[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
13 พฤษภาคม 2567 07:28:11 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สปสช. เดินหน้าพัฒนาระบบข้อมูลให้ทุกอย่างเป็นอัตโนมัติ  (อ่าน 98 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2566 17:46:54 »

สปสช. เดินหน้าพัฒนาระบบข้อมูลให้ทุกอย่างเป็นอัตโนมัติ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-11-01 15:15</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เลขาธิการ สปสช. เผยทิศทางการใช้ข้อมูลสุขภาพในอนาคต เน้นพัฒนาให้ทุกกระบวนการเป็นอัตโนมัติทั้งการใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้ารับบริการ การขึ้นทะเบียน ไปจนถึงการเบิกจ่ายเงินแก่หน่วยบริการ พร้อมประกาศยินดีเชื่อมต่อข้อมูลกับทุกหน่วยงานเพื่อร่วมขับเคลื่อนระบบสุขภาพในอนาคต</p>
<p>1 พ.ย.2566 ฝ่ายสื่อสารของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  รายงานถึงการปาฐกถาของ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในงานประชุมวิชาการประกันสังคม ปี 2566 เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2566 ที่ผ่านมา ในหัวข้อ การประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนางานบริการภาครัฐที่เป็นเลิศ</p>
<p>นพ.จเด็จระบุว่า ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานอย่างมาก การขับเคลื่อนนโยบายต้องใช้ข้อมูล ในระหว่างการดำเนินงานก็ต้องใช้ข้อมูล การจะทำให้องค์กรยั่งยืนก็ควรใช้ข้อมูลในการทำงานด้วย สปสช. ได้ปรับโครงสร้างภายในให้มีหน่วยสำหรับใช้งานข้อมูล เรียกว่าหน่วย Monitor and Evaluation หรือการกำกับติดตามและประเมินผลตั้งแต่ระดับส่วนกลางไปถึงระดับเขต เพราะในยุคต่อไปถ้าไม่มีการใช้ข้อมูล ความสามารถในการแข่งขันจะลดลงอย่างมากมาก</p>
<p>นพ.จเด็จ กล่าวอีกว่า ในการนำข้อมูลมาใช้ ช่วงโควิด-19 สปสช. มีบทเรียนอย่างหนึ่งว่านอกจากข้อมูลเชิงปริมาณแล้ว ข้อมูลเชิงคุณภาพจะช่วยทำให้เข้าใจความคิดของกลุ่มเป้าหมายที่กำลังดูแลอยู่ เช่น คิดว่าจะแจก ATK ให้ประชาชนมารับ แต่ความคิดเห็นของประชาชนคือไม่มารับแน่เพราะเสียเวลาทำงานหาเงิน ดังนั้น ก่อนจะใช้ข้อมูลต้องศึกษาพฤติกรรมของประชาชนกลุ่มเป้าหมายก่อน</p>
<p>อีกประการคือเวลาใช้ข้อมูลในการทำงาน อย่าดูแค่ข้อมูลในอดีตที่ผ่านมาเพราะไม่บอกถึงข้อมูลในอนาคต แต่ให้ดูทฤษฎีต่างๆ ว่าข้อมูลกำลังบ่งบอกถึงอะไร เช่น มีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้ประโยชน์จากการใช้สิทธิบัตรทองในการรักษาพยาบาล เช่น ไม่อยากมาโรงพยาบาลเพราะรู้สึกยุ่งยากวุ่นวาย และทฤษฎีบอกว่าต้องดูแลให้คนกลุ่มนี้ให้มากขึ้น สปสช. จึงหาวิธีให้จัดบริการให้คนกลุ่มนี้ได้ใช้ประโยชน์บ้าง เช่น ให้ไปที่ร้านยาหรือคลินิกใกล้บ้าน ทำเทเลเมดิซีน หรือการตรวจแล็บใกล้บ้าน เป็นต้น</p>
<p>ในส่วนของข้อมูลเชิงปริมาณ นพ.จเด็จ กล่าวว่า ทั้ง สปสช. และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีข้อมูลมหาศาล ความท้าทายอยู่ที่จะใช้ข้อมูลในการทำงานอย่างไร อย่างเช่น สปสช. มีผู้ไปรับบริการปีละ 162 ล้านครั้ง มีการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการปีละ 190 ล้านครั้ง มีการรับบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคปีละ 243 ล้านครั้ง ผู้ป่วยใน 7 ล้านครั้ง มีการโทรเข้า Call center อีกปีละ 2 ล้านสาย/ปี ข้อมูลเหล่านี้จะเอามาช่วยวางแผนหรือประเมินว่านโยบายที่กำหนดออกไปดีหรือไม่ดีอย่างไร เช่น เอามาจัดทำงบประมาณ ซึ่งต้องเอาข้อมูลมาคำนวนว่าในปีต่อไปจะมีผู้ได้รับบริการเท่าใดและต้องใช้งบประมาณเท่าใด </p>
<p>นอกจากนี้ ยังนำมาวิเคราะห์ข้อมูลการเจ็บป่วยของประชาชน ถ้ามีผู้มารับบริการมากสะท้อนว่าเจ็บป่วยมากเกินไป แต่ถ้ามาใช้บริการน้อยก็อาจสะท้อนว่าประชาชนยังเข้าไม่ถึงบริการ อย่างในพื้นที่ กทม. อัตราการใช้บริการต่ำกว่าต่างจังหวัด 50% เพราะลำบากในการเข้ารับบริการ เป็นต้น</p>
