[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 26 มิถุนายน 2556 10:47:43



หัวข้อ: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 26 มิถุนายน 2556 10:47:43
.
(:2:) เกษตรน่ารู้....
 สารพัด-สารพัน  เรื่องพันธุ์ไม้

(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/173619.jpg)
     มะขามป้อมยักษ์
โดยธรรมชาติของมะขามป้อมทั่วไป  จะมีดอกและติดผลเพียงปีละครั้ง ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม ต่อเนื่องไปจนถึงเก็บผลผลิตได้ในช่วงเดือนเมษายนเป็นประจำ ส่วน "มะขามป้อมยักษ์พันธุ์ใหม่" เป็นสายพันธุ์ที่มีดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี ทำให้สามารถเก็บผลผลิตไปใช้ประโยชน์หรือแปรรูปได้ไม่ขาดระยะ และที่สำคัญ "มะขามป้อมยักษ์พันธุ์ใหม่" จะมีผลขนาดใหญ่กว่าผลของมะขามป้อมพันธุ์ดั้งเดิมอีกด้วย เมื่อนำผลไปใช้ประโยชน์ จึงทำให้ได้ปริมาณเพิ่มมากขึ้นเป็น ๒ เท่าของจำนวนผลเท่ากันอย่างชัดเจน ปลูกแล้วจึงคุ้มค่ามาก

มะขามป้อมยักษ์พันธุ์ใหม่ หรือ EMBLIC MYROBALAN PHYLLANTHUS EMBLIC LINN. อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เป็นหนึ่งในหลายๆสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว ส่วนใหญ่มะ-ขามป้อมจากอินเดียจะมีผลขนาดใหญ่เป็นเอกลักษณ์ เป็นไม้ยืนต้น สูง ๘-๑๒ เมตร ใบเดี่ยว ออกสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาน ดอกสีเหลืองนวล ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ เป็นดอกแยกเพศบนต้นเดียวกัน

ผล กลมแป้นหรือค่อนข้างกลม ผลโตเต็มที่มีขนาดใหญ่เกือบเท่าเหรียญ ๑๐ บาทไทย ผลเป็นสีเขียวอ่อน เมล็ดเล็ก เนื้อเยอะ ฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยวปนฝาดเหมือนรสชาติมะขามป้อมทั่วไป หนึ่งผลมี ๑ เมล็ด ติดผลดกตลอดทั้งปีตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง
 ไทยรัฐ - พฤหัสบดีที่ ๒๐/๖/๕๖  

(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/177930.jpg)
     มะขามป้อมยักษ์ต้นเตี้ย  ผลดกทั้งปี
มะขามป้อมชนิดนี้ เป็นพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากมะขามป้อมพันธุ์พื้นเมืองของไทย ซึ่งพันธุ์ดั้งเดิมต้นจะสูง ๘-๑๒ เมตร และจะติดผลเพียงปีละครั้งระหว่างเดือนมกราคม-เมษายนทุกปี หลังจากได้ต้นพันธุ์ใหม่แล้วได้นำไปปลูกเลี้ยงจนเติบโต ปรากฏว่าต้นเป็นพุ่มเตี้ย สูงเต็มที่เพียง ๑-๓ เมตรเท่านั้น สามารถติดผลดกเป็นพวงสวยงามน่าชมมาก ผลมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์เดิมอย่างชัดเจน เมื่อผลโตเต็มที่จะมีขนาดใหญ่เกือบเท่าลูกปิงปอง หรือลูกกอล์ฟ ที่สำคัญจะติดผลตลอดทั้งปีอีกด้วย เจ้าของผู้พัฒนาพันธุ์จึงทำการปลูกทดสอบพันธุ์อยู่หลายทอด ทั้งด้วยวิธีตอนกิ่งและปลูกด้วยเมล็ด ขนาดของต้นยังคงที่คือ สูง ๑-๓ เมตร เหมือนเดิม  จึงเชื่อว่าเป็นมะขามป้อมพันธุ์ใหม่แบบถาวรแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “มะขามป้อมยักษ์ต้นเตี้ย” และขยายพันธุ์ด้วยวิธีทาบกิ่งออกวางขายได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้
 
มะขามป้อมยักษ์ต้นเตี้ย เป็นไม้พุ่มยืนต้น สูง ๑-๓  เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนมน ดอกเป็นสีเหลือง ออกตามซอกใบ เป็นดอกแยกเพศบนต้นเดียวกัน “ผล” ค่อนข้าง กลม ผลมีขนาดใหญ่ตามที่กล่าวข้างต้น ๑ ผล มี ๑ เมล็ด ผลเป็นสีเขียว รสชาติเปรี้ยวปนฝาด ฉ่ำน้ำ ติดผลทั้งปี
 
ใครต้องการกิ่งพันธุ์ไปปลูก ติดต่อ “คุณสุวรรณ คำเขียว” หรือ “ณัฐพนธ์ฟาร์ม” ๔๘๔ หมู่ ๗ ต.โคกไม้ลาย อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี  ราคาสอบถามกันเอง เป็นกิ่งพันธุ์ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีทาบกิ่ง ทำให้ติดผลเร็วขึ้น   ปลูกได้ในดินทั่วไป เจริญเติบโตดีในดินร่วนปนทราย เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน และปลูกเพื่อเก็บผลขายนำไปใช้ทางสมุนไพรรักษาได้หลากหลายชนิด โดยเฉพาะสามารถปลูกลงกระถางปูนขนาดใหญ่ตามภาพประกอบคอลัมน์ ใช้เวลาเพียง ๑-๒ ปี จะให้ผลผลิตเป็นชุดแรกและติดผลได้ต่อเนื่อง ไม่ขาดต้นครับ.
 ไทยรัฐ - อังคารที่ ๒๘/๑/๕๗  


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTTKe42vU2fmSl0up5bdkqUsnt_Y9FCc2RhNPkfsVl8Uf2mpgIyaQ)
     "มะขามป้อมยักษ์ต้นเตี้ย"  
ผมเคยแนะนำมะขามป้อมชนิดนี้ไปแล้ว แต่จะมีกิ่งขายเฉพาะแหล่ง ไม่มีวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ที่เปิดขายเฉพาะไม้ดอกไม้ผลทุกวันพุธ-พฤหัสฯ จึงทำให้ผู้อ่านไทยรัฐจำนวนมากที่ชอบปลูกมะขามป้อมเดินทางไปซื้อยังแหล่งจำหน่ายไม่ได้ และสอบถามกันเยอะ

มะขามป้อมยักษ์ต้นเตี้ย เป็นพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นจากมะขามป้อมพันธุ์พื้นเมืองของไทยดั้งเดิมที่ต้นสูง ๘-๑๒ เมตร และจะติดผลปีละครั้งระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน ทุกปี จากนั้นก็เอาต้นกล้าไปปลูกปรากฏว่าต้นสูง ๑-๓ เมตร สามารถติดผลดกเต็มต้นเป็นพวง ผลมีขนาดใหญ่เกือบเท่าลูกปิงปอง หรือลูกกอล์ฟและติดผลทั้งปีด้วย เจ้าของเชื่อว่าเป็นพันธุ์ใหม่จึงขยายพันธุ์หลายรูปแบบ นำไปปลูกทดสอบพันธุ์จนมั่นใจแล้วว่ากลายพันธุ์ถาวรแล้ว จากนั้นได้ขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขาย ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกแพร่หลายในเวลานี้

มะขามป้อมยักษ์ต้นเตี้ย มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เช่นเดียวกับมะขามป้อมทั่วไป เพียงแต่ความสูงของต้นจะสูงเพียง ๑-๓ เมตร เท่านั้นก็สามารถติดผลได้ ใบออกเรียงสลับรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนมน ดอกสีเหลือง ออกตามซอกใบ “ผล” ค่อนข้างกลม ผลขนาดใหญ่ตามที่กล่าวข้างต้น มี ๑ เมล็ด ผลสีเขียว รสเปรี้ยวปนฝาด ฉํ่านํ้า ติดผลทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด.
  ไทยรัฐ - ศุกร์ที่ ๗/๓/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/40392398751444_20_3617_3632_3586_3634_3617_36.jpg)
    มะขามป้อมแดงนาเตย
มะขามป้อมชนิดนี้ นำเข้าจากประเทศอินเดียนานกว่า ๓-๔ ปีแล้ว สามารถปลูกและขยายพันธุ์ให้เจริญเติบโตและติดผลดกได้ดีเหมือนกับปลูกและขยายพันธุ์ในถิ่นกำเนิดเดิมทุกอย่าง มีข้อแตกต่างจากมะขามป้อมสายพันธุ์จากประเทศอินเดียและมะขามป้อมพันธุ์ไทยทั่วไปคือ ผลจะมีขนาดใหญ่กว่า โดยผลโตเต็มที่ใหญ่กว่าเหรียญ ๑๐ บาทไทยอย่างชัดเจน ส่วนที่มาของชื่อนั้น เนื่องจากเวลาผลแก่จัดสีของผลจะเป็นสีแดงปนสีน้ำตาลเล็กน้อย ผู้นำพันธุ์เข้ามาปลูกและขยายพันธุ์เลยตั้งชื่อเป็นไทยว่า “มะขามป้อมแดงนาเตย” ดังกล่าว

มะขามป้อมแดงนาเตย หรือ EMBLIC MYROBALAN PHYLLATHUS EMBLICA LINN. อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะขามป้อมทั่วไปทุกอย่าง ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ เป็นสีเหลืองนวลน่าชมมาก “ผล” รูปกลมรีหรือเกือบกลม ผลเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดใหญ่กว่าเหรียญ ๑๐ บาทไทยตามที่กล่าวข้างต้น ผิวผลเมื่อแก่จัดเป็นสีแดงปนสีน้ำตาลเล็กน้อย เนื้อในฉ่ำน้ำ เป็นสีเขียวอ่อน รสชาติเหมือนกับมะขามป้อมทั่วไปคือ เปรี้ยวปนฝาด ๑ ผล มี ๑ เมล็ด ติดผลดกเต็มต้นตามฤดูกาลระหว่างเดือน มกราคม-เมษายน หรือติดผลได้เรื่อยๆ เกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ใครต้องการกิ่งตอนของ “มะขามป้อมแดงนาเตย” ไปปลูก ติดต่อ “คุณวิเชียร บุญเกิด หมู่ ๑ ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร และนอกจากจะมีกิ่งตอนของ “มะขามป้อมแดงนาเตย” ขายแล้ว ยังมีกิ่งตอนของมะขามป้อมพันธุ์ดังๆ นำเข้าจากประเทศอินเดียจำหน่ายให้ผู้ปลูกเลือกซื้อไปปลูกอีกด้วย ราคาสอบถามกันเองครับ
  นสพ.ไทยรัฐ – ศุกร์ที่๑๙/๙/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/98038303603728_21_3617_3632_3586_3634_3617_36.jpg)
    มะขามป้อมยักษ์สายรุ้ง
มะขามป้อมชนิดนี้เป็นหนึ่งในหลายๆ สายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว มีลักษณะเด่นคือ ผลมีขนาดใหญ่มาก โดยผลโตเต็มที่จะเท่ากับเหรียญ ๑๐ บาทไทย เป็นเอกลักษณ์ประจำพันธุ์ของมะขามป้อมทุกๆ สายพันธุ์ที่นำเข้าจากประเทศอินเดีย ผลแก่เป็นสีเขียวสดใสจึงถูกตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “มะขามป้อมยักษ์สายรุ้ง” ดังกล่าว รสชาติเนื้อเปรี้ยวปนฝาดตามแบบฉบับของมะขามป้อมทั่วไป ๑ ผล มี ๑ เมล็ด ที่สำคัญ “มะขามป้อมยักษ์สายรุ้ง” สามารถติดผลดกไม่ขาดต้นตลอดทั้งปี ซึ่งปกติมะขามป้อมพันธุ์ไทยจะติดผลเพียงปีละครั้งตามฤดูกาลคือ ระหว่างเดือนมกราคมต่อเนื่องไปจนถึงผลแก่จัดในเดือนเมษายนของทุกปี จึงทำให้ “มะขามป้อมยักษ์สายรุ้ง” เป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

มะขามป้อมยักษ์สายรุ้ง อยู่ในวงศ์ EUPHOBIACEAEเป็น ไม้ยืนต้น แต่จะสูงแค่ ๓-๕ เมตรเท่านั้น ปกติมะขามป้อมสายพันธุ์ไทยดั้งเดิมจะสูง ๑๐-๒๐เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ เป็นรูปขอบขนาน สีเขียวสด ดอก ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ลักษณะเป็นดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกย่อยเป็นสีเหลืองนวล “ผล” เป็นรูปกลมหรือแป้นเล็กน้อย ผิวผลเกลี้ยง มีเส้นพาดตามยาวจำนวน ๖เส้น ผลมีขนาดใหญ่เท่าเหรียญ ๑๐ บาทไทยตามที่กล่าวข้างต้น เมล็ดรูปกลม สีเขียวเข้ม เนื้อฉ่ำน้ำ รสชาติเปรี้ยวปนฝาด จัดเป็นสายพันธุ์ที่ติดผลดกไม่ขาดต้นตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง   ใครต้องการต้นพันธุ์รุ่นใหม่ ติดต่อ “คุณวิเชียร บุญเกิด” เกษตรกรดีเด่น หมู่ ๑ ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร าคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลใช้ประโยชน์ในครัวเรือน เวลาติดผลดกจะคุ้มค่ามาก ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – พุธที่ ๑/๔/๕๘


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/79599503634704_EyWwB5WU57MYnKOuFNKEdXFP2hPbM8.jpg)
     มะขามป้อมยักษ์แป้นสยาม  กับที่มาพันธุ์เตี้ยดก  
มะขามป้อมชนิดนี้ได้รับการเปิดเผยจากผู้ขายกิ่งตอนว่าเป็นมะขามป้อมพันธุ์ใหม่ เกิดจากที่ ลุงจุ่น คงนัทธี ได้เก็บเอาเมล็ดของมะขามป้อมไทยที่เกิดในป่าพื้นที่ จ.กาญจนบุรี เอาเมล็ดจากต้นที่มีผลขนาดใหญ่เกือบ ๑๐๐ เมล็ด ไปเพาะเป็นต้นกล้าแล้วปลูกจนต้นโตมีดอกติดผล ปรากฏว่ามีอยู่ไม่กี่ต้นที่ต้นเตี้ย ๑-๒ เมตร สามารถติดผลดกมาก ผลใหญ่เกือบเท่าลูกปิงปอง รูปทรงผลสวยกลมแป้น น้ำหนัก ๒๐-๒๕ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม จึงคัดต้นที่ดีที่สุดปลูกทดสอบพันธุ์หลายวิธีทุกอย่างยังคงที่ เลยตั้งชื่อว่า “มะขามป้อมยักษ์แป้นสยาม” ดังกล่าว

มะขามป้อมยักษ์แป้นสยาม หรือ EM-BLIC MYROBALAN PHYLLAN–THUS EMBLICA LINN. อยู่ในวงศ์ EUPHORBIA-CEAE เป็นไม้ยืนต้น แต่ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน ๓ เมตร ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปขอบขนาน ปลายและโคนใบเกือบมน ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ เป็นดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกสีเหลืองนวล “ผล” รูปกลมแป้น ผลโตเต็มที่เกือบเท่าลูกปิงปองตามที่กล่าวข้างต้น ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อผลแก่จัดเป็นสีเข้มขึ้น ฉ่ำน้ำ เนื้อผลกรอบ รสชาติเปรี้ยวปนฝาดเช่นรสชาติของมะขามป้อมทั่วไปทุกอย่าง ๑ ผล มี ๑ เมล็ด ติดผลดกมากตามฤดูกาล และจะติดผลดกตามธรรมชาติในช่วงเดือน มกราคม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือน เมษายนทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82804542366001_EyWwB5WU57MYnKOuFqQkU4KAG1vpZt.jpg)
     มะขามป้อมยักษ์พันธุ์ไทย  กับที่มาพันธุ์ผลใหญ่ดก
มะขามป้อมชนิดนี้ เกิดจากการเอาเมล็ดของมะขามป้อมพื้นเมืองที่เกิดตามป่าธรรมชาติของประเทศไทย ซึ่งมีผลขนาดเล็ก มีผลวางขายทั่วไป เพาะจนแตกเป็นต้นกล้าปลูกเลี้ยงมีดอกติดผล จากนั้นก็เอาเมล็ด ที่ได้จากต้นใหม่ไปเพาะเป็นต้นกล้าปลูกเลี้ยงอีกหลายทอดหลายครั้ง ปรากฏว่า มีผลขนาดใหญ่ขึ้น ประมาณเหรียญ ๑๐ บาทไทย ใหญ่กว่าผลของมะขามป้อมพื้นเมืองอย่างชัดเจน ผู้พัฒนาพันธุ์เชื่อว่าเป็นมะขามป้อมใหม่จึงปลูกทดสอบพันธุ์อยู่หลายวิธี ทุกอย่างยังคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นมะขามป้อมกลายพันธุ์อย่างถาวรแน่นอน เลยตั้งชื่อว่า “มะขามป้อมยักษ์พันธุ์ไทย” พร้อมกับขยายพันธุ์วางขายดังกล่าว

มะขามป้อมยักษ์พันธุ์ไทย หรือ PHYL-LANTHUS EMBLICA LINN. อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เป็นไม้ยืนต้น ซึ่งตามธรรมชาติต้นจะสูง ๘-๑๒ เมตร แต่ “มะขามป้อมยักษ์พันธุ์ไทย” สูงไม่เกิน ๕ เมตร ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนมน ดอกสีเหลืองนวล ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน มีกลีบรวม ๕-๖ กลีบ ดอกตัวผู้และเกสรตัวผู้มี ๓ อัน ดอกตัวเมียมีรังไข่ ๓ พู “ผล” ค่อนข้างกลม โตเต็มที่ประมาณเท่าเหรียญ ๑๐ บาทไทย

ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเขียวอมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ กรอบ รสชาติฝาดปนเปรี้ยว ๑ ผล มี ๑ เมล็ด ติดผลดกมากตามฤดูกาลช่วงระหว่างเดือน
  นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27699361534582_EyWwB5WU57MYnKOuFIwCetB4l27Fty.jpg)
    มะกอกฝรั่งผลยักษ์
มะกอกฝรั่ง ที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปนั้น ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์นำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งสิ้น บางคนเรียกว่า มะกอกหวาน และ มะกอกดง ขนาดผลไม่ใหญ่โตนักประมาณผลมะปรางทั่วไป พ่อค้าผลไม้รถเข็นนำเอาผลไปปอกเปลือกสับเป็นชิ้นขายได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปจิ้มพริกเกลือป่นอย่างแพร่หลายและมีต้นขายทั่วไปที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น

ส่วน “มะกอกฝรั่งผลยักษ์” เป็นสายพันธุ์ใหม่นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย โดย “คุณบุญลือ สุขเกษม” และได้ปลูกทดสอบพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า ๓-๔ ปีแล้ว ปรากฏว่าเจริญเติบโตได้ดีไม่แพ้ถิ่นกำเนิดเดิม มีลักษณะพิเศษคือ ติดผลดก ให้ผลผลิตต่อต้นสูง ติดผลตลอดทั้งปี เวลาติดผลจะเป็นพวงอย่างต่ำ ๕-๗ ผล และที่โดดเด่นเป็นพิเศษได้แก่ ขนาดของผลจะใหญ่กว่าผลของมะกอกฝรั่งทั่วไปทุกสายพันธุ์ที่มีปลูกในประเทศไทย น้ำหนักผลเมื่อโตเต็มที่เฉลี่ยระหว่าง ๘ ขีด ถึง ๑ กิโลกรัม เปรียบเทียบกับผลมะกอกฝรั่งสายพันธุ์ทั่วไปได้อย่างชัดเจน เมล็ดลีบบางและเล็ก เนื้อเยอะ รสชาติเปรี้ยวปนมันกรอบอร่อยมาก จึงถูกตั้งชื่อว่า “มะกอกฝรั่งผลยักษ์” ดังกล่าว

มะกอกฝรั่งผลยักษ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับมะกอกฝรั่งทั่วไปคือ SPONDIASDULCIS อยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน ๓-๕ เมตร ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ต้นใบเหมือนกับมะกอกฝรั่งทุกสายพันธุ์ เพียงแต่ขนาดของผลจะใหญ่กว่าเท่านั้นเอง ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีเขียวอมเหลือง ติดผลทั้งปี  ใครต้องการกิ่งพันธุ์ ติดต่อ “คุณบุญลือ สุขเกษม” ผู้นำเข้าและขยายพันธุ์โดยตรงหรือที่ “สวนบุญบันดาล” ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกเก็บผลกินในครัวเรือนและเก็บผลขายคุ้มค่ามากครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – ๑๙/๑๑/๕๗


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82965765976243_EyWwB5WU57MYnKOuX35nwUb0BUw69w.jpg)
     มะขามป้อมสิริมงคล
มะขามป้อมชนิดนี้ เกิดจากการผสมเกสรโดยธรรมชาติระหว่างมะขามป้อมพื้นเมืองของไทยกับมะขามป้อมยักษ์จากประเทศอินเดีย แล้วเอาเมล็ดไปเพาะเป็นต้นกล้าจำนวนหลายเมล็ด แล้วนำต้นไปปลูกเลี้ยงจนต้นโตมีดอกและติดผล จากนั้นก็ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งโดยตรง ทาบกิ่ง และเสียบยอด นำต้นไปปลูกเลี้ยงจนต้นโตมีดอกและติดผลอีกทอดหนึ่ง ปรากฏว่ามีอยู่หลายต้นมีขนาดของต้นแตกต่างไปจากต้นพ่อและแม่คือ ปลูกในกระถางขนาดใหญ่หรือปลูกในบ่อซีเมนต์ต้นจะสูง ๒-๓ เมตร สามารถมีดอกและติดผลดกเต็มต้น หลังปลูกเพียง ๒ ปีแค่นั้น

ที่สำคัญคือขนาดของผลจะมีขนาดใหญ่ นํ้าหนักเฉลี่ยระหว่าง ๑๘ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม ซึ่งถ้าหากเป็นผลของมะขามป้อมสายพันธุ์พื้นเมืองทั่วไป จะต้อง ๓๐ ผลขึ้นไปจึงจะมีนํ้าหนักได้ ๑ กิโลกรัม ผลอ่อนเป็นสีเขียวใสเมื่อแก่จะเป็นสีเหลืองทอง เมล็ดเล็ก ฉ่ำนํ้า ติดผลดกเต็มต้น รสชาติดี เหมือนกับผลมะขามป้อมทั่วไปทุกอย่าง เจ้าของผู้พัฒนาพันธุ์มั่นใจว่าเป็นมะขามป้อมพันธุ์ใหม่ จึงตั้งชื่อว่า “มะขามป้อมสิริมงคล” ดังกล่าว

มะขามป้อมสิริมงคล หรือ AMBLIC-MYROBALAN PHYL-LANTHUS AMBLIC LINN. อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE ต้นปลูกลงดินสูงเต็มที่ไม่เกิน ๓-๕ เมตร (ปกติต้นมะขามป้อมพันธุ์พื้นเมืองจะสูง ๑๐-๑๕ เมตร) ติดผลดกเต็มต้นตลอดทั้งปี ผลมีขนาดใหญ่ตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
   นสพ.ไทยรัฐ 


หัวข้อ: Re: มุม "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 26 มิถุนายน 2556 10:54:26
.

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRc5k5XWGU1B5xX9SVxnJV9FyAyB6y6Fh893p0IFCEUdZnrW5p13g)
     กระท้อนทองกำมะหยี่
ในยุคสมัยก่อน เกษตรกรนิยมปลูกกระท้อนด้วยการเพาะเมล็ด จึงทำให้เกิดการกลายพันธุ์มากมาย ซึ่งในประเทศไทยมีกระท้อนเกินกว่า ๕๐ สายพันธุ์ และ “กระท้อนทองกำมะหยี่” เป็นหนึ่งในกระท้อนกลายพันธุ์ดังกล่าวด้วย นิยมปลูกรับประทานและเก็บผลขายมาแต่โบราณ มีถิ่นกำเนิดเดิมย่านตลิ่งชัน บางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. รวมทั้งในพื้นที่ ต.บางกร่าง จ.นนทบุรี และเขตใกล้เคียง มีการกระจายพันธุ์ไปปลูกถิ่นอื่นประปรายใน จ.ปราจีนบุรี

ต่อมา ได้มีกระท้อนกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ๆ เช่น กระท้อนอีล่า และ กระท้อนปุยฝ้าย  ออกมา วางขายได้รับความนิยมจากผู้รับประทานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีผลขนาดใหญ่ ทรงผลสวยงาม รสชาติหวานหอมอร่อยมาก จึงทำให้  “กระท้อนทองกำมะหยี่” ถูกลืมและหายหน้าหายตาไป

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเพิ่งพบว่ามีผู้ขยายพันธุ์ตอนกิ่ง “กระท้อนทองกำมะหยี่” ออกวางขาย จึงแนะนำในคอลัมน์ทันที ซึ่ง “กระท้อนทอง กำมะหยี่” เป็นไม้ยืนต้น อยู่ในวงศ์ MELIACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับกระท้อนทั่วไป ต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตร ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ สีเขียวอมเหลือง มีกลิ่นหอม “ผล” ทรงกลม สุกสีเหลืองทอง ผิวผลมีขนละเอียดคล้ายกำมะหยี่ นุ่มมือ จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะผลว่า “กระท้อนทองกำมะหยี่” ดังกล่าว

เปลือกผลบาง เนื้อหรือปุยสีขาวหลุดจากเมล็ดง่าย รสชาติหวานไม่แพ้กระท้อนปุยฝ้าย สามารถใช้ช้อนตักเนื้อกินได้จนถึงเปลือกจะมีรสหวานมากขึ้น เมล็ดเล็ก เป็นกระท้อนพันธุ์เบา ปลูกง่ายติดผลเร็วและดกมาก ติดผลปีละครั้ง เก็บผลผลิตได้ในช่วงฤดูร้อนของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง เสียบยอด และติดตา
 คอลัมน์ "เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ" หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ



(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ9o5_ejhQfQa86Iil8PF7JQwtrZ3Li3o13B3MM3ksmk9urSlxevg)
     กระท้อนผอบทอง ปุยหนาหวานนุ่ม
กระท้อนชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ จ.นนทบุรี เป็นสายพันธุ์โบราณที่นิยมปลูกและนิยมรับประทานมาช้านาน ต่อมาได้มีการนำเอาสายพันธุ์ไปปลูกต่างถิ่นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ ที่ ต.บางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี สามารถเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูง ให้ผลดกไม่แพ้การปลูกในถิ่นเดิม จึงขยายพันธุ์ปลูกในเชิงธุรกิจเก็บผลขายได้รับความนิยมจากผู้รับประทานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากรสชาติหวานนุ่มอร่อยดีนั่นเอง

ส่วนที่มาชื่อ เป็นเพราะผลแก่จัดจะเป็นสีเหลืองคล้ายสีของผอบทองคำ จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะดังกล่าวว่า“กระท้อนผอบทอง” เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

กระท้อนผอบทอง เป็นไม้ต้น สูง ๘-๑๐ เมตร ใบขนาดใหญ่ ใบแก่เป็นสีแดง ดอกขนาดเล็กสีเหลืองอ่อน “ผล” รูปทรงกลม เปลือกหนา ผลขณะยังอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อผลแก่หรือสุกเป็นสีเหลือง ภายในมีเมล็ด ซึ่งเนื้อหุ้มเมล็ดของ “กระท้อนผอบทอง” จะมีความเป็นพิเศษคือ ปุยเป็นสีขาวฟูและหนามาก รสชาติหวานสนิทไม่มีเปรี้ยวปนเลย ใช้ช้อนตักรับประทานได้ถึงเปลือกผลอร่อยมาก ผลโตเต็มที่นํ้าหนักระหว่าง ๔-๖ ขีด เมล็ดเล็กและลีบ จึงมีเนื้อเยอะกว่ากระท้อนชนิดอื่น ผลสุกเต็มที่ติดต้นเนื้อไม่เป็นนํ้าหมาก เป็นกระท้อนพันธุ์เบาติดผลง่ายและดกมาก หลังปลูก ๒ ปี จะเริ่มให้ผลผลิต เมื่ออายุได้ ๔ ปี ผลจะดกมากยิ่งขึ้น และขั้วผลจะยาวตามไปด้วย ทำให้ง่ายต่อการห่อผลป้องกันแมลง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
 คอลัมน์ "เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ" หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41705864792068_1.png)
กระท้อนผอบทอง ปุยหนาหวานถึงเปลือก
กระท้อนชนิดนี้ เป็นพันธุ์โบราณ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ จ.นนทบุรี ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๕ ได้มีผู้นำเอาต้นที่ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งไปปลูกที่ ต.บางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ปรากฏว่าสามารถเติบโตได้ดีจนมีดอกและติดผลเก็บขายได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก “กระท้อนผอบทอง” มีเนื้อหุ้มเมล็ดเป็นปุยหนา รสชาติหวานสนิทสามารถใช้ช้อนตักกินได้ถึงเนื้อเปลือก ไม่มีรสเปรี้ยวหรือรสฝาดจากเปลือกเจือปนเลย อร่อยมาก ส่วนต้นแม่ที่ จ.นนทบุรี ทราบว่าถูกน้ำท่วมตายหมดจึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง

กระท้อนผอบทอง เป็นกระท้อนพันธุ์เบา หมายถึงติดผลง่ายและให้ผลผลิตดกทั้งต้น หลัง ปลูกเพียง ๒-๓ ปี จะเริ่มมีผลชุดแรกให้เห็น และที่สำคัญผลจะแก่เร็วกว่าผลกระท้อนสายพันธุ์อื่นประมาณ ๑๕ วัน จึงทำให้ผู้ปลูกเพื่อเก็บผลขายมีข้อได้เปรียบ เนื่องจากสามารถเก็บผลขายได้เร็วก่อนกระท้อนสายพันธุ์ทั่วไป เกษตรกรจึงนิยมปลูก “กระท้อนผอบทอง” อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

กระท้อนผอบทอง หรือ SANDORICUM INDICUMCAR, KOET-JAPEMERR. อยู่ในวงศ์ MELIACEAE เป็นไม้ยืนต้นสูง ๑๐-๒๐ เมตร ดอกสีเหลืองอ่อน “ผล” รูปกลมแป้น โตเต็มที่น้ำหนัก ๔-๖ ขีดต่อผล ผลดิบเป็นสีเขียว พอผลเริ่มเป็นสีเหลืองเนื้อในจะมีรสหวานแล้ว เมื่อผลแก่จัดจะเป็นสีเหลืองเข้มดูคล้ายผอบสีทอง จึงถูกตั้งชื่อว่า “กระท้อนผอบทอง” ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
  คอลัมน์ "เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ" หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39569162122077_1.jpg)
     กระท้อนผอบทอง  อร่อยเก็บผลขายได้ก่อน
กระท้อนชนิดนี้ มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์คือ เนื้อเป็นปุย ฟูหนานุ่ม สามารถใช้ช้อนตักกินได้จนถึงเปลือก รสชาติหวานสนิทไม่มีรสเปรี้ยวหรือฝาดเจือปนเลย เป็นกระท้อนสายพันธุ์เบาติดผลง่ายให้ผลผลิตสูงหลังปลูกเพียงแค่ ๒ ปีเท่านั้น จะติดผลชุดแรกและจะติดผลดกขึ้นเรื่อยๆ เมื่อต้นมีอายุได้ ๔ ปีขึ้นไป ตามภาพประกอบคอลัมน์ ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ “กระท้อนผอบทอง” ได้แก่ เวลาติดผลจะแก่เร็วกว่ากระท้อนสายพันธุ์อื่นประมาณ ๑๕ วัน จึงทำให้ผู้ปลูกเก็บผลขายเชิงพาณิชย์สามารถเก็บผลออกวางจำหน่ายได้ก่อนกระท้อนพันธุ์อื่น และไม่ต้องห่อผลป้องกันแมลงด้วย

น้ำหนักผล เมื่อโตเต็มที่เฉลี่ยระหว่าง ๔-๖ ขีดต่อผล ผลอ่อนเป็นสีเขียว พอผลเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองยังไม่ถึงกับแก่หรือสุกเนื้อในจะหวานกินได้เลย ผลสุกหรือแก่เป็นสีเหลืองจัด รูปทรงของผลจะกลมแป้นเล็กน้อยทำให้ดูเหมือนกับผอบทองคำโบราณ จึงถูกตั้งชื่อว่า “กระท้อนผอบทอง” และเรียกกันเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน ผลสุกเต็มที่สามารถติดอยู่บนต้นได้นาน โดยที่เนื้อในไม่เป็นโรค “น้ำหมาก” รับประทานอร่อยเหมือนเดิมทุกอย่าง

กระท้อนผอบทอง หรือ SANDO-RICUM INDICUMCAR, KOET-JAPEMERR อยู่ในวงศ์ MELIA-CEAE เป็นกระท้อนสายพันธุ์โบราณ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมที่ จ.นนทบุรี ถูกนำไปปลูกต่างถิ่นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ ที่ ต.บางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ส่วนต้นแม่เดิมที่ จ.นนทบุรี ถูกน้ำท่วมตายในเวลาต่อมา ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
   นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/99997592965761_2.jpg)
     กระท้อนอีล่ายักษ์  ราคาดีหวานกับที่มาชื่อ
กระท้อนชนิดนี้ เป็นพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดหนึ่งในแถบภาคกลาง โดยแรกทีเดียว ชาวบ้าน ได้รับแจกกิ่งพันธุ์ จากกระทรวงเกษตรฯ แล้วนำไปปลูกจนมีดอกและติดผล ปรากฏว่าผลดกเต็มต้น และผลมีขนาดใหญ่มาก ผลโตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ ๐.๙ กิโลกรัม หรือเกือบ ๑ กิโลกรัมนั่นเอง เนื้อหุ้มเมล็ดเป็นปุยขาวฟูและเนื้อเยอะ รสชาติหวานจัดปนเปรี้ยวนิดๆ รับประทานอร่อยมาก ชาวบ้านซึ่งเป็นผู้ปลูกจึงขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกขายภายใต้ชื่อ “กระท้อนอีล่ายักษ์” ได้รับความนิยมปลูกเพื่อเก็บผลกินในครัวเรือน และเก็บผลขายเชิงพาณิชย์ได้ราคาดี กิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า ๑๕๐-๑๘๐ บาท เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ส่วนที่มาของชื่อ “กระท้อนอีล่ายักษ์” นั้น เป็นเพราะผลของกระท้อนดังกล่าวจะแก่จัดหรือสุกได้ล่าช้ากว่ากระท้อนทุกๆ สายพันธุ์ที่ปลูก มีดอกและติดผลตามฤดูกาลพร้อมๆ กันในทุกๆปี และผลมีขนาดใหญ่กว่าผลกระท้อนพันธุ์ใดๆ จึงถูกตั้งชื่อว่า “กระท้อนอีล่ายักษ์” เพราะสุกหรือแก่ล่าช้ากว่าเพื่อนนั่นเอง

กระท้อนอีล่ายักษ์ หรือ SANDORICUM INDICUMCAR, KOETJAPEMERR อยู่ในวงศ์ MELIACEAE ต้นสูง ๑๐-๑๕ เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนเกือบมน ใบแก่เป็นสีแดงทั้งใบน่าชมยิ่ง ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอก เป็นสีเหลืองอ่อน “ผล” กลมแป้นสีเหลืองทอง เปลือกผลหนา ๑ ผล มี ๕ เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาวเป็นปุยฟูฉ่ำน้ำหวานปนเปรี้ยวนิดๆ รับประทานอร่อยมาก เวลาติดผลจะเป็นพวง ๕-๖ ผล ติดผลดกมากตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
   นสพ.ไทยรัฐ



หัวข้อ: Re: มุม "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 26 มิถุนายน 2556 10:58:53
.
(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRoIGC2i_XX7QeqvQVW2Bdl99fffsv4nbzbtWLTilMiPv_ohLpJ5w)
    ชมพู่
ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ วิตามินซีช่วยปกป้องร่างกายด้วยการ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ เป็นไม้ผลเขตร้อนซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ตระกูลเดียวกับฝรั่ง หว้า ยูคาลิปตัส

ชมพู่เป็นผลไม้ที่ให้เส้นใยอาหารทั้งชนิดที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ดีต่อระบบขับถ่ายช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะ ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ วิตามินซีช่วยปกป้องร่างกายด้วยการ   เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ เป็นไม้ผลเขตร้อนซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ตระกูลเดียวกับฝรั่ง หว้า ยูคาลิปตัส ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายกุหลาบ ผลมีรสชาติหวานกรอบ คนไทยจึงนิยมปลูกเป็นไม้มงคลประจำบ้าน
...นสพ.เดลินิวส์

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTDECCDiohc0whlA9rXl2X6u4stECjIbPt5grGy-YRuWyc4ki1i)
     ชมพู่น้ำตาลทราย
ชมพู่ชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดจาก ประเทศอินโดนีเซีย ถูกนำเข้าปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว แต่ไม่แพร่หลายสู่ตลาดไม้ผล เนื่องจากส่วนใหญ่จะปลูกเฉพาะตามสวนผู้ที่ชอบสะสมชมพู่พันธุ์ต่างๆเท่านั้น เพิ่งจะถูกปล่อยกิ่งตอนออกจำหน่ายเมื่อไม่นานมานี้ โดย “ชมพู่น้ำตาลทราย” มีที่มาชื่อคือ ชาวพื้นเมืองของอินโดนีเซียเรียกว่า “กุลาร์ ปาซีร์” แปลว่า“น้ำตาลทราย” เพราะผลมีรสหวานเป็นพิเศษ จึงถูกตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ชมพู่น้ำตาลทราย” ดังกล่าว

ชมพู่น้ำตาลทราย หรือชมพู่กุลาร์ ปาซีร์ มีลักษณะเด่นคือ ขนาดผลโตเต็มที่น้ำหนักเฉลี่ย ๒๕๐-๔๐๐ กรัมต่อผล ซึ่งขนาดชมพู่ทับทิมจันทร์ที่ว่าใหญ่แล้วยังโตเต็มที่เพียง ๑๕๐ กรัมต่อผลเท่านั้น เวลาติดช่อดอกจะเป็นช่อขนาดใหญ่ ดอกเป็นสีเหลืองสวยงามมาก ที่สำคัญเมื่อติดผลจะเป็นพวง ๑๐-๑๕ ผลต่อพวง ถือว่าดกมาก สีเปลือกผลส่วนหัวเป็นสีขาว ผิวผลส่วนอื่นเป็นสีแดงหรือชมพูขึ้นอยู่กับฤดูกาล เมื่อผลแก่ส่วนสันของผลจะปรากฏริ้วสีแดงพาดตามยาวของผลอย่างชัดเจน ผลจะเริ่มแก่ในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูแล้ง ซึ่งเป็นช่วงที่ “ชมพู่น้ำตาลทราย” มีคุณภาพดีที่สุด รสชาติหวานจัดประมาณ ๑๔-๑๕ องศาพริกซ์ ไม่มีรสเปรี้ยวเจือปนเลย ทุกผลจะไม่มีเมล็ด เนื้อมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวคล้ายกลิ่นน้ำตาลโตนดแบบสดๆ จึงรับประทานอร่อยมาก สามารถติดผลได้เรื่อยๆ ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง ใบดกให้ร่มเงาดี ใบไม่ร่วงง่าย ปลูกได้ทุกสภาพดินและทนต่อการถูกน้ำท่วมขังได้เก่งด้วย


(http://www.matichon.co.th/online/2012/06/13401917551340191834l.jpg)
     ชมพู่ไต้หวัน ผลยักษ์ไม่มีเมล็ด อร่อย
ชมพู่ชนิดนี้ เป็นต้นเดียวกันกับ ชมพู่ยักษ์ไต้หวัน ที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว ปัจจุบัน มีผู้ตอนกิ่งออกวางขายในชื่อ “ชมพู่ไต้หวัน” ทำให้ผู้ซื้อไปปลูกเกิดความสงสัยและสับสนคิดว่าเป็นชมพู่พันธุ์ใหม่ ซึ่งก็ขอยืนยันว่า “ชมพู่ไต้หวัน” เป็นต้นเดียวกันกับ ชมพู่ยักษ์ไต้หวัน ตามที่กล่าวข้างต้นอย่างแน่นอน เพียงแต่ ผู้ขายกิ่งตอนตัดคำว่า “ยักษ์” ออกไปให้เหลือเพียงชื่อ “ชมพู่ไต้หวัน” เท่านั้น

ชมพู่ไต้หวัน หรือ ชมพู่ยักษ์ไต้หวัน มีความเป็นพิเศษคือ ผลมีขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่หนักได้ถึง ๘๐๐ กรัมต่อผล แต่โดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ๓๕๐-๕๐๐ กรัมต่อผล ใหญ่กว่าผลของ ชมพู่ทับทิมจันทร์ ที่มีน้ำหนักเพียง ๑๕๐ กรัมต่อผลเท่านั้น และที่สำคัญ “ชมพู่ไต้หวัน” ยังเป็นชมพู่สายพันธุ์ที่ไม่มีเมล็ดอีกด้วย ซึ่งในประเทศไต้หวันมีการรณรงค์ให้เกษตรกรของเขาปลูกเพื่อเก็บผลส่งขายทั้งในประเทศและส่งออกได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก “ชมพู่ไต้หวัน” มีรสชาติหวานกรอบอร่อยมาก ความหวานระหว่าง ๑๐-๑๔ องศาบริกซ์ มีความเป็นกรดต่ำ จึงทำให้ไม่มีรสเปรี้ยวเจือปนเลย

สีของผล เมื่อสุกจะดูสวยงามมาก โดยเฉพาะจะติดผลดกเป็นพวงอย่างน้อย ๓-๕ ผลต่อพวง ติดผลเกือบตลอดปี จึงทำให้คุ้มค่ามากที่จะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน หรือปลูกเพื่อเก็บผลขายสร้างรายได้ ซึ่ง “ชมพู่ไต้หวัน” หรือชมพู่ยักษ์ไต้หวัน มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับชมพู่ทั่วไป เพียงแต่ขนาดของใบจะใหญ่มากและไม่ร่วงง่ายให้ร่มเงาดียิ่ง เป็นสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อการถูกน้ำท่วมขังได้ดี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และติดตา  ปัจจุบันมีกิ่งตอนขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ
ไทยรัฐ - พุธที่ ๑๙/๖/๕๖


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTGlUx0RXhfSP4mFwhfwkxHbWVSZcXQTVtaGeh_RfoiXU2GZVqR)
     ชมพู่
ชมพู่พื้นบ้านของไทยคือ น้ำดอกไม้ มีกลิ่นหอมเนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ รสออกเปรี้ยวอมหวาน ผลชมพู่สดให้เส้นใยอาหารทั้งชนิดที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ดีต่อระบบขับถ่ายช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ วิตามินซีช่วยปกป้องร่างกายด้วยการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ร่างกายต้องการวิตามินซีเพื่อสร้างคอลลาเจน ที่จำเป็นต่อการสร้างผิวหนังและรักษาบาดแผล เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟันด้วยแคลเซียมและแมกนีเซียม

ชมพู่ เป็นผลไม้ในไม่กี่ชนิดที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่ต้องจำกัดปริมาณน้ำควรระวังการกิน เพราะเนื้อชมพู่มีปริมาณน้ำค่อนข้างมากในเนื้อชมพู่ ๑๐๐ กรัม ประกอบด้วยคุณค่าทางอาหาร ได้แก่ พลังงาน ๒๔ กิโลแคลอรี โปรตีน ๐.๕ กรัม คาร์โบไฮเดรต ๕.๕ กรัม แคลเซียม ๒ มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส ๑๘ มิลลิกรัม เหล็ก ๐.๓ มิลลิกรัม วิตามิน ๓๒ มิลลิกรัม
เดลินิวส์ - พฤหัสบดีที่ ๗/๒/๕๖  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/56834753892487_1.png)
     มะเหมี่ยวราชินีสีทอง
มะเหมี่ยวชนิดนี้ เกิดจากการกลายพันธุ์แบบถาวรตามธรรมชาติ โดยเมื่อประมาณ ๑๑ ปี ที่ผ่านมา “คุณกิติ ชุมสกุล” เจ้าของ ไร่ขิงพันธุ์ไม้ บ้านเลขที่ ๓๗/๑ หมู่ จ ต.ท่าตลาด อ.สามพราน จ.นครปฐม ได้ปลูกชมพู่มะเหมี่ยวพันธุ์ทั่วไปลายต้นจนมีดอกแล้วแมลงบินไปกินน้ำหวานจากดอก ผสมเกสรจากต้นนั้นสู่ต้นนี้ เมื่อติดผลนำเอาเมล็ดที่ได้ไปเพาะขยายพันธุ์หลายต้น ปรากฏว่ามีอยู่ต้นหนึ่งมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์แปลกคือใบอ่อนจะเป็นสีชมพูอมแดงหรือแดงเข้ม เป็นใบด่างกว่า ๕๐-๗๐ เปอร์เซ็นต์ของผิวใบ ใบเริ่มแก่สีจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนที่เป็นสีชมพูจะกลายเป็นสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองทองน่าชมมาก ลักษณะใบไม่คงที่คล้ายใบโกสนแปลกตายิ่ง จึงถูกตั้งชื่อว่า“มะเหมี่ยวราชินีสีทอง” ดอก เป็นสีชมพูเหมือนดอกมะเหมี่ยวทั่วไป ออกตามกิ่งก้าน

ผลรูปค่อนข้างยาว หรือรูปสามเหลี่ยมมน ฉ่ำน้ำ ผลเป็นสีชมพูหรือแดงอมม่วง ผล เมื่อแก่หรือสุกจะมีรสชาติหวานหอมเหมือนกลิ่นแอปเปิ้ล มีเมล็ด ติดผลปีละครั้งช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ทุกปี ขยายพันธุ์ด้วย เมล็ดและต่อยอด ซึ่ง “มะเหมี่ยวราชินีสีทอง” นอกจากจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนได้อร่อยแล้ว ยังสามารถปลูกเป็นไม้ประดับในบริเวณบ้านได้สวยงามแปลกตาอีกด้วย

ประโยชน์ทางยา ราก ของมะเหมี่ยวทั่วไปต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้คัน แก้ไข้ แก้บิด ขับปัสสาวะ เปลือกของราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาขับประจำเดือน ใบสด เคี้ยวกินแก้บิด  ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริกทั่วไปรสชาติอร่อยมากครับ.



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55148054824935_1.png)
     ชมพู่น้ำตาลแดง หวานหอมกรอบอร่อย
ทีแรกที่เห็น กิ่งตอนวางขาย มีภาพถ่ายผลจริงโชว์ให้ชมและมีป้ายชื่อว่า “ชมพู่น้ำตาลแดง” นึกว่าเป็นชมพู่พันธุ์ใหม่ แต่ผู้ขายบอกว่าเป็นต้นเดียวกับ ชมพู่น้ำตาลทราย ที่ “นายเกษตร” เคยแนะนำในคอลัมน์ไปกว่าครึ่งปีแล้ว ที่เปลี่ยนชื่อเป็น “ชมพู่น้ำตาลแดง” ก็เพราะต้องการเรียกความสนใจจากผู้ซื้อกิ่งตอนไปปลูกเท่านั้น

ชมพู่น้ำตาลแดง หรือ ชมพู่น้ำตาลทราย มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินโดนีเซีย ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว  มีชื่อเรียกเฉพาะในประเทศอินโดนีเซียว่า “กุลาร์ปาซีร์” ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “น้ำตาลทราย” มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์คือ ขนาดผลจะใหญ่มาก ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๓๐๐-๔๐๐ กรัมต่อผล ใหญ่กว่าผลของชมพู่ทับทิมจันทร์ ที่ว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดแล้วอย่างชัดเจน

ต้นสูง ๗-๑๐ เมตร ใบไม่ร่วงง่าย ใบดกให้ร่มเงาดีมาก ดอกเป็นช่อสีเหลือง เวลามีดอกจะดูสวยงามมาก หลังดอกร่วง จะติดผลเป็นพวงอย่างน้อย ๑๐-๑๕ ผลต่อพวง ติดผลดกทั้งต้น สีของผลแก่ส่วนหัวเป็นสีขาว ส่วนอื่นเป็นสีแดงเข้ม ทำให้เวลาติดผลดกเป็นพวงทั้งต้นจะสวยงามน่าชมยิ่งนัก รสชาติหวานกรอบไม่มีรสเปรี้ยวเจือปนเลย วัดความหวานได้ประมาณ ๑๔-๑๕ องศาบริกซ์ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวคล้ายกลิ่นน้ำตาลโตนดแบบสดๆ ทำให้เวลารับประทานอร่อยชื่นใจมาก ทุกผลไม่มีเมล็ด ผลแก่ในช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องไปจนถึงฤดูแล้ง สามารถติดผลได้เรื่อยเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง เสียบยอด และทาบกิ่ง  แต่ละกิ่งขยายพันธุ์ด้วยวิธีทาบกิ่งมีรากแก้วแข็งแรงดีแล้ว ปลูกได้ในทุกสภาพดินและทนต่อการถูกน้ำท่วมขังได้ดี หลังปลูก ๒-๓ ปี จะมีผลผลิตชุดแรกและจะติดผลดกขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุของต้นที่ปลูก  
ไทยรัฐ - พฤหัสบดีที่ ๑๒/๑๒/๕๖


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRAKcP7jNInf3kMelJHJ4woMzVc09rYSopwotTsos6-hWharnAD)
     ชมพู่ดีมี ๒ พันธุ์ หวานหอมดกใหญ่ทั้งปี

ชมพู่ เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมปลูกมาช้านาน ทั้งปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนและเก็บผลขาย ซึ่งชมพู่ที่นิยมปลูกอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มี ๒ ชนิดพันธุ์ คือ “ชมพู่นํ้าตาลทราย” มีถิ่นกำเนิดจาก ประเทศอินโดนีเซีย มีจุดดีคือ ผลแก่หรือสุกจะ มีความหวานสูงถึง ๑๔-๑๕ องศาบริกซ์ มี กลิ่นหอมเหมือนนํ้าตาลโตนดแบบสดๆ ซึ่งอินโดนีเซียเรียกว่า “กุลาร์ ปาชีร์” แปลว่า นํ้าตาลทราย จึงถูกตั้งชื่อไทยว่า “ชมพู่นํ้าตาลทราย” ผลโตเต็มที่หนักประมาณ ๒๕๐-๔๐๐ กรัม ผลสุกเป็นสีแดงอมชมพูเข้มสวยงามมาก ผลแก่ช่วงฤดูหนาว หวานกรอบหอมอร่อยไม่มีเปรี้ยวเจือปนเลย ทุกผลไม่มีเมล็ด ติดผลทั้งปี ติดผลดกตรงกับเทศกาลตรุษจีน ทำให้เก็บผลขายได้ราคาดีในช่วงดังกล่าว

อีกชนิดคือ “ชมพู่ยักษ์ไต้หวัน” มีถิ่นกำเนิดจาก ประเทศไต้หวัน มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ผลใหญ่มาก นํ้าหนักเฉลี่ยได้ถึง ๘๐๐ กรัม (ต้องห่อผลช่อละ ๑ ผล) หากปลูกเพื่อเก็บผลขายเป็นการค้านํ้าหนักผล ควรอยู่ระหว่าง ๔๐๐-๖๐๐ กรัม (ห่อผล ๒-๓ ผลต่อช่อ) สีผลขณะยังอ่อนเป็นสีชมพู เมื่อผลแก่จัดขั้วผลจะเป็นสีขาวและผลเป็นสีชมพูอมแดง รสชาติหวานกว่าชมพู่ทับทิมจันทร์อย่างชัดเจน จึงทำให้ “ชมพู่ยักษ์ไต้หวัน” ได้รับความนิยมปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้ ทุกผลไม่มีเมล็ด ติดผลทั้งปี ให้ผลผลิตสูงช่วงฤดูหนาว

ใคร ต้องการกิ่งพันธุ์ “ชมพู่ดี ๒ พันธุ์” ติดต่อที่ตลาด นัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในทุกสภาพดิน ชอบนํ้ามาก หากขยันรดนํ้าบำรุงปุ๋ยมูลค้างคาวสม่ำเสมอสองเดือนครั้ง จะทำให้ติดผลเร็วหลังปลูกเพียง ๑ ปี และ ทยอยให้ผลผลิตไม่ขาดต้นตลอดทั้งปีครับ.
ไทยรัฐ - ศุกร์ที่ ๑๔/๓/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/26931387061873_32_3594_3617_3614_3641_3656_36.jpg)
    ชมพู่เพชรนางฟ้า
ชมพู่ชนิดนี้ เกิดจากการเอาเมล็ดจำนวนมากของ ชมพู่เพชรเขียว และ ชมพู่น้ำตาลทรายขาว ไปเพาะเป็นต้นกล้า แล้วนำไปปลูกจนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่า ขนาดของต้นเป็นพุ่มสูงปานกลางไม่สูงใหญ่นัก ติดผลดกเป็นพวงสีขาว สวยงามน่าชมยิ่งนัก รสชาติหวานกรอบหอมอร่อยเหมือนกับชมพู่เพชรเขียว และชมพู่น้ำตาลทรายขาว ทุกอย่าง จะแตกต่างตรงจุดที่ว่า “ชมพู่เพชรนางฟ้า” จะมีเนื้อหนาแน่นกว่า ที่สำคัญ “ชมพู่เพชรนางฟ้า” จะไม่มีเมล็ดด้วย จึงคัดพันธุ์ปลูกทดสอบพันธุ์อยู่หลายครั้งหลายวิธี ทุกอย่างยังคงที่และมั่นใจว่าเป็นชมพู่กลายพันธุ์แบบถาวรแน่นอนแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “ชมพู่เพชรนางฟ้า” พร้อมขยายพันธุ์ด้วยระบบตอนกิ่งออกวางขายกำลังได้รับ ความนิยมจากผู้ปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้

ชมพู่เพชรนางฟ้า อยู่ในวงศ์ MYRTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๗ เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบแหลม ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งก้านและซอกใบ ดอกเป็นสีขาว ดอกรสเปรี้ยวนำไปปรุงเป็นยำรับประทานได้ “ผล” กลมรี ผลอ่อนสีขาวใส เมื่อแก่เนื้อจะเป็นสีขาวขุ่นเหมือนสีงาช้าง รสชาติหวานกรอบหอมอร่อย ไม่มีเมล็ดตามที่กล่าวข้างต้น มีดอกและติดผลดกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง   ใครต้องการต้นไปปลูก ติดต่อสวนผู้พัน “คุณวิวัฒน์ มาบุญ” หมู่ ๗ ต.โพธิ์งาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี หรือที่ตลาดนัดสนามหลวง ๒ บางแค กทม., ราคาสอบถามกันเอง ทุกต้นมีรากแก้วดีและมีสติ๊กเกอร์รับรองพันธุ์ด้วย ปลูกง่ายโตเร็ว หลังปลูก ๑.๕-๒ ปี จะติดผลชุดแรกและจะติดผลดกตลอดทั้งปีอย่างต่อเนื่อง ทำให้คุ้มค่ามากครับ.  
  นสพ. ไทยรัฐ – ศุกร์ที่ ๙/๑/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/12217950282825_33_3594_3617_3614_3641_3656_36.jpg)
    ชมพู่สาแหรก
ปัจจุบัน “ชมพู่สาแหรก” หาซื้อผลรับประทานได้ยากเนื่องจากผู้ปลูกปลูกเพื่อเก็บผลขายมีน้อยลง ซึ่ง ในยุคสมัยก่อนนิยมปลูกกันอย่างกว้างขวางเกือบทุกครัวเรือน โดยเฉพาะในแถบจังหวัดนนทบุรี และย่านตลิ่งชัน เขตบางกอกน้อย กทม. เพื่อเก็บผลกินในครัวเรือนและขายสร้างรายได้ส่วนหนึ่งด้วย เวลามีแขก ไปเยี่ยมเยียนถึงบ้านในช่วงที่ “ชมพู่สาแหรก” ติดผลแก่จัด เจ้าของบ้านจะเก็บผลผ่าซีกจัดใส่ถาดให้ผู้ไปเยือนรับประทานเป็นของว่าง รสชาติหวานหอมคล้ายกลิ่นดอกไม้เป็นที่ชื่นชอบของผู้รับประทานและเป็นเอกลักษณ์แบบไทยๆ ดีมาก

ชมพู่สาแหรก หรือ  ENGENIA MALAC- GENSIS LINN. อยู่ในวงศ์ MYRTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๘-๑๐ เมตร ใบออกสลับ ยอดอ่อนหรือใบอ่อนเป็นสีชมพูหรือสีน้ำตาล ใบมีขนาดใหญ่ ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งก้านและซอกใบ มีเกสรตัวผู้สีขาวจำนวนมาก “ผล” กลมรี ปลายผลจะใหญ่กว่าหัวผล ผลสุกสีขาวหรือชมพู มีลายทางตามยาวของผลดูคล้ายสาแหรกใส่ของโบราณ จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะดังกล่าวว่า “ชมพู่สาแหรก” ใน ๑ ต้นจะมีผล ๒ แบบคือ ผลใหญ่ภายในมีเมล็ดตามภาพประกอบคอลัมน์ กับผลขนาดเล็กโตเต็มที่ประมาณนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ ชนิดนี้ไม่มีเมล็ด ชาวสวนนิยมเรียกกันว่า “ชมพู่สาแหรกกะเทย” ซึ่งใน ๑ ต้นจะมีผลเป็นกะเทยไม่ถึง ๕ กิโลกรัม ทำให้ “ชมพู่สาแหรกกะเทย” มีราคาแพงกว่า “ชมพู่สาแหรก” ชนิดผลใหญ่เพราะติดผลน้อยนั่นเอง ติดผลตามฤดูกาลช่วงฤดูร้อนต่อเชื่อมฤดูฝน ขยายพันธุ์ไปด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง.
  นสพ.ไทยรัฐ – ศุกร์ที่ ๒๓๑/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37435589192642_1_3594_3617_3614_3641_3656_361.jpg)
    ชมพู่มะเหมี่ยวขาว  
ชมพู่ชนิดนี้ เป็นไม้ผลโบราณที่นิยมปลูกเฉพาะถิ่นแถบ จ.นนทบุรี และย่านตลิ่งชัน เขตบางกอกน้อย กทม. ส่วนใหญ่ปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนและมีปลูกเก็บผลขายบ้างประปราย จากนั้น “ชมพู่มะเหมี่ยวขาว” ได้กระจายพันธุ์ปลูกไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีลักษณะประจำพันธุ์คือ “ผล” ทรงกลมสั้นและอ้วนใหญ่ เป็นสีขาวน่าชมยิ่ง ผลโตเต็มที่น้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๕-๘ ขีด เนื้อผลหนา เวลาต้องการเก็บผลจากต้น ไปรับประทานหรือขายมีเคล็ดลับจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่า จะต้องปล่อยให้ผลที่ต้องการเก็บบนต้นมีกลิ่นหอมมากๆ ตามธรรมชาติเสียก่อน โดยเข้าไปยืนใต้ต้นจะได้กลิ่นโชยเข้าจมูกรู้สึกได้ทันที สามารถเก็บได้เลย รสชาติจะหวานหอม ชื่นใจมาก ไม่มีรสเปรี้ยวหรือฝาดเจือปนเลย

ชมพู่มะเหมี่ยวขาว มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้น สูง ๘-๑๐ เมตร ใบออกตรงกันข้ามรูปขอบขนาน ใบมีขนาดใหญ่ให้ร่มเงาดีมาก ยอดอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน แตกต่างจากยอดอ่อนของชมพู่มะเหมี่ยวทั่วไปที่จะเป็นสีน้ำตาลแดงชัดเจน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ เป็นสีชมพูอ่อน “ผล” รูปกลมสั้นและอวบอ้วนตามที่กล่าวข้างต้น รสชาติหวานหอมอร่อยมาก ติดผลดกเกือบทั้งปี สีสันของผลสวยงามมีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง แต่ถ้า ปลูกด้วยต้นกล้าที่เพาะด้วยเมล็ดจะโตและติดผลช้ามาก ที่สำคัญมีโอกาสกลายพันธุ์ได้สูงด้วย ดังนั้นจึงนิยมขยายพันธุ์ด้วยระบบเสียบยอดมากกว่า เนื่องจากจะทำให้ไม่กลายพันธุ์แล้วต้นยังโตเร็วติดผลได้ง่ายหลังปลูกเพียงแค่ ๒-๓ ปีเท่านั้น ยังติดผลดกไม่ขาดต้นเกือบทั้งปี  
  นสพ.นสพ.ไทยรัฐ – ศุกร์ที่ ๒๑/๑๑/๕๗  

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65195293931497_2_3594_3617_3614_3641_3656_361.jpg)
    ชมพู่เพชรสายรุ้ง
ชมพู่เพชรสายรุ้ง มีแหล่งปลูกเดิมที่ จ.เพชรบุรี โดยในตอนแรกมีชื่อเรียกตามพื้นที่ปลูกว่า “ชมพู่เพชรบุรี” และด้วยความอร่อยมีรสชาติหวานกรอบหอมกว่าชมพู่พันธุ์ใดๆที่มีปลูกในประเทศไทยและต่างประเทศ จึงมีชื่อเรียก ตามมาอีกหลายชื่อ เช่น “ชมพู่เพชรสายรุ้ง” และ “ชมพู่สายน้ำผึ้ง” เป็นต้น ซึ่งก็คือ “ชมพู่เพชรบุรี” นั่นเอง ส่วนลักษณะเด่นประจำพันธุ์คือ จะมีดอกและติดผลให้เก็บรับประทานหรือเก็บผลขายได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งก็ตรงกับเทศกาลตรุษจีนพอดี เลยทำให้ผู้ปลูกในเชิงพาณิชย์ เก็บผลออกขายได้ราคาดีถึงกิโลกรัมละ ๑๕๐-๓๐๐ บาท เลยทีเดียว ส่วนใหญ่จะมีวางขายเฉพาะตลาดผลไม้ใหญ่ๆ และตามห้างสรรพสินค้าดังๆ เท่านั้น ที่มีขายทั่วไปและผู้ขายบอกว่าชมพู่เพชรนั้นเป็นคนละพันธุ์กัน

สำหรับ วิธีดูว่าผลไหนเป็น “ชมพู่เพชรสายรุ้ง” ให้สังเกตที่ผลของ “ชมพู่เพชรสายรุ้ง” จะเป็นทรงระฆังคว่ำทุกผล ผลมีขนาดใหญ่ สีของผลเป็นสีเขียวปนชมพูและมีแถบหรือลายเส้นสีชมพูเป็นแนวตามยาวของผล บริเวณก้นผลจะตัดตรง ซึ่งชมพู่สายพันธุ์อื่นจะแตกต่างอย่างชัดเจน ที่สำคัญครีบบริเวณก้นผลจะม้วนเข้าไม่กางออกเหมือนชมพู่ทั่วไปที่จะกางออก เนื้อผลของ “ชมพู่เพชรสายรุ้ง” จะหนากว่าเทียบกันได้ชัดเจน เนื้อเป็นสีขาว แน่นกรอบ รสชาติหวานสูงกว่าเนื้อชมพู่พันธุ์ใดๆ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รับประทานอร่อยมาก

ชมพู่เพชรสายรุ้ง หรือ EUQENIA JAVANICA LARNK ชื่อสามัญ ROSE APPLE อยู่ในวงศ์ MYRTACEAE ปัจจุบันสามารถตัดแต่งต้นให้เตี้ย สูงแค่ ๒-๓ เมตรได้ เพื่อสะดวกในการเก็บผลนั่นเอง .
  นสพ.ไทยรัฐ – ๓๐/๑๐/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/17445733977688_1.jpg)
     ชมพู่เพชรดำ  กับที่มาสายพันธุ์อร่อย
ชมพู่ชนิดนี้ มีกิ่งตอนขายมีป้ายชื่อเขียนติดไว้ว่า “ชมพู่เพชรดำ” พร้อมมีภาพถ่ายผลจริงโชว์ให้ชมด้วย สีสันของผลสวยงามน่าชมมาก ผู้ขายบอกว่า เกษตรกรชาวไต้หวันเรียกชื่อชมพู่ดังกล่าวว่า “เฮชวนสื่อ” ส่วนชื่อ “ชมพู่เพชรดำ” เรียกในประเทศไทย โดยผู้ขายเล่าถึงที่มาของสายพันธุ์ต่อว่า แรกทีเดียวหน่วยงานวิจัยด้านการเกษตรของเขตเกาสงในพื้นที่ปิงตุง เป็นพื้นที่ทางตอนใต้ติดชายฝั่งทะเลของประเทศไต้หวันได้นำเอาชมพู่จากประเทศอินโดนีเซียหลายสายพันธุ์ไปปลูกทดสอบความเป็นไปได้ ช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๐ ปรากฏว่าสามารถเติบโตได้ดีทุกพันธุ์ มีดอกและติดผลดกเหมือนปลูกในประเทศอินโดนีเซียถิ่นกำเนิดทุกอย่าง เกษตรกรชาวไต้หวัน จึงคัดเอาต้นดีที่สุดไปขยายพันธุ์ปลูกเก็บผลขายเชิงพาณิชย์ในชื่อว่า “เฮชวนสื่อ” หรือ “ชมพู่เพชรดำ” ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลายถึง กิโลกรัมไม่ต่ำกว่า ๘๐๐ บาท และส่งขายไปทั่วโลกในปัจจุบัน

ชมพู่เพชรดำ หรือ “เฮชวนสื่อ” ผู้ขายกิ่งตอนบอกว่า มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะว่า SYZYGIUM SAMARANGENSE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับชมพู่ทั่วไปทุกอย่าง ซึ่งผู้ขายกิ่งตอนบอกว่า ผู้ปลูกสามารถตัดแต่งกิ่งให้ต้นสูง ๒.๕-๓ เมตรได้ ระยะปลูกต่อต้น ๔x๔ เมตร รดน้ำบำรุงปุ๋ยสม่ำเสมอ จะมีดอกและติดผลชุดแรกหลังปลูกเพียงแค่ ๘ เดือน หรือ ๑ ปีเท่านั้น และจะติดผลดกเป็นพวงอย่างต่อเนื่องตามฤดูกาล ความหวานของผลวัดได้ ๑๒-๑๘ องศาบริกซ์ ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบัน “ชมพู่เพชรดำ” หรือ “เฮชวนสื่อ” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ
  นสพ.ไทยรัฐ – ๓๐/๑๐/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82332005351781_2.jpg)
     ชมพู่กะหลาป๋า  กับที่มาพันธุ์หวานกรอบ
ชมพู่ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดจากประเทศชวา มีลักษณะประจำพันธุ์คือผลสุกสีสันน่าชมยิ่งนัก เนื้อผลรสชาติหวานกรอบอร่อยมาก ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยคุณปู่คุณย่าหรือตั้งแต่โบราณแล้ว จนทำให้ใครๆ พากันคิดว่าเป็นชมพู่พันธุ์ไทยแท้ๆ ไปโดยปริยายและนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในยุคสมัยก่อน ปัจจุบันเหลือน้อยมาก

ชมพู่กะหลาป๋า หรือ EUGENIA JAVA NICA LAMK. อยู่ในวงศ์ MYRTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ใบมีขนาดใหญ่เป็นรูปรีกว้าง ปลายแหลม โคนมน เนื้อใบหนา ใบอ่อนเป็นสีชมพู ใบแก่สีเขียวเข้ม ใบดกให้ร่มเงาดีมาก

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งก้าน แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ไม่มีกลีบดอก มีกลีบเลี้ยงเป็นรูปกรวย สีเขียวอ่อน ปลายแยกเป็น ๕ แฉก มีเกสรตัวผู้จำนวนมากยื่นยาวเป็นฝอยๆ คล้ายพู่สีแดงอมชมพูสวยงามมาก แต่เกสรดังกล่าวจะร่วงง่าย ซึ่งเกสรที่ว่านี้จะมีรสฝาดนิดๆ คนใต้นิยมเอาไปใช้เป็นผักรวมกับผักชนิดอื่นปรุงใน “ข้าวยำปักษ์ใต้” เพิ่มสีสันและรสชาติให้รับประทานอร่อยและได้คุณค่าทางโภชนาการยิ่งขึ้น “ผล” รูปกลมแป้น ผลดิบสีเขียวอ่อน สุกเป็นสีชมพูอ่อนปนขาวนวล มักมีแต้มสีน้ำตาลตามยาวเล็กน้อย เนื้อผลหนาฉ่ำน้ำ รสชาติหวานกรอบ ภายในมีเมล็ด ๒ เมล็ด ดอกออกช่วงระหว่างเดือนตุลาคม และติดผลเดือนพฤศจิกายนทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

ส่วนชื่อกะหลาป๋าเป็นชื่อที่นิยมเรียกเกาะชวามาแต่โบราณ จึงเรียกชื่อชมพู่ที่นำมาจากประเทศชวาว่า “ชมพู่กะหลาป๋า” ดังกล่าว ซึ่งต่อมาชื่อกะหลาป๋าที่เรียกเกาะชวาได้เปลี่ยนไปเรียกกันว่า ปัตตาเวีย แต่ปัจจุบันเรียก จาการ์ตา ไปตรงกับชื่อของ หมวกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้สานด้วยไม้ไผ่อย่างละเอียดรูปทรงสูง ผู้หญิงชาวชวานิยมใช้ในเวลาแข่งเรือติดดอกไม้จีนเสียบ เรียกกันว่า “หมวกกะหลาป๋า” ครับ
  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/29544229350156_EyWwB5WU57MYnKOuFNAQNAfWz2w3Rv.jpg)
     ชมพู่เพชรน้ำบุษย์  หวานหอม    
ชมพู่เพชรน้ำบุษย์ เป็นชมพู่น้ำดอกไม้ที่ได้รับการคัดพันธุ์โดยเกษตรกรมือดีจากชมพู่น้ำดอกไม้ เดิมที่มีสีของผลเป็นสีขาวและมีเมล็ด ๒-๓ เมล็ด ในหนึ่งผล เนื้อผลบาง รสชาติหวานเพียงเล็กน้อย ทำให้ไม่ได้รับความนิยมรับประทานและปลูกเท่าที่ควร แต่ “ชมพู่เพชรน้ำบุษย์” ที่ถูกคัดพันธุ์แล้วจะมีผลสุกแตกต่างคือเป็นสีเหลืองทอง เนื้อผลหนาขึ้นเยอะ และเมล็ดในผลจะมีเพียง ๑ เมล็ดเท่านั้น รสชาติหวานขึ้น กรอบหอมอร่อยมาก เจ้าของผู้คัดพันธุ์จึง ตั้งชื่อว่า “ชมพู่เพชรน้ำบุษย์” พร้อมปลูกเก็บผลขายเชิงพาณิชย์และขยายพันธุ์ตอนกิ่งจำหน่ายด้วย ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานและซื้อกิ่งไปปลูกอย่างแพร่หลาย เพราะสีของผลสวยงาม รสชาติดีขึ้นนั่นเอง
 
ชมพู่เพชรน้ำบุษย์ หรือ SYZYGIUM JAMBOS LINN ALSTON อยู่ในวงศ์ MYTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๗-๘ เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม ปลายใบแหลม ใบมีขนาดเล็กกว่าใบชมพู่ทั่วไป สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด สีขาว หรือ สีเหลืองอ่อน มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก “ผล” กลมแป้น ผลสุกเป็นสีเหลืองทอง โตเต็มที่เกือบเท่าผลส้มเขียวหวาน เนื้อผลหนากลวงน้อย มี ๑ เมล็ดใน ๑ ผล รสชาติหวานกรอบหอมอร่อยมาก ติดผลดกเต็มต้นทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง
 
ประโยชน์ทางยา ใบสดต้มน้ำล้างแผลสด ตำทารักษาโรคผิวหนัง เมล็ดแก้บิด เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้โรคท้องร่วงได้ผลดีมาก
  นสพ.ไทยรัฐ

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTUX63rV2hd2cMeb8VDbPXO-WU2mbjTCzEw1IVSkH5RgkXJgvnjuQ)
     ชมพู่สตรอเบอรี่
ชมพู่ชนิดนี้ เป็นสายพันธุ์นำเข้า จากประเทศไต้หวันเมื่อปี ๒๕๕๗ และได้ทดลองปลูกในหลายพื้นที่ของประเทศไทยทั้งที่สูงและพื้นที่ราบตํ่าอยู่เป็นเวลานาน ปรากฏว่าในทุกพื้นที่ ปลูกมีอายุได้ประมาณ ๑ ปีกว่าๆ ต้นยังไม่สูงนัก สามารถมีดอกและติดผลให้เห็นแล้ว ถือว่าเป็นชมพู่พันธุ์เบามีดอกและติดผลได้ง่ายและไวมากเมื่อเปรียบเทียบกับชมพู่สายพันธุ์อื่นๆที่มีปลูกในประเทศไทย ส่วนลักษณะผล เป็นรูปทรงระฆัง ผลมีขนาดใหญ่ติดผลดกเป็นพวง ๕-๗ ผล ผลแก่จัดเป็นสีแดงสดใสตลอดทั้งผลและทุกๆผลดูสวยงามยิ่ง นํ้าหนักผลโตเต็มที่เฉลี่ยระหว่าง ๒๐๐ กรัมต่อผล เนื้อผลหนา กรวงน้อยเกือบตัน เมล็ดขนาดเล็ก ๒-๓ เมล็ดต่อผล รสชาติเนื้อหวานละเอียดกรอบอร่อยมาก ที่สำคัญผลที่ติดอยู่บนต้นจะไม่เน่าหรือเสียร่วงได้ง่าย ติดผลดกเต็มต้นตามฤดูกาล ผู้นำเข้าจึงตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ชมพู่สตรอเบอรี่” ดังกล่าว

ชมพู่สตรอเบอรี่ อยู่ในวงศ์ MYRTACEAE มีลักษณะทั่วไปเหมือนกับต้นชมพู่มะเหมี่ยวทุกอย่าง เพียงแต่ขนาดของต้นจะไม่สูงใหญ่นัก ๕-๗ เมตรเท่านั้น ใบออกเรียงสลับขนาดใหญ่คล้ายใบชมพู่มะเหมี่ยว ดอก ออกตามกิ่งก้าน เป็นสีแดง มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก “ผล” เป็นรูประฆัง ติดผลดกเป็นพวง ผลแก่จัดเป็นสีแดงตามภาพประกอบคอลัมน์ มีดอกและติดผลตามฤดูกาลช่วงระหว่างเดือนตุลาคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด การป้องกันโรคแมลงให้ห่อผลขณะผลโตเท่าหัวแม่มือผู้ใหญ่ จากนั้น ๓๐-๔๕ วัน ผลจะแก่สามารถเก็บผลกินหรือขายได้
  นสพ.ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: มุม "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 26 มิถุนายน 2556 11:09:33
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/70156126841902_3_3594_3617_3614_3641_3656_364.jpg)
    ชมพู่มะเหมี่ยวแดงพิรุณ
ชมพู่มะเหมี่ยวแดงพิรุณ เป็นพันธุ์ใหม่ เกิดจากการเขี่ยเกสรผสมระหว่าง ชมพู่มะเหมี่ยวขาว กับชมพู่สาแหรก พันธุ์ดั้งเดิม เมื่อติดผลแล้วปรากฏว่าติดผลเป็นพวง โดยมีขั้วผลยาวคล้ายขั้วผลของชมพู่เพชรทั่วไป ซึ่งเป็นเรื่องแปลกเนื่องจากขั้วผลของชมพู่มะเหมี่ยวขาวและชมพู่สาแหรกขั้วจะสั้นติดกับลำต้น รูปทรงของผลก็แตกต่างจากรูปทรงของผลชมพู่มะเหมี่ยวขาวและชมพู่สาแหรกที่เป็นพันธุ์พ่อพันธุ์แม่อย่างชัดเจน

สี ของผลเมื่อแก่จัดหรือสุกเป็นสีม่วงอมแดง รสชาติหวานคล้ายเนื้อของชมพู่สาแหรก มีกลิ่นหอมอ่อนๆ รับประทานอร่อยมาก เจ้าของผู้เขี่ยเกสรเชื่อว่าเป็นพันธุ์ใหม่ จึงขยายพันธุ์ปลูกทดสอบพันธุ์อยู่หลายครั้งและหลายวิธี ปรากฏว่าทุกอย่างยังคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เลยมั่นใจว่าเป็นพันธุ์ใหม่ถาวรแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “ชมพู่มะเหมี่ยวแดงพิรุณ” พร้อมตอนกิ่งขยายพันธุ์ออกวางขายดังกล่าว

ชมพู่มะเหมี่ยวแดงพิรุณ เป็นไม้ยืนต้น สูง ๗-๑๐ เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปขอบขนาน ใบมีขนาดใหญ่ ยอดอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน ใบดกหนาแน่นมาก ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ มีเกสรสีชมพูอ่อนจำนวนมาก “ผล” รูปกลมรี ส่วนก้นผลใหญ่กว่าปลายผลเหมือนผลชมพู่ทั่วไป แต่ขั้วผลจะยาวตามที่กล่าวข้างต้น ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อผลแก่หรือสุกจะเป็นสีชมพูและสีม่วงอมแดงตามลำดับ ภายในมีเมล็ด ๑-๓ เมล็ด เนื้อผลหนา รสชาติหวานกรอบอร่อยมาก ติดผลดกเป็นพวงตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอดปลูกโตเร็ว เวลาติดผลจะดกเต็มต้น จะคุ้มค่ามากครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – ๒๖/๑/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/59323644099963_1.jpg)
     ทับทิม
ที่บ้านปลูกต้นทับทิมสองต้น ต้นหนึ่งมีผลผลิตแล้ว แต่ไม่ได้นำมาบริโภคแต่อย่างใด เพราะปลูกไว้ด้วยเห็นว่า ต้นมันมีรูปทรงสวยดีเลยปลูกประดับ มีผู้รู้บอกว่าทับทิมใช้รับประทานเป็นผลไม้รสหวาน หรือเปรี้ยวหวาน มีวิตามินซีและแร่ธาตุหลายตัว ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และบำรุงฟันให้แข็งแรง ทับทิมมีสรรพคุณทางยาด้วยดังนี้    ใบ-อมกลั้วคอ ทำยาล้างตา ดอก-ใช้ห้ามเลือด เปลือกและผลแห้ง-เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน แก้บิด แก้โรคลักปิดลักเปิด เปลือกต้นและเปลือกราก-ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด พยาธิตัวกลม เมล็ด-โรคลักปิดลักเปิด ...นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65588708387480_EyWwB5WU57MYnKOuXodiRmqTUGaTf1.jpg)
     ทับทิมแดงเจ้าพระยา  หวานกินได้ทั้งเมล็ด
ทับทิมชนิดนี้ เกิดจากการนำเอาเมล็ดของทับทิมอินเดียพันธุ์ดั้งเดิมไปเพาะเป็นต้นกล้าจำนวนหลายต้น แล้วปลูกเลี้ยงจนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่า รูปทรงของต้นไม่สูงใหญ่นัก ปลูกและดูแลได้ง่าย ติดผลเร็วหลังปลูก ๒-๓ ปี เท่านั้น ติดผลดกเต็มต้น สีสันของดอกและสีสันของผลสวยเป็นสีแดงเข้ม เนื้อหุ้มเมล็ดเป็นสีแดงคล้ำ เปลือกผลบางผ่าแกะเมล็ดได้สะดวก เมล็ดนิ่มเคี้ยวกินได้ทั้งเมล็ด รสชาติหวานกรอบอร่อยมาก เชื่อว่าเป็นทับทิมกลายพันธุ์อย่างแน่นอน เลยขยายพันธุ์ตอนกิ่งไปปลูกทดสอบความนิ่งของพันธุ์อยู่หลายวิธีทุกอย่างยังคงที่ มั่นใจว่าได้กลายพันธุ์แบบถาวรแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “ทับทิมแดงเจ้าพระยา” พร้อมขยายพันธุ์ออกวางขาย กำลังได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้

ทับทิมแดงเจ้าพระยา มีชื่อวิทยาศาสตร์และลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับทับทิมทั่วไปทุกอย่างคือ POMEGRANATE PUNICA GRANATUM LINN. อยู่ในวงศ์ PUNICACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๕ เมตร กิ่งเล็กๆ มักเปลี่ยนเป็นหนามแหลม ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบแหลม ใบอ่อนเป็นสีแดงอมชมพูน่าชมมาก ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามซอกใบและปลายยอด กลีบดอกเป็นสีแดงเข้ม ร่วงง่าย กลีบเลี้ยงหนาและแข็ง เป็นสีส้มอมเหลือง “ผล” รูปกลม ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๔-๖ ขีด เปลือกผลเป็นสีแดงเข้ม โดยเฉพาะหากไม่ห่อผลป้องกันแมลงให้ได้แสงแดดจัดๆ สีของเปลือกผลจะยิ่งเข้มขึ้น ขยายพันธุ์ตอนกิ่ง ไม่นิยมเพาะเมล็ด เหมาะจะปลูกเก็บผลกินในครัวเรือนหรือปลูกเก็บผลขายคุ้มค่ามากครับ
   นสพ.ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: มุม "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 26 มิถุนายน 2556 11:21:33
.

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTZVB74B-lFbIROZOfkMvFf7PMLk_yD7dA72Xd6RJGSYGRmXU-U)
     ไผ่หวานหนองโดน กินสดไม่มีไซยาไนด์
ไผ่ชนิดนี้ มีแหล่งที่พบครั้งแรกที่ บ้านหนองโดน ต.กุดดู่ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ ซึ่งในตอนนั้นพบเพียง ๒ กอ ต่อมาได้ขยายพันธุ์ด้วยการแยกเหง้าไปปลูกในพื้นที่ ๗ ไร่ หลังปลูก ๕ ปี ต้นไผ่บางต้นมีดอก จึงคัดเลือกต้นที่งอกจากเมล็ด เอาเฉพาะต้นที่สมบูรณ์ไปปลูกจนต้นโต มีความโดดเด่นคือ

ต้นโตเร็ว ให้หน่อขนาดใหญ่ขึ้น ออกหน่อดก มีหน่อตลอดทั้งปี ทรงพุ่มของกอโปร่ง กิ่งแขนงบริเวณข้อมีน้อย ใบมีขนาดใหญ่ ข้อปล้องห่าง ต้นสูง ๑๐-๑๒ เมตร จึงถูกตั้งชื่อ ตามแหล่งที่พบว่า “ไผ่หวานหนองโดน” โดย กรมวิชาการเกษตร ออกหนังสือรับรองพันธุ์ ใน วันที่ ๕ ต.ค.๕๕ ที่ผ่านมา

ไผ่หวานหนองโดน มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ BABUSA BURMANICA อยู่ในวงศ์ POACEAE วงศ์ย่อย BAM-BUSOIDEAE เจริญเติบโตเต็มที่ในปีที่ ๕ หลังปลูก หน่อมีน้ำหนักเฉลี่ย ๐.๕–๒.๐๐ กิโลกรัมต่อหน่อ เปลือกหุ้มหน่อค่อนข้างหนาแข็ง มีขนน้อย เนื้อในหน่อสีขาวรสชาติหวานกรอบอร่อยมาก

คุณสมบัติพิเศษ ของหน่อ “ไผ่หวานหนองโดน” เป็นไผ่ชนิดเดียวที่สามารถรับประทานแบบสดๆได้โดยไม่ต้องนำไปต้มก่อน เนื่องจากเนื้อของหน่อไม่มีสาร “ไซยาไนด์” เช่นหน่อไม้ชนิดอื่น ซึ่งผู้ขายกิ่งพันธุ์บอกว่า มีใบรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้วย สามารถใช้มีดเฉาะเนื้อกินเป็นผักสดกับน้ำพริกชนิดต่างๆได้ สับปรุงเป็นส้มตำแทนเนื้อมะละกอ หรือนำไปทำแกงจืดกระดูกหมูรสชาติหวานกรอบอร่อยมาก ซึ่งหน่อของ “ไผ่หวานหนองโดน” กำลังเป็นที่นิยมของผู้รับประทานและนิยมปลูก อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

ใครต้องการต้นพันธุ์ “ไผ่หวานหนองโดน” ไปปลูก ติดต่อ “คุณวรรณา” โทร. ๐๘–๖๓๕๓–๓๗๙๔
  ไทยรัฐ

  
(http://www.horoguide.com/wp-content/uploads/2012/03/dsc0028rk-300x200.jpg)
     ไผ่ตัน เนื้อไม้เหนียวหน่อกินได้
ไผ่ตัน ไผ่ชนิดนี้ เป็นพันธุ์พื้นบ้าน นิยมปลูกเพื่อใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายมาแต่โบราณรุ่นคุณปู่คุณทวดแล้ว ส่วนใหญ่พบมากทางภาคอีสาน โดยจะนำเอาลำต้นซึ่งมีรูเล็กๆเกือบตันตลอดทั้งลำไปใช้ประโยชน์หลายรูปแบบ เนื่องจากเนื้อไม้มีความเหนียวกว่าเนื้อไม้ของไผ่ชนิดใดๆ ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนที่สร้างด้วยไม้ไผ่ตามชนบทห่างไกลตัวเมือง ทำขื่อตงแบบง่ายๆ แต่จะมีความแข็งแรง ทนทานอยู่ได้นานหลายชั่วอายุคน เพราะมอดไรไม่เจาะเนื้อไม้นั่นเอง

ชาวบ้าน ทางภาคอีสานยังนิยมนำเอาลำไผ่ของ “ไผ่ตัน” คัดเฉพาะที่มีลำอ้วนพอดีกับมือหรือจับได้มั่นคงทำเป็นด้ามขวานใช้ได้ดีมากเนื่องจากมีความเหนียวและแน่น เวลาใช้ขวานตัดไม้ด้ามขวานไม่มีหักเหมือนกับด้ามขวานที่ทำขึ้นจากไม้ทั่วไป จึงถูกเรียกชื่ออีกว่า “ไผ่ด้ามขวาน” ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในยุคสมัยก่อน ปัจจุบัน “ไผ่ตัน” หรือ “ไผ่ด้ามขวาน” มีคนรู้จักน้อยมาก

นอกจาก ประโยชน์ที่กล่าวข้างต้นแล้ว หน่ออ่อนของ “ไผ่ตัน” หรือ “ไผ่ด้ามขวาน” ยังสามารถใช้ปรุงเป็นอาหารได้ แต่รสชาติจะไม่อร่อยเท่าไผ่สายพันธุ์ที่ปลูกกินหน่อทั่วไป จึงนิยมปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ที่กล่าวข้างต้นเท่านั้น

ไผ่ตัน หรือ “ไผ่ด้ามขวาน” มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ทั่วไปคล้ายกับ ไผ่เลี้ยง ที่มีวางขายมากมาย ลำต้นกลมเกลี้ยง โตเต็มที่ประมาณข้อมือผู้ใหญ่ ข้อปล้องไม่ยาวมากนัก รูภายในลำไผ่เล็กนิดเดียวหรือเกือบตันตลอดทั้งลำ ทำให้เนื้อไม้มีน้ำหนักดี และมีความเหนียวแข็งแรง ทนทานกว่าเนื้อไม้ไผ่ชนิดอื่นอย่างชัดเจน ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ  ปัจจุบัน “ไผ่ตัน” หรือ “ไผ่ด้ามขวาน” มีต้นพันธุ์ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ
  ไทยรัฐ
    

(http://www.silpathai.net/wp-content/uploads/2014/02/ไผ่รวก.jpg)
    ไผ่รวก หน่อยอร่อย มีสรรพคุณ
ไผ่ ชนิดนี้นิยมรับประทานกันอย่างแพร่ หลายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ส่วนใหญ่เอาหน่ออ่อนแกง  หรือจิ้มน้ำพริก อร่อยมาก พบขึ้นตามป่า เป็นที่ลาดเชิงเขาเกือบทุกภาคของประเทศไทย ขึ้นเป็นกอหรือเป็นกลุ่ม จำนวนมาก เมื่อถึงกลางฤดูฝน “ไผ่รวก” จะแทงหน่ออ่อนโผล่ขึ้นเหนือดินตามธรรมชาติทุกๆปี ชาวบ้านที่หาของป่าขายจะพากันขึ้นเขาเป็นกลุ่ม ๔-๕ คน เข้าไปขุดหรือตัดเอาหน่อ อ่อนของ “ไผ่รวก” ที่มีจำนวนมากออกมาต้มกับน้ำใส่ปีบข้างๆบริเวณกอ “ไผ่รวก” แล้วแกะเอาเปลือกหุ้มหน่ออ่อนออกเหลือเพียงเนื้อสุกด้านในเป็นสีเหลืองใส่กระชุหาบลงไปขายในตัวเมืองสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำปีละครั้ง ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย ซึ่งนอกจากใช้แกงและจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆแล้ว ที่พบเห็นเป็นประจำคือ เอาหน่ออ่อน หั่นฝอยต้มกับน้ำคั้นใบย่านาง ปรุงเป็นซุปหน่อไม้ สุดยอดของความอร่อย ได้รับความนิยมทั่วไป

สรรพคุณทางสมุนไพร รากสด ต้มน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะดีมาก การใช้สอยอย่างอื่นเนื้อไม้ทำเครื่องจักสาน เฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆ อีกมากมาย

ไผ่รวก หรือ BAMBUSA ARUNDINACEA อยู่ในวงศ์ GRAMINEAE  มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับไผ่ทั่วไป ลำต้นตรง เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ ๑.๕-๒ นิ้วฟุต ใบจะมีขนาดเล็กกว่าใบไผ่ทั่วไปอย่างชัดเจน ต้นสูง ๕-๑๐ เมตร มีชื่อเรียกอีกคือ ไผ่ป่า, ไม้ฮวก, ไผ่หนาม เป็นต้น นิยมปลูกเก็บหน่ออ่อนต้มแกะเปลือกขายอย่างกว้างขวางแถบ จ.นครนายก จ.ปราจีนบุรี มีรถตระเวนไปซื้อหน่อต้มสุกถึงที่ ทำให้ผู้ปลูกมีรายได้ประจำและแน่นอน ปัจจุบัน “ไผ่รวก” มีต้นพันธุ์ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ  
  ไทยรัฐ
    

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95857449331217_1.png)
     ไผ่เหลือง ปลูกเพื่อสร้างภูมิทัศน์
ไผ่ทั่วโลก รวมแล้วมี ๘๐-๙๐ สกุล ประมาณ ๑,๕๐๐ ชนิด มีเขตการกระจายพันธุ์ในพื้นที่เขตร้อน เขตอบอุ่นทุกภาคบนโลก ยกเว้นขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ และทวีปยุโรปบางส่วน ในประเทศไทยเชื่อว่ามีไผ่ทั้งสิ้น ๑๕-๒๐ สกุล ประมาณ ๘๐-๑๐๐ ชนิด พบขึ้นกระจายอยู่ในป่าทุกภาค ส่วนมากตามป่าเบญจพรรณ ป่าผสมผลัดใบและป่าดิบชื้น โดยไผ่แบ่งได้เป็นทั้งไผ่ชนิดที่กินหน่อกับไผ่ปลูกสร้างภูมิทัศน์ให้เป็นธรรมชาติร่มรื่นและสวยงาม จึงเรียกไผ่ชนิดหลังว่า “ไผ่ประดับ”

ปัจจุบัน ไผ่ประดับมีหลายชนิด เช่น ไผ่น้ำเต้า ไผ่ลาย ไผ่ทอง ไผ่ดำ และ“ไผ่เหลือง” เป็นต้น ซึ่งไผ่เหล่านี้จะมีการเจริญเติบโตช้า ทำให้สามารถควบคุมการแตกเหง้าแบบไร้ทิศทางที่เป็นปัญหาใหญ่ในการปลูกประดับได้ง่าย และดูเป็นระเบียบสวยงามด้วย

ไผ่เหลือง หรือ BAMBUSA VULGARIS SCHRADER EX WEND-LAND CY.VITTATA MCCLURE ชื่อสามัญว่า YELLOW BAMBOO ลำต้นไม่สูงใหญ่มากนัก ๕-๗ เมตร แตกต้นเป็นกอห่าง ไม่เป็นพูพอนสูง เป็นไผ่ที่มีระบบเหง้าลำเดียว ต้นตรง ข้อปล้องยาว เป็นสีเหลืองสด มีแถบสีเขียวตามยาวของข้อปล้องดูสวยงามมาก ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ หรือปักชำต้น

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากลำต้นเป็นสีเหลืองแปลกตานั่นเอง ส่วนใหญ่จะปลูกประดับสวนหย่อม สวน สาธารณะ และปลูกเลาะแนวทางเดินสองด้านที่มีระยะทางยาวเข้าบ้านพักตากอากาศบนเขา รีสอร์ต สีสันของลำต้นจะตัดกับสีของใบที่เป็นสีเขียวสดดูสวยงามและให้ความร่มรื่นน่าชมมาก นอกจากนั้น ลำไผ่ของ “ไผ่เหลือง” ยังนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก เช่น ทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ในครัวเรือนเล็กๆ น้อยๆ ด้วย

ไผ่เหลือง มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงตรงกันข้ามโครงการ ๑๕
  ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSfu-RYXGn3IexK0zQdG_3Gde8_wTTDsh4xdYjeNoeieX1n19VqEg)
     "ไผ่สีสุก"  ความเชื่อ ดีกินได้ประโยชน์เยอะ
ไผ่ชนิดนี้ เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในแถบ เกาะสุมาตรา ชวา และ บอร์เนียว แล้วกระจายปลูกทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยนิยมปลูก “ไผ่สีสุก” มาแต่โบราณแล้ว ส่วนใหญ่จะปลูกเป็นแนวรั้วบ้าน ทางด้านทิศตะวันออกหรือทิศบูรพา เพราะมีความเชื่อว่า เป็นไม้มงคลเมื่อปลูกแล้วจะทำให้เจ้าของและคนในครอบครัวมีความสุขความเจริญตามชื่อที่ถูกเรียกขาน

นอกจาก ความเชื่อดังกล่าวแล้ว หน่อของ “ไผ่สีสุก” ยังกินได้ทั้งสดและดองเปรี้ยวปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง รสชาติกรอบอร่อยมาก ลำไผ่ใช้ก่อสร้าง จักสาน ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำไม้คานหามมีความทนทานสูง โดยเฉพาะ ลำไผ่ ใช้ทำข้าวหลามเผาแล้วข้าวหลามจะสุกเสมอกันทั้งกระบอก ข้าวไม่แฉะนิ่มเหนียวรับประทานอร่อยมาก

ในส่วนของสรรพคุณทางสมุนไพร แพทย์ตามชนบทนิยมใช้ใบไผ่ปรุงเป็นยาขับฟอกล้างโลหิตระดูที่เสียในสตรี ตาของลำไผ่สุมไฟเป็นถ่านกินแก้ร้อนในกระหายน้ำ ราก มีรสกร่อยเฟื่อนเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ และใช้รวมกับยาขับโลหิตระดูสตรีและยาแก้หนองในได้

ไผ่สีสุก หรือ BAMBUSA BLUMEANA J.H.SCHULTES ชื่อสามัญ SPINY BAMBOO, THOMY BAMBOO, THORNY BRANCH BAMBOO. ลักษณะทั่วไปคล้ายไผ่ป่า ขึ้นเป็นกอแน่น เส้นผ่าศูนย์กลางของลำไผ่ ๕-๑๕ ซม. ปล้องยาว ๑๕-๕๐ ซม. เนื้อลำไผ่หนา ๑-๓.๕ ซม. ลำแก่เป็นสีเขียวอมเหลือง โคนกอมีกิ่งเรียวยาวอัดกันแน่น มีหนามแข็ง กาบหุ้มเป็นสีเหลือง หน่อสีน้ำตาล น้ำหนักของหน่อประมาณ ๒–๕ กิโลกรัมต่อหน่อ ซึ่งหน่อรับประทานเป็นอาหารได้ตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ มีหน่อขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ  ตรงกันข้ามโครงการ ๑๕
  ไทยรัฐ
    

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS4W6_ddmw5Chg64bt07UAOmDmSgx3wNjZYSzJezZnggS114KVC)
     "ไผ่บงหวาน"    หน่อกินสด หวานกรอบอร่อย
ไผ่เป็นไม้กินหน่อที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนไม่แพ้การนิยมปลูกไม้ผลกินได้ชนิดต่างๆทั่วไป เนื่องจากหลังปลูกผู้ปลูกไม่ต้องเสียเวลาดูแลมากนัก จะมีเม็ดฝนโปรยปรายลงมาอย่างต่อเนื่อง เรียกว่า ปล่อยให้เทวดาเลี้ยง ซึ่งพอสิ้นฤดูฝน ไผ่หรือไม้ผลชนิดต่างๆ ที่ปลูกเอาไว้ จะเติบใหญ่และติดรากได้อย่างมั่นคงพอดี

ไผ่บงหวาน เป็นไผ่กินหน่อชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมปลูกมาช้านาน เพราะเป็นสายพันธุ์ที่หน่อสด จะมีรสชาติหวานสามารถรับประทานสดได้เลยโดยไม่ต้องนำไปต้มหรือลวกให้สุกก่อนเหมือนหน่อจากไผ่ชนิดอื่น กรอบอร่อยมากไม่มีรสเฝื่อนติดลิ้นเหมือนหน่อไผ่ชนิดอื่นเลย ไผ่บงหวาน หรือ
BAMBUSA CF. BUR-MANICA GAMBLE เป็นไผ่พื้นเมืองในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าผสมผลัดใบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปลูกเก็บหน่อขายมากที่สุดที่ จ.เลย เรียกว่า “ไผ่บงหวานเมืองเลย” เป็นไผ่ประเภทมีเหง้า กอแน่นขนาดกลาง สูง ๗-๑๕ เมตร ลำต้นรวมกันหลวมๆ และจะโค้งงอออกจากกลางกอ เส้นผ่าศูนย์ กลางลำต้น ๓.๕-๑๐ ซม. ปล้องยาว ๒๐-๓๐ ซม. เนื้อลำหนา ๑-๒ ซม. บางครั้งอาจตัน

หน่อ แทงขึ้นจากโคนกอ เมื่อหน่อโตจนสามารถเก็บผลผลิตได้ จะมีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๔-๕ หน่อต่อ ๑ กิโลกรัม ซึ่งหน่อมีลักษณะพิเศษคือ สามารถปอกเปลือกหุ้มหน่อออกแล้วรับประทานสดได้เลย รสชาติหวานกรอบอร่อยตามที่กล่าวข้างต้น และปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายรูปแบบตามใจชอบ ไม่มีรสขมหรือเฝื่อนเจือปนทำให้เสียรสชาติ กรอบอร่อยเหมือนกินยอดมะพร้าวอย่างไรอย่างนั้น เป็นไผ่ที่มีหน่อดกตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ด้วยหน่อและต้น ปัจจุบันมีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ตรงกันข้ามโครงการ ๑๕
  ไทยรัฐ
    

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSQCCjoAtC4kdA2rK9lAvYxX-3DIgS5fF0SONiLZ4Vfv9Cdidsf)
     "ไผ่หวาน"   ให้หน่อดกอร่อย
ไผ่ชนิดนี้ เพิ่งพบมีกิ่งตอนวางขาย โดยผู้ขายบอกชื่อว่า “ไผ่หวาน” หรือ “ไผ่เลี้ยงหวาน” พร้อมมีเอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาของไผ่ดังกล่าวระบุว่า “ไผ่หวาน” หรือ “ไผ่เลี้ยง หวาน” มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ BAMBUSA MULTIPLEX (LOUR) RACUSCH มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายกับไผ่ลวก ลำต้นตรง ไม่มีหนาม ต้นสูงเต็มที่ประมาณ ๔-๕ เมตร เท่านั้น แตกต่างจากไผ่เลี้ยงที่นิยมปลูกทั่วไปจะสูง ๗-๑๒ เมตร ขึ้นเป็นกอแน่นแบบหลวมๆ เหมือนกัน ข้อปล้องยาวประมาณ ๑๕-๓๓ ซม. ลำต้นแก่สีเขียวถึงสีเขียวอมเหลือง แตกกิ่งก้านบริเวณกลางลำต้นขึ้นไปถึงปลายยอดตามข้อปล้อง ใบเป็นรูปใบหอกหรือรูปแถบ สีเขียวสด กาบหุ้มบริเวณข้อเป็นรูปสามเหลี่ยมสีเขียวอมเหลือง มีขนสีน้ำตาลปกคลุมหรือเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำต้น

ประโยชน์ ลำต้นใช้ในงานก่อสร้าง ทำไม้ค้ำยัน เฟอร์นิเจอร์ ปลูกเป็นแนวรั้ว เนื่องจากมีกอสวยงาม ลำสม่ำเสมอไม่แน่น ซึ่งลำต้น สามารถใช้งานได้หลังปลูกเพียง ๑ ปี หน่อปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง ผู้ขายบอกว่ารสชาติหวานกรอบอร่อยมาก ต้มน้ำเพียงครั้งเดียวนำไปรับประทานได้เลย ไม่มีรสขมหรือรสเฝื่อนเจือปนเด็ดขาด เป็นไผ่ที่ให้หน่อดกมากตามฤดูกาล ทำให้สามารถเก็บหน่อรับประทานและขายรายได้ดีไม่แพ้ไผ่กินหน่อชนิดใดๆ

การปลูกและดูแล “ไผ่หวาน” หรือ “ไผ่เลี้ยงหวาน” เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ไม่ชอบน้ำท่วมขัง แต่ชอบน้ำหล่อเลี้ยงสม่ำเสมอทั้งปี ยกเว้นฤดูฝนหลังปลูก ๑ ปี จะให้ร่มเงาดีมาก บำรุงต้นด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยชีวภาพไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี ๑-๒ เดือนครั้ง จะทำให้แตกหน่อสมบูรณ์และมีรสชาติดีเก็บรับประทานหรือเก็บขายได้ราคาสูงตามฤดูกาล ปัจจุบันมีต้นพันธุ์ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงตรงกันข้ามโครงการ ๑๕
  ไทยรัฐ    


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15779815034733_1.png)
     "ไผ่ภูพาน"   พบเฉพาะถิ่นไทย
ไผ่หลายชนิด แม้จะพบขึ้นตามป่าธรรมชาติในประเทศไทย แต่ก็จะพบว่ามีเขตกระจายพันธุ์ในป่าอีกหลายประเทศเขตร้อนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ “ไผ่ภูพาน” เชื่อกันว่าเป็นสายพันธุ์ที่พบมีขึ้นเฉพาะถิ่นในป่าบนเขาภูพาน เขตจังหวัดสกลนคร หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น

ไผ่ภูพาน หรือ PHUPHANOCHLOA SPECIOSA SUNGKAEW TEERAWAT เป็นไผ่ประเภทเหง้ากอขนาดกลาง สูง ๕-๑๐ ม. ลำตรง เส้นผ่าศูนย์กลางลำประมาณ ๓-๕ ซม. ปล้องยาว ๒๕-๓๐ ซม. เนื้อลำหนา ๐.๕-๑ ซม. ข้อด้านล่างมักตัน ลำอ่อนมีนวลสีขาวปกคลุม ลำแก่เป็นสีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมเทา บริเวณข้อจะออกบวมเล็กน้อย แตกกิ่งย่อยตามข้อตลอดลำ แต่ละข้อจะมีหลายกิ่งเป็นกระจุก มีกิ่งกลางเด่น ๑ กิ่ง กิ่งที่เหลือจะมีขนาดไล่เลี่ยกัน ใบเป็นรูปใบหอก กว้าง ๐.๕-๑ ซม. ยาว ๒-๓ ซม. กาบหุ้มลำค่อนข้างร่วงยาก โดยเฉพาะกาบที่บริเวณข้อล่างๆ ของลำ กาบเป็นสีเขียวอมเทาหรือเขียวอ่อน ขอบเป็นสีม่วงแดง มีขน กาบเป็นรอยย่น

ช่อดอกย่อยเทียมยาว ประมาณ ๑-๒ ซม. ดอกย่อย ๗-๙ ดอก ช่อดอกแลบออกจากซอกของกลีบเลี้ยงที่เป็นสีม่วงอมชมพู ห้อยลง มีเกสรตัวผู้ ๖ อัน ก้านเกสรตัวผู้แยกเป็นอิสระกัน ยอดเกสรตัวเมียมี ๓ อัน เวลามีดอกจะดูสวยงามแปลกตามาก

หน่อ แทงขึ้นจากเหง้าหรือโคนกอ เปลือกหุ้มหน่อเป็นสีเขียว มีขนละเอียดทั่ว ยังไม่มีรายงานชัดเจนว่าหน่อของ “ไผ่ภูพาน” มีรสชาติเป็นอย่างไรและสามารถรับประทานได้อร่อยแค่ไหน ส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ขยายพันธุ์ด้วย ต้น หน่อ และกระจุกแขนงที่แตกตามข้อของลำไผ่ ปัจจุบันมีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ  ตรงกันข้ามโครงการ ๑๕
  ไทยรัฐ  
    

“ไผ่หวานอ่างขาง” ก็คือต้นเดียวกันกับ ไผ่หมาจู๋ หรือมีชื่อเรียกอีกคือ ไผ่ซางคำ เป็นไผ่พื้นเมืองของ จีน ไต้หวัน ถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยนานแล้ว เพื่อเอาหน่อกินเป็นอาหารและเก็บหน่อขาย รสชาติหวานกรอบ ปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง อร่อยมาก และยังปลูกเพื่อใช้ลำไผ่ทำเป็นไม้ค้ำยัน อุตสาหกรรมกระดาษ และไม้อัด ทำเฟอร์นิเจอร์หลากหลายรูปแบบ

ไผ่หวานอ่างขาง หรือ DENDRO CALAMUS LATIFLORUS MUNRO ชื่อสามัญ SWEET GIANT BAMBOO, TAIWAN GIANT BAMBOO จัดเป็นไผ่เหง้ากอหลวมๆ ต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตร ปลายลำต้นมักโค้ง เส้นผ่าศูนย์กลางลำ ๘-๑๕ ซม. ปล้องยาว ๒๐-๔๕ ซม. เนื้อลำหนา ๑-๒ ซม. ลำอ่อนมีนวลสีขาว ลำแก่เป็นสีเขียวอมเหลืองดูสวยงามมาก มีรากอากาศที่ข้อส่วนล่างของลำต้น แตกกิ่งแขนงตั้งแต่ช่วงกลางลำต้นเรื่อยลงไปจนถึงโคนต้น แต่ละข้อมีหลายกิ่ง ใบรูปขอบขนานหรือรูปแถบกว้าง ๒.๕-๕.๕ ซม. ยาว ๑๕-๒๕ ซม. ใบสามารถใช้ห่อขนมบะจ่างได้

ดอก เป็นช่อยาว แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยเป็นกระจุกและเป็นช่วงๆตามแกนช่อดอก ดอกเป็นสีแดงอมม่วงหรือสีม่วงอมน้ำตาล มีดอกสมบูรณ์เพศ ๖-๘ ดอก เกสรตัวผู้ ๖ อัน ก้านเกสรตัวผู้แยกเป็นอิสระกัน อับเรณูเป็นสีเหลือง ยอดเกสรตัวเมีย ๑ อัน ดอกหอม

หน่อ โคนใหญ่น้ำหนักดี เนื้อแน่นสีขาวนวลหรืออมเหลืองนิดๆ รสชาติหวานเฝื่อนเล็กน้อย ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายอย่าง กรอบอร่อยมาก เปลือกหน่อเป็นสีม่วงคล้ำหรือสีดำมีขนละเอียด นิยมปลูกเพื่อเอาหน่อเป็นอาหารและเก็บหน่อขาย ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

มีกิ่งพันธุ์ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงตรงกันข้ามโครงการ ๑๕
  ไทยรัฐ
    

(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/114819.jpg)
     ไผ่น้ำเต้า ปล้องสวย ให้ร่มเงาดี
ไผ่ชนิดนี้ เป็นหนึ่งในสองชนิดของไผ่ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับมาช้านาน ซึ่ง “ไผ่น้ำเต้า” มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ BAMBUSA VULGARIS SCHRADER EX WENDLAND CV.WAMIN MCCLURE ชื่อสามัญ BUDDHA’S BELLY BAMBOO มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไผ่ขนาดกลาง สูง ๕-๖ เมตร แตกต้นเบียดกันหนาแน่นเป็นกอขนาดใหญ่และกว้าง

ลำต้น เป็นข้อปล้องสั้น ยาวประมาณ ๕-๒๐ ซม. ปล้องด้านล่างจะป่องหรือพองเป็นรูปคล้ายน้ำเต้า ทำให้เวลาลำต้นสูงขึ้นข้อปล้องจะดูเหมือนกับเอาน้ำเต้าสีเขียววางซ้อนกันสวยงามมาก จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะของลำต้นว่า “ไผ่น้ำเต้า” ดังกล่าว การแตกกิ่งแขนงหรือกิ่งย่อยตามข้อเหมือนกับไผ่ทั่วไปทุกอย่าง แต่กิ่งแขนงหรือกิ่งย่อยจะมีเยอะ ใบหนาทึบให้ร่มเงาดีมาก จึงทำให้ “ไผ่น้ำเต้า” ได้รับความนิยมปลูกอย่างกว้างขวางมาช้านานจนกระทั่งปัจจุบัน หน่ออ่อนไม่นิยมรับประทาน แตกหน่อง่าย ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำต้น หน่อ และปักชำกิ่งแขนงที่แตกจากบริเวณข้อปล้อง

ชาวจีน มีความเชื่อว่า “ไผ่น้ำเต้า” เป็นไผ่มงคล โดยส่วนใหญ่จะปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งประดับไว้หน้าบ้าน ข้อปล้องของลำต้นสวยงามมาก เชื่อกันว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านมีโชคลาภในทุกๆ เรื่อง และมีความสุข ปัจจุบัน “ไผ่น้ำเต้า” มีต้นขาย ทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาแต่ละแห่งไม่เท่ากัน ผู้ซื้อต้องเดินสอบถามราคาเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้อไปปลูก ปลูกได้ในดินทั่วไป ถ้าปลูกลงดินจะแตกเป็นกอขนาดใหญ่ ใบดกหนาทึบให้ร่มเงาดีมาก สร้างบ้านพักใกล้ๆ จะร่มรื่นได้รับโอโซน หรือได้รับออกซิเจนแบบเต็มๆ ทำให้รู้สึกสดชื่นเป็นอย่างยิ่งครับ.
  ไทยรัฐ
    

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/87775606123937_EyWwB5WU57MYnKOuFT9WoYBkNS42Ew.jpg)
     "ไผ่กิมซุง"  หน่อราคาดี ขายทั้งปี
ไผ่ชนิดนี้ เป็นชนิดเดียวกับ ไผ่ตงลืมแล้ง และ ไผ่บีเซย์ เป็นไผ่พื้นเมืองทางตอนใต้ของประเทศจีน มีเขตกระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั่วไป มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ BAMBUSA BEECHEYANA MUNRO ชื่อสามัญ BEECHEY BAMBOO, SILKBALL BAMBOO เป็นไผ่ประเภทเหง้ากอขนาดกลาง ต้นสูง ๑๕  เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ๗-๑๒ ซม. ปล้องยาว ๒๕-๔๕ ซม. เนื้อหนา ๑.๕-๒ ซม. ลำอ่อนมีนวลสีขาวปกคลุม มีขนสีน้ำตาลใต้ข้อปล้อง ลำแก่เป็นสีเขียวเข้ม แตกเป็นกอใหญ่น่าชมยิ่ง ข้อล่างมักมีรากอากาศแตกกิ่งแขนงตั้งแต่กลางลำต้นเรื่อยขึ้นไปจนถึงปลายยอด แต่ละข้อจะมีกิ่ง ๓ กิ่ง หรือมากกว่านั้น ใบเป็นรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมน สีเขียวสด ให้ร่มเงาดีมาก
 
หน่อ แทงขึ้นจากดินบริเวณโคนกอ เปลือกหุ้มหน่อเป็นสีเขียวคล้ำ ผิวเปลือกเกลี้ยงไม่มีขนทำให้แกะเอาเนื้อหน่อใช้ประโยชน์ได้ง่าย หน่อโตเต็มที่น้ำหนัก ๕-๗ กิโลกรัม รสชาติหวานกรอบไม่มีรสขมเจือปน เวลานำไปประกอบอาหารไม่ต้องต้มน้ำก่อนเหมือนไผ่กินหน่อทั่วไป รับประทานอร่อยมาก เป็นไผ่ที่มีหน่อได้เร็วและหน่อดกตลอดทั้งปี แม้ในช่วงฤดูแล้ง (ปกติฤดูแล้งไผ่ตงพันธุ์อื่นไม่แทงหน่อ) จึงถูกเรียกชื่อว่า ไผ่ตงลืมแล้ง และ ไผ่บีเซย์ ดังกล่าว และยังเป็นไผ่ที่ทนต่อการถูกน้ำท่วมนานๆ และทนต่อความแห้งแล้งได้ไม่ตายมีหน่ออย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้นิยมปลูกเพื่อเก็บหน่อรับประทานในครัวเรือนและเก็บหน่อขาย ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย
 
ปัจจุบัน มีกิ่งพันธุ์ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงตรงกันข้ามโครงการ ๑๕  และ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเอง ซึ่งนอกจากหน่อรับประทานอร่อยมีราคาดีแล้ว ลำไผ่ของ “ไผ่กิมซุง” หรือ ไผตงลืมแล้ง และ ไผ่บีเซย์ ยังใช้ก่อสร้างได้ทนเพราะมอดไม่เจาะครับ.
  ไทยรัฐ
  

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSZXnK-3pPzuJB5VBnQpin6jwf_9uRXy0owVAQ4gUQ8ohxGZi52)
     ไผ่บง
ลำของไผ่บงจึงแลดูคดงอเป็นส่วนใหญ่ ผิวของลำไม่เรียบมีลักษณะคล้ายขนสีนวลหรือเทา บางครั้งมีลักษณะคล้ายแป้งติดอยู่ที่ลำไผ่ เนื้อไม้นิยมนำมาใช้ทำตอกสำหรับทำเครื่องจักสานทั่วไป

ไผ่บงเป็นไผ่ขนาดกลาง ขึ้นเป็นกอแน่นและมีการแตกกิ่งปลายยอดของลำ กิ่งใหญ่แตกตั้งได้ฉากกับลำ บริเวณข้อของลำในส่วนที่ใกล้โคน มีรากฝอยแตกออกมาโดยรอบ เนื่องจากมีการแตกกิ่งจำนวนมาก ลำของไผ่บงจึงแลดูคดงอเป็นส่วนใหญ่ ผิวของลำไม่เรียบมีลักษณะคล้ายขนสีนวลหรือเทา บางครั้งมีลักษณะคล้ายแป้งติดอยู่ที่ลำไผ่ เนื้อไม้นิยมนำมาใช้ทำตอกสำหรับทำเครื่องจักสานทั่วไป หน่อใช้ปรุงอาหารได้ นอกจากนี้ไผ่บงยังมีคุณสมบัติพิเศษด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด จึงได้รับความนิยมในการนำมาทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท เช่นลดแรงกระแทกของคลื่นบริเวณชายฝั่งทะเล ประเทศจีนนิยมนำมาใช้ทำนั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น.
..นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/60248812784751_1.png)
     ไผ่เป๊าะ
เป็นไม้ไผ่ขนาดใหญ่ เป็นกอกิ่งเรียว ปล้องค่อนข้างสั้นบาง การขยายพันธุ์ เหง้า ใช้ลำไปปักชำ หรือใช้เมล็ดจากขุยไปเพาะเป็นกล้า ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์ ฤดูฝน

เป็นไม้ตระกูลหญ้า สูง ๒๕-๓๐ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐-๒๕ ซม. เป็นไม้ไผ่ขนาดใหญ่ เป็นกอกิ่งเรียว ปล้องค่อนข้างสั้นบาง  การขยายพันธุ์ เหง้า ใช้ลำไปปักชำ หรือใช้เมล็ดจากขุยไปเพาะเป็นกล้า ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์ ฤดูฝน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ชอบขึ้นในพื้นที่มีความชื้นสูงและดินที่อุดมสมบูรณ์ การใช้ประโยชน์ ทางอาหาร ใช้หน่อสดมีรสหวาน มาต้มกับน้ำคั้นใบย่านาง รับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริกอีเก๋ น้ำพริกกะปิและน้ำปู๋ นำมาแกงเปรอะ แกงรวมกับเห็ดถอบใส่แคบหมู แกงกับไก่ ปลาหรือเนื้อ ทางยา ใบ ขับปัสสาวะ ขับและฟอกโลหิตระดูที่เสีย แก้มดลูกอักเสบ ตาไผ่ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ราก ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ
...นสพ.เดลินิวส์


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT8gb1JelfSZDJBgK0uJqRWY-Gkix7Mna60bwyy-75_dqLiokkkbQ)
     ไผ่ข้าวหลาม   เผาข้าวสุกพอดีมีเยื่อหุ้ม
ไผ่ชนิดนี้ พบขึ้นทั่วไปในป่าผสมผลัดใบเกือบทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นทางภาคใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ SCHIZOSTA CHYUM PERGRACILE (MUNRO) R.B.MAJUMDAR ชื่อสามัญ TINWA BAMBOO เป็นไผ่ประเภทเหง้ากอขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง ๕-๑๕ เมตร ลำต้นตรงอัดกันเป็นกอค่อนข้างแน่น ปลายลำมักโค้งลง เส้นผ่าศูนย์กลางลำ ๒.๕-๘ ซม. ปล้องยาวประมาณ ๒๐-๕๐ ซม. เนื้อไม้หนาประมาณ ๐.๕-๑ ซม. ลำแก่เป็นสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวอมเทา

แตกกิ่งตลอดลำ หรือตั้งแต่กิ่งกลางลำขึ้นไปเล็กน้อย แต่ละข้อจะมีกิ่งเล็กจำนวนมาก ใบรูปแถบแกมรูปใบหอก กาบหุ้มลำต้นร่วงค่อนข้างช้า โดยเฉพาะบริเวณโคนลำ กาบเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองหรือสีน้ำตาลแดง หนาและเป็นมัน แข็งแต่เปราะ ปกคลุมด้วยขนสีดำร่วงง่าย ยอดกาบเป็นรูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายเป็นติ่งสั้น แหลม ด้านในมีขนหนาแน่น หูกาบเป็นพูเด่นชัด มีขนยาวที่บริเวณขอบ ช่อดอกย่อยยาว ๑-๑.๕ ซม. มีดอกย่อย ๑-๒ ดอก เป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์ ๑ ดอก ปลายช่อดอกลดรูปเป็นแกนช่อดอกย่อย ยาวเป็นเส้น ๓ เส้น เกสรตัวผู้มี ๖ อัน แยกเป็นอิสระกัน ยอดเกสรตัวเมียมี ๒-๓ อัน

หน่อ แทงขึ้นจากโคนกอ หน่อมีขนาดใหญ่มาก ไม่นิยมรับประทาน เพราะมีรสขม ประโยชน์ทั่วไป ลำใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องจักสาน ใบของ “ไผ่ข้าวหลาม” ใช้สานเป็นตาห่างๆ ทำเป็นโครงตะแกรงแทนเหล็กเส้นสำหรับยึดคอนกรีต ทางภาคอีสานนิยมใช้ลำไผ่ตัดเป็นปล้องทำข้าวหลาม เนื่องจากเผาง่ายกระบอกไม่แตก ปอกสบาย มีเยื่อหุ้มข้าวบางๆหลุดติดออกมาด้วย เผาแล้วข้าวจะสุกแบบพอดีโดยธรรมชาติ รับประทานอร่อยมาก ปัจจุบัน “ไผ่ข้าวหลาม” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงตรงกันข้ามโครงการ ๑๕ ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/53602254928813_EyWwB5WU57MYnKOuXxtvemUMjeM0dI.jpg)
    ไผ่จืด
ผู้ที่มีอาการ บวมน้ำและเป็นโรคเบาหวาน สามารถรักษาได้ระดับหนึ่งโดย ให้เอา “ไผ่จืด” หรืออีกชื่อ “ไผ่ร้อยกอ” แบบสดทั้งต้นและรากตากแห้งจำนวน ๑ ขยุ้มใหญ่ๆต้มกับน้ำมากหน่อยจนเดือด ๕-๑๐ นาที น้ำจะเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นน้ำมะตูมต้ม ดื่มเป็นน้ำชาจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดหรือเบาหวานกับลดอาการบวมน้ำลงได้ และยังเป็นยาแก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ สตรีหลังคลอดแล้ว

อยู่ไฟไม่ได้ ที่ชาวบ้านเรียกว่า “แพ้กรรม” ดื่มประจำจะขับน้ำคาวปลาทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วดี ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล แก้อาการแพ้ต่างๆ ขับสารพิษจากร่างกาย ทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวยดีมาก

ไผ่จืด หรือ POGONATHERUM PANI-CEUM (LAMK.) HACK. อยู่ในวงศ์ POACEAE ต้นสูง ๑.๕ เมตร แตกเป็นกอมากกว่า ๑๐๐ ต้น รสชาติทั้งต้นจืด จึงเรียกชื่อว่า “ไผ่จืด” และ“ไผ่ร้อยกอ” ดังกล่าว
  นสพ.ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: มุม "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 26 มิถุนายน 2556 11:28:08
(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTbb-iM8Z-Tctwyh-qPDqtsp80MrSQlS9rg361TeNNNl0eH2_EpCQ)
     ขนุนคุณหญิง หวานหอม ผลทั้งปี

ขนุน สายพันธุ์ดังๆ ที่จัดว่าเป็นสุดยอดของขนุนที่มีรสชาติหวานกรอบอร่อย เคยแนะนำในคอลัมน์ไป แล้วหลายพันธุ์นั้น ปรากฏว่าได้รับความนิยมจากผู้ปลูกซื้อหาไปปลูกอย่างกว้างขวาง เนื่องจากแต่ละสายพันธุ์ ถือเป็นสุดยอดของขนุนในปัจจุบันจริงๆ

อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้พบว่ามี "ขนุนคุณหญิง" ออกมาวางขาย มีป้ายชื่อเขียนติดเอาไว้อย่างชัดเจน พร้อมมีรูปของผลโชว์ให้ชมด้วย เมื่อสอบถามผู้ขายได้รับการบอกเล่าว่า ขนุนชนิดนี้เป็นขนุนสายพันธุ์โบราณ โดยในยุคสมัยก่อนนิยมปลูกตามบ้านและปลูกเพื่อแกะ "ยวง" หรือเนื้อขายกันแพร่หลาย รสชาติหวานหอมกรอบอร่อยมาก ปัจจุบัน "ขนุนคุณหญิง" จะมีปลูกเฉพาะถิ่นไม่กี่แห่งเท่านั้น เช่น แถบ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี กับย่านบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. ไม่แพร่หลายทั่วไป

ขนุนคุณหญิง มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับขนุนทั่วไป คือ ARTOCARPUS HETEROPHYLLUS CAMK อยู่ในวงศ์ MORACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๘-๑๕ เมตร มียางขาวทั้งต้น เนื้อไม้อ่อน แก่นเป็นสีเหลือง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงกลม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบกิ่งก้าน รูปกลมรี เนื้อใบเหนียวและหนา ปลายแหลม โคนเกือบมน ก้านใบยาว สีเขียวเข้มและเป็นมัน เวลาใบดกจะให้ร่มเงาดีมาก แต่ ใบแก่จะร่วงลงสู่พื้นจำนวนมาก จึงทำให้บางคนไม่นิยมปลูกขนุน เพราะต้องทำความสะอาดเก็บกวาดใบเป็นประจำทุกวันนั่นเอง

ดอก ออกเป็นกลุ่ม ช่อ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่บนต้นเดียวกัน โดยช่อดอกตัวผู้จะออกที่โคนกิ่ง ลำต้น ง่ามใบ ลักษณะดอกเป็นแท่งยาว ๒.๕ ซม. ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมออกจากลำต้น ก้านดอกใหญ่ ดอกตัว ผู้จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นส่าเหล้า ดอกตัวเมียไม่มีกลิ่นหอม "ผล" เป็นผลรวม ทรงกลมยาว ผลเมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ๑๕-๒๐ กิโลกรัม นับว่าเป็นขนุนสายพันธุ์ที่มีผลไม่ ใหญ่โตนัก เนื้อหุ้มเมล็ดหรือที่เรียกว่า "ยวง" จะมีน้ำหนัก เกือบ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล เมล็ดเป็นรูปกลมรี เนื้อสุกสีเหลือง รสชาติหวานหอมกรอบอร่อยมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด

ที่เป็นข้อเด่น ของ "ขนุนคุณหญิง" อีกอย่างได้แก่ เป็นพันธุ์ที่ติดผลทะวาย หรือ ติดผลทั้งปี อย่างน้อยปีละ ๒ หน ดังนั้น "ขนุนคุณหญิง" จึงเป็นสายพันธุ์ที่ปลูกแล้วคุ้มค่ามาก ปัจจุบันมีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙



(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTkmp8wn7Um1m0SidHJryN39CobzLtU38HG5xLsW00gJaTaw-8cEw)
     ขนุนจำปากรอบ หวานปนเปรี้ยว อร่อย

ขนุนที่มีเนื้อหรือยวงเป็นสีจำปา มีไม่กี่สายพันธุ์ ซึ่ง “ขนุนจำปากรอบ”  เป็นขนุนที่นิยมปลูกเฉพาะถิ่นแถบ จ.ปราจีนบุรี มาช้านานแล้ว เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการเอาเมล็ดของขนุนชื่อฟ้าถล่มไปเพาะขยายพันธุ์จนแตกต้นขึ้นมาปลูกเลี้ยงจนติดผลสุก เมื่อผ่าแกะเนื้อปรากฏว่า เนื้อหรือยวงกลายเป็นสีจำปาน่าชมยิ่ง แตกต่างจากเนื้อหรือยวงของขนุนฟ้าถล่มสายพันธุ์แม่ที่เป็นสีเหลืองอย่างชัดเจน

เนื้อ มีความบางกว่าเนื้อของขนุนฟ้าถล่มเล็กน้อย รสชาติหวานปนเปรี้ยวนิดๆ กรอบ ไม่เละอร่อยมาก จึงถูกตั้งชื่อว่า “ขนุนจำปากรอบ” พร้อมขยายพันธุ์ปลูกเก็บผลแกะเนื้อขายได้รับความนิยมจากผู้รับประทานอย่างแพร่หลายมาช้านานแล้ว โดยเฉพาะชาวต่างประเทศที่เดินทางไปท่องเที่ยวที่ จ.ปราจีนบุรี จะชื่นชอบมาก เนื่องจากมีรสเปรี้ยวนิดๆ ด้วยนั่นเอง

ขนุนจำปากรอบ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้น สูงระหว่าง ๕-๘ เมตร ไม่สูงใหญ่เหมือนขนุนฟ้าถล่มอย่างชัดเจน “ผล” เป็นรูปกลมยาว ดูไม่ค่อยจะสวยงามนัก เนื่องจากไม่เรียบ มีโหนกนูนหรือเป็นกระปุ่ม–กระปํ่าทั่วทั้งผลคล้ายผลไม่สมบูรณ์ ผลเมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยที่ ๑๕-๑๘ กิโลกรัม มีเนื้อหรือยวงประมาณ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล เนื้อหรือยวงเป็นสีจำปาไม่เป็นสีเหลืองตามที่กล่าวข้างต้น รสชาติหวานปนเปรี้ยวกรอบอร่อยมาก ติดผลปีละครั้งตามฤดูกาลและติดผลดก ผลสุกสามารถเก็บได้นานหลายวัน

กว่าขนุนสายพันธุ์อื่น เมื่อแกะเนื้อหรือยวงรับประทานจะยังคงความกรอบอร่อยเช่นเดิมและไม่เละ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด   ปัจจุบัน “ขนุนจำปากรอบ” มีกิ่งพันธุ์ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙


(http://munjeed.com/image_news/2014-02-18/image_218201452513AM.jpg)
     ขนุนทองอินโดแคระ เนื้อกรอบอร่อย ผลดก

ขนุนชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดจาก ประเทศอินโดนีเซีย ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า ๓-๔ ปีแล้ว และได้รับความนิยมจากผู้ปลูกผู้รับประทานแพร่หลายเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน เนื่องจาก  “ขนุนทองอินโดแคระ”  มีความเป็นพิเศษคือ ขนาดของต้นไม้ไม่สูงมากนักระหว่าง ๓-๔ เมตรเท่านั้น ลำต้นอวบอ้วนและใหญ่ จัดเป็นขนุนสายพันธุ์เบา ให้ผลผลิตเร็ว ใช้เวลาปลูกเพียง ๑-๒ ปี จะออกดอกและติดผลได้เป็น ชุดแรก และติดผลดกได้เรื่อยๆ เกือบตลอดปี  ซึ่งจากการที่มีผลดกนี่เอง ทำให้ผู้ปลูกตัดเอาผลอ่อนที่มีมากเกินไปจากต้นไปจำหน่ายให้ผู้ซื้อไปปรุงอาหารจำพวก แกงขนุน ยำขนุน หรือซุปขนุน ได้อีกด้วย

