[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 12:25:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ก่อนดอกทุเรียนจะบานที่ภาคตะวันออก กับปมปัญหา ‘ช้างซ้อนซ่อนรัฐ’  (อ่าน 48 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 09 มกราคม 2567 19:13:14 »

ก่อนดอกทุเรียนจะบานที่ภาคตะวันออก กับปมปัญหา ‘ช้างซ้อนซ่อนรัฐ’
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2024-01-09 16:42</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>พิชญ์สินี ชัยทวีธรรม : รายงาน</p>
<p>ภาพปก : ดอกทุเรียนพันธุ์พวงมณีที่กำลังจะผลิบานเตรียมติดดอกออกผลในช่วงหน้าร้อนที่จะมาถึงนี้</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>รายงานสัมภาษณ์พูดคุยกับประชาชนในพื้นที่ ชาวสวนทุเรียนที่ต้องเผชิญหน้ากับช้างอยู่บ่อยครั้ง อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่และภาคประชาสังคมที่ลุกขึ้นมาจัดการ นำเสนอปัญหาช้างบริเวณป่าภาคตะวันออกรวมทั้งเรียกร้องไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง</p>
<h3>“แต่เดิมเราก็ปลูกนาปลูกฝรั่งแต่พอมีช้างมามันก็กินหมดช้างชอบทางเดินเรียบเรียบอะไรที่มันเกะกะช้างก็ถอนทั้งหมดเช่นต้นไม้ที่เราปลูกก็เลยต้องเลิกปลูกไปหลายอย่าง” ศิริพรเล่าก่อนพาเข้าสวน</h3>

<p>ศิริพร วายร้อน เกษตรกรในตำบลกองดิน อำเภอแกลง จังหวัดระยองปลูกทุเรียนและทำยางพารา โดยวันนี้จะพาเราไปซ่อมท่อและดูเส้นทางการเดินของช้าง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข่าวเกี่ยวกับช้างบริเวณป่าภาคตะวันออกโดยเฉพาะเขาอ่างฤาไนช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา</span></h2>
<ul>
<li>28 ธ.ค.66 : ระทึก! ช้างป่าพุ่งชนรถคนเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนา เจ็บสาหัส, PPTV Online </li>
<li>26 ธ.ค.66 : ช้างป่าอ่างฤาไน 4 ตัว เข้าสวนชาวบ้านกลางดึก จ.ปราจีนบุรี, 77 ข่าวเด็ด </li>
<li>21 ธ.ค. 66 :  อดีต ส.อบต. วอน รบ.จัดการปัญหา ช้างเขาอ่างฤาไน เผยนาทีเผชิญหน้า ก่อนหนีเข้าป่าอ้อย, มติชนออนไลน์ </li>
<li>21 ธ.ค. 66 : ช้างป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนพุ่งชนจิตอาสาบาดเจ็บกลางดึก, อัมรินทร์ทีวี </li>
<li>10 ธ.ค. 66 : โขลงช้างป่า บุกไร่อ้อย จ.ปราจีนบุรี, ช่อง 7 </li>
<li>6 ธ.ค. 66 : ช้างป่าสีดอ บุกเข้าโรงเรียนที่อยู่ใกล้บริเวณสถานกักกันช้างป่า เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าอ่างฤาไน, ช่อง 7 </li>
<li>16 ธ.ค. 66 : ช้างป่าเขาอ่างฤาไน วิ่งไล่ทำร้ายลุงเฉียดตาย จ.ปราจีนบุรี, ช่อง 7 </li>
<li>5 ธ.ค.66 : โขลงช้างป่าเขาอ่างฤาไน บุกกินพืชไร่ชาวบ้าน, สำนักข่าวไทย </li>
<li>11 พ.ย.66 : ช้างป่าคลั่งเตะลุงกรีดยางซี่โครงหักสาหัส แตกโขลงจากเขาอ่างฤาไนมาไกลถึงทับลาน, มติชนออนไลน์ </li>
<li>1 พ.ย. 66 : ช้างป่ากระทืบ 2 ศพ ชาวบ้าน-เจ้าหน้าที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ-เขาอ่างฤาไน, ไทยรัฐออนไลน์</li>
</ul>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53125061440_2e8ea63a34_o.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ส.ส.ระยอง พรรคก้าวไกล อภิปราย รายงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในวาระเรื่อง ช้างป่าตะวันออก โดยตั้งคำถามถึงปัญหาของมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด และมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยชี้ประเด็นปัญหาผลกระทบชีวิตชาวภาคตะวันออก สะท้อนปัญหาความขัดแย้งระหว่างสัตว์ป่ากับคนและชุมชน เมื่อวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งภายหลังคำอภิปรายปรากฏแฮชแท็ค #ใต้เงาช้าง ติดเทรนด์ในทวิตเตอร์ ยอด 38k โพสต์ด้วย (อ่านเพิ่มเติมที่</span><span style="color:#e67e22;">ประชาไท</span><span style="color:#e67e22;">)</span></p>
