[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 06:39:33 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ภูมิปัญญาไทยจากใบกะพ้อ : วิธีสานพัดใบกะพ้อ และวิธีห่อขนมต้มใบกะพ้อ  (อ่าน 22598 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2557 14:47:02 »

.



ภูมิปัญญาไทย จากใบกะพ้อ

ต้นกะพ้อ หรือที่คนใต้เรียกว่าต้นพ้อ นี้ เป็นพืชพื้นเมืองที่มีอยู่ทั่วไปทางภาคใต้ ขึ้นอยู่ในป่าพรุ หรือตามหัวไร่ปลายนา หรือตามระว่างแถวในสวนยางพารา เป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับปาล์ม ลำต้นแตกหน่อออกเป็นกอ สูงประมาณ ๑-๓ เมตร ใบมีลักษณะคล้ายรูปพัด เป็นพืชที่ให้ประโยชน์ทั้งต้น ใบอ่อนใช้ห่อขนมต้ม ที่อ่อนมากๆ ทำแกงเลียง แกงส้ม หรือทำผัดน้ำพริกได้ ใบแก่เอามาทำเครื่องจักสาน เสื่อ พัด ลูกกะพ้อเป็นยาระบาย ลำต้นเอามาทำเสารั้วและนำมาปลูกไว้ข้างบ้านเพื่อความร่มรื่นสวยงาม

ส่วนใบพ้อ นำมาใช้ “แทงต้ม“ ขนมที่ชาวปักษ์ใต้รู้จักกันดี หรือที่เรียกกันว่า “ขนมต้ม” หรือ “ต้ม” เป็นข้าวต้มลูกโยนชนิดหนึ่งที่ทำในเทศกาลบุญชักพระของชาวใต้ และยังเป็นขนมที่ใช้ในงานประเพณีหลายๆ งานในท้องถิ่นภาคใต้ ที่ใช้กันเป็นหลักคือในงานบุญออกพรรษา การตักบาตรเทโว งานชักพระ งานเดือนสิบ และงานบวช ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปแต่ในที่นี้ขอนำเสนอภูมิปัญญาของชาวบ้านที่นำใบกะพ้อมาจักสานเป็นพัด เรียกว่า “พัดใบกะพ้อ” หรือ “พัดใบพ้อ” ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมจักสานประเภทหนึ่งที่เป็นผลผลิตจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน นับเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของภาคใต้ โดยเฉพาะในอำเภอร่อนพิบูลย์ และที่บ้านสวนเลา อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่ที่ผลิตกันจนมีชื่อเสียงในเรื่องพัดใบพ้อ ก็คือหมู่บ้านโคกยาง



ลวดลายในการสาน เพื่อขึ้นรูปทรงเครื่องจักสานนั้น เป็นวิธีการของแบบแผนที่มีระบบอย่างหนึ่ง เพื่อการสร้างโครงสร้างให้เกิดการเชื่อมต่อซ้ำๆ กันไปโดยใช้ลักษณะการขัดกันของเส้นตอก หรือวัสดุอื่นที่ใช้จักสานได้ เพื่อให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันจนกลายเป็นผืนแผ่น เพื่อเป็นผนังของโครงสร้างเครื่องจักสานตามต้องการ ลายจักสานนั้นเป็นส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของการขึ้นโครงสร้างผลิตภัณฑ์ ประเภทเครื่องจักสาน จัดเป็นขบวนการความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เป็นระบบ ลายจักสานของไทยนั้น มีลวดลายและรูปแบบแตกต่างกันอย่างมาก ทั้งที่แตกต่างกัน ด้วยลักษณะของวัสดุที่ใช้ในการจักสานด้วย ดังนั้นการเลือกใช้ลายจักสานใด จึงขึ้นอยู่กับความเหมาะสม สนองประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ เช่น อาจใช้ลายขัดธรรมดา เพื่อให้เกิดความแข็งแรงทนทานและความสะดวกในการสาน หรือถ้าต้องการสานภาชนะที่มีตาต่างๆ เช่น ชะลอม เข่ง ก็มักจะสานด้วยลายเฉลา เป็นต้น  

