อนระยะ ร้ายแรง   น่าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน  ๖  เดือน   ขณะนั้นดิฉันกำลังตั้งครรภ์ได้สี่เดือนครึ่ง     ต้องฟุบทั้งยืน    เพราะด้วย    อายุ  ๓๗  ปี   เขาจะต้องจากเราและลูกชายวัย  ๕  ขวบเศษไปแล้วหรือ   
ด้วยความเสียใจ   สับสน   ว้าวุ่นมารุม   น้องเขยของดิฉันก็ได้นำหนังสือกฎแห่งกรรมของหลวงพ่อจรัญ    มาให้ดิฉันอ่าน   เป็นเหตุให้   ดิฉันต้องนั่งทบทวนว่ากรรมอันใดหนอแต่ในอดีตที่ทำให้เราต้องมาประสบเคราะห์กรรมร้ายแรงสาหัสถึงเพียงนี้   ทำให้ดิฉันระลึกถึงเรื่องราวเมื่อดิฉันไปเที่ยวที่เกาะน้อยรีสอร์ทกับเพื่อน ๆ ที่จังหวัดกาญจนบุรี   และได้พบกับวิญญาณชายกลางคนผมเกรียนสั้น  หน้าตาหม่นหมอง  แต่ดูดุดันมีหนวดเล็กน้อย  สูงประมาณ ๑๗๐ ซม.  รูปร่างสันทัดใส่เสื้อแขนสั้นและกางเกงขาสั้น   ท่าทางดูทรุดโทรม   ได้เข้ามาเยาะเย้ย   และพยายามเข้ามาที่ร่าง  ดิฉันได้พยายามต่อสู้อย่างเต็มที่  จะมีร่องรอยการต่อสู้ปรากฏให้เห็นเมื่อตื่นนอนในตอนเช้า  และพอตกกลางคืนเขาก็มาเข้าฝัน  และเล่าเรื่องราวในอดีต    ที่ดิฉันและสามี สั่งคนรุมทำร้ายเขาจนตาย   ในฝันดิฉันเห็นสามีกับดิฉันและบุตรชายนั่งอยู่ในรถเก๋งสมัยเก่ามากคันหนึ่ง    สั่งให้คนกลุ่มหนึ่งไม่ใส่เสื้อ  ใส่แต่กางเกงสามส่วนคล้ายกางเกงจีนสีดำมีผ้าแดงเป็นเข็มขัดรัดเอว     ไม่สวมรองเท้า              ดูลักษณะแล้วเหมือนพวกทาสหรือนักโทษ    เป็นผู้รุมประชาทัณฑ์จนเขาตายจมกองเลือด    ซึ่งเมื่อตื่นขึ้นมาทำให้ดิฉันมีความหวาดกลัวมาก   และคิดไปว่า   คงเป็นเพราะเราทำบุญ    สุนทานไปให้เขากระมัง   เขาถึงได้ตามมาทวงชีวิต
ภายหลังคุณแม่ของดิฉันได้อธิษฐานจิตขอชีวิตเขา     โดยขอบวชเนกขัมมะปิดวาจาเป็นเวลา ๑ เดือน   และดิฉันเองก็ตั้งสัจจะจะกินเจและ    ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ใหญ่ตลอดชีวิต   เมื่อผลการผ่าตัดวิเคราะห์ออกมา     ก็ปรากฏว่าสามีของดิฉันไม่ได้เป็นเนื้อร้าย       แต่เป็นโรคที่สามารถรักษา    ให้หายได้    ทำให้ฉันและคุณแม่น้ำตาไหลด้วยความดีใจ    เมื่อทราบผล   แต่ผลกรรมก็ยังทำให้ดิฉันต้องเสียลูกที่อยู่ในท้อง     คือดิฉันต้องแท้งลูก   ของดิฉันไปแทน
หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้      ทำให้ฉันเริ่มสนใจในคำสอนของ      หลวงพ่อจรัญ      จากการที่ได้อ่านหนังสือกฎแห่งกรรมจำนวนหลายเล่ม   ดิฉันเริ่มสนใจที่จะปฏิบัติ    วิปัสสนากรรมฐาน
จนกระทั่งดิฉันตามคุณแม่ไปปิดวาจาที่เกาะมหามงคล    คืนหนึ่งขณะที่ดิฉันนั่งกรรมฐาน  ตามวิธีการที่หลวงพ่อได้ให้ความรู้ไว้ในหนังสือ   กฎแห่งกรรม  เมื่อดิฉันนั่งกำหนดพองหนอ  ยุบหนอ  ดิฉันเริ่มปวดขมับเหมือนมีใครเอาเหล็กมาบีบทั้งสองข้าง       จากนั้นเริ่มปวดจากปลายแขน   ขา   มุ่งเข้าสู่ลำตัว    มันปวดมากทรมานมากเหมือนมี   ใครมาบีบขมับ      ดิฉันตกใจด้วยไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น   แต่ก็พยายามตั้งสติไว้เพราะ        หลวงพ่อสอนไว้ว่า  ถ้ามีอาการเช่นนี้ขึ้นมาให้ตั้งสติให้ดีและพยายามสู้กับเวทนา    ให้ตายเป็นตาย    เพราะถ้าจะตาย    ก็ขอตายด้วยมีสติ   ตายด้วยกรรมฐาน     ถือว่าเป็นบุญ    แต่ก็ไม่มีใครตาย
เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่กับความเจ็บปวด   ก็เริ่มรู้สึกร้อนเหมือนมีไฟมาเผาเราทั้งตัว         ปวดแสบปวดร้อนไปหมด   ทั้ง ๆ ที่อากาศรอบนอกหนาวเย็นจากสายฝน
           ในที่สุดเมื่อเหตุการณ์นี้ผ่านไป   รุ่งเช้ารู้สึกเจ็บคอเหมือนมีใครเอา  มีดมาบาด           
