[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
21 พฤษภาคม 2567 06:07:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นันโทปนันทสูตรคำหลวง  (อ่าน 5954 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5502


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2559 16:23:44 »

.



นันโทปนันทสูตรคำหลวง

นันโทปนันทสูตรคำหลวง เป็นพระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ทรงนิพนธ์ขณะที่ออกผนวชเพื่อหลบหนีพระราชอาญา เนื่องจากลอบทำร้ายพระภิกษุเจ้าฟ้านเรนทร์หรือกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ ซึ่งเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงพิโรธมาก มีรับสั่งให้ตามจับตัวเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรมาประหารชีวิต แต่เจ้าฟ้านเรนทร์ทรงช่วยไว้ โดยแนะนำให้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรหนีไปผนวชที่วัดโคกแสง ต่อเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศคลายพิโรธแล้วจึงค่อยลาผนวชกลับไป ช่วงเวลาที่ผนวชอยู่นี้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงนิพนธ์เรื่องนันโทปนันทสูตรคำหลวงขึ้น มีผู้สันนิษฐานว่าคงมีพระประสงค์เพื่อล้างบาปที่ฟันพระภิกษุ หรือเพื่อดำเนินรอยตามการแต่งมหาชาติคำหลวงซึ่งเป็นวรรณคดีศาสนาเช่นกัน

ลักษณะคำประพันธ์แต่งเป็นร่ายยาวโดยมีคาถาภาษาบาลีนำ เริ่มเรื่องด้วยการอารัมภบทว่า พระมหาโมคคัลลานะเถระทรงทรมานพระยานันโทปนันทนาคราช และบอกชื่อผู้แต่งตามฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “สิริปาโลภิกขุ” ทรงพระนามตามอิสริยศักดิ์ว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ไชยเชษฐสุริยวงศ์ ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล นำเอาเรื่องนันโทปนันทสูตรมาแต่งโดยตั้งใจให้เป็นภาษาที่สละสลวยและมีเนื้อความครบตามพระบาลี แล้วกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยและขอให้ผู้แต่งปราศจากอันตรายและความเจ็บป่วยทั้งหลายดังความต่อไปนี้
“...อหํ อันว่าข้า สิริปาโล นาม ผู้ชื่อมหาสิริบาลเมื่อในกาลบรรพัช ครั้นนิวัตรนิเวสเป็นกษัตรเพศวรำ ธมฺมธิเปสฺสชยเชฏฐสุริยวํส นาม กชื่อเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ไชยเชษฐสุริยวงศ์เสวยรัชชงศฤงคาร วังบวรสถานมงคล ดำกลเป็นฝ่ายหน้า ผจญปัจจามิตรแพ้พ่าย นมสฺสิตฺวา ถวายนมัสการบังคม ชินพุทฺธํ ซึ่งสมเด็จพระชิเนนทรทศพล อันผจญเบญจวิธมารทังห้ากดี แลข้าพระองค์นี้กนมัสการเคารพย์ สทฺธมฺมํ จ ซึ่งพระนพโลกุดดรธรรมทังเก้าแลพระปริยัติธรรมเจ้าทังหลาย หมายทังแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธนั้นกดี แลพระสัทธรรมนี้อุดดมา อมลํ อันนฤมลาจากมุทิล แลข้าถวิลนมัสการ อริยสํฆํ จ ซึ่งพระอัษฎาริยสงฆ์ก็ดี ตราบเท้าสมมุดดิสงฆนี้กบังคม อุตฺตมํ อันอุดดมบวรา ครั้นแลข้าถวายนมัสการ ซึ่งพระรตนัตไตรยสถานเสร็จประณาม นบ วกฺขามิ กปรารพภ์เพื่อจักกล่าววตฺถุํ ในเรื่องราวนิทานธรรม นนฺโทปนนฺนมามกํ อันชื่อนันโทปนนท์ ปวรํ อันมีพจนุสนธิบวร สิลิฏฐํ ให้เกลี้ยงเกลาในอักษรแลพากยา สามภาสายด้วยสยามภาษาแห่งไทย นิสฺสาย เหตุอาไศรยพระบาฬี มคธภาสํ ซึ่งมีในมคธภาษา...”

จากนั้นกล่าวถึงการสร้างสมบารมีของพระพุทธเจ้าเมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์ กล่าวถึงพระโมคคัลลานะอัครสาวกของพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้มีความปรารถนาจะช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นมัจฉาทิฐิ และกล่าวถึงการทรมานนันโทปนันทนาคราชของพระโมคคัลลานะ มีเนื้อเรื่องดังนี้

วันหนึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้นิมนต์พระพุทธเจ้าและสาวกไปรับบิณฑบาตที่บ้านของตน ครั้นเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าทรงทราบด้วยทิพยญาณว่าพระยานันโทปนันทนาคราชเคยสร้างกุศลไว้ในชาติก่อน ควรจะได้รับรสพระธรรม แต่พระยานันโทปนันทนาคราชยังมีมิจฉาทิฐิจะต้องทรมานให้มีศรัทธาในศาสนาของพระองค์เสียก่อน พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าพระโมคคัลลานะอัครสาวกเบื้องซ้ายมีอิทธิฤทธิ์อาจทรมานพระยานันโทปนันทนาคราชให้ละพยศเสียได้ เมื่อสว่างแล้วจึงมีรับสั่งให้พระอานนท์และสาวกตามเสด็จไปยังเทวโลก แล้วทรงแสร้งนำพระสาวกเหาะไปเหนือวิมานของพระยานันโทปนันทนาคราช พระยานันโทปนันทนาคราชแลเห็นก็โกรธ นำบริวารนาคเหาะขึ้นไปทำอิทธิฤทธิ์ขวางทางไว้และกล่าวดูหมิ่นพระพุทธเจ้า พระสาวกหลายรูปรับอาสาจะไปปราบพญานาค แต่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระโมคคัลลานะไปทรมานสั่งสอนพระยานันโทปนันทนาคราช พระโมคคัลลานะจึงออกไปลองฤทธิ์กับพระยานันโทปนาคราชจนพญานาคยอมจำนน พระโมคคัลลานะจึงนำพระยานันโทปนันทนาคราชไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อสมาทานศีลและรับฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จากนั้นพระพุทธเจ้าและพระสาวกจึงพากันไปรับอาหารบิณฑบาตที่บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เมื่อจบเรื่องได้บอกที่มาของเรื่องว่ามาจากเรื่องนันโทปนันทสูตร ของพระมหาพุทธสิริเถระในคัมภีร์ทีฆนิยกาย ดังนี้

