[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 พฤษภาคม 2567 11:10:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 112 โลกวิสัย พุทธไทย และสถาบันกษัตริย์ (จบ) พุทธไทยที่ขัดแนวทางพุทธะและประชาธิปไต  (อ่าน 48 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 มกราคม 2567 03:54:13 »

112 โลกวิสัย พุทธไทย และสถาบันกษัตริย์ (จบ) พุทธไทยที่ขัดแนวทางพุทธะและประชาธิปไตยมีไว้ทำไม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-01-19 18:13</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล : สัมภาษณ์/เรียบเรียง</p>
<p>กิตติยา อรอินทร์ : ภาพปก</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ฝ่ายอนุรักษนิยมพุทธศาสนาไทยยังไม่อาจยอมรับแนวคิดโลกวิสัย พยายามต่อต้าน ขัดขืน และรุกคืบเพื่อเพิ่มอภิสิทธิ์ทางศาสนาและยกให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย ทั้งที่ในรัฐโลกวิสัยไม่ใช่การทำให้ศาสนาสิ้นสูญ แต่เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางศาสนา สุรพศตั้งคำถามว่าพุทธศาสนาที่ขัดต่อแนวทางพุทธะและประชาธิปไตยจะมีไว้เพื่ออะไร</p>
<div class="summary-box">
<ul>
<li>การชุมนุมของนักศึกษาในปี 2563 จุดกระแสแนวคิดโลกวิสัยให้ได้รับความสนใจจากสังคมมากกขึ้น</li>
<li>พุทธศาสนาไทยไม่ยอมปรับตัวให้สอดคล้องกับโลกวิสัยและประชาธิปไตย แต่กลับขัดขืนต่อต้านผ่านทางความคิดและการเคลื่อนไหวให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย</li>
<li>ศาสนาสามารถเข้ามาข้องเกี่ยวกับการเมืองได้ แต่มิใช่เพื่อเพิ่มอภิสิทธิ์ทางศาสนาของตน หากต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะและหลักสิทธิมนุษยชนซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของพุทธะและประชาธิปไตย</li>
</ul>
</div>
<p>แนวคิดโลกวิสัยได้รับการพูดถึงมากขึ้นทุกขณะ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดผลเป็นรูปธรรม เพราะฝ่ายอนุรักษนิยมทางศาสนาและทางการเมืองยังต้องการเก็บรักษา ‘พุทธศาสนาไทย’ แบบเดิมให้คงอยู่ จึงเกิดแรงต้านมากกว่าการปรับตัว อีกทั้งยังมีความเข้าใจผิดว่ารัฐโลกวิสัยคือการทำให้ศาสนาสิ้นสูญ</p>
<p>สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการอิสระ ผู้สนับสนุนแนวคิดโลกวิสัย อธิบายไปในตอนที่แล้ว ว่าพุทธศาสนาไทย สถาบันกษัตริย์ รัฐโลกวิสัย และการแก้ไขมาตรา 112 เชื่องโยงกันทางความคิดและจารีตปฏิบัติจนเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตยโลกวิสัย</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>112 โลกวิสัย พุทธไทย และสถาบันกษัตริย์ (1) อำนาจในนามศาสนาของสถาบันกษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ</li>
</ul>
</div>
<p>ในตอนจบนี้ สุรพศแสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนาไทยนอกจากไม่พยายามปรับตัวแล้ว กลับต่อต้านขัดขืนการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มอภิสิทธิ์ทางศาสนาให้แก่ศาสนาพุทธด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งขัดกับแนวทางแห่งพุทธะและประชาธิปไตย</p>
