[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 03 ธันวาคม 2566 09:28:04



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม จัดกิจกรรม '13 ปี พีมูฟ สู่สังคมที่เป็นธรร
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 03 ธันวาคม 2566 09:28:04
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม จัดกิจกรรม '13 ปี พีมูฟ สู่สังคมที่เป็นธรรม'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-12-02 20:48</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมจัดกิจกรรมระดมทุน '13 ปี พีมูฟ สู่สังคมที่เป็นธรรม' เสวนาหัวข้อ 'อดีต ปัจจุบัน อนาคต พีมูฟ' ชี้พีมูฟได้ 'สถาปนาแนวคิดเรื่องการกระจายการถือครองที่ดิน-การคุ้มครองการทวงคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพี่น้องกลุ่มที่มีความหลากหลายต่าง-สิทธิชุมชน' มาอย่างต่อเนื่อง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53370405766_3f31f4827b_o_d.png" />
<span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพ: มติชนออนไลน์</span> (https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2023/12/S__12812297_0.jpg)</p>
<p>2 ธ.ค. 2566 มติชนออนไลน์ (https://www.matichon.co.th/politics/news_4312622) รายงานว่าที่มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move) จัดกิจกรรมระดมทุน “13 ปี พีมูฟ สู่สังคมที่เป็นธรรม” ที่ดิน เสรีภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม โดยมีกิจกรรมตลอดทั้งวัน อาทิ รำลึกวีรชน, การระดมทุนผ้าป่าสามัคคี, การเสวนาวิชาการ, ซุ้มอาหารเครื่อข่าย งานวัฒนธรรม เป็นต้น</p>
<p>บรรยากาศเวลา 15.00 น. มีเวทีแลกเปลี่ยนเสวนาหัวข้อ “อดีต ปัจจุบัน อนาคต พีมูฟ” นำโดย จำนงค์ หนูพันธ์ ประธานเครือข่ายขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ), จํานงค์ จิตรนิรัตน์ คณะกรรมการติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาขบวนการพีมูฟ และพชร คำชำนาญ เลขานุการขบวนการพีมูฟ</p>
<p>ในตอนหนึ่งของการเสวนา จํานงค์ จิตรนิรัตน์ กล่าวถึงการก่อตั้งพีมูฟว่า จากการเกิดขึ้นของสมัชชาคนจนในยุคนั้น เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในรอบร้อยปี รวบรวมกลุ่มเครือข่ายคนจนทั่วประเทศ แล้วมีข้อเสนอเจรจากับรัฐบาลอย่างเข้มข้น จึงเกิดคำว่า “การเมืองบนท้องถนน” “ประชาธิปไตยกินได้” “คนจนทั้งผองพี่น้องกัน”</p>
<p>“แม้ว่าการเคลื่อนไหวของสมัชชาคนจนในยุคนั้นจะไม่สำเร็จทั้งหมด แต่ได้วางรากฐานบางอย่างไว้ ซึ่งทำให้รัฐบาลมีความระมัดระวัง ต่อมาสมัชชาคนจนถูกทำให้อ่อนแอจากการเมืองใหญ่ในตอนการเมืองสีเหลืองสีแดง” จํานงค์กล่าว</p>
<p>จํานงค์กล่าวว่า ประชาชนมีการบ่มเพาะกำลัง การพบปะพี่น้องที่แก่งสะพือ จ.อุบลราชธานี มีการคุยกันเพื่อรวมตัวภาคประชาชนต่างๆ มีการนัดชุมนุมในนามพีมูฟครั้งแรกในปี 2553 ซึ่งได้รับการตอบรับจากสาธารณชน ที่เบื่อการเมืองสงครามสี จากนั้นมา พีมูฟก็ได้รับการพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน</p>
<p>ด้าน จำนงค์ หนูพันธ์ กล่าวว่า ตนยืนยันว่าถ้าปัญหาประชาชนยังคงอยู่ ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม ภาคประชาชนเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะพีมูฟ</p>
<p>“หลายคนมองว่าพีมูฟสู้ในรายกรณีมาตลอด ซึ่งเรามองว่าการต่อสู้เป็นการรวมกลุ่ม อย่างน้อย 9 เครือข่ายทั่วประเทศแล้ว ซึ่งจากการสู้ 13 ปีที่ผ่านมา ทั้งการชุมนุม ประท้วง การยื่นข้อเสนอรัฐบาล ได้คุยกับทุกรัฐบาล ความเดือดร้อนประชาชนรอไม่ได้ ต้องคุย ไม่ว่าจะมีการยึดอำนาจ หรือเลือกตั้งมา จนสร้างความสำเร็จให้พีมูฟ” จำนงค์กล่าว</p>