พูดออกมาก็จะเจ็บปวดทรมาน   จนกระทั่งในช่วงต่อมาขณะกำลังกรรมฐานอยู่ก็ปรากฏ เห็นเป็นนิมิตคล้ายกับว่าเรากำลังดูภาพยนตร์อยู่   เห็นเป็นภาพสาวแขกในชุดสีแดงและแขกหนุ่ม  กำลังทำฟาร์มปศุสัตว์  ได้นำสัตว์มาใช้แรงงานหนักมากโดยเฉพาะม้าใหญ่       ตัวหนึ่งถูกใช้ให้ทำงานหนัก   ให้วิ่งอยู่กับที่ตลอด   แล้วนำแรงงานของมันไปหมุนวงล้อ      ไม้ที่คล้ายล้อเกวียนแต่เล็กกว่า   เหนือวงล้อเป็นถังไม้สมัยเก่า    มีผลไม้บรรจุอยู่เต็ม           รู้แต่ว่าเป็น     ขบวนการนำผลไม้ไปเก็บหรือเอาไปไหนสักแห่ง   ปรากฏภาพว่าพยายาม   ดึงเน้นมาให้      เราเห็นที่ คอม้าซึ่งเสียดสี   กับเชือกตลอดการทำงานจนเป็นแผล
บาดลึก  เลือดไหลซิบๆ จากบาดแผลทั่วคอ    โดยไม่ได้รับการดูแลรักษา   จากผลกรรมนี้  ทำให้ดิฉันต้องใช้เวลาในการรักษาตัวเอง   ที่เป็น ๆ  หาย ๆ  ทรมานอยู่เกือบ 
๒  เดือน
หลังจากที่ได้เห็นภาพในอดีต    และกฎแห่งกรรมที่ตามมาตอบสนองในชาตินี้          ทำให้เริ่มขยาดการทำชั่วและหมั่นหาหนทางปฏิบัติตามสายทางคำสอนของพระพุทธองค์   ต่อมาดิฉันและสามีได้ไปปฏิบัติธรรมที่    วัดอัมพวัน 
ซึ่งเจ็ดวันแห่งการตั้งใจจริง   ทำให้ดิฉันและครอบครัวเห็นผลทันตา  คือในระยะที่    เข้าฝึก     ดิฉันมีอาการเลือดไหลกะปริบกะปรอยจากการที่   ต้องแท้งลูกคนที่สอง           โดยคุณหมอบอกว่าน่าจะมีเศษรกติดอยู่นิดหน่อย    คุณหมอนัดให้ไปหา    แต่ดิฉัน          มาขอทำกรรมฐานเพื่อแก้กรรมก่อน
คืนนั้นหลังจากสวดมนต์ตามปกติ     ดิฉันฝันเห็นลูกชายคนที่เพิ่งเสียชีวิตไป          จากการแท้ง   เห็นเขารูปร่างอ้วนท้วนสมบูรณ์กว่าปกติที่เคยเห็นเขาในความฝัน               เมื่อตอนที่เขายังมีชีวิตอยู่ในท้อง   เขาเดินเข้ามาหาและพาเพื่อน ๆ   เป็นเด็กหญิง            เด็กชายหลายคน   แต่สภาพของแต่ละคน   ผอมแห้งซูบเซียว  เหมือนคนอดอยาก           แต่งตัวมอมแมม   ซึ่งผิดกับเขาที่อ้วนท้วนสมบูรณ์    มีของกินอยู่ในมือและแต่งกาย     สะอาดสะอ้าน    เขาพาเพื่อนมาอวดว่า    นี่แหละคือคุณแม่และคุณพ่อของเขา                 และตอนนี้คุณแม่   คุณพ่อมานั่งกรรมฐานทำให้เข้าได้รับส่วนบุญส่วนกุศลด้วย              และขอให้เขาและเพื่อน ๆ  นั่งรถไปกับพ่อแม่   ในฝันดิฉันก็อนุญาตเขาไป
หลังจากนั้น ๓ วัน   ประจำเดือนได้ทำให้เศษรกที่ติดค้างหลุดออกมาหมด                ร่างกายก็กลับคืนสภาพสู่ความปกติ   ทำให้ดิฉันคิดไปว่า   ลูกเขาคงให้อภัย                     ถึงทำให้เลือดที่ไหลมาเดือนกว่าหายไป  เพราะไม่เช่นนั้นดิฉันคงต้องไปเจ็บตัว                  กับการขูดมดลูกตามที่คุณหมอนัดไว้
           ดิฉันปฏิบัติอย่างหนักจนกระทั่งวันสุดท้ายก่อนลากลับบ้าน   ก็รู้สึกปวดที่                ข้อต่อ   ระหว่างสะโพกกับขาท่อนบนเหมือนโดนหักขาขวา   ตลอดการทำกรรมฐาน   
ดิฉันต้องทุกข์ทรมานกับการเดินลากขามาก   ตอนแรกคิดว่าอาจเป็นเพราะการ                นั่งสมาธินานเกินไป    แต่มาคิดดูอีกทีก็ไม่ใช่    เพราะดิฉันนั่งอยู่ที่บ้านเป็นปกติ                 วันละ  ๑  ชั่วโมงอยู่แล้ว
      เมื่อดิฉันกลับมาบ้านก็คงปฏิบัติกรรมฐานเป็นปกติ   จนกระทั่งคืนที่สอง  ดิฉัน              ก็เห็นนิมิตไปว่าเห็นผู้ชายลักษณะคล้ายนักโทษหรือทาส    ใส่กางเกงสามส่วนคล้าย   กางเกงจีน   คาดเอวด้วยผ้าแดงไม่ใส่เสื้อ   ผู้ชายคนนี้ถูกมัดด้วยโซ่ตรวนอันใหญ่              เดินลากขากระเผลก ๆ เข้ามาหา   ตอนนั้นดิฉันตกใจมาก   กลัวเขามาทำร้าย                 และเขาก็ให้เห็นภาพว่า   เขามาจากสถานที่ที่ตัวเองเคยไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ  ที่                 เกาะน้อยรีสอร์ท  จังหวัดกาญจนบุรี   ทำให้ดิฉันคาดคะเนได้ว่า    คงเป็นวิญญาณ              ที่อาฆาตดิฉันอยู่     ดิฉันจึงแผ่เมตตาให้เขาไป    เรื่องนี้เป็นเรื่องบางส่วนจาก     ประสบการณ์ในชีวิตของดิฉัน   ขอให้กุศลผลบุญที่จะได้จากการนำเรื่องนี้เผยแผ่             เป็นวิทยาทาน    สอนคนให้รู้ในเรื่องของกฎความจริงที่ไม่มีใครหนีพ้น   
 