  แรกเริ่มของพัดใบกะพ้อ เกิดจากเพื่อนพ้องน้องพี่ที่อาศัยอยู่ที่บ้านโคกยาง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ที่บ้านสวนเลา หมู่ที่ ๕ ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน    บริเวณสวนยางหรือสวนผลไม้ มีต้นกะพ้อเป็นจำนวนมาก จึงได้ตัดใบกะพ้อมาตกแต่งให้มีขนาดพอเหมาะ พัดลมบรรเทาคลายความร้อนหลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานในสวนยางพาราและสวนผลไม้

หลังจากนั้นก็เริ่มนำมาใช้ในบ้านเรือน โดยใช้พัดลมบรรเทาความร้อนในยามพักผ่อน และพัดลมในการติดไฟประกอบอาหาร ซึ่งใช้ได้ไม่นานก็เสื่อมสภาพ ต่อมามีการนำใบกะพ้อมาแยกเป็นกลีบแล้วสอดเป็นลายขัดทำเป็นพัดใบกะพ้อ ใช้ประโยชน์ได้มากกว่าเดิมแต่ฉีกขาดได้ง่าย เนื่องจากใบกะพ้อไม่เหนียวทน

วิวัฒนาการทำพัดใบกะพ้อจากการใช้ใบมาเป็นยอดกะพ้อที่ยังกลม โดยนำมาแยกกลีบใบแล้วลวกน้ำร้อนทำให้พัดใบกะพ้อมีความทนทาน ฉีดขาดได้ยาก มีสีขาวดูแล้วสวยงาม มีการตกแต่งด้ามพัดด้วยหวายที่มีความประณีต

การประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ นำผลไม้มาขายตามตลาดนัดต่างๆ และนำพัดใบกะพ้อมาใช้พัดลมในระหว่างที่ขายผลไม้ ทำให้แม่ค้าในตลาดนัดเกิดความสนใจพัดใบกะพ้อมาใช้แทนกระดาษหนาที่ใช้พัดลม

การทำพัดใบกะพ้อเพื่อจำหน่ายจึงเริ่มขึ้นจากตลาดนัดเล็กๆ เป็นตลาดประจำอำเภอ ประจำจังหวัด และจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ ตลอดจนตลาดในกรุงเทพมหานคร


http://student.nu.ac.th/phantakarn/phantakarn/images/A5.jpg
ภูมิปัญญาไทยจากใบกะพ้อ : วิธีสานพัดใบกะพ้อ และวิธีห่อขนมต้มใบกะพ้อ

ในปัจจุบันพัดใบกะพ้อได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอร่อนพิบูลย์ และอำเภอจุฬาภรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการจัดตั้งเป็นกลุ่มในหมู่บ้านดังนี้
๑. กลุ่มหัตถกรรมจักสานพัดใบกะพ้อบ้านโคกยาง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
๒. กลุ่มหัตถกรรมจักสานพัดใบกะพ้อบ้านสวนเลา หมู่ที่ ๕ ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

การทำพัดใบกะพ้อ เริ่มจะมีอุปสรรคเนื่องจากวัตถุดิบที่นำใช้ผลิตเป็นวัสดุเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ราษฎรที่ไม่ได้ประกอบอาชีพจักสานพัดใบกะพ้อ จะทำลายต้นกะพ้อในพื้นที่ของตน เพื่อปลูกยางพาราและผลไม้ ทำให้ยอดกะพ้อมีไม่เพียงพอ ซึ่งจะมีแต่ป่าสงวนแห่งชาติเท่านั้นที่ยังมีต้นกะพ้ออยู่ตามธรรมชาติ ราษฎรที่อาศัยอยู่ใกล้ป่าสงวนแห่งชาติ จะตัดยอดกะพ้อมาจำหน่าย ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอจุฬาภรณ์ เทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ จึงได้สนับสนุนงบประมาณให้กลุ่มหัตถกรรมจักสานพัดใบกะพ้อ ปลูกต้นกะพ้อเป็นพืชแซมในสวนยางพารา เพื่อเป็นการอนุรักษ์หัตถกรรมจักสานพัดใบกะพ้อ ให้คงอยู่ในชุมชน