<p>สุรพศไม่ได้ปฏิเสธศาสนากับการเมือง แต่ศาสนา (ที่แยกจากรัฐแล้ว) สามารถข้องเกี่ยวกับการเมืองได้โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและหลักสิทธิมนุษยชน มิใช่เพื่อเพิ่มอภิสิทธิ์ทางศาสนา</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">คนรุ่นใหม่สนใจแนวคิดโลกวิสัยมากขึ้น</span></h2>
<p>เมื่ออำนาจแบบศาสนาของรัฐสยาม/ไทยถูกท้าทายจากความรู้ทางโลกคือวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ตั้งแต่ยุคอาณานิคม พร้อมกับความคิดทางการเมืองแบบทางโลก จนนำไปสู่การปฏิวัติ 2475 กระแสคนรุ่นใหม่ที่ ‘ทะลุเพนดานความกลัว’ ด้วยข้อเสนอ ‘ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์’ สุรพศแสดงทัศนะว่านี่คือกระแสท้าทายอำนาจแบบศาสนาในยุคปัจจุบันที่โยงไปถึง 2475 ในแง่การสานต่อเจตนารมณ์ประชาธิปไตย</p>
<p>“แม้คนรุ่นใหม่จะไม่ได้ชูประเด็นโลกวิสัยอย่างโดดเด่น แต่ในเวทีชุมนุมที่ผ่านมาบางเวทีก็มีการปราศรัยประเด็นนี้ กระแสคนรุ่นใหม่ที่ต่อต้านวัฒนธรรมอำนาจนิยมในโรงเรียนก็มีการตั้งคำถามเรื่องการบังคับให้เรียนวิชาพระพุทธศาสนาในหลักสูตรการศึกษาของชาติว่าเป็นส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมวัฒนธรรมอำนาจนิยมที่ขัดหลักเสรีภาพ ความเสมอภาคทางศาสนา และความเป็นกลางทางศาสนาของรัฐหรือไม่ เรายังได้เห็นบทความ บทสัมภาษณ์ในเว็บไซต์สื่อสาธารณะต่างๆ และเพจต่างๆ ทางเฟซบุ๊คที่สื่อสารกับคนรุ่นใหม่พูดถึงประเด็นนี้มากขึ้นเรื่อยๆ”</p>
<p>สุรพศชวนให้คิดว่าเมื่อคนรุ่นใหม่เห็นสัปปายะสภาสถานที่เหมือนศาสนสถานซึ่งแสดงสัญญะอำนาจแบบศาสนาทับอำนาจแบบโลกวิสัย และแนวคิดในการสร้างที่เน้นความสำคัญของ ‘การปกครองโดยธรรม’ ภายใต้อุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ที่เชื่อมโยงกับคติความเชื่อแบบไตรภูมิพระร่วง คนรุ่นใหม่จะ ‘อิน’ กับสิ่งที่เห็นและความคิดเช่นนั้นหรือไม่</p>
<p>เป็นเพราะสิ่งนี้ย้อนแย้งกับความเป็นประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่เป็นระบบการปกครองแบบโลกวิสัย (regime of secularism) ดังนั้น กระแสเรียกร้องประชาธิปไตยและการวิพากษ์วิจารณ์ศาสนาของคนรุ่นใหม่จึงทำให้พวกเขาสนใจประเด็นโลกวิสัยมากขึ้น เป็นความท้าทายอย่างแหลมคมต่อพุทธศาสนาไทยมากกว่าอดีตที่ผ่านมา </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ไม่ปรับตัว แต่ต่อต้าน</span></h2>
<p>ในความเป็นจริงแล้ว พุทธศาสนาไทยเผชิญความท้าทายจากแนวคิดโลกวิสัยและแสดงการต่อต้านมานานพอสมควรแล้วใน 2 แนวทาง สุรพศอธิบายว่าประการแรกคือในด้านความคิดซึ่งผู้ที่ทำไว้เป็นระบบมากที่สุดคือการเสนอความคิดปกป้องพุทธไทยของ ป.อ. ปยุตฺโต (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) ที่โต้แย้งแนวคิดโลกวิสัยและการแยกศาสนาจากรัฐ พร้อมกับเน้นความสำคัญของพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติไทย ความจำเป็นที่รัฐต้องอุปถัมภ์พุทธศาสนา และส่งเสริมการนำจริยธรรมพุทธศาสนามาพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน และความจำเป็นที่คนไทยทุกคนต้องเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในหลักสูตรการศึกษาของชาติ เป็นต้น</p>