                                                              เกวลี    เตรียมแจ้งอรุณ     
                                          จากหนังสือเรื่องกฎแห่งกรรม  เล่มที่  ๙   
                                                               วัดอัมพวัน   จ.สิงห์บุรี


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 11 กันยายน 2558 20:38:39
(http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_2_934.jpg)
ในทางพระศาสนาท่านบอกอยู่เสมอว่า
ให้ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท
การที่ต้องดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทนั้น
เพราะอะไรก็เพราะสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลง
เพราะสิ่งทั้งหลายมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
เราจึงต้องไม่ประมาท
เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีความแน่นอน
เปลี่ยนแปลงไปอย่างโน้นอย่างนี้
เราจะนอนใจนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้
จะต้องต้อนรับความเปลี่ยนแปลงด้วยปัญญา

ท่านบอกว่าสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไป
แต่มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างเลื่อนลอย
อันนี้เป็นข้อสำคัญ คือหลักความเปลี่ยนนั้น
ไม่ได้บอกว่าสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปลอยๆ
ตัวหลักนี้เองก็ไม่ได้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวลอยๆ ของมัน
กล่าวคือ หลักความเปลี่ยนแปลงนี้
จะต้องไปสัมพันธ์กับหลักของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
เมื่อสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไป
และไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างเลื่อนลอย
แต่มันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย
พอมันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย
ก็เป็นเรื่องที่โยงมาถึงการกระทำของเราว่า
จะต้องมีการใช้ปัญญา
คือ การที่เราจะต้องสืบสาวค้นคว้าหาเหตุปัจจัย
เพื่อว่าเมื่อเรารู้เหตุปัจจัยแล้ว เราจะได้แก้ไขป้องกัน
และสร้างเสริมได้ถูกต้อง
การเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมเราไม่ต้องการ
เมื่อเรารู้เหตุปัจจัยของความเสื่อม
เราก็สามารถแก้ไขป้องกันความเสื่อมนั้นได้

ถ้าความเปลี่ยนแปลงใด เป็นความเจริญที่ต้องการ
เราก็ลืมหาว่าอะไร
เป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความเจริญนั้น
เมื่อรู้แล้วเราก็ทำเหตุปัจจัยนั้น
ก็จะเกิดความเจริญที่ต้องการ

ฉะนั้น หลักการเปลี่ยนแปลงนี้
อย่าให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นหลักที่ลอยๆ
จะกำไรแค่ไหน ก็อยู่ที่รู้จักใช้อนิจจังหรือไม่
คนจำนวนมาก ใช้หลักอนิจจัง
หรือความเปลี่ยนแปลงนี้ ในทางที่ไม่สมบูรณ์
คือมองแค่ว่าสิ่งทั้งหลายต้องเปลี่ยนแปลงไป
เมื่อมันเปลี่ยนแปลงไป ก็ได้แต่ปลง
ว่าสิ่งทั้งหลายก็เป็นอย่างนี้เอง
เราต้องรู้เท่าทันว่า สังขารทั้งหลายเกิดขึ้นแล้ว
ก็แตกสลายไปเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้น เมื่อรู้เท่าทันแล้วก็วางใจสบาย
ก็จบ คือสบายใจว่า
เออ มันเป็นไปตามธรรมดาของมัน
ที่จะต้องเสื่อมสลายก็จบเท่านั้น
อย่างนี้ท่านว่า เป็นการใช้ประโยชน์
จากหลักอนิจจังได้ครึ่งเดียว
แล้วก็เกิดโทษอีกด้านหนึ่ง หรืออีกครึ่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นโทษเกิดจากการไม่โยกหลักนี้
ไปหาหลักของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย

กฎไตรลักษณ์ ที่มีหลักของการเปลี่ยนแปลงนี้
จะต้องโยงไปหาหลักฐาน
อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท
สองกฎนี้สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ปฏิจจสมุปบาท คือกฎแห่งความเป็นเหตุปัจจัย
สิ่งทั้งหลายที่ปรากฏรูปร่างออกมา
เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยง เป็นต้นนั้น
เพราะว่ามันเป็นไปเหตุปัจจัย
คือเป็นไปตาม กฎอิทัปปัจจยตา
ซึ่งมีสาระว่า เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนั้นจึงเกิด
เมื่อสิ่งนั้นดับไป สิ่งนี้ดับไป อันนี้เป็นหลักที่สำคัญมาก

ฉะนั้น ไตรลักษณ์ จะต้องโยงไปหา ปฏิจจสมุปบาท
ถ้าเราเห็นหลัก ปฏิจจสมุปบาท ก็ถึงตัวหลักที่แท้จริง
ไตรลักษณ์ นั้น เป็นเพียงลักษณะ เท่านั้น
คือ เป็นอาการปรากฏที่แท้จริง
คือ ปฏิจจสมุปบาท คือกฎของความเป็นเหตุปัจจัย
เราจะต้องจับเหตุปัจจัยได้
แล้วการรู้เหตุปัจจัยนี้แหละ
จะเป็นตัวนำไปสู่การที่จะต้องปฏิบัติได้ถูกต้อง