<p>จากทั้งประเด็นข่าวที่ยังคงเกิดขึ้นในโอกาสนี้จึงขอชวนไปพูดคุยกับประชาชนในพื้นที่ อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่และภาคประชาสังคมที่ลุกขึ้นมาจัดการ นำเสนอปัญหารวมทั้งเรียกร้องไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ท่อแตก</span></h2>
<p>ศิริพร วายร้อนกับพี่ชายของเขาเล่าว่ากำลังซ่อมท่อสำหรับรถน้ำต้นทุเรียนในสวน ทุเรียนเป็นผลไม้ชื่อดังประจำจังหวัดระยองและต้องดูแลตลอดปีทำให้ต้องมีการรดน้ำและงดให้น้ำเพื่อให้ทุเรียนติดดอกออกผลในช่วงหน้าร้อน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53453012539_a725b41dde_b.jpg" /></p>
<p>“ท่อที่ขุดไว้ก็ขุดไว้ก็ลึก แต่ช้างก็ลงมาเดินในสวนแล้วก็เหยียบท่อแตกเป็นอย่างนี้ทุกปี เป็นหลายจุด ก็ซ่อมไปเรื่อยๆ” ศิริพรกล่าว</p>
<p>เธออธิบายว่าทุเรียนนอกจากต้องดูแลตลอดปี ทุเรียนก็เป็นของโปรดของช้างเพราะช้างจะใช้วิธีดันต้นหรือหักกิ่งเพื่อกินทุเรียนจากต้น ทำให้ต้องคอยลุ้นว่าแต่ละปีจะมีทุเรียนเหลือรอดจากช้างเท่าไร</p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53451768127_d7b61044fc_b.jpg" /></span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53452698706_06e5ba0013_b.jpg" /></span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพท่อที่แตกและขุดขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนท่อตัวใหม่</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">พวงมณีพันธ์พันธุ์นี้อร่อย</span></h2>
<p>“อย่างที่เห็นกิ่งทุเรียนอันนี้นอนอยู่ ช้างก็ใช้วิธีการดันให้ต้นล้ม ทุเรียนต้นนี้ก็ล้มไปก็ไม่มีรายได้จากทุเรียนต้นนี้” ศิริพรอธิบายว่าทุเรียนต้องใช้เวลาปลูกหนึ่งถึงหกปีจึงจะออกผลแต่เมื่อออกผลแล้วก็โดนช้างดันให้ต้นล้มทำให้ไม่สามารถมั่นใจกับทุเรียนของตัวเองได้ว่าในหนึ่งปีจะเหลือรอดไปขายช่วงหน้าร้อนกี่กิโลกรัม</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53451768112_e1e34368d8_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพต้นทุเรียนพวงมณีถูกล้มโดยช้าง ซึ่งเป็นเป็นอีกสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค</span></p>
<p>“เราก็ปลูกหมากด้วยแต่หมากบ้างต้นมันก็ถูกถอนออกไปโดยช้าง เขาก็ดันๆให้ล้มเพราะว่ามันเกะกะทางเดินเขา เพราะช้างเขามีขา เขาจะเดินไปไหนก็ได้ เดินไปทั่ว เดินอยู่รอบบ้านรอบสวนเรานี่ล่ะ”</p>
<p>ศิริพรเล่าว่าต้นหมากหนึ่งต้นออกลูกประมาณ 100 ลูกต่อครั้ง ซึ่งเธอสามารถเก็บไปขายได้อย่างน้อยลูกละ 1 บาทและหมากออกตลอดปี ก็เป็นรายได้อย่างหนึ่งที่สามารถหาได้ตลอดปี แต่บางต้นก็จะถูกช้างดันให้ล้มและไม่สามารถคาดคะเนได้ว่าวันไหนช้างจะล้มต้นไม้ต้นไหนในสวนหรือต้นไม้รอบบ้านของเธอได้</p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53453113950_8248b3053e_b.jpg" /></span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพต้นไม้ที่ถูกล้มโดยช้างลมทั้งต้นและรากของต้นไม้ก็ถูกยกขึ้นมาด้วย</span></p>
<p>“อย่าคิดว่าช้างกินเป็นแค่ทุเรียน เงาะ สับปะรด ช้างกินได้ทุกอย่าง เปลือกไม้ต้นยางพาราช้างก็ลอกเปลือกออกไป ทีนี้ต้นไหนโดนลอกเปลือก เราก็กรีดยางไปขายไม่ได้”</p>
<p>ศิริพรเล่าว่านอกจากจะปลูกทุเรียนแล้ว ยังทำสวนยางพาราแต่ก็ไม่สามารถกรีดอย่างได้ตามจำนวนต้นยางพาราที่ลงทุนไว้ได้ เพราะช้างลอกเปลือกต้นออกทำให้กรีดต้นยางไม่ได้หรือบางครั้งท่าช้างลอกเยอะมากเกินไปก็จะลอกไปถึงแกนต้นแล้วต้นก็จะยืนต้นตาย </p>
<p>“ช้างจะออกหากินช่วงกลางคืนถึงช่วงหัวเช้าซึ่งตรงกับเวลาที่เราต้องออกไปกรีดยาง ก็ต้องพาคนไปด้วย ต้องคอยช่วยกันดูว่าระหว่างที่เรากรีดมีช้างอยู่ใกล้ไหม ถ้ามีต้องรีบถอย วันนั้นยางได้แค่ไหนก็แค่นั้นอย่าไปอยู่ใกล้กับช้าง”</p>