ส่วนรูปทรงของผลจะมีลักษณะกลมรีเล็กน้อยดูสวยงามดี ที่สำคัญแต่ละผลเมื่อโตเต็มที่จะ มีน้ำหนักเฉลี่ยเพียง ๒-๕ กิโลกรัม ต่อผลเท่านั้น และเป็นน้ำหนักพอเหมาะที่ผู้ซื้อทั้งผลนำพากลับบ้านได้ง่ายไม่หนักเกินไป เมื่อถึงบ้านผ่าผลแกะเอาเนื้อสุกรับประทานได้สะดวกเพราะขนาดผลไม่ใหญ่เกินไปนั่นเอง เนื้อผลสามารถรับประทานได้หมดพอดีกับทุกคนในครอบครัวแบบไม่มีเหลือ  ปัจจุบันตลาดในประเทศจีนกำลังเป็นที่ต้องการสูงมาก

เนื้อ ผลของ “ขนุนทองอินโดแคระ” มีรสชาติหวานกรอบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เนื้อเป็นสีเหลืองทอง เมล็ดเล็ก ยางและซังเป็นเส้นๆน้อยมาก ปริมาณเนื้อ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล  เนื้อสุกงอมไม่เละ  รับประทานอร่อยมาก สามารถปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ทำเป็นไม้ประดับได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีติดตา ทำให้ต้นแข็งแรงทนโรคทนแล้งได้ดี มีรากแก้วเยอะ
  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/106547.jpg)
     ขนุนเพชรดำรง  ปลูกแกะเนื้อขายคุ้ม

ผู้อ่านจำนวนมากขอให้แนะนำขนุนพันธุ์ดีๆ เพราะต้องการกิ่งพันธุ์ไปปลูก  เพื่อแกะยวงหรือเนื้อสุกขายเพิ่มรายได้บ้าง  แต่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะปลูกขนุนพันธุ์อะไร เนื่องจากปัจจุบันมีขนุนพันธุ์ใหม่ๆที่เกษตรกรได้พัฒนาพันธุ์ขึ้นมาเยอะ  แต่ละสายพันธุ์จะมีข้อโดดเด่นต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ที่เหมาะจะปลูกเพื่อแกะยวงขายตามความต้องการดังกล่าว “นายเกษตร” ขอแนะนำว่า “ขนุนเพชรดำรง” เป็นสายพันธุ์ดีที่สุดในยุคนี้

เนื่องจาก มีข้อดีคือ ยวง หรือเนื้อหุ้มเมล็ดมีความหนาและมีขนาดใหญ่ เมล็ดเล็ก เมื่อผ่าผลสุกแกะเอายวงหรือเนื้อเพียงอย่างเดียวขึ้นชั่งกิโลขายจะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ย ประมาณ ๕–๖ ยวงต่อ ๑ กิโลกรัม ให้น้ำหนักดีกว่าและยวงใหญ่กว่าขนุนสายพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน ที่สำคัญ ยวงหรือเนื้อของ “ขนุนเพชรดำรง” ไม่เละ รสชาติหวานกรอบและมีกลิ่นหอม เฉพาะตัวรับประทานอร่อยมาก “ผล” โตเต็มที่น้ำหนักประมาณ ๑๐-๒๐ กิโลกรัม ต่อผล ให้ยวงหรือเนื้อปริมาณ ๕๒ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล เปลือกผลบางไม่เป็นสนิมง่าย

ขนุนเพชรดำรง ติดผลดกและผลมีขนาดใหญ่มาก เป็นสายพันธุ์ที่ติดผลได้ปีละ ๒ ครั้งหรือนิยมเรียกกันว่าทวายนั่นเอง จึงเป็นขนุนสายพันธุ์ดังและดีที่สุดในเวลานี้ เหมาะจะปลูกเพื่อแกะยวง หรือเนื้อขายได้คุ้มค่ากว่าขนุนสายพันธุ์ใดๆอย่างแน่นอน ซึ่ง “ขนุนเพชรดำรง” เกิดจากการผสมเกสรของขนุนคุณหญิง กับขนุนทองประเสริฐ โดยฝีมือของ ดร.ดำรงศักดิ์ วิรยศิริ  ปลูกได้ในดินทั่วไป เติบโตเร็วและติดผลหลังปลูก ๓-๔ ปี
  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15209294524457_image_218201452513AM_1_.jpg)
     ขนุนทองอินโดแคระ  ครองใจผู้ปลูกกิน

ขนุนชนิดนี้  เป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมจากผู้ปลูกและผู้รับประทานอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นขนุนปลูกเก็บผลส่งขายประเทศจีนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะขนาดของผลและน้ำหนักผลไม่ใหญ่หรือหนักเกินไป หนึ่งผลเมื่อซื้อไปผ่าแกะเนื้อรับประทานในครอบครัวได้พอดีหมด ไม่เหลือให้เสียของ ที่สำคัญเนื้อสุกจะไม่เละ รสชาติหวานกรอบหอมเป็นเอกลักษณ์อร่อยมาก จึงครองใจผู้ปลูกและผู้รับประทานเรื่อยมาตามที่กล่าวข้างต้น

ขนุนทองอินโดแคระ มีถิ่นกำเนิดจาก ประเทศอินโดนีเซีย ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยบ้านเรานานหลายปีแล้ว มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับขนุนทั่วไปเกือบทุกอย่าง ต่างกันที่ต้นของ “ขนุนทองอินโดแคระ” จะสูงเพียง ๓-๔ เมตร เป็นขนุนพันธุ์เบาปลูก ๓ ปี จะติดผลชุดแรก ติดผลดกไม่ขาดต้นเกือบทั้งปี จึงทำให้ผู้ปลูกต้องเก็บผลอ่อนออกบ้าง โดยผลอ่อนสามารถนำไปขายเป็นอาหารทำแกงขนุน ยำขนุน หรือซุปขนุน เป็นต้น

ทรงผลกลมรี น้ำหนักผลโตเต็มที่เฉลี่ยประมาณ ๒-๕ กิโลกรัม ต่อผล เนื้อสุกเป็นสีเหลืองทอง รสชาติหวานกรอบหอมอร่อยมาก จึงถูกตั้งชื่อตามสีของเนื้อสุกกับขนาดความสูงของต้นและถิ่นกำเนิด ว่า “ขนุนทองอินโดแคระ” เมล็ดเล็ก ยางและซังหุ้มเนื้อมีน้อย ปริมาณของเนื้อ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล เนื้อสุกไม่เละ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง เสียบยอด และติดตา ส่วนใหญ่เป็นกิ่งที่ขยายพันธุ์ด้วยระบบติดตาและมีรากแก้วดีแล้ว จึงทำให้ปลูกแล้วเจริญเติบโตเร็ว สามารถปลูกลงบ่อซีเมนต์ติดผลได้
 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/77473680799206_EyWwB5WU57MYnKOuFIyaj6BPyIyKBt.jpg)
     ขนุนเพชรเนื้อทอง  ยางน้อยผลทะวายอร่อย

ขนุนชนิดนี้ เกิดจากการนำเอาเมล็ดของขนุนพันธุ์ดีหลายเมล็ดไปเพาะขยายพันธุ์จนเกิดเป็นต้นกล้า และนำไปปลูกจนต้นติดผล และมีต้นหนึ่งมีลักษณะแตกต่างจากต้นอื่น คือ เมื่อนำเอาผลสุกผ่าดูเนื้อในมีความโดดเด่น คือ ทั้งผลแทบไม่มียางติดมือเลย หรือ มีก็น้อยมาก เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเข้ม หรือสีเหลืองทอง วัดความหวานของเนื้อสุกได้ประมาณ ๒๔-๒๘ องศาบริกซ์ ความหนาของเนื้อประมาณ ๐.๕-๑.๒ ซม. เนื้อแห้งกรอบไม่นิ่มหรือเละ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เมล็ดและแกนไส้เล็ก รับประทานอร่อยมาก

น้ำหนักผล เมื่อโตเต็มที่เฉลี่ยระหว่าง ๑๓-๒๐ กิโลกรัม น้ำหนักของเนื้อประมาณ ๕๓ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล ซึ่งถือว่าเป็นขนุนที่ให้เนื้อเยอะมาก เจ้าของผู้เพาะพันธุ์เชื่อว่าเป็นขนุนพันธุ์ใหม่ และได้ตอนกิ่งขยายพันธุ์จากขนุนต้นดังกล่าวไปปลูกทดสอบพันธุ์ จนมั่นใจว่าเป็นขนุนกลายพันธุ์แบบถาวรแล้ว จึงนำพันธุ์ไปขอจดทะเบียนพันธุ์พืช พร้อมตั้งชื่อว่า “ขนุนเพชรเนื้อทอง” และส่งเข้าประกวดได้รับรางวัลชนะเลิศในงานเกษตรปราจีนบุรีมาแล้ว

ที่สำคัญ “ขนุนเพชรเนื้อทอง” เป็นขนุนพันธุ์เบา สามารถติดผลได้ไม่ขาดต้น หรือออกผลทะวายตลอดปีอีกด้วย จึงเป็นขนุนที่ให้ผลผลิตแก่ผู้ปลูกได้อย่างคุ้มค่าทั้งปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน และปลูกเพื่อเก็บผลผ่าแกะเนื้อในขายเพิ่มรายได้
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/81318887074788_1.png)
     ขนุนเหลืองระยอง ผลใหญ่สวยเนื้ออร่อย
ขนุน เป็นไม้ผลอย่างหนึ่งที่นิยมปลูกมาแต่โบราณ โดยในปัจจุบันมีการพัฒนาสายพันธุ์ขนุนใหม่ๆออกสู่ตลาดไม้ผลอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง มีด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ มีทั้งชนิดผลขนาดเล็กและผลขนาดใหญ่ ขนาดของต้นมีทั้งขนาดใหญ่ตามธรรมชาติและต้นเตี้ยเก็บผลได้ง่าย ซึ่ง “ขนุนเหลืองระยอง” เป็นขนุนที่มีผลสวยงามกว่าผลของขนุนชนิดต่างๆทั่วไป คือ ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ยาว ผิวผลเมื่อแก่จัดจะเป็นสีเหลืองตลอดผลน่าชมยิ่ง เนื้อสุกหรือยวงหุ้มเมล็ดเป็นสีเหลืองเข้ม เมล็ดเล็ก ยางน้อย ยวงหรือเนื้อสุกงอมจะไม่เละ แข็งกรอบ หวานหอมเป็นเอกลักษณะ รับประทานอร่อยมาก
 
ปริมาณเนื้อ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล เนื้อไม่เป็นสนิม น้ำหนักผลเมื่อโตเต็มที่เฉลี่ยระหว่าง ๑๐-๓๘ กิโลกรัมต่อผล ซึ่ง “ขนุนเหลืองระยอง” มีที่มาของชื่อ คือ ชนะเลิศการประกวดในงานวันเกษตรและของดีจังหวัดระยอง หลายหนหลายครั้ง จึงถูกตั้งชื่อให้เป็นเกียรติว่า “ขนุนเหลืองระยอง” ดังกล่าว
 
ที่เป็นพิเศษ ยิ่งกว่านั้น “ขนุนเหลืองระยอง” จะมีขนาดของต้นไม่สูงใหญ่มากนัก ต้นสูงเต็มที่ระหว่าง ๔-๖ เมตร เท่านั้น จึงทำให้เวลาติดผลดกสามารถเก็บผลแก่จากต้นได้ง่ายและติดผลทะวายตลอดปี หรืออย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง ติดผลดกอย่างสม่ำเสมอ นอกจากรางวัลชนะเลิศที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังได้รับรางวัลชนะเลิศงานประกวดในหลายจังหวัดอีกด้วย
 [  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRtMmhBg2qzGz12xvIDTyh-OTESuPNvtdpeX3Na98QnHePWFMQiLw)
     แก่นขนุน
ขนุนเป็นไม้ต้น ขนาดใหญ่ ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ยาว ๑๐-๑๕ เซนติเมตร ปลายใบทู่ ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ ดอก เป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า “ส่า” มักออกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นยอดเกสรเพศเมีย เป็นหนามแหลม การออกดอก จะออกปีละ ๒ ครั้ง คือ ช่วงเดือนธันวาคม- มกราคม และเมษายน-พฤษภาคม ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก ส่วนซังคือกลีบเลี้ยง ผล เป็นผลรวมมีขนาดใหญ่ คนไทยเมื่ออดีตจะใช้แก่นของขนุนมาต้มน้ำเพื่อย้อมผ้าซึ่งให้สีน้ำตาลแก่ และนำมาเป็นส่วนผสมในสมุนไพรไทยโดยนำแก่นขนุนหนังหรือขนุนละมุดซึ่งมีรสหวานชุ่มขม ใช้บำรุงกำลังและโลหิต ทำให้เลือดเย็น  นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/99071165257030_8_3586_3609_3640_3609_3648_361.jpg)
    ขนุนเพชรจริยา
ขนุนเพชรจริยา เกิดจากการผสมพันธุ์ด้วยวิธีไหนเจ้าของไม่ได้ระบุระหว่าง ขนุนชื่อเพชรดำรง กับ ขนุนศรีบรรจง จากนั้นเมื่อได้ต้นกล้าก็นำไปปลูกเลี้ยงจนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่าติดผลดกมากและติดผลเรื่อยๆ ไม่ขาดต้นหรือเกือบตลอดปี เมื่อตัดเอาผลแก่หรือสุกลงมาผ่าดูเนื้อใน มีลักษณะเด่นคือ มียางน้อย เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเข้มหรือสีเหลืองทอง เนื้อมีความหนาประมาณ ๐.๘-๑.๕ ซม. รสชาติหวานกรอบไม่เละแม้จะสุกงอม เนื้อมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นของดอกลำดวน วัดความหวานได้ ๒๒-๒๘ องศาบริกซ์ เมล็ดกับไส้กลางเล็ก มีซางน้อย รับประทานอร่อยมาก ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักระหว่าง ๑๐-๑๕ กิโลกรัมต่อผล ให้เนื้อสุกประมาณ ๕๔ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล ติดผลเรื่อยๆ ตามที่กล่าวข้างต้นเหมือนขนุนทองประเสริฐ หรือที่ชาวสวนนิยมเรียกว่าขนุนทวายนั่นเอง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่งและเสียบยอด

ขนุนเพชรจริยา อยู่ในวงศ์ MORACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับขนุนทั่วไปทุกอย่าง จะมีข้อแตกต่างคือติดผลดกมากแบบไม่ขาดต้น เนื้อสุกหนาหวาน หอมกรอบและให้เนื้อเยอะเกิน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล จึงเป็นขนุนพันธุ์ดีอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนหรือปลูกเพื่อเก็บผลแกะเนื้อขายได้คุ้มค่ามาก
  นสพ.ไทยรัฐ – พฤหัสบดีที่ ๒๑/๕/๕๘  

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/14864600160055_34_3586_3609_3640_3609_3648_36.jpg)
    ขนุนเพชรบัวชมพู
ขนุน เป็นไม้ผลชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมปลูกกันอย่างกว้างขวาง ในปัจจุบันมีการพัฒนาพันธุ์ใหม่ๆ และตอนกิ่งออกวางขายมากมาย ซึ่ง “ขนุนเพชรบัวชมพู” จัดเป็นพันธุ์ใหม่ที่ผู้ขายกิ่งตอนบอกว่าเป็นขนุนที่เกิดจากการเพาะเมล็ดจากต้นแม่ แต่ไม่รู้ว่าเป็นขนุนพันธุ์อะไร ค้นพบในสวนของเกษตรกรผู้หนึ่งในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยต้นแม่มีอายุเกือบ ๒๐ ปีแล้ว ยังยืนต้นอยู่และติดผลดกมากเรื่อยๆ แบบมีผลไม่ขาดต้น   ส่วนต้นลูกที่เกิดจากการเพาะเมล็ด เป็นต้นกล้าปลูกเลี้ยงจนมีดอกและติดผล ปรากฏว่า ติดผลดกมากประมาณ ๔๐-๕๐ ผล น้ำหนักผล ๑๐-๑๕ กิโลกรัมต่อผล เมื่อผ่าผลสุกเนื้อหรือยวง เป็นสีชมพูอมส้มสวยงามมาก เนื้อหนา เมล็ดเล็ก รสชาติหวานกรอบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รับประ-ทานอร่อยยิ่งนัก เจ้าของผู้เพาะเมล็ดเชื่อว่าเป็นขนุนพันธุ์ใหม่ได้ปลูกทดสอบพันธุ์อยู่หลายครั้งและหลายวิธีทุกอย่างยังคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงจึงตั้งชื่อว่า “ขนุนเพชรบัวชมพู” ดังกล่าว

ขนุนเพชรบัวชมพู มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า   ARTOCARPUS HETEROPHYLLUS LAMK อยู่ในวงศ์   MORACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับขนุนทั่วไปทุกอย่าง เพียงแต่ “ขนุนเพชรบัวชมพู” จะมีรูปทรงของผลสวยงาม ติดผลดกไม่ขาดต้นตลอดทั้งปี เนื้อสุกหรือยวงเป็นสีชมพูอมส้มน่าชมมาก รสชาติหวานกรอบหอมอร่อยถูกปากถูกคอผู้รับประทานยิ่งนัก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด
  นสพ.ไทยรัฐ – พฤหัสบดีที่ ๒๒/๑/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/66252598663171_EyWwB5WU57MYnKOuFHKxJvcOcFc1pS.jpg)
    ขนุนทองส้ม   อร่อยปลูกคุ้ม
ขนุนชนิดนี้ มีต้นแม่พันธุ์ดั้งเดิมอยู่ที่ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี มีความโดดเด่นคือต้นมีความแข็งแรงไม่เป็นโรคยางไหลที่เป็นต้นเหตุทำให้ขนุนยืนต้นตายเหมือนขนุนทั่วไป เวลาติดผลจะดกทั้งต้น ผู้ปลูกจะต้องเอาถุงปุ๋ยหรือถุงข้าวสารห่อผลเพื่อป้องกันหนอนเจาะทำให้ผลเสียหายและสีของผลสวยงามด้วย ขนาดผลของ “ขนุนทองส้ม” จะมีขนาดใหญ่ชั่งน้ำหนักผลโตเต็มที่ระหว่าง ๑๕-๓๖ กิโลกรัม ผลแก่จัดไม่แตกหรือปริเหมือนขนุนบางพันธุ์ เนื้อสุกไม่เป็นสนิม เมื่อแกะเอาเนื้อจะได้ จำนวนเนื้อเยอะ น้ำหนักเนื้อเกิน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล เนื้อสุกเป็นสีเหลืองทอง แข็งและแห้งกรอบ ไม่เละแม้สุกเต็มที่ หวานหอมอร่อยมาก ที่สำคัญผลสุกผ่าเอาเนื้อจะมียางน้อยมากไม่ติดมีดติดมือ สามารถแกะเอาเนื้อได้รวดเร็วขึ้น จึงทำให้ “ขนุนทองส้ม” เป็นที่นิยมปลูกและนิยมรับประทานอย่างกว้างขวางในเวลานี้ โดยเฉพาะปลูกเก็บผลกินในครัวเรือนหรือปลูกเพื่อแกะเนื้อขายได้คุ้มค่ามาก เนื่องจากติดผลดกทั้งปี

การปลูก “ขนุนทองส้ม” เพื่อให้ได้ผลผลิตดี ต้องปลูกระหว่างแถวห่างกัน ๖×๖ เมตร ๑ ไร่ ปลูกได้ ๔๔ ตัน ขุดหลุมกว้างยาวและลึก ๕๐×๕๐ ซม. นำต้นลงปลูกให้ปากถุงต้นกล้าเสมอกับหน้าดิน ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ผสมกับดินที่ขุดขึ้นมากลบหลุมปลูกให้เต็ม อย่าปลูกลึกจะทำให้ต้นโตช้า หลังปลูกรดน้ำวันเว้นวัน บำรุงปุ๋ยคอก ๓ เดือนครั้ง สลับใส่ปุ๋ย ๑๖-๑๖-๑๖ สองเดือนครั้ง การตัดแต่งผลใน ๑ ขั้วให้เอาผลไว้ ๑ ผล จะทำให้ผลมีขนาดใหญ่ตามภาพประกอบคอลัมน์ เมื่อเก็บผลผลิตจากต้นแล้วให้ใส่ปุ๋ย ๘-๒๔-๒๔ จะทำให้ผลดกทั้งปีไม่ขาดต้น
  นสพ.ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: มุม "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 26 มิถุนายน 2556 11:55:21
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/28454308956861_4.jpg)
    ขนุนทองสิน
ขนุนพันธุ์นี้ เกิดจากการกลายพันธุ์ด้วยการเอาเมล็ดของขนุนชื่อดังที่เจ้าของจำไม่ได้ว่าเป็นขนุนพันธุ์ไหนบ้างจำนวนหลายเมล็ดไปเพาะ แล้วนำเอาต้นกล้าที่ได้ไปปลูกจนมีดอกและติดผล ปรากฏว่า เนื้อสุกหรือเรียกว่ายวง มีความหนามาก รสชาติหวานกรอบ หอมคล้ายกลิ่นดอกนมแมว รับประทานอร่อยยิ่งนัก เจ้าของได้คัดพันธุ์เอาเฉพาะต้นที่ดีที่สุดไปปลูกทดสอบอยู่หลายวิธีและหลายครั้งจนมั่นใจว่ากลายพันธุ์ถาวรแน่นอนแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “ขนุนทองสิน” ดังกล่าว

ขนุนทองสิน มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับขนุนทั่วไปคือ อยู่ในวงศ์ MORACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๘-๑๐ เมตร ใบออกสลับรูปรี ปลายแหลม โคนเกือบมน ดอกแยกเพศ ดอกตัวเมียและดอกตัวผู้อยู่บนต้นเดียวกัน โดยช่อดอกตัวผู้จะออกที่โคนกิ่ง ลำต้น และง่ามใบ ดอกเป็นแท่งยาว ๒.๕ ซม. ส่วนดอกตัวเมียเป็นแท่งกลม ออกตามลำต้น ก้านช่อดอกใหญ่กว่าก้านช่อดอกตัวผู้ชัดเจน และที่สำคัญเป็นจุดต่างคือ ดอกตัวผู้จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นส่าเหล้า ดอกตัวเมียไม่มีกลิ่น “ผล” รูปกลมรี โตเต็มที่น้ำหนักเฉลี่ย ๘-๑๒ กิโลกรัมต่อผล ผลสุกไม่แตกอ้า เนื้อไม่เป็นสนิม ซังมีน้อย ขนาดของซังใหญ่และหนารับประทานได้ เนื้อสุกหนาสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานกรอบหอมอร่อยมากตามที่กล่าวข้างต้น เมล็ดเล็ก ยางน้อย ปริมาณเนื้อ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล ติดผลดกเกือบทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่ขนุนทุกพันธุ์จะมีรสชาติไม่หวาน แต่ “ขนุนทองสิน” ยังหวานหอมอร่อยเหมือนเดิม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
  นสพ.ไทยรัฐ พุธที่ ๑๔/๑/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30738726506630_5_3592_3635_3611_3634_3604_363.jpg)
    จำปาดะสีทอง
ปัจจุบัน จำปาดะเป็นไม้ผลที่นิยมปลูกและนิยมรับประทานอย่างแพร่หลายในทุกๆ ภาคของประเทศไทย ไม่ได้เป็นไม้ผลเฉพาะถิ่นเฉพาะทางภาคใต้เพียงแห่งเดียวอีกแล้ว สามารถปลูกเก็บผลขายสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำอีกด้วย โดยเฉพาะประเทศมาเลเซีย และ อินโดนีเซีย มีความต้องการสูงมาก ส่วนใหญ่จะเอาเนื้อที่มีรสหวานหอมชุบแป้งทอด เป็น “ขนมจำปาดะ” ส่งกลิ่นหอมเป็นขนมหวานที่คนไทยภาคใต้ และชาวมาเลเซีย อินโดนีเซีย ชื่นชอบรับประทานมาก เมล็ด ยังหมกขี้เถาใต้กองไฟทำเป็นเครื่องแกงมัสมั่น แกงไตปลา และแกงกระทะ เพิ่มรสชาติให้รับประทานอร่อยยิ่งขึ้น ชาวมุสลิมนิยมอย่างกว้างขวาง

สำหรับ “จำปาดะสีทอง” หรือ ARTOCAR- PUSINTEGER MERR อยู่ในวงศ์ MORA-CEAE เป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ ต้นสูง ๗-๑๐ เมตร ใบออกสลับ ปลายแหลมโคนมน ดอกและผลออกตามลำต้นเหมือนขนุน “ผล” รูปกลมยาว ก้านผลรวมกันเพียงก้านเดียว ตลอดผิวผลมีหนาม ขนาดผลเล็กกว่าผลขนุนอย่างชัดเจน ผลสุกจะมีกลิ่นหอมแรง เนื้อในเป็นสีเหลืองเข้ม จึงถูกตั้งชื่อว่า “จำปาดะสีทอง” เนื้อสุกค่อนข้างแฉะเป็นธรรมชาติ รสหวานหอมตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  ที่สำคัญ “จำปาดะสีทอง” เป็นพันธุ์เบา ติดผลง่าย หลังปลูกเพียง ๓ ปี จะติดผลชุดแรกและให้ผลผลิตตลอดปีหรืออย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง และจะติดผลสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ “จำปาดะสีทอง” เป็นที่นิยมปลูกและนิยมรับประทานอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้  เป็นกิ่งตอนด้วยระบบติดตา ทนแล้งและทนการโค่นล้มได้ดี ราคาสอบถามกันเองครับ
  นสพ.ไทยรัฐ – อังคารที่ ๕/๘/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/20533501894937_6_3586_3609_3640_3609_3611_365.jpg)
    ขนุนป้าจื๊อ
ขนุนชนิดนี้ มีถิ่นปลูกดั้งเดิมอยู่ที่ ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยเจ้าของพันธุ์ เป็นหญิงชาวจีนชื่อ “จื๊อ” จึงถูกตั้งชื่อว่า “ขนุนป้าจื๊อ” มีลักษณะเด่นคือ รูปทรงของผลจะกลมยาว ผลโตเต็มที่น้ำหนักเฉลี่ย ๘-๒๐ กิโลกรัม เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเข้ม หนาหวานกรอบ ไม่เละ รับประทานอร่อยมาก แกนในเล็ก ยางน้อย จึงเป็นที่นิยมของผู้ปลูกและผู้รับประทานในท้องถิ่น และแถบจังหวัดใกล้เคียงอย่างแพร่หลายเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ขนุนป้าจื๊อ อยู่ในวงศ์ MORACEAE เป็นไม้ยืนต้น ๘-๑๐ เมตร มียางขาวทั้งต้น ใบออกสลับรูปกลมรี ปลายแหลม โคนมน เนื้อใบหนา สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นกลุ่ม ช่อดอกตัวเมียและตัวผู้จะอยู่บนต้นเดียวกัน โดยช่อดอกตัวผู้ จะออกที่โคนกิ่ง ลำต้น และง่ามใบ เป็นแท่งยาว ส่วนดอกตัวเมียออกจากลำต้น มีก้านช่อใหญ่ ดอกตัวเมียจะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นส่าเหล้าต่างกันอย่างชัดเจน “ผล” กลมยาว น้ำหนักผลโต เต็มที่ประมาณ ๘-๑๐ กิโลกรัม ตามที่กล่าวข้างต้น เนื้อผลสุกเกิน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล สีเหลืองเข้ม เนื้อหนากรอบหวานรับประทานอร่อยมาก วัดความหวานได้ ๒๖ องศาบริกซ์ ติดผลดกอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง หรือเรื่อยๆเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์โดยทั่วไปคือเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง ซึ่ง “ขนุนป้าจื๊อ” ต้นแม่ดั้งเดิมยังคงยืนต้นอยู่ในปัจจุบัน

ใครต้องการกิ่งพันธุ์ไปปลูกติดต่อ “คุณประภาส สุภาผล” ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เป็นกิ่งตอนด้วยระบบติดตา มีรากแก้วดีทุกต้น ทำให้ปลูกแล้วโตเร็ว และติดผลดกหลังปลูก ๓-๔ ปี เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน และ ปลูกเป็นเชิงพาณิชย์เก็บผลขายคุ้มค่ามาก ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ- อังคารที่ ๑๙-๘-๕๗


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/33259981622298_EyWwB5WU57MYnKOuX7LQDzxM9vDtoE.jpg)
     ขนุนแดงสุริยา หวาน กรอบอร่อยปลูกคุ้ม
ขนุนชนิดนี้ เป็นสุดยอดของ ขนุนเนื้อสีจำปาสายพันธุ์แท้ ที่มีการปลูกทดสอบพันธุ์อยู่นานกว่า ๑๐ ปีแล้ว เป็นขนุนที่มีความทนทานต่อโรคพันธุ์ไม้ได้ดีและทนความแห้งแล้งด้วย เป็นขนุนพันธุ์เบา มีดอกติดผลได้ง่ายและติดผลดกอย่างสม่ำเสมอ ผลโตเต็มที่มีนํ้าหนัก ๘-๒๐ กิโลกรัมต่อผล สามารถติดผลอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง เนื้อผลมีความหนาประมาณ ๐.๕-๑.๒ ซม. สีของเนื้อสวยเป็นสีแดงเข้มจึงถูกตั้งชื่อว่า “ขนุนแดงสุริยา” รสชาติหวานกรอบไม่เละมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว รับประทานอร่อยมาก ให้เนื้อเยอะมากกว่า ๕๒ เปอร์เซ็นต์ของนํ้าหนักผล เมื่อผลแก่จัดจะไม่แตกอ้า มีรางวัลชนะเลิศงานประกวดขนุนจำปาวันเกษตรประจำปีของ จ.ปราจีนบุรี มาถึง ๔ ปีซ้อน กำลังเป็นที่นิยมปลูกเพื่อเก็บผลกินในครัวเรือนและปลูกเพื่อเก็บผลแกะเนื้อขายอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคุ้มค่ามาก ราคากิโลกรัมละหลายบาท

ขนุนแดงสุริยา หรือ ARTOCARPUS HETEROPHYLLUS LAMK. อยู่ในวงศ์ MO-RACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับต้นขนุนทั่วไปทุกอย่าง ติดผลได้ปีละ ๒ ครั้ง ตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยระบบเสียบยอดกับตอขนุนพื้นเมือง การปลูกระหว่างต้น และระหว่างแถวห่างกัน ๖×๖ เมตร ขุดหลุมลึกและกว้างประมาณ ๖๐×๖๐ ซม. ใส่ปุ๋ยคอกผสมกับดินที่ขุดขึ้นมาให้เต็มหลุม จากนั้นนำเอาต้น “ขนุนแดงสุริยา” ลงปลูกให้ดินปากถุงเสมอกับหน้าดิน อย่าปลูกลึกเพราะจะทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ช้า รดนํ้า ๑-๒ วันครั้ง ใส่ปุ๋ยคอกทุกๆ ๓ เดือน สลับกับการใส่ปุ๋ยสูตร ๑๖-๑๖-๑๖ ทุกๆ ๒ เดือน จะทำให้ “ขนุนแดงสุริยา” ติดผลชุดแรกหลังปลูกเพียง ๓ ปีเท่านั้น
   นสพ.ไทยรัฐ 


หัวข้อ: Re: มุม "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 26 มิถุนายน 2556 14:06:24
.

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSJOqy2RYBLiOjU1yP6vem1jGkcbE4mfnkfpcyEzk7a_3yoafod)
     มะละกอ
มะละกอ เป็นพืชยืนต้น สูงประมาณ ๓-๔ เมตร ลำต้นตั้งตรง เนื้อลำต้นอ่อน ผลมีรูปร่างทั้งกลมและยาวรี มะละกอดิบเปลือกนอกมีสีเขียวผลสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองออกส้ม เป็นพืชที่ไม่ชอบให้มีน้ำท่วมขังนิยมปลูกในบริเวณรั้วบ้าน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนของต้น โดยใบและยอดปรุงอาหารได้ ลำต้นภายในเป็นเนื้อสีขาวครีมอ่อนนุ่มคล้ายกับหัวผักกาดจีนปรุงเป็นอาหารได้ หรือดองเค็มหรือตากแห้งเก็บไว้กินก็ได้ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารที่สำคัญหลายอย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ธาตุเหล็ก และแคลเซียม
 
ยางสีขาวข้นจากผลมะละกอ ใช้หมักเนื้อทำให้เนื้อนุ่มและเร่งให้เปื่อยเร็วเมื่อต้ม สกัดเป็นเอนไซม์ปาเปอีน ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง  เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยในการขับปัสสาวะ ทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร “ชามะละกอ” ที่มีสรรพคุณในการล้างลำไส้จากคราบไขมันที่เกาะติดอยู่ที่เกิดจากการกินอาหารที่ผัดด้วยน้ำมัน ผลมะละกอสุกช่วยบำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหารเป็นยาระบายอ่อน ๆ ทำให้ระบบขับถ่ายดีไม่มีอาการท้องผูก ทำน้ำมะละกอได้อีกเอนไซม์ปาเปอีน ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น มีสารอาหารที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เบต้าแคโรทีนที่มีคุณสมบัติช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอย.

 

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSPuDz17nxtkVeY5Ph_3sc4bUW36CRuA1eIGU332oJApAz0cgOHsA)
     มะละกอสีทองใหม่  ผลยาวสวยอร่อย
มะละกอสีทอง ที่เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม มีถิ่นกำเนิดจากรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เคยแนะนำในคอลัมน์ไปนานแล้ว โดยสายพันธุ์ดังกล่าวรูปทรงของผลจะกลมรีป้อมและสั้น จัดเป็นสายพันธุ์ที่หวงเมล็ดคือ เวลาติดผลดกเต็มต้นแต่ละผลแทบจะไม่มีเมล็ดให้เก็บไว้ขยายพันธุ์ได้เลย บางต้นเมื่อติดผลแล้วจะมีเพียง ๑-๒ ผลเท่านั้นที่มีเมล็ดไม่มากนัก ทำให้เจ้าของหรือผู้ปลูกต้องหวงผลให้สุกคาต้นไม่เก็บผลขายเพื่อนำเอาผลสุกดังกล่าวลงมาผ่าทุกผลดูว่าผลไหนมีเมล็ดจะได้เก็บไปขยายพันธุ์รุ่นต่อไป จึงถูกเรียกว่ามะละกอหวงเมล็ด

ส่วน “มะละกอสีทองใหม่”  เกิดจากการเอาเมล็ดของมะละกอสีทองพันธุ์ดั้งเดิมไปเพาะขยายพันธุ์จนมีดอกและติดผล  ปรากฏว่ารูปทรงของผลแปลกไปจากเดิมคือ ผลกลมรีและยาวมากกว่าผลของมะละกอสีทองพันธุ์ดั้งเดิมอย่างชัดเจน ดูคล้ายผลของมะละกอแขกดำ ที่สำคัญแต่ละผลจะมีเมล็ดจำนวนมาก  ไม่หวงเมล็ดเหมือน กับผลมะละกอสีทองพันธุ์ดั้งเดิม ทำให้สามารถเก็บเมล็ดจากผลสุกไปขยายพันธุ์ปลูกได้อย่างต่อเนื่อง เก็บผลกินและขายได้ สีสันของผลยังคงที่เป็นสีเหลืองทองดั้งเดิม แต่ผลยังเล็กจนกระทั่งผลแก่และสุกดูสวยงามแปลกตายิ่งนัก

รสชาติ ขณะอ่อนหรือดิบกรอบฉ่ำน้ำเหมือนกับเนื้อมะละกอผลสีเขียวทั่วไป สามารถใช้ประโยชน์ ปรุงเป็นอาหารได้หลายรูปแบบ เช่น นึ่งหรือต้มกินเป็นผักจิ้มน้ำพริก ผัดไข่หรือหมู, สับฝานทำส้มตำ แกงส้ม ผลสุก  รับประทานเป็นผลไม้รสชาติหวานไม่เละอร่อยมาก สรรพคุณทางสมุนไพรของมะละกอทั่วไปคือ ต้น ขับประจำเดือน ลดไข้  ดอก ขับปัสสาวะ  ราก แก้กลากเกลื้อน  ยาง ช่วยกัดแผลรักษาตาปลาและหูด

ยาง ใช้หมักไก่หรือต้มเนื้อให้ยุ่ย  แปรรูปทำครีมทาแก้ส้นเท้าแตก  ต้นบริเวณส่วนโคนตัดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นวดกับเกลือป่นทำเป็น  “ฉ่ายโป๊ว” รับประทานอร่อยมาก

มีต้นและเมล็ดพันธุ์ขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙
 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

(http://www.munjeed.com/image_news/2010-12-15/Thairath_15122553233609.jpg)
     มะละกอพันธุ์แขกดำหนองแหวน  ปลูกคุ้มผลผลิตสูง
มะละกอพันธุ์แขกดำหนองแหวน มะละกอ เป็นไม้กินผลชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกเก็บผลกินในครัวเรือนและเก็บผลขายเพิ่มรายได้อย่างกว้างขวาง ปัจจุบัน "มะละกอพันธุ์แขกดำหนองแหวน"  จัดเป็นมะละกอสายพันธุ์ดีที่สุดที่ผู้บริโภคยกนิ้วให้ว่ามีรสชาติสุดยอดทั้งดิบและสุก  โดยเฉพาะบรรดาเกษตรกรที่ยึดอาชีพปลูกมะละกอเก็บผลขายจะนิยมปลูกมะละกอสายพันธุ์นี้อย่างแพร่หลาย  เนื่องจากให้ผลผลิตต่อไร่ สูงมาก  สามารถเก็บผลขายได้ราคาดี  มีตลาดไปรับซื้อถึงแหล่งปลูก  สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว   หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS8-BDvoZ2JNpjfedV4RX-oSRRlmCCdV7u4eFZiF08G-sxEtofl)
     มะละกอกับสูตรลดอ้วน  (ข่าว)
ผู้อ่านไทยรัฐ จำนวนมากมีปัญหาเรื่องความอ้วน แต่ไม่ใช่อ้วนถึงขนาดมีน้ำหนักเป็น ๑๐๐ หรือ ๒๐๐ กิโลกรัม เพียงแค่อ้วนเกินอัตราส่วนความสมดุลของร่างกายและอายุ ซึ่งก็พยายามลดเต็มที่แล้วแต่ไม่ได้ผล มีแต่จะอ้วนเพิ่มขึ้น

สำหรับ "มะละกอ" กับสูตรลดอ้วน ถือเป็นหลักโภชนาบำบัดแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมนำไปปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ส่วนจะได้ผลมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับผู้ต้องการลดความอ้วนจะต้องควบคุมการกินอาหารและออกกำลังควบคู่กันไปด้วย "นายเกษตร" เห็นว่าเป็นสูตรง่ายๆ จึงเสนอเป็นวิทยาทานอีกเช่นเคย คือ

เอา "มะละกอ" ดิบหรือห่าม ๑ ผลใหญ่ หรือเล็กตามแต่จะหาได้ ไม่ต้องปอกเปลือก ผ่าเอาเมล็ดออกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆต้มกับนํ้า ๑  ลิตร หรือท่วมเนื้อจนเดือดแล้วดื่มเฉพาะนํ้าแทนการดื่มนํ้า  ดื่มได้เรื่อยๆหมดแล้วเอาผลใหม่ต้มดื่มต่อจนกว่าน้ำหนักจะลดลงตามต้องการ ไม่มีอันตรายอะไร

มีข้อแม้ หากต้องการให้เห็นผลแน่นอนต้องกินข้าวให้ตรงเวลาทุกมื้อ และมื้อเย็น ห้ามกินข้าวหลังห้าโมงเย็นอย่างเด็ดขาด จะได้ผลดีแล้วยังทำให้ร่างกายไม่เกิดโรคด้วย

มะละกอ มีผลดิบและสุกวางขายทั่วไปตามตลาดสดและตลาดผลไม้ นิยมปลูกกินผลในครัวเรือนอย่างกว้างขวาง มีสรรพคุณเฉพาะ ยาง ใช้กัดหูด ตาปลา และเป็นยาระบาย ยาง[/color]ยังใช้หมักไก่ ต้มเนื้อให้ยุ่ย ทำครีมทากันส้นเท้าแตก ใช้ซักผ้ายกเว้นผ้าห่ม
  ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTA0KO9wvDZ9s5Gnzt1QONoOG6D-kJDzsBjNLz2J1o-43-PwKV1ow)
     นักวิจัยญวนพบใบชามะละกอต้านมะเร็ง  (ข่าว)
นักวิจัยชาวญวน มหาวิทยาลัยรัฐฟลอริดา สุดเจ๋ง ค้นพบชาใบมะละกอ ช่วยต้านโรคเพียบ พร้อมส่งต่อให้มหาวิทยาลัยกรุงโตเกียวนำไปขยายผลต่อ...

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวันที่ ๑๐ มี.ค.ว่า นายนัม ดัง นักวิจัยค้นคว้าชาวเวียดนาม จากมหาวิทยาลัยรัฐฟลอริดา พร้อมเพื่อนร่วมทีมจากมหาวิทยาลัยญี่น เผยผลของการค้นพบสิ่งมหัศจรรย์ในใบมะละกอสกัด  ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสารเภสัชพื้นบ้าน (Journal of Ethnopharmacology) ประจำเดือนก.พ.ที่ผ่านมา แต่ได้รับการเปิดเผยจากมหาวิทยาลัยรัฐฟลอริดา เมื่อ ๙ มี.ค.ว่า ใบมะละกอที่นำมาอบแห้งสกัดเป็นชาใบมะละกอให้ผลในการรักษาต่อต้านโรคมะเร็งตับ, ตับอ่อน, ปอด, หน้าอก และปากมดลูก

รายงานข่าวระบุว่า จากการทดลองในเซลส์มะเร็งต่างกัน ๑๐ ชนิด กับชาสกัดใบมะละกอที่ให้ความเข้มข้น ๔ แบบ จากนั้นก็วัดค่าผลภายใน ๒๔ ชั่วโมง พบว่า เซลส์มะเร็งทุกชนิดมีการเติบโตช้าลง และยังพบผลข้างเคียง ด้วยชีวโมเลกุลตัวสำคัญที่ชื่อว่า “ไซโตไคน์ ชนิดทีเอช-1” ซึึ่งช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้เกิดการสร้างเซลส์ภูมิคุ้มกัน นับเป็นการเสริมความเชื่อภูมิปัญญาชาวบ้านทั่วโลก โดยเฉพาะในออสเตรเลียกับเวียดนาม

ทั้งนี้ นายดังและคณะ เข้าจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อย โดยให้มหาวิทยาลัยกรุงโตเกียวนำไปขยายผลต่อไป
  ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ วันพุธที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/62268738076090_1.png)
     มะละกอในวงบ่อ
การเตรียมวงบ่อเพื่อปลูกมะละกอให้เทปูนปิดตอนล่างของวงบ่อพร้อมเจาะรูขนาดหัวแม่มือ ประมาณ ๕-๗ รู เพื่อให้น้ำรั่วซึมออกไปช่วงที่มีน้ำมากในวงบ่อ สำหรับดินควรเป็นดินที่ผสมด้วยดินร่วน ๓ บุ้งกี๋ ผสมกับ ปุ๋ยคอก, ขี้เถ้าแกลบ, ทรายหยาบ อัตราส่วน ๑:๑:๑ ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำมาใส่ลงในวงบ่อ ให้เต็ม รดน้ำให้ชุ่ม นำต้นกล้ามะละกอที่มีอายุประมาณ ๓๐ วัน มาลงปลูก  คอยหมั่นรดน้ำให้ชุ่ม แต่ไม่ต้องมาก กลบโคนด้วยดินและปุ๋ยหมัก ปิดด้วยฟางหรือแกลบ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกเสร็จให้ทำหลักเพื่อยึดลำต้นไม่ให้โยกขณะลมพัด จากนั้นไม่นานมะละกอก็จะออกลูกให้ได้บริโภค. เดลินิวส์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/25156207506855_18_3617_3632_3621_3632_3585_36.jpg)
    มะละกอครั่ง
มะละกอชนิดนี้ ไม่มีใครระบุที่มาของชื่อ ที่มาของสายพันธุ์และแหล่งกำเนิดได้ว่าเป็นมาอย่างไร ทราบแต่เพียงว่ามีปลูกทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อเก็บผลดิบไปปอกเปลือกแล้วสับฝานเป็นฝอยๆ หรือเป็นเส้นๆ ทำส้มตำมะละกอเพียงอย่างเดียวมาช้านานแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ไม่นิยมกินผลสุก แต่ไม่ใช่ว่าเนื้อสุกของ “มะละกอครั่ง” จะไม่หวานอร่อย สาเหตุแท้จริงเป็นเพราะขนาดของผล “มะละกอครั่ง” จะใหญ่และยาวมาก ทำให้เวลานำไปปอกเปลือกสับฝานทำส้มตำมะละกอได้เนื้อเยอะกว่ามะละกอดิบสายพันธุ์อื่นๆ และที่สำคัญรสชาติเมื่อปรุงเป็นส้มตำมะละกอแล้วจะกรอบถูกปากผู้รับประทานเป็นอย่างยิ่งนั่นเอง

มะละกอครั่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์และลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะละกอทั่วไปคือ CARICA PAPAYA LINN. อยู่ในวงศ์ CARI CACEAE เป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นตั้งตรงไม่แตกกิ่งก้าน ความสูงอยู่แต่ละสายพันธุ์ไม่เท่ากัน ลำต้นกลวง เปลือกต้นขรุขระเป็นสีน้ำตาลเทาปนขาว มียาง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรอบลำต้นช่วงปลายยอด ใบมีขนาดใหญ่แผ่คล้ายร่ม ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ๗-๙แฉก
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ ดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีกลีบดอก ๕ กลีบ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ลักษณะดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียอยู่คนละต้น “ผล” เป็นผลเดี่ยว รูปกลม หรือทรงกระบอก ซึ่งผลของ “มะละกอครั่ง” สามารถยาวได้ถึง ๑ ฟุต ผลดิบสีเขียว เนื้อในฉ่ำน้ำ เมื่อปอกเปลือกสับฝานเป็นฝอยหรือเป็นเส้นเนื้อจะเป็นสีขาวใส ทำเป็นส้มตำมะละกอรับประทานกรอบอร่อยมาก ไม่นิยมกินผลสุกตามที่กล่าวข้างต้น มีเมล็ดเยอะ ติดผลดกมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๑๗ ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – พุธที่ ๒๒/๔/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/73850248712632_19_3617_3632_3621_3632_3585_36.jpg)
    มะละกอก้านใบม่วง
มะละกอชนิดนี้ พบมีต้นขายมีภาพถ่ายจากต้นจริงโชว์ให้ชมด้วย สีสันของก้านใบเป็นสีม่วงอมแดงแปลกและแตกต่างจากสีของก้านใบมะละกอพันธุ์ทั่วไปอย่างชัดเจนที่จะเป็นสีเขียว ติดผลดกเต็มต้นมีทั้งชนิดผลดิบเป็นสีเขียวอ่อนและผลสุกสีเหลืองอมส้มตามลำดับดูสวยงามมาก ผู้ขายบอกได้เพียงว่า มะละกอพันธุ์ดังกล่าวนิยมปลูกมาช้านานทางภาคใต้หลายจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ จ.กระบี่ แต่บอกที่มาที่ไปของสายพันธุ์ไม่ได้ว่าเป็นอย่างไร ต่อมา “คุณบุญลือ สุขเกษม” เกษตรกรฝีมือดีได้ซื้อผลสุกจำนวน ๒ ผล นำ กลับมาผ่าเอาเมล็ดเพาะเป็นต้นกล้าปลูกจนต้นโต มีดอกและติดผลในพื้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

ปรากฏว่า มะละกอดังกล่าวสามารถเจริญเติบโตได้เร็วและทนต่อโรคแมลงทุกชนิดได้ดีกว่ามะละกอสายพันธุ์อื่นๆ และที่สำคัญสามารถติดผลดกเต็มต้นอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดคอต้น ประมาณ ๗๐-๙๐ ผลต่อต้น รูปทรงของผลกลมยาวคล้าย รูปทรงของผลมะละกอแขกดำ ผลดิบสีเขียว หรือสีเขียวอ่อน ผลสุกเป็นสีเหลืองและสีส้มตามลำดับ ทำให้เวลาติดผลดกดูสวยงามทั้งสีผลและ สีของก้านใบน่าชมยิ่งนัก น้ำหนักผลโตเต็มที่เฉลี่ยระหว่าง ๑ กิโลกรัมขึ้นไป ผลดิบเนื้อกรอบฉ่ำน้ำ ปรุงเป็นอาหารทำส้มตำ แกงส้มดีมาก เนื้อสุกเป็นสีแดง รสหวาน ไม่เละง่าย เนื้อแน่นหนาประมาณ ๑-๑.๕ นิ้ว ๑ ผลมีเมล็ดประมาณ ๓๐-๕๐ เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

มะละกอก้านใบม่วง มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ CARICA PAPAYA LINN. อยู่ในวงศ์ CARICACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะละกอทั่วไปทุกอย่าง แต่ก้านใบจะเป็นสีม่วงอมแดง เติบโตเร็ว ทนต่อโรคแมลงได้สูงกว่ามะละกอสายพันธุ์ใดๆ ให้ผลผลิตดกเต็มต้นอย่างสม่ำเสมอ สีผลสวยตามที่กล่าวข้างต้น รสชาติรับประทานอร่อยทั้งผลดิบและผลสุก เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนและปลูกเก็บผลขายเป็นเชิงพาณิชย์  มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – พุธที่ ๑๑/๓/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/99125252001815_4.jpg)
    มะละกอศรีสุภา
มะละกอชนิดนี้ มะละกอชนิดนี้เป็นพันธุ์ใหม่ ผู้ขายบอกว่าเกิดจากการเขี่ยเกสรผสมระหว่างมะละกอฮอลแลนด์ กับมะละกอแขกนวล จากนั้นนำเอาเมล็ดจากผลสุกจำนวนหลายเมล็ดไปเพาะเป็นต้นกล้าแล้วปลูกจนต้นมีดอกและติดผลดกเต็มต้น ตามภาพประกอบคอลัมน์ รูปทรงของผลแตกต่างจากพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่อย่างชัดเจน เจ้าของผู้เขี่ยเกสรผสมจึงคัดเอาผลสุกจากต้นที่ดีที่สุดผ่าเอาเมล็ดไปเพาะเป็นต้นกล้าปลูกทดสอบพันธุ์หลายครั้ง ปรากฏว่าทุกอย่างยังคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เชื่อว่าเป็นมะละกอกลายพันธุ์ถาวรอย่างแน่นอนแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “มะละกอศรีสุภา” พร้อมขยายพันธุ์นำต้นและเมล็ดออกขายได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลานี้

มะละกอศรีสุภา มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะละกอทั่วไปทุกอย่าง อยู่ในวงศ์ CARICACEAE ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ สีของดอก เป็นสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม “ผล” รูปทรงกระบอกยาวกว่ามะละกอฮอลแลนด์ แต่จะสั้นกว่ามะละกอแขกนวล ติดผลดกเต็มต้นเกือบร้อยผลต่อต้น เนื้อผลหนา กลวงในเล็กน้อย ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๒-๓ กิโลกรัมต่อผล ผลดิบสีเขียว เนื้อกรอบ ฉ่ำน้ำ ไม่แห้ง ปอกเปลือกสับทำส้มตำ รสชาติดีมาก ผลห่ามปอกเปลือกฝานเป็นชิ้นปรุงเป็นแกงส้มใส่กุ้งสดได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื้อสุกมีความหวานสูง เนื้อไม่เละแม้สุกงอม รับประทานอร่อยมาก เมล็ดมีไม่มากนัก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ใครต้องการต้นพันธุ์หรือเมล็ดพันธุ์ติดต่อ “คุณประภาส สุภาผล” บ้านเลขที่ หมู่ ๗ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนหรือปลูกเก็บผลขายคุ้มค่ามากครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – ๑๓/๑-๕๘


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSPuDz17nxtkVeY5Ph_3sc4bUW36CRuA1eIGU332oJApAz0cgOHsA)
    ใบมะละกอ  เพิ่มเกร็ดเลือด
ไข้เลือดออกเป็นแล้วจะทำให้ระดับของเกล็ดเลือดลดต่ำลงเรื่อยๆ หากปล่อยไว้มีอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้ารู้ตัวว่าเริ่มเป็นใหม่ๆต้องรีบไปให้แพทย์รักษาอย่ารอช้า และในทางสมุนไพรระบุว่า เอา “ใบมะละกอ” สด ๓๐ กรัม ปั่นให้ละเอียด ใส่น้ำนิดหน่อยแล้วใช้ผ้าขาวบางกรอง คั้นเอาเฉพาะน้ำกินครั้งละครึ่งแก้ว วันละครั้งเวลาไหนก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ทำกินติดต่อกัน ๓ วัน จะช่วยเพิ่มเกล็ดเลือดที่ต่ำลงเนื่องจากไข้เลือดออกให้ดีขึ้นระดับหนึ่ง สามารถกินควบคู่ไปกับการรักษาของแพทย์ได้

มะละกอ หรือ CARICA PAPAYA LINN. อยู่ในวงศ์ CARICACEAE มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกาเขตร้อน ผลดิบมีน้ำย่อยชื่อ PAPAIN, CHYMOPA-PAIN ช่วยย่อยโปรตีนทำให้เนื้อสัตว์ยุ่ย ผลิตเป็นยาลดอาการบวมอักเสบจากบาดแผลหรือการผ่าตัด เป็นส่วนผสมเตรียมทำยาล้างเลนส์สัมผัสชนิดอ่อน ผลสุกมีวิตามินเอสูง
  ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: มุม "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 26 มิถุนายน 2556 14:42:16
.

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/6d/Annona_muricata_1.jpg/220px-Annona_muricata_1.jpg)
     "ทุเรียนเทศ" เนื้อน้อยหน่า เปลือกทุเรียน
ผู้อ่านจำนวนมากอยากทราบว่า “ทุเรียนเทศ” เป็นอย่างไร ซึ่งความจริงแล้วไม้ชนิดนี้ น่าจะจัดอยู่ในจำพวกน้อยหน่าชนิดหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างให้รูปทรงของผลและเปลือกผลเหมือนกับเปลือกผลของทุเรียน ส่วนเนื้อในกลับเหมือนเนื้อของน้อยหน่าทั่วไป รับประทานอร่อยเหมือนน้อยหน่าด้วยคือรสหวานปนเปรี้ยวนิดๆ จึงถูกเรียกชื่อตามลักษณะเปลือกผลว่า “ทุเรียนเทศ” ทางภาคกลางเรียก ทุเรียนแขก ภาคเหนือเรียก มะทุเรียน และภาคใต้เรียก ทุเรียนน้ำ

ทุเรียนเทศ มีถิ่นกำเนิดจากต่างประเทศ ถูกนำเข้ามาปลูกกว้างขวางทุกภาคของประเทศไทยนานแล้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ANNONA MURICATAL. ชื่อสามัญ SOURSOP. DURIAN BELANDA เป็นไม้ยืนต้น สูง ๓-๕ เมตร เปลือกต้นมีกลิ่นฉุน ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายแหลม โคนมน เนื้อใบหนา ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆหรือ ๒-๓ ดอกตามซอกใบ มีกลีบดอก ๖ กลีบ เรียงเป็น ๒ ชั้น กลีบชั้นนอกหนาแข็งรูปสามเหลี่ยม กลีบชั้นในขอบกลีบบรรจบกันเป็นรูปพีระมิด ดอกเป็นสีเหลืองอมส้ม มีกลิ่นหอมแบบเปรี้ยวๆ

ผล เป็นผลกลุ่ม มีผนังรังไข่เชื่อมติดกัน รูปกลมรีมีหนามที่เปลือกผลทำให้ดูคล้ายผลทุเรียน ส่วนเนื้อในเป็นสีขาวเหมือนเนื้อน้อยหน่า มีเมล็ดจำนวนมาก ผลสุกเนื้อรับประทานได้ รสชาติหวานปนเปรี้ยวตามที่กล่าวข้างตน ผลโตเต็มที่น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ ๑-๒ กิโลกรัม ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด นิยมปลูกอย่างแพร่หลายทางภาคใต้ นอกจากเนื้อจะรับประทานอร่อยแล้ว ยังนิยมนำไปแปรรูปทำไอศกรีมได้ด้วย เป็นแหล่งรวมแคลเซียม วิตามินบี ๑ และวิตามินซี

ปัจจุบัน “ทุเรียนเทศ” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงตรงกันข้ามโครงการ ๙
ไทยรัฐ - พฤหัสบดีที่ ๑๕/๑๑/๕๕


(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcToXD-JFWdlCr4BAH3Xv2M5ztsjJMN71PXGpCahLR8XuNCWj1oC)
     "ทุเรียนอีลวง" อร่อย กับที่มาชื่อ
ผู้อ่านจำนวนมากอยากทราบว่า “ทุเรียนอีลวง” มีที่มาเป็นอย่างไร และมีต้นพันธุ์กับผลขายที่ไหน ซึ่งความจริงแล้วทุเรียนพันธุ์ดังกล่าวเป็นสายพันธุ์เก่าแก่ของจังหวัดนนทบุรี นิยมปลูกและนิยมรับประทานเฉพาะถิ่นมาช้านานแล้ว เนื่องจากเนื้อในมีรสชาติหวานมันอร่อยมากนั่นเอง

ปัจจุบัน “ทุเรียนอีลวง” หารับประทานได้ยาก เนื่องจากผู้มีอาชีพปลูกทุเรียนเก็บผลขายได้หันไปปลูกทุเรียนสายพันธุ์อื่นกันหมด มีเหลือปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนบ้างเล็กน้อย ไม่แพร่หลายและไม่มีผลวางขายที่ไหน

ส่วนที่มาของชื่อ “ทุเรียนอีลวง” นั้น เป็นเพราะตามธรรมชาติของสายพันธุ์ที่ติดผลชุดแรกดูสมบูรณ์ดี และติดผลดกเต็มต้น เจ้าของหรือผู้ปลูกดีใจ เมื่อผลแก่จัดเก็บผลลงจากต้นแกะดูเนื้อในปรากฏว่าไม่มีเนื้อทุกๆ ผล และเมื่อติดผลชุดที่ ๒ ก็จะมีลักษณะแบบเดียวกับชุดแรกอีก ทำให้ผู้ปลูกคิดจะฟันต้นทิ้งแต่ตัดใจให้ติดผลชุดที่ ๓ จนผลแก่จัด เก็บผลลงจากต้นแกะดูเนื้อในปรากฏว่าเนื้อสีสวยไม่เละ รับประทานหวานมันอร่อยดีมาก

เมื่อปล่อยให้ติดผลชุดที่ ๔ ผลจะดกเต็มต้นเหมือนเดิมและแกะเนื้อในยังคงมีรสชาติหวานมันเช่นเดิม เจ้าของหรือผู้ปลูกในยุคสมัยนั้นจึงตั้งชื่อทุเรียนดังกล่าวว่า “ทุเรียนอีลวง” ตามลักษณะสายพันธุ์ที่ติดผล ๒ ชุดแรกจะหลอกลวงให้เจ้าของหรือผู้ปลูกดีใจแต่ไม่มีเนื้อ จะมีเนื้อเมื่อติดผลชุดที่ ๓ นั่นเอง

ทุเรียนอีลวง หรือ DUIO ZEBETHINUS LINN. อยู่ในวงศ์ BOMBACACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับทุเรียนทั่วไป “ผล” กลมรี ผลมีขนาดไม่ใหญ่นัก เมล็ดโตคล้ายเมล็ดทุเรียนพันธุ์กระดุม เนื้อเหนียวไม่เละ หวานมันอร่อยมาก ปัจจุบันยังไม่พบมีกิ่งตอนและผลขายที่ไหน.
 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ - พฤหัสบดีที่ ๑๐/๑/๕๖


(http://www.munjeed.com/image_news/2013-05-01/image_15201333310.jpg)
     "ทุเรียนก้านยาว พันธุ์ผลกลมยาว" อร่อยราคาดีมีกิ่งพันธุ์ขาย
ทุเรียนก้านยาว ในประเทศไทยมีทั้งหมด ๖ สายพันธุ์ แต่ “ก้านยาวพันธุ์ผลกลมยาว” ที่ชาวสวนชอบเรียกว่า ทุเรียนก้านยาวทรงหวด เป็นพันธุ์ที่มีดีกรีชนะเลิศการประกวดงานวันเกษตรและของดีจังหวัดระยอง โดยชนะเลิศรางวัลที่ ๑, ๒ และ ๓ ติดต่อกันถึง ๔ ปีซ้อน มีลักษณะเด่นเฉพาะ คือรูปทรงผลจะกลมและยาวสวย เปลือกบาง พูใหญ่ เนื้อละเอียดแห้งไม่เละแม้ผลจะสุกงอม ให้เนื้อเยอะ เนื้อเป็นสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานมันมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว รับประทานอร่อยมาก เมล็ดเล็กและลีบบาง ซึ่งเมล็ดของทุเรียนก้านยาวสายพันธุ์อื่นเมล็ดจะมีขนาดใหญ่เป็นธรรมชาติทั้งหมด นํ้าหนักผลเฉลี่ยระหว่าง ๒-๔ กิโลกรัมต่อผล ปัจจุบันทุเรียน “ก้านยาวพันธุ์ผลกลมยาว” กำลังเป็นที่นิยมของผู้ปลูกและผู้รับประทานอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่จะส่งขายที่ประเทศจีน ราคาจากสวนกิโลกรัมละ ๒๐๐ บาท

ทุเรียน “ก้านยาวพันธุ์ผลกลมยาว” หรือ DURIO ZIBETHINUS MERR. มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ จ. นนทบุรี ต่อมาชาวสวนได้นำเอาต้นไป ปลูกในพื้นที่ จ.ระยอง เป็นสวนขนาดใหญ่ โดยหลังปลูกได้ ๔-๕ ปี จะให้ผลผลิตชุดแรกและติดผลดกมาก สามารถติดผลอย่างสม่ำเสมอทุกๆปี รูปทรงของผลจะกลมยาวแตกต่างจากผลของทุเรียนก้านยาวสายพันธุ์อื่นที่จะเป็นผลกลมอย่างชัดเจน เมล็ดเล็กลีบ เนื้อรสชาติหวานหอมมันรับประทานอร่อยมากตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยระบบเสียบยอด
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ - อังคารที่๓๐/๔/๕๖


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/120277.jpg)
     "ทุเรียนย่ำมะหวาด" เนื้อมันอร่อย
ตามบันทึกพรรณไม้ระบุว่าทุเรียนชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดที่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี โดยมีมือเกษตรกรในท้องถิ่นนำเอาเมล็ดของทุเรียนลวง หรือทุเรียนอีลวง ไปเพาะขยายพันธุ์ปลูกเลี้ยงจนต้นโตและติดผล ปรากฏว่า มีลักษณะของเนื้อผลแตกต่างจากทุเรียนลวง หรือทุเรียนอีลวงอย่างชัดเจน คือ เนื้อสุกเป็นสีเหลืองนวล มีเนื้อเนียนละเอียดแน่นเต็มพู มีกลิ่นอ่อนๆ ไม่แรงเหมือนกลิ่นทุเรียนทั่วไป ติดผลดกคล้ายๆทุเรียนก้านยาว

เนื้อสุก รสชาติจะออกมันนำหน้าและปนรสหวานรับประทานอร่อยมาก เมล็ดไม่ใหญ่โตนัก เชื่อว่าเป็นทุเรียนกลายพันธุ์แบบถาวรที่เกิดจากการเพาะเมล็ดของทุเรียนลวง หรือทุเรียนอีลวงดังกล่าวอย่างแน่นอน ส่วนชื่อ “ทุเรียนย่ำมะหวาด” ไม่ทราบความเป็นมาอย่างไร ปัจจุบันพบว่ามีผู้ขยายพันธุ์ออกวางขาย จึงรีบแนะนำในคอลัมน์ตามระเบียบ

ทุเรียนย่ำมะหวาด หรือ ทุเรียนย่ามแม่หวาด (YAMMAEWAT) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า DURIO ZIBETHINUS MURRAY มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ต้น สูง ๘-๑๐ เมตร ซึ่งโดยปกติของสายพันธุ์จะให้ผลผลิตหลังปลูกอายุได้ ๑๕ ปี แต่ผู้ขายกิ่งตอนบอกว่า เป็นกิ่งที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีทาบกิ่ง จึงจะให้ผลผลิตเร็วขึ้นกว่าปกติเพียง ๕ ปีเท่านั้น ติดผลดกปีละครั้งตามฤดูกาล รูปทรงของผลสวยงาม หนามรอบผลสั้นและถี่ เปลือกผลค่อนข้างบาง เนื้อสุกออกรสชาติมันนำหวานตามที่กล่าวข้างต้น และมีกลิ่นอ่อนๆ รับประทานอร่อยมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง

ปัจจุบัน “ทุเรียนย่ำมะหวาด” หรือ ทุเรียนย่ามแม่หวาด มีกิ่งตอนขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑  ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูก เพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน หรือ ปลูกเพื่อเก็บผลขาย ซึ่งปัจจุบันความต้องการรับประทานกำลังมาแรงและได้ราคาดีมาก.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ - พุธที่ ๒๗/๓/๕๖


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/181139.jpg)
     "ทุเรียนทองกมล" เนื้อหวานหอมอร่อย
ทุเรียนชนิดนี้ เป็นสายพันธุ์ใหม่ เกิดจากการเอาเมล็ดของทุเรียนก้านยาวจำนวนหลายเมล็ดไปเพาะขยายพันธุ์จนแตกต้นขึ้นมานำไปปลูกลงสวนจนมีอายุ ออกดอก และติดผล ปรากฏว่าจากจำนวนทั้งหมด มีอยู่หนึ่งต้น เมื่อผลสุกแล้วมีเนื้อดีมาก ทรงผลสวย หนามที่ผลห่างและขั้วสั้นกว่าทุเรียนก้านยาวพันธุ์แม่

ที่สำคัญ มีพูใหญ่ เปลือกบาง เนื้อหนาละเอียด เนื้อเป็นสีทอง มีรสชาติหวานมันหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว รับประทานอร่อยมาก เมื่อเทียบเคียงกับเนื้อทุเรียนก้านยาวทั่วไป และเนื้อทุเรียนที่เพาะเมล็ดรุ่นเดียวกันมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เจ้าของผู้เพาะขยายพันธุ์ เชื่อว่าเป็นทุเรียนกลายพันธุ์ หรือเป็นสายพันธุ์ใหม่อย่างแน่นอน จึงนำไปจดทะเบียนในชื่อว่า “ทุเรียนทองกมล” ตามสีของเนื้อสุกที่เป็นสีเหลืองทองตามภาพประกอบคอลัมน์ดังกล่าว

ปัจจุบัน “ทุเรียนทองกมล” ต้นแม่มีเพียงต้นเดียวเท่านั้น เจ้าของเก็บผลสุกส่งเข้าประกวดครั้งแรกเมื่อไม่นานมานี้ที่ งานวันเกษตร และของดี อ.แกลง จ.ระยอง ปรากฏว่าได้รับรางวัลชนะเลิศ เนื้อรับประทานอร่อยมาก เนื้อหนาละเอียด เนื้อแห้งแม้สุกงอมก็ไม่เละ น้ำหนักของผลประมาณ ๒-๔ กิโลกรัม เจ้าของได้ตอนกิ่งขยายพันธุ์ออกวางขายกำลังเป็นที่ต้องการของเกษตรกรอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้ เนื่องจาก เป็นสายพันธุ์ที่สามารถมีดอกและติดผลได้ในเวลา ๔-๕ ปี โตเร็วและทนต่อการโค่นล้มได้ดี ที่สำคัญคือติดผลดกมาก
 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ - ศุกร์ที่ ๒๙/๖/๕๖


(http://board.postjung.com/data/674/674838-img-1367403055-2.jpg)

(http://board.postjung.com/data/674/674838-img-1367403055-3.jpg)
     "ทุเรียนสีแดง" (red durian)  จากป่าบอร์เนียว
เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของรัฐ Sabah ประเทศมาเลเซีย  รัฐนี้อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบอเนียว กลิ่นไม่รุนแรงเหมือนทุเรียนทั่วไป


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRKQsoKAkHlcQ2hadnHWYq_5_RtQUN3pvoB6ZW7INbH_cBAMT3F7w)
     "ทุเรียนหมอนทอง"  ชนะเลิศงานประจำปี รสชาติดี
คนทั่วไป จะรู้จัก “ทุเรียนหมอนทอง” เป็นอย่างดี และนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีเนื้อแกะเป็นพูวางขายตามฤดูกาลมากมาย รสชาติหวานหอมอร่อยยิ่งนักเป็นทุเรียนพันธุ์เศรษฐกิจสร้างรายได้ให้เกษตรกรที่ปลูกเก็บผลขายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง “ทุเรียนหมอนทอง” มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ จ.นนทบุรี ต่อมาได้มีการขยายพันธุ์ไปปลูกหลายจังหวัดของประเทศไทย โดยเฉพาะที่ จ.ระยอง มีการจัดงานประกวดทุเรียนเป็นประจำทุกปี เรียกว่า งานวันเกษตรและของดีจังหวัดระยอง ปรากฏว่า “ทุเรียนหมอนทอง” สายพันธุ์ที่ปลูกในพื้นที่ จ.ระยอง สามารถคว้ารางวัลที่ ๑ ได้ถึง ๓ ปีซ้อน

โดยมีลักษณะเฉพาะสายพันธุ์คือ รูปทรงของผลสวย พูเนื้อขนาดใหญ่ เปลือกผลค่อนข้างบาง เมล็ดลีบเหมือนกับ “ทุเรียนหมอนทอง” สายพันธุ์ทั่วไปและจะมีเมล็ดลีบทุกผลทุกพู ให้เนื้อเยอะตามธรรมชาติของสายพันธุ์ เนื้อหนาแน่นและละเอียดเนียน แม้สุกงอมเนื้อจะไม่เละ เป็นสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานอร่อยมาก

ที่สำคัญ “ทุเรียนหมอนทอง” สายพันธุ์ที่ได้รับรางวัลที่ ๑ ในงานประกวดดังกล่าวยังเป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดกมากในแต่ละต้น มีผลเร็วหลังปลูกเพียง ๔ ปี เท่านั้น ซึ่งปกติ ๖-๗ ปี จึงจะมีผลชุดแรก ทั้งนี้เนื่องจากปลูกด้วยกิ่งพันธุ์ที่ขยายพันธุ์ด้วยระบบเสียบยอด จึงทำให้ต้นเติบโตเร็ว ลำต้นแข็งแรง ให้ผลผลิตเร็วขึ้นตามที่กล่าวข้างต้น น้ำหนักผล ๒-๕ กิโลกรัมต่อผล อายุเก็บเกี่ยวผลที่แก่จัดประมาณ ๑๒๕-๑๓๐ วัน ปัจจุบัน “ทุเรียนหมอนทอง” เป็นสินค้าส่งออกไปขายที่ประเทศจีนหลายมณฑล สามารถสร้างรายได้ให้ชาวสวนไทยเป็นกอบเป็นกำ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ - วันพุธที่ ๑๓/๑๑/๕๖


(http://www.matichon.co.th/online/2011/06/13083197201308319793l.jpg)
     "ทุเรียนทองกมล"  เนื้ออร่อยกับที่มาของพันธุ์
ทุเรียนชนิดนี้ เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการนำเอาเมล็ดของ ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว จำนวนหลายเมล็ดไปเพาะขยายพันธุ์จนแตกเป็นต้นกล้าขึ้นมาแล้วนำไปปลูกเลี้ยงจนต้นเติบโตมีดอกและติดผลตามฤดูกาล ปรากฏว่า มีอยู่ต้นหนึ่งมีผลรูปทรงสวยกว่าทุเรียนพันธุ์ก้านยาวอย่างชัดเจน ลักษณะหนามผลผ่างและขั้วผลสั้น เปลือกบาง เนื้อในผลหนาละเอียด เมื่อสุกเป็นสีเหลืองทองพูมีขนาดใหญ่ รสชาติหวานมันและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เนื้อแห้งไม่เละ รับประทาน อร่อยมาก

น้ำหนักผล เฉลี่ยระหว่าง ๒-๔ กิโลกรัมต่อผล เจ้าของผู้ขยายพันธุ์ได้ขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอนกิ่งนำไปปลูกทดสอบพันธุ์อยู่เป็นเวลานานหลายปีจนมั่นใจว่าเป็นทุเรียนพันธุ์ใหม่อย่างถาวรแล้ว จึงตั้งชื่อ ตามลักษณะสีของเนื้อสุกว่า “ทุเรียนทองกมล” พร้อมปลูกเก็บผลแกะเนื้อขายได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย และได้ขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายให้ผู้สนใจซื้อไปปลูกด้วย

นอกจากนั้น “ทุเรียนทองกมล” ยังเคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดงานวันเกษตรและของดี  อำเภอแกลง  จ.ระยอง  เมื่อวันที่  ๒๓ พฤษภาคม ปี ๒๕๕๖ เป็นประกาศนียบัตรความอร่อยมาแล้ว จึงถือว่าเป็นสุดยอดของทุเรียนพันธุ์ใหม่ในเวลานี้

ปัจจุบันใครต้องการกิ่งตอนรุ่นใหม่ของ “ทุเรียนทองกมล” ไปปลูกติดต่อ  ๓๓/๔ หมู่ ๗ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ส่วนใหญ่จะเป็นกิ่งพันธุ์ที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเสียบยอด มีรากแก้วแข็งแรงดีทุกกิ่ง จึงนำไปปลูกทำให้เจริญเติบโตได้เร็ว มีความทนทานต่อการโค่นล้มได้ หลังปลูกเพียง ๔-๕ ปี จะติดผลชุดแรก ซึ่งปกติของต้นทุเรียนที่ปลูกโดยทั่วไปจะติดผลหลังปลูกใช้เวลานานถึง ๘-๑๐ ปี ราคาสอบถามกันเองครับ.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ - พฤหัสบดีที่ ๒๐/๓/๕๗


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/53757913948761_1.jpg)
     "ทุเรียนก้านยาวทรงหวด"  ดกอร่อยกับที่มาของพันธุ์
ทุเรียนก้านยาว มีหลายสายพันธุ์ แต่ที่ได้รับความนิยมปลูกและนิยมรับประทานอย่างแพร่หลายได้แก่ “ทุเรียนก้านยาวทรงหวด” เนื่องจากมีความโดดเด่นเฉพาะตัวแตกต่างจากทุเรียนก้านยาวพันธุ์อื่นคือ ทรงผลมีลักษณะคล้ายหวดนึ่งข้าวเหนียว  จึงถูกตั้งชื่อว่า “ทุเรียนก้านยาวทรงหวด” ขนาดผลใหญ่ ลักษณะหนามแหลมคมมองเห็นร่องพูได้ชัดเจน เปลือกผลบางไส้แกนไม่หนาเหมือนทุเรียนชนิดอื่น และติดผลดกอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เนื้อในสุกเป็นสีเหลืองเข้ม เนื้อละเอียดไม่เป็นเส้นใย รสชาติหวานมันหอมรับประทานอร่อยเป็นที่ถูกปากถูกใจของผู้รับประทานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ทุเรียนก้านยาวทรงหวด หรือ DURIO ZIBETHINUS  MURRAY เกิดจากการเอาเมล็ดของทุเรียนทองสุก ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ทุเรียนก้านยาว ไปเพาะเป็นต้นกล้าแล้วปลูกเลี้ยงจนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่าผลมีรูปทรงแปลกกว่าพันธุ์ทองสุกอย่างชัดเจน เนื้อมีรสชาติหวานมันหอมอร่อยตามที่กล่าวข้างต้น ปัจจุบัน “ทุเรียนก้านยาวทรงหวด” มีเหลือปลูกในพื้นที่ ต.บางรักน้อย จ.นนทบุรี เพียง ๓ สวน ในเนื้อที่ประมาณ ๓๐ ไร่เศษเท่านั้น จึงเป็นสาเหตุทำให้ “ทุเรียนก้านยาวทรงหวด” มีราคาสูง  เนื่องจากมีต้นไม่มากนั่นเอง เวลาถึงฤดูกาลติดผลจะมีคนไปจ่ายเงินจองไว้ก่อนตั้งแต่ผลยังไม่โตเลย จึงเป็นที่มาของอีกชื่อว่า “ราชาแห่งทุเรียน

ใครต้องการกิ่งตอนของ “ทุเรียนก้านยาวทรงหวด” หรือ “ราชาแห่งทุเรียน” ติดต่อ “สวนอภิริญญา” หรือ ชมรมอนุรักษ์พันธุ์ทุเรียนนนท์ ศูนย์ไม้ดอกไม้ประดับซอยช้าง โทร.๐๘-๙๖๙๕-๐๐๓๗ ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกทั้งเพื่อรับประทานผลในครัวเรือน หรือปลูกเพื่อเชิงธุรกิจเก็บผลขายสุดคุ้มราคาดีครับ..
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ - พุธที่ ๒/๔/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51673588777581_2.png)
     "ทุเรียนกำปั่นขาว"  หวานมันอร่อย
ผู้อ่านจำนวนมากอยากทราบว่า “ทุเรียนกำปั่นขาว” เป็นอย่างไร ซึ่งความจริงแล้วทุเรียนชนิดนี้เป็นหนึ่งในจำนวน ๑๓ ชนิดของทุเรียนในสกุลกำปั่น และที่รู้จักนิยมรับประทานกันแพร่หลาย ได้แก่ ทุเรียนหมอนทอง อยู่ในสกุลเดียวกันด้วย โดย “ทุเรียนกำปั่นขาว” มีชื่อเรียกอีกคือ ทุเรียนกำปั่นเดิม มีแหล่งที่พบคือ จ.นนทบุรี และ จ.ระยอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า DURIO ZIBETHINUS MURRAY  มีลักษณะเด่นคือ เนื้อของ  “ทุเรียนกำปั่นขาว” จะเป็นสีขาวนวล ไม่เป็นสีเหลืองเหมือนเนื้อทุเรียนทั่วไป รสชาติหวานจัดปนมันและให้เนื้อเยอะ เมล็ดเล็กลีบ ถ้าสุกจัดเนื้อมักจะเละ จึงต้องรับประทานขณะที่ผลเริ่มแก่จะอร่อยมาก หากเป็นผลสุกหล่นจากต้นเองโดยธรรมชาตินำ เอาเนื้อไปทำทุเรียนกวนจะได้ปริมาณเยอะและมีความอร่อยกว่าเนื้อทุเรียนกวนจากสายพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน

ทุเรียนกำปั่นขาว มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ลำต้นตั้งตรง อวบอ้วน แตกกิ่งก้านเป็นทรงกรวยคว่ำ ใบจะมีขนาดเล็กและสั้นกว่าใบทุเรียนสายพันธุ์ทั่วไป ปลายใบแหลมกว่าด้วย

ดอก ขณะยังตูมจะดูคล้ายดอกบัว สีเขียวอ่อน “ผล” รูปกลมรีหรือค่อนข้างยาว ผลจะมีขนาดใหญ่ ผิวผลเป็นสีน้ำตาลอมเขียว เนื้อในผลสุกเป็นสีขาวนวล จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะสีของเนื้อว่า “ทุเรียนกำปั่นขาว” ผลแก่เริ่มจะสุกเนื้อผลจะมีรสชาติดีที่สุด ซึ่งจะเป็นรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของทุเรียนในสกุลกำปั่นทุกชนิด เหมือนกับเนื้อสุกของทุเรียนหมอนทองทุกอย่าง จะมีความแตกต่างกันเพียงสีของ “ทุเรียนกำปั่นขาว” จะเป็นสีขาวนวลเท่านั้น เมล็ดเล็กลีบตามที่กล่าวข้างต้น ซึ่ง “ทุเรียนกำปั่นขาว” จัดเป็นสายพันธุ์ที่ปลูกง่ายโตเร็วให้ผลผลิตดี

ปัจจุบัน “ทุเรียนกำปั่นขาว” มีกิ่งตอนขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑  ราคาสอบถามกันเอง  ส่วน ผลและเนื้อของ “ทุเรียนกำปั่นขาว” มีขายเฉพาะตามตลาดผลไม้ไม่กี่แห่งใน กทม.เท่านั้นครับ.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ - พุธที่ ๓๑/๗/๕๖


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ7Aa-RPA_pBrKjSTL0MrOwZlAhIypFE8KJ0IKA1kVMRVVeGG4VVQ)
     "ทุเรียนหลง-หลินลับแล"  เนื้ออร่อยราคาดี
ทุเรียนทั้ง ๒ ชนิด เป็นพันธุ์พื้นเมืองของ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ที่เปรียบเสมือนทุเรียนพี่และทุเรียนน้อง โดย “ทุเรียนหลงลับแล” เกิด จากการที่ นายหลง อุประ บ้านอยู่เลขที่ ๑๒๖ หมู่ ๑ บ้านนาปอย ต.หัวดง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ นำเอาเมล็ดทุเรียนไม่ทราบพันธุ์ไปปลูกจนต้นโตติดผลดกเต็มต้น รูปทรงของผลสวย ผลโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ ๓.๕ กิโลกรัม เนื้อสุกเต็มพู เมล็ดเล็กลีบ เนื้อเป็นสีเหลืองเข้ม ไม่เละแต่เหนียว รสหวานหอมมันอร่อยมาก เมื่อนำออกจำหน่ายได้รับความนิยมจากผู้ซื้ออย่างกว้างขวาง โดยมีราคาระหว่างกิโลกรัมละ ๓๐๐-๓๘๐ บาท เมื่อส่งเข้าประกวด ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมทุเรียนเพาะเมล็ด ของ จ.อุตรดิตถ์ ปี ๒๕๒๐ และจดทะเบียนรับรองพันธุ์วันที่ ๒๐ ก.ย. ปี ๒๕๒๑ ในชื่อ “ทุเรียนหลงลับแล”
 
ส่วน “ทุเรียนหลินลับแล” มีจุดเริ่มจาก นายหลิน บันลาด นำเอาเมล็ดทุเรียนไม่ทราบพันธุ์ไปปลูกจนต้นโตติดผลดกเหมือนกับ “ทุเรียนหลงลับแล” แต่รูปทรงของผลจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยใกล้เคียงกันระหว่าง ๓.๕ กิโลกรัมต่อผล เนื้อในสุกจะเต็มพู เมล็ดเล็กลีบเช่นกัน รสหวานมันหอม รับประทานอร่อยมาก นายหลิน บันลาด ได้ ตั้งชื่อว่า “ทุเรียนหลินลับแล” เป็นการ นำเอาชื่อตัวเองกับชื่ออำเภอรวมกัน ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลายไม่แพ้ “ทุเรียนหลงลับแล” ราคาอยู่ในระดับเดียวกัน ปัจจุบันทุเรียนทั้ง ๒ ชนิด มีการปลูกเป็นการพาณิชย์เพื่อเก็บผลส่งต่างประเทศ เช่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ประเทศ ในแถบยุโรป และ อเมริกา ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างมาก.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ - อังคารที่ ๒๗/๕/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55424153349465_1.png)
     "ทุเรียนสาลิกา"  เนื้ออร่อยของดีพังงา
ทุเรียนชนิดนี้ มีถิ่นปลูกที่ ตำบลท่านา อำเภอกะปง จังหวัดพังงา โดยในปัจจุบันต้นแม่พันธุ์เดิมยังยืนต้นตระหง่านอยู่ มีขนาดของโคนต้นใหญ่ถึง ๓ คนโอบ มีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี และมีการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ซึ่ง “ทุเรียนสาลิกา” มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์คือ รูปทรงผลจะกลมสวยงามมาก น้ำหนักผลไม่มากจนเกินไป ผลเมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๑.๕-๒ กิโลกรัมเท่านั้น พูใหญ่ เนื้อเต็มพูเปลือกผลบาง เมื่อสุกเนื้อเป็นสีเหลืองเข้ม รสชาติหวานแหลมเหนียวละเอียดไม่เละ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รับประทานอร่อยมาก
 
ส่วนที่มาของชื่อ เล่ากันว่าความอร่อยของเนื้อสุกเปรียบเหมือนความสวยงามของนกสาลิกาที่ร้องเสียงไพเราะ คนในยุคสมัยก่อนจึงตั้งชื่อว่า “ทุเรียนสาลิกา” และเรียกขานกันเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
 
ทุเรียนสาลิกา มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับทุเรียนทั่วไป แต่ขนาดของผลจะไม่ใหญ่โตและทรงผลกลมสวยน่าชมยิ่ง เมล็ดเล็กลีบ เนื้อหนาแน่นหวานมันหอมอร่อยตามที่กล่าวข้างต้น คนที่ได้ทดลองรับประทานเนื้อของ “ทุเรียนสาลิกา” แล้วจะยอมรับและพูดตรงกันว่ารสชาติเป็นหนึ่งเหนือกว่าเนื้อทุเรียนพันธุ์ชะนีและพันธุ์หมอนทองอย่างชัดเจน จึงเป็นของดีประจำจังหวัดพังงาและนิยมซื้อเป็นของฝากให้ผู้นับถือถูกใจผู้รับเป็นอย่างยิ่ง ซึ่ง “ทุเรียนสาลิกา” จัดเป็นพันธุ์เบา ติดผลดกมากและจะให้ผลผลิตหลังปลูกเพียง ๔-๕ ปีเท่านั้น เมื่อต้นอายุ ๑๐ ปีขึ้นไป จะให้ผลผลิต ๑๐๐-๒๐๐ ผลต่อต้นและต่อปี
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ - พุธที่ ๑๘/๖/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15435241369737_1_3607_3640_3648_3619_3637_361.jpg)
    ทุเรียนเม็ดในยายปราง
ทุเรียนเม็ดในยายปรางแรกทีเดียว ทุเรียนชนิดนี้ผู้ปลูกเป็นชายชื่อ นายนาก เอาเมล็ดทุเรียน พันธุ์กระดุม ไปเพาะเป็นต้นกล้า ปลูกจนต้นโตมีดอกและติดผล เรียกชื่อว่า ทุเรียนเม็ดในตานาก กับ ทุเรียนพานพระศรี ต่อมา นางปราง ฉิมพุก ได้นำไปปลูกที่หมู่ ๕ ต.บางกร่าง อ.เมือง จ.นนทบุรี โดยไม่รู้ว่าเป็นทุเรียนอะไร เมื่อนำผลไปวางขายที่ตลาดบางบัวทอง ผู้ซื้อไปรับประทานชื่นชอบมาก จึงเรียกว่า “ทุเรียนเม็ดในยายปราง” และมีผู้นำไปปลูกที่ อ.แกลง จ.ระยอง เก็บผลขายถูกใจผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย เพราะเนื้อสุกละเอียดไม่เละ เมล็ดลีบ หรือเรียกว่าเมล็ดตาย เปลือกบาง รสชาติหวานมันพิเศษอร่อยมาก ราคาสวนกิโลกรัมละ ๑๒๐-๑๕๐ บาท ปัจจุบันส่งไปขายที่ประเทศแคนาดา จีน และไต้หวัน ได้รับความนิยมระดับต้นๆ เลยทีเดียว

ทุเรียนเม็ดในยายปราง หรือ DURIO ZIBTHINUS MURRAY เป็นพันธุ์เบาติดผลง่าย พุ่มเล็ก “ผล” กลมขนาดเล็ก ทรงผลมักบิดงอปลายผลป้าน หนามสั้นเล็กแหลม เปลือกผลบาง เมล็ดลีบ เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเข้ม หนาละเอียด รสหวานมันอร่อย ตามที่กล่าวข้างต้น ผลโตเต็มที่น้ำหนักระหว่าง ๑-๒ กิโลกรัม เป็นทุเรียนผลเล็ก แต่รสชาติยิ่งใหญ่ พอดีกินสำหรับ ๑-๒ คนต่อผล จึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในเวลานี้ ติดผลดกปีละครั้งตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
  นสพ.ไทยรัฐ ๒๗/๑๑/๕๗

(http://http4[b]ทุเรียนเทศ[/b][/size] [size=11pt] [b]ทุเรียนเทศ[/b] เป็นไม้จำพวกน้อยหน่าชนิดหนึ่ง ที่ธรรมชาติสร้างให้รูปทรงของผลและเปลือกผลคล้ายทุเรียน แต่เนื้อในกลับเหมือนเนื้อน้อยหน่า รับประทานอร่อยไม่แพ้เนื้อน้อยหน่าทุกอย่าง จึงมีชื่อว่า “ทุเรียนเทศ” ภาคกลางเรียก ทุเรียนแขก เหนือเรียก มะทุเรียน และภาคใต้เรียกว่า ทุเรียนน้ำ มีชื่อเฉพาะคือ [size=9pt]ANNONA MURICATA L.[/size] ชื่อสามัญ [size=9pt] SOURSOP.DURIAN BELANDA[/size] เป็นไม้ยืนต้น สูง ๓-๕ เมตร เปลือกต้นมีกลิ่นฉุน ใบหนามีกลิ่นฉุนเช่นกัน ดอกมี ๖ กลีบ เรียงเป็น ๒ ชั้น กลีบชั้นนอกรูปสามเหลี่ยม ชั้นในติดกันเป็นรูปพีระมิด เนื้อกลีบหนาสีเหลืองอมส้ม มีกลิ่นเปรี้ยว “ผล” กลมรีคล้ายผลทุเรียน เนื้อในเหมือนเนื้อน้อยหน่า มีเมล็ดเยอะ ผลโตเต็มที่ ๑-๒ กิโลกรัมต่อผล ติดผลทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เนื้อสุกมีแคลเซียมสูง มีวิตามิน บี ๑ และวิตามินซีด้วยมีรายงานการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ ๓ กลุ่ม ยืนยันว่าสารธรรมชาติที่พบจากใบ ลำต้นและเมล็ดของ “ทุเรียนเทศ” ชื่อ [size=9pt]ANNONACEOUS ACETO GENINS[/size] สามารถต้านและทำลายเซลล์มะเร็งได้กว่า ๑๒ ชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งปอด เป็นต้น โดยเอาใบสด ๑-๓ ใบต้มน้ำดื่มเป็นชาประจำ จะมีประสิทธิภาพไม่แพ้การให้เคมีบำบัด และที่สำคัญจะไม่ทำลายเซลล์ดีในร่างกายและไม่ทำให้เกิดอาการคลื่นเหียนวิงเวียนหรือผมร่วงด้วย คนปกติดื่มบ้างหยุดบ้างไม่อันตรายอะไรใครต้องการต้นไปปลูกติดต่อ ซื้อที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ ราคาสอบถามกันเองครับ [/size]   [i]นสพ.ไทยรัฐ - ๑๙/๕/๕๘ [/i][img]https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSrz9eRdApbKha_017tj41-OZVmuuwOWgH6QpmCSQnq6NHczkdqjpg)
    ทุเรียนสาลิกา
ทุเรียนชนิดนี้ มีแหล่งปลูกหรือถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในพื้นที่ ต.ท่านา อ.กะปง จ.พังงา ในปัจจุบันต้นแม่ของ “ทุเรียนสาลิกา” ยังยืนต้นอยู่ มีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี และยังคงให้ผลผลิตติดผลดกเป็นปกติ โคนต้นมีขนาดใหญ่ถึงขนาด ๓ คนโอบ มีการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี โดย “ทุเรียนสาลิกา” มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์คือ ทรงผลกลมสวย ผลโตเต็มที่มี น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ ๑.๕-๒ กิโลกรัม ต่อผลเท่านั้น พูใหญ่เนื้อเต็มพู เปลือกผลบาง เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเข้ม เมล็ดเล็กและลีบ รสชาติหวานแหลม เนื้อละเอียด ไม่เละ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รับประทานอร่อยมาก คนในท้องถิ่นในยุคนั้น นิยมเปรียบความอร่อยของ “ทุเรียนสาลิกา” เหมือนกับนกสาลิกาที่มีเสียงไพเราะ จึงตั้งชื่อว่า “ทุเรียนสาลิกา” และเรียกขานกันเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบันดังกล่าว

ทุเรียนสาลิกา มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับทุเรียนทั่วไป แต่ขนาดของผลจะไม่ใหญ่โตนัก รูปทรงของผลสวย เนื้อหนาแน่น รสชาติหวานมันรับประทานอร่อยตามที่กล่าวข้างต้น คนที่ได้ลิ้มรสเนื้อ “ทุเรียนสาลิกา” ต่างพากันลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า รสชาติของ “ทุเรียนสาลิกา” ดีและอร่อยเหนือกว่าทุเรียนพันธุ์ใดๆ จึงถือว่าเป็นของดีประจำจังหวัดพังงา นิยมซื้อเป็นของฝากให้ผู้นับถือ ถูกอกถูกใจทั้งผู้ให้และผู้รับ และ “ทุเรียนสาลิกา” จัดเป็นทุเรียนพันธุ์เบา ติดผลดกมาก จะติดผลหลังปลูก ๔-๕ ปี จากนั้นเมื่อต้นมีอายุ ๑๐ ปีขึ้นไปจะให้ผลผลิต ๑๐๐-๒๐๐ ผล ต่อต้นและต่อปี ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
 นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95651319871346_image_102201342952PM_1_.jpg)
     ทุเรียนนกหยิบ  อร่อยราคาดี
ทุเรียนชนิดนี้ เป็นสายพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมของ จังหวัดนนทบุรี ต่อมามีผู้นำเอาพันธุ์ไปปลูกเพื่อเก็บผลขายในพื้นที่ จ.ตราด จ.ระยอง และ จ.จันทบุรี ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรสชาติความอร่อย ใกล้เคียงกับทุเรียนหมอนทองมาก แต่จะมีความหวานมันจัดกว่า เนื้อค่อนข้างละเอียด เป็นสีเหลืองเข้ม เมล็ดลีบ ทรงผลเหมือนกับผลของทุเรียนหมอนทอง แต่หนามจะละเอียดและถี่คล้ายผลทุเรียนพันธุ์พวงมณี จนทำให้พูดกันว่า “ทุเรียนนกหยิบ” เป็นลูกผสมระหว่างทุเรียนหมอนทองกับทุเรียนพวงมณี

ทุเรียนนกหยิบ หรือ NOKYIP–DURIO ZIBETHINUS MURRAY มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๕-๒๐ เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มใหญ่ ใบเป็นรูปรีป้อม ปลายแหลม โคนมนหรือเกือบมน ดอกและ “ผล” ออกปีละครั้งตามฤดูกาล โดยผลจะออกตามกิ่งก้าน รูปทรงของผลจะเหมือนกับผลของทุเรียนหมอนทอง จะแตกต่างกันที่หนามรอบผลตามที่กล่าวข้างต้น ผลเมื่อโตเต็มที่มีนํ้าหนักประมาณ ๓-๔ กิโลกรัม ต่อผล

เนื้อผลสุก เป็นสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอม ไม่เละหรือแฉะ รสชาติจะหวานมันตั้งแต่ขณะผลยังห่ามอยู่ จะมีความหวานมันจัดเมื่อผลสุกเต็มที่ รับประทานอร่อยมาก และที่เป็นจุดเด่นของ “ทุเรียนนกหยิบ” อีกอย่างคือ รสชาติความหวานมันจะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างเด็ดขาด ปัจจุบันจึงเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างกว้างขวางและมีราคาดีมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
 นสพ.ไทยรัฐ


fu.


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 มิถุนายน 2556 09:47:32
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/74222149492965_EyWwB5WU57MYnKOuX4AHIttw9ZRMGI.jpg)
    ทุเรียนนกกระจิบ  หวานแหลมราคาดี
ทุเรียนนกกระจิบ เป็นคนละพันธุ์กับทุเรียนนกหยิบ โดย “ทุเรียนนกกระจิบ” เป็นทุเรียนพันธุ์ดั้งเดิมของ จ.นนทบุรี จากนั้นได้กระจายปลูกไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย สามารถเจริญเติบโตมีดอกและติดผลได้ดีเหมือนกับปลูกที่ จ.นนทบุรี ทุกอย่าง มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์ คือ รูปทรงของผลสวย เปลือกผลบาง ผลมีขนาดใหญ่แบบพอดีไม่หนักมากเกินไป พูระหว่างผลโต เมล็ดลีบและบางโดยธรรมชาติ เนื้อเยอะเต็มพู เป็นสีเหลืองเข้ม เนื้อละเอียดหวานแหลม มีกลิ่นหอมรับประทานอร่อยมาก น้ำหนักผลโตเต็มที่ ๑-๒ กิโลกรัมต่อผล เป็นทุเรียนสายพันธุ์เบา มีดอกและติดผลง่าย และผลแก่ให้ผู้ปลูกเก็บผลกินหรือเก็บผลขายได้ก่อนทุเรียนสายพันธุ์อื่นๆ ตลาดผลไม้ต้องการเยอะ ราคาดี โดยเฉพาะประเทศจีนนิยมอย่างกว้างขวาง

ทุเรียนนกกระจิบ มีชื่อวิทยาศาสตร์และมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับทุเรียนทั่วไปทุกอย่าง มีข้อแตกต่างกับทุเรียนนกหยิบให้เป็นข้อสังเกตคือ ใบของ “ทุเรียนนกกระจิบ” จะเล็กกว่าใบของทุเรียนนกหยิบ เมล็ดของ “ทุเรียนนกกระจิบ” เล็กลีบและบาง ส่วนเมล็ดของทุเรียนนกหยิบจะใหญ่ทุกเมล็ด น้ำหนักผลต่างกันคือ “ทุเรียนนกกระจิบ” ผลโตเต็มที่จะมีน้ำหนัก ๑-๒ กิโลกรัมเท่านั้น แต่ผลของทุเรียนนกหยิบจะหนักถึง๒-๔ กิโลกรัม และสุดท้ายก้นผลของ “ทุเรียนนกกระจิบ” จะบุ๋มไม่เหมือนกับก้นผลของทุเรียนนกหยิบจะแหลมต่างกันอย่างชัดเจน สามารถแยกแยะตามที่กล่าวข้างต้นก่อนจะซื้อไปปลูกไม่ผิดพลาด
  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/99808791942066_4.jpg)
    ทุเรียนหมอนเขียว

ทุเรียนชนิดนี้ เป็นพันธุ์เก่าแก่ของจังหวัดนนทบุรี นิยมปลูกและนิยมรับประทานอย่างแพร่หลายมาแต่โบราณแล้ว จากนั้น “ทุเรียนหมอนเขียว” ได้หายไประยะหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันเพิ่งพบว่ามีผู้ขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขาย จึงรีบแนะนำให้ผู้อ่านไทยรัฐทราบอีกตามระเบียบ โดย “ทุเรียนหมอนเขียว” มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ต้นจะทนทานต่อโรคได้ดี เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตต่อต้นสูง ผลมีขนาดใหญ่และให้น้ำหนักดี เนื้อสุกเป็นสีเหลือง รสชาติหวานมันมีกลิ่นหอม เนื้อสุกไม่เละ ละเอียดไม่เป็นเส้นใย ขณะเนื้อยังห่ามจะมันหวานรับประทานอร่อยมาก เมล็ดลีบให้เนื้อเยอะเหมือนกับทุเรียนหมอนทอง และติดผลดกตามฤดูกาล
ที่สำคัญ “ทุเรียนหมอนเขียว” จะติดผลได้ก่อนทุเรียนพันธุ์อื่นๆ จึงทำให้สามารถเก็บผลรับประทานและเก็บผลขายได้ราคาดี เหมาะจะปลูกเป็นเชิงพาณิชย์ เก็บผลขายเป็นการค้า ซึ่งในปัจจุบัน “ทุเรียนหมอนเขียว” มีราคาระหว่างกิโลกรัมละ ๑๕๐-๒๐๐ บาท กำลังเป็นที่นิยมรับประทานอย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้

ทุเรียนหมอนเขียว อยู่ในวงศ์ BOMBACACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๕-๒๐ เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมน เนื้อใบค่อนข้างหนา “ผล” ออกตามกิ่งก้าน รูปกลมรีคล้ายผลทุเรียนหมอนทอง ผลแบ่งเป็นพูชัดเจน มีหนามตลอดทั้งผล เมื่อผลสุกเปลือกผลจะยังคงเป็นสีเขียวดูคล้ายผลไม่สุก ผู้ปลูกจะต้องใช้วิธีนับวันตั้งแต่มีดอกจนติดเป็นผลโตประมาณ ๑๑๐ วัน จึงเก็บผลได้สุกพอดี เลยถูกเรียกชื่อว่า “ทุเรียนหมอนเขียว” ดังกล่าว เปลือกผลบาง เนื้อหวานมันหอมอร่อยตามที่กล่าวข้างต้น  ใครต้องการกิ่งตอนติดต่อ “สมาชิกชมรมอนุรักษ์ทุเรียนนนท์” หรือ “สวนอภิรัญญา” โทร.๐๘-๙๖๙๕-๐๐๓๗ ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – พุธที่ ๖/๘/๕๗


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90985552097360_EyWwB5WU57MYnKOuXxv94Y5GHkkLin.jpg)
     ทุเรียนแดงอินโด  เนื้อสีแปลก หวานหอมอร่อย
ทุเรียนชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินโดนีเซีย ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว โดยมีลักษณะเด่นประจำพันธุ์คือลำต้นใหญ่แข็งแรง ทนต่อโรคสูง ใบมีขนาดใหญ่กว่าใบของทุเรียนพันธุ์ไทยทั่วไป รูปทรงของผลสวย ไม่ใหญ่โตนัก มีน้ำหนักเมื่อผลโตเต็มที่เฉลี่ยระหว่าง ๒ กิโลกรัมต่อผลเท่านั้น ที่ถือว่าเป็นพิเศษได้แก่ เนื้อในสุกจะเป็นสีแดงเข้ม แตกต่างจากเนื้อทุเรียนของไทยที่พบเห็นจนชินตาเป็นสีเหลืองอย่างชัดเจน เนื้อสุกละเอียดเหนียว เมล็ดเล็ก รสชาติหวานหอมรับประทานอร่อยมาก ผู้นำเข้าจึงตั้งชื่อตามสีของเนื้อสุกและถิ่นกำเนิดเป็นภาษาไทยว่า “ทุเรียนแดงอินโดฯ” ดังกล่าว

ทุเรียนแดงอินโดฯ อยู่ในวงศ์ MALVACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับทุเรียนทั่วไปทุกอย่าง จะมีข้อแตกต่างที่ใบจะมีขนาดใหญ่กว่า และเนื้อในสุกเป็นสีแดงเท่านั้น ในประเทศอินโดนีเซียมีชื่อเรียกอีกว่า “ทุเรียนสีรุ้ง” มีหลายสายพันธุ์ มีแหล่งปลูกในหลายเมืองหรือหลายจังหวัดในประเทศอินโดนีเซีย เช่น พันธุ์เมร่อน จากบันยุวังกี, พันธุ์บูลันกัน จากกาลิมันตัน, พันธุ์วายุท, พันธุ์เซ็กซี่พิงค์ เป็นต้น แต่ละพันธุ์จะมีสีของเนื้อในไม่เหมือนกัน อย่างเปลือกผลสีเขียวเนื้อในเป็นสีแดง, เปลือกผลสีเหลืองเนื้อสีส้ม และเปลือกผลสีแดงเนื้อเป็นสีเหลืองก็มี เนื้อสุกรสชาติหวานหอมเหมือนกับทุเรียนไทยทุกอย่าง แต่มีบางพันธุ์มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นคาราเมลและกลิ่นอัลมอนด์คั่ว ชาวอินโดนีเซียนิยมรับประทานมาก ติดผลดก ๖๐๐ ผลต่อต้นตามฤดูกาลหรือติดผลได้ปีละ ๒ ครั้ง
 นสพ.ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 มิถุนายน 2556 16:57:22
.

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQFeCo0PgNQe5JiKc6qQ6zdQJJaVLdwjD3PRHMe74wW8L3c_Fgyvw)
     มะม่วงมีคุณทางยา  
มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบเดี่ยวสีเขียว ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลายใบแหลม กลีบดอกมี ๕ กลีบ ดอกออกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ลูกดิบสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเหลืองส้ม มีเมล็ดภายใน ๑ เมล็ด พันธุ์มะม่วงที่นิยมปลูก ได้แก่ มะม่วงแก้วศรีสะเกษ มะม่วงพันธุ์มรกต มะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ทะวาย พันธุ์ฟ้าลั่น พันธุ์หนองแซง พันธุ์เขียวเสวย เป็นต้น และมีพันธุ์ส่งเสริมแยกตามลักษณะการรับประทานดังนี้ พันธุ์รับประทานสุก ได้แก่ น้ำดอกไม้ อกร่อง ทองดำ พันธุ์รับประทานดิบ ได้แก่ ฟ้าลั่น เขียวเสวย และแรด พันธุ์แปรรูป ได้แก่ แก้วสามปีผลมะม่วงแก่ดิบจะให้พลังงานต่อร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง ไนอาซิน วิตามินซี เป็นต้น
 
สรรพคุณทางยา ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ ผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิ.
เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/93909575748774_1.png)
     มะม่วงน้ำดอกไม้แดง ผลใหญ่สวยเนื้อหวานหอม
มะม่วงน้ำดอกไม้แดง มะม่วง ที่เป็นสายพันธุ์จาก ประเทศไต้หวัน ส่วนใหญ่จะมีเอกลักษณ์บ่งบอกถึงถิ่นกำเนิดอย่างชัดเจนคือ ผลจะมีขนาดใหญ่ สีผลเป็นสีแดงหรือสีม่วง ปัจจุบันมีผู้นำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยหลายสายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ยังมีการแยกเป็นเบอร์ได้อีกถึง ๖ เบอร์ ส่วนใหญ่จะแตกต่างกันที่รูปทรงของผลและขนาดของผลเท่านั้น รสชาติหวานหอมอร่อยเหมือนกัน

ซึ่ง “มะม่วงน้ำดอกไม้แดง” ที่เพิ่งมีกิ่งพันธุ์วางขาย ผู้ขายบอกว่า เป็นลูกผสมระหว่างมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองกับมะม่วงยู่เหวินเบอร์ ๖ จากประเทศไต้หวัน และเพาะเมล็ดเมื่อปี ๒๕๔๖ เมื่อติดผลปรากฏว่าทรงผลยาวรีคล้ายผลมะม่วงน้ำดอกไม้ แต่ผลมีขนาดใหญ่กว่าเยอะ ก้นผลไม่งอนเหมือนมะม่วงน้ำดอกไม้ สีของผลเป็นสีแดงเหมือนกับสีผลมะม่วงยู่เหวิน ผลมีขนาดใหญ่น้ำหนักเฉลี่ย ๐.๘-๑.๕ กิโลกรัมต่อผล ใกล้เคียงกับน้ำหนักผลมะม่วงน้ำดอกไม้มัน เปลือกผลขณะดิบเป็นสีม่วง เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม

เนื้อสุกเป็นสีเหลืองทอง มีเสี้ยนน้อยมาก ไม่มีกลิ่นเหม็นขี้ไต้ เมล็ดลีบ รสชาติหวานเข้มและหอมเทียบเคียงได้กับรสชาติมะม่วงน้ำดอกไม้ อร่อยเหมือนกับมะม่วงยู่เหวินเบอร์ ๖ ความหวานวัดได้ประมาณ ๑๘-๑๙ บริกซ์ ผลดิบเปรี้ยวจัด เมื่อผลแก่หรือห่ามความเปรี้ยวลดลงแต่ไม่มันเหมือนกับมะม่วงเขียวเสวย ผลสุกเก็บได้นานถึง ๑๒ วัน เนื้อไม่ช้ำหรือเละง่าย ขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอดกับตอมะม่วงพื้นเมือง ติดผลปีละ ๒ ครั้ง ถ้าปลูกลงดินจะติดผลในเวลา ๒-๓ ปี ต้นสูง ๓ เมตร แผ่กิ่งก้านกว้างออกทางด้านข้าง  ปัจจุบัน “มะม่วงน้ำดอกไม้แดง” มีขายที่สวนสุโขทัย โทร.๐๘–๙๗๙๐–๑๐๕๗  
ไทยรัฐ

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQyD6dDG5v2kLUkpLgWOnxw29pjZ-uar0IjX07oCl6JNKx9sYIZHA)
     มะม่วงอกร่องทองอุไร หวานหอมอร่อย
มะม่วงชนิดนี้ เกิดจากการนำเอาเมล็ดของมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิมจำนวนหลายสิบเมล็ดไปเพาะจนแตกต้นใหม่ แล้วคัดเอาเฉพาะต้นที่สมบูรณ์ที่สุดไปปลูกเลี้ยงจนติดผล ปรากฏว่ามีอยู่ต้นหนึ่งทรงผลแตกต่างจากทรงผลของมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิมอย่างชัดเจน คือ ผลมีขนาดใหญ่และยาวดูคล้ายผลมะม่วงชื่อหนังกลางวัน แต่เมื่อนำผลสุกปอกเปลือกรับประทานเนื้อกลับมีรสชาติหวานหอมเป็นมะม่วงอกร่องทุกอย่าง จึงเชื่อว่าเป็นมะม่วงอกร่องกลายพันธุ์ และได้ตอนกิ่งขยายพันธุ์ไปทดลองปลูกอีกครั้ง ปรากฏว่ารูปทรงผลและรสชาติยังคงเดิม จึงมั่นใจว่ากลายพันธุ์แบบถาวรแล้วอย่างแน่นอน และได้ตั้งชื่อว่า “มะม่วงอกร่องทองอุไร” หรือ “มะม่วงอกร่องใหญ่” พร้อมตอนกิ่ง ออกวางขายได้รับความนิยมจากผู้ปลูกอย่างแพร่หลาย อยู่ในเวลานี้

มะม่วงอกร่องทองอุไร มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนมะม่วงทั่วไป คือ เป็นไม้ยืนต้นสูง ๑๐-๑๕ เมตร ใบเดี่ยวออกเรียงสลับหนาแน่นบริเวณ ปลายยอด ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน สีเขียวสด ใบดกและหนาแน่นมาก

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เป็นสีนวลมีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลม ยาวคล้ายผลมะม่วงหนังกลางวันตามที่กล่าวข้างต้น เมล็ดลีบเนื้อเยอะ ผลโตเต็มที่น้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๓ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม ผลดิบรสเปรี้ยวจัด เนื้อสุกเป็นสีเหลืองปนขาว เหมือนเนื้อมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิม แต่จะมีเสี้ยนน้อยกว่า หรือบางครั้งแทบไม่มีเสี้ยนเลย

รสชาติ หวานหอมเหมือนกับมะม่วงอกร่องทุกอย่าง ความหวานวัดได้ระหว่าง ๑๘-๑๙ องศาบริกซ์ เป็นมะม่วงปี หรือติดผลปีละครั้งตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่งและเสียบยอด ที่สำคัญ ปอกเปลือกหั่นเนื้อกินไม่หมดเก็บใส่ตู้เย็นไว้ เนื้อไม่เป็นสีดำเหมือนมะม่วงชนิดอื่น มีกิ่งตอนขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณ แผง “คุณภิญโญ” ตรงกันข้ามโครงการ ๙
ไทยรัฐ


(http://2.bp.blogspot.com/_VDY48C5kp3g/TTu_znTuFuI/AAAAAAAAAjM/WcsEdPUI-sw/s320/IMG_1965.JPG)
     มะม่วงอกร่องนวลจันทร์ คือ อกร่องพิกุลทอง
ผู้อ่านจำนวนมากสับสนว่ามะม่วงทั้งสองชนิดเป็นต้นเดียวกันหรือไม่ ก็ต้องขอยืนยันว่าเป็นต้นเดียวกัน ซึ่งในตอนแรกเรียกว่า “อกร่องนวลจันทร์” ต่อมามีชื่อเรียกเพิ่มเติมว่า อกร่องพิกุลทอง นิยมปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนและปลูกเป็นเชิงพาณิชย์ส่งผลขายต่างประเทศมาช้านานแล้ว โดยมีความโดดเด่นคือ ผลใหญ่ยาวกว่าผลมะม่วงอกร่องทั่วไป ติดผลดก มีผลตลอดปี เมื่อผลแก่จัดหรือสุกผิวผลจะเป็นสีเหลืองอมส้มคล้ายสีของผลมะม่วงมหาชนก ดูสวยงามมาก หากใช้จมูกดมจะได้กลิ่นหอมเฉพาะตัว รู้ได้ทันทีว่าเป็นกลิ่นของมะม่วงอกร่อง เนื้อสุกไม่มีเสี้ยน หวานหอมรับประทานอร่อยมาก จึงถูกตั้งชื่อตามที่กล่าวข้างต้น
 
อกร่องนวลจันทร์” หรือ อกร่องพิกุลทอง มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๑๐ เมตร ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ๆ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ขนาดใบจะใหญ่และยาวกว่าใบของอกร่องทั่วไป ปลายแหลม โคนมน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีกลิ่นหอม “ผล” รูปรียาวเหมือนมะม่วงอกร่องทั่วไป แต่จะมีขนาดใหญ่กว่าอย่างชัดเจน ติดผลเป็นพวง ๑๐-๑๕ ผลต่อพวง ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกผิวผลเป็นสีเหลืองอมส้มทั้งผล เวลาติดผลดกเต็มต้นเป็นพวงห้อยลงจะดูสวยงามยิ่ง เนื้อในสุกเป็นสีเหลือง เนื้อแน่นไม่มีเสี้ยน เมล็ดลีบเล็ก รสชาติหวานหอม รับประทานอร่อยมาก ติดผลดกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด
 
ปัจจุบัน “อกร่องนวลจันทร์” หรือ อกร่องพิกุลทอง มีกิ่งตอนขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ กับ แผงตรงกันข้ามโครงการ ๑๗ และ แผงตรงกันข้ามโครงการ ๑๕ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน หรือปลูกเพื่อเก็บผลขายได้แบบไม่ขาดระยะ ซึ่งปัจจุบัน “อกร่องนวลจันทร์” หรือ อกร่องพิกุลทอง ตลาดผลไม้ต่างประเทศต้องการมากและมีราคาแพงครับ.
 ไทยรัฐ  
 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/98486877563926_1.png)
     มะม่วงกะล่อนทอง หวานหอมน่าปลูก
มะม่วงกะล่อน ที่เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมนั้น ผลเมื่อสุกจะเป็นสีเขียวอ่อน ทรงผลจะกลมโตเต็มที่ประมาณลูกปิงปอง เปลือกผลค่อนข้างหนา ลักษณะพิเศษเป็นเอกลักษณ์ของมะม่วงกะล่อน คือเมล็ดจะมีขนาดใหญ่ เนื้อในมีไม่มากนัก แต่จะหวานหอมแรงมากเมื่อผลสุก ขนาดของต้นมะม่วงกะล่อนที่กล่าวถึงนี้จะสูงใหญ่มาก คือสูงได้ถึง ๔๐ เมตร เวลาติดผลจะดกเต็มต้น ติดผลเป็นพวงห้อยเป็นระย้าดูสวยงามมาก ติดผลปีละครั้ง มีชื่อเรียกทั่วไปว่า “มะม่วงกะล่อนเขียว” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า MAGIFERA CALONEU-RA KURZ. อยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE จัดอยู่ในกลุ่มของมะม่วงป่าชนิดหนึ่ง พบขึ้นทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งสมัยเป็นเด็กบ้านนอก จำได้ว่ามีต้นหนึ่งปลูกในวัดใกล้บ้าน ต้นสูงใหญ่มาก เวลาติดผลสุก พระในวัดอนุญาตให้ชาวบ้านไปเก็บผลรับประทานได้ รสชาติหวานหอมอร่อยมาก

ส่วน “มะม่วงกะล่อนทอง” ที่พบมีกิ่งตอนขาย ผู้ขายบอกว่า กลายพันธุ์มาจากการเพาะเมล็ดของมะม่วงกะล่อนสายพันธุ์ดั้งเดิมที่กล่าวข้างต้น มีความแตกต่างคือ เมื่อผลสุกสีของเปลือกผลจะเป็นสีเหลือง ไม่เป็นสีเขียวอ่อนตามภาพประกอบคอลัมน์ รูปทรงของผลกลมโตหวานหอมแรงและอร่อยเหมือนกันทุกอย่าง เมื่อตอนกิ่งไปปลูกทดสอบลักษณะพันธุ์อีกครั้ง ปรากฏว่า ผลสุกยังคงเป็นสีเหลืองเหมือนเดิม จึงเชื่อว่ากลายพันธุ์ถาวรแล้ว เลยขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายดังกล่าว และที่สำคัญผู้ขายบอกว่า ต้นของ “มะม่วงกะล่อนทอง” จะไม่สูงใหญ่เท่ากับมะม่วงกะล่อนพันธุ์ดั้งเดิม หรือ “มะม่วงกะล่อนเขียว” คือสูงเต็มที่ไม่เกิน ๑๐-๑๕ เมตรเท่านั้น เป็นมะม่วงปีหรือติดผลปีละครั้งตามฤดูกาล กำลังเป็นที่นิยมปลูกอยู่ในเวลานี้

ปัจจุบัน “มะม่วงกะล่อนทอง” มีกิ่งตอนขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙ แผง “นายดาบสมพร”
 ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/64247365171710_EyWwB5WU57MYnKOvjuijAXpwHj14ib.jpg)
     มะม่วงยายกล่ำ กับแหล่งกำเนิดและอร่อย

จังหวัดนนทบุรี เป็นแหล่งปลูกผลไม้หลากหลายชนิด ซึ่งถือเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย และที่คนทั่วไปรู้จักจนเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนนทบุรีคือ ทุเรียน ชื่อดังหลายสายพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามมะม่วงก็เป็นไม้ผลอีกอย่างหนึ่งที่เกษตรกรในจังหวัดนนทบุรีนิยมปลูกควบคู่กับทุเรียนมาแต่โบราณแล้ว และ “มะม่วงยายกล่ำ” เป็นสายพันธุ์หนึ่งจัดอยู่ในระดับแถวหน้าได้รับความนิยมปลูกนิยมรับประทานอย่างกว้างขวางเฉพาะถิ่นอย่างแพร่หลายมาช้านานแล้ว เนื่องจากเป็นมะม่วงกินสุกที่มีรสหวานหอมอร่อยมาก ในยุคนั้นนิยมนำผลสุกเป็นของฝากสำหรับเพื่อนฝูงต่างถิ่น เป็นที่ชื่นชอบของผู้รับยิ่งนัก ปัจจุบันนานๆครั้งจึงจะมีผลขายและถูกผู้ซื้อเหมาเรียบในเวลาไม่นานนัก

มะม่วงยายกล่ำ เป็นไม้ยืนต้น สูง ๘-๑๐ เมตร ทรงพุ่มปานกลาง ใบออกเรียงสลับหนาแน่นที่ปลายยอด ใบรูปเรียวแหลมและมีขนาดใบเล็กยาว สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีนวล มีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมป้อมคล้ายผลมะม่วงแก้ว แต่จะอวบอ้วน สั้น และมีโหนกที่สูงกว่าอย่างชัดเจน ผลเมื่อโตเต็มที่ระหว่าง ๔ ผลต่อ ๑ กิโลกรัม ผลดิบสีเขียว รสเปรี้ยว ผลสุกเป็นสีเหลือง เมล็ดเล็ก เนื้อสุกเป็นสีเหลืองอมส้ม รสชาติหวาน ๑๘ องศาบริกซ์ เนื้อไม่เละมีเสี้ยนน้อย รับประทานกับข้าวเหนียวมูน หรือ ข้าวเหนียวนึ่งสุกใหม่ๆ ร้อนๆ อร่อยมาก ติดผลดกปีละครั้งตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง  ปัจจุบัน เพิ่งพบมีผู้นำกิ่งพันธุ์ออกวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณ แผง “คุณภิญโญ” ตรงกันข้ามโครงการ ๙
 ไทยรัฐ
 

(http://f.ptcdn.info/255/001/000/1358259085-600-o.jpg)
     มะม่วงพันธุ์เบา ดิบเปรี้ยว สุกแปรรูปอร่อย
มะม่วงชนิดนี้ เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง ทางภาคใต้ นิยมปลูกและนิยมรับประทานมาแต่โบราณแล้ว โดยมีปลูกกันมากตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช เรื่อยลงไปจนถึง จ.ยะลา และ จ.ปัตตานี มีลักษณะเป็นพิเศษคือ ผล ขณะยังดิบจะฉํ่านํ้า ให้นํ้าเยอะ รสชาติเปรี้ยวจัดมาก จึงถูกนำไปใช้ประกอบอาหารจำพวกยำชนิดต่างๆหลายอย่าง โดยปอกเปลือกออกแล้วสับเป็นฝอยขยำกับพล่าเนื้อ ไม่ต้องใช้นํ้ามะนาว รับประทานอร่อยมาก หรือสับเป็นฝอยผสมกับข้าวยำปักษ์ใต้ช่วยเพิ่มรสชาติได้เด็ดขาดนัก

ผลสุก รสหวานปนเปรี้ยว ส่วนใหญ่นิยมนำไปแปรรูปหลายอย่าง เช่น ทำมะม่วงกวน มะม่วงแผ่น ปั่นกับนํ้าแข็ง เติมเกลือป่นเล็กน้อย ใส่นํ้าเชื่อมพอประมาณ เป็นเครื่องดื่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะดื่มช่วงฤดูร้อนจะคลายร้อนได้ดีมาก ที่สำคัญ “มะม่วงพันธุ์เบา” ยังเป็นสายพันธุ์ที่ติดผลง่าย ติดผลดกเป็นพวงตลอดทั้งปี ลำต้นมีความแข็งแรงและทนทานต่อโรคแมลงต่างๆได้เป็นอย่างดี ทำให้เกษตรกรผู้ขยายพันธุ์มะม่วงขายนิยมนำเอากิ่งมะม่วงสายพันธุ์อื่นไปขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอดกับกิ่ง “มะม่วงพันธุ์เบา” อย่างกว้างขวาง

มะม่วงพันธุ์เบา มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไป ผล มีลักษณะคล้ายกับผลมะม่วงกะล่อน หรือผลมะม่วงแอปเปิ้ล แต่ขนาดของผลจะใหญ่กว่าอย่างชัดเจน ผลเมื่อโตเต็มที่ประมาณผลส้มเขียวหวานทั่วไป เปลือกผลค่อนข้างหนา เวลาติดผลจะเป็นพวง แต่ละพวงไม่น้อยกว่า ๑๐-๒๐ ผล ตามภาพประกอบคอลัมน์ เมล็ดเล็ก เนื้อเยอะ ผลดิบรสเปรี้ยวจัดตามที่กล่าวข้างต้น ทำให้เวลาปอกเปลือกเพื่อสับเนื้อผลจะมีกลิ่นเปรี้ยวโชยเข้าจมูกแรงมากจนนํ้าลายสอได้ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง ปัจจุบัน “มะม่วงพันธุ์เบา” มีกิ่งพันธุ์ขายที่ตลาดนัด ไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙
 ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46596873179078_1.jpg)
     มะม่วงน้ำตาลเตา สุดยอดหวานหอมอร่อย
มะม่วงชนิดนี้ มีประวัติความเป็นมาของต้นดั้งเดิมคือ นายเผื่อน พันธุ์ไพศาล เอาต้นมาจากไหนไม่มีใครทราบ แล้วนำไปปลูกที่สวนตัวเองย่านบางกรวย เชิงสะพานพระราม ๖ จ.นนทบุรี นานกว่า ๘๐-๙๐ ปี แล้ว ต่อมาประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๐ พื้นที่ดังกล่าวถูกหลวงเวนคืนสร้างเป็นโรงจักรผลิตกระแสไฟฟ้าฝ่ายผลิต ทำให้นายเผื่อน ต้องย้ายไปอยู่ที่อื่นและบรรดา ลูกหลานได้นำเอา ต้นพันธุ์ของ “มะม่วงน้ำตาลเตา” ที่ขยายพันธุ์ไว้ไปปลูกในที่อยู่ใหม่ด้วย และเก็บผลสุกทุกๆปี แจกให้เพื่อนบ้านใกล้เคียงได้รับประทานเป็นประจำ ซึ่งทุกคนต่างยอมรับและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นสุดยอดของมะม่วงที่มีรสชาติหวานหอมอร่อยที่สุดตั้งแต่สมัยนั้นจนกระทั่งยุคปัจจุบัน

โดย “มะม่วงน้ำตาลเตา” จะมีลักษณะพิเศษคือ เวลาผลแก่หรือสุกเนื้อจะเป็นสีเหลืองคล้ายสีของน้ำตาลปีบ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวเหมือนกลิ่นของน้ำตาลเคี่ยวในเตากำลังไหม้ หรือกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นลูกพลับ บางคนบอกว่ากลิ่นหอมเหมือนกลิ่นละมุดสีดา จึงเป็นที่มาของชื่อ “มะม่วงน้ำตาลเตา” รสชาติหวานจัด รับประทานอร่อยมาก ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมเอาผลสุกล้างน้ำให้สะอาดแล้วใช้มีดเฉือนเป็น ๒ แก้มไม่ต้องปอกเปลือก ใช้ช้อนตักเอาเนื้อกินกับข้าวสวยหรือข้าวเหนียวนึ่งสุกใหม่ๆ ร้อนๆ รสชาติเข้ากันได้ดีและอร่อยมีคุณค่าทางโภชนาการมาก

มะม่วงน้ำตาลเตา มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไป “ผล” รูปกลมรี ผลโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ ๒ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม ผลดิบสีเขียว รสชาติหวานมันกรอบไม่มีรสเปรี้ยวปนเลย ผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อในสีเหลืองทองคล้ายสีของน้ำตาลปีบ หวานจัดมีกลิ่นหอมตามที่กล่าวข้างต้น ไม่มีเสี้ยน เนื้อไม่เละ ติดผลปีละครั้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่งและทาบกิ่ง มีกิ่งตอนขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงตรงกันข้ามโครงการ ๑๕ และ แผงตรงกันข้ามโครงการ ๑๗ ราคาสอบถามกันเองครับ.
 ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/18187120432654_1.png)
     มะม่วงน้ำหนงหมิน ลูกผสมใหม่ ไต้หวัน
มะม่วงชนิดนี้ ผู้ขายกิ่งพันธุ์บอกว่า เป็นมะม่วงพันธุ์ใหม่จากประเทศไต้หวัน โดยบอกว่าเกิดจากการผสมระหว่าง มะม่วงเออวินส์ กับ มะม่วงหนังกลางวัน แต่ไม่ได้บอกว่าผสมด้วยวิธีใด เมื่อนำต้นพันธุ์ใหม่ไปปลูกเลี้ยงจนติดผล ปรากฏว่า มีลักษณะเด่นเป็นสองรูปแบบในต้นเดียวกันคือ ผลที่มีเมล็ดขนาดใหญ่จะมีขนาดผลโตเท่าผลมะม่วงนํ้าดอกไม้หรือนํ้าหนัก ๔๐๐-๗๐๐ กรัม กับชนิดผลที่มีเมล็ดลีบบาง ทรงผลจะเป็นรูปรียาว ขนาดผลใหญ่กว่าชนิดแรกอย่างชัดเจน เปลือกผลทั้ง ๒ ชนิด เป็นสีแดงเหมือนกัน ดูสวยงามมาก

ที่สำคัญ ผู้ขายบอกต่อว่า เปลือกผลจะบาง สามารถรับประทานได้ทั้งเปลือก และที่เป็นพิเศษกว่านั้น ผลจะทนทานต่อโรคแมลงได้ดี ทำให้เมื่อปลูกจนติดผลแล้วไม่จำเป็นต้องฉีดสารเคมีป้องกันแต่อย่างใด ผลดิบรสชาติเปรี้ยวจัด ฉํ่านํ้ามาก ผลแก่จัดหรือสุกรสหวานมันไม่มีรสเปรี้ยวเจือปน เนื้อผลขณะห่ามหรือสุกจะเหนียวไม่เละรับประทานอร่อยมาก เนื้อสุกเป็นสีเหลืองอมส้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ไม่มีเสี้ยน ความหวานวัดได้ ๑๕-๑๗ องศาบริกซ์

มะม่วงหนงหมิน ผู้ขายกิ่งพันธุ์บอกว่า มีลักษณะเหมือนกับมะม่วงทั่วไป ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า ๓ ปีแล้ว เป็นมะม่วงที่ให้ผลผลิตตลอดปี หรือ ทะวาย เวลาติดผลจะเป็นพวง ๓-๕ ผล กิ่งพันธุ์ที่วางขายขยายพันธุ์ด้วยวิธีเสียบยอดกับตอมะม่วงแก้ว ทำให้มีต้นเป็นพุ่มขนาดเล็ก ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน ๒.๕-๓ เมตร สามารถปลูกให้ติดผลได้ทั้งแบบลงดินกลางแจ้ง และปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งในที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน

ใคร ต้องการกิ่งพันธุ์ มีขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑
 ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54266929088367_1.png)
     มะม่วงวัดวัง ผลสุกหวานหอมอร่อย
มะม่วงชนิดนี้ เป็นมะม่วงพันธุ์เก่าแก่มีปลูกเฉพาะถิ่นแถบ จ.พระนครศรีอยุธยา มาแต่โบราณแล้ว ส่วนใหญ่ปลูกเพื่อกินผลสุกเพียงอย่างเดียว เพราะเนื้อผลสุกจะเป็นสีเหลืองอมส้มหรือสีจำปาเข้มสวยงามมาก รสชาติหวานหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงทำให้ “มะม่วงวัดวัง” นิยมปลูกเพื่อกินผลสุกตามที่กล่าวข้างต้น ผลดิบมีรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำและกรอบเหมือนกับผลมะม่วงดิบทั่วๆไปทุกอย่าง

สำหรับที่มาของชื่อ “มะม่วงวัดวัง” ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า สมัยก่อนมะม่วงชนิดนี้จะปลูกตามบ้าน  ตามวัดวาอารามอย่างแพร่หลาย (ปัจจุบันตามวัดไม่พบอีกแล้ว) และด้วยความเป็นมะม่วงที่ผลสุกมีรสชาติอร่อยมากในยุคนั้น  ทำให้เจ้าขุน มูลนายที่ได้กินแล้วติดอกติดใจนำเอาพันธุ์ไปปลูกในรั้วในวังเพื่อเก็บผลสุกรับประทาน ไม่ต้องออกไปซื้อในท้องถิ่นให้เสียเวลา ประกอบกับ “มะม่วงวัดวัง” เคยมีปลูกในวัดแห่งหนึ่งมีชื่อว่า “วัดวัง” อีกด้วย จึงถูกตั้งชื่อว่า “มะม่วงวัดวัง” ดังกล่าว และจากความหวานหอมของผลสุกเป็นที่เลื่องลือในยุคสมัยนั้น ทำให้ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) บรรยายไว้ในหนังสือ “พรรณพฤกษ์” ว่า “สาลิกาลืมรังอยู่ วัดวังคู่แก้มแดง มะม่วงกระแอมแฝง  มะม่วง แฟบแอบพุดไทย”

มะม่วงวัดวัง มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไป “ผล” กลมรีคล้ายกับผลมะม่วงแก้ว ผลสุกสีเหลืองอมส้ม เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้มหรือสีจำปาเข้ม รสชาติหวานหอม เนื้อสุกไม่เละ ไม่มีเสี้ยน ผลโตเต็มที่น้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๔-๕ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม ติดผลปีละครั้งตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

ปัจจุบัน “มะม่วงวัดวัง” มีกิ่งตอนรุ่นใหม่ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ตรงกันข้ามโครงการ ๑๕
 ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82381956362062_1.jpg)
     มะม่วงตลับนาก สุกอร่อยปีละ ๒ หน
มะม่วงชนิดนี้ เป็นพันธุ์โบราณที่นิยมปลูกกันมาช้านานในแถบภาคกลาง โดยส่วนใหญ่จะปลูกตามบ้านเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน มีปลูกเพื่อเก็บผลขายบ้างเล็กน้อย ไม่ได้ขายเป็นล่ำเป็นสัน หรือขายในเชิงพาณิชย์  เนื่องจาก ในยุคสมัยก่อนชาวบ้านมีพื้นที่กว้างขวางเหลือเฟือ จึงนิยมปลูกเก็บผลรับประทานกันเองมากกว่าซื้อเขากิน ปัจจุบันพบว่า มีผู้ขยายพันธุ์ตอนกิ่งของ “มะม่วงตลับนาก” วางขาย พร้อมมีภาพถ่ายผลจากต้นจริงแขวนโชว์ให้ชมด้วย  จึงแนะนำให้ ทราบอีกตามระเบียบ

มะม่วงตลับนาก มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร แตกกิ่งก้านเป็น พุ่มทรงกลม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายยอดใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนมน ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบหนา ผิวเรียบเป็นมัน สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลืองนวล ดอกมีกลิ่นหอมเหมือนกับดอกมะม่วงทั่วไป “ผล” รูปกลมรี โหนกและหลังผลนูน ปลายผลงอนเป็นติ่งแหลม น่าชมมาก ผลแบนเล็กน้อย น้ำหนักผลเมื่อโตเต็มที่ประมาณ ๔๐๐ กรัมต่อผล เวลาติดผลจะเป็นพวง ๑๐-๑๕ ผล ผลดกเต็มต้น  ผลดิบสีเขียว  เมื่อสุกเป็นสีเหลืองดูคล้ายตลับนากยุคโบราณ จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะผลว่า “มะม่วงตลับนาก” ดังกล่าว

รสชาติ ผลดิบเปรี้ยวจัด เนื้อสุก หวานหอมรับประทานอร่อยมาก ความหวานวัดได้ประมาณ ๑๔ องศาบริกซ์ เมล็ดไม่ลีบหรือแบนนักมี เส้นใยเล็กน้อย ติดผลดกปีละสองครั้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

ปัจจุบัน “มะม่วงตลับนาก” มีกิ่งตอนขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนและเก็บผลขาย คุ้มค่ามากครับ
 ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/76561378480659_2.jpg)
     มะม่วงน้ำดอกไม้สีม่วง ผลสวยหวานอร่อย
มะม่วงชนิดนี้ เกิดจากการพัฒนาพันธุ์ของ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ต.มหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ด้วยวิธีผสมเกสรระหว่าง มะม่วงน้ำดอกไม้ เบอร์ ๔ ปากน้ำ กับ มะม่วงจากประเทศไต้หวันชื่อ หงจู จากนั้นก็นำเอาเมล็ดที่ได้จากผลสุกหลายเมล็ดไปเพาะเป็นต้นกล้านำไปปลูกเลี้ยงจนต้นเจริญเติบโตมีดอกและติดผล

ปรากฏว่า แต่ละต้นติดผลดกเต็มต้น และมีลักษณะเด่นประจำพันธุ์คือ รูปทรงของผลจะเหมือนกับผลของมะม่วงน้ำดอกไม้ทั่วไป หรือมะม่วงน้ำดอกไม้ เบอร์ ๔ ที่ใช้เป็นพันธุ์พ่อ ส่วนสีของผลไม่เป็นสีเขียวเหมือนสีของมะม่วงน้ำดอกไม้ทั่วไป แต่ กลับเป็นสีม่วงเข้มตั้งแต่ติดผลขนาดเล็กจนกระทั่งผลแก่และสุกคล้ายกับสีผลมะม่วง

หงจู จากไต้หวันที่ใช้เป็นพันธุ์แม่ ซึ่งเป็นสีแดงแต่สีจะเข้มกว่าจนเป็นสีม่วงอย่างชัดเจนสวยงามมาก ทางศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรฯ ได้ปลูกทดสอบพันธุ์จนเชื่อว่าเป็นมะม่วงพันธุ์ใหม่ถาวรแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “มะม่วงน้ำดอกไม้สีม่วง” พร้อมกับขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกจำหน่ายให้ผู้สนใจซื้อไปปลูกกำลังเป็นที่ต้องการอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้

น้ำหนักผล เมื่อโตเต็มที่ของ “มะม่วงน้ำดอกไม้สีม่วง” ประมาณ ๐.๘-๑.๒ กิโลกรัมต่อผล ผลดิบรสชาติเปรี้ยวไม่มากนัก ผลสุกรสชาติหวานมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวรับประทานกับข้าวเหนียวมูลอร่อยไม่แพ้เนื้อสุกมะม่วงพันธุ์ดังๆทั่วไป เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเข้ม เนื้อละเอียดไม่มีเสี้ยน เป็นมะม่วงที่ติดผลดก และ ติดผลได้ตลอดทั้งปีแบบไม่ขาดต้น สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

ปัจจุบันมีกิ่งพันธุ์ขาย ติดต่อ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ โทร.๐๘– ๑๗๐๖–๕๕๑๓ หรือไปซื้อที่ งานเกษตรแฟร์ ม.เกษตรฯ บางเขน กทม. และที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเองครับ
 ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54433399149113_image_12102013124516PM_1_.jpg)
     มะม่วงฉื่อมี่ หวานกลิ่นน้ำผึ้ง
มะม่วงชนิดนี้ เกิดจากการพัฒนาพันธุ์โดยฝีมือเกษตรกรชาวไต้หวัน ด้วยวิธีเขี่ยละอองเกสรของดอกมะม่วงพันธุ์พ่อชื่อ มะม่วงเฮเดน ไม่ระบุว่าถิ่นกำเนิดจากไหน ผสมกับเกสรดอกมะม่วงพันธุ์แม่ชื่อ มะม่วงอี้เหวิน ของไต้หวัน เมื่อติดผลสุกจึงนำเอาเมล็ดไปเพาะเป็นต้นกล้าหลายต้น ก่อนคัดเอาต้นดีที่สุดไปปลูกเลี้ยงจนต้นเจริญเติบโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่าผลมีขนาดใหญ่มาก สีสันของผลเป็นสีแดงเข้มสวยงามน่าชมยิ่งนัก
 
เนื้อผลสุก เป็นสีเหลืองอมส้ม เนื้อไม่เละ ไม่มีเสี้ยน รสชาติหวานจัด วัดความหวานได้ ๑๖-๑๗ องศาบริกซ์ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ไม่มีกลิ่นขี้ไต้ รับประทานอร่อยมาก เมล็ดเล็กและลีบเหมือนกับเมล็ดของมะม่วงไต้หวันทั่วไป ผลอ่อนรสเปรี้ยวจัด ไม่นิยมรับประทานผลดิบ ผลเมื่อโตเต็มที่ น้ำหนักระหว่าง ๐.๘-๑.๗ กิโลกรัม ชาวไต้หวันเรียกชื่อว่า “มะม่วงฉือมี่” แปลเป็นไทยคือ “มะม่วงน้ำผึ้งสีม่วง” ติดผลปีละ ๒ ชุด ในประเทศไทยถูกนำเข้ามาปลูกและ ขยายพันธุ์ตอนกิ่งขายนานกว่า ๔-๕ ปีแล้ว ส่วนใหญ่นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีเสียบยอดกับตอมะม่วงแก้วของไทย จะทำให้ต้นแข็งแรงเติบโตเร็ว สามารถติดผลหลังปลูกเพียง ๓-๔ ปีเท่านั้น และจะติดผลดก ติดผลปีละ ๒ ชุด ตามที่กล่าวข้างต้น
 
มะม่วงฉือมี่ ต้นสูง ๓.๕ เมตร แตก กิ่งก้านขยายกว้างทางด้านข้าง กิ่งอ่อนมักโน้มลง ใบค่อนข้างใหญ่และยาวกว่าใบของมะม่วงทั่วไป “ผล” รูปทรงคล้ายผลของมะม่วงอี้เหวิน ผลมีขนาดใหญ่ สีสันของผลสวยงาม รสชาติหวานหอมอร่อยมาก
 
ใครต้องการกิ่งพันธุ์ไปปลูก ติดต่อ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑ แผง “คุณพร้อมพันธุ์” ราคาสอบถามกันเองครับ
 ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR5VsVVcQBsUzV27yTrAzfBjSayfuMMzZuyef1E3Absx-YK544yWw)
     "มะม่วงสามฤดู"  ครองใจผู้ปลูก
มะม่วงชนิดนี้ นิยมปลูกในบริเวณบ้านเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนมาช้านานตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว  และยังครองใจผู้ปลูกเรื่อยมาจนกระทั่งยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นมะม่วงที่ให้ผลผลิตถึง ๓ รุ่น ใน ๑ ปี ทำให้มีผลเก็บรับประทานได้ต่อเนื่องไม่ขาดต้น ที่สำคัญ “มะม่วงสามฤดู” มีรสชาติดีทั้งขณะผลยังดิบและผลสุก โดยผลดิบรสชาติจะเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบอร่อยมาก นิยมปอกเปลือกสับเป็นฝอยปรุงเป็นยำมะม่วงหรือส้มตำมะม่วง หรือปอกเปลือกฝานเป็นชิ้นบางๆจิ้มพริกเกลือน้ำปลาหวานอร่อยมาก ผลสุกรสหวานใกล้เคียงกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่อง จะหย่อนกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงทำให้ผู้ปลูกไม้ผลกินได้นิยมปลูก “มะม่วงสามฤดู” กันอย่างแพร่หลายและไม่เสื่อมคลายตามที่กล่าวข้างต้น   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/28452308972676_EyWwB5WU57MYnKOuFNJTUE2SlVWGZa.jpg)
     มะม่วงไข่มุกแดง หวานกลิ่นมะม่วงพราหมณ์ไทย
มะม่วงไข่มุกแดง เป็นสายพันธุ์จากประเทศไต้หวัน ถูกนำเข้ามาปลูกเก็บผลขายและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว จัดเป็นมะม่วงกินสุกที่ตลาดผลไม้ในบ้านเรามีความต้องการสูง เนื่องจากผลมีขนาดใหญ่ เนื้อเยอะ เนื้อละเอียด ไม่มีเสี้ยน เมล็ดลีบบาง รสชาติหวานมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเหมือนกลิ่นหอมของเนื้อสุกมะม่วงพราหมณ์ไทยโบราณทุกอย่าง จึงทำให้เป็นที่นิยมรับประทานอย่างแพร่หลายในเวลานี้ สีผลสวยงามตามแบบฉบับของมะม่วงไต้หวันทั่วไป เวลาติดผลดกเป็นพวงห้อยลงจะน่าชมยิ่ง

มะม่วงไข่มุกแดง เกิดจากการพัฒนาพันธุ์ของมะม่วงไต้หวันชื่อ “หงส์จู่” โดยฝีมือเกษตรกรชาวไต้หวันนานหลายปี มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไปทุกอย่าง แต่ต้นสูงระหว่าง ๓-๕ เมตรเท่านั้น ใบออกสลับรอบกิ่งก้านช่วงปลายยอด เป็นรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ เนื้อใบหนา สีเขียวสดเป็นมัน

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกมีกลิ่นหอม “ผล” รูปเกือบกลม ติดผลเป็นพวง ๓-๕ ผล ก้านผลยาวเป็นสีม่วงอมแดง สีผลเป็นสีม่วงอมแดงตั้งแต่ผลยังเล็ก ผลโตเต็มที่น้ำหนัก ๑-๑.๒ กิโลกรัมต่อผล เวลาติดผลดกเต็มต้นและผลห้อยลงจะดูสวยงามมากตามที่กล่าวข้างต้น จึงถูกตั้งชื่อภาษาไทยว่า “มะม่วงไข่มุกแดง” ดังกล่าว เนื้อสุกเป็นสีเหลืองอมส้ม รสชาติหวานมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นของมะม่วงพราหมณ์ไทยโบราณ รับประทานอร่อยกว่ามะม่วงกินสุกของไต้หวันสายพันธุ์ดังๆทั่วไป ติดผลตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง

ใครต้องการกิ่งพันธุ์ติดต่อศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบลมหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี โทร.๐๘-๑๘๐๖-๕๕๑๓  และตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๒๑  ราคาสอบถามกันเองครับ
  นสพ.ไทยรัฐ

fu.