<p>ขณะเดียวกัน สปสช. ยังใช้ข้อมูลในการติดตามโรคสำคัญๆที่เป็นปัญหาสาธารณสุข เช่น โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคไต ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ฯลฯ ซึ่งข้อมูลจะบอกว่าควรกำหนดนโยบายไปในทิศทางไหน ต้องมีมาตรการอะไรเพิ่มเติม จะเพิ่มการใช้งานเครื่องล้างไตอัตโนมัติในกลุ่มที่ต้องทำงานในเวลากลางวันหรือไม่ การติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หรือจะต้องเพิ่มทักษะใหม่ (Up skill/Re-skill) ในกลุ่ม Care giver หรือผู้ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยอย่างไรเพื่อรองรับจำนวนผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง เป็นต้น ขณะเดียวกัน นอกจากการใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินงานแล้ว การติดตามข้อมูลความพึงพอใจอย่างต่อเนื่องก็เป็นสิ่งสำคัญในการรับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชนและนำไปปรับปรุงนโยบายหรือบริการต่อไปในอนาคต</p>
<p>นพ.จเด็จ กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน สปสช. มีนโยบายคืนข้อมูลแก่ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ โดยทุกภาคส่วนสามารถเข้าไปดูใน Dashboard เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ และทิศทางการออกแบบระบบข้อมูลกำลังเปลี่ยนไป ต่อไป สปสช. จะพยายามไม่สร้างข้อมูลเองหรือขอข้อมูลจำนวนมากจากหน่วยบริการ แต่จะเชื่อมต่อข้อมูลกับทุกคนและใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อการเบิกจ่ายเงินชดเชยค่าบริการ เช่น การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบบัตรทอง ปัจจุบันเป็น One stop service ไม่จำเป็นต้องหอบเอกสารมา สปสช. ได้เชื่อมข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสามารถดึงข้อมูลมาใช้ประกอบการพิจารณาขึ้นทะเบียนได้เลยทันที หรือ การเบิกจ่ายเงิน ก็พยายามลดจำนวนวันจากเดิม 1 เดือน เป็น 15 วันในปัจจุบัน และในอนาคตจะพยายามลดให้เหลือ 3 วัน/ครั้ง และที่ดีที่สุดคือวันต่อวัน </p>
<p>“ในอนาคต สปสช. จะพยายามทำทุกอย่างให้เป็นอัตโนมัติ เช่น เลิกให้โรงพยาบาลส่งข้อมูลมาเบิกจ่าย แต่จะไปดึงข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขที่มีการบูรณาการไว้แล้วมาใช้เบิกจ่าย ประชาชนแค่ใช้บัตรประชาชนใบเดียวในการรับบริการได้ทุกที่ โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลในระบบหลังบ้าน ขณะเดียวกันก็ยินดีเชื่อมต่อข้อมูลกับทุกๆหน่วยงานในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพในอนาคต”นพ.จเด็จ กล่าว</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106607
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - สปสช.เปิดเกณฑ์ตรวจคัดกรองยีนกลายพันธุ์ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมด้วยสิทธิบั
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 130 กระทู้ล่าสุด 23 สิงหาคม 2566 18:47:05
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สปสช. เพิ่มสิทธิแผ่นปิดกะโหลกศีรษะไทเทเนียมสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดสมอง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 106 กระทู้ล่าสุด 07 กันยายน 2566 06:20:41
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สปสช. จับมือไปรษณีย์ไทย จัดส่งน้ำยาล้างไตถึงบ้านในพื้นที่อุทกภัย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 63 กระทู้ล่าสุด 14 ตุลาคม 2566 01:00:56
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - บอร์ด สปสช. เพิ่มสิทธิบริการสร้างเสริมสุขภาพฯ กลุ่มผู้ต้องขัง 10 รายการ 
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 74 กระทู้ล่าสุด 08 พฤศจิกายน 2566 17:29:01
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สปสช.จัดหาวัคซีน HPV มะเร็งปากมดลูก 1.9 ล้านเข็ม เสริมแกร่งนโยบายรัฐบาล
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 93 กระทู้ล่าสุด 12 พฤศจิกายน 2566 11:56:25
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.131 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 14 เมษายน 2567 02:51:36