[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 พฤษภาคม 2567 18:11:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ‘บึงห้วยโจด’ เมื่อแหล่งน้ำธรรมชาติกลายเป็นบ่อบำบัดน้ำเสีย  (อ่าน 96 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 05:24:07 »

‘บึงห้วยโจด’ เมื่อแหล่งน้ำธรรมชาติกลายเป็นบ่อบำบัดน้ำเสีย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-12-20 18:17</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ตติยา ตราชู รายงาน/ถ่ายภาพ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>บึงห้วยโจด ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสาธารณะกว่า 600 ไร่ ที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ในอดีตเคยเป็นแหล่งหาปลาของชาวบ้านและแหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูก ได้กลายเป็นที่ทิ้งน้ำบำบัดจากโรงงาน ก่อนที่จะระบายลงแม่น้ำพองอีกทีหนึ่ง ในช่วงปี 2535-2541 เคยเกิดมลพิษน้ำเสียจนทำให้ปลาตาย หน่วยงานราชการต้องสั่งปิดโรงงานเพื่อให้แก้ไขหลายครั้งก่อนกลับมาเปิดโรงงานใหม่ และปัญหาคุณภาพน้ำกลายเป็นปัญหายืดเยื้อเรื้อรังในพื้นที่มาถึง 37 ปีแล้ว</li>
<li>ขณะเดียวกันบึงห้วยโจด ยังอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน ในขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเทศบาลตำบลกุดน้ำใส ไม่ใช่หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง</li>
<li>เมื่อเกิดปัญหาขึ้นเทศบาลตำบลกุดน้ำใสจึงทำได้เพียงเฝ้าระวัง และตรวจสอบอาคารสถานประกอบการให้เป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังต้องเฝ้าระวังไม่ให้ดินตะกอนใต้บึงห้วยโจดที่มีปริมาณสารเคมีตกค้างปนเปื้อน ฟุ้งกระจายออกสู่ลำน้ำพอง จนก่อปัญหามลพิษทางน้ำ #ท้องถิ่นสร้างสื่อสอบ</li>
</ul>
</div>
<p>“คุณ (โรงงาน) โชคดีนะ ที่มาอยู่ตรงนี้ เพราะคุณมีบ่อพักน้ำเสียโดยธรรมชาติรองรับไว้แล้ว ก่อนที่จะลงแม่น้ำพอง…เพราะเขาเอา(น้ำเสีย) ไปใช้ในพื้นที่โปรเจ็กกรีน คือเอาธรรมชาติไปบำบัด” ภราดร ศรีโพธิ์ นายกสมาคมรักษ์สิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำพองเพื่อคุณภาพชีวิต กล่าวอย่างรวบยอดเพื่ออธิบายถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ ฟินิคซ์ ในจังหวัดขอนแก่น </p>
<p>ข้อความที่ฟังดูเหมือนการประชดประชันเช่นนี้บอกให้รู้ว่า บึงห้วยโจด ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสาธารณะตั้งอยู่ที่ ตำบล กุดน้ำใส อำเภอ น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ ที่ในอดีตเคยเป็นแหล่งหาปลาของชาวบ้าน และแหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูก ได้กลายเป็นที่ทิ้งน้ำจากระบบบำบัดของโรงงาน ก่อนที่จะระบายลงแม่น้ำพองอีกทีหนึ่ง จนกลายเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อเรื้อรังมานานนับถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลาถึง 37 ปีแล้ว</p>
<p>โรงงานผลิตเยื่อกระดาษของบริษัทฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่บนพื้นที่ 1,065 ไร่ในเขตตำบาลกุดน้ำใส อำเภอน้ำพอง เริ่มก่อร่างสร้างตัวขึ้นในเขตอำเภอน้ำพองเมื่อปี 2518 ทำการก่อสร้างตัวโรงงานจนสามารถเดินเครื่องทำการผลิตได้ในปี 2525 แต่หลังจากนั้นอีกเพียง 4 ปี เริ่มพบปัญหาสิ่งแวดล้อมเมื่อแม่น้ำเกิดเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น สัตว์น้ำล้มตายเป็นเบือ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53409752156_ed8bcdb6b6_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">สาคร ประสา ชาวบ้านห้วยโจด</span></p>
