เมื่อทำได้แล้วจะเข้าใจได้ทันทีว่าคาถานี้ทำไมจึงมีชื่อว่า คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า
และ ให้ทรงมงกุฏพระพุทธเจ้านี้เอาไว้ตลอดเวลาเป็นการทรงอารมณ์ในพุทธานุสติกรรมฐาน
อ้างถึง
อิติปิโส วิเสเสอิ
อิเสเส พุทธะนาเมอิ
อิเมนา พุทธะตังโสอิ
อิโสตัง พุทธะปิติอิ
การสวดพระคาถานี้ ว่า ๓ จบ หรือ ๙ จบ
สำหรับอานิสงส์ของคาถานี้เป็น คาถาครอบจักรวาล
เรานำไปใช้ในทางกุศลได้ทุก ๆ เรื่อง
โดยมีประวัติของการใช้คาถานี้มายาวนาน ส่วนใหญ่ในราชสำนัก แม้แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ ๕
ท่านก็ทรง พระคาถานี้เป็นประจำมีที่ปรากฏเป็นปาฏิหาริย์ ครั้งที่ถูกทูตต่างประเทศนำม้าเทศตัวใหญ่แต่เป็นม้าพยศ
มาท้าให้ท่านทรง พระองค์ท่าน ได้ใช้พระคาถานี้เสกหญ้าให้ม้ากินก่อน ม้าตัวนั้นก็กลับเชื่องให้พระองค์ทรงม้าแต่โดยดี
เรื่องนี้ทำให้รัชกาลที่ ๖ ผู้ทรงสร้างพระบรมรูปทรงม้าถวายเสด็จพ่อของท่านได้ทรงแฝงนัยยะ
แห่งกฤษดาอภินิหารนี้เพื่อเทิดทูนพระคุณท่านเอาไว้
คราวนี้เรามาดูว่าเคล็ดในการว่าคาถาบทนี้กัน
หลักในการว่าคาถาให้มีความศักดิ์สิทธิ์นั้น มีพื้นฐานจาก " จิต " เป็นสำคัญ หากจิตมีสมาธิสูงตั้งมั่นคาถาก็ยิ่งทรงความศักดิ์สิทธิ์
ดังนั้นระหว่างที่ว่าคาถาให้ จับลมหายใจสบายพร้อม ๆ กับ การภาวนาคาถาบทนี้ เป็นขั้นที่ ๑ ระดับสูงกว่านี้
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ท่านใช้คาถาบทนี้โดยมีนิมิต กำกับคาถา โดยทรงพุทธนิมิต ไว้ดังนี้ โดยตั้งกำลังใจว่าเรา
ขอกราบอาธารณาบารมี พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเหนือเศียรเกล้าของข้าพเจ้าเพื่อปกปักรักษาคุ้มครองข้าพเจ้าด้วยเทอญ
จากนั้นสวดพระคาถา
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ "
เมื่อว่าคาถาจบ คาบที่ ๑
ก็กำหนดอาราธณาพุทธนิมิต อยู่เบื้องหน้า ของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตนี้เอาไว้
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิอิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ "
ว่าคาถาจบที่ ๒
ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์หนึ่ง อยู่เบื้องขวา ของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตทั้งหมดเอาไว้
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ "
ว่าคาถาจบที่ ๓
ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านหลัง ของศีรษะเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้
" อิติปิโสวิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ "
ว่าคาถาจบที่ ๔
ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านซ้าย และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ "
ว่าคาถาจบที่ ๕
ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์อยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้
" อิติปิโสวิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ "
ว่าคาถาจบที่ ๖
ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ ของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนาพุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ "
ว่าคาถาจบที่ ๗
ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ ของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนาพุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ "
ว่าคาถาจบที่ ๘
ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ของศีรษะของเรา
และทรงพุทธนิมิตเอาไว้ทั้ง ๘ พระองค์เรียงวนรอบศีรษะของเรา
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ "
ว่าคาถาจบที่ ๙
กำหนดพุทธนิมิตพระพุทธเจ้าองค์ใหญ่เสด็จประทับกึ่งกลางศีรษะเป็นยอดมงกุฎเปล่งประกายพรึก
ทุกๆพระองค์เป็นมงกุฎเพชรพระพุทธเจ้าทั้งเก้าพระองค์ บนเศียรเกล้าของเรา
เมื่อทำได้แล้วจะเข้าใจได้ทันทีว่าคาถานี้ทำไมจึงมีชื่อว่า คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า
และให้ทรงมงกุฎพระพุทธเจ้านี้เอาไว้ตลอดเวลาเป็นการทรงอารมณ์ในพุทธานุสติกรรมฐาน
คำแปลคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า
ขออัญเชิญคุณแห่งพระพุทธเจ้าอันวิเศษ
คุณแห่งกระแสพระนิพพานอันประเสริฐ
ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสรรเสริญแล้ว
จงเป็นมหาวิภูษิตาภรณ์ประดับด้วยมงกุฎทิพย์
และเครื่องทรงแห่งพระเจ้ามหาจักรพรรดิ
ครอบคลุมข้าพเจ้าตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ
ยอดคาถามหามนต์ จากตำราเก่า ตำราโบราณ
เรียบเรียงโดยเพจเรื่องเล่าชาวสยาม