[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 28 พฤศจิกายน 2566 21:40:23



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เทียบ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน-พรรคก้าวไกล เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 28 พฤศจิกายน 2566 21:40:23
เทียบ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน-พรรคก้าวไกล เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-11-28 20:11</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ
กราฟิก: กิตติยา อรอินทร์</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2566 เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน ซึ่งเป็นการรวมตัวของเครือข่ายภาคประชาสังคม 13 องค์กร ได้ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม พ.ศ. ... หรือ 'นิรโทษกรรมฉบับประชาชน'</p>
<p>ผลของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มุ่งหวังให้มีการลบล้างความผิดของประชาชนที่เข้าร่วมแสดงเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมทางการเมือง โดยจะยุติการดำเนินคดีต่อผู้ที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองไม่ว่าคดีนั้นจะอยู่ในชั้นสอบสวน อัยการ หรือชั้นศาล หรือถ้าคดีมีคำพิพากษาแล้ว ให้เหมือนบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่ากระทำความผิด และถ้าอยู่ระหว่างได้รับโทษ โทษจะสิ้นสุดลง และจะได้รับการปล่อยตัว</p>
<p>อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน กลับมีจุดที่แตกต่างจาก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของพรรคก้าวไกล ทั้งเรื่องระยะเวลาการบังคับใช้นิรโทษกรรม สัดส่วนคณะกรรมการพิจารณานิรโทษกรรม หรือการระบุชัดเจนว่า คดีความใดเป็นคดีที่ได้รับการนิรโทษกรรมทันที โดยไม่ต้องผ่านกลไกคณะกรรมการฯ </p>
<p>เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ประชาไทจะมาช่วยสรุป พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน และ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของพรรคก้าวไกล มีข้อที่เหมือนหรือแตกต่างอย่างไรกันบ้าง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53353531078_0177c2eb41_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ระยะเวลาการบังคับใช้ ฉบับประชาชนสตาร์ท รปห. ปี'49</span></h2>
<p>จากการตรวจสอบพบว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน และฉบับพรรคก้าวไกลมีจุดที่แตกต่างกันดังนี้ </p>
<p>ในแง่ของระยะเวลาการบังคับใช้ระหว่างฉบับประชาชน และฉบับพรรคก้าวไกล พบว่า แม้ว่าจะมีการเริ่มบังคับใช้ในปีเดียวกัน คือ ปี 2549 แต่ภาคประชาชน จะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นวันที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คมช. ซึ่งมี พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น และเป็นหัวหน้าคณะ กระทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร พรรคไทยรักไทย ไปจนถึงวันที่บังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นทางการ</p>
<p>ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของพรรคก้าวไกล เริ่มบังคับใช้วันแรก ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งเป็นวันแรกของการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอันมีระบอบพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือพันธมิตรฯ เริ่มชุมนุมครั้งแรก จนถึงวันที่บังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นทางการ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ฉบับประชาชนระบุชัดเจน จะลบประวัติอาชญากรรม</span></h2>
<p>ผลจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ทั้งฉบับประชาชน และฉบับก้าวไกล จะส่งผลเหมือนกันคือการยุติคดีทางการเมือง แต่อย่างไรก็ตาม ฉบับประชาชนระบุอย่างชัดเจนว่า ผลของการบังคับใช้กฎหมายนิรโทษกรรมฉบับนี้ จะมีการลบประวัติอาชญากรรมโดยเป็นความร่วมมือการทำงานระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ สตช. และคณะกรรมการนิรโทษกรรม (ฉบับประชาชน) ขณะที่ฉบับของพรรคก้าวไกล ไม่ได้มีการระบุเรื่องนี้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ฉบับประชาชน เผยมี 5 คดีที่ได้รับการนิรโทษกรรมทันที ไม่ต้องผ่านกลไกพิจารณาของ คกก. รวม ม.112</span></h2>