“...พุทฺธสิริตฺเถเรน สงฺคายิตํ นนฺโทปนนฺทวตฺถุนิฏฐิตํ เถโร  อันว่าพระมหาเถระอันเปนพระชิเนนโทรรสา พุทธฺสิรินาม ผู้ชื่อพระมหาพุทธศิริกสำแดง สงฺคายิตํ แต่งแต่ลิลิษฏฺฐํ ให้เกลี้ยงเกลาในบทพระบาฬี นนฺโทปนนฺทวตฺถุ อันมีในนนโทปนนทปกรณัม นิฏฺฐิตํ กสำเร็จในดำนานนิทาน อิติ เมาะ อิมินา ปกาเรน ด้วยประการด่งงนี้ แล...”

และบอกนามผู้นิพนธ์อีกครั้งหนึ่ง เหมือนกับข้อความตอนต้นเรื่องทุกประการว่า พระมหาสิริบาลหรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่งขึ้นเพื่อจรรโลงความยินดีปรีดาของสมณชีพราหมณ์ เสนาอำมาตย์ ราชบัณฑิต และประดับสติปัญญาแก่ปราชญ์ทั้งหลาย ตามด้วยโคลงสี่สุภาพจำนวน ๒ บท และความเรียงว่าด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่งและเวลาที่แต่ง ดังต่อไปนี้
“นนโท            พ่ายลิศยซ้าย     ภควา
ปะนนทะ          นาเคนทรา        กราบเกล้า
สูตร              ทีฆนิกายสา       ทรเลอศ
บริบูรณ          ธรรมพระเจ้า       เทศนไว้ควรยอฯ

เจ้าฟ้าธรรม       ท่านแท้           พยายาม
ธิเบศร            กุมารนาม         บอกแจ้ง
ไชยเชษฐ         ปัญญาคาม       ภีรภาพ
สูริยวงษ์           ธรงแต่งแกล้ง      กล่าวเกลี้ยงนนโทฯ

พระบาฬีนนโทปนนทสูตรนี้ พระมหาพุทธสิริเถรเจ้าแต่งไว้ก่อน บ่มิได้ลงพุทธสักราชไว้ว่าเมื่อแรกแต่งพระบาฬีสำเร็จน้นน พุทธสักราชได้เท่าน้นนเท่าน้นน แลเจ้าฟ้าธรงพระผนวชกรมขุนเสนาพิทักษ์ มาธรงแต่งเปนเนื้อความคำประดับครั้งนี้ เมื่อสำเร็จน้นนพระพุทธสักราชล่วงแล้วได้ ๒๒๗๙ ปีกับ ๓ เดือน ในวาร ทุติยาสาธ ปีมโรงนักสัตร อัษฐศก จุลสักราช ๑๐๕๘ ศก...”

การใช้ภาษาในนันโทปนันทสูตรคำหลวง มีคำแผลงและคำภาษาโบราณปะปนมาก เช่น อุบัดดิ (อุบัติ) ประเสอรรดิ (ประเสริฐ) พิเศส (พิเศษ) ทอรมาน (ทรมาน) บรรสัษย (บริษัท) ฉพอะ (เฉพาะ) ฯลฯ แต่มีบรรยายโวหารที่ละเอียด มีการเปรียบเทียบก่อให้เกิดจินตภาพได้เป็นอย่างดี เช่น ตอนพระโมคคัลลานะทรมานพญานันโทปนันทนาคราช ดังนี้
“อถ เตน สิเนรุนา นิปฺปิลิยมานํ อุรคราชสฺส ทีฆปุถุสรีรํ อวิรตสนฺทเสทํ เตลนิปฺปิตฺตติ ลวิชปุรตฺตํ เวตฺตปจฺฉิกํ วิย อตีตนุกมโหสิฯ

ในกาลนั้น อันว่ากายแห่งโภคินทรราชา พระมหาโมคคัลลานหนีบเข้าไว้ แลกายอันใหญ่มหิมา กน้อยเข้านักหนามานทำเนียบ เปรียบกระเช้าอันเขาทำด้วยหวายแห่งนายช่างเตลาบีบน้ำมันงากยวิกย แลกายิกแห่งโภเคนทรราชา มีเสทารินรี่ไหลสรกปรี่บมิขาด หยาดเสทางคเปนธาร กมีในกาลนั้น แล

อถ นาคราชา ธุมาสิ ในกาลนั้น อันว่าสัลปราชา กบังหวนธูรรมาให้กลุ้มไป ในทิศานุทิศ แล”


ที่มา: สารานุกรมวัฒนธรรมไทย พิมพ์เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.309 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 14 พฤษภาคม 2567 05:45:43