เพียงแต่เห็นสิ่งทั้งหลาย เปลี่ยนแปลงไป
แล้วปลงว่า มันเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมดา
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เป็นธรรมดา
วางใจสบาย อันนั้นก็เป็นเพียงรู้เท่าทันในขั้นหนึ่ง
แต่จะต้องรู้ต่อไปอีกว่าที่มันเป็นอย่างนี้
ก็เพราะมันเป็นตามเหตุปัจจัย

ตรงนี้สิ เป็นตอนสำคัญ
ซึ่งจะโยงต่อไปสู่ภาคปฏิบัติ
คือ สืบสาวหาเหตุปัจจัยรู้เหตุปัจจัยของความเสื่อม
และความเจริญ แล้วก็มาถึงภาคปฏิบัติ
คือการที่จะทำตามเหตุปัจจัยแก้ไขที่เหตุปัจจัย
และสร้างเสริมเหตุปัจจัย
หมายความว่า แก้เหตุปัจจัยที่จะทำให้เสื่อม
และสร้างเสริมเหตุปัจจัยที่จะทำให้เจริญงอกงาม
อันนี้คือภาคปฏิบัติและนี่แหละ
คือหลักความไม่ประมาท

เพราะฉะนั้น ความไม่ประมาท
ก็เกิดจากการที่เข้าใจรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง
ความเปลี่ยนแปลงโยงอยู่ด้วยกัน
กับความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
แล้วอาศัยกาลเวลา
กาลเวลาก็เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงนี้เอง
แต่ดูเหมือนว่า กาลเวลานั้นรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้อยู่
ทุกขณะแห่งเวลา คือโอกาสก้าวหน้าของชีวิต
เมื่อกาลเวลานี้สัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลง
กาลเวลาที่ผ่านไป เป็นไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลง
ฉะนั้นเมื่อเราเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง
เราก็ต้องเห็นความสำคัญของกาลเวลาด้วย

กาลเวลาที่ผ่านไปแต่ละขณะจึงสำคัญมาก
พระพุทธเจ้าถึงกับตรัสว่า ขโณ โว มา อปจฺจคา
เวลาแต่ละขณะอย่าให้ล่วงผ่านท่านไปเปล่า
คำว่า อย่าให้ล่วงผ่านท่านไปเปล่า นี่สำคัญมาก
สำนวนของท่านว่า ขณะอย่าได้ล่วงท่านไปเสีย
หมายความว่า จะต้องหมั่นถามตัวเองว่า
ขณะแต่ขณะนี้ เราได้ใช้ประโยชน์มันหรือเปล่า
มันผ่านไปอย่างมีค่า หรือผ่านไปอย่างไร
ประโยชน์ว่างเปล่า การเห็นความสำคัญของกาลเวลานี้
จะเห็นได้ในคำพิจารณาตัวเองของพระพุทธเจ้า
ทรงสอนพระให้พิจารณาเป็นประจำ
ท่านเรียกว่าหลัก อภิณหปัจจเวกขณะ ๑๐ ประการ
ตามหลักนี้ พระจะต้องพิจารณาตนเอง อยู่เนืองๆ
เป็นประจำสม่ำเสมอ ๑๐ ข้อ
ในบรรดา ๑๐ ข้อนั้น มีอยู่ข้อหนึ่งบอกว่า

กถมฺ ภูตสฺส เม รตฺตินฺ ทิวา วีติ ปตนฺติ
บรรพชิต คือพระภิกษุพึ่งพิจารณาเนืองๆ ว่า
วันคืนล่วงไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่
นี่เป็นคำเตือนที่สำคัญมาก
พอพิจารณาขั้นมาอย่างนี้
สติก็มาทันทีเลยว่าเวลาล่วงไป
วันคืนล่วงไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่
พอพูดแค่นี้แหละก็ได้สติ
พิจารณาตัวเองว่า เรากำลัง ทำอะไรอยู่หรือเปล่า
เวลาให้เลื่อนลอยไป และถ้าทำเราทำสิ่งที่ผิดหรือเปล่า
ถ้าทำสิ่งที่ผิด ที่ไม่ดีก็จะได้ยั้งหยุด
ถ้าปล่อยเวลาล่วงไป
ไม่ได้ทำอะไรก็จะได้เร่งทำ
หลักนี้ ฆราวาสก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน
ถ้าพิจารณาทุกวัน ชีวิตจะเจริญงอกงาม พัฒนาแน่นอน
เพราะเมื่อพิจารณาว่าวันคือล่วงไป บัดนี้ เราทำอะไรอยู่
ก็ทำให้มีการสำรวจตรวจสอบปัจจุบันของตนเองทันที

คำเตือนสติอีกข้อหนึ่ง ที่น่าจะมาด้วยกัน
ก็คือ คาถาภาษิตว่า
อโมฆํ ทิวสํ กยิรา อปฺเปน พหุเกนวา
เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่า
จะมากหรือน้อยก็ต้องให้ได้อะไรบ้าง
นี่คือ การรู้จักใช้เวลา
ถ้าได้ แค่นี้ แต่ละวันแล้ว กว่าจะถึงปีงบดุล
ชีวิตนี้จะต้องได้กำไรขอให้ทำอย่างนี้ทุกวัน
เป็นอันว่าคราวนี้ขอเสนอแค่สองข้อ
คือ ข้อที่หนึ่ง เตือนสติของตนเองว่า
พึงพิจารณาเนือง เนืองว่า
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
ข้อที่สอง บอกตัวเองต่อไปว่า
เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า
จะมากหรือน้อยก็ต้องให้ได้อะไรบ้าง
เอาละ ได้แค่นี้ก็พอแล้ว

