[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤษภาคม 2567 14:05:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - รอบโลกแรงงาน กุมภาพันธ์ 2024  (อ่าน 44 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 12:24:45 »

รอบโลกแรงงาน กุมภาพันธ์ 2024
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 11:21</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><h2><span style="color:#3498db;">Human Rights Watch เตือนบริษัทรถยนต์ใช้วัสดุจากการบังคับใช้แรงงานในจีน</span></h2>
<p>องค์กรสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch ได้เรียกร้องให้บริษัทที่ผลิตรถยนต์ในจีน เช่น Tesla, Volkswagen) และ BYD ดำเนินการอย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าวัสดุที่อาจจะผลิตโดยใช้แรงงานบังคับชาวอุยกูร์จะไม่มีโอกาสหลุดเข้าซัพพลายเชน</p>
<p>รายงานของ Human Rights Watch บุว่าพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า ผู้ผลิตอะลูมิเนียมในซินเจียงได้จ้างคนงานจากโครงการโอนแรงงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน ซึ่ง Human Rights Watch ล่าวหาว่าเป็นการบีบบังคับชาวอุยกูร์และชนชาวเติร์กกลุ่มอื่น ๆ ให้ทำงานในซินเจียงและภูมิภาคอื่น ๆ</p>
<p>Human Rights Watch ระบุว่าอะลูมิเนียมที่ผลิตในซินเจียงถูกนำมาใช้ในประเทศจีนเพื่อผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จากนั้นจะขายให้กับผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลก ซึ่งบริษัทเหล่านี้มีความรับผิดชอบตามหลักการขององค์การสหประชาชาติ (UN) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการบังคับใช้แรงงานในซัพพลายเชน</p>
<p>ที่มา: CNA, 1/2/2024</p>
<h2><span style="color:#3498db;">พนักงานขนส่งสาธารณะ 90,000 คน ประท้วงหยุดงานทั่วเยอรมนี</span></h2>
<p>พนักงานขนส่งสาธารณะกว่า 90,000 คน ใน 80 เมืองทั่วเยอรมนี ประกาศหยุดงานประท้วง 1 วัน เรียกร้องปรับสภาพการทำงาน การประท้วงส่งผลกระทบต่อรถเมล์ รถราง ทั่วประเทศ ยกเว้นบาวาเรีย ก่อนหน้านี้ พนักงานรักษาความปลอดภัยสนามบิน 11 แห่ง ก็ร่วมประท้วง ทำให้เที่ยวบินยกเลิก/ดีเลย์ 1,100 เที่ยว</p>
<p>สหภาพแรงงาน Verdi เรียกร้องลดชั่วโมงทำงาน เพิ่มวันหยุด และสวัสดิการอื่นๆ เนื่องจากปัญหาขาดแคลนพนักงานและแรงกดดันในการทำงาน การประท้วงครั้งนี้เป็นการสานต่อจากเดือน ม.ค. 2024 ที่พนักงานขับรถไฟประท้วง ส่งผลกระทบต่อระบบขนส่งทั่วประเทศ</p>
<p>ที่มา: Al Jazeera, 2/2/2024</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ไต้หวัน อนุมัติแรงงานกึ่งฝีมือแล้ว 23,000 คน ภาคการผลิต 8,605 คน แรงงานไทยภาคการผลิตได้รับอนุมัติสูงสุด 2,070 คน</span></h2>
<p><img alt="" src="https://th.rti.org.tw/upload/Kunpol/Kunpol_2024/202402/20240202/105-_35000_.jpg" /></p>
<p>กระทรวงแรงงานไต้หวันประกาศผลักดันโครงการอนุญาตให้แรงงานต่างชาติที่มีทักษะฝีมือสามารถอยู่ทำงานในไต้หวันได้ต่อไป หรือโครงการแรงงานกึ่งฝีมือ ตั้งแต่ 30 เม.ย. 2022 จนถึงสิ้นปี 2566 กระทรวงแรงงานอนุมัติแรงงานกึ่งฝีมือไปแล้วประมาณ 23,000 คน จากยอดจำนวนการยื่นขอของนายจ้างกว่า 25,000 ราย ในจำนวนนี้ประมาณ 60% เป็นแรงงานกึ่งฝีมือในภาคสวัสดิการสังคมหรือผู้อนุบาล กระทรวงแรงงานปรับเพิ่มเป้าหมายในการอนุมัติปีละ 20,000 คน จากเดิมที่ตั้งเป้าหมายอนุมัติปีละ 10,000 คน สำหรับแรงงานกึ่งฝีมือภาคการผลิต 8,605 คน แรงงานไทยได้รับอนุมัติสูงสุด 2,070 คน</p>