<p>สาคร ประสา ชาวบ้านห้วยโจดเล่าว่าเมื่อครั้งชาวบ้านยังใช้น้ำจากบึงเพื่อทำนา คุณภาพน้ำยังพอหาปลาได้ จนเมื่อโรงงานปล่อยน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วมาที่บึงห้วยโจด “น้ำมีกลิ่นแรง ซึ่งเขาได้รับอนุญาต มีเครื่องมือวัดค่าคุณภาพน้ำติดตั้งตรงสะพาน”</p>
<p>“พ่อแม่เคยหาปลาในบึงโจด เดี๋ยวนี้ไม่ทำแล้ว เพราะมีผักตบชวาเยอะกว่าเดิมและน้ำไม่ดี เกิดจากการทับถมของผักตบชวาและโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียลงมา” วรากร เสาศิริ ชาวบ้านบ้านห้วยโจดอีกคนหนึ่งเล่า</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53409752116_8637790d83_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">เครื่องวัดคุณภาพน้ำตั้งอยู่บริเวณริมบึงห้วยโจด แสดงค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) และปริมาณค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำ (ตติยา ตราชู/ถ่ายภาพ)</span></p>
<h3><span style="color:#2980b9;">โรงงานที่ถูกปิดถึง 3 ครั้งยังอยู่ได้</span></h3>
<p>โรงงานผลิตเยื่อกระดาษของบริษัทฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด น่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมบ่อยครั้งแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนับแต่เริ่มการผลิตเมื่อเกือบ 4 ทศวรรษก่อน</p>
<p>โรงงานแห่งนี้ถูกสั่งปิดครั้งแรกในเดือน เมษายน 2535 เนื่องจากขยายกำลังผลิตจนไม่สามารถบำบัดน้ำเสียได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ทำให้น้ำมีค่ามลพิษสูง ครั้งที่สองในเดือนพฤษภาคมปีถัดมาต้องหยุดการผลิตเพื่อปรับปรุงระบบน้ำเสียหลังจากที่ละเมิดการปล่อยน้ำเสียตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จนเป็นเหตุให้ปลาตายตั้งแต่บึงโจดจนถึงฝายชลประทานหนองหวายยาวถึง 15 กม.
ครั้งที่ 3 ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2541 - มกราคม 2542 ถูกสั่งปิดเนื่องจากตรวจพบความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปล่อยน้ำเสียซึ่งทำความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังอย่างมาก และที่สำคัญคือโปรเจ็กกรีน ซึ่งเป็นการใช้แปลงปลูกยูคาลิปตัสเป็นที่รองรับน้ำเสียจากโรงงาน ที่เคยใช้เป็นข้ออ้างว่าจะสามารถแก้ปัญหาน้ำเสียได้จนทางการยอมให้โรงงานฟินิคซขยายกำลังการผลิตเป็น 200,000 ตันต่อปี กลับสร้างปัญหาเสียเอง</p>
<p>ภราดร ศรีโพธิ์ นายกสมาคมรักษ์สิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำพองเพื่อคุณภาพชีวิต กล่าวว่าเหตุผลสำคัญที่สุดในการสั่งปิดโรงงานครั้งที่ 3 นั้นเนื่องมาจากโครงการโปรเจ็กกรีนซึ่งน่าจะเป็นตัวช่วยแก้ไขปัญหาแต่สุดท้ายน้ำจากโปรเจ็กกรีนนั่นเองได้ไหลซึมออกมาสู่ลำน้ำพองจนน้ำเสีย</p>
<p>แต่ใช่ว่าการสั่งปิดโรงงานถึง 3 ครั้งแล้วจะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด เพราะหลังจากนั้นประชาชนในท้องถิ่นยังคงรวมตัวกันร้องเรียนต่อกระทรวงอุตสาหกรรมอีกบ่อยๆ เช่น ในปี 2544 ชาวบ้านจากอำเภอน้ำพองต้องเดินทางเข้าไปประท้วงที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเรียกร้องให้ทางการยกเลิกโครงการโปรเจ็กกรีนเสีย เพราะยังปรากฏว่ายังมีน้ำเสีย ส่งผลกระทบต่อการทำการเกษตร และปลาที่เลี้ยงในกระชังตาย ได้รับความเสียหาย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53409833481_4f4554700b_k.jpg" /></p>
<div class="summary-box">