ถ้าพิจารณาทุกๆ วัน ชีวิตก็จะเจริญก้าวหน้า
กำไรก็จะตามมา
ถ้าเอามากข้อกว่านั้น
ก็ยากขึ้นไปหน่อย คือถึงขั้นที่ว่า
ขโณ โว มา อปจฺจคา
เวลาแต่ละขณะ อย่าให้ล่วงผ่านท่านไปเปล่า
ข้อนี้หมายความว่า แม้แต่เวลา แต่ละขณะๆ
ก็อย่าปล่อยผ่านต้องจับเวลาแต่ละขณะไว้ให้ได้ประโยชน์
ถ้าทำอย่างที่ว่ามานี้ ก็เรียกว่าใช้เวลาเป็น

ในการดำเนินชีวิตของคนเรานี้
การใช้เวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก
เพราะว่าเวลามันกลืนกินชีวิตเรา
พระท่านว่า เวลากลืนกินสรรพสัตว์
พร้อมกันไปกับกินตัวของมันเอง
ซึ่งแปลจากคำบาลีว่า
กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพา เนว สหตฺตนา
ที่ว่ากาลเวลากลืนกินตัวมันเองนั้น
เป็นการพูดแบบภาพพจน์
ที่จริงเวลามันไม่กินอะไร
แต่พูดเป็นภาพพจน์ ว่ามันกิน กาลเวลาผ่านไป
มันก็กลืนกินสรรพสัตว์ไปด้วย
เมื่อมันกลืนกินเรา เพื่อให้ประโยชน์คุ้มกัน
เราก็กลืนกินมันบ้าง
นี่แหละคือการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
หรือรู้จักบริโภคเวลา การใช้เวลาก็คือการบริโภคเวลา
เพราะฉะนั้น เมื่อรู้จักใช้เวลาก็คือ รู้จักบริโภคเวลา


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 14 ตุลาคม 2558 10:45:34
ทุกข์ซ้อนทุกข์

คำว่า " ทุกข์ " นี่แปลว่า ทนได้ หรือ น่าเกลียด เพราะมันทนอยู่ไม่ได้ มันเป็นไปตามสภาพอย่างนั้น ต้นไม้ก็เป็นทุกข์ตามสภาพของต้นไม้ สัตว์ก็เป็นทุกข์ตามสภาพของสัตว์ เก้าอี้มันก็เป็นทุกข์ตามสภาพของของเก้าอี้ มันเป็นอย่างนั้น แต่ว่าคนเรามีจิตที่จะยึดจะถืออะไรได้เลยเข้าไปจับไปถือเอาไว้ เพิ่มทุกข์ขึ้นมาอีกที่หนึ่ง เพราะสิ่งนั้นไม่เหมือนใจเรา มันไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ เราไม่ต้องการไห้แก่ มันก็แก่ ไม่ต้องการให้เจ็บ มันก็เจ็บ
ไม่ให้ตาย มันก็ตาย ไม่ให้หาย มันก็หาย อยากให้มันอยู่อย่างนั้น อยู่อย่างนี้ อยู่ๆมันก็เสียไป มันก็แตกไป หายไป นี่เกิดความทุกข์ เพราะเราไปคิดว่าของนั้นเป็นของเรา ของกูนะ เกิดตัวกู ของกูขึ้นมา ก็เลยเป็นทุกข์ซ้อนทุกข์ขึ้นมา เดิมมันก็เป็นทุกข์อยู่ตามสภาพอย่างหนึ่งแล้ว ไปยึดถือเข้าอีก เป็นสองทุกข์ สามทุกข์ สี่ทุกข์....ทุกข์เรื่อยไปไม่สิ้นสุด....


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2559 11:33:24
คติธรรมของหลวงพ่อจรัญ
เราพูดอยู่เสมอถึงคำว่า  สติปัญญา  เราใช้ปัญญาอยู่เสมอก็จริง แต่สตินั้น แท้จริงแล้ว เรานำออกมาใช้น้อยมาก ทั้งที่สตินั้นมีคุณค่าต่อชีวิต และจำเป็นแก่ชีวิต มีคุณค่าเหลือที่จะประมาณได้