<p>แนวทางที่ 2 เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยองค์กรพุทธที่ประกอบด้วยพระและฆราวาส โดยนำแนวคิดของ ป.อ. ปยุตฺโต มาปรับใช้เพื่อเรียกร้องให้บัญญัติพุทธศาสนาเป็น ‘ศาสนาประจำชาติไทย’ ในรัฐธรรมนูญ มีการรณรงค์รวบรวมรายชื่อชาวพุทธกว่าล้านรายชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องนี้ และมีการเสนอให้ทำประชามติ โดยมีแกนนำสำคัญที่เป็นพระเช่น เจ้าคุณประสารหรือพระราชวัชรสารบัณฑิตที่พยายามบอกว่าการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ ‘ไม่ใช่การเมือง’ แต่เป็น ‘เรื่องบ้านเมือง’</p>
<p>“แต่ประเด็นข้างต้นเป็นเรื่องการเมืองชัดเจนเพราะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางอำนาจ เป็นการนำเอาประเด็นศาสนาเข้ามาสู่การบัญญัติกฎหมายผ่านระบบอำนาจทางการเมืองเพื่ออภิสิทธิ์ทางศาสนา ยิ่งกว่านั้นแกนนำกลุ่มเคลื่อนไหวเหล่านี้ยังออกมาแสดงความยินดีที่รัฐธรรมนูญฉบับ คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) บัญญัติให้รัฐอุปถัมภ์พุทธนิกายเถรวาทเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นการยอมรับความชอบธรรมของรัฐธรรมนูญสืบทอดอำนาจเผด็จการโดยปริยาย”</p>
<p>เหล่านี้คือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสู่โลกวิสัยหรือเพิ่มความเป็นรัฐศาสนาในรัฐธรรมนูญมากขึ้น สอดรับกับการเพิ่มอำนาจนำทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น รวมถึงการเพิ่มพระราชอำนาจตามโบราณราชประเพณีในการปกครองคณะสงฆ์มากขึ้นใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับแก้ไขล่าสุดในยุครัฐบาล คสช.</p>
<p>“ส่วนการรับมือกับความคิดคนรุ่นใหม่ของฝ่ายอนุรักษ์นิยมทางศาสนาก็ไม่ต่างจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมทางการเมืองนัก คือพวกเขาไม่เปิดใจรับฟังและเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยโลกวิสัยเลย แต่จะหาเหตุผลที่ฟังขึ้นมาต่อต้านกระแสความคิดของคนรุ่นใหม่ก็หาไม่ได้ ทำได้แค่โจมตีว่าชังชาติ เนรคุณแผ่นดิน เนรคุณศาสนา และใช้กฎหมายปิดกั้นเสรีภาพกดปราบคนคิดต่างเท่านั้นเอง”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อนุรักษนิยมทางศาสนายังคงรุกคืบ</span></h2>
<p>แต่กระแสโลกวิสัยที่เกิดขึ้นจะไม่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนของพุทธศาสนาไทยให้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่เลยหรือ สุรพษเห็นว่าถ้ามองตามความเป็นจริง บริบทโลกปัจจุบันเกิดกระแสตีกลับของอุดมการณ์ทางการเมืองฝ่ายขวา ฝ่ายอนุรักษ์นิยมทางศาสนาก็พยายามเข้ามาชี้นำการตัดสินใจในเรื่องสาธารณะมากขึ้น</p>
<p>เขายกตัวอย่างกรณีศาลสูงสุดหรือศาลฎีกาสหรัฐอเมริกาพิพากษายกเลิกคำตัดสินคดี Roe v Wade ที่เคยพิพากษาเมื่อปี 2516 ว่าการทำแท้งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ส่งผลให้การทำแท้งที่เคยเป็นสิทธิตามกฎหมายตั้งแต่ปี 2516 เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ซึ่งถูกมองว่าคำตัดสินดังกล่าวล้อยตามข้อเรียกร้องของฝ่ายอนุรักษนิยมทางศาสนา หรือกรณีรัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนอิสราเอลถล่มปาเลสไตน์ ก็เป็นสัญญาณเลวร้ายด้านสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมซึ่งอาจส่งผลให้กลุ่มประเทศรัฐอิสลามและประเทศที่ไม่แยกศาสนาจากรัฐอื่นๆ มองว่ารัฐโลกวิสัยอย่างอเมริกาไม่เคยจริงใจในการปกป้องสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติ</p>