<p>ที่มา: Radio Taiwan International, 2/2/2023</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ผลสำรวจระบุ 80% ของบริษัทใหญ่ในญี่ปุ่นเตรียมรับมือปัญหาขาดแคลนคนขับรถบรรทุก</span></h2>
<p>บริษัทของญี่ปุ่นเหลือเวลาไม่มากนักสำหรับการเตรียมรับมือปัญหาขาดแคลนคนขับรถบรรทุกอย่างรุนแรงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ โดยกฎระเบียบใหม่จะเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้นต่อการทำงานล่วงเวลาของคนขับรถบรรทุก เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนนี้เป็นต้นไป</p>
<p>NHK สำรวจความเห็นของบริษัทใหญ่ 100 บริษัทเพื่อตรวจสอบการเตรียมการ ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าเกือบ 80 บริษัท กำลังจัดทำมาตรการหรือมีมาตรการพร้อมแล้วเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงกฎดังกล่าว</p>
<p>การสำรวจจัดทำขึ้นในเดือนธันวาคมและมกราคม มี 66 บริษัทที่ระบุว่าพวกตนได้ใช้มาตรการเพื่อรับมือกับปัญหานี้แล้ว ขณะที่ 13 บริษัทกล่าวว่าพวกตนมีแผนจะทำเช่นนั้น 6 บริษัทระบุว่ายังไม่มีแผนในทำนองดังกล่าว และ 15 บริษัทไม่ตอบการสำรวจ</p>
<p>บริษัทหลายแห่งกำลังให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ โดยมี 55 บริษัทที่ได้ทบทวนเส้นทางและกำหนดการการขนส่งแล้ว ส่วน 38 บริษัทอ้างอิงถึงการขนส่งร่วมกับบริษัทอื่น</p>
<p>นอกจากมาตรการเหล่านี้แล้ว มี 37 บริษัทวางแผนจะเปลี่ยนไปใช้การขนส่งทางทะเล ทางรถไฟ และทางอากาศ ขณะที่ 20 บริษัทเลือกที่จะผลักต้นทุนด้านโลจิสติกส์ที่สูงขึ้นไปยังผลิตภัณฑ์และบริการของตน</p>
<p>ที่มา: NHK, 5/2/2024</p>
<h2><span style="color:#3498db;">พนักงานค้าปลีกสวีเดน 70% ป่วยแต่ไม่ยอมลา เพราะขาดแคลนพนักงาน หวั่นกระทบรายได้</span></h2>
<p>รายงาน "Sick at Work" โดยสหภาพแรงงาน Handels of Sweden จากการสำรวจสมาชิก 3,774 คน พบว่า พนักงานค้าปลีก 70% เลือกทำงานต่อแม้ป่วย เหตุผลหลักคือ ร้านค้ามีพนักงานไม่เพียงพอ หากลางาน เพื่อนร่วมงานจะต้องทำงานหนักขึ้น พักเบรคไม่ได้ และต้องล่วงเวลา</p>
<p>ประธานสหภาพฯ Linda Palmetzhofer กล่าวว่า พนักงานร้านค้ารู้สึกถูกบังคับให้ทำงาน ทั้งๆ ที่ป่วย เพราะเห็นใจเพื่อนร่วมงาน นายจ้างควรปรับปรุงระบบ สร้างทีมพนักงานที่เพียงพอ นอกจากนี้ ปัญหาค่ารักษาพยาบาลก็เป็นอุปสรรคสำคัญ พนักงาน 40% ระบุว่า ไม่สามารถลาป่วยได้ เพราะวันแรกไม่ได้รับเงิน และวันต่อๆ ไปก็ไม่ได้เต็มจำนวน ส่งผลต่อรายได้</p>
<p>สหภาพฯ เรียกร้องยกเลิกกฎหักเงินวันแรกของการลาป่วย และผลักดันให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับค่าลาป่วยเต็มจำนวน และการจ้างพนักงานอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ผลกระทบจากการพยายามฝืนทำงานทั้งป่วย ไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจของพนักงาน แต่ยังส่งผลเสียต่อบริษัทเอง เพราะประสิทธิภาพการทำงานลดลง และเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อในที่ทำงาน</p>
<p>ที่มา: UNI Global Union, 5/2/2024</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ค่าจ้างที่แท้จริงของญี่ปุ่นลดลงเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน</span></h2>
<p>ค่าจ้างที่แท้จริงในญี่ปุ่นลดลงเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันในปี 2023 และดูเหมือนว่ามีสาเหตุมาจากเงินเฟ้อ</p>
<p>ถึงแม้จะมีการขึ้นค่าจ้างให้แก่แรงงานชาวญี่ปุ่นในปี 2023 แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะไล่ตามราคาต่าง ๆ ที่สูงขึ้นเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว</p>
<p>การสำรวจเงินเดือนโดยกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่นเมื่อปี 2023 พบว่า พนักงานได้รับค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 329,859 เยน หรือประมาณ 80,000 บาท โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากปี 2022 ในรูปของเงินเยน และเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน</p>
<p>แต่ยังไม่เพียงพอต่ออัตราเงินเฟ้อที่อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ซึ่งเป็นอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 42 ปี ค่าจ้างที่แท้จริงโดยเฉลี่ยต่อพนักงานหนึ่งคนลดลงร้อยละ 2.5 จากปีก่อนหน้า</p>
<p>เจ้าหน้าที่ของทางกระทรวงกล่าวว่าการขึ้นค่าจ้างส่งผลให้ราคาต่าง ๆ พุ่งสูงขึ้น</p>
<p>การเจรจาต่อรองค่าจ้างเมื่อฤดูใบไม้ผลิปีที่แล้วส่งผลให้เกิดการขึ้นค่าจ้างครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี และปัญหาขาดแคลนแรงงานก็ช่วยให้เงินเดือนปรับเพิ่มขึ้นด้วย</p>
<p>ที่มา: NHK World, 6/2/2023</p>
<h2><span style="color:#3498db;">โพลชี้นายจ้างในสหรัฐฯ 40% เลี่ยงรับคน ‘เจน-Z’ เข้าทำงาน</span></h2>
<p>การสำรวจความคิดเห็นกรรมการและผู้บริหารจำนวน 800 คนในสหรัฐฯ ในเรื่องการรับคนเข้าทำงานในตำแหน่งงานที่ว่างอยู่ เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2023 พบว่า นายจ้างราว 40% หลีกเลี่ยงการจ้างงานผู้ที่เพิ่งเรียนจบมหาวิทยาลัย เพราะคิดว่าคนเหล่านั้นไม่มีความพร้อมสำหรับชีวิตการทำงาน</p>
<p>นายจ้างที่ร่วมการสำรวจ 20% กล่าวว่า ผู้ที่เรียนจบมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ มักจะมาสัมภาษณ์งานพร้อมกับผู้ปกครองของตน นายจ้างอีก 21% กล่าวว่า ตนต้องเจอกับผู้สมัครงานที่ปฏิเสธที่จะเปิดกล้องในระหว่างการสัมภาษณ์งานผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ บ้างก็มีปัญหาที่ไม่ยอมสบตาผู้สัมภาษณ์ บางคนแต่งกายไม่เหมาะสม และยังมีที่ใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย</p>
<p>ผลการสำรวจดังกล่าวไม่ได้สร้างความประหลาดใจให้กับไมเคิล คอนเนอร์ส ผู้สรรหาบุคลากรด้านบัญชีและเทคโนโลยีในเขตกรุงวอชิงตัน ซึ่งเป็นผู้เตรียมความพร้อมสำหรับการสัมภาษณ์งานให้กับผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย</p>
<p>เขากล่าวว่า ดูเหมือนคนเหล่านี้จะขาดความจริงจังกับชีวิต ไม่แน่ใจว่าจริง ๆ แล้วพวกเขาต้องการได้งานหรือไม่ หรือว่าฝืนใจทำ เขายังไม่เคยเจอกับผู้สมัครที่ปฏิเสธที่จะเปิดกล้อง แต่เขาเจอกับนักศึกษาที่มาสัมภาษณ์งานออนไลน์ตามเวลาที่กำหนดไว้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการสัมภาษณ์งาน อย่างเช่น ที่นอกห้างสรรพสินค้า เป็นต้น</p>
<p>ทั้งคอนเนอร์ส และ ไดแอน เกเยสกี ศาสตราจารย์ด้านการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ที่วิทยาลัย Ithaca ในนิวยอร์ก ต่างเห็นพ้องว่าการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการเติบโตและวุฒิภาวะของผู้ที่เพิ่งเรียนจบมหาวิทยาลัย</p>
<p>เกเยสกีกล่าวว่า “การเรียนมัธยมปลายปีสุดท้ายของพวกเขานั้นมีปัญหามากมาย พวกเขาไม่ได้มีงานสำเร็จการศึกษา ไม่ได้มีงานเต้นรำ หรืองานเลี้ยงสังสรรค์ต่าง ๆ อย่างที่เคยมีมา นอกจากนี้พวกเขาไม่สามารถทำงานในช่วงฤดูร้อนของปีนั้นก่อนที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้ และแม้กระทั่งตอนที่พวกเขาเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยไปแล้ว สิ่งต่าง ๆ เช่น การมีวิทยากรรับเชิญ การฝึกงาน หรือการไปเรียนต่างประเทศ ก็ถูกระงับไปด้วยเช่นกัน”</p>