<p>จำนงค์กล่าวอีกว่า หนึ่งความสำเร็จที่ผ่านมาคือเรื่องการจัดการถือครองที่ดิน ที่ดินคือชีวิต ถ้าทุกคนไม่มีที่ดินถือว่าทุกคนไม่มีความมั่นคง โดยปี 2554 เราร่วมกันหลายภาคส่วนผลักดันการจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน หรือ บจธ. ร่วมกันทั้งกำลังกาย กำลังใจ ไม่ใช่พีมูฟอย่างเดียว ซึ่งการที่จะให้รัฐลงงบประมาณให้กับพี่น้องประชาชนเป็นเรื่องยากมาก ถ้านอนอยู่บ้านรับรองว่าไม่ได้ เราจึงต้องออกมาสู้ หลายคนมองว่าเป็นเรื่องยาก แต่เมื่อประชาชนมารวมตัวกันมันจะทำสำเร็จได้</p>
<p>“พีมูฟทำงานเพื่อแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรม และพร้อมที่จะผลักดันให้เป็นนโยบายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เราไม่ได้ปิดกั้นว่าเป็นเรื่องของสมาชิกพีมูฟเท่านั้น แต่เราเปิดกว้างทั้งประเทศ ถ้าติดขัดตรงไหนพี่น้องแจ้งมาได้ พีมูฟก็พร้อมจะช่วยดำเนินการ” จำนงค์เผย</p>
<p>จำนงค์กล่าวว่า มีประเด็นมากมายผ่านมา 13 ปี เราจึงได้มาคุยกันว่าเราต้องทำนโยบายเพื่อปรับโครงสร้าง เราเสนอนโยบายทุกพรรคการเมืองก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาล ถ้ามีคนเอาไปผลักดันต่ออย่างน้อย 10 ข้อนโยบายของพีมูฟ</p>
<p>“เราเชื่อว่าถ้า 10 ด้านของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ถ้าได้ถูกบรรจุในนโยบายของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง จะสามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนได้ทั้งประเทศ” นายจำนงค์ชี้</p>
<p>จำนงค์กล่าวว่า 13 ปีมาแล้ว เรายังไม่มีความเป็นธรรมสำหรับคนทั้งประเทศ เราจะเห็นการรำลึกวีรชนที่สูญเสียจากเหตุการณ์ต่างๆ ตอนนี้เราเห็นว่ามีคนรุ่นใหม่ยืนหยัดมารับช่วงต่อแน่นอน</p>
<p>“หลายคนถามว่า ทำไมเราไม่ทำพรรคการเมืองเลยถ้าปัญหาเยอะขนาดนี้ แต่เรามองว่าเรายืนข้างประชาชน เราจะสามารถทำงานได้กับทุกพรรคการเมือง เราทำได้ทุกนโยบาย เราจะทำงานกับทุกรัฐบาลทั้งที่มาจากการเลือกตั้ง หรือยึดอำนาจมาก็ตาม ที่ผ่านมามันไม่สามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ แต่มันต้องไปจบที่ทำเนียบรัฐบาล มันเป็นปัญหาหลักที่ทุกรัฐบาลต้องแก้ ความไม่เป็นธรรมในสังคมมีมานานแล้ว แม้มันจะมีต่อไป แต่พีมูฟก็จะยืนเคียงข้างประชาชน” จำนงค์เผย</p>
<p>ด้าน พชร คำชำนาญ กล่าวว่า สำหรับตน พีมูฟเป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ ด้วยความที่เราโตมาในสถานการณ์รัฐประหารตอนปี 2557 เริ่มมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในมหาวิทยาลัย แต่ขณะเดียวกันพี่น้องต้องเผชิญชะตากรรมอย่างหนัก จากนโยบายทวงคืนผืนป่า มีการฟ้องร้องกว่า 40,000 คดี ชาวบ้านถูกจับกุมติดคุกไล่รื้อ ต่อมาผลกระทบจากการบังคับใช้มาตรา 44 ในการยกเลิกผังเมือง</p>
<p>“เป็นอีกโลกหนึ่งที่เกิดขึ้นคู่ขนานกันระหว่างที่พวกเรากำลังเผชิญกับสถานการณ์การกดขี่ของเจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจในสถานการณ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมอำนาจ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในขณะเดียวกัน พวกเราได้รับผลกระทบเหมือนกัน สำหรับผมการที่ได้มาอยู่ในขบวนของพีมูฟ ก็เลยเป็นเหมือนห้องเรียนการเมือง เพราะว่าเรื่องราวเหล่านี้ ความเจ็บปวดของพี่น้องในพื้นที่ จะไม่มีทางถูกบอกเล่าในประวัติศาสตร์แบบเรียนกระแสหลักของรัฐไทยที่เป็นแบบนี้”</p>
<p>“พีมูฟเป็นเหมือนพื้นที่ที่ให้พวกเราเข้ามาร่วมออกแบบ เติมเต็มสิ่งที่พวกเราฝันถึงสังคมดีกว่า ยังคงเชื่อมั่นในการเคลื่อนไหวภาคประชาชน เชื่อมั่นในการลงถนน แม้จะถูกปิดกั้นเสรีภาพอย่างมากมาย” นายพชรกล่าว</p>