<p>ขณะที่ในประเทศไทยฝ่ายอนุรักษนิยมทางศาสนายังคงพยายามรุกคืบผลักดันร่าง พ.ร.บ. อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ผ่านพรรคเพื่อไทย หรือกรณีสำคัญที่รัฐบาล คสช. มองว่าวัดพระธรรมกายสนับสนุนพรรคเพื่อไทยจึงถูกกดปราบด้วยกองกำลังตำรวจและทหารหลายพันนาย แต่ปัจจุบันนี้รัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยเป็นผู้ดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ธรรมกายจึงเริ่มฟื้นกิจกรรมบิณฑบาตพระ 10,000 รูปขึ้นมาได้</p>
<p>“บางคนคิดว่ากิจกรรมเช่นนี้ไม่มีปัญหาอะไร แต่ที่ตลกร้ายคือธรรมกายมีระบบบริหารจัดการแบบเอกชน แต่วัดพระธรรมกายไม่ใช่องค์กรศาสนาเอกชน เป็นวัดภายใต้ศาสนจักรของรัฐ และธรรมกายก็ใช้ความเก่งเรื่องบริหารจัดการแบบเอกชนนำกลไกศาสนจักรของรัฐ รัฐบาล และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาใช้ในการจัดกิจกรรมทางศาสนา และการเผยแพร่ความเชื่อแบบธรรมกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดกว่าวัดใดๆ หรือทำได้มีประสิทธิภาพกว่ามหาเถรสมาคมเสียอีก”</p>
<p>เมื่อมองจากจุดยืนแนวคิดโลกวิสัย บทบาทของธรรมกายที่ใช้กลไกศาสนจักรของรัฐ สำนักพุทธ รัฐบาล มหาวิทยาลัยและโรงเรียนของรัฐ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาเป็นเครื่องมือจัดกิจกรรมทางศาสนาและการเผยแพร่ศาสนาตามความเชื่อของกลุ่มตน นับว่าขัดแย้งกับแนวคิดโลกวิสัยอย่างน่ากังวล</p>
<p>“ความหมายสำคัญที่ผมต้องการบอกคือเมื่อมองจากจุดยืนแนวคิดโลกวิสัย ธรรมกายจะเชื่อแบบไหน ตีความศาสนาอย่างไร มีพิธีรรมทางศาสนาแบบไหน ไม่ใช่ปัญหา เพราะเป็นเสรีภาพทางศาสนาแต่การที่ธรรมกายใช้กลไกศาสนจักรของรัฐ งบของรัฐ มหาวิทยาลัยรัฐ โรงเรียนรัฐ และหน่วยงานราชการเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความเชื่อทางศาสนาย่อมขัดกับแนวคิดโลกวิสัยและหลักการแยกศาสนาจากรัฐอย่างสิ้นเชิง ยิ่งธรรมกายเติบโตในแนวทางดังกล่าวมากขึ้น มีอิทธิพลมากขึ้น ยิ่งเป็นปัญหาใหญ่ต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยโลกวิสัย</p>
<p>“ขณะที่ปี 2566 ที่ผ่านมา ผมอยากจะเรียกว่าเป็นปีแห่งการห้ามพูดถึงช้างในห้องเพราะเป็นปีแห่งการตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว ภายใต้กฎเหล็กห้ามแก้ 112 ไม่นิรโทษกรรมคดี 112 และไม่แตะหมวดสถาบันกษัตริย์ในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ รัฐบาลเพิกเฉยต่อการใช้ 112 กดปราบประชาชนที่สู้เพื่อประชาธิปไตย เพิกเฉยต่อความอยุติธรรมที่อานนท์ นำภาและเพื่อนๆ ไม่ได้สิทธิ์ประกันตัวสู้คดี ปรากฎการณ์เหล่านี้ล้วนสวนทางกับการเปลี่ยนแปลงเป็นโลกวิสัยทางการเมือง เพิ่มความเป็นรัฐศาสนามากขึ้น ซึ่งแปลกแยกหรือขัดแย้งกับปรากฏการณ์ตาสว่างหรือความเปลี่ยนแปลงทางความคิดของคนรุ่นใหม่ สะท้อนว่าฝ่ายอนุรักษนิยมทางศาสนาและฝ่ายอนุรักษนิยมทางการเมืองไม่เคยรับฟัง เรียนรู้ และปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยโลกวิสัย”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่อภิสิทธิ์ทางศาสนา</span></h2>