<p>ต่อให้มีมาตรการในการประกันรายได้ยางพาราแต่ก็ไม่สามารถช่วยให้การกรีดยางของเกษตรกรรอบบริเวณเขาชะเมาสามารถมีรายได้ที่เสมอต้นเสมอปลายได้ เพราะหากออกไปกรีดยางแล้วเจอช้างก็ต้องหยุดแล้วกลับบ้านทันทีเพราะอาจเกิดอันตรายจากช้างได้</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53451768092_f262b24b9d_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพเปลือกยางพาราที่ถูกหลอกออกจากต้นยางพารา</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ที่นาเก่า</span></h2>
<p>“ที่เราเห็นอยู่เป็นหญ้ารกๆแต่ก่อนเป็นที่นาเก่า สมัยก่อนเราก็ทำนากันตรงนี้เพราะว่าตรงนี้เราก็ขุดบ่อน้ำไว้ผันน้ำเข้านา มีคูคลองรอบๆ เป็นที่ที่มีน้ำแล้วก็เหมาะกับการทำนามาก แต่ที่เห็นเป็นหลุมก็คือช้างเขาทำทางเดินไว้ให้เดี๋ยวเราก็จะเดินได้อยู่ในทางที่เขาทำไว้ให้เราเดิน”</p>
<p>ศิริพรอธิบายว่าแต่ก่อนบริเวณที่ดินรอบบ้านของเธอไม่ได้มีช้างแต่เพิ่งมามีช้างในภายหลัง ประมาณปี 2540-2547 ซึ่งช้างก็ชอบที่ดินของศิริพรเพราะว่าเป็นที่ที่มีน้ำมีโคลน เพราะเป็นที่ปลูกนา มีข้าวให้กิน ศิริพรก็เลยต้องเลิกทำนาและปล่อยให้ช้างพักผ่อนอยู่ในที่นาของตัวเองเพราะไม่สามารถทำอะไรช้างได้</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53452820523_e8ba02e747_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">รอยเท้าช้างในที่นาเก่าของศิริพร</span></p>
<p>“เราก็ไม่ต้องถางทาง เพราะช้างถางทางให้เราเดินแล้ว เราก็ได้แค่เดินเข้ามาดูที่ของเรา ทำอะไรไม่ได้แล้ว เต็มที่เราก็ปลูกบัวเพราะว่าปลูกบัวในคลองช้างเด็ดช้างดึง อย่างไรบัวมันก็ไม่ตาย ก็ได้แค่เก็บบัวไปขายในวันพระ ส่วนที่นาก็ปล่อยไปทำอะไรไม่ได้ช้างกินหมด”</p>
<p>ศิริพรเล่าว่าที่นาเก่าที่ช้างเข้ามาพักผ่อนมีประมาณ 20 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินเกษตรกรรมแต่ไม่สามารถทำนาหรือปลูกพืชพันธ์ุเกษตรกรรมอื่นได้เพราะช้างได้ยึดไว้แล้ว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53452820508_173b9130d2_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ดอกบัวในคูน้ำในที่นาเก่าของศิริพร</span></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53452820468_867d911625_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพทางเดินในที่นาเก่าของศิริพรที่ถูกถางโดยช้าง</span></p>
<h3>“ช้างเขาชอบทางเดินเรียบๆ ไม่ให้มีอะไรมาขวางทางอันไหนที่ช้างรู้สึกว่ามันเกะกะเขาก็ถอนออกหมด” ศิริพรกล่าว</h3>

<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53453113920_ef1ee94a04_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพบ่อน้ำที่อดีตใช้เก็บน้ำเพื่อผันน้ำเข้านาแต่ปัจจุบันช้างใช้เล่นน้ำแทนด้านหลังของบ่อน้ำเป็นป่าที่ครอบครัวของศิริพรดูแลไว้แลช้างเข้าไปอยู่อาศัย</span></p>
<p>“ตรงนี้คือบ่อน้ำที่แต่ก่อนเราใช้ผันน้ำเข้านา ด้านหลังก็จะเป็นป่าที่ครอบครัวเราปล่อยไว้ให้มันเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ของมัน ไม่ต้องเข้าไปยุ่ง ก็เลยเป็นที่อยู่อาศัยของช้างเพราะช้างเค้าชอบ” ศิริพรกล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ช้างอาบน้ำ</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53453113890_b74c645f1a_o.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"> <span style="color:#e67e22;">ภาพช้างเล่นน้ำ</span></p>
<p>“มาลุ้นกันว่าช้างออกมาเล่นน้ำที่อ่างเก็บน้ำแล้วจะเดินเข้าสวนบ้านใครต่อ”</p>
<p>ชาวบ้านจากตำบลน้ำเป็นและตำบลกองดิน ซึ่งอยู่รอบๆ อ่างเก็บน้ำเขาจุก เป็นอ่างเก็บน้ำที่ช้างออกมาเล่นน้ำต่างก็พากันออกมาดูช้างและคุยกันว่าวันนี้ช้างจะเข้าบ้านใคร</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ประกาศช้างตกมัน</span></h2>