ขั้นตอนการสานพัดใบกะพ้อ

การเตรียมใบกะพ้อก่อนนำมาใช้สานพัด
ตากแดดไว้ ๑ วัน  ลวกน้ำร้อน ๑ นาที  ตากแดดไว้อีก ๓ วัน
๑. การก่อพัดนำน้ำอุ่นมาพรมใบกะพ้อที่จะใช้จักสานหรือชุบน้ำให้เปียกพอทั่ว ห่อด้วยผ้า ทิ้งไว้ประมาณ ๑๐-๒๐ นาที เพื่อให้ใบกะพ้อที่แห้งอ่อนตัว และเกิดความเหนียวไม่แตกขณะสาน นำยอดกะพ้อที่นิ่มดีแล้ว แยกตรงกลางนับตอกข้างซ้ายและข้างขวาให้เท่ากัน จำนวนตอกตามความเหมาะสม เช่น พัดขนาดกลางนับข้างละ ๑๘ ตอก พัดขนาดใหญ่ข้างละ ๒๒ ตอก ส่วนที่เหลือทั้งสองข้างก็ให้ดึงออกนำมาใช้เป็นตอกก่อสานพัด
๒. การขึ้นพัด นำใบกะพ้อที่เตรียมไว้วางบนพื้น หันก้านเข้าหาตัวผู้สาน ใช้เท้าด้านหนึ่งเหยียบก้านใบกะพ้อให้กระชับ แผ่ใบกะพ้อออกเป็นตอก ทำเป็นตอกยืน นำตอกกะพ้อมาสลับหัวสลับหางซ้อนกันเป็นคู่ จะเริ่มวางตอกก่อข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ แล้วจัดสานขัดเป็นลายขัดให้ได้ ๓ คู่ จัดดึงตอกให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย พร้อมที่จะจัดสานก่อลายขัดอีกข้างหนึ่ง เมื่อก่อตอกก่อ ๓ คู่ ทั้งสองข้างเสร็จแล้ว ให้นำตอกสองข้างมาขัดกันเองสานขัดเข้ากับตอกยืนแบบลายขัดไทย โดยการยกตอก ๑ ตอก แล้วข่มตอกอีก ๑ ตอก ไปเรื่อยๆ จนสุดตอก  ในกรณีที่ต้องการทำพัดย้อมสีตอกบางตอนให้นำตอกที่ย้อมสีแล้ว แทรกเข้าเป็นตอกยืนหรือตอกขัดตามแนวที่ต้องการ
๓. การเวียนพัด เมื่อขึ้นพัดเสร็จแล้ว ต้องจัดตอกให้แน่นพอดี ปลายตอกที่เหลือให้สานกลับลงมา ดึงขัดและต้องจัดรูปทรงให้สวยงาม ปลายตอกที่เหลือให้รวบมัดไว้ที่ก้านให้มีขนาดพอเหมาะเพื่อเตรียมไว้ทำเป็นด้ามพัด
๔. การนำพัดที่สานเสร็จแล้วไปตากแดด นำพัดที่สานเสร็จแล้วไปตากแดดจัดๆ อีกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อรา
๕. การพันด้ามพัด ทำท่อนหวายสั้นๆ หรือไม้ไผ่ที่เตรียมไว้นำมาตัดให้โค้งประกบค่อมปลายก้านใบกะพ้อไว้ ให้ช่วงโค้งห่างจากปลายก้านใบราว ๑ นิ้ว นำเชือกหวายมาพันทับหวายที่ประกบก้านใบ พันให้แน่นและละเอียดที่สุด จากนั้นจึงสอดห่วงหูตรงปลายด้ามของพัดให้ประณีตและตกแต่งให้สวยงาม


   
อธิบายความตามลำดับภาพ
ภาพ ๑. ตากแดด ๑ วัน  ภาพ ๒. ลวกน้ำร้อน ๑ นาที  และ ภาพ ๓. นำไปตากแดดไว้อีก ๓ วัน