<p>เรื่องดังกล่าวส่งผลให้นักเรียนมีความมั่นใจเกี่ยวกับความสามารถของตนในการมีส่วนร่วมในโลกของการทำงานน้อยลง</p>
<p>ในส่วนของมหาวิทยาลัยที่จะสามารถช่วยให้นักศึกษามีความพร้อมสำหรับการทำงานได้ ก็คือสิ่งที่พวกเขาได้สัมผัสนอกห้องเรียน เช่น การได้พบปะพูดคุยกับผู้คนที่มีความแตกต่างจากตัวเอง การได้ทำงานในโครงการต่าง ๆ ในชุมชน และการได้ฝึกงาน ซึ่งหยุดไปในช่วงของการแพร่ระบาด</p>
<p>นอกจากนี้แล้วผลสำรวจยังชี้ว่า นายจ้างอีก 38% กล่าวว่า ตนหลีกเลี่ยงการจ้างงานผู้ที่เพิ่งเรียนจบมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการสนับสนุนคนงานที่มีอายุมากกว่า และพวกเขาก็ยินดีที่จะจ่ายเงินให้คนงานที่มีอายุมากกว่าหรือเพิ่มสวัสดิการต่าง ๆ เช่น ให้ทำงานทางไกลได้มากขึ้น</p>
<p>เกือบครึ่งหนึ่งของนายจ้างกล่าวว่า พวกเขาต้องไล่พนักงานที่เพิ่งเรียนจบออกจากงาน 63% กล่าวว่าพนักงานจบใหม่บางคนที่ตนจ้างมาไม่สามารถรับมือกับภาระหน้าที่ของตนได้ 61% บอกว่าพนักงานเหล่านั้นมาทำงานสายบ่อยครั้ง 59% บอกว่าพวกเขามักทำงานไม่ทันกำหนดเวลา และ 53% บอกว่าพนักงานใหม่ที่เป็นคนหนุ่มสาวมักเข้าประชุมสาย</p>
<p>คอนเนอร์สกล่าวว่า พนักงานจบใหม่เหล่านี้น่าจะบริหารงานที่ได้รับมอบหมายได้ดีขึ้นมากหากได้ทำงานในออฟฟิศมากกว่านี้ เพราะการทำงานจากที่บ้านในช่วงเวลาหนึ่งอาจทำให้พวกเขาทำงานล่าช้าลง และว่าพวกเขาต้องการที่ปรึกษาเพื่อที่จะได้เรียนรู้และมีความก้าวหน้าในอาชีพการงานของตน</p>
<p>เกเยสกีจากมหาวิทยาลัย Ithaca กล่าวด้วยว่า เธอพบว่านักศึกษามีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งบรรดาครูอาจารย์ก็พยายามรับมือกับปัญหานี้ด้วยการเข้มงวดในเรื่องการเข้าเรียนให้น้อยลง และมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในเรื่องกำหนดการส่งงาน และบรรดานายจ้างเองก็รับรู้ได้ถึงระดับของความวิตกกังวลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากนี้</p>
<p>คอนเนอร์สกล่าวอีกว่าแม้ว่าการความพร้อมทางวิชาชีพของ คนรุ่น Gen Z จะแย่ลงในช่วงการเกิดโรคระบาดใหญ่ แต่เรื่องนี้เป็นเทรนด์ที่เขามองเห็นมาหลายปีแล้ว พร้อมชี้ว่า “คนรุ่นนี้คำนึงเรื่องงานอดิเรกของตนมากกว่าและมีความยืดหยุ่นในเรื่องนั้น” นอกจากนี้ความอยากมีเงินทองหรือความต้องการก้าวหน้าในอาชีพการงานก็ลดน้อยลง ดูเหมือนว่าพวกเขาจะมีชีวิตอยู่ไปวัน ๆ เท่านั้นเอง</p>
<p>นายจ้างครึ่งหนึ่งที่ร่วมการสำรวจกล่าวว่า นักศึกษาจบใหม่ที่พวกเขาสัมภาษณ์ได้เรียกร้องค่าจ้างที่ไม่สมเหตุสมผล ซึ่งเกเยสกีเชื่อว่าอาจเป็นเรื่องของการที่คนหนุ่มสาวมีความตระหนักรู้มากกว่าคนรุ่นก่อน ๆ และพวกเขาคงจะเคยได้ยินเกี่ยวกับวิธีการที่บริษัทต่าง ๆ เอารัดเอาเปรียบพนักงานตั้งแต่ตอนที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย และเห็นถึงความร่ำรวยเป็นพันล้านของบรรดาเจ้าของบริษัท จึงทำให้พวกเขาต้องการที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม</p>
<p>ที่มา: VOA, 7/2/2024</p>
<h2><span style="color:#3498db;">เผยคนทำงานส่งอาหารในออสเตรเลียเผชิญ 'ค่าแรงต่ำ เสี่ยงอุบัติเหตุ'</span></h2>
<p>จากการศึกษาที่จัดทำโดยสถาบัน McKell ที่ได้สำรวจคนทำงานส่งอาหารในออสเตรเลีย พบว่าค่าจ้างที่ต่ำเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับแรงงานกลุ่มนี้ โดยอย่างน้อย 45% ของคนทำงานนี้มีรายได้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ รายงานระบุว่าถึงแม้ 41% ของคนงานเหล่านี้รายงานการทำงานล่วงเวลา แต่พวกเขาไม่ได้รับอัตราตามกฎหมาย แม้ว่าปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายนั้นอยู่ที่ 23.23 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง แต่หากคุณปั่นส่งอาหารคุณอาจได้น้อยกว่า</p>