หัวข้อ: Re: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา
เริ่มหัวข้อโดย: เรือใบ ที่ 12 มีนาคม 2559 15:08:32
โอวาทบางตอนหลวงปู่ชา สุภัทโท
หนังสือ หมวด: กุญแจภาวนา
ท่านทั้งหลายได้นับถือพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานาน เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับธรรมในพระพุทธศาสนา จากครูบาอาจารย์มาก็มาก ซึ่งบางท่านก็สอนอย่างพิสดารกว้างเกินไป จนไม่ทราบว่าจะกำหนดเอาไปปฏิบัติได้อย่างไร บางท่านก็สอนลัดเกินไป จนผู้ฟังยากที่จะเข้าใจ เพราะว่ากันตามตำรา บางท่านก็สอนพอปานกลาง ไม่กว้างและไม่ลัด เหมาะที่จะนำไปปฏิบัติ จนตัวเองได้รับประโยชน์จากธรรมนั้นๆ พอสมควร อาตมาจึงใคร่อยากจะเสนอข้อคิดและปฏิบัติ ซึ่งเคยดำเนินมา และได้แนะนำศิษย์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ให้ท่านทั้งหลายได้ทราบ บางทีอาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจอยู่บ้างก็อาจจะเป็นไปได้
ผู้จะเข้าถึงพุทธธรรม
ผู้ที่จะเข้าถึงพุทธธรรมนั้น เบื้องต้นจะต้องทำตนให้เป็นคนมีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่เป็นประจำ และเข้าใจความหมายของคำว่า พุทธธรรม ต่อไปว่า
พุทธะ หมายถึง ท่านผู้รู้ตามเป็นจริง จนมีความสะอาด สงบ สว่างในใจ
ธรรม หมายถึง ตัวการความสะอาด สงบ สว่าง ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
ดังนั้น ผู้ที่เข้าถึงพุทธธรรม ก็คือคนเข้าถึงศีล สมาธิ ปัญญานี่เอง
การเดินเข้าถึงพุทธธรรม
ตามธรรมดาการที่บุคคลจะไปถึงบ้านถึงเรือนได้นั้น มิใช่บุคคลที่มัวนอนคิดเอา เขาเองจะต้องลงมือเดินทางด้วยตนเอง และเดินทางให้ถูกทางด้วย จึงจะมีความสะดวกและถึงที่หมายได้ หากเดินผิดทางเขาจะได้รับอุปสรรค เช่น พบขวากหนาม เป็นต้น และยังไกลที่หมายออกไปทุกที หรือบางทีอาจจะได้รับอันตรายระหว่างทาง ไม่มีวันที่จะเข้าถึงบ้านได้ เมื่อเดินไปถึงบ้านแล้วจะต้องขึ้นอยู่อาศัยพักผ่อน หลับนอน เป็นที่สบายทั้งกายและใจ จึงจะเรียกว่าคนถึงบ้านได้โดยสมบูรณ์ ถ้าหากเป็นแต่เพียงเดินเฉียดบ้านหรือผ่านบ้านไปเฉยๆ คนเดินทางผู้นั้นจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลยจากการเดินทางของเขา ข้อนี้ฉันใด การเดินทาง เข้าไปถึงพุทธธรรมนั้นก็เหมือนกัน ทุกๆคนจะต้องออกเดินทางด้วยตนเอง ไม่มีการเดินแทนกัน และต้องเดินไปตามทางแห่งศีล สมาธิ ปัญญา จนถึงซึ่งที่หมาย ได้รับความสะอาดสงบสว่าง นับว่าเป็นประโยชน์เหลือหลายแก่ผู้เดินทางเอง
แต่ถ้าหากผู้ใดมัวแต่อ่านตำรา กางแผนที่ออกดูอยู่ตั้งร้อยปีร้อยชาติ ผู้นั้นไม่สามารถไปถึงที่หมายได้เลย เขาจะเสียเวลาไปเปล่าๆ ปล่อยประโยชน์ที่ตนจะได้รับให้ผ่านไปเลย ครูบา-อาจารย์เป็นผู้บอกให้เท่านั้น เราทั้งหลายได้ฟังแล้วจะเดินหรือไม่เดิน และจะได้รับผลมากน้อยเพียงใด มันเป็นเรื่องเฉพาะตนอีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนหมอยายื่นขวดยาให้คนไข้ ข้างนอกขวดเขาเขียนบอกสรรพคุณของยาไว้ว่า แก้โรคชนิดนั้นๆ ส่วนตัวยาแก้โรคนั้นอยู่ข้างในขวด ที่คนไข้มัวอ่านสรรพคุณของยาที่ติดไว้ข้างนอกขวด อ่านไปตั้งร้อยครั้ง พันครั้ง คนไข้ผู้นั้นจะต้องตายเปล่าโดยไม่ได้รับประโยชน์ จากตัวยานั้นเลย และเขาจะมาร้องตีโพยตีพายว่าหมอไม่ดี ยาไม่มีสรรพคุณ แก้โรคอะไรก็ไม่ได้ เขาจึงเห็นว่ายาที่หมอให้ไว้ไม่มีประโยชน์อะไร ทั้งๆที่ตัวเองไม่เคยเปิดจุกขวดรินยาออกกินเลย เพราะมัวแต่ไปติดใจอ่านฉลากยาซึ่งติดอยู่ข้างขวดเสียเพลิน แต่ถ้าหากเขาเชื่อหมอ จะอ่านฉลากครั้งเดียว หรือไม่อ่านก็ได้ แต่ลงมือกินยาตามคำสั่งของหมอ ถ้าคนไข้เป็นน้อยเขาก็หายจากโรค แต่ถ้าหากเป็นมาก อาการของโรคก็จะทุเลาลง และถ้าหากกินบ่อยๆ โรคก็จะหายไปเอง ที่ต้องกินยามากและบ่อยครั้งก็เพราะโรคเรามันมาก เรื่องนี้เป็นธรรมดาเหลือเกิน ดังนั้น ท่านผู้อ่านจงใช้สติปัญญา พิจารณาให้ละเอียดจริงๆ จึงจะเข้าใจดี
พวกแพทย์ พวกหมอ เขาปรุงยา ปราบโรคทางกายจะเรียกว่าสรีระโอสถก็ได้ ส่วนธรรมของพระพุทธเจ้านั้นใช้ปราบโรคทางใจ เรียกว่าธรรมโอสถ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงเป็นแพทย์ผู้ปราบโรคทางใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โรคทางใจเป็นได้ไว และเป็นได้ทุกคนไม่เว้นเลย เมื่อท่านรู้ว่าท่านเป็น ไข้ใจ จะไม่ใช้ธรรมโอสถรักษาบ้างดอกหรือ พิจารณาดูเถิดการเดินทางเข้าถึงพุทธรรมมิใช่เดินด้วยกาย แต่ต้องเดินด้วยใจ จึงจะเข้าถึงได้ ได้แบ่งผู้เดินทางออกเป็น ๓ ชั้น คือ