<h3><span style="color:#2980b9;">ตำนานการปิดโรงงานฟินิคซ</span></h3>
<ul>
<li>27 เมษายน 2535 ศักดา อ้อพงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น มีคำสั่งปิดโรงงานเยื่อกระดาษฟินิคซ เป็นเวลา 60 วันอันเนื่องมาจากการขยายกำลังการผลิตให้ได้ถึง 100,000 ตันต่อปี ทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียไม่สามารถรองรับได้ตามมาตรฐานที่กำหนด น้ำทิ้งมีปริมาณมากและมีความสกปรกสูง เป็นเหตุให้น้ำในบึงโจด ห้วยโจด และ แม่น้ำพองเน่าเสีย จนไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้</li>
<li>29 พฤษภาคม 2535 ปลอดประสพ สุรัสวดี แจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทฟินิคซ ในข้อหาปล่อยวัตถุมีพิษลงในแหล่งจับสัตว์น้ำ และ ทำการเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำ ศาลมีคำพิพากษาในวันที่ 26 เมษายน 2536 สั่งปรับบริษัท 20,000 บาท แต่เนื่องจากรับสารภาพจึงลดให้กึ่งหนึ่งเหลือ 10,000 บาท</li>
<li>24 พฤษภาคม 2536 ปิดโรงงานฟินิคซอีกเป็นเวลา 30 วัน เพื่อให้ปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เคยให้ไว้ หลังจากประชาชนในท้องถิ่นพบปลาตายในแม่น้ำพองตั้งแต่บึงโจดลงไปจนถึงหน้าฝายชลประทานหนองหวาย เป็นระยะทางยาวถึง 15 กิโลเมตร น้ำในแม่น้ำเน่าเสีย ขุ่น มีตะกอนขุ่นขาว เฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหน้าฝายพบว่ามีปลาตายเป็นจำนวนมากถึง 3 ตัน</li>
<li>24 มิถุนายน 2536 กรมโรงงานอุตสาหกรรม อนุญาตให้เปิดโรงงานฟินิคซอีกครั้ง ภายใต้เงื่อนไขให้นำน้ำทิ้ง 25 เปอร์เซ็นต์มาใช้ในการเกษตรด้วยการนำไปรดต้นยูคาลิปตัส เพื่อลดปริมาณน้ำทิ้งลงในห้วยโจด</li>
<li>27 กรกฎาคม 2541 กรมโรงงานอุตสาหกรรม สั่งปิดโรงงานฟินิคซ (โรงที่ 1) อีกครั้งหนึ่งเป็นเวลา 180 วัน หลังจากพบว่า ปลาที่เลี้ยงในกระชังตายเป็นจำนวนมาก สร้างความเสียหายให้เกษตรกรคิดเป็นมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท เพราะสาเหตุสำคัญคือ น้ำเสียจากโครงการซึมลงแม่น้ำพอง มีน้ำเสียจากบ่อเก็บกากของเสียไม้ไผ่ และปรากฏว่ามียาฆ่าแมลงที่ใช้กับกองวัตถุดิบถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ</li>
<li>29 กรกฎาคม 2541 บริษัทฟินิคซปิดโรงงานแห่งที่สอง หยุดรับซื้อไม้จากเกษตรกรเพื่อเป็นการตอบโต้คำสั่งปิดโรงงานแห่งแรก</li>
<li>31 สิงหาคม 2541 กรมโรงงานอุตสาหกรรมยอมให้โรงงานฟินิคซ เปิดดำเนินการอีกครั้ง</li>
</ul>
</div>
<p>ผู้บริหารบริษัท ฟินิคซ ได้ยืนยันต่อสาธารณะเรื่อยมาว่า โรงงานของบริษัทในจังหวัดขอนแก่น หยุดปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำธรรมชาติตั้งแต่ ปี 2540 คุณภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลงไป หรือ แม้แต่ปลาที่เลี้ยงในกระชังตายไม่เกี่ยวข้องกับทางโรงงาน ขณะที่ในการชี้แจงกับสื่อมวลชนในเดือนมกราคม 2557 ตัวแทนฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ยืนยันว่าจะดำเนินการตรวจสอบเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำเสียจากกระบวนการผลิตอย่างเร่งด่วน โดยคำนึงถึงสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ รวมทั้งหาทางออกที่เหมาะสมสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง</p>
<p>ส่วนภาครัฐนั้น มีรายงานข่าวว่า ได้เข้าตรวจสอบติดตามการดำเนินงานของบริษัทตามกำหนดระยะเวลา เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 (ขอนแก่น) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment--EIA) โครงการโรงงานผลิตเยื่อกระดาษของบริษัทฟินิคซโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการรับฟังการบรรยายและเข้าตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการในพื้นที่การผลิตเยื่อกระดาษ โรงไฟฟ้า และระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงาน</p>