<p>พชรกล่าวว่า ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของพีมูฟในปี 2563 ในสถานการณ์ที่ไม่ใช่การเมืองเหลืองแดง แต่เป็นสถานการณ์ที่คนรุ่นใหม่ในเมืองออกมาต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการ กับข้อเรียกร้องใหม่ซึ่งพวกเราไม่แน่ใจว่าก้าวไปถึงขั้นนั้นหรือไม่ พวกเรามีการพูดคุยถกเถียงกันหลายครั้ง แต่สุดท้ายกระแสการเปลี่ยนแปลงนำพาเรามาถึงจุดนี้ จุดที่พี่น้องยกระดับข้อเรียกร้องเชิงนโยบาย ที่ไม่ใช่เพียงการแก้ไขปัญหา และไม่ใช่เพียงการเรียกร้องเรื่องสิทธิชุมชน สิทธิในการจัดการที่ดิน แต่เป็นเรื่องที่ใหญ่ขึ้น เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเคลื่อนไหวในปีที่แล้ว การเปิดพื้นที่ของเราและก็เชื่อมร้อยขบวนของพี่น้องคนรุ่นใหม่ ที่ต่อสู้ในข้อเรียกร้องที่กว้างกว่า ใหญ่กว่า และแหลมคมกว่า ให้เข้ามามีบทบาทเเละเข้ามามีส่วนร่วมในขบวน ถ้าวันนั้นเราตัดสินใจอีกแบบ ภาพลักษณ์ของพีมูฟก็จะเป็นอีกแบบ คงไม่ได้เป็นพีมูฟที่พวกเราอยู่ด้วยกันตอนนี้</p>
<p>“พีมูฟเป็นขบวนที่รวบรวมกลุ่มปัญหาที่หลากหลาย ทั้งเกษตรกรรายย่อย เกษตรกรที่ไร้ที่ดิน คนจนเมือง กลุ่มชาติพันธุ์ พวกเรารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสิทธิในการจัดการที่ดินและทรัพยากร เรียกร้องสิทธิที่จะมีสวัสดิการที่ดี เรียกร้องสิทธิที่จะอยู่ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยกว่านี้”</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ขบวนการของพีมูฟได้สะท้อนให้เห็นว่าสังคมของพวกเราไม่มีทางที่จะมีภูมิคุ้มกันได้ดีกว่านี้ หากปราศจากความหลากหลายของกลุ่มคนเหล่านี้ เพราะว่าพี่น้องพีมูฟคือ 1 ในประชากรจำนวน 99% ที่หล่อเลี้ยงประเทศนี้ ฉะนั้นไม่มีทางที่พวกเราจะถูกตัดออก หรือว่าไม่อยู่ในกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาต่างๆ ได้ของรัฐบาล</p>
<p>“พีมูฟได้สถาปนาแนวคิดเรื่องการกระจายการถือครองที่ดิน สถาปนาแนวคิดเรื่องการคุ้มครองการทวงคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพี่น้องกลุ่มที่มีความหลากหลายต่างๆ และสิทธิชุมชนเป็นสิ่งที่พวกเราทั้งสถาปนาและสานต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง”</p>
<p>พชรกล่าวว่า พีมูฟในอนาคตยังคงดำเนินบทบาทเดิม แต่ว่าอาจจะเดินหน้าทำงานในเชิงรุกมากขึ้นเรื่องการเชื่อมร้อยขบวน สร้างความเข้าใจต่อสังคมมากขึ้นในประเด็นที่พี่น้องพีมูฟเรียกร้อง รวมถึงขยายประเด็นสู้เรื่องที่ใหญ่กว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับโลกตอนนี้ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สถานการณ์เรื่องของนโยบายต่างๆ ที่จะกระทบกับพวกเรา เช่น นโยบายคาร์บอนเครดิต</p>
<p>“พวกเราเชื่ออย่างยิ่งว่าการแก้ไขปัญหา การบรรลุเป้าหมายสังคมที่เป็นธรรมจะไม่ใช้เวลาแค่ 13 ปี แต่ว่าพวกเราพร้อมที่จะต่อสู้ต่อไป แม้ว่าเราจะต้องส่งความเจ็บปวดเหล่านี้ให้กับลูกหลาน ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้อยากส่งต่อก็ตาม” พชรกล่าว</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="314" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&amp;href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FPmove2011%2Fvideos%2F3675052589484132%2F&amp;show_text=false&amp;width=560&amp;t=0" style="border:none;overflow:hidden" width="560"></iframe></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิ่งแวดล้อม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%9F" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พีมูฟ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/p-move-0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">P-Move[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107075