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 มิถุนายน 2556 17:38:33
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/16555797970957_1.jpg)
     มะม่วงยู่เหวิน-งาช้างแดง
ผู้อ่านจำนวนมากที่ชอบปลูก มะม่วง อยากทราบว่า ปัจจุบัน “มะม่วงยู่เหวิน” กับ “มะม่วงงาช้างแดง” หาซื้อกิ่งตอนได้ที่ไหน เนื่องจากไปเดินซื้อตามแหล่งที่แนะนำแล้วปรากฏว่าผู้ขายแจ้งว่ากิ่งตอนของมะม่วงทั้ง ๒ ชนิด ขายหมด “นายเกษตร” จึงตระเวนสอบถามบรรดาเกษตรกรที่มีอาชีพขยายพันธุ์ตอนกิ่งไม้ผลขายหลายแห่ง และทราบว่าขณะนี้กิ่งตอนของ “มะม่วงยู่เหวิน” กับ “มะม่วงงาช้างแดง” ที่ทำกิ่งเอาไว้จำนวนมากและเป็นกิ่งตอนรุ่นใหม่ได้ติดรากแก้วแข็งแรงดีแล้วพร้อมเริ่มตัดกิ่งออกจำหน่ายอยู่ในเวลานี้ จึงแจ้งให้ผู้นิยมปลูกไม้ผลจำพวกมะม่วงทราบตามระเบียบ

มะม่วงยู่เหวิน เป็นลูกผสมของมะม่วง ๒ สายพันธุ์ของประเทศไต้หวันคือ ระหว่าง มะม่วงอ้ายเหวิน กับ มะม่วงจินหวง เมื่อนำต้นไปปลูกจนติดผล ปรากฏว่าติดผลดกมาก ผลมีขนาดใหญ่ สีสันของผลเป็นสีแดงอมม่วงทั้งผล ผลดิบ รสชาติหวานปนเปรี้ยวเล็กน้อย เมื่อผลสุกเนื้อในเป็นสีเหลืองเข้มไม่เละ รสชาติหวานหอมอร่อยมาก ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ตอนกิ่งขายในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว แต่กิ่งตอนทำเท่าไหร่ก็ขายหมด และไม่พอขาย

มะม่วงงาช้างแดง นิยมปลูกเก็บผลส่งขายอย่างแพร่หลาย ในประเทศจีน ประเทศไต้หวัน และ ประเทศอียิปต์ เวลาติดผลจะเป็น พวง ๓-๕ ผลต่อพวง ผลมีขนาดใหญ่และยาวดูคล้ายงาช้าง ผลสุกเป็นสีแดงตลอดทั้งผล สวยงามมาก จึงถูกตั้งชื่อว่า “มะม่วงงาช้างแดง” ผลสุกเนื้อเป็นสีเหลืองอมส้ม รสชาติหวาน ๑๕-๑๘ องศาบริกซ์ รับประทานอร่อยมาก
  ไทยรัฐ
  

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/74789898594220_2.jpg)
     มะม่วงแดงนพเกล้า สุกสุดอร่อย
มะม่วงชนิดนี้ เกิดจากการเอาต้นมะม่วงพันธุ์ เอ็ดเวิร์ด ที่มีถิ่นกำเนิดจากรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ปลูกให้ต้นเจริญเติบโตรวมกับ มะม่วงแก้ว พันธุ์ไทยจำนวนหลายสิบต้นจนมีดอก แล้วปล่อยแมลงทำการผสมเกสรโดยธรรมชาติ จนติดผลสุกแล้วนำเอาเมล็ดจากทั้ง ๒ ต้น ไปเพาะขยายพันธุ์มีดอกติดผลดกเต็มต้น ซึ่งมีอยู่ต้นหนึ่ง รูปทรงของผลแปลกและมีขนาดใหญ่กว่าทุกต้น สีสันของผลเป็นสีแดงอมม่วงดูสวยงามมาก เมื่อนำเอาผลดิบผ่ารับประทานทดสอบรสชาติ ปรากฏว่ามีความมันปนหวานและเปรี้ยวนิดๆ คล้ายกับผลดิบของมะม่วงแก้ว ผลสุกเนื้อเป็นสีเหลืองอมส้มเหมือนกับสีทองของเนื้อสุกของมะม่วงเอ็ดเวิร์ดมี รสชาติหวานหอม เนื้อละเอียด ไม่มีเสี้ยนอร่อยมาก

เจ้าของ จึงนำเอาเมล็ดจากผลสุกไปปลูกทด สอบสายพันธุ์อีกครั้งหนึ่งจนมั่นใจว่าเป็นมะม่วงพันธุ์ใหม่แน่นอนแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “มะม่วงแดงนพเก้า” พร้อมกับตอนกิ่งขยายพันธุ์ออกวางขายกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ทั่วไปของ “มะม่วงแดงนพเก้า” ใบคล้ายกับใบของมะม่วงแก้ว เวลาติดผลจะมีขนาดใหญ่เหมือนกับผลของมะม่วงเอ็ดเวิร์ดและติดผลดกมาก ผลเมื่อโตเต็มที่มีน้ำ-หนักเฉลี่ยระหว่าง ๘ ขีดต่อผล ที่สำคัญเปลือกผลค่อนข้างหนา จึงทำให้ “มะม่วงแดงนพเก้า” สามารถเก็บไว้ได้นานกว่ามะม่วงสายพันธุ์อื่น ติดผลปีละครั้ง หรือที่นิยมเรียกกันในหมู่เกษตรว่า มะม่วงปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด
  ไทยรัฐ
    
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94372849745882_3.jpg)
     มะม่วงตะเพียนทอง พันธุ์โบราณหวานอร่อย
มะม่วงชนิดนี้ เป็นสายพันธุ์โบราณที่นิยมปลูกตามบ้านเพื่อเก็บผลรับประทานมาช้านานแล้ว จัดเป็นมะม่วงที่มี ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในภาคกลาง โดยส่วนใหญ่จะปลูกกันอย่างกว้างขวางเฉพาะในแถบพื้นที่ จังหวัดนนทบุรี ย่าน ตลิ่งชัน เขตบางกอกน้อย กทม. เป็นมะม่วงปี หรือติดผลปีละครั้งตามฤดูกาล เวลาติดผลจะดกเป็นพวงน่าชมมาก ขนาดของผลใหญ่และทรงผลสวยงาม ผลดิบรสชาติเปรี้ยวจัดฉ่ำน้ำ ผลสุกรสชาติหวานประมาณ ๒๓ องศาบริกซ์ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ทำให้รับประทานอร่อยมาก

ส่วน ที่มาของชื่อ “มะม่วงตะเพียนทอง”  ไม่มีในบันทึกว่ามีความเป็นมาอย่างไร แต่เป็นชื่อที่เรียกกันมาตั้งแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน และมีเพียงชื่อเดียวเท่านั้น

มะม่วงตะเพียนทอง มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไปคือ MANGIFERA INDICA LINN. อยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๒๐ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับหนาแน่นบริเวณปลายยอด ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน เนื้อใบหนา และแข็ง ผิวใบเรียบเป็นมัน สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอก เป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม  “ผล”  รูปกลมรีและยาว  ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๔๒๓.๓๓ กรัม ติดผลเป็นพวง ๒-๓ ผล ผลดิบสีเขียวมีนวลขาว รสชาติเปรี้ยวจัด นิยมสับทำยำมะม่วง ผลสุกเป็นสีเหลืองอมส้มนิดๆ สวยงามมาก รสชาติหวานหอมตามที่กล่าวข้างต้น ติดผลปีละครั้งตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด
  ไทยรัฐ
 

(http://1.bp.blogspot.com/-fj0c9HCRRWc/Uu39stjKsUI/AAAAAAAAE9A/MIgYQ6RILYA/s1600/%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2.jpg)
     มะม่วงงามเมืองย่า กับที่มาของสายพันธุ์
"มะม่วงงามเมืองย่า" เป็นมะม่วงลูกผสมระหว่างมะม่วงน้ำดอกไม้ กับมะม่วงมันบางขุนศรี เป็นมะม่วงที่มีปลูกเฉพาะถิ่นในเขต อ. ปักธงชัย จ.นครราชสีมา แต่ผู้ขายบอกไม่ได้ว่า "มะม่วงงามเมืองย่า" ดังกล่าว ใครเป็นผู้ขยายพันธุ์ และบอกไม่ได้อีกว่า ที่มาของสายพันธุ์เป็นอย่างไร ผมเองแนะนำ ไปในตอนนั้นเพราะว่าผลมีขนาดใหญ่   รสชาติเมื่อทดลองชิมแล้วหวานอร่อยทั้งผลดิบและผลสุก ได้รับความนิยมจากผู้ปลูกอย่างกว้างขวาง

ต่อมา ทราบว่า "มะม่วงงามเมืองย่า" มีที่มาที่ไปคือ "คุณฐิติกร กีรติเลขา" บ้านอยู่เลขที่ ๙๙ ม. ๑๑ ต.งิ้ว อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา เอาเมล็ดมะม่วงลูกผสมระหว่าง มัน-บางขุนศรี กับ น้ำดอกไม้เบอร์ ๔ ไปปลูกแล้วติดผลดก  ผลใหญ่  รสชาติอร่อยทั้งผลดิบและผลสุก  มั่นใจว่าเป็นมะม่วงกลายพันธุ์ แต่ยังไม่แน่ใจในความนิ่งของสายพันธุ์  จึงนำยอดพันธุ์ ไปเปลี่ยนและฝากท้อง กับมะม่วงสายพันธุ์อื่นๆมากกว่า ๑๐ สายพันธุ์ ปรากฏว่าทุกอย่างยังคงที่   ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นมะม่วงกลายพันธุ์แบบถาวรแล้ว จึงตั้งชื่อ ในตอนแรกว่า "มะม่วงทะวายเมืองย่า" เพราะติดผลทั้งปี พร้อมนำผลไปแจกจ่ายให้ เพื่อนๆและพระตามวัดในเขตพื้นที่ทดลองชิม ต่างพากันชื่นชอบในรสชาติและขนาดของผลที่ใหญ่ โดยเฉพาะพระ ได้แนะนำให้เปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อเป็นสิริมงคล และ เพื่อเป็นเกียรติแก่ท้าว สุรนารี หรือ ย่าโม ที่คนโคราชเคารพนับถือว่า"มะม่วงงามเมืองย่า" เรียกกันเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

จากนั้น "คุณฐิติกร" เจ้าของพันธุ์ ได้ขยายพันธุ์ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอดให้พ่อค้ารับช่วงไปปลูกและขยายพันธุ์ขาย ได้รับความนิยมตามที่กล่าวข้างต้น   ผม เห็นว่า การได้รับรู้ที่มาที่ไปของมะม่วงที่จะปลูกเป็นเรื่องที่ดี   จึงรีบแจกแจงให้ ทราบกันอีกครั้งตามหน้าที่

มะม่วงงามเมืองย่า หรือชื่อเดิม "มะม่วงทะวายเมืองย่า"  มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไปทุกอย่าง เพียงแต่จะเป็นสายพันธุ์ที่ติดผลดกมาก เวลาติดผลเป็นพวง ผู้ปลูกจะต้องเลือกผลที่สมบูรณ์ที่สุดไว้  ส่วนผลไม่สมบูรณ์จะเด็ดทิ้ง  เพื่อให้ผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักเฉลี่ย ๑ ผล  เกือบ ๓ กิโลกรัม  
  ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSmTkYRstR5kgG-pqTAQ5BLL366iwzyst9bSkFW08G9w7eyLYAx5w)
     มะม่วงแรด อร่อย กับที่มาของชื่อ
มะม่วงชนิดนี้ เป็นพันธุ์ไทยแท้ๆ ที่นิยมปลูกตามบ้านหรือปลูกเพื่อเก็บผลขายมาช้านานตั้งแต่รุ่นคุณปู่คุณทวดแล้ว ส่วนใหญ่จะปลูกเพื่อรับประทานผลดิบ เพราะมีรสชาติหวานมันปนเปรี้ยวนิดๆ ปอกเปลือกฝานเป็นชิ้นๆ หรือสับเป็นชิ้นจิ้มเกลือป่นน้ำปลาหวานรับประทานอร่อยมาก ผลสุกมีความหวานประมาณ ๒๐ องศาบริกซ์ มีรสเปรี้ยวเจือปนเล็กน้อย เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบรับประทานรสหวานจัด

ปัจจุบัน“มะม่วงแรด” ได้เสื่อมค่านิยมในการปลูกและรับประทานตามกาลเวลา หาซื้อผลรับประทานได้ยากมาก เนื่องจากมีมะม่วงสายพันธุ์ใหม่ๆวางขายมากมาย จึงทำให้มะม่วงพันธุ์ไทยแท้ๆหลายสายพันธุ์ รวมทั้ง “มะม่วงแรด” ถูกลืมและ เชื่อว่าไม่นานอาจสูญพันธุ์ไปได้อย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม เพิ่งพบว่ามีผู้ขยายพันธุ์ตอนกิ่งของ “มะม่วงแรด” ออกวางขาย แต่ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ปลูกเท่าที่ควร ผู้ขายบอกว่า บางครั้งขายไม่ได้เลย ต้องทิ้งให้กิ่งตอนตายแห้งคาสวน จึงแนะนำให้ช่วยกันปลูกอนุรักษ์ตามระเบียบ

มะม่วงแรด มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนมะม่วงพันธุ์ไทยทั่วไป คือ เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน เนื้อใบหนา สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด สีเหลืองอ่อน ดอกมีกลิ่นหอม “ผล” กลมรี ผลโตเต็มที่น้ำหนักเฉลี่ย ๓๐๐ กรัมต่อผล ติดผลเป็นพวง ๑-๓ ผล ในแต่ละพวงจะมีผลลักษณะแปลกคือ ด้านหลังผลตรงกันข้ามกับโหนกผลด้านหน้ามีเนื้อผลงอกยาวออกมาคล้ายนอแรด จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะผลว่า “มะม่วงแรด” ติดผลปีละครั้งตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง  ปัจจุบันมีกิ่งตอนขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ
  ไทยรัฐ
  
(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/199370.jpg)
     มะม่วงหงส์หลง หวานหอม เหมือนอกร่อง
ผู้อ่านที่ชอบปลูกมะม่วงสงสัยว่า “มะม่วงหงส์หลง” มีความเป็นมาอย่างไร ซึ่งความจริงแล้วก็คือมะม่วงมังกรแดงที่เคยแนะนำไปแล้วนั่นเอง มีถิ่นกำเนิดจากประเทศไต้หวัน โดยผู้ขายกิ่งพันธุ์จากไต้หวันนำมาขายให้ชาวไทยซื้อไปปลูกและขยายพันธุ์ขายอีกต่อหนึ่ง พร้อมมีข้อมูลภาพถ่ายของผลจริงและชื่อเฉพาะเป็นภาษาจีน ภาษาอังกฤษ กำกับมอบให้ด้วย อยู่ที่ว่าผู้ขยายพันธุ์ชาวไทยจะตอนกิ่งออกจำหน่ายในชื่ออะไร

มะม่วงหงส์หลง ก็เช่นกัน มีชื่อเรียกเฉพาะ ๒ ชื่อ คือชื่อภาษาจีนว่า “มะม่วงหงส์หลง” และชื่อภาษาอังกฤษที่นิยมเรียกกันในประเทศไต้หวันคือ “เรด ดรากอน แมงโก้” ที่แปลความหมายได้ว่ามะม่วงมังกรแดงนั่นเอง จึงเป็นต้นเดียวกันอย่างแน่นอน

มะม่วงหงส์หลง หรือ มะม่วงมังกรแดง มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไป ใบจะมีขนาดใหญ่และยาวกว่าใบของมะม่วงสายพันธุ์ทั่วไป ใบจะโค้งงอลงดูสวยงามมาก “ผล” เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๓ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม ผลเป็นสีชมพูปนแดง เวลาติดผลจะสวยงามน่าชมยิ่งนัก ติดผลเป็นพวง ๘-๑๐ ผลเป็นอย่างต่ำ ผลสุกรสหวานหอมคล้ายรสชาติของมะม่วงอกร่องไทยทุกอย่าง ความหวานประมาณ ๒๔ องศาบริกซ์ ที่ประเทศไต้หวันกล่าวว่าผลสุกมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นของผลท้อ จึงทำให้ชาวจีนนิยมซื้อเป็นของฝากมงคลอย่างแพร่หลาย และ “มะม่วงหงส์หลง” ทนต่อโรคแมลงได้ดี เวลาติดผลไม่ต้องฉีดพ่นเคมีป้องกันแต่อย่างใด ที่สำคัญ “มะม่วงหงส์หลง” จะติดผล ๒ รุ่นต่อปี ทำให้มีผู้ผลิตเก็บรับประทาน หรือเก็บขายได้ตลอดไม่ขาดระยะ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่งและเสียบยอด

ปัจจุบัน “มะม่วงหงส์หลง” มีขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ  
  ไทยรัฐ


(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQfcOZyjfb82sHE_Gyg93jM9Sc3qgxXR71e8fx55zCAhQ9HrJXm0A)
     มะม่วงหงส์จินหวง ดิบรสมัน สุกหวานหอมอร่อย
มะม่วงชนิดนี้ เป็นพันธุ์ใหม่จากประเทศไต้หวัน โดยผู้จำหน่ายกิ่งตอนบอกว่า เกิดจากการนำเอามะม่วงจินหวงของไต้หวันที่มีผลขนาดใหญ่ผสมกับมะม่วงพันธุ์เขียวใหญ่แล้วได้ลูกไม้ใหม่ออกมา ผลมีสีสันเป็นสีแดงตลอดผล ผลมีขนาดใหญ่สวยงามสะดุดตาสะดุดใจมาก ทำให้เกษตรกรที่มีอาชีพปลูกมะม่วงเพื่อเก็บผลขาย นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากได้ราคาดี เป็นที่ชื่นชอบของชาวจีนมาก ผู้ขยายพันธุ์ จึงได้ตั้งชื่อมะม่วงดังกล่าวว่า “มะม่วงหงส์จินหวง” และในประเทศไทยได้มีผู้นำต้นแม่เข้ามาปลูกและขยายกิ่งพันธุ์วางขาย กำลังเป็นที่นิยมจากผู้ปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้

มะม่วงหงส์จินหวง มีข้อโดดเด่นหลายอย่างคือ ลำต้นจะมีความแข็งแรงทนทานต่อแมลงหรือหนอนเจาะเปลือก ทำให้ลำต้นเน่าเสียได้ยาก ติดดอกง่าย ช่อดอกยาวเป็นสีแดงเข้มเห็นชัดเจน ที่สำคัญในแต่ละช่อดอกจะมีดอกตัวเมียเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เวลาติดผลจะดกมากกว่ามะม่วงสายพันธุ์ทั่วไป ผล โตเต็มที่จะมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ๐๘-๑.๕ กิโลกรัมต่อผล

ผล ขณะยังเล็กหรือยังดิบสีผลจะเป็นสีม่วงตลอดทั้งผล ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุกเนื้อในจะมีรสชาติมันกรอบและปนหวานเล็กน้อย รับประทานเป็นมะม่วงมันได้ ผลสุกสีของผลจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสดสวยงามมาก เนื้อในเมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองเข้ม ไม่เละ เนื้อละเอียดเหนียว ไม่มีเสี้ยน ไม่มีกลิ่นขี้ไต้ รสหวานเหมือนเนื้อสุกของมะม่วงน้ำดอกไม้ เมล็ดบางหรือลีบ ทำให้ “มะม่วงหงส์จินหวง” มีเนื้อเยอะ สามารถรับประทานได้อร่อยทั้งผลดิบและสุก

มะม่วงหงส์จินหวง อยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง ๑๐ เมตร ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายยอด ใบเป็นรูปรีแกมขอบขนานยาว ปลายแหลม โคนมน ใบมีขนาดใหญ่ เนื้อใบหนา สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกยาว เป็นสีแดงหรือแดงอมม่วง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ “ผล” รูปกลมรี ลักษณะคล้ายผลมะม่วงจินหวง หรือมะม่วงเขียวใหญ่ หัวผลโหนกอ้วน ปลายผลแหลม มีเนื้อเยอะเพราะเมล็ดลีบ รสชาติอร่อยทั้งดิบและสุกตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีทาบกิ่ง ใคร
  ไทยรัฐ
  

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/98944511471523_EyWwB5WU57MYnKOvjuhWPMwhYcN6Sn.jpg)
     มะม่วงพราหมณ์ขายเมีย   มะม่วงดีโบราณ
มะม่วงชนิดนี้ เป็นหนึ่งในมะม่วงไทยโบราณที่มีมากกว่า ๑๗๐ สายพันธุ์ มีแหล่งปลูก เฉพาะในแถบ อ.บางกรวย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี และย่านตลิ่งชัน เขตบางกอกน้อย กทม. ได้รับความนิยมรับประทานอย่างแพร่หลายมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่คุณย่า โดย จะเอาผลสุกล้างน้ำให้สะอาด ใช้มีดเฉือน ๒ แก้ม ไม่ต้องปอกเปลือก ใช้ช้อนตักกินกับข้าวสวยร้อนๆ หรือข้าวเหนียวนึ่งสุกใหม่ๆ หวานหอมอร่อยชื่นใจดีมาก

และ จากคำร่ำลือของรสชาติดังกล่าว ทำให้พระยาศรีสุนทรโวหาร หรือ (น้อย อาจารยางกูร) ถึงกับบรรยายเอาไว้ในกาพย์ยานี ๑๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗ ว่า “มะม่วงพราหมณ์ขายเมีย” นี้ “ดูท่วงทีรสขยัน เมียรักดังชีวัน ยังสู้ขายจ่ายอำพา” ซึ่งก็หมายถึงรสชาติของมะม่วงชนิดนี้อร่อยมาก จนทำให้พราหมณ์ต้องยอมขายเมียตัวเองเพื่อนำ เอาเงินไปซื้อกินนั่นเอง

มะม่วงพราหมณ์ขายเมีย มีลักษณะทาง พฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไป คือ เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร แตกกิ่งก้านหนาทึบ ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ๆ ตรงกันข้ามกัน รูปใบหอก ปลายแหลมโคนมน เนื้อใบค่อนข้างหนา ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน หรือ สีขาวนวล มีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมรี มีขนาดใหญ่กว่าผลมะม่วงเขียวเสวย แต่จะสั้นกว่าเล็กน้อย ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ ๓ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม ผลดิบรสชาติเปรี้ยวปนหวานกรอบมัน รับประทานกับน้ำปลาหวานอร่อยมาก ผลสุก เนื้อสีเหลือง เหนียวไม่เละ ไม่มีเสี้ยน เมล็ดลีบบาง ให้เนื้อเยอะ รสชาติหวานหอมอร่อยตามที่กล่าวมาข้างต้น ติดผลปีละครั้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง ปลูกได้ในดินทั่วไป ติดผลดกเหมือนมะม่วงพันธุ์ โบราณทั่วไป

ปัจจุบัน “มะม่วงพราหมณ์ขายเมีย” มี กิ่งตอนขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙  
  ไทยรัฐ


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/177222.jpg)
     มะม่วงทูลถวายทวาย อร่อยทั้งผลดิบและสุก
มะม่วงชนิดนี้ มีแหล่งปลูกมาแต่โบราณ ย่านบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. เป็นมะม่วงที่เกิดจากการเอาเมล็ดของมะม่วงมันศาลายาไปเพาะขยายพันธุ์แล้วนำต้นกล้าที่ได้จำนวนหลายต้นไปปลูกเลี้ยงจนต้นโตมีดอกและติดผลดกทุกต้น มีอยู่ต้นหนึ่งรูปทรงของผลแปลกและแตกต่างจากรูปทรงของผลมะม่วงมันศาลายาที่เป็นพันธุ์แม่อย่างชัดเจน คือ รูปทรงของผลจะละม้ายไปทางรูปทรงของผลมะม่วงเขียวเสวยมากกว่า แต่รสชาติขณะผลยังดิบนั้นจะมันกรอบเหมือนกับรสชาติของมะม่วงมันศาลายาพันธุ์แม่ทุกอย่าง ผลสุกหวานอร่อยเหมือนกับมะม่วงสุกพันธุ์ดังๆ ทั่วไป รับประทานอร่อยมาก
 
ที่สำคัญ ยังเป็นมะม่วงที่สามารถมีดอกและติดผลได้เกือบทั้งปี หรือที่นิยมเรียกกันว่าทวาย อย่างน้อยที่สุดปีหนึ่งจะติดผลได้ ๒ ครั้ง และติดผลดกเป็นพวงเต็มต้นอย่างสม่ำเสมอ เจ้าของผู้ขยายพันธุ์เชื่อว่าเป็นมะม่วงกลายพันธุ์จากมะม่วงมันศาลายา จึงขยายพันธุ์ปลูกทดสอบพันธุ์อยู่หลายวิธีและนานกว่า ๒-๓ ปี จนมั่นใจว่ากลายพันธุ์แบบถาวรแล้ว จากนั้น ได้เก็บเอาผลสุกจากต้นไปถวายพระที่วัดแห่งหนึ่งย่านตลิ่งชัน และ พระครูรูปนั้น ได้ตั้งชื่อมะม่วงกลายพันธุ์ดังกล่าวว่า “มะม่วงทูลถวายทวาย” และเรียกกันเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
 
มะม่วงทูลถวายทวาย มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้นเหมือนกับมะม่วงทั่วไป เพียงแต่เป็นสายพันธุ์ที่สามารถมีดอกและติดผลดกได้อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง ตามที่กล่าวข้างต้น รสชาติรับประทานผลอร่อยทั้งดิบและสุก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง เสียบยอด
 
ปัจจุบันมีกิ่งพันธุ์ขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ ส่วนใหญ่เป็นกิ่งที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีทาบกิ่ง ทำให้เมื่อซื้อไปปลูกสามารถเจริญเติบโตได้เร็วและมีดอกติดผลในเวลาไม่ช้า เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนและปลูกเพื่อเก็บผลขายคุ้มค่ามาก ราคาสอบถามกันเองครับ.
  ไทยรัฐ
  
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/44290845054719_1.jpg)  
     มะม่วงอีแอ่น ครองใจผู้ปลูก
มะม่วงชนิดนี้ เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกเฉพาะถิ่นย่าน จ.อ่างทอง เพียงแห่งเดียวมาตั้งแต่โบราณแล้ว เป็นมะม่วงกลายพันธุ์แบบถาวร แต่ระบุไม่ได้ว่ากลายพันธุ์จากมะม่วงพันธุ์แม่ชื่อมะม่วงอะไร รู้ว่ากลายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ด มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์ ไม่เหมือนมะม่วงทั่วไป ได้แก่ รูปทรงของผลจะแตกต่างกับทรงผลของมะม่วงพันธุ์อื่นๆอย่างชัดเจน คือ บริเวณส่วนหัวของผลจะมีความโหนกนูนออกไปทางด้านหน้ามาก ทำให้ดูคล้ายกับคนแอ่นอกเหมือนกันทุกผล รูปทรงของผลดูไม่สวยงามหรือเรียกว่า ขี้เหร่มาก จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อว่า “มะม่วงอีแอ่น” และเรียกกันเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
 
เนื้อผลของ “มะม่วงอีแอ่น” เยอะ เพราะเมล็ดลีบโดยธรรมชาติ มีเสี้ยนน้อย ผลดิบหรือแก่จัดมีรสหวานมันกรอบปนเปรี้ยวเล็กน้อย สามารถรับประทานเฉยๆ ไม่ต้องฝานจิ้มพริกเกลือป่น หรือ น้ำปลาหวานได้เลยอร่อยมาก เนื้อสุกเหนียวหนึบ ไม่เละ สีเหลืองเข้ม รสชาติหวานหอมเฉพาะตัว ชาวบ้านสมัยก่อนนิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน หรือข้าวสวยร้อนๆ ได้รสชาติและได้คุณค่าทางอาหารไม่แพ้มะม่วงกินสุกพันธุ์ดังๆ ทั่วไป จัดเป็นมะม่วงที่รับประทานได้อร่อยทั้งผลดิบและผลสุก
 
มะม่วงอีแอ่น มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้นเหมือนกับมะม่วงทั่วไป รูปทรงของผลแปลกกว่ามะม่วงพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน หรือขี้เหร่มาก แต่รสชาติจะอร่อยทั้งผลดิบและผลสุกตามที่กล่าวข้างต้น ผลเมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๓-๔ ผลต่อ ๑ กิโลกรัม ติดผลดกสม่ำเสมอและติดผลตลอดปี หรือทะวาย จึงทำให้ “มะม่วงอีแอ่น” หรือ อีกชื่อหนึ่งคือมะม่วงนางแอ่น ครองใจผู้ปลูกเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด มีกิ่งตอนขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงตรงกันข้ามโครงการ ๑๕ ราคาสอบถามกันเองครับ.
  ไทยรัฐ
 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/72417778977089_2.jpg)
     "มะม่วงกะล่อนเขียว"  หวานหอมอร่อย
มะม่วงกะล่อนเขียว หรือที่ชาวบ้านสมัยก่อนนิยมเรียกสั้นๆว่า มะม่วงกะล่อนที่เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมนั้น สีของผลเมื่อสุกจะเป็นสีเขียวอ่อน ไม่เป็นสีเหลืองเหมือนมะม่วงสุกทั่วไป ทรงผลรีเล็กน้อยหรือเกือบกลม ผลโตเต็ม ที่ประมาณลูกปิงปอง เปลือกผลค่อนข้างหนา เมล็ดจะมีขนาดใหญ่เป็นเอกลักษณ์ของ “มะม่วงกะล่อนเขียว” ทั่วไป เนื้อในมีไม่มากนักแต่รสชาติขณะสุกจะหวานหอมรับประทานอร่อยชื่นใจมาก สมัยก่อนนิยมปลูกอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันเพิ่งพบว่ามีผู้ขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขาย จึงแจ้งให้ผู้ชอบปลูกมะม่วงทราบทันที

มะม่วงกะล่อนเขียว จัดอยู่ในกลุ่มมะม่วงป่าสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ว่า MAGIFERA CALONEURA KURZ อยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไป แต่ต้นจะสูงใหญ่มากกว่าอย่างชัดเจน คือ สามารถสูงได้ถึง ๔๐ เมตร ใบจะมีขนาดเล็กและสั้นกว่าใบของมะม่วงพันธุ์ใดๆ แตกกิ่งก้านสาขาหนาแน่นและกว้างใหญ่ เวลามีใบดกจะให้ร่มเงาดีมาก

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม “ผล” รูปรีเกือบกลมผลโตเต็มที่ขนาดเท่า ลูกปิงปอง ผลเมื่อสุกจะเป็นสีเขียวอ่อน มีนวล ไม่เป็นสีเหลืองเหมือนกับสีผลสุกของมะม่วงทั่วไป ติดผลเป็นพวง ๕-๗ ผล เมล็ดมีขนาดใหญ่

เนื้อใน ขณะสุกเป็นสีเหลืองอ่อน รสชาติหวานหอมรับประทานอร่อยมาก เวลาติดผลดกผลห้อยเป็นระย้าเต็มต้นจะดูงดงามยิ่งนัก เป็นมะม่วงติดผลปีละครั้งตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด มีชื่อเรียกอีกคือ มะม่วงเทียน มะม่วงป่า มะม่วงขี้ไต้ และ มะม่วงเทพรส

มีกิ่งตอนขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙ ราคาสอบถามกันเองครับ.
  ไทยรัฐ
  
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/76157083569301_3.jpg)
     "มะม่วงมันขุนศรี"  มะม่วงดีโบราณ
หลายคนอยากทราบว่า “มะม่วงมันขุนศรี” กับ มะม่วงมันบางขุนศรีเป็นต้นเดียวกันหรือไม่ ซึ่งก็คือต้นเดียวกัน มีถิ่นปลูกมาแต่โบราณในย่านตลิ่งชัน เขตบางกอกน้อย กทม.และใกล้เคียง อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี และในยุคนั้น “มะม่วงมันขุนศรี” หรือ มะม่วงมันบางขุนศรี ได้รับความนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายทั้งผลดิบและผลสุก โดยผลดิบมีรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ และกรอบ ส่วนใหญ่ปอกเปลือกผลแล้วสับเป็นฝอยหรือฝานเป็นแว่นๆ ปรุงเป็นยำมะม่วงและจิ้มพริกเกลือป่น หรือจิ้มน้ำปลาหวานมีกลิ่นเปรี้ยวหอมอร่อยมาก ส่วนผลสุกเนื้อจะเหนียวไม่เละ รสหวานแหลมปนเปรี้ยวนิดๆ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รับประทานกับข้าวเหนียวมูนอร่อยไม่แพ้มะม่วงกินสุกชนิดใดๆ ปัจจุบัน “มะม่วงมันขุนศรี” มีผลวางขายตามตลาดผลไม้ใหญ่ๆใน กทม.ไม่กี่แห่งเท่านั้น สนนราคากิโลกรัมละเป็นร้อยบาทขึ้น

มะม่วงมันขุนศรี หรือ มะม่วงมันบางขุนศรี มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับต้นมะม่วงทั่วไป มีลักษณะทรงผลประจำพันธุ์คือ ทรงผลจะแหลมและงอน ส่วนหัวผลจะป้านไปทางด้านหลังมาก ทำให้ดูคล้ายตัวอักษรภาษา อังกฤษรูปตัว “เอส” สวยงามน่าชมมาก ผลดิบสีเขียวมีนวล ผลสุกเป็นสีเหลืองอมส้มนิดๆ ติดผลเป็นพวง ๓-๕ ผล เมล็ดลีบและบาง นวลเนื้อในสุกเป็นสีเหลืองปนส้มเล็กน้อย รสหวานปนเปรี้ยวตามที่กล่าวข้างต้น ไม่มีเสี้ยน เนื้อเหนียว มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นมะม่วงพิมเสนมัน

ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ย ๓-๔ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม ติดผลปีละครั้งตามฤดูกาล จัดเป็นมะม่วงพันธุ์ดี โบราณชนิดหนึ่ง ขยายพันธุ์เมล็ดตอนกิ่งและเสียบยอด ปลูกได้ในดินทั่วไป ปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนหรือเก็บผลขายคุ้มค่ามากครับ.
  ไทยรัฐ
  
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94946677444709_4.jpg)
     มะม่วงการะเกด ดิบสุกอร่อยดกทั้งปี  
มะม่วงชนิดนี้ เกิดจากการนำเอาเมล็ดของมะม่วงพันธุ์เบาดั้งเดิมของภาคใต้ไปเพาะจำนวนหลายเมล็ดจนแตกเป็นต้นกล้า แล้วนำไปปลูกจนต้นโตมีดอกและติดผล จากนั้นก็ทำการคัดพันธุ์เพียงหนึ่งต้นที่มีลักษณะดีที่สุดคือ ต้นไม่สูงใหญ่นัก ติดผลดกเป็นพวงเต็มต้น ขนาดใหญ่กว่าผลของมะม่วงพันธุ์เบาที่เป็นพันธุ์แม่เพียงเล็กน้อยอย่างชัดเจน
ผลดิบ รสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปอกเปลือกแล้วสับเป็นฝอยปรุงเป็นยำมะม่วงใส่ยำชนิดต่างๆ หรือใส่น้ำพริกแทนการใช้น้ำมะนาวเพิ่มรสชาติให้มีกลิ่นหอมเปรี้ยวกรอบรับประทานอร่อยมาก ผลสุก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้ม หวานหอมไม่มีเสี้ยนไม่เละแม้เนื้อจะสุกงอม เมล็ดไม่ใหญ่ให้

เนื้อเยอะอร่อยไม่แพ้มะม่วงกินสุกทั่วไป ผู้ขยายพันธุ์เชื่อว่าเป็นมะม่วงพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์อย่างแน่นอนจึงปลูกทดสอบพันธุ์อยู่หลายครั้งและหลายวิธีจนมั่นใจว่ากลายพันธุ์แบบถาวรแล้ว และได้ตั้งชื่อมะม่วงดังกล่าวว่า “มะม่วงการะ-เกด” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้

มะม่วงการะเกด มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไป แต่ต้นจะไม่สูงใหญ่นัก ติดผลดกเป็นพวง ๗-๑๐ ผล รูปทรงของผลสวยงาม ผลดิบเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลืองอมส้ม รับประทานอร่อยทั้งผลดิบและสุกตามที่กล่าวข้างต้น ติดผลไม่ขาดต้นทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป หลังปลูก ๓ ปีกว่าๆ จะติดผลชุดแรกและติดผลดกเต็มต้นอย่างสม่ำเสมอแบบไม่ขาดต้นตลอดทั้งปี สามารถเก็บผลรับประทานและเก็บผลขายได้คุ้มค่ามาก
  ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90623290298713_EyWwB5WU57MYnKOuXogR7XIdEeAsSd.jpg)
     มะม่วงผ้าขี้ริ้วห่อทอง   กินสุกหวานมาก
มะม่วงชนิดนี้ เป็นสายพันธุ์ไทยโบราณที่นิยมปลูกและนิยมรับประทานอย่างกว้างขวางในแถบจังหวัดนนทบุรี และแถบใกล้เคียง คือย่านตลิ่งชัน เขตบางกอกน้อย กทม. มาช้านานแล้ว ส่วนใหญ่จะปลูกเพื่อเก็บผลกินในครัวเรือนมีเก็บผลขายบ้างประปราย มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ผลอ่อนจะมีรสเปรี้ยวจัด ผลแก่ยังไม่ถึงสุกมีรสเปรี้ยวนำปนมันเล็กน้อย ปอกเปลือกฝานเป็นแว่นจิ้มพริกเกลือป่นหรือน้ำปลาหวานดีมาก ผลสุกรสหวานมาก วัดความหวานได้ประมาณ ๒๒-๒๔ องศาบริกซ์ ในยุคสมัยก่อนจึงปลูก “มะม่วงผ้าขี้ริ้วห่อทอง” เพื่อกินผลสุกเพียงอย่างเดียว

มะม่วงผ้าขี้ริ้วห่อทอง มีชื่อวิทยาศาสตร์และลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไปทุกอย่าง คือ เป็นไม้ยืนต้น แต่จะสูงไม่เกิน ๗-๑๐ เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มปานกลาง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่หรือออกเป็นคู่ๆที่บริเวณปลายยอด ใบเป็นรูปใบหอก หรือรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนมน เนื้อใบค่อนข้างหนาและแข็ง หน้าใบสีเขียวเข้ม หลังใบสีเขียวหม่น ใบดกให้ร่มเงาดีมาก

ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมรียาว รูปทรงของผลสวย ติดผลเป็นพวง ๒-๓ ผล ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักระหว่าง ๓-๔ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม ใน ๑ ผล มี ๑ เมล็ด มีดอกและติดผลดกตามฤดูกาลปีละครั้ง ขยายพันธุ์โดยทั่วไปด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง เป็นมะม่วงกินสุก เหมาะจะปลูกเก็บผลกินในครัวเรือนหรือปลูกหลายๆต้นเพื่อเก็บผลขายคุ้มค่ามาก
  ไทยรัฐ

fu.


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 05 กรกฎาคม 2556 18:04:05
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46161462821894_EyWwB5WU57MYnKOuXuVwlJuLaHVnX6.jpg)
มะม่วงพิมเสนมัน
โดยธรรมชาติของมะม่วงพิมเสนพันธุ์ดั้งเดิมขณะผลยังดิบหรือแก่จัดจะมีรสเปรี้ยวเพียงอย่างเดียว ผลสุกแม้สุกงอมจะออกหวานปนเปรี้ยวเป็นลักษณะประจำพันธุ์ แต่จะมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ใครได้สูดดมกลิ่นจะรู้ได้ ทันทีว่าเป็นมะม่วงพิมเสนเช่นเดียวกับมะม่วงพันธุ์ไทยทั่วไป ที่จะมีกลิ่นเป็นของตัวเองบอกให้รู้ว่าเป็นมะม่วงพันธุ์อะไร

ส่วน “มะม่วงพิมเสนมัน” จะมีความแตกต่างจากมะม่วงพิมเสนดั้งเดิมที่กล่าวข้างต้นอย่างชัดเจน คือ ผลดิบหรือแก่ยังไม่ถึงสุกจะมีรสชาติหวานมันปนเปรี้ยวนิดๆ ใช้มีดปอกเปลือกฝานเป็นชิ้นรับประทานเปล่าๆได้เหมือนกับมะม่วงพันธุ์ทั่วไปได้เลย กรอบอร่อยมาก

ผลสุก เนื้อจะแน่นเหนียวไม่เละแม้สุกงอม ไม่มีเสี้ยน เมล็ดลีบบางและเล็ก รสชาติหวานมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สามารถรับประทานกับข้าวเหนียวนึ่งสุกใหม่ๆ หรือข้าวสวยร้อนๆ อร่อยได้คุณค่าทางอาหารดียิ่งนัก

มะม่วงพิมเสนมันเป็นพันธุ์โบราณที่นิยมปลูกเฉพาะถิ่นในแถบภาคกลางมาช้านาน ปลูกกันมากที่สุดในย่านตลิ่งชัน เขตบางกอกน้อย กทม. กับ อ.ไทรน้อย อ.บางกรวย จ.นนทบุรี มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นสูง ๑๕-๒๐ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับที่ี่บริเวณปลายยอด ใบเป็นรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน ใบมีขนาดใหญ่กว่าใบของมะม่วงพันธุ์ทั่วไปอย่างชัดเจน ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด เป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมรี ปลายผลงอนย้อยหรืองอนแหลม ผลขนาดใหญ่ น้ำหนักเฉลี่ยประมาณเกือบ ๑ กิโลกรัมต่อผล ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลืองอมส้ม ผลสุกจะมีกลิ่นหอมประจำพันธุ์ รับประทานอร่อยทั้งผลดิบและผลสุก ติดผลดกตามฤดูกาลปีละครั้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

มีกิ่งพันธุ์ขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ ราคาสอบถามกันเองครับ.  
  นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/63803974373473_1.jpg)
     "มะม่วงตาเตะหลาน"  อร่อยทั้งดิบและสุก
มะม่วงที่เป็นพันธุ์ไทยโบราณ กำลังเป็นที่ต้องการปลูกอย่างกว้างขวางในยุคปัจจุบัน เนื่องจากผู้ปลูกทุกคนพูดตรงกันว่า มะม่วงพันธุ์ไทยโบราณเนื้อดิบและเนื้อสุกจะรับประทานอร่อยมาก และที่สำคัญทุกคนกล่าวเหมือนกันอีกว่า เนื้อดิบและเนื้อสุกของมะม่วงพันธุ์ไทยโบราณ เมื่อรับประทานแล้วสามารถระบุได้เลยว่ากำลังรับประทานมะม่วงชื่อพันธุ์อะไรอยู่ เพราะรสชาติของแต่ละพันธุ์จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกันอย่างชัดเจน เช่น มะม่วงอกร่องเขียว อกร่องทอง มะม่วงมหาชนก และมะม่วงเขียวเสวย เป็นต้น และ “มะม่วงตาเตะหลาน” ก็จัดเป็นมะม่วงพันธุ์ไทยโบราณอีกชนิดหนึ่งที่กิ่งตอนผลิตจำหน่ายแทบไม่ทันในเวลานี้
 
มะม่วงตาเตะหลาน เป็นมะม่วงพันธุ์โบราณที่ นิยมปลูกเฉพาะถิ่นในแถบ จ.อ่างทอง มาช้านานแล้ว มีตำนานเล่าขานว่า มีคุณตาท่านหนึ่ง ไปทำบุญที่วัดข้างบ้านเป็นประจำ และมีอยู่วันหนึ่ง พระหลวงตาฉันเพลเสร็จนำเอาผลมะม่วงสุกปอกเปลือกเฉือนเนื้อให้ คุณตารับประทานรสชาติหวานอร่อยมาก คุณตาจึงสอบถามว่าเป็นมะม่วงอะไร แต่หลวงตาจำชื่อไม่ได้และมอบมะม่วงสุกดังกล่าวให้คุณตา ๑ ผล นำไปซ่อนไว้ในตู้กับข้าวแล้วไปนั่งคุยกับเพื่อนบ้าน พอกลับมาจะเอามะม่วงที่ซ่อนไว้ออกมารับประทาน ปรากฏว่าหายไปแล้วเพราะลูกหลานขโมยกิน คุณตาเลยไล่เตะหลานวิ่งหนีรอบบ้าน จึงถูกตั้งชื่อมะม่วงดังกล่าวว่า “มะม่วงตาเตะหลาน” เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
 
มะม่วงตาเตะหลาน มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไป “ผล” กลมและอวบอ้วน ผลดิบและแก่จัดหวานปนเปรี้ยว กรอบเหมือนมะม่วงเขียวเสวย ผลสุกเนื้อแน่นเหนียว ไม่เละ หวาน หอม อร่อยมาก
 ไทยรัฐ - ศุกร์ที่ ๒๐/๗/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/64942525368597_2.jpg)
     "มะม่วงสาวงามไซซี"  อร่อยดกทั้งปี
มะม่วงชนิดนี้เป็นพันธุ์ใหม่ของประเทศไต้หวัน เกิดจากฝีมือนักปรับปรุงพันธุ์ชื่อดังชาวไต้หวัน มีดีกรีชนะเลิศ การประกวดคุณภาพมะม่วงพันธุ์ใหม่ของประเทศไต้หวันมาแล้ว มีลักษณะเด่น คือ ผลมีขนาดใหญ่ รูปทรงของผลยาวดูสวยงามดี เปรียบเหมือนความงามของสตรี และผู้ขายกิ่งตอนบอกว่าจึงถูกตั้งชื่อตามประวัติของสาวงามชนชาติจีนว่า “มะม่วงสาวงามไซซี” ดังกล่าว
 
มะม่วงสาวงามไซซี มีลักษณะทางพฤษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น สูง ๓-๕ เมตร กิ่งอ่อนมักโค้งงอ ใบจะมีความเป็นพิเศษ
คือมีขนาดใหญ่และยาวมาก เมื่อนำเอาใบไปเทียบกับใบมะม่วงพันธุ์ทั่วไปจะเห็นได้อย่างชัดเจน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีนวล มีกลิ่นหอมเช่นดอกมะม่วงทั่วไป “ผล” กลมยาว โหนกสวย หลังตรง ผลเป็นสีแดงตั้งแต่ติดผลอ่อน เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีแดงเข้มตลอดทั้งผล ติดผลเป็นพวง ๖-๘ ผล ผลโตเต็มที่ นํ้าหนักเฉลี่ย ๐.๙-๑.๕ กิโลกรัม เมล็ดบางเล็ก
 
ผลแก่ยังไม่ถึงกับสุก เนื้อจะกรอบหวานมันอร่อยเหมือนกับเนื้อมะม่วงเขียวเสวยทุกอย่าง ผลสุกเนื้อในเป็นสีเหลืองเข้ม เนื้อเหนียวแน่น ละเอียด ไม่เละ มีเสี้ยนเล็กน้อย รสหวานจัด วัดความหวานได้ ๑๕-๑๗ องศาบริกซ์ เนื้อมีกลิ่นหอม รับประทานกับข้าวเหนียวมูน หรือข้าวสุกร้อนๆ อร่อยได้คุณค่าทางอาหารดีมาก ซึ่ง “มะม่วงสาวงามไซซี” เป็นสายพันธุ์ที่ติดผลดกตลอดปี หรืออย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง ขยายพันธุ์ทั่วไปได้ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด
 
ปัจจุบันมีกิ่งตอนขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๒๑ เป็นกิ่งตอนด้วยระบบเสียบยอดกับตอมะม่วงแก้วขมิ้นทำให้ปลูกแล้วโตเร็ว หลังปลูก ๒ ปี ให้ผลผลิตชุดแรก ราคาสอบถามกันเองครับ.
 ไทยรัฐ- วันพฤหัสบดีที่ ๑๙/๖/๕๗

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTMUPi7sPEnZovLc7tkkAW7TZ6STN_gJNHmk1dWy36DzBo3D8ScDA)
     มะม่วงทองดำ ปลูกอร่อยคุ้ม  
ปัจจุบัน มะม่วงพันธุ์ไทยโบราณกำลังเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลาย เนื่องจากผู้ปลูกส่วนใหญ่จะพูดเหมือนกันคือ มะม่วงพันธุ์ไทยโบราณบางสายพันธุ์สามารถปิดตาแล้วรับประทานเนื้อจากผลทั้งดิบและสุกจะตอบได้ถูกต้องเลยว่ากำลังกินเนื้อมะม่วงชื่ออะไรอยู่ ซึ่ง “มะม่วงทองดำ” อยู่ในกลุ่มดังกล่าวด้วยและเคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว แต่ยังมีผู้ต้องการกิ่งตอนไปปลูกอีกเยอะจึงขอแนะนำ “มะม่วงทองดำ” อีกครั้ง

มะม่วงทองดำ อยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE ต้นสูง ๑๐-๑๕ เมตร ใบออกเรียงสลับถี่บริเวณปลายยอด เป็นรูปรี ปลายแหลม โคนมน ใบสีเขียวสด ใบดกและหนาแน่นให้ร่มเงาดีมาก ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด สีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมรี ผลอ้วนใหญ่ ติดผลเป็นพวง ๑-๓ ผล ลักษณะผลจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเห็นแล้วจะรู้ได้ทันทีว่าเป็นผล “มะม่วงทองดำ” เมล็ดลีบ เนื้อเยอะ

ผลดิบ มีรสชาติมันปนเปรี้ยว เมื่อผลสุกผิวผลจะเป็นสีเขียวปนเหลืองเล็กน้อยทำให้ดูคล้ำๆ หรือดำๆ เนื้อในขณะสุกมีด้วยกัน ๒ ชนิดพันธุ์คือ เป็นสีเหลืองเข้มกับสีส้ม จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะของสีผลและเนื้อในสุกว่า “มะม่วงทองดำ” รสชาติหวานหอมอร่อยมาก สมัยเป็นเด็กจำได้ว่าเวลากิน “มะม่วงทองดำ” สุกจะเอาผลล้างน้ำให้สะอาดแล้วบีบคลึงให้เนื้อในเละจึงกัดบริเวณตูดผลดูดกินเนื้อจนหมด หรือบีบเนื้อให้เละแล้วใช้มีดคมๆ เฉือนส่วนหัวผลดูดกินเนื้อให้เหลือครึ่งหนึ่ง เอาข้าวสวยร้อนๆ หรือข้าวเหนียวร้อนๆ ยัดลงไปให้เข้ากับเนื้อสุกรับประทานอร่อยมาก ติดผลปีละครั้งตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบันมีกิ่งตอนรุ่นใหม่ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๕ ราคาสอบถามกันเองครับ..
...ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/98309458005759_3_3617_3632_3617_3656_3623_359.jpg)
    มะม่วงงูเห่า
มะม่วงงูเห่า มะม่วงชนิดนี้ เป็นพันธุ์โบราณนิยมปลูกมาช้านานทุกภาคของประเทศไทย มีลักษณะประจำพันธุ์คือเป็นมะม่วงติดผลดกตามฤดูกาล รูปทรงของผลคล้ายผลมะม่วงพิมเสน แต่จะเรียวยาวกว่าอย่างชัดเจน เมล็ดลีบโดยธรรมชาติ เนื้อผลเยอะ ผลดิบรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ ปอกเปลือกสับเป็นฝอยปรุงเป็นส้มตำมะม่วงหรือยำมะม่วงแซ่บดีนัก เนื่องจากมีกลิ่นเปรี้ยวหรือ “กลิ่นส้ม” แรงโชยเข้าจมูกชวนให้น้ำลายสออยากรับประทานทันที

ผลสุก สีสันของผลสวยงามน่าชมยิ่ง เนื้อในสุกเป็นสีส้ม รสชาติหวานหอมเหมือนเนื้อสุก มะม่วงอกร่องทุกอย่าง ซึ่งถือเป็นเรื่องแปลกมาก แม้ผลจะสุกขนาดไหนเนื้อในก็จะไม่เละ ยังคงเหนียวหนึบ ไม่มีเสี้ยน รับประทานอร่อยมาก โดยในยุคสมัยก่อนผู้เฒ่าผู้แก่จะใช้มีดคมๆเฉือนผลสุกทั้งเปลือก ๒ แก้ม แล้วใช้ช้อนตักกินเนื้อกับข้าวสวยร้อนๆ ข้าวเหนียวมูน หรือข้าวเหนียวนึ่งสุกใหม่ๆ อร่อยเหมือนกับมะม่วงอกร่อง ได้คุณค่าทางโภชนาการ ดีมาก จึงทำให้ “มะม่วงลิ้นงูเห่า” ได้รับความนิยมปลูกและรับประทานจนกระทั่งปัจจุบัน

ส่วนที่มาของชื่อ เนื่องจากรูปทรงของผลเรียวยาว ปลายผลโค้งงอดูเหมือนลิ้นงูเห่า คนในยุคสมัยก่อน จึงเรียกชื่อว่า “มะม่วงลิ้นงูเห่า” ดังกล่าว   มะม่วงลิ้นงูเห่า เป็นมะม่วงพันธุ์เบาติดผลง่ายและดกมาก เวลาติดผลจะเป็นพวง ๓-๕ ผล น้ำหนักผลเมื่อโตเต็มที่ประมาณ ๓ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม ความหวานของผลสุกประมาณ ๒๕ องศาบริกซ์ ติดผลปีละครั้งตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง เสียบยอด
 นสพ.ไทยรัฐ – ศุกร์ที่ ๒๖/๑๑/๕๗


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/81477216879526_EyWwB5WU57MYnKOuXxv89q5SASV062.jpg)
    มะม่วงลิ้นงูเห่า พันธุ์ไทยโบราณอร่อยปลูกคุ้ม
มะม่วงชนิดนี้ เป็นมะม่วงพันธุ์ไทยโบราณ นิยมปลูกและนิยมรับประทานมาช้านานเกือบทุกภาคของประเทศไทย ปลูกมากที่สุดในแถบภาคกลาง มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์คือ เป็นมะม่วงติดผลดกมากตามฤดูกาล รูปทรงของผลสวยคล้ายกับมะม่วงพิมเสนและผลของมะม่วงมหาชนก แต่ผลของ “มะม่วงลิ้นงูเห่า” จะเรียวยาวและใหญ่กว่าเล็กน้อยอย่างชัดเจน เมล็ดลีบและบาง ผลดิบรสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำและกรอบ ปอกเปลือกสับฝานเป็นฝอยๆ ปรุงเป็นส้มตำมะม่วงหรือยำมะม่วงจะมีกลิ่นหอมแบบเปรี้ยวๆ หรือคนส่วนใหญ่นิยมเรียกว่ากลิ่นส้ม โชยเข้าจมูกทำให้น้ำลายสออยากรับประทานทันที

ผลสุกเปลือกผล จะเป็นสีเหลืองเข้มอมส้มสวยงามน่าชมยิ่ง โดยเฉพาะผลสุกจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวเช่นเดียวกับมะม่วงพิมเสนและมะม่วงมหาชนก ทำให้รู้สึกได้ทันที เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเข้มหรือสีส้ม รสชาติหวานหอมเหมือนเนื้อสุกของมะม่วงอกร่องทุกอย่าง จึงถือเป็นเรื่องแปลกมาก เนื้อสุกขนาดไหนก็ไม่เละ ยังคงเหนียวหนึบไม่มีเสี้ยน รับประทานอร่อยยิ่งนัก ในยุคสมัยก่อนผู้เฒ่าผู้แก่ นิยมใช้มีดคมๆเฉือนผลสุกทั้งเปลือก ๒ แก้มผลแล้วใช้ช้อนตักเอาเนื้อกินกับข้าวสวยร้อนๆ ข้าวเหนียวมูนหรือข้าวเหนียว นึ่งสุกใหม่ๆ อร่อยได้คุณค่าทางโภชนาการดีไม่แพ้การรับประทานกับมะม่วงอกร่องสุกแต่อย่างใด

มะม่วงลิ้นงูเห่า มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไป เป็นมะม่วงพันธุ์เบา คือ ติดผลง่ายและดกเต็มต้นตามฤดูกาลโดยธรรมชาติ เวลาติดผลจะเป็นพวง ๓-๕ ผล ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๓ ผลต่อ ๑ กิโลกรัม วัดความหวานของเนื้อสุกได้ประมาณ ๒๕ องศาบริกซ์ ติดผลปีละครั้งตามฤดูกาลที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด ส่วนที่มาของชื่อ เนื่องจากรูปทรงของผลเรียวยาว ปลายโค้งงอดูคล้ายกับลิ้นงูเห่า จึงถูกตั้งชื่อว่า “มะม่วงลิ้นงูเห่า” ดังกล่าว และเรียกชื่อนี้เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
  ไทยรัฐ – พฤหัสบดีที่ ๗/๕/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/14786250144243_4_3629_3585_3619_3656_3629_359.jpg)
    มะม่วงอกร่องทองเกษตร ๑
มะม่วงอกร่องทองเกษตร ๑ มะม่วง “อกร่องทองเกษตร ๑” มีที่มาพันธุ์คือ ถูกคัดพันธุ์จากมะม่วงอกร่องทองพันธุ์แท้ดั้งเดิมของไทยโบราณ โดยเกษตรมืออาชีพหลายวิธี จนทำให้มีลักษณะเด่นกว่ามะม่วงอกร่องทองพันธุ์ดั้งเดิมหลายอย่าง เช่น ลำต้นแข็งแรง ขนาดความสูงเตี้ยลงกว่าเดิมอย่างชัดเจน และที่ถือว่าดีที่สุดของมะม่วง “อกร่องทองเกษตร ๑” ได้แก่ จะติดผลดกมาก ติดผลเป็นพวงตามฤดูกาลโดยธรรมชาติ ผู้ปลูกไม่ต้องใช้ไม้ค้ำยันกิ่งเวลาติดผลดกให้เสียเวลาเหมือนกับมะม่วงสายพันธุ์อื่น   รูปทรงของผลสวย เหมือนกับผลของมะม่วงอกร่องทองพันธุ์ดั้งเดิมทุกอย่าง เพียงแต่ผลของมะม่วง “อกร่องทองเกษตร ๑” จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลืองทองน่าชมยิ่งนัก เนื้อสุกเป็นสีเหลือง รสชาติหวานหอมแบบมะม่วงอกร่องทองหรือมะม่วงอกร่องเขียวที่เป็นเอกลักษณ์มะม่วงไทยทุกอย่าง ซึ่งวัดความหวานได้ประมาณ ๒๔ องศาบริกซ์ มีเสี้ยนน้อย รับประทานกับข้าวเหนียวมูนหรือข้าวสวยข้าวเหนียวร้อนๆ อร่อยมาก

มะม่วง “อกร่องทองเกษตร 1” หรือ MANGIFERA INDICA LINN. อยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงอกร่องทั่วไปทุกอย่าง ผู้ปลูกสามารถตัดแต่งกิ่งเพื่อทำให้ต้นเตี้ยลงได้อีก คือต้นจะสูงเพียง ๓-๕ เมตรเท่านั้น แต่จะไม่ทำให้ผลผลิตต่อต้นลดน้อยลง ยังคงติดผลเป็นพวงและติดผลดกเหมือนเดิมทุกอย่างตามภาพประกอบคอลัมน์ เป็นมะม่วงปีหรือติดผลปีละครั้งตามฤดูกาล เมื่อต้นเตี้ยสามารถดูแลรักษาและเก็บผลได้ง่ายขึ้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง THE BIGGEST FAIR ราคาสอบถามกันเองครับ
  ไทยรัฐ – พฤหัสบดีที่ ๗/๕/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/61701958460940_27_3617_3632_3617_3656_3623_35.jpg)
    มะม่วงตลับนาก
ปัจจุบัน ผู้ปลูกมะม่วงนิยมเสาะหามะม่วงที่เป็นพันธุ์ไทยโบราณไปปลูกกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากแต่ละพันธุ์จะมีรสชาติหวานหอม รับประทานอร่อยเป็นเอกลักษณ์ไทย แตกต่างจากรสชาติของมะม่วงที่เป็นพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศอย่างชัดเจน และ “มะม่วงตลับนาก” เป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งของไทยที่ครองใจผู้ปลูก ผู้รับประทานมายาวนานจนกระทั่งทุกวันนี้

มะม่วงตลับนาก มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือน กับมะม่วงทั่วไปคือ MANGIFERA INDICA LINN. อยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น ใบเป็นใบเดี่ยวออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายยอด ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมน เนื้อใบหนา สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก เป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมรีและแบนเล็กน้อย โหนกและหลังผลนูนสูงอย่างชัดเจน ปลายผลงอนเป็นติ่งแหลมและเป็นจะงอยนิดๆ ผลโตเต็มที่น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ ๔๐๐ กรัมต่อผล หรือประมาณ ๔ ผลต่อ ๑ กิโลกรัม ติดผลเป็นพวง ๗-๑๐ ผล ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลืองดูคล้ายสีของตลับนากในยุคโบราณ จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะดังกล่าวว่า “มะม่วงตลับนาก” และเรียกกันเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ส่วนรสชาติของ “มะม่วงตลับนาก” ขณะดิบจะเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบ สับเป็นฝอยปรุงเป็นยำมะม่วงดีมาก ผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อสุกวัดความหวานได้ประมาณ ๑๔ องศาบริกซ์ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เสี้ยนน้อย เมล็ดไม่ลีบเล็ก ๑ ผล มี ๑ เมล็ด รับประทานผลสุกอร่อยไม่แพ้มะม่วงกินสุกทั่วไป สามารถติดผลได้ปีละ ๒ ครั้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด   มีกิ่งตอนรุ่นใหม่ ขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๑๗  ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกเก็บผลรับประทานในครัวเรือน หรือเก็บผลขายเพื่อความแตกต่างและจำเจคุ้มค่ามากครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – พุธที่ ๔/๓/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/58999324424399_28_3617_3632_3617_3656_3623_35.jpg)
    มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง
มะม่วงชนิดนี้ เกิดจากการเอาเมล็ดของ มะม่วงน้ำดอกไม้พระประแดง เพาะเป็นต้นกล้าแล้วปลูกเลี้ยงจนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่า มีความแปลกจากพันธุ์ดั้งเดิมคือ ขณะผลยังอ่อนได้ ๑-๒ เดือน สีผลจะเป็นสีเขียว แต่พ้น ๑-๒ เดือนไปแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนตลอดทั้งผล และจะเป็นเช่นนี้ไปจนกระทั่งผลแก่หรือสุกสีเหลืองจะเข้มขึ้น ทำให้เวลาติดผลดกทั้งต้นดูสวยงามมาก เนื้อสุกรสชาติหวานหอม เมล็ดบางเสี้ยนน้อย รับประทานอร่อยมาก  ที่สำคัญ สามารถติดผลดกได้ตลอดทั้งปี หรือนิยมเรียกว่าทวายนั่นเอง เจ้าของผู้เพาะเมล็ดคือ พ.อ.อ.สมาน เอมอ่อง เชื่อว่าเป็นมะม่วงกลายพันธุ์ จึงปลูกทดสอบพันธุ์อยู่หลายวิธีและหลายครั้งจนมั่นใจว่าเป็นพันธุ์ใหม่อย่างถาวรแน่นอนแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง” พร้อมจดลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย และขยายพันธุ์ออกวางขายได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกอย่างแพร่หลายและต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน

มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไปทุกอย่าง “ผล” เป็นรูปกลมรีและยาว ทรงผลสวย เมื่อโตเต็มที่แต่ละผลจะมีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๓๐๐-๔๐๐ กรัม ติดผลดกเป็นพวง ๕-๗ ผล ติดผลดกเต็มต้นตลอดทั้งปี ผลเป็นสีเหลืองตั้งแต่ผลเล็กจนกระทั่งผลแก่สุกสวยงามน่าชมยิ่ง เมล็ดลีบบาง เนื้อเยอะ รสชาติหวานหอม ไม่มีเสี้ยน รับประทานอร่อยมาก ตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด  ปัจจุบัน “มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง” มีกิ่งพันธุ์ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน หรือปลูกเพื่อเก็บผลขาย ขุดหลุมกว้างหนึ่งฟุต ลึกเท่ากับปากถุงดำของกิ่งตอนหรือปากกระถาง จากนั้นนำต้นลงปลูกโดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกกลบหน้าดินให้แน่น รดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น พร้อมบำรุงปุ๋ยสม่ำเสมอเดือนละครั้ง เมื่อต้นโตมีดอกและติดผลจะคุ้มค่ามากครับ.  
  นสพ.ไทยรัฐ – อังคารที่ ๑๗/๒/๕๘  

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/16395427410801_29_3617_3632_3617_3656_3623_35.jpg)
    มะม่วงน้ำดอกไม้สีม่วง
มะม่วงชนิดนี้ เกิดจากการพัฒนาพันธุ์ของ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ต.มหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ด้วยวิธีผสมเกสร ระหว่างมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ ๔ ปากน้ำ กับมะม่วงหงจูของไต้หวัน จากนั้นนำเอาเมล็ดที่ได้จากผลสุกหลายเมล็ด ไปเพาะเป็นต้นกล้าปลูกจนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่าผลดกมาก รูปทรงผลเหมือนกับผลมะม่วงน้ำดอกไม้พันธุ์พ่อ ส่วนสีผลไม่เป็นสีเขียว แต่จะเป็นสีม่วงตั้งแต่ติดผลอ่อนขนาดเล็ก กระทั่งผลแก่และสุกคล้ายสีของมะม่วงหงจู ซึ่งเป็นพันธุ์แม่ และสีจะเข้มกว่าอย่างชัดเจน ทำให้ดูสวยงามมาก ทางศูนย์ถ่ายทอดทคโนโลยีการเกษตรฯ ได้ปลูกทดสอบพันธุ์จนมั่นใจว่าเป็นมะม่วงพันธุ์ใหม่อย่างแน่นอนแล้ว จึงตั้งชื่อประจำพันธุ์ว่า “มะม่วงน้ำดอกไม้สีม่วง” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขาย กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้

มะม่วงน้ำดอกไม้สีม่วง มีข้อโดดเด่นคือ ผลเมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๐.๘-๑.๒ กิโลกรัมต่อผล ผลดิบรสเปรี้ยวไม่มากนัก ปอกเปลือกฝานบางๆจิ้มพริกเกลือป่น หรือจิ้มน้ำปลาหวานอร่อยดี ผลสุกหวานหอมเป็นเอกลักษณ์ เมล็ดบางเล็ก เนื้อเหนียวแน่นไม่เละ กินกับข้าวเหนียวมูนหรือข้าวสวยร้อนๆอร่อยได้คุณค่าทางโภชนาการไม่แพ้มะม่วงกินสุกทั่วไปแม้แต่น้อย เป็นมะม่วงติดผลเรื่อยๆเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด  ใครต้องการกิ่งตอนด้วยระบบเสียบยอด ติดต่อศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ต.มหาสวัสดิ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี โทร. ๐๘-๑๘๐๖-๕๕๑๓  และที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – อังคารที่ ๙/๑๒/๕๘  

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/99572007316682_30_3617_3632_3617_3656_3623_35.jpg)
    มะม่วงตะเพียนทอง
มะม่วงตะเพียนทอง เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๒๐ เมตร ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับหนาแน่นช่วงปลายยอด ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน เนื้อใบหนาแข็ง ผิวใบเรียบเป็นมัน สีเขียวสด ใบดกให้ร่มเงาดีมาก  ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบ ด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอมเหมือนกับดอกมะม่วงทั่วไป “ผล” กลมรีและยาว ผลเมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๔๒๓.๓๓ กรัม ต่อผล ติดผลดกเป็นพวง ๒-๓ ผล ผลดิบสีเขียว รสเปรี้ยวจัด ฉ่ำน้ำ กรอบ ผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้มเล็กน้อย เนื้อไม่เละ เหนียวและหนึบ มีเสี้ยนน้อย รสชาติหวานประมาณ ๒๓ องศาบริกซ์ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รับประทานอร่อยทั้งผลดิบและผลสุก เป็นมะม่วงปี หรือติดผลดกปีละครั้งตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

มะม่วงตะเพียนทอง เป็นสายพันธุ์ไทยโบราณที่นิยมปลูกเฉพาะถิ่นทางภาคกลางทั่วไปมาช้านานแล้ว ปลูกมากที่สุดในพื้นที่ จ.นนทบุรี และย่านตลิ่งชัน เขตบางกอกน้อย กทม. โดยในยุคสมัยนั้นมีผลดิบและผลสุกวางขายมากมาย มีผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย  ปัจจุบันมีกิ่งตอนรุ่นใหม่ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน หรือปลูกเพื่อเก็บผลขายเชิงพาณิชย์ คุ้มค่ามากครับ  
  นสพ.ไทยรัฐ – ศุกร์ที่ ๒๐/๓/๕๘


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/56613517055908_EyWwB5WU57MYnKOuXodkp3Z90kfrFO.jpg)
    มะม่วงหงส์หลง
มะม่วงหงส์หลง เป็นพันธุ์จากประเทศไต้หวัน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า ๔-๕ ปีแล้ว สามารถเจริญเติบโตมีดอกและติดผลดกเต็มต้นเป็นพวงได้ดีไม่แพ้การปลูกในประเทศไต้หวันถิ่นกำเนิดเดิมทุกอย่าง ส่วนรสชาติ ผลดิบยังไม่แก่ถึงสุกจะเปรี้ยวจัด ผลสุกเนื้อไม่เละหวานหอมเหมือนกินเนื้อของมะม่วงอกร่องไทยทุกอย่าง รับประทานกับข้าวเหนียวมูน ข้าวเหนียวนึ่งสุกใหม่ๆ และข้าวสวยร้อนๆ  อร่อยมาก เป็นมะม่วงกินสุกที่ได้รับความนิยมปลูกอย่างต่อเนื่อง เพราะติดผลดกปลูกแล้วคุ้มนั่นเอง

มะม่วงหงส์หลง มีชื่อวิทยาศาสตร์และมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไปทุกอย่างคือ MANGIFERA INDICA LINN. อยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE เป็นไม้ยืนต้น ปลูกแล้วตัดแต่งกิ่ง จะสูง ๕-๗ เมตร ใบเดี่ยวออกสลับหนาแน่นส่วนปลายยอด ปลายแหลมโคนมน ปลายใบมักงอขึ้น ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย คล้ายใบมะม่วงอกร่องไทย ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด เป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมรี โตเต็มที่น้ำหนักประมาณ ๖ ขีด ผลดิบสีเขียวรสเปรี้ยวจัด ผลสุกผิวผลตั้งแต่ส่วนหัวลงไปถึงครึ่งผลให้ถูกแดด ไม่ห่อป้องกันแมลงจะเป็นสีแดงคล้ายสีของมะม่วงแก้มแหม่มไทยสวยงามน่าชมยิ่ง รสชาติผลสุกจะหวานหอมและมีเสี้ยนเล็กน้อย รับประทานอร่อยเหมือนกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่องไทยตามที่กล่าวข้างต้น เมล็ดลีบบางให้เนื้อเยอะ และ ที่สำคัญของ “มะม่วงหงส์หลง” คือ เป็นมะม่วงที่สามารถติดผลนอกฤดูกาลได้อีกด้วย และจะติดผลดกเป็นพวงโดยธรรมชาติตามภาพประกอบคอลัมน์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

ปัจจุบัน “มะม่วงหงส์หลง” มีกิ่งตอนด้วยระบบทาบกิ่งขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงตรงกันข้ามกับโครงการ ๑๕ ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลกินในครัวเรือนหรือปลูกหลายๆ ต้นเพื่อเก็บผลขายเชิงพาณิชย์คุ้มค่ามากครับ.



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/67500039562582_1.png)
     มะม่วงพระยาลืมเฝ้า ดกหวานพอดี
มะม่วงชนิดนี้ เป็นพันธุ์ไทยโบราณที่นิยมปลูกเฉพาะถิ่นในแถบภาคกลางมาช้านานแล้ว โดยเฉพาะ จ.นนทบุรี และย่านตลิ่งชัน เขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี กทม. ซึ่งมีเรื่องเล่าว่า เวลามะม่วงดังกล่าวติดผลจะดกเต็มต้นน่าชมยิ่ง ถ้าหากผู้ปลูกไม่มีคนคอยเฝ้าหรือดูแลจะถูกคนขโมยสอยเก็บเอาผลไปจนเกลี้ยงต้น เลยถูกเรียกชื่อว่า “มะม่วงพระยาลืมเฝ้า” ดังกล่าว และถูกเรียกกันเรื่อยมาจนกระทั่งทุกวันนี้

ส่วนรสชาติของเนื้อสุกเท่าที่ได้ทดลองกินปรากฏว่ามีรสหวานหอมใช้ได้ แต่จะไม่ถึงกับหวานจัด หากรับประทานกับข้าวเหนียวมูนจะมีรสชาติหวานได้แบบพอดีเลย เนื้อในผลสุกมีสีสวยไม่เละ ผลดิบผู้ที่เคยกินบอกว่า เนื้อกรอบรสเปรี้ยวปนมันปอกเปลือกแล้วฝานเป็นชิ้นบางๆ จิ้มน้ำปลาหวานหรือพริกเกลือป่นอร่อยมาก
มะม่วงพระยาลืมเฝ้า เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับถี่บริเวณปลายยอด ใบรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน ใบจะคล้ายใบมะม่วงชื่อแม่ลูกดก สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม “ผล” มีรูปทรงใกล้เคียงกับผลของมะม่วงแม่ลูกดก ผลดิบรสเปรี้ยวปนมันหรือเปรี้ยวจัด สมัยก่อนนิยมสับทำยำมะม่วงหรือสับละเอียดเอาไปขยำกับพล่าเนื้อเพิ่มรสเปรี้ยวไม่ต้องใช้น้ำมะนาวรับประทานหอมอร่อยมาก ผลสุกเนื้อเป็นสีเหลืองเข้มมีเสี้ยนน้อย ไม่เละแม้สุกงอม เมล็ดบางและลีบติด

ผลง่ายและติดผลดกตามฤดูกาลทุกปีอย่างสม่ำเสมอแม้ต้นจะมีอายุหลายปีก็ยังคงติดผลดกเหมือนเดิม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีต้นแท้ขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลกินในครัวเรือนหรือเก็บผลขายได้คุ้มค่ามากครับ
  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/208595.jpg)
     มะม่วงผิงกั่วเหวิน หวานกลิ่นน้ำผึ้ง
มะม่วงชนิดนี้ เกิดจากการผสมเกสรโดยธรรมชาติจากแมลง ระหว่าง มะม่วงเออร์วิน กับ มะม่วงเคียสแดง จากประเทศไต้หวัน แล้วนำเอาเมล็ดที่ได้จากทั้ง ๒ ต้น คือ มะม่วงเออร์วิน กับ มะม่วงเคียสแดง จำนวนหลายสิบเมล็ดไปเพาะเป็นต้นกล้าแล้วแยกต้นดีที่สุดไปปลูกเลี้ยงจนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่า เป็นมะม่วงกลายพันธุ์แบบถาวรแล้ว มีลักษณะทรงผลและรสชาติแตกต่างจากมะม่วงเออร์วินกับมะม่วงเคียสแดงอย่างชัดเจน จึงตั้งชื่อว่า “มะม่วงผิงกั่วเหวิน” ดังกล่าว ซึ่งในประเทศไทยมีผู้เอากิ่งพันธุ์มาปลูกและขยายพันธุ์ขายนานหลายปีแล้ว ได้รับความนิยมจากผู้ปลูกและผู้รับประทานเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
มะม่วงผิงกั่วเหวิน มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ติดผลดกแบบเรื่อยๆ เกือบทั้งปี รูปทรงของผลสวย กลมคล้ายผลแอปเปิ้ล มีน้ำหนักเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ระหว่าง ๘ ขีด ถึง ๑ กิโลกรัมต่อผล ผลดิบเป็นสีม่วง เมื่อสุกเป็นสีแดงเข้ม เนื้อในสุกเป็นสีเหลืองอมส้มหรือสีเหลืองทอง ไม่มีกลิ่นเหม็นขี้ไต้เหมือนกับมะม่วงต่างประเทศพันธุ์อื่นๆ ไม่มีเสี้ยน เมล็ดเล็กและบาง รสชาติหวานประมาณ ๑๘-๒๐ องศาบริกซ์ มีกลิ่นหอมอ่อนๆคล้ายกลิ่นน้ำผึ้ง รับประทานอร่อยมาก ที่สำคัญ ผลสุกสามารถเก็บได้นานโดยที่เนื้อสุกจะไม่เละและไม่ช้ำ ผลแก่จัดหากยังไม่เก็บลงจากต้น ปล่อยให้ติดอยู่บนต้นได้นานไม่ร่วงง่าย เวลาติดผลจะเป็นพวง ๓-๕ ผล ดูสวยงามมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด ในประเทศไต้หวันนิยมซื้อผลสุกบรรจุกล่องเป็นของฝากให้เพื่อนฝูงญาติมิตรและนิยมรับประทานอย่างกว้างขวาง นอกจากนั้นยังใช้เป็นผลไม้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามค่านิยมของชาวจีนไต้หวันอีกด้วย ซึ่ง “มะม่วงผิงกั่วเหวิน” ต้นจะสูงเพียง ๓-๔ เมตรเท่านั้น เวลาติดผลดกเต็มต้นจะดูงดงามมาก
  นสพ.ไทยรัฐ

fu.


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 05 กรกฎาคม 2556 18:38:44
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27004957323272_EyWwB5WU57MYnKOuFIwCs3ymJyVROS.jpg)
     มะม่วงมันเปนไทย
มะม่วงชนิดนี้ เจ้าของและผู้ขยายพันธุ์บอกที่มาของสายพันธุ์ว่า เกิดจากการผสมเกสร ระหว่างมะม่วง มันศาลายา กับมะม่วง พิมเสนมันทะวาย จากนั้นเอาเมล็ดจากผลสุกที่ได้ไปเพาะแตกเป็นต้นกล้าปลูกเลี้ยงจนต้นโตมีดอกและติดผลพร้อมกับปลูกทดสอบพันธุ์อยู่นานกว่า ๓ ปี จนมั่นใจว่าเป็นมะม่วงพันธุ์ใหม่แน่นอนแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “มะม่วงมันเปนไท” เนื่องจากมะม่วงพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่เป็นสายพันธุ์ไทยแท้ๆ ทั้ง ๒พันธุ์ ส่วนที่เขียนคำว่า เปนไท เพราะเจ้าของต้องการจะให้พ้องกับชื่อหลานชายที่มีชื่อ เปนไท ดังกล่าว

สำหรับความโดดเด่น ของ “มะม่วงมันเปนไท” ผลอ่อนมีรสชาติเปรี้ยวปนหวานนิดๆ ผลแก่จัดหวานมันกรอบรับประทานเป็นมะม่วงมันหรือฝานเป็นชิ้นบางๆ จิ้มพริกเกลือป่น น้ำปลาหวาน หรือรับประทานเฉยๆได้เลย ผลสุกเนื้อแน่นเหนียวไม่เละ หวานหอมกินกับข้าวเหนียวมูนหรือข้าวสวยร้อนๆ ได้คุณค่าทางโภชนาการไม่แพ้มะม่วงกินสุกสายพันธุ์ดังทั่วไป เมล็ดลีบเล็กให้เนื้อเยอะ รับประทานอร่อยเหมือนกับมะม่วงพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่รวมกัน  ที่สำคัญเป็นมะม่วงที่มีดอกติด ผลดกเป็นพวง ๓-๕ ผล เป็นอย่างต่ำ ติดผลทะวายเกือบทั้งปีโดยไม่ต้องใช้สารเร่ง ผลเมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๒-๔ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม การขยายพันธุ์สามารถทำได้ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง ซึ่ง “มะม่วงมันเปนไท” มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไปทุกอย่าง

ใครต้องการกิ่งตอนด้วยระบบทาบกิ่ง ติดต่อที่ตลาดนัดสนามหลวง ๒ โซน ๑๑ แถว ๗ ล็อก ๑-๓ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เวลาติดผลดกจะคุ้มค่ามากครับ
  นสพ.ไทยรัฐ – พฤหัสบดีที่ ๒๐/๑๑/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/32741464053591_EyWwB5WU57MYnKOuXuXRcRG5sLxzwa.jpg)
     มะม่วงการะเกด พันธุ์ผลดกทั้งปี
ธรรมชาติของ “มะม่วงการะเกด” พันธุ์ดั้งเดิม จะมีดอกและผลตามฤดูกาลปีละครั้ง แต่ในปัจจุบันพบว่ามี “มะม่วงการะเกด” สายพันธุ์ที่มีดอกและติดผลแบบทวายหรือตลอดปีวางขาย โดยผู้ขายกิ่งพันธุ์ยืนยันว่าเป็น “มะม่วงการะเกด” พันธุ์ใหม่เกิดจากการพัฒนาพันธุ์จนทำให้สามารถมีดอกและติดผลแบบทวายหรือทั้งปีได้ ส่วนขนาดของผลและรสชาติยังคงเหมือนเดิมทุกอย่าง กำลังเป็นที่นิยมของผู้ปลูกอยู่ในเวลานี้

มะม่วงการะเกด พันธุ์ทวายหรือมีดอกและติดผลตลอดทั้งปี มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับ “มะม่วงการะเกด” พันธุ์ดั้งเดิมทุกอย่าง คือ เป็นไม้ยืนต้นแต่ไม่สูงนัก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับถี่บริเวณปลายกิ่ง ใบ เป็นรูปรี ปลายแหลม โคนมน เนื้อใบหนา ใบดกและหนาแน่นมาก

ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลืองนวลจำนวนมาก ดอกมีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมรีเล็กน้อย รูปทรงของผลคล้ายกับผลของมะม่วงพันธุ์เบาทั่วไป ติดผลเป็นพวง ๗-๑๐ ผล ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลืองอมส้ม เวลาติดผลดกห้อยเป็นพวงจะดูสวยงามมาก ผลดิบรสชาติเปรี้ยวจัด เนื้อสุกเป็นสีเหลืองส้มหวานหอมไม่มีเสี้ยนรับประทานอร่อยทั้งผลดิบและผลสุก ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักระหว่าง ๓-๔ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม ติดผลดกไม่ขาดต้นตลอดทั้งปีตามที่ผู้ขายกิ่งตอนยืนยัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

ปัจจุบัน “มะม่วงการะเกด” พันธุ์ดกทั้งปีมีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผง หน้าตึกกองอำนวยการเก่า  เป็นกิ่งตอนด้วยระบบเสียบยอด ผู้ขายบอกว่าหลังปลูก ๒ ปี จะติดผลชุดแรกและติดผลเรื่อยๆ ไม่ขาดต้นหรือตลอดทั้งปี ราคาสอบถามกันเองครับ.
 นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30391427088114_Thairath_9122553173241_1_.jpg)
     มะม่วงกิมหงส์   คือเขียวสามรส
“มะม่วงกิมหงส์” ก็คือมะม่วงเขียวสามรส เป็นต้นเดียวกันอย่างแน่นอน โดย “มะม่วงกิมหงส์” มีถิ่นกำเนิดจากประเทศไต้หวัน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยเกือบ ๑๕ ปีแล้ว แรกๆนิยมปลูกในแถบบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. แล้วกระจายปลูกทั่วไป มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ผลใหญ่ น้ำหนักเกือบ ๒ กิโลกรัมต่อผล รสชาติผลดิบและสุกเหมือนกับมะม่วงเขียวเสวยทุกอย่าง จึงเป็นที่มาของชื่อมะม่วงเขียวสามรสดังกล่าว ที่สำคัญ “มะม่วงกิมหงส์” หรือมะม่วงเขียวสามรสสามารถติดผลดกได้อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง เลยทำให้ครองใจผู้ปลูกและผู้รับประทานเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

มะม่วงกิมหงส์ หรือมะม่วงเขียวสามรส เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร ใบออกสลับถี่ช่วงปลายยอด เป็นรูปใบหอกแคบไม่รีกว้างเหมือนใบมะม่วงทั่วไป คล้ายใบมะม่วงเขียวเสวยมาก ซึ่งใบของมะม่วงทุกสายพันธุ์หากเด็ดก้านใบตั้งแต่โคนก้านที่ติดกับกิ่งก้านมาดมกลิ่นดู แต่ละพันธุ์จะมีกลิ่นไม่เหมือนกัน สามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจนเลยว่าเป็นของมะม่วงสายพันธุ์อะไร ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมรี มีหลายรูปทรง แต่ส่วนใหญ่ผลจะเหมือนกับผลของมะม่วงชื่อจีนหวงของไต้หวัน ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักตั้งแต่ ๑.๕-๒ กิโลกรัมขึ้นไป ติดผลดกเป็นพวง ๓-๕ ผล ผลดิบสีเขียวรสเปรี้ยวแต่ไม่เปรี้ยวจัด ผลแก่หรือห่ามหวานปนมัน เนื้อแน่นไม่มีเสี้ยนและไม่แข็ง เนื้อสุกสีเหลืองเหนียวไม่เละแม้สุกงอม รสหวานหอมเหมือนมะม่วงเขียวเสวย เมล็ดบางและเล็ก เนื้อสุกกินกับข้าวเหนียวมูนอร่อยไม่แพ้มะม่วงอกร่องแม้แต่น้อย ๑ ผล สามารถกินได้ ๒ คนอิ่มแบบพอดี ติดผลปีละ ๒ ครั้ง หรือเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด  มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๑๗ ราคาสอบถามกันเองครับ
  ไทยรัฐ


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/205186.jpg)
     มะม่วงงาช้างแดง ผลใหญ่ยาวสวยหวานอร่อย
มะม่วงชนิดนี้ ถูกระบุว่าถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศไต้หวัน จากนั้นได้กระจายพันธุ์ปลูกในเขตร้อนไปทั่วโลก โดยในประเทศไต้หวันนิยมปลูกเก็บผลกินในครัวเรือนและเก็บผลขาย เป็นสินค้าได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่และประเทศอียิปต์มาช้านานแล้ว ซึ่ง “มะม่วงงาช้างแดง” จะมีลักษณะเด่นประจำพันธุ์คือ ผลมีขนาดใหญ่ โตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๓.๕-๔.๒ กิโลกรัมต่อผล รูปทรงของผลสวยงามน่าชมยิ่ง ปลายผลงอนดูเหมือนงาช้าง จึงถูกตั้งชื่อว่า “มะม่วงงาช้างแดง” ดังกล่าว ผลดิบเป็นสีเขียว อมม่วง และจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มตลอดทั้งผลเมื่อผลแก่จัดหรือผลสุก

ผลอ่อนเปรี้ยวเล็กน้อย เมื่อแก่จัดมีรสหวานปนมันเหมือนกับเนื้อของมะม่วงเขียวเสวยทุกอย่าง ผลสุกเนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้ม รสชาติหวานหอมเนื้อไม่เละแม้สุกงอม ไม่มีเสี้ยน วัดความหวานได้ประมาณ ๑๕-๑๘ องศาบริกซ์ ไม่มีกลิ่นขี้ไต้รับประทานอร่อยมาก เมล็ดเล็ก ที่สำคัญผลของ “มะม่วงงาช้างแดง” จะแก่จัดหรือสุกในช่วงที่มะม่วงสายพันธุ์อื่นๆได้วายไปจากตลาดผลไม้แล้ว จึงทำให้ผู้ปลูกสามารถเก็บผลขายได้ราคาแพงและขายดีมาก ติดผลดกเป็นพวง ๕-๗ ผล และติดผลไม่ขาดต้นเกือบทั้งปี ให้ผลผลิต หลังปลูกเพียง ๒-๓ ปีเท่านั้น ต้นสูงเต็มที่ ๒.๕-๓  เมตร แตกกิ่งก้านแผ่ออกทางด้านข้างเป็นพุ่มกว้างโดยธรรมชาติทำให้ผู้ปลูกเก็บผลกินหรือขายได้สะดวกยิ่งขึ้น ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด
  นสพ.ไทยรัฐ


(http://puideedee.com/imageupload/12634/mango%203.jpg)
     มะม่วงเขียวสามรส กับที่มาชื่อใหม่ดกอร่อย
ผมเคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้วว่า “มะม่วงเขียวสามรส” เป็นต้นเดียวกันกับ มะม่วงกิมหงส์ แต่ยังมีผู้อ่านอีกไม่น้อยที่พลาดอ่านข้อมูลดังกล่าวอยากทราบว่าเป็นอย่างไร ซึ่ง “มะม่วงเขียวสามรส” หรือมะม่วงกิมหงส์ มีถิ่นกำเนิดเดิมจากประเทศไต้หวัน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า ๑๕ ปีแล้ว จนกลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยาย โดยในตอนแรกมีปลูกเฉพาะแถบบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม.ต่อมาได้กระจายพันธุ์ปลูกทั่วไป มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ผลมีขนาดใหญ่น้ำหนักเกือบ ๒ กิโลกรัมต่อผล รสชาติขณะดิบและสุกจะหวานมันและปนเปรี้ยวเล็กน้อยคล้ายกับมะม่วงเขียวเสวยทุกอย่าง จึงเป็นที่มาของชื่อว่า “มะม่วงเขียวสามรส” ก็คือมะม่วงกิมหงส์นั่นเอง เป็นมะม่วงติดผลง่ายและติดผลดกมาก ติดผลอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง หรือติดผลทวายเกือบทั้งปี

มะม่วงเขียวสามรส หรือมะม่วงกิมหงส์ เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร ใบออกสลับถี่ช่วงปลายยอด ใบเป็นรูปใบหอกแคบไม่รีกว้างเหมือนใบมะม่วงทั่วไป แต่จะคล้ายกับใบมะม่วงเขียวเสวยมาก ซึ่งใบของมะม่วงทุกสายพันธุ์หากเด็ดก้านใบตั้งแต่โคนก้านใบที่ติดกับกิ่งมาดมกลิ่น แต่ละพันธุ์จะมีกลิ่นต่างกัน สามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจนว่าเป็นมะม่วงสายพันธุ์อะไร และกิ่งก้านใบของ “มะม่วงเขียวสามรส” จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมรี มีหลายรูปทรง ผลโตเต็มที่น้ำหนักตั้งแต่ ๑.๕-๒ กิโลกรัมขึ้นไป ติดผลดกเป็นพวง ๓-๕ ผล ติดผลทวายหรือปีละ ๒ ครั้ง ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด
   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/63639162522223_1.png)
     มะม่วงมะพร้าว กับที่มาพันธุ์ดิบสุกอร่อย
มะม่วงชนิดนี้ มีกิ่งตอนวางขาย มีภาพถ่ายผลจริงติดโชว์ให้ชมด้วย ผู้ขายบอกว่า มะม่วงดังกล่าว มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ประเทศปากีสถาน จากนั้นเกษตรกรชาวไต้หวันได้นำเอาพันธุ์ไปปลูกในประเทศตัวเองเพื่อเก็บผลขายได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย จึงขยายพันธุ์ตอนกิ่งขายให้เกษตรกรชาวไทยนำมาปลูกในประเทศไทยนานกว่า ๕-๖ ปีแล้ว ส่วนชื่อ “มะม่วงมะพร้าว” ผู้ขายระบุว่า ผู้นำเข้าบอกว่าไต้หวันเรียกชื่อนี้เลยเรียกกัน เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน ชื่อจริงๆ จะเป็นอย่างไรผู้ขายตอบไม่ได้

มะม่วงมะพร้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์และมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไปทุกอย่างคือ เป็นไม้ยืนต้น แต่ผู้ขายยืนยันว่าต้นจะไม่สูงใหญ่นัก ประมาณ ๕-๗ เมตรเท่านั้น ใบเดี่ยวออกเวียนสลับถี่ช่วงปลายยอด ใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก ดอกเป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอมเหมือนดอกมะม่วงทั่วไป “ผล” รูปกลมรี ผลมีขนาดใหญ่โตเต็มที่ผู้ขายบอกว่า เท่ากับผลมะพร้าวน้ำหอมทั่วไป ติดผลดกเป็นพวง ๑๐-๑๕ ผล ต้องเด็ดผลอ่อนขนาดเล็กทิ้งบ้าง เนื่องจากติดผลมากเกินไปกิ่งจะต้านทานน้ำหนักไม่ไหวหักเสียหายนั่นเอง เมล็ดเล็กและลีบบาง ผลดิบยังไม่แก่จัดรสมันหวานปนเปรี้ยวเล็กน้อยกรอบเหมือนรสชาติมะม่วงมัน ทั่วไป ผลสุกสีเหลืองน่าชมมาก เนื้อในสุกเหนียวไม่เละและไม่มีเสี้ยน หวานหอม รับประทานอร่อยมาก วัดความหวานเนื้อสุกได้ประมาณ ๑๔-๑๕ องศาบริกซ์ ติดผลดกเต็มต้นตามฤดูกาลปีละครั้ง ผู้ขายกิ่งตอนยืนยันว่าหลังติดผลนับไปอีก ๔-๕เดือนผลจะโตหรือแก่จัดสามารถเก็บผลผลิตรับประทาน และขายได้ราคาดีกิโลกรัมละหลายบาท ขยายพันธุ์ด้วเมล็ดตอนกิ่งทาบกิ่งและเสียบยอด มีกิ่งตอนแท้ ที่ขยายพันธุ์ด้วยระบบทาบกิ่งและเสียบยอดขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ
   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/96553281280729_1.png)
     มะม่วงนนท์ทิพย์ ดิบมันสุกเหมือนอกร่อง
[มะม่วงชนิดนี้ มีกิ่งตอนวางขายมีป้ายชื่อและภาพถ่ายผลจริงจากต้นโชว์ให้ชมด้วย ซึ่งผู้ขายกิ่งตอนอธิบายว่า มะม่วงดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมและนิยมปลูกเฉพาะถิ่นในแถบพื้นที่ จ.นนทบุรี มานานแล้ว ต่อมาจึงได้กระจายพันธุ์ปลูกไปเกือบทุกภาคของประเทศไทย ส่วนที่มาของชื่อ “มะม่วงนนท์ทิพย์” คนขายกิ่งตอนบอกว่าชื่อดั้งเดิมเรียกว่ามะม่วงอะไรไม่รู้ ทราบเพียงว่าผู้ขายกิ่งตอนในยุคแรกๆ หรือเจ้าของพันธุ์เรียกว่า “มะม่วงนนท์ทิพย์” ทำให้ผู้ขายกิ่งตอนในยุคต่อมาพากันเรียกชื่อดังกล่าวตามเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

มะม่วงนนท์ทิพย์ มีชื่อวิทยาศาสตร์และมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไปทุกอย่าง เพียงแต่ “มะม่วงนนท์ทิพย์” จะมีข้อโดดเด่นเป็นพิเศษคือ สามารถมีดอกและติดผลดกเต็มต้นเกือบตลอดทั้งปีหรือที่นิยมเรียกกันว่า ทะวาย นั่นเอง รูปทรงของผลคล้ายคลึงกับผลมะม่วงอกร่องแต่ขนาดผลจะใหญ่กว่ามากอย่างชัดเจน และที่สำคัญถือเป็นข้อดีของ “มะม่วงนนท์ทิพย์” อีกอย่างได้แก่ ผลดิบหรือแก่ยังไม่ถึงสุก รสชาติจะมันปนหวานและเปรี้ยวเล็กน้อยกินเป็นมะม่วงมันเปล่าๆได้เลย หรือจะฝานจิ้มพริกเกลือป่นน้ำปลาหวานก็ได้อร่อยมาก

ผลสุกเนื้อในมีรสหวานหอมเหมือนกับเนื้อสุกของมะม่วงอกร่องทุกอย่าง เมล็ดลีบและบาง จึงให้เนื้อเยอะ เนื้อไม่เละ และไม่มีเสี้ยนเหมือนมะม่วงอกร่อง รับประทานกับข้าวเหนียวนึ่งสุกใหม่ๆ หรือกินกับข้าวเหนียวมูนดีมาก เป็นมะม่วงติดผลดกเป็นพวงเกือบตลอดทั้งปีตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด กำลังเป็นที่นิยมปลูกในเวลานี้ มีกิ่งตอนของแท้ ที่ขยายพันธุ์ด้วยระบบเสียบยอดขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณตรงกันข้ามโครงการ ๑๕ และ ๑๖ เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลกินในครัวเรือนหรือเก็บผลขายได้คุ้มค่ามาก เนื่องจากมีดอกและติดผลเกือบตลอดทั้งปีนั่นเองครับ
   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45585659477445_EyWwB5WU57MYnKOuh6UMmoFhjrehrg.jpg)
     มะม่วงกระสวย สุกอร่อยกับที่มาของชื่อ
มะม่วงชนิดนี้ เป็นพันธุ์โบราณที่นิยมปลูกเฉพาะถิ่นในแถบจังหวัดภาคกลางมาช้านานแล้ว โดยส่วนใหญ่จะปลูกเพื่อเก็บผลกินในครัวเรือนเท่านั้น เนื่องจากรูปทรงของผลดูไม่สวยงามนัก จึงไม่นิยมปลูกเพื่อเก็บผลขายเชิงพาณิชย์ และไม่นิยมปลูกกระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย เช่น มะม่วงพันธุ์ดังๆ ในปัจจุบัน ส่วนรสชาติเฉพาะพันธุ์ ของ “มะม่วงกระสวย” จะหวานหอม รับประทานอร่อยเป็นที่ถูกปากถูกคอของคนในยุคสมัยก่อนมาก

มะม่วงกระสวย มีชื่อวิทยาศาสตร์และมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไปทุกอย่าง คือ อยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูงตั้งแต่ ๑๐-๑๕ เมตรขึ้นไป แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบมีขนาดเล็กคล้ายกับใบของมะม่วงอกร่องมาก สีเขียวสด ใบดกให้ร่มเงาดีมาก

ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีขาวหรือสีขาวนวลออกเหลืองอ่อนๆ ดอกมีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมรีและยาว ทรงผลดูไม่สวยงามนัก คล้ายรูปกระสวยสำหรับทอผ้าบ้านโบราณ จึงเป็นที่มาของชื่อว่า “มะม่วงกระสวย” ดังกล่าว และเรียกกันเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน เมล็ดบางและลีบ ผลดิบสีเขียว เนื้อกรอบเปรี้ยวปนและหวานเล็กน้อย ผลสุกเป็นสีเหลืองอมส้ม อาจมีสีม่วงบ้างเป็นบางผล รสชาติหวานหอม คล้ายเนื้อสุกของมะม่วงอกร่องเขียวทั่วไปทุกอย่าง มีเสี้ยนน้อย สมัยก่อนนิยมกินกับข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆ หรือกินกับข้าวเหนียวมูนอร่อยไม่แพ้มะม่วงอกร่องเขียวแต่อย่างใด ติดผลดกปีละครั้งตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด  ปัจจุบันไม่พบมีกิ่งตอนแท้วางขาย ใครต้องการต้องติดต่อผู้ค้าไม้ผลตามแผงต่างๆ ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ที่เปิดขายเฉพาะไม้ดอกไม้ผลอย่างเดียวทุกวันพุธ-พฤหัสฯ
   นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68261032841271_1.jpg)
     [/มะม่วงจินชิงsize]
มะม่วงชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจากประเทศไต้หวัน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว สามารถเจริญเติบโตมีดอกและติดผลดกโดยธรรมชาติทุกพื้นที่ในบ้านเรา มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ผลมีขนาดใหญ่มาก ผลมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 8–1 กิโลกรัม เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเข้มหรือสีเหลืองอมส้ม เมล็ดเล็กและลีบบาง จึงทำให้ “มะม่วงจินซิง” มีเนื้อเยอะ รสชาติเนื้อสุกหวานหอมไม่มีกลิ่นขี้ไต้เช่นมะม่วงนำเข้าสายพันธุ์อื่น รับประทานอร่อยมาก และที่สำคัญไม่มีเสี้ยนอีกด้วย จึงเป็นที่ต้องการของผู้ปลูกและผู้รับประทานอย่างแพร่หลาย เนื้อสุกสามารถกินกับข้าวเหนียวมูนหรือข้าวสวยร้อนๆ ข้าวเหนียวนึ่งสดใหม่ๆ อร่อยไม่แพ้มะม่วงสุกพันธุ์ดังๆทั่วไปอย่างแน่นอน

มะม่วงจินซิง มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 5-8 เมตร ใบเดี่ยวออกเวียนสลับรอบกิ่งก้านหนาแน่นบริเวณปลายยอด สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอมเย็น “ผล” รูปกลมรี ผลมีขนาดใหญ่ตามที่กล่าวข้างต้น ผลอ่อนเป็นสีเขียว เนื้อรสเปรี้ยวจัด สามารถปอกเปลือกสับเอาเนื้อปรุงเป็นยำชนิดต่างๆรสแซ่บจริงๆ ผลแก่หรือสุกผิวเปลือกผลเป็นสีม่วงตลอดทั้งผล เวลามีผลดก ผลห้อยทั้งต้น จะดูงดงามยิ่งนัก เนื้อสุกรสชาติหวานหอมอร่อยมากตามที่ระบุข้างต้น มีดอกและติดผลดกปีละครั้งตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง ติดตา และเสียบยอด

ใคร ต้องการกิ่งตอนของ “มะม่วงจินซิง” พันธุ์แท้มีจำหน่ายเพียงแห่งเดียวคือ ไปซื้อได้ที่ งานเกษตรแห่งชาติ จัดขึ้นในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กทม. ระหว่างวันที่ 26 ม.ค.–3 ก.พ.61 โซนบี ล็อก 169–170 ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลกินในครัวเรือนหรือเก็บผลขายได้ราคาดี เพราะมีตลาดผลไม้ต้องการ.
    นสพ.ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 16 กรกฎาคม 2556 13:38:51
.


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 16 กรกฎาคม 2556 14:08:17
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49601076626115_1.png)
     สมอไทยจัมโบ้
โดยธรรมชาติของสมอไทยที่พบขึ้นตามป่าทุกภาคของประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า MYROBALAN WOOD, TERMINALIA CHEBULA RETZ. อยู่ในวงศ์ COMBRETACEAE เป็นไม้ต้นสูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปวงรี ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวสด ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีเหลือง “ผล” รูปกลมรีมีสัน ๕ สัน ติดผลเป็นพวง ผลโตเต็มที่ประมาณปลายนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ รสฝาด นิยมรับประทานและใช้เป็นสมุนไพรมาแต่โบราณแล้ว ซึ่งสมอไทยดังกล่าวใช้เวลาปลูกนาน ๗-๘ ปี จึงจะติดผล

ส่วน “สมอไทยจัมโบ้” เป็นพันธุ์ที่ถูกคัดพันธุ์จากสมอไทยทั่วไปด้วยการเสียบยอดและปลูกหลายครั้งหลายทอด จนทำให้ได้ผลขนาดใหญ่ขึ้นถึง ๒ เท่า หรือใหญ่เกือบเท่าไข่ไก่ จึงถูกตั้งชื่อตามขนาดของผลว่า “สมอไทยจัมโบ้” ดังกล่าว และที่สำคัญจะสามารถติดผลหลังปลูกเพียง ๒ ปี เท่านั้น ไม่ต้องใช้เวลานานเหมือนพันธุ์ดั้งเดิม สรรพคุณทางยาของสมอไทยทั่วไป ตำรายาไทยใช้ผลดิบเป็นยาระบาย ขับเสมหะ แก้บิด แก้ไข้ และเป็น ๑ ใน ๓ สูตรยา “ตรีผลา”

เมื่อครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าบัญญัติให้สงฆ์สาวกฉันผลสมอไทยชนิดดองแช่น้ำมูตรโค หรือน้ำมูตรตัวเอง เป็นยาแก้ปวดตามข้อและกระดูก ทำให้แข็งแรง แก้อ่อนเพลียได้ดีมาก ในสรรพคุณแผลง ระบุว่ากินผลสดสมอไทยแก้ไข้เพื่อเสมหะได้ แก้ลมจุกเสียด มีคุณเสมอกันกับผลมะขามป้อมและเกลือสินเธาว์.
   ไทยรัฐ
 

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRGE6dUIWEDg-WH6eqhIuZBY4qp2Yrxsn3KmegptofbIahelgl7)
     มะตูมไทย
มะตูมไทยเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง ๖-๑๐ ม. โคนต้นและกิ่งก้านมีหนามยาวแข็งๆ ทั่วไป เปลือกนอกสีเทาอมขาว เปลือกใน สีเหลือง เรือนยอด รูปเจดีย์ ต่ำหรือรูปไข่ ใบประกอบ ติดเรียงสลับ มีใบย่อยรูปไข่ ๓ ใบ สองใบล่างมีขนาดเล็กและติดตรงข้ามกัน ส่วนใบปลายมีขนาดใหญ่ เนื้อใบบางเกลี้ยง หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีจาง ผิวเกลี้ยง ใบอ่อน สีเขียวอ่อนใสๆ ใบแก่ เขียวหม่นๆ ดอกเล็ก ออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ บริเวณปุ่มปมตามกิ่ง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ สีดอกขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ผล รูปไข่ถึงค่อนข้างกลมป้อม เปลือกสีเขียวอ่อนถึงเหลือง ผิวเรียบและแข็งมาก ภายในมีเนื้อเยื่อสีส้มที่มียางเหนียวๆ เมล็ดรูปรี และแบน เมล็ดจำนวนมาก
 
รากรสฝาดปร่าซ่าขื่นเล็กน้อย แก้พิษฝี แก้พิษไข้ แก้สติเผลอ รักษาน้ำดี แก้หืดหอบไอ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ลมอัดแน่นในอก แก้มุตกิต มุตฆาต แก้เสมหะ แก้ดี แก้ปวดหัวตาลาย แก้สะอึก เปลือกราก แก้ไข้จับสั่น ขับลมในลำไส้ เปลือกต้น แก้ไข้จับสั่น ขับลมในลำไส้ แก้ลงท้อง แก้พยาธิ แก้บิด แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตกโลหิต แก่น แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ใบ รสฝาดปร่าซ่าขื่นมัน แก้ตาเจ็บ แก้เยื่อตาอักเสบ แก้หลอดลมอักเสบ แก้หวัด แก้เลือดเป็นพิษ แก้ไข้ แก้หืด แก้เสมหะเหนียว แก้บวม แก้ลงท้อง ผล แก้ลม แก้เสมหะ แก้โลหิต ขับหนอง แก้สะอึก แก้กระหายน้ำ ขับผายลม ขับเสมหะ หนาม แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ.

 

(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSvRY0xpvQQTqH3y6gH4F2EF6NEJBx8QRGQOUGqCzNLJ9jxpRR3)
    มะตูม
มะตูมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลม ใบโตยาวสีเขียวอ่อน ดอกสีขาวมีกลิ่นหอม ผลกลมโต เปลือกแข็ง เนื้อในมีสีเหลืองนวล ภายในมีเมล็ด มียางหุ้มเป็นเมือกเหนียว มีรสขม พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ผู้คนทางภาคใต้ของไทยนำเปลือกมาขูดเอาผิวออกต้มกับน้ำตาลรับประทานเป็นของหวาน ส่วนเนื้อในเอามาหั่นเป็นแว่นๆ เอาเมล็ดออกเชื่อมกับน้ำตาล เรียกว่ามะตูมเชื่อมรัลประทานเป็นของหวานเช่นกัน

ในตำราการแพทย์แผนไทย จะนำผลตากแห้งนำมาปรุงเป็นยาธาตุ แก้ธาตุพิการ ผลดิบใช้เป็นยาสมาน รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะ แก้ท้องเสีย แก้บิด ผลสุกใช้เป็นยาระบาย แก้โรคไฟธาตุอ่อน แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้ท้องเสีย แก้บิดเรื้อรัง ช่วยย่อยอาหาร แก้ลมเสียดแทงในท้อง แก้มูกเลือด บำรุงธาตุไฟให้ย่อยอาหาร แก้กระหายน้ำ ขับลมผาย เปลือกของรากและลำต้น รักษาไข้จับสั่น ขับลมในลำไส้ ใบสดคั้นเอาน้ำกินแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้ตาบวม แก้เยื่อตาอักเสบเป็นต้น
  ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/81204006738132_EyWwB5WU57MYnKOuFPvomWPXZSlQ3G.jpg)
     มะตูมยักษ์อินเดีย
มะตูม เป็นไม้ผลชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกอย่างกว้างขวางมาแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ดั้งเดิมที่มีผลขนาดเล็ก ผลโตเต็มที่ประมาณกำมือผู้ใหญ่เท่านั้น ทำให้เวลานำผลไปใช้ประโยชน์ได้เนื้อจำนวนน้อยมาก ส่วน “มะตูมยักษ์อินเดีย” มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า ๘ ปีแล้ว

มีข้อโดดเด่นคือ ผลมีขนาดใหญ่มาก ผลเมื่อโตเต็มที่น้ำหนัก ๒-๔ กิโลกรัม หรือเส้นผ่าศูนย์กลางผลเกือบเท่าเส้นผ่าศูนย์กลางของบาตรพระ ที่สำคัญเป็นสายพันธุ์ที่ติดผลดกกระจายสม่ำเสมอทั่วทั้งต้น เนื้อสุกเป็นสีเหลืองทอง เนื้อละเอียด ไม่มีเส้นใยและไม่มียางเหนียว เมล็ดเล็ก รสชาติหวานหอม นำเนื้อไปทำมะตูมเชื่อม จะให้เนื้อเยอะเป็น ๒-๓ เท่าของเนื้อจากผลมะตูมทั่วไปอย่างชัดเจน หากเอาไปทำน้ำมะตูมจะมีกลิ่นหอมรับประทานอร่อยมาก “มะตูมยักษ์อินเดีย” จึงเป็นพันธุ์ที่ปลูกแล้วสามารถนำผลไปใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่าจริงๆ

มะตูมยักษ์อินเดีย มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะตูมทั่วไปทุกอย่าง จะแตกต่างกันที่ขนาดของผลและต้นสูงเพียงแค่ ๓-๕ เมตรเท่านั้น เนื่องจากปลูกด้วยกิ่งตอนที่ขยายพันธุ์ด้วยระบบเสียบยอดและทาบกิ่ง สรรพคุณทางสมุนไพร ผลอ่อนเป็นยาบำรุงธาตุให้เจริญอาหาร ขับผายลม ผลแก่แก้เสมหะและลม บำรุงธาตุไฟ ย่อยอาหารให้ละเอียด ผลสุกกินแก้ลมเสียดแทงในท้อง แก้มูกเลือด รากคั่วไปให้เหลืองดองเหล้าขาวใช้กลบกลิ่นคาวต่างๆ ผลแก่ทั้งผลขูดผิวออกหมดแล้วทุบให้ร้าวหรือแตกต้มกับน้ำใส่น้ำตาลกรวดรับประทานมีรสหวานหอมเป็นยาขับลม บำรุงธาตุดีมาก เรียกน้ำชนิดนี้ว่า “น้ำอัชบาล” .
  ไทยรัฐ
  

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSsguvFvPhdjP2eP8I7fPsJIrHlV5pQ17EVXowVdX62hATw4B8Z)
     มะตูมซาอุ
มะตูมซาอุ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกา ใต้แถบประเทศบราซิล อาร์เจนตินาและปารากวัย เป็นไม้ต้นขนาดเล็กสูงได้ถึง ๑๐ เมตร มีกิ่งก้านมากจนมองไม่เห็นลำต้น ใบอ่อนมีสีแดง ขอบใบมีลักษณะเป็นหนาม ต้นตัวผู้และต้นตัวเมียแยกกันคนละต้น ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ สีขาว ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน ออกดอกได้ทั้งปี แต่พบมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว ผลเมื่ออ่อนมีสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีแดงสดเมื่อแก่ เนื่องจากผลมีสีสวยสดและออกได้ทั้งปี จึงนิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับ ผลเมื่อแก่จัดเปลือกจะแห้งติดเมล็ดคล้ายพริกไทย ชาวอเมริกาใต้ใช้ผลมะตูมซาอุแทนพริกไทย

มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา สารสกัดของมะตูมซาอุช่วยลดการอักเสบ ควบคุมการเต้นของหัวใจ ช่วยรักษาโรคความดันต่ำ แก้ท้องผูก กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อและรักษาบาดแผลลดอาการปวด ทำลายเซลล์มะเร็ง ลดอาการซึมเศร้า ลดอาการชักกระตุก ทำลายเชื้อไวรัส กระตุ้นการย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเสมหะและกระตุ้นการขับประจำเดือน.
  เดลินิวส์


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 กรกฎาคม 2556 17:39:14
.

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQVZj1IefwDzp2iZ3mYFeIhHF48jJF4y8HfwsagbxNPVy_Jq73c)
     ถั่วเขียว
ต้นถั่วเขียวใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดี มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าหญ้าทั่วไป เพราะเป็นพืชตระกูลถั่ว ถั่วเขียวมีปมที่รากซึ่งเปลี่ยนไนโตรเจนในอากาศเป็นปุ๋ยไนเตรทให้แก่ดิน ถั่วเขียวจึงเป็นพืชบำรุงดินใช้เป็นปุ๋ยพืชสดได้ดี ในอดีตชาวนาภาคกลางปลูกถั่วเขียวในนาข้าวก่อนฤดูปลูกข้าว หลังจากเก็บเกี่ยวถั่วเขียวแล้วจึงปลูกข้าวต่อ วิธีนี้จะได้ผลผลิตถั่วเขียวเพิ่มเติม ถั่วเขียวมีคุณสมบัติพิเศษคือ ใช้น้ำน้อยทนแล้งได้ดี เมล็ดงอกและเติบโตเร็ว ใบกว้างช่วยควบคุมวัชพืชได้ดี ชาวนาไทยบางคนนำถั่วเขียวมาใช้ในแปลงนาระบบเกษตรกรรมธรรมชาติที่ไม่ไถพรวน ไม่กำจัดวัชพืช ไม่ใส่ปุ๋ย และไม่กำจัดแมลง
 
วิธีการทำ โดยหว่านเมล็ดข้าวกับเมล็ดถั่วเขียวไปพร้อมกันในแปลงนาเดียวกัน ถั่วเขียวจะช่วยบำรุงดินและป้องกันวัชพืช เมื่อถั่วเขียวโตเต็มที่แล้ว จะเก็บกักน้ำให้ท่วมผิวดิน ถั่วเขียวก็จะเน่าตายกลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติ ข้าวจะเติบโตสมบูรณ์ต่อไป ถั่วเขียวจึงนับเป็นถั่วสารพัดประโยชน์ของชาวไทยชนิดหนึ่งที่ราคาไม่แพงหาง่ายคุณค่าสูง..