<p>พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน มีความแตกต่างอย่างชัดเจนจากฉบับก้าวไกล คือหากกฎหมายบังคับใช้ จะมีคดีความที่ได้รับการนิรโทษกรรมทันที โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการนิรโทษกรรมคดีการเมือง โดยมีทั้งหมด 5 ประเภท ประกอบด้วย</p>
<ol>
<li>ความผิดประกาศคำสั่งของ คสช. </li>
<li>คดีพลเรือนที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหาร ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/57 และฉบับที่ 38/57</li>
<li>คดี ม.112 </li>
<li>คดี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548</li>
<li>คดีตามฐานความผิดใน พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559</li>
<li>คดีอื่นๆ ที่มีข้อหาตาม 1-5 ร่วมด้วย</li>
</ol>
<p>ในวันแถลงข่าวของเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน พูนสุข พุกสุขเจริญ (https://prachatai.com/journal/2023/11/106883) ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า เหตุที่ให้นิรโทษกรรมคดี 5 คดีนี้ โดยไม่ต้องผ่านกลไกคณะกรรมการฯ เนื่องจากค่อนข้างชัดเจนว่าคดีเหล่านี้เป็นคดีการเมือง เป็นคดีที่ไม่สมควรถูกดำเนินคดีตั้งแต่ต้น แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง 5 คดีนี้ยังต้องผ่านกระบวนการทางรัฐสภาก่อนว่าเป็นคดีการเมือง ควรได้รับการนิรโทษกรรมทันที</p>
<p>ขณะที่ฉบับพรรคก้าวไกล ไม่ได้ระบุประเภทฐานความผิด แต่ให้ คกก. พิจารณาว่าจะให้นิรโทษกรรมคดีประเภทใดบ้าง ชัยธวัช ตุลาธน  (https://prachatai.com/journal/2023/10/106449)ระบุว่า เนื่องจากในคดี เช่น พ.ร.บ.ความสะอาด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ใช่ทุกคดีที่เป็นคดีการเมือง จึงต้องมีการมีพิจารณาว่าคดีใดบ้างที่มีมูลเหตุจากความขัดแย้งทางการเมือง </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มีคณะกรรมการนิรโทษกรรมคดีการเมือง </span></h2>
<p>ทั้งฉบับประชาชน และพรรคก้าวไกล จะมีการตั้งกลไกคณะกรรมการพิจารณาคดีการเมืองเพื่อนิรโทษกรรม แต่มีความแตกต่างกันบางประการ โดยเฉพาะเรื่องสัดส่วนของ คกก. และหลักเกณฑ์กฎหมายที่จะได้รับพิจารณานิรโทษกรรม</p>
<h2><span style="color:#2980b9;"><strong>สัดส่วนกรรมการฯ ของฉบับประชาชนมีตัวแทนผู้ถูกดำเนินคดี และ NGO</strong></span></h2>
<p>สัดส่วนคณะกรรมการพิจารณานิรโทษกรรม ฉบับประชาชน มีจำนวนสมาชิก 19 คน ประกอบด้วย</p>
<ul>
<li><strong>ประธานคณะกรรรมการ:</strong> ประธานสภาผู้แทนราษฎร </li>
<li>ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร </li>
<li>ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล </li>
<li>สส. 10 คนตามสัดส่วนของพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร</li>
<li>ตัวแทนจากประชาชนผู้ถูกดำเนินคดีจาก 4 เหตุการณ์ คือ การรัฐประหาร 2549 จากการชุมนุมช่วงปี 2552-2553 จากช่วงการรัฐประหาร 2557-2562 และจากการชุมนุมช่วงปี 2563-2566 เหตุการณ์ละ 1 คน </li>
<li>องค์กรภาคประชาชนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการค้นหาความจริงและอำนวยความยุติธรรม 2 คน</li>
</ul>
<p>ฉบับพรรคก้าวไกล มีคณะกรรมการจำนวน 9 คน ประกอบด้วย </p>
<ul>
<li><strong>ประธานกรรมการ</strong>: ประธานสภาผู้แทนราษฎร 1 คน </li>
<li><strong>รองประธานคณะกรรมการ</strong>: ประธานผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 1 คน </li>
<li>บุคคลผู้ได้รับเลือกจากคณะรัฐมนตรี 1 คน </li>
<li>บุคคลที่สมาชิกสภาฯ เลือก 2 คน แบ่งเป็นพรรคการเมืองที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจำนวน 1 คน และพรรคการเมืองที่มีสมาชิก สส.มากที่สุดที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี จำนวน 1 คน</li>
<li>เลขาธิการสภาฯ 1 คน</li>
<li>ผู้พิพากษา/อดีตผู้พิพากษา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 1 คน </li>