<p>ทุกครั้งที่มีการตรวจสอบเจ้าหน้าที่จะต้องแจ้งให้โรงงานฯปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งตรวจสอบการปนเปื้อนโลหะหนักที่พบในบึงโจดมีความเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตของโรงงานหรือไม่ เฝ้าระวังป้องกันการเกิดอุบัติเหตุสารเคมีรั่วไหล และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องกลิ่นที่อาจเป็นเหตุรำคาญให้กับประชาชนโดยรอบอย่างต่อเนื่อง  โดยคำนึงถึงการดำรงอยู่ร่วมกับราษฎรรอบโรงงานให้เกิดความยั่งยืนต่อไป</p>
<p>จากข้อมูลคุณภาพน้ำลุ่มน้ำชีตอนบนของสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 10 กรมควบคุมมลพิษ เมื่อเดือนมกราคม 2566 พบว่า คุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (WQI) ของพื้นที่บริเวณบึงโจด จากสถานีวัดคุณภาพน้ำ 3 แห่งใน ต.กุดน้ำใส อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น มีแนวโน้มเปลี่ยนจากเกณฑ์พอใช้ (61-70) ไปเป็นเสื่อมโทรม (31-60)</p>
<p>น้ำในบึงโจด ห้วยโจด มีค่านำไฟฟ้าค่อนข้างสูง ค่าความเค็มค่อนข้างสูง เพราะรองรับน้ำทิ้งปริมาณมากจากการประกอบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในพื้นที่ ทำให้น้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ และควรใช้ทำการเกษตร (โดยทั่วไป) อย่างระมัดระวัง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53381606673_a2906f21ed_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ตารางแสดงค่าคุณภาพน้ำผิวดิน สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10
ที่มา: สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษภาค 10 ขอนแก่น</span></p>
<p><span style="color:#e67e22;"> </span></p>
<h3><span style="color:#2980b9;">กลิ่นของปัญหาในปัจจุบัน</span></h3>
<p>สมพร เสาศิริ ชาวบ้านบ้านห้วยโจด กล่าวว่าระบบปัจจุบันมีการส่งน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วให้ชาวบ้านใช้ผ่านระบบท่อ แม้ว่าจะข้อดีอีกอย่างคือทำให้บริษัทยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปได้และประชาชนในท้องถิ่นมีงานทำ แต่ข้อเสียคือมันทำลายระบบนิเวศจากการปล่อยน้ำเสียที่ไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้ แถมคุณภาพอากาศก็แย่ลงเพราะมีกลิ่นเหม็น โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายน ลมพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ขึ้นมาทางทิศเหนือที่เป็นที่ตั้งหมู่บ้านห้วยโจด</p>
<p>อย่างไรก็ตาม น้ำทิ้งนั้นก็ยังคงปนเปื้อนด้วยสารพิษที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพและธรรมชาติ ภราดร นายกสมาคมรักษ์สิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำพอง ยกตัวอย่างสารเคมีในตัวอย่างน้ำ เช่น แคดเมียม โครเมียม ปรอท นิกเกิล และสังกะสี ฯลฯ ส่งผลกระทบทำให้สิ่งมีชีวิตเป็นโรคมะเร็ง โรคฉี่หนู โรคง่อยเปลี้ยเพลียแรง และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ดังที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53408830752_4bcc05b4f9_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">โรงงานตั้งอยู่ติดกับหมู่บ้าน 4 หมู่ ในเทศบาลตำบลกุดน้ำใส อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น</span></p>