(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT6-mg97X1Vux0dcDELZtcF5LfueCyti0W78_d1N1GXnVJQvO7rIQ)
     งา
คำว่า งา ในทางพฤกษศาสตร์ หมายถึงชื่อไม้ล้มลุกชนิด Sesamum orientale L. ในวงศ์ Pedaliaceae ผลเป็นฝัก มีเมล็ดเล็กๆ สีขาวหรือดํา ใช้ประกอบอาหารหรือสกัดนํ้ามัน  หลายคนอาจเข้าใจว่างาเป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยตามธรรมชาติ แต่ความจริงแล้วงาเป็นพรรณไม้ต่างประเทศ มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา มีการนำไปปลูกเพื่อใช้เมล็ดเป็นอาหารในสหรัฐอเมริกาและประเทศในทวีปเอเชียทั่วไป ประเทศไทยนำงาเข้ามาปลูกทั่วทุกภาค

นอกจากงาจะมีประโยชน์ดังที่กล่าวมาแล้ว  น้ำมันงายังเป็นตัวทำละลายของสารที่สกัดได้จากดอกไพเรทรัม (pyrethrum) เพื่อทำยาฆ่าแมลง คณะกรรมการจัดทำอนุกรมวิธานพืช ราชบัณฑิตย สถาน ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ในคำ งา ว่า ในเมล็ดงามีน้ำมันร้อยละ ๔๕-๕๕ ประกอบด้วยกรดไขมัน และสารเซซามอล (sesamol) และดี-เซซามิน (d-sesamin)  โดยสารทั้ง ๒ ชนิดนี้มีสมบัติในการเสริมฤทธิ์ของ ไพรีทริน (pyrethrin) ซึ่งเป็นสารที่พบในดอกไพเรทรัม ทำให้มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลงดีขึ้นเป็น ๒ เท่า  จึงมีการนำน้ำมันงาไปเป็นตัวทำละลายในการสกัดสารไพเรทริน
  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRGf98utfe3PXRPuk9NizbRYOPyUoTlC2xMnGleMdhj4ZbsCkRk)
     ลูกเดือย
ใคร ที่มีอาการเดินแล้วรู้สึกปวดที่บริเวณหัวเข่า แต่เพิ่งเริ่มมีอาการไม่รุนแรงถึงขั้นกระดูกเสื่อม เป็นแบบชนิดเป็นๆหายๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายมีวิธีแก้ตามสูตรโบราณคือให้เอา “ลูกเดือย” ๒-๓ ช้อนชา กับ “เท้าไก่” สด ตั้งแต่ข้อล่างลงไปจำนวน ๔ เท้า ต้มกับน้ำ กะจำนวนพอประมาณจนเดือด กินทั้งน้ำและเนื้อวันละครั้งและทำกินได้เรื่อยๆ จะสังเกตได้ว่าอาการเดินแล้วปวดบริเวณหัวเข่าจะค่อยๆดีขึ้นและหายได้

ลูกเดือย หรือ COIX LACHYMA–JOBI LINN. อยู่ในวงศ์  GRAMINEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นคล้ายต้นข้าวโพด นิยมปลูกเก็บเมล็ดกินในครัวเรือนและขายมาแต่โบราณแล้ว มีประโยชน์ต่อร่างกายเยอะ มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหารสูง เหมาะสำหรับเป็นอาหารเสริมโปรตีนอุดมด้วยแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส รักษาโรคบวมน้ำ แน่นหน้าอก กล้ามเนื้อตึง ปวดเส้นประสาท
  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/47190894269280_43_3621_3641_3585_3648_3604_36.jpg)
    ลูกเดือย
อาการตกขาวในสตรี เป็นกันเยอะ แต่ไม่ใช่เป็นเพราะติดเชื้อ ในทางสมุนไพร ให้เอา “ลูกเดือย” แห้ง มีขายทั่วไปหนักครึ่งกิโลกรัม ล้างน้ำให้สะอาดต้มกับน้ำจำนวน ๒ ลิตร จนเดือดให้ “ลูกเดือย” สุกจนได้ที่เอาเฉพาะน้ำกินเช้า กลางวัน เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ครั้งละ ๑ แก้ว ต้มกินเรื่อยๆ จนยาจืดแล้วเอา “ลูกเดือย” ต้มใหม่กินต่อตามที่กล่าวข้างต้น อาการจะดีขึ้นและหายได้ เมื่อหายแล้วหยุดต้มกินได้ไม่อันตรายอะไร

ลูกเดือย หรือ COIX LACHYMA JOBI LINN. อยู่ในวงศ์ GRAMINEAE ประโยชน์ มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหารสูงเหมาะสำหรับเป็นอาหารเสริมที่อุดมด้วยธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส สามารถรักษาโรคบวมน้ำ โรคแน่นหน้าอก กล้ามเนื้อตึง และ ปวดเส้นประสาทได้ดีมาก
  นสพ.ไทยรัฐ – อังคารที่ ๒๐/๑/๕๘
 

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/3c/CashewSnack.jpg/220px-CashewSnack.jpg)
     เมล็ดมะม่วงหิมพานต์
มะม่วงหิมพานต์ ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วไปในภาคใต้ และมีการบริโภคในรูปแบบต่างๆ มาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่ยอดอ่อนเป็นผัก ผลเป็นผลไม้ และเมล็ดเป็นของขบเคี้ยว มีบันทึกในเอกสารหลายฉบับระบุว่าแพทย์ในอินเดียใช้เมล็ดเลี้ยงเด็กทารกที่อายุเกิน ๖ ขวบ เพื่อช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้เร็วและแข็งแรง เม็ดมะม่วงหิมพานต์อุดมไปด้วยธาตุทองแดง จึงช่วยบำรุงเส้นผมและผิวหนังได้เป็นอย่างดี

สรรพคุณเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ในทางการแพทย์แผนไทยระบุว่าจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะมีแมกนีเซียมสูง โดยแร่ธาตุชนิดนี้จะช่วยในการทำงานของหัวใจ มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นพลังงาน ช่วยป้องกันอาการหมดเรี่ยวแรงได้เป็นอย่างดีช่วยป้องกันโรคฟันผุ บรรเทาอาการเสียวฟัน หรือปวดฟันได้ เนื่องจากมีกรดอนาร์ดิก ที่มีคุณสมบัติในการช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของโรคฟันผุนั่นเอง.
 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRknuacz50LWrCLJK1kWvaleoxR74dYHBFFAF97jxWJFwygE-Ca)
     ผลหม่อน
สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้นำผลหม่อนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ด้วยผลหม่อนอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ อาทิ กรดโฟลิก และพบสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แอนโทไซยานิน เควอซิติน ที่มีส่วนลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในผลหม่อนด้วย สำหรับผลหม่อนนั้น คนไทยเมื่อครั้งอดีตได้ใช้ต้มกินทั้งเนื้อและน้ำเพื่อแก้โรคไขข้ออักเสบ ท้องผูก โลหิตจาง และขับเสมห   นสพ.เดลินิวส์

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR-Y2BfF2X1SbZ5H2vutGcIgA-Ifcod3gIadLxv5LGuiSH2ZyqLRA)
     มอลต์
ประโยชน์จากมอลต์ มอลต์สกัดจากเมล็ดข้าวบาร์เลย์ขณะกำลังแทงยอดและรากอ่อน ซึ่งเป็นช่วงที่เมล็ดข้าวอุดมด้วยสารอาหาร มีเอนไซม์อะไมเลสที่เปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล หรือย่อยคาร์โบไฮเดรตให้เป็นน้ำตาลกลูโคสที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ง่าย และยังมีน้ำตาลมอลโตส ที่ร่างกายจะดูดซึมช้าๆ ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานต่อเนื่อง ช่วยให้เซลล์ในร่างกายทำงานได้อย่างสมดุล ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ขึ้น ๆ ลง ๆ มอลต์ยังให้กากใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร  มอลต์ยังให้วิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญมากมาย ได้แก่ โปรตีนที่เสริมสร้างการเติบโต แคลเซียมที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก วิตามินเอบำรุงสายตา วิตามินซีอาหารผิวและเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย และมีวิตามินบีหลายชนิด ทั้ง บี ๑,๒,๕,๖,๑๒ เป็นสารอาหารจำเป็นในการทำงานของระบบประสาท บำรุงสุขภาพผิว ผม สายตา ตับ   นสพ.เดลินิวส์


     ผลหม่อน
  นสพ.เดลินิวส์


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 กรกฎาคม 2556 18:24:43
.

(http://g2.s1sf.com/3/12/org/119/2392034.jpg)
จาก
คนส่วนใหญ่ จะรู้จักเฉพาะลูกจากที่ทำสำเร็จวางขายคู่กับน้ำแข็งไสใส่น้ำเชื่อมเพิ่มน้ำแดงและนมสดราดลงไป รับประทานช่วงฤดูร้อนหวานอร่อยชื่นใจดีมาก แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าต้น “จาก” เป็นอย่างไร และมีประโยชน์อื่นอีกมากมายคือ ผลอ่อนผ่าเอาเนื้อในมีลักษณะเหมือนลูกชิดจีนกินเป็นผักใช้แกงจืดได้ ส่วนหัวของผลอ่อนมีรสหวานกินได้เช่นกัน แต่ถ้าแก่จัดรสชาติจะฝาดกินไม่ได้ หากนำเนื้อในผลไปเชื่อมให้มีรสหวานนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย เรียกว่า “ลูกจาก” เหมือนลูกชิดจีนทุกอย่าง ทำให้บางคนเข้าใจผิดเรียก “ลูกจาก” เป็นลูกชิดก็มี ใบอ่อนที่แทงขึ้นจากหน่อลอกตากแดดใช้มวนบุหรี่สูบได้ เรียกว่าบุหรี่ใบจาก สมัยก่อนนิยมกันมาก ใบแก่ตัดเย็บติดกันเป็นตับๆ ใช้มุงหลังคาบ้านดีมาก งวงหรือจั่นต้น “จาก” ตัดแล้วใช้ภาชนะรองเอาน้ำหวาน เรียกว่า “น้ำตาลจาก” งวงหรือจั่นจาก ทุบให้แตกเป็นฝอยๆ ทำเป็น แส้ปัดยุงหรือแมลงวัน สะโพกจาก (กาบใหญ่) ตากแห้งเป็นฟืนจุดไฟแรงและดีมาก

จาก หรือ NIPA FRUTICANS, WURMB อยู่ในวงศ์ PALMAE เป็นไม้ยืนต้น มีลำต้นหรือเหง้าใต้ดิน แตกต้นเป็นกอใหญ่ ก้านใบโผล่ขึ้นเหนือดิน ใบเป็นใบประกอบแบนขนนก ออกตรงกันข้ามเหมือนกับใบมะพร้าว ใต้ใบมีปื้นสีขาวนวลคล้ายแป้ง เป็นไม้ชอบขึ้นตามริมแม่น้ำลำคลองที่มีน้ำทะเลท่วมถึงหรือที่ลุ่มใกล้ทะเลและป่าชายเลน ดอกออกเป็นช่อ ดอกตัวผู้เป็นสีเหลือง มีก้านดอกยาวสีน้ำตาล ดอกตัวเมียเป็นช่อกลม ก้านช่อดอกสั้น “ผล” เป็นทะลายขนาดใหญ่ เป็นผลรวมมีผลย่อยจำนวนมากเรียงกันหนาแน่น รูปทรงกลม ก้านผลมีหนามแหลมสั้น ผลย่อยเมื่อแก่จัดเปลือกเป็นสีน้ำตาลชัดเจน เนื้อในผลเป็นสีขาวเรียกว่า “ลูกจาก” นำไปเชื่อมรสชาติหวานรับประทานอร่อยมาก ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ ทางสมุนไพร ใบปรุงเป็นยาแก้ลมต่างๆ ขับเสมหะดับพิษทั้งปวง น้ำตาลจาก สมานริดสีดวงทวารได้ เคยมีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ปัจจุบันไม่พบแล้วครับ.
...นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTjDsSXPKtgQQtp3chG9G9RYYG7n3xVzJqs5Aod5vmP_KZWvh5p)
     ต๋าว
ต๋าวเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ ปาล์มเช่นเดียวกับตาลและมะพร้าว พบมากในป่าดิบชื้น เช่น ที่ป่าลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดน่าน ลำต้นตรงใหญ่กว่าต้นตาล ไม่แตกหน่อ ใบเป็นแฉกคล้ายใบมะพร้าวแต่ใหญ่กว่า ดอกเป็นดอกช่อ แยกตัวผู้ตัวเมีย ช่อดอกตัวผู้ออกได้หลายครั้ง แต่ช่อดอกตัวเมียออกเพียงครั้งเดียว ออกผลเพียงครั้งเดียวก็ตาย ผลเป็นพวงทะลายมีผลติดอยู่มากมาย เป็นพูตื้นสามพู เมื่ออ่อนสีเขียว พอแก่เป็นสีเหลืองแดงและน้ำตาล ไม่มีก้านผล โดยกลีบเลี้ยงติดกับช่อดอกโดยตรง และติดทนจนเป็นผล
 
ในอินเดียปาดเอาน้ำหวานไปทำน้ำตาลและหมักเป็นน้ำส้มสายชู ทางภาคใต้ของไทยนิยมทำน้ำตาลจากต้นต๋าวเช่นกัน ชาวชวาและบาหลีนิยมใช้ใบมุงหลังคา ในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์รับประทานผลทั้งผลดิบและนำไปเชื่อมในประเทศไทยนำใบมุงหลังคา กั้นฝาบ้าน ก้านใบทำไม้กวาด เส้นใยของลำต้นใช้ทำแปรง ยอดอ่อนนำมาทำอาหารได้เช่นเดียวกับหน่อไม้ หรือนำไปดองแบบหน่อไม้ดองก็ได้ ผลต๋าวใช้ทำลูกชิดโดยต้องนำไปต้มในน้ำเดือดจนนิ่ม นำมาปาดหัวให้เห็นเนื้อในแล้วบีบเอาลูกข้างในออกมา แล้วนำไปแช่น้ำ เปลี่ยนน้ำบ่อยๆ จนเป็นสีขาว นำไปต้มแล้วแช่น้ำเชื่อมไว้อีก ๑ คืน จากนั้นนำไปทำเป็นลูกชิดปี๊บ ลูกชิดกระป๋อง ลูกชิดอบแห้ง ซึ่งจะนำไปทำขนมได้หลายชนิด เช่น ใส่ในไอศกรีม หวานเย็น รวมมิตร..


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQjADU25H84NPn8HVGBl6EAnpo-Zt3MLmLjsnZXvVRXKXrdrLpwhw)
     ลูกต๋าว
ลูกต๋าวมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยลูกต๋าว ๑๐๐ กรัม จะมีใยอาหารสูงถึง ๘.๕๙ กรัม เป็นใยอาหารที่ละลายน้ำ ๖.๖๑ กรัมและใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ ๑.๙๘ กรัม นับว่ามีปริมาณใยอาหารสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับพืชตระกูลปาล์มชนิดอื่นๆ  เช่น มะพร้าว ตาล  และสละ เป็นใยอาหารที่ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย และมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด เช่น โรคอ้วน โรคนิ่ว โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคเบาหวาน เป็นต้น.     นสพ.เดลินิวส์

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSizWf_3zl6Bfn5V8JRrKak-FB-IJxRu_vnQmfThYt5J5BnyNlq)
     จาวตาล
จาวตาลเกิดจากผลแก่จัดของต้นตาลตัวเมีย เมื่อหล่นลงมาชาวบ้านจะเก็บรวบรวมกองไว้ ต่อมาเมล็ดตาลจะแทงส่วนที่คล้ายรากงอกออกมาลงสู่พื้นดิน เรียกว่า งอกตาล ส่วนปลายของงอกตาลมีคัพภะที่จะกลายเป็นต้นอ่อนของต้นตาลซึ่งจะเจริญเติบโตขึ้นและค่อย ๆ แทงยอดขึ้นมาตาม “งอกตาล” จนโผล่พ้นดินและเจริญเติบโตเป็นต้นตาลต่อไป  งอกตาลนั้นไม่ใช่ราก แต่ทำหน้าที่ส่งคัพภะลงไปในดินและต่อมาทำหน้าที่เป็นปลอกหุ้มยอดอ่อน แล้วก็เปื่อยสลายไป ส่วนรากที่แท้จริงจะออกจากฐานต้นอ่อนที่เจริญมาจากส่วนปลายของ “งอกตาล” ต้นอ่อนของตาลมีลักษณะและขนาดพอ ๆ กับหอมแดงหัวโต ๆ  รากแบบเดียวกับรากหัวหอม ต้นอ่อนจะอยู่ลึกลงไปในดิน จึงมักไม่มีใครเห็น จาวตาลนิยมนำไปเชื่อมรับประทานเป็นของหวาน  ๒ แบบคือ เชื่อมเปียก จาวตาลจะฉ่ำน้ำตาล หรือเชื่อมแห้ง จาวตาลจะมีเกล็ดน้ำตาลจับแข็ง หรือนำลูกตาลสุกมายีเนื้อสีเหลืองแล้วผสมกับแป้งข้าวเจ้าตากแดด เติมน้ำตาล นำมาใส่ห่อใบตองแล้วนึ่งให้สุก ก็จะได้ขนมเนื้อนุ่มฟูคล้ายขนมเค้ก เรียกว่า ขนมตาล.

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR3YVN8y4PGJrAw9Un9ylHVyITtJeYo7gvRcOrXcu9mvc9hCo0JHA)
     ลูกท้อ
อดีตประเทศไทยมีท้อป่าขึ้นอยู่ในพื้นที่บนดอยของภาคเหนือจำนวนมาก ซึ่งเป็นพันธุ์ท้อป่า หรือ ท้อพื้นเมือง  ที่ชาวเขา และชาวจีนฮ่อนำเข้ามาจากทางตอนใต้ของประเทศจีน ต่อมาทางโครงการหลวง ได้นำท้อพันธุ์ดี เข้ามาทดลองปลูก และพัฒนาพันธุ์จนประสบความสำเร็จ และสามารถปลูกได้ในพื้นที่กว้างขวาง และขยายผลสู่การเพาะปลูกของราษฎรชาวไทยภูเขาพื้นที่ภาคเหนือเพื่อลดพื้นที่ปลูกฝิ่น ท้อพันธุ์นี้จะมีผลใหญ่ เนื้อมาก หวานฉ่ำ ใช้รับประทานสด ฤดูที่ลูกท้อสุกจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม โดยหลังจากปลูก ๓ ปีจะเริ่มให้ผลผลิต ท้อจะออกดอกตอนปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาว และให้ผลในระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคม และจะให้ผลผลิตไปจนถึงอายุไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี
 
ในลูกท้อ มีวิตามินเอบำรุงสายตา วิตามินซีป้องกันโรคหวัด โรคเลือดออกตามไรฟัน แคลเซียมและฟอสฟอรัสช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน เมล็ด ใช้แก้ไอ บำรุงโลหิต ช่วยให้ลำไส้และหัวใจทำงานเป็นปกติ ดอก กินเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ใบ ช่วยขับพยาธิ.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92260222716463_1.png)
     ยางเครพ
ยางเครพ เป็นยางที่ได้จากการนำเศษยางไปรีดด้วยเครื่องรีดยางเครพสองลูกกลิ้ง โดยใช้น้ำทำความสะอาดในระหว่างรีด เนื่อง จากยางมีสิ่งสกปรกเจือปนค่อนข้างมาก เพราะเป็นเศษยางก้นถ้วย เศษยางที่ติดบนเปลือกไม้หรือติดบนดิน เป็นต้น หลังจากรีดแล้วไปผึ่งแห้ง หรืออบแห้งด้วยลมร้อน ยางเครพที่ได้จะมีสีค่อนข้างเข้ม ในประเทศไทย พื้นที่ภาคอีสาน และภาคเหนือที่ปลูกยางพาราเกษตรกรรายย่อยจะผลิตยางเพื่อผลิตเป็นยางเครพมาก ส่วนหนึ่งมาจากการกรีดยางในแต่ละสวนจะได้น้ำยางในปริมาณน้อยไม่คุ้มกับการทำยางแผ่น หรือนำน้ำยางไปจำหน่าย จึงผลิตยางก้นถ้วยเป็นส่วนใหญ่

(http://research.rae.mju.ac.th/raebase/images/stories/knowlege/11-52/11-2.jpg)
     เคพกูสเบอรี่
เคพกูสเบอรี่ เป็นไม้ผลขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดจากประเทศในแถบอเมริกาใต้ เช่น ประเทศเปรู ชิลี และประเทศบราซิล เป็นต้น มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า PHYSALIS PERUVIANAL. อยู่ในวงศ์ SOLANACEAE เป็นไม้เนื้ออ่อนอายุข้ามปี สูงประมาณ ๑.๐๘ เมตร แตกกิ่งก้านกระจายเป็นพุ่ม ใบเดี่ยว รูปรีกว้างคล้ายรูปหัวใจ ใบค่อนข้างอ่อนนุ่ม ยาวประมาณ ๖-๑๕ ซม.

ดอก ออกบริเวณข้อกิ่ง มีกลีบเลี้ยง ๕ กลีบ กลีบดอกเป็นสีเหลืองเข้ม มีแต้มสีน้ำตาลอมม่วง ๕ จุด บริเวณโคนกลีบสวยงามมาก ภายหลังกลีบดอกร่วง กลีบเลี้ยงสีเขียวจะทำหน้าที่หุ้มผลไว้ภายในเหมือนรก จากนั้น ๗๐-๘๐ วัน กลีบเลี้ยงดังกล่าวจะเปลี่ยนเป็นสีฟางแห้ง ผลที่อยู่ภายในเมื่อสุกเป็นสีเหลืองทอง สามารถเก็บผลรับประทานหรือใช้ประโยชน์ได้ ผลรูปกลมเกลี้ยง โตเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ นิ้วฟุต เนื้อผลฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยวนิดๆ คล้ายรสชาติสับปะรดบวกรสชาติมะเขือเทศ หรือ รสชาติมะเขือเทศบวกรสชาติองุ่น และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รับประทานอร่อยมาก ภายในผลมีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วย เมล็ด ปักชำกิ่ง ซึ่ง “เคพกูสเบอรี่” เป็นพืชในตระกูลเดียวกับ พริก มะเขือเทศ มันฝรั่ง คนไทยชอบเรียกชื่อว่า “โทงเทงฝรั่ง” เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับต้นโทงเทงที่เป็นวัชพืชในบ้านเรา จะมีปลูกเฉพาะโครงการหลวง และ ชาวเขาบนดอยสูงทางภาคเหนือ เพื่อเก็บผลจำหน่ายตามศูนย์การค้าใหญ่ๆ ไม่กี่แห่งเท่านั้น ยังไม่พบมีต้นพันธุ์ขายที่ไหน

ปัจจุบัน เพิ่งพบว่ามีผู้นำเอาผลของ “เคพกูสเบอรี่” วางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณ แผง “คุณวิรัช” หน้าธนาคารออมสิน ราคาสอบถามกันเอง ส่วนประโยชน์ กินผลสุกมีวิตามินซีป้องกันไข้หวัด วิตามินเอช่วยบำรุงสายตา แปรรูปทำแยม ซอส พุดดิ้งกวน ทำพาย น้ำผลไม้ปั่น สลัดผักรวมอร่อยมากครับ.
  ไทยรัฐ -ศุกร์ที่ ๘/๓/๕๖

เคพกูสเบอรี่ เป็นไม้ผลขนาดเล็ก รสชาติเปรี้ยวอมหวาน กลิ่นหอม มีถิ่นกำเนิดจากประเทศบราซิล เป็นพืชตระกูลเดียวกับพริก มะเขือ มะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ พิทูเนีย มีชื่อภาษาไทยว่า “โทง เทงฝรั่ง” เนื่องจากมีลักษณะเหมือนกับต้นโทงเทงที่เป็นวัชพืช ต่อมามีการเรียกชื่อใหม่ คือ “ระฆังทอง”เคพกูสเบอรี่อุดมด้วยวิตามินซี ช่วยป้องกันไข้หวัด, วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา เหมาะสำหรับการรับประทานผลสด ชุบช็อก โกแลต จุ่มน้ำผึ้ง ใส่ในสลัด ทำน้ำผลไม้ หรือนำไปทำเป็นแยมก็ได้

ประเทศไทยมีปลูกมากที่แปลงของเกษตรกรชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง บ้านขุนกลาง ดอยอินทนนท์ เป็นพันธุ์ที่ทางราชการไทยส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นพันธุ์ที่ทรงพุ่มมีความสูงประมาณ ๑.๒๐ เมตร กว้างประมาณ ๑.๕๐ เมตร ผลมีขนาดใหญ่รูปทรงกลมสามารถปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีความสูง ๗๐๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ลักษณะดอกเมื่อผลสุก กลีบเลี้ยงหุ้มผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองฟางข้าวฤดูกาลเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ลักษณะเนื้อด้านในสีเหลืองสวยฉ่ำน่ารับประทาน.
ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTf-Zu2xQsMIbOSUq3LxpMheDlOiIsV6OpD6Kl8z2uh2QA211Hh)
     เคพกูสเบอรี่
เคพกูสเบอรี่ เป็นไม้ผลเขตหนาวที่มูลนิธิโครงการหลวงนำเข้ามาจากต่างประเทศ ทำการทดลองปลูกและขยายพันธุ์ให้แก่เกษตรกรชาวไทยภูเขา ตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ มีลักษณะลำต้นค่อนข้างอวบน้ำ ในระยะต้นกล้าจะมีใบคล้ายใบมะเขือเทศ เมื่อโตเต็มที่ใบจะคล้ายใบพลูมีขนอ่อนและนิ่มดอกเป็นดอกเดี่ยวเกิดตรงซอกใบที่เป็นข้อ เมื่อดอกเริ่มตูมจะเกิดเป็นยอดใหม่และเกิดตาดอกใหม่ได้อีก ดอกจะคว่ำลงเมื่อดอกบานโคนกลีบดอกเป็นสีม่วง ปลายกลีบเป็นสีเหลืองผลถูกห่อหุ้มด้วยกลีบเลี้ยง เมื่อแก่เต็มที่ผลสีเหลือง ทรงผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑-๑.๕ เซนติเมตร ระยะเวลาตั้งแต่ติดผลจนถึงผลสุกประมาณ ๓ เดือนแล้วเก็บผลผลิตต่อเนื่องไปเป็นเวลา ๓ เดือน ผลผลิตใช้รับประทานผลสด สามารถปลูกเป็นพืชเสริมได้ในระยะสั้น เนื่องจากเป็นพืชฤดูเดียว ปลูกง่ายไม่ต้องดูแลรักษามากนัก

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ เป็นศูนย์หนึ่งของมูลนิธิโครงการหลวงที่มีนายสังขกร แก้วทรงเกษ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ทำการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเคพกูสเบอรี่อินทรีย์ โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น ใช้วิธีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และสารอินทรีย์ทุกชนิดที่เป็นผลิตภัณฑ์ของกรมพัฒนาที่ดิน ส่งผลให้ได้ผลผลิตเคพกูสเบอรี่ที่ดี มีปริมาณต่อต้นมาก ผลใหญ่สีเหลืองสวยงาม ผู้บริโภคมีความมั่นใจว่าไม่มีสารเคมีและเป็นผลผลิตอินทรีย์ที่ผ่านการตรวจสอบในระยะที่อยู่ในแปลงปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต เคพกูสเบอรี่กำลังเป็นที่สนใจของกลุ่มผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพเป็นอย่างมาก สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ๐-๕๓๒๑-๕๙๘๑-๖๕๗๘
 ที่มา หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ1O018mtb4kxsc3KlwS9n2leVopXF00JY1LZ7qYrrbQ7jE4q2mIw)
     มัลเบอร์รี่ยอดนิยม  ผลหวานหอมอร่อย
มัลเบอร์รี่ หรือ หม่อน ที่ได้รับความนิยมปลูกอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน มีด้วยกัน ๒ ชนิด คือ “ไวท์มัลเบอร์รี่” หรือ MORUS MACROURA มีถิ่นกำเนิดจากประเทศ บังกลาเทศ ต้นสูง ๒.๕-๓ เมตร ติดผลดก ผลมีขนาดใหญ่และยาวกว่าผลของหม่อนหรือ “มัลเบอร์รี่” พื้นเมืองอย่างชัดเจน ซึ่งผลอ่อน ของ “ไวท์มัลเบอร์รี่” เป็นสีเขียว รสชาติหวานเล็กน้อย ไม่เปรี้ยว ผลมีขนาดใหญ่คือ ยาว ๘-๑๐ ซม. เมื่อสุกเป็นสีขาวอมเหลือง รสชาติหวานจัดมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นน้ำผึ้งรับประทานอร่อยมาก สามารถปลูกในบ้านเราได้ดี ปลูกลงกระถางติดผลได้ หากปลูกลงดินควรให้น้ำน้อยจะติดผลไม่ขาดต้น

อีกชนิดหนึ่ง คือ “มัลเบอร์รี่ลูกผสม” เคที ๑ หรือ MORUS HYBRID นำเข้าจาก ประเทศไต้หวัน ปลูกเติบโตได้ดีในสภาพอากาศบ้านเรา เป็นพันธุ์ที่มีต้นแคระ สูงเต็มที่ไม่เกิน ๑ เมตร แตกกิ่งก้านห้อยย้อยลง ผลมีความยาว ๔-๖ ซม. ผลเป็นสีแดงและแดงเข้ม เมื่อผลสุกเต็มที่จะเป็นสีดำ เหมือนกับสีของผลหม่อนหรือ “มัลเบอร์รี่” พันธุ์พื้นเมืองที่นิยมปลูกทั่วไป แต่ขนาดผลจะใหญ่และยาวกว่า รสชาติขณะผลสุกจะหวานสนิทไม่มีเปรี้ยวเจือปนเลย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รับประทานอร่อยไม่แพ้ชนิดแรก ซึ่ง “มัลเบอร์รี่ลูกผสม” เคที 1 จะให้ผลผลิตสูง ติดผลดกสีสันสวยงามยิ่งนัก  สามารถปลูกลงกระถางขนาดเล็กติดผลดกได้ ใบอ่อนเด็ดไปตากแห้งทำเป็นใบชาชงดื่ม มีกลิ่นหอมรสชาติดี เป็นที่นิยมทั่วไป จัดเป็นสายพันธุ์ที่ทนต่อโรคแมลงทุกชนิด “มัลเบอร์รี่” ทั้ง ๒ ชนิด ถ้าต้องการให้ติดผลทั้งปี ให้รูดใบแก่ทิ้ง เมื่อแตกใบใหม่จะมีดอกและติดผลทันที

ใครต้องการต้น “มัลเบอร์รี่” ทั้ง ๒ ชนิด ที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเองครับ.
ไทยรัฐ - วันพฤหัสบดีที่ ๑๓/๓/๕๗

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRcnnnWi33xSQ49MqJX8yXd0kJ-wjnYbtTKCus7ttk_6GoSLO4MWA)
      มัลเบอร์รี่ใหม่
มัลเบอร์รี่ใหม่ หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักดีคือ หม่อน ชนิดนี้ เป็นสายพันธุ์จากประเทศไต้หวัน ได้รับการคัดพันธุ์ว่าดีที่สุด และถูกนำเข้ามาปลูกขยายพันธุ์ในประเทศไทยบ้านเราหลายปีแล้ว สามารถเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูง ผลดกอย่างสม่ำเสมอ มีชื่อเฉพาะว่า MURUS MACROURA ขนาดต้น สูง ๒.๕-๓ เมตร ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปรีกว้าง ปลายแหลม โคนมนและเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ยอดอ่อนเป็นสีเขียวนำไปแปรรูปเป็นใบชาชงน้ำร้อนดื่มมีกลิ่นหอมรสชาติดีมาก

ดอกออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ “ผล” เป็นช่อยาว ๑๓-๑๕ ซม. กว้าง ๑.๒ ซม. แต่ละช่อมีผลย่อยเรียงเบียดกันหนาแน่น ภายในผลมีเมล็ด ใน ๑ กระจุกจะมีช่อผลเป็นกลุ่ม ๗-๑๐ ช่อ ช่อผลใหญ่และยาวกว่าช่อผลมัลเบอร์รี่ หรือหม่อนไทยอย่างชัดเจน ขณะช่อผลยังอ่อนจะเป็นสีเขียว รสเปรี้ยวเล็กน้อย เมื่อผลสุกเป็นสีแดงเข้มถึงสีดำ รสหวานจัด รับประทานอร่อยมาก มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นสตรอเบอร์รี่

มัลเบอร์รี่ใหม่ ของไต้หวันชนิดนี้ปลูกได้ในดินทั่วไป ปลูกลงดินควรห่างกัน ๑ เมตร คูณ ๑ เมตร ให้น้ำวันเว้นวัน ปลูกลงกระถางขนาดใหญ่สามารถให้ผลผลิตได้ หากต้องการให้ติดผลทั้งปี ผู้ปลูกจะต้องรูดใบแก่ทิ้งเพื่อให้แตกใบใหม่และจะมีดอกและติดผลได้ทันที ซึ่ง “มัลเบอร์รี่ใหม่” ของไต้หวันกำลังนิยมปลูกและนิยมรับประทานอย่างแพร่หลายในเวลานี้ สามารถนำไปแปรรูปได้หลายอย่าง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
ปัจจุบัน “มัลเบอร์รี่ใหม่” ของไต้หวัน มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเองครับ
  นสพ.ไทยรัฐ – พฤหัสบดีที่ ๘/๘/๕๗

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTqUDySgO39TiMv_ESNeAjglXEVJx5W_uEjhGlWpIV7HOxQmnB8qQ)
     สตรอเบอรี่พระราชทาน ๘๐
สตรอเบอร์รี่ชนิดนี้ เกิดจากฝีมือนักวิจัย โดย ดร.ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ คุณเวช เต๋จ๊ะ และคณะได้ศึกษาให้เกิดรสชาติหวานขึ้นในชื่อ “สตรอเบอร์รี่พระราชทาน ๘๐”  และนำไปปลูกทดสอบที่แปลงในสถานีวิจัยดอยปุย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พร้อมนำเอาเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจากประเทศญี่ปุ่นมาเพาะและปลูกทดสอบตามโปรแกรมการผสมพันธุ์ของโครงการวิจัยการผสมพันธุ์และคัดเลือกสตรอเบอร์รี่มูลนิธิโครงการหลวงปี ๒๕๔๕ จากนั้นในปี ๒๕๔๗ ได้ขยายพันธุ์ด้วย ไหล แบบธรรมดา กับวิธีเพาะเนื้อเยื่อ นำไปปลูกทดสอบการให้ผลผลิตและ รสชาติจนเป็นที่พอใจ มีลักษณะทนต่อศัตรูพืชดี รูปทรงผลแบนคล้ายหงอนไก่ สีผลสุกแดงสดใส รสชาติหวานถูกปากคนไทย เมื่อผลสุกเต็มที่จะมีกลิ่นหอมจัดด้วย จึงขยายพันธุ์มอบให้เกษตรกรนำไปปลูกเก็บผลขาย

สตรอเบอร์รี่พระราชทาน ๘๐ เป็นพันธุ์ที่ต้องการความหนาวเย็นปานกลาง ประมาณ ๑๕-๑๘ องศาเซลเซียส ในการกระตุ้นเพื่อสร้างตาดอก มีระยะดอกบานและเก็บเกี่ยวผลผลิต ๗๐ วัน ขยายพันธุ์ด้วยไหล เป็นพันธุ์ที่ทนต่อโรคแอนแทรกโนส ราแป้งดีมาก นิยมปลูกเฉพาะพื้นที่สูงทางภาคเหนือ  อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีผู้ขยายพันธุ์ “สตรอเบอร์รี่พระราช-ทาน ๘๐” ขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๓ แต่ละต้นมีผลติดสีสันงดงามมาก ผู้ขายยืนยันว่าสามารถปลูกในพื้นที่ราบต่ำได้ ซึ่งต้นที่นำมาจำหน่ายขยายพันธุ์ในพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี

สตรอเบอร์รี่ มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ FRAGARIA SPP. ชื่อสามัญ STRAWBERRY เป็นไม้ชอบดินร่วนปนทราย มีระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงระหว่างเดือนธันวาคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายนปีถัดไป ปัจจุบันสตรอเบอร์รี่เป็นผลไม้ยอดนิยมของคนไทยชนิดหนึ่ง ไม่จำเพาะชาวต่างชาติอีกแล้ว.
  ไทยรัฐ - ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ ๗/๓/๕๖


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22750812148054_EyWwB5WU57MYnKOuXuT0jbOcVacRIz.jpg)
     อะโวคาโด้  ปลูกเก็บผลขายคุ้ม
เมื่อก่อน “อะโวคาโด้” นำผลจากต่างประเทศเข้ามาวางขายตามห้างสรรพสินค้าเท่านั้น ราคาแพงมาก ๙๐-๑๐๐ บาทต่อผล ปัจจุบันประเทศไทยได้นำเอาพันธุ์ “อะโวคาโด้” เข้ามาปลูกเก็บผลขายไม่ต้องนำเข้าอีกต่อไปแล้ว มีผลวางขายทั่วไปแถม ราคาไม่แพงนัก ๒๐-๓๐ บาทต่อผล มีด้วยกันหลายสายพันธุ์เช่น บูธ ๗, บูธ ๘, พันธุ์ปีเตอร์สัน และพันธุ์แฮส เปลือกผลเป็นสีม่วง แต่ละพันธุ์จะแตกต่างกันที่รูปทรงของผลและสีของเปลือกผล ส่วนเนื้อในผลรสชาติเหมือนกันหมด ซึ่งแรกทีเดียว “อะโวคาโด้” ที่ปลูกในประเทศไทยจะมีปลูกเฉพาะทางภาคเหนือเท่านั้นและนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดทำให้โตช้าให้ผลผลิตชุดแรกหลังปลูกนานถึง ๕-๖ ปีขึ้นไป เก็บผลผลิตออกจำหน่ายไม่ทันใจ

ปัจจุบัน “คุณบุญลือ สุขเกษม” เจ้าของสวน “บุญบันดาล” ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ได้นำเอา “อะโวคาโด้” สายพันธุ์หนึ่งจาก ม. เกษตรฯ ไปปลูก ปรากฏว่าเจริญเติบโตได้ดี มีดอกติดผลดกมากไม่แพ้การปลูกทางภาคเหนือ จึงขยายพันธุ์ด้วยระบบทาบกิ่งปลูกเก็บผลขายสามารถมีดอกติดผลได้รวดเร็วขึ้นคือหลังปลูกเพียง ๒-๓ ปีเท่านั้น และจะติดผลดกมากแบบสม่ำเสมอตลอด ที่สำคัญยังตัดแต่งกิ่งทำให้ต้นเตี้ยลงได้ ๓-๗ เมตรด้วย ซึ่ง “อะโวคาโด้” หรือ AVOCADO PERSEA AMERICANA MILL อยู่ในวงศ์ LAURACEAE มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจากประเทศเม็กซิโก ผลดิบเปลือกแข็งเนื้อในกรอบมัน ผลสุกเปลือกเป็นสีคล้ำเนื้อในนิ่มมันอร่อยมาก รับประทานแล้วได้คุณค่าทางอาหารสูงมาก
นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/61206310366590_1.png)
     อะโวคาโด้พันธุ์ปากช่อง ๖๕  กับที่มาพันธุ์ดกกินขายคุ้ม
อะโวคาโด้ชนิดนี้ “คุณบุญลือ สุขเกษม” ได้นำเอาต้นพันธุ์จาก ม.เกษตรฯ ไปปลูกใน “สวนบุญบันดาล” แล้วคัดเอาต้นดีที่สุดปลูกจนต้นโตมีดอกและติดผล จากนั้นได้ขยายพันธุ์ด้วยระบบทาบกิ่งปลูกเลี้ยงอีกทอดหนึ่งจนมีดอกและติดผล ปรากฏว่าติดผลได้เร็วขึ้นกว่าเดิมคือหลังปลูกแค่ ๒-๓ ปีเท่านั้น ติดผลดกเป็นพวงสวยงามน่าชมมาก ที่สำคัญต้นเตี้ยลงสูงไม่เกิน ๓-๕ เมตร จึงถูกตั้งชื่อว่า “อะโวคาโด้พันธุ์ปากช่อง ๖๕” ดังกล่าว

อะโวคาโด้พันธุ์ปากช่อง ๖๕ หรือ AVOCADO PERSEA AMERICANA MILL. อยู่ในวงศ์ LAURACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๓-๕ เมตร ตามที่กล่าวข้างต้น ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลมมีติ่ง โคนสอบหรือป้าน สีเขียวสด
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบปลายยอด และตามตากิ่ง ดอกเป็นสีครีม “ผล” รูปกลมรีหรือรูปหยดน้ำ เวลาติดผลจะดกเต็มต้นเป็นพวงน้ำหนักผลเฉลี่ยระหว่าง ๓ ผล ต่อ ๑กิโลกรัมกว่าๆ ผลดิบเปลือกผลเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อในดิบกรอบมัน เมื่อผลสุกเปลือกผลสีจะคล้ำขึ้นหรือปนเหลืองเล็กน้อย เนื้อในสุกจะนิ่มรสมันรับประทานอร่อยมากและมีคุณค่าทางอาหารสูง ๑ ผลมี ๑ เมล็ด ติดผลปีละครั้ง แต่ “อะโวคาโด้พันธุ์ปากช่อง ๖๕” จะติดผลช้ากว่าอะโวคาโด้ทุกๆพันธุ์ คือ หลังจากอะโวคาโด้พันธุ์อื่นวายได้ ๓ เดือน ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนทุกปี ราคาหน้าสวน กก.ละ ๖๐ บาทขึ้น
นสพ.ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 สิงหาคม 2556 19:48:30
.

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQErzJ5nEuL59xuy7kIzQoHDC_-g-z8XknBcezUeQ3jAgMyH2dlhg)
     มะพูดหวาน แก้เด็กปากหนัก
โดย ปกติผลของมะพูดส่วนใหญ่ จะมีรสชาติเปรี้ยวนำและปนหวานนิดๆ ไม่หวานสนิท นิยมปลูกตามบ้านและตามร่องสวนมาแต่โบราณแล้ว แต่ “มะพูดหวาน” ที่มีกิ่งตอนวางขายได้รับการเปิดเผยจากผู้ขายว่า มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในแถบจังหวัดนนทบุรี มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะพูดทั่วไปทุกอย่าง จะแตกต่างกันเพียงผลสุกงอมของ “มะพูดหวาน” จะมีรสชาติหวานสนิทไม่มีรสเปรี้ยวเจือปนเลยเท่านั้น เนื้อสุกจะคล้ายกับเนื้อมะยงชิด ผลอ่อนรสชาติฝาดปนเปรี้ยว สามารถนำไปเชื่อมเหมือนเชื่อมมะตูมได้ หรือแกงส้มใส่กุ้งสดอร่อยมาก

ที่สำคัญ “มะพูดหวาน” หรือ มะพูดทั่วไป ถูกนับถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ซึ่งหากเด็ก หรือลูกหลานบ้านไหนปากหนักไม่ยอมพูดจากับใคร หรือไม่พูดเลย คนเฒ่าคนแก่ในยุคสมัยก่อนจะเด็ดเอาผลสุกของมะพูดให้เด็กคนนั้นกินจะกลับมาพูดเก่งได้อย่างเหลือเชื่อ

มะพูดหวาน หรือ GARCINIA DULCIS KURZ อยู่ในวงศ์ GUTTIFERAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๑๐ เมตร ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาล ดอกเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งคล้ายดอกสารภี มีกลีบดอก ๔ กลีบ ดอกมีกลิ่นหอม “ผล” โตเต็มที่ประมาณลูกเทนนิส สุกสีเหลืองอมส้ม ดิบสีเขียว ฉ่ำน้ำ ผลสุกงอมของ “มะพูดหวาน” จะมีรสหวานสนิทตามที่กล่าวข้างต้น มีเมล็ด ๓-๔ เมล็ด ดอกออกเดือนมีนาคม ผลสุกเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน สรรพคุณทางยาของมะพูดทั่วไป ผลสุกกินแก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้เลือดออกตามไรฟัน รากสดต้มน้ำ ฝนกับน้ำ และฝนกับเหล้าขาว ๔๐ ดีกรี กินเป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน ถอนพิษสำแดงได้  
 ข้อมูลและภาพ : คอลัมน์ "เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ" หน้า ๗ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTEWCVlhuFl5hT-163K8GbFrawXDU2iVRHpQQ41LW3eNp349lDACA)
     ละมุด
ละมุดเป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ผลกลมรีเหมือนไข่ไก่สีน้ำตาล มีรสหวาน รับประทานเมื่อผลสุก หลังจากปอกเปลือกแล้ว เนื้อของละมุดจะมีสีน้ำตาลแดง ผลละมุดมีสารอาหารหลากหลาย และมีสรรพคุณใช้เป็นยาสมุนไพร ยางละมุดซึ่งมีสีขาวอยู่ทั่วทุกส่วนของลำต้น มีประโยชน์สำหรับนำไปใช้ทำหมากฝรั่ง
  
สรรพคุณทางยาสมุนไพร เปลือกต้นละมุดฝรั่งนำมาต้มเป็นยาแก้บิด ผลละมุดสุกนำมารับประทานเป็นผลไม้ หรือเตรียมผลไม้  ยางจากละมุดดิบใช้เป็นยาถ่ายพยาธิอย่างแรง เมล็ดละมุดเป็นยาบำรุง คุณค่าทางโภชนาการและอาหาร
 
ในส่วนที่รับประทานได้ ๑๐๐ กรัม พลังงาน ๗๑ แคลอรี โปรตีน  ๗๗.๓ กรัม ไขมัน ๐.๘ กรัม คาร์โบไฮเดรต ๑๕.๖ กรัม เส้นใยอาหาร ๕.๖ กรัม แคลเซียม ๑๕ มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส ๖ มิลลิกรัม  เหล็ก ๐.๖ มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน ๒๒ ไมโครกรัม วิตามีนบี ๑  ๐.๐๑  มิลลิกรัม ไนอะซีน ๐.๖ มิลลิกรัม วิตามีนซี ๔๗ มิลลิกรัม.



(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQBVjJbv2YQ_0WDTV2NZA6_VyCcbhd0jU8iBdiay2bNu-21mtTv)
     ละมุดสาลี่ ผลใหญ่หวานจัด
ผู้อ่านจำนวนมากที่ชอบปลูกไม้ผลกินได้จำพวกละมุดอยากทราบว่า “ละมุดสาลี่” กับละมุดเวียดนามเป็นต้นเดียวกันหรือไม่ เนื่องจากผู้ขายกิ่งตอนบอกไม่เหมือนกัน บางแผงบอกว่าเป็นคนละต้นกัน ซึ่งความจริงแล้ว “ละมุดสาลี่” กับละมุดเวียดนามคือต้นเดียวกัน โดยมีถิ่นกำเนิดจากประเทศเวียดนาม ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ขายในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว ซึ่งผู้นำเข้าครั้งแรกเรียกว่า “ละมุดสาลี่” แต่เนื่องจากมีถิ่นกำเนิดจากประเทศเวียดนาม จึงมีบางคนนิยมเรียกว่าละมุดเวียดนาม จึงเป็นต้นเดียวกันอย่างแน่นอน

ละมุดสาลี่ หรือละมุดเวียดนาม มีข้อเด่นคือ ผลมีขนาดใหญ่ มีด้วยกัน ๒ สายพันธุ์ ได้แก่ ชนิดผลทรงกลมแป้น และผลทรงกลมรี ผลสุกรสชาติ หวานจัดไม่เป็นทราย หอมกรอบอร่อยมาก ผลเมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ๓-๔ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม ที่สำคัญ เป็นสายพันธุ์ที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ติดผลดกมาก จึงนิยมปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน และปลูกเพื่อเก็บผลขายอย่างแพร่หลายจนกระทั่งปัจจุบัน

ละมุดสาลี่ หรือละมุดเวียดนาม อยู่ในวงศ์ SAPOTACEAE เป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่ม สูง ๓-๕ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นทรงกรวยคว่ำ ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับหนาแน่นบริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นรูปรี ปลายแหลม โคนมน ดอก ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กสีขาวนวล “ผล” ขนาดใหญ่ตามที่กล่าวข้างต้น เนื้อสุกเป็นสีแดงอมส้ม ไส้กลางสีขาว รสหวานกรอบอร่อยมาก มีเมล็ดน้อย ติดผลปีละครั้ง แต่จะดกเต็มต้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดตอนกิ่งและเสียบยอด

ใคร ต้องการกิ่งพันธุ์ไปปลูกติดต่อ “คุณวิเชียร บุญเกิด” ๑๖๑/๒ หมู่ ๑ ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร  ราคาสอบถามกันเอง.
  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

(http://www.bansuanporpeang.com/files/images/user4941/%20059.jpg)
     ละมุดยักษ์มาเลย์ซีเอ็ม 19 หวานกรอบหอม
ละมุด ชนิดนี้สถาบันวิจัยและพัฒนาการเกษตรของประเทศมาเลเซียที่มีชื่อเฉพาะว่า (MARDI) ได้ใช้ความพยายามนานกว่า ๑๒ ปี ในการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ขึ้นมาจากจำนวนต้นกล้ากว่า ๕๐ ต้น จากนั้นได้คัดเอาต้นดีที่สุดไปปลูกทดสอบสายพันธุ์จนมั่นใจว่าได้ละมุดพันธุ์ใหม่  พร้อมกับตั้งชื่อว่า “ละมุด ซีเอ็ม ๑๙” (CIKA MEGA)  มีความเป็นพิเศษคือ ขนาดผลจะใหญ่มาก มีน้ำหนักเฉลี่ยได้ถึง ๕๙๔ กรัมต่อผล เนื้อในผลสุกมีความละเอียด ไม่เละ ไม่เป็นเม็ดทราย รสชาติกรอบหวานหอมรับประทานอร่อยมาก สถาบันวิจัยและพัฒนาการเกษตรมาเลเซียจึงขยายพันธุ์และตอนกิ่งออกสู่ภายนอก รวมทั้งประเทศไทยมีผู้นำเข้ามาปลูกนานกว่า ๓-๔ ปีแล้ว ซึ่งนอกจาก “ละมุดยักษ์มาเลย์ ซีเอ็ม 19” เป็นชื่อที่เกษตรกรไทยตั้งขึ้น จะมีความโดดเด่นตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว เปลือกผลเมื่อสุกล้างน้ำให้สะอาดสามารถรับประทาน ได้ทั้งเปลือก ไม่ทำให้รสชาติเสียแต่ประการใด ที่สำคัญกว่านั้น กิ่งตอนที่เกษตรกรไทยขยายพันธุ์ออกขายเป็นกิ่งที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเสียบยอด มีรากแก้วหนาแน่นดีแล้ว จึงทำให้ใช้เวลานำไปปลูกไม่เกิน ๒-๓ ปี สามารถติดผลดกเต็มต้นและมีความทนทานต่อการถูกน้ำท่วมขังและทนแล้งได้ดีมาก

ละมุดยักษ์มาเลย์ซีเอ็ม 19 ไม่ใช่ละมุดสาลี่ของเวียดนาม มีข้อแตกต่างกันคือ ขอบใบของ “ละมุดยักษ์มาเลย์ ซีเอ็ม ๑๙” เรียบ ของเวียดนามเป็นคลื่น เมล็ดของ “ละมุดยักษ์มาเลย์ ซีเอ็ม ๑๙” มีเพียง ๑ เมล็ด ของเวียดนามมี ๒-๔ เมล็ด และ สุดท้าย ผลของละมุดสาลี่เวียดนามค่อนข้างกลม ส่วนผลของละมุดยักษ์มาเลย์จะยาวและใหญ่กว่าชัดเจน  ใครต้องการกิ่งตอน ติดต่อ “คุณประภาส สุภาผล” ๓๓/๔ หมู่ ๗ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี  ราคาสอบถามกันเองครับ.
  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/48653163719508_EyWwB5WU57MYnKOuFqNCkjoxsPVy3C.jpg)
     ละมุดยักษ์สาลี่ กับเส้นทางพันธุ์หวานกรอบ
ละมุดยักษ์สาลี่ คือละมุดฝรั่งสายพันธุ์หนึ่งที่เกษตรกรชาวเวียดนามได้นำเอาพันธุ์ไปปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศหลายแบบและหลายวิธี แล้วเกิดการกลายพันธุ์ถาวรเป็นละมุดพันธุ์ใหม่ที่เกิดในประเทศเวียดนาม จากนั้นเกษตรกรชาวไทยได้นำเอาพันธุ์เข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ขายในบ้านเรานานกว่า ๒๐ ปีแล้ว มีด้วยกัน ๒ ชนิดคือ ชนิดผลกลมแป้นเล็กน้อย และชนิดผลกลมรียาว ขนาดผลใหญ่ รสชาติหวานกรอบอร่อยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ถูกปากถูกคอผู้รับประทาน และผู้ปลูกชาวไทยอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
 
ละมุดยักษ์สาลี่ หรือที่ผู้ปลูกชอบเรียกคือ ละมุดเวียดนาม อยู่ในวงศ์เดียวกับละมุดทั่วไปคือ SAPOTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๓-๕ เมตร ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายกิ่ง ปลายใบแหลม โคนมน ดอก ออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกมีขนาดเล็ก สีขาวนวล มีกลีบดอก ๕ กลีบ “ผล” มีด้วยกัน ๒ ลักษณะคือ กลมแป้นเล็กน้อยและผลกลมรียาว ขนาดผลใหญ่ ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๓ ผลต่อ ๑ กิโลกรัม ซึ่งผู้ขยายกิ่งตอนขายระบุว่า บางครั้งในต้นเดียวสามารถติดผลได้ ๒ รูปแบบตามที่กล่าวข้างต้น ถือว่าเป็นเรื่องแปลกที่สุด รสชาติสุกหวานกรอบ เนื้อไม่เละ รับประทานอร่อยมาก ใน ๑ ผล มีเมล็ด ๓-๕ เมล็ด มีดอกและติดผลดกตลอดทั้งปี ติดผลเป็นพวง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด การปลูก เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย เป็นไม้ชอบแดด ไม่ชอบน้ำท่วมขัง หลังปลูกรดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยมูลสัตว์กลบฝังดินรอบโคนต้นเดือนละครั้งสลับกับใส่ปุ๋ยสูตร ๑๖-๑๖-๑๖ ครึ่งเดือนครั้ง เมื่อต้นสูงประมาณ๓ เมตร จะเริ่มติดผลชุดแรกและจะติดผลดกขึ้นเรื่อยๆตามอายุของต้น
 
ใครต้องการกิ่งตอนรุ่นใหม่ติดต่อ “คุณวิเชียร บุญเกิด” เกษตรกรดีเด่นด้านพืชสวน ปี ๕๔ จ.กำแพงเพชร  หมู่ ๑ ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ราคาสอบถามกันเองครับ.
 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


(http://1.bp.blogspot.com/-p6iF7HTzqrY/VmtcHXCn0iI/AAAAAAAADPA/uOrn4RyEo0I/s1600/Hl_gzwt6KFuDXag54c1Ow3g4ifn9Jzspqt8MiAn_pXY%253D.jpg)
     ละมุดสีดา กิโลกรัมหลายบาท
สมัยก่อน “ละมุดสีดา” นิยมปลูกอย่างกว้างขวางทั้งตามบ้านและวัดวาอาราม เนื่องจากให้ร่มเงาดี ผลสุกสีสันสวยงามน่าชมยิ่ง สามารถรับประทานได้ รสชาติหวานปนฝาดเล็กน้อย อร่อยมาก ที่สำคัญคนเพิ่งฟื้นจากการเจ็บไข้ได้ป่วยเล็กๆน้อยๆ ไม่มีเรี่ยวมีแรง อ่อนเพลีย หากได้รับประทานผลสุกของ “ละมุดสีดา” ตำรายาไทยโบราณระบุว่า จะช่วยทำให้จิตใจชุ่มชื้นและหายจากอาการอ่อนเพลียได้อย่างเหลือเชื่อ ส่วนเนื้อไม้นิยมเอาไปทำเสา กระดานพื้นบ้าน ฝาลอด เครื่องใช้ต่างๆ ทำตู้ใส่เสื้อผ้า แข็งแรงทนทานและขึ้นเงาดีมาก

ละมุดสีดา หรือ MADHUCA GRANDIFLORD FLETCHER อยู่ในวงศ์ SAPOTACEAE พบขึ้นในป่าดงดิบทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย โดยจะขึ้นตามที่สูงจากนํ้าทะเลไม่เกิน ๔๐๐-๕๐๐ เมตร ภาคอื่นพบประปราย เป็นไม้ยืนต้นเนื้อไม้แข็ง สูง ๑๐-๑๕ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงกลมทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงสีนํ้าตาล เปลือกต้นเป็นสีนํ้าตาลปนแดง แตกเป็นร่องลึกตามยาวของลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงถี่บริเวณปลายยอด ใบรูปหอกแคบ ปลายสอบเรียว บางทีมน โคนใบสอบ เนื้อใบหนาขอบใบเรียบเป็นคลื่น ใบดกให้ร่มเงาดีมาก

ดอก ออกเป็นกระจุกใหญ่ที่ปลายกิ่ง บางครั้งมีออกตามง่ามใบก็มี แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาว “ผล” รูปกลมรี ลักษณะคล้ายผลพิกุล แต่ขนาดของผลจะใหญ่กว่าอย่างชัดเจน ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลแก่หรือสุกเป็นสีแดงสดใสหรือสีแดงคลํ้าเล็กน้อย เวลาติดผลดกและผลสุกพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามสดใสมาก เนื้อในเป็นสีเหลืองอมส้มกินได้ รสหวานปนฝาดเล็กน้อยตามที่กล่าวข้างต้น มี ๑ เมล็ด ติดผลเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง ภาคกลางเรียกว่า “มะซาง” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๑๗ ปัจจุบันผลสุกกิโลกรัมไม่ตํ่ากว่า ๑๐๐ บาทครับ
 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65432781643337_7_3617_3632_3648_3615_3639_362.jpg)
     มะเฟืองเปรี้ยว
ในยุคสมัยก่อน มะเฟืองเปรี้ยว” ถูกนำไปใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้หลายอย่าง เช่น สูตรแก้โรคเกาต์นิยมใช้เฉพาะกลุ่มได้ผลดีมาแต่โบราณคือ ให้เอา “มะเฟืองเปรี้ยว” สุก ๑ ผล เกลือป่นเล็กน้อย น้ำผึ้งแท้ ๑ ช้อนโต๊ะ น้ำต้มสุกกะให้ได้ ๒ แก้วต่อวัน ปั่นให้เข้ากันจนละเอียดกินครั้งละเกือบเต็มแก้วเช้าเย็นก่อนอาหาร ทำกินติดต่อกัน ๖ วัน อาการของโรคเกาต์จะดีขึ้นหรือหายได้ ใครเป็นเกาต์ทดลองดูไม่อันตรายอะไร

มะเฟืองเปรี้ยว ยังช่วยถอนพิษยาเสพติดชนิดต่างๆ ที่เพิ่งรู้ตัวว่าเป็นใหม่ๆยังไม่ถึงขั้นเข้าเส้นเลือดได้ โดยให้เอา “มะเฟืองเปรี้ยว” สุก ๑ ผล เอาเมล็ดออกหั่นเป็นชิ้นบางๆ แช่กับน้ำผึ้งแท้ท่วมเนื้อทิ้งไว้ทั้งคืน รุ่งขึ้นเอาทั้งน้ำและเนื้อปั่นรวมกันให้ละเอียด เติมน้ำร้อนลงไปพอประมาณ แบ่งกิน ๒ แก้ว ทั้งน้ำและเนื้อเช้าเย็นก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ๑ ผลปั่นกิน ๑ วัน ทำกินทุกวันจะหายได้ เมื่อหายแล้วหยุดกินได้เลยไม่มีอันตรายอะไร

นอกจากนั้น “มะเฟืองเปรี้ยว” สุก ๑ ผล คั้นเอาน้ำผสมสารส้มเล็กน้อยกินวันละครั้ง ครั้งละ ๑ แก้ว ช่วยละลายนิ่ว ขับปัสสาวะ และ แก้โรคหนองในได้ดีมาก

มะเฟือง หรือ AVERRHOA CARABOLA LINN. อยู่ในวงศ์ AVERRHOACEAE สรรพคุณเฉพาะยอดอ่อนต้มรวมกับยอดอ่อนมะพร้าวจำนวนเท่ากัน กินน้ำ แก้ไข้หวัดใหญ่ ใบต้มอาบ แก้ตุ่มคันตามร่างกาย แก่นและรากต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วงแก้เจ็บเส้นเอ็น ผลสุกขยี้สระผมบำรุงเส้นผมขจัดรังแคได้ ราก รสเย็นต้มน้ำดื่มระงับความร้อน ถอนพิษไข้ และอาการผิดสำแดงต่างๆ ดีมาก

ปัจจุบัน “มะเฟืองเปรี้ยว” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ เป็นต้นที่เกิดจากการเพาะด้วยเมล็ด มีรากติดดีทุกต้น เมื่อนำไปปลูกแล้วไม่ตายง่าย ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ. ไทยรัฐ พุธที่ ๒๔/๑๒/๕๗  

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTQWPM-_VBza6IrW4NNmjScPD8P-RoPhxY0fMzOilNMRpEq3wgcuw)
     มะไฟ  
มะไฟ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ ๑๐-๑๕ เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทาลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ใบเป็นรูปหอก ปลายแหลมและมีติ่งแหลมอยู่ริมขอบ ใบเรียบไม่มีหยัก หลังใบมีสีเขียวแก่ ส่วนใต้ท้องใบเป็นสีอ่อนกว่าเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง มีสีเหลืองอมชมพู มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลเป็นรูปกลมเปลือกนอกหนา ห้อยลงมาเป็นระย้า ผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง ข้างในมีเนื้อผลฟู หุ้มเมล็ดอยู่ ๑-๒ เมล็ด ผลสุกมีสีเหลือง

ผลมะไฟสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีวิตามินซี น้ำตาลและอื่น ๆ ใช้รับประทานเป็นผลไม้ หรือทำน้ำผลไม้ได้ ใบมีรสเผ็ด เย็น มีสรรพคุณแก้โรคหวัด แก้ไอ ไข้มาลาเรีย ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน บำรุงธาตุ แก้พิษฝี และขับปัสสาวะ รากใช้เป็นยาแก้พิษตานซาง แก้วัณโรค แก้ฝีภายใน ดับพิษร้อน เริม แก้ผิวหนังอักเสบ ชนิดที่เป็นถุงน้ำและลอกออกมา และใช้บรรเทาไข้ที่มีอาการปวดข้อปวดเข่าและมีผื่น ผลช่วยย่อย ละลายเสมหะ รักษาอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับเสมหะ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/19980506309204_1.jpg)
     มะไฟข้าวเหนียวดำ เนื้อสีสวยหวานอร่อย
ผู้อ่านจำนวนมากอยากทราบว่า “มะไฟข้าวเหนียวดำ” เป็นอย่างไร ซึ่งความจริงแล้วมะไฟชนิดนี้เป็นหนึ่งในหลายๆสายพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาช้านานแล้ว เช่น มะไฟ ชนิดที่มีเนื้อสุกเป็นสีชมพูมีชื่อเรียกว่า มะไฟไข่เต่า ชนิดนี้ผลจะมีขนาดใหญ่กว่ามะไฟทุกพันธุ์ มะไฟเหรียญทอง และ มะไฟครูถิน เป็นต้น มะไฟเหล่านี้เนื้อสุกจะเป็นสีชมพูและสีเหลือง รสชาติหวานปนเปรี้ยว นิยมปลูกและนิยมรับประทานผลสุกอย่างแพร่หลาย

ส่วน “มะไฟข้าวเหนียวดำ” จะมีข้อแตกต่างจากมะไฟที่กล่าวข้างต้นคือ เนื้อสุกจะเป็นสีม่วงเข้ม หรือ สีเกือบดำสวยงาม รสชาติหวานปนเปรี้ยวเล็กน้อยอร่อยมาก เท่าที่ทราบในยุคสมัยก่อนนิยมปลูก “มะไฟข้าวเหนียวดำ” อย่างแพร่หลาย ในแถบภาคอีสาน และที่มีชื่อเรียกว่า “มะไฟข้าวเหนียวดำ” ก็เนื่องจากว่าเนื้อสุกมีสีเหมือนกับสีของข้าวเหนียวดำนั่นเอง ปัจจุบันมีผลขายแต่ไม่มากนัก

มะไฟข้าวเหนียวดำ หรือ มะไฟทั่วไป มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า BACCAUREARAMIFLORA LOUR ชื่อสามัญ BACCAUREA RAMIFLORA อยู่ในวงศ์ PHYL-LANTHACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร ต้นมีอายุยืนยาว แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบป้าน เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อกระจุกใต้ท้องกิ่ง ตามลำต้น คล้ายดอกทุเรียนและดอกลางสาด “ผล” ทรงกลมติดผลเป็นพวงห้อยลง ผลสุกเป็นสีเหลืองสวยงามมาก เนื้อสุกเป็นสีชมพู สีเหลือง และ สีดำ ตามสายพันธุ์ มีเมล็ด ๑-๓ เมล็ด รสชาติหวานปนเปรี้ยว ดอกออกเดือน ก.พ. ผลแก่เดือน เม.ย.-พ.ค. ทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง

มะไฟข้าวเหนียวดำ มีกิ่งตอนขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙
  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRiwKKm6Y9MsY1aOT_jGwf0oDoKQBRcduqPoigPdWDspaDryI2-ng)
     มะไฟแดง   ดอกหอมเนื้ออร่อย
มะไฟแดง พบขึ้นตามป่าธรรมชาติทางภาคใต้ของประเทศไทย โดยจะขึ้นตามที่ราบเชิงเขาและริมห้วยริมลำธารทั่วไป พบมากที่สุดทางภาคใต้ตอนล่าง ในต่างประเทศพบที่ มาเลเซียและอินโดนีเซีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า BACCAUREA SCORTECHINII HOOK.F. ชื่อสามัญ CHINESE LANTERN TREE อยู่ในวงศ์ EUPHOBIACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง 6-10 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปขอบขนาน ปลายแหลมโคนสอบ ยอดอ่อนสีนํ้าตาลแดง กินเป็นผักเคียง เปรี้ยวปนฝาดอร่อยมาก ดอกออกเป็นช่อตามลำต้นและกิ่งก้าน เป็นดอกแยกเพศ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียไม่มีกลีบดอก เป็นสีม่วงเข้ม ดอกมีกลิ่นหอม เวลามีดอกจะสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจยิ่ง

ผล รูปกลมแป้น เปลือกผลเมื่อแก่จะเป็นสีแดงอมม่วง เปลือกผลหนา ติดผลดกเป็นพวงห้อยลงสวยงามน่าชมมาก เนื้อหุ้มเมล็ดเป็นสีชมพู ใน ๑ ผล มี ๓ พู หรือ ๓ เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดรสหวานปนเปรี้ยวรับประทานอร่อยเหมือนกับเนื้อมะไฟทั่วไปทุกอย่าง ติดผลปีละครั้งตามฤดูกาลในช่วงหน้าร้อน ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ ส้มไฟป่า, ส้มไฟดิน, มะไฟเต่า และ มะไฟกาแดง นิยมปลูกเก็บผลกินในครัวเรือนและเก็บผลขายเชิงพาณิชย์ประปราย ปัจจุบันนักจัดสวนนิยมเอาไปปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากเวลามีดอกและติดผล นอกจากดอกสวยงามส่งกลิ่นหอมแล้ว ผลยังเก็บรับประทานได้ด้วยนั่นเอง
 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/16083221220307_1.png)
     มะยงชิดทูลเกล้า
ผู้อ่านจำนวนมากอยากทราบว่ามีกิ่งตอน “มะยงชิดทูลเกล้า” ที่เป็นพันธุ์แท้ขายที่ไหน ซึ่ง “นายเกษตร” เคยแนะนำไปในช่วงเดือนเมษายน ปี ๕๑ และตอนนั้นกิ่งตอนขายดีมากจนทำให้ถึงจุดอิ่มตัวหาซื้อกิ่งตอนได้ยากขึ้นในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนเมษายนทุกปีจะมีผู้นำผลสุกของ “มะยงชิดทูลเกล้า” และมะยงชิดพันธุ์ต่างๆ ออกวางขายให้ผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลายพร้อมกับพบว่า มีผู้ขยายพันธุ์เอากิ่งตอนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นพันธุ์แท้ของ “มะยงชิดทูลเกล้า” ออกจำหน่ายด้วย จึงรีบแนะนำให้แฟนคอลัมน์ทราบทันทีตามระเบียบ

มะยงชิดทูลเกล้า มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ ต.ท่าอิฐ จ.นนทบุรี ต่อมาได้มีผู้นำเอาต้นพันธุ์ไปปลูกที่ จ.นครนายก เก็บผลขายกลายเป็นผลไม้ดีประจำจังหวัดนครนายกไปในที่สุด ซึ่ง “มะยงชิดทูลเกล้า” มีข้อโดดเด่นคือ จะติดผลปีละ ๓ รุ่น เวลาติดผลจะดกมาก และผลมีขนาดเสมอกันทุกพวง เมล็ดลีบเนื้อในเยอะ เมื่อนำไปชั่งกิโลขายให้ นํ้าหนักดีอยู่ระหว่าง ๑๐-๑๒ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม รสชาติหวานปนเปรี้ยวรับประทานอร่อยมาก

มะยงชิดทูลเกล้า อยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๑๐ เมตร ใบจะมีขนาดใหญ่กว่ามะยงชิดพันธุ์ทั่วไป ดอก ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง เป็นสีขาว “ผล” กลมรี ติดผลเป็นพวง ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง สุกเต็มที่ส่วนหัวจะยังคงเป็นสีเขียวอยู่ สีผลแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม รสชาติหวานปนเปรี้ยวตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด ปลูกได้ในดินทั่วไป รดนํ้าบำรุงปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอจะติดผลดกปีละ ๓ รุ่น คุ้มค่ามาก

ปัจจุบัน “มะยงชิดทูลเกล้า” มีกิ่งตอนแท้รุ่นใหม่ขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙
  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/84526451552907_1.jpg)
     มะยงชิดท่าอิฐ ดกใหญ่หวานกินขายคุ้ม
มะยงชิดชนิดนี้ มีประวัติเริ่มปลูกในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นมะปรางชนิดหนึ่งที่เกิดจากการกลายพันธุ์จนผลมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื้อหนา เมล็ดเล็ก รสชาติหวานนำและปนเปรี้ยวตามเล็กน้อย วัดความหวานได้ประมาณ ๑๗.๑ องศาบริกซ์ ในสมัยดังกล่าวนิยมเรียกว่า มะปรางเสวย และมีแหล่งปลูกใหญ่ในท้องที่ ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.นนทบุรี จากนั้นได้กระจายพันธุ์ปลูกไปยังพื้นที่ใกล้เคียงแถบ ต.บางขุนนนท์ อ.บางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี ในยุคสมัยนั้นได้รับความนิยมจากผู้ปลูกและผู้รับประทานอย่างกว้างขวางในชื่อ “มะยงชิดท่าอิฐ” ตามแหล่งปลูกครั้งแรกและเรียกกันเรื่อยมาจนทุกวันนี้

มะยงชิดท่าอิฐ อยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๑๐  เมตร ใบออกตรงกันข้ามรูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายและโคนใบแหลม เนื้อใบค่อนข้างหนาและแข็ง สีเขียวสดเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกเป็นสีขาวหรือสีขาวนวล “ผล” รูปไข่ค่อนข้างยาวและรี ผลโตเต็มที่ประมาณไข่เป็ด มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๑๐-๑๕ ผลต่อ ๑ กิโลกรัม ผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อในเยอะ เนื่องจากเมล็ดเล็ก เนื้อสุกเป็นสีเหลืองอมส้ม รสชาติหวานปนเปรี้ยวเล็กน้อย ไม่มีเสี้ยนและไม่มียางขม รับประทานอร่อยมาก สามารถเก็บผลได้หลายวันโดยผลไม่ช้ำหรือเละแต่อย่างใด ติดผลดกปีละครั้งตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๑๑ ปลูกเก็บผลกินในครัวเรือนหรือเก็บผลขายคุ้มค่ามาก การปลูก รดน้ำพอชุ่มวันละครั้ง บำรุงปุ๋ย ๑๖-๑๖-๑๖ สลับกับโรยขี้วัวขี้ควายแห้งเดือนละครั้ง เมื่อต้นติดผลโตเท่าปลายนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ ใส่ปุ๋ย ๑๓-๑๔-๒๑ พร้อมฉีดสารสะเดาป้องกันแมลง หลังเก็บเกี่ยวผลแล้วต้องตัดแต่งกิ่งทันที และปฏิบัติเหมือนเดิมตามที่กล่าวข้างต้น จะทำให้ “มะยงชิดท่าอิฐ” ติดผลดกเช่นเดิมครับ.
   หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/63002416905429_EyWwB5WU57MYnKOuFT8dgpnIyOdt3x.jpg)  
     มะดันแดง ผลสวยกินได้มีสรรพคุณ

ไม้ต้นนี้ พบขึ้นตามป่าดิบทุกภาคของประเทศไทย พบมากที่สุดทางภาคใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ EARCINIA GRAGILIS PIERRE อยู่ในวงศ์ GUTTIFERAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้น สูง ๓-๕ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ก้านใบเป็นสีแดงอมม่วง ยอดอ่อนเป็นสีแดงสวยงามน่าชมยิ่ง

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกเป็นสีแดงคล้ำ “ผล” รูปทรงกลมมีจุกบริเวณหัว แตกต่างจากผลมะดันชนิดสีเขียวอย่างชัดเจน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกสีผลจะเป็นสีเหลืองและสีแดงสวยงามมาก เนื้อในฉ่ำน้ำ รสชาติเปรี้ยวจัดทั้งผลดิบและผลสุก รับประทานได้ ส่วนใหญ่นิยมปรุงเป็นอาหารจำพวกต้มส้มปลา แกงเนื้อ แกงส้ม และอื่นๆ อีกหลายอย่าง เพิ่มรสเปรี้ยวมีกลิ่นหอมชวนให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถนำเอาผลสุกไปปั่นทำเป็นน้ำผลไม้ แช่อิ่ม ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ใน ๑ ผล จะมีเมล็ด ๒ เมล็ด มีดอกและติดผลตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง นอกจากชื่อ “มะดันแดง” แล้ว ยังมีชื่อเรียกอีกคือ มะแป่ม หมากแป่ม และ หมักแป่ม

สรรพคุณทางสมุนไพร ราก ของต้น “มะดันแดง” ต้มดื่มเป็นยาแก้ไข้แก้ร้อนในกระหายน้ำ ถอนพิษไข้แก้ไอ ผล เป็นยาระบายท้อง แก้ไข้ ละลายเสมหะ และฟอกโลหิต

ปัจจุบัน “มะดันแดง” มีกิ่งตอนวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเป็นทั้งไม้ผลกินได้ เพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือนตามที่กล่าวข้างต้นและปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากเวลาติดผลดกมีทั้งผลดิบสีเขียวผลสุก สีเหลืองและสีแดงจะดูสวยงามมาก หลังปลูก ๓ ปี จะติดผลชุดแรกและติดผลดกตลอดครับ
  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ  


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 สิงหาคม 2556 15:54:49
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/81868529733684_1.jpg)
     เฉาก๊วย
เฉาก๊วย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mesona Chinensis ถิ่นกำเนิดอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น ทางตะวันตกของประเทศจีน และไต้หวัน มักพบขึ้นอยู่ในบริเวณพื้นที่หุบเขา เป็นดินทรายแห้ง มีหญ้าขึ้น เป็นพืชตระกูลเดียวกับกะเพรา สะระแหน่และยี่หร่าในวงศ์ Lamiaceae

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มมีกิ่งเลื้อย ลำต้นและใบมีขนปกคลุม เปราะและหักง่าย สูงราว ๑๕-๑๐๐ ซ.ม. ใบเป็นรูปหยดน้ำรี ปลายใบแหลมมีขอบหยักคล้ายฟันเลื่อย ออกดอกสีขาวเป็นช่อแบบเชิงเป็นชั้นลดหลั่นลงมา ในช่อดอก จะมีดอกย่อยอีกจำนวนมากคล้ายดอกใบกะเพรา ออกดอกได้เรื่อยๆ ตลอดทั้งปี ปลูกขึ้นได้ในดินทั่วไป อุ้มน้ำ ชอบแดดและความชุ่มชื้น มักขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอนกิ่ง

สรรพคุณทางยา สามารถบรรเทาอาการร้อนใน ดับกระหาย รักษาอาการหวัด เบาหวาน แก้ความดันโลหิตสูง นิยมใช้ใบสดหรือใบแห้งมาผสมน้ำต้มในหม้อดินดื่มเป็นประจำ ลำต้นแห้งนำมาต้มกรองแต่น้ำผสมกับแป้งพืชเป็นเจลลี่ กินเป็นของหวานใส่น้ำเชื่อมและน้ำแข็ง เรียกว่า "ขนมเฉาก๊วย"
  นสพ.ข่าวสด


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSxslaAL5kbkkqFUq7nKCr6TsOQQ2jpYwSyQ3yQZkdS5xFP0XH3)
     แห้วหมู
หญ้าชนิดหนึ่งที่บางคนมองไม่เห็นค่า แต่มีสรรพคุณเหลือหลาย ขอบอกกล่าวแต่เพียงบางส่วน ดังนี้ เป็นสมุนไพรที่มีการวิจัยพบว่ามีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง  ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้หัวนำมาล้างให้สะอาด แล้วนำมาเคี่ยวกินช่วยบำรุงกำลัง ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงกระชุ่มกระชวย ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน หูตาสว่างไสว  หัวแห้วหมูใช้เป็นยาเจริญอาหาร ด้วยการใช้หัวแห้วหมูประมาณ ๑ ฝ่ามือ นำมาต้มกับน้ำดื่ม  ช่วยแก้อาการกินไม่ได้ นอนไม่หลับ หรือเป็นโรคผอมแห้งแรงน้อย   นสพ.เดลินิวส์

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS_K9LlleH_EJssFKhXuRXy4F8c_j2133lfikcbe8W-GontdWEOTg)
     อ้อยช้าง
อ้อยช้าง เป็นไม้เถายืนต้น มีหนามตามลำต้นและกิ่งก้าน ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ยาว ๑๐-๑๕ ซม. โคนก้านใบป่องออก ใบย่อยรูปขอบขนาน ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นพู่ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ผลเป็นฝัก สีเหลืองถึงน้ำตาล ตรงที่เป็นเมล็ดจะมีรอยนูนเห็นชัด มีสรรพคุณทางยาแพทย์แผนไทย  ราก มีรสหวาน ใช้เป็นยาแก้ไอ กระหายน้ำ ยาระบาย ผล ขับเสมหะ เนื้อไม้ มีรสหวาน แก้โรคในคอ แก้ไอขับเสมหะ จากการศึกษาทางเคมีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า สารที่ให้ความหวาน เป็นน้ำตาลกลูโคสและซูโครส.

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQhbi4KAtYPh8cUIlmYR2pdMbWBjjCj9soDwb-eA0gkkIo2_YvqoA)
     ตีนเป็ดทราย
ตีนเป็ดทราย เป็นไม้ยืนต้นมียางสีขาว รากแผ่กว้างเพื่อยึดกับทราย ใบยาวรี ค่อนข้างหนา ผิวเคลือบใบหนา ดอกสีขาว ผลทรงกลมรี ออกดอกที่ปลายกิ่ง เป็นแบบช่อกระจุกแน่น มีกลีบเลี้ยง ๕ กลีบ ติดทนสีขาวแกมเขียวอ่อน แต่ละแฉกมีขนาด ๐.๕-๐.๖6 x ๐.๕-๒ ซม. วงกลีบดอกสีขาว ตรงกลางดอกสีแดง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน เป็นหลอดปากแตร ยาว ๒.๕-๔ ซม. ปลายหลอดแยกออกเป็น ๕ กลีบ แต่ละกลีบยาว ๒-๒.๕ ซม. กลีบดอกสั้นกว่าหลอด ผลรูปไข่หรือรูปรี ขนาด ๔-๖ x ๕-๙๘ ซม. มักอยู่เป็นคู่ ผิวสีเขียวเป็นมัน เมื่อสุกเป็นสีม่วง แต่ละผลมี ๑-๒ เมล็ด ออกดอกผล ตลอดทั้งปี ใบและผลมีสารที่เป็นพิษต่อหัวใจ และจะเป็นพิษมากเมื่อถูกย่อย ในอดีตเคยใช้ยางของพืชชนิดนี้เป็นยาพิษเพื่อล่าสัตว์ พบมากในบริเวณที่เป็นดินทรายบริเวณแนวชายฝั่งทะเลและบริเวณป่าชายเลนเชิงทรงที่ติดกับชายหาด.

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQaM7r_yJvSfLvOz4deGdv-rg2CC_HNsQWHQvTywxg5nx210nP2)
     เพชรสังฆาต
เพชรสังฆาตเป็นไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยม เป็นข้อต่อกัน มีมือสำหรับเกาะยึดออกตามข้อต่อตรงข้ามใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อต้น รูปสามเหลี่ยม ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่างๆ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน  ก้านใบยาว ๒-๓ ซม. ดอก ออกเป็นช่อตามข้อต้นตรงข้ามกับใบ ดอกสีเขียวอ่อน กลีบดอกมี ๔ กลีบ โคนด้านนอกมีสีแดง ด้านในสีเขียวอ่อน เมื่อบานเต็มที่ดอกจะงองุ้มไปด้านล่าง เกสรเพศผู้มี ๔ อัน ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว สุกสีแดงเข้มเกือบดำ เมล็ดกลม สีน้ำตาล มี ๑ เมล็ด ในตำราแพทย์แผนไทยนำน้ำจากต้นใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล หยอดจมูก แก้เลือดเสียในสตรีประจำเดือนไม่ปกติ เป็นยาธาตุเจริญอาหาร ใบยอดอ่อน ใช้รักษาโรคลำไส้เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อยใบและรากเป็นยาพอกเถาใช้รักษาริดสีดวงทวารหนัก.


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRggnvH6HeZi_5WDdfPZWEud0Yv_ZHggxGo3yGelBFKzIsclpya)
     มันปู
มันปูเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ มีความสูงต้นประมาณ ๑๕ เมตร ปลายกิ่งห้อยลง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับสองข้างของกิ่ง ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบ ๕-๗ คู่ ก้านใบสั้น หน้าใบมีสีเขียวอ่อนกว่าหลังใบ ใบอ่อนและก้านอ่อนมีสีแดงหรือสีม่วงอมแดง เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว ดอกเป็นดอกช่อ ดอกช่อขนาดเล็กมีสีเขียวอ่อน แยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ และจะออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-ตุลาคม ผลแก่สีชมพูถึงแดง มีลักษณะกลมแป้น ภายในผลมี ๑๐-๑๒ พู ผลจะแตกเมื่อแห้ง มี ๑๐-๑๒ เมล็ด เมล็ดมีขนาดเล็ก ค่อนข้างกลม มีเยื่อสีแดงหุ้ม ติดที่ปลายของแกนผล จะพบมันปูขึ้นในป่าน้ำกร่อย และบริเวณชายป่าพรุ มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่ อินเดีย ศรีลังกา เวียดนามใต้ และมาเลเซีย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่งก้านและแยกหน่ออ่อนจากต้นแม่ มีประโยชน์ทางสมุนไพรโดยรากและลำต้น มีสรรพคุณแก้ร้อนใน เป็นยาบำรุง ประโยชน์ทางด้านอาหาร ชาวใต้นิยมใช้เป็นผักสดกินกับน้ำพริก หรือใช้เป็นเครื่องเคียงแกงเผ็ดและขนมจีน ส่วนที่นำมาใช้คือใบและยอดอ่อน.

(http://www.bloggang.com/data/plaipanpim/picture/1352465294.jpg)    
     ใบชะมวง
สถานวิจัยยาสมุนไพรและเทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ (มอ.) ได้ศึกษาวิจัยคุณสมบัติที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งและต้านแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหาร

ใบชะมวงพบเป็นพืชที่ออกฤทธิ์ดีจึงนำมาแยกสารที่ต้องการ สามารถได้สารมีฤทธิ์ในระดับดี เป็นสารที่มีค่าความเข้มข้นต่ำสามารถยับยั้งเชื้อได้ประมาณ ๗.๘ ไมโครกรัมต่อมิลลิเมตร ซึ่งถือว่าเป็นสารตัวใหม่ที่ยังไม่มีการค้นพบมาก่อน ทั้งนี้ ยังได้ศึกษาต่อถึงความเป็นไปได้ในการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อโปรโตซัวร์ ซึ่งเป็นโรคระบาดที่พบบ่อยในภาคใต้ของประเทศไทย พบว่าสารจากชะมวง สามารถยับยั้งโปรโตซัวร์ได้ดี จึงนำไปทดสอบกับเซลล์มะเร็งปอด และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งได้เช่นกัน ทั้งนี้จะมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมก่อนนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์  เพื่อการรักษาที่ได้ผลและลดอาการข้างเคียงจากการใช้ต่อไป.
..นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/70930906592143_3.jpg)
     โคลงเคลงขี้นก คือพันธุ์ทำยาสมุนไพร
ปัจจุบัน มีต้นโคลงเคลงนำเข้าจากต่างประเทศวางขายกันอย่างแพร่หลาย มีทั้งจากประเทศไต้หวัน ประเทศออสเตรเลียและแอฟริกา ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ที่นำเข้าสีสันของดอกจะเข้มข้นสวยงามมาก แต่ต้นโคลงเคลงชนิดที่สามารถใช้ทำยาสมุนไพรมีอยู่เพียงสายพันธุ์เดียวที่พบขึ้นทั่วไปตามที่โล่งแจ้งกลางทุ่งหรือบนเขาทั่วไปในประเทศไทย มีชื่อเรียกในไทยว่า “โคลงเคลงขี้นก” ทางภาคใต้เรียก เบร์, มะเหร, มังเคร่, มังเร้, สาเร, สำเร ภาคอีสานเรียก เอ็นอ้า หรือ เอ็นอ้าน้ำ

โคลงเคลงขี้นก หรือ MELASTOMA MALABATHRICUM LINN. อยู่ในวงศ์ MELASTOMATACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มสูง ๑.๕-๒ เมตร กิ่งก้านสีน้ำตาลแดง มีขนละเอียด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม ปลายและโคนใบแหลม แผ่นใบค่อนข้างแข็ง เส้นใบ ๓ เส้น ออกจากโคนใบไปบรรจบกันที่ปลายใบ ใบสีเขียวสด เวลาใบดกจะเป็นพุ่มน่าชมยิ่งนัก ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ๓-๕ ดอก มีกลีบดอก ๕ กลีบเป็นสีม่วงอมชมพู มีเกสรตัวผู้สีเหลือง ๕ อัน มีรยางค์สีม่วงโค้งงอ เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔-๕ 5 ซม. เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามมาก “ผล” คล้ายลูกข่าง มีเมล็ดเยอะ ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด นอกจากชื่อที่กล่าวข้างต้น ยังมีชื่อเรียกอีกคือ ตะลา, เด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ซิซะโพะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) และกะดูคุ, กาดูโด๊ะ (มาเลเซีย-ปัตตานี)

สรรพคุณทางยา ราก ปรุงเป็นยาดับพิษ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ใบอ่อน กินเป็นอาหารได้ ดอก เป็นยาระงับประสาทและห้ามเลือดในคนที่เป็นริดสีดวงทวาร ผล รสหวานปนฝาดรับประทานได้ มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑
ไทยรัฐ - พฤหัสบดีที่ ๗/๒/๕๖  

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRCRcT4n704mjwQHWcy52BWnOosVNL0TQ14IBf0AJFK8v8WA4Di)
     หมามุ่ย มีเมล็ดและฝักขาย
ปัจจุบัน พบว่ามีผู้เก็บเอา ฝักและแกะเมล็ด “หมามุ่ย” บรรจุถุงพลาสติกขาย มีผู้ซื้อกันอย่างแพร่หลาย เพราะเมล็ด ของ “หมามุ่ย” คั่วไฟพอสุกกินก่อนนอนครั้งละ ๒-๓ เมล็ด ทุกวัน หรือคั่วบดเป็นผงละเอียดผสมน้ำหรือเหล้าขาว ๔๐ ดีกรี ดื่มครั้งละ ๑ แก้วเป๊กก่อนนอนทุกวันเช่นกัน จะช่วยทำให้พลังทางเพศแข็งแรง นอกจากนั้นใบสดยังตำคั้นเอาน้ำทาหรือใช้กากพอกรักษาแผลที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ดีมาก
 
สารสกัดทั้งต้น มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างและการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ ช่วยให้ผู้ที่มีตัวอสุจิน้อยมีโอกาสมีลูกได้มากขึ้น น้ำต้มทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการอักเสบของต่อมลูกหมากมนุษย์ สาร L–DOPA ในรากกับเมล็ดใช้ในการรักษาโรค “พาร์กินสัน” มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในสัตว์ทดลอง ซึ่ง “หมามุ่ย” มีขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๓ แผง กับโครงการ ๒๑
 ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS7mMINrI67CjJ8JIjQmAPz-ZHnoWs07zf0MP7hZErxiBwgyB9RwA)
     ยมหอม
ยมหอมเป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง ๓๕ เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ช่อใบยาว ๒๕-๗๐ เซนติเมตร ใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ดอกสีขาวมีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อห้อยลง มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศอยู่บนช่อเดียวกัน ผลแห้งแตกตามยาว ผิวมีแผลระบายอากาศกระจายทั่วไป เมล็ดรูปยาวรี มีปีกสองข้าง ขนาดไม่เท่ากัน   พบตั้งแต่ปากีสถาน อินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงปาปัวนิวกินี ขึ้นตามชายป่าที่ชื้นหรือเปิดใหม่ ที่ระดับความสูง ๓๐๐-๑,๕๐๐ เมตร ออกดอกและติดผลช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคมดอกนำมาทำสีย้อมให้สีเหลืองหรือแดงใช้ย้อมผ้าฝ้าย ผ้าไหมเนื้อไม้แข็ง ทนทาน มีลายสวย นิยมใช้สร้างบ้านเรือนและเฟอร์นิเจอร์ ใช้ทำกระดานฝา เพดาน หีบบุหรี่ โครงอานม้า เครื่องแกะสลัก ฝักดาบ ทำไม้อัดได้ดี เครื่องดนตรี ตุ๊กตา กระเบื้องไม้ แจว พาย กรรเชียง ไม้บุผนังที่สวยงาม ทำเรือยนต์แข่ง ทำเครื่องเล่น ด้ามแร็กเกต กลอง เครื่องดนตรีที่ใช้สาย ทำหีบใส่ของที่ดี หีบศพ หีบชา หีบดินปืน พานท้ายและรางปืน ลักษณะคล้ายไม้สุเหรียนทางภาคใต้ใช้แทนกันได้เปลือก มียางไม้ที่เรียกว่า น้ำฝาด ใช้เป็นยาสมุนไพรสมานแผล และห้ามเลือด แก้ไข้และใส่แผล นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อโรคเชื้อราบางชนิดอีกด้วย ดอก ใช้เป็นยาขับระดู.

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ5C4LashagjiRux9X6pjBRGu0LpP-8ZLu_7NtvGTTxx7sYVK-a)
     เสลดพังพอนตัวผู้
เสลดพังพอนตัวผู้เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ ๑ เมตร มีหนามแหลมยาวบริเวณข้อ ข้อละ ๒ คู่ ถึง ๓ คู่ ก้านใบสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม เส้นกลางใบแดง ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว ๘ ซม. มีใบประดับสีน้ำตาลแดง ค่อนข้างกลม กลีบดอกสีส้ม ผลเป็นฝักรูปไข่ ในทางการแพทย์แผนไทยจะใช้รากเข้ายาแก้ตาเหลือง หน้าเหลือง เมื่อยตัว กินข้าวไม่ได้ แก้เจ็บท้อง แก้ผิดอาหาร ถอนพิษงู พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวดฟัน ใช้ใบถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ลมพิษ รักษาเม็ดผื่นคันตามผิวหนัง แก้โรคเบาหวาน แก้ปวดแผล แผลจากของมีคมบาด แก้โรคฝีต่าง ๆ รักษาโรคคางทูม แก้โรคไฟลามทุ่ง แก้ขยุ้มตีนหมา แก้โรคงูสวัด รักษาโรคเริม ถอนพิษจากเม็ดตุ่มฝีดาษ รักษาโรคฝีดาษ แก้ฟกช้ำ แก้ช้ำบวม ถอนพิษไข้ พิษไข้ทรพิษ เหงือกบวม แก้ริดสีดวงทวาร แก้ยุงกัด แก้ปวดจากปลาดุกแทง.

(http://www.bloggang.com/data/plaipanpim/picture/1312617189.jpg)
     หญ้าลิ้นเป็ด ปลูกเป็นยา
ไม้ชนิดนี้ จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับต้นเบญจมาศ พบขึ้นตามทุ่งโล่ง ทุ่งนาทั่วไปชาวจีนเรียกว่า “อะจิเช่า” หรือ LACTUCE DEBILIS MAXIM ส่วนใหญ่ชาวจีนจะนิยมปลูกในบ้านเพื่อใช้ประโยชน์เป็นยาสมุนไพรเท่านั้น คนไทยรู้จัก “หญ้าลิ้นเป็ด” น้อยมาก รสชาติทั้งต้น ดอก รวมราก ขม ใช้เป็นยาเย็นดีมาก
 
ถ้ามีอาการปวดร้อนเจ็บคอ ให้เอา “หญ้า ลิ้นเป็ด” ๓ เฉียน ต้มน้ำใส่น้ำตาลแดง หรือ “หญ้า ลิ้นเป็ด” ๕ เฉียน กับ ยาเย็น และ แฮ่โกวเช่า อย่างละ ๑ ตำลึง (มีขายตามร้านยาจีน) ต้มน้ำใส่น้ำตาลดื่ม เป็นฝีแผลเปื่อยบวมเจ็บ ใช้ “หญ้าลิ้นเป็ด” กับ ลักกักเอง ต้นหูปลาช่อน ตำรวมกันจนแหลกทาหรือใช้ “หญ้าลิ้นเป็ด” ๕ เฉียน ต้มน้ำใส่น้ำตาลแดงดื่มหายได้ เป็นแผลเปื่อยคัน ใช้ “หญ้าลิ้นเป็ด” ๕ เฉียน ต้มใส่เหล้าขาวหรือเหล้าจีนเล็กน้อยดื่มวันละครั้ง ครั้งละ ๑ แก้วเล็กๆ ๑-๒ วัน แรกๆอาจจะคันมากขึ้น แต่จากนั้นก็จะหายได้ ผู้หญิงนมเจ็บ ปวด ใช้ “หญ้าลิ้นเป็ด” ๕ เฉียน ตำ คั้นเอาเฉพาะน้ำชงกับเหล้าเล็กน้อยดื่ม ส่วนกากใช้พอกหรือทา เด็กปากและลิ้นเปื่อยเจ็บ ใช้  “หญ้าลิ้นเป็ด” ตำเอาน้ำทาวันละหลายๆ ครั้ง หรือใช้ใบ “หญ้าลิ้นเป็ด” ๑๐ ใบ ต้มน้ำเดือดใส่น้ำตาลแดงดื่มหายได้ อัตราส่วน ๑ เฉียน เท่ากับ ๓.๗๕ กรัม ๑ ตำลึง เท่ากับ ๓๗.๕๐ กรัม
 
หญ้าลิ้นเป็ด เป็นพืชล้มลุก แตกใบและต้นขึ้นจากรากใต้ดิน หรือไหล ใบลักษณะคล้ายลิ้นเป็ด จึงถูกตั้งชื่อว่า “หญ้าลิ้นเป็ด” ดอกเหมือนกับดอกเบญจมาศ ออกช่วงฤดูหนาว เป็นสีเหลือง เมล็ดจำนวนมาก รูปแบน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือไหล  ปัจจุบัน “หญ้าลิ้นเป็ด” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑  ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกไว้ใช้ประโยชน์เป็นยาสมุนไพรตามที่กล่าวข้างต้นครับ.
 ไทยรัฐ

(http://sator4u.com/upload/pics/pic53edc097534ea.jpg)
     ผักกระฉูด ยอดอ่อนอร่อย
ผู้อ่านจำนวนมากอยากทราบว่า “ผักกระฉูด” เป็นอย่างไร เพราะเห็นมัดเป็นกำวางขายเป็นผักสดคู่กับผักกระเฉด และผู้ขาย บอกว่ารับประทานได้เหมือนกับผักกระเฉดทุกอย่าง แต่ยังไม่กล้าซื้อรับประทาน ซึ่งความจริงแล้ว “ผักกระฉูด” เป็นผักอยู่ในวงศ์เดียวกับผักกระเฉดคือ LEGUMINO-SAE มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ NEPTUNIA JAVANICA MIQ ส่วนผักกระเฉดชื่อวิทยาศาสตร์ว่า NEPTUNIA OLERACEA LOUR ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกัน ต่างกันที่ผักกระเฉดมีทุ่นสีขาวนุ่มหุ้มลำต้นเรียกว่า “นม” แต่ลำต้นของ “ผักกระฉูด” ไม่มีและไม่ต้องลอกออกก่อนรับประทานให้เสียเวลา

ผักกระฉูด เป็นไม้ทอดเลื้อยยาวได้ ๑ เมตร ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อย ๗-๓๐ คู่ เป็นรูปขอบขนาน ปลายมนโคนตัด สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลืองปนส้มเล็กน้อย “ผล” เป็นฝักแบนมีหลายเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำต้น พบขึ้นทั่วไปในภูมิภาคอินโดจีน อินโดนีเซีย พม่า ประเทศติมอร์ ในประเทศไทยพบทุกภาค โดยจะขึ้นตาม ที่โล่งแจ้ง แห้งแล้ง หรือ ที่ชื้นแฉะ มีชื่อเรียกอีกคือ ผักกระเฉดโคก และ ผักกระเฉดบก

ประโยชน์ทางอาหาร ยอดอ่อน กินเป็นผักสด หรือนำไปประกอบเป็นอาหารได้เหมือนกับผักกระเฉดทุกอย่าง เช่น กินเป็นผักสดหรือต้ม ลวก จิ้มน้ำพริกทุกชนิด แกงส้มกุ้ง ปลา เป็นต้น แต่การใช้ประโยชน์ทางอาหารนิยมเด็ดเอาเฉพาะยอดอ่อนยาวประมาณ ๑ นิ้วฟุตเท่านั้นจึงจะกรอบอร่อย หากเด็ดยาวเกินกว่านั้นจะเหนียวไม่นิยมรับประทาน   อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน “ผักกระฉูด” จัดเป็นวัชพืชที่กำจัดยาก หากให้เลื้อยคลุมพืชชนิดอื่นจะตายหมด จึงมีผู้ปลูกให้ขึ้นเฉพาะที่เพื่อเก็บยอดขายไม่กี่แห่งเท่านั้นครับ.
 ไทยรัฐ - พุธที่ ๒๖/๒/๕๗


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTQYBa5cJVdAHxGa_0yJtXF-CfXhe37IFaYCOTgQQNTNjzAnG65)  (https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSj5HYizLFtS076rJfVDV57cCPeBROycedLEtNKjsH_TBFDyYubDA)
     ลูกจันทน์เทศ
จันทน์เทศมีความสำคัญสำหรับการผลิตเครื่องเทศสองอย่าง คือ เมล็ดจันทน์เทศ และ ดอกจันทน์เทศ ในตำรายาไทย ลูกจันทน์ จะนำมาใช้แก้ธาตุพิการ บำรุงกำลัง แก้ไข้ บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้จุกเสียด ขับลม รักษาอาการอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย แก้บิด แก้กำเดา แก้ท้องร่วง แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้เสมหะโลหิต แก้ปวดมดลูก และบำรุงโลหิต เปลือกเมล็ด รสฝาดมีมันหอม นำมาใช้สมานบาดแผลภายใน แก้ท้องอืด แก้ปวดท้อง ในประเทศอินโดนีเซียจะใช้ลูกจันทน์เทศรักษาอาการท้องเสีย และนอนไม่หลับ
 
นอกจากนี้ในบัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ ๕) ปรากฏการใช้ลูกจันทน์ ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆ ของร่างกาย คือยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร มีส่วนประกอบของลูกจันทน์ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ.
เดลินิวส์

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQc1ZVOs-0JeZwNh7hwB2Uvb5zwn_lqS80zoYbg157zMxJg9LV8IA)
     ขิง แก้แผลเป็นหนังศีรษะผมไม่ขึ้น
หลายคน มีปัญหาหนังศีรษะเป็นแผลเป็น แล้วเส้นผมบริเวณดังกล่าวไม่งอกขึ้น ทำให้ดูน่าเกลียดมาก ซึ่งในทางสมุนไพรมีวิธีช่วยได้คือให้เอา “ขิง” สดแก่ๆ หั่นเป็นแว่นบางๆ นำไปถูบริเวณที่เป็นแผลเป็น วันละ ๒ ครั้ง เช้า–เย็น ประมาณ ๑๐ วัน หากรากผมยังไม่ตายเส้นผมจะงอกขึ้นมาได้อย่างเหลือเชื่อ สูตรดังกล่าวใช้ได้ผลระดับหนึ่งมาแต่โบราณแล้ว เพียงแต่มีข้อแม้ว่า แผลเป็นบนหนังศีรษะจะต้องเพิ่งหายจากการรักษาใหม่ๆ จึงจะได้ผล

ขิง หรือ ZINGIBER OFFICINALE ROSEAE อยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE มีถิ่นกำเนิดจากอินเดีย มีหัวสดขายทั่วไป เหง้า มีสาร GINGEROL, ZINGIBERONE ใช้แต่งกลิ่นอาหาร สารที่ทำให้ “ขิง” แก่เผ็ดคือ SHOGAOL, ZINGERRONE สรรพคุณขับลม แก้ท้องเฟ้อ ลดอาการเมารถ และ เมาเรือ แก้อาเจียน “ขิง”อ่อน ทำอาหาร.
ไทยรัฐ - อังคารที่ ๒๕/๓/๕๗


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTzXCFagc-Z6_DUWx_kMypfNSOouEHHiAXjKFo_USOwAbRnwKIa)
     ต้นข่าแก่ บรรเทาไอ เสมหะในคอเยอะ
ใกล้สู่ฤดูหนาว มีคนแพ้อากาศเยอะ ส่วนใหญ่จะมีอาการไอและมีเสมหะในลำคอมาก ในทางสมุนไพรมีวิธีช่วยบรรเทาได้คือ ให้เอา "ต้นข่าแก่" ตัดเป็นท่อนยาวประมาณครึ่งนิ้ว ๓ ท่อน ทุบพอแตกใส่แก้วหรือถ้วยไว้ เติมน้ำตาลทรายกับเกลือป่นเล็กน้อยพร้อมบีบน้ำมะนาวลงไปครึ่งซีก ใส่น้ำอุ่นลงไปให้ท่วมยา แช่ทิ้งไว้จนตัวยาออกจิบบ่อยๆ เอา "ต้นข่าแก่" ที่แช่อมในปากด้วย จะช่วยให้อาการไอและเสมหะในลำคอค่อยๆดีขึ้นและหายได้ในที่สุด

ข่า หรือ ALPINIA NIGRA (GAERTN) B.L.BURTT. อยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE สรรพคุณ เหง้าหรือหัวอ่อนต้มเอาน้ำดื่มบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม หัวสดตำผสมเหล้าขาว ๔๐ ดีกรี เอาเฉพาะน้ำทารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน ดีมาก ในหัวของข่า มีสาร CINFOL, METHYL CINNAMATE
ไทยรัฐ - อังคารที่ ๕/๑๑/๕๗


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTxfzjeY5zxAcNPgn5YZVF18jrsNIBSd8guBUArHW_DSuVEU6Jh)
     พริกไทยซีลอนเตี้ย
พริกไทย เป็นพืชชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกเพื่อเก็บผลใช้ประโยชน์ในครัวเรือนมาแต่โบราณ ซึ่งพริกไทยมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ที่ผู้ปลูกชื่นชอบมากในปัจจุบันได้แก่ “พริกไทยซีลอนเตี้ย” เนื่องจากต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน ๑ เมตร แตกกิ่งก้านกลายเป็นไม้พุ่มรอเลื้อยหรือไม่เลื้อยเช่นต้นพริกไทยทั่วไป ทำให้ผู้ปลูกไม่ต้องสร้างโครงหรือค้างให้ลำต้นไต่หรือเลื้อยและ ที่สำคัญ “พริกไทยซีลอนเตี้ย” สามารถปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งในที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวันมีดอกและติดผลดกเต็มต้นได้เหมือนปลูกลงดินทุกอย่าง ตามภาพประกอบคอลัมน์ และยังติดผลตลอดทั้งปี ผู้ปลูกเก็บผลใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่ามาก
 
พริกไทยซีลอนเตี้ย เกิดจากการนำเอาต้นพริกไทยซีลอนพันธุ์ดั้งเดิมที่เป็นไม้เลื้อยโดยธรรมชาติไปพัฒนาพันธุ์หลายวิธีจนทำให้กลายเป็นไม้พุ่มรอเลื้อยต้นสูงไม่เกิน ๑ เมตร ตามที่กล่าวข้างต้น ซึ่ง “พริกไทยซีลอนเตี้ย” มีชื่อวิทยาศาสตร์และลักษณะทางพฤกษศาสตร์คือ PEPPER PIPER NIGRUM LINN. อยู่ในวงศ์ PIPERACEAE เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เนื้อแข็ง ลำต้นเป็นข้อโป่งนูน มีรากฝอยงอกตามข้อ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน ดอก ออกตามซอกใบ สีขาวแกมเขียว เป็นดอกแยกเพศ “ผล” รูปทรงกลม เรียงตัวแน่นตามแกนช่อยาวจำนวนมาก ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดง รสชาติเผ็ดร้อนมีกลิ่นหอม นิยมเก็บผลสดหรือแห้งปรุงอาหารหลากหลายชนิด เป็นเครื่องเทศ ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำต้น
 ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 ตุลาคม 2556 12:38:31
.
(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSSIA3b1pwSEm9q9tk860tVGu-3FOqINr57FJEdo7k7vO9AEERGGg)  
     คุณประโยชน์ของฝรั่ง
ฝรั่งเป็นไม้ต้น ขนาดกลาง สูง ๓-๕ เมตร ผิวเปลือกต้นเรียบเกลี้ยง กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบหนา หยาบ ใต้ท้องใบเป็นริ้ว เห็นเส้นใบชัดเจน ขนขึ้นนวลบาง ใบยาวประมาณ ๑๐ ซม. กว้างประมาณ ๖ ซม. ดอกช่อ ช่อหนึ่งมีดอกย่อย ๓-๕ ดอก ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงแข็ง ผล รูปทรงกลม รูปไข่ หรือรูปรี ผิวเกลี้ยง สีเขียว เนื้อในขาว รสหวาน กรอบ ผลสุกสีเหลือง-เขียว มีเมล็ดเล็กๆ แข็งอยู่ภายใน
 
ฝรั่งมีสารแทนนินอยู่มาก สารนี้มีฤทธิ์ฝาดสมานน้ำมันหอมระเหยในใบฝรั่ง สารแทนนินในฝรั่งยังยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค ช่วยสมานท้องและลำไส้ โดยช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะลำไส้ และช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และยังช่วยอาการเกร็งตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องบรรเทาลงได้ แก้ปวดเบ่ง คนไทยเมื่อครั้งอดีตจะใช้ใบเป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด หรือใช้ใบ ๒-๓ ใบเคี้ยวระงับกลิ่นปาก แก้ฝี เป็นยาล้างแผล ดูดหนองและถอนพิษบาดแผล แก้เหงือกบวม แก้พิษเรื้อรัง แก้ปวดเนื่องจากเล็บขบ แก้แพ้ยุงเป็นต้น.
 นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.mof.or.th/fruit/p1_9_9_2content04.jpg)
    ฝรั่งขาวเมืองชล
ฝรั่งสายพันธุ์นี้เป็นฝรั่งพันธุ์ไทยแท้ๆ ที่นิยมปลูกเฉพาะถิ่นในแถบจังหวัดชลบุรีมาตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว มีลักษณะดีคือ ปลูกง่ายโตเร็ว ติดผลดกเกือบตลอดทั้งปี เนื้อในผลเป็นสีขาว เนื้อแน่น มีเมล็ดน้อย รสชาติเมื่อผลแก่จัดจะหวานนำมีเปรี้ยวปนเล็กน้อย รับประทานอร่อยมากจึงถูกตั้งชื่อว่า “ฝรั่งขาวเมืองชล” มีผลวางขายเฉพาะในพื้นที่ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย และได้มีการตอนกิ่งขยายพันธุ์วางขายด้วย มีผู้ซื้อไปปลูกมากมาย จนทำให้กิ่งตอนหมดและขาดหายไประยะหนึ่ง ปัจจุบัน เพิ่งพบว่ามีกิ่งตอนของ “ฝรั่งขาวเมืองชล” ถูกนำออกวางขายอีกครั้ง เลยแจ้งให้ผู้ชื่นชอบปลูกฝรั่งทราบทันที

ฝรั่งขาวเมืองชล มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับ ฝรั่งขี้นก คือ PISDIUM GUAJAYA LINN. อยู่ในวงศ์ MYRTACEAE เป็นไม้ยืนต้นสูง ๒-๔ เมตร เนื้อไม้แข็ง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลเทา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรี ปลายแหลม โคนมน แผ่นใบสากมือ ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนหรือเก็บผลขายได้คุ้มค่ามากครับ

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีขาว มีเกสรตัวผู้สีครีมจำนวนมาก “ผล” ค่อนข้างกลมหรือรีเล็กน้อย ผลโตเต็ม ที่มีขนาดประมาณผลส้มเขียวหวาน หรือขนาดผลแอปเปิ้ล ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเขียวอ่อนปนเหลือง ผิวเปลือกผลขรุขระเล็กน้อย เนื้อในขณะแก่จัดรสชาติหวานกรอบไม่ฝ่อหรือสวก ฉ่ำน้ำ รับประทานอร่อยมาก ปัจจุบัน “ฝรั่งขาวเมืองชล” วางขายกิโลกรัมละหลายบาท ถือเป็นสินค้าของฝากชั้นดีชนิดหนึ่งของจังหวัด นักท่องเที่ยวนิยมซื้อกันมาก

ฝรั่งขาวเมืองชล มีกิ่งตอนรุ่นใหม่วางขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑  ราคาสอบถามกันเอง.
 นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/53157452162769_EyWwB5WU57MYnKOvHzIlSip2Fmgb3D.jpg)
     ฝรั่งแดงไต้หวัน
โดย ทั่วไปฝรั่งจะมีไส้สองสีคือ สีขาว กับ สีแดง ซึ่งถ้าเป็นไส้สีแดงคนไทยเรียกว่า ฝรั่งขี้นก พันธุ์ไทยแท้ๆ ผลจะมีขนาดเล็กมีเมล็ดเยอะ เวลาผลสุกจัดๆกลิ่นจะหอมแรงมาก รสชาติจะเปรี้ยวไม่หวาน สมัยก่อนนิยมปลูกกันแพร่หลาย ส่วนใหญ่จะเก็บผลกินตอนห่ามๆ จิ้มเกลือป่นกรอบอร่อยมาก

สำหรับ “ฝรั่งแดงไต้หวัน” แม้จะเป็นฝรั่งที่มีไส้สีแดง แต่จะมีข้อแตกต่างกับฝรั่งขี้นกของไทยคือ “ฝรั่งแดงไต้หวัน” ผลจะมีขนาดใหญ่กว่าเยอะ โตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ ๔-๕ ผลต่อ ๑ กิโลกรัม เมล็ดก็มีน้อยมาก เวลาสุกรสชาติของ “ฝรั่งแดงไต้หวัน” จะหวานหอมอร่อยมาก มีผลสุกวางขายเฉพาะตลาดผลไม้ใหญ่ๆใน กทม.เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันพบว่ามีผู้ขยายพันธุ์ “ฝรั่งแดงไต้หวัน” เป็นกิ่งตอนออกวางขาย จึงรีบแนะนำในคอลัมน์อีกตามระเบียบ

ฝรั่งแดงไต้หวัน มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับฝรั่งทั่วไปคือ GUAVA, PSIDIUM GUAJAYA LINN. อยู่ในวงศ์ MYRTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๒-๔ เมตร เนื้อไม้แข็ง มีอายุนานหลายปี เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลเทา ผิวเปลือกมักล่อนเป็นแผ่นบางๆ ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบแหลม ผิวใบหยาบสากมือสีเขียวสด ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ ดอกสีขาว มีเกสรตัวผู้เป็นสีครีม “ผล” รูปทรงกลมรี ปลายผลกว้าง ส่วนหัวผลเรียว ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลือง

เนื้อใน เป็นสีแดง (ตามภาพประ-กอบคอลัมน์) ผลโตกว่าผลฝรั่งขี้นกของไทยอย่างชัดเจน มีเมล็ดน้อยตามที่กล่าวข้างต้น ผลสุกจะหวานหอม ผลห่ามกรอบหวานอร่อยมาก ติดผลได้เรื่อยๆหรือเกือบทั้งปี และติดผลดก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง มี กิ่งพันธุ์ขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ

สรรพคุณทางสมุนไพรของฝรั่ง ทั้งต้นรวมราก หรือที่นิยมเรียกว่า ฝรั่งทั้ง ๕ มีรสฝาดเย็นใช้ภายนอกดูดกลิ่นเหม็น ดูดน้ำเหลือง น้ำหนอง ถอนพิษบาดแผล ยอดใบอ่อนปิ้งไฟพอเหลืองกรอบต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ปวดเบ่ง (เสมหะพิการ) ราก แก้น้ำเหลืองเสียทำให้แห้ง ผลสุกวางบนหลังหีบศพดูดเก็บกลิ่นเหม็นดีมาก ใบสดเคี้ยวดับกลิ่นเหล้าในปาก นำไปต้มรวมกับยอดสะเดาทำให้สะเดาลดความขมน้อยลง ใบแก่ต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วงได้ด้วยครับ.
 นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRJGjCcjZ6WcAlO40gD_gRK1i_d-8ei5N-mW057wqGRdIYgefwyaA)
     ฝรั่งสายน้ำผึ้ง  เนื้อไม่แข็งหวานกรอบ
ฝรั่งชนิดนี้ ผู้ขายกิ่งตอนบอกว่าเป็นพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศไต้หวัน และถูกนำเข้ามาปลูกขยายพันธุ์ในประเทศไทยบ้านเรานานหลายปีแล้ว เหมือนกับไม้ผลชื่อดังหลายชนิดที่เคยแนะนำในคอลัมน์นั่นแหละ สามารถเจริญเติบโตมีดอกและติดผลได้ดีในทุกสภาพอากาศของประเทศไทย ผลมีขนาดใหญ่ให้ผลผลิตดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ขายบอกที่มาของชื่อว่ามาจากสีสันของเปลือกผลที่แก่จัด ไม่ห่อกระดาษป้องกันแมลงเจาะผล ให้ถูกแดดถูกลมตามธรรมชาติ สีของเปลือกผลจะเป็นสีเหลืองทองน่าชมมาก

ชาวจีนที่ประเทศไต้หวันจึงเรียกฝรั่งชนิดนี้ว่า ฝรั่งสุ่ยมี่ หรือ “ฝรั่งสายน้ำผึ้ง” นั่นเอง

ผล เมื่อโตเต็มที่ผู้ขายบอกว่ามีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๕๐๐-๘๐๐ ขีด เป็นฝรั่งสายพันธุ์ที่ปลูกแล้วโตเร็ว ติดผลได้ง่าย หลังปลูกประมาณ ๖-๗ เดือน จะเริ่มให้ผลผลิตชุดแรกหรือที่ชาวสวนนิยมเรียกกันว่า “เริ่มไว้ผล” ได้ รสชาติของเนื้อ ผลที่แก่ผู้ขายยืนยันว่าจะฟูไม่แข็งและมีเมล็ดน้อยหรือเกือบไม่มีเมล็ดเลย หวานกรอบรับประทานอร่อยมาก ปัจจุบันชาวสวนในพื้นที่ อ.สามพราน จ.นครปฐม กับ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร เริ่มปลูกฝรั่งพันธุ์ดังกล่าวเพื่อเก็บผลขายเชิงพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาดแพร่หลายในเวลานี้

ฝรั่งสายน้ำผึ้ง มีชื่อวิทยาศาสตร์และมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับฝรั่งทั่วไปทุกอย่างคือ GUAVA PSI-DIUM GUAJAVA LINN. อยู่ในวงศ์ MYRTACEAE เป็นฝรั่งติดผลดกไม่ขาดต้น เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนหรือปลูกหลายๆต้นเพื่อเก็บผลขายตามที่กล่าวข้างต้นได้คุ้มค่ามาก
   นสพ.ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 พฤศจิกายน 2556 15:52:26
.
(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRCvmjksRBB7kHzw4mc8uZ6OimPK_sJc8mEdrfU0qRNWQZGaVb-wg)  (https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQhkPjd5HEwFRpmH6fg_HjhP-odfHFLclwnWgMUEwUnaqw1VV796w)  
หลุมพี

หลุมพีเป็นพืชพวกปาล์ม คล้ายระกำ ลำต้นสั้น ตัวตรง แตกหน่อเป็นกอใหญ่ ออกดอกออกผลแล้วตายไป ขึ้นในที่ลุ่มน้ำขัง และป่าพรุ ใบประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ ก้านใบและกาบใบมีหนามยาวแหลม เรียงเป็นแผง มีใบย่อย ดอกเป็นดอกช่อ แทงออกมาเป็นกระจุกตามซอกบริเวณโคนก้านใบ ผลคล้ายรูปไข่ปลายตัด กว้างยาวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร มีสีเหลือง เปลือกเป็นเกล็ดเล็ก ๆ เรียงเกยซ้อนกัน

เนื้อของผลมีรสเปรี้ยว เป็นพืชประจำถิ่นพบมากในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดนราธิวาส มีในป่าฮาลา-บาลา และพรุโต๊ะแดง ประชาชนนิยมนำผลอ่อนของหลุมพี ซึ่งมีรสฝาดเปรี้ยวมาประกอบอาหารประเภทแกงส้ม ผลดิบใส่น้ำพริกแทนมะนาว หรือมะขาม ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้ได้ ก้านใบเอาหนามออก ทุบพอแตก ตากแดดจะมีความเหนียว ใช้ทำเชือก ผลสุกใช้ผสมตัวยาแก้ไข้มาลาเรีย คั้นน้ำผสมกับเกลือและน้ำตาล จิบกินแก้ไข้ทับระดู ออกผลช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม.



(http://www.rakbankerd.com/kaset/Animal/4128_1.jpg)
ถั่วท่าพระสไตโล

ถั่วท่าพระสไตโล เป็นถั่วที่มีอายุ ๒-๓ ปี พุ่มตั้ง ขนาดต้นและทรงพุ่มใหญ่กว่าถั่วฮามาต้า ต้านทานโรคแอนแทคโนส ไม่ทนดินเค็มและดินด่าง ไม่ทนต่อการแทะเล็มเหยียบย่ำของสัตว์ หรือตัดบ่อยๆ ผลผลิตน้ำหนักแห้ง ๑.๕-๒.๕ ตันต่อไร่ต่อปี โปรตีน ๑๔-๑๘ เปอร์เซ็นต์ ปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์อัตรา ๒.๐ กิโลกรัมต่อไร่ หว่านหรือโรยเป็นแถว ๆ ห่างกันประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ก่อนปลูกแช่เมล็ดในน้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ ๘๐ องศาเซลเซียส นาน ๕ นาที กำจัดวัชพืชครั้งแรกหลังจากปลูกถั่ว ๓-๔ สัปดาห์ และหลังจากนั้น ๑-๒ เดือน กำจัดวัชพืชอีกครั้งหนึ่ง ถ้ายังมีวัชพืชขึ้นหนาแน่น และควรตัดครั้งแรกเมื่อปลูกได้ ๘๐-๙๐ วันเพื่อนำไปเลี้ยงสัตว์ หลังจากนั้นตัดทุกๆ ๖๐-๗๕ วัน โดยตัดสูงจากพื้นดิน ๑๕-๒๐ เซนติเมตร เป็นถั่วที่เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงโค กระบือ ในรูปถั่วสด หรือถั่วแห้ง.


(http://lms.wd.ac.th/digital_library/agri/job205/kalopo.jpg)
ถั่วคาโลโปโกเนียม

ถั่วคาโลโปโกเนียม เป็นพืชคลุมดินในสวนยางพาราเจริญเติบโตได้รวดเร็วสามารถคลุมพื้นที่ทั้งหมดภายหลังปลูกภายใน ๒-๓ เดือน แต่จะตายภายใน ๑๘-๒๔ เดือน มีเมล็ดเล็กแบน สีน้ำตาลอ่อนเกือบเหลือง มีเมล็ดประมาณ ๖๕,๐๐๐ เมล็ดต่อกิโลกรัม นิยมนำมาปลูกในเขตภาคใต้และภาคตะวันออก โดยนิยมปลูก ผสมกับเซนโตรซีมาและเพอราเรีย ในอัตรา ๕ : ๔ : ๑ ส่วน ถ้าคิดเป็นเมล็ดพันธุ์พืชคลุมดินสำหรับปลูกในพื้นที่ ๑ ไร่ จะเท่ากับ ๕๐๐ กรัม : ๔๐๐ กรัม : ๑๐๐ กรัม พืชแซมยางที่นำมาปลูกควรเป็นพืชอายุสั้น เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด ยาสูบ ถั่วต่างๆ แต่ทั้งนี้พืชที่มีอายุมากกว่า ๑ ปี บางชนิดก็สามารถปลูกได้ เช่น สับปะรด กล้วย มะละกอ เป็นต้น การปลูกพืชแซมควรปลูกให้ห่างจากแถวยางไม่น้อยกว่า ๑ เมตร ยกเว้นมันสำปะหลัง ต้องปลูกให้ห่างจากแถวยาง ๒ เมตร.. เดลินิวส์


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTIyTov1bNdMIZcgWYySz5XkKPeM5oID-rJBCbB-KlRqlzWqGoU)
     มันสำปะหลังพิรุณ ๒
มันสำปะหลังพิรุณ ๒ ต้นขาย มีภาพถ่ายต้นและหัวจริงแขวนโชว์ให้ชมด้วย ผู้ขายบอกว่า มันสำปะหลังชนิดนี้เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์โดย ดร.โอภาษ บุญเสง จากกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ ดร.กนกพร ไตรวิทยากร จากสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างมันสำปะหลังชื่อห้วยบง ๖๐ กับมันสำปะหลังพันธุ์ห้านาที แล้วเอาต้นกล้าปลูกทดสอบพันธุ์อยู่นานจนเชื่อว่าเป็นมันสำปะหลังพันธุ์ใหม่และเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุด มีข้อโดดเด่นประจำพันธุ์คือ หยั่งรากลงดินได้เร็วและเจริญเติบโตดีในทุกสภาพดินในประเทศไทยบ้านเรา แต่จะไม่ชอบนํ้าท่วมขัง ให้ผลผลิตต่อไร่สูงแบบสม่ำเสมอ เนื้อหัวมีปริมาณของไซยาไนด์ตํ่า เปลือกหัวบาง ต้มให้สุกได้รวดเร็วไม่เกิน ๕ นาที จึงมีชื่อเรียกอีกว่ามันห้านาที ปอกเปลือกหัวได้ง่าย เนื้อสุกรับประทานอร่อยมาก จึงตั้งชื่อว่า “มันสำปะหลังพิรุณ ๒" พร้อมแนะนำให้เกษตรกรนำไปปลูกเก็บหัวขายแปรรูปทำอาหาร ขนมหวานและขายโรงงานทำแป้งมันสำปะหลัง นิยมมากในปัจจุบัน

มันสำปะหลังพิรุณ ๒ หรือ MANIHOT ESCULENTA CRANTZ. อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เป็นไม้ยืนต้น มีหัวเป็นช่อกระจุกและหัวขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน ใบรูปนิ้วมือ ออกเรียงสลับ ก้านใบสีแดงอมม่วง แตกต่างจากก้านใบของมันสำปะหลังพิรุณ ๑ ที่จะเป็นสีเขียว และรสชาติของเนื้อหัวก็ต่างกันด้วย ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน ออกที่ปลายยอด รูปทรงของหัวสวย เป็นมันสำปะหลังที่ปลูกง่าย ต้นเจริญเติบโตได้เร็ว ให้ผลผลิตจำนวนของหัวใต้ดินจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอแบบต่อเนื่อง เป็นพันธุ์ที่ปลูกแล้วคุ้มค่ามาก ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยต้นและหัว

มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗
  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55541302222344_untitled.png)
เท้ายายม่อม

เท้ายายม่อม ชื่อวิทยาศาสตร์ Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze ชื่อวงศ์ TACCACEAE ชื่ออื่นๆ เช่น ไม้เท้าฤๅษี บุกรอ สิงโตดำ เป็นไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดินสะสมอาหาร ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปฝ่ามือแยกเป็น ๓ แฉกขอบเว้าลึก ดอกช่อซี่ร่มออกที่ปลายยอด ดอกสีเขียวแกมเหลืองหรือสีม่วงเข้ม ผลทรงกลม สีเขียว ขยายพันธุ์โดยใช้หัว

เป็นพืชตระกูลเดียวกับค้างคาวดำ สมุนไพรในตระกูลนี้ส่วนใหญ่ใช้เป็นยาบำรุงกำลังบำรุงร่างกาย โดยขุดเหง้ามาต้มน้ำดื่ม ยอดอ่อนของเท้ายายม่อมนำมาต้มจิ้มน้ำพริกรับประทานได้ หรือผัดกับน้ำกะทิสด ที่ชาวบ้านเรียกว่าผัดกะทิเท้ายายม่อม ช่วยเพิ่มความอร่อย

แป้งเท้ายายม่อมสกัดมาจากหัวมันเท้ายายม่อม มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาวเป็นเงา เวลาใช้ต้องบดให้ละเอียดเป็นผง เมื่อนำไปประกอบอาหารจะให้ความข้นเหนียวหนืดและใส ปัจจุบันแทบหาซื้อไม่ได้แล้ว โดยมากทำมาจากมันสำปะหลัง
นสพ.ข่าวสด

(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/143569.jpg)
เฉาก๊วย

ในตำรายาแผนจีนระบุว่า ใบสดหรือใบแห้งของต้นเฉาก๊วย จำนวนหนึ่งกำมือหรือกะพอประมาณตามต้องการ ใส่น้ำให้ท่วมต้มในหม้อดินจนเดือดแล้วดื่มขณะอุ่นแบบจิบต่างน้ำชาเป็นประจำ จะทำให้โรคความดันโลหิตสูงค่อยๆลดลงและควบคุมไม่ให้สูงขึ้นอีกได้ และยังช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำอีกด้วย สามารถต้มดื่มเรื่อยๆได้ไม่มีอันตรายอะไร ชาวจีนนิยมชงเป็นน้ำชาดื่มมาแต่โบราณแล้ว

ในส่วนของการทำเฉาก๊วย เพื่อผสมน้ำเชื่อมใส่น้ำแข็งรับประทานมีวิธีทำแบบง่ายๆ คือให้เอาต้นเฉาก๊วยทั้งต้นชนิดแห้งมีขายทั่วไปตามร้านยาจีน กะจำนวนมากน้อยตามต้องการ ต้มกับน้ำจนเดือดและน้ำเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล จากนั้นกรองเอาเฉพาะน้ำผสมกับแป้งมันและแป้งข้าวเหนียวเล็กน้อยพอเหมาะสมจะทำให้น้ำเป็นเจลลี่เหนียวหนึบไม่เละ นำเอาเจลลี่ “เฉาก๊วย”  ไปหั่นเป็นชิ้นลูกเต๋า หรือหั่นเป็นเส้นยาวตามต้องการ ใส่น้ำเชื่อมและน้ำแข็งก้อนที่เตรียมไว้รับประทานอร่อยชื่นใจมาก สามารถทำจำหน่ายได้รับความนิยมจากผู้ซื้อรับประทานอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะช่วงอากาศร้อนขายดีมาก

เฉาก๊วย หรือ MESONA CHINENSIS  อยู่ในวงศ์เดียวกับกะเพรา แมงลัก ยี่หร่า โหระพา สะระแหน่ คือ LAMIACEAE เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก  ลำต้นกลม เปราะและหักง่าย คล้ายสะระแหน่ กิ่งก้านแผ่กว้างคลุมหน้าดินยาวได้ ๒-๓ ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีแกมรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน ขอบใบเป็นจักแบบฟันเลื่อยถี่ๆ ดอก ออกตามซอก ใบและปลายยอดเหมือนดอกกะเพรา ดอกเป็นสีขาว ดอกออกได้เรื่อยๆ ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง

ปัจจุบัน “เฉาก๊วย” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเองครับ.
ไทยรัฐ


(http://www.bloggang.com/data/kingkongnuinuinui/picture/1275059524.jpg)
เฉาก๊วย  ดอกสวยสรรพคุณดี

ผมเคยแนะนำต้น “เฉาก๊วย” พร้อมบอกสรรพคุณยาไปแล้ว แต่ภาพประกอบคอลัมน์เป็นเพียงต้นมีใบสีเขียวเท่านั้น ไม่มีดอกให้ชม ทำให้ผู้อ่านไทยรัฐจำนวนมากจินตนาการไม่ถูก ซึ่งก็เป็นตอนนั้นจังหวะที่พบว่ามีต้น “เฉาก๊วย” มีดอกวางขายเลยรีบถ่ายภาพเสนอประกอบคอลัมน์พร้อมสรรพคุณต้น “เฉาก๊วย” ให้ชมและเรียนรู้อีกครั้ง เพื่อย้ำความสมบูรณ์ไม่ต้องสงสัยอะไรอีก

เฉาก๊วย หรือ MESONA CHINENSIS อยู่ในวงศ์เดียวกับกะเพรา แมงลัก ยี่หร่า โหระพา สะระแหน่ คือ LAMIACEAE เป็นไม้พุ่มเล็ก กิ่งก้านแผ่กว้างคลุมหน้าดิน ยาวได้ ๒-๓ ฟุต ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรี ปลายแหลม โคนมน ขอบถี่ ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ลักษณะดอกคล้ายช่อดอกโหระพา ดอกเป็นสีขาว ใจกลางดอกมีเกสรเป็นกระจุกสีม่วง ดอกบริเวณส่วนโคนช่อจะบานก่อนเรื่อยขึ้นไป จนถึงปลายช่อดอก “ผล” รูปกลม มีเมล็ดเยอะ เวลามีดอกจะสวยงามแปลกตามาก ดอกออกได้เรื่อยๆ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และปักชำกิ่ง

สรรพคุณ ใบสด หรือ ใบแห้ง ประมาณ ๑ กำมือ ใส่น้ำให้ท่วม ต้มกับหม้อดินจนเดือด ดื่มขณะอุ่นแบบจิบต่างน้ำชาเป็นประจำจะ ช่วยให้ความดันโลหิตสูงลดลงและควบคุมได้ และยังช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำได้อีกด้วย สามารถดื่มได้เรื่อยๆ ไม่มีอันตรายอะไร

การทำ “เฉาก๊วย” เอาทั้งต้นชนิดแห้ง มีขายตามร้านยาจีน มากน้อยตามต้องการ ต้มกับน้ำจนเดือดเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล กรองเอาเฉพาะน้ำผสมกับแป้งมันและแป้งข้าวเหนียวเล็กน้อยจะทำให้เป็นเยลลี่เหนียวหนึบไม่เละ เรียกว่า “เฉาก๊วย” หั่นเป็นชิ้นลูกเต๋าหรือเป็นเส้นยาวๆ ใส่น้ำเชื่อมกับน้ำแข็งรับประทานอร่อยมาก ช่วงฤดูร้อนนิยมอย่างแพร่หลาย

ปัจจุบันต้น “เฉาก๊วย” มีขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเองครับ.