<h3>“ชุดอาสาสมัครรักษาความปลอดภัยชหมู่บ้าน หรือ ชรบ.อาสาความปลอดภัยในหมู่บ้าน รักษาความปลอดภัยทุกอย่าง ช้างก็ด้วย” วิชัย แซ่ลี กล่าวแนะนำตัวเองก่อนที่จะเล่าเรื่องการทำงานผลักดันช้างเข้าป่า</h3>

<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53451767987_d6e0a0151c_o.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">แจ้งเตือนผ่านกลุ่มแชทในหมู่บ้าน</span> </p>
<p>“ทุกวันนี้เราทำกับเจ้าหน้าที่(จนท.)  เขาเรียกชุดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅใน ช่วยเฝ้าระวังเราก็ดักไม่ให้เข้าหมู่บ้าน ถ้าหากินธรรมดาก็ยืนเว้นระยะ 50 เมตร แต่ก่อนใช้ปืนยิงขึ้นฟ้าให้กลัว แต่เดี๋ยวนี้ช้างไม่ค่อยกลัวละ ก็เลยใช้เสียงแทน แต่เป็นช่วงตกมันต้องระวังเฝ้าเป็นพิเศษ เพราะจะมีคนได้รับบาดเจ็บ”</p>
<p>วิชัย แซ่ลี้ หนึ่งใน ชรบ. อ.แก่งหางแมวจ.จันทบุรี เล่าถึงวิธีการรักษาความปลอดภัยของชรบ. และอ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรีเป็นอีกหนึ่งเขตในภาคตะวันออกที่ได้รับผลกระทบจากช้าง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53452698556_07d10dd47c_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพช้างที่หลุดออกจากป่าเป็นประจำ ถ่ายโดย วิชัย แซ่ลี ออก.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี</span></p>
<p>“หากคนในหมู่บ้านพบเจอช้างเขาจะแจ้งในไลน์หมู่บ้านว่าวันนี้ช้างอยู่ตรงไหน รวมถึงจนท.อุทยานและป่าไม้ด้วย หรือบางทีเราเจอก่อนเราก็แจ้งไป จนท.จะมาผลักดันช้างเข้าป่า ถ้ากำลังคนไม่พอเขาจะขอชรบ.ไปช่วย วิธีการคือเราสร้างเสียงดัง  เปิดไฟแสงสว่างแต่ไม่ส่องตาข้าง เส้นทางไล่ก็จะเป็นอ่าง ต.เขากล้วย แก่งห่างแมว อ่างเก็บน้ำประแกด แล้วแต่ถ้าไม่มีอะไรรบกวนช้างก็อยู่หากินในพื้นที่นานๆ” วิชัยแซ่ลีเล่าถึงการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าอุทยานและเจ้าหน้าที่ป่าไม้</p>
<p>“ช้างเป็นสิ่งที่ไล่ยากที่สุด ถ้าไล่ไม่ไปก็ไม่ไล่ เราก็ต้องไปแทน ไม่อย่างนั้นช้างจะหงุดหงิด มันก็จะวิ่งใส่เรา เช่น มีบ้านนึงลูกช้างเข้าไปรื้อครัว 2 ตัว เละเทะหมด” วิชัยอธิบายว่า การทำงานผลอัญชันเข้าป่าจะต้องมีระยะห่างกับช้างหากได้ลองใช้ไฟในการไล่และใช้เสียงดังดังในการไล่แล้วช้างไม่ยอมเข้าป่าเจ้าหน้าที่และชรบ.จะเป็นฝ่ายถอยออกมาเอง เพราะหากยังทำการผลักดันต่อไปจะเป็นการยั่วยุให้ช้างอารมณ์เสีย หงุดหงิด และอาจเกิดผลกระทบที่แย่ลง เช่นการทำลายข้าวของ หรือการวิ่งเข้าใส่อาสาสมัครและผู้ปฏิบัติงานผลักดันช้างเข้าป่าแทน</p>
<p>“เดี๋ยวนี้ไม่ต้องพกปืนละ ไล่ก็ไป เพราะถ้าไล่ไม่ไป เดี๋ยวนี้แตกฝูง พอเขาหากินในอ่างเสร็จเขาก็แยกกลุ่ม เป็นกลุ่มเล็กลงทำให้มีหลายกลุ่ม ทีนี้ก็ว้าวุ่นเลย จำนวนคนทำงานจริง 5-6  ปริมาณช้างไม่ลด เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ว้าวุ่นมากเลย” วิชัยกล่าวทิ้งท้าย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ติดจีพีเอสตามช้าง</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53451767972_d3bebdb974_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ณัฐวุฒิ กองสัมฤทธิ์ ปัจจุบันตำแหน่งบุคคลภายนอกปฏิบัติงานช่วยราชการ </span></p>
<p>ณัฐวุฒิ กองสัมฤทธิ์ บุคคลภายนอกปฏิบัติงานช่วยราชการ ตำแหน่ง อนุรักษ์ป้องกัน และรักษาป่า ประจำชุดลาดตระเวนSmart Patrol2. อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง อีกหนึ่งบุคคลที่ทำหน้าที่ผลักดับช้างกลับเข้าสู่พื้นที่อุทยาน </p>
<p>“มันเป็นวาระแห่งชาติที่ผ่านมามีการวางโมเดลโดยอธิบดีกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืชวางโมเดลป่ารอยต่อ 5 จังหวัด จัดชุดเคลื่อนที่เร็วช้างป่า แต่ผมได้ออกจากชุดนั้น ตอนนี้หน้างานคือสายตรวจ เพื่อช่วยแก้ปัญหาช้างป่าที่มีผลต่อชาวบ้านในพื้นที่” ณัฐวุฒิ กล่าว</p>