<p>เมื่อผลตอบแทนต่อชั่วโมงที่น้อย ยิ่งผลักให้พวกเขาต้องเร่งทำรอบ และนั่นพามาสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และอาจรุนแรงถึงชีวิต มีรายงานของตำรวจระบุว่าตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา คนงานส่งของเหล่านี้ได้รับบาดเจ็บบนถนนในรัฐวิกตอเรีย มีมากถึง 900 ราย ขณะที่ในปี 2022 มีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และจักรยานได้รับบาดเจ็บระหว่างการทำงานประมาณ 143 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2016 ที่ 92 ราย</p>
<p>ที่มา: SBS, 8/2/2024</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ออสเตรเลียเล็งดัน กม.ให้ลูกจ้าง ‘ไม่รับสาย-ตอบแชท’ หลังเลิกงาน</span></h2>
<p>ออสเตรเลียเตรียมเสนอกฎหมาย ที่เปิดทางให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ในการปฏิเสธที่จะรับโทรศัพท์หรือตอบข้อความจากนายจ้างนอกเวลาการทำงาน โดยที่ไม่มีความผิดได้ อีกทั้งยังจะมีโทษปรับกับนายจ้างหากฝ่าฝืนกฎดังกล่าวอีกด้วย</p>
<p>ร่างกฎหมายในชื่อว่า "right to disconnect" หรือสิทธิในการตัดขาดการทำงานนอกเวลา เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงกฎหมายการทำงาน ที่รัฐบาลกลางออสเตรเลียได้เสนอขึ้นมา เพื่อหวังปกป้องสิทธิของแรงงาน และช่วยฟื้นฟูสมดุลการทำงานกับการใช้ชีวิตของลูกจ้างออสเตรเลีย</p>
<p>โทนี เบิร์ค รัฐมนตรีแรงงานออสเตรเลีย ระบุในแถลงการณ์เมื่อวันพุธว่า วุฒิสมาชิกส่วนใหญ่ประกาศการสนับสนุนร่างกฎหมายนี้ และบทบัญญัติดังกล่าวจะหยุดยั้งพนักงานจากการทำงานล่วงเวลาโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการติดต่อนอกเวลาทำงานที่ไม่สมเหตุสมผล</p>
<p>นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย แอนโธนี อัลบาเนซี กล่าวกับผู้สื่อข่าวในวันพุธด้วยว่า “สิ่งที่เราจะสื่อง่ายๆ ก็คือ คนที่ไม่ได้รับเงินค่าแรงตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน ไม่ควรถูกลงโทษหากพวกเขาไม่ได้อยู่บนโลกออนไลน์และพร้อมทำงานตลอด 24 ชั่วโมง”</p>
<p>ร่างกฎหมายดังกล่าวจะนำเข้าสู่การพิจารณาในสภาออสเตรเลียปลายสัปดาห์นี้</p>
<p>กฎหมายในลักษณะเดียวกันนี้ มีผลบังคับใช้ในฝรั่งเศส สเปน และหลายประเทศในสหภาพยุโรป เปิดทางให้ลูกจ้างสามารถตัดขาดการติดต่อสื่อสารกับนายจ้างและที่ทำงานได้หลังหมดเวลาการทำงานแล้ว</p>
<p>อย่างไรก็ตาม นักการเมือง กลุ่มนายจ้าง และผู้นำในภาคธุรกิจ ได้เตือนว่าร่างกฎหมาย "right to disconnect" นี้รุกล้ำเกินขอบเขต และอาจบั่นทอนการผลักดันการทำงานอย่างยืดหยุ่น รวมทั้งกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันขององค์กรได้</p>
<p>ขณะที่อดัม แบนท์ หัวหน้าพรรคกรีนส์ ของออสเตรเลีย ที่สนับสนุนร่างกฎหมายดังกล่าว ระบุว่า “ชาวออสเตรเลียทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานล่วงเวลาเฉลี่ย 6 สัปดาห์ต่อปี” นั่นเท่ากับค่าแรงที่นายจ้างไม่ได้จ่ายให้ลูกจ้างคิดเป็นเงินมากกว่า 92,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (2.1 ล้านล้านบาท) ที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทั่วประเทศ และย้ำว่า “เวลานั้นเป็นของคุณ ไม่ใช่ของนายจ้างคุณ”</p>
<p>ที่มา: VOA, 8/2/2024</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ออสเตรเลียผ่านกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ‘gig’ และภาคขนส่ง</span></h2>