  ไทยรัฐ ฉบับประจำวันพุธที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๗


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 พฤศจิกายน 2556 17:20:21
.

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT6nWElXBIhIP3-rNmbtWZYts6q9yeDXogJfLfZahQmyf-gujlK)
ดอกมะพร้าว
มะพร้าวเป็นพืชที่มีข้อดีมากมาย เป็นที่รู้จักของผู้คนโดยทั่วไป ส่วนต่าง ๆ ของมะพร้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมาย
มะพร้าวเป็นพืชที่มีข้อดีมากมาย เป็นที่รู้จักของผู้คนโดยทั่วไป ส่วนต่าง ๆ ของมะพร้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมาย  ตั้งแต่ลำต้น ใบ ก้าน ผล กะลา รกมะพร้าว กาบมะพร้าว รากมะพร้าว ไปจนถึงดอกมะพร้าว ซึ่งมีรสฝาดหวานหอม และนอกเหนือจากนำมาทำน้ำหวานแล้วก็ยังสามารถนำมาสกัดเพื่อประโยชน์ในการรักษาอาการไข้  แก้ท้องเดิน  แก้ร้อนใน กระหายน้ำ  กล่อมเสมหะ  บำรุงเลือด แก้ปากเปื่อย เป็นต้น.
.....นสพ.เดลินิวส์

(http://www.vcharkarn.com/uploads/182/182186.jpg)
มะพร้าวอ่อน
สูตรดังกล่าว ให้เอา “น้ำมะพร้าวอ่อน” ๑ ผล ดอก ดีปลี ตากแห้ง ๗ ดอก เกลือตัวผู้ คือ เกลือทำจากน้ำทะเล มีใส่ถุงขายริมถนนติดกับนาเกลือ คัดเอาเฉพาะที่เป็นเม็ดแหลม ๓ ตัว ถ้าเป็นเม็ดแบนกลมเรียกว่า เกลือตัวเมีย เกลือป่น เกลือสินเธาว์ ใช้ไม่ได้ นำทั้ง ๓ อย่างต้มรวมกันพอเดือดดื่ม ๒ เวลา เช้าเย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ จะทำให้อาการเครียดและปวดศีรษะจากไมเกรนหายได้

น้ำมะพร้าว บำรุงธาตุไฟ มีเกลือโปแตสเซียมและน้ำตาลกลูโคสสูง ถ้าดื่มประจำอาจพบ แอลบูมิน ในปัสสาวะ พบว่ามีสารคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง รากและดอกต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย แก้พิษไข้ต่างๆ แก้ริดสีดวงทวาร


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT5AuKq0SNsht5aNj4jCDTPZLMGuQCx-XDm3bjie21Xoir3JEZn)
     มะพร้าว
มะพร้าวเป็นส่วนหนึ่งของยาแพทย์แผนไทยมานมนาน มีคุณภาพในการช่วยให้อาการไข้ตัวร้อนทุเลาลงแก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเพิ่มพลังแทรกซึมของตัวยานวด แก้ปวดเมื่อย ช้ำบวม อักเสบรักษาแผลเรื้อรัง โดยเอากะลามะพร้าวถูตะไบ ได้ผงละเอียด ผสมกับน้ำมันมะพร้าว ผสมพิมเสน ทาแผลเรื้อรัง  แก้จุกเสียด แน่นท้อง ด้วยการเอากะลามะพร้าวเผาไฟให้เป็นถ่าน บดเป็นผงละเอียด ละลายน้ำอุ่น ดื่มแก้จุดเสียดแน่นท้องได้ คนโบราณใช้รักษาอาการแก้ปวดฟัน โดยเอากะลามะพร้าวที่แก่จัด มีรู ขูดเอาเนื้อออกใหม่ ๆ ใส่ถ่านไฟแดงลงไป รองน้ำมันมะพร้าวที่ไหลออกมา ใช้สำลีพันปลายไม้ชุบน้ำมันมะพร้าว อุดรูฟันที่ปวด แก้คลื่นไส้อาเจียน ด้วยการเอามะนาว ๑ ซีก บีบผสมน้ำมะพร้าวอ่อน เอามาดื่มลดอาการคลื่นไส้ได้

นอกจากนี้ยังมีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการรักษาแก้โรคบิด บำรุงผิวพรรณ แก้ปัสสาวะขัด แก้พิษเบื่อเมา แก้เมาเหล้า แก้ไอ แก้ชันนะตุพุพอง แก้รังแค รักษาน้ำกัดเท้า แก้ผื่นคัน รักษาฝ่ามือแห้งแตกและเล็บขบ แก้เบาหวาน แก้ปากเปื่อย ปากเป็นแผล รักษาแผลไฟไหม้ แก้ไข้ทับระดู รักษาลำไส้อักเสบ แก้อีสุกอีใส รักษาอาการเคืองตา.


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/105746.jpg)
     มะพร้าวพวงทอง  น้ำเนื้อหวาน หอมอร่อย
มะพร้าวพวงทอง เป็นไม้ผลหายากชนิดหนึ่งในเวลานี้  มะพร้าวพวงทอง มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม นิยมปลูกเฉพาะถิ่นมาแต่โบราณ มีความพิเศษคือ ต้นเตี้ย ระยะปลูกให้ผลเร็วเพียง ๒ ปีครึ่งหรือ ๓ ปีเท่านั้น หนึ่งทะลายจะมีผลดกไม่น้อยกว่า ๔๐-๕๐ ผล เปลือกผลเป็นสีเหลืองอมขาวตลอดทั้งผลตั้งแต่ผลยังมีขนาดเล็กจนผลแก่จัด ดูสวยงามมาก จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะของสีผลและติดผลเป็นพวงว่า “มะพร้าวพวงทอง” ดังกล่าว

ส่วนน้ำของผลจะมีรสชาติหวานและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวไม่เหมือนน้ำมะพร้าวพันธุ์ทั่วไปคือ กลิ่นจะหอมคล้ายกลิ่นของ “เผือกต้ม” เนื้อในนุ่มหวานหนึบรับประทานอร่อยยิ่งนัก จึงทำให้ “มะพร้าวพวงทอง” เป็นที่ ต้องการของผู้ปลูกอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

มะพร้าวพวงทอง มีลักษณะเหมือนกับมะพร้าวทั่วไป แต่ลำต้นจะสูงไม่เกิน ๒.๕-๓ เมตรเท่านั้น ลำต้นไม่แตกกิ่งก้าน ใบประกอบออกเรียงสลับหนาแน่นที่ยอดของต้น ใบย่อยรูปพัดจีบออกสลับถี่ๆ “ผล” รูปกลมรี คล้ายผลมะพร้าวพวงร้อยชนิดที่ผลเป็นสีเขียว แต่เปลือกผลจะนิ่มกว่า น้ำและเนื้อมีรสชาติหวานหอมตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยผล  ประโยชน์ทางสมุนไพร ของมะพร้าวทั่วไป สตรีมีครรภ์แก่แต่เด็กในครรภ์ยังไม่ดิ้น เมื่อแม่ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนจะทำให้เด็กในครรภ์แข็งแรงและดิ้นได้ คนไข้หนักมีอาการอ่อนเพลียใช้น้ำมะพร้าวอ่อนผสมกับยาหอมกินจะชุ่มชื่นขึ้น คนถูกรมยาให้นอนหลับจากควันที่จุดจากธูปหรือควันชนิดใดก็ตาม ถ้ารู้ตัวว่ามีคนคิดร้ายคิดไม่ดีกับตัวเองแน่ ให้ใช้น้ำมะพร้าวอ่อนกินและล้างหน้าจะหายทันที คนชอบดื่มเหล้าใช้น้ำมะพร้าวอ่อนผสมแทนโซดาใส่น้ำแข็งจะทำให้คอชุ่มชื่นครับ.


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRmuJDKKc4iINJI2lXb92gGnNBzRZ1nDMASjgRUY2-KbxQ68-Sz)
     มะพร้าวพวงร้อย  ผลเล็กแต่น้ำเยอะ
มะพร้าวชนิดนี้ จัดเป็นสายพันธุ์ที่ติดผลดกและมีน้ำหวานที่สุดของมะพร้าวที่มีอยู่ทั่วไป โดยหนึ่งหางหนูที่แตกจากแกนทะลายจะมีผลได้ถึง ๑-๕ ผล เป็นพวง จึงทำให้ในหนึ่งทะลายมีหางหนูแตกออกมาจากแกนทะลายหลายหาง สามารถติดผลได้ไม่น้อยกว่า ๕๐-๗๐ ผล ต่อหนึ่งทะลายเหมือนกับผลร้อยติดกันเป็นพวงน่าชมมาก และที่โดดเด่นคือความสูงของต้นจะไม่เกิน ๓ เมตร ทำให้ง่ายต่อการเก็บผลผลิตได้อย่างสบายด้วย  นอกจากนั้น “มะพร้าวพวงร้อย” ยังมีความเป็นพิเศษอีกคือ แม้ขนาดของผลจะเล็กเท่าๆกับผลของมะพร้าวน้ำหอมทั่วไป แต่น้ำภายในผลจะมีรสชาติหวานกว่าน้ำมะพร้าวชนิดใดๆ และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวรับประทานแล้วชื่นใจยิ่งนัก เนื้อผลยังมีความหนากรอบอร่อยมาก เหมือนกับการซ่อนรูป ผลเล็กแต่แจ๋วทั้งน้ำและเนื้อ สามารถรับประทานได้เต็มผล ปัจจุบัน “มะพร้าวพวงร้อย” นิยมนำผลอ่อนไปทำห่อหมกและทำสังขยามะพร้าว ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อรับประทานอย่างกว้างขวาง

มะพร้าวพวงร้อย หรือ COCONUT–COCOS NUCIFERA LINN. อยู่ในวงศ์ ARECACEAE เป็นไม้ต้น สูงไม่เกิน ๓-๔ เมตร มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะพร้าวทั่วไป ดอก ออกเป็นช่อระหว่างซอกก้านใบ ดอกตัวผู้เป็นสีเหลืองหม่น ดอกตัวเมียสีเขียวหรือเขียวแกมเหลือง “ผล” รูปกลมรี คล้ายผลของมะพร้าวน้ำหอม ผลโตเต็มที่อาจมีขนาดเล็กกว่าผลมะพร้าวน้ำหอมเล็กน้อย แต่น้ำและเนื้อจะมีเยอะ ติดผลเป็นพวงไม่น้อยกว่า ๕๐-๗๐ ผลในหนึ่งทะลายตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยผล เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนหรือเก็บผลขายคุ้มค่ามากครับ.  ปัจจุบัน “มะพร้าวพวงร้อย” มีต้นพันธุ์ขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/69994506446851_31_3617_3632_3614_3619_3657_36.jpg)
    มะพร้าวพวงร้อย
มะพร้าวชนิดนี้ มีปลูกเฉพาะถิ่นในแถบจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงครามมาแต่โบราณ ต่อมา มีผู้นำพันธุ์กระจายปลูกไปเกือบทุกภาคของประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับมะพร้าวทั่วไปคือ COCONUT– COCOS NUCIFERA LINN. อยู่ในวงศ์ ARECACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๓-๔ เมตร ลำต้นตั้งตรงไม่แตกกิ่งก้าน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับหนาแน่นมาก ก้านใบหลักออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายยอด ยาว ๔-๖เมตร ใบย่อยรูปพัดจีบ ยาว ๕๐-๑๐๐ ซม. ใบอ่อนสีเหลืองอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม ใบใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ

ดอก ออกเป็นช่อระหว่างทซอกก้านใบ เป็นแบบแยกเพศ ดอกตัวผู้สีเหลืองหม่น ดอกตัวเมียสีเขียวหรือเขียวแกมเหลือง “ผล” รูปกลมรีคล้ายผลมะพร้าวน้ำหอม ผลโตเต็มที่เท่าผลมะพร้าวน้ำหอมหรืออาจเล็กกว่าไม่มากนัก ผลสีเขียวปนเหลือง ใน ๑ หางหนูที่แตกจากแกนทะลายจะติดผล ๑-๕ ผล เป็นพวง ทำให้ใน ๑ ทะลายที่มีหางหนูแตกออกมาจำนวนมาก สามารถติดผลได้ถึง ๕๐-๗๐ ผล ใน ๑ ทะลาย เลยถูกเรียกชื่อว่า “มะพร้าวพวงร้อย” เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน และถึงแม้ผลจะมีขนาดเล็ก แต่น้ำภายในผลจะมีมากและรสชาติหวาน หอมกว่ามะพร้าวทั่วไปทุกชนิด

เนื้อผล จะหนากว่า นิยมเรียกว่าซ่อนรูป “ผลเล็กแต่เนื้อน้ำเยอะ” รับประทานได้น้ำได้เนื้อแบบเต็มๆ ทั้งผล ปัจจุบันนิยมนำเอาผลของ “มะพร้าวพวงร้อย” ไปทำห่อหมกและทำสังขยามะพร้าว ด้วยการตัดส่วนหัวผลเอาน้ำออกแล้วเทเครื่องใส่ลงไปในผลก่อนนำไปนึ่งทั้งผลให้สุกออกจำหน่ายได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประ ทานอย่างแพร่หลายในเวลานี้  มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ แผง” ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – พุธที่ ๔๐/๔/๕๘


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQpM7WTWsKwsRG7e0vpt1Bn0_xrlQANmGI3MCRqkEfbllbBC-uTtw)
     มะพร้าวกะทิชุมพร  เนื้อฟูแน่นน้ำหวานหอม
โดยธรรมชาติของมะพร้าวกะทิทั่วไป เวลาติดทะลายแต่ละครั้งจะมีผลเป็นมะพร้าวกะทิ ๑-๓ ผล หรือบางครั้งจะไม่มีเลย เรียกว่าไม่ แน่นอน แต่ “มะพร้าวกะทิชุมพร  ๘๔-๒” เป็นสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ สามารถมี ผลผลิตอย่างสม่ำเสมอและแน่นอน ทุกครั้งที่ติดทะลายจะมีผลเป็นมะพร้าวกะทิไม่น้อยกว่า ๓ ผล และจะเป็นเช่นนี้ทุกครั้งที่ติดทะลาย จึงทำให้ “มะพร้าวกะทิชุมพร ๘๔-๒” ได้รับความนิยมปลูกแพร่หลายในปัจจุบัน  ส่วนวิธีพิสูจน์ว่าผลไหนเป็นมะพร้าวกะทิให้เอาผลมะพร้าวจากทะลายเขย่าฟังเสียงของน้ำในผล หากมีเสียงกระฉอกแรงแสดงว่าไม่เป็นมะพร้าว กะทิ แต่ถ้าไม่ได้ยินเสียงน้ำในผลกระฉอก หรือมีเสียงน้อยมาก นั่นคือผลที่เป็นมะพร้าวกะทิแน่นอน ซึ่งวิธีดังกล่าว เกษตรกรนิยมใช้กันมาแต่โบราณและได้ผลแม่นยำมาก

มะพร้าวกะทิชุมพร ๘๔-๒ มีความโดดเด่นคือ เนื้อในเป็นกะทิจะฟูเกือบเต็มกะลาและมีสีขาวสวย น้ำและเนื้อมีรสชาติหวานหอมนุ่มรับประทาน อร่อยมาก ในต่างประเทศมีความต้องการมะพร้าวกะทิจากประเทศไทยสูง เพื่อนำไปทำเป็นไอศกรีมมะพร้าว กะทิ หรือตักเอาเนื้อที่เป็นกะทิบรรจุภาชนะแช่ตู้เย็น ขายหรือเก็บไว้รับประทานเอง หวานเย็นหอมอร่อยชื่นใจยิ่ง

มะพร้าวกะทิชุมพร ๘๔-๒ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะพร้าวทั่วไป แต่ความสูงของต้นจะน้อยกว่า คือสูงประมาณ ๓-๕ เมตรเท่านั้น ดอกออกเป็นช่อระหว่างก้านใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก เป็นดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน “ผล” รูปทรงกลม หรือรูปไข่ ผลอ่อน สีเขียวแกมเหลือง เมื่อผลแก่เปลือกเป็นสีน้ำตาล ในหนึ่งทะลายจะมีผลเป็นมะพร้าวกะทิไม่น้อยกว่า ๓ ผล ตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยผลแก่  มีต้นพันธุ์รุ่นใหม่ขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙



(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQgsYBGmwrMqScg8fzvw7p32vk6Q82x6mBOwei9f66N5sFlcSGCog)  
     "มะพร้าวกะทิชุมพร ๘๔-๒"  เนื้อฟูแน่น น้ำหวานหอม
โดย ธรรมชาติของมะพร้าวกะทิทั่วไป เวลาติดทะลายแต่ละครั้งจะมีผลเป็นมะพร้าวกะทิ ๑-๓ ผล หรือบางครั้งจะไม่มีเลย เรียกว่าไม่ แน่นอน แต่ “มะพร้าวกะทิชุมพร ๘๔-๒” เป็นสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ สามารถมีผลผลิตอย่างสม่ำเสมอและแน่นอน ทุกครั้งที่ติดทะลายจะมีผลเป็นมะพร้าวกะทิไม่น้อยกว่า ๓ ผล และจะเป็นเช่นนี้ทุกครั้งที่ติดทะลาย จึงทำให้ “มะพร้าวกะทิชุมพร ๘๔-๒” ได้รับความนิยมปลูกแพร่หลายในปัจจุบัน

ส่วนวิธีพิสูจน์ว่าผลไหนเป็นมะพร้าวกะทิให้เอาผลมะพร้าวจากทะลายเขย่าฟังเสียงของน้ำในผล หากมีเสียงกระฉอกแรงแสดงว่าไม่เป็นมะพร้าว กะทิ แต่ถ้าไม่ได้ยินเสียงน้ำในผลกระฉอก หรือมีเสียงน้อยมาก นั่นคือผลที่เป็นมะพร้าวกะทิแน่นอน ซึ่งวิธีดังกล่าว เกษตรกรนิยมใช้กันมาแต่โบราณและได้ผลแม่นยำมาก

มะพร้าวกะทิชุมพร ๘๔-๒ มีความโดดเด่นคือ เนื้อในเป็นกะทิจะฟูเกือบเต็มกะลาและมีสีขาวสวย น้ำและเนื้อมีรสชาติหวานหอมนุ่มรับประทานอร่อยมาก ในต่างประเทศมีความต้องการมะพร้าวกะทิจากประเทศไทยสูง เพื่อนำไปทำเป็นไอศกรีมมะพร้าวกะทิ หรือตักเอาเนื้อที่เป็นกะทิบรรจุภาชนะแช่ตู้เย็น ขายหรือเก็บไว้รับประทานเอง หวานเย็นหอมอร่อยชื่นใจยิ่ง

มะพร้าวกะทิชุมพร ๘๔-๒ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะพร้าวทั่วไป แต่ความสูงของต้นจะน้อยกว่า คือสูงประมาณ ๓-๕ เมตรเท่านั้น ดอกออกเป็นช่อระหว่างก้านใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก เป็นดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน “ผล” รูปทรงกลม หรือรูปไข่ ผลอ่อน สีเขียวแกมเหลือง เมื่อผลแก่เปลือกเป็นสีน้ำตาล ในหนึ่งทะลายจะมีผลเป็นมะพร้าวกะทิไม่น้อยกว่า ๓ ผล ตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยผลแก่  มีต้นพันธุ์รุ่นใหม่ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอก ไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙ ราคาสอบถามกันเองครับ..
 ไทยรัฐ - อังคารที่ ๒๗/๘/๕๖


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/97563985155688_EyWwB5WU57MYnKOvIc5aixQ3wVoNtE.jpg)          
     "มะพร้าวกะทิโบราณ"  ปลูกอนุรักษ์ก่อนสุญพันธุ์
มะพร้าวกะทิโบราณ เป็นสายพันธุ์เก่าแก่ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์แตกต่างจากมะพร้าวกะทิน้ำหอม หรือมะพร้าวกะทิต้นเตี้ย ที่ต้นมีความสูงเพียง ๒-๓ เมตรเท่านั้น ส่วน “มะพร้าวกะทิโบราณ” จะมีความสูงของต้นเหมือนกับต้นมะพร้าวพันธุ์ดั้งเดิมทั่วไป คือ ต้นสูง ๑๐-๑๕ เมตร เลยเป็นสาเหตุทำให้ “มะพร้าวกะทิโบราณ” ไม่ได้รับความนิยมปลูกเท่าที่ควร และกลายเป็นมะพร้าวกะทิสายพันธุ์ที่หายากมาก ซึ่งถ้าหากไม่ช่วยกันปลูกอนุรักษ์เชื่อว่า ไม่นาน “มะพร้าวกะทิโบราณ” คงจะต้องสูญพันธุ์ไปอย่างแน่นอน
 
มะพร้าวกะทิโบราณ หรือมะพร้าวกะทิทุกพันธุ์ จะมีผลที่เป็นกะทิ ๑-๓ ผล ใน ๑ ทะลาย นิยมรับประทานเนื้อที่เป็นกะทิด้วยการคว้านเป็นชิ้นใส่น้ำแข็งผสมน้ำเชื่อม หรือใช้ช้อนตักกินเนื้อเปล่าๆได้เลย รสชาติหวานมันอร่อยมาก ร้านอาหารและภัตตาคารใหญ่ๆนำเอาเนื้อมะพร้าวกะทิคว้านใส่ไอศกรีมและคว้านทำบัวลอย ได้รับความนิยมจากผู้รับประทานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะชาวต่างชาติชื่นชอบมาก
 
สำหรับวิธีพิสูจน์ว่าผลไหนเป็นมะพร้าวกะทิใน ๑ ทะลาย ทำได้ด้วยการปล่อยให้ติดผลจนแก่คาต้นแล้วตัดทะลายลงมาเอาผลเขย่าฟังเสียงน้ำในผล ถ้าไม่มีเสียงดังกระฉอกแสดงว่าเป็นมะพร้าวกะทิอย่างแน่นอน ให้เขย่าทุกผลใน ๑ ทะลาย จะมีผลเป็นกะทิปนอยู่ ๑-๓ ผล ไม่เกินนั้นอย่างเด็ดขาด ฝึกทำบ่อยๆ จะชำนาญเอง แรกๆ อาจผิดบ้างเป็นธรรมดา  ถ้าต้องการให้เนื้อกะทิฟูเหนียวแน่น ให้เอาผลที่เป็นกะทิปอกเปลือกแล้วเหลือผลเป็นกะลาไปกระแทกพื้นเบาๆ หลายๆครั้ง จากนั้นนำผลไปผ่าครึ่งซีกจะพบว่า เนื้อกะทิจะเป็นสีขาวเหมือนปุยฝ้ายและแน่นเหนียวตักรับประทานอร่อยมาก วิธีดังกล่าวปฏิบัติมาแต่โบราณแล้ว  ปัจจุบัน “มะพร้าวกะทิโบราณ” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ ราคาสอบถามกันเองครับ.
ไทยรัฐ - พุธที่ ๓๐/๔/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/66492302384641_EyWwB5WU57MYnKOuFZj12rBWpwSCy7.jpg)
    มะพร้าวสีทอง
ครั้งแรก ที่เห็นภาพถ่ายแขวนติดไว้กับต้นพันธุ์ที่วางขาย นึกว่าเป็นมะพร้าวพวงทองที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว แต่ผู้ขายบอกว่า เป็นคนละชนิดกัน พร้อมเปรียบเทียบความแตกต่างให้ฟังว่า ผลของ “มะพร้าวสีทอง” จะมีขนาดใหญ่กว่าผลของมะพร้าวพวงทองอย่างชัดเจน เพียงแต่สีสันของผลเป็นสีเหลืองทองเหมือนกันเท่านั้น  ลักษณะทั่วไปของ “มะพร้าวสีทอง” ผู้ขายยืนยันว่า เป็นมะพร้าวต้นเตี้ย คือ สูงเต็มที่ไม่เกิน ๒-๓ เมตร เวลาติดผลใน ๑ ทะลาย จะสามารถมีผลได้ตั้งแต่ ๑๕-๒๐ ผลขึ้นไป อยู่ที่ความสมบูรณ์ของต้น สีสันของผลเป็นสีเหลืองเข้มกว่าสีของผลมะพร้าวพวงทองที่เป็นสีเหลืองอ่อน เลยทำให้คนที่พบเห็นมักเข้าใจผิดประจำว่า เป็นมะพร้าวชนิดเดียวกัน ที่สำคัญ “มะพร้าวสีทอง” เป็นสายพันธุ์เก่าแก่ชนิดหนึ่ง ที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายในเขตพื้นที่ของจังหวัดสมุทรสงครามเหมือนกับมะพร้าวพวงทองอีกด้วย จึงยิ่งทำให้คนเข้าใจผิดไปกันใหญ่ ดังนั้นจึงต้องแยกแยะให้ออกตามที่กล่าวข้างต้น

ส่วนรสชาติของน้ำและเนื้อของ “มะพร้าวสีทอง” ผู้ขายระบุว่า หวานหอมและเนื้อเหนียวหนึบรับประทานอร่อยมาก ใน ๑ ผลสามารถให้น้ำและเนื้อเยอะกว่าอย่างชัดเจน

มะพร้าวสีทอง มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับมะพร้าวทั่วไปคือ COCONUT, COCOS NUCIFERA LINN. อยู่ในวงศ์ ARECACEAE เป็นไม้ต้น สูง ๒-๓ เมตร ตามที่กล่าวข้างต้น ไม่แตกกิ่งก้าน ดอก ออก เป็นช่อระหว่างกาบใบ ดอกเป็นพวงและเป็นดอกแยกเพศบนต้นเดียวกัน “ผล” รูปไข่แกมรูปทรงกลม หรือรูปไข่กลับ เป็นสีเหลืองเข้มหรือสีเหลืองทอง จึงถูกเรียกว่า “มะพร้าวสีทอง”  ปัจจุบันมีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ–พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – พฤหัสบดีที่ ๙/๗/๕๗

(http://www.bloggang.com/data/calalily/picture/1312869231.jpg)
     มะขวิด  เนื้อกินได้ใบเป็นยาดี
มะขวิด เป็นไม้ที่พบขึ้นทั่วไปตามป่าโปร่งเกือบทุกภาคของประเทศไทย ในยุคสมัยก่อนนิยมปลูกประปรายตามบ้าน ตามสวน เพื่อใช้ประโยชน์เป็นทั้งอาหารและเป็นสมุนไพร ในปัจจุบันค่านิยมในการปลูก “มะขวิด” ได้ลดน้อยถอยลงไปตามกาลเวลา จนทำให้พบเห็นได้น้อยมาก สาเหตุ อาจเป็นเพราะผล “มะขวิด” จะกินเนื้อผลได้ ต้องเป็นผลสุกที่หล่นจากต้นเท่านั้น เวลาต้น “มะขวิด” ติดผลดกเต็มต้นหากใครเดินไปบริเวณโคนต้นไม่ระวังตัวอาจถูกผลสุกหล่นกระแทกศีรษะเป็นอันตรายได้ เลยทำให้ไม่มีใครอยากจะปลูกในปัจจุบัน

มะขวิด หรือ ELEPHANT’S APPLE, WOOD APPLE, KAVATH, GELINGGA– FERONIA LIMONIA SWING อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร แตกกิ่งก้านสาขากว้าง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อย ๕-๗ ใบ บางครั้งมี ๓, ๖ หรือ ๙ ใบ เป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ เนื้อใบมีต่อมน้ำมันกระจายบริเวณขอบใบ

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด มีดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศบนต้นเดียวกัน กลีบดอกเป็นสีเหลืองอมเขียวและมีสีแดงเจือ “ผล” ทรงกลมโตประมาณผลมะตูม เปลือกผลหนา ผิวผลสีน้ำตาลเทา เนื้อในสุกเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ รับประทานได้ มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นมะขามเปียก รสชาติหวานปนเปรี้ยว มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง   ประโยชน์ ใบกินแก้ท้องเสีย แก้ตกเลือด ห้ามระดูสตรี ตำพอกหรือทาแก้ฟกบวม รักษาแผลฝีเปื่อย แก้โรคผิวหนังบางชนิด สารสกัดจากใบสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้ออหิวาตกโรคในหลอดทดลอง ยางจากต้นใช้ทำ “ตังดักนก” ได้ เพราะเหนียวมาก กับใช้แทนกาวในการผูกว่าวจุฬาได้ดีมาก มีชื่อเรียกอีกคือ มะฟิด และ มะฝิดครับ



(http://www.rdi.ku.ac.th/kasetresearch52/04-plant/ruangsak/plant_00_clip_image008.jpg)
     น้อยหน่าหนังเขียวเกษตร ๒  ลอกเปลือกกินอร่อย
น้อยหน่ามีด้วยกัน ๒ ชนิด คือ น้อยหน่าเนื้อ เปลือกผลสุกจะไม่ติดกัน สามารถแกะเป็นตาดึงออกมารับประทานได้เลย กับอีกชนิดหนึ่งคือ น้อยหน่าหนัง ชนิดหลังนี้เปลือกผลสุกจะติดกันคล้ายแผ่นหนังตลอดทั้งผล เวลาจะรับประทานต้องลอกเอาเปลือกออกเป็นแผ่นได้ตลอดทั้งผล เหลือเพียงเนื้อกัดกินได้แบบสบายๆ ชนิดหลังจึงถูกตั้งชื่อว่า น้อยหน่าพันธุ์หนัง มีหลายพันธุ์

สำหรับ “น้อยหน่าหนังเขียวเกษตร ๒” เป็นพันธุ์เก่าแก่ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนไทยได้พัฒนาขึ้น โดยการเอาต้นน้อยหน่าพันธุ์หนังดีที่สุดทั่วประเทศไปปลูกลงแปลงขนาดใหญ่รวมกันจำนวนมากเพื่อเปรียบเทียบกัน นานกว่า ๕ ปี จากนั้นก็คัดเอาพันธุ์ดีที่สุดเพียงต้นเดียวไปปลูก ซึ่ง มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์คือ ต้นเป็นพุ่มเล็ก ติดผลดกและติดผลได้ดีทั้งในและนอกฤดูกาล รูปทรงของผลสวยงาม ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน ผลแก่ร่องตื้นสีครีม ผลสุกเปลือกผลจะติดกันเป็นแผ่นตลอดทั้งผล สามารถลอกเปลือกออกกินเนื้อในโดยที่เนื้อไม่เละ เนื้อสุกเป็นสีขาว แน่นหนา ละเอียด เมล็ดเล็ก รสชาติหวานหอมอร่อยมาก น้ำหนักผล ๒-๓ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม

จากความโดดเด่นของสายพันธุ์ที่กล่าวข้างต้น จึงถูกตั้งชื่อว่า “น้อยหน่าหนังเขียวเกษตร ๒” พร้อมขยายพันธุ์จำหน่ายเป็นที่นิยมของเกษตรกรที่มีอาชีพปลูกเก็บผลขายเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบันเนื่องจากเป็นน้อยหน่าหนังที่ให้ผลผลิตสูง ติดผลได้ปีละ ๒ หน สามารถเก็บผลส่งขายในระยะทางไกลๆได้ โดยที่เนื้อสุกไม่เละและเสียหาย ทำให้ตลาดผลไม้ทั้งในประเทศ ไทยและต่างประเทศมีความ ต้องการสูงเวลานี้


(http://www.kasetorganic.com/wp-content/uploads/2013/10/n03.jpg)
     น้อยหน่าเนื้อฝ้ายเขียวเกษตร ๑  หวานอร่อย
น้อยหน่าชนิดนี้ จัดเป็นพันธุ์เก่าแก่ที่เกิดจาก ศูนย์วิจัยพืชสวนไทย ได้นำเอาต้นน้อยหน่าเนื้อที่ดี ที่สุดจากแต่ละสวนทั่วประเทศไทยไปปลูกลงแปลง รวมกัน เพื่อเปรียบเทียบลักษณะพันธุ์กันนานกว่า ๕ ปี จากนั้นก็คัดเอาต้นที่ดีที่สุดเพียง ๑ ต้น ไปปลูกเลี้ยง จนติดผลและพัฒนาพันธุ์ไปพร้อมกันด้วย ปรากฏว่าน้อยหน่าเนื้อต้นดังกล่าวมีลักษณะดีหลายจุด  เช่น เนื้อในร่วน เนื้อผลย่อยแยกได้ง่าย เมล็ดเล็ก สีของเนื้อสุกเป็นสีขาวมาก รสชาติหวานหอมเป็นเอกลักษณ์ แกะรับประทานได้อร่อยมาก สามารถแกะเป็นตาๆรับประทานได้ง่ายๆ และไม่เลอะมือ ที่สำคัญเป็นสายพันธุ์ที่ ติดผลดกและติดผลแบบทะวายเรื่อยๆ เกือบทั้งปีไม่ขาดต้น ซึ่งปรกติน้อยหน่าทั่วไปจะติดผลปีละครั้งตามฤดูกาล น้ำหนักของผลที่ได้เมื่อโตเต็มที่เฉลี่ยระหว่าง ๒-๓ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม และผลจะโตแบบสม่ำเสมอตลอด เมื่อได้สายพันธุ์ที่นิ่งแน่นอนแล้ว ทางศูนย์วิจัยพืชสวนไทยจึงตั้งชื่อว่า “น้อยหน่าเนื้อฝ้ายเขียวเกษตร ๑” พร้อมขยายพันธุ์ให้เกษตรกรปลูก  ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อผลไปรับประทานอย่างแพร่หลายเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

น้อยหน่าเนื้อฝ้ายเขียวเกษตร ๑ อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE  เป็นไม้ยืนต้น สูง ๓-๕ เมตร ดอกออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ ดอกห้อยลง มีกลีบดอก ๖ กลีบ ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ หนาและอวบน้ำ “ผล” เป็นผลกลุ่ม ค่อนข้างกลม เปลือกผลสีเขียว แบ่งเป็นตาๆ รอบผล เมล็ดจำนวนมาก เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาว รสหวานหอม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง


(http://www.monmai.com/media/2013/03/noinatone.jpg)
     ใบ–เมล็ดน้อยหน่า  ฆ่าเหาดีที่สุด
ไม่น่าเชื่อ ว่าปัจจุบันยังมีเด็กหญิงระดับอนุบาลและประถมในชนบทและ กทม.บางแห่ง ติดเหาจากเพื่อนในโรงเรียนอยู่อีก พ่อแม่ไม่อยากใช้เคมีฆ่าเหา ให้เอา “ใบ–เมล็ดน้อยหน่า” สด เมล็ด ๑๐ เมล็ด ใบ ๑๕ กรัม ตำละเอียดผสมกับน้ำมะพร้าวพอแฉะขยี้ให้ทั่วศีรษะใช้ผ้าคลุมโพกไว้ ๑๐ นาที หรือครึ่งชั่วโมงแล้วใช้หวีเสนียดสางผมเอาตัวเหาและไข่ที่ตายออก จึงสระผมให้สะอาดจะไม่มีเหาอีก มีรายงานยืนยันว่า น้ำที่คั้นจากเมล็ดน้อยหน่าบดกับน้ำมันมะพร้าวในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๒ สามารถฆ่าเหาได้ดีที่สุดถึง ๙๘% ใน ๒ ชั่วโมง ใบสดยังโขลกพอกแก้ฟกบวม ฆ่าพยาธิผิวหนัง กลากเกลื้อนได้ เปลือกต้นเป็นยาสมาน รากเป็นยาระบาย เปลือกผลแห้ง ฝนกับเหล้าขาวทาแผล แก้พิษแมลงมีพิษกัดต่อยดีมาก

น้อยหน่า หรือ SUGAR APPLE ANNONA SQUAMOSA LINN. อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE มีต้นและผลขายทั่วไป
  ไทยรัฐ


(http://research.rae.mju.ac.th/raebase/images/stories/knowlage55/08/DSCF1854.jpg)
     น้อยหน่าตายพราย  กับสรรพคุณดีๆ
น้อยหน่าตายพราย คือผลน้อยหน่าที่แห้งตายคาต้นโดยธรรมชาติ และผลยังติดอยู่กับต้น ผลเป็นสีดำ ตำรายาไทยใช้ผล “น้อยหน่าตายพราย” ฝนผสมน้ำเล็กน้อย เอาสำลีชุบน้ำทาบริเวณหัวริดสีดวงทวารที่ย้อยออกมาหลังเข้าห้องน้ำ ทำความสะอาดก่อนจะจับยัดเข้าไปในทวาร ทาบ่อยๆ จะช่วยให้หัวริดสีดวงทวารค่อยๆยุบและหายได้ หากเป็นมากต้องใจเย็นๆค่อยเป็นค่อยไป น้ำที่ฝนยังทาแก้งูสวัดแก้เริมได้ ทดลองดูไม่อันตรายอะไร

น้อยหน่า SUGAR APPLE หรือ ANNONA SQUAMOSA LINN. อยู่ในวงศ์ ANNONA CEAE ใบสด ๑๕ กรัม เมล็ดสด ๑๐ เมล็ด ตำผสมกับน้ำมะพร้าวจนละเอียดพอแฉะ เอาทั้งน้ำและเนื้อขยี้กับเส้นผมบนศีรษะคนที่มีเหาใช้ผ้าคลุมไว้ครึ่งชั่วโมงแล้วใช้หวีเสนียดสางตัวเหาออกจะไม่มีเหาอีก น้ำคั้นจากเมล็ดบดละเอียดผสมกับน้ำมะพร้าวสัดส่วน ๑ ต่อ ๒ ทารักษาโรคหิดกลากเกลื้อน เปลือกต้น พอประมาณต้มน้ำดื่มสมานลำไส้ สมานแผล อมแก้รำมะนาดดีมาก
  ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSxGZna4XXVM1O-m2hCWmp1z4zn6e0e7_18D7bhtXDjnCzwCiUt)
     น้อยโหน่ง  คนรู้จักน้อย
น้อยโหน่ง เป็นไม้ผลกินได้ชนิดหนึ่งที่คนรู้จักกันน้อยมาก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่เชื่อขนมกินได้เลยว่าไม่รู้จักอย่างแน่นอน สาเหตุเป็นเพราะไม่มีผลวางขายและไม่นิยมปลูกเหมือนกับน้อยหน่า อย่างไรก็ตาม ในยุคสมัยก่อน “น้อยโหน่ง” จะนิยมปลูกเป็นไม้ผลแซมตามร่องสวนแบบประปรายไม่แพร่หลาย เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ให้กับต้นไม้อื่นเท่านั้น  เวลาติดผล รูปทรงของผลจะคล้ายกับผลของมะฮอกกานี ผลโตประมาณผลมะขวิดย่อมๆ ผิวผลแม้จะเกลี้ยงไม่มีตาโปนเช่นน้อยหน่า แต่จะดูเหมือนผลน้อยหน่าทุกอย่าง เมื่อผลสุกจะเป็นสีแดงปนสีน้ำตาล เนื้อในสีขาวนวลเหมือนกับเนื้อสุกของน้อยหน่า มีรสชาติหวาน แต่มีกลิ่นฉุนแรงและมีเมล็ดเยอะกว่า จึงทำให้ “น้อยโหน่ง” ไม่นิยมรับประทานหรือนิยมปลูกมากนัก จนทำให้ “น้อยโหน่ง” ใกล้จะสูญพันธุ์ไปแล้วในปัจจุบัน จะมีปลูกอนุรักษ์บ้างก็เฉพาะตามสวนสมุนไพรขนาดใหญ่ไม่กี่แห่งเท่านั้น เพื่อใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร

โดยในตำรายาไทยใช้ผลดิบ ซึ่งมีรสฝาดกินแก้ท้องร่วง แก้บิด ขับพยาธิในร่างกาย ใบสด ตำพอกแก้ฟกบวม และฆ่าพยาธิที่ผิวหนัง แก้กลากเกลื้อนเรื้อนและคุดทะราดที่เชื่อว่าเกิดจากพยาธิผิวหนัง ตำรายาพื้นบ้านใช้ผลดิบและใบสดทำเป็นสีย้อมผ้าให้สีดำและสีน้ำเงินดีมาก แต่ก็พบสารที่เป็นพิษต่อเซลล์ได้แก่ ANNORETICUIN–9–ONE, SQUAMONE, SOLAMIN, ANNOMONICIN, ROLLINIASTATIN ควรนำไปศึกษาในเรื่องยารักษามะเร็งได้

น้อยโหน่ง หรือ CUSTARD APPLE, BULLOCK’S HEART-ANNONA RETICULATA LINN อยู่ในวงศ์ANNONALEAE เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูง ๖-๗ เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน เนื้อใบหนาคล้ายใบทุเรียน  ดอก ออกเป็นช่อกระจะ ๒-๓ ดอกตามซอกใบ มีกลีบดอก ๓ กลีบเหมือนน้อยหน่า เนื้อกลีบหนาแข็ง สีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นหอมเอียนๆ “ผล” เป็นกลุ่มเชื่อมรวมกันเป็นผลเดียว รูปทรงค่อนข้างกลม หรือคล้ายรูปหัวใจ หรือเหมือนผลมะฮอกกานีตามที่กล่าวข้างต้น ผลสุกรับประทานได้ แต่ไม่ได้รับความนิยม เพราะมีกลิ่นฉุนแรงนั่นเอง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบัน นานๆ จะพบมีกิ่งตอนวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ปลูก หากใครต้องการกิ่งพันธุ์ไปปลูกต้องเดินสอบถามตามแผงจำหน่ายไม้ผลเอาเอง อาจมีหลงเหลือบ้าง เหมาะจะปลูกอนุรักษ์ก่อนที่ “น้อยโหน่ง” จะสูญพันธุ์ครับ.


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcStUAR6pkAPkiSL1vXpIPNaEg1dV15wzZZTUpI0qmWHj1fsbPA4GQ)
     น้อยโหน่ง  มีสรรพคุณ ผลกินได้
ไม้ต้นนี้นิยมปลูกตามบ้าน ตามร่องสวน และตามหัวไร่ปลายนามาแต่โบราณแล้ว ส่วนใหญ่เพื่อกินผลสุกและ ใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร โดยตำรายาแผนไทยระบุว่า ผลดิบของ “น้อยโหน่ง” มีรสฝาดกินเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้บิด ขับพยาธิในร่างกาย ใบสด ตำพอก แก้อาการบวมและฆ่าพยาธิผิวหนังจำพวกกลาก เกลื้อน หิด เรื้อน และคุดทะราด ดีมาก นอกจากนั้น ชาวบ้านในยุคสมัยก่อนยังนิยมนำ เอาผลดิบและใบสดของต้น “น้อยโหน่ง” กะจำนวนตามต้องการ ต้มน้ำเอาไปทำเป็นสีย้อมผ้า จะให้สีดำและสีน้ำเงินสวยงามมาก สามารถย้อมผ้าติดได้ทนนานอีกด้วย

น้อยโหน่ง หรือ CASTARD APPLE, BULLOCK’S HERT, ANNONA–RETIULATA LINN. อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๖-๘ เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนานหรือเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายและโคนใบแหลม ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อกระจุก ๒-๓ ดอก ตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมเขียว เนื้อกลีบหนาเหมือนกลีบดอกน้อยหน่า หรือดอกบุหงา มีกลีบดอก ๓ กลีบ ดอกมีกลิ่นหอมเอียนๆ “ผล” รูปกลม ลักษณะคล้ายผลมะฮอกกานี ขนาดผลเท่ามะขวิดหรือทรงกลมเป็นรูปหัวใจ ผิวผลเรียบไม่มีตาโปนตามเปลือกผล ผลสุกเป็นสีแดงอมน้ำตาลเข้ม เนื้อในสุกเป็นสีขาวเหมือนเนื้อน้อยหน่า รสชาติหวานมีกลิ่นฉุนรับประทาน อร่อยดี แต่บางคนไม่ชอบกลิ่นจึงทำให้ไม่ได้รับความนิยมรับประทานมากนัก มีเมล็ดจำนวนมากเหมือนน้อยหน่า ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง มีชื่ออีกคือ น้อยหนัง (ใต้) มะดาก (เพชรบุรี) มะเนียงแฮง, มะโหน่ง (เหนือ) และ หนอนลาว (อุบลฯ)
นสพ.ไทย


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 12 พฤษภาคม 2557 09:52:24
(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRqU7Oz-Mpx7Enjqi4KSKOAJQbq1-Nl2401sySkwr8vURl2213JxQ)
การเสียบยอดมะนาวบนต้นตอมะขวิด
ภาพจาก : market.taradkaset.com

นายเศียร  สุขขำ ๑๖ หมู่ที่ ๑ ตำบลเกาะทวด อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ๐๘๕-๗๙๐๘๑๓๑ เล่าถึงความคิดในการนำต้นมะขวิดมาทำเป็นต้นตอเพื่อเสียบยอดมะนาวพันธุ์ดี เนื่องจากต้นมะนาวพันธุ์ดีที่ปลูก (พันธุ์ตาฮิติ) เป็นพันธุ์ใหม่สำหรับพื้นที่นี้ ยังมีจำนวนต้นแม่พันธุ์น้อย ต้นยังไม่โตพอที่จะตอนกิ่งเพื่อขยายพื้นที่ปลูก และเพื่อนบ้านก็มีความต้องการมากด้วย จึงได้คิดหาวิธีการ ทำอย่างไรให้ขยายพันธุ์มะนาวได้ทันตามความต้องการของตลาด  และได้พบวิธีการหาต้นกล้าพืชตระกูลเดียวกันกับมะนาว มาทำเป็นต้นตอและใช้ยอดจากต้นมะนาวพันธุ์ดี ซึ่งช่วยให้ประหยัดกิ่งพันธุ์และสามารถทำได้ครั้งละมากๆ   จึงเห็นว่าใช้ต้นตอมะขวิด จะเหมาะสมที่สุด เพราะมีความทนแล้ง ทนสภาพน้ำท่วม แข็งแรง โตเร็ว และหาได้ไม่ยาก

การเลือกต้นกล้า : เลือกต้นมะขวิดที่ได้จากการเพาะเมล็ด มีอายุประมาณ ๗ เดือน มีความแข็งแรง สมบูรณ์ ขนาดเท่าหลอดกาแฟ ปลูกในถุงดำขนาด ๔x๖ นิ้ว ควรทำการเปลี่ยนถุงก่อนนำมาเสียบยอดประมาณ ๑ เดือน และเร่งปุ๋ยเคมีสูตร ๒๕-๗-๗ อัตราครึ่งช้อนชาต่อต้น ก่อนเสียบยอด ๒-๓ สัปดาห์


(http://image.free.in.th/z/iv/lime_ex2.jpg)
ภาพจาก : www.kasetporpeang.com

วิธีการเสียบยอด : เลือกยอดมะนาวพันธุ์ดี ที่มีอายุประมาณ ๒ เดือน โคนกิ่งเริ่มเป็นสีน้ำตาล ถ้าเป็นกิ่งยาวสามารถตัดได้หลายท่อน ให้ได้ความยาวประมาณท่อนละ ๖ นิ้ว หรือมีใบติด ๖ ใบ  ส่วนต้นตอให้ใช้กรรไกรคมตัดให้เหลือความยาวจากดิน ๒ นิ้ว ใช้มีดคมผ่ากลางต้นตอให้ได้แผลลึกประมาณ ๒ เซนติเมตรและปาดแผลที่โคนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปลิ่ม ให้ได้แผลยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร เช่นเดียวกันนำกิ่งพันธุ์ที่ปาดเป็นรูปลิ่มเสียบลงบนต้นตอให้แนบสนิท และมัดด้วยเชือกฟางให้แน่น ๒ รอบ ห่างกันครึ่งเซนติเมตร หลังจากนั้นใช้ไม้ไผ่หลาวขนาดเท่าตะเกียบ ยาวประมาณ ๑ ฟุต ปักลงในถุงใกล้ๆ ต้นตอ แล้วใช้ถุงพลาสติกใสขนาด ๙x๑๔ นิ้ว ครอบยอดพันธุ์ที่เสียบแล้ว ให้ปากถุงพลาสติกใสที่ครอบลึกลงมาถึงครึ่งพลาสติกสีดำ ใช้ยางวงจำนวน ๒ วงมัดให้แน่นเพื่อป้องกันน้ำระเหยและรักษาความชื้น นำไปพักไว้ในโรงเรือนที่มีร่มรำไร ทิ้งไว้นาน ๑๘ วัน ไม่ต้องให้น้ำ
 
หลังจากนั้นเปิดถุงพลาสติกใสที่ครอบออก ยังไม่ต้องเคลื่อนย้าย ให้น้ำเล็กน้อย เปิดไว้ประมาณ ๗-๘ วัน ก่อนนำออกไปวางให้ถูกแสงแดด ให้น้ำเช้า-เย็น หลังจากนั้นอีกประมาณ ๑๐ วัน ใส่ปุ๋ยสูตร ๒๕-๗-๗ อัตราครึ่งช้อนชาต่อต้น พักไว้ประมาณ ๔๕ วัน นำไปปลูกลงแปลงได้ แต่ถ้ากรณีต้องขนส่งไกลๆ ต้องคอยให้ยอดแก่เสียก่อน

ข้อดีที่พบ : มะนาวที่เสียบยอดบนต้นตอมะขวิด มีความทนทาน ทนแล้ง ทนน้ำท่วม มีอายุยืน ระบบรากดี มีรากแก้ว ทนโรคโคนเน่า และขยายพันธุ์ได้คราวละมากๆ

ข้อมูล  : วารสาร "สารนครศรีธรรมราช"  จัดพิมพ์โดย องค์กาบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช  

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS5zh_HKliVRb2NC2HCW8qjkk8U4jjc0uHrh2k_5tPdhop_0jHh)
     มะนาวหวาน  น้ำอร่อยเป็นยา ดกทั้งปี
มะนาวชนิดนี้ เป็นพันธุ์โบราณที่นิยมปลูกเฉพาะถิ่นมาช้านานในพื้นที่ฝั่งธนบุรีย่านตลิ่งชันและจังหวัดนนทบุรี โดยสมัยก่อน จะปลูกเพื่อคั้นเอาน้ำจากผลดื่มเป็นยาสมุนไพรช่วยขับลมขับเสมหะดีมาก เพียงเติมเกลือป่นลงไปเล็กน้อยไม่ต้องใส่น้ำตาลทราย รสหวานปนเปรี้ยวพอดี เป็นธรรมชาติอร่อยมาก ไม่นิยมคั้นเอาน้ำจากผลปรุงอาหาร เพราะไม่อร่อยนั่นเอง ผลสดของ “มะนาวหวาน” ยังนำไปเข้ายาสมุนไพรหลายชนิดอีกด้วย

ประโยชน์อย่างอื่น คนเฒ่าคนแก่สมัยก่อนนิยมนำเอาเปลือกผลของ “มะนาวหวาน” หั่นเป็นฝอยๆ ใส่ปลาแนม หมูแนม และ หมี่กรอบ แทนการใช้เปลือกผลของส้มซ่า ทำให้มีกลิ่นหอมแบบเดียวกันชวนให้รับประทานอร่อยยิ่งขึ้น

มะนาวหวาน อยู่ในวงศ์ RUTACEAE อยู่ในกลุ่มเดียวกับมะนาวแป้น แต่มีหนามน้อยกว่า ดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม “ผล” ของ “มะนาวหวาน” มีขนาดใหญ่กว่าผลมะนาวแป้นอย่างชัดเจน เปลือกผลค่อนข้างบาง มีเมล็ด แต่ละผลจะให้น้ำเยอะ รสชาติหวานนำเปรี้ยวเล็กน้อย ไม่นิยมคั้นหรือบีบเอาน้ำปรุงอาหารตามที่กล่าวข้างต้น ติดผลดกเต็มต้นตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งผลยังดกเหมือนเดิม ที่สำคัญ “มะนาวหวาน” จะทนต่อโรค แคงเกอร์ หรือ โรคแมลง โดยธรรมชาติ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงป้องกันเหมือนการปลูกมะนาวรสเปรี้ยวสายพันธุ์ทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง ปัจจุบัน “มะนาวหวาน” กำลังเป็นที่นิยมปลูกอย่างกว้างขวาง
  ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/21083856167064_EyWwB5WU57MYnKOuXxv9ZtTUTNPQWu.jpg)
     มะนาวแป้นแพรวา  พันธุ์พัฒนาปลูกกระถางเฉพาะ
มะนาวชนิดนี้ เป็นพันธุ์ที่ถูกพัฒนาจากมะนาวแป้นพันธุ์ดั้งเดิมอยู่หลายวิธี จนทำให้มีลักษณะเฉพาะพันธุ์ขึ้นมาใหม่ เป็นมะนาวที่เหมาะสำหรับปลูกลงกระถางหรือบ่อซีเมนต์โดยเฉพาะ และสามารถมีดอกติดผลดกเหมือนปลูกลงดินทุกอย่าง ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการพัฒนาพันธุ์ทำให้ขนาดต้นเตี้ยลง เป็นพุ่มขนาดเล็กไม่สูงใหญ่เหมือนต้นมะนาวทั่วไปนั่นเอง ซึ่งผู้พัฒนาพันธุ์ได้ปลูกทดสอบลักษณะเฉพาะดังกล่าวอยู่หลายวิธี ทุกอย่างยังคงที่ จึงตั้งชื่อว่า “มะนาวแป้นแพรวา” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายดังกล่าว

มะนาวแป้นแพรวา มีชื่อและลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะนาวทั่วไปทุกอย่างคือเป็นไม้พุ่ม สูงเต็มที่ ๑-๑.๕ เมตร เท่านั้น ซึ่งปกติของต้นมะนาวทั่วไปจะมีความสูงอยู่ที่ ๒-๔ เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยเพียงใบเดียว ออกเรียงสลับ เป็นรูปไข่ เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจายทั่ว ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด กลีบดอกเป็นสีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม “ผล” เป็นรูปกลมแป้นเล็กน้อย ผลโตเต็มที่อยู่ในมาตรฐานของผลมะนาวที่มีวางขายตามตลาดทั่วไป ผิวผลสวย เปลือกผลบาง มีเมล็ดน้อยกว่ามะนาวแป้นพันธุ์ดั้งเดิมอย่างชัดเจน ผ่าบีบหรือคั้นเอาน้ำให้น้ำเยอะ รสชาติเปรี้ยวจัดมีกลิ่นหอม เป็นมะนาวสายพันธุ์ที่เหมาะจะปลูกลงกระถางหรือปลูกลงบ่อซีเมนต์โดยเฉพาะตามที่กล่าวข้างต้น สามารถมีดอกและติดผลดกได้ตลอดทั้งปีโดยธรรมชาติ ไม่ต้องใช้วิธีบังคับให้มีดอกและติดผลนอกฤดูกาลเหมือนมะนาวพันธุ์อื่นให้เสียเวลา ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง.
  ไทยรัฐ

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRhYOuFuz6BJto0-tbTF11hDhy02askGnRZ8hDVPrzT0ZoUiMJg)
     มะนาวน้ำเพชร  ผลใหญ่ไร้เมล็ดทั้งปี
ข้อแตกต่าง ระหว่าง “มะนาวน้ำเพชร” กับมะนาวทูลเกล้ามีไม่กี่จุด โดยผู้มีอาชีพปลูกและขยายพันธุ์ทำกิ่งตอนของมะนาวขายชี้ให้ทราบคือ ผล ของ “มะนาวน้ำเพชร” จะมีขนาดใหญ่กว่าอย่างชัดเจน ทำให้เวลาบีบหรือคั้นเอาน้ำไปใช้ประโยชน์ได้เยอะกว่า รสชาติเปรี้ยวจัดและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ไม่มีเมล็ดเหมือนกัน ส่วนที่พอจะแยกแยะความแตกต่างอีกจุด คือ เปลือกผลของ “มะนาวน้ำเพชร” จะบางกว่าเล็กน้อย แต่ทั้งสองชนิดมีลักษณะพิเศษเช่นเดียวกันคือ เป็นสายพันธุ์ที่ติดผลดกไม่ขาดต้นตลอดทั้งปี จึงเป็นที่นิยมปลูกแพร่หลายเวลานี้

มะนาวน้ำเพชร อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๔ เมตร แตกกิ่งก้านด้านข้างเยอะ ปลายกิ่งมักโค้งงอลงสู่ระนาบหน้าดิน กิ่งก้านมีหนามสั้น แต่จะมีหนามน้อยกว่าหนามมะนาวสายพันธุ์อื่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยใบเดียว ออกเรียงสลับเป็นรูปรีหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมน สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมสะอาด มีเกสรตัวผู้เป็นกระจุกสีเหลือง “ผล” รูปกลมรี หรือเกือบกลม เปลือกผลบางตามที่กล่าวข้างต้น ผลเมื่อโตเต็มที่ประมาณผลส้มเขียวหวาน ไม่มีเมล็ด รสชาติเปรี้ยวจัดและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เวลาบีบคั้นเอาน้ำไปใช้ปรุงอาหารจะเพิ่มรสชาติและส่งกลิ่นชวนรับประทานยิ่งนัก ติดผลเป็นพวง ๑-๓ ผล ติดผลดกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

มะนาวน้ำเพชร มีกิ่งพันธุ์ขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ หน้าตึกกองอำนวยการเก่าราคาสอบถามกันเองครับ..
 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/29202942964103_1.png)
     มะนาวเพชรโพธิงาม  ครองใจผู้ปลูก
ครองใจผู้ปลูกมะนาวชนิดนี้ แม้จะเคยแนะนำไปในคอลัมน์แล้ว แต่ยังเป็นที่ต้องการของผู้ปลูกเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่ง “มะนาวเพชรโพธิงาม” เกิดจากการเอาเมล็ดของ มะนาวพันธุ์เกษตรไร้เมล็ด ไปเพาะขยายพันธุ์ จากนั้นได้นำเอาต้นกล้าไปปลูกเลี้ยงจนกระทั่งมีดอกติดผล ปรากฏว่ามีข้อแตกต่างจากพันธุ์เดิมหลายจุด เช่น ต้น สามารถเจริญเติบโตได้รวดเร็ว ติดผลดกมาก รูปทรงของผลกลมสวยน่าชมยิ่ง เปลือกผลบาง ให้น้ำเยอะ รสเปรี้ยวจัดมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นน้ำมะนาวพันธุ์แป้น ต้นทนทานต่อโรคแมลงได้ดี

ส่วนสายพันธุ์แม่คือ มะนาวเกษตรไร้เมล็ด นั้น โดยธรรมชาติจะไม่มีเมล็ด แต่ “มะนาวเพชรโพธิงาม” บางผลกลับมีเมล็ด ๑-๒ เมล็ด ส่วนใหญ่จะไม่มีเมล็ด ใน ๑ ต้น จะมีเมล็ดเพียงไม่กี่ผล แตกต่างจากพันธุ์เดิมอย่างชัดเจน ผู้เพาะขยายพันธุ์เชื่อว่าเป็นมะนาวพันธุ์ใหม่และปลูกทดสอบพันธุ์อยู่นานจนเชื่อว่ากลายพันธุ์ถาวรแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “มะนาวเพชรโพธิงาม” พร้อมกับขยายพันธุ์ด้วยวิธีทาบกิ่งกับตอส้มโอที่เกิดจากการเพาะด้วยเมล็ดออกวางขาย ได้รับความนิยมจากผู้ปลูกเรื่อยมาจนกระทั่งทุกวันนี้

มะนาวเพชรโพธิงาม อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้พุ่มสูง ๒-๔ เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบเป็นใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว ออกเรียงสลับรูปไข่แกมรูปขอบขนาน เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจายทั่ว ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวๆและเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม “ผล” ทรงกลม ติดผลเป็นพวง ๕-๗ ผล ติดผลทั้งปี

ใครต้องการกิ่งพันธุ์รุ่นใหม่รุ่นที่ ๓ ติดต่อที่ตลาดนัดสนามหลวง ๒ โซน ๑๑ แถว ๗ ราคาสอบถามกันเองครับ.
 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRpKaRDIefgXpcBtQzySSGIuBcVPIAI7IZG9VO91-6rgTmM3pusqA)
     มะนาวจัมโบ้  เปรี้ยวจัดผลทั้งปี
มะนาวชนิดนี้ผู้ขายบอกว่า ไม่ใช่มะนาว ด่านเกวียน ตามที่คนเข้าใจผิดแน่นอน เพราะขนาดของผลจะใหญ่กว่าเยอะ สีของเนื้อในมะนาวด่านเกวียนเป็นสีเหลืองเหมือนสีผลส้ม ส่วนเนื้อในของ “มะนาวจัมโบ้” เป็นสีเขียว รสชาติเปรี้ยวจัดเช่นน้ำมะนาวทั่วไป และไม่ใช่มะนาวควาย เพราะลักษณะทรงผลแตกต่างกันอย่างชัดเจน ที่สำคัญ ลำต้นกิ่งก้านของ “มะนาวจัมโบ้” ไม่มีหนามและสามารถติดผลตลอดทั้งปี จึงเป็นมะนาวพันธุ์ใหม่อย่างแน่นอน
 
มะนาวจัมโบ้ ผู้ขายบอกว่าอยู่ในวงศ์มะนาวทั่วไปคือ RUTACEAE เป็นไม้พุ่มสูง ๑.๕-๒.๕ เมตร ลำต้นและกิ่งก้านไม่มีหนาม หรือหากมีก็น้อยมาก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน แตกต่างจากใบมะนาวทั่วไป ใบมีขนาดใหญ่ ปลายแหลม โคนเกือบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน สีเขียวสด
 
ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายยอด มีกลีบดอก ๔-๕ กลีบ เป็นสีขาวดอกมีกลิ่นหอมสะอาด “ผล” เป็นพวง ๑-๓ ผล รูปทรงกลม เมื่อโตเต็มที่ประมาณกำปั้นมือผู้ใหญ่ เปลือกผลค่อนข้างบาง มีเมล็ดน้อย เนื้อในเป็นสีเขียว ผ่าบีบหรือคั้นเอาน้ำทั้งเปลือกได้น้ำเยอะ โดยไม่มีรสขมจากเปลือกเจือปนเลย รสชาติเปรี้ยวจัดเช่นน้ำมะนาวทั่วไป ติดผลไม่ขาดต้นตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด
 
ปัจจุบัน “มะนาวจัมโบ้” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผง หน้าตึกกองอำนวยการเก่า หรือที่ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป ปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ สามารถติดผลได้ ผู้ขายยืนยันว่า เป็นมะนาวสายพันธุ์ที่ทนต่อแมลงได้ดีมากครับ..
 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42792346369888_EyWwB5WU57MYnKOuFI0ympTX7ZUb3G.jpg)
    มะนาวน้ำหนึ่ง  กับที่มาสายพันธุ์
มะนาวชนิดนี้ ผู้ขายกิ่งตอนระบุว่า เป็นพันธุ์ใหม่ เกิดจากการเอาเมล็ดของ มะนาวน้ำเพชร ที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว ซึ่งมะนาวน้ำเพชรเป็นมะนาวที่ไร้เมล็ด แต่ผู้ขายกิ่งตอน “มะนาวน้ำหนึ่ง” เล่าต่อว่า ต้นมะนาวน้ำเพชรที่ปลูกไว้ในบ้านหลายต้นติดผล แล้วนำเอาผลไปผ่าเพื่อบีบเอาน้ำไปใช้ประโยชน์ พบว่าบางผลมีเมล็ด ๑-๒ เมล็ด จึงนำเมล็ดที่ได้ไปเพาะเป็นต้นกล้าหลายต้นแล้วแยกต้นปลูกจนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่ารูปทรงของผลคล้ายกับผลของมะนาวน้ำเพชรทุกอย่าง เมื่อผ่าผลบีบเอาน้ำกลับไม่มีเมล็ด และให้น้ำเยอะ เนื่องจากมีผลใหญ่กว่าผลของมะนาวน้ำเพชรอย่างชัดเจน รสชาติของน้ำเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอมแรงเฉพาะตัว ดีกว่ากลิ่นของน้ำมะนาวน้ำเพชร และที่สำคัญขนาดของต้นเตี้ยกว่า หนามสั้นกว่าอีกด้วย

ผู้เพาะเมล็ดเชื่อว่าเป็นมะนาวใหม่ กลายพันธุ์ จึงขยายพันธุ์ปลูกทดสอบพันธุ์อยู่หลายวิธี และหลายครั้งทุกอย่างยังคงที่ จึงมั่นใจว่ากลายพันธุ์แบบถาวรแล้ว เลยตั้งชื่อว่า “มะนาวน้ำหนึ่ง” ดังกล่าว

มะนาวน้ำหนึ่ง มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะนาวทั่วๆไปคือ เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๓ เมตร กิ่งก้านมีหนามสั้นกว่าหนามของต้นมะนาวทั่วไป ใบเป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับรูปไข่หรือรูปรี เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจายทั่วใบ ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด กลีบดอกเป็น สีขาว มีกลิ่นหอม กลีบดอกร่วงง่าย “ผล” เป็นรูปทรงกลม อาจรีเล็กน้อย ผลมีขนาดใหญ่กว่าผล ของมะนาวน้ำเพชร ไม่มีเมล็ด เปลือกผลบาง ให้น้ำเยอะ น้ำรสชาติเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอมแรง ติดผล ดกไม่ขาดต้นตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง  มีกิ่งตอนขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ.
...นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37990917513767_9_3617_3632_3609_3634_3623_364.jpg)
    มะนาวเลมอนไข่
มะนาวเลมอนไข่ ไม้ต้นนี้ มีวางขาย มีภาพถ่ายผลจริงโชว์ให้ชมด้วย ผู้ขายบอกว่าชื่อ “มะนาวเลมอนไข่” มีถิ่นกำเนิดจาก ประเทศออสเตรเลีย สามารถปลูกให้มีดอกและติดผลได้ดีในบ้านเรา รูปทรงของผลกลมเหมือนไข่ จึงถูกตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “มะนาวเลมอนไข่” ดังกล่าว ซึ่งมะนาวเลมอนมีเกือบ ๒๐ สายพันธุ์ทั่วโลก และมีถิ่นกำเนิดจากหลายประเทศ แต่ละพันธุ์จะมีรูปทรงของผลและขนาดของผลต่างกัน ส่วนลักษณะทางพฤกษศาสตร์อย่างอื่นเหมือนกันหมด รวมทั้งการใช้ประโยชน์ด้วย ทุกสายพันธุ์มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ LEMON TREE

และ “มะนาวเลมอนไข่” ที่ผู้ขายระบุว่านำเข้าจากประเทศออสเตรเลียนั้น มีชื่อประจำพันธุ์เฉพาะว่า AUSTRALIAN LEMON เป็นไม้พุ่ม สูง ๓-๕ เมตร แตกกิ่งก้านเยอะ มีหนามแหลมในส่วนปลายกิ่ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนมน เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด มีกลีบดอก ๕ กลีบ เป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นหอม “ผล” รูปทรงกลม ปลายผลเป็นติ่งแหลมตามเอกลักษณ์ของมะนาวเลมอนทั่วไป เปลือกผลเรียบ ผลดิบสีเขียว สุกเป็นสีเหลือง เปลือกผลมีกลิ่นหอม นิยมขูดเอาผิวเปลือกของผลปรุงอาหารคาวหวานหลายอย่าง ผ่าบีบหรือคั้นน้ำ ให้น้ำเยอะกว่ามะนาวเลมอนทั่วไปที่จะให้น้ำน้อย รสชาติเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ปรุงอาหารได้หลายอย่างเช่นกัน มีเมล็ด ๕-๗เมล็ด ติดผลได้เรื่อยๆ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – พุธที่ ๒๐/๕/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/32256746581858_10_3617_3632_3609_3634_3623_36.jpg)  
    มะนาวแป้นดกพิเศษ
มะนาวแป้นดกพิเศษ ปัจจุบัน มีมะนาวสายพันธุ์ใหม่ๆ ออกวางขายมากมาย แต่ละสายพันธุ์จะมีความเป็นมาและมีดอกติดผลแตกต่างกันไป ซึ่งถ้าสายพันธุ์ไหนมีดอกติดผลดกหรือติดผลได้เรื่อยๆ แบบไม่ขาดต้นตลอดทั้งปี จะถูกผู้ปลูกเลือกซื้อไปปลูกก่อนเป็นอันดับแรกโดยทันที และ “มะนาวแป้นดกพิเศษ” ก็จัดเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ครองความนิยมจากผู้ปลูกมายาวนานจนกระทั่งทุกวันนี้ เพราะเป็นมะนาวสายพันธุ์ที่ติดผลดกเป็นพวงไม่ขาดต้น ปลูกแล้ว ใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่านั่นเอง

มะนาวแป้นดกพิเศษ เกิดจากการผสมเกสรระหว่าง มะนาวแป้นพิจิตร ๑ ที่มีความทนต่อโรคแมลงสูงและขนาดผลใหญ่ ติดผลตลอดทั้งปี กับ มะนาวแป้นรำไพ ที่มีน้ำเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เมื่อเอาเมล็ดที่ได้ไปเพาะเป็นต้นกล้าปลูกเลี้ยงจนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่าส่วนใหญ่จะมีผลขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมอย่างชัดเจน ติดผลดกเป็นพวง ๓-๕ ผลเป็นอย่างต่ำ เปลือกผลค่อนข้างหนาทำให้ทนต่อโรคแมลงดี ให้น้ำเยอะมีเมล็ดน้อย ติดผลอย่างสม่ำเสมอแบบทั้งปี ผู้ขยายพันธุ์เชื่อว่าเป็นมะนาวกลายพันธุ์ถาวรจึงตั้งชื่อว่า “มะนาวแป้นดกพิเศษ” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งวางขายได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกอย่างแพร่หลายตามที่กล่าวข้างต้น

มะนาวแป้นดกพิเศษ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะนาวทั่วไปทุกอย่าง คือ เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๔ เมตร กิ่งก้านมีหนามแหลม โดยเฉพาะกิ่งอ่อน ใบเป็นประกอบชนิดมีใบย่อยเพียงใบเดียว เป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมน ผิวใบมีจุดน้ำมีจุดน้ำมันกระจายทั่ว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมแป้นหรือกลมรีเล็กน้อย ผลมีขนาดใหญ่ ติดผลดกเป็นพวง ให้น้ำเยอะ มีเมล็ด ๓-๕ เมล็ดต่อผล รสชาติของน้ำเปรี้ยวจัดมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวคล้ายกลิ่นมะนาวแป้นทั่วไป ติดผลเรื่อยๆ ไม่ขาดต้นหรือตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่งและ เสียบยอด
มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ. ไทยรัฐ – อังคารที่ ๑๒/๕/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/14615117054846_24_3617_3632_3609_3634_3623_36.jpg)
    มะนาวแป้นดกสีนวล
มะนาวชนิดนี้ มีปลูกเฉพาะถิ่นมาช้านานกว่า๒๐ ปีแล้วในแถบ อ.บ่อทอง จ.ฉะเชิงเทรา เป็นมะนาวกลายพันธุ์แบบถาวรที่เกิดจากการเอาเมล็ดของมะนาวพันธุ์หนึ่งไปเพาะเป็นต้นกล้า แต่ชาวบ้านจำไม่ได้ว่าเป็นพันธุ์อะไร จากนั้นก็นำต้นไปปลูกจนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่า มีผลดกเต็มต้นแบบสม่ำเสมอตามฤดูกาล ผลขนาดใหญ่ รูปทรงผลกลมรีเล็กน้อย เปลือกผลบาง ผ่าบีบหรือคั้นน้ำจะได้น้ำเยอะ รสเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เปลือกผลเป็นสีเขียวอมเหลืองเล็กน้อย ใน ๑ ผล จะมีเมล็ด ๑-๒ เมล็ด หรือบางผลไม่มีเมล็ดเลย  ต่อมา คุณพเยาว์ ธรรมรัตน์ อดีตข้าราชการบำนาญประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ค้นพบมะนาวสายพันธุ์ดังกล่าวและได้นำเอาต้นไปปลูกขยายพันธุ์มอบให้เกษตรกรนำไปปลูกและขยายพันธุ์ออกขายอีกทอดหนึ่ง ในชื่อ “มะนาวแป้นดกศรีนวล” ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกอย่างกว้างขวางอยู่ในเวลานี้  

มะนาวแป้นดกศรีนวล มีชื่อวิทยาศาสตร์และลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะนาวทั่วไปทุกอย่าง คือเป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๔ เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยเพียงใบเดียว ใบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจายทั่ว ดอก ออกที่ซอกใบและปลายยอด กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม “ผล” กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ เปลือกผลบางตามที่กล่าวข้างต้น บีบคั้นน้ำได้น้ำเยอะ รสเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอม ติดผลดกมากตามฤดูกาล
  นสพ.ไทยรัฐ – ศุกร์ที่ ๖/๓/๕๘    

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/38701146137383_25_3617_3632_3609_3634_3623_36.jpg)
     มะนาวไข่กลมดกพิเศษ
ลักษณะพันธุ์ของมะนาวไข่พันธุ์ดั้งเดิม หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า มะนาวไข่โบราณ จะมีข้อดีประจำพันธุ์คือ รสชาติเปรี้ยวจัดและมีกลิ่นหอมแรง แต่ก็มีข้อด้อยหลายอย่างต้องปรับปรุง เช่น ขนาดของผลเล็ก ให้ผลผลิตไม่สม่ำเสมอ ดังนั้น เกษตรกรจึงคิดค้นวิธีด้วยการเขี่ยเกสรของดอกมะนาวไข่พันธุ์ดั้งเดิมผสมกับเกสรของดอกด้วยกันเองจนติดผลแก่จัด ผ่าเอาเมล็ดไปเพาะเป็นต้นกล้าปลูกเลี้ยงจนมีดอกและติดผลแล้วเขี่ยเกสรผสมอีกหลายทอด คัดเอาต้นที่ดีที่สุดไปปลูกจนได้มะนาวตัวใหม่ มีความโดดเด่นกว่ามะนาวไข่พันธุ์ดั้งเดิมอย่างชัดเจนคือ ต้นทนต่อโรคแมลงได้ดี ติดผลดกสม่ำเสมอ ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น เปลือกผลบาง น้ำเยอะและมีกลิ่นหอมแรงเหมือนเดิม จึงตั้งชื่อว่า “มะนาวไข่กลมดกพิเศษ” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งวางขาย กำลังได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้

มะนาวไข่กลมดกพิเศษ อยู่ในวงศ์ RU-TACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะนาวทั่วไปทุกอย่างคือ เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๔ เมตร มีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยเพียงใบเดียว ออกเรียงสลับ ใบเป็นรูปไข่ เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจายทั่ว ดอก เป็นช่อสีขาว มีกลิ่นหอม “ผล” รูปทรงกลม ติดผลเป็นพวง ๕-๖ ผล ติดผลดกทั้งต้น ผลมีขนาดใหญ่กว่าผลมะนาวไข่พันธุ์ดั้งเดิมอย่างชัดเจน มีเมล็ดน้อย บางผลไม่มีเมล็ดเลย บีบหรือคั้นน้ำง่ายเพราะเปลือกผลบาง ให้น้ำเยอะ รสเปรี้ยวจัดมีกลิ่นหอมแรง ติดผลดกเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด  ใครต้องการกิ่งพันธุ์ไปปลูก ติดต่อ “สวนสมศักดิ์การเกษตร” หมู่ ๖ ต.ไม้เด็ด อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ราคาสอบถามกันเองครับ.  
  นสพ.ไทยรัฐ – พุธที่ ๒๑/๑/๕๘  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89021468617849_26_3617_3632_3609_3634_3623_36.jpg)
    มะนาวนิ้วมือ
ไม้ต้นนี้ ผู้ขายต้นพันธุ์คุยว่า เป็นไม้พื้นเมืองของประเทศออสเตรเลีย พบขึ้นตามธรรมชาติในพื้นที่เป็นทะเลทราย มีมากกว่า ๑๖ สายพันธุ์ แต่ละพันธุ์จะมีสีของเปลือกผลและสีของเนื้อในต่างกันไป เช่น เปลือกผลสีแดงเนื้อในจะเป็นสีแดง เปลือกผลสีม่วงเนื้อในจะเป็นสีแดง เปลือกผลสีม่วงอมแดงเนื้อในจะเป็นสีชมพูหรือสีอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งในประเทศไทยมีผู้นำเข้ามาปลูกนานหลายปีแล้ว สามารถปลูกให้เติบโตและติดผลได้ดีในทุกพื้นที่ทุกสภาพดินฟ้าอากาศของบ้านเรา กำลังเป็นที่สนใจของผู้ปลูกอยู่ในเวลานี้

มะนาวนิ้วมือ ผู้ขายต้นพันธุ์คุยต่อว่า มีชื่อเฉพาะว่า AUSTRALIAN FINGER LIME และ CAVIER LIMEมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้น สูงได้กว่า ๖ เมตร ลำต้นมีหนามแหลมยาว ใบและดอกเป็นอย่างไรผู้ขายต้นพันธุ์บอกไม่ได้ ส่วนรูปทรงของ “ผล” ดูจากภาพที่โชว์ไว้เป็นรูปกลมยาวคล้ายนิ้วมือคน จึงถูกตั้งชื่อ ตามลักษณะว่า “มะนาวนิ้วมือ” ผลยาวกว่า ๑๒ ซม. เนื้อในผลเป็นเม็ดกลมใสจำนวนมากคล้ายไข่ของปลาคาเวียร์ ภายในมีน้ำสีสันตามสายพันธุ์ที่กล่าวข้างต้น เนื้อดังกล่าวไม่ติดกับเปลือกผล ใช้ช้อนตักเคี้ยวจะมีเสียงดังเป๊าะแป๊ะในปากและมีน้ำออกมารสเปรี้ยวจัด เหมือนกับน้ำมะนาวทั่วไป และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงตั้งชื่ออีกว่า CAVIER LIME

ประโยชน์ นิยมผ่าผลใช้ช้อนตักเอาเนื้อที่เหมือนกับไข่ปลาคาเวียร์ปรุงร่วมกับอาหารคาวหวานหลากหลายชนิด เพิ่มรสชาติให้รับประทานอร่อยยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่ใช้กันแพร่หลายตามห้องอาหารในโรงแรมหรูทั่วไป มีผลขายตามห้างสรรพสินค้าในบ้านเรา ราคากิโลกรัมหลายบาท การขยายพันธุ์ทำได้ด้วยวิธีเสียบยอดกับตอมะนาว ตอมะกรูด และตอส้มโอ   มีต้นพันธุ์ขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๑๑ ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกเก็บผลกินในครัวเรือนหรือเก็บผลขายคุ้มค่ามากครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – อังคารที่ ๓๑/๓/๕๘  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/35948727817998_EyWwB5WU57MYnKOuYBmYcXPutvnyYA.jpg)
    มะนาวนิ้ว-คาเวียร์
มะนาวชนิดนี้ เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศออสเตรเลีย พบขึ้นตามธรรมชาติในป่าที่เป็นทะเลทราย มีมากกว่า ๑๘ สายพันธุ์ แต่ละพันธุ์จะแตกต่างกันที่สีของเปลือกผลกับกลิ่นและสีเนื้อในของผล เช่น พันธุ์ที่เปลือกผลเป็นสีแดง เนื้อในจะเป็นสีแดงด้วย ขณะที่อีกพันธุ์เปลือกผลเป็นสีเขียวอมดำ แต่เนื้อในกลับเป็นสีขาวใส และชนิดเปลือกผลเป็นสีเขียวแต่เนื้อในกลับเป็นสีแดงอมชมพูหรือสีเหลืองสีม่วงก็มี

มะนาวนิ้ว–คาเวียร์ หรือ AUSTRALIAN FINGER LIME และ CAVIER LIME เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่ม ใบเล็กออกเรียงสลับรูปรีกว้าง ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบเหมือนดอกมะนาวทั่วไป กลีบดอกเป็นสีขาว “ผล” รูปทรงกลมยาวประมาณ ๘-๑๖ ซม. ดูเหมือนกับนิ้วมือคน จึงถูกตั้งชื่อว่า “มะนาวนิ้วมือ” เนื้อในเป็นเม็ดกลมใสจำนวนมาก ดูคล้ายไข่ปลาคาเวียร์ เลยถูกเรียกอีกชื่อว่า “มะนาวคาเวียร์” ภายในเม็ดจะมีน้ำใสๆ สีสันของน้ำจะเป็นสีตามสายพันธุ์ที่กล่าวข้างต้น ตัวเม็ดจะไม่ติดกับเปลือกผล ผ่าผลบีบหรือใช้ช้อนตักเม็ดรับประทานได้เลย เคี้ยวในปากจะมีเสียงดังเป๊าะๆ รสชาติไม่เปรี้ยวจัดนัก มีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นน้ำมะนาวทั่วไป ในต่างประเทศนิยมเอาไปปรุงกับอาหารคาวหวานอย่างกว้างขวาง ในประเทศไทยมีผลวางขายกิโลกรัมละประมาณ ๒๐๐ บาท มีดอกและติดผลดกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเสียบยอด
  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/70931146211094_47_3617_3632_3609_3634_3623_36.jpg)
    มะนาวแป้นศรีนาวา
มะนาวชนิดนี้ พบมีต้นวางขาย โดยผู้ขายบอกว่าเป็นมะนาวลูกผสมใหม่จากการเอาเมล็ดของมะนาวแป้นพันธุ์ดั้งเดิมไปเพาะแล้วนำต้นกล้าไปปลูกจนมีดอกเขี่ยเกสรจากดอกไปผสมกับเกสรของดอกมะนาวพันธุ์ แม่ไก่ไข่ดก เมื่อติดเป็นผลจึงเอาเมล็ดจากผลไปเพาะเป็นต้นกล้าแล้วนำไปปลูกจนมีดอกและติดผล ปรากฏว่า ผลมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่อย่างชัดเจน ติดผลดกทั้งต้น นำเอาผลผ่าครึ่งบีบคั้นเอาน้ำได้น้ำเยอะเหมือนกับมะนาวแป้นทุกอย่าง รสเปรี้ยวจัดมีกลิ่นหอมปรุงอาหารรับประทานอร่อยมาก มีเมล็ดไม่มากนัก เปลือกผลบาง เจ้าของผู้ผสมเกสรเชื่อว่าเป็นมะนาวลูกผสมใหม่แน่นอน จึงตั้งชื่อว่า “มะนาวแป้นศรีนาวา” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายกำลังเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้

มะนาวแป้นศรีนาวา มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะนาวทั่วไป คือ เป็นไม้พุ่มสูง ๒-๔ เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเยอะเหมือนกับมะนาวแป้นทุกอย่าง ใบเป็นใบประกอบชนิดใบย่อยใบเดียวออกเรียงสลับรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจายทั่ว เด็ดขยี้จะมีกลิ่นหอมฉุน ดอก ออกเป็นช่อ กลีบดอกเป็นสีขาว มีกลีบดอก ๕ กลีบ มีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมแป้นเล็กน้อยตามลักษณะสายพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่ ผิวผลเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ เปลือกผลบาง ผลมีขนาดใหญ่เกือบเท่าผลของมะนาวทูลเกล้า ผ่าครึ่งซีกบีบหรือคั้นเอาน้ำได้เยอะ รสเปรี้ยวจัดและมีกลิ่นหอม มีเมล็ดไม่มากนักตามที่กล่าวข้างต้น ติดผลดกตลอดปี โดยเฉพาะติดผลนอกฤดูกาลได้เก่ง (ตามที่ผู้ขายบอก) ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

มีกิ่งตอนขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๑๑ ปลูกในกระถางมีผลได้ ปลูกลงดินให้ผลผลิตดกทั้งปี ทนต่อโรคแมลง ราคาสอบถามกันเองครับ
  นสพ.ไทยรัฐ – อังคารที่ ๓/๖/๕๗



หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 12 พฤษภาคม 2557 15:59:11
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15703025956948_1.png)
     มะนาวแป้นเพชรพวงทอง  ผลขนาดเล็กยังมีน้ำเยอะ
มะนาวชนิดนี้ เกิดจากการเขี่ยเกสรผสมระหว่าง มะนาวแป้นรำไพ ของ จ.เพชรบุรี มีลักษณะประจำพันธุ์ติดผลดกให้น้ำเยอะ รสชาติน้ำเปรี้ยวจัด มีผลวางขายทั่วไป ภายในมีเมล็ดกับเกสรของ มะนาวแป้นพวง ของ จ.ปราจีนบุรี เป็นพันธุ์ที่ติดผลขนาดใหญ่ ผลดกเกือบทั้งปี รสชาติของน้ำเปรี้ยวดีมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เมื่อนำต้นกล้าที่เพาะได้ไปปลูกหลายต้นจนมีดอกและติดผล จากนั้นก็คัดเอาต้นดีที่สุดไปปลูกทดสอบพันธุ์ ปรากฏว่าติดผลดก ผลมีขนาดใหญ่มากและติดผลเป็นพวง ๕-๖ ผล รูปทรงของผลกลมแป้นเหมือนผลลูกจันน่าชมยิ่งนัก

เปลือกผลบาง และนิ่ม ทำให้เวลาผ่าบีบหรือคั้นเอาน้ำจึงง่ายให้น้ำเยอะ โดยเฉพาะจะมีความเป็นพิเศษเหนือกว่ามะนาวชนิดอื่น คือ ขณะที่ผล ยังมีขนาดเล็กอยู่สามารถเด็ดเอาผลผ่าบีบหรือคั้นเอาน้ำได้เยอะอีกด้วย รสชาติของน้ำยังเปรี้ยวจัดและมีกลิ่นหอมเหมือนกับบีบหรือคั้นเอาน้ำจากผลโตเต็มที่ทุกอย่าง ที่สำคัญกว่านั้นเป็นพันธุ์ที่ติดผลดกเป็นพวงได้เรื่อยๆไม่ขาดต้นหรือตลอดทั้งปี เจ้าของผู้เขี่ยเกสร จึงเชื่อว่าเป็นมะนาวกลายพันธุ์และเป็นพันธุ์ใหม่อย่างถาวร แน่นอนแล้ว เลยตั้งชื่อว่า “มะนาวแป้นเพชรพวงทอง” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกจำหน่ายได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

มะนาวแป้นเพชรพวงทอง มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับ มะนาวทั่วไป ต้นสูง ๒-๔ เมตร มีหนามแหลม แต่ไม่มากนัก ดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม “ผล” กลมแป้น เปลือกบาง ให้น้ำเยอะ มีเมล็ดไม่มากนัก ติดผล เป็นพวงตลอดทั้งปีโดยไม่ต้องใช้วิธีบังคับ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด  มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๑๓  ราคาสอบถามกันเองครับ.
  ไทยรัฐ
  
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15703025956948_1.png)
    มะนาวหวาน.  
มะนาวชนิดนี้ เป็นพันธุ์โบราณที่นิยมปลูกเฉพาะถิ่นมาช้านานในพื้นที่ฝั่งธนบุรีย่านตลิ่งชันและจังหวัดนนทบุรี โดยสมัยก่อน จะปลูกเพื่อคั้นเอาน้ำจากผลดื่มเป็นยาสมุนไพรช่วยขับลมขับเสมหะดีมาก เพียงเติมเกลือป่นลงไปเล็กน้อยไม่ต้องใส่น้ำตาลทราย รสหวานปนเปรี้ยวพอดี เป็นธรรมชาติอร่อยมาก ไม่นิยมคั้นเอาน้ำจากผลปรุงอาหาร เพราะไม่อร่อยนั่นเอง ผลสดของ “มะนาวหวาน” ยังนำไปเข้ายาสมุนไพรหลายชนิดอีกด้วย
 
ประโยชน์อย่างอื่น คนเฒ่าคนแก่สมัยก่อนนิยมนำ เอาเปลือกผลของ “มะนาวหวาน” หั่นเป็นฝอยๆ ใส่ปลาแนม หมูแนม และ หมี่กรอบ แทนการใช้เปลือกผลของ ส้มซ่า ทำให้มีกลิ่นหอมแบบเดียวกันชวนให้รับประทานอร่อยยิ่งขึ้น
 
มะนาวหวาน อยู่ในวงศ์ RUTACEAE อยู่ในกลุ่มเดียวกับมะนาวแป้น แต่มีหนามน้อยกว่า ดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม “ผล” ของ “มะนาวหวาน” มีขนาดใหญ่กว่าผลมะนาวแป้นอย่างชัดเจน เปลือกผลค่อนข้างบาง มีเมล็ด แต่ละผลจะให้น้ำเยอะ รสชาติหวานนำเปรี้ยวเล็กน้อย ไม่นิยมคั้นหรือบีบเอาน้ำปรุงอาหารตามที่กล่าวข้างต้น ติดผลดกเต็มต้นตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งผลยังดกเหมือนเดิม ที่สำคัญ “มะนาวหวาน” จะทนต่อโรค แคงเกอร์ หรือ โรคแมลง โดยธรรมชาติ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงป้องกันเหมือนการปลูกมะนาวรสเปรี้ยวสายพันธุ์ทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง ปัจจุบัน “มะนาวหวาน” กำลังเป็นที่นิยมปลูกอย่างกว้างขวาง
 
ใครต้องการกิ่งตอนติดต่อหรือที่ตลาดนัดสนามหลวง ๒ ราคาสอบถามกันเองครับ.
  ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRKn3W1kIPpYCjDqvBmjm0xQ7zh_Js0yZyxLRKBMBEuVjotvOdw)
     มะนาวแป้นดกพิเศษ  
ผู้ปลูกมะนาว ไม่ว่าจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนหรือปลูกเพื่อเก็บผลขายเชิงพาณิชย์ ส่วนใหญ่จะพบปัญหาเหมือนกันหมดคือ ต้นมะนาวที่ปลูกจะถูกโรคแมลงลงเกาะกินเช่น โรคแคงเกอร์ หรือ โรครากเน่า ทำให้ต้นตายหรือติดผลน้อย ต้องใช้สารเคมีฉีดพ่นเป็นประจำ เป็นการเพิ่มต้นทุนและเป็นสาเหตุทำให้มะนาวมีราคาแพงเป็นเงาตามตัว
 
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการลดต้นทุนดังกล่าว ปัจจุบัน เกษตรกรกับนักวิชาการเกษตร ได้ร่วมมือกันพัฒนาสายพันธุ์มะนาวขึ้นมาใหม่หลายสายพันธุ์ให้มีลักษณะพิเศษสามารถทนทานต่อโรคแมลงได้ และยังมีผลผลิตให้เก็บผลใช้ประโยชน์หรือขายได้ตลอดทั้งปีด้วย ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นมี “มะนาวแป้นดกพิเศษ” รวมอยู่ด้วย เป็นมะนาวพันธุ์ต้นๆที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้
 
มะนาวแป้นดกพิเศษ เกิดจากการผสมเกสรของมะนาวแป้นทั่วไปกับมะนาวแป้นพิจิตร ๑ แล้วนำต้นกล้าไปปลูกทดสอบพันธุ์อยู่นานหลายครั้ง ปรากฏว่าต้นมีความทนทานต่อโรคแมลงได้ดี ไม่ต้องฉีดพ่นยาให้เสียเวลาและเปลืองเงินอีก ผลมีขนาดใหญ่ ติดผลดกทั้งปีไม่ขาดต้น เปลือกผลบางเมล็ดน้อย รสชาติเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว บีบหรือคั้นเอาน้ำปรุงอาหารได้คุ้มค่ามาก ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะนาวทั่วไป ต้นสูงประมาณ ๒-๓ เมตร เท่านั้น ปลูกได้ในดินทั่วไป เป็นมะนาวสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อโรคแมลงได้ดีตามที่กล่าวข้างต้น เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน และปลูกเพื่อเก็บผลขายได้คุ้มค่ามาก
  ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22470367617077_EyWwB5WU57MYnKOuXxv9ZtTUTNPQWu.jpg)
     มะนาวแป้นแพรวา
มะนาวชนิดนี้ เป็นพันธุ์ที่ถูกพัฒนาจากมะนาวแป้นพันธุ์ดั้งเดิมอยู่หลายวิธี จนทำให้มีลักษณะเฉพาะพันธุ์ขึ้นมาใหม่ เป็นมะนาวที่เหมาะสำหรับปลูกลงกระถางหรือบ่อซีเมนต์โดยเฉพาะ และสามารถมีดอกติดผลดกเหมือนปลูกลงดินทุกอย่าง ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการพัฒนาพันธุ์ทำให้ขนาดต้นเตี้ยลง เป็นพุ่มขนาดเล็กไม่สูงใหญ่เหมือนต้นมะนาวทั่วไปนั่นเอง ซึ่งผู้พัฒนาพันธุ์ได้ปลูกทดสอบลักษณะเฉพาะดังกล่าวอยู่หลายวิธี ทุกอย่างยังคงที่ จึงตั้งชื่อว่า “มะนาวแป้นแพรวา” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายดังกล่าว

มะนาวแป้นแพรวา มีชื่อและลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะนาวทั่วไปทุกอย่างคือเป็นไม้พุ่ม สูงเต็มที่ ๑-๑.๕ เมตร เท่านั้น ซึ่งปกติของต้นมะนาวทั่วไปจะมีความสูงอยู่ที่ ๒-๔ เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยเพียงใบเดียว ออกเรียงสลับ เป็นรูปไข่ เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจายทั่ว ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด กลีบดอกเป็นสีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม “ผล” เป็นรูปกลมแป้นเล็กน้อย ผลโตเต็มที่อยู่ในมาตรฐานของผลมะนาวที่มีวางขายตามตลาดทั่วไป ผิวผลสวย เปลือกผลบาง มีเมล็ดน้อยกว่ามะนาวแป้นพันธุ์ดั้งเดิมอย่างชัดเจน ผ่าบีบหรือคั้นเอาน้ำให้น้ำเยอะ รสชาติเปรี้ยวจัดมีกลิ่นหอม เป็นมะนาวสายพันธุ์ที่เหมาะจะปลูกลงกระถางหรือปลูกลงบ่อซีเมนต์โดยเฉพาะตามที่กล่าวข้างต้น สามารถมีดอกและติดผลดกได้ตลอดทั้งปีโดยธรรมชาติ ไม่ต้องใช้วิธีบังคับให้มีดอกและติดผลนอกฤดูกาลเหมือนมะนาวพันธุ์อื่นให้เสียเวลา ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
  ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54971266537904_EyWwB5WU57MYnKOuFtJjJDLYLjOoqQ.jpg)
    มะนาวไร้หนาม  ดกคุ้มเก็บผลสบายมือ
ปลูกมะนาวพันธุ์ดังๆ เพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน แต่มีปัญหาเวลาเก็บผลไปใช้ประโยชน์ถูกหนามแหลมจากต้น และกิ่งก้านทิ่มแทงมือได้รับบาดเจ็บทำให้รู้สึกกลัว ขอให้แนะนำวิธีแก้บ้าง ซึ่งความจริงแล้วการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีเพียงอย่างเดียวคือ ใส่ถุงมือหนาๆ ก่อนจะเก็บผลจะไม่ถูกหนามทิ่มแทงมืออย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม วิธีแก้ปัญหาถูกทางที่สุด อีกอย่างได้แก่ปลูก “มะนาวไร้หนาม” อีกต้นซะเลยจะดีมาก เนื่องจากต้นและกิ่งก้านของมะนาวดังกล่าวจะไม่มีหนามรบกวนให้เจ็บปวดได้อีกเลย

นอกจากต้นและกิ่งก้านไม่มีหนามแล้ว “มะนาวไร้หนาม” ยังเป็นสายพันธุ์ที่ติดผลดกแบบไม่ขาดต้นหรือเกือบตลอดปีอีกด้วย สามารถเก็บผลใช้ประโยชน์ได้อย่างสบายมือ ให้น้ำเยอะ รสชาติของน้ำเปรี้ยวจัดเหมือนกับน้ำมะนาวพันธุ์ดังๆ ทั่วไป และมีข้อโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ประจำพันธุ์คือ ต้นมีความทนทานต่อโรคแมลงหรือโรคพืชได้ดีมาก “มะนาวไร้หนาม” จึงเหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนหรือเก็บผลขายคุ้มค่ายิ่งนัก

มะนาวไร้หนาม มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจากประเทศจีน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์และลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะนาวทั่วไปทุกอย่าง จะมีข้อแตกต่างเพียงลำต้นและกิ่งก้านไม่มีหนามแค่นั้น ต้นสูง ๒-๔ เมตร ใบเป็นใบประกอบชนิดใบย่อยใบเดียว ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน สีเขียวสด ดอกสีขาว ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด ดอกมีกลิ่นหอม มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก เกสรตัวเมีย ๑ อัน “ผล” กลมเกลี้ยง เปลือกผลค่อนข้างหนากว่าเปลือกผลของมะนาวสายพันธุ์ใดๆ ภายในมีเมล็ด ผ่าหรือคั้นเอาน้ำจะให้น้ำเยอะ รสชาติเปรี้ยวจัด ติดผลดกตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

ปัจจุบันมีกิ่งตอนรุ่นใหม่ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑ ราคาสอบถามกันเองครับ.
 นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/75185227352711_EyWwB5WU57MYnKOuFtH4LfjQdLwoYY.jpg)
    มะนาวแป้นสุกัญญา  ดกไม่ขาดต้นเปรี้ยวหอม
มะนาวชนิดนี้ ผู้ขายกิ่งตอนบอกว่าเกิดจากการเอาเมล็ดของมะนาวพันธุ์หนึ่ง จากพื้นที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม แต่จำไม่ได้ว่าเป็นมะนาวพันธุ์อะไร ไปเพาะเป็นต้นกล้าจำนวนหลายสิบต้นปลูกเลี้ยงจนมีดอกและติดผล ปรากฏว่ามีอยู่ ๒-๓ ต้นเท่านั้นที่มีผลแตกต่างจากพันธุ์เดิมอย่างชัดเจนคือ ผลมีขนาดใหญ่ขึ้นและติดผลดกมาก เปลือกผลบาง ผ่าบีบคั้นเอาน้ำจะให้น้ำเยอะกว่าพันธุ์เดิม มีเมล็ดน้อย รสชาติของน้ำเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ปรุงอาหารเพิ่มกลิ่นหอมชวนรับประทานยิ่งขึ้น เจ้าของเชื่อว่าเป็นมะนาวกลายพันธุ์ จึงคัดเอาต้นดีที่สุดไปขยายพันธุ์ปลูกทดสอบความนิ่งของพันธุ์อยู่หลายวิธีและหลายครั้ง ปรากฏว่าทุกอย่างยังคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงและกลายพันธุ์แบบถาวรแน่นอนแล้ว เลยตั้งชื่อว่า “มะนาวแป้นสุกัญญา” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายดังกล่าว

มะนาวแป้นสุกัญญา มีชื่อวิทยาศาสตร์และลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะนาวทั่วไปทุกอย่างคือ LIME–CITRUS AURAN TIFOLIA (CHRISTM.–PANZ) ZWING อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๔ เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชนิดมีใบย่อยใบเดียว ออกเรียงสลับ รูปไข่ เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจายทั่ว

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด มีกลีบดอก ๕ กลีบ สีขาว ดอกมีกลิ่นหอมเย็นแบบสะอาดๆ “ผล” รูปกลมแป้น มีขนาดใหญ่ เปลือกผลบาง เมล็ดน้อย ผ่าบีบคั้นเอาน้ำให้น้ำเยอะ รสชาติเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอม ตามที่กล่าวข้างต้น ติดผลดกไม่ขาดต้นเกือบตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด
  นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/16821320065193_EyWwB5WU57MYnKOuXuYB5UYKhrscV3.jpg)
    มะนาวจัมโบ้สีทอง  น้ำเยอะแปรรูปอร่อย
มะนาวชนิดนี้ ผู้ขายกิ่งตอนระบุว่า มีถิ่นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย สามารถปลูกเจริญเติบโตมีดอกและติดผลดกได้เป็นอย่างดีในประเทศไทยบ้านเรา มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์คือ ผลใหญ่น้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๓-๔ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม ที่สำคัญขณะผลยังอ่อนเป็นสีเขียว ยังไม่เริ่มเข้าสู่ผลแก่ สามารถเก็บผลผ่าบีบหรือคั้นเอาน้ำไปใช้ประโยชน์ได้เลย ให้น้ำเยอะเช่นเดียวกับผลที่แก่จัด รสชาติของน้ำช่วงนี้จะเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวเป็นที่นิยมแพร่หลาย

ผลแก่จัดสีของเปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองอย่างชัดเจน ดูคล้ายกับผลแก่ของมะนาวด่านเกวียนของไทยมาก จึงเป็นสาเหตุให้คนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นมะนาวชนิดเดียวกัน ซึ่งผู้ขายกิ่งตอนยืนยันว่าไม่ใช่อย่างแน่นอน โดยเฉพาะเปลือกผลของ “มะนาวจัมโบ้สีทอง” จะบางกว่าและผ่าผลบีบหรือคั้นเอาน้ำจะได้น้ำเยอะกว่า รสชาติก็แตกต่างกันอีกด้วยคือน้ำจากผลแก่จัดของ “มะนาวจัมโบ้สีทอง” จะไม่เปรี้ยวจัด มีรสหวานเจือปนเล็กน้อย จึงทำให้ส่วนใหญ่ผู้ปลูก “มะนาวจัมโบ้สีทอง” นิยมเอาน้ำจากผลแก่จัดที่เปลือกผลเป็นสีทองแล้วไปแปรรูปทำเป็นน้ำมะนาวเติมน้ำเชื่อม เกลือป่นลงไปเพียงเล็กน้อย รสชาติหวานหอมชื่นใจดีมาก ใน ๑ ผล จะมีเมล็ด ๓-๕ เมล็ด แตกต่างกันอย่างชัดเจน ผู้นำเข้าจึงตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “มะนาวจัมโบ้สีทอง” ดังกล่าว

มะนาวจัมโบ้สีทอง เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๔ เมตร ลำต้นกิ่งก้านมีหนามเล็กน้อยหรือเกือบไม่มีเลย ใบเป็นใบประกอบชนิดใบย่อยใบเดียว ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมรีเล็กน้อย ผลมีขนาดใหญ่ เปลือกผลแก่เป็นสีเหลืองทอง น้ำเป็นสีเหลืองด้วย เวลาติดผลเป็นพวงน่าชมยิ่ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

มีกิ่งตอนรุ่นใหม่ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ
 นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/23213650617334_EyWwB5WU57MYnKOuXq3oSeAfjUFMFm.jpg)
    มะนาวดกพิเศษกำแพงเพชร  ปลูกเก็บผลคุ้ม
มะนาวพันธุ์นี้ เกิดจากการเอาเมล็ดของมะนาวแป้นรำไพไปเพาะเป็นต้นกล้าจำนวนหลายต้น แล้วแยกปลูกจนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่าบางต้นขนาดของผลใหญ่กว่าผลของมะนาวแป้นรำไพที่เป็นพันธุ์แม่อย่างชัดเจน เมื่อนำผลไปผ่าคั้นเอาน้ำสามารถให้น้ำเยอะมาก และที่เป็นพิเศษ แต่ละผลจะมีเมล็ดน้อยลงกว่ามะนาวแป้นรำไพ คือประมาณ ๒-๕ เมล็ดเท่านั้น เจ้าของผู้เพาะพันธุ์เชื่อว่าเป็นมะนาวกลายพันธุ์แน่นอน เลยคัดเอาเฉพาะต้นดีที่สุดไปปลูกทดสอบความนิ่งอยู่หลายวิธีและหลายครั้ง ทุกอย่างยังคงที่และมั่นใจว่ากลายพันธุ์ถาวรแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “มะนาวดกพิเศษกำแพงเพชร” ดังกล่าว มะนาวดกพิเศษกำแพงเพชร อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้พุ่มต้นสูง ๒-๔ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่ ปลายแหลม โคนมน ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆหรือเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด มีกลีบดอก ๕ กลีบ สีขาว ร่วงง่าย ดอกมีกลิ่นหอมแบบสะอาด “ผล” รูปกลม แป้นเล็กน้อย เปลือกผลบาง ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๑๐-๑๒ ผลต่อ ๑ กิโลกรัม

เมื่อนำเอาผลไปผ่าครึ่งบีบหรือคั้นเอาน้ำจะทำได้ง่าย เนื่องจากเปลือกผลบางนั่นเอง และจะได้น้ำเยอะ รสชาติของน้ำเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ติดผลดกเป็นพวง ๓-๕ ผล สามารถติดผลนอกฤดูกาลในช่วงที่มะนาวมีราคาแพงได้อีกด้วย จึงถือว่าเป็นมะนาวที่ปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน หรือปลูกเพื่อเก็บผลขายได้คุ้มค่ามาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด
  ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/18463334151440_EyWwB5WU57MYnKOuXxtuvBhjQkfF1z.jpg)
    มะนาวแป้นสิรินนท์
มะนาวชนิดนี้ มีที่มาของสายพันธุ์และชื่อ โดย อ.บุญเกื้อ ชมฉ่ำ หรือ “อ.แป๊ะ” เจ้าของสวนมะนาว หมู่ ๑ ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี ที่ปลูกมะนาวสายพันธุ์ต่างๆไว้จำนวนมาก ได้ขยายพันธุ์นำเอากิ่งมะนาวต้นหนึ่งที่ปลูกไว้แต่จำไม่ได้ว่าเป็นพันธุ์อะไรไปเสียบยอดกับตอส้มโอ แล้วปลูกเลี้ยงจนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่าติดผลดกมาก ผลมีขนาดใหญ่กว่าผลมะนาวแป้นทั่วไปอย่างชัดเจน เปลือกผลบาง มีเมล็ดไม่มากนัก เมื่อนำเอาผลผ่าบีบหรือคั้นเอาน้ำให้น้ำเยอะ รสชาติของ น้ำเปรี้ยวจัดและมีกลิ่นหอมแรงเฉพาะตัว จึงเชื่อว่าเป็นมะนาวพันธุ์ใหม่อย่างแน่นอน เลยขยายพันธุ์ตอนกิ่งปลูกทดสอบความนิ่งของพันธุ์อยู่หลายวิธีและหลายครั้ง ปรากฏว่าทุกอย่างยังคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เลยตั้งชื่อว่า “มะนาวแป้นสิรินนท์” ซึ่งหมายถึงมะนาวดีของจังหวัดนนทบุรีนั่นเอง

มะนาวแป้นสิรินนท์ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์และชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับมะนาวทั่วไปทุกอย่าง มีความโดดเด่นประจำพันธุ์คือ ติดผลดกตลอดปีโดยธรรมชาติ ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ ๑๐-๑๓ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม เปลือกผลบาง มีเมล็ดไม่มากนัก ผ่าบีบหรือคั้นเอาน้ำให้น้ำเยอะ รสชาติเปรี้ยวจัดมีกลิ่นหอมแรงตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์แบบทั่วไปด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

ใครต้องการกิ่งพันธุ์ติดต่อ “สวนมะนาวสิรินนท์” ตามที่อยู่ข้างต้น เป็นกิ่งตอนด้วยระบบเสียบยอดกับตอส้มโอ มีรากแก้วดีทุกกิ่ง เมื่อนำไปปลูกแล้วสามารถเติบโตได้เร็ว ลำต้นแข็งแรง ให้ผลผลิตทั้งปีแบบไม่ขาดต้นและให้ผลผลิตสูงมาก ผู้ขายมีเอกสารวิธีปลูกแจกให้ด้วย ราคาสอบถามกันเองครับ.
  ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55718998114267_EyWwB5WU57MYnKOuXogSRFg8OolOfY.jpg)
     มะนาวแป้นสุขประเสริฐ  กับที่มาพันธุ์ไร้เมล็ด
อย่างที่บอกไว้ว่า มะนาวพันธุ์ใหม่ๆ มีกิ่งตอนวางขายมากมายในปัจจุบัน เลยแนะนำในคอลัมน์ อ่านแล้วโดนใจพันธุ์ไหนก็เลือกซื้อพันธุ์นั้นไปปลูกได้ และ “มะนาวแป้นสุขประเสริฐ” ผู้ขายกิ่งตอนบอกว่า เกิดจากการผสมเกสรระหว่างมะนาวแป้นพิจิตร เบอร์ ๑ กับเกสรมะนาวแป้นแม่ลูกดก โดยฝีมือ อ.วัง สุขประเสริฐ แล้วเอาเมล็ดที่ได้ไปเพาะเป็นต้นกล้าปลูกเลี้ยง จนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่าสีของดอกเป็นสีขาวอมม่วง แตกต่างจากสีดอกมะนาวทั่วไปที่จะเป็นสีขาวล้วน ผลกลมแป้นอย่างชัดเจน เปลือกผลบาง บีบหรือคั้นน้ำได้เยอะ รสเปรี้ยวจัดมีกลิ่นหอมแรง ที่สำคัญผู้ขายกิ่งตอนยืนยันอีกว่า “มะนาวแป้นสุขประเสริฐ” จะไร้เมล็ด เจ้าของเลยตั้งชื่อว่า “มะนาวแป้นสุขประเสริฐ” ดังกล่าว

มะนาวแป้นสุขประเสริฐ เป็นไม้ยืนต้น สูง ๓-๔ เมตร กิ่งอ่อนมีหนามแหลม ใบเป็นใบประกอบชนิดมีใบย่อยเพียงใบเดียว ออกเรียงสลับเป็นรูปไข่ แผ่นใบมีต่อมน้ำมันระเหยกระจายทั่ว ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด กลีบดอกเป็นสีขาวอมม่วงตามที่กล่าวข้างต้น กลีบดอกร่วงง่าย ดอกมีกลิ่นหอม “ผล” กลมแป้น เปลือกผลบาง ภายในไม่มีเมล็ด บีบหรือคั้นได้น้ำเยอะ รสเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอม ผู้ขายบอกต่อว่า “มะนาวแป้นสุขประเสริฐ” เป็นพันธุ์เบา ปลูกแล้วโตเร็ว ติดผลง่ายและดกเต็มต้นตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยระบบติดตากับตอส้มโอ ทำให้ต้นทนต่อโรคแมลงดีมาก เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนและปลูกเพื่อเก็บผลขายได้คุ้มค่ายิ่งนัก
  ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/75948820966813_EyWwB5WU57MYnKOuX7I9ROzPoL0rVg.jpg)
     มะนาวกินเนื้อ  กับที่มาพันธุ์เนื้ออร่อย
หลายคน อยากทราบว่า “มะนาวกินเนื้อ” เป็นอย่างไร ซึ่งตามหลักฐานระบุว่ามีถิ่นกำเนิดเดิม จากประเทศอินเดีย แล้วกระจายปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ส่วนสายพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศ ไทยเชื่อว่ามาจากประเทศจีน นิยมปลูกตามหมู่บ้านชาวเขาทั่วไป มีชื่อเรียกแตกต่างกันคือ จีนฮ่อเรียก เซียนหยินหรือเชียงเหย่น แม้วเรียกชาเย็ง ลัวะเรียกเดี๊ยะโซย, แผละโซ้ย กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียกโมโรสะหรือมะนาวแม้ว ในภาคกลางเรียก ส้มมะละกอ บางพื้นที่เรียก “มะนาวกินเนื้อ” และภาคใต้เรียกว่า ส้มมะนาว

มะนาวกินเนื้อ CITRON หรือ CITRUS MEDICA L. VAR.MEDICA. อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๘ เมตร กิ่งก้านมีหนามแหลม ใบเดี่ยวออกเรียงสลับเหมือนกับใบมะนาวหรือใบมะกรูด ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ ๓-๕ ดอก ตามซอกใบและปลายยอด มีกลีบดอก ๔ กลีบ สีขาวหรืออาจมีสีม่วงปนเล็กน้อย ใจกลางดอกมีเกสรสีเหลืองจำนวนมาก ดอกมีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมรี ผลโตเต็มที่ขนาดเท่ากับผลมะละกอป่าหรือผลมะละกอพันธุ์โบราณ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเป็นสีเหลือง เปลือกผลหนา ผิวผลขรุขระเหมือนผลมะกรูด เนื้อในสีขาวคล้ายเนื้อมะละกอ ไม่มีน้ำ บางผลมีเมล็ด ๑-๒ เมล็ด หรือไม่มีเมล็ดเลย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง รสชาติของเนื้อเย็นกรอบมันมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นน้ำมะนาว รับประทานอร่อยมาก นิยมปอกเปลือกสับฝานปรุงเป็นส้มตำได้ หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จิ้มน้ำผึ้งกินสดๆ หวานหอมดีมาก ปรุงเป็นอาหารคาวหวานได้หลากหลายอย่าง ที่สำคัญเก็บในตู้เย็นได้นาน ๑-๓ เดือน
  ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/59990346224771_EyWwB5WU57MYnKOuYNz992pxC8AXfR.jpg)
     มะนาวแป้นแม่ลูกดก  กับที่มาพันธุ์ปลูกคุ้ม
มะนาวชนิดนี้ เป็นพันธุ์ลูกผสมด้วยวิธีเขี่ยเกสรระหว่าง มะนาวแม่ไก่ไข่ดก กับ มะนาวแป้นเอี่ยมเซ้ง โดยฝีมือ อ.วัง สุขประเสริฐ ซึ่งธรรมชาติของมะนาวแม่ไก่ไข่ดก มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์คือ มีดอกและติดผลดกมาก แต่ขนาดของผลจะเล็ก ส่วนมะนาวแป้นเอี่ยมเซ้งผลมีขนาดใหญ่ มีดอกและติดผลไม่ดกนัก แต่จะมีความทนทานต่อโรคแคงเกอร์ หรือโรคแมลงที่ลงเกาะกินต้นมะนาวที่ปลูกทั่วไปและเป็นปัญหาของเกษตรกรในปัจจุบันได้สูงมาก

จากนั้นก็นำเอาเมล็ดที่ได้จากผลเกิดจากการเขี่ยเกสรจำนวนกว่าร้อยเมล็ดไปเพาะเป็นต้นกล้าแล้วแยกต้นไปปลูกเลี้ยงจนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่ามีลักษณะเด่นคือเป็นมะนาวพันธุ์เบา มีดอกและติดผลง่าย หลังปลูกเพียง ๓-๔ เดือน สามารถมีดอกและติดผลได้แล้ว และที่สำคัญเมื่อต้นมีอายุได้ ๒ ปีขึ้นไปจะมีดอกและติดผลดกขึ้นเรื่อยๆตามอายุของต้นและตามฤดูกาล เชื่อว่าเป็นมะนาวพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์ถาวร จึงตั้งชื่อ “มะนาวแป้นแม่ลูกดก” ดังกล่าว

มะนาวแป้นแม่ลูกดก เป็นไม้ยืนต้นสูง ๓-๔ เมตร กิ่งอ่อนมีหนามแหลม ใบเป็นใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว ออกเรียงสลับ ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายยอด กลีบดอกเป็นสีขาว ร่วงง่าย ดอกมีกลิ่นหอมแบบสะอาดๆ “ผล” รูปกลมแป้นหรือแบนอย่างชัดเจน ผลมีนํ้าหนักเฉลี่ยระหว่าง ๑๒ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม เปลือกผลบาง สีเขียวสวน ผ่าบีบหรือคั้นนํ้าได้นํ้าเยอะ นํ้าเป็นสีขาวใส แตกต่างจากนํ้ามะนาวทั่วไป รสเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอม ติดผลดกตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

ปัจจุบัน “มะนาวแป้นแม่ลูกดก” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลใช้ประโยชน์ในครัวเรือนหรือปลูกหลายๆ ต้นเก็บผลขายได้คุ้มค่ามากครับ.
   ไทยรัฐ


   ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 10 กรกฎาคม 2557 10:49:45
.

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR-HP1bT7UT5o725HTkAxtzLqPCi6YorP5XuYVFRxjrfrdvgUw1Iw)
      กำยาน
ชื่ออื่น ๆ เช่น เขว้า ซาดสมิง เซพอบอ เส้พ่อบอ สะด่าน เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง ๑๐-๒๐ เมตร ลำต้นเปลา เรือนยอดโปร่ง เปลือกสีเทา ผิวเรียบ กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ตามกิ่งบริเวณซอกใบมักพบต่อมมีลักษณะเป็นถุงยาวคล้ายดาบ โคนเชื่อมกัน มีจำนวน ๖-๑๒ อัน ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลีบรองดอกติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก ๕ กลีบ รูปขอบขนาน ขนาดยาวประมาณ ๑ ซม. มีขนตามผิวนอกของกลีบ เกสรตัวผู้สีเหลืองเข้ม ผลกลมหรือแป้น สีเขียวอ่อน หัวและท้ายแบน ขนาดกว้าง ๒.๕ ซม. ยาว ๒ ซม. แข็งมากมีขนคลุมประปราย เมล็ดมี ๑-๒ เมล็ด ชันที่เรียกว่า Gum Benjamin ใช้เข้าเครื่องยา และทำเครื่องสำอาง .....นสพ.เดลินิวส์

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSn53FYouY-kmNjt7AUlQhqTWI4s5FZQoDPvrP-P0qyyXbz4Kht)
     จิก กระโดน หรือมุจลินท์
หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ทรงประทับอยู่ใต้ต้นนิโครธ ๗ วัน แล้วเสด็จไปประทับใต้ต้นจิกอีก ๗ วัน ต้นจิกพบทั่วๆ ไปในเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้

ในพุทธประวัติกล่าวว่า หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ทรงประทับอยู่ใต้ต้นนิโครธ ๗ วัน แล้วเสด็จไปประทับใต้ต้นจิกอีก ๗ วัน ต้นจิกพบทั่วๆ ไปในเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินเดีย ลังกา พม่า ไทย ใบอ่อนใช้เป็นอาหาร ใบแก่ใช้รักษาอาการท้องร่วง เปลือกต้นใช้เบื่อปลา เนื้อไม้ใช้ทำไม้อัด เครื่องเรือน เมล็ดผสมในตำรับยาลม ใช้แก้อาการจุกเสียด แก้ไอในเด็ก
...นสพ.เดลินิวส์


(http://www.dhammajak.net/board/files/_1_144.jpg)
     จิก
จิกเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูง ๔-๘ เมตรลำต้นมีปุ่มปมเปลือก แผ่นเปลือกชั้นในสีเหลืองแกมน้ำตาล ถึงชมพู มีเส้นใยเหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง เป็นกระจุกที่ปลายกิ่งแผ่นใบคล้ายกระดาษ ไม่นุ่ม ใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ ถึงรูปหอกแกมรูปไข่กลับ เกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนเป็นมัน ปลายเรียวแหลม ฐานสอบแคบ ขอบหยักละเอียด ก้านใบอวบสั้น ดอกออกที่ปลายกิ่ง เป็นช่อกระจะ ช่อดอกห้อยลง ดอกใหญ่ ผล สีเขียวถึงสีเขียวอมม่วง รูปไข่ถึงรูปรี ปลายผลแหลมทั้งสองด้านมีกลีบเลี้ยงสองด้าน มีกลีบเลี้ยง ๒-๔ กลีบ

จิกที่ชาวไทยรู้จักคุ้นเคยมากเป็นพิเศษมี ๓ ชนิด คือ จิกนา จิกบ้านหรือจิกสวน และจิกน้ำ ซึ่งแต่ละชนิดมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ใบอ่อนกินเป็นผักสด มีรสชาติ ค่อนข้างฝาดเล็กน้อย ดอกจิกมีความงดงามเป็นที่นิยมในหลายท้องถิ่น นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ในตำรายาไทยสรรพคุณสมุนไพร ใบ รสฝาด สมานบาดแผล ชัก ธาตุแก้อุจจาระพิการ แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด ต้นแก้ปวดศีรษะ เลือดออกตามไรฟัน แก้เสมหะพิการ เนื้อไม้ ขับระดูขาว รากเป็นยาระบาย เมล็ดแก้เยื่อตาอักเสบ แก้อาเจียน แก้ไอ แก้แน่น แก้ไข้ตัวร้อน เป็นต้น.
...นสพ.เดลินิวส์


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTVGZr40ShpW6Adnasq0A4K0NL-w8KUJonTltJTJ2V-MeYSfQ_9)
     สักทอง
ผู้อ่านไทยรัฐ จำนวนมากอยากทราบว่าต้นสักมีกี่ชนิดและมีต้นขายที่ไหน โดยเฉพาะต้น “สักทอง” ซึ่งเป็นจังหวะพอดีที่พบว่ามีผู้ขยายพันธุ์ต้น “สักทอง” ออกวางขาย แต่ละต้นปลูกในถุงดำขนาดกว้าง ๔-๕ นิ้วฟุต ต้นสูงประมาณเกือบ ๑ เมตร แตกใบดกทึบขนาดใหญ่น่าชมมาก โดยต้นสักมีด้วยกันหลายชนิด เช่น สักหิน สักหยวก สักขี้ควาย และ “สักทอง” แล้วแต่จะเรียกตามสีสันของเนื้อไม้ ส่วนลักษณะทางพฤกษาศาสตร์แต่ละชนิดเหมือนกันหมด มีความแตกต่างกันเพียงสีของเนื้อไม้เท่านั้น

สักทอง หรือ สัก มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ TECTONA GRANDIS LINN.F. อยู่ในวงศ์ VERBENACEAE. เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงได้กว่า ๒๐ เมตร ผลัดใบช่วงฤดูร้อน โคนต้นเป็นพูพอนต่ำๆ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมค่อนข้างทึบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบมีขนาดใหญ่มาก ปลายใบแหลม โคนมน เนื้อใบสากมือ มีต่อมเล็กๆ สีแดงทั่วใบอ่อน เมื่อขยี้ใบสดดังกล่าวจะมีสีแดงเหมือนเลือดและเปลี่ยนสีคล้ำเมื่อถูกอากาศ

ดอก ขนาดเล็ก สีขาวนวล เป็นช่อใหญ่ ออกที่ปลายยอด เวลามีดอกจะมีพิษทำให้คนในบริเวณนั้นเป็นไข้ได้แต่ไม่รุนแรงเรียกว่า “ไข้ดอกสัก” หลังดอกร่วงจะติดผลรูปทรงกลม เปลือกผลแข็งมี ๑-๓ เมล็ด เนื้อไม้เป็นสีเหลืองทอง จึงถูกตั้งชื่อว่าต้น “สักทอง” เป็นไม้ที่นิยมปลูกกันแพร่หลายทางภาคเหนือของประเทศไทย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ประโยชน์ทั่วไป เนื้อไม้แข็งแรงทนทาน มีการปลูกเชิงพาณิชย์ส่งเนื้อไม้ขายต่างประเทศ นิยมใช้ก่อสร้างทำเครื่องเรือนเครื่องใช้เครื่องประดับหลากหลายรูปแบบ ในทางสมุนไพร เนื้อไม้รสเผ็ดเล็กน้อย และใบ ต้มน้ำจนเดือดดื่มเป็นยาแก้โรคเบาหวาน แก้ไตพิการ แก้บวม เปลือกต้นใช้เข้ายาคุมธาตุ ใบอ่อนให้สีแดงย้อมผ้ากระดาษดีมาก มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-วันพฤหัสฯ โครงการ ๒๘ ราคาสอบถามกันเองครับ

ข้อมูลและภาพ : คอลัมน์ เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ หน้า ๗ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันพุธที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13546545099880_1.png)
     มันเทียน
คนรุ่นใหม่ จะไม่รู้จักและไม่เคยรับประทานเนื้อสุกของ “มันเทียน” อย่างแน่นอน แต่หากเป็นคนรุ่นเก่าที่มีภูมิลำเนาอยู่ตามชนบทจะรู้จัก “มันเทียน” เป็นอย่างดี เนื่องจากจะมีขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ทุกภาคของประเทศไทย ส่วนใหญ่จะพบในบริเวณที่เป็นดินเหนียวปนทรายและมีความชื้นดี มักจะขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่หลายๆ ต้น คนพื้นบ้านหาของป่าจะขุดเอาหัวที่มีลักษณะกลมยาว (ตามภาพประกอบคอลัมน์) โตเต็มที่ประมาณลำนิ้วชี้มือผู้ใหญ่ หัวเป็นสีน้ำตาลล้อมขาวคล้ายแท่งเทียน มีรากฝอยติดตลอดทั้งหัว ชาวบ้านจะตัดเป็นท่อนๆ มัดเป็นกำละ ๕-๗ ท่อนวางขาย มีทั้งชนิดต้มสุกแล้วและยังไม่ได้ต้ม ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลายในยุคสมัยก่อน รสชาติมันหวานเหนียวหนึบอร่อยมาก ผมเองสมัยเป็นเด็กบ้านนอกเข้าป่าขุดมาต้มรับประทานเป็นประจำ ปัจจุบันหารับประทานได้ยากแล้ว

นอกจากเนื้อสุกของ “มันเทียน” จะรับประทานอร่อยตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว “ผล” ยังมีความสวยงามอีกด้วย เวลาติด ผล ห้อยเป็นพวงจะสร้างสีสันงดงามน่าชมยิ่ง โดยเฉพาะผลแห้งหรือผลแก่จัด สีของผลจะเป็นสีแดงอมชมพู ลักษณะผลเป็นปีกกางออก ๓ ปีก มีเมล็ดอยู่บริเวณแกนกลางระหว่างปีกทั้ง ๓ ปีก เวลาถูกลมพัดแรงๆ เมล็ดด้านในจะมีเสียงดังแซกๆ ทำให้รู้สึกแปลกและสวยงามดี นักจัดแจกันนิยมซื้อผลแห้งดังกล่าวไปปักแจกันตั้งประดับตามห้องโถง ห้องประชุมในโรงแรมชั้น ๑ ทั่วไป หรือ ตั้งประดับตามมุม ห้องของบ้าน สามารถสร้างสีสันได้ดีมาก

มันเทียน หรือ DIOSCOREA FILIFORMIS อยู่ในวงศ์ DIOSCOREACEAE เป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก ใบรูปใบหอก ออกตรงกันข้าม ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ ออกดอกเดือนมีนาคม–เมษายน “ผล” เป็นปีกตามที่กล่าวข้างต้น หัวอยู่ใต้ดิน มีหัวเดือนพฤษภาคม–มิถุนายนทุกปี นอกจากพบในไทยแล้วยังพบที่ ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ด้วยครับ.