ในอดีตพัดใบกะพ้อ ใช้ประโยชน์ในการพัดลมคลายความร้อนเพียงอย่างเดียว แต่หลังจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ได้จัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตพัดใบกะพ้อ ก็ได้ส่งเสริมให้มีการทำผลิตภัณฑ์จากพัดใบกะพ้อ อย่างเช่น การทำพัดใบกะพ้อขนาดเล็ก กว้างประมาณ ๘-๑๐ เซนติเมตร ย้อมเป็นสีต่างๆ สวยงาม ใช้เป็นของที่ระลึกในเทศกาลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานศพ

การนำพัดใบกะพ้อ มาตกแต่งเป็นดอกไม้ประดับแจกัน ตั้งโต๊ะรับแขก หรือกระเช้าของขวัญ

การนำพัดใบกะพ้อมาตกแต่งในเทศกาลต่างๆ เช่น ตกแต่งกระทง ตกแต่งขบวนหฺมฺรับ

นอกจากนั้นวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ได้นำพัดใบกะพ้อมาใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง และนำมาประยุกต์เป็นเครื่องประดับการแต่งกายของนักแสดง “ระบำพัดใบกะพ้อ” ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมและอนุรักษ์ สืบทอดอาชีพทำพัดใบกะพ้อให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย



ที่มา : ภูมิปัญญาไทยจากใบกะพ้อ  วารสาร "สารนครศรีธรรมราช" จัดพิมพ์เผยแพร่โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
ขอขอบคุณ : สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูล

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 พฤศจิกายน 2558 15:16:56 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2557 15:11:24 »

.

http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2010/10/D9795464/D9795464-1.jpg
ภูมิปัญญาไทยจากใบกะพ้อ : วิธีสานพัดใบกะพ้อ และวิธีห่อขนมต้มใบกะพ้อ


กะพ้อ
ใบ นั้นหรือ คือใบกะพ้อ ไม่ได้ใช้ทำขนม แต่ใช้ห่อขนม เป็นใบของต้นกะพ้อ ชื่อวิทยาศาสตร์ Licuala spinosa Thunb. ชื่อวงศ์ Palmae ชื่อสามัญ Mangrove fan palm ชื่อพื้นเมือง กะพ้อ กะพ้อเขียว พ้อ กูวา จัดเป็นพืชชนิดปาล์มแตกกอ มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคใต้ของไทย ไม่ว่าจะในป่าพรุ หรือตามไร่นาเรือกสวน รวมถึงในมาเลเซียและอินโดนีเซีย

กะพ้อ มีต้นเป็นกอสูงประมาณ ๑๕-๒๐ ฟุต ใบรูปใบพัด ก้านใบยาวเล็ก มีใบย่อยแตกออกจากกันและแตกออกจากจุดเดียวกัน ที่ก้านใบแต่ละใบจะมีใบย่อยประมาณ ๑๒-๑๘ ใบ ตามใบย่อยมีรอยจีบ ปลายใบตัด ใบย่อยยาวประมาณ ๑ ฟุต และกว้าง ๔-๕ นิ้ว ใบสีเขียวเข้ม เมื่อเจริญเติบโตไปสักระยะหนึ่งจะเกิดหน่อออกมาตามบริเวณโคนต้นมากมาย ดอกสีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบ ดอกสมบูรณ์เพศ ช่อดอกยาวได้ถึง ๒ เมตร ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร ส่วนผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงกลมถึงรูปไข่ ขนาดกว้างประมาณ ๐.๘ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร ออกเป็นช่อๆ แตกแยกออกจากก้านช่อดอกใหญ่ ผลสุกสีแดง เปลือกเรียบ

กะพ้อ เจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้ง ชอบดินปนทรายที่ชุ่มชื้น ชอบความชื้นปานกลาง-สูง แสงแดดจัด สามารถปลูกในสนามหญ้าเพื่อให้มันแตกกอเป็นพุ่มหรือจะทำเป็นสวนหย่อมก็ได้ เป็นการใช้งานด้านภูมิทัศน์เนื่องจากทรงพุ่มสวย ปลูกเป็นไม้กระถางหรือในแปลงริมน้ำ เป็นแนวรั้วบังสายตา

ยังนำไปทำงานประดิษฐ์ได้ เช่น งานจักสานพัดใบกะพ้อ รวมไปถึงใบกะพ้อที่แก่จัดๆ นำไปทำหลังคาแทนการมุงด้วยใบจาก ก้านจากใบแก่ๆ นำไปทำกระด้ง แข็งแรงได้เทียบเท่าไม้ไผ่เลยทีเดียว