<p>อีกปัจจัยหนึ่งที่ให้แนวคิดโลกวิสัยในประเทศไทยเผชิญอุปสรรคเพราะยังมีความเข้าใจผิดๆ ว่าแนวคิดโลกวิสัย การแยกศาสนาจากรัฐเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนา หรือมุ่งทำให้ศาสนาอ่อนแอและสลายไปจากสังคมในที่สุด สุรพศอธิบายว่าแนวคิดโลกวิสัยมีสองแบบหลักๆ คือแบบที่เป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนา เช่น รัฐโลกวิสัยแบบจีนและรัสเซีย เป็นต้น</p>
<p>ขณะที่แนวคิดโลกวิสัยที่เขาเสนอคือแนวคิดโลกวิสับแบบยอมรับความหลากหลายทางศาสนาและความเชื่อหรือคุณค่าที่ไม่ใช่ศาสนาที่เรียกว่า ‘pluralist secularism’ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ยืนยันว่ารัฐต้องเป็นกลางทางศาสนา ให้หลักประกันเสรีภาพ ความเสมอภาคทางศาสนา ส่งเสริมขันติธรรม และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน หรือ ‘solidarity’ ระหว่างพลเมืองที่มีหลากหลายศาสนาและความเชื่อที่ไม่ใช่ศาสนาในการมีส่วนร่วมพิทักษ์รักษาคุณค่าพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยโลกวิสัย (secular democracy) เช่น หลักอำนาจอธิปไตยของประชาชน สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หลักความยุติธรรมสาธารณะทางสังคมและการเมือง เป็นต้น</p>
<p><a name="_Hlk155524023" id="_Hlk155524023">“ถ้าถามว่าศาสนาจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองได้ไหม เกี่ยวได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้หลักการประชาธิปไตยโลกวิสัย คือเราอาจตีความคำสอนศาสนาสนับสนุนประโยชน์สาธารณะหรือความยุติธรรมสาธารณะได้ เช่น ตีความคำสอนศาสนาสนับสนุนสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมทางเพศ ความเข้าใจและเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นคนของคนหลากหลายทางเพศ หรือตีความศาสนาสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางสังคมและทางการเมืองในประเด็นใดๆ ที่มุ่งเพิ่มสิทธิเท่าเทียมด้านต่างๆ โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมต่อพลเมืองทุกคนไม่ว่าจะถือศาสนาใดๆ หรือไม่มีศาสนากhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107694
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 481 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 502 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 379 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 400 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 112 โลกวิสัย พุทธไทย และสถาบันกษัตริย์ (1) อำนาจในนามศาสนาของสถาบันกษัตริย์ต้องอย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 42 กระทู้ล่าสุด 17 มกราคม 2567 15:25:19
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.658 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 18 เมษายน 2567 15:29:57