ข้อมูลและภาพ : คอลัมน์ เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ หน้า ๗ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันพุธที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT_nxec4SLuhVn3A3uSpknKV3eCaHqRAoHI_-EX0KXzxJVEzqDv)
     ใบหม่อน
ใบหม่อนมีสารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ ที่มีสรรพคุณทางเภสัชศาสตร์ มีสารเควอซิติน เคมเฟอรอล รูติน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีผลในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง

ใบหม่อนมีสารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ ที่มีสรรพคุณทางเภสัชศาสตร์ มีสารเควอซิติน เคมเฟอรอล รูติน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีผลในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ มีสารดีเอ็นเจ ที่มีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด มีสารการบาที่มีผลในการลดความดันโลหิต และมีสารฟายโตสเตอรอล ที่ผลต่อการลดระดับคลอเรสเตอรอล
.....นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/78041630238294_1.png)
     เตยป่า
เตยป่า เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำยันช่วยพยุงลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบมีกลิ่นหอม บางพื้นที่นิยมนำมาสานเสื่อไว้ปูนั่งปูนอนหรือเป็นที่รองตากข้าวเปลือก คนไทยสมัยโบราณจะนำต้นและรากมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัยนำใบสดมา ตำพอกโรคผิวหนัง รักษาโรคหืด ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม ใช้เป็นยาแก้เบาหวานด้วยการใช้ราก ๑ กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น.....นสพ.เดลินิวส์


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRhFesp4D48KaYTs27UBNcXc1-_Tnh7iXjUPLkQs6mGKpGYC14ZrQ)
     พิษจากดองดึง
ต้นดองดึงเป็นพืชที่มีพิษอยู่ในทุกส่วน ทั้งผลอ่อน ผลแก่ เมล็ด ใบ หัว ราก ลำต้น หากรับประทานผลอ่อนของดองดึงเพียง ๑ ผล หรือเมล็ดเพียง ๑ เม็ด หลังรับประทานไปแล้ว ๒-๖ ชั่วโมง จะรู้สึกแสบร้อนในปาก ลำคอเหมือนเป็นโรคกระเพาะ ที่อาการรุนแรง จะมีอาการคอแห้ง กระหายน้ำปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปากและผิว หนังชา คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง ถ่ายเป็นน้ำหลายครั้ง อุจจาระมีเลือดปน มีเลือดออกภายในร่างกาย ปวดบิดท้อง หายใจลำบาก เนื่องจากขาดออกซิเจน กลืนไม่ลงชักหมดสติช็อกจากการเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย มีภาวะไตวายอาจเสียชีวิต ภายใน ๓-๒๐ ชั่วโมง (ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข)......นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/97967434840069_1.png)
     องุ่นป่า
องุ่นป่าเป็นไม้เลื้อยล้มลุกลำต้นไม่มีเนื้อไม้ ใบเดี่ยวรูปหัวใจ ดอกออกเป็นช่อยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสดมีรสหวานอมเปรี้ยว ผลอ่อนต้มตำน้ำพริก หรือใส่ส้มตำเพราะมีรสเปรี้ยว ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสด มีรสหวานอมเปรี้ยว แต่หากรับประทานมากจะทำให้ระคายคอ ในทางสมุนไพรคนไทยเมื่อครั้งอดีตนำมาใช้เป็นส่วนประกอบยาต้มรักษาโรคฝีหนองที่ฝ่าเท้า โดยเอาเท้าแช่ในน้ำต้ม รากฝนดื่มแก้ไข้ ปัจจุบันมีหลายพื้นที่ใช้ต้นตอขององุ่นป่ามาทำเป็นต้นตอพันธุ์องุ่นชนิดต่างๆ และได้ผลดี เนื่องจากองุ่นป่าหากินเก่งและทนแล้งได้ดี......นสพ.เดลินิวส์


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT9K_gUx1DziA3RfzpK84q-fM59phb-ggdguhur4clREOhTrAxSvQ)
     ระกำ
ระกําเป็นพืชในตระกูลปาล์มจัดอยู่ในสกุลเดียวกับสละ เป็นต้นหรือเหง้าเตี้ย มียอดแตกเป็นกอ ออกผลรวมกันเป็นกระจุกแบบทะลาย โดยหนึ่งทะลายจะประมาณ ๒-๕ กระปุก ลำต้นจะมีหนามแหลมยาวประมาณ ๑ นิ้ว ใบมีลักษณะยาวเป็นทางประมาณ ๒-๓ เมตร ที่เปลือกผลจะมีหนามแข็งเล็กๆ ในหนึ่งผลจะมีอยู่ด้วยกัน ๒-๓ กลีบ ผลดิบจะมีรสฝาดและเปรี้ยว ส่วนผลสุกจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน เนื้ออ่อนและน้อย ฉ่ำน้ำมีกลิ่นหอม ลักษณะโดยรวมคล้ายกับสละ แต่ผลจะป้อมกว่า เมล็ดใหญ่กว่า เนื้อออกสีเหลืองอมส้ม เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีมาก มีสรรพคุณในการช่วยป้องกันอาการเป็นหวัด แก้กระหายน้ำ และช่วยในการย่อยอาหารทำให้เจริญอาหาร.....นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/78335887855953_1.png)
     สละ, ระกำ
สละและระกำเป็นพืชคนละชนิดกัน และชอบมีมุขคุยกันขำๆ ว่า ถ้ากินระกำหมายถึงชีช้ำ ส่วนกินสละ ก็ต้องรู้จักเสียสละ

วิธีสังเกตความแตกต่างระหว่างระกำและสละ : ผลระกำแดงเข้ม หนามเยอะและยาว ช่อแน่น เมล็ดมีลักษณะป้อมขนาดใหญ่ ผลมักมี ๓ กลีบ เนื้อน้อย มีรสชาติเปรี้ยว และทางใบยาว ขณะที่สละ มีทางใบสั้น ผลเรียวยาว มี ๒ กลีบ

ส่วนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ผลไม้ทั้งสองชนิดจัดอยู่ในตระกูลปาล์ม สละ มีชื่อว่า Salacca edulis ส่วน ระกำ คือ Salacca rumphii Wall

ข้อมูลจากเว็บวิกิพีเดีย ระบุว่า ระกำ มีต้นหรือเหง้าเตี้ย ยอดแตกเป็นกอ ใบมีลักษณะยาวเป็นทางประมาณ ๒-๓ เมตร ลำต้นมีหนามแหลมประมาณ ๑ นิ้ว ออกผลเป็นทะลาย คือหลายๆ ผลรวมกัน เปลือกผลมีหนามแข็งเล็กๆ บริเวณท้ายผล ส่วนมากเมื่อดิบมีรสฝาดและเปรี้ยว แต่พอสุกแล้วจะส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ยั่วน้ำลาย รสหวานอมเปรี้ยว เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ

ระกำ เป็นผลไม้ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีในที่ดอน และชุ่มชื้น ชอบที่ร่ม ดังนั้นชาวสวนจึงนิยมปลูกพืชขนาดใหญ่ เพื่อให้ร่มเงาแก่ระกำ ฤดูให้ผลผลิตอยู่ระหว่างเดือน พ.ค.-มิ.ย. เป็นผลไม้ยอดนิยมของจ.ตราด จันทบุรี และระยอง โดยเฉพาะ จ.ตราด จัดเทศกาล "วันระกำหวานผลไม้ของดีเมืองตราด" ระหว่างวันที่ ๑ พ.ค.-๓๐ มิ.ย. ของทุกปี

ส่วน สละ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระยอง ระบุว่า สละมี ๓ สายพันธุ์
๑.พันธุ์เนินวง ขนาดตะโพกหรือลำต้นเล็กกว่าระกำ บริเวณกาบใบมีสีน้ำตาลทอง ปลายใบยาว หนามของยอดที่ยังไม่คลี่มีสีขาว ผลยาวเรียว หนามผลยาว อ่อนนิ่ม ปลายหนามงอนไปทางท้ายผล เนื้อมีสีเหลืองนวลคล้ายน้ำผึ้ง รสชาติหวานหรือหวาน อมเปรี้ยว ทานแล้วรู้สึกชุ่มคอ กลิ่นหอม เมล็ดเล็ก
๒.พันธุ์หม้อ ขนาดตะโพกหรือลำต้นเล็ก ใบมีสีเข้ม ข้อทางใบถี่และสั้น หนามยาวเล็กและอ่อนกว่าพันธุ์เนินวง ช่อดอกยาว ติดผลง่ายกว่าพันธุ์เนินวง ผลคล้ายระกำ เปลือกผลสีแดงเข้ม เนื้อสีน้ำตาลมีลาย หนาแต่ไม่แน่น รสชาติหวาน มีกลิ่นหอมยั่วน้ำลาย เมล็ดเล็ก ทนต่อสภาพแสงแดดจัดได้ดี
๓.พันธุ์สุมาลี เป็นพันธุ์ใหม่ ลำต้นคล้ายระกำ ทางใบยาวมีสีเขียวอมเหลือง ใบใหญ่กว้างและปลายใบสั้น หนามของยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่มีสีส้มอ่อน คานดอกยาว ช่อดอกใหญ่ ติดผลง่าย ผลมีรูปร่างป้อมสั้น สีเนื้อคล้ายสละเนินวง เนื้อหนากว่าระกำแต่บางกว่าพันธุ์เนินวง รสชาติหวาน มีกลิ่นหอม เจริญเติบโตเร็วและทนต่อสภาพแสงแดดจัดได้ดีกว่าพันธุ์เนินวง

สละมีประโยชน์มากมาย เนื้อผลมีกรดอินทรีย์ น้ำตาล วิตามินซี และฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนระกำ มีสรรพคุณ เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ แก่น มีรสขมหวาน จึงมีสรรพคุณขับเสมหะ รักษาอาการเลือดกำเดาไหล และบำรุงเลือด
.....นสพ.ข่าวสด



หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 10 กรกฎาคม 2557 11:55:54
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/68644413269228_1.png)
     ข้าวป่า
ข้าวป่าแม้จะสามารถแบ่งเป็นหลายชนิด ในแต่ละชนิดจะมีหลายลักษณะ แต่มีลักษณะสำคัญหลายประการที่มีในข้าวป่าทุกชนิด

ข้าวป่าเป็นบรรพบุรุษของข้าวที่ใช้ปลูกในปัจจุบัน เป็นข้าวอีกชนิดหนึ่งที่มีตามธรรมชาติทั้งในที่ลุ่มลึกและบนที่ดอน ข้าวป่ามีหลายชนิดและที่มีความสำคัญและคาดว่าจะเป็นเชื้อพันธุ์ของข้าววัชพืช ข้าวป่าแม้จะสามารถแบ่งเป็นหลายชนิด ในแต่ละชนิดจะมีหลายลักษณะ แต่มีลักษณะสำคัญหลายประการที่มีในข้าวป่าทุกชนิดคือ เมล็ดในรวงเดียวกันสุกแก่ไม่พร้อมกันตั้งแต่ ๙-๓๐ วัน เมื่อสุกแก่ก็จะหลุดร่วงได้เอง เมล็ดมีระยะพักตัวหลากหลายตั้งแต่ไม่มีระยะพักตัวไปจนถึงระยะพักตัวหลายปี เมล็ดข้าวเปลือกและข้าวกล้องของข้าวป่าจะมีหลากหลายสี เมล็ดอาจมีหางยาวมากกว่า ๑๐ เท่าตัวของเมล็ด และมีหลายสี
...นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/85722311586141_2.png)
     ข้าวดีด ข้าวเด้ง ข้าวแดง ข้าวลาย
ข้าวดีด ข้าวเด้ง เป็นข้าวอีกชนิดหนึ่งที่ถือว่าเป็นข้าววัชพืช ที่มาของชื่อ ข้าวดีด ข้าวเด้ง คือ เนื่องจากเมื่อเมล็ดแก่ และถูกลมพัดหรือเมื่อคนไปสัมผัส เมล็ดจะร่วง ข้าวดีดหรือข้าวเด้ง เป็นข้าววัชพืชที่มีลักษณะร่วงง่ายและร่วงเร็ว โดยทยอยร่วงตั้งแต่หลังดอกบาน ๙ วันเป็นต้นไป เมล็ดข้าวเปลือกส่วนใหญ่มีหางสั้นหรือไม่มีหาง ข้าวเปลือกส่วนใหญ่มีสีเหลืองฟาง สีของเยื่อหุ้มเมล็ดมีทั้งแดงและขาว

ส่วน ข้าวแดง หรือ ข้าวลาย คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะสีข้าวเปลือกมักมีสีเข้ม ไปจนถึงลายสีน้ำตาลแดง เมล็ดข้าวเปลือกส่วนใหญ่ไม่มีหาง เมล็ดมีทั้งร่วงและไม่ร่วงก่อนเก็บเกี่ยว แต่สีของเยื่อหุ้มเมล็ดส่วนใหญ่มีสีแดง
...นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/80784862033194_3.png)  
   ข้าวลาว
สถาบันค้นคว้ากสิกรรมและป่าไม้แห่งชาติ กระทรวงกสิกรรม-ป่าไม้ ประเทศลาว และ สถาบันวิจัยมนุษยศาสตร์และธรรมชาติ ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการสำรวจค้นหาพันธุ์ข้าวในลาว พบว่าปัจจุบันลาวมีพันธุ์ข้าวอยู่ประมาณ ๕,๐๐๐ ชนิด และในระหว่างการสำรวจได้มีการรวบรวมตัวอย่างพันธุ์ข้าวพื้นเมืองได้มากถึง ๑๓,๙๑๓ ตัวอย่าง รวมทั้งข้าวป่าอีก ๖ ชนิด และจากความร่วมมือของสถาบันดังกล่าว ในอนาคตจะมีการพัฒนาพันธุ์ข้าวเหล่านี้เพื่อการเพาะปลูกทั้งเพื่อบริโภคภายในประเทศและจำหน่ายยังตลาดโลกต่อไป...นสพ.เดลินิวส์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82879633208115_905460_1_.jpg)
     ข้าวบือโบ๊ะโละ
ข้าวบือโป๊ะโละเป็นข้าวนาที่สูงพันธุ์พื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ มีการเก็บรักษาพันธุ์สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน เป็นข้าวลักษณะเม็ดกลมและใหญ่ ซึ่งมีการจำแนกเป็น ๓ ชนิด ได้แก่ บือโป๊ะโละเมล็ดใหญ่ บือโป๊ะโละเมล็ดกลาง และบือโป๊ะโละเมล็ดเล็ก มีการปลูกทั้งในรูปแบบนาและไร่ ให้ผลผลิตสูง เมื่อปลูกบนพื้นที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็น ลำต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย รวงใหญ่ เมล็ดใหญ่ อายุปานกลาง นวดง่าย คุณภาพการหุงอ่อนนุ่ม รสชาติอร่อย ขึ้นหม้อ ค่อนข้างต้านทานโรคและแมลง แต่บางพื้นที่ยังพบปัญหาโรคไหม้คอรวง แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนกอ และต้นสูง ล้มง่าย...นสพ.เดลินิวส์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/80441062814659_1.jpg)
     ข้าวบือพะทอ
ข้าวบือพะทอเป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกในที่นาพื้นที่สูง เป็นพันธุ์พื้นเมือง ชนิดข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวประมาณวันที่ ๒๔-๒๗ ตุลาคม ต้นสูงประมาณ ๑๕๔-๑๕๖ เซนติเมตร ต้านทานโรคไหม้ ต้านทานโรคเมล็ดด่าง ทนต่ออากาศหนาวบนที่สูง ปลูกได้ดีตั้งแต่ระดับความสูง ๑,๐๐๐-๑,๒๐๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ให้ผลผลิตเฉลี่ย ๔๔๐-๕๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวสุกอ่อนนุ่ม ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคใบสีส้ม และโรคใบสีแสด

ลักษณะประจำพันธุ์ ทรงกอแบะ สีของปล้อง กาบใบและใบสีเขียว ใบมีขน ใบธงตั้งปานกลางทำมุม ๔๕ องศา คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ความยาวของกลีบรองดอกสั้น จำนวนรวงต่อตารางเมตร ๒๐๘ รวง จำนวนเมล็ดดีต่อรวง ๑๔๓ เมล็ด เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก ๑,๐๐๐ เมล็ด ๒๐.๙๑ กรัม เมล็ดข้าวเปลือกยาว ๑๐.๔๐ มิลลิเมตร กว้าง ๒.๘๘ มิลลิเมตร หนา ๒.๘๖ มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียว สีของข้าวกล้องค่อนข้างทึบ ขนาดเมล็ดข้าวกล้อง ยาว ๗.๒๕ มิลลิเมตร กว้าง ๒.๕๒ มิลลิเมตร หนา ๑.๘๓ มิลลิเมตร เมล็ดมีระยะพักตัวสั้นประมาณ ๑ สัปดาห์ ข้าวสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม ปริมาณอมิโลส ๑๐.๒๐ เปอร์เซ็นต์
...นสพ.เดลินิวส์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/75404367720087_2.jpg)
     ข้าวเหนียว กข ๑๒
ข้าวเหนียว กข ๑๒ (หนองคาย ๘๐) ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าว หางยี ๗๑ ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ต้านทานต่อโรคไหม้ เป็นพันธุ์แม่ กับ กข ๖ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีคุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี แต่ไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ เป็นพันธุ์พ่อ มีการทดสอบคุณภาพเมล็ดทางเคมีและทางกายภาพ รวมทั้งทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๔๖ และปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๔๕ ปลูกทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนที่ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ อุดรธานี และสกลนคร พ.ศ. ๒๕๔๖ ประเมินการยอมรับของเกษตรกร เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่มีอายุเบากว่าพันธุ์ กข ๖ ประมาณ ๑๐ วัน เหมาะสมปลูกในพื้นที่นาค่อนข้างดอน ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ในหลายท้องที่ มีคุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี พื้นที่แนะนำการปลูกที่นาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่ฝนหมดเร็ว...นสพ.เดลินิวส์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92823966716726_3.jpg)
    ข้าวสกลนคร
ข้าวพันธุ์สกลนคร เป็นข้าวเหนียวที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวพันธุ์หอมอ้ม กับพันธุ์ กข ๑๐ ที่สถานีทดลองข้าวขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ และมีการปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวสกลนครจนได้สายพันธุ์ สกลนคร เป็นประเภทข้าวเหนียว ลำต้นสูงประมาณ ๑๒๓-๑๔๖ เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ ๑๒๘ วัน การร่วงของเมล็ดปานกลาง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ ๓ สัปดาห์ ให้ผลผลิตประมาณ ๔๖๗ กิโลกรัมต่อไร่ เป็นข้าวเหนียวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง มีอายุสั้นกว่าพันธุ์ กข ๑๐ สามารถปลูกได้ทั้งในสภาพนาดอน นาชลประทาน และสภาพไร่ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเหมาะสมต่อการปลูก คุณภาพข้าวสุกเมื่อหุงแล้วจะเหนียวนุ่ม มีกลิ่นหอม ใกล้เคียงกับข้าว กข ๖ แต่ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง...นสพ.เดลินิวส์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46843347201744_4.jpg)
     ข้าวไรซ์เบอรี่
ข้าวไรซ์เบอรี่เป็นข้าวผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ เป็นข้าวเจ้าสีม่วงเข้มเมล็ดเรียวยาว ข้าวกล้องมีความนุ่มนวลปลูกได้ตลอดทั้งปี ให้ผลผลิตต่อไร่ปานกลาง ต้านทานต่อโรคไหม้ แต่ไม่ต้านทานโรคหลาว หากปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ต้องมีสภาพอากาศเย็น เพื่อสร้างสีเมล็ด เป็นข้าวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว โดยความร่วมมือจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันมีการจดทะเบียนเป็นพืชพันธุ์ใหม่แล้ว...นสพ.เดลินิวส์

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTNsN8SAV21YQO4O_VX5j6XoHJdiWaCkH2Sh3_Z-e5XIU610BgGBQ)
     ข้าวเจ้าหอมนิล
ข้าวขาวดอกมะลิ เป็นข้าวทรงต้นเตี้ย แตกกอดี เมล็ดมีน้ำหนัก อายุสั้นเพียง ๙๐ วัน สามารถปลูกได้ ๓ ครั้งต่อปี เมล็ดสีม่วงดำของข้าวหอมนิล

ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่ได้รับการพัฒนาจนได้ข้าวที่มีเมล็ดข้าวเรียวยาว สีม่วงเข้ม เมื่อหุงจะนุ่ม เหนียว หอม มีสีม่วงอ่อน มีโปรตีนสูงถึง ๑๒.๕ เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรต ๗๐ เปอร์เซ็นต์ และธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม โพแทสเซียม ซึ่งสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ เป็นข้าวทรงต้นเตี้ย แตกกอดี เมล็ดมีน้ำหนัก อายุสั้นเพียง ๙๐ วัน สามารถปลูกได้ ๓ ครั้งต่อปี

เมล็ดสีม่วงดำของข้าวหอมนิล ประกอบไปด้วย สีม่วงเข้ม สีชมพูอ่อน และสีน้ำตาล ผสมกัน เป็นสารประกอบกลุ่มสารแอนโทไซยานิน ที่ทำหน้าที่จับกับอนุมูลอิสระ ทำให้กลไกการทำงานของร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการวิจัยจากหลายแห่งพบว่า สารนี้ช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดที่หัวใจและสมอง บรรเทาโรคเบาหวาน บำรุงสายตาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นเวลากลางคืน เป็นต้น
...นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/62205666345026_1.png)
     ข้าวหาง
เนื่องจากเมล็ดมีหางยาว โดยที่ข้าวหางหรือบางที่เรียกข้าวนก คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะเมล็ดข้าวเปลือกสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม มีหาง ยาว

ข้าววัชพืช” มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า weedy rice เป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเหมือนต้นข้าว จนแยกไม่ออกในระยะกล้า มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปในแต่ละท้องถิ่นตามลักษณะของข้าววัชพืชที่ปรากฏ เช่น ข้าวหาง เนื่องจากเมล็ดมีหางยาว โดยที่ข้าวหางหรือบางที่เรียกข้าวนก คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะเมล็ดข้าวเปลือกสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม มีหาง ยาว หางอาจจะมีสีแดงหรือขาวในระยะข้าวยังสด เมล็ดร่วงก่อนเก็บเกี่ยว สีของเยื่อหุ้มเมล็ดมีทั้งแดงไปจนถึงขาว
...นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/96695726240674_1.png)
     ข้าวกล้อง
หากเรารับประทานข้าวกล้องจะได้ วิตามินบีรวม ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการอ่อนเพลีย แขน ขาไม่มีแรง ปวดกล้ามเนื้อ โรคผิวหนังบางชนิด บำรุงสมองทำให้เจริญอาหาร ได้วิตามินบี ๑ ซึ่งถ้ากินเป็นประจำจะช่วยป้องกันโรคเหน็บชาได้ ได้วิตามิน บี ๒ ป้องกันโรคปากนกกระจอก ได้ฟอสฟอรัส ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน ได้แคลเซียม ทำให้กระดูกแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นตะคริว ได้ทองแดง สร้างเมล็ดโลหิต และเฮโมโกลบิน ได้ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ได้โปรตีน ช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ ได้ไขมัน ให้พลังงานแก่ร่างกาย ไขมันในข้าวกล้องเป็นไขมันที่ดี ไม่มีคอเลสเตอรอล ได้ไนอะซิน ช่วยระบบผิวหนังและเส้นประสาท และป้องกันโรคเพลลากรา (โรคที่เกิดจากการขาดไนอะซิน จะมีอาการท้องเสีย ประสาทไหว โรคผิวหนัง) ได้คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้กากอาหาร ข้าวกล้องมีกากอาหารมาก ซึ่งจะทำให้ท้องไม่ผูก และช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้อีกด้วย วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ในข้าวกล้องจะช่วยให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ...นสพ.เดลินิวส์

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQQDST82SwenbmHZun8qq6i_DFV4BG1RGHv5wwaTFwqeE8pe6COYA)
     ข้าวกล้องงอก
จากการศึกษาและวิจัยพบว่า การบริโภคข้าวกล้องงอก ซึ่งมีสารกาบามากกว่าข้าวกล้องปกติ ๑๕ เท่า จะสามารถป้องกันการทำลายสมอง และโรคสูญเสียความทรงจำ หรืออัลไซเมอร์ ดังนั้นจึงมีการนำสารกาบามาใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่าง ๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น รวมทั้งผลการวิจัยด้านสุขภาพระบุว่าข้าวกล้องงอกที่ประกอบด้วยสารกาบามีผลช่วยลดความดันโลหิต ลดไลโปรตีน คอเลส เตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำในเลือด ลดน้ำหนัก ลดอาการอัลไซเมอร์ ทำให้ผิวพรรณดี และใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางได้อีก...นสพ.เดลินิวส์

(http://www.siamagrisupply.com/backup2558/partimgsubproduct.php?subproduct_id=31)
     รำข้าว
รำข้าว คือ ส่วนที่ได้จากการขัดข้าวกล้องให้เป็นข้าวสาร ซึ่งประกอบด้วยชั้นเยื่อหุ้มเมล็ด และคัพภะ เป็นส่วนใหญ่ ได้มาจากกระบวนการสีข้าว โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ รำหยาบ ซึ่งได้จากการขัดผิวเมล็ดข้าวกล้อง และรำละเอียด ได้จากการขัดขาวและขัดมัน รำข้าวมีคุณค่าทางอาหารประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร เถ้า วิตามิน และเกลือแร่ต่าง ๆ ปัจจุบันมีการนำรำข้าวมาใช้ประโยชน์ เช่น น้ำมันรำข้าว เป็นน้ำมันสำหรับบริโภคที่มีคุณภาพดี จัดเป็นน้ำมันบริโภคที่มีคุณภาพ มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ๗๗% เป็นกรดไขมันที่จำเป็น ๓๑.๗% เป็นแหล่งของวิตามินอี มีสมบัติเป็นสารกันหืน ช่วยเร่งการเจริญเติบโตรวมทั้งช่วยให้ระบบการหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น น้ำมันรำข้าว เมื่อนำมาปรับปรุงคุณสมบัติด้วยกระบวนการเคมีฟิสิกส์ สามารถผลิตเป็นกะทิแปลงไขมัน ผลิตสบู่และเนยขาวอเนกประสงค์ได้...นสพ.เดลินิวส์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/93438567221164_772078_1_.jpg)
     จมูกข้าว
การรับประทานจมูกข้าวเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบบริบูรณ์ ทำให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บ ไม่ป่วยง่าย ส่วนผู้ที่เจ็บป่วยอยู่แล้ว หากได้รับประทานจมูกข้าว ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน ก็จะทำให้การรักษาเห็นผลเร็วยิ่งขึ้น จมูกข้าวไม่ใช่ยารักษาโรค แต่เป็นสารอาหารที่สกัดจากจมูกข้าวและรำข้าว ซึ่งเป็นส่วนที่มีสารอาหารสมบูรณ์มาก ผู้ที่รับประทานเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นตลอดเวลา ร่างกายจึงมีภูมิต้านทานสูง เซลล์ไม่เสื่อม สุขภาพดี ช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ทำให้อวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ สมอง ตับอ่อน และอื่นๆ มีเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น และที่เสื่อมสภาพก็กลับฟื้นตัวและทำงานได้อีกครั้งหนึ่ง ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ, โรคตับ, โรคไต, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคภูมิแพ้, โรคความจำเสื่อม และ มีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งมีผลให้ความดันโลหิตลดลง และช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด ยับยั้งโรคเบาหวาน มีกรดไขมันไลโนเลนิค หรือโอเมก้า ๓ ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันภาวะเสื่อมของสมอง อันเป็นสาเหตุของโรคความจำเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ โรคอัมพฤกษ์ มีกรดไขมันไลโนเลอิค หรือโอเมก้า ๖ ช่วยให้ผิวหนังสดใสมีน้ำมีนวล และช่วยระบบสืบพันธุ์ให้ทำงานเป็นปกติ ทำให้ประจำเดือนมาปกติ ช่วยบำบัดอาการผิดปกติของชาย-หญิง วัยเจริญพันธุ์ ให้ผลดีในการรักษาผู้มีบุตรยากและสตรีวัยทอง มีวิตามินเอ บำรุงสายตา บีรวม บำรุงเส้นประสาทฝอยต่างๆ รักษาปากเปื่อย ปากนกกระจอก ร้อนใน เบต้าแคโรทีน บำรุงสายตาและสมอง ประโยชน์โดยภาพรวม ก็คือ ช่วยให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น...นสพ.เดลินิวส์


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQYGambUE3MTbbBNrl1ta-neSPB1LGmn1PCbEKwnSQAcv9vYCwi)
     ฟางข้าว
ฟางข้าวเป็นหัวปุ๋ยชั้นดี มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน ใช้คลุมดิน จะทำให้พืชผัก เจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อศัตรูพืช คุณประโยชน์จากฟาง ๑ ส่วนจะเท่ากับมูลวัว ๑๐ ส่วน ฟางจะช่วยปรับโครงสร้างของดิน ที่เป็นกรดหรือเป็นด่าง ให้เกิดความสมดุล รักษาความชื้นให้แก่ดิน สร้างดินให้มีชีวิตทำให้ประหยัดน้ำในการรดต้นพืช ดินที่คลุมด้วยฟาง จะเป็นอาณาจักรของสัตว์ ที่เป็นมิตรกับต้นพืช อาทิ ไส้เดือน จิ้งหรีด เป็นต้น และการระบาดของแมลงศัตรูพืช จะค่อยๆ หายไป โดยไม่ต้องใช้สารเคมี หากมีการใช้ประโยชน์ จากฟางข้าวกับแปลงปลูกพืช...นสพ.เดลินิวส์


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS9l6Cl9tQHdy6cUYMbry7k5U_IcbTI2UCfT0s0V0Df0_fj11jHMg)
     ข้าว กข.47
ข้าว กข. ๔๗ เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงอายุ ๑๐๔-๑๐๗ วัน (หว่านน้ำตม) และ ๑๑๒ วัน (ปักดำ) มีลักษณะกอตั้ง ความสูง ๙๐-๑๐๐  เซนติเมตร ลำต้นแข็งมาก ใบสีเขียว มุมใบธงกว้างปานกลาง รวงยาว ๓๐.๐ เซนติเมตร ค่อนข้างแน่น คอรวงโผล่เล็กน้อย  ข้าวเปลือกสีฟาง ยาว ๑๐.๔ มิลลิเมตร กว้าง ๒.๕๐ มิลลิเมตร หนา ๒.๐๘ มิลลิเมตร ข้าวกล้องรูปร่างเรียว ยาว ๗.๙๔ มิลลิเมตร  กว้าง ๒.๑๓ มิลลิเมตร  หนา ๑.๘๑ มิลลิเมตร ข้าวสารยาว ๗.๗๖ มิลลิเมตร  กว้าง ๒.๐๕ มิลลิเมตร  หนา ๑.๗๓ มิลลิเมตร มีอมิโลสสูง (๒๖.๘๑%) ข้าวเมื่อหุงสุกมีลักษณะสีขาวนวลไม่เลื่อมมัน ค่อนข้างร่วนและแข็ง ผลผลิตเฉลี่ย ๗๙๓ กิโลกรัมต่อไร่เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเป็นทางเลือกของเกษตรกร ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคไหม้ เป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชีวชนิดที่ ๕ และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากจังหวัดนครปฐม อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูงเกินไปจะทำให้เกิดโรครุนแรง และค่อนข้างอ่อนแอต่อเชื้อสาเหตุโรคไหม้ในภาคกลาง ไม่ทนอากาศเย็นจึงไม่ควรปลูกในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน.   นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/24073200962609_330474_1_.jpg)
     ลอมข้าวเก็บด้วยแกะ
พื้นที่ภาคใต้เมื่อครั้งอดีตจะมีการปลูกข้าวด้วยการทำนาและทำไร่ นาจะเป็นนาดำ ไร่ทำระบบนำเมล็ดข้าวหยอดลงหลุม เมื่อข้าวงอกและแตกกอจะมีลักษณะเป็นแนว และออกรวงแบบไม่เบียดเสียดเช่นนาข้าวที่ปลูกแบบหว่านเมล็ด การเก็บเกี่ยวจึงเก็บทีละรวงด้วยเครื่องมือที่ผลิตขึ้นมาเองเรียกว่า แกะ ที่มีส่วนประกอบสำคัญอยู่ ๓ ส่วน คือ กระดานแกะ ตาแกะ และหลอดแกะ หรือด้ามแกะ ตาแกะ ทำด้วยเหล็กกล้าเป็นคมคล้ายมีด กระดานแกะ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรือไม้ชนิดเบา รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ด้ามแกะทำจากไม้ไผ่ วิธีเก็บข้าว ผู้เก็บจะเอาแกะใส่เข้าในระหว่างนิ้วกลางกับนิ้วนาง ใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งจับรวงข้าวเอามาทาบกับคมแกะ แล้วตัดที่คอรวงข้าวทีละรวง มืออีกข้างหนึ่งจับรวงข้าวที่เก็บไว้จนเต็มกำมือ เมื่อเต็มมือแล้วเอามารวมกัน ตัดต้นข้าวมาผูกคอรวงข้าวให้แน่นทำเป็นเลียงข้าวหรือบางพื้นที่เรียกว่าลอมข้าวเพื่อนำไปเก็บก่อนนำมานวดด้วยฝ่าเท้าให้เมล็ดออกจากรวงสำหรับนำไปตำในครกไม้ขนาดใหญ่ หรือเครื่องสีกระเดื่องเพื่อผลิตเป็นข้าวสารมาหุงเป็นข้าวสำหรับรับประทานกันต่อไป  นสพ.เดลินิวส์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/62328021104137_135140_1_.jpg)
     แกะเกี่ยวข้าว
“แกะ” เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บเกี่ยวข้าวของภาคใต้ บางท้องถิ่นเรียกว่า “มัน” ลักษณะของแกะจะประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ กระดานแกะ ตาแกะ และหลอดแกะ หรือด้ามแกะ การใช้แกะเกี่ยวข้าวทำโดยการเอาแกะใส่เข้าระหว่างนิ้วนางและนิ้วกลาง ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งจับระหว่างรวงข้าว แล้วเอารวงข้าวมาทาบกับคมของแกะ และใช้คมแกะตัดที่คอรวงข้าวแต่ละรวง ส่วนมือที่ว่างก็ใช้เก็บรวงข้าวที่ตัดแล้วจนเต็มกำมือ เมื่อข้าวเต็มกำมือก็นำมาวางไว้ในที่แห้ง เมื่อได้พอประมาณก็นำมาผูกรวงให้แน่นทำเป็นเลียงข้าว เพื่อที่จะนำไปเก็บไว้ในลอมข้าวต่อไป
    
แกะเป็นเครื่องมือที่ไม่มีความซับซ้อน ใช้งานง่าย และเก็บรักษาง่าย แต่ในปัจจุบันการใช้ลดน้อยลงไปจนแทบไม่มีให้เห็น เนื่องจากมีเครื่องจักรเข้ามาแทนที่ จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคต “แกะ” ก็คงจะหายไปในที่สุด
 นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/44295596579710_324467_1_.jpg)
     ข้าวสินเหล็ก
ข้าวสินเหล็กเป็นพันธุ์ข้าวเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล กับ ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ เป็นข้าวสีขาวที่มีกลิ่นหอม รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี มีความต้านทานต่อโรคไหม้ข้าวสินเหล็กในฐานะเป็นข้าวหอมนุ่มที่มี ดัชนีน้ำตาลต่ำถึงปานกลาง มีธาตุเหล็กในเมล็ดสูง ลักษณะประจำพันธุ์ มีความสูงประมาณ ๑๔๘ ซม.อายุเก็บเกี่ยว ๑๒๐ วันผลผลิต ๖๐๐-๘๐๐ กก.ต่อไร่  ความยาวของเมล็ด  ข้าวเปลือก ๑๑ ม.ม. ข้าวกล้อง ๗.๖ ม.ม. ข้าวขัด ๗.๐ ม.ม. เป็นข้าวอีกชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการบริโภคกันอย่างกว้างขวางเนื่องจากมีผลในทางบวกต่อร่างกายในการต้านทางโรค   นสพ.เดลินิวส์


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQveih-AmDCxG2_2cMd8Y4oDTFd_5sYNCuwxC_UfDefhewlCB73)
     ข้าวสังหยด
ข้าวสังหยดเป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ ให้โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ จังหวัดพัทลุง ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ดำเนินการปลูกข้าวพันธุ์สังหยด ในพื้นที่แปลงนา ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ในโครงการฟาร์มตัวอย่างเพื่อไม่ให้ข้าวสูญพันธุ์

ข้าวสังหยดเป็นข้าวนาปีที่มีคุณลักษณะพิเศษ มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง รสชาติดีมีปริมาณแอมิโลสต่ำ ๑๕-๒๐% รสชาติของข้าวใหม่หุงสวยนุ่ม หอม และมัน กินคล้ายข้าวเหนียว ชาวนครศรีธรรมราชเรียกข้าวสั่งหยุด หรือสังหยุด เนื่องจากรสชาติของข้าวนี้กินอร่อย กินได้กินดีจนต้องสั่งให้หยุดกิน หรือหมายถึงบอกเลิกกิน เป็นข้าวที่หายาก เนื่องจากปลูกกันน้อย คนที่สนใจเรื่องสุขภาพหันมานิยมรับประทาน และปัจจุบันมีนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย จากหน่วยงาน สถาบันต่างๆ ให้ความสนใจศึกษาค้นคว้า และทดลองแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอก ขนมคุกกี้ ไอศกรีม เครื่องสำอางชนิดต่างๆ

ข้าวสังหยดมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ มีกากใยอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์ มีประโยชน์ในการชะลอความแก่ มีโปรตีน ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัสสูง บำรุงโลหิต บำรุงร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันโรคความจำเสื่อม มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง.
   นสพ.เดลินิวส์


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 ตุลาคม 2557 16:58:26
.

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQFzPNaQ00cce5nNPt5Gq8pV5SnXGQuzvFVOtdr1FlzCqe5iOWM9A)
     เงาะสีชมพู
เงาะ เป็นไม้ผลเมืองร้อน มีถิ่น กำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย เจริญเติบโตได้ดี ในบริเวณที่มีความชื้นค่อนข้างสูง ประเทศไทย นิยมปลูกในบริเวณภาค ตะวันออกและภาคใต้ มีหลายพันธุ์เช่น  พันธุ์สีทอง พันธุ์น้ำตาลกรวด พันธุ์สีชมพู พันธุ์โรงเรียน และพันธุ์เจ๊ะมง พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้า คือ พันธุ์โรงเรียน พันธุ์สีทอง และพันธุ์สีชมพู  เงาะสีชมพู เป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย มีการเจริญเติบโตดี ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ ให้ผลดกมีผิวและขนเป็นสีชมพูสด เนื้อหนา ฉ่ำน้ำ บอบช้ำง่าย ไม่ทนทานต่อการขนส่ง
 
เมื่อนานมาแล้วชาวสวนจังหวัดจันทบุรีนิยมนำกิ่งตอนและเมล็ดของเงาะจากบางยี่ขัน กรุงเทพฯ มาปลูก ที่ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ก็บังเอิญพบเงาะต้นหนึ่งที่งอกออกมาเมื่อนำไปปลูกออกผลมาเป็นเงาะที่มีผลสีชมพูสด สวยงาม เนื้อมีรสหวานกรอบ และล่อนจากเมล็ด ชาวบ้านจึงเรียกเงาะพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์มาจากเงาะบางยี่ขันว่า เงาะพันธุ์หมาจู เนื่องจากว่าเงาะพันธุ์นี้มีขนยาวสวยงามคล้ายหมาจู มีลักษณะแตกต่างไปจากเงาะบางยี่ขันก็คือ เงาะบางยี่ขันเนื้อไม่ล่อน และผลมีสีส้ม ส่วนเงาะพันธุ์หมาจู เนื้อหวาน ล่อน กรอบ และมีผลเป็นสีชมพูเข้ม แลดูสวยงาม

จากนั้นมา ก็ได้มีการปลูกเพิ่มมากขึ้นแพร่หลายไปทั่วจังหวัดจันทบุรี และได้เรียกชื่อเงาะพันธุ์นี้ใหม่ตามลักษณะสีสันของผลเงาะว่า “เงาะพันธุ์สีชมพู” หรือ “เงาะสีชมพู” หรือ “เงาะสี” เงาะเป็นผลไม้อีกชนิดที่มีขายกันอยู่ทั่วไป เป็นผลไม้รสหวานและอมเปรี้ยวรับประทานเงาะสดสามารถแก้อาการท้องร่วงชนิดรุนแรง ได้ผลดี น อกจากนี้ผลเงาะนำมาต้ม นำน้ำที่ได้มาเป็นยาแก้อักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการอักเสบในช่องปาก และโรคบิดท้องร่วง มีข้อควรระวัง คือเม็ดในของเงาะมีพิษแม้ว่าจะเอาไปคั่วจนสุกแล้ว แต่ถ้ารับประทานมากเกินไปจะมีอาการปวดท้อง เวียนศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียนได้


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRq0j3SAoUxoda3v10ggWMc-OtBpKTfhNQB_cVB5K4yDX1zUSltrQ)
     เปลือกเงาะ
นักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องสารต้านอนุมูลอิสระจากสมุนไพรไทย เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการสกัดสารอนุมูลอิสระจากเปลือกผลไม้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการวิจัยเบื้องต้น ยังไม่เสร็จทั้งโครงการ โดยสารสำคัญที่พบเป็นสารประกอบในกลุ่มโพลีฟีโนลิก ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันการสะสมสารอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดภาวะแก่ก่อนวัยเนื่องจากสารอนุมูลอิสระเมื่อไปจับกับเซลล์ชนิดอื่นๆ ในร่างกายก็จะทำลายเซลล์นั้นๆ หรือเกิดภาวะการแบ่งตัวมากผิดปกติ เช่น หากไปจับกับเซลล์โปรตีนหรือคอลลาเจนที่ผิวหนัง ก็จะเกิดการแบ่งเซลล์มากผิดปกติ จนทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น เป็นต้น    นสพ.เดลินิวส์


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSQ6NoUZ37dUv1vgYlGRiyHvfTFO9OgIg1f7O5QFxRZDvHdzl_jCw)
     ลิ้นจี่
ลิ้นจี่มีต้นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ ปลูกได้ในไทย เวียดนาม ญี่ปุ่น บังกลาเทศ และอินเดียตอนเหนือ อเมริกาใต้และสหรัฐอเมริกา (ฮาวาย และฟลอริดา) เนื้อลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน และเกลือแร่ เช่น วิตามิน บี ๑ วิตามินบี ๒ ไนอะซีน วิตามินเอ ซี วิตามินบี ๖  วิตามินอี โพแทสเซียม ทองแดง สังกะสี ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม โฟเลต และมีเส้นใยอาหารสูง
 
น้ำมันจากเมล็ดลิ้นจี่มีสารประกอบ เป็นกรดไขมันที่สำคัญเช่น ปาล์มมิติก ๑๒% โอลิอิก ๒๗% และไลโนเลอิค ๑๑%  

สรรพคุณทางยา ตามที่ใช้ในประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่ นับมาแต่โบราณ เนื้อในผล กินเป็นยาบำรุง แก้อาการไอเรื้อรัง แก้อาการคัดจมูก รักษาอาการท้องเดิน   ลดกรดในกระเพาะอาหาร และบรรเทาอาการไม่ปกติของระบบทางเดินอาหาร ใช้เปลือกผลลิ้นจี่ทำเป็นชา ใช้ชงเพื่อบรรเทาอาการหวัด แก้การติดเชื้อในลำคอ อาการท้องเสียอย่างอ่อน และโรคจากการติดเชื้อไวรัส เมล็ดลิ้นจี่ มีรสหวาน ขมเล็กน้อย สรรพคุณอุ่น ลดอาการปวด ใช้กรณีปวดท้อง ปวดไส้เลื่อน ปวดบวมของอัณฑะ.



(http://www.technologychaoban.com/viewcrop3to2_newsimage.php?filename=technoAdm/images_techno/2013/06/1371615531.JPG&width=480&height=320)
     ลิ้นจี่  อร่อยมีกิ่งตอนขาย
ลิ้นจี่ชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดจาก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยเจ้าของได้ตอนกิ่งจากต้นลิ้นจี่ต้นหนึ่ง แต่ไม่ระบุว่าชื่อลิ้นจี่อะไร เมื่อประมาณปี ๔๖ แล้วนำกิ่งตอนไปปลูกเพื่อศึกษาพันธุ์ ปรากฏว่าสามารถเจริญเติบโตเร็ว ทนทานต่อศัตรูพืชได้เก่ง หลังปลูก ๓ ปี ต้นลิ้นจี่ดังกล่าวมีดอกและติดผลได้ง่าย ผลดก ผิวผลสุกเป็นสีแดงอมชมพูสวยงามมาก มีหนามเล็กสั้น เนื้อผลสุกเป็นสีขาวขุ่น เนื้อหนาแน่นแห้งไม่เละ รสชาติหวานปนเปรี้ยว มีกลิ่นหอม ความหวานวัดได้ประมาณ ๑๘ องศาบริกซ์ ผลมีขนาดใหญ่กว่าผลลิ้นจี่พันธุ์อื่นชัดเจน  เจ้าของได้ปลูกทดสอบพันธุ์จนมั่นใจว่าเป็นลิ้นจี่พันธุ์ใหม่ถาวารแล้ว จึงตั้งชื่อ "ลิ้นจี่อัมรินทร์" พร้อมปลูกเก็บผลขาย ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย และตอนกิ่งขยายพันธุ์เป็นที่ต้องการอย่างกว้างขวาง

ลิ้นจี่อัมรินทร์ จะออกดอกและติดผลในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมทุกปี ทำให้สามารถเก็บผลผลิตได้ก่อนลิ้นจี่ถิ่นอื่นประมาณ ๒ เดือน และก่อนลิ้นจี่ของจีนประมาณ ๓ เดือน (ของจีนเก็บผลปลายเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม)

ลิ้นจี่อัมรินทร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับลิ้นจี่ทั่วไปคือ LITCHI CHINENSIS SONN. ชื่อสามัญ LYCHEE, LICHI อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE ซึ่งลิ้นจี่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ส่วน "ลิ้นจี่อัมรินทร์" เกิดในประเทศไทย เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๗ เมตร เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่เติบโตเร็ว มีดอกติดผลง่าย ผลดกใหญ่ อร่อยมาก.
 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ4OXadr5jOfibUfdWrajbnJjK8GxVvWbc9UC3BkO1lczz-YFew)
     มะพลับ
พรรณไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดอ่างทอง มะพลับมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Diospyros malabarica (Desr.) Kostel.var. malabarica อยู่ในวงศ์ตะโกสวน และมะพลับ ใหญ่

มะพลับเป็นไม้สูงขนาด ๘-๑๕ เมตร ลำต้นตรง เปลือกสีเทาปนดำ เปลือกในสีน้ำตาลปนแดงอ่อน เรือนยอดรูปทรงกลม ทึบ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปขอบขนาน กว้าง ๒-๘ ซ.ม. ปลายแหลมทู่ โคนใบมน ดอกเล็ก สีขาวหรือเหลืองอ่อน ผลค่อนข้างกลม

พบตามป่าดิบ ชอบขึ้นบริเวณแหล่งน้ำทั่วไปที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๕๐-๔๐๐ เมตร เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร เครื่องกลึง และแกะสลัก เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง ผลดิบให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้า แหและอวน ผลแก่รับประทานได้ เปลือกต้นรับประทานแก้บิด แก้ท้องร่วงเป็นยาสมานแผลและห้ามเลือด

คนโบราณเชื่อว่ามะพลับเป็นไม้มงคล ปลูกทางทิศใต้ในบริเวณบ้านจะทำให้ร่ำรวยยิ่งขึ้น
  นสพ.ข่าวสด

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSi4T85wN7FHg7fZMlvViNrYjSLBl5djr8puvWG7ggL65GkRqHR0w)
     มะพลับ
มะพลับ เป็นพรรณไม้พระราชทานที่ปลูกเป็นมงคลของจังหวัดอ่างทอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Diospyros malabarica (Desr.) Kostel.var.malabarica อยู่ในวงศ์ตะโกสวน พลับ มะพลับใหญ่

เป็นไม้ต้นสูง ๘-๑๕ เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาปนดำ เปลือกในสีน้ำตาลปนแดงอ่อน เรือนยอดรูปทรงกลม ทึบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง ๒.๕-๘ ซ.ม. ปลายแหลมทู่ โคนใบมน ดอกเล็ก สีขาวหรือเหลืองอ่อน ผลค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๒.๕-๕ ซ.ม. พบตามป่าดิบ ชอบขึ้นบริเวณแหล่งน้ำทั่วๆ ไป โดยเฉพาะต้องสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ ๕๐-๔๐๐ เมตร

ประโยชน์ของพรรณไม้ชนิดนี้ เริ่มจากเนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร เครื่องกลึง และเครื่องแกะสลัก เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง ผลดิบให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้า แหและอวน ผลแก่ใช้รับประทานได้ เปลือกต้มรับประทานแก้บิด แก้ท้องร่วง เป็นยาสมานแผลและห้ามเลือด
  นสพ.ข่าวสด

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT4IPr2X_hSS6kOZKRxpyad8M4mMkx5NEv8Jf_3bopabYZKEkWPUQ)
     หมาก
ในตำราแพทย์แผนไทยจะใช้เมล็ดหมากซึ่งมีรสฝาด ในการสมานแผลทำให้เลือดหยุดไหล และแผลหายเร็ว รักษาอาการท้องเดิน ท้องเสีย ยับยั้งการไหลของหนองเวลาเป็นแผล ถ่ายพยาธิในสัตว์ ทาแก้คัน แก้บิดปวดเบ่ง แก้ปวดแน่นท้อง ฆ่าพยาธิ ขับปัสสาวะ ฝนทาแผลเน่าเปื่อย แผลเป็น แก้ปากเปื่อย รักษาโรคในปาก ขับเหงื่อ เป็นยาเบื่อพยาธิตัวตืด ฆ่าพยาธิบาดแผล ขจัดรอยแผลเป็น รักษาน้ำกัดเท้า คนไทยทางภาคเหนือในอดีตใช้ เมล็ดหมากแก่ถ่ายพยาธิสุนัขและแกะ   นสพ.เดลินิวส์

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSGU71JKu9X4PD4E9Jpua6g6R064kj5VAifLc00P7uKbwPmPOih1A)
     อะโวคาโด
อะโวคาโดมีคุณค่าทางอาหาร เนื้อผลประกอบด้วยไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ประมาณ ๔-๒๐% มีประโยชน์ในการป้องกันโรคหัวใจ น้ำมันสกัดจากเนื้อของผลอะโวคาโด ดูดซึมสู่ผิวหนังได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับน้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันอัลมอนด์ และน้ำมันมะกอก ชาวไทยภูเขาภาคเหนือที่ปลูกอะโวคาโดนิยมนำลูกอะโวคาโดมาจิ้มน้ำพริกแทนผัก หรือรับประทานกับน้ำตาล.   นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95624184484283_EyWwB5WU57MYnKOuXxyksPsD31rNLQ.jpg)
    ตะคร้อ
คนรุ่นใหม่ น้อยคนนักจะรู้จักต้น “ตะคร้อ” แต่ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าที่มีภูมิลำเนาอยู่ตามชนบทจะรู้จักดี เพราะ ผลแกะเปลือกจะมีเนื้อในฉ่ำน้ำ มีรสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปรุงเป็นส้มตำ รับประทานอร่อยมาก หรือเอาเนื้อฉ่ำน้ำติดเมล็ดแช่ซีอิ๊วหมักไว้ ๑-๒ อาทิตย์กินกับข้าวต้มร้อนๆ สุดยอดมาก ประโยชน์ทางยา แก่นของต้นต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดหลัง เปลือกผลเป็นยาสมานแผลในลำไส้ เปลือกต้นบดละเอียดเป็นยาสมานแผล ห้ามเลือด ขูดเปลือกต้นตำใส่มดแดงมะม่วงกินแก้ท้องร่วง ใบขยี้พอกศีรษะหรือหลังเท้าแก้ปวดหัวได้ เนื้อไม้แข็งใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ทำครกกระเดื่องทนทานมาก

ตะคร้อ หรือ SCHLEICHERA OLEOSA MERR. อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๒๐ เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดตามยาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย ๔ ใบ เนื้อใบหยาบ ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง เวลาแตกใบอ่อนทั้งต้นจะสวยงามน่าชมยิ่งนัก ใบแก่เป็นสีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลือง “ผล” รูปทรงกลม ติดผลเป็นพวงจำนวนมาก เปลือกผลเรียบและหนา สีเขียวคล้ำ หรือสีเขียวปนน้ำตาล ผลโตเต็มที่ประมาณปลายนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ เนื้อในหุ้มเมล็ดเป็นสีเหลืองอมส้มหรือสีแดง ฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยวจัด เมล็ดสีน้ำตาลเป็นรูปโค้งงอ ตอนเป็นเด็กบ้านนอกนิยมนำเอาเมล็ดดังกล่าวเสียบบริเวณติ่งหูทำเป็นต่างหูดูสวยงามและสนุกตามสไตล์ของเด็กชนบทในยุคนั้น ซึ่ง “ตะคร้อ” จะมีดอกและติดผลแก่จัดในช่วงฤดูฝนทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าเกือบทุกภาคของประเทศไทย มีชื่อเรียกอีกคือ เคาะจ้ก, มะจ้ก, มะโจ้ก (ภาคเหนือ) หมากค้อ (ภาคอีสาน) ปั้นรัว (สุรินทร์) ปั้นโรง (บุรีรัมย์) และตะคร้อไข่ (ภาคกลาง) มีต้นขายทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาสอบถามกันเองครับ.
   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/96615774391425_48_3627_3623_3634_3618_3609_36.jpg)
    หวายน้ำ
 หวายน้ำ เป็นไม้ในสกุลปาล์ม พบขึ้นทั่วไปตามป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ทุกภาคของประเทศไทย ส่วนใหญ่แหล่งที่พบจะเป็นบริเวณที่มีดินร่วนและมีการระบายน้ำได้ดี มีชื่อ เฉพาะทางวิทยาศาสตร์ว่า CALAMUS GODEFROYI BECC. อยู่ในวงศ์ PALMAE เป็นไม้ยืนต้นกึ่งเลื้อย ลำต้นมีข้อปล้องชัดเจน ผิวต้นเรียบเป็นมัน สีเขียวออกเหลือง มีกาบใบหุ้มซ้อนกันและมีหนามแหลม สีน้ำตาลดำ เรียงกันหนาแน่นตลอดทั้งกาบใบ ลำต้นที่แตกขึ้นมาใหม่ มักจะตั้งตรงแล้วจะล้มลงสู่พื้นดินเมื่อลำต้นยาวมากขึ้น ขนาดของลำต้นโตเต็มที่ประมาณลำแขนผู้ใหญ่ สูงหรือยาวได้เต็มที่ประมาณ ๘-๑๐ เมตร

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ๕๐-๘๐ ซม. มีหนามโค้ง ใบย่อยเป็นทางคล้ายกับใบมะพร้าว แผ่นใบยาว ๓๐-๕๐ ซม. สีเขียวสด  ดอก ออกเป็นช่อตามซอกกาบใบบริเวณยอดของต้น มีก้านช่อดอกยาวประมาณ๑ เมตร มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมากเรียงตัวแน่นบนก้านดอกในแนวตั้งฉากกับก้านดอก เป็นสีขาว “ผล” เป็นรูปทรงกลม หรือกลมรี เปลือกผลมีรอยแยกคล้ายเกล็ดปลา เมื่อผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อในเป็นสีน้ำตาล รสชาติฝาด มีเมล็ด ๑ เมล็ด สีน้ำตาล ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปัจจุบันมีแหล่งปลูก “หวายน้ำ” ในเชิงพาณิชย์เพื่อนำเอาต้นไปใช้ในการทำเครื่องเรือน เครื่องจักสาน ทำเฟอร์นิเจอร์ ส่งจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง

ประโยชน์ทางอาหาร ยอดอ่อน ของ “หวายน้ำ” นำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ยอดมะพร้าว โดยเฉพาะ ต้มกะทิ รสชาติมันกรอบอร่อยมาก ส่วนผลสุกกินเนื้อในรสชาติแปลกดี ซึ่งทั้งยอดอ่อนและผลสุก มีวางขายทั่วไปตามแผงจำหน่ายผักพื้นเมือง ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย มีชื่อเรียกอีกคือ หวายพรวน (กระบี่) หวายคำพวน (ทั่วไป) และ หวายตะบอง กับ ปุ่น (สกลนคร) ครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – อังคารที่ ๑๓/๕/๕๗


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTh16NjNT1vkt-ZUrgC0gPp2tWO-Sb2oMc38BcT9j8KutBvha00)
    หวาย
หวายเป็นพืชตระกูลปาล์ม ที่มีลำต้นเลื้อยทอดยาวไปตามพื้นดิน เป็นหนึ่งในทรัพยากรประเภทพืชหายากหรืออันตรายใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทยพบหวายมากถึง ๖ สกุลคิดเป็นครึ่งหนึ่งของสกุลหวายที่มีอยู่ในโลกมากกว่า ๖๐ ชนิด แพร่กระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะทางภาคใต้ที่มีมากกว่าทุกภาค หวายสามารถนำมาบริโภคได้โดยเฉพาะคนในภาคอีสาน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้ศึกษาและวิจัยคุณค่าทางอาหารจากการบริโภคหวายพบว่า ยอดหวายมีคุณค่าทางอาหารค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับหน่อไม้และผักอื่นๆ คือมีโปรตีนมากถึง ๒๕% มีธาตุอาหาร แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และสังกะสี แต่เนื่องจากหวายเป็นพืชที่มีหนามอยู่รอบลำต้น จึงต้องระมัดระวังในการปอกเปลือกอย่างมาก และเมื่อปอกเปลือกออกแล้ว ยอดหวายส่วนที่รับประทานได้ซึ่งมีสีขาวอมเหลือง จะเปลี่ยนสีกลายเป็นสีน้ำตาลคล้ำภายในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้น จึงได้มีการทดลองนำหวายดง หรือหวายนาผง มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หวายในน้ำเกลือ แต่ยอดหวายที่นิยมบริโภคไม่ได้มีแต่หวายดงเท่านั้น ยังมีหวายตะบอง หวายนาผง ซึ่งยังไม่มีการศึกษาคุณภาพทางกายภาพและทางเคมีเลย ที่สำคัญคุณค่าทางอาหารของหวายมากกว่าหน่อไม้.

หวายลำต้นและกาบใบมีหนาม รากเป็นระบบรากแขนง ดอกช่อประกอบด้วยกลุ่มแขนงช่อดอก ดอกไม่สมบูรณ์เพศ จะสร้างช่อดอกออกจากลำต้นส่วนที่มีกาบหุ้ม เปลือกผลมีลักษณะเป็นเกล็ดซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ ผลค่อนข้างกลม ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีขาว

ปัจจุบันมีการปลูกหวายเพื่อตัดหน่อนำมาบริโภคมากขึ้นโดยจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อหวายมีอายุ ๑๐-๑๔ เดือน หลังย้ายลงปลูกในแปลง โดยจะตัด ๒-๓ อาทิตย์ต่อครั้งโดยตัดสูงกว่าพื้นดินประมาณ ๑-๒ นิ้ว เพื่อป้องกันการตัดถูกตาข้างส่วนโคนของหวาย ซึ่งจะเจริญเป็นหน่อหวายต่อไป

กอหวายที่สมบูรณ์อายุ ๒ ปี จะมีหน่อทั้งกอ ๖-๘ หน่อ ซึ่งจะเป็นหน่อที่สามารถตัดขายได้ ๓-๔ หน่อ และในปีต่อๆ ไป หวายจะให้ผลผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับราคาจะอยู่ที่ประมาณหน่อละ ๓ บาทที่หน้าแปลงปลูก เมื่อถึงผู้บริโภคแล้วราคาจะสูงถึงประมาณหน่อละ ๕-๗ บาทและหน่อหวายที่ตัดแล้ว สามารถรอการจำหน่ายได้ถึง ๗ วัน

หวายมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีต่อร่างกายพอสมควร ในลูกหวาย อุดมไปด้วยแคลเซียมและวิตามินซี ใน ๑๐๐ กรัม ให้พลังงานถึง ๗๙ แคลอรี คาร์โบไฮเดรต ๑๘.๖ กรัม หน่อหวายมีโปรตีนและเส้นใย รสขมของหวายมีสรรพคุณทางยา แก้โรคท้องร่วง หน่อหวายมีธาตุสังกะสีในปริมาณสูง ช่วยให้ไม่เครียดง่าย ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตได้ดี อีกทั้งยังช่วยไม่ให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมถอยไปก่อนเวลาอันควร.
  เดลินิวส์




หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 พฤศจิกายน 2557 16:06:16
.
 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/29338172326485_38_3627_3597_3657_3634_3627_36.jpg)
    หญ้าหวาน
หญ้าหวานหรือ STEVIA-STEVIA REBAUDINA BERTONI อยู่ในวงศ์ COMPOSITAE เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง ๓๐-๙๐ ซม. แตกกิ่งก้านสาขาตํ่า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปใบหอกกลับหรือรูปใบหอกแกมขอบขนาน ปลายใบกว้างและแหลม โคนใบป้านหรือสอบ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีรสหวาน

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอดและปลายยอดแต่ละช่อประกอบด้วยดอก ๑-๓ ดอก มีกลีบเลี้ยงรูปกรวยสีเขียวปลายแยกเป็นแฉกหลายแฉก ดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ ปลายกลีบแหลม สีขาวสดใส ใจกลางดอก มีเกสรเป็นเส้นสีขาวบิดงอโผล่พ้นกลีบดอก เวลามีดอกดูสวยงามแปลกตามาก “ผล” เป็นผลแห้งไม่แตก ภายในมีเมล็ด ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำต้น  ใบพบว่ามีสารหวานชื่อ STEVIOSIDE มีความหวานกว่านํ้าตาลทราย ๒๕๐-๓๐๐ เท่า แต่ STEVIO-SIDE จะไม่ให้พลังงานทำให้ไม่อ้วน จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคไขมันในเส้นเลือดสูง และจากการทดลองในสัตว์ไม่พบพิษเฉียบพลันด้วย จึงเป็นพืชที่มีคุณค่าน่าปลูกเป็นอย่างยิ่ง

หญ้าหวาน มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑ แต่มีไม่มากนัก ราคาสอบถามกันเอง ปัจจุบันมีการนำเอาใบ “หญ้าหวาน” ไปแปรรูปขายทั่วไปครับ
  นสพ.ไทยรัฐ – พฤหัสบดีที่ ๒๓/๔/๕๘


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/75152896510230_39_3627_3597_3657_3634_3588_36.jpg)
"รากหญ้าคา–หนวดข้าวโพด–หญ้าหนวดแมว"  * พิเศษ รูปหญ้าคา
แก้ปวดข้อนิ้วมือข้อเท้าอาการ ปวดตามข้อนิ้วมือและข้อเท้าอันเกิดจากมีกรดยูริกในเลือดสูง แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นโรคเกาต์ มีวิธีแก้ โดยให้เอา “รากหญ้าคา” ชนิดแห้ง ๓ กำมือ กับ “หนวดข้าวโพด” แห้ง ๖ กำมือ และต้น “หญ้าหนวดแมว” แห้งเช่นกัน จำนวน ๒ กำมือ ต้มน้ำรวมกันจนเดือดแล้วดื่มแทนน้ำ ครั้งละ ๑ แก้ว ๓ เวลา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ จะช่วยให้อาการปวดตาม ข้อนิ้วมือและข้อเท้าตามที่กล่าวข้างต้นหายได้

อย่างไรก็ตาม หลังจากดื่มยาตามสูตรนี้แล้ว ผู้ดื่มจะต้องงดกินอาหารจำพวกที่มีกรดยูริกสูงควบคู่ไปด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นพวกสัตว์ปีกและยอดผักชนิดต่างๆ ถ้าปฏิบัติได้ จะไม่เป็นอีก

หญ้าคา หรือ IMPERATA CYLINDRICA BEAUV. อยู่ในวงศ์ GRA-MINAE รากหรือเหง้าเป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระเพาะปัสสาวะ อักเสบ ปัสสาวะแดง บำรุงไต ขับระดูสตรี มีชนิดแห้งขายตามร้านยาแผนไทยทั่วไป

หญ้าหนวดแมว หรือ CAT’S WHISKER ORTHOSIPHON GRANDI- FLORUS BOLDING อยู่ในวงศ์ LABIATAE ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะแก้โรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว ใบเป็นยารักษาโรค เบาหวาน และลดความดันโลหิต มีการทดลองใช้ใบแห้งเป็นยาขับปัสสาวะ ขับกรดยูริก ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาต์และรักษาโรคนิ่วในไตกับผู้ป่วย โดยใช้ใบแห้ง ๔ กรัม ชงกับน้ำเดือด ๗๕๐ ซีซี ดื่มต่างน้ำตลอดทั้งวัน ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ ใบมีเกลือโปแตสเซียมสูง ดังนั้น ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรใช้

ข้าวโพด หรือ ZEA MAYS LINN. อยู่ในวงศ์ GRAMINAE เมล็ดฝาดสมาน บำรุงหัวใจ ทำให้เจริญอาหาร ต้น ใบ และ “หนวดข้าวโพด” ตากแห้ง ต้มน้ำดื่มรักษานิ่วได้ ข้าวโพดที่เป็นฝักสดสามารถไปซื้อได้ที่แหล่งขายใหญ่ๆ เช่น ตลาดไท นำไปปอกเปลือกนำเอา “หนวดข้าวโพด” ตากแห้งใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้นครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – ๑๖/๑๑/๕๕


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/75152896510230_39_3627_3597_3657_3634_3588_36.jpg)
    หญ้าคา
ฉี่ หรือ ปัสสาวะ ขัดแสบ ที่เกิดจากสาเหตุอั้นฉี่นานๆ หรือบ่อยๆ ไม่ใช่เกิดจากสาเหตุอื่น ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ให้เอาราก “หญ้าคา” แบบแห้ง ๑๐๐ กรัม ต้มกับน้ำ ๑ ลิตร จนเดือด ดื่มครั้งละ ๓ ส่วน ๔ ของแก้ว เช้า กลางวัน เย็น ก่อนอาหารประจำจะช่วยให้อาการดีขึ้นและหายได้ในที่สุด เมื่อปกติแล้วหยุดต้มดื่มได้เลยไม่อันตรายอะไร

หญ้าคา หรือ IMPERATA CYLINDRICA BEAUV. อยู่ในวงศ์ GRAMINEAE พบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป รากแห้ง ๒๕๐ กรัม ต้มน้ำ ๒ ลิตร จนเดือดให้เหลือครึ่งลิตร กินครั้งละครึ่งแก้วก่อนอาหารเช้าเย็นช่วยรักษาโรคไตอักเสบที่เพิ่งจะเริ่มเป็นใหม่ๆ หายได้และ ยังช่วยลดความดันโลหิตสูงด้วย ระหว่างกินยาดังกล่าวอาจมีอาการวิงเวียน อึดอัดไม่สบายได้ อย่าตกใจไม่อันตรายอะไรเพราะเกิดจากฤทธิ์ยา รากและเหง้า ต้มน้ำดื่มแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ฉี่แดง บำรุงไต และขับระดูในสตรีได้
  นสพ.ไทยรัฐ – อังคารที่ ๒/๑๒/๕๗


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37115605092710_EyWwB5WU57MYnKOuFIsL7LH7zguedj.jpg)
    หญ้าชันกาด ไม่ใช่หญ้าขน
หลายคน ยังเข้าใจผิดกันเยอะว่า “หญ้าชันกาด” เป็นต้นเดียวกันกับหญ้าขน จึงเป็นสาเหตุทำให้สับสนในการนำไปใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร แม้ว่า “นายเกษตร” จะเคยเขียนและชี้ความแตกต่างในคอลัมน์ไปแล้วก็ตาม แต่ยังมีผู้เข้าใจผิดอีกเยอะตามที่กล่าวข้างต้น ดังนั้น จึงเสนอเรื่องราวของ “หญ้าชันกาด” ไม่ใช่ หญ้าขน ให้ทราบอีกครั้งเพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ได้ถูกต้องและไม่ผิดพลาดกันอีก

หญ้าชันกาด มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ SORGHUM VULGAE HOCK. หรือ PANICUM REPENS LINN. อยู่ในวงศ์ GRAMINEAE หรือ POACEAE เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีจำพวกหญ้า ลำต้นชูตั้งขึ้น สูง ๔๐-๘๐ ซม. มีหัวขนาดเล็กแตกเป็นแขนงหรือเป็นแง่งเรียงต่อกันเป็นข้อๆคล้ายขิง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับรูปขอบขนานยาว ปลายแหลม โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้นบริเวณข้อ สีเขียวสด ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด สีขาว พบขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป

ส่วนข้อแตกต่างระหว่าง “หญ้าชันกาด” กับ หญ้าขน ชี้ได้ดังนี้คือ หญ้าขน ชาวบ้านที่มีอาชีพเลี้ยงวัวหรือควายจะรู้จักดีและนิยมตัดเอาต้นไปให้วัวหรือควายกิน ลำต้นจะสูงกว่า “หญ้าชันกาด” อย่างชัดเจน และจุดสังเกตที่สามารถระบุได้เลยว่าอันไหนเป็น “หญ้าชันกาด” หรือ หญ้าขน ได้แก่ หญ้าขน จะมีขนละเอียดทั่วทั้งใบและลำต้น ส่วน “หญ้าชันกาด” ไม่มี ขนและลักษณะดอกจะไม่เหมือนกันอีกด้วย

ประโยชน์ทางสมุนไพรของ “หญ้าชันกาด” หัวสด ต้มน้ำดื่มแก้ทางเดินปัสสาวะพิการ แก้ไตทำงานไม่สะดวก หรือกระเพาะปัสสาวะพิการ เป็นยาดับความร้อนไข้พิษไข้กาฬ หัวสด ฝนกับน้ำสะอาดหยอดตา แก้ตาฟางตามัวตาแฉะ รากสด ต้มน้ำดื่มเป็นยา แก้ไตพิการ ช่วยให้ไตทำงานสะดวกขึ้น แก้กระเพาะปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว และโรคหนองในดีมากครับ.
 นสพ.ไทยรัฐ

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSFw1p3oqG__hwmcAnJRoSGGHF9sE7PIm_XgBpS6NFMl1OBH4ee)
     หญ้าใต้ใบ แก้ไข้ทับระดู
สตรีที่ยังมีประจำเดือนอยู่บางคนมักจะเป็นไข้ทับระดูบ่อยๆ ซึ่งในยุคสมัยก่อนนิยมให้หมอยาแผนไทยเจียดยาสมุนไพรรักษาให้ โดยจะนำเอาต้น “หญ้าใต้ใบ” มีขึ้นตามที่รกร้างข้างทางทั่วไปแบบทั้งต้นรวมรากหรือนิยมเรียกกันว่า “หญ้าใต้ใบ” ทั้ง ๕ สด หนัก ๓๐ กรัม ต้มกับน้ำ ๑ ลิตร จนเดือดเนื้อยาออกดื่ม ๓ เวลา ครั้งละ ๓ ส่วน ๔ ของแก้ว เช้า กลางวัน เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ๒-๔ วัน อาการจะหายได้

หญ้าใต้ใบ หรือ PHYLLANTHUS URINARIA LINN. อยู่ในวงศ์ EUPHORBIA-CEAE เป็นไม้ล้มลุก มีข้อแตกต่างกับต้น ลูกใต้ใบ ที่ใบ ส่วนสรรพคุณใช้เหมือนกันคือ ทั้งต้นแก้ไข้ทุกชนิด รักษาริดสีดวงทวาร กามโรค ปวดท้อง ดีซ่าน ท้องเสีย และบิด ใบอ่อนแก้ไอสำหรับเด็ก การทดลองในสัตว์พบว่า มีฤทธิ์ลดไข้ ขับปัสสาวะ และลดความดันโลหิตเล็กน้อย ประเทศอินเดียวิจัยสามารถรักษาโรคตับอักเสบชนิดบีได้
  นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQcO5bScvjpbQyk9TXGEp_gEGys2peitNNEXEyL4bUm6_oGeCex)
     หญ้าดอกขาว แก้หลอดลมอักเสบ
สูตรดังกล่าว ให้เอา “หญ้าดอกขาว” แบบแห้งทั้ง ๕ หรือ ทั้งต้นรวมรากน้ำหนัก ๑๕ กรัม ต้มกับน้ำจำนวน ๑ ลิตร จนเดือดเคี่ยวให้เหลือ ๑ ใน ๔ ลิตร ดื่มขณะอุ่นวันละ ๓ เวลา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ต้มกินจนยาจืด และต้มกินเรื่อยๆ จะช่วยให้หลอดลมที่อักเสบค่อยๆดีขึ้นและหายได้ในที่สุด นอกจากนั้น ยาต้มดังกล่าวยังสามารถช่วยลดเสมหะในลำคอมีเยอะได้อีกด้วย

หญ้าดอกขาว หรือ LERNONIA CINE- RIA LIME อยู่ในวงศ์ COMPOSITAE เป็นหญ้า ต้นสูง ๑ ฟุต พบขึ้นตามที่รกร้างข้างทางทั่วไป ดอกเป็นสีม่วงขนาดเล็กคล้ายดอกดาวเรือง เมื่อดอกแก่และบานจะเปลี่ยนสีเป็นสีขาวเป็นปุยปลิวว่อนไปทั่ว สรรพคุณเฉพาะ ทั้งต้นรวมรากต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง ท้องอืด เฟ้อ ใบสดตำปิดแผลสมานแผล หรือตำผสมน้ำนมคนกรองเอาน้ำหยอดตาแก้ตาแดงตาฟาง ทั้งต้นตำพอกนมแก้นมคัดสตรี
  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27731069177389_EyWwB5WU57MYnKOuFBmcQv2x9o2qP9.jpg)
    หญ้าตะกรับ – สรรพคุณน่ารู้
หญ้าตะกรับ เป็นพืชตระกูล กก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ACTINOSCIRPUS GROSSUS (L.F.) GOETGH–D.A.SIMPSON อยู่ในวงศ์ CYPERACEAE เป็นพืชน้ำ มีเหง้า หัว และไหลใต้ดิน ลำต้นตั้งตรงเป็นสามเหลี่ยม สูง ๕๐-๑๕๐ ซม. โคนต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม ดอกเป็นช่อยาวสามเหลี่ยม ปลายช่อมีดอกเป็นกระจุกหลายกระจุกสีน้ำตาล มีใบประดับรองช่อดอก ๒-๔ ใบ เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เหง้า และไหล พบขึ้นทั่วไปตามที่มีน้ำท่วมขังนาข้าว มีชื่อเรียกอีกคือ กกสามเหลี่ยม และ กกตาแดง ประโยชน์ทั่วไป ลำต้นตากแห้งใช้สานทำเสื่อ ทำเชือก และอื่นๆ

ตำรายาพื้นบ้านของไทยระบุว่า ไหล เหง้า และ ลำต้น ของ “หญ้าตะกรับ” มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เอาแบบสดหรือแบบแห้ง กะจำนวนพอประมาณหรือ ๑ ขยุ้มมือผู้ใหญ่ ต้มกับน้ำท่วมยาจนเดือด รับประทานขณะอุ่นครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๒ เวลา ก่อนอาหารเช้าเย็นช่วย เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ขับประจำเดือน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกายดี  ส่วนใครที่เป็นโรคไต หน้าตาและตัวบวม แต่ ยังไม่ถึงขั้นต้องล้างไตหรือฟอกไต ให้เอาเหง้า ไหล หรือ หัวของ “หญ้าตะกรับ” แบบสดหรือแห้งก็ได้ 1 ขยุ้มมือผู้ใหญ่ ต้มกับน้ำท่วมยา ใส่น้ำตาลกรวดลงไปเล็กน้อยจนเดือด ดื่มขณะอุ่นครั้งละ ๑ แก้ว ๒ เวลาก่อนอาหารเช้าเย็น หรือใส่น้ำแข็งลงไปก็ได้ ดื่มไปเรื่อยๆจนยาจืดแล้วเอาตัวยาใหม่ต้มดื่มต่อ จะช่วยให้อาการโรคไต หน้าบวมตัวบวมแห้งหายเป็นปกติ ที่ประเทศอินเดียทั้งต้นต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องเสีย

ปัจจุบัน “หญ้าตะกรับ” มีขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ..
  นสพ.ไทยรัฐ – ๒/๙/๕๗

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSuPH2mGV3NOKCeFgivNwxcffk0uByxI4X5bJy4oJV8tiYaW8aBwQ)
     หญ้าตีนกา
เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลักษณะเด่น ช่อดอกเห็นชัดเจน ลำต้น สั้นตั้งเป็นกอ ความสูงของกอประมาณ  ๕๐ ซม. ลำต้นแบนสีขาว-เขียวอ่อน แตกต้นใหม่ที่โคนกอเป็นกอขนาดใหญ่ ใบ รูปแถบยาวปลายเรียวแหลม โคนใบมีขนไม่แข็งนัก กาบใบค่อนข้างใหญ่สีเขียวอ่อน-ขาวหุ้มซ้อนทับใบที่เกิดลำดับหลัง ดอก ออกที่ปลายยอด ก้านดอกสีเขียวกลมยาว และแตกช่อดอกที่ส่วนปลาย ๓-๘ ช่อ ในแต่ละช่อย่อยมีดอกย่อยจำนวนมากสามารถใช้เลี้ยงสัตว์ได้ หญ้าตีนกา มีสรรพคุณ ลดความร้อนแก้พิษไข้  บำรุงน้ำดี แก้น้ำดีพิการ ตำผสมสุราแก้ปวดบวมอักเสบ   นสพ.เดลินิวส์

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSw1SNLGzalmzGTgMGl-l_wfWahGQnGJZd-d5COhTGBb8kDQtajrw)
     หญ้าแฝก
หญ้าแฝกมีประโยชน์มากด้านนอกจากอนุรักษ์ดิน ป้องกันการพังทลายของหน้าดินแล้วสามารถนำมาเป็นอาหารสัตว์ ได้ โดยใบหญ้าแฝกมีคุณค่าทางอาหารพอๆ กับหญ้าอื่น ๆ อีกทั้งยังไม่มีสารที่เป็นพิษ จึงไม่เป็นอันตรายต่อปศุสัตว์ มีโปรตีน ๕.๒ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง ใบหญ้าแฝกเป็นพืชที่มีรูปทรงของกอสวยงาม ใบมีทั้งตรงและห้อยย้อยจึงถูกนำไปใช้เป็นไม้ประดับ ทั้งในการปลูกลงดิน และในภาชนะสำหรับการปลูกลงดินนั้นหญ้าแฝกช่วยทำให้สวนหย่อม เฉลียงหน้าบ้าน ทางเดิน สวยงาม เมื่อปลูกชิดติดกันเป็นแถว จะทำหน้าที่เป็นแนวรั้วที่สวยงาม พร้อม ๆ กับทำหน้าที่อนุรักษ์ดินและน้ำของสถานที่นั้นๆ  สามารถใช้เป็นวัสดุคลุมดิน  ในดินแดนเขตร้อน ทำปุ๋ยหมัก โดยปุ๋ยหมักจากใบหญ้าแฝก ๑ ตัน มีคุณค่าเทียบเท่ากับปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ๔๓ กิโลกรัม

ที่โครงการพัฒนาดอยตุงสามารถผลิตแท่งเพาะชำและวัสดุปลูกพืชจากใบและต้นหญ้าแฝก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้การได้ดี ต้นและใบมีองค์ประกอบพวกเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ลิกนินและโปรตีนหยาบ รวมทั้งแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับเพาะเห็ดได้ ใบใช้เป็นวัสดุรองพื้นคอกปศุสัตว์ ซึ่งมีความทนทานเช่นเดียวกับฟางข้าว แต่ทนทานกว่าหญ้าคา.



(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSRKDJOmftAQr7du3sk8nM8Gj32-rixyO0grnW47oPf37z0fHTw)
หญ้ารูซี่

หญ้ารูซี่เป็นหญ้าที่มีอายุหลายปี ต้นกึ่งเลื้อยกึ่งตั้ง สามารถเจริญเติบโตในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำได้ ขึ้นได้ดีในพื้นที่ดอน ดินมีการระบายน้ำดี ทนแล้งพอสมควร ทนต่อการเหยียบย่ำของสัตว์ ไม่ทนน้ำท่วมขัง ผลผลิตน้ำหนักแห้ง ๒.๐-๒.๕ ตันต่อไร่ปี โปรตีน ๗-๑๐ เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันนิยมปลูกเลี้ยงสัตว์โดยใช้เมล็ดพันธุ์อัตรา ๒.๐ กิโลกรัมต่อไร่ หว่านหรือโรยเป็นแถวๆ ห่างกัน ๕๐ เซนติเมตร หลังปลูก ๖๐-๗๐ วัน สามารถตัดไปใช้เลี้ยงสัตว์ ได้โดยตัดสูงจากพื้นดิน ๑๐-๑๕ เซนติเมตร สำหรับการปล่อยสัตว์เข้าและเล็มในแปลงหญ้าจะปล่อยเข้าครั้งแรกเมื่อหญ้าอายุ ๗๐-๙๐ วัน หลังจากนั้นจึงทำการตัดหรือปล่อยสัตว์เข้าและเล็มหมุนเวียนทุก ๓๐-๔๕ วัน ในช่วงฤดูฝนหญ้าโตเร็ว อาจตัดได้ที่อายุน้อยกว่า ๓๐ วัน เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงโค กระบือ ในรูปหญ้าสด หญ้าแห้งหรือหญ้าหมัก.


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 พฤษภาคม 2558 20:14:40
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/24800917630394_5_3617_3632_3648_3604_3639_365.jpg)
    มะเดื่อหวานญี่ปุ่น
มะเดื่อหวาน ที่พบมีกิ่งตอนวางขาย มีเกินกว่า ๑๐ สายพันธุ์ ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศ อิตาลี ตุรกี ไต้หวัน อเมริกา และอื่นๆอีกเยอะ ซึ่งแต่ละพันธุ์จะมีลักษณะผลต่างกัน รสชาติจะหวานหอมเป็นเอกลักษณ์เหมือนกัน และมะเดื่อหวานที่ได้รับความนิยมปลูกมากที่สุดในประเทศไทยในเวลานี้คือมะเดื่อหวาน ชื่อ “มาซูอิ ดอร์ฟิน” นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น   มีความโดดเด่น คือ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศประเทศไทย ผลมีขนาดใหญ่น้ำหนักเฉลี่ย ๒๐๐ กรัมต่อผล สีของผลเมื่อสุกเป็นสีแดงอมม่วงสวยงามน่าชมยิ่งนัก เนื้อในเป็นสีน้ำผึ้งหรือเหลืองอมส้มนิดๆ รสชาติหวานหอมมีความมันจากเมล็ดเล็กๆ เจือปน ฉ่ำกรอบ รับประทานอร่อยมาก ในปัจจุบันคนไทยรู้จักและนิยมรับประทานมะเดื่อหวานอย่างกว้างขวาง เนื่องจากให้คุณค่าทางอาหารสูงมากนั่นเอง ที่สำคัญ มะเดื่อหวานพันธุ์ “มาซูอิ ดอร์ฟิน” จะติดผลดกไม่ขาดต้นตลอดทั้งปีอีกด้วย จึงทำให้ปลูกกินในครัวเรือนหรือเก็บผลขายได้คุ้มค่ามาก

มะเดื่อหวานญี่ปุ่น “มาซูอิ ดอร์ฟิน” หรือ FICUS RACEMOSA LINN. FIG : FICUS CARICA อยู่ในวงศ์ MORACEAE ต้นสูง ๕-๗ เมตร ใบออกสลับรูป ๓ แฉก คล้ายใบเมเปิ้ล แต่จะใหญ่กว่า ดอก เป็นดอกแยกเพศบนต้นเดียวกัน เป็นสีขาวก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงและสีส้มตามลำดับ “ผล” กลมรี คล้ายรูปหยดน้ำ หรือคล้ายผลน้ำเต้า ผลอ่อนสีเขียว สุกสีแดงอมม่วง เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก รสชาติหวานหอมรับประทานอร่อยมาก นำไปแปรรูปได้หลายอย่าง ติดผลดกไม่ขาดต้นตลอดทั้งปี  ใครต้องการกิ่งพันธุ์ไปซื้อได้ที่  ร้าน “สวนสุโขทัย” ล็อกบี ๑๑-๑๒ ด้านหน้าอนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ และที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – อังคารที่ ๒๕/๑๑/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90160336966315_6_3648_3594_3637_3618_3591_364.jpg)
    เชียงเหย่น
เชียงเหย่น ไม้ต้นนี้มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์เก็บผลตอนกิ่งขายเฉพาะกลุ่ม โดยพวกชาวเขาบนดอยสูงทางภาคเหนือเท่านั้น เป็นไม้อยู่ในสกุลเดียวกับส้มและมะนาวทั่วไป เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปนานหลายปีแล้ว ส่วนใหญ่นิยมปอกเอาเปลือกผลที่มีความหนาไปหั่นเป็นชิ้นลูกเต๋าเล็กๆ ผสมเป็น “ฟรุตเค้ก” ทำให้มีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นมะนาวรับประทานอร่อยชื่นใจนัก  ที่สำคัญ นอกจากเปลือกผลของ “เชียงเหย่น” จะปรุงเป็น “ฟรุตเค้ก” ได้อร่อยตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว เนื้อในสีขาวของ “เชียงเหย่น” ยังสามารถผ่าหรือหั่นเป็นชิ้นๆ รับประทานแบบเปล่าๆได้ด้วย รสชาติมันกรอบเหมือนเนื้อมะละกอ ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะถ้าจิ้มน้ำผึ้งเคี้ยวหวานหอมอร่อยดีอีกด้วย

เชียงเหย่น เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๘ เมตร กิ่งก้านมีหนามเหมือนกับกิ่งก้านต้นมะนาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบคล้ายใบมะนาวหรือใบมะกรูด เมื่อเด็ดใบขยี้ดมจะมีกลิ่นหอมแบบสะอาดๆ ใบเป็นสีเขียวสด ผิวใบเรียบและเป็นมัน   ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ ๓-๕ ดอก ตามซอกใบและปลายยอด มีกลีบดอก ๔ กลีบ เป็นสีขาว ใจกลางดอกมีเกสรสีเหลืองจำนวนมาก ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ “ผล” รูปกลมรี ผลโตเต็มที่มีขนาดใหญ่เกือบเท่าผลมะละกอป่าหรือมะละกอโบราณ จึงมีชื่อเรียกอีกคือ “ส้มมะละกอ” ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง เปลือกผลหนา ผิวผลขรุขระเหมือนผิวผลมะกรูด เนื้อในสีขาวคล้ายเนื้อมะละกอ ไม่มีน้ำ รสชาติเย็น กรอบ มัน มีกลิ่นหอมของเปลือกเหมือนกลิ่นมะนาวอร่อยมาก มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเองครับ.  นสพ.ไทยรัฐ พุธที่ ๒๙/๔/๕๘    

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/93690568498439_11_3626_3634_3627_3619_3656_36.jpg)
    สาร่ายตะขาบ
สาหร่ายตะขาบ สาหร่ายชนิดนี้ เป็นพืชใต้น้ำจำพวกสาหร่ายทะเล พบขึ้นตามธรรมชาติบนซอกหินที่มีน้ำทะเลท่วมถึงบริเวณชายหาดทางภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะด้านทะเลอันดามันตลอดแนวฝั่ง มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ขึ้นเป็นกอๆ กอละ ๓-๕ ต้น ระยะห่างกัน ๓-๕ ฟุตต่อกอ ลำต้นกลมเป็นสีเขียว สูงหรือยาวประมาณ ๑-๒ ฟุต อาจสูงหรือยาวได้กว่าที่ระบุได้ ลำต้นไม่แตกกิ่งก้าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นระเบียบตั้งแต่โคนต้นขึ้นไปจนถึงปลายยอด เวลาถูกน้ำทะเลซัดทำให้ใบพลิ้วไหวไปมาดูเหมือนขาของตัวตะขาบจริงๆ กำลังเดินอยู่ใต้น้ำทะเลน่าชมยิ่งนัก ชาวบ้านในท้องถิ่นจึงเรียกชื่อสาหร่ายชนิดนี้ว่า “สาหร่ายตะขาบ” เรื่อยมาจนปัจจุบัน

ประโยชน์ นิยมรับประทานเป็นผักสดพื้นบ้านทางภาคใต้มาช้านานแต่โบราณแล้ว โดยเฉพาะในแถบจังหวัดพังงา กระบี่ และ สตูล เมื่อนำ เอา “สาหร่ายตะขาบ” ขึ้นมาจากทะเลแล้วต้องล้างน้ำให้สะอาดจึงรับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริกชนิดต่างๆ แกงไตปลา แกงเหลือง ขนมจีนปักษ์ใต้ รสชาติมันปนเค็มนิดๆ กรอบกรุบอร่อยมาก นอกจากนั้นยังสามารถปรุงเป็นยำผักสดได้อีกด้วย โดยหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ยำรวมกับปลากรอบหรือเนื้อไก่ต้มสุกฉีกเป็นฝอยๆ ปรุงแต่งรสชาติด้วยเกลือป่น น้ำตาลทราย พริกขี้หนูสดหั่น หอมแดงซอยเป็นชิ้นบางๆ บีบน้ำมะนาวลงไปคลุกจนได้ที่แล้วชิมรสชาติตามต้องการก่อน โรยหน้าด้วยถั่วลิสงคั่วป่นและใบสะระแหน่สด ตักใส่จานตั้งโต๊ะรับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ กรอบกรุบมันแซ่บอร่อยยิ่งนัก จัดเป็นผักดี ผักอร่อยของภาคใต้อีกชนิดหนึ่งที่ในยุคสมัยก่อนมีผู้เก็บขึ้นจากทะเลนำไปวางขายตามตลาดสดทั่วไปได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย แต่ในปัจจุบัน “สาหร่ายตะขาบ” แทบจะไม่พบเห็นวางขายตามตลาดสดอีกแล้ว นานๆ จึงจะมีผู้นำไปวางขาย ดังนั้นใครที่อยากชิมรสชาติต้องเสาะหากันเอง

ในอนาคต ถ้ามีการนำเอา “สาหร่ายตะขาบ” ไปตากแห้งแปรรูปทำเป็นชาสาหร่ายหรือชาเขียวแบบสาหร่ายญี่ปุ่น เชื่อว่าจะเป็นที่นิยมอย่างแน่นอนครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – พุธที่ ๑๓/๕/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37595675844285_12_3648_3585_3621_3655_3604_36.jpg)
    เกร็ดปลาหมอนา
เกร็ดปลาหมอนา ไม้ต้นนี้ พบขึ้นตามที่รกร้างข้างทางและที่ว่างเปล่าท้องไร่ปลายนาทั่วไป จัดเป็นวัชพืชที่มีสรรพคุณทางสมุนไพรหรือเป็นยาดีข้างทางชนิดหนึ่งที่หมอยาแผนไทยนิยมใช้รักษาโรคใกล้ตัวหลายชนิดมาช้านานแล้ว โดยมีวิธีใช้คือเอาทั้งต้นรวมรากของ “เกล็ดปลาหมอนา” กะจำนวนตามต้องการ ตำผสมกับพริกไทยสดจะเป็นพริกไทยดำหรือพริกไทยเขียวก็ได้จำนวนพอประมาณ คลุกกับน้ำผึ้งแท้กินวันละ ๒ เวลาเช้าเย็นก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกายดีมาก ทั้งต้น รวมรากเช่นกันตำพอกบริเวณส้นเท้าที่แตกระแหงและพอกแผลอักเสบหายได้ นอกจากนั้น ทั้งต้นรวมรากของ “เกล็ดปลาหมอนา” ผสมกับต้นสะเดาดิน ต้นกำแพงเจ็ดชั้น จำนวนเท่ากันตามที่จะใช้ ต้มรวมกันกับน้ำพอประมาณจนเดือด ดื่มครั้งละ ๑ แก้ว ๒ เวลาเช้าเย็นก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือดหรือโรคเบาหวานได้ดีด้วย

เกล็ดปลาหมอนา เป็นพืชล้มลุก ลำต้นทอดเลื้อยตามหน้าดิน สามารถเลื้อยได้ยาว ๑-๒ เมตร ลำต้นหรือเถากลมสีเขียว เหนียวเล็กน้อย แตกต้นเป็นกอ กอละ ๕-๑๐ ต้น กิ่งแขนงหนาแน่น กิ่งแก่บางครั้งเป็นสีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปไข่กลับ ปลายใบกลม โคนสอบยาวคล้ายเกล็ดปลาหมอนาหรือที่ชาวอีสานนิยมเรียกว่า “ปลาเข็ง” จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะว่า “เกล็ดปลาหมอนา” ดังกล่าว ขอบใบหยัก สีเขียวสด  ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กเป็นกระจุก ๕-๗ ดอก รูปทรงของดอกคล้ายกับดอกกระทือ แต่จะมีขนาดเล็กกว่าเยอะ ตัวดอกเป็นสีม่วงสด “ผล” รูปทรงกลมเล็ก ภายในมีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำต้น

เคยมีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – ศุกร์ที่ ๑๕/๕/๕๘  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/62189512699842_14_3585_3634_3609_3614_3621_36.jpg)
    กานพลู
ระบบย่อย ไม่สมบูรณ์เป็นสาเหตุให้ท้องอืดเฟ้อแน่น จุกเสียด ปัจจุบันกินยาลดกรดช่วยได้ ส่วนทางสมุนไพรให้เอา “ดอกกานพลู” แห้ง ๕-๑๐ ดอก ต้มน้ำดื่มขณะมีอาการครั้งละครึ่งแก้วหลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น จะช่วยบรรเทาอาการ และหายได้ในที่สุด สามารถต้มดื่มได้เรื่อยๆ เมื่อมีอาการไม่อันตรายใดๆ ดอกแห้งมีขายทั่วไป หาซื้อง่ายไม่ยุ่งยากอะไร

กานพลู หรือ CLOVE, EUGENIA CARYOPHLLUS BULLOCK-HARRISON อยู่ในวงศ์ MYRTACEAE เป็นไม้ต้น สูง ๕-๑๐ เมตร กลีบดอกสีขาวร่วงง่าย ฐานรองดอกสีแดง “ผล” รูปไข่ สรรพคุณเฉพาะ ดอกแห้ง ๓-๕ ดอก แช่เหล้าขาวจนยาออกใช้สำลีชุบน้ำอุดรูฟันแก้ปวดฟัน ดอกแห้ง ๖-๘ ดอก ชงน้ำเดือด ดื่มน้ำหรือเคี้ยวเนื้อแก้ท้องเสีย ขับลม ท้องอืดเฟ้อ ใช้ผสมยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปากดีมาก น้ำมันหอมระเหยกลั่นจากดอกชื่อ EUGENOL เป็นยาชาเฉพาะที่ บีบตัวลำไส้ทำให้อาการปวดท้องลดลง ลดอาการจุกเสียดและกระตุ้นการหลั่งน้ำเมือก ลดกรดดีมาก

กานพลู  เป็นไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ แล้วกระจายพันธุ์ปลูกในเขตร้อนไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วยที่ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ตั้งแต่โบราณแล้ว โดย “กานพลู” มีชื่อเฉพาะคือ CLOVE TREE, EUGENIA CARYOPHYLLUS BULLOCK– HARRISON อยู่ในวงศ์ MYRTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๑๐ เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นรูปกรวยคว่ำ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามรูปรีหรือรูปใบหอก ขอบเป็นคลื่น ปลายและโคนใบแหลม ใบอ่อนเป็นสีแดงหรือน้ำตาลแดง เนื้อใบค่อนข้างเหนียว สีเขียวสดเป็นมัน ใบขยี้ดมจะได้กลิ่นหอมคล้ายกลิ่นยา

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกร่วงง่าย กลีบเลี้ยงและฐานรองดอกเป็นสีแดง หนาแข็ง “ผล” รูปไข่ เมื่อผลแก่จัดเป็นสีแดง มี ๑ เมล็ด ดอกออกได้เรื่อยๆ เกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง   ดอกตูมแห้งเป็นยาแก้ปวดฟัน โดยใช้ดอกแช่กับเหล้าขาวจนตัวยาออกแล้วใช้สำลีชุบน้ำอุดรูฟันที่ปวดหายได้ หรือจะใช้ดอก ๕-๘ ดอก ชงน้ำเดือดดื่มเฉพาะน้ำหรือใช้ดอกเคี้ยวได้เลย แก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืด เฟ้อ ดอกยังใช้ผสมในยาอมบ้วนปากเพื่อดับกลิ่นปากได้ น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นจากดอก มีสาร EUGENOL มีฤทธิ์เป็นยาชา เฉพาะที่ จึงใช้แก้ปวดฟัน มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องลดลง ช่วยขับน้ำดี ลดอาการจุกเสียดที่เกิดจากการย่อยไม่สมบูรณ์ สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด เช่น เชื้อโรคไทฟอยด์ บิดชนิดไม่มีตัว เชื้อหนอง เป็นต้น ยังกระตุ้นให้มีการหลั่งเมือกและลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารดีมาก

ปัจจุบัน “กานพลู” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้นได้คุ้มค่ามากครับ.
นสพ.ไทยรัฐ – พฤหัสบดีที่ ๒๕/๑๒/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/50347184058692_15_3617_3632_3649_3586_3623_36.jpg)
    มะแขว่น
มะแขว่น มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ ZAN-THOXYLUM LIMONELLA ALSTON, FAGARA RHETSA ROXB อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๒๐ เมตร มีหนามแหลมตามลำต้นและกิ่งก้าน ใบประกอบปลายคู่หรือคี่ ออกสลับ ใบรูปไข่หรือรูปรี ปลายแหลม โคนแหลมและเบี้ยว ขอบใบหยักมีต่อมกลมขนาดเล็กที่บริเวณหยัก ยอดอ่อนเป็นสีแดงปนเหลืองน่าชมมาก ดอก ออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบใกล้ปลายยอด และที่ปลายยอด มีกลีบดอก ๔ กลีบ เป็นสีขาวอมเขียวหรือสีนวล มีเกสรตัวผู้ ๔ อัน “ผล” ค่อนข้างกลม ผิวผลขรุขระ ผลแห้งสีดำ เมล็ดแห้งสีดำคล้ายเม็ดพริกไทย มีกลิ่นหอมและเผ็ดร้อน จะติดผลแก่ในช่วงฤดูหนาว ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง พบมากทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยขึ้นตามป่าดิบที่ระดับความสูงเหนือน้ำทะเล ๕๐๐ เมตร ต่างประเทศพบที่ อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย มีชื่อเรียกอีกคือ กำจัด กำจัดต้นมะม่วง หมักขวาง และ พริกหอม

ทางอาหาร ยอดอ่อนกินเป็นผักสด ผลแห้งเป็นเครื่องเทศใส่แกงแคแกงอ่อมไก่ เนื้อดับกลิ่นคาวทำให้มีกลิ่นหอม ชาวจีน นิยมเอาเมล็ดแห้งปรุงอาหารแทนพริกไทยดำ ใส่กุ้งอบหม้อดินกลิ่นหอมชวนรับประทานดีมาก ชาวจีนเรียกว่า พริกหอม หรือขวงเจียว มาเลเซีย อินเดีย พม่า ใช้เมล็ดแห้งเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารหลายชนิด ในภูมิภาคอินโดจีนนิยมเอาเปลือกต้น “มะแขว่น” ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ ชาวเขาบนดอยสูงทางภาคเหนือของไทยและคนเหนือรู้จักเอา “มะแขว่น” ใช้ประโยชน์เป็นอาหารและเป็นยามาช้านานแล้ว

สรรพคุณทางสมุนไพร ใบสดขยี้อุดฟัน แก้ฟันเป็นรำมะนาด แก้ปวดฟัน เมล็ดสดแห้งกินแก้ลมวิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ถอนพิษฟกช้ำ บวม แก้โรคหนองใน รากกับเนื้อไม้สดต้มน้ำดื่มขับลมในลำไส้ แก้ลมเบื้องบน หน้ามืดตาลาย วิงเวียน และขับระดูในสตรีดีมากครับ.  
  นสพ.ไทยรัฐ – ศุกร์ที่ ๑๒/๑๒/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/36644384554690_35_3614_3619_3617_3617_3636_.jpg)
    พรมมิ
พรมมิ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า BACOPA MONNIERIL WETTST  มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจากประเทศเนปาลและอินเดีย ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ลักษณะเป็นพืชสะเทินน้ำสะเทินบก ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะตามธรรมชาติ ลำต้นอวบน้ำไม่มีขน ลำต้นทอดเลื้อยตามหน้าดินยาวกว่า ๑ ฟุต ชูยอดขึ้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายใบกว้างกลมและมน โคนใบแคบ ขอบใบเรียบ สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นใบเดี่ยวๆ ตามซอกใบ ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบ ดอก ๕ กลีบ รูปรี ปลายตัด สีขาว หรือสีครามอ่อนๆ มีเกสรตัวผู้ ๔ อัน ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำต้น ชาวภาคอีสานนิยมกินเป็นผักพื้นบ้านเรียกว่าผักมิ

สารสกัดจาก “พรมมิ” มีผลต่อการเสริมความจำ การเรียนรู้ ป้องกันเซลล์ประสาทโดยไม่ทำให้เกิดพิษในสัตว์ทดลอง ในต่างประเทศ เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น นิยมนำเอาต้น “พรมมิ” ไปสกัดเป็นยาและเป็นอาหารเสริมหลายรูปแบบ เช่น ทำยาสระผม น้ำมันทาถูนวดแก้อาการชา ตำรายาแผนไทยระบุว่า “พรมมิ” เป็นยาขับโลหิตแก้ไข้ ขับพิษร้อน ขับเสมหะ บำรุงกำลัง บำรุงประสาท ตำรายาอายุรเวชของประเทศอินเดียรู้จักนำเอาต้น “พรมมิ” ไปใช้เป็นยาเพื่อช่วยฟื้นฟูความจำและบำรุงสมอง ลดอาการขี้หลงขี้ลืมได้ผลดีมากกว่า ๓ พันปีแล้ว

ปัจจุบัน “พรมมิ” มีต้นรุ่นใหม่ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า มีต้น หนานเฉาเหว่ย สมุนไพรแก้อาการปวดเข่าขายด้วย ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – ศุกร์ที่ ๓/๔/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/91879013718830_36_3609_3636_3650_3588_3619_36.jpg)
    นิโครธ
ก่อนหน้าที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ในวันวิสาขะ เพ็ญเดือน ๖ ตอนเช้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สรงน้ำในแม่นํ้าเนรัญชราแล้วกลับขึ้นไปประทับใต้ต้นไทร ระหว่างนั้นนางสุชาดา ได้นำข้าวมธุปายาสใส่ถาดทองคำถวายเพื่อแก้บน เพราะคิดว่าเป็นเทวดา ซึ่งพระองค์ได้ถือถาดข้าวมธุปายาสไปยังท่าน้ำและเสวยจนหมด ก่อนลอยถาดทองคำจมลงก้นแม่น้ำ ในตอนเย็นวันเดียวกันพระองค์ได้ย้ายไปประทับใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ระหว่างทางได้รับหญ้าจากคนหาบหญ้าชื่อโสตถิยะถวาย ๘ กำมือปูต่างบัลลังก์ เสด็จนั่งขัดสมาธิ หันพระพักตร์ไปทิศตะวันออก แล้วอธิษฐานจะไม่ลุกขึ้นถ้ายังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ และในตอนใกล้รุ่งคืนนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสรู้เสวยวิมุตติสุขใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ และเรียกที่แห่งนี้ว่า “อนิมิสเจดีย์” จากนั้นได้ประทับต่อที่ต้นไทร ซึ่งเป็นที่พักของคนเลี้ยงแพะ นั่งเสวยวิมุตติสุข ๗ วัน เรียกที่ดังกล่าวว่า “อัชปาลนิโครธ” และได้เสด็จประทับต่อที่ใต้ต้นจิก ต้นมุจลินท์ และ ต้นเกด เป็นต้นสุดท้าย เรียกว่า “ราชายตนะ”

นิโครธ หรือ FICUS BENGHA LENSIS LINN. ชื่อสามัญ BANYAN TREE อยู่ในวงศ์ MORACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๒๐-๓๐ เมตร ทุกส่วนมียางสีขาว ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด สีขาวนวล “ผล” กลมโตเท่าปลายนิ้วก้อยมือผู้ใหญ่ ผลสุกสีแดงกินได้ ดอกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ในภาษาสันสกฤตเรียกต้น “นิโครธ” ว่า บันฮัน ชาวฮินดูเรียกว่า บาร์กาด สำหรับคำว่า “อัชปาล–นิโครธ” หมายถึงที่พำนักของคนเลี้ยงแพะ พจนานุกรมไทย “นิโครธ” แปลว่าต้นไทร เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้ท้องเดิน ชงน้ำร้อนดื่มลดน้ำตาลในเลือด เมล็ด เป็นยาบำรุง มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเอง ถือเป็นไม้มงคลต้นหนึ่งเหมาะจะปลูกตามวัดวา อาราม ตามสถานที่ราชการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ครับ.
  ไทยรัฐ – ศุกร์ที่ ๑๗/๔/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/79072869362102_37_3627_3617_3656_3629_3609_36.jpg)
    หม่อนไต้หวันพันธุ์ใหม่
หม่อนชนิดนี้ มีต้นขาย มีภาพถ่ายผลจริงโชว์ให้ชมด้วย ผู้ขายบอกว่าเป็น “หม่อนไต้หวันพันธุ์ใหม่” และเป็นคนละพันธุ์กับหม่อนไต้หวันที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว ซึ่งหม่อนดังกล่าวเป็นพันธุ์ที่เกษตรกรชาวไต้หวันได้พัฒนาพันธุ์ขึ้นมาใหม่และถูกนำเข้ามาปลูกขยายพันธุ์ในประเทศไทยหลายปีแล้วในชื่อไทยว่า “หม่อนไต้หวันพันธุ์ใหม่” มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ขนาดของผลจะอ้วนยาวกว่าผลของหม่อนพันธุ์ไทยอย่างชัดเจน รสชาติผลสุกหวานหอมรับประทานอร่อยมาก ที่สำคัญ “หม่อนไต้หวันพันธุ์ใหม่” ติดผลดกเต็มต้นโดยธรรมชาติของสายพันธุ์และติดผลได้เรื่อยแบบไม่ขาดต้น จึงทำให้ปลูกแล้วคุ้มค่ามาก

หม่อนไต้หวันพันธุ์ใหม่ มีชื่อวิทยาศาสตร์และลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับหม่อนทั่วไปคือ MORUS ALBA LINN. อยู่ในวงศ์ MORACEAE  เป็นไม้พุ่ม สูง ๒.๕-๓ เมตร ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปรีกว้าง ปลายแหลม โคนมนและเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ยอดอ่อนสีเขียว ผิวใบสากและคาย ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด เป็นดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกเป็นสีขาวหม่น “ผล” เป็นผลรวมรูปทรงกระบอก ผลย่อยสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีแดงและสีดำอมม่วงตามลำดับ เมื่อผลแก่และสุก รสชาติผลสุกหวานหอมรับประทานอร่อยมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง ยอดอ่อนใส่ต้มจืดหรือแกงแทนผงชูรส เลี้ยงตัวไหม เลี้ยงปลาดุก ทำใบชาหม่อน ผลทำแยม หมักทำไวน์ ใบแก่ตากแห้งมวนสูบแก้ริดสีดวงจมูก ต้มน้ำดื่มแก้ไอ ระงับประสาทดีมาก  มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – อังคารที่ ๒๑/๔/๕๘


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/26498223717013_40_3648_3611_3621_3639_3629_35.jpg)
    "เปลือกแตงโม–รากหญ้าคา" แก้ไตพิการเริ่มเป็น
ถ้าตรวจพบว่า มีอาการไตพิการที่เริ่มเป็นใหม่ๆ ยังไม่ถึงขั้นรุนแรงทางสมุนไพรมีวิธีรักษาได้โดย ให้เอา “เปลือกแตงโม” ตากแห้ง ๔๐ กรัม กับ “รากหญ้าคา” สด (หายากหน่อย) ๖๐ กรัม ต้มกับน้ำรวมกันจนเดือด ใส่น้ำเยอะหน่อย แบ่งดื่ม ๓ เวลา เช้า กลางวัน เย็น ครั้งละ ๑ แก้ว ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ต้มดื่มทุกวันเรื่อยๆ อาการที่เป็นจะค่อยๆดีขึ้น และหายได้ เมื่อหายแล้วต้มดื่มบ้างหยุดบ้างไม่มีอันตรายอะไร

แตงโม หรือ CITRULLUS VULGARIS SCHARD อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE รากปรุงเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ใบสดบดเคล้ากับน้ำอ้อยแดง หมักทิ้งไว้ ๑ อาทิตย์แล้วผสมน้ำใส่ขวดวางล่อผีเสื้อและแมลง “หญ้าคา” หรือ IMPERATA CYLINDRICA อยู่ในวงศ์ GRAMINEAE รากต้มดื่มขับปัสสาวะ ฟอกล้างปัสสาวะพิการ แก้พิษอักเสบในกระเพาะปัสสาวะ บำรุงไต แก้ดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร
  นสพ.ไทยรัฐ – ๑๐/๓/๕๗


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/26466015560759_41_3585_3619_3637_3609_3616_36.jpg)
    กรีนภารตะ
กรีนภารตะ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ถูกนำเข้ามาปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในประเทศไทยนานแล้ว มีลักษณะ เป็นไม้พุ่ม สูง ๑-๑.๕ เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายและโคนใบแหลม สีเขียวสด ดอก ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ใกล้ปลายยอดและที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนหลายดอก มีกลีบดอก ๕ กลีบ ปลายกลีบแหลม สีเหลืองสด ใจกลางดอกมีเกสรตัวผู้โผล่พ้นกลีบดอก เป็นสีเหลืองอ่อน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามอร่ามตามาก ดอกออกได้เรื่อยๆ เกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำกิ่งและตอนกิ่ง

ประโยชน์ทางยา ผู้นำต้น “กรีนภาระตะ” เข้ามาปลูก มีรายละเอียดแจกให้และระบุว่า ไม้ต้นนี้เป็นยาดีพื้นบ้านที่ชาวอินเดียนิยมใช้รับประทานมาแต่โบราณแล้ว โดย ใบสด มีรสขมปนเผ็ดเล็กน้อย เด็ดเคี้ยวกินสดๆ ครั้งละ ๑ ใบ ก่อนอาหาร ๓ เวลา เป็นยาช่วยป้องกันและบำบัดโรคมะเร็งทุกชนิดได้ โดยเฉพาะสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม หรือคนที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิต และอีกหลายโรคได้ ใครที่มีอาการมาก ในรายละเอียดแจ้งว่าให้กินใบสด เพิ่มจำนวนเป็น ๗-๘ ใบ กินต่อวันตามวิธีที่กล่าวข้างต้น จะช่วยให้อาการที่เป็นค่อยๆ ดีขึ้นหรืออาจหายได้ในที่สุด

ปัจจุบันมีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผง หน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – อังคารที่ ๖/๑/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/33862748079829_42_3649_3617_3588_3609_3633_36.jpg)
    แมคนัท
ไม้ต้นนี้ มีต้นขายพร้อมมีภาพถ่ายของผลจากต้นจริงโชว์ให้ชมด้วย ผู้ขายบอกได้เพียงว่าชื่อ “แมคนัท” รายละเอียดอย่างอื่นไม่รู้ ซึ่งจากคำอธิบายของผู้ขายว่าผลสุกกินได้ทั้งเปลือกเลย รสชาติมันหวานอร่อยมาก เลยไม่แน่ใจว่าเป็นสายพันธุ์หนึ่งของแมคคาเดเมีย ราชาถั่วเปลือกแข็งหรือไม่ และแมคคาเดเมียดังกล่าวมีถิ่นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลียมีด้วยกัน ๑๐ สายพันธุ์ สายพันธุ์ที่กินได้มี ๒ ชนิด ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานมากแล้ว ส่วนใหญ่มีปลูกเฉพาะโครงการใหญ่ๆทางภาคเหนือของไทย เป็นพืชเศรษฐกิจขายกิโลกรัมถึง ๓๕๐ บาทขึ้นไป โดยปกติแล้วแมคคาเดเมียเป็นพืชที่จะให้ผลผลิตระยะยาว แต่มีการพัฒนาพันธุ์ให้ติดผลได้เร็วขึ้นหลัง ๒-๓ ปี ซึ่ง “แมคนัท” ที่วางขายผู้ขายบอกว่าปลูกได้ทุกพื้นที่ในกรุงเทพฯ ปลูกแล้วให้ผลผลิตชุดแรก ๒ ปีเท่านั้น จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นแมคคาเดเมียพันธุ์หนึ่ง

แมคนัท เป็นไม้พุ่มสูง ๒.๕-๓ เมตร ใบเดี่ยว ออกสลับรูปรีกว้าง ปลายแหลม โคนมน สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กเป็นกระจุกหลายดอก ดอกเป็นสีเหลืองสวยงามมาก “ผล” กลมรี ผลโตเต็มที่ประมาณผลมะกอก ผลสุกเป็นสีเหลืองอมส้ม ผู้ขายบอกว่าล้างน้ำให้สะอาดกินได้ทั้งเปลือกเลย เพราะเปลือกไม่แข็ง รสชาติมันหวานเหมือนกินถั่วอร่อยมาก มีดอกและติดผลทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ส่วนใหญ่ นิยมปลูกเป็นทั้งไม้ประดับชมสีสันของดอกและสีสันของผลหรือปลูกเก็บผลกินได้ด้วย  มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเอง

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/67678785158528_13_3588_3609_3607_3637_3626_36.jpg)
    คนทีสอ
ไม้ต้นนี้ มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียจนถึงประเทศออสเตรเลีย มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะว่า VITEX TRIFOLIA LINN. ชื่อสามัญ INDIAN PRIVET, INDIAN WILD PEPER, TREE–LEAVED CHASTE TREE เป็นไม้พุ่ม สูง ๑-๔ เมตร ลำต้นและกิ่งอ่อนโน้มลงเพื่อหาที่อาศัยพาดพิง ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ รูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลม โคนมน หน้าใบสีเขียว ท้องใบสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อยาว ๖-๑๐ ซม. กลีบเลี้ยงรูปถ้วย กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น ๒ ส่วน ส่วนบน ๒ กลีบ ส่วนล่าง ๓ กลีบ เป็นสีฟ้าอมม่วง มีเกสรตัวผู้ ๔ อัน เวลามีดอกน่าชมมาก “ผล” รูปทรงกลม มีเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกเยอะ คือ ดินสอ, คนทีสอขาว, คนตีสอ, โคนดินสอ, ดอกสมุทร, สีเสื้อน้อย, ทีสอ,ผีเสื้อ, ผีเสื้อน้อย, มูดเพิ่ง และ สีสอ

สรรพคุณทางสมุนไพร ใบเป็นยาขับเสมหะ บำรุงธาตุ ใบแช่น้ำอาบแก้โรคผิวหนังผื่นคันตามตัว ใบแห้งหั่นมวนสูบแก้ริดสีดวงจมูก ใบสดเคี้ยวอมตอนตื่นก่อนล้างหน้าทุกวัน จะทำให้ฟันแน่นและทนดี บางจังหวัดใช้ใบแก้ปวดตามข้อ ปวดตามกล้ามเนื้อ สารสำคัญจากใบสกัดให้น้ำมันหอมระเหยประกอบด้วย PINENE, CAMPHENE ฯลฯ รากรักษาโรคตับ ถ่ายน้ำเหลือง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะผลแก้หืดไอ มองคร่อ (อาการไอชนิดหนึ่ง) แก้ริดสีดวงทวาร เมล็ด เป็นยาเจริญอาหาร

ปัจจุบัน “คนทีสอ” มีต้นขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเป็นพืชสมุนไพรประจำบ้านเพื่อใช้ประโยชน์ตามสรรพคุณที่กล่าวข้างต้น คุ้มค่ามากครับ  
  นสพ.ไทยรัฐ – ศุกร์ที่ ๑/๕/๕๘


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQOHK6bu5ojih4baxxevMggpZJcnZsSZ0n3M4jk3Oh8wHx7oXtf2w)
     โคกกระออม  สรรพคุณเยอะ
โคกกระออม” มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ BALLOON VINE, HEART PEA หรือ CARDIOSPERMUM HALICACABUM  LINN  อยู่ในวงศ์  SAPINDACEAE เป็นไม้เลื้อยล้มลุกขึ้นตามที่รกร้างข้างทางทั่วไป ใบเป็นหยักๆ ดอกสีเหลือง “ผล” สีเขียวพองลมเป็นสัน ๓ สัน  เมล็ดกลมสีดำ  นิยมปลูกเฉพาะตามสวนยาจีนและสวนสมุนไพรเท่านั้น ไม่มีต้นขายที่ไหน

สรรพคุณทางยา ใบต้มดื่มแก้หืด ต้นหรือเถาแก้ไอ ดอกขับโลหิต ผลดับพิษไฟลวกน้ำคั้นรากสดหยอดตาแก้ตาต้อ กากพอกแก้พิษแมลงพิษงู แพทย์จีนใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่มขับน้ำนมทำให้เกิดน้ำนม ระบายท้อง แก้โรคไขข้ออักเสบ สารสกัดใบทดลองกับหนูขาวสามารถลดความดันโลหิตและยับยั้งการอักเสบได้ มีชื่ออีกคือโพออม, ลูบเล็บเครือ และวิวี่



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/66523344856169_EyWwB5WU57MYnKOuFHRX0PscDEWtQq.jpg)
     เลือดมังกร สรรพคุณดี
ไม้ต้นนี้พบมีต้นขาย โดยผู้ขายได้แจกเอกสารระบุรายละเอียดของต้น “เลือดมังกร” ว่า มีแหล่งที่พบในป่าดงดิบของอเมซอน ประเทศเปรู พร้อมบรรยายสรรพคุณต่อว่า ยาง ที่ได้จากต้นเป็นยาดี ช่วยสมานแผลให้หายได้อย่างรวดเร็วเหลือเชื่อ และนอกจากนั้นในเอกสารยังบอกต่อว่า ยาง ดังกล่าวสามารถนำไปใช้รักษาช่วยในการฟื้นฟูสภาพของผิวได้อีกด้วย จึงทำให้ชาวเปรูยกย่องไม้ต้นนี้ให้เป็น ต้นไม้มหัศจรรย์ หรือ “เดอะ เมจิค ทรี”
 
ในอดีต ชาวอินคาหรือชาวพื้นเมืองเปรู ได้รู้จักวิธีนำเอายางของต้น “เลือดมังกร” ไปใช้ประโยชน์เพื่อสมานแผลและฟื้นฟูผิวพรรณมายาวนาน ตั้งแต่ ค.ศ๑๔๐๐ แล้ว และการเรียนรู้ของการใช้ประโยชน์ของต้น “เลือดมังกร” ดังกล่าว ยังสืบทอดจากบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกรุ่นหลานเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน แต่ในเอกสารที่แจกไม่ได้บอกวิธีว่าทำอย่างไร
 
ส่วนที่มาของชื่อ เนื่องจากลำต้นกิ่งก้านใช้มีดคมๆ กรีด จะมีน้ำยางสีแดงคล้ายสีของเลือดไหลออกมาจำนวนมาก จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะดังกล่าวว่าต้น “เลือดมังกร”
 
อย่างไรก็ตาม จากการค้นข้อมูลของต้น “เลือดมังกร” ทราบชื่อวิทยาศาสตร์ว่า DRACAENA DRACO (L.) L. อยู่ในวงศ์ DRACAENACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับ ปาล์ม หรือ จันทน์ผา มีด้วยกัน ๓ ชนิดคือ ต้นใหญ่ ใบแข็ง กับ ต้นรองลงมา และ ต้นขนาดเล็ก ส่วนที่วางขายเป็นไม้พุ่ม สูง ๑-๑.๕ เมตร ใบออกตรงกันข้ามรูปรี ปลายแหลม โคนกว้างมน ผู้ขายบอกว่าใบขยี้จะเป็นสีแดงเหมือนสีเลือด ดอก และผลเป็นอย่างไรในเอกสารไม่ได้ระบุไว้เช่นกัน รวมทั้งวิธีขยายพันธุ์ด้วย
 
ใครต้องการต้นไปปลูกติดต่อ “คุณวิเชียร บุญเกิด”  หมู่ ๑ ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ราคาสอบถามกันเองครับ.
  ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 พฤษภาคม 2558 10:45:15
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/59660871947805_EyWwB5WU57MYnKOvj1kX0VNtKLC2S0.jpg)
     "อินจันพันธุ์ศรีสุภา" ทาบกิ่ง เตี้ยติดผลเร็ว
ปกติ ต้นอินจันเป็นไม้ยืนต้นสูง  ๑๐-๒๐  เมตร ต้องใช้เวลาปลูก ๘-๑๐ ปี จึงจะมีดอกและผล ปัจจุบัน มีการพัฒนาพันธุ์ด้วยการทาบกิ่งทำให้สามารถมีดอกและติดผลเร็วขึ้น หลังปลูก ๒-๓ ปี เท่านั้น และที่สำคัญขนาดของต้นจะเตี้ยไม่สูงใหญ่ เหมือนสายพันธุ์ดั้งเดิมที่เกิดจากการเพาะเมล็ดและ จะติดผลดกตลอดทั้งปี ปลูกเลี้ยงในกระถางมีดอกติดผลได้อีกด้วย จึงถูกตั้งชื่อว่า “อินจันพันธุ์ศรีสุภา”

อินจันพันธุ์ศรีสุภา หรือ DIOSPYROS DECANDRA LOUR.  อยู่ในวงศ์  EBENACEAE เป็นไม้ต้น สูง ๓-๕ เมตร ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ปลายแหลม โคนมน แผ่นใบหนา ดอก เป็นแบบแยกเพศ ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อตามซอกใบ ๑๐-๑๕ ดอก สีขาวนวล ดอกตัวเมียออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามซอกใบ มีลักษณะเหมือนกับดอกตัวผู้ทุกประการ แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า “ผล” มี ๒ แบบ คือ รูปทรงกลมแป้นไม่มีเมล็ดเรียกว่า “ลูกจัน” หรือ จัน ผลทรงกลมไม่แป้นคล้ายผลส้มเขียวหวานมีเมล็ดเรียกว่า “ลูกอิน” หรือ อิน ผลสุกสีเหลืองสด มีกลิ่นหอมแรง รสหวานหอมอร่อยมาก คนเป็นโรคกระสับ กระส่ายนอนไม่หลับกินผลสุก “ลูกจัน” หายได้ ผลสุกใส่พานบูชาพระส่งกลิ่นหอมดีนัก ซึ่งต้น “อินจันพันธุ์ศรีสุภา” ขยายพันธุ์ด้วยการทาบกิ่ง

สรรพคุณยา เนื้อไม้รสขมปนหวานต้มน้ำดื่มบำรุงประสาท ทำให้เนื้อหนังสดชื่น แก้ไข้แก้อาการปอดตับพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับพยาธิ
ไทยรัฐ ศุกร์ที่ ๒๖/๔/๕๖


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22698548891478_EyWwB5WU57MYnKOuFUBh1ECm0ejdmf.jpg)    
     "ยางน่องเครือ" ดอกสวยยางเป็นสื่อส่งพิษ
ยางน่องเครือ หรือ STROPHANTUS CAUDATUS LINN.KURZ. ชื่อพ้อง STRO-PHANTUS SCANDENS (LOUR) ROEM SCHULT. อยู่ในวงศ์ APOCYNACEAE เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งพาดพันต้นไม้อื่นได้ไกลมากกว่า ๑๒ เมตร ทั้งต้นมียางสีขาว ซึ่งยางดังกล่าวมีพิษ ดอกออกเป็นช่อ ๒-๓ ดอก ที่ปลายกิ่ง ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายบานแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ ปลายกลีบแหลม และที่บริเวณปลายกลีบดอกจะมีระยางสีแดงอมม่วงติดเป็นสายยาว กลีบดอกเป็นสีขาวอมชมพูนิดๆ เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกัน จะดูคล้ายรูปมงกุฎสวยงามยิ่งนัก “ผล” เป็นฝักคู่ รูปทรงกระบอก เมื่อผลแก่จะเป็นสีนํ้าตาลและแตกอ้า เมล็ดสีนํ้าตาล มีปีกเป็นปุยสีขาวติดที่ปลายเมล็ดด้านหนึ่ง เมื่อถูกลมพัดจะปลิวไปตามลม และสามารถแตกเป็นต้นขึ้นมาเองได้ตามธรรมชาติ
 
อีกชนิดหนึ่ง คือ “ยางน่องต้น” หรือ STROPHANTUS DICHOTOMUS ANTIARIUTOXICARIALESCH เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๒ เมตร ดอกเป็นสีขาว “ผล” คล้ายฝักกระถิน เมล็ดมีขนาดใหญ่กว่าเมล็ดข้าวโพดเล็กน้อย ลำต้นมียางสีขาวเหมือนกับ “ยางน่องเครือ” ซึ่ง นํ้ายาง จากต้น ยางน่องทั้ง ๒ ชนิด เฉพาะตัวเพียงอย่างเดียว จะมีพิษไม่ร้ายแรงมากนัก แต่จะเป็นอันตรายอย่างมากเมื่อนำเอาพิษชนิดอื่นมาผสมกับยางน่อง เพราะยางน่องจะทำหน้าที่เป็นตัวส่งพิษที่ผสมให้วิ่งเข้าสู่เส้นเลือดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ที่ถูกพิษหรือสัตว์ที่ถูกลูกดอกอาบยาพิษ ที่ผสมยางน่องยิงเข้าใส่หมดสติ หรือตายในเวลาไม่กี่วินาที ซึ่งในยุคสมัยก่อนชาวเขาและนักล่าสัตว์ป่า นิยมเอายาพิษผสมกับยางน่องทาลูกดอกหรือหน้าไม้ เพื่อยิงสัตว์อย่างแพร่หลาย ในปัจจุบันชาวเขาและนักล่าสัตว์พื้นบ้านบางพื้นที่ยังใช้วิธีนี้อยู่
 
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ยางน่อง ทั้ง ๒ ชนิด จะมีดอกรูปทรงและสีสันงดงาม แต่ ยางน่อง ก็มีพิษเฉพาะตัวและยังเป็นสื่อส่งพิษชนิดอื่นที่ผสมกับยางน่อง เข้าสู่เส้นเลือดรวดเร็ว จึงแนะนำเป็นความรู้ครับ.
 ไทยรัฐ ศุกร์ที่ ๑๘/๔/๕๗


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSa3-26iFOksXfbXxM8SY6tORKNgQD-hoem1Bxzu0A4jmLR2KtV_A)  
     "กำลังกระบือ"
กำลังกระบือเป็นไม้พุ่ม สูง ๑.๕ ม. มียางขาว ใบเดี่ยว มีทั้งเรียงตรงข้ามและเรียงสลับ กว้าง ๑.๕-๔ ซม. ยาว ๔-๑๒ ซม. ปลายแหลม โคนสอบ ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีม่วงแดงหรือม่วงน้ำตาล เส้นแขนงใบข้างละ ๗-๑๒ เส้น ก้านใบยาว ๐.๕-๑.๕ ซม. ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกตามง่ามใบ ข้างใบ หรือปลายยอด ยาว ๑-๒ ซม. ช่อดอกเพศผู้มีดอกเล็ก ๆ จำนวนมาก โคนก้านดอกมีใบประดับเล็กๆ ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยง ๓ กลีบ  เกสรเพศผู้เล็ก มี ๓ อัน ช่อดอกเพศเมียสั้นกว่าช่อดอกเพศผู้และมีดอกเล็กๆ ๓-๖ ดอก ก้านดอกยาว ๒-๕ มม. โคนก้านดอกมีใบประดับ และมีต่อมเล็กๆ สีเหลือง กลีบเลี้ยงเล็ก มี ๓ กลีบ รูปไข่ รังไข่เล็ก สีเขียวอมชมพู มี ๓ ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี ๓ อัน ผลเล็ก ค่อนข้างกลม มี ๓ พู ในทางการแพทย์แผนไทยจะนำใบมาใช้ประโยชน์ในการขับน้ำคาวปลาสตรีหลังคลอดบุตร คนไทยยุคก่อนใช้เป็นยาขับเลือดสำหรับสตรีในเรือนไฟ ยางจากต้นมีฤทธิ์เป็นพิษคนโบราณนิยมนำมาใช้เบื่อปลาโดยการนำไปผสมน้ำในแหล่งน้ำที่จะจับปลาฤทธิ์ของยางที่ผสมน้ำจะทำให้ปลามีอาการเมาขาดออกซิเจนลอยขึ้นมาเหนือน้ำทำให้สามารถจับได้สะดวก ปัจจุบันไม่ได้รับการสนับสนุนให้ทำด้วยเป็นผลต่อปลาตัวเล็กซึ่งจะตายทำให้แหล่งน้ำนั้น ๆ ไม่มีสัตว์น้ำในเวลาต่อมา เพราะตายหมด.  ไทยรัฐ อังคารที่ ๒๐/๘/๕๖


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSPQY4N8bWT5ckKYutPnu0WNKVjMkYRZ2YNE9M40zEgN2p8uka2UA)  
     "ทองพันชั่ง" แก้กลากเกลื้อนเชื้อรา
คนทำงานกลางแจ้งและเด็กนักเรียนระดับประถมและมัธยมต้นเป็นกลากเกลื้อนกันเยอะ  สาเหตุมาจากความอับชื้นของเสื้อผ้าที่สวมใส่ ซึ่งในทางสมุนไพรมีวิธีรักษาได้คือให้เอา ราก ต้น “ทองพันชั่ง” สดหรือแห้งจำนวนตามต้องการทุบพอบุบหรือป่นเป็นผงห่อผ้าขาวแช่เหล้าขาว ๒๘ หรือ ๔๐ ดีกรีก็ได้ ทิ้งไว้ ๑ อาทิตย์กรองเอาเฉพาะน้ำทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ หลังอาบน้ำจะหายได้ ใบผสมยาเขียวกินเป็นยาดับพิษไข้ ทั้งต้นต้มเอาน้ำซักผ้าทำให้ผ้ามีกลิ่นหอม ใบบำบัดโรคผิวหนังได้ดีเช่นกัน รากและใบมีสาร RHINACANTHIN และ OXYMETHYLANTHRA-QUINONE
 
ทองพันชั่ง หรือ RHINACANTHUS  NASUTUS (LINN.) KURZ อยู่ในวงศ์ ACANTHACEAE เป็นไม้พุ่มสูง ๑-๑.๕ เมตร ถิ่นกำเนิด อินเดีย มาเลเซีย และ มาดากัสการ์ มีต้นขายและปลูกทั่วไป
 ไทยรัฐ  ๒๒/๗/๕๖


(http://3.bp.blogspot.com/-2lTNr0N_rqE/TthjbZDL8yI/AAAAAAAAKiA/ECF1qn4tv14/s1600/IMG_5404.jpg)
     "พิกุล"
พิกุลเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ ๘-๑๕ ม. เรือนยอดแน่นทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีรอยแตกระแหงตามแนวยาว ใบเป็นใบเดี่ยว เกิดเรียงกันแบบสลับ ลักษณะใบมนเป็นรูปไข่หรือรูปไข่แกมหอก มีขนาดกว้าง ๒-๕ ซม. ยาว ๕-๑๐ ซม. โคนใบสอบมอน ปลายใบเรียวหรือหยักเป็นติ่ง ดอกเกิดเป็นกระจุกตามง่ามใบและตามยอด มีสีขาวปนเหลือง กลีบรองดอกมี ๘ กลีบ เรียงเป็น ๒ วงๆ ละ ๘ แฉก ดอกบานมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลรูปไข่กลมถึงรี ภายในมีเมล็ดเดียว การแพทย์แผนไทยจะใช้ดอกสดเข้ายาหอม ทำเครื่องสำอาง แก้ท้องเสีย ดอกแห้งใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ปวดหัว เจ็บคอ ขับเสมหะ ผลสุก รับประทานแก้ปวดศีรษะและแก้โรคในลำคอและปาก เปลือก ทำยาอมกลั้วคอ ล้างปาก แก้เหงือกบวม รำมะนาด เมล็ดนำมาตำแล้วใส่ทวารเด็กแก้โรคท้องผูก ใบใช้ฆ่าพยาธิ แก่นที่รากใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ขับลม ส่วนกระพี้ใช้แก้เกลื้อน  เดลินิวส์ อังคารที่ ๒๗/๘/๕๖


(https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/webcontest2003/100team/dlss020/pic461216/71-99kb/pb/pb521.jpg)
     "เป้งทะเล"
เป้งทะเลเป็นไม้จำพวกปาล์ม มีลำต้นรูปทรงกระบอก สูง ๔-๑๐ เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง ๕-๙ ซม. ขึ้นเป็นกอมีใบหนาแน่นเป็นกลุ่ม ส่วนบนของลำต้นมีก้านใบมีหนามติดอยู่ และมีกาบสีเทาหุ้ม  มีใบมากค่อนข้างสั้น ขนาด ๐.๔๕ x ๑.๕ เมตร ใบโค้งสีเขียวเป็นมัน หรือสีเขียวอมเหลือง ท้องใบสีเทาคล้ายควัน โคนใบมีเส้นใย เป็นกาบหุ้มลำต้น ใบย่อยเล็กแคบยาว ขอบพับเข้า ค่อนข้างแข็งและตรง ปลายใบห้อยลง ตามก้านใบด้านล่าง มีหนามเรียวยาว แหลมและแข็ง ดอกเป็นดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกตั้งตรง ออกที่ง่ามใบ  มีกาบขนาดใหญ่ ๑ อัน หุ้ม แต่กาบนี้จะหลุดไปในไม่ช้า ก้านช่อดอกยาว ๖๐ ซม. ประกอบด้วยกลุ่มของช่อดอกย่อย ซึ่งเป็นช่อเชิงลดเรียวตรงจำนวนมากเรียงทำมุมแคบกับแกนหลักไปทางปลายช่อผล  เป็นผลสด อ่อนนุ่ม รูปไข่ ขนาด ๐.๘-๑ x ๑.๔-๑.๕ ซม. ผลแก่มีสีส้ม มีผนังชั้นในบาง คล้ายกระดาษ มีเมล็ดเดียว ต้นและใบมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง และก้านใบมีหนามแหลม สรรพคุณทางสมุนไพรหัวต้มน้ำดื่มแก้เสียดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ต้นอ่อนหรือยอดนำมาต้ม หรือคั่วผสมน้ำดื่มแก้ลม.   เดลินิวส์ พุธที่ ๒๒/๕/๕๖


(http://www.saiyathai.com/herb/PIC/791000_1.jpg)
     "สมอดีงู"
สมอดีงูเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาแผ่ออกกว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาลแกมเทา เรียบ สูงประมาณ ๒๐-๓๐ เมตร ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ใบเป็นรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่ออยู่ตรงง่ามใบ และส่วนยอดของต้น ที่โคนของดอกย่อยจะเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกออกเป็นรูปถ้วยตื้นๆ ผลเป็นรูปมนรี ผิวเกลี้ยง มีสันอยู่ ๕ สัน เมื่อผลแห้งจะทำให้มองเห็นสันได้ชัด ในทางการแพทย์แผนไทยจะใช้ผลซึ่งมีรสขมและฝาด แก้พิษดี พิษโลหิต แก้ไอ ขับโลหิตระดู ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะและโลหิต ถ่ายอุจจาระธาตุ ระบายแรงกว่าสมอชนิดอื่น ๆ.  เดลินิวส์ เสาร์ที่ ๑๐/๘/๕๖


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ9AHfLyVMw8MSsBcwvfIoJxUgndeWjbvQ7dnNlqKWlowmQKTjLgQ)
     "ขลู่"
ขลู่เป็นไม้พุ่มสูง ๐.๕-๒ เมตร ยอดและใบอ่อนมีขนอ่อนอยู่ทั่วไปใบติดตามข้อสลับกัน ก้านใบสั้น ใบรูปไข่หัวกลับ ขอบใบหยักและมีขนาดกว้างประมาณ ๑-๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๒-๙ เซนติเมตร ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย สีขาวอมม่วงขนาดเล็ก ขลู่เป็นพืชที่ชอบขึ้นตามธารน้ำโดยเฉพาะที่น้ำเค็มขึ้นถึง พบทั่วไปในเขตร้อน เช่น ประเทศอินเดีย จีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย เป็นต้น เป็นพืชที่ปลูกง่าย โดยใช้กิ่งแก่ปักชำ ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ใบขลู่ประกอบด้วยสารประเภทเกลือแร่ เช่น โซเดียมคลอไรด์ สารโปแตสเซียม มีสรรพคุณและการนำไปใช้เป็นยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน ใช้เป็นยารักษาอาการขัดเบา.  เดลินิวส์ ศุกร์ที่ ๒๘/๖/๕๖


(http://www.samunpri.com/ThisHerbs/wp-content/uploads/2011/09/ดีปลี.jpg)
     "ดีปลี"
ดีปลีเป็นพืชเดียวกับชะพลูและพลูมีน้ำมันหอมระเหยนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องเทศส่วนประกอบของอาหาร ชอบพื้นที่ที่มีฝนตกชุก มีความชื้นสูง เติบโตได้ดีในทุกภาค ของประเทศไทย ผลอ่อนนิยมรับประทานเป็นผัก ผลสุกนำมาตากแห้งใช้ประกอบเครื่องแกงคั่ว แกงเผ็ด เพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ในอาหารมีรากออกตามข้อสำหรับเกาะ และเลื้อยพัน เถาค่อนข้างเหนียวและแข็งมีข้อนูน แตกกิ่งก้านมาก ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนานปลายใบแหลมโคนใบมนใบเป็นมัน

ดอกออกเป็นช่อตรงข้ามกัน ลักษณะเป็นแท่ง ปลายเรียวมน ผลเล็กกลมฝังตัวกับช่อดอกผลอ่อนสีเขียวรสเผ็ดเมื่อสุกเป็นสีแดง ผลสุกมีน้ำมันหอมระเหย การวิจัยของสถาบันการแพทย์แผนไทยพบว่ามีฤทธิ์ฆ่าแมลงด้วงงวงและด้วงถั่ว คนไทยเมื่อครั้งอดีตนิยมนำลำต้นหรือเถาซึ่งมีรสเผ็ดร้อนใช้แก้ปวดฟัน จุกเสียดแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยเจริญอาหาร ดอกรสเผ็ดร้อนขม ใช้แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้หืดหอบแก้ลมวิงเวียนปรุงเป็นยาธาตุ แก้ตับพิการ รากมีรสเผ็ดร้อนขม จะใช้แก้หืดหอบ แก้ลมวิงเวียน แก้เสมหะ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ แก้เส้นอัมพฤกษ์ อัมพาต ดอกแก่ต้มน้ำดื่มแก้ท้องอืดท้องเฟ้อและช่วยให้หายวิงเวียน เป็นต้น.
  เดลินิวส์ พุธที่ ๔/๙/๕๖

(http://www.สาระเร็ว.com/wp-content/uploads/2016/02/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B9-300x225.jpg)
     "กานพลู"
กานพลู เป็นไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ แล้วกระจายพันธุ์ปลูกในเขตร้อนไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วยที่ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ตั้งแต่โบราณแล้ว โดย “กานพลู” มีชื่อเฉพาะคือ CLOVE TREE, EUGENIA CARYOPHYLLUS BULLOCK– HARRISON อยู่ในวงศ์ MYRTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นรูปกรวยคว่ำ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามรูปรีหรือรูปใบหอก ขอบเป็นคลื่น ปลายและโคนใบแหลม ใบอ่อนเป็นสีแดงหรือน้ำตาลแดง เนื้อใบค่อนข้างเหนียว สีเขียวสดเป็นมัน ใบขยี้ดมจะได้กลิ่นหอมคล้ายกลิ่นยา
 
ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกร่วงง่าย กลีบเลี้ยงและฐานรองดอกเป็นสีแดง หนาแข็ง “ผล” รูปไข่ เมื่อผลแก่จัดเป็นสีแดง มี 1 เมล็ด ดอกออกได้เรื่อยๆ เกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
 
ดอกตูมแห้ง เป็นยาแก้ปวดฟัน โดยใช้ดอกแช่กับเหล้าขาวจนตัวยาออกแล้วใช้สำลีชุบน้ำอุดรูฟันที่ปวดหายได้ หรือจะ ใช้ดอก 5–8 ดอก ชงน้ำเดือดดื่มเฉพาะน้ำหรือใช้ดอกเคี้ยวได้เลย แก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืด เฟ้อ ดอกยังใช้ผสมในยาอมบ้วนปากเพื่อดับกลิ่นปากได้ น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นจากดอก มีสาร EUGENOL มีฤทธิ์เป็นยาชา เฉพาะที่ จึงใช้แก้ปวดฟัน มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องลดลง ช่วยขับน้ำดี ลดอาการจุกเสียดที่เกิดจากการย่อยไม่สมบูรณ์ สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด เช่น เชื้อโรคไทฟอยด์ บิดชนิดไม่มีตัว เชื้อหนอง เป็นต้น ยังกระตุ้นให้มีการหลั่งเมือกและลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารดีมาก
 
ปัจจุบัน “กานพลู” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 กับโครงการ 19 ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้นได้คุ้มค่ามากครับ.