<p>ฉลวย พริศักดิ์ ชาวบ้านในพื้นที่เล่าว่า นาน ๆ ทีกลิ่นเหม็นจากโรงงานจะมีมา โดยเฉพาะเมื่อความกดอากาศสูงหรือช่วงฤดูฝนที่อากาศไม่ถ่ายเท แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็เคยชินกับสภาพแบบนี้ไปแล้ว  เขายังเสริมอีกว่า อยากพัฒนาบึงโจดให้มากขึ้นกว่าเดิม ทำเป็นสวนสาธารณะ ให้ชาวบ้านหรือผู้อาศัยอยู่รอบ ๆ ไปใช้ประโยชน์ เพิ่มแสงสว่างทำเป็นลู่วิ่งให้ออกกำลังกาย คงจะดีกว่านี้ เพราะตอนนี้ทางกรมชลประทานซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบแหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง ก็เริ่มขุดลอกตะกอนกากของเสีย เพราะเกิดน้ำเน่าเสียซ้ำซากทุกปี แต่ในอนาคตไม่รู้เขาจะทำเป็นอะไร ทราบเพียงปัจจุบันเริ่มทำคล้ายเขื่อนกั้นกักน้ำไว้ และโรงงานออกมาพูดคุยกับชาวบ้านบ่อยกว่าเทศบาลด้วยซ้ำ</p>
<p>“เท่าที่เขามาประชาสัมพันธ์พบปะชุมชน โรงงานเขาก็ปรับปรุง มีโครงการดูดซับกลิ่นก่อนปล่อยออกมา มีการซักถามเพื่อนำไปปรับปรุง มีไลน์กลุ่มชาวบ้านรอบโรงงานที่สามารถเข้าไปร้องเรียนได้ว่าพบเจอปัญหาอะไร” ฉลวยกล่าว</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ทางออกของบึงห้วยโจด</span></h3>
<p>บึงโจดเป็นพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ใช่หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เมื่อเกิดปัญหาขึ้น หน่วยงานในท้องถิ่นอย่างเทศบาลตำบลกุดน้ำใสจึงทำได้เพียงเฝ้าระวัง และมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบอาคารสถานประกอบการให้เป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น โครงการขุดลอกบึงโจดนั้นทางเทศบาลมีกรรมการควบคุม ดูแล และเฝ้าระวังการฟุ้งกระจายของตะกอนใต้น้ำที่อาจไหลลงลำน้ำพอง และดินที่ขุดจากบึงโจดซึ่งมีสารตกค้างปนเปื้อน จะอยู่ในบึงโจด ห้ามเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ โดยแผนจะนำเอามาทำถนน ขยายถนนเส้นทางเข้าบึงโจด ทำลายพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมของชาวบ้าน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53410194485_978b0d21e0_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">สภาพน้ำในบึงห้วยโจดมีลักษณะเป็นสีดำ มีฟองสีน้ำตาลลอยอยู่ผิวน้ำ</span></p>
<p>“ผมเคยอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรม โรงงานเหล่านั้นมีการกำจัดกากของเสียเหล่านั้น (โลหะหนักต่างๆ) อย่างดี เขามีความรับผิดชอบ อันนี้ปล่อยลงน้ำเฉยเลย” ภราดร โพธิ์ศรีกล่าวถึงความคาดหวังที่จะเห็นการแก้ไขอย่างจริงจัง</p>
<p>เช่นเดียวกันกับ ฉลวย พิรศักดิ์ที่ได้คาดหวังทิ้งท้ายว่าต้องการให้ทางโรงงานและทางการรับฟังชาวบ้านว่าต้องการอะไร มีอะไรให้ปรับปรุงบ้าง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53381606813_4243ce45b4_k.jpg" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107309
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 485 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 508 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 383 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 403 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ‘บึงห้วยโจด’ เมื่อแหล่งน้ำธรรมชาติกลายเป็นบ่อบำบัดน้ำเสีย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 59 กระทู้ล่าสุด 20 ธันวาคม 2566 23:08:08
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.621 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 05 เมษายน 2567 19:44:54