ก. ชั้นต่ำ ได้แก่ผู้รู้จักปฏิญาณตน เอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง อาศัยตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนด้วยดี ละทิ้งประเพณีที่งมงาย ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว จะเชื่ออะไรต้องพิจารณาเหตุผลเสียก่อน คนพวกนี้เรียกว่าสาธุชน
ข. ชั้นกลาง หมายถึงผู้ปฏิบัติจนเชื่อต่อพระรัตนตรัยอย่างแน่นแฟ้น ไม่เสื่อมคลาย รู้เท่าทันสังขาร พยายามสละความยึดมั่นถือมั่นให้น้อยลง มีจิตเข้าถึงธรรมชั้นสูงขึ้นเป็นขั้นๆ ท่าน เหล่านี้เรียกว่า พระอริยบุคคล คือพระโสดาบันพระสกิทาคามี พระอนาคามี
ค. ชั้นสูง ได้แก่ผู้ปฏิบัติจนกายวาจาใจเป็นพุทธะ เป็นผู้พ้นจากโลก หมดความยึดถืออย่างสิ้นเชิง เรียกว่าพระอรหันต์ ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุด
ศีล
การทำตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลนั้นคือระเบียบควบคุมรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ว่าโดยประเภทมีทั้งของชาวบ้านและของนักบวช แต่เมื่อกล่าวโดยรวบยอดแล้ว มีอย่างเดียว คือ เจตนา ในเมื่อเรามีสติระลึกได้อยู่เสมอ เพื่อควบคุมใจให้รู้จักละอายต่อการทำชั่วเสียหาย และรู้สึกตัวกลัวผลของความชั่วจะตามมา พยายามรักษาใจอยู่ให้ในแนวทางแห่งการปฏิบัติถูกต้อง ที่ควรเป็นศีลอย่างดีอยู่แล้ว ตามธรรมดาเมื่อเราใช้เสื้อผ้าที่สกปรก และตัวเองก็สกปรกย่อมทำให้จิตใจอึดอัดไม่สบาย แต่ถ้าหากเรารู้จักรักษาความสะอาดทั้งร่างกาย และเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ย่อมทำให้จิตใจผ่องใสเบิกบาน ดังนั้น เมื่อศีลไม่บริสุทธิ์ และกายวาจาสกปรก ก็เป็นผลให้จิตใจเศร้าหมองขัดต่อการปฏิบัติธรรม และเป็นเครื่องกั้นใจมิให้บรรลุถึงจุดหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจิตใจที่ได้รับการฝึกมาดีหรือไม่เท่านั้น เพราะใจเป็นผู้สั่งให้พูดให้ทำ ฉะนั้นเราจึงต้องมีการฝึกจิตใจต่อไป
สมาธิ
การฝึกสมาธิ การฝึกสมาธิก็คือ การฝึกจิตของเราให้ตั้งมั่น และมีความสงบ เพราะตามปกติจิตนี้เป็นธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง ห้ามได้ยาก รักษาได้ยาก ชอบไหลไปตามอารมณ์ต่ำๆ เหมือนน้ำชอบไหลสู่ที่ลุ่มเสมอ พวกเกษตรกรเขารู้จักกั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ในการเพาะปลูกต่างๆ มนุษย์เรามีความรู้จักเก็บรักษาน้ำ เช่น กั้นฝาย ทำนบ ทำชลประทานเหล่านี้ ก็ล้วนแต่กั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ทั้งนั้น พลังงานไฟฟ้าที่ให้ความสว่าง และใช้ทำประโยชน์อื่นๆ ก็ยังอาศัยน้ำที่คนเรารู้จักกั้นไว้นี่เอง ไม่ปล่อยให้มันไหลลงที่ลุ่มเสียหมด จิตใจที่มีการกั้น การฝึกที่ดีอยู่ ก็ให้ประโยชน์อย่างมหาศาลเช่นกัน ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า “จิตที่ฝึกดีแล้ว นำความสุขมาให้ การฝึกจิตให้ดีย่อมสำเร็จประโยชน์” ดังนี้เป็นต้น
เราสังเกตดูแต่สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ก่อนที่เราจะเอาใช้งานต้องฝึกเสียก่อน เมื่อฝึกดีแล้วเราจึงได้อาศัยแรงงานมันทำประโยชน์นานาประการ ท่านทั้งหลายก็ทราบแล้ว จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมมีคุณค่ามากมายกว่ากันหลายเท่า ดูแต่พระพุทธองค์และพระอริยสาวกได้เปลี่ยนภาวะ จากปุถุชนมาเป็นพระอริย-บุคคล จนเป็นที่กราบไหว้ของคนทั่วไป และท่านได้ทำประโยชน์อย่างกว้างขวาง เหลือประมาณที่เราๆจะกำหนดเพราะพระองค์และสาวกได้ผ่านการฝึกจิตมาด้วยดีแล้วทั้งนั้นจิตที่เราฝึกดีแล้ว ย่อมเป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพทุกอย่าง ยังเป็นทางให้รู้จักทำงานด้วยความรอบคอบ ไม่เป็นผู้หุนหันพลันแล่น ทำให้ตนเองมีเหตุผล และได้รับความสุขตามสมควรแก่ฐานะ