<li>อดีตตุลาการ/ตุลาการในศาลปกครอง 1 คน มาจากที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด</li>
<li>พนักงานอัยการ/อดีตพนักงานอัยการ ซึ่งได้รับเลือกจากคณะกรรมการอัยการ 1 คน </li>
</ul>
<p>โดยสรุปแล้ว นอกจากจำนวนสมาชิก ความแตกต่างของ 2 คณะกรรมการนี้จะอยู่ที่ฉบับประชาชน จะมีสัดส่วนสมาชิกจากตัวผู้ถูกดำเนินคดี และสมาชิกจากองค์กรภาคประชาสังคม ขณะที่ฉบับพรรคก้าวไกล จะมีสัดส่วนสมาชิกจากฝ่ายกระบวนการยุติธรรมเข้าร่วม อาทิ ผู้พิพากษา ตุลาการศาลปกครอง พนักงานอัยการ และอื่นๆ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">หลักเกณฑ์คดีที่จะได้รับการนิรโทษกรรม</span></h2>
<p>โดยหลักเกณฑ์คดีที่จะได้รับการพิจารณาคดีการเมืองตามกฎหมายนิรโทษกรรมคดีการเมืองฉบับประชาชน คือ คดีที่เกิดจากการกระทำด้วยวาจาหรือโฆษณา เพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ, การป้องกันตน, การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการชุมนุม การประท้วง หรือการแสดงออกด้วยวิธีการใดๆ ที่อาจจะกระทบต่อชีวิต ร่างกาย, อนามัย, เสรีภาพ, ทรัพย์สิน, ชื่อเสียง หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลอื่น โดยการกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง</p>
<p>ขณะที่ฉบับก้าวไกล ระบุว่าคดีที่ได้รับการพิจารณาจะเป็นทุกคดี ยกเว้น คดีที่ไม่เข้าข่ายการพิจารณา ซึ่งจะกล่าวต่อไป</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">คดีไม่เข้าข่ายการได้รับพิจารณานิรโทษกรรมโดยคณะกรรมการฯ</span></h2>
<p>ฉบับประชาชน มีการระบุเพียงแค่ 2 คดี ที่ไม่ได้รับการพิจารณานิรโทษกรรม ประกอบด้วย</p>
<ol>
<li>มาตรา 113 ล้มล้างการปกครอง</li>
<li>เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมหากเป็นการกระทำเกินสมควรกว่าเหตุ</li>
</ol>
<p>ฉบับก้าวไกล มีระบุถึง 3 คดีความที่ไม่ได้รับการพิจารณานิรโทษกรรม ประกอบด้วย</p>
<ol>
<li>มาตรา 113 ล้มล้างการปกครอง</li>
<li>เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมหากเป็นการกระทำเกินสมควรกว่าเหตุ</li>
<li>ความผิดต่อชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา ยกเว้นจะกระทำโดยประมาท</li>
</ol>
<h2><span style="color:#2980b9;">ระยะเวลาการทำงานของคณะกรรมการ </span></h2>
<p>สำหรับระยะเวลาทำงานของคณะกรรมการของฉบับก้าวไกล และฉบับประชาชน มีระยะเวลาเท่ากันคือ 2 ปี แต่ในส่วนของฉบับก้าวไกล จะให้ต่ออายุทำงานได้ 2 ครั้ง ไม่เกิน 180 วัน ขณะที่ของฉบับประชาชน คณะกรรมการฯ จะดำเนินการภายใน 2 ปี ต่ออายุได้ไม่เกิน 1 ปี นอกจากนี้ ฉบับประชาชนระบุด้วยว่า กรณีที่คณะกรรมการฯ พิจารณาคดียังไม่เสร็จสิ้น จะส่งให้ศาลยุติธรรมพิจารณาต่อ </p>
<div class="more-story">
<ul>
<li><span style="color:null;">ร่างกฎหมายตัวเต็ม - </span><span style="color:null;">https://tlhr2014.com/archives/61625</span> (https://tlhr2014.com/archives/61625)</li>
<li><span style="color:null;">แบบสอบถามความเห็นจากประชาชน - </span><span style="color:null;">https://docs.google.com/forms/d/1XP7GeCWDYh-7ickg_Px6FMsbDjgsm5rId54z3XHulHk/viewform?edit_requested=true</span> (https://docs.google.com/forms/d/1XP7GeCWDYh-7ickg_Px6FMsbDjgsm5rId54z3XHulHk/viewform?edit_requested=true)</li>
<li>พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ฉบับก้าวไกล มีสาระสำคัญอย่างไร (https://prachatai.com/journal/2023/10/106449)</li>
<li>"เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน" เปิดตัว "ร่างนิรโทษกรรมประชาชน" ให้ทุกฝ่าย รวม ม.112 เพื่อลดขัดแย้ง (https://prachatai.com/journal/2023/11/106883)</li>
</ul>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคดีการเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พรรคก้าวไกล[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-112" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">มาตรา 112[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/107017