ชาวภาคใต้จะนำยอดอ่อนของใบกะพ้อที่ยังไม่บานมาห่อข้าวต้ม ซึ่งภาษาถิ่นใต้เรียกว่า ต้ม คือขนมที่ทำจากข้าวเหนียว ห่อด้วยใบกะพ้อรูปทรงสามเหลี่ยม แล้วนำไปต้มให้สุก ใช้ในงานบุญตามประเพณีท้องถิ่น เช่น วันทำบุญสารทเดือนสิบ ชักพระ งานบวช และอีกหลายงาน โดยก่อนวันทำบุญจะต้องเตรียมใบกะพ้อไว้ล่วงหน้า ๒-๓ วัน นำมาคลี่ออกแล้วรีดให้เรียบ ตัดให้เสมอ รีดได้หลายใบแล้วนำมาห่อเป็นสามเหลี่ยมเพื่อขึ้นรูปไว้ห่อจริง


       http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2010/10/D9795464/D9795464-2.jpg
ภูมิปัญญาไทยจากใบกะพ้อ : วิธีสานพัดใบกะพ้อ และวิธีห่อขนมต้มใบกะพ้อ


       http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2010/10/D9795464/D9795464-4.jpg
ภูมิปัญญาไทยจากใบกะพ้อ : วิธีสานพัดใบกะพ้อ และวิธีห่อขนมต้มใบกะพ้อ


       http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2010/10/D9795464/D9795464-0.jpg
ภูมิปัญญาไทยจากใบกะพ้อ : วิธีสานพัดใบกะพ้อ และวิธีห่อขนมต้มใบกะพ้อ


       http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2010/10/D9795464/D9795464-9.jpg
ภูมิปัญญาไทยจากใบกะพ้อ : วิธีสานพัดใบกะพ้อ และวิธีห่อขนมต้มใบกะพ้อ


       

       

       

       

       http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2010/10/D9795464/D9795464-15.jpg
ภูมิปัญญาไทยจากใบกะพ้อ : วิธีสานพัดใบกะพ้อ และวิธีห่อขนมต้มใบกะพ้อ


       

       

       

       

       

       

       http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2010/10/D9795464/D9795464-25.jpg
ภูมิปัญญาไทยจากใบกะพ้อ : วิธีสานพัดใบกะพ้อ และวิธีห่อขนมต้มใบกะพ้อ


       http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2010/10/D9795464/D9795464-29.jpg
ภูมิปัญญาไทยจากใบกะพ้อ : วิธีสานพัดใบกะพ้อ และวิธีห่อขนมต้มใบกะพ้อ


สำหรับวิธีทำขนมต้ม มีดังนี้
๑. คั้นมะพร้าวให้ได้น้ำกะทิ ๒ ถ้วยตวง
๒. ล้างข้าวเหนียวให้สะอาด ใส่กระชอนให้สะเด็ดน้ำ เทใส่กระทะ เติมน้ำกะทิ เกลือ ตั้งไฟ ผัดไฟปานกลางจนข้าวเหนียวแห้ง
๓. เติมถั่วดำที่ต้มแล้ว เติมน้ำตาล ผัดให้ทั่วจนได้ที่ยกลง
๔. ตัดใบกะพ้อ แบ่งส่วนของใบกะพ้อให้มีความกว้างของแต่ละใบเท่ากันเพื่อเวลาห่อขนมจะได้เท่าๆ กัน
๕. พับส่วนปลายของใบกะพ้อเป็นรูปกรวย ตักข้าวเหนียวใส่กดลงให้แน่นจนสุดกรวย แล้วพับเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
    สอดส่วนโคนของใบกะพ้อออกมาทางยอดแหลมของกรวย ดึงให้แน่น หรือจะขมวดปมตรงปลายกรวยเพื่อกันหลุดก็ได้
๖. นำไปต้มหรือนึ่งให้สุก


ข้อมูล : หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด
ภาพ : เว็บไซต์ พันทิปดอทคอม
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.426 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 21 ชั่วโมงที่แล้ว