การฝึกจิต มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่เห็นว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่สุด ใช้ได้กับบุคคลทั่วไป วิธีนั้นเรียกว่า “อานาปานสติภาวนา” คือ มีสติจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ที่สำนักนี้ให้กำหนดลมที่ปลายจมูก โดยภาวนาว่าพุทโธ ในเวลาเดิน จงกรม และนั่งสมาธิก็ภาวนาบทนี้ จะใช้บทอื่น หรือจะกำหนดเพียงการเข้าออกของลมก็ได้ แล้วแต่สะดวก ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า พยายามกำหนดลมเข้าออกให้ทันเท่านั้น การเจริญภาวนาบทนี้จะต้องทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ จึงจะได้ผลไม่ใช่ว่าทำครั้งหนึ่งแล้วหยุดไปตั้งอาทิตย์ สองอาทิตย์ หรือตั้งเดือนจึงทำอีก อย่างนี้ไม่ได้ผล พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า ภาวิตา พหุลีกตา อบรมกระทำให้มาก คือทำบ่อยๆติดต่อกันไป โดยการฝึกจิตใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผล ควรเลือกหาที่สงบไม่มีคนพลุกพล่าน เช่น ในสวนหลังบ้าน หรือต้นไม้ที่มีร่มเงาๆแต่ถ้าเป็นนักบวชควรแสวงหาเรือนว่าง (กระท่อม) โคนไม้, ป่า, ป่าช้า, ถ้ำ, ตามภูเขา เป็นที่บำเพ็ญเหมาะที่สุดเราจะอยู่ที่ใดก็ตาม ใช้สติกำหนดลมหายใจอย่างเดียว แม้จิตใจจะคิดไปเรื่องอื่นก็พยายามดึงกลับมา ทิ้งเรื่องอื่นๆทั้งหมด โดยไม่พยายามคิดถึงมัน รู้ให้ทันกับความคิดนั้นๆ เมื่อทำเข้าบ่อยๆ จิตจะสงบลงเรื่อยๆ เมื่อจิตสงบตั้งมั่นแล้ว ถอยจิตนั้นมาพิจารณาร่างกาย ร่างกายคือ ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หาตัวตนไม่ได้ มีแต่ธรรมชาติ ไหลไปตามเหตุ ตามปัจจัยเท่านั้น สิ่งทั้งปวงตกอยู่ในลักษณะที่เป็น อนิจจัง ทุกขังอนัตตา ทั้งนั้น ความยึดมั่นต่างๆจะน้อยลงๆ เพราะเรารู้เท่าทันมัน เรียกว่าเกิดปัญญาขึ้น
ปัญญาเกิด เมื่อเราใช้จิตที่ฝึกดีแล้วพิจารณารูปนามอยู่อย่างนี้ ให้รู้แจ้งแน่ชัดว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาปัญญารู้เท่าทันสภาพความเป็นจริงของสังขาร ก็เกิด เป็นเหตุให้เราไม่ยึดถือหรือหลงใหล เมื่อเราได้อะไรมามีสติ ไม่ดีใจจนเกินไป เมื่อของสูญหายไป ก็ไม่เสียใจจนเกิดทุกข์ เวทนาเพราะรู้เท่าทัน เมื่อประสบความเจ็บไข้ หรือได้รับทุกข์อื่นๆก็มีการยับยั้งใจ เพราะอาศัยจิตที่ฝึกมาดีแล้ว เรียกว่ามีที่พึ่งทางใจเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้เรียกได้ว่า เกิดปัญญา รู้ทันตามความเป็นจริง ที่เกิดปัญญาเพราะมีสมาธิ สมาธิจะเกิดเพราะมีศีล มันเกี่ยวโยงกันอยู่อย่างนี้ ไม่อาจแยกออกจากกันไปได้
สรุป
สรุปได้ความดังนี้ อาการบังคับตัวเองให้กำหนดลมหายใจข้อนี้เป็นศีล การกำหนดลมหายใจได้ และติดต่อกันไปจนจิตสงบ ข้อนี้เรียกว่าสมาธิ การพิจารณากำหนดรู้ลมหายใจว่าไม่เที่ยง ทนได้ยาก มิใช่ตัวตน แล้วรู้การปล่อยวาง ข้อนี้เรียกว่า ปัญญา การทำอานาปานสติภาวนา จึงกล่าวได้ว่าเป็นการบำเพ็ญทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ให้ครบ ก็ชื่อว่าได้เดินทางตามมรรคมีองค์แปด ที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นทางสายเอกประเสริฐกว่าทางทั้งหมด เพราะเป็นการเดินทางเข้าถึงพระนิพพาน เมื่อเราทำตามที่กล่าวมานี้ ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงพุทธธรรมอย่างถูกต้องที่สุด
ผลจากการปฏิบัติ เมื่อเราปฏิบัติตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ย่อมมีผลปรากฏตามระดับจิตของผู้ปฏิบัตินั้นๆ ซึ่งแบ่งเป็น ๓ พวก ดังต่อไปนี้
ก. สำหรับสามัญชนผู้ปฏิบัติตาม ย่อมทำให้เกิดความเชื่อในคุณพระรัตนตรัย ถือเอาเป็นที่พึ่งได้ ทั้งเชื่อตามผลกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จะทำให้ผู้นั้นมีความสุขความเจริญยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนได้กินขนมที่มีรสหวาน
ข. สำหรับพระอริยบุคคลชั้นต่ำ ย่อมมีความเชื่อในคุณพระรัตนตรัยแน่นแฟ้นไม่เสื่อมคลายเป็นผู้มีจิตใจผ่องใสดิ่งสู่นิพพาน เปรียบเหมือนคนได้กินของหวาน ซึ่งมีทั้งรสหวานและมัน
ค. สำหรับท่านผู้ได้บรรลุอรหันต์ ย่อมมีความหลุดพ้นจากห้วงทุกข์ทั้งปวง เพราะเป็นพุทธะแล้ว พ้นจากโลกอยู่จบพรหมจรรย์ เปรียบเหมือนคนได้กินของหวาน ที่มีทั้งรสหวานมัน และหอม
เราท่านทั้งหลายได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา เป็นการยากแท้ที่สัตว์ทั้งหลายล้านตัวไม่มีโอกาสอย่างเรา จงอย่าประมาท รีบสร้างบารมีให้แก่ตนด้วยการทำดีทั้งชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง อย่าปล่อยให้เวลาเสียไปโดยเปล่าปราศจากประโยชน์เลย ฉะนั้น ควรจะทำตนให้เข้าถึง พุทธรรม เสียแต่วันนี้
ขอฝากภาษิตว่า
“เที่ยว ทาง เวิ้ง เหิงนาน มัน สิค่ำ เมา นำต่าบักหว้า มัน สิช้า ค่ำ ทาง”
“มรรค ผล ไม่พ้นสมัย”
[จบเรื่อง โอวาทบางตอน]
หลวงปู่ชา สุภัทโท หนังสือ หมวด: กุญแจภาวนา