<p>ณัฐวุฒิ เล่าว่า ในอดีตช่วงที่ต้องได้ทำงานเต็มที่เร็วช้ากว่าจะปฏิบัติงานกันช่วงเวลา 5 โมงเย็นเป็นต้นไปและสแตนด์บาย 24 ชั่วโมง เพราะช่วง 5 โมงเย็นไปจนถึงช่วงกลางคืนและหัวเช้าจะเป็นช่วงเวลาที่ช้างออกหากิน</p>
<h3>“ช้างเวลาที่เขารู้สึกไม่ปลอดภัยเค้าจะยืนตรงต้นไม้แล้วก็นอนใช้เวลานานไม่นานประมาณ 3 ชั่วโมง”</h3>

<p>ณัฐวุฒิ เล่าว่าจะเคลื่อนที่เร็วเมื่อมีประชาชนหรือชาวบ้านในพื้นที่แจ้งมาว่าพบเจอช้าง เคลื่อนที่เร็วก็จะออกไปผลักดันช้าง ซึ่งเจ้าหน้าที่ชุดนี้จะได้รับการฝึกอบรมในการดูอารมณ์ช้างแล้วก็ปฏิบัติกับช้างเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อทีมงาน และไม่ให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและพื้นที่บริเวณรอบข้าง </p>
<p>“แต่การผลักดันช้างก็เป็นการลดความเสียหายให้ได้มากที่สุดแต่จะไม่เกิดเลยเป็นไปไม่ได้ครับ” ณัฐวุฒิ เล่าว่า ช้างเป็นสัตว์ใหญ่และมีวัฒนาการที่ดีมาก เช่น การเรียนรู้ว่าฤดูกาลไหนจะมีผลไม้ออกและเป็นผลไม้อะไร ในบริเวณไหน นอกจากนั้นแล้วช้าง ยังมีพัฒนาการด้านการกิน โดยการที่ช้างลอกเปลือกต้นไม้ เช่น ต้นทุเรียน ต้นยางพารา ณัฐวุฒิ ได้ลองลงพื้นที่และชิมบริเวณที่ทางลอกเปลือกต้นไม้ออกไปและพบว่ามันเป็นท่อนำเลี้ยงของต้นไม้และมีรสหวาน เป็นตัวอย่างพัฒนาการของช้าง</p>
<p>“ช่วงก่อนหน้านี้ที่ผมยังปฏิบัติงานอยู่ในหน้างานเก่า ผมจะติดตามช้างชื่อเจ้ามะม่วง” ณัฐวุฒิเล่าว่ามะม่วงเป็นช้างที่ไม่ค่อยดุมีการติดปลอกคอติดตามตัวเรียบร้อยแล้ว </p>
<p>“พฤติกรรมบางอย่างของช้างเปลี่ยนไปเพราะการกระทำของมนุษย์เช่นการที่บางคนชอบทำคอนเทนท์ลงในโซเชียล อย่างเจ้ามะม่วงจะเป็นช้างที่ชอบเดินเข้าบ้านคนไปเปิดหม้อหุงข้าว” ณัฐวุฒิ อธิบายว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากมนุษย์ทำให้ช้างรู้จักอาหารที่เราทำสุกไว้แล้ว ดังนั้นช้างจะรู้จักข้าวที่หุงแล้วและเครื่องปรุงต่างๆ เลยทำให้ช้างไม่ออกไปหาแร่ธาตุในโป่งตามป่าเหมือนอดีต เพราะพอรู้จักการเข้าบ้านคน ก็ทำให้ช้างสบายกว่าก็เลยไม่เข้าป่า รื้อค้นบ้าน</p>
<p>“ลองติดตามดูในคอนเทนท์โซเชียลมีเดียจะมีกลุ่มคนบางประเภทที่ชอบซื้อข้าวซื้ออาหารไปให้ช้างเพื่อทำคอนเทนท์และเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้พฤติกรรมของช้างเปลี่ยนไป” ณัฐวุฒิ กล่าว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53451767962_f37f1a22c4_o.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ณัฐวุฒิ กองสัมฤทธิ์ เมื่อครั้งตอนเป็นชุดเคลื่อนที่เร็วช้างป่า</span></p>
<p>“ความกดดันและความเครียดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ช้างทำร้ายมนุษย์เพราะช้างเป็นสัตว์กินพืชไม่ใช่สัตว์กินเหนือ” ณัฐวุฒิ เล่าว่าบางครั้งการใช้พลุจุดไล่ช้างทำให้ช้างอารมณ์เสียจากที่แรกและเดินไปหาที่ใหม่และเป็นบ้านคนหลังที่สองแล้วถูกกระตุ้นอีกก็ทำให้เกิดความเครียดทำให้ช้างมีพฤติกรรมก้าวร้าว </p>
<p>“เคสที่ผลักดันช้างเข้าป่ายากสำหรับตัวผมไม่มีแต่สิ่งที่ทำให้ยากคือปัจจัยหรือสิ่งเร้า เช่นคนดู กองเชียร์ นั่นเป็นครั้งล่าสุดที่ผมผลักดันทางเข้าป่าและกระดูกเท้าเกิดรอยร้าว” ณัฐวุฒิ เล่าว่าวันที่ 23-26 มิถุนายน 2566 บริเวณที่เกิดเหตุคือ ข้างการไฟฟ้าอำเภอแกลง จังหวัดระยอง พื้นที่บริเวณนั้นเป็นพื้นที่ที่มีน้ำเพราะเป็นนากุ้งเก่า</p>
<p>“เราผลักดันช้างสองตัว มีตัวใหญ่เป็นพี่เลี้ยงและมีตัวเล็กที่บาดเจ็บอยู่ เราก็ผลักดันเขาตามเส้นทางที่เราวางแผนไว้ มีหญ้า มีน้ำให้ช้าง แต่มันมีสิ่งเร้าอยู่ฝั่งตรงข้ามของบ่อน้ำ มีคนอยู่เยอะกว่าฝั่งเรา ช้างก็เลยเดินกลับมาทางฝั่งเรา พอช้างเริ่มใจเย็น ก็เป็นเวลาประมาณ 6 โมงเย็นมีชาวบ้านฉายไฟเข้าตาช้าง ช้างก็เลยเกิดความเครียดแล้วก็วิ่งไล่ ตามกฎหมายแล้วอาวุธที่เราสามารถใช้ในการผลักดันได้ก็คือการใช้ปืนยิงลงพื้นดินเท่านั้น แต่รอบนี้ช้างก็ยังวิ่งไล่อยู่เกิน 200 เมตรซึ่งปกติจะไม่เกิน 200 เมตรแต่ครั้งนี้วิ่งถึงประมาณ 300 เมตร วิ่งตามไม่หยุดและเป็นนากุ้งเก่า ช้างเขาไม่สะดุดหรอกแต่เป็นผมเองที่สะดุด เป็นการผลักดันดันช้างที่ทำให้ผมเกิดอุบัติเหตุ กระดูกร้าวครับ”</p>