(http://student.nu.ac.th/54315100/web/images/mai/15.jpg)
     "ข่าลิง"
ข่าลิงเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เนื้อในสีขาว ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ มีขนประปรายที่ขอบใบและ ริมขอบ เส้นกลางใบด้านล่างสองข้างเป็นแนวยาว กาบใบเรียงซ้อนกันแน่น ดอกขาวแกมเหลืองแดง กลีบดอกโคนเชื่อมเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น ๓ กลีบ เกสรเพศผู้ ส่วนที่เป็นกลีบอยู่บนกลีบดอก เหนือหลอดกลีบดอกนูนสีแดง โคนกลีบแยก ๒ หยัก รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก สีแดง ก้านเกสรโค้งเล็กน้อย มีขนประปราย อับเรณูสีครีม เกสรเพศเมีย ก้านเกสรยาว สีขาว ผล รูปกลม ผลแก่สีส้มถึงแดง ปลายผลมักมีกลีบแห้งติดอยู่
 
ทางการแพทย์แผนไทยจะใช้เหง้าและราก แก้ประดง รักษากามโรค เกลื้อน พิษฝี ปวดท้อง ผายลม ขับลมในลำไส้ เหง้าสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น จะได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ ๐.๑๗
 เดลินิวส์ เสาร์ที่ ๑๔/๙/๕๖

(http://farm4.static.flickr.com/3553/3470536756_8ec6ce0971.jpg?v=0)
     "กะเร่กะร่อนปากเป็ด"
กะเร่กะร่อนปากเป็ด เป็นกล้วยไม้ประเภทอิงอาศัยขนาดใหญ่ เจริญทางด้านข้างขึ้นเป็นกอแน่น เกาะตามลำต้นของต้นไม้ใหญ่ ใบเป็นแถบยาวเนื้อใบหน้าและแข็ง ทดแล้งได้ดี ปลายใบมน โคนใบซ้อนกันแน่น รากมีจำนวนมากและอยู่รวมกันเป็นกระจุก เพื่อยึดเกาะต้นไม้ และเป็นรากอากาศ ดอกออกเป็นช่อโปร่งแบบกระจะ ห้อยย้อยลง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปขอบขนาน ปลายกลีบมีแถบสีม่วงแดงรูปคล้ายเกือกม้า ส่วนกลีบอื่นๆ สีเหลืองเข้ม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม พบในภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในประเทศไทยพบทางภาคกลางและภาคใต้ ตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้งป่าโปร่ง โดยเกาะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ คนไทยเมื่อครั้งอดีตจะนำใบสดของกะเร่กะร่อนปากเป็ดมาใช้ประโยชน์ในการรักษาอาการหูเป็นน้ำหนวก   เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ ๒๖/๙/๕๖

(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/119225.jpg)
     "ไพลดำ"
ไพลดำ เป็นไม้จำพวกเหง้า ลำต้นและเหง้าเหมือนไพลทุกอย่าง เนื้อในหัวสีม่วง กลิ่นฉุน กาบใบและก้านใบสีเข้มออกดำ โคนต้นมีกาบใบสีแดงคล้ำหุ้มอยู่ ลำต้นสูง ใบยาวปลายเรียวแหลมไม่มีขน สีของใบเขียวจัด เส้นกลางใบเห็นเป็นร่องชัดเจน
 
ดอกมีลักษณะเป็นช่อแบบกระจะ สีเหลืองนวล กระเปาะดอกสีเหลืองมีประ และขีดเป็นสีม่วง ปลายทู่ มีดอกเดียวต่อกาบ กาบหุ้มดอก หรือใบประดับที่เรียงซ้อนทับกันแข็ง และหนาสีแดงโดดเด่น ใช้เป็นยาแก้ช้ำบวม โดยล้างหัวให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาวกรองเอาน้ำ กินก่อนอาหาร ๓ เวลา ครั้งละ ๓ ช้อนโต๊ะ เป็นยาอายุวัฒนะ โดยเอามาตากแดดให้แห้งบดให้เป็นผงผสมกับกระชายดำ, กระชายแดง, เพชรน้อย ซึ่งบดแล้วเหมือนกัน ตวงเท่าๆ กัน ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอน กิน ๓ เวลาก่อนอาหารครั้งละ ๑ เม็ดเป็นยาแก้แผลในกระเพาะ อาการปวดท้องบ่อ ๆ น้ำย่อยไม่ปกติและโรคลำไส้ต่างๆ.
 เดลินิวส์ เสาร์ที่ ๑๒/๑/๕๖


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13504245877265_EyWwB5WU57MYnKOuFqWxlzlGkKuts5.jpg)
     "ชิงชี่" สรรพคุณดี
ไม้ต้นนี้ พบขึ้นตามป่าดิบหรือป่าผลัดใบในทุกพื้นที่ของเอเชีย มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ CAPPARIS MICRACANTHA DC. อยู่ในวงศ์ CAPPARACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ต้นสูงได้ถึง ๖ เมตร กิ่งก้านมักคดไปมา ลำต้นมีหนาม ใบเป็น ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน รูปรีหรือรูปไข่ ปลายมนเกือบแหลม หรือเว้าเล็กน้อยแล้วเป็นติ่ง โคนใบมนหรือค่อนข้างเว้า เนื้อใบหนา ผิวใบเป็นมัน สีเขียวสด
 
ดอก ออกเรียงเป็นแถว ๑-๗ ดอก ตามซอกใบบริเวณใกล้ปลายยอด มีกลีบดอก ๔ กลีบ เป็นรูปขอบขนาน ๒ กลีบ เชื่อมติดกันที่ตอนโคน อีก ๒ กลีบแยกเป็นอิสระกัน มีขนทั้งสองด้าน ดอกเป็นสีขาวแกมเหลือง เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒-๓ ซม. มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านชูรังไข่ยาว ๑.๕-๓ ซม. ทำให้ดูคล้ายตัวแมลงกำลังบินเกาะที่กิ่งของต้นสวยงามมาก “ผล” ค่อนข้างกลม แข็ง เมล็ดเป็นรูปไต มีจำนวนมาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนเมษายนต่อเนื่องไปจนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
 
มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นในประเทศไทยอีกคือ กระดาดขาว, กระโรกใหญ่, จิงโจ้, พญาจอมปลวก, แสมซอ (ภาคกลาง) กระดาดป่า (ชลบุรี) ค้อนฆ้อง (สระบุรี) ชายชู้, หมากมก (ชัยภูมิ) ซิซอ, พวงมะละกอ, เม็งซอ (ปัตตานี) ราม (สงขลา) แส้ม้าทะลาย (เชียงราย) และ หนวดแมวแดง (เชียงใหม่)  ประโยชน์ รากสด กะจำนวนพอประมาณต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ โรคกระเพาะอาหาร ขับลม ขับปัสสาวะ รากและใบสด จำนวนเท่ากันกะจำนวนที่ต้องการจะใช้ตำพอกแก้ฟกช้ำ บวม ใบสด ต้มน้ำอาบเป็นยารักษาโรคผิวหนัง เมล็ดสดคั่วให้สุกกินแก้ไอได้
 
ปัจจุบันต้น “ชิงชี่” หาซื้อได้ยากมาก เนื่องจากไม่มีผู้ขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ เหมือน ๔-๕ ปีก่อน ดังนั้น ใครที่ต้องการต้นจึงต้องเดินสอบถามและสั่งผู้ขายให้หาให้อาจจะได้ครับ.
  ไทยรัฐ พุธที่ ๒๕/๓/๕๘


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTkFFnyvNUtNFF10lqXGTm3kfjtDnNDeic0K0k5Poz1RPQFnQDrXA)
     มะกิ้ง
มะกิ้งเป็นพืชอาหาร ขึ้นตามป่าบนที่สูง ปีนป่ายบนต้นไม้ ผลกลมสีเขียวดูเหมือนแตงโม แต่ผ่าดูเนื้อผลพบเมล็ดขนาดใหญ่หลายเมล็ด เปลือกแข็ง พืชชนิดนี้ไม่ค่อยมีใครรู้จักเว้นแต่คนบนดอย ในประเทศจีนพบที่เขตปกครองตนเอง สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน

มะกิ้งเป็นพืชเถาอยู่ในวงศ์แตง ซึ่งมีเมล็ดขนาดใหญ่สีเหลืองฟาง มีน้ำมันถึง ๕๐-๖๐% รับประทานหรือใช้ประกอบอาหารได้ เมล็ดนำไปเผาไฟให้สุกรับประทานมีรสหวานมัน เนื้อในเมล็ดสีขาวรสมัน มีปริมาณน้ำมันและโปรตีนสูง นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร เมื่อนำไปปิ้งจะมีรสชาติดีคล้ายกับเนื้อหมู จึงมีชื่อเรียกว่า pork fat nut

สรรพคุณทางยา เนื้อผลใช้ลดการติดเชื้อแบคทีเรีย น้ำมันจากผลใช้เป็นส่วนประกอบทางยาและใช้ชโลมผิวหนังสำหรับหญิงหลังคลอดบุตร ในเวียดนาม มีรายงานว่าเนื้อในเมล็ดและน้ำมันจากเนื้อในเมล็ดใช้ทดแทนถั่วลิสงได้ ใบมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อเฉพาะที่ ใช้รักษาบิด ลดไข้ ถอนพิษ
   ข่าวสด

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcStfwY-jsgn4cm9ee_D8BVKJ2OURfMnjoKfrguzqAn_ux006xR7Pw)
     ส้มแขก ปรุงอาหารหอมอร่อย
ส้มแขก เป็นไม้ที่นิยมปลูกเฉพาะถิ่นทางภาคใต้มาแต่โบราณ เพื่อเก็บผลสดหรือแห้งปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงส้ม แกงไตปลา นำเอาผลสดผ่าเป็นชิ้นบางๆ ขนาดเล็ก เอาเยื่อและเมล็ดทิ้ง นำเฉพาะเนื้อไปตากแดดให้แห้งแล้วเก็บไว้ได้นานเป็นปีๆ เรียกว่าส้มแขกแห้ง เวลาต้องการใช้ก็นำเอาเนื้อแห้งดังกล่าวใส่ลงไปในแกงหรือต้มเนื้อ ต้มปลา โดยกะความเปรี้ยวตามใจชอบ จะทำให้น้ำแกงมีความเปรี้ยวและหอมส่งกลิ่นชวนรับประทานอย่างชัดเจน ปัจจุบันมีผู้นิยมนำเอาผลสดหรือแห้งของ “ส้มแขก” ไปปรุงอาหารอย่างกว้างขวาง ไม่เฉพาะทางภาคใต้อย่างเดียวอีกแล้ว เนื่องจากมีวางขายตามตลาดสดทั่วไป ใบอ่อนจากต้น “ส้มแขก” ยังใช้รองปลานึ่งทำให้มีกลิ่นหอมรับประทานอร่อยอีกด้วย

ส้มแขก หรือ GARCINIA ATROVI-RIDIS GRIF อยู่ในวงศ์ GUTTIFERAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๒๐-๒๕ เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปรีแกมขอบขนานหรือรูปใบหอก ขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลม สีเขียวสด เป็นมันคล้ายใบมังคุด เวลาใบดกให้ร่มเงาดีมาก

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยเป็นกลุ่มหลายดอก ลักษณะดอกเหมือนกับดอกมังคุด เวลามีดอกดกจะสวยงามน่าชมยิ่งนัก “ผล” รูปกลมแป้นเหมือนกับผลฟักทอง มีพูแบ่งตามยาว ๕ พู ผลอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม เนื้อในเป็นสีส้มเช่นเดียวกัน และมีน้ำเยอะ รสเปรี้ยวจัดมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แค่ได้กลิ่นจะทำให้น้ำลายสอได้ ภายในมีเมล็ด ปรุงอาหารจะได้รสเปรี้ยวหอมไม่แพ้การปรุงด้วยมะขามเปียก ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑  ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้นคุ้มค่ามากครับ.
   ไทยรัฐ

sp.4


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 พฤษภาคม 2558 12:01:45
.

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTPQYs27qT57IdXCnm4_hA8pm69GrumfLF5rnRbR_J6qLfySD2eWw)
     กล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้า เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ ๓.๕ เมตร ลำต้นสั้นอยู่ใต้ดิน กาบเรียงเวียนซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม สีเขียวอ่อน ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง ๒๕-๔๐ ซม. ยาว ๑-๒ เมตร ปลายใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านล่างมีนวลสีขาว เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดห้อยลง เรียกว่า หัวปลี มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้มสีแดงเข้ม เมื่อบานจะม้วนงอขึ้น ด้านนอกมีนวล ด้านในเกลี้ยง ผล รูปรี ยาว ๑๑-๑๓ ซม. ผิวเรียบ ปลายเป็นจุก เนื้อในมีสีขาว พอสุกเปลือกผลเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน รับประทานได้ หวีหนึ่งมี ๑๐-๑๖ ผล บางครั้งมีเมล็ด เมล็ดกลม สีดำ

ในทางสมุนไพรไทยใช้ราก  แก้ขัดเบา ต้น ใช้ห้ามเลือด แก้โรคไส้เลื่อน ใบ ใช้รักษาแผลสุนัขกัด ห้ามเลือด ยางจากใบ ใช้ห้ามเลือด สมานแผล ผล ใช้ รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวง กล้วยน้ำว้าดิบ  มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ และอาหารไม่ย่อย กล้วยน้ำว้าสุกงอม ใช้เป็นอาหาร ยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด หัวปลี ใช้ขับน้ำนม.



(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/175537.jpg)
     กล้วยหอมแคระ     เป็นกอติดเครือสวย
กล้วยหอมแคระ จัดอยู่ในกลุ่ม เป็นพันธุ์ที่ได้กลายพันธุ์จากกล้วยป่ามาแล้ว และอยู่ในกลุ่มย่อย DWARF CAVENDISH ใกล้เคียงกับกล้วยหอมค่อม

มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นเทียมสูง ๑-๑.๕ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ ๑๘-๒๕ ซม. กาบลำต้นด้านนอกมีปื้นสีดำทั่ว ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง เส้นกลางใบเป็นสีเขียว เนื้อใบค่อนข้างหนาและแผ่กว้าง ใบดกและหนาแน่นมาก

ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับปลีเป็นรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนเป็นสีแดงอมม่วง มีนวลขาว ด้านล่างสีแดงซีด เนื้อใบประดับหนาและเหนียว เมื่อติดเป็นเครือจะมี ๘-๑๐ หวี หนึ่งหวีมีผลย่อย ๑๔-๑๘ ผล รูปทรงของผลจะคล้ายผลของกล้วยไข่มากกว่ารูปทรงของกล้วยหอมทั่วไป แต่ขนาดของผลจะใหญ่และยาวกว่ากล้วยไข่อย่างชัดเจน ผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อในเป็นสีเหลืองนวลอมส้ม รสชาติหวานหอมคล้ายกล้วยหอมทั่วไป จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะต้นและรสชาติว่า “กล้วยหอมแคระ”

กล้วยหอมแคระ ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ—พฤหัสฯ  ตรงกันข้ามโครงการ ๑๕  ปลูกได้ในดินทั่วไป โดยเฉพาะ ถ้าปลูกลงดินจะแตกต้นเป็นกอ ๓-๔ ต้น ทำให้เวลาติดเครือพร้อมกันและเครือห้อยลงดูสวยงามแปลกตามาก หลังตัดเครือแล้วควรตัดต้นบริเวณโคนต้นด้วยจะทำให้ “กล้วยหอมแคระ” แตกต้นขึ้นมาใหม่ สามารถปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งโชว์เป็นไม้ประดับได้ และหากบำรุงปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอจะติดเครือได้เหมือนกับปลูกลงดิน ทำให้ดูงดงามสะดุดตาสะดุดใจผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบัน “กล้วยหอมแคระ” กำลังเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลาย.
  ไทยรัฐ
    

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/80257418379187_1.jpg)
     กล้วยไข่เกษตรศาสตร์ 2    หวีดกเนื้ออร่อย
กล้วยไข่ชนิดนี้ ได้รับการพัฒนาพันธุ์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีด้วยกันหลายเบอร์ และ “กล้วยไข่เกษตรศาสตร์ 2” หรือ เบอร์ ๒ จะมีลักษณะดีที่สุด คือ เวลาติด เครือจะยาวและใหญ่กว่าเครือของกล้วยไข่ทั่วไป ทำให้สามารถตัดเครือส่งออกขายได้ทุกหวี ที่สำคัญผลิตผลต่อหวีที่ติดกับเครือจะมีจำนวนหวีเพิ่มมากขึ้นกว่าหวีของกล้วยไข่สายพันธุ์ดั้งเดิมอย่างชัดเจน

ส่วน ลักษณะผลก็แตกต่างจากกล้วยไข่ทั่วไปด้วย คือ ผลจะอ้วนป้อม ปลายทู่หรือมน ผลยาวเพิ่มขึ้น เนื้อเมื่อสุกเป็นสีเหลือง เนื้อแน่นคล้ายเนื้อกล้วยหอม แต่ “กล้วยไข่เกษตรศาสตร์ ๒” จะไม่มีแกนกลาง รสชาติหวานประมาณ ๒๒-๒๓ องศาบริกซ์ การเรียงตัวของหวีที่ติดเครือ สวยงามมาก ผลในหวีไม่เกยกัน ทำให้กำลังเป็นที่นิยมปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานและปลูกเพื่อเก็บผลจำหน่ายสร้างรายได้อย่างแพร่หลายในเวลานี้

กล้วยไข่เกษตรศาสตร์ 2 จัดอยู่ในกลุ่มพันธุ์แท้ของกล้วยป่า หรือพันธุ์ที่ได้กลายพันธุ์ไปจากพันธุ์แท้ แต่ยังมีลักษณะของพันธุ์แท้อยู่มาก จัดในกลุ่มย่อยชื่อ SUCRIER ลำต้นเทียมสูง ๒.๕ เมตร ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ใบประดับปลีเป็นรูปไข่ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีซีด เครือหนึ่งมีประมาณ ๘-๑๐ หวี หวีหนึ่งมี ๑๔ ผล เป็นอย่างต่ำ ผลสุกเป็นสีเหลือง รสชาติหวานหอมอร่อยมาก ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ
 ไทยรัฐ
    

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/20277714108427_2.jpg)
     กล้วยหอมจำปา   หวานหอมอร่อย
กล้วยชนิดนี้ จัดเป็นพันธุ์ที่ได้กลายพันธุ์จากกล้วยป่ามาแล้ว อยู่ในกลุ่มย่อย GROS MICHEL มีลักษณะต้นเทียม หรือต้นสูง ๒.๕-๓.๕ เมตร กาบลำต้นด้านนอกมีปื้นดำเล็กน้อย ด้านในเป็นสีเขียวอ่อน กาบใบมีร่องค่อนข้างกว้าง มีครีบ เส้นกลางใบเป็นสีเขียว เนื้อใบหนาแข็งและมีนวล

ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับปลีรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนเป็นสีแดง อมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงซีด เครือจะมีความยาวมากกว่ากล้วยหอมทั่วไป สามารถติดหวีได้มากกว่า ๑๐ หวีขึ้นไป ๑ หวีมีผลไม่ต่ำกว่า ๑๒ ผล ทรงผลคล้ายกล้วยไข่ มีขนาดเท่ากล้วยไข่ เปลือกผลค่อนข้างบาง เมื่อผลสุกเปลือกผลและเนื้อในจะเป็นสีเหลืองไม่จัดนัก ทำให้แลดูคล้ายสีของดอกจำปา เลยถูกตั้งชื่อว่า “กล้วยหอมจำปา”  เนื้อสุกมีความหนึบ รสชาติหวานแบบกล้วยหอม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รับประทานอร่อยมาก ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ

ปัจจุบัน “กล้วยหอมจำปา” มีหน่อ หรือต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑  ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป วิธีปลูก ขุดหลุมลึก ๑ เมตร กว้างตามต้องการ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินเล็กน้อย จากนั้นนำหน่อหรือต้นลงปลูก กลบดินให้แน่น

ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนจะดีมาก เนื่องจากไม่ต้องคอยดูแลเรื่องรดน้ำ ปล่อยให้เทวดาเลี้ยง หากปลูกในช่วงฤดูแล้ง หรือปลูกในที่ดอน ให้น้ำบ้าง ๑-๒ วันครั้ง บำรุงปุ๋ยมูลสัตว์เล็กน้อยโรยรอบโคนต้นเดือนละครั้ง จะทำให้ต้นเจริญเติบโตเร็ว เมื่อถึงเวลาแตกปลีจะมีเครือยาว มีผลดกสมบูรณ์ รสชาติ หวานหอมอร่อยตามที่กล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อตัดเองเครือจากต้นแล้วควรตัดลำต้นทิ้งด้วย เพื่อให้แทงหน่อใหม่ขึ้นมาทดแทนต้นเก่าที่ให้ผลผลิตแล้ว จากนั้นก็รดน้ำดูแลบำรุงปุ๋ยแบบเดิม จะทำให้  “กล้วยหอมจำปา” แตกเครือใหม่ครับ.
 ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/44336744977368_3.jpg)
     กล้วยแดงเตี้ย   สีผลสวยเนื้อสุกอร่อย
โดยทั่วไปกล้วยแดงนิยม ปลูกอย่างแพร่หลายมาแต่โบราณแล้ว ส่วนใหญ่สายพันธุ์ดั้งเดิมจะมีลำต้นสูงอย่างน้อย ๓-๔ เมตร เหมือนความสูงของกล้วยทั่วไป ทำให้เวลามีเครือและหวีต้องใช้บันไดพาดลำต้นขึ้นไปตัดลงมา แต่ “กล้วยแดงเตี้ย” ที่เพิ่งจะพบมีหน่อหรือต้นวางขายในปัจจุบันและมีเครือแขวนโชว์ให้ชมด้วยนั้น ทีแรกที่เห็นคิดว่าเป็นกล้วยนาก แต่ผู้ขายบอกว่าเป็นกล้วยหอมชนิดหนึ่งเหมือนกล้วยแดงพันธุ์ดั้งเดิมทุกอย่าง จะแตกต่างกันที่ความสูงของลำต้นเท่านั้นคือ ลำต้นของ “กล้วยแดงเตี้ย” จะสูงเพียง ๒-๒.๕ เมตร ทำให้เวลาติดเครือและหวีสามารถตัดได้ง่าย ไม่ต้องใช้บันไดปีนให้เสียเวลา

กล้วยแดงเตี้ย อยู่ในวงศ์ MUSACEAE จัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นพันธุ์ที่ได้กลายพันธุ์จากกล้วยป่ามาแล้ว ลำต้นเทียมหรือลำต้นสูง ๒-๒.๕ เมตร ตามที่กล่าวข้างต้น เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า ๑๕ ซม. กาบลำต้นด้านนอกมีปื้นดำเล็กน้อย กาบด้านในสีเขียวอ่อนและมีเส้นเป็นสีชมพู ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้างและมีครีบสีเขียว

ก้านช่อดอก หรือ ก้านปลีมีขน ใบประดับปลีเป็นรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนเป็นสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงซีด เครือหนึ่งมี ๔-๖ หวี แต่ละหวี จะมีผลระหว่าง ๑๒-๑๖ ผล  ลักษณะผลมีรูปทรงเหมือนกล้วยหอมทั่วไป แต่จะสั้นกว่าเล็กน้อย ปลายผลมีจุกเห็นชัดเจน เปลือกผลค่อนข้างบาง  ที่แตกต่างจากกล้วยหอม ทั่วไปคือสีของเปลือกผลจะเป็นสีแดง หรือสีแดงอมม่วงคล้ายสีของกล้วยนากมาก จึงถูกตั้งชื่อว่า “กล้วยแดงเตี้ย” เนื้อผลเมื่อสุกเป็นสีเหลืองเข้มอมส้ม  รสชาติหวานปนเปรี้ยว  มีกลิ่นหอม ไม่เละ รับประทานอร่อยมาก  ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ ปลูกได้ในดินทั่วไป มีหน่อหรือต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร  ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑
 ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/75206110088361_4.jpg)
     กล้วยหอมกะเหรี่ยง   สุกเปลือกดำเนื้อไม่เสีย
กล้วยชนิดนี้ มีปลูกเฉพาะตามหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงที่มีพื้นที่ตามตะเข็บรอยต่อติดชายแดนไทยพม่าด้าน จ.กาญจนบุรี เป็นกล้วยพื้นเมืองชาวกะเหรี่ยงที่มีความเป็นพิเศษกว่ากล้วยหอมทั่วไปคือ รสชาติหวานหอมปนเปรี้ยวนิดๆ เนื้อสุกเหนียวหนึบอร่อยมาก ซึ่งชาวกะเหรี่ยงจะนำผลส่งตรงให้โรงแรมใหญ่ๆ ใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ขายให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางไปเที่ยวซื้อรับประทานราคาหวีเป็นร้อยบาทขึ้น ได้รับความนิยมรับประทานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากไม่หวานจัดถูกปากชาวต่างชาตินั่นเอง

กล้วยหอมกะเหรี่ยง มีเอกลักษณ์ประจำสายพันธุ์คือ แม้ผลจะสุกงอมจนเปลือกผลเป็นสีดำดูเหมือนว่าเนื้อในจะเน่าเสียกินไม่ได้ แต่เมื่อปอกเปลือกออกเนื้อในจะยังคงเหนียวหนึบรับประทานได้อร่อยเช่นเดียวกับผลสุกใหม่ๆทุกอย่าง แตกต่างจากกล้วยหอมทั่วไปที่เปลือกเป็นสีดำแล้วเนื้อในจะเน่าเสียกินไม่ได้เลย และที่สำคัญ อีกอย่างของ “กล้วยหอมกะเหรี่ยง” ได้แก่ จะกินผลสุกมากหรือหลายๆลูก จะไม่เกิดอาการแน่นหรือจุกบริเวณหน้าอกเหมือนกับ กินกล้วยหอมทั่วไปอย่างแน่นอน  จึงถือว่า เป็นกล้วยที่วิเศษจริงๆ

กล้วยหอมกะเหรี่ยง อยู่ในวงศ์ MUSACEAE เป็นพันธุ์ที่ได้กลายพันธุ์จากกล้วยป่ามาแล้ว ลำต้นเทียม สูง ๓.๕ เมตร ก้านช่อดอก หรือก้านปลีมีขน ใบประดับปลีรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วงมีนวล ด้านล่างสีแดงซีด เครือหนึ่งมี ๘-๑๐ หวี หนึ่งหวีมีผล ๑๔-๑๘ ผล ทรงผลกลมยาวไม่อวบอ้วนเหมือนผลกล้วยหอมทั่วไป ผลสุกเป็นสีเหลืองสวยงามมาก รสชาติหวานหอมปนเปรี้ยวอร่อยตามที่กล่าวข้างต้น สามารถเก็บได้นานส่งขายระยะทางไกลๆ ไม่เน่าเสียง่าย ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ  มีต้นหรือหน่อขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑...“นายเกษตร”
 ไทยรัฐ    

(http://1.bp.blogspot.com/-26IXbZK3Ygs/T9S7HSvRtiI/AAAAAAAAAII/yB8dt7pyPzs/s1600/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81.jpg)
     กล้วยนาก   สุกหอมเย็นหวานอร่อย
กล้วยนาก หรือ MUSA-ENSETE อยู่ในวงศ์ MUSACEAE จัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นพันธุ์ที่ได้กลายพันธุ์จากกล้วยป่ามาแล้ว ลำต้นเทียมสูง ๒.๕-๓.๕ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕ ซม.

กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนชมพูหรือแดง มีปื้นดำบ้าง ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านใบมีร่องกว้างสีชมพูปนแดง มีครีบ เส้นกลางใบสีชมพูปนแดง แผ่นใบสีเขียวปนสีแดงเรื่อๆ ทำให้ดูสวยงามมาก

ก้านช่อดอก หรือก้านเครือเป็นสีแดงมีขนใบประดับปลีหรือกาบหุ้มปลี เป็นรูปไข่ค่อนข้างยาว ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด เครือหนึ่งมี ๒-๓ หวี หวีหนึ่งมี ๖-๙ ผล ผลใหญ่เป็นสีเขียวอมม่วง เมื่อผลสุกเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วงสด หรือสีแดงอมม่วงเข้ม สวยงามน่าชมยิ่งนัก ก้านผลสั้น เนื้อในสุกเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเย็นเฉพาะตัว รสชาติหวานรับประทานอร่อยมาก ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ มีชื่อเรียกอีกคือ กล้วยกุ้ง, กล้วยกุ้งเขียว, กล้วยครั่ง, กล้วยแดง และกล้วยน้ำครั่ง

ปัจจุบัน "กล้วยนาก" มีหน่อขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือนหรือเก็บผลขายราคาดีคุ้มค่าครับ
 ไทยรัฐ
    
(http://www.monmai.com/media/2013/11/kloylebmeananga.jpg)
     "กล้วยเล็บมือนาง"  หวานหอมอร่อยราคาดี
กล้วยชนิดนี้ นิยมปลูกและนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายมาช้านานแล้ว โดยเฉพาะทางภาคใต้ เป็นกล้วยที่มีรสชาติหวานหอมอร่อยมาก ซึ่ง “กล้วยเล็บมือนาง” จัดเป็นพันธุ์แท้ของกล้วยป่า หรือพันธุ์ที่ได้กลายพันธุ์ไปจากพันธุ์แท้ แต่ยังมีลักษณะพันธุ์แท้อยู่มาก ลำต้นเทียมหรือลำต้นสูงไม่เกิน ๒.๕ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นน้อยกว่า ๑๕ ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีปื้นดำ ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านใบเป็นสีชมพูอมแดงเหมือนกัน ชูตั้งขึ้นมีร่องกลางใบกว้าง มีครีบ เส้นกลางใยเป็นสีชมพูอมแดง

ก้านช่อดอก หรือก้านเครือมีขน ใบประดับหรือกาบหุ้มปลีเป็นรูปไข่ค่อนข้างยาว ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านบนเป็นสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด เครือหนึ่งมี ๗-๘ หวี หวีหนึ่งมี ๑๐-๑๖ ผล ผลขนาดเล็ก กว้างประมาณ ๒-๒.๕ ซม. ยาว ๑๑-๑๒ ซม. รูปโค้งงอ ปลายผลเรียวยาว ก้านผลสั้น เปลือกผลหนา เมื่อผลสุกเป็นสีเหลืองทอง มีก้านเกสรตัวเมียติดอยู่ที่ปลายผล เนื้อสุกเป็นสีเหลือง รสชาติหวานหอมรับประทานอร่อยมาก ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ มีชื่อเรียกอีกคือ กล้วยข้าว, กล้วยเล็บมือ (สุราษฎร์ธานี) กล้วยทองดอกหมาก (พัทลุง) และ กล้วยหมาก (นครศรีธรรมราช)

ปัจจุบัน “กล้วยเล็บมือนาง” มีหน่อขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๕ กับบริเวณตรงกันข้ามกับธนาคารออมสิน และบริเวณโครงการ ๒๑  ราคาสอบถามกันเอง

ปลูกได้ในดินทั่วไป ขุดหลุมลึกประมาณครึ่งฟุต รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเล็กน้อย พร้อมโรยปูนขาวป้องกันเชื้อรา นำหน่อลงปลูกกลบดินให้แน่น ถ้าปลูกช่วงฤดูฝนไม่ต้องดูแลอะไรมากนัก หากเป็นฤดูแล้งรดน้ำพอชุ่ม ๒-๓ วัน/ครั้ง บำรุงปุ๋ยมูลสัตว์โรยรอบโคนต้นเดือนละครั้ง จะทำให้ต้นโตเร็วและติดเครือสมบูรณ์เก็บรับประทานหรือเก็บขายได้ราคาดีครับ..
 ไทยรัฐ
  
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/33689036344488_5.jpg)
     "กล้วยหักมุก"  มีสองชนิดเนื้ออร่อย
กล้วยหักมุก มีด้วยกัน ๒ ชนิด คือพันธุ์ที่มีเปลือกผลมีนวลสีขาว กับพันธุ์ที่ไม่มีนวลที่เปลือกผล ซึ่งชนิดที่เปลือกผลไม่มีนวลผิวผลจะมีขีดตามยาวเป็นสีดำหลายเส้น เรียกว่า แตกลายงา ชนิดนี้เนื้อสุกจะไม่ค่อยเหนียวหรือแน่น รสชาติเนื้อหวานปนเปรี้ยว แตกต่างจาก “กล้วยหักมุก” ชนิดที่เปลือกผลมีนวล ผิวผลจะดูสวยงามและเนื้อสุกจะเปรี้ยวแน่นกว่า รสชาติหวานปนเปรี้ยวเหมือนกันทั้ง ๒ ชนิด นิยมปลูกตามบ้านมาแต่โบราณแล้ว
 
ส่วนใหญ่จะปลูกเพื่อนำเอาผลสุกไปเผาหรือย่างไฟแบบทั้งเปลือกขายได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย ได้คุณค่าทางอาหารสูง รสชาติหวานหอมอร่อยชื่นใจยิ่งนัก เนื้อสุกยังแปรรูปเป็นกล้วยเชื่อมหรือฝานเป็นแว่นบางๆ ฉาบน้ำตาลเรียกว่า “กล้วยฉาบ” เนื้อเป็นสีเหลืองสวยงามกรอบอร่อยมาก ดีกว่าฉาบด้วยเนื้อสุกของกล้วยน้ำว้าอย่างชัดเจน จังหวัดเพชรบุรี เป็นแหล่งปลูก “กล้วยหักมุก” เชิงพาณิชย์มากที่สุดในประเทศไทย

กล้วยหักมุก จัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นพันธุ์ผสมที่มีลักษณะค่อนไปทางกล้วยตานี อยู่ในกลุ่มย่อย BLUEGOE ลำต้นเทียมสูง ๒.๕-๓.๕ เมตร ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบและมีครีบ เส้นกลางใบเป็นสีเขียวมีนวลด้านล่าง หน้าใบเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อใบค่อนข้างหนาและแข็ง
 
ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับหรือกาบปลี เป็นรูปไข่ค่อนข้างป้อม ม้วนงอ ขึ้น ปลายป้านเป็นสีแดงเข้มและมีนวลสีขาว เครือหนึ่งมีประมาณ ๗ หวี หวีหนึ่งมี ๑๐-๑๖ ผล ขนาดของผลกว้าง ๔-๕ ซม.ยาว ๑๑-๑๙ ซม. ก้านผลยาว ลักษณะผลคล้ายผลกล้วยน้ำว้า แต่ปลายผลจะลีบมากกว่าและจะมองเห็นเหลี่ยมได้ชัดเจนกว่าด้วย เปลือกผลหนา เนื้อสุกสีเหลืองหรือสีส้ม รสหวานปนเปรี้ยว ไม่มีเมล็ด บางผลอาจมีบ้างแต่น้อยมาก ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ ไม่นิยมรับประทานผลดิบ มีชื่อ เรียกอีกคือ กล้วยส้ม (ภาคเหนือ) มีหน่อขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาสอบถามกันเองครับ.
 ไทยรัฐ
    
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/85190137599905_6.jpg)
     "กล้วยป่า"  กล้วยป่าเป็นพืชไม้เนื้ออ่อน มีต้นเทียมสูงประมาณ ๓ เมตร กาบลำต้นมีความนวลเล็กน้อย ใบเดี่ยว  ก้านใบสีชมพูอมแดง ดอกออกเป็นช่อมีลักษณะเอนคล้ายงวง ตรงส่วนปลายเป็นปลี ติดผลตลอดปี ผลเป็นหวีเหมือนกล้วยทั่วไป เป็นผลเดี่ยว มีรูปทรงกลม ขอบขนาน โคนผลมน ปลายผลมีความสอบ โค้งงอเล็กน้อย ผลมีเนื้อบาง สีขาว รสชาติหวานภายในมีเมล็ดมากสีดำผนังหนาและแข็ง ใบใช้ห่อของต่าง ๆ โดยเฉพาะขนมไทย ผลอ่อนและหัวปลี ใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทานได้ จัดเป็นไม้เบิกนำที่ดีในการปลูกป่าพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม. ....นสพ.เดลินิวส์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86995401812924_7.jpg)
     "กล้วยหอมทอง"
กล้วยหอมมีสารน้ำตาลอยู่ 3 ชนิดคือ ซูโครส ฟรักโทสและกลูโคส มีเส้นใยอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย บางประเทศจะให้คนที่เป็นโรคซึมเศร้ากินกล้วยหอมทองเพื่อลดอาการ  เพราะในกล้วยหอมทองมีธาตุอาหารมีเกลือโพแทสเซียม เส้นใยในกล้วยหอมทองช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงานได้ดี คนไทยในบางพื้นที่จะใช้ประโยชน์จากกล้วยหอมทองในการแก้อาการเมาค้างโดยการนำกล้วยหอมมาปั่นผสมกับน้ำผึ้ง มารับประทาน ซึ่งจะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเส้นเลือดและทำให้กระเพาะอาหารอยู่ในสภาวะที่พร้อมทำงานได้เร็วขึ้น ....นสพ.เดลินิวส์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89719679123825_16_3585_3621_3657_3623_3618_36.jpg)
    กล้วยเทพรส
กล้วยชนิดนี้  มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีปลูกทุกภาคในบ้านเรา แต่ไม่แพร่หลาย เนื่องจากรสชาติจะหวานปนเปรี้ยวจึงทำให้นิยมนำเอาเนื้อสุกไปแปรรูปเป็นอาหารทั้งคาวและหวาน ไม่กว้างขวางนัก ปัจจุบัน “กล้วยเทพรส” ในบ้านเราหาซื้อหน่อพันธุ์ไปปลูกยากมาก จัดเป็นกล้วยชนิดเดียวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติได้ ในต่างประเทศมีการนำไปปลูกประปรายที่ประเทศมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ อยู่ในสกุล MUSA และ ENSETE อยู่ในวงศ์ MUSACEAE อยู่ในกลุ่ม ABBB ที่เป็นพันธุ์ผสมที่มีลักษณะค่อนไปทางกล้วยตานีที่ได้กลายพันธุ์แล้ว เป็นไม้ล้มลุก ทุกส่วนมียาง มีเหง้า แตกหน่อได้ ส่วนที่อยู่เหนือดินคล้ายลำต้นเป็นลำต้นเทียม หรือเรียกว่า “หยวก” เกิดจากกาบใบที่ยาวเรียงซ้อนกันอยู่และอัดกันแน่นซึ่ง “กล้วย เทพรส” มีลำต้นเทียมสูง ๓-๕.๔ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า ๑๕ ซม. กาบลำต้นด้านนอกมีปื้นดำบ้าง มีนวลบ้าง ด้านในสีเขียวอ่อน ก้านใบสีเขียวมีร่องแคบ ไม่มีครีบ แผ่นใบสีเขียว มีนวล เนื้อใบค่อนข้างหนา

ก้านช่อดอก เป็นสีเขียว ไม่มีขน ใบประดับ หรือที่นิยมเรียกกันว่ากาบปลี รูปร่างค่อนข้างป้อม ปลายมน ด้านบนสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงซีด บางต้นไม่มีปลีจึงทำให้มีชื่อเรียกอีกว่า “กล้วยปลีหาย” เครือหนึ่งมี ๕-๗ หวี หวีหนึ่งมีประมาณ ๑๑ ผล ลักษณะผลคล้ายกล้วยหักมุกมาก มีเหลี่ยมชัดเจน กว้าง ๖-๗ ซม. ยาว ๑๘-๒๐ ซม. ก้านผลยาว ผลดิบสีเขียวเมื่อสุกเป็นสีเหลือง เนื้อสุกสีเหลืองนวลหรืออมส้ม รสชาติหวานปนเปรี้ยว ส่วนใหญ่นิยมเอาผลสุกไปแปรรูปทำอาหารคาวหวานตามที่กล่าวข้างต้น หรือผลสุกย่างไฟทั้งเปลือกหอมรับประทานอร่อยมาก

ต้นที่ไม่มีปลี ตอนปลายเครือผลจะมีขนาดใหญ่กว่าผลที่อยู่โคนเครือและจะมีเพียง ๒-๓ หวีเท่านั้น แตกต่างจากกล้วยทั่วไปอย่างชัดเจนที่หวีส่วนปลายเครือผลจะเล็ก นอกจากชื่อที่กล่าวข้างต้นแล้วยังมีชื่อเรียกเฉพาะอีกคือ กล้วยทิพรส กล้วยสิ้นปลี และกล้วยสังกิโว ครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – พฤหัสบดีที่ ๑๒/๓/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/91928302827808_17_3585_3621_3657_3623_3618_36.jpg)
    กล้วยเล็บมือนาง
กล้วยชนิดนี้ นิยมปลูกและรับประทานเฉพาะถิ่นทางภาคใต้ของประเทศไทยมาแต่โบราณ ซึ่งในสมัยนั้นไม่แพร่หลายสู่พื้นที่อื่นหรือภาคอื่น จึงทำให้ “กล้วยเล็บมือนาง” กลายเป็นสัญลักษณ์ของคนใต้โดยปริยายเหมือนกับสะตอ หากพูดถึงกล้วยชนิดนี้ทุกคนจะนึกถึงคนใต้ทันที มีปลูกมากในพื้นที่ จ.ชุมพร ปัจจุบัน “กล้วยเล็บมือนาง” ได้กระจายพันธุ์ปลูกไป ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและนิยมรับประทานอย่างแพร่ หลาย เนื่องจากรสชาติหวานหอมอร่อยนั่นเอง

กล้วยเล็บมือนาง อยู่ในวงศ์ MUSACEAE อยู่ในกลุ่ม AA. เป็นพันธุ์แท้ของกล้วยป่าหรือพันธุ์ที่ได้กลายพันธุ์ไปจากพันธุ์แท้แต่ยังมีลักษณะพันธุ์แท้อยู่มาก ลำต้นเทียมสูง ๒-๕ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า ๑๕ ซม. กาบลำต้นด้านนอกเป็นสีชมพูแดง มีปื้นดำ ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านใบสีชมพูอมแดง ก้านชูขึ้น มีร่องกว้างและมีครีบ เส้นกลางใบสีชมพูอมแดง แผ่นใบค่อนข้างหนา หน้าใบสีเขียว หลังใบมีนวล

ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับ หรือที่นิยมเรียกว่ากาบหุ้มปลีเป็นรูปไข่ค่อนข้างยาว ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด เครือหนึ่งมี ๗-๘ หวี หนึ่งหวีมี ๑๐-๑๖ ผล ผลเล็ก กว้างประมาณ ๒-๒.๕ ซม. ยาว ๑๑-๑๒  ซม. รูปโค้งงอ ปลายผลเรียวยาว แต่ละผลเรียงกันเป็นระเบียบ ส่วนปลายผลจะมีเกสรตัวเมียติดอยู่ และปลายผลจะดูเหมือนเล็บมือสตรีน่าชมมาก จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะว่า “กล้วยเล็บมือนาง” ดังกล่าว ก้านผลสั้น เปลือกผลหนา ผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเช่นเดียวกัน รสชาติหวานหอมเฉพาะตัวรับประทานอร่อยยิ่งนัก ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ มีชื่อเรียกทางภาคใต้อีกคือ กล้วยข้าว, กล้วยเล็บมือ (สุราษฎร์ธานี) กล้วยทองดอกหมาก (พัทลุง) และ กล้วยหมาก (นครศรีธรรมราช)

มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ หลายแผงหลายเจ้า ราคาไม่เท่ากันต้องสอบถามกันเองครับ
  นสพ. ไทยรัฐ – พฤหัสบดีที่ ๑๙/๓/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/50076140132215_EyWwB5WU57MYnKOuFtJiCjTnZoW5K8.jpg)
    กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง เป็นกล้วยพันธุ์โบราณ นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายมาช้านานแล้ว แต่คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้จักนัก มีข้อแตกต่างจาก กล้วยน้ำว้าทั่วไปคือ ผลของกล้วยชนิดนี้จะมีนวลสีขาวจำนวนมากติดที่เปลือกผลตลอดทั้งผล โดยเฉพาะเวลาผลสุกจะเป็นสีเหลืองนวลคล้ายมีแป้งฉีดพ่น ติดเปลือกผลดูสวยงามน่าชมมาก จึงถูกตั้งชื่อว่า “กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง” และเรียกกันเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งความหมายก็คือ ขาวสดใสเอี่ยมอ่องนั่นเอง
 
ส่วนเนื้อในสุกเป็นสีส้ม ไส้มีขนาดเล็ก เหนียวนุ่ม รสชาติหวานจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รับประทานอร่อยมาก ในสมัยก่อนใครใช้ “กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง” ใส่บาตรหรือถวายพระจะถือว่าได้กุศลแรงที่สุด
 
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง หรือ MUSA SAPIENTUML อยู่ในวงศ์ MUSACEAE ลำต้นเทียมสูง ๓.๕ เมตร ใบประดับปลีค่อนข้างมน ปลาย ป้านม้วนงอขึ้น เป็นสีแดงอมม่วง มีนวลเยอะ เครือหนึ่งมี ๗-๑๐ หวี หวีหนึ่งมี ๑๐-๑๕ ผล รสชาติหวานชื่นใจตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ
 
กล้วยน้ำว้าทั่วไปแบ่งได้ ๓ ชนิด คือ กล้วยน้ำว้าเหลือง, กล้วยน้ำว้าแดง และ กล้วยน้ำว้าขาว แต่ละชนิดสังเกตได้จากสีของไส้เป็นหลัก เช่น สีชมพู, สีเหลือง และ สีขาว ตามลำดับ และอีกชนิดหนึ่ง ต้นเตี้ยมากสูงแค่ ๒.๕ เมตร เรียกว่า กล้วยน้ำว้าค่อม
 
ปัจจุบัน “กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง” มีหน่อหรือต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗  ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน เวลาติดเครือนอกจากสีผลจะดูสวยงามแล้ว รสชาติเนื้อในยังอร่อยชื่นใจมากครับ.
 นสพ. ไทยรัฐ – พุธที่ ๘/๔/๕๘
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/62412838099731_EyWwB5WU57MYnKOuXuU9xUO208sm64.jpg)
    กล้วยทองกำปั้น  คือกล้วยนมสาว
หลายคน อยากทราบว่า “กล้วยทองกำปั้น” เป็นอย่างไร เนื่องจากไปซื้อแล้วผู้ขายบอกว่าเป็นต้นเดียวกันกับกล้วยนมสาว ซึ่งความจริงแล้ว “กล้วยทองกำปั้น” เป็นชื่อรองของกล้วยนมสาวที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปนานแล้ว แต่ส่วนใหญ่คนนิยมเรียกกันจนติดปากว่ากล้วยนมสาว เลยทำให้คนทั่วไปสับสน จึงขอยืนยันว่าเป็นต้นเดียวกันอย่างแน่นอน

กล้วยทองกำปั้น หรือกล้วยนมสาว เป็นกล้วยโบราณที่นิยมปลูกเฉพาะถิ่นทางภาคใต้มาช้านาน มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับกล้วยทั่วไปทุกอย่าง ลำต้นเทียมสูง ๓-๕ เมตร กาบลำต้นเรียงซ้อนกันเป็นชั้นหลายชั้น ใจกลางลำต้นเรียกว่า “หยวก” รับประทานเป็นอาหารได้ ใบและก้านใบเหมือนกับกล้วยหอม ร่องตื้น เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวสด

ก้านช่อดอก ใหญ่และยาว ใบประดับปลีเป็นรูปรีและม้วนออก ปลายปลีแหลม หลังปลีเป็นสีม่วงอมแดงมีนวลขาว ด้านในปลีเป็นสีซีด ใน ๑ เครือ จะมีหวี ๗-๑๐ หวี ใน ๑ หวี จะมีผล ๑๐-๑๕ ผล รูปทรงของผลจะดูเป็นแบบผสมผสานกันระหว่างผลกล้วยหอมกับผลกล้วยไข่ เพียงแต่ผลจะไม่ยาวนักหรือสั้นกว่าผลกล้วยหอม แต่จะยาวกว่าผลของกล้วยไข่อย่างชัดเจน

ส่วนที่มาของชื่อ ผู้เฒ่าผู้แก่ทางภาคใต้สมัยก่อนมองรูปทรงของผลได้ลึกซึ้งมาก โดยเฉพาะในส่วนปลายของผลจะดูเหมือนหัวนมของสาวแรกรุ่น จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะดังกล่าวว่า กล้วยนมสาวและเรียกกันเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน ส่วนชื่อ “กล้วยทองกำปั้น” เป็นชื่อรองที่ไม่ค่อยนิยมเรียกตามที่กล่าวข้างต้น ผลดิบสีเขียว เมื่อสุก เป็นสีเหลือง เนื้อในเหนียวหนึบเป็นสีเหลืองทอง รสชาติหวานหอมหรือปนเปรี้ยมเล็กน้อย รับประทาน อร่อยมาก จัดเป็นของดีภาคใต้ชนิดหนึ่งที่มีขายเฉพาะถิ่นได้รับความนิยมรับประทานและซื้อเป็นของฝากอย่างกว้างขวาง สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ

ปัจจุบันมีต้น หรือหน่อขายทั่วไปที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาแต่ละแผงต่างกัน จึงต้องเดินสำรวจราคาก่อนตัดสินใจซื้อไปปลูกครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/26424966297215_EyWwB5WU57MYnKOuXobURSTpvqAdg7.jpg)
     กล้วยเทพนม  หวานหอมแปรรูปอร่อย
คนรุ่นใหม่ จำนวนไม่น้อยอยากทราบว่า “กล้วยเทพนม” เป็นอย่างไร ซึ่งบางกระแสบอกไม่ตรงกันคือ กล้วยดังกล่าวมีถิ่นกำเนิดจากต่างประเทศ ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว จนกลายเป็นกล้วยไทยไปโดยปริยาย แต่บอกไม่ถูกว่าถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจริงๆมาจากประเทศอะไร บางคนบอกว่า “กล้วยเทพนม” มีแหล่งที่พบทุกภาคของประเทศไทย หมายความว่าเป็นกล้วยของไทยแท้ๆ แต่ไม่มีใครยืนยันว่าอันไหนถูกหรือผิด เอาเป็นว่ารับฟังทั้ง ๒ ด้าน ไม่เสียหายอะไร

กล้วยเทพนม อยู่ในวงศ์ MUSACEAE เป็นพันธุ์ที่ได้กลายพันธุ์มาจากกล้วยตานีสมบูรณ์แล้ว มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คือ ลำต้นเทียมสูงประมาณ ๒.๕-๓.๕ เมตร กาบลำต้นด้านนอกมีปื้นเล็กน้อย หรือเกือบไม่มีเลย มีนวลสีขาวบางๆ ส่วนกาบด้านในเป็นสีชมพูหรือสีแดง ใบชูตั้งขึ้นหรือเฉียงเล็กน้อย ก้านใบไม่มีร่องเหมือนก้านกล้วยทั่วไป เนื้อใบหนา หน้าใบสีเขียว หลังใบมีนวลสีขาว ใบใช้ประโยชน์โดยเอาใบไปอังไฟพอนิ่มเช็ดให้สะอาดห่ออาหารสดมัดด้วยเชือกกาบกล้วยที่ฉีกเป็นเส้นๆดีมาก แต่ไม่นิยมห่อเพื่อปรุงอาหารให้สุกจะทำให้รสชาติของอาหารที่ห่อผิดเพี้ยนหรือกินไม่ได้เลย

ก้านช่อดอก มีขนอ่อนๆ กาบปลีค่อนข้างยาว ปลายแหลม หลังกาบปลีเป็นสีม่วงแดง มีนวลสีขาว ด้านในกาบปลีเป็นสีแดงซีด กาบปลีจะม้วนขึ้นอย่างชัดเจน ในหนึ่งเครือจะมี ๕-๗ หวี และในหนึ่งหวีจะมีผล ๑๕-๒๐ ผล ผลเป็นเหลี่ยมคล้ายกล้วยตานีหรือกล้วยหักมุก เปลือกผลหนาติดกันตลอดทั้งหวี และทั้งผลแถวบนแถวล่าง เป็นเปลือกแผ่นเดียวกัน มีร่องแบ่งผลเป็นตอนๆ หรือเป็นพู ทำให้ดูเหมือนมือกำลังพนมคว่ำปลายนิ้วลง จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะว่า “กล้วยเทพนม” เนื้อสุกสีขาวนวลปนเหลืองอ่อน ไส้กลางสีส้ม ไม่มีเมล็ด รสชาติหวานหอมคล้ายกล้วยหักมุก สมัยก่อนนิยมปลูกเพื่อกินผลสุก และแปรรูปทำกล้วยฉาบปิ้งไฟทั้งเปลือกเนื้อเหนียวนุ่มหวานหอมรับประทานได้คุณค่าทางโภชนาการเช่นกล้วยหักมุกทุกอย่างครับ.
 นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/38665921241044_EyWwB5WU57MYnKOuYBn0zT1tE9pHpu.jpg)
   fu.


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 พฤษภาคม 2558 12:09:46
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/38665921241044_EyWwB5WU57MYnKOuYBn0zT1tE9pHpu.jpg)
     กล้วยตีบ  กับสรรพคุณน่ารู้
กล้วยตีบ มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ MUSA ABB GROUP (TRIPLOID) EV. “TEEP” อยู่ในวงศ์ MUSACEAE เป็นกล้วยพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่พบขึ้นทั่วไปตามป่าธรรมชาติในทุกภาคของประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่มเป็นพันธุ์ผสมที่มีลักษณะค่อนไปในทางกล้วยตานี มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นเทียมตั้งตรง มีเหง้าใต้ดินสูง ๒-๓ เมตร ใบออกเรียงสลับเป็นกาบหุ้มเป็นลำต้นตั้งแต่โคนเหง้าถึงปลายยอด จึงเรียกว่า “ลำต้นเทียม” ดังกล่าว ก้านใบยาวประมาณ ๑-๑.๕ เมตร ร่องก้านใบตื้น ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้างประมาณ ๒๕-๓๕ ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ท้องใบมีนวลสีขาว หน้าใบเป็นสีเขียวสดเป็นมัน

ช่อดอก ออกที่บริเวณซอกใบใกล้ปลายยอด ใบประดับ หรือกาบปลีรูปรี ปลายแหลม โคนมน หลังกาบปลีเป็นสีม่วงมีนวลขาว หน้าใบเป็นสีม่วงแดงต่างกันอย่างชัดเจน ใน ๑ เครือ จะมีหวีประมาณ ๕-๖ หวี ใน ๑ หวีจะมีผลไม่มากนัก ๕-๖ ผล ผลรูปกลมรีมีเหลี่ยมสันดูคล้ายผลของกล้วยตานี แต่จะมีขนาดเล็กกว่า ภายในผลไม่มีเมล็ดแตกต่างจากกล้วยตานีจะมีเมล็ดจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ ส่วนใหญ่นิยมปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรเท่านั้น

โดยตำรายาโบราณระบุว่า ราก หรือ เหง้า อยู่ในพิกัด “ตรีอมฤต” นำไปต้มน้ำดื่ม เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้อุจจาระเป็นเลือดเป็นมูก ใบแห้ง ใช้มวนกับยาเส้นที่ผสมสมุนไพรอื่นสูบแก้ริดสีดวงจมูก ใบแห้ง ยังเอาไปต้มน้ำอาบเป็นยาแก้ผื่นคันตามตัวตามผิวหนังได้ด้วย ยาพื้นบ้านทางภาคเหนือเอาใบแห้งผสมสมุนไพรอื่น? ต้มน้ำดื่มแก้ซางปากเปื่อยได้ ราก หรือ เหง้า ผสมสมุนไพรอื่น? ต้มน้ำดื่มแก้ได้สารพัดโรค ใบสด ของ “กล้วยตีบ” ตำพอละเอียด ห่อผ้าขาวบางอังไฟอ่อนๆ เป็นลูกประคบแก้ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อได้ดีระดับหนึ่ง

ปัจจุบัน ไม่พบว่ามี “กล้วยตีบ” วางขายที่ไหน ใครต้องการต้นหรือหน่อไปปลูกต้องเสาะหากันเอง แนะนำให้รู้สรรพคุณทางสมุนไพรเท่านั้นครับ
  ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51277073845267_EyWwB5WU57MYnKOuXuWq3lCFiqFABY.jpg)
     กล้วยหิน อร่อยแปรรูปลูกคุ้ม
กล้วยหิน มีประวัติพบครั้งแรก เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๘ ในพื้นที่ ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา โดยจะขึ้นตามธรรมชาติทั่วไปในบริเวณที่เป็นหินกรวด เลาะตามแนวชายฝั่งของแม่น้ำปัตตานี ซึ่งในสภาพพื้นที่ดังกล่าว กล้วยสายพันธุ์อื่นขึ้นหรือเจริญเติบโตไม่ได้ ชาวบ้านในท้องถิ่นยุคนั้นเลยเรียกว่า “กล้วยหิน” เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ “กล้วยหิน” จะใกล้เคียงกับกล้วยน้ำว้าเกือบทุกอย่าง แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ลำต้นเทียมมีขนาดใหญ่ ก้านใบค่อนข้างสั้น ร่องใบเปิด ปลีรูปทรงป้อมดูเหมือนดอกบัวตูม ด้านนอกของใบประดับปลีสีเป็นสีม่วงแดง ด้านในเป็นสีแดง ใบประดับปลีไม่ม้วนงอ ใน ๑ เครือ จะมีหวี ๗-๑๐ หวี และใน ๑ หวีจะมีผล ๑๕-๒๐ ผล ลักษณะผลจะมี ๕ เหลี่ยมอย่างชัดเจน เปลือกผลหนาทำให้เก็บได้นานกว่ากล้วยน้ำว้าประมาณ ๑ อาทิตย์ เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเข้ม เหนียวไม่เละแม้สุกงอม รสชาติหวานมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ไม่มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ เป็นกล้วยที่นิยมปลูกกันแพร่หลายใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ คือ จ.ยะลา จ.ปัตตานี และ จ.นราธิวาส โดยเนื้อสุกของ “กล้วยหิน” จะนำไปแปรรูปเป็นกล้วยหินฉาบสมุนไพร กล้วยหินฉาบน้ำเชื่อม บรรจุถุงพลาสติกจำหน่วยได้ราคาดี รสชาติหวานมันกรอบอร่อยมากจนถูกจัดให้เป็นสินค้าแปรรูปพื้นเมืองขึ้นชื่อของ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานและซื้อเป็นของฝากอย่างกว้างขวาง

นอกจากประโยชน์ที่กล่าวข้างต้นแล้ว หยวกของ “กล้วยหิน” ยังใช้ปรุงอาหารได้ เช่น ทำแกงเนื้อ แกงไก่ และแกงหมู หรือต้มลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริกได้ หัวปลี ทำยำมันอร่อยไม่แพ้ยำหัวปลีของกล้วยน้ำว้า เนื้อสุกของ “กล้วยหิน” นำไปเลี้ยงนกปรอดกับนกกรงหัวจุก ทำให้นกมีอารมณ์ดีแข็งแรงและมีขนเป็นมันสวยงามอีกต่างหาก ปัจจุบัน “กล้วยหิน” ปลุกได้ทุกพื้นที่ มีต้นขายทั่วไป ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาสอบถามกันเองครับ.
  ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/33900024741887_EyWwB5WU57MYnKOuX7ETnuvPJaaZeS.jpg)
     กล้วยรุ่งอรุณ สวยแปลกกับที่มาชื่อ
กล้วยชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจากประเทศอินเดีย และประเทศอินโดนีเซีย ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยบ้านเรานานแล้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะว่า MUSA VELUTINA WENDL–DRUDE อยู่ในวงศ์ MUSACEAE เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน ลำต้นเทียมประกอบด้วยกาบใบที่เรียงตัวซ้อนกันหนาแน่น ทำให้ดูเหมือนกับเป็นลำต้นแท้ จึงเรียกว่า “ลำต้นเทียม” สูงเต็มที่ไม่เกิน ๑-๑.๕ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นเทียมหรือที่นิยมเรียกกันอีกว่า “ความอวบ” โตเต็มที่จะใหญ่กว่าลำแขนของผู้ใหญ่เล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นรูปขอบขนาน กว้าง ๑๕-๒๐ ซม. ยาว ๑ เมตร ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีอ่อนกว่า ร่องกลางใบเล็กและตื้น แต่ละต้นจะมีใบเพียง ๕-๗ ใบเท่านั้น

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด เรียกว่า “ปลี” เป็นสีชมพูอ่อน โคนปลีจะมีดอกเพศเมียสีเหลืองสด ส่วนปลายเป็นดอกเพศผู้สีขาว มีใบประดับหุ้มช่อดอกย่อยไว้เรียกว่า กาบปลี หรือใบประดับปลี กาบปลีด้านหน้าจะเป็นสีชมพูอ่อนดูสวยงามมาก เมื่อปลีแก่จัดปลายกาบปลีจะม้วนงอและทิ้งกาบปลีให้เหลือเพียงผลไว้ “ผล” เป็นกลุ่มหรือเป็นช่อไม่เป็นหวีเหมือนกล้วยทั่วไป ในหนึ่งช่อจะมีผลประมาณ ๑๐-๑๕ ผล เป็นรูปกลมรีและยาวป้อม กว้างประมาณ ๓ ซม. ยาวประมาณ ๙ ซม. มีขนละเอียดปกคลุมตลอดทั้งผล ผลสุกเป็นสีม่วงอมชมพูน่าชมมาก ภายในมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก เนื้อสุกเป็นสีเหลือง รสชาติเปรี้ยว จึงไม่นิยมรับประทานกัน ส่วนใหญ่จะปลูกประดับเพื่อชมความสวยงามเท่านั้น ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ด เหง้า หรือหน่อ

ส่วนที่มาชื่อ เนื่องมาจากสีของผลสุกเป็นสีชมพูอ่อนดูกคล้ายสีของดวงอาทิตย์ตอนเช้าตรู่ที่กำลังโผล่ขึ้นเหนือขอบฟ้าแล้วค่อยๆเคลื่อนตัวไปไต่ระดับสูงขึ้นเหนือฟ้าสวยงามมาก ผู้นำเข้าชาวไทยจึงตั้งชื่อว่า “กล้วยรุ่งอรุณ” ดังกล่าวกล้วยรุ่งอรุณ มีต้นวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯหลายแผงหลายเจ้า ราคาแต่ละแผงไม่เท่ากัน ต้องเดินสอบถามก่อนซื้อไปปลูกประดับครับ
   ไทยรัฐ


(http://puechkaset.com/wp-content/uploads/2014/12/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%94.jpg)
     "มังคุดพันธุ์เสียบยอด" เตี้ยดกติดผลเร็ว
โดยปกติมังคุดพันธุ์ดั้งเดิมลำต้นจะสูง ๑๐–๑๒ เมตร ใช้เวลาปลูกเพื่อให้มีดอกและติดผลนาน ประมาณ ๖ ปี แต่ “มังคุดพันธุ์เสียบยอด” เป็นการพัฒนาพันธุ์ขึ้นมาใหม่โดยฝีมือเกษตรกรมือดีด้วยวิธีขยายพันธุ์แบบเสียบยอดหลายทอด จนทำให้มี ลำต้นเตี้ยเพียง ๒-๓ เมตรอย่างถาวร ผู้ปลูกสามารถเก็บผลผลิตจากต้นได้ง่าย ที่สำคัญ ยังมีดอกและติดผลได้เร็ว หลังปลูกเพียง ๒-๓ ปีเท่านั้น ผลมีขนาดใหญ่กว่าผลมังคุดทั่วไปเล็กน้อย เปลือกผลค่อนข้างบาง เมล็ดลีบ เนื้อในเป็นสีขาว เนื้อเยอะ รสชาติหวานไม่เปรี้ยวรับประทานอร่อยมาก

ปัจจุบัน “มังคุดพันธุ์เสียบยอด” กำลังเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายทั่วไป โดยเฉพาะเกษตรกรผู้มีอาชีพปลูกมังคุดเก็บผลจำหน่าย

มังคุดพันธุ์เสียบยอด  มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับมังคุดทั่วไปคือ  MANGOSTEEN GARCINIA MANGOSTANA  LINN. อยู่ในวงศ์ GUTTIFERAE ประโยชน์ทางยา เปลือกผลแห้งมีสาร แทนนิล เป็นยาฝาดสมาน แก้โรคท้องร่วงท้องเสียเรื้อรังและโรคเกี่ยวกับลำไส้ สาร XANTHONE ในเปลือกมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิดหนอง โดยสามารถฆ่าเชื้อได้ทั้งสายพันธุ์ปกติและสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยา เพนนิซีลิน มีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังหลายชนิดและลดอาการอักเสบ มีการพัฒนา เป็นยาในรูปครีมผสมสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากเปลือกผลใช้ รักษาแผลที่เป็นหนองและสิวซึ่งเกิดจากการติดเชื้อตลอดจนช่วยลดร่องรอยด่างดำบนใบหน้าด้วย

ใครต้องการกิ่งตอนของ “มังคุดพันธุ์เสียบยอด” ไปปลูก ติดต่อ “คุณประภาส สุภาผล” หมู่ ๗ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี โทร. ๐๘–๘๕๓๓–๒๒๙๙
  ไทยรัฐ
  

(http://www.munjeed.com/image_news/2012-09-01/Thairath_91201214104AM.jpg)
     "มังคุดพันธุ์กรอบแก้ว" เตี้ยดกติดผลเร็ว
มังคุด จัดเป็นราชินีแห่งไม้ผล ซึ่งมังคุดที่มีผลวางขายได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลายนั้น ทรงผลจะกลมแป้นเล็กน้อย แต่“มังคุดพันธุ์กรอบแก้ว” ทรงผลจะแตกต่างจากทรงผลของมังคุดทั่วไปหรือพันธุ์ดั้งเดิมอย่างชัดเจน คือ ทรงผลจะกลมยาว ไม่แป้น โดยความยาวของผลประมาณ ๒-๔ นิ้วฟุต

ก้นผล จะแหลมดูคล้ายแก้วดื่มไวน์ หรือเหมือนหวดนึ่งข้าวเหนียวโบราณ บริเวณก้นผลจะมีรอยแบ่งเป็นกลีบ ๖-๘ กลีบ ซึ่งจำนวนของกลีบที่บริเวณก้นผลดังกล่าวจะเป็นตัวบ่งชี้ให้รู้ถึงเนื้อในของผลว่ามีเนื้อหุ้มเมล็ด ว่ามีกี่พูหรือกี่เมล็ด และแต่ละพูแต่ละเมล็ดจะเรียงตรงกันข้ามกันเป็นระเบียบตามภาพประกอบคอลัมน์น่าชมมาก

ส่วน ลักษณะเด่นของ “มังคุดพันธุ์กรอบแก้ว” เปลือกผลจะบางกว่าเปลือกผลของมังคุดสายพันธุ์ดังๆทั่วไป เนื้อในที่หุ้มเมล็ดเป็นสีขาวนวล รสชาติหวานกรอบอร่อยกว่ามังคุดพันธุ์ธรรมดามาก บางพูไม่มีเมล็ด สามารถรับประทานได้เลย กำลังเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ที่สำคัญ “มังคุดพันธุ์กรอบแก้ว” เวลาติดผลจะดกเต็มต้น โดยเฉพาะถ้าเป็นกิ่งตอนที่เสียบยอด หลังปลูกเพียง ๓-๔ ปี จะให้ผลผลิตได้ และข้อดีอีกอย่างหนึ่ง คือ เนื้อของ “มังคุดพันธุ์กรอบแก้ว” ไม่ปรากฏว่า เป็นเนื้อแก้ว หรือด้านแข็งด้วย

มังคุดพันธุ์กรอบแก้ว เป็นสายพันธุ์นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย มีชื่อพื้นเมืองว่า “เมสเตอร์” หรือ “เมสต้า” ในประเทศมาเลเซียเริ่มมีเกษตรกรปลูกเชิงพาณิชย์แล้ว ในประเทศไทย
  ไทยรัฐ
  
(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS3gx8atXdUaZH38nORiIG9iyZpPosbmpkyFxBcy17RQPle_QvREg)
     "เปลือกมังคุด"
มีการวิจัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า สารสกัดจากเปลือกมังคุดมีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อสิวได้ และยังออกฤทธิ์ต้านเชื้อสิวอักเสบได้ดี นอกจากนี้ ยังพบว่าสารสกัดเปลือกมังคุดสามารถออกฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดรอยแผลเป็นของสิวอักเสบสูงถึงร้อยละ ๗๗๘

ในเปลือกมังคุดมี “แทนนิน” มีฤทธิ์ชอบสมาน ช่วยในการรักษาอาการท้องเสีย และรักษาแผลพุพองต่าง ๆ คนโบราณเมื่อเป็นตุ่มคัน อับชื้นจะแนะนำให้ใช้เปลือกมังคุดต้มอาบ หรือใช้ชะล้างตุ่มคันเหล่านั้น หากเป็นแผลในปากหรือเหงือกบวม จะใช้เปลือกมังคุดต้มอมบ้วนปาก ปัจจุบันเปลือกมังคุดได้รับการพัฒนานำมาผสมกับสบู่ถูตัวเป็นสบู่เปลือกมังคุด ผู้ที่มีกลิ่นตัว ผิวมัน เป็นตุ่มคัน มีสิวเห่อ มักนิยมใช้สบู่เปลือกมังคุด.



(http://www.munjeed.com/image_news/2012-06-06/Thairath_66201275819AM.jpg)
     สับปะรดเก้ายอดไต้หวัน อร่อยปลูกเป็นมงคล
อ่านจำนวนมาก ที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน อยากทราบว่า “สับปะรดเก้ายอดไต้หวัน” ที่เคยแนะนำในคอลัมน์นั้นปัจจุบันมีต้นขายอยู่หรือไม่ เนื่องจากต้องการซื้อไปปลูกเก็บผลรับประทานและปลูกเป็นมงคลในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ใกล้จะถึงในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งเป็นจังหวะที่พบว่ามีผู้ขยายพันธุ์ “สับปะรดเก้ายอดไต้หวัน” รุ่นใหม่ออกขายอีกครั้ง จึงรีบแจ้งให้ทราบทันที

สับปะรดเก้ายอดไต้หวัน มีความเป็นพิเศษคือ จุกบนหัวผลจะแตกเป็น ๙-๑๐ จุก ทุกผล ทำให้เวลาตัดเอาจุกไปปลูกแตกเป็นต้น ๑ ต้น จะมียอดเป็น ๙ ยอด แต่ละยอดจะติดผล ๙ ผล ในต้นเดียวทุกต้น จึงถูกตั้งชื่อว่า “สับปะรดเก้ายอดไต้หวัน” เพราะมีถิ่นกำเนิดจากประเทศไต้หวัน และถ้าปลูกลงดินผลโตเต็มที่ประมาณผลแคนตาลูป ทั่วไป แต่ปลูกในกระถางขนาดใหญ่ตั้งประดับ  ขนาดผลจะเล็กกว่าอย่างชัดเจน

ผลสุก เป็นสีเหลืองทอง หรือสีเหลืองอมส้มสวยงามมาก ผลเมื่อสุกเต็มที่จะมีรสชาติหวานกรอบหอมอร่อยเหมือนกับสับปะรดภูเก็ต ผลสุกไม่เต็มที่รสชาติจะหวานปนเปรี้ยว หากปล่อยให้สุกมากๆ สามารถใช้นิ้วมือฉีกเอาเนื้อรับประทานได้อย่างสบายเหมือนกับสับปะรดไทยซุง ที่สำคัญ “สับปะรดเก้ายอดไต้หวัน” มีข้อดีคือจะติดผลเร็วหลังปลูกได้ ๕-๖ เดือน ต่างจากสับปะรดทั่วไปที่จะติดผลหลังปลูกปีละครั้ง

ปัจจุบัน “สับปะรดเก้ายอดไต้หวัน” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักรทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณ แผง “คุณตุ๊ก” หน้าตึกกองอำนวยการ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่ หลายในเวลานี้ครับ.
  ไทยรัฐ

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ3JCp7fiwHuiUaH32kGnkDmFcj3yOEgUrPaSzFIIWt9kdqZQ6lwA)
     ตาสับปะรด
ปัจจุบันมีการนำตาสับปะรดมาเป็นอาหารของโค และอบแห้งเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์อื่นๆ นอกจากนี้ยังนำมาหมักเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินให้มีความสมบูรณ์เป็นอาหารสำหรับต้นพืชได้เป็นอย่างดี

สับปะรดเป็นผลไม้ชนิดผลรวม ตาสับปะรดแต่ละตาคือ ๑ รังไข่ที่เจริญขึ้นมา อุดมด้วยสารอาหารที่มีคุณค่า สามารถนำไปสกัดเอาเอนไซม์โปรตีเอส ทำเป็นผงหมักเนื้อ ปัจจุบันมีการนำมาเป็นอาหารของโค และอบแห้งเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์อื่น ๆ  นอกจากนี้ยังนำมาหมักเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินให้มีความสมบูรณ์เป็นอาหารสำหรับต้นพืชได้เป็นอย่างดี  สับปะรดจัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินจำนวนมาก ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต  วิตามินบี ๒ บี ๓ บี ๕ และ บี ๖ เป็นต้น.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/53965607119931_EyWwB5WU57MYnKOuXocdPoQzTH6uV3.jpg)
     สับปะรดไต้หวัน  หวานกรอบกินได้ทั้งแกน
สับปะรดชนิดนี้ มีต้นวางขาย มีภาพถ่ายผลจากต้นจริงแขวนโชว์ให้ชมด้วย โดยผู้ขายบอกว่าเป็นสับปะรดนำเข้าจากประเทศไต้หวัน นานกว่า ๓-๔ ปีแล้ว สามารถปลูกเจริญเติบโต และติดผลได้ดีในทุกสภาพอากาศในประเทศไทยบ้านเรา และผู้ขายบอกต่อว่า “สับปะรดไต้หวัน” มีข้อโดดเด่นประจำพันธุ์ คือ ปลูกแล้วติดผลได้ง่ายกว่าสับปะรดสายพันธุ์อื่น ขนาดของผลไม่ใหญ่โตนัก รูปทรงของผลกลมป้อมไม่รียาวเหมือนกับผลของสับปะรดทั่วไป รสชาติขณะสุกจะหวาน กรอบ สามารถรับประทานได้เลยทั้งแกนไม่ต้องเฉือนทิ้งให้เสียของ แกนไม่แข็งอร่อยมาก ผลแก่แต่ยังไม่ถึงสุก ไม่ต้องใช้มีดปอกเปลือกใช้มือฉีกเอาเนื้อกินได้ง่ายๆ เนื่องจากตาจะห่างไม่ถี่และตาไม่ลึก รสชาติช่วงนี้จะเปรี้ยวปนหวาน ปรุง เป็นแกงสับปะรดใส่กุ้งสดสุดยอดมาก

สับปะรดไต้หวัน ผู้ขายบอกว่ามีชื่อวิทยาศาสตร์และลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เหมือนกับสับปะรดทั่วไปทุกอย่าง คือ PINEAPPLE–ANANAS COMOSUS (L.) MERR อยู่ในวงศ์ BROMELIA CEAE เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง ๙๐-๑๐๐ ซม. มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับซ้อนกันถี่มากรอบลำต้น ใบกว้างประมาณ ๖.๕ ซม. ยาวได้ถึง ๑ เมตร ไม่มีก้านใบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย เนื้อใบหนาแข็ง ดอก ออกเป็นช่อแทงขึ้นจากกลางลำต้น มีดอกย่อยหลายดอก “ผล” เป็นผลรวม รูปกลมป้อม มีใบเป็นกระจุกที่บริเวณปลายหัวของผล รสชาติผลสุกหวานกรอบกินได้ทั้งแกนผลตามที่กล่าวข้างต้น อร่อยมาก ขยายพันธุ์ด้วยจุกที่ตัดจากส่วนหัวของผล  มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ
  นสพ.ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 พฤษภาคม 2558 12:11:40
(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQlGE6aax6eqLS8cwkgEgnUagMAoWSkniCDMGSFxaMy0IZOWJ-D)
     "ส้มมือ" หรือนิ้วมือพระพุทธเจ้า
หลายคน อยากทราบว่า “ส้มมือ” มีประโยชน์อะไรบ้าง เพราะผู้ขายต้นไม้บอกได้เพียงว่าปลูกโชว์ความแปลกของรูปทรงผลเท่านั้น ซึ่งความจริงแล้ว “ส้มมือ” มีคุณค่ามากกว่าที่ผู้ขายกล่าว คือ ผิวของเปลือกผล จะมีน้ำมันหอมระเหยประกอบด้วย CITRAL, LIMONENE และอื่นๆเมื่อฝานหรือขูดเอาผิวของเปลือกผลนำไปตากแห้งหรืออบแห้ง ทำเป็นยาดม “ส้มมือ” ใช้สูดดมเป็นยาบำรุงหัวใจ บรรเทาอาการผู้เป็นลมและหน้ามืดตาลายได้ดีมาก ประโยชน์อย่างอื่นไม่ปรากฏ

ส้มมือ หรือ CITRUS MEDICA LINN.VAR.SARCODACTYLIS SWING ชื่อสามัญ BUDDHA’S FIN-GER, FINGERED CITRON อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๔ เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามยาวแข็ง ใบประกอบชนิดลดรูปที่มีใบย่อยใบเดียว ออกสลับ ปลายและโคนใบมน ขอบใบจัก ดอกออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก ๒-๓ ดอก ตามซอกใบและกิ่งก้าน ดอกเป็นสีขาว กลีบดอกร่วงง่าย มีกลิ่นหอม “ผล” รูปรี ขนาดใหญ่ ปลายเป็นแฉก คล้ายนิ้วมือที่งอ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลืองเหมือนสีของจีวรพระสงฆ์ จึงทำให้มีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่า BUDDHA’S FINGER หรือ “นิ้วมือพระพุทธเจ้า” ดังกล่าว ผลโตเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลาง ๘-๑๐ ซม. ยาว ๑๒-๑๕ ซม.

ภายใน ผลเป็นสีขาวหยุ่นๆ เหมือนเปลือกส้มโอ เนื้อและเมล็ดไม่มี พบขึ้นทั่วไปในดินที่มีอินทรียวัตถุสูง ไม่ชอบแดด ดอกและผลออกช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง

ปัจจุบัน “ส้มมือ” หรือ “นิ้วมือพระพุทธเจ้า” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙
  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQeh0OiUIIjeKsyUaRSlqyTHFwnSjm1MRyRAYQnKJu9XXFOpY1I)
     "ส้มจิ๊ด"
ส้มจิ๊ดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางสูง ๑.๕-๓ เมตร แตกแขนงเป็นพุ่มแน่น กิ่งมีหนามแหลมคมยาว ๑-๓ ซม. ใบ รูปไข่ ปลายและโคนแหลม สีเขียวสดเป็นมัน มีหูใบขนาดเล็ก ดอก ออกดอกเดี่ยว แต่มักออกรวมกันเป็นกลุ่มตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วยปลายแยกเป็น ๕ แฉก มีสีขาว ติดผลดก ผล ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕-๓ ซม. ผิวบางสีเขียว กลิ่นหอม เมื่อสุกสีส้ม เนื้อมีรสเปรี้ยวจัด ขยายพันธุ์โดยเมล็ด และกิ่งตอน ถิ่นกำเนิดใน เอเชียตะวันออก ผลนำมาแต่งรสเปรี้ยวในการทำน้ำผลไม้ ใช้ทำแยม ผลสุกนำมาคั้นทำน้ำพริก ส้มเกล่า เปลือกของผลห่าม ๆ นำมาจิ้มน้ำพริกได้ มีสรรพคุณทางยาโดยน้ำในผลมีวิตามินซี น้ำส้มคั้นผสมเกลือเล็กน้อยจิบแก้ไอขับเสมหะ ดองเกลือและทำให้แห้ง อมแก้เจ็บคอ.


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSC5qLWQakiSzhf3ejhLjudgTFjBTXGvO1kY0qmhwM4ZGghRAqwLw)
     "ส้มโอ"  
ส้มโอบางพื้นที่เรียกว่ามะขุน มะโอ มาเลเซียเรียก ลีมาบาลี เขมรเรียก ไกรัยตะลอง ชาวกะเหรี่ยงเรียก ลังอู เป็นไม้ผลตระกูลส้มปลูกและเจริญเติบโตได้ดีเกือบทุกภูมิภาคของประเทศไทย เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้เนื้อที่มีรสชาติดี หวาน หรือ หวานอมเปรี้ยว เพื่อให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีความต้องการแตกต่างกันมากขึ้นในปัจจุบัน
 
ส้มโอมีคุณค่าทางโภชนาการโดย ผิวผลนอกสุดประกอบด้วย น้ำมันหอมระเหย เปลือกผลสีขาว มีสารเพคตินสูง มีธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม เนื้อผล มีกรดอินทรีย์ วิตามินซีสูง เอ และบี มีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และ มีไบยูมีนเอและบี สารแพคติน ใบส้มโอมีสรรพคุณใช้แก้ปวดข้อท้องอืดแน่นแก้ปวดหัว ดอก ใช้แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระบังลมขับเสมหะและขับลม ผล มีสารโมโนเทอร์ปีนป้องกันมะเร็งโดยสกัดกั้นสารก่อมะเร็ง ช่วยเจริญอาหาร และแก้เมาสุรา เปลือกผลส้มโอ ใช้ขับลม ช่วยขับเสมหะ แน่นหน้าอก ไอ ปวดท้องน้อย ไส้เลื่อน หรือต้มน้ำอาบแก้คัน และตำพอกฝี เมล็ดส้มโอ ใช้แก้ไส้เลื่อน แก้ปวดท้อง รากส้มโอ ใช้แก้หวัด แก้ไอ แก้ปวดกระเพาะอาหาร และไส้เลื่อน
  นสพ.เดลินิวส์
    
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89646440992752_EyWwB5WU57MYnKOuFVTOWNNyaieQyP.jpg)
     "ส้มแป้น"  เนื้ออร่อย ใบกินได้
คนรุ่นใหม่ น้อยคนนักจะรู้จัก “ส้มแป้น” เนื่องจากในปัจจุบันไม่มีผลวางขายเหมือนกับส้มสายพันธุ์ดังๆทั่วไป ซึ่ง “ส้มแป้น” ที่จะแนะนำในคอลัมน์วันนี้ ผู้ขายกิ่งตอนระบุว่าเป็นสายพันธุ์เก่าแก่และนิยมปลูกเฉพาะถิ่นในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีมาช้านานแล้ว ส่วนใหญ่จะปลูกเพื่อเก็บผลรับประทานในครัวเรือน เนื้อสุกรสชาติหวานหอมเหมือนกับส้มเขียวหวานทั่วไป แต่รูปทรงของผลจะกลมแป้น จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะผลว่า “ส้มแป้น” ดังกล่าว
 
ผลแก่จัด ยังไม่ถึงสุกเปลือกผลยังเป็นสีเขียวอยู่ เนื้อในจะมีรสชาติอมเปรี้ยวและหวานเล็กน้อย ผลสุกเปลือกเป็นสีเหลืองหรือสีส้ม เนื้อในจะหวาน นำปนเปรี้ยวนิดๆ ซึ่งนอกจากผลจะรับประทานได้อร่อย แล้ว ชาวบ้านในยุคสมัยก่อนนิยมปลูกต้น “ส้มแป้น” ไว้ในบริเวณบ้านเพื่อเอาใบหรือยอดอ่อน นำไปใส่ในอาหารหลายชนิด เพราะในใบของ “ส้มแป้น” จะมีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดปร่า ใส่แกงหมูป่า แกงปลาไหล แกงปลาดุก ส่งกลิ่นหอมรับประทานกับข้าวร้อนๆ อร่อยมาก
 
ส้มแป้น อยู่ในวงศ์ RUTACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้นสูง ๕-๗ เมตร ใบประกอบมีใบย่อยใบเดียว ออกเรียงสลับเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม สีเขียวสดและเป็นมัน ทั่วทั้งใบจะมีต่อมน้ำมันระเหยกระจายอยู่ ดอกสีขาว ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบและปลายยอด มีกลีบดอก ๕ กลีบ มีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมแป้น เปลือกผลค่อนข้างบาง สุกเป็นสีเหลืองหรือสีส้ม เนื้อในรสหวานปนเปรี้ยว มีเมล็ดไม่มากนัก ติดผลดกตลอดทั้งปี จึงนิยมปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้น
 
ปัจจุบันมีกิ่งตอนขายที่ตลาดนัดสนามหลวง ๒ โซน ๑๑ แถว ๗ เป็นกิ่งตอนด้วยระบบทาบกิ่ง ราคาสอบถามกันเองครับ.
 นสพ.ไทยรัฐ
  

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTtMJb-2vPwbjBwGm58ajjAPiulWDRRsUhNWT6hohXjkhbQVI_s)
     ส้มเกลี้ยง น้ำอร่อยเปลือกผลแปรรูป
น้ำอร่อยเปลือกผลแปรรูปส้มเกลี้ยง มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมทางตอนใต้ของประเทศจีน แล้วกระจายปลูกไปเกือบทั่วโลก ในประเทศไทยเชื่อว่าถูกนำเข้ามาปลูกในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือสมัยกรุงธนบุรี โดยในช่วงแรกๆ นิยมปลูกกันมากในย่านฝั่งธนบุรีก่อนจะกระจายพันธุ์ไปปลูกอย่างเป็นล้ำเป็นสันทางภาคเหนือแถบจังหวัดนครสวรรค์ ส่วนใหญ่เพื่อเก็บผลผ่าคั้นเอาน้ำผสมน้ำเชื่อมใส่น้ำแข็งก้อนลงไป ดื่มแก้ร้อนในกระหายน้ำดีมาก หรือเก็บผลแปรรูปเป็นทั้งอาหารสมุนไพรและเก็บผลขาย ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุคสมัยก่อน

ส้มเกลี้ยง หรือ CITRUS SINENSIS (LINN.) OSBECK. อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้ยืนต้นสูง ๕-๑๐เมตร แตกกิ่งก้านเยอะ มีหนามใหญ่และแข็ง ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ ปลายแหลม โคนสอบ หน้าใบสีเขียวเข้ม หลังใบสีเขียวหม่น ดอก ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๑๐-๒๐ ดอก ลักษณะเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอก ๕ กลีบ สีขาว มีเกสรสีเหลืองเป็นกระจุกใจกลางดอก ดอกมีกลิ่นหอม ‘ผล” รูปทรงกลม ผลโตเต็มที่ขนาดผลส้มเช้ง ผลออกสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเป็นสีเหลือง เปลือกผลหนาประมาณ ๐.๕ ซม.ค่อนข้างแข็ง เนื้อในแบ่งเป็น ๑๒ ช่วง อัดกันแน่นด้วยถุงน้ำสีเหลือง น้ำมีรสชาติหวานปนเปรี้ยวเล็กน้อย ผ่าคั้นน้ำจะได้น้ำเยอะ ภายในมีเมล็ด เวลาติดผลจะดกมาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนมีนาคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี เมื่อผลแก่สามารถเก็บผลใช้ประโยชน์ได้ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

ประโยชน์ น้ำคั้นสดดื่มลดอาการไข้ เจ็บคอ เปลือกผลแปรรูปทำแช่อิ่มกินบรรเทาอาการเจ็บคอ หรือเอาเปลือกผลสดไปถูผิวหนังบริเวณข้อศอก หัวเข่า ทำให้หายดำคล้ำได้ มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๒๑
  นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/75552570364541_EyWwB5WU57MYnKOuFPvoO9hOx8TDIE.jpg)
     "ส้มเกลี้ยงด่าง"  
ส้มเกลี้ยงด่าง เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่นิยมปลูกกันมาช้านาน ในแถบจังหวัดนนทบุรี เกิดจากการเอาเมล็ดของส้มเกลี้ยงดั้งเดิมที่มีผลและใบเป็นสีเขียวจำนวนหลายเมล็ดไปเพาะขยายพันธุ์จนแตกเป็นต้นกล้าแล้วนำไปปลูกเลี้ยงให้มีดอกและติดผล ปรากฏว่า มีอยู่หนึ่งต้นแตกต่างจากส้มเกลี้ยงพันธุ์ดั้งเดิมคือ ผลกับใบจะด่างเป็นสีเขียวเหลืองสวยงามแปลกตาน่าชมยิ่ง เจ้าของที่ ขยายพันธุ์เชื่อว่าเป็นส้มเกลี้ยงกลายพันธุ์ตัวใหม่ จึงขยายพันธุ์ตอนกิ่งไปปลูกทดสอบพันธุ์อยู่หลายครั้งทุกอย่างยังคงที่ ทำให้มั่นใจว่าได้กลาย พันธุ์แบบถาวรแน่นอนแล้ว เลยตั้งชื่อว่า “ส้มเกลี้ยงด่าง” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกจำหน่ายได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ส้มเกลี้ยงด่าง หรือ CITRUS SINENSIS OSB. อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้พุ่มจำพวกเดียวกับส้มเช้ง ต้นสูง ๒-๔ เมตร ใบประกอบ ใบย่อย หลายใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบแหลม พื้นใบสีเขียว ขอบใบและกลางใบเป็นสีเหลือง หรือใบด่างทุกใบ ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมเกลี้ยงติดผลเป็นพวง ๑-๓ ผล ผิวผลเป็นสีเหลืองมีลายสีเขียวตามยาวของผลแต้มเป็นผลด่างอย่างชัดเจน เวลาติดผลเป็นพวงสีสันของผลกับสีสันของใบจะดูสวยงามมาก ผลโตเต็มที่ประมาณผลส้มเขียวหวาน เนื้อในฉ่ำน้ำ รสชาติหวานปนเปรี้ยวเหมือนรสชาติของส้มเช้ง มีเมล็ด ติดผลดกตลอดทั้งปี ผลแก่จัดสามารถเก็บไว้ได้นาน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด ใครต้องการกิ่งพันธุ์ติดต่อ ตลาดนัดสนามหลวง ๒ โซน ๑๑ ราคาสอบถามกันเองครับ.
 นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTsTSuAKKxOs_TldWEF354OMlks8i4pP5g4m48FZrH1DOw_9ISR)
     "ส้มซ่า" คุณค่าเยอะ
คนส่วนใหญ่ มักเข้าใจว่า “ส้มซ่า” มีประโยชน์ใช้สอยน้อย จึงไม่ได้รับความนิยมปลูกเหมือนกับมะนาว ซึ่งความจริงแล้ว “ส้มซ่า” มีคุณค่าเยอะกว่าที่คิด โดยเฉพาะเนื้อในของ “ส้มซ่า” สามารถรับประทานได้อร่อยไม่แพ้รสชาติของส้มเช้ง และการปลูก “ส้มซ่า” เพื่อกินเนื้อในมีวิธีง่ายๆคือ เมื่อติดผลโตเท่าปลายหัวแม่มือผู้ใหญ่ใช้ใบตองแห้งห่อผลทิ้งไว้จนผลแก่จัด สีของเปลือกผลจะเป็นสีเหลืองสามารถเก็บปอกเปลือกเอาเนื้อในรับประทานได้เลย รสชาติจะหวานปนเปรี้ยวฉ่ำน้ำมีกลิ่นหอมอร่อยมาก
 
นอกจากนั้น เปลือกผลยังมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ใช้มีดคมเฉือนบางๆหั่นเป็นฝอยใส่หมูแนม ปลาแนม และหมี่กรอบ ทำให้มีกลิ่นหอมชวนรับประทานยิ่งขึ้น น้ำขนมจีนที่เป็นน้ำพริกเอาผล “ส้มซ่า” แก่จัด ๑ ผล ผ่าครึ่งใส่ลงไปจะช่วยให้มีกลิ่นหอมรับประทานอร่อยมาก ซึ่งน้ำพริกขนมจีนดังกล่าวหากขาดผล “ส้มซ่า” จะถือว่าไม่ครบสูตรและไม่อร่อย
 
สรรพคุณทางสมุนไพร เปลือกผลรสปร่าหอมใช้ทำยาหอมแก้ลมวิงเวียนหน้ามืดตาลาย แก้ท้องอืดเฟ้อ น้ำจากเนื้อในกินแล้วกัดฟอกเสมหะแก้ไอ ฟอกโลหิต ใบ รักษาโรคผิวหนังได้อีกด้วย ดังนั้น “ส้มซ่า” จึงมีคุณค่าเยอะกว่าที่หลายคนคิด
 
ส้มซ่า อยู่ในวงศ์ RUTACEAE มี ถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย จากนั้นได้กระจายพันธุ์ปลูกไปทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปจะนิยมปลูกกันอย่างกว้างขวาง และเรียกกันว่า SEVILLE ORANGE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๓-๑๐ เมตร กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม มีหนามแหลมสั้น ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีกลิ่นหอมเมื่อขยี้ ดอกสีขาว เกสรสีเหลือง มีกลิ่นหอม “ผล” กลม เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ ๕-๘ ซม. เปลือกผลหนา ผิวขรุขระมีกลิ่นหอม ผลดิบสีเขียว สุกสีเหลือง เนื้อในรสเปรี้ยวปนหวาน ฉ่ำน้ำมีเมล็ดเยอะ ติดผลทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีต้นขายทั่วไป ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้นครับ.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/19621428557568_EyWwB5WU57MYnKOuFBncdgd3nzu5hV.jpg)
    ส้มกาทอง
ส้มกาทอง ส้มชนิดนี้ ถูกนำเข้ามาจาก ประเทศจีน เพื่อปลูกเก็บผลขายเชิงพาณิชย์ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี นานหลายปีแล้ว สามารถเจริญเติบโตมีดอกและติดผลได้ดีไม่แพ้การปลูกในประเทศจีน ที่สำคัญจะติดผลดกมาก ผลสุกเปลือกผลจะเป็นสีเหลืองทองตลอดทั้งผลโดยธรรมชาติ ทำให้เวลาติดผลสุกเต็มต้นจะดูเหลืองอร่ามสวยงามมาก ผู้นำพันธุ์เข้ามาปลูก จึงตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ส้มกาทอง” พร้อมเก็บผลออกจำหน่ายได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะ ในช่วงเทศกาลสารทจีน ตรุษจีน หรือพิธีมงคลต่างๆ ของชาวจีน “ส้มกาทอง” จะขายได้ราคาดีถึง กิโลกรัมละ ๑๕๐ บาทเลยทีเดียว

เนื้อสุกของ “ส้มกาทอง” เป็นสีเหลืองอมส้ม ฉ่ำน้ำ ไม่แฉะหรือเละแม้สุกเต็มที่ ไม่แข็งเป็นดานเหมือนส้มทั่วไป มีรกน้อย รสชาติหวานอมเปรี้ยวนิดๆ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีเมล็ดน้อย รับประทานอร่อยมาก กำลังเป็นที่นิยมของผู้ซื้ออยู่ในเวลานี้

ส้มกาทอง มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นส้มชนิดหนึ่ง ต้นสูง ๓-๕ เมตร ลำต้นมีหนามสั้นและน้อยมาก ใบเดี่ยวออกสลับรูปรี ปลายและโคนใบแหลม ใบมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบมะกรูดแต่จะอ่อนกว่า ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด เป็นสีขาว มีกลิ่นหอม “ผล” กลม ผลโตเต็มที่ประมาณผลส้มทั่วไป ผลดิบสีเขียว สุกสีเหลืองทองตลอดทั้งผล ติดผลได้เกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ใครต้องการกิ่งพันธุ์ไปปลูกติดต่อ “สวนปุ๊พันธุ์ไม้” หมู่ ๖ ถ.สุวรรณศร ต.ไม้เด็ด อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี  ราคาสอบถามกันเอง เป็นกิ่งตอนด้วยระบบเสียบยอด มีรากแก้วดีทุกกิ่ง ปลูกแล้วติดผลเร็วครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ พุธที่ ๒๖/๑๑/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/23675510949558_EyWwB5WU57MYnKOuFqWx4vX6nsjXU9.jpg)
    ส้มคางคก
ไม้ต้นนี้ มีถิ่นกำเนิดจากทาง ภาคเหนือของประเทศมาเลเซีย ถูกนำเข้ามาปลูกเฉพาะถิ่น ทางภาคใต้ของประเทศไทยนานแต่โบราณแล้ว ในแถบ จ.ยะลา ปัตตานี สงขลา และสะเดา เป็นต้น มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า “ส้มคางคก” เนื่องจากผิวผลมีลักษณะขรุขระคล้ายผลมะกรูด หรือผิวหนังของตัวคางคก จึงถูกตั้งชื่อว่า “ส้มคางคก” ดังกล่าว นอกจากนั้นยังมีชื่อเรียกอีกคือ ส้มขามคางคก, คางคก (ภาคใต้) และ กาเตาะปูฆู (มลายู)
 
ประโยชน์ใช้สอย ส่วนใหญ่นิยมเอาผลดิบซึ่งมีรสชาติเปรี้ยวฉ่ำน้ำ กรอบ ฝานเป็นชิ้นๆ จิ้มพริกเกลือป่น สับคั้นเอาน้ำใช้แทนน้ำมะนาวปรุงอาหารหลายชนิด และหั่นเป็นชิ้นจัดรวมกับผักเคียงชนิดต่างๆกินกับน้ำพริก ขนมจีนใต้ ปรุงต้มส้มใต้ใส่ปลาทะเล ใช้แกงส้มหน่อไม้ดองแทนการใส่ส้มแขกเพิ่มรสชาติให้รับประทานอร่อยมาก ผลสุกเนื้อเป็นสีเหลืองหวานปนเปรี้ยวเล็กน้อย กินเป็นผลไม้ยามว่างได้ ปัจจุบัน “ส้มคางคก” มีปลูกน้อยมาก จึงแนะนำให้ปลูกอนุรักษ์หรือปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้นก่อนที่จะสูญพันธุ์ไปในอนาคต
 
ส้มคางคก หรือ CYNOMETRA CAULIFLORO อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSEA เป็นไม้ยืนต้นสูง ๕-๘ เมตร ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปรี ปลายแหลม โคนสอบ ใบคล้ายใบทุเรียนเทศ ดอก เป็นช่อกระจุกตามลำต้นใกล้โคนต้น เป็นสีขาวอมชมพู ลักษณะดอกเหมือนดอกมะเฟือง “ผล” โตเต็มที่วัดตามขวางผลประมาณ ๓-๔ นิ้วฟุต เนื้อผลหนาเกือบครึ่งนิ้ว ฉ่ำน้ำกรอบเปรี้ยวปรุงอาหารดีมาก ๑ ผล มี ๑เมล็ด มีดอกและติดผลทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
 
ปัจจุบัน “ส้มคางคก” มีกิ่งตอนขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ แผง ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้น เวลาติดผลดกจะคุ้มค่ามากครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ อังคารที่ ๒๔/๓/๕๘


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/91299272370007_EyWwB5WU57MYnKOuXq7FegtcPRV05n.jpg)
     ส้มโอแดงเวียดนาม  สีเปลือกผลสวยเนื้อหวานหอม
ส้มโอ ส่วนใหญ่จะมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนตั้งแต่ประเทศไทย ประเทศอินเดีย จีน และเวียดนาม เป็นต้น ซึ่งในบ้านเรานิยมปลูกแพร่หลายทั้งเพื่อเก็บผลกินในครัวเรือนและเก็บผลขายเชิงพาณิชย์ มีด้วยกันหลายพันธุ์ เช่น ขาวแตงกวา ขาวน้ำผึ้ง ทับทิมสยาม และอีกมากมาย แต่ละชนิดจะมีลักษณะประจำพันธุ์แตกต่างกันทั้งเนื้อในและรสชาติ

ส่วน “ส้มโอแดงเวียดนาม” คุณบุญลือ สุขเกษม เจ้าของสวน “บุญบันดาล” อยู่เลขที่ ๕/๒ หมู่ ๒ ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นคนนำเข้ามาจากประเทศเวียดนามนานกว่า ๖ ปีแล้ว สามารถเจริญเติบโตมีดอกและติดผลได้ดีไม่แพ้ในถิ่นเดิมทุกอย่าง มีลักษณะความเป็นพิเศษประจำพันธุ์คือ สีของเปลือกผลจะเป็นสีแดงสดใสดูสวยงามยิ่งนัก ชาวเวียดนามเรียกส้มโอชนิดนี้ว่า “น่ำร้อย” เปลือกผลบางและนิ่ม เนื้อในและถุงน้ำเป็นสีชมพูเรียงเบียดกันเป็นระเบียบ รสชาติหวานหอมรับประทาน อร่อยมาก รูปทรงของผล ส่วนหัวจะเป็นจุกใหญ่ทำให้ดูคล้ายผลน้ำเต้า เวลาติดผลดกห้อยเป็นพวงสวยงามมาก ใน ๑ ผล จะมีเมล็ดไม่มากนัก ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักระหว่าง ๑-๓ กิโลกรัมต่อผล ที่สำคัญ “ส้มโอแดงเวียดนาม” เป็นสายพันธุ์เบาติดผลง่ายและติดผลดกแบบต่อเนื่องไม่ขาดต้นหรือเกือบทั้งปี โดยจะเริ่มมีดอกและติดผลชุดแรกหลังปลูกเพียง ๒-๓ ปีเท่านั้น “ส้มโอแดงเวียดนาม” จึงเหมาะที่จะปลูกทั้งเพื่อเก็บผลกินในครัวเรือนหรือเก็บผลขายเชิงพาณิชย์คุ้มค่ามาก เพราะแค่สีของเปลือกผลก็ดึงดูดความสนใจให้คนอยากซื้อแล้ว และเนื้อในยังหวานหอมอร่อยอีกด้วย

ใคร ต้องการกิ่งพันธุ์ไปปลูก ติดต่อ “คุณบุญลือ สุขเกษม” ตามที่อยู่ข้างต้น  ราคาสอบถามกันเองครับ
  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45409396001034_EyWwB5WU57MYnKOuXuWql83Wm3C8LQ.jpg)
     ส้มโอไต้หวัน ดกเนื้ออร่อย
ส้มโอชนิดนี้ มีกิ่งตอนวางขายมีภาพถ่ายต้นจริงที่ติดผลแขวนโชว์ให้ชมด้วย ผู้ขายบอกว่าเป็นส้มโอนำเข้าจากประเทศไต้หวันนานกว่า ๔ ปีแล้ว สามารถปลูกเติบโตได้ดีมีดอกและติดผลดกในประเทศไทยบ้านเราไม่แพ้ปลูกในถิ่นเดิมทุกอย่าง ผู้นำเข้าจึงตั้งชื่อว่า “ส้มโอไต้หวัน” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายดังกล่าว

ส้มโอไต้หวัน มีลักษณะประจำพันธุ์ตามที่ผู้ขายกิ่งตอนบอกคือ มีดอกและติดผลดกแบบสม่ำเสมอไม่ขาดต้นหรือเกือบตลอดทั้งปี ขนาดของผลไม่ใหญ่โตนัก รูปทรงของผลแปลกเหมือนกับผลส้มจุกทางภาคใต้ของบ้านเรา เปลือกผลขณะยังไม่แก่เป็นสีเขียว แต่เมื่อผลแก่จัดผู้ขายยืนยันว่าสีของเปลือกผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวกลายเป็นสีแดงอมส้มสวยงามน่าชมยิ่งนัก เนื้อในหรือที่นิยมเรียกกันว่า “ถุงน้ำ” ผู้ขายบอกว่าจะเป็นสีแดงเหมือนกับสีของเปลือกผลที่แก่จัดทุกอย่าง รสชาติเมื่อรับประทานผู้ขายกิ่งตอนยืนยันว่าหวานปนเปรี้ยวนิดๆ คล้ายกับรสชาติของเนื้อหรือ “ถุงน้ำ” ส้มโอพันธุ์ทองดีของไทยรับประทานอร่อยมาก ส่วนลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับส้มโอทั่วไปทุกอย่าง

ส้มโอไต้หวัน หรือ PUMELO, SHADDOCK–CITRUS MAXI-MA (BURM.F.)MERR. (C.GRAN-DIS (LINN.) OSBEEK) อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้ยืนต้น แต่จะมี ความสูงเพียง ๔ เมตรเท่านั้น ดอก เป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด กลีบดอกสีขาวมีกลิ่นหอม “ผล” รูปทรงคล้ายส้มจุก หรือน้ำเต้า เนื้อในหรือ “ถุงน้ำ” สีแดงหวานปนเปรี้ยว มีเมล็ด ติดผลเรื่อยๆ เกือบทั้งปี   มีกิ่งตอนขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า
    นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/76400295106901_EyWwB5WU57MYnKOuFIxtChpCOq9Kz5.jpg)
     ส้มโอทับทิมสยาม อร่อยถูกใจผู้ปลูกผู้กิน
เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๓ เกษตรกรชื่อ นายสมหวัง มันแหละ อยู่บ้านแสงวิมาน อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ได้นำเอาเมล็ดและกิ่งตอนของส้มโอพื้นเมืองจาก อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ที่ชาวบ้านเรียกว่า ส้มโอสีชมพู เพราะเนื้อสุกเป็นสีชมพู แต่รสชาติขมไม่นิยมรับประทาน ไปทดลองปลูกจนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่า เนื้อสุกกลับมีรสหวานขึ้น แต่ยังมีรสขมปนอยู่บ้างเล็กน้อย จึงใช้วิธีปรับปรุงพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งแบบต่อเนื่องหลายๆทอดและหลายรุ่น จนทำให้รสขมหายไปได้เหลือเพียงรสหวานอย่างเดียว สีสันของเนื้อแดงเข้มขึ้นด้วย เหมือนกับสีทับทิมสวยงามมาก จึงตั้งชื่อว่า “ส้มโอทับทิมสยาม” พร้อมขยายพันธุ์ปลูกเก็บผลขายได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยราคาหน้าสวนผลละ ๕๐ บาท เป็นอย่างต่ำ

ส้มโอทับทิมสยาม อยู่ในวงศ์ RUTACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับส้มโอทั่วไปทุกอย่าง เพียงแต่ใบค่อนข้างกว้างกว่าใบส้มโอพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน ปลายใบแหลม ดอกเป็นสีขาว กลีบดอกร่วงง่าย มีกลิ่นหอมสะอาด “ผล” มีขนาดใหญ่ หัวผลจะเป็นจีบคล้ายหัวผลของส้มหัวจุก ผิวผลมีขนละเอียด เปลือกผลค่อนข้างบางและนุ่ม ทำให้ขนส่งระยะทางไกลจะเกิดผลช้ำได้ง่าย

เนื้อสุก เป็นสีแดงเข้มหรือแดงเข้มอมชมพู น่าชมยิ่ง รสชาติหวานกรอบไม่เละหรือแฉะรับประทานอร่อยมาก มีเมล็ดน้อย ติดผลดกปีละครั้งตามฤดูกาล ปลูกได้ในดินทั่วไปและทุกพื้นที่ของประเทศไทย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด   ใคร ต้องการต้นพันธุ์ไปปลูกติดต่อที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๑๗  ราคาสอบถามกันเองครับ.
   นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQSqH-CcTxR0_NkO1GyP7BCXOag5JfsZaUWEPsmhegONdRJsEX2)
     ส้มจุก กับที่มาพันธุ์หวานหอม
ส้มจุก เป็นสายพันธุ์พื้นเมืองและนิยมปลูกเฉพาะถิ่นแถบ อ.จะนะ จ.สงขลา มาช้านานแล้ว โดยมีเรื่องเล่าถึงที่มาของสายพันธุ์ว่า ในยุคสมัยโบราณชาวจีนโพ้นทะเลที่เดินทางโยกย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในประเทศไทยทางภาคใต้ได้นำเอาต้น “ส้มจุก” เข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ด้วย จนต่อมา “ส้มจุก” ได้กลายเป็นของดีประจำถิ่น อ.จะนะ จ.สงขลา ไปโดยปริยายตามที่กล่าวข้างต้น และจัดเป็นของดีที่ใครๆเดินทางไปท่องเที่ยวนิยมซื้อเป็นของฝากให้ผู้เป็นที่รักนับถือเป็นที่ชื่นชอบมาก เนื่องจากเนื้อในของ “ส้มจุก” มีรสชาติหวานกรอบหอมอร่อยมากนั่นเอง

นอกจากนั้น ในประเพณีหรือเทศกาลต่างๆ ของชาวจีน “ส้มจุก” จะเป็นส่วนหนึ่งที่ถูกนำไปเซ่นไหว้ด้วย ซึ่งหลังเสร็จพิธีแล้ว “ส้มจุก” จะถูกนำไปปอกเปลือกเอาเนื้อในแจกให้คนในครอบครัวรับประทานตามความเชื่อที่ว่าจะเป็นมงคลในชีวิต

ส้มจุก หรือ CITRUS RETICURATA BLANCO ชื่อสามัญ NECK ORANGE อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๗ เมตร จัดอยู่ในกลุ่มส้มเปลือกบางเช่นเดียวกับส้มโชกุนและส้มเขียวหวานทั่วไป มีส่วนที่แตกต่างคือที่บริเวณขั้วผลจะมีปุ่มสูงคล้ายจุก จึงถูกตั้งชื่อว่า “ส้มจุก” ดังกล่าว แต่ทางภาคใต้จะมีชื่อเรียกเฉพาะคือ ส้มแป้นหัวจุก “ผล” กลมแป้น ตูดผลย้วยกว้าง หัวผลเรียวเล็กน้อย ผลสุกจนเปลือกผลเหี่ยวย่นจะดูเหมือนถุงใส่เงินใส่ทองโบราณ ผลโตเต็มที่ประมาณผลส้มเช้ง แต่จะเล็กกว่าผลส้มโอ มีลักษณะเฉพาะคือมีจุกชัดเจน เนื้อในรสหวานหอมกรอบไม่มีรสขมตามที่กล่าวข้างต้น มีเมล็ด ติดผลเดือนพฤษภาคม–ตุลาคม ทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง

มีกิ่งตอนรุ่นใหม่ ด้วยระบบทาบกิ่งขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ ราคาสอบถามกันเองครับ
   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/79721157418356_152104_1_.jpg)
     ส้มสเปน
ส้ม เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เจริญเติบโตและแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากมีน้ำมันหอมระเหยในใบ ดอก และผล และมีกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย จัดเป็นไม้ผลขนาดเล็กความสูงประมาณ ๒.๕-๓.๐ เมตร ทรงพุ่มมีลักษณะแน่นทึบ เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ ๓ ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปี ถ้ามีการดูแลรักษาอย่างดี ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ ๒๐-๒๕ วัน นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ ๑๐ เดือน ต้นที่มีอายุ ๑๐ ปี สามารถให้ผลผลิตประมาณ ๑๕๐-๑๘๐ กิโลกรัมต่อต้นต่อปี น้ำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ ๘ ผลต่อ ๑ กิโลกรัม ผลส้มเจริญจากรังไข่โดยตรงมีประมาณ ๑๐ พู เชื่อมต่อกันเป็นวงกลมล้อมรอบแกน

ส้มสเปน ผิวผลเมื่อสุกมีสีเขียวอมเหลืองถึงเหลืองเข้ม ถ้าปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นผิวผลจะมีสีเหลืองเข้ม เช่น แถบจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย ผิวผลเรียบมีต่อมน้ำมันถี่เต็มผิวผล กลีบผลแยกออกจากกันได้ง่าย มีกลีบประมาณ ๑๑ กลีบ มีรกน้อย ฉ่ำน้ำ เนื้อผลมีสีส้มรสเปรี้ยว มีใบสีเขม มีก้านใบยาวและปีกกว้าง ลักษณะผลแบน และสีเข้ม มีเปลือกหนา ลักษณะต้นสูงใหญ่ มีใบหนาและทนต่อสภาพอากาศที่เย็นจัดหรือร้อนจัดได้ดีกว่าส้มพันธุ์อื่น ๆ ตั้งแต่ออกดอกถึงเก็บผลผลิตใช้เวลา ๙ เดือน และเริ่มให้ผลผลิตหลังจากปลูกประมาณปีที่๓ ขึ้นไป.
   นสพ.เดลินิวส์

(http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n18/v_2-mar/bor-1.gif)
     ส้มโอขาวน้ำผึ้ง  หวานหอมไร้เมล็ด
ปัจจุบัน “ส้มโอขาวน้ำผึ้ง” ไร้เมล็ด จะมีปลูกเพื่อเก็บผลขายเชิงพาณิชย์เฉพาะในแถบจังหวัดภาคกลางเพียงไม่กี่จังหวัดเท่านั้น ซึ่งก็ถือว่าน้อยมาก ทำให้มีผลผลิตส่งขายไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค เป็นสาเหตุให้ “ส้มโอขาวน้ำผึ้ง” ไร้เมล็ดมีราคาสูงขึ้นเป็นธรรมชาติ ราคาอยู่ระหว่างกิโลกรัมละ ๑๐๐-๑๕๐ บาทต่อผล และที่สำคัญจะหาซื้อ “ส้มโอขาวน้ำผึ้ง” ไร้เมล็ดรับประทานได้ยากด้วย

ส้มโอขาวน้ำผึ้งไร้เมล็ด มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับส้มโอทั่วไปคือ PAMELO, SHAD-DOCK-CITRUS MAXIMA (BURM.F.) MEER (C.GRANDIS (LINN) OSBECK) อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๑๐ เมตร กิ่งก้านมักมีหนามแหลม ใบเป็นใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว ออกเรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด มีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมแบบสะอาดๆ “ผล” รูปทรงกลมหรือรูปไข่กว้าง เปลือกผลสีเขียวแกมเหลือง ไม่มีเมล็ด เนื้อหรือถุงน้ำเป็นสีเหลืองอ่อน เนื้อหรือถุงน้ำไม่แฉะ กรอบหวาน หอมคล้ายกลิ่นน้ำผึ้ง จึงถูกตั้งชื่อตามรสชาติของเนื้อว่า “ส้มโอขาวน้ำผึ้ง” ไร้เมล็ดดังกล่าว แต่ละกลีบจะมีขนาดใหญ่ ให้น้ำหนักดี รับประทานอร่อยมาก ขยายพันธุ์โดยทั่วไปด้วยวิธีตอนกิ่ง ทาบกิ่งและเสียบยอด

ใคร ต้องการกิ่งตอนด้วยระบบเสียบยอด ติดต่อ “สวนสมศักดิ์การเกษตร” บ้านเลขที่ ๙๓ หมู่ ๖ ต.ไม้เด็ด อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ผู้ขายยังยืนยันต่อว่าสามารถปลูกแล้วโตเร็ว ติดผลดกทั้งต้นและให้ผลผลิตชุดแรกหลังปลูก ๒-๓ ปีเท่านั้นจึงเหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลกินในครัวเรือนและเก็บผลขายได้คุ้มค่ามาก ราคาสอบถามกันเองครับ.
  ไทยรัฐ

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSO1Fne_x0Qq5FVcNn1ry_pW9XvewAMlZZmmwqOFb_RZ7fqyIbs)
     ส้มโชกุน  กับที่มาพันธุ์หวานอร่อยราคาดี
ส้มโชกุน มีถิ่นกำเนิดที่ จ.ยะลา โดยครั้งแรกมีชาวจีนแผ่นดินใหญ่เป็นเพื่อนของเกษตรกรชาวไทยในพื้นที่ดังกล่าวเดินทางมาเยี่ยมพร้อมนำเอาผลส้มเขียวหลานจากประเทศจีนมาฝากด้วย รับประทานแล้วอร่อยมาก จึงเอาเมล็ดเพาะเป็นต้นกล้าปลูกเลี้ยงจำนวนหลายต้น จนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่ารูปทรงของผลสวย เนื้อสุกหวานหอมไม่แพ้ส้มเขียวหวานทั่วไป จึงตั้งชื่อว่า “ส้มโชกุน” ดังกล่าว พร้อมขยาย พันธุ์ตอนกิ่งขายให้เกษตรกรทั่วไปซื้อไปปลูกเพื่อเก็บผลขายได้ราคาดีมีผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน

ส้มโชกุน หรือ CITRUS RETICULATA BLANCO อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้พุ่มสูง ๒-๒.๕ เมตร แตกกิ่งก้านหนาแน่น ใบมีขนาดเล็กกว่าใบต้นส้มเขียวหวานทั่วไป ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกเป็นสีขาวมีขนาดใหญ่กว่าดอกของส้มเขียวหวานทั่วไปเล็กน้อย “ผล” รูปทรงกลมหรือกลมแป้นคล้ายผลส้มเขียวหวานแต่จะมีขนาดใหญ่กว่าอย่างชัดเจน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จัดเป็นสีเหลืองปนสีแดง เปลือกผลค่อนข้างหนา ปอกเปลือกง่าย เนื้อกลีบสวย รสหวานหอมปนเปรี้ยวเล็กน้อย รับประทานอร่อยมาก ภายในมีเมล็ด ให้น้ำหนักต่อผลดี มีดอกช่วงเดือนมกราคมจากนั้นจะติดเป็นผลจนกระทั่งผลแก่จัดช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนของทุกปี ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด เหมาะจะปลูกทั้งเพื่อเก็บผลกินในครัวเรือนและปลูกหลายๆ ต้น เก็บผลขายคุ้มค่ามาก
 ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 พฤษภาคม 2558 13:21:53
.