<p>วุฒิสภาออสเตรเลีย ผ่านกฎหมาย “Closing the Loopholes” กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ ด้านความปลอดภัยและความเป็นธรรมแก่แรงงาน ‘gig’ และภาคขนส่ง กฎหมายชี้แจงสถานะพนักงานชัดเจน ช่วยให้ ‘gig’ ได้รับสิทธิ์คุ้มครอง ยุติภาวะการแข่งขันที่เอารัดเอาเปรียบ สร้างความปลอดภัยให้ถนนออสเตรเลีย</p>
<p>สหภาพแรงงาน TWU ชื่นชม นับเป็นชัยชนะหลังผลักดันมานาน มองกฎหมายช่วยลดอุบัติเหตุ รักษามาตรฐานอุตสาหกรรม ด้านสหพันธ์แรงงาน ITF ยกย่อง ออสเตรเลียเป็นผู้นำ ยุติการเอารัดเอาเปรียบแรงงานขนส่ง ITF ยังเรียกร้องรัฐบาล นายจ้าง บริษัททั่วโลก สร้างมาตรฐานความปลอดภัยและความเป็นธรรมในห่วงโซ่อุปทาน</p>
<p>ที่มา: ITF, 8/2/2024</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ไรเดอร์ส่งอาหารในไอร์แลนด์ประท้วงหยุดงานเพื่อเรียกร้องค่าจ้างที่สูงขึ้น</span></h2>
<p>ไรเดอร์ส่งอาหารในดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ นัดหยุดงานประท้วงในเย็นวันที่ 14 ก.พ. 2023 เพื่อเรียกร้องค่าจ้างที่สูงขึ้นจากแอปพลิเคชันส่งอาหาร เช่น Deliveroo, UberEats และ Just Eat ผู้ประท้วงระบุว่าค่าจ้างปัจจุบันไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพ และพวกเขาต้องเผชิญกับสภาพการทำงานที่ยากลำบาก เช่น สภาพอากาศเลวร้าย อันตรายบนท้องถนน และความเสี่ยงต่อสุขภาพ</p>
<p>สหภาพแรงงาน SIPTU สนับสนุนการประท้วงครั้งนี้ และเรียกร้องให้บริษัทแอปพลิเคชันส่งอาหารเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำให้กับพนักงาน ด้าน Deliveroo ตอบโต้ว่า อัตราการลาออกของพนักงานต่ำ และพนักงานส่วนใหญ่พอใจกับการทำงานกับบริษัท ส่วน Uber Eats กล่าวว่า บริษัทเสนอวิธีที่ยืดหยุ่นให้กับพนักงานในการหารายได้โดยใช้แอปพลิเคชันเมื่อใดก็ได้ที่ต้องการ</p>
<p>ที่มา: RTE, 14/2/2023</p>
<h2><span style="color:#3498db;">Cisco ประกาศเลิกจ้างพนักงานทั่วโลก 5%</span></h2>
<p>Cisco บริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ประกาศเลิกจ้างพนักงานทั่วโลก 5% ซึ่งจะส่งผลให้มีพนักงานที่ถูกเลิกจ้างประมาณ 4,250 ตำแหน่ง</p>
<p>ทั้งนี้ Cisco  เป็นบริษัทเทคโนโลยีรายล่าสุดที่จะเลิกจ้างพนักงานในปี 2024 เนื่องจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยียังคงลดต้นทุนลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากตลาดตกต่ำลงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเดือน ม.ค. 2024 นับเป็นเดือนที่มีการประกาศปรับลดตำแหน่งงานในอุตสาหกรรมมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2023 โดยบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เช่น Alphabet, Amazon, Microsoft) และ SAP ต่างประกาศแผนปรับลดพนักงาน</p>
<p>ข้อมูลจาก layoffs.fyi ซึ่งเป็นเว็บไซต์ติดตามการเลิกจ้างระบุว่าจนถึงกลางเดือน ก.พ. 2024 มีการเลิกจ้างพนักงานด้านเทคโนโลยีจำนวนเกือบ 35,000 คนจากบริษัทเทคโนโลยี 144 แห่ง</p>
<p>ที่มา: CNBC, 14/2/2024</p>
<h2><span style="color:#3498db;">คนขับรถบรรทุกประท้วงปิดถนน เรียกร้องให้รัฐบาลเข้มความปลอดภัยบนท้องถนน</span></h2>
<p>บรรดาคนขับรถบรรทุกในเม็กซิโก พากันขับรถบรรทุกออกมาปิดทางหลวงสายสำคัญหลายเส้นทาง เพื่อประท้วงความไร้ขื่อแปบนท้องถนน ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการลักทรัพย์ และขู่กรรโชกทรัพย์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ในแต่ละเดือนมีคนขับรถบรรทุกถูกสังหาร 1-2 คนเป็นประจำ การประท้วงครั้งนี้ส่งผลให้การจราจรบนทางหลวง อย่างน้อย 9 เส้นทางต้องติดขัดอย่างหนัก</p>