<p>ณัฐวุฒิ เล่าว่าได้ใช้ประกันชีวิตที่ตัวเองทำไว้ส่วนตัวในการดูแลตัวเองเป็นคนพิการให้ตัวเองเพราะยังไม่ใช่ข้าราชการที่ถูกบรรจุอยู่ในระบบจึงยังไม่มีปฏิการและข้าราชการแม้จะปฏิบัติงานเป็นอาสาสมัครให้กับทางราชการก็ตาม</p>
<p>ข้อเสนอจาก ณัฐวุฒิ กองสัมฤทธิ์ เป็นข้อเสนอเพื่อให้การทำงานผลักดันเช้ามีประสิทธิภาพและเกิดความปลอดภัยต่อทั้งคนและสัตว์ </p>
<ol>
<li>สิ่งขาดแคลนและทำให้เจ้าหน้าต้องใช้เงินส่วนตัวคือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานหน้างานได้รับค่าตอบแทนที่น้อยและไม่เพียงพอ อยากให้สนับสนุนงบประมาณในการดูแลให้เจ้าหน้าที่มีเงินในการดูแลตัวเองจากหน้างานนี้ และอุปกรณ์ในการติดตามตัวช้างและผลักดันช้างเข้าพื้นที่ป่า</li>
<li>สวัสดิการชดเชยค่ารักษาเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่เข้ามาช่วยผลักดันช้างเข้าป่า อยากให้ครอบคลุมถึงอาสาสมัคร บาดเจ็บจนถึงการเสียชีวิต</li>
<li>มีการจัดอบรมผลักดันช้างให้อาสาอย่างถูกต้อง</li>
<li>อนุญาตให้ใช้ยาทำหมันช้าง เพื่อควบคุมปริมาณช้างในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด</li>
</ol>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัฐซ้อนซ่อนช้าง</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53453113795_3f01afe536_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ตาล วรรณกูล ผู้ประสานงาน ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่าตะวันออก</span></p>
<p>ตาล วรรณกุล เล่าถึงปรากฏการณ์เรื่องช้างว่าตั้งแต่ปี 2561 เกิดปรากฎการณ์แทรกแซงจาก 2 หลุ่มหลักๆ</p>
<ol>
<li>มูลนิธิป่า 5 รอยต่อห้าจังหวัดภาคตะวันออก โดยมี พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณเป็นกรรมการมูลนิธิ </li>
<li>มูลนิธิด้านช้างป่าที่ไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้ โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการชั้นสูงเข้ามาเป็นกรรมการ</li>
</ol>
<p>“การดำเนินงานของทั้งสองมูลนิธิมีอำนาจมากเกินไป หากจะอ้างว่าสรรพกำลังของหน่วยงาน บูรณาการปัญหาช้างป่า โดยนำคนที่ทำงานราชการชั้นสูงและมีอำนาจมาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร” นายตาล วรรณกุล อธิบายว่าทั้งสองมูลนิธิสามารถเรียกหน่วยงานรัฐมาทำงานในพื้นที่ เช่น กระทวงพัฒนาสังคม (พม.) เข้ามาทำโครงการสร้างอาชีพอื่นๆในพื้นที่ 5 จังหวัด เช่น การทำน้ำผึ้ง การทอผ้า หรืออาชีพอื่นๆที่ไม่ใช่เกษตรกรรมตามที่คนในพื้นที่ทำกันมาโดยตลอด ซึ่งเมื่องบประมาณในแต่ละปีถูกดึงมาใช้จากกระทวงต่างๆและหน่วยงานของรัฐมาทำกิจกรรมในพื้นที่ เมื่องบประมาณหมด กิจกรรมก็ไม่ได้ดำเนินการต่อ </p>
<p>“การจัดการช้างป่าทำโดยรัฐที่เป็นรัฐบาลจริงๆ ไม่ใช่อำนาจซ้อนจากมูลนิธิที่มีผู้มีอำนาจนั่งเป็นกรรมการ รัฐบาลมีอำนาจทำได้ แต่เงื่อนไขยิบย่อยตามรัฐธรรมนูญ 2560 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทำให้ยากต่อการดำเนินงาน”</p>
<p>นายตาล วรรณกุลอธิบายถึงความซับซ้อนในการแก้ปัญหาช้างป่า โดยมีเงื่อนไขระบุไว้ในกฎหมายว่า ในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพนอกถิ่นที่อยู่อาศัยจะต้องไม่กระทบคนหรือชุมชน </p>
<p>“องค์กรหรือมูลนิธิที่เข้ามาก็มีวิสัยทัศน์ว่า การอยู่ร่วมกับช้างอย่างปลอดภย ซึ่งตรงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และเป็นช่วงทีเขียนยุทธศาสตร์ชาติเสร็จเรียบร้อยแล้ว” ตาล กล่าวและระบุว่า การจัดการช้างป่าภาคตะวันออกมีความซับซ้อนในทางกฎหมาย และมีองค์กรภาครัฐ และมูลนิธิที่มีวิสัยทัศน์เรื่องการอยู่ร่วมกับช้างป่าอย่างปลอดภัยเข้ามาทำงานในพื้นที่ป่าภาคตะวันออก โดยดำเนินงานและโครงการต่างๆให้ชุมชนและประชาชนอยู่ร่วมกับช้าง ซึ่งช้างก็เข้าไปอยู่ในพื้นที่ปลูกเกษตรกรรมของประชาชน </p>