(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/115964.jpg)
     มะรุมเตี้ยเกษตร ๑ เนื้อเยอะเก็บง่ายทั้งปี
มะรุม​ชนิด​นี้ ​เกิด​จาก​การ​คัด​สาย​พันธุ์​โดย​นำ​เอา​ต้น​มะรุม​พันธุ์​ที่​มี​ต้น​เตี้ย​จำนวน​หลาย​ต้น ​ปลูก​เปรียบเทียบ​กัน​บน​แปลง​ปลูก​จน​มีด​อก​และ​ติด​ผลเป็น​ฝัก​ แล้ว​ขยาย​พันธุ์​เอา​ต้น​ที่​เตี้ย​ที่สุด​และ​มีด​อก​ติด​ผล​เร็ว​ที่สุด​ไป​ปลูก​ทดสอบ​พันธุ์​แบบ​ลง​ดิน​อีก​ครั้ง​หนึ่ง​ จน​มั่นใจ​ว่า​ได้​สาย​พันธุ์​แท้​และ​เป็น​พันธุ์​ที่​นิ่ง​แน่นอน​แล้ว มี​คุณสมบัติ​เป็น​มะรุม​ต้น​เตี้ย​มาก ต้น​สูง​เพียง ๒-๓ เมตรเท่านั้น สามารถ​มีด​อก​และ​ติด​ผล​หลัง​ปลูก​เพียง ๖ เดือน ขนาด​ของ​ผล​จะ​ใหญ่​และ​ยาว​กว่า​ผล​หรือ​ฝัก​มะรุม​พันธุ์​ทั่วไป​อย่าง​ชัดเจน

โดยเฉพาะ​จะ​มี​เนื้อ​เยอะ​เหมือนกับ​มะรุม​เนื้อที่​นิยม​ปลูก​กัน​แพร่หลาย​มา​ช้านาน ที่​สำคัญ​เป็น​พันธุ์​ที่​มีด​อก​และ​ติด​ผล​ได้​ตลอด​ทั้ง​ปี หรือที่​นิยม​เรียก​กัน​ว่า ทวาย ทำให้​เวลา​มีด​อก​และ​ติด​ผล​เป็น​ฝัก ผู้​ปลูก​สามารถ​ยืน​เก็บ​ผล​ไป​ปรุง​เป็น​อาหาร​หรือ​ใช้​ประโยชน์​ได้​ง่ายๆ ไม่​ต้อง​ใช้​ไม้สอย​ให้ลำบาก​เหมือน​เก็บ​ผล​มะรุม​ทั่วไป เจ้าของ​ผู้​คัด​สาย​พันธุ์​จึง​ตั้ง​ชื่อว่า “มะรุม​เตี้ย​เกษตร ๑” พร้อม​ตอน​กิ่ง​ขยาย​พันธุ์​ออก​จำหน่าย​ได้​รับ​ความ​นิยม​อย่าง​แพร่หลาย​ใน​ปัจจุบัน

มะรุม​เตี้ย​เกษตร ๑ หรือ MORIN-GA OBEISFERA LAMK., M. PTERYGOSPEMA GAERTN. อยู่​ใน​วงศ์  MORINGACEAE  มี​ลักษณะ​ทาง​พฤกษศาสตร์​เหมือนกับ​มะรุม​ทั่วไป​ทุก​อย่าง จะ​แตกต่าง​กัน​คือ​ต้น​จะ​เตี้ย​กว่า ติด​ผล​ทั้ง​ปี ผล​มี​ขนาด​ใหญ่​และ​ยาว ​ให้​เนื้อ​เยอะ​เหมือน​มะรุม​เนื้อ​ตาม​ที่​กล่าว​ข้าง​ต้น สามารถ​ปลูก​ลง​กระถาง ​รดน้ำ​บำรุง​ปุ๋ย​สม่ำเสมอ​จะ​มีดอกและ​ติด​ผล​ได้​เหมือนกับ​การ​ปลูก​ลง​ดิน
ข้อมูลและภาพ : คอลัมน์ เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/48252087748712_22_3617_3632_3619_3640_3617_36.jpg)
    มะรุมอินเดีย
มะรุมชนิดนี้ มีต้นวางขายพร้อมมีผลหรือฝักจริงโชว์ให้ชมด้วย ซึ่งทีแรกที่เห็นคิดว่าเป็นผลหรือฝักมะรุมเนื้อของไทยที่นิยมปลูกกันมาช้านาน แต่ผู้ขายบอกว่า ผลหรือฝักที่เห็นเป็น “มะรุมอินเดีย” มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยบ้านเรานานหลายปีแล้ว โดยในปัจจุบันมีต้นพันธุ์และผลหรือฝักวางขายทั่วไป ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูก และซื้อไปปรุงอาหารอย่างแพร่หลาย เพราะนอกจากมะรุมดังกล่าวจะมีผลหรือฝักอ้วนใหญ่ให้เนื้อเยอะกว่าเนื้อของมะรุมไทยแล้ว “มะรุมอินเดีย” ยังเป็นสายพันธุ์ที่ติดผลหรือฝักได้ดกมากอีกด้วยนั่นเอง

มะรุมอินเดีย มีชื่อวิทยาศาสตร์และลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะรุมทั่วไปทุกอย่างคือ HORSE RADISH TREE, MORINGA OLEIFERA LAMK. อยู่ในวงศ์ MORINGA- CEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๗-๑๐ เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ออกเรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลืองนวล มีกลีบดอก ๕ กลีบ มีเกสรตัวผู้เป็นสีเหลืองเข้ม ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้วฟุต “ผล” เป็นฝักรูปกลมยาวและอ้วน แต่ความยาวของผลหรือฝักจะสั้นกว่าผลหรือฝักของมะรุมเนื้อและมะรุมไทยทั่วไปอย่างชัดเจน ผลหรือฝักอ่อนเป็นสีแดงเรื่อๆ เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว เปลือกผลหรือฝักหนา ผิวเปลือกผลหรือฝักเป็นคลื่นตามยาวและจะนูนขึ้นระหว่างช่องของเมล็ด ปอกเปลือกเอาเนื้อจะได้เนื้อเยอะกว่าเนื้อมะรุมสายพันธุ์อื่นๆ ติดผลหรือฝักดกเป็นพวงเต็มต้นตามฤดูกาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำกิ่ง

มะรุมอินเดีย มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ ปลูกได้ในดินทั่วไป เวลาติดผลดกตามฤดูกาล สามารถเก็บผลหรือฝักรับประทานในครัวเรือนหรือขายได้คุ้มค่ามากครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – พฤหัสบดีที่ ๒/๔/๕๘

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/75480047985911_1.jpg)
มะรุมพันธุ์ใหม่ – ฝักอ้วนยาวดกทั้งปี
มะรุมชนิดนี้  มีต้นขายและ ผู้ขายบอกว่าเป็นพันธุ์ใหม่ถูกพัฒนาพันธุ์ขึ้นมา จนทำให้ผลหรือฝักอ้วนใหญ่ยาวเนื้อเยอะ ซึ่งผลหรือฝักเมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ ๓-๔ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม ที่สำคัญผู้ขายยืนยันต่อว่า “มะรุมพันธุ์ใหม่” สามารถมีดอกและติดผลได้เรื่อยๆ ไม่ขาดต้นทั้งปีและผลดกมาก จึงกำลังเป็นที่นิยมของผู้ซื้อไปปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้

มะรุมพันธุ์ใหม่ หรือ HORSE RA-DISH TREE MORINGA OLEIFERA LAMK อยู่ในวงศ์ MORINGACEAE เป็นไม้ยืนต้นสูง ๓-๑๐ เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ สีเขียวสด ก้านใบส่วนยอดของ “มะรุมพันธุ์ใหม่” จะเป็นสีแดง แตกต่างจากก้านใบส่วนยอดของมะรุมทั่วไป ที่จะเป็นสีขาวอย่างชัดเจน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อจะมีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีขาวอมเหลือง “ผล” เป็นฝักรูปทรงกลม ผลอ้วนใหญ่และยาวกว่าผลมะรุมทั่วไป ผลสามารถยาวได้กว่า ๑ เมตร ผลโตเต็มที่มีน้ำหนัก ๓-๔ ผล ต่อ ๑ กิโลกรัม ตามที่กล่าวข้างต้น เปลือกผลบาง เนื้อในหนาแน่น เสี้ยนน้อย ผิวผลเป็นคลื่นเล็กน้อยตามจำนวนของเมล็ดภายในผล มีดอกและติดผลดกได้เรื่อยๆ ไม่ขาดต้น หรือติดผลทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ทางอาหาร เนื้อในฝักและเมล็ดแกงส้มกรอบอร่อยมาก ดอกอ่อนลวกให้สุกหรือดองเค็มกินเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทางยา เปลือกต้นต้มน้ำดื่มขับลมในลำไส้ เปลือกต้นทุบพอแตกอมไว้ข้างแก้ม ดื่มเหล้าแล้วไม่รู้สึกเมา ราก แก้บวมบำรุงไฟธาตุ
มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า  ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – พุธที่ ๒๗/๘/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51431345815459_2.jpg)
    มะรุมพันธุ์ใหม่ – ฝักอ้วนยาวเสี้ยนน้อย
เท่าที่ทราบ มะรุมที่นิยมปลูกเพื่อเก็บผลขาย มีปลูกกันแพร่หลายมาแต่โบราณแล้วนั้น ขนาดของผลหรือฝักจะไม่อ้วนหรือยาวนัก เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม เนื้อผลน้อยมีเสี้ยนเยอะ กับอีกชนิดหนึ่งคือ มะรุมเนื้อ ซึ่งชนิดหลังนี้ผลหรือฝักจะอ้วนใหญ่และยาวกว่าชนิดแรกอย่างชัดเจน แต่มะรุมเนื้อนิยมปลูกเพื่อเก็บผลกินในครัวเรือนหรือเก็บผลขายบ้าง ไม่แพร่หลายเหมือนชนิดแรก เนื่องจากมะรุมเนื้อมีคนรู้จักน้อยมากนั่นเอง

ส่วน “มะรุมพันธุ์ใหม่” ผู้ขายกิ่งตอนบอกว่าเป็นมะรุมที่ถูกพัฒนาพันธุ์ขึ้นมาใหม่จากมะรุมพันธุ์ดั้งเดิม แต่ระบุไม่ได้ว่าเป็นพันธุ์ไหนของมะรุม ๒ สายพันธุ์ที่กล่าวข้างต้น ได้พัฒนาอยู่หลายวิธีและหลายครั้ง จนทำให้ได้ผลหรือฝักอ้วนใหญ่ยาวขึ้นมาก ขนาดของผลหรือฝักโตเต็มที่จะมี น้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง ๓-๔ ผลต่อ ๑ กิโลกรัม ให้เนื้อเยอะ มีเสี้ยนน้อย ปรุงอาหารรับประทานอร่อยมาก ที่สำคัญผู้ขายบอกต่อว่า มะรุมดังกล่าวจะมีดอกและติดผลดกเรื่อยๆ ไม่ขาดต้นหรือเกือบทั้งปีด้วย จึงตั้งชื่อว่า “มะรุมพันธุ์ใหม่” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

มะรุมพันธุ์ใหม่ มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับมะรุมทั่วไปคือ HORSE RADISHTREE MORINGA OLEIFERALAMK อยู่ในวงศ์ MORINGACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะรุมทั่วไปเช่นกัน มีข้อแตกต่างที่ขนาดของผลหรือฝักจะอ้วนใหญ่และยาวกว่าเท่านั้น ประโยชน์ทางยา เปลือกต้นต้มดื่มขับลมในลำไส้ เปลือกต้นทุบพอแตกอมข้างแก้มกินเหล้าไม่เมา กิน ๑ เมล็ดทุกวันเป็นยาอายุวัฒนะ  ปัจจุบัน “มะรุมพันธุ์ใหม่” มีกิ่งตอนรุ่นใหม่ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ – ๑๑/๒/๕๘


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/48409305471512_EyWwB5WU57MYnKOuXq5GXXfDt7EmAl.jpg)
    มะรุมพันธุ์เบา  ติดผลเร็วดกทั้งปี
มะรุมชนิดนี้ เกิดจากการนำเอาเมล็ดของมะรุมพันธุ์เกษตรทะวายไปเพาะเป็นต้นกล้าจำนวนหลายต้น แล้วนำไปปลูกเลี้ยงจนต้นโต มีดอกและติดผลได้เร็วกว่ามะรุมเกษตรทะวายที่เป็นพันธุ์แม่อย่างชัดเจน โดยมะรุมเกษตรทะวายจะมีดอกและติดผลหลังปลูก ๒-๓ ปี เป็นอย่างต่ำ ส่วน “มะรุมพันธุ์เบา” จะมีดอกและติดผลหลังปลูกไม่เกิน ๘ เดือนเท่านั้น ลักษณะผลหรือฝักจะอ้วนใหญ่และยาวให้น้ำหนักดีเหมือนกับผลหรือฝักของมะรุมเกษตรทะวายพันธุ์แม่ทุกอย่าง น้ำหนักผลหรือฝัก ๕-๖ ผลต่อ ๑ กิโลกรัม เนื้อเยอะเสี้ยนน้อย ปอกเปลือกนำไปปรุงอาหารกรอบอร่อยมาก ที่สำคัญ “มะรุมพันธุ์เบา” ดังกล่าวยังมีดอกและติดผลดกแบบไม่ขาดต้นหรือตลอดทั้งปีเช่นเดียวกับมะรุมเกษตรทะวายอีกด้วย จึงทำให้ “มะรุมพันธุ์เบา” กำลังเป็นที่นิยมปลูกเพื่อเก็บผลหรือฝักรับประทานในครัวเรือนหรือเก็บผลขายได้คุ้มค่าอยู่ในเวลานี้

มะรุมพันธุ์เบา มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับมะรุมทั่วไปคือ HORSE RADISH TREE, MORINGA OLEI-FERA LAMK อยู่ในวงศ์ MORING-ACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๓-๑๐ เมตร ใบประกอบสามชั้น ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง “ผล” เป็นฝักอวบอ้วนกลมและยาว มีเมล็ดหลายเมล็ด เป็นมะรุมติดผลง่ายติดผลเร็วและดกเป็นพวงตลอดทั้งปี ตามที่กล่าวข้างต้น จึงถูกตั้งชื่อว่า “มะรุมพันธุ์เบา” ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ด เปลือกต้น รสร้อนกินขับลมในลำไส้ คุมธาตุอ่อนๆตัดต้นลมดีมาก รากแก้บวมบำรุงไฟธาตุ เปลือกต้นทุบพอแตก อมข้างแก้ม ดื่มเหล้าไม่รู้สึกเมา เมล็ดสดหรือแห้งเคี้ยวกินวันละ ๑ เมล็ด เป็นยาอายุวัฒนะ

มะรุมพันธุ์เบา มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณแผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ.
  ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 พฤษภาคม 2558 15:24:59
http://.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45385947864916_NjpUs24nCQKx5e1HUZRRmVlcjjrX4U.jpg)
     ว่านกิมเจ็ง   อร่อยเป็นยาดี
ว่านชนิดนี้ มีปลูกและมีหัววางขายมาช้านานแล้ว โดยมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่คล้ายหัวมัน หรือหัวว่านสบู่เลือด ผิวเปลือกหัวด้านนอกเป็นสีน้ำตาลเทา เนื้อในหัวเป็นสีขาว รสชาติมัน ลำต้นแทงขึ้นจากหัวสามารถไต่หรือเลื้อยได้ไกลเกินกว่า ๕ เมตร ใบมีลักษณะคล้ายใบตำลึง มีแฉกลึกกว่า สีเขียวสด  ดอก ออกเป็นช่อหรือเป็นพวงตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีขาว และ ช่อดอกจะมีลูกอ่อนติดอยู่ด้วย มีตั้งแต่ขนาดเล็กจิ๋วไปจนถึงขนาดใหญ่เท่าไข่ไก่ โดยธรรมชาติของ “ว่านกิมเจ็ง” จะพบขึ้นตามป่าบนเขาสูงทั่วไป มักพบตามแหล่งที่เป็นดินปนทราย มีชื่อเรียกอีกว่า อีนูน, นางนูน และจีนเรียกว่า “กิมเจ็ง” ขยายพันธุ์ด้วยหัว

สรรพคุณทางยา ตำรายาไทยระบุว่า หัว ใช้เป็นยาเย็น แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้อาการเจ็บในลำคอ โดยให้เอาหัวสดหากเป็นหัวขนาดใหญ่ต้องผ่าแบ่งตามต้องการ ถ้าเป็นหัวขนาดเล็กไม่ต้องผ่าแบ่งต้มกับน้ำสะอาดให้ท่วมยาจนเดือด เคี่ยวให้น้ำงวดเหลือประมาณ ๑ แก้วแล้วดื่มขณะยังอุ่น วันละ ๑ แก้ว จะช่วยให้อาการที่กล่าวข้างต้นหายได้ เมื่อหายแล้วก็หยุดต้ม ดื่มได้ เป็นเมื่อไหร่จึงต้มดื่มอีกไม่อันตรายอะไร โดยตำราว่านระบุว่าก่อนดื่ม ให้เสกคาถา “นะโมพุทธายะ” ๓ จบด้วย   ส่วนตำรายาจีน ใช้หัวสดปอกเปลือกเอาเฉพาะเนื้อในกะตามต้องการต้มกับเนื้อหมูไม่มีมันติดปรุงรสเล็กน้อยกินทั้งน้ำและเนื้อหัว “ว่านกิมเจ็ง” กับ เนื้อหมู เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกายได้ดีมาก

ปัจจุบัน “ว่านกิมเจ็ง” มีหัวขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๓ ราคาสอบถามกันเอง นิยมปลูกให้ต้นเลื้อยพันรั้วหน้าบ้าน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQAQ3rko56GP0aR3wkhYyrYyGZZHiwnP1jY8vDkwVWdAWT6uJ2TLA)
     ว่านชักมดลูก สรรพคุณเยอะ
คนรุ่นใหม่ จำนวนไม่น้อยอยากทราบว่า “ว่านชักมดลูก” เป็นอย่างไร ในทางสมุนไพรระบุว่า เนื้อสดจากหัว “ว่านชักมดลูก” ตัดโตเท่าปลายนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่สับพอละเอียดคลุกกับน้ำผึ้งเล็กน้อยกินก่อนอาหาร ๓ เวลา แก้โรคริดสีดวงทวาร และเนื้อ “ว่านชักมดลูก” ตากแห้งตำผสมกับเนื้อไม้แห้งต้นอัคคีทวารเนื้อแห้ง ว่านมหาเมฆแต่ละอย่างเท่ากันหรือจำนวนพอประมาณต้มน้ำดื่มก่อนอาหาร ๓ เวลา แก้ริดสีดวงทวารชนิดกลีบมะไฟและเดือยไก่ดีมาก  สตรีหลังคลอดใหม่ๆ เอาหัวสด “ว่านชักมดลูก” ทุบให้แตกดองกับน้ำผึ้ง หรือตัดเนื้อสดโตเท่าปลายหัวแม่มือผู้ใหญ่สับพอละเอียด ผสมน้ำผึ้งเล็กน้อยกินก่อนอาหารเช้าและก่อนนอน จะช่วยให้มดลูกกระชับขึ้น เข้าอู่เร็ว ถ้าประจำเดือนมาไม่ปกติ มีกลิ่นเหม็นตกขาว มีน้ำคาวปลา กินตามที่ระบุข้างต้นจะแห้งได้ ผู้ชายที่เป็นไส้เลื่อนและต่อมลูกหมากอักเสบ เอาหัวสด “ว่านชักมดลูก” เผาไฟหรือหมกขี้เถ้าไฟพอสุกโขลกใส่เหล้าขาว ๔๐ ดีกรีท่วมเนื้อแล้วใช้ผ้าขาวบางกรองเอาเฉพาะน้ำดื่มเช้าเย็นก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ อาการที่เป็นจะหายได้ นอกจากนั้นยังใช้รักษาโรคอัมพฤกษ์อัมพาตมือเท้าตาย แก้โรคกษัยเบาแดงเหลืองข้นเป็นตะกอนอีกด้วย

ว่านชักมดลูก อยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE เป็นไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดิน ใบเหมือนใบขิง “หัว” คล้ายหัวเผือก เนื้อในเป็นสีขาว หลังผ่าหรือตัดทิ้งไว้สักครู่สีของเนื้อหัวจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีปูนแห้ง มีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นมะม่วงเปรี้ยวหรือคล้ายกลิ่นของยอดใบมะม่วงแก้ว เนื้อหัว “ว่านชักมดลูก” มีรสร้อนเฝื่อนถึง ๕ รสชาติ มีหัวสดวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาแต่ละแผงไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้ต้องการซื้อไปใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้นจะต้องสำรวจราคาก่อนตัดสินใจซื้อ

นอกจากชื่อ “ว่านชักมดลูก” แล้ว ยังมีชื่อเรียกอีกคือ ว่านพระยาหัวศัก ว่านการบูรเลือด ว่านทรหด (ทั่วไป) และ ว่านกระชากมดลูก (ภาคใต้) ครับ
  นสพ.ไทยรัฐ

ว่านชักมดลูกเป็นพืชที่มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน อยู่ในวงศ์ขิง ในตำรายาไทยจะใช้เหง้ารักษาอาการของสตรี เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน ตกขาว ขับน้ำคาวปลา แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย ริดสีดวงทวารและไส้เลื่อน มีสารออกฤทธิ์เป็นกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ ที่มีศักยภาพสำหรับรักษาสุขภาพของสตรีวัยทอง และจากผลการวิจัยในสัตว์ทดลองและหลอดทดลองของนักวิจัยไทยพบว่า สารกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นเทียบเท่าไวตามินซี มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ซึ่งเป็นผลดีกับโรคในระบบประสาทและซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจ สำหรับความเป็นพิษ มีการทดลองพิษเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง พบว่ามีความเป็นพิษต่ำ.  เดลินิวส์ อังคารที่ ๒๗/๙/๕๖


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRWPNwgbUvBlg9wUZpBHGfC1y-W9hxEfNFYeFnrJaoHDCI2VpK70w)
     "ว่านพังพอน"
ว่านพังพอนเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้ายาวคล้ายทรงกระบอก หนา ใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว ๒๐-๖๐ ซม. ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบแหลมหรือรูปหัวใจเบี้ยวเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ ๒๐-๕๐ ซม. ช่อดอกมี ๑-๔ ช่อ ยาวได้ถึง ๖๐ ซม. แต่ละช่อมี ๖-๓๐ ดอก แผ่นกลีบประดับมี ๒ คู่ สีขาวถึงม่วงอ่อนๆ คู่นอกไร้ก้าน รูปรี ขอบขนาน หรือรูปใบหอก ยาวได้ถึง ๑๔ ซม. คู่ในมีก้าน รูปใบหอกกลับหรือรูปใบพาย ยาวได้ถึง ๒๒ ซม. กลีบประดับรูปเส้นด้ายมี ๕-๒๕ อัน สีอ่อนกว่าแผ่นกลีบประดับ ยาว ๑๐-๒๐ ซม. ดอกสีเขียวอมม่วงน้ำตาล ก้านดอกยาว ๒-๔ ซม. กลีบรวม ๖ กลีบ เรียง ๒ วง รูปรีหรือรูปไข่ ยาวประมาณ ๐.๕-๑.๕ ซม. ผลรูปขอบขนาน เป็น ๖ เหลี่ยม ยาว ๔-๕ ซม. ปลูกได้ดีในดินร่วนที่ชุ่มชื้นแต่ต้องระบายน้ำได้ดี ไม่ขังแฉะ ควรปลูกในที่แดดรำไร รดน้ำเช้าและเย็น ขยายพันธุ์โดยการแยกเหง้าหรือเพาะเมล็ด คนไทยนิยมปลูกเพื่อเป็นสิริมงคล ให้เป็นที่เอ็นดูของผู้ใกล้ชิดและบุคคลรอบข้างในทางการแพทย์แผนไทย ใช้เป็นยารักษาไข้ แก้ปาก ลิ้น คอ เปื่อย ช่วยในการเจริญอาหาร   เดลินิวส์ พุธที่ ๒๕/๙/๕๖


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/160884.jpg)
     "ว่านน้ำ"  มีทั้งประโยชน์และโทษ
ว่านน้ำ พบขึ้นตามธรรมชาติทั่วไปทุกภาค โดยจะขึ้นตามที่ชื้นแฉะ มีน้ำขัง น้ำขึ้นลงได้ถึง หรือตามริมคูคลองทุกแห่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า CALAMUS­–MYRTLE GRASS ACORUS CALAMUS LINN. อยู่ในวงศ์ ARACEAE ลักษณะเป็นไม้น้ำ ลำต้นแข็งเป็นข้อๆ  สีแดงเรื่อๆ รากหรือเหง้าเป็นฝอย ใบเล็กยาวแบนคล้ายใบ ว่านหางช้าง ใบแผ่เป็นแผง ราก มีกลิ่นหอมแรงคล้ายกลิ่นไพล ส่วนใหญ่นิยมปลูกเพื่อใช้เป็นสมุนไพร

ในประเทศไทย ตำรายาไทยใช้ ราก หรือ เหง้า เป็นยาแก้ปวดท้อง ขับลม ขับเสมหะ แต่ถ้ากินมากกว่าครั้งละ ๒ กรัม จะทำให้อาเจียน อาจใช้ประโยชน์ในกรณีผู้ป่วยกินสารพิษ และต้องการขับสารพิษออกจากทางเดินอาหารด้วยการทำให้อาเจียน ราก หรือ เหง้า มีกลิ่นหอมเฉพาะ เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหย คือ สาร B–ASARONE มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตแต่มีรายงานว่าเป็นพิษต่อตับและทำให้เกิดมะเร็ง จึงควรระวังในการใช้

ประเทศอินเดีย นอกจากจะใช้รากปรุงเป็นยารักษาอาการต่างๆได้หลายอย่างแล้วยังเอารากของ “ว่านน้ำ” ทำเป็นยาฆ่าแมลงชนิดต่างๆ โดยเฉพาะ “แมลงวัน” อีกด้วย ราก ฉีกเป็นเส้นเล็กๆ เคี้ยว ๒-๓ นาที บ้วนทิ้งแก้หวัด แก้เจ็บคอได้

ใบสด “ว่านน้ำ” ตำพอกแก้ปวดกล้ามเนื้อและตามข้อได้ ใบสดตำผสมกับใบ ชุมเห็ดเทศ ทาแก้โรคผิวหนัง มีชื่อเรียกอีกคือผมผา ส้มชื่น ฮางคาวน้ำ ฮางคาวบ้าน ฮางคาวผา ว่านน้ำจืด หัวงอ หัวชะงอ และ ว่านน้ำขาว อีกชนิดหนึ่งคือ “ว่านน้ำทะเล” ขึ้นตามริมทะเลทั่วไป รากหรือเหง้ามีลักษณะคล้ายหางหมูจริงๆ มีสรรพคุณเหมือนชนิดแรกแต่ไม่นิยมใช้    มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๒  กับโครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเองครับ.
 ไทยรัฐ ศุกร์ที่ ๑๔/๑๒/๕๖

 
(http://www.thaigoodview.com/files/u98826/d3010.jpg)
     "ว่านธรณีสาร"
มีผู้อ่านอีกจำนวนมากอยากทราบว่า ต้น “ธรณีสาร” เป็นอย่างไรและมีต้นขายที่ไหน ซึ่งพบว่าในปัจจุบันยังมีผู้ขยายพันธุ์วางขายบ้าง แต่ไม่มากนัก เนื่องจากค่านิยมลดน้อยลงไปตามกาลเวลา
 
ต้น “ธรณีสาร” หรือในตำราว่านเรียกว่า “ว่านธรณีสาร” มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ PHYLLAN- THUS PULCHER WALL.EX   MUELL.ARG อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่ม สูง ๑-๑.๕ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่แกมรูปกลมรี สีเขียวสด เวลาใบดกจะน่าชมมาก

ดอก ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง เป็นชนิดดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้ออกเป็นกระจุกใกล้โคนกิ่ง ส่วนดอกตัวเมียมักออกบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีเขียวอ่อน โคนกลีบเป็นสีแดงเข้ม ก้านดอกยาว ดอกห้อยลงบริเวณใต้ใบเรียงเป็นแถว จึงทำให้ดูคล้ายๆ กับผลของต้น ลูกใต้ใบ สวยงาม ยิ่ง “ผล” เป็นผลแห้ง แตกได้ รูปค่อนข้างกลม ภายในมีเมล็ด ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีชื่อเรียกอีกคือ กระทืบยอบ ก้างปลา ก้างปลาดิน ดอกใต้ใบ ก้างปลาแดง ครีบยอด คดทราย ตรึงบาดาล นิยมปลูกตามวัดและตามบ้านประปราย เพื่อใช้ใบประกอบพิธีประพรมน้ำมนต์ธรณี สารเป็นมงคล ชาวจีนเรียกว่า “เฮียะเอ้โท้”

ทางยา ใบต้น “ธรณีสาร” ทำผงผสมพิมเสนใช้กวาดคอเด็ก แก้เด็กตัวร้อน แก้พิษตานซาง ขับลมในลำไส้ดีมาก ใช้ภายนอก ใบสดตำพอกสดหรือบรรเทาอาการบวมและอาการคันได้เด็ดขาดนัก ปัจจุบันต้น “ธรณีสาร” มีขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙  ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เป็นไม้เติบโตเร็ว ส่วนใหญ่นิยมปลูกใกล้ๆกับศาลพระภูมิในบริเวณบ้านและปลูกตามวัดวาอารามตามที่กล่าวข้างต้น ในตำราว่านระบุว่าปลูกวันพฤหัสฯจะดีมากครับ.
 ไทยรัฐ ๑๒/๑๒/๕๖


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/53938950805200_EyWwB5WU57MYnKOuXuZYpyqlYCI6wV.jpg)
     ว่านกระแจะจันทร์  ประทินผิวทำพระเครื่อง
สมัยก่อน คนไทยรู้จักนำเอา “ว่านกระแจะจันทร์” ไปใช้ประโยชน์มาแต่โบราณแล้ว โดยแรกทีเดียวนิยมเฉพาะในราชสำนักก่อนจะแพร่หลายสู่ภายนอก ส่วนใหญ่จะเอาหัวของ “ว่านกระแจะจันทร์” จำนวนตามต้องการ ไปสกัดด้วยกรรมวิธีต่างกันทำเป็นเครื่องประทินผิวสตรี เรียกกันว่า “เครื่องหอมกระแจะจันทร์อบร่ำ” นิยมกันมากในยุคสมัยนั้น เพราะจะมีกลิ่นหอมรัญจวนใจยิ่งนัก

นอกจากนั้น ในการทำพระเครื่องจำพวกเนื้อผง หัว “ว่านกระแจะจันทร์” จะต้องเป็นหนึ่งในมวลสารทั้งหมดที่ทำพระเครื่องรวมอยู่ด้วย บ้านไหนเรือนไหน หรือร้านค้าร้านขาย ให้ความนับถือกันว่า “ว่านกระแจะจันทร์” เป็นว่านเสน่ห์มหานิยมระดับแถวหน้า และมักจะปลูกหรือเอาหัวไปแช่น้ำมันจันทร์แล้วว่าคาถา “นะโม พุทธายะ” ๓ จบกำกับก่อนพกติดตัวเดินทางไปติดต่อธุรกิจเข้าพบผู้หลักผู้ใหญ่ประสบความสำเร็จในการเจรจาดีมาก

ว่านกระแจะจันทร์ เป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับเปราะหอม ใบเป็นรูปรีเกือบกลม ปลายใบแหลม โคนมน สีใบด้านหน้าเขียว ท้องใบและขอบใบเป็นสีแดงหรือแดงอมม่วง โดยเฉพาะขณะที่ใบยังเล็กอยู่สีจะเข้มจัด หัว รูปทรงกลม โตเต็มที่ประมาณปลายนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ เนื้อในเป็นสีนวลหรือสีขาว มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เมื่อนำไปตากแห้งแล้วบดเป็นผงกลิ่นหอมจะยังคงอยู่เหมือนเดิม แตกต่างจากหัวของว่านชนิดอื่นที่ตากแห้งแล้วบดเป็นผงกลิ่นจะจางลง หรือไม่มีกลิ่นหอมเหลืออยู่เลย ดอกสีขาวมีแต้มสีแดงชัดเจน ออกดอกช่วงฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยหัว อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “กระแจะ” เป็นไม้พุ่ม เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้ไข้ บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่นดีนัก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า OCHNA WALLICHII ดอกเป็นสีเหลือง

ส่วน “ว่านกระแจะจันทร์” มีหัวสดหรือต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๓  ราคาสอบถามกันเองครับ
ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/12622184223598_2.jpg)
     ว่านหางช้าง
ว่านหางช้างเป็นไม้ล้มลุก สูง ๐.๖-๑.๒ เมตร มีเหง้าเลื้อยตามแนวขนานกับพื้นดิน ใบเดี่ยวแทงออกจากเหง้า เรียงซ้อนสลับ กว้าง ๒-๓ ซม. ยาว ๓๐-๔๕ ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ออกดอกที่ปลายยอดกลีบดอกสีส้มมีจุดประสีแดงกระจาย ผลแห้ง เมื่อแก่จะแตกอ้าและกระดกกลับไปด้านหลัง ทางการแพทย์แผนไทยจะใช้ราก เหง้าสด ใบ เนื้อในลำต้นราก แก้เจ็บคอ.   นสพ.เดลินิวส์


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 พฤศจิกายน 2558 20:03:53
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89752211918433_49_3649_3588_3610_3657_3634_36.jpg)  
     แคบ้าน
แคบ้าน หรือ SESBAN–SESBANIA GRANDIFLORA (L.) PERS. อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ต้นสูง ๕-๑๐ เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนานออกตรงกันข้าม สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๓-๕ ดอก ลักษณะดอกเป็นรูปดอกถั่ว มีด้วยกัน๒ สี คือ ชนิดดอกสีขาว กับ ชนิดดอกสีแดง ซึ่งชนิดดอกสีขาวมีวางขายมากมายตามตลาดสดทั่วไป ชนิดดอกสีแดงนานๆจะมีวางขายไม่มากนัก ชนิดดอกสีขาวนิยมปรุงเป็นแกงส้มหรือต้มลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ชนิดดอกสีแดงจะลวกหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆอย่างเดียว ไม่นิยมปรุงเป็นแกงส้ม เพราะจะทำให้น้ำแกงเป็นสีม่วง ยอดอ่อนต้มหรือลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริกได้อร่อยเช่นเดียวกัน “ผล” เป็นฝักยาว มีเมล็ดจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ประโยชน์อื่น ใบสดตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาเฉพาะน้ำใช้ย้อมผ้า เปลือกต้นแบบสดต้มน้ำเดือดมีรสฝาดจัดใช้ย้อมแหอวน หรือหนังดีมาก สมัยก่อนนิยมกันอย่างแพร่หลาย ต้น “แคบ้าน” ปลูกจำนวนหลายๆ ต้นจะช่วยทำให้ดินที่ไม่ดีหรือดินเสื่อมคุณภาพกลาย เป็นดินดีขึ้นมาได้ในเวลาอันรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ

ชาวอินเดีย นิยมเอาน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบ สูบเอาน้ำเข้าจมูกเป็นยารักษาโรคริดสีดวงจมูกทุกระดับ ทำให้มีน้ำมูกไหลออกมาและหายได้ในที่สุด นอกจากนั้น ชาวอินเดียยังนิยมต้มเอาน้ำจากเปลือกต้นเป็นยาสมานแผลได้ดีอีกด้วย  ปัจจุบัน “แคบ้าน” ทั้งสองชนิด มีต้นขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาแต่ละแห่งไม่เท่ากัน ต้องสำรวจราคาก่อนซื้อไปปลูกครับ.  
  นสพ.ไทยรัฐ – พฤหัสบดีที่ ๑๕/๕/๕๗

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTWZ4tREp-E7Y4JIkaHb35suRi0foSmgf8grIq9CWMYh-FsdJyZ)
     แคดอกแดง
แคดอกแดง เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง ๓-๖ เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทาขรุขระแตกเป็นสะเก็ด ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับ ใยย่อยรูปรีขอบขนาน ยาว ๓-๔ ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว  ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ ๒-๔ ดอก  ดอกสีแดงมีกลิ่นหอม ก้านเกสรเพศผู้สีขาว ๖๐ อัน ผลเป็นฝัก ยาว ๘-๑๕ ซม. ฝักแก่แตกเป็น ๒ ซีก เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด

เป็นพืชที่มีสรรพคุณทางสมุนไพรไทย โดยเปลือกต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ ใช้ชะล้างบาดแผล ดอกและใบรับประทานแก้ไข้ เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู ชาวอินเดีย ใช้สูดดมน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรคริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้ ใบสด ทำให้ระบาย นำมาตำละเอียดพอกแก้ช้ำชอก
  นสพ.เดลินิวส์


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSQE9QSzFoMdyhlSwqLZkFppuWtvi8-9yyBBlGKTiY-tkO0_hSo)
     ลูกยอ
ยอ เป็นไม้พุ่มหรือไม้ขนาดเล็ก เป็นไม้พื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีผู้นำไปแพร่พันธุ์จนกระจายไปทั่วอินเดียและตามหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกและหมู่เกาะอินดัสตะวันตก ต้นยอขึ้นได้ทั้งในป่าทึบหรือตามชายฝั่งทะเลที่เป็นโขดเขาหรือพื้นทราย ต้นโตเต็มที่เมื่ออายุครบ ๑๘ เดือน และให้ผลซึ่งมีน้ำหนักรวมกันระหว่าง ๔-๘ กิโลกรัมต่อเดือน ตลอดทั้งปี ทนทานต่อดินเค็ม สภาวะแห้งแล้ง และดินทุติยภูมิ จึงพบแพร่หลายทั่วไป

ผลยอเป็นผลรวม กลิ่นฉุนเมื่อสุก แม้จะมีกลิ่นแรงและรสขม แต่ก็มีการบริโภคผลยอกันมาก ทั้งดิบๆ หรือปรุงแต่ง บางหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก กินผลยอเป็นอาหารหลัก ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และชาวพื้นเมืองออสเตรเลียกินผลยอดิบจิ้มเกลือ หรือปรุงกับผงกะหรี่ เมล็ดของยอคั่วรับประทานได้

ทางการแพทย์แผนไทยระบุไอระเหยจากลูกยอใช้รักษากุ้งยิง ลูกยอดิบใช้รักษาอาการเจ็บ หรือแผลตกสะเก็ดรอบปากหรือข้างในปาก ลูกยอสุก ใช้รับประทาน ลูกยอบดละเอียดใช้กลั้วคอแก้คอเจ็บ ลูกยอบดใช้ทาเท้าแก้เท้าแตก ใช้ทาผิวฆ่าเชื้อโรค หรือรับประทานเพื่อฆ่าพยาธิในร่างกาย รักษาบาดแผลและอาการบวม แก้ปากและเหงือกอักเสบ แก้ปวดฟัน กระตุ้นความอยากอาหารและสมอง ใช้ทำอาหารหมู ทำยาพอก ใช้แก้หัวสิว ตุ่ม ฝีฝักบัว แก้วัณโรค อาการเคล็ด แผลถลอกลึก โรคปวดในข้อ น้ำมันสกัดจากลูกยอใช้แก้ปวดกระเพาะ แก้ความดันโลหิตสูง
  นสพ.เดลินิวส์


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQPanNIwge2nm-Mk2gkiSD0e6tffX7JfIxtYAgQbMgPfuEVupyr)
     เปลือกหมากสด   กำจัดคราบหินปูนฟัน
คนส่วนใหญ่พอมีคราบหินปูนเกาะตามซอกฟันมักไม่ชอบไปพบทันตแพทย์หรือหมอฟัน เพราะกลัวเจ็บและกลัวเสียวฟัน ซึ่งในยุคสมัยก่อนใครมีคราบหินปูนเกาะตามซอกฟัน มีวิธีกำจัดแบบง่ายๆ คือ เอา “เปลือกหมากสด” ผ่าเป็นซีกเอาเนื้อหมากออกแล้วตัดขวางระหว่างกลางซีกแล้วทุบให้ส่วนปลายที่ตัดพอให้แตกและนิ่มถู บริเวณที่มีคราบหินปูนเกาะวันละครั้ง ถูต่อเนื่อง ๒-๓ วัน จะพบว่าคราบหินปูนที่เกาะอยู่หลุดหายไปได้

หมาก หรือ ARECA CATECHU LINN. อยู่ในวงศ์ ARECACEAE ราก ของต้น “หมาก” นำไปแช่เหล้าขาว ๔๐ ดีกรี ดื่มแก้ปวดเมื่อยเส้นเอ็น ราก ต้มน้ำดื่มแก้พิษร้อนภายใน สมานลำไส้ ใบ ต้มน้ำดื่มและอาบแก้ไข้ แก้หวัด ผื่นคันตามตัว ป้องกันสารพิษทำลายตับ ราก ต้มน้ำเดือดอมขณะอุ่นแก้ปากเปื่อย ถอนพิษถูกสารปรอทในฟันได้ดีมาก สมัยก่อนนิยมกันอย่างแพร่หลาย
  นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRQ0U2y0GcW4hGRG6S1127e1mkuOjxq43r6277FFoI1XurM1ogDdQ)
     ข้าวเย็น
ข้าวเย็นเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ลงหัว เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น หรือตามพื้นดิน ลำต้นกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เถามีหนาม กระจายห่างๆ หัวมีเนื้อแข็ง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี ถึงรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายกลมหรือเว้าตื้น และเป็นติ่งแหลมสั้น โคนกลม ขอบเรียบ แผ่นใบหนา คล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นใบหลัก ๕-๗ เส้น มี ๓ เส้นกลาง ที่เด่นชัดกว่าเส้นที่เหลือด้านข้าง  เชื่อมกับเหนือโคนใบ มือจับยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม ๑-๓ ช่อดอก ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ดอกแยกเพศต่างต้น ใบประดับย่อยรูปไข่กว้าง ดอกสีเขียว กลีบรวม ๖ กลีบ รูปรี หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กลีบวงในมักแคบกว่ากลีบวงนอก ช่อดอกเพศผู้มี ๒๐-๔๐ ดอกต่อช่อ เกสรเพศผู้มีจำนวน ๖ อัน ผลทรงกลม มีเนื้อ เกิดตามป่าโปร่ง ป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ออกดอกและผล ราวเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม หัวที่มีเนื้อสีแดงเข้ม เนื้อละเอียด มีรสมัน มักเกิดทางภาคเหนือและอีสาน เรียกว่าข้าวเย็นเหนือ อีกชนิดมักส่งมาจากเมืองแต้จิ๋ว หัวมีเนื้อสีขาว เรียกว่า ข้าวเย็นใต้

ในตำรายาพื้นบ้านจะใช้ หัว ต้มน้ำกิน เพื่อลดปวด สำหรับหญิงอยู่ไฟหลังคลอดบุตร ใช้หัวในยาตำรับ นำมาต้มน้ำดื่ม แก้มะเร็ง โดยบดยาหัวให้ละเอียด ผสมกับส้มโมง ต้มจนแห้ง แล้วผสมกับน้ำผึ้ง กินวันละ ๑ เม็ด หัวต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงเลือดตำรายาไทย  ใช้หัวมีรสมันกร่อยหวานเล็กน้อย แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้กามโรค เข้าข้อออกดอก เข้าข้อ ฝีแผลเน่าเปื่อยพุพอง ทำให้แผลฝียุบแห้ง แก้เม็ดผื่นคัน แก้ปัสสาวะพิการ แก้อักเสบในร่างกาย นิยมใช้คู่กันทั้งข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ เรียกว่า ข้าวเย็นทั้งสองต้น รสจืดเย็น แก้ไข้เรื้อรัง ไข้ตัวร้อน ใบรสจืดเย็น แก้ไข้เหนือ แก้ไข้สันนิบาต ผล รสขื่นจัด แก้ลมริดสีดวงตำรายาพื้นบ้านแถบประเทศมาเลเซียจะใช้เหง้าเป็นยาบำรุง.
  นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/40015486462248_1.jpg)
     หมากเม่าภูพาน
เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ความสูงประมาณ ๑๒-๑๕ เมตร ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม–พฤษภาคม และผลจะสุกในช่วงเดือนสิงหาคม–กันยายน ในผลดิบสีเขียวอ่อน นำมาประกอบอาหารได้ ผลแก่สีแดงมีรสเปรี้ยว ส่วนผลแก่จัดสีดำม่วง จะมีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานเป็นผลไม้สด ผลมีสรรพคุณเป็นยาระบายและบำรุงสายตา ใบสดนำมาอังไฟเพื่อใช้ประคบแก้อาการฟกช้ำดำเขียว เปลือกต้นหมากเม่าใช้เป็นส่วนประกอบของลูกประคบ ผลหมากเม่าสุกมีกรดอะมิโน ๑๘ ชนิด แคลเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามินบี ๑ บี ๒  ซี และ อี ผลิตภัณฑ์แปรรูปเช่น น้ำผลไม้ ไวน์หมากเม่า แยมกวน สีธรรมชาติผสมอาหาร ฯลฯ น้ำหมากเม่าสกัดเข้มข้น ๑๐๐% มีสารอาหาร วิตามินหลายชนิด ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ไวน์หมากเม่ามีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง.   นสพ.เดลินิวส์


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSDXOE4HUPLOpycq6qqUo20L7toKtBtdT9FYurXo33N3T_T-8EAWA)
     ใบชะมวง
สถานวิจัยยาสมุนไพรและเทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ (มอ.) ได้ศึกษาวิจัยคุณสมบัติที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งและต้านแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหารจากใบชะมวง พบเป็นพืชที่ออกฤทธิ์ดีจึงนำมาแยกสารที่ต้องการ สามารถได้สารมีฤทธิ์ในระดับดี เป็นสารที่มีค่าความเข้มข้นต่ำสามารถยับยั้งเชื้อได้ประมาณ๗.๘ ไมโครกรัมต่อมิลลิเมตร ซึ่งถือว่าเป็นสารตัวใหม่ที่ยังไม่มีการค้นพบมาก่อน ทั้งนี้ ยังได้ศึกษาต่อถึงความเป็นไปได้ในการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อโปรโตซัวร์ ซึ่งเป็นโรคระบาดที่พบบ่อยในภาคใต้ของประเทศไทย พบว่าสารจากชะมวง สามารถยับยั้งโปรโตซัวร์ได้ดี จึงนำไปทดสอบกับเซลล์มะเร็งปอด และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งได้เช่นกัน ทั้งนี้จะมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมก่อนนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพื่อการรักษาที่ได้ผลและลดอาการข้างเคียงจากการใช้ต่อไป.   นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37904188036918_1.png)
     คำหด
คำหดเป็นไม้ต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง๒๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีรอยแผลใบเห็นได้ชัด ลำต้นคดงอ เปลือกหนาสีเทาแตกเป็นร่องลึก ใบ เป็นใบประกอบ ช่อใบเรียงเวียนสลับ ใบย่อย ๑-๖ คู่ ใบอ่อนมีขนสาก ส่วนใบแก่เกลี้ยง ขอบใบเรียบ จะทิ้งใบหมดก่อนออกดอก ดอก เพศผู้และดอกเพศเมียอยู่แยกช่อกัน ดอกเพศผู้รวมกันอยู่เป็นช่อสั้นๆ แบบหางกระรอก ส่วนดอกเพศเมียอยู่รวมกันเป็นช่อยาวห้อยย้อยลง แต่ละดอกมีกาบบางๆ รูปสามเหลี่ยมสีเหลืองอ่อนรองรับ และกาบนี้จะเจริญเป็นกาบของผลต่อไป ผล กลมแข็ง โตไม่เกิน ๑ ซม. มีขนแข็งคลุมแน่น มีแฉกกาบเป็นรูปสามง่ามติดอยู่ ง่ามกลางจะยาวที่สุดประมาณ ๔ ซม.

พบขึ้นตามป่าดิบเขา และป่าเบญจ พรรณทั่วไป ยกเว้นทางภาคใต้ ตั้งแต่ระดับ ๕๐๐-๑,๕๐๐ เมตร จากน้ำทะเลปานกลาง เป็นไม้เบิกนำที่ทนต่อความแห้งแล้งและไฟป่า เนื้อไม้ทำสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ได้ดี มีสรรพคุณด้านการแพทย์แผนไทย เปลือกต้นรักษาอาการปวดฟัน หรือให้หญิงหลังคลอดบุตรต้มอาบช่วยให้มดลูกหดตัวเร็วและต้มอาบ เพื่อรักษา ตุ่มคันในเด็ก เปลือกต้นไปผิงไฟอุ่นๆ แล้วนำมาทาแผล ช่วยสมานแผลอักเสบ.
  นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27558418860038_EyWwB5WU57MYnKOvjq9TCfmReNVkYa.jpg)
     กระไดลิง   สรรพคุณน่ารู้
ในประเทศอินโดนีเซีย นิยมเอาน้ำเลี้ยงหรือน้ำที่ตัดได้จากเถาหรือต้นสดๆของ “กระไดลิง” ที่ไหลซึมออกมา แล้วใช้ภาชนะรอง จิบบ่อยๆ เป็นยาบรรเทาอาการไอได้อย่างชะงัดนัก และนิยมใช้กันมาแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ ส่วนในประเทศไทย ระบุว่า เถาหรือต้น “กระไดลิง” มีรสเบื่อเมาใช้ปรุงเป็นยาแก้พิษทั้งปวง (กะจำนวนพอประมาณต้มกับน้ำดื่ม) แก้ร้อนใน ขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้พิษฝี แก้ไข้เซื่องซึม ตำรายาพื้นบ้านภาคอีสานของไทย เถาหรือต้นต้มกับน้ำหรือฝนกับน้ำดื่มเป็นยาแก้บิด เมล็ด กินเป็นยาขับพยาธิ แก้ไข้เซื่องซึม มีอาการหน้าหมองเนื่องมาจากพิษไข้ แก้ร้อนในได้ดีมาก

กระไดลิง หรือ BAUHINIA  SCAN DENSL, HORSFIELDII อยู่ในวงศ์ CAESAPINIOIDEAE เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ เถาที่แก่จัดจะแข็ง เหนียว และแบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอเป็นขั้นๆคล้ายบันได จึงเรียกว่า “กระไดลิง” ใบออกเรียงสลับรูปไข่หรือรูปพัด ปลายแหลมหรือเว้าลึกเป็น ๒ แฉก

ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงคล้ายรูปถ้วย แยกเป็น ๕ แฉก กลีบดอกมี ๕ กลีบ เป็นสีขาวอมเหลือง กลีบแยกกันคล้ายรูปพัด มีเกสรตัวผู้ ๓ อัน เกสรตัวเมียไม่สมบูรณ์เพศ ๒ อัน “ผล” เป็นฝักแบน รูปรี มีเมล็ด ๑-๒ เมล็ด เมื่อฝักแก่จะเป็นสีน้ำตาลแดง ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีชื่ออีกคือ กระไดวอก, มะลืมดำ, บันไดลิง, ลางลิง, เครือกระไดเต่า, โชคหนุ่ย และ ปอกระไดลิง พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณในประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ มีเขตกระจายพันธุ์ อินโดนีเซีย อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน

ปัจจุบัน “กระไดลิง” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/66877150411407_EyWwB5WU57MYnKOuXq4IRmoZ8WV2if.jpg)
     ละหุ่ง   มีทั้งประโยชน์และโทษ
ละหุ่ง พบมีขึ้นเองตามธรรมชาติในป่าราบและที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เฉพาะว่า CASTOR OIL PLANT—CASTER BEAN RICINUS COMMUNIS LINN. อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่ม ต้นสูง ๑-๔ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับหนาแน่นบริเวณช่วงปลายกิ่ง ใบเป็นรูปฝ่ามือ กว้างและยาวประมาณ ๑๕-๓๐ ซม. เป็นแฉก ๘-๑๐ แฉก ก้านใบเป็นสีเขียวยาวติดบริเวณก้นกลางใบ ใบเป็นสีเขียวเข้ม

ดอก ออกเป็นช่อแบบเชิงลดที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกขณะยังตูมเป็นรูปทรงกลมสีเขียว เมื่อบานจะแตกอ้าไม่มีกลีบดอก แต่จะมีเกสรสีเหลืองเป็นกระจุกมองเห็นชัดเจน เป็นดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน “ผล” รูปทรงกลม ติดผลเป็นกระจุกจำนวนมาก รอบผลมีหนามสีเขียวคล้ายผลเงาะ ผลโตเต็มที่ประมาณลูกปิงปอง เมื่อผลแห้งจะแตกได้แบ่งเป็น ๓ พูชัดเจน ภายในมีเมล็ดหลายเมล็ด เปลือกเมล็ดเป็นสีน้ำตายประขาว ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ชนิดดอกสีเหลืองและกิ่งก้านเป็นสีเขียวเรียกว่า “ละหุ่งขาว”  อีกชนิดหนึ่ง ดอกจะเป็นสีแดง ลำต้นกิ่งก้านเป็นสีแดงด้วย ชนิดนี้นิยมเรียกกันมาแต่โบราณว่า “ละหุ่งแดง”

การใช้ประโยชน์ทั่วไปเหมือนกันคือ ตำรายาไทยใช้ใบแก้ช้ำรั่ว (อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่) รากสุมไฟให้เป็นถ่านใช้เป็นยาแก้พิษ แก้ไข้เซื่องซึม น้ำมันจากเมล็ดซึ่งบีบโดยวิธีไม่ใช้ความร้อนเป็นยาระบายสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ หมายเหตุ ถ้าบีบโดยใช้ความร้อนจะมีโปรตีนที่เป็นพิษ ชื่อ RICIN ออกมาด้วย จึงไม่ใช้น้ำมันที่บีบจากเมล็ดของ “ละหุ่ง” ที่ผ่านความร้อนเป็นยา ส่วนใหญ่จะใช้เป็นน้ำมันหยอดเครื่องจักรเรียกว่าน้ำมันละหุ่ง ซึ่งในยุคสมัยก่อนนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายเพื่อเก็บผลแกะเมล็ดขาย ปัจจุบันต้น “ละหุ่ง” ทั้ง ๒ ชนิด หายากมาก แนะนำเพื่อเป็นความรู้เท่านั้นครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/18074104189872_EyWwB5WU57MYnKOuXq6mBBPT0gGf52.jpg)
     หนาด   กับความเชื่อดีๆ มีสรรพคุณ
โบราณ มีความเชื่อว่า ใบของต้น “หนาด” สามารถป้องกันภูตผีปีศาจได้ โดยให้เด็ดเอาใบสด ๑-๒ ใบ พกใส่กระเป๋าติดตัวเดินทางไปไหนต่อไหน ภูตผีปีศาจจะไม่เข้าใกล้หรือคอยหลอกหลอนได้อย่างเด็ดขาด และในการทำพิธีเกี่ยวกับเรื่องผีๆ หรือพิธีไล่ผี หมอผีผู้ประกอบพิธีจะต้องนำเอาใบ “หนาด” ใช้ร่วมในพิธีแบบขาดไม่ได้ทุกครั้ง ในยุคสมัยนั้น ชาวบ้านนิยมปลูกต้น “หนาด” ในบริเวณบ้านกันเกือบทุกครัวเรือน เพื่อป้องกันภูตผีปีศาจตามความเชื่อดังกล่าว ปัจจุบันในชนบทบางพื้นที่ยังคงเชื่อถือและปลูกต้น “หนาด” กันอยู่แต่ไม่แพร่หลายนัก

สรรพคุณทางสมุนไพร ใบสดของต้น “หนาด” หั่นเป็นฝอยตากแห้งอย่าให้มีราเกาะ แล้วหยิบเพียงเล็กน้อยชงกับน้ำร้อน จะมีกลิ่นหอมเพราะมีน้ำมันหอมระเหย ดื่มเรื่อยๆเป็นน้ำชา จะช่วยป้องกัน ไม่ให้เป็นไข้หวัดหัวลมหลังสิ้นฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวได้ ใบสดดังกล่าวมีสารชื่อ CRYTOMERIDION นำไปกลั่นเป็นน้ำมันแล้วทำให้แห้งตกผลึกเป็น “พิมเสน” มีกลิ่นหอมเย็น ใบสดยังหั่นเป็นฝอยตากแดดพอสลบผสมยาเส้นหรือยาฉุนมวนด้วยใบตองแห้งสูบ เป็นยาแก้ริดสีดวงจมูกให้แห้งและหายมีกลิ่นเหม็นดีมาก

นอกจากนั้น ใบสด สามารถกินครั้งละ ๑-๒ ใบ เป็นยาขับผายลม แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับเสมหะได้ ใบแห้ง นำไปบดเป็นผงผสมเนื้อไม้ต้นข่อย แก่นต้นก้ามปู ต้นพิมเสน การบูร แห้งแล้ว มวนด้วยใบตองแห้งสูบเป็นยารักษาโรคหืดดีระดับหนึ่ง รากสดของต้น “หนาด” กะจำนวนเล็กน้อยต้มน้ำดื่ม เป็นยาขับนิ่ว ขับปัสสาวะ และไตพิการ

หนาด มีหลายชนิด บางชนิดมีชื่อวิทยาศาสตร์ไม่เหมือนกัน แต่จะเป็นไม้อยู่ในวงศ์เดียวกันหมดคือวงศ์ COMPOSITAE ต้นใบและดอกแตกต่างกันด้วย ส่วนใหญ่สรรพคุณทางสมุนไพรใช้ได้เหมือนกันหมด ชาวจีนเรียกต้น “หนาด” ว่า เฉ่าฮวนเกี๊ย และตั้วโองเช่า มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTGrtizTf_oeoc5lGROHwqLVMIRXCoDbZ0hiWrbaGDsymY0_BF9)
     ข่อย   กับสรรพคุณยา
ข่อย หรือ STREBLUS ASPER LOUR. อยู่ในวงศ์ MORACEAE ชื่อสามัญ SIAMESE ROUGH BUSH, TOOTH BRUSH TREE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๑๐ เมตร กิ่งอ่อนมีขนสากมือ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับรูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายและโคนสอบมน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยไม่เป็นระเบียบ เนื้อใบหนา ผิวทั้ง ๒ ด้านสากมือเหมือนผิวกระดาษทราย ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกตามซอกใบและกิ่งก้าน เป็นดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ดอกตัวเมียออกตามซอกใบสีเหลืองอ่อนหรือสีขาว มีกลีบเลี้ยง ๔ กลีบคงอยู่จนดอกกลายเป็นผล ดอกตัวผู้ออกตามกิ่งก้านเป็นสีเขียวอ่อน เป็นช่อเล็กๆ มีเกสรตัวผู้ ๔ อัน “ผล” กลม เป็น ๒ พู เมื่อสุกเป็นสีเหลือง มีเมล็ดเดียว ดอกออกเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป

ชาวบ้าน ใช้ใบสดถูผิวปลาไหลทำให้หมดเมือก เปลือกต้นทำกระดาษเรียกว่า “กระดาษข่อย” หรือทำเป็นสมุดไทยเรียกว่า “สมุดข่อย” ซึ่งกระดาษและสมุดที่ทำจากเปลือกต้นข่อยสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นร้อยปีไม่ถูกสัตว์กัดแทะ เพราะเปลือกต้นข่อยมีรสเบื่อเมาอาจฆ่าแมลงได้ กระดาษข่อยใช้มวนยาสูบเป็นยาแก้ริดสีดวงจมูกโดยเอาแก่นข่อยหั่นเป็นฝอยเล็กๆ แล้วมวนสูบเรียกว่า “ไชโย หรือ ขี้โย” คนอินเดียเอากิ่งข่อยสดทุบปลายให้แตกถูฟันทุกเช้าฆ่าแลงกินฟันทำให้ฟันทนแข็งแรงขาวด้วย ใบปิ้งไฟให้เหลืองกรอบชงน้ำร้อนดื่มเป็นยาระบายอ่อนๆ เมล็ดกินเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ รากสดฝนน้ำทารักษาแผลได้ เปลือกต้นรสเบื่อเมาดับพิษในกระดูกและในเส้นเอ็น ต้มน้ำทาแก้โรคผิวหนัง

ปัจจุบัน “ข่อย” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑  ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ

sp.


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: ยังทุกข์ ที่ 02 มกราคม 2559 12:12:26
อะไรจะขนาดนั้น  กระทู้เดียวรู้พันธ์ไม้แทบจะครอบจักรวาล


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 19:41:13
.

(http://kanchanapisek.or.th/kp6/pictures14/s14-254-1.jpg)
     อบเชยต้น ปลูกอนุรักษ์ สรรพคุณดี
ปัจจุบัน ผู้ปลูกให้ความสนใจที่จะซื้อ “อบเชยต้น” ไปปลูกน้อยมากจนทำให้ผู้ขยายพันธุ์ตอนกิ่งไม่อยากทำกิ่งออกวางขาย เนื่องจากขายไม่ได้แล้วยังต้องเสียเวลาขนกิ่งตอนไปมาเหนื่อยแรงเปล่าๆ ซึ่งหากเป็นตามที่ผู้ขายกิ่งตอนบอกเชื่อว่าไม่นาน “อบเชยต้น” จะต้องสูญพันธุ์ไปจากสารบบพันธุ์ไม้โดยปริยายอย่างแน่นอน จึงอยากรณรงค์ให้ช่วยกันปลูกอนุรักษ์เอาไว้ เพื่อให้ลูกหลานได้ศึกษาและใช้ประโยชน์ในอนาคต
 
อบเชยต้น หรือ CINNAMOMUM TAMMALA (CRAJANIGEANTU)–(TALISH PATTIRI) อยู่ในวงศ์ LAURACEAE เป็นไม้ยืนต้นสูง ๕-๑๐ เมตร เปลือกต้นและใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน มีเส้นใบหลักเพียง ๓ เส้น
 
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและหลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยเป็นกระจุก ขนาดเล็กหลายดอก ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน ใจกลางดอกมีเกสรสีเหลืองเป็นกระจุกแน่น เวลามีดอกจะดูสวยงามแปลกตามาก “ผล” รูปทรง กลม มีเมล็ด เป็นไม้ที่พบขึ้นในพื้นที่เขตร้อนทั่วโลก ในประเทศไทยพบมากที่สุดทางภาคเหนือ ซึ่ง “อบเชยต้น” ของไทยเปลือกต้นจะแน่นหนาเป็นสีน้ำตาล อบเชยต้นของต่างประเทศเปลือกต้นจะบางกว่าเรียกว่า อบเชยเทศ มีหลายพันธุ์ เช่น อบเชยจีน อบเชยญวน และ อบเชยแขก เปลือกต้นและใบมีกลิ่นหอมเช่นกัน
 
ประโยชน์ ใบเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้จุกแน่น เปลือกต้นต้มน้ำหรือทำเป็นผงชงดื่มแก้โรคหนองใน แก้น้ำคาวปลา แก้อ่อนเพลีย ทำให้จิตใจชุ่มชื้น ขับผายลม นอกจากนั้นเปลือกต้นยังปรุงเป็นยานัตถุ์ แก้ปวดศีรษะ บำรุงกำลัง รากและใบสดต้มน้ำดื่มแก้ไข้เนื่องจากการอักเสบของสตรีหลังคลอดใหม่ๆ มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑  ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/43279282500346_EyWwB5WU57MYnKOuXxyksPsD31rNLQ.jpg)
     ตะคร้อ กับประโยชน์น่ารู้
คนรุ่นใหม่ น้อยคนนักจะรู้จักต้น “ตะคร้อ” แต่ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าที่มีภูมิลำเนาอยู่ตามชนบทจะรู้จักดี เพราะ ผลแกะเปลือกจะมีเนื้อในฉ่ำน้ำ มีรสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปรุงเป็นส้มตำ รับประทานอร่อยมาก หรือเอาเนื้อฉ่ำน้ำติดเมล็ดแช่ซีอิ๊วหมักไว้ ๑-๒ อาทิตย์กินกับข้าวต้มร้อนๆ สุดยอดมาก ประโยชน์ทางยา แก่นของต้นต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดหลัง เปลือกผลเป็นยาสมานแผลในลำไส้ เปลือกต้นบดละเอียดเป็นยาสมานแผล ห้ามเลือด ขูดเปลือกต้นตำใส่มดแดงมะม่วงกินแก้ท้องร่วง ใบขยี้พอกศีรษะหรือหลังเท้าแก้ปวดหัวได้ เนื้อไม้แข็งใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ทำครกกระเดื่องทนทานมาก
 
ตะคร้อ หรือ SCHLEICHERA OLEOSA MERR. อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๒๐ เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดตามยาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย ๔ ใบ เนื้อใบหยาบ ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง เวลาแตกใบอ่อนทั้งต้นจะสวยงามน่าชมยิ่งนัก ใบแก่เป็นสีเขียวสด
 
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลือง “ผล” รูปทรงกลม ติดผลเป็นพวงจำนวนมาก เปลือกผลเรียบและหนา สีเขียวคล้ำ หรือสีเขียวปนน้ำตาล ผลโตเต็มที่ประมาณปลายนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ เนื้อในหุ้มเมล็ดเป็นสีเหลืองอมส้มหรือสีแดง ฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยวจัด เมล็ดสีน้ำตาลเป็นรูปโค้งงอ ตอนเป็นเด็กบ้านนอกนิยมนำเอาเมล็ดดังกล่าวเสียบบริเวณติ่งหูทำเป็นต่างหูดูสวยงามและสนุกตามสไตล์ของเด็กชนบทในยุคนั้น ซึ่ง “ตะคร้อ” จะมีดอกและติดผลแก่จัดในช่วงฤดูฝนทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าเกือบทุกภาคของประเทศไทย มีชื่อเรียกอีกคือ เคาะจ้ก, มะจ้ก, มะโจ้ก (ภาคเหนือ) หมากค้อ (ภาคอีสาน) ปั้นรัว (สุรินทร์) ปั้นโรง (บุรีรัมย์) และตะคร้อไข่ (ภาคกลาง) มีต้นขายทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาสอบถามกันเองครับ
  นสพ.ไทยรัฐ


(http://office.bangkok.go.th/bangkhunthian/images/med2_4_4_11.jpg)
     พลู สรรพคุณแก้เล็บขบ
เล็บขบ เป็นแล้วทรมานมาก โดยเฉพาะถ้าเป็นที่นิ้วเท้าใส่รองเท้าไม่ได้ เดินเหินลำบากมันเจ็บปวดไปหมด ต้องให้แพทย์รักษา ในทางสมุนไพรมีวิธีช่วยได้คือให้เอา ใบสดของ “พลู” กินกับหมากนั่นแหละ จำนวน ๕ ใบ ตำผสมกับเกลือป่นครึ่งช้อนชาแล้วนำไปพอกบริเวณที่เล็บขบบวมและตำพอกวันละ ๒ ครั้งเช้าเย็น ทำติดต่อกัน ๕-๗ วัน อาการจะค่อยๆดีขึ้นหรือหายได้ อย่างไรก็ตาม ต้องคอยตัดเล็บที่ขบออกประจำด้วย

พลู หรือ BETEL VINE PIPER BETLE LINN. อยู่ในวงศ์ PIPERACEAE น้ำคั้นใบสดกินเป็นยาขับลม ใช้ใบสด ๓-๔ ใบขยี้หรือตำละเอียด ผสมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาแก้ลมพิษ ใบมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วยสาร CHAVICOL และ EUGENOL มีฤทธิ์ทำให้ชาเฉพาะที่ สามารถบรรเทาอาหารคันและฆ่าเชื้อโรคบางชนิดได้ ใบสดลนไฟพอสลบ ปิดหน้าอกเด็กลดการอักเสบของหลอดลม ปอด ใบสดอังไฟปิดหัวนมหลายๆ ครั้ง แก้อาหารนมคัดได้ดีมาก
  นสพ.ไทยรัฐ  


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ8_Zgrvms0OSl0QnuXgQiFqlcmy8cMX9x7iWLA6T2uR_TD3BQ0Xg)
     กระพังโหม เหม็นอร่อยมีสรรพคุณ
กระพังโหม เป็นต้นเดียวกันกับต้น ตูดหมูตูดหมา ต่อมาชื่อ ตูดหมูตูดหมา ฟังแล้วหยาบคายไม่น่าฟัง จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อในปทานุกรมใหม่ว่า “กระพังโหม” มีด้วยกัน ๒ ชนิด แตกต่างกันที่ลักษณะของใบเท่านั้นคือ เรียวแหลมและยาว กับเรียวแหลมและสั้นกว่า ทั้ง ๒ ชนิด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า PAEDERIA TOMENTOSA, BLUME, VAR GLALAR, KURZ- PAEDERIA FOETIDA อยู่ในวงศ์ RUSIACEAE เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปเรียวยาว ปลายแหลม โคนสอบ ใบสดมีกลิ่นเหม็นเนื่องจากมีสาร METHGL–MEAREAPTAN เป็นสารระเหยได้ บางพื้นที่นิยมรับประทานเป็นผักสด เช่น ข้าวยำปักษ์ใต้ ลวกจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆ อินเดีย ปรุงในซุปให้คนชราที่ฟื้นไข้กินดีมาก ดอก เป็นช่อออกตามซอกใบ เป็นสีชมพูอมม่วง “ผล” รูปกลม ภายในมีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ประโยชน์ ใบและเถาสดมีกลิ่นเหม็นตามที่กล่าวข้างต้น กินแก้ตานซาง แก้ดีรั่ว เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย แก้ตัวร้อน เป็นยาขับไส้เดือนในเด็ก “กระพังโหม” ทั้ง ๒ ชนิด ทั้งต้นรวมรากแบบสดบดละเอียดทาหรือพอกบาดแผลที่ถูกงูกัดเป็นยาถอนพิษ ก่อนนำผู้ถูกงูกัดไปให้แพทย์ช่วยเหลือ ในบางพื้นที่ใช้ใบสดตำอุดรูฟันแก้รำมะนาด รากสดฝนกับน้ำหยอดตาแก้พิษ ตาฟาง ตาแฉะ ตามัวดีมาก สมัยก่อนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเกือบทุกจังหวัด

เป็นพืช ที่มีขึ้นตามธรรมชาติในที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป มีชื่อเรียกในประเทศไทยอีกคือกระพังโหม ตูดหมูตูดหมา (ภาคกลาง) ตดหมา หญ้าตดหมา ตืดหมา ขี้หมาคารั้ว (ภาคเหนือ, พายัพ, อีสาน) พาโหมต้น ย่าน (ภาคใต้) และ ย่านพาโหม (สุราษฎร์ธานี)

ปัจจุบัน “กระพังโหม” ไม่มีต้นขายที่ไหน ส่วนใหญ่จะหาปลูกตามบ้านกันเองเพื่อใช้ประโยชน์เป็นอาหารและเป็นยาตามที่กล่าวข้างต้นครับ
  นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTngHULQVCpLbSDPzR5M50OUO0EwT3hFckLIG5kBEhlPyPfPkfx)
     ยอ กับสรรพคุณน่ารู้
ใครที่มีอาการ ไต ไม่ค่อยดี และเพิ่งจะรู้ว่าเริ่มเป็นใหม่ๆ ภายหลังแพทย์ตรวจพบ ยังไม่ถึงขั้นรุนแรง ให้เอาใบ “ยอ” สด จำนวน ๗ ใบกับมะตูมแห้งที่หั่นเป็นแว่นๆ มีวางขายทั่วไปจำนวน ๗ แว่น ปิ้งไฟอ่อนๆ พอกรอบ ต้มรวมกันกับน้ำ ๑ ลิตรจนเดือด ๑๐-๑๕ นาที ดื่มครั้งละ ๑ แก้ว เช้ากลางวันเย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ใน ๑ หม้อกิน ๑ วัน ต้มดื่มเรื่อยๆ จะช่วยให้โรคไตที่เริ่มเป็นใหม่ๆ ดีขึ้น และหายได้ น้ำคั้นใบสด ยังใช้ทาแก้ปวดของโรคเกาต์ แก้ปวดตามข้อเล็กๆ ของข้อนิ้วมือข้อนิ้วเท้าได้อีกด้วย

ยอ หรือ INDIAN MULBERRY MO-RINDA CITRIFOLIA LINN. อยู่ในวงศ์ RUBIACEAE มีชื่อเรียกอีกคือ “ยอบ้าน”  ผลกับใบสดมีวางขายทั่วไป ผลสุกมีกลิ่นฉุนแรงตำผสมเกลือป่นปั้นกินวันละ ๒ ก้อนเท่าปลายนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ ขับผายลมดีมาก ใบสดรองห่อหมกรสชาติอร่อยยิ่งนัก ผลดิบเผาไฟเป็นถ่านตำใส่เกลือป่นอมแก้เหงือกเปื่อยได้ ใบสดขยี้สระล้างศีรษะฆ่าเหาตายเกลี้ยง
  นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRJs5G4NKb_6IdZeNaOW6fHHKpY1JCGUc_cykc2HcaHshxO08_w)
     น้ำนมราชสีห์ สรรพคุณน่ารู้
หลายคน อยากทราบว่า “น้ำนมราชสีห์” มีสรรพคุณโดยรวมอย่างไร ซึ่งตำรายาแผนไทยระบุว่า ทั้งต้นรวมรากตัดเป็นชิ้นเล็กๆ คั่วไฟพอกรอบชงน้ำร้อนดื่มขับปัสสาวะแก้ปัสสาวะแดงหรือขุ่นข้น ต้นสดต้มน้ำดื่มเพิ่มน้ำนมฟอกน้ำนมสตรีให้สะอาด ทั้งต้นรวมรากต้มน้ำดื่มระงับการชักและแก้ไอ ผสมน้ำตาลอ้อยต้มน้ำดื่มรักษาโรคบิดมูกเลือด รากสดผสมรากทับทิมรากต้นส่องฟ้าดง และแก่นต้นเดือยไก่ป่าฝนกับน้ำกินและทาแก้ไข้ทำมะลา (อาการไข้หมดสติไม่รู้สาเหตุ) ปัจจุบัน ต้นสดรวมราก ๑ กำมือตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำครึ่งแก้วผสมน้ำดื่มวันละ ๒ เวลา เช้าเย็นขณะท้องว่าง ทำกินวันต่อวันเป็นยารักษาโรคฝีในท้องได้

น้ำนมราชสีห์ หรือ EUPHORBIA HIRTA LINN. อยู่ในวงศ์ EUPHOBIACEAE เป็นไม้ล้มลุกพบขึ้นตามที่รกร้างข้างทางทั่วไป ดอก เป็นกระจุก สีเขียวอมเหลือง “ผล” รูปทรงกลมมีเมล็ด
  นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTT5EZlSQBUPCcv3ufTqJ8nEngayWrobYihvKXcau7U5tdaG2lk)  (https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTUknxvZBbkOH_X8adn33AGoet9hA__tDPzXuneyVnaPD8TyQhC9A)
     ปาล์มกะพ้อ ใบอ่อนห่อตูป๊ะ
ปาล์มกะพ้อ พบทั่วไปตามริมทะเลที่ความสูง ๒๕๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเล และขึ้นได้หลายรูปแบบทั้งริมบึงที่ราบ มีเขตกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายแดนไทยมาเลเซีย หมู่เกาะอันดามัน มาเลเซีย เกาะนิโคบา เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบอเนียว และฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง คนท้องถิ่นภาคใต้ของไทยและมาเลเซียนิยมตัดเอาใบอ่อนที่ยังไม่คลี่มาฉีกออกเอาเฉพาะใบ นำไปห่อข้าวเหนียวผัดใส่ถั่วขาว หรือถั่วดำนึ่งเป็นข้าวต้มมัดใต้ หรือเรียกชื่อตามภาษายาวีว่า “ตูป๊ะ” หมายถึงข้าวต้มมัดใบกะพ้อรับประทานเฉพาะถิ่นอร่อยมาก

ปาล์มกะพ้อ หรือ LICUALA SPINOSA THUNB เป็นปาล์มกอ ต้นสูงได้ ๕ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ๕ ซม. เป็นกอรวมกันหนาแน่นจนหนาทึบ จัดเป็นไม้พื้นล่างของป่า ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือตั้งขึ้นและแผ่ออก ๑๐-๑๕ ทาง กาบใบแยกออกจากกัน แต่จะมีใยหยาบๆ สานกันชัดเจน ก้านใบยาว ๒-๓ เมตร ขอบก้านใบมีหนามรูปสามเหลี่ยมแคบๆและงอยาว ๑-๒ ซม. ตลอดทั้งก้าน ใบเรียงกันเกือบกลม ขนาด ๘๐-๑๕๐ ซม. ฉีกเป็นแฉกลึกถึงกลางใบ ๑๕-๒๕ แฉก แต่ละแฉกมีขนาด ๓.๕-๑๔ คูณ ๔๐-๗๕ ซม. แฉกกลางมีขนาดใหญ่ที่สุด ปลายใบตัดและหยักไม่เท่ากัน

ดอก ออกเป็นช่อตั้งขึ้น โค้งและแผ่ออก ๒-๓ ช่อ มักมีความยาวกว่าใบ ช่อดอกรวมสามารถยาวได้ถึง ๓ เมตร แตกกิ่งย่อย ๗-๑๐ กิ่ง ยาว ๕๐ ซม. กิ่งแขนงย่อยอีก ๔ กิ่ง ยาว ๒๐-๔๐ ซม. “ผล” รูปทรงกลม เมื่อผลสุกเป็นสีส้มหรือสีแดง ๑ ผล มี ๑ เมล็ด ดอกและผลทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและแยกต้น

ปัจจุบันมีต้นขายทั่วไปที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ละแผงราคาต่างกัน ต้องเดินสำรวจก่อนตัดสินใจซื้อไปปลูกประดับครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRSKK9D8oUNSBvxCEskqseMnMu8PuGkx8iqdZJpFgc5p9zp1HyirQ)
     กะเม็งดอกขาว แก้แผลเรื้อรัง
กะเม็งดอกขาว หรือ ECLIPTA PROSTRATA LINN. อยู่ในวงศ์ ASTERACEAE เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ต้นสูง ๕๐ ซม. ลำต้นเป็นสีเขียวหรือสีน้ำตาลแดง มีขนละเอียด ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปใบหอก ปลายและโคนใบแหลมหรือป้าน ผิวใบมีขนทั้ง ๒ ด้าน ดอก ออกเป็นช่อหรือออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามซอกใบ กลีบดอกแยกเป็นอิสระกันและแผ่กระจายเป็นวงกลมจำนวนมาก ปลายกลีบตัดหรือมน เป็นสีขาว ใจกลางดอกมีเกสรเป็นกระจุกแน่นสีเขียวอ่อนดูคล้ายต่างหูสตรี เวลามีดอกจะสวยงามมาก “ผล” รูปกลมแป้นเล็กน้อย เป็นสีดำ ภายในมีเมล็ด เป็นไม้ที่เจริญเติบโตดีในช่วงฤดูฝนและทรุดโทรม หรือตายไปในช่วงฤดูแล้ง แต่จะฝังเหง้าหรือเมล็ดอยู่ใต้ดิน เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนมีเม็ดฝนโปรยปรายลงมา จะแตกต้นขึ้นมาอีกครั้งเป็นวัฏจักรตามธรรมชาติ พบขึ้นเองตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไปคนไทยไม่นิยมปลูก หากต้องการใช้ประโยชน์จะหาเก็บตามที่รกร้างตามที่กล่าวข้างต้น มีชื่อ เรียกอีกคือ กะเม็ง ขะเม็ง (ภาคกลาง) ห้อมเกี้ยว (เชียงใหม่) ส้อม (เหนือ) ใบลบ (ใต้) กะเม็งขาว แป๊ะปั๊วกีเซ้า (จีน)

ใบและราก เป็นยาถ่ายทำให้อาเจียน รากแก้เป็นลมหน้ามืดจากการคลอดบุตร แก้ท้องเฟ้อ บำรุงตับ ม้าม บำรุงโลหิต ทั้งต้นแก้แผลเรื้อรังเน่าลุกลามรักษายาก แก้หืด แก้หลอดลมอักเสบ แก้จุกเสียด แก้กลากเกลื้อน เป็นยาฝาดสมาน น้ำคั้นจากต้นรักษาอาการดีซ่านดีมาก

อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า กะเม็งตัวผู้ หรือ WEDELIA CHINENSIS (OSBECK) MERR. ชนิดนี้ดอกเป็นสีเหลือง ทั้งต้นทำเป็นผงกินแก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด บำรุงโลหิต มีชื่อเรียกอีกคือ กะเม็งดอกเหลือง

กะเม็งดอกขาว มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRz4JbD4L1QnMAhL6QxK9qNgjf1fkEYzKbCHUBNtzXk4ycDSyvFPg)
     อ้อยดำ แก้ฝ้าเป็นใหม่ๆ
ฝ้าบนใบหน้าถ้าเพิ่งเริ่มเป็นใหม่ๆ บางๆ ยังไม่หนาหรือเยอะ ให้เอา “อ้อยดำ” สดตัดเป็นท่อนยาวประมาณ ๖-๗ ซม. ๔ ท่อน ผ่าเป็น ๔ ซีก หรือทุบพอแตกต้มกับน้ำ ๑ ลิตร ๑๐-๑๕ นาที พอยกลงน้ำเย็นกินเฉพาะน้ำ ๓ เวลาก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างครั้งละ ๓ ส่วน ๔ แก้ว ต้ม ๑ ครั้งกินได้ ๒ วัน ต้มกินประจำจะช่วยบรรเทาให้ฝ้าบนใบหน้าที่เพิ่งเริ่มเป็นใหม่ๆ ค่อยๆ ดีขึ้นหรือจางลงและหายได้

อ้อยดำ หรือ SUGAR CANE, SACCHA-RUM OFFICINARUM LINN. อยู่ในวงศ์ GRAMINEAE ลำต้นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ โดยเอาต้นสด ๗๐-๙๐ กรัม หรือแห้ง ๓๐-๔๐ กรัม หั่นเป็นชิ้นต้มกับน้ำท่วมยาจนเดือด แบ่งดื่มวันละ ๒ ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้วก่อนอาหาร ช่วยแก้ไตพิการ หนองใน และขับนิ่ว ขับเสมหะได้ นอกจากชื่อ “อ้อยดำ” แล้วยังมีชื่อเรียกอีกคือ อ้อยแดง และ อ้อยขม
  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89413743714491_EyWwB5WU57MYnKOuFtMuywHTtM7vgG.jpg)
     อ้อยดำหรืออ้อยแดง บำรุงหัวเข่าขัด
หัวเข่าขัด เดินแล้วดังกึกๆ หรือมีอาการปวดนิดๆ แต่ไม่ใช่กระดูกเข่าเสื่อม เป็นๆหายๆ เป็นบ่อยๆไม่ดีแน่ ให้เอา “อ้อยดำ” หรือ “อ้อยแดง” ก็ได้ ๗ ข้อ กับหางหมูสด ๒ หาง ไม่เอาส่วนโคนที่มีมันติด หั่นเป็นชิ้นทุบพอแตกต้มรวมกันกับน้ำลิตรครึ่งจนเดือด เคี่ยวให้น้ำเหนียวหรือเป็นเจล กินเฉพาะน้ำเรื่อยๆ ให้หมดแต่ละครั้งที่ต้ม หมดแล้วเอายาใหม่ต้มกินอีกต่อเนื่อง ๒-๓ วัน สามารถแต่งรสด้วยเกลือป่นและน้ำตาลเล็กน้อย จะช่วยบำรุงหัวเข่าที่ติดขัดเวลาเดินให้ดีขึ้นและหายได้ หายแล้วหยุดต้มกินได้ มีอาการอีกเมื่อไหร่ต้มกินทันที ไม่ยุ่งยากแต่อย่างไร เพราะส่วนประกอบหาได้ง่ายนั่นเอง

อ้อยดำ หรือ SACCHARUM OFFICINARUM LINN. อยู่ในวงศ์ GRAMINEAE ต้นสด ๗๐-๙๐ กรัม หรือแบบแห้ง ๓๐-๔๐ กรัม หั่นต้มน้ำพอประมาณ ดื่มก่อนอาหารเช้าเย็น ครั้งละ ๑ แก้ว แก้ไตพิการ หนองในและขับนิ่ว
   นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRELHAu14Iw0AETOi7jQKDiZVVmmPVLwGR5Z5s2JqYAeBrXc1sS)
     เปลือกต้นมะขามเทศ แก้ปากเหม็น
ปากเหม็น ที่เกิดจากเหงือกและฟันอักเสบบ่อยๆ ไม่ใช่ปากเหม็นเพราะลำไส้หรือกระเพาะอาหารไม่ปกติสามารถแก้ได้ โดยให้เอา “เปลือก ต้นมะขามเทศ” แบบสด จำนวนครึ่งกิโลกรัมต้ม

กับน้ำ ๑ ลิตร ใส่เกลือสมุทรคือ เกลือทะเลจำนวน ๓ ขีด จนเดือดเคี่ยวให้เหลือครึ่งลิตร กรองเอาเฉพาะน้ำใส่ขวดแก้วไว้แล้วเทอมในปาก ๒-๓ นาที ก่อนบ้วนทิ้ง ๓ เวลาหลังอาหารเช้ากลางวันและเย็น เหงือกและฟันจะแข็งแรงขึ้น กลิ่นปากที่เหม็นจะหายอย่างเด็ดขาด

มะขามเทศ หรือ PITHECOLOBIUM อยู่ในวงศ์ MIMOSEAE มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกาเขตร้อน ผลสุกรับประทานมากจะทำให้เป็นบิดมูกเลือดได้ ใบอ่อนแมลงทับปีกสีเขียวชอบกินมาก ส่วนประโยชน์ทางสมุนไพร เปลือกต้นต้มให้เดือดเอาน้ำล้างแผลขณะอุ่นเป็นยาฝาดสมานช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น
  นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcREVuHyidg_kBCgzOQ5V28dq8jmt54FnkmCRbnyu8_vb0lCPjY2)
     กวาวเครือขาว กับ สรรพคุณและข้อห้าม
กวาวเครือขาว หรือ PUERARIA CANDOLLEI GRAHAM. EX BENT.VAR. MIRIFICA (AIRYSHAWET SUVAT.) NIYOMDHAM อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นรูปดอกถั่ว สีม่วงดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักมีเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หัว มีหลายรูปแบบทั้งกลม กลมรี มีทั้งหัวขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เนื้อในหัวเป็นสีแดงอมชมพู

สรรพคุณ หัวสดผ่าหั่นกะจำนวนตามต้องการ ต้มกับน้ำจนเดือด ดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงเนื้อให้เจริญ บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์ให้เจริญ แต่รับประทานมากจะทำให้มีอาการมึนเมาและเป็นพิษ ในประเทศพม่าใช้หัวสดเป็นยาอายุวัฒนะเช่นกัน ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยหั่นเอาหัวสดเพียงเล็กน้อยสับพอให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้งแท้กินวันละ ๑ ก้อนโตเท่าผลพริกไทย แต่มีข้อห้ามคนหนุ่มสาวไม่ควรกินหรือใช้ “กวาว-เครือขาว” เพราะมีสารสำคัญที่พบในหัว เป็นสารในกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน ออกฤทธิ์สำคัญคือ MIROESTROL มีความแรงใกล้เคียงกับฮอร์โมนเพศหญิงชื่อ ESTRADIOL มาก จึงแสดงฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเด่นชัด ดังนั้นการใช้หรือกิน “กวาวเครือขาว” ในหญิงวัยเจริญพันธุ์จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศที่เกิดขึ้นตามปกติของร่างกาย โดยเฉพาะในเรื่องของการมีประจำเดือน สตรีที่มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูกยิ่งต้องไม่กิน ไม่ใช้ “กวาวเครือขาว” เนื่องจากไฟโตเอสโตรเจนกลุ่มที่มีความแรงสูง เช่น MIROESTROL อาจกระตุ้นให้ก้อนเนื้องอกชนิดที่ไวต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนมีการเจริญลุกลามขยายขนาดขึ้นได้

ปัจจุบัน มีหัวสดขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๓ ราคาสอบถามกันเองครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTjZeGzxsnQSH_bNtApMP-lqZ8KZGELWgcAPpuJIo8rle81p_KP)
     บอระเพ็ด บรรเทาปวดไมเกรน
ปวดหัวบ่อยๆสาเหตุจากเป็นไมเกรนใหม่ๆ ยังไม่รุนแรงให้เอาเถา “บอระเพ็ด” กับเนื้อไม้ต้นพญามือเหล็กและเนื้อไม้ต้นเสนียดแบบแห้งอย่างละ ๕ บาท (อัตราชั่งยาแผนไทย) บดรวมกันบรรจุแคปซูล กินหลังอาหารครั้งละ ๓ แคปซูล เช้ากลางวันติดต่อกัน ๕-๑๐ วัน อาการปวดไมเกรนที่เป็นใหม่ๆจะทุเลาลงหรือหายได้ ทำกินต่อเนื่องไม่อันตรายอะไร เถา “บอระเพ็ด” สดหนัก ๓๐ กรัมต้มกับน้ำมากหน่อยจนเดือด ใช้ผ้าขาวบางกรองเอาน้ำกินก่อนอาหารเช้าเย็น เป็นยาแก้ไข้แก้ร้อนในและช่วยให้เจริญอาหารดีมาก

บอระเพ็ด หรือ TINOSPORA CRISPA (L.) MIES EX. HOOK.F.ET THOMS อยู่ในวงศ์ MENISPERMACEAE เป็นไม้เถาเลื้อย ดอก สีเหลือง “ผล” กลมเล็กมีเมล็ด มีเถาขายทั่วไป
  นสพ.ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 19:43:50
.

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTEExejfbPLkizQvkqaWywz31HPVZFNoFJQSWRsd_hr8xNOsT-rjg)
     มะฮอกกานี
มะฮอกกานี เป็นพรรณไม้ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้นำเข้าจากต่างประเทศเมื่อครั้งเสด็จเยือนประเทศในแถบยุโรป มีชื่อสามัญว่า Broad Leaf Mahogany หรือ False Mahogany ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Macrophylla King ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบฮอนดูรัสอเมริกากลางและหมู่เกาะอินดิสตะวันตก ประเทศไทยพบได้ทุกภาค นำเข้ามาปลูกครั้งแรกในจังหวัดเพชรบุรี

เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูงประมาณ ๑๕-๒๕ เมตร เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกระบอก ทรงพุ่มทึบ ลำต้นเปลาตรง ใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ ดอกสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองแกมเขียว มีขนาดเล็ก กลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง  เมล็ดแห้งสีน้ำตาล แบนบาง มีปีกบางๆ และรสชาติขมมาก เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลืองหรือแดงเข้ม ลวดลายสวยงามเมื่อแห้งจะมีแถบแววสีทองขวางเส้นไม้ มีคุณภาพ สามารถไสและตกแต่งได้ง่ายยึดตะปูได้ดี คุณภาพใกล้เคียงกับไม้สัก ทนทานต่อการกัดกินของปลวก  เนื้อไม้มะฮอกกานีใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องดนตรี และเครื่องใช้อื่นๆ เปลือกของต้นใช้ต้มเป็นยาสรรพคุณเจริญอาหาร มีสารแทนนินมาก รสฝาดใช้เป็นยาสมานแผล ยาแก้ไอ เนื้อในฝักเป็นยาระบาย เนื้อในเมล็ดมีรสขมมาก ใช้เป็นยาแก้ไข้จับสั่น ไข้พิษและปวดศีรษะ ใบอ่อนและดอกรับประทานได้
  นสพ.ข่าวสด - ๒๔/๑/๕๖


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/182275.jpg) ต้นกล้าประดู่ป่า
     ประดู่ป่า
ในประเทศไทยไม้ประดู่ป่าขึ้นอยู่ในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ พื้นที่ที่พบจะสูงจากระดับน้ำทะเล ๓๐๐-๖๐๐ เมตร พบขึ้นปนกับพันธุ์ไม้ต่าง ๆ มีไม้สักแดง มะค่าโมง กระพี้เขาควาย ชิงชัน รกฟ้า สมอไทย และสีเสียดแก่น  ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ดอกจะบานพร้อมหรือเกือบพร้อมกันทั้งต้นและจะโรยในเวลาต่อมา ผลจะแก่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เนื้อไม้  ใช้ในการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ทำกระดาน พื้น ฝา เสา รอด ตง ฯลฯ ใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ รถ รถปืนใหญ่ เกวียน เครื่องเรือนที่สวยงาม ลูกกลิ้ง ด้าม เครื่องมือ และสิ่งอื่น ๆ ที่ต้องการความแข็งแรงและทนทาน ไม้บุผนังที่สวยงาม ทำโครง กระดูกงู ลูกประสักและส่วนต่าง ๆ ของเรือเดินทะเล ไถ คราด ครก สาก กระเดื่อง ลูกหีบ ฟันสีข้าว ทำหูกกระสวย ไม้คาน ด้ามหอก คันธนู หน้าไม้ คันกระสุน ทำหวี และสัน แปรง ซออู้ ซอด้วง จะเข้ ในประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น นิยมใช้ทำเครื่องเรือนกันมาก ปุ่มประดู่มีลวดลายสวยงามมาก และมีราคาแพงใช้ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ชั้นสูง

เปลือกต้น รสฝาดจัด สมานบาดแผล ต้มดื่มแก้ท้องเสีย ใบ รสฝาดชงกับน้ำสระผมพอกฝีให้สุกเร็วพอกบาดแผล  แก้ผดผื่นคัน ปุ่มประดู่ รสฝาดร้อนเมาเผาเอาควันรมริดสีดวงให้ฝ่อแห้งต้มดื่มบำรุงโลหิต แก่น รสขมฝาดร้อน แก้คุดทะราด แก้เสมหะโลหิตและกำเดา แก้ไข้ บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง บำรุงกำลัง แก้พิษเมาเบื่อ แก้ผื่นคัน แก้เลือดลมซ่าน ขับปัสสาวะพิการ  ปุ่มประดู่ เป็นตาไม้ที่งอกพองโตออกมา มักจะเกิดจากส่วนที่เคยมีกิ่งแต่กิ่งหัก ไปตั้งแต่ยังเล็ก ๆ อยู่ มีเนื้อไม้เป็นเสี้ยนสับสนย่นหยักสวยงามและมีราคาแพง ไม้ฟืน  ให้ค่าความร้อน ๕,๐๒๒ แคลอรีต่อกรัม ถ่านไม้  ให้ค่าความร้อน ๗,๕๓๙ แคลอรีต่อกรัม  เปลือก ให้น้ำฝาดชนิดใช้ฟอกหนังให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้าแก่น ให้สีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้าเช่นเดียวกัน.

 

(http://frynn.com/wp-content/uploads/2014/09/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2.jpg)
     ประดู่ป่า
สักขี เป็นไม้พุ่ม สูง ๕-๑๐ เมตร มียางขาว ใบเดี่ยว เรี่ยงสลับ เวียนรอบกิ่งรูปวงรี กว้าง ๑-๓.๕ ซม. ยาว ๒-๙ ซม. มีหนามแหลมออกตรงซอกใบ ๑ อัน ยาวประมาณ ๑ ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น รูปกลม ผล เป็นผลรวม เป็นต้นเถาเนื้อแข็งพาดพิงไม้อื่น มีหนามยาวที่โคนต้น ลำต้นเป็นสามเหลี่ยมมีร่องพอมองเห็น เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบทรงรูปไข่ปลายมน ผิวเรียบมัน ขอบเรียบ ขนาด ๒x๓ เซนติเมตร ลักษณะใบงุ้มงอนคล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ที่โคนใบดอกขาวออกปลายกิ่ง ออกเป็นช่อผลเป็นฝักสีน้ำตาลคล้ายฝักส้มป่อย แต่ละฝักจะมีเมล็ดประมาณ ๓-๔ เมล็ด เมล็ดข้างในมีสีม่วงยอดอ่อนกินเป็นผักรสชาติฝาดมัน ขยายพันธ์โดย ปักชำ ตอนกิ่งหรือใช้เมล็ด พื้นที่เหมาะสมการปลูกบริเวณทุ่งนา ป่าราบโล่ง แถบชายคลอง ให้ผลผลิตช่วงต้นฤดูแล้ง ทางการแพทย์แผนไทยใช้ประโยชน์จากแก่น บำรุงธาตุ แก้ไข้พิษ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้คุดทะราด ขับเสมหะ แก้อาเจียน และบำรุงโลหิต

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65912805704606_1.jpg)
     "เสม็ดแดง"  สรรพคุณดี ผลอร่อย
เสม็ดแดง พบขึ้นตามป่าธรรมชาติทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งในสมัยเป็นเด็กบ้านนอกจำได้ว่า เวลาขึ้นเขาเข้าป่า  ถ้าพบต้น “เสม็ดแดง” แตกยอดอ่อนและติดผล  จะเก็บลงไปขายในตลาดสดตัวเมือง ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย โดยยอดอ่อนจะมีรสเปรี้ยวปนฝาด รับประทานกับน้ำพริกชนิดต่างๆ อร่อยมาก ส่วนผลมีรสหวานเย็นและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เคี้ยวแล้วชุ่มคอสดชื่นยิ่งนัก ปัจจุบันหายากแล้ว

เสม็ดแดง หรือ SYZYGIUM GRATUM (WIGHT) S.N.MITRA VAR.GRATUM อยู่ในวงศ์ MYRTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร กิ่งเป็นสี่เหลี่ยม ใบออกตรงกันข้าม ปลายแหลม โคนมน ยอดอ่อนเป็นสีแดง ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด กลีบเลี้ยง ๕ แฉก กลีบดอก ๕ กลีบ สีเหลืองอ่อน มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามมาก “ผล” ทรงกลม โตเต็มที่ประมาณลูกปัดทั่วไป ผลเป็นสีขาว ติดผลดกเป็นพวง ผลรสหวานหอมตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง มีอีกชื่อคือ เสม็ดขุน (ใต้) เม็ก (อีสาน) และ เสม็ด ทั่วไป

ประโยชน์ทางสมุนไพร ใบสด  ตำพอกแก้เคล็ดยอกฟกบวมดีมาก และใช้ใบ มะกรูด หรือ ใบพลู รมควันใต้ใบ “เสม็ดแดง” พออุ่นๆ นำไปนาบท้องเด็กแก้ท้องขึ้นท้องอืดและแก้ปวดท้องเด็กเด็ดขาดยิ่ง ยาพื้นบ้านอีสาน ยอดอ่อน กินเป็นยาขับลม อีกชนิดหนึ่งคือ “เสม็ดขาว” ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ใกล้เคียงกันมาก จะแตกต่างกันเพียงทรงของใบและยอดอ่อนชนิดหลังเป็นสีขาว จึงถูกตั้งชื่อว่า “เสม็ดขาว” เปลือกต้นคล้ายเอากระดาษฟางหุ้มซ้อนพันลำต้นไว้ ลอกออกไปชุบน้ำมันยางแล้วมัดหุ้มเป็นท่อนยาวๆ จุดไฟ เรียกว่า “ไต้เสม็ด” ประโยชน์ทางสมุนไพรของ “เสม็ดขาว” ไม่มีระบุไว้ เปลือกต้นยังนิยมลอกนำไปทำเป็นหลังคาเรือกระแชงกันแดดกันฝนดีอีกด้วยครับ..
ไทยรัฐ - อังคารที่ ๑๐/๑๐/๕๖

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/19317281618714_EyWwB5WU57MYnKOuFBma6WmjfFTHYj.jpg)
    มังตาน – ดอกและเปลือกมีคุณค่า
ในตำรายาแผนไทย ระบุว่า ดอก ของ “มังตาน” ตากแห้งหรืออบแห้งชงน้ำร้อนให้สตรีที่เพิ่งจะคลอดบุตรใหม่ๆ ดื่มต่างน้ำเป็นยาแก้อาการขัดเบา แก้ลมชัก ลมบ้าหมูกับคนทั่วไปได้ ต้นและกิ่งอ่อน ต้มน้ำจนเดือดดื่มขณะอุ่นแก้อาการคลื่นไส้ และใช้น้ำดังกล่าวหยอดหูแก้ปวดในหูดีมาก ในยุคสมัยก่อนนิยมอย่างแพร่หลาย ประโยชน์ด้านอื่น เปลือกต้นของ “มังตาน” นำไปตากแห้งแล้วบดเป็นผงนำ ไปแต่งกลิ่นธูปให้มีกลิ่นหอมเป็นธรรมชาติ เปลือกต้นแบบสดทุบพอแตกนำไปแช่ในน้ำบริเวณห้วยหนองคลองบึง เป็นยาเบื่อปลาให้เกิดอาการมึนหรือเมา จับปลาได้ง่ายๆ

มังตาน หรือ SCHIMA WALLICHII (D.C.) KORTH อยู่ในวงศ์THEACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๒๕ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบหอก รูปขอบขนาน หรือรูปวงรีกว้าง ผิวใบและขอบใบเรียบ ใบเป็นมัน สีเขียวสด ใบดกและหนาแน่นมาก  ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ มีกลีบดอก ๕ กลีบ รูปกลมมน กลีบคู่ด้านบน จะมีขนาดเล็กกว่ากลีบคู่ด้านข้างเล็กน้อย กลีบล่าง ๑ กลีบ เป็นรูปช้อน ดอกเป็นสีขาวนวล ใจกลางดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมากคล้ายดอกบุนนาค เวลามีดอกดกและบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามยิ่ง ดอกออกได้เรื่อยๆ หรือเกือบทั้งปี “ผล” ค่อนข้างกลม ผลแก่สีเกือบดำ เมื่อผลแก่แตกได้ ภายในมีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีก กรรโชค (อีสาน) กาไซ้ (ยะลา-นครพนม) ทะโล้, สารภีป่า (เหนือ) จำปาดง, พระราม (เลย) บุนนาค (โคราช-ตราด) และ พังตาน, พันตัน (ใต้)

มีต้นขายทั่วไป ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ มีทั้งต้นขนาดใหญ่และต้นขนาดเล็ก ราคาสอบถาม กันเองครับ..
   นสพ.ไทยรัฐ – ๑๙/๑๑/๕๗

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92766590457823_EyWwB5WU57MYnKOuFBmbXnOGBMyxvD.jpg)
    โกฐจุฬาลัมพา แก้หืดไอ
โกฐจุฬาลัมพา มีถิ่นกำเนิดจาก ประเทศอินเดีย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เฉพาะตัวอย่างเป็นทางการคือ ARTEMISIA VULGARIS LINN. อยู่ในวงศ์ COMPOSITAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่ม ต้นขนาดเล็ก ต้นสูงระหว่าง ๒-๓ ฟุต แตกกิ่งก้านหนาแน่นในช่วงปลายต้น ใบมีลักษณะคล้ายกับใบผักชี แต่จะมีขนาดใหญ่กว่ามาก ใบย่อยออกเรียงสลับ รูปรี ขอบใบจักอย่างชัดเจน สีเขียวสด  ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยเป็นกระจุกหลายดอก มีกลีบดอก ๔ กลีบ สีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เวลามีดอกสวยงามน่าชมยิ่ง ดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำต้น

สรรพคุณทางสมุนไพร ตำรายาแผนไทยโบราณกล่าวว่า ทั้งต้นรวมรากต้มน้ำจนเดือดดื่มขณะอุ่นเป็นยาแก้ไข้  “เจรียง” หมายถึง ไข้ที่มีเม็ดผื่นขึ้นตามร่างกาย เช่น เหือด หัด อีสุกอีใส ดำแดง ไข้รากสาด โรคประดง แก้ไข้ เพื่อเสมหะ แก้หืด และแก้ไอ ตำรายาพื้นบ้าน ใช้ใบกับช่อดอกต้มน้ำจนเดือดดื่มขณะอุ่น เป็นยาแก้ไข้ที่มีผื่นตามตัวเช่นเดียวกัน
โกฐจุฬาลัมพา อีกชนิดหนึ่งเป็นสายพันธุ์ของไทย นิยมปลูกมากเฉพาะถิ่นทางภาคเหนือ เป็นไม้อยู่ในตระกูลเดียวกัน แต่เป็นคนละสายพันธุ์และมีข้อแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ ใบ ของ “โกฐจุฬาลัมพา” สายพันธุ์ไทยจะเป็นฝอยๆ ส่วนสรรพคุณทางสมุนไพรใช้รักษาอาการของโรคได้เหมือนกับ “โกฐจุฬาลัมพา” สายพันธุ์ของอินเดียทุกอย่าง แต่สายพันธุ์ไทยจะมีฤทธิ์อ่อนกว่าเล็กน้อย และเป็นอาหารได้ด้วย

ปัจจุบัน “โกฐจุฬาลัมพา” สายพันธุ์อินเดียมีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑  ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรตามที่กล่าวข้างต้นคุ้มค่ามากครับ.
   นสพ.ไทยรัฐ – พฤหัสบดีที่ ๔/๙/๕๗
 
(http://2magrotech.com/2012/wp-content/uploads/2013/09/229683.jpg) 
     "ไมยราพไร้หนาม" 
ไมยราบไร้หนาม เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง ที่เจริญเติบโตรวดเร็วสามารนำมาใช้เป็นปุ๋ยพืชสด และพืชคลุมดินได้ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีของดิน เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน เพิ่มสัดส่วนของช่องอากาศในดิน ทำให้ดินร่วนซุย และเพิ่มความสามารถในการอุ้มนํ้าของดิน แต่ไม่เหมาะสมนำมาเป็นอาหารสัตว์หากไม่เข้าใจวิธีดำเนินการเนื่องจากมีสารไนเตรท-ไนโตรเจน สะสมอยู่ในลำต้นและใบในปริมาณสูงพอที่จะทำให้เกิดการเป็นพิษขึ้นได้ เมื่อสัตว์กินเข้าไปในปริมาณมาก โดยเฉพาะในช่วงต่อระหว่างฤดูแล้งกับฤดูฝน ภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงด้านอุณหภูมิและความชื้น โดยเฉพาะสัตว์จำพวกโค-กระบือ หากกินเข้าไปจะเป็นพิษมากกว่าแพะและม้า นอกจากนี้ในต้นไมยราบไร้หนามยังมีสารไซยาไนด์เป็นส่วนประกอบอีกด้วย. ..   เดลินิวส์ - เสาร์ที่ ๓๑/๘/๕๖


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS7p4m6MqGae5Y0-9KZ9t9WmcsFmApS8uGZHLpxPsWx8erBxkrF)
     ระย่อม   ยาดีพื้นบ้าน
ระย่อม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า RAUVOLFIA SERPENTINA (L.) BENTH. EX KURZ อยู่ในวงศ์ APOCYNACEAE เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กชนิดลงรากใต้ดิน รากขนาดใหญ่และยาวมาก ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน ๓-๕ เมตร เนื้อไม้แข็ง ผิวเปลือกต้นเกลี้ยงสีน้ำตาลเทา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปใบหอกหรือรูปรี ปลายและโคนใบแหลม ใบดกและหนาแน่นในช่วงปลายยอด

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ลักษณะดอกคล้ายดอกเข็มแดง ดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวสีแดงอมม่วง ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ ปลายกลีบดอกแหลมเป็นสีขาว ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๐.๓ ซม. เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักคู่ แบนและยาว มีเมล็ดหลายเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง พบขึ้นตามป่าทุกภาคของประเทศไทย โดยจะขึ้นอยู่ตามริมห้วยริมลำธารทั่วไป พบมากที่สุดทางภาคเหนือ รากจะมีขนาดใหญ่และยาวตามที่กล่าวข้างต้น มีชื่อเรียกอีกคือ กะย่อม, ย่อม, ย่อมตีนหมา, เข็ม และตูมคลาน

รากรสขม รากสดต้มน้ำดื่มแก้โรคเลือด แก้ไข้ ช่วยเจริญอาหาร แต่รับประทานมากจะทำให้เมาได้ รากสดต้มน้ำดื่มช่วยย่อยอาหารและจะทำให้รู้สึกหิวบ่อยหรือกินจุ อาจทำให้เกียจคร้านคล้ายกับคนสูบกัญชา แต่ไม่ใช่ยาเสพติด หากกินแบบพอดีจะมีประโยชน์มาก ในอดีตทหารญี่ปุ่นเอารากของ “ระย่อม” สดตำละเอียดกรอกปากม้ากินเพื่อถ่ายพยาธิด้วย เด็กที่มีพยาธิในตัวใช้รากดังกล่าวกินขับออกจะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ซึ่งในรากของ “ระย่อม” มีสาร “อัลคาลอยด์” ชนิดหนึ่งสามารถรักษาอาการเหล่านี้ได้

สมัยก่อน นิยมปลูกตามหมู่บ้านอย่างแพร่หลายเพื่อใช้เป็นยากลางบ้านหรือยาพื้นบ้านตามสรรพคุณที่กล่าวข้างต้นอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันบางพื้นที่ยังนิยมใช้อยู่ครับ.
   ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQdcshEVhW1hWbX1jQPwembMYC2p2obhYc_tjU18ysbiJayMPTyaQ)
     โคกกระออม  ยาดีข้างถนน
ผู้อ่าน จำนวนมากอยากทราบว่า “โคกกระออม” เป็นอย่างไร ซึ่งตำรายาไทย ระบุว่า ทั้งต้นรวมราก ของ “โคกกระออม” จำนวนพอประมาณตัดเป็นท่อนเล็กๆ ต้มกับน้ำท่วมยาจนเดือด ดื่มครั้งละ ๑ แก้ว ๓ เวลา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เป็นยา แก้ไขข้ออักเสบได้ดีระดับหนึ่ง สมัยก่อนนิยมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งต้นยังนำ ไปผสมตัวยาอื่น เป็นยาแก้หอบหืดได้อีกด้วย ปัจจุบันยังนิยมใช้กันอยู่

ใบสด กะจำนวนพอประมาณต้มกับน้ำจนเดือด ดื่มแก้ไอ ตำพอกฝีให้แตกเร็วและหายได้ ต้นหรือเถาต้มน้ำดื่มแก้ไข้ ดอก ขับโลหิต ผลตำ พอกดับพิษไฟลวกไม่ให้ปวดแสบปวดร้อน เมล็ดสด กินแก้ไอ ขับเหงื่อ รากตำ คั้นเอาเฉพาะน้ำหยอดตาแก้ตาต้อ รากตำ เอากากพอกแก้พิษ แมลงพิษต่อยหรือถูกงูพิษกัดก่อนพาส่งโรงพยาบาลให้แพทย์รักษา ยอดอ่อน สดกินขับปัสสาวะ กินเป็นผักสดได้ แต่รสชาติจะขมมาก แพทย์จีนใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่มขับน้ำนมทำให้เกิดน้ำนมในสตรี ท้องระบายเป็นยาแก้ไข้ น้ำคั้นจากใบสดหยอดตาแก้ตาเจ็บได้

โคกกระออม BALLOON-VINE, HEARTPEA หรือ CARDIOS PERMUM HALICACABUM LINN. อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE เป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก ขึ้นตามที่รกร้างข้างถนนทั่วไป ต้นเป็นเหลี่ยมสีเขียว มีมือเกาะคล้ายตำลึง ใบประกอบมีใบย่อย ๓ ใบ ขอบใบหยักลึก ๓ แฉก ดอกสีเหลืองอ่อน ดอกขนาดเล็กคล้ายดอกมะระ ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ มีดอกย่อย ๘-๑๐ ดอก มีกลีบดอก ๔ กลีบ มีเกสรเป็นกระจุก “ผล” ทรงกลม โตประมาณปลายนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ พองลมเป็นสามเหลี่ยมสีเขียวอ่อนใส ห้อยลงคล้ายโคมไฟสวยงามมาก หากเอาผลบีบให้แตกจะมีเสียงดัง ภายในมีเมล็ดสีดำ ดอกออกช่วงปลายฤดูร้อนไปจนถึงปลายฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีชื่ออีกคือต้นต้อก, ลุมลับเครือ, เครือผักไล่น้ำ, โพออม, ติ๊นไข่และไหน มีปลูกเฉพาะตามสวนยาเท่านั้น หากต้องการต้นจะต้องเสาะหากันเองไม่มีวางขายครับ.
   ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTLMz23oxPO-JwbClNb3JurajorM6zZwyi7UIzbfvPEax7hvhlA)
     หนานเฉาเหว่ย  แก้ปวดเข่าดี
ผู้อ่านไม่น้อยแจ้งผลการนำเอาใบของ “หนานเฉาเหว่ย” ไปปฏิบัติเพื่อรักษาอาการตามที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปว่า ได้ผลดีระดับหนึ่ง โดยเฉพาะเกี่ยวกับอาการปวดเข่าที่ไม่ใช่เกิดจากหัวเข่าเสื่อม เมื่อนำใบสดเคี้ยวกินตามจำนวนระบุแล้ว ทำให้เดินเหินได้สะดวกขึ้น อาการปวดเข่าน้อยลงหรือไม่มีเลย ซึ่งถือเป็นเรื่องของลางเนื้อชอบลางยา ขึ้นอยู่กับธาตุของแต่ละคนใช้สมุนไพรชนิดไหนถูกโฉลกสามารถใช้ได้เรื่อยๆ
 
วิธีใช้แก้อาการปวดเข่า ปวดเมื่อยตามร่างกายเพราะต้องเดินหรือยืนนานๆ ให้เอาใบสดของ “หนานเฉาเหว่ย” ๑-๒ ใบ เคี้ยวกินได้เลย วันละครั้งตอนไหนก็ได้ ซึ่งใบจะมีรสขมจัด ในตอนแรกที่กินจะขมในปากมาก เมื่อดื่มน้ำตามลงไปจะรู้สึกมีรสหวานในปาก กินติดต่อกันประมาณ ๑ อาทิตย์ อาการจะดีขึ้นหรือหายได้ จากนั้นกินบ้างหยุดบ้างไม่อันตรายอะไร
 
ตำรายาจีน ให้เอาใบสดจำนวน ๕-๗ ใบ ต้มกับน้ำ ๑ ลิตร จนเดือด ดื่มขณะอุ่นครั้งละครึ่งแก้วก่อนอาหาร ๒ เวลา เช้าเย็น ประมาณ ๑ อาทิตย์ เป็นยาช่วยลดน้ำตาลในเลือดหรือโรคเบาหวาน แก้เกาต์ ลดความดันโลหิตสูงได้ จากนั้นต้มดื่มบ้างหยุดบ้างเพื่อควบคุมอาการของโรคเอาไว้ ใบหั่นตากลมให้แห้งไม่ต้องตากแดดชงเป็นน้ำชาดื่มได้
 
หนานเฉาเหว่ย มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้น สูง ๖-๘ เมตร ใบออกสลับ รูปรี ปลายแหลม โคนเกือบมน ใบอ่อนหรือแก่รสขมจัด ดอกสีขาว ออกตามซอกใบและปลายยอด “ผล” รูปทรงกลม มีเมล็ด
 
ปัจจุบันมีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า
    ไทยรัฐ


(http://)
      
.    ไทยรัฐ

    ไทยรัฐ





หัวข้อ: Re: "เกษตรน่ารู้" สารพัดสารพันเรื่องพันธุ์ไม้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 09 กันยายน 2559 16:21:34
(http://www.nfc-npm.com/icon/knowledge_1454987916.jpg)
มะขามเนื้อแดงฝักตรง เปรี้ยวจัดราคาดี
มะขามเนื้อแดงมีหลายสายพันธุ์ ทั้งฝักใหญ่อ้วนและฝักโค้งงอ ส่วน “มะขามเนื้อแดงฝักตรง” เป็นพันธุ์โบราณ นิยมปลูกกันมาช้านาน ในแถบ จ.ชัยนาท เพื่อใช้ประโยชน์ทั่วไปเหมือนกับมะขามเนื้อธรรมดาทุกอย่าง มีลักษณะประจำพันธุ์คือ เนื้อในจะเป็นสีแดงตั้งแต่เริ่มติดผลเป็นฝักอ่อนเล็กๆ จนกระทั่งฝักสุก สามารถเก็บผลสุกแกะเอาเฉพาะเนื้อทำเป็นมะขามเปียกปั้นเป็นก้อนๆ หรือชั่งกิโลขายได้ราคากิโลกรัมหลายบาท รสชาติเปรี้ยวจัดสีสันสวยงามเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างแพร่หลาย

มะขามเนื้อแดงฝักตรง อยู่ในวงศ์ CAESALPINICEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะขามทั่วไปทุกอย่างคือ เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร ใบเป็นใบประกอบออกเป็นคู่ตามก้านใบ ๑๐-๑๘ คู่ ใบรูปขอบขนาน ปลายและโคนมน ใบอ่อนและใบแก่รสเปรี้ยวปนฝาดกินได้ นิยมทำต้มส้มใส่ปลานํ้าจืดหรือใส่ไก่ปรุงรสรับประทานอร่อยมาก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก ดอกเป็นสีเหลือง มีประสีแดงกลางดอก ดอกมีรสเปรี้ยวรับประทานได้ “ผล” รูปกลมแบนเล็กน้อยยาวเกือบตรง ไม่โค้งงอเหมือนมะขามเนื้อแดงสายพันธุ์อื่น เปลือกผลค่อนข้างหนา สีนํ้าตาลเทา เนื้อในเป็นสีแดงตั้งแต่ติดผลเป็นฝักอ่อนจนกระทั่งฝักสุก จึงถูกตั้งชื่อว่า “มะขามเนื้อแดงฝักตรง” ดังกล่าว ติดผลเป็นพวงและติดผลดกทั้งต้นตามฤดูกาล มีเมล็ด รสชาติเปรี้ยวจัดตั้งแต่ยังเป็นฝักอ่อนจนฝักสุก ออกดอกช่วงฤดูฝน ติดผลจนฝักแก่ในช่วงฤดูหนาว ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัส
...นสพ.ไทยรัฐ

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSWHCKO5xkb9MQJ9SgL66bKVcEZ3XJ-Q_61kWsWKsjVfRYbNvOI)
มะเขามเปรี้ยวฝักโค้ง ใหญ่ยาวเนื้อเยอะคุ้ม
กระแสการปลูกมะขามรสเปรี้ยวยังคงเฟื่องฟูอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมะขามเปรี้ยวที่มีผลหรือฝักใหญ่ยาวจะได้รับเลือกไปปลูกเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากจะให้เนื้อเยอะเมื่อนำผลสุกไปแกะเอาเนื้อแปรรูปทำเป็นมะขามเปียกได้จำนวนมากและได้ราคาดี ซึ่ง “มะขามเปรี้ยวฝักโค้ง” เป็นสุดยอดของมะขามเปรี้ยวที่มีดอกและติดผลดกเต็มต้นตามฤดูกาลจนเป็นสายพันธุ์ มะขามเปรี้ยวยอดนิยมของผู้ปลูกเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

มะขามเปรี้ยวฝักโค้ง หรือ TAMARINDUS INDICA LINN. ชื่อสามัญ TAMARIND, INDIAN DATE อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๘-๑๕ เมตร แตกกิ่งก้านสาขาหนาแน่น เนื้อไม้เหนียว ใบเป็นใบประกอบออกเรียงสลับ มีใบย่อย ๑๐-๒๐ คู่ รูปขอบขนานค่อนข้างยาว ดอกเป็นสีเหลืองแกมส้ม ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด มีกลีบเลี้ยง ๔ กลีบ กลีบดอก ๕ กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน มีเกสรตัวผู้สมบูรณ์ ๓ อัน “ผล” เป็นฝักใหญ่และยาวโค้งไม่เป็นฝักตรงเหมือนสายพันธุ์อื่น เปลือกผลหนา แข็ง เปราะ สีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทา เนื้อดิบและสุกมีรสเปรี้ยวจัด เนื้อหนาแน่นละเอียด แต่ละฝักจะมีเมล็ดตั้งแต่ ๑๕-๑๗ เมล็ด มีดอกและติดผลช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง มีกิ่งตอนขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗  เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลใช้ประโยชน์ในครัวเรือน หรือมีที่ว่างมากๆ ปลูกหลายๆต้นเก็บผลดิบและผลสุกแกะเอาเนื้อแปรรูปทำเป็นมะขามเปียกขายได้ราคาดีและคุ้มค่ามาก

ประโยชน์ เปลือกต้นต้มน้ำหรือต้มกับน้ำปูนใสดื่มแก้ท้องเดิน เนื้อไม้เหนียวทำเขียงทนทานใช้ได้นาน ใบต้มน้ำดื่มช่วยย่อยและขับปัสสาวะ ใบผลและดอกเป็นอาหาร เนื้อในฝักเป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไอ ขับเสมหะ เมล็ดคั่วสุกเอาเปลือกหุ้มเมล็ดทิ้งกินเฉพาะเนื้อ ขับพยาธิไส้เดือนดีมาก ซึ่งมะขามทั่วไปมีถิ่นกำเนิดเอเชียและแอฟริกาเขตร้อนครับ.
...นสพ.ไทยรัฐ (:POO:)


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR-xh_xZeRBfI7wY5lAaeWZdsHnPEvZ5mfT2HKvLYI19Av_6dIWyA)
มะขามแขก ใบฝักมีประโยชน์
สมัยก่อนใบกับฝัก “มะขามแขก” เป็นสินค้านำเข้าเพื่อใช้ประโยชน์ทางยาเท่านั้น คือทั้งใบและฝัก ปรุงเป็นยาถ่ายสำหรับคนที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง โดยใช้เป็นครั้งคราว ใบจะมีฤทธิ์มากกว่าฝัก และยังมีคุณสมบัติพิเศษ  สำหรับคนเป็นริดสีดวงทวารด้วย ฝักจะออกฤทธิ์กับลำไส้ใหญ่ ดังนั้นสตรีที่มีครรภ์จึงไม่ควรใช้ยานี้ ยาพื้นบ้านบางแห่งเอาใบ “มะขามแขก” เคี่ยวกวนกับมะขามเปียกและฝักของต้นคูนใส่น้ำตาลเล็กน้อยรับประทาน เป็นยาระบายอ่อนๆ ปัจจุบันใบของ “มะขามแขก” ยังถูกนำไปเข้าตำรับยาลดอ้วน ชงน้ำร้อนดื่มเป็นชาหลายยี่ห้อ

มะขามแขก หรือ CASSIA ANGUSTI FOLIA VAHL. ชื่อสามัญ INDIAN SENNA, TINNEYELLY SENNA. อยู่ในวงศ์ LEGUM INOSAE มีถิ่นกำเนิดจากประเทศ อาระเบีย โซมาลีแลนด์ เขตร้อน ในประเทศไทยมีต้นขายและปลูกกันอย่างแพร่หลาย เป็นไม้พุ่ม สูง ๐.๕-๑.๕ เมตร ใบประกอบ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย ๓-๗ คู่ รูปใบหอก ปลายเรียวแหลม โคนแหลม สีเขียวอมเหลือง ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีเหลืองทอง ดอกจะทยอยบานจากโคนช่อขึ้นไปจนถึงปลายช่อ มีกลีบเลี้ยง ๕ กลีบ กลีบดอก ๕ กลีบ มีเกสรตัวผู้ ๕-๑๐ อัน เวลามีดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักแบน โค้งเล็กน้อย มีหลายเมล็ด ดอกออกช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคมทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  ประโยชน์ ใบและฝัก มีสารสำคัญ ANTHRAQUINONE ชื่อสาร SENNO SIDES เอและบี ใช้ใบหรือฝักจำนวน ๒ กรัม ต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่าย แต่ควรเติมเปลือกต้นอบเชยหรือผลกระวานลงไปเล็กน้อยเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียน ปัจจุบัน มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑
...นสพ.ไทยรัฐ

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQbZkkIlCOQ1A0dncYoOXzH-yZuFoaCnhpA0goMK9VPxB58UyG0)
เพกาเตี้ย ฝักใหญ่ยาวดกทั้งปีคุ้ม
ต้นเพกา ที่ปลูกด้วยวิธีเพาะเมล็ด จะสูงใหญ่ ๕-๑๓ เมตรขึ้นไปทำให้เวลาติดฝักเก็บได้ยาก แต่ “เพกาเตี้ย” ที่เกิดจากการขยายพันธุ์ด้วยการเอารากของต้นเพกาที่เป็นพันธุ์เตี้ยอยู่แล้วไปปักชำ จนแตกต้นขึ้นมานำไปปลูกเลี้ยงจนต้นโต ปรากฏว่าต้นเตี้ยแจ้กว่าเดิมเยอะคือสูงแค่ ๒-๔ เมตรเท่านั้น มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์ได้แก่ ฝักมีขนาดใหญ่และยาวมาก ติดฝักดก ที่สำคัญมีดอกและติดฝักได้เร็วขึ้นหลังปลูกแค่ ๖-๘ เดือนแค่นั้น เป็นเพกาพันธุ์ใหม่ที่เป็นพันธุ์แท้แบบถาวรแล้วจึงถูกตั้งชื่อว่า “เพกาเตี้ย” ดังกล่าว เป็นเพกาที่มีดอกและ ติดฝักตลอดทั้งปี เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บฝักรับประทานในครัวเรือนหรือเก็บฝักขายได้คุ้มค่ามาก

เพกาเตี้ย หรือ OROXYLUM INDICUM (LINN.) KURZ. อยู่ในวงศ์ BIGNONIACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูงไม่เกิน ๒-๔ เมตร ใบเป็นใบประกอบ ๒-๓ ชั้น ออกตรงกันข้ามแบบถี่ๆบริเวณปลายกิ่งมีใบย่อย ๓-๗ ใบ เป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนสอบเว้าลึกหรือเบี้ยวเล็กน้อย ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอดและที่ปลายยอด ดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ เป็นสีน้ำตาลคล้ำ หรือสีแดงอมม่วง “ผล” หรือฝักแบนยาวคล้ายดาบ ห้อยลงเป็นพวง ผลหรือฝักกว้างประมาณ ๗-๑๐ ซม. ยาว ๔๕-๑๒๐ ซม. มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดรูปแบน โดยทั่วไปดอกออกช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม–สิงหาคม ดอกจะบานเฉพาะตอนกลางคืนเท่านั้น แต่ “เพกาเตี้ย” มีดอกและฝักเรื่อยๆ ขยายพันธุ์โดยทั่วไปด้วยเมล็ด ผลหรือฝักเผาไฟให้ผิวนอกไหม้แล้วขูดผิวที่ไหม้ออกหรือต้มจิ้มน้ำพริก ทำยำอร่อยมาก
...นสพ.ไทยรัฐ