<p>ผู้นำสหภาพการขนส่ง บอกว่าจะยกระดับการประท้วงหลังจากนี้ หากรัฐบาลไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้องที่ต้องการให้เพิ่มมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยให้เข้มงวดขึ้น รวมทั้งยกเลิกค่าธรรมเนียมการขนส่งในบางเส้นทาง ด้านรัฐบาลระบุว่า การนำรถออกมาปิดถนน เป็นการกระทำที่ไร้เหตุผล และไม่เป็นธรรม ยังบอกด้วยว่าทางตัวแทนคนขับรถตัดสินใจยุติการเจรจาเอง ทั้ง ๆ ที่การเจรจากำลังมีความคืบหน้า</p>
<p>ที่มา: ABC News, 16/2/2024</p>
<h2><span style="color:#3498db;">องค์กรสื่อชี้กว่า 70% ของนักข่าวที่เสียชีวิตใน 2023 เป็นชาวปาเลสไตน์</span></h2>
<p>รายงานโดย Committee to Protect Journalists (CPJ) กล่าวว่า เมื่อพิจารณาตัวเลขผู้สื่อข่าวและบุคลากรสื่อ 99 คนที่เสียชีวิตในปีที่แล้ว มี 77 คนที่ถูกสังหารระหว่างทำรายงานข่าวสงครามอิสราเอล-ฮามาส โดย 72 คนเป็นชาวปาเลสไตน์ที่เสียชีวิตจากการโจมตีของอิสราเอล ส่วน อีก 3 คนเป็นชาวเลบานอนและ 2 คนเป็นชาวอิสราเอล</p>
<p>โจดี กินส์เบิร์ก ซีอีโอของ CPJ บอกกับวีโอเอว่า “นี่เป็นกรณีที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน” และว่า “เราพึ่งพาผู้สื่อข่าวปาเลสไตน์อย่างมาก และพวกเขาไม่ได้เพียงรายงานข่าวสงครามเท่านั้น แต่ยังใช้ชีวิตอยู่ในสงครามด้วย เพื่อนำข้อมูลข่าวสารจากกาซ่ามาเสนอให้เรา”</p>
<p>ทั้งนี้ การสังหารผู้สื่อข่าวในสงครามอิสราเอล-ฮามาสยังเกิดขึ้นต่อในปี 2024 โดยตัวเลข ณ วันที่ 14 ก.พ. 2024  ชี้ว่ามีผู้สื่อข่าวชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตเพิ่ม 11 คนในสถานการณ์ความขัดแย้งนี้ ตามรายงานของ CPJ</p>
<p>ขณะเดียวกัน ตัวเลขรวมของผู้สื่อข่าวที่ถูกสังหารในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่เมื่อปีที่แล้วเป็นสถิติใหม่สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2015 มา โดยเป็นการปรับขึ้นเกือบ 44% จากปีก่อน และ กินส์เบิร์ก กล่าวว่า “การที่ผู้สื่อข่าวถูกสังหารมีสาเหตุที่มา และนั่นก็เป็นเพราะว่า งานของพวกเราคือสิ่งที่ความสำคัญ”</p>
<p>รายงานฉบับนี้ระบุด้วยว่า ส่วนสำคัญของปัญหานี้ก็คือ การที่ผู้กระทำผิดไม่เคยต้องรับโทษ โดยการสำรวจของ CPJ พบว่า ผู้สื่อข่าวที่ถูกสังหารเกือบ 1,000 คนที่มีการรายงานโดยทางกลุ่มนับตั้งแต่ปี 1992 มานั้น เกือบ 80% ไม่ได้มีการดำเนินคดีตามกฎหมาย</p>
<p>ในเรื่องนี้ ซีอีโอของ CPJ กล่าวว่า อิสราเอลคือส่วนหนึ่งของประเด็นที่ผู้อยู่เบื้องหลังการเสียชีวิตของนักข่าวไม่ต้องรับโทษ และรายงานล่าสุดขององค์กรนี้ระบุว่า ทหารอิสราเอลสังหารผู้สื่อข่าวไปอย่างน้อย 20 คน ซึ่งเป็นชาวปาเลสไตน์ 18 คน ในช่วง 22 ปีที่ผ่านมา โดยไม่มีใครจากอิสราเอลเคยต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีใดเลย</p>
<p>วีโอเอส่งอีเมลไปยังกระทรวงต่างประเทศอิสราเอลเพื่อขอความเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว แต่ไม่ได้รับการตอบรับกลับขณะจัดทำรายงานข่าวนี้</p>
<p>อีกด้านหนึ่ง CPJ พบว่า สถิติการเสียชีวิตของผู้สื่อข่าวในส่วนอื่น ๆ ของโลกลดลงในปีที่แล้ว โดยการตรวจสอบในพื้นที่ 18 ประเทศแสดงให้เห็นว่า มีผู้เสียชีวิต 22 คนในปี 2023 เทียบกับ 69 คนในปี 2022</p>
<p>ถึงกระนั้น กินส์เบิร์ก กล่าวว่า เสรีภาพของสื่อทั่วโลกยังคงเผชิญกับการคุมคามอยู่ดี</p>
<p>ที่มา: VOA, 16/2/2024</p>
<h2><span style="color:#3498db;">Nike เตรียมเลิกจ้างพนักงานทั่วโลก 2%</span></h2>
<p>Nike แบรนด์เสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬายักษ์ใหญ่จากสหรัฐ ประกาศเลิกจ้างพนักงานทั่วโลก 2% โดยเป็นส่วนหนึ่งของการลดรายจ่ายเพื่อรับมือแนวโน้มยอดขายที่ลดลงในปีนี้ ท่ามกลางการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่ดุเดือดขึ้น</p>