<p>“5-6 ปีมานี้ยอดผู้เสียชีวิตจากช้างป่าปี 2561 ทั้งหมด 11คน และในปี 2565 อยู่ที่ 25 คน มันเป็นความย้อนแย้งของการทำงานโดยหน่วยงานรัฐและมูลนิธิต่างๆในพื้นที่นี้ว่า ช้างอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างปลอดภัย สงบสุข มันเป็นเพียงการเลี้ยงไข้เอาไว้หรือไม่” ตาล กล่าว พร้อมระบุถึงปัญหาช้างป่าภาคตะวันออกว่าเป็นการแก้ปัญหาเพื่อเลี้ยงปัญหา ไม่ได้ทำให้ปัญหาช้างกับชุมชนหายไปได้ โดยการแทรกแซงของมูลนิธทั้งสองแห่ง รวมถึงหน่วยงานรัฐที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับทั้งสองมูลนิธินี้ว่าเป็นการแทรกแซงเพื่อสร้างผลงานและใช้งบประมาณไปโดยไม่ได้แก้ปัญหาได้จริงหรือไม่</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ช้างป่าและรัฐซ้อนรัฐ</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53452698511_215d112e09_b.jpg" /></p>
<p>ตาล ได้เสนอมุมมองต่อการแก้ปัญหาช้างว่ามีอยู่สองมิติ </p>
<ol>
<li>เชิงพื้นที่ เช่นการออกปฏิบัติการผลักดันช้างเข้าป่า การจัดการพื้นที่เพื่อเป็นที่รองรับที่เหมาะสมต่อประชากรช้างป่าหรือ Carrying capacity รวมถึงการจัดการชุมชน การทำรั้วและแนวกำแพงต่างๆ </li>
<li>เชิงโครงสร้าง มองผ่านการกระจายอำนาจ ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการพื้นที่ด้วยการที่ส่วนกลางถ่ายโอนำอนาจบางอย่างลงมาเพื่อให้พื้นที่สามารถจัดการของพื้นที่เอง เป็นการแก้แบบกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีอำนาจออกแบบชีวิตตนเองได้ </li>
</ol>
<p>ตาล เสริมว่าหากมองผ่านกฎหมาย พ.ร.บ.สภาตำบลก็จะพบว่าการที่ท้องถิ่นจะดำเนินการอะไรก็ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน </p>
<p>“ปัจจุบันประชามติถือเป็นเพียงสวนหนึ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่เป็นแค่พิธีกรรม” ตาลกล่าวและอธิบายว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกแบบพื้นที่ต้องมีขั้นตอน เพื่อให้เกิดการออกแบบท้องถิ่นด้วยประชาชนจริงๆ ไม่ใช่แค่เพียงพิธีกรรม</p>
<ol>
<li>ร่วมคิด และออกแบบวิธีการแก้ปัญหาในพื้นที่โดยมีส่วนร่วมกับประชาชนในท้องถิ่น</li>
<li>ร่วมวางแผน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจกปรชาชนในพื้นที่ว่าจะแก้ปัญหาเรื่องในพื้นที่ตนเองอย่างไร</li>
<li>ตัดสินใจอย่างมีส่วนร่วมกับประชาชน เพื่อให้เกิดการปฎิบัติงานในพื้นที่</li>
<li>ประชาชนมีส่วนร่วมการปฏิบัติงานหรือดำเนินงานใดๆ ปกติการผลักดันช้างก็มีความร่วมมือของประชาชนอยู่แล้ว แต่ที่ผ่ามาก็เป็นเพียงพิธีกรรม</li>
<li>การมีส่วนร่วมเรื่องการได้รับผลประโยชน์ทั้งเชิงลบ เชิงบวก กับประชาชน</li>
<li>การตรวจสอบต่างๆ ก็ต้องเกิดการมีส่วนวร่วมให้ประชาชนสามารถประเมินผล ตรวจสอบแผนการจนถึงสิ้นสุดการดำเนินงานในขั้นตอนต่างๆได้จนจบ </li>
<li>ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลเพื่อจะได้ออกแบบกันต่อไปในการแก้ปัฐหาในท้องถิ่น</li>
</ol>
<p>“ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาเรื่องช้าง ประชาชนมีส่วนร่วมด้วยการไปเป็นอาสาสมัคร แต่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการคิด ออกแบบ วางแผนร่วมกับเจ้าหน้าที่ มีบทบาทเพียงแค่ปฏิบัติงานในพื้นที่บ้านตนเองอย่างเดียว” ตาล กล่าว และอธิบายถึงการออกปฏิบิติการผลักดันช้างป่าเข้าพื้นที่ป่าในภาคตะวันออกว่าการคิด วางแผนก่อนออกปฏิบัติงานไม่ได้มีส่วนร่วมจากประชาชน และงบประมาณก็ไม่ได้ถูกออกแบบผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ จึงไม่ใช่การกระจายอำนาจ</p>