<p>แม้ Nike ไม่ได้ระบุจำนวนพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง แต่หากประเมินจากจำนวนพนักงานทั้งหมดทั่วโลก 83,700 คนทั่วโลก จะทำให้มีพนักงานที่ถูกเลิกจ้างมากกว่า 1,600 คน สำหรับการเลิกจ้างจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงแรกที่มีผลทันทีในวันที่ 16 ก.พ. 2023 และช่วงที่ 2 จะมีขึ้นไปจนถึงภายในไตรมาส 4/2023</p>
<p>ที่มา: Willamette Week, 16/2/2024</p>
<h2><span style="color:#3498db;">กระทรวงแรงงานไต้หวันชี้กำลังหาเวลาและวิธีการที่เหมาะสม ลงนาม MOU กับอินเดีย เพื่อนำเข้าแรงงาน</span></h2>
<p><img alt="" src="https://th-static.rti.org.tw/assets/thumbnails/2023/09/12/20230912000099M.jpg" /></p>
<p>กระทรวงแรงงานไต้หวันเปิดเผยว่ากำลังหาเวลาและวิธีการที่เหมาะสม ลงนาม MOU กับอินเดีย เพื่อนำเข้าแรงงาน ทั้งนี้การลงนาม MOU กับอินเดียเป็นเพียงกรอบข้อตกลง หลังจากนั้นจะต้องจัดการประชุมคณะทำงาน เพื่อกำหนดจำนวนโควตา และประเภทกิจการที่เปิดให้นำเข้า จะต้องผ่านกระบวนการหารือที่สำคัญก่อน ไม่ได้หมายความว่าเมื่อลงนาม MOU แล้ว จะนำเข้าแรงงานอินเดียทันที 100,000 คน</p>
<p>การเพิ่มแหล่งนำเข้าแรงงานเป็นความเห็นพ้องระหว่างรัฐบาลและฝ่ายค้าน สำหรับความคิดอคติหรือสิ่งที่ประชาชนยังไม่เข้าใจ กระทรวงแรงงานจะชี้แจงและสื่อสารกับประชาชนต่อไป ทั้งนี้ ญี่ปุ่นลงนาม MOU กับอินเดียเมื่อปีที่แล้วและเกาหลีใต้ก็กำลังเจรจาเพื่อลงนามเช่นกัน อินเดียมีการส่งออกแรงงานไปทั่วโลกกว่า 20 ล้านคนแล้ว รวมถึงไปยังอิสราเอล คาบสมุทรอาหรับ เป็นต้น</p>
<p>ที่มา: Radio Taiwan International, 16/2/2024</p>
<h2><span style="color:#3498db;">แผนกคาแรคเตอร์และเดินขบวนของดิสนีย์แลนด์เตรียมรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงาน Magic United</span></h2>
<p>พนักงานของดิสนีย์แลนด์โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนกคาแรคเตอร์และเดินขบวน ประกาศเจตจำนงรวมกลุ่มเป็นสหภาพภายแรงงานใต้ชื่อ "Magic United" โดยร่วมมือกับสมาคม Actors' Equity Association</p>
<p>พนักงานกว่า 1,700 คน เริ่มแจกบัตรลงคะแนนเพื่อขอจัดตั้งสหภาพแรงงาน และจะหาเสียงเพื่อให้ดิสนีย์แลนด์ยอมรับการจัดตั้งสหภาพแรงงานเมื่อเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบ โดยพนักงานเหล่านี้มีหน้าที่สำคัญในการสร้างบรรยากาศมหัศจรรย์ของดิสนีย์ ไม่ว่าจะเป็นการแสดง โชว์ ต้อนรับแขก และร่วมรับประทานอาหารกับตัวละคร นอกจากนักแสดงแล้ว ผู้ฝึกสอน หัวหน้าทีม และพนักงานสนับสนุนอื่นๆ ก็จะรวมอยู่ในสหภาพแรงงานด้วย</p>
<p>ประเด็นสำคัญที่พนักงานกังวลคือ "สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ ค่าแรงที่ยุติธรรม และความโปร่งใสในการจัดตารางงานและการจ้างงานกลับเข้าทำงาน" ผู้นำของ Magic United กล่าวว่า "เมื่อเราพูดด้วยเสียงเดียวกัน เราสามารถพูดคุยกับนายจ้างได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สุดท้ายแล้ว ส่งผลดีต่อทุกคน ทั้งพนักงาน ผู้จัดการ และที่สำคัญที่สุดคือแขกของเรา"</p>
<p>ที่มา: KTLA 5 News, 18/2/2024</p>
<h2><span style="color:#3498db;">รถพยาบาลนิวซีแลนด์บางส่วนต้องหยุดให้บริการชั่วคราว หลังขาดพนักงานขับรถ แม้รัฐบาลอัดฉีดเงินเพิ่ม</span></h2>
<p>องค์กรรถพยาบาล Hato Hone St John ในนิวซีแลนด์ ต้องตัดสินใจจอดรถพยาบาลบางส่วนชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในภาวะที่พนักงานลาพักร