<p>“การตรวจสอบ ถ่วงดุลหน่วยงานราชการที่ประชาชนต้องทำงานร่วมด้วย ทุกวันนี้ประชาชนก็ไม่ได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ หรือ การทำพื้นที่แนวกันชนระหว่างเขตชุมกับเขตป่าอนุรักษ์(Buffer zone ) ระหว่างพื้นที่ป่าอนุรักษ์กับป่าชุมชน ประชาชนก็ไม่ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบ” ตาล กล่าว พร้อมยกตัวอย่างถึงการกระจุดอำนาจไว้ในมือของรัฐ ทำให้ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการจรวจสอบการทำงานและการออกแบบพื้นที่ของชุมชน ซึ่งหากช้างป่าจะออกจากเขตป่าอุทยาน จะมีการทำพื้นที่แหล่งอาหารหรือ Buffer zone เพื่อชะลอช้างไม่ให้เข้าไปใกล้ชุมชน </p>
<p>“ทั้งหมดที่ผ่านมาการมีส่วนร่วมกับประชาชนล้วนเป็นพิธีกรรม โดยเฉพาะ Buffer  zone โดยการจัดงานอีเว้นท์ขึ้นมาและชวนคนเข้ามาช่วยปลูกต้นไม้ คำถามคือพื้นที่ Buffer zone เกิดขึ้นมาจากการการออกแบบร่วมกับประชาชนตรงไหน แบบการพาคนไปปลูกต้นไม้เช่นนี้ ไม่ใช่ออกแบบร่วมกับประชาชน” ตาล กล่าวและยกตัวอย่างพื้นที่ที่จัดทำ Buffer zone</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53453113790_7edb6ab32e_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพรายงานพื้นที่ที่มีการปลูกพืชอาหารให้ช้างป่า จากโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานประจำเดือนเมษายน ณ วันที่ 9 พ.ค.2564</span></p>
<p>“ตัวอย่างพื้นที่ Buffer zone สระวราวุธกับสระจตุพร ในพื้นที่อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา อยู่ในเขตป่าสงวน มีการปลูกพื้นที่แหล่งอาหาร 2 แห่ง รวมประมาณ 339  ไร่ แต่กระบวนการมีส่วนวร่วมก็ไม่ได้เกิดขึ้น เป็นเพียงพิธีกรรม เช่น จัดอีว้นท์พัฒนาแหล่งน้ำให้ช้าง ปลูกพืชอาหารให้ช้าง ประชาชนก็มีส่วนร่วมแค่ลงมือทำ แล้วก็ถ่ายรูปเป็นผลงานว่ามีส่วนร่วมกับประชาชน แค่นั้น”</p>
<p>ตาล อธิบายว่าการบริหารจัดการช้างป่า ต้องจัดการที่อำนาจ ให้ประชาชนต้องมีอำนาจในการตรวจสอบ ไม่ใช่คิดทุกอย่างจากหอคอยงาช้างแล้วสั่งการลงมาให้พื้นที่ทำ เพระหากไม่กระชายอำนาจให้ประชาชนบริหารท้องถิ่นตัวเองได้ </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53453012364_099b4e4ed9_b.jpg" /></p>
<p>“ปัญหาเรื่องช้างป่าจะไม่มีวันแก้ได้สำเร็จ เพราะคนออกแบบไม่ได้อยู่กับปัญหา มันจึงต้องเป็นอำนาจของประชาชนในการคิดออกแบบแก้ปัญหา บริหารพื้นที่ตนเอง และตรวจสอบ ถ่วงดุลอำนาจรัฐได้”</p>
<h3>“การกระจายให้ท้องถิ่น ให้ประชาชนมามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาช้างป่าให้มากที่สุด” ตาล กล่าวทิ้งท้าย</h3>

<p><strong>เอกสารอ้างอิงเพิ่มเติม : </strong></p>
<ul>
<li>ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ช้างป่าตะวันออก (Eastern Elephants Education Center – EEEC)  https://elephasedu.wordpress.com/</li>
<li>รายงานผลการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่าพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก : พื้นที่จังหวัดชลบุรี https://chumchon.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/106/2021/09/รายงานผลการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป_compressed.pdf</li>
<li>โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ รายงา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 402 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 417 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 318 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 318 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 241 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.001 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 06 พฤษภาคม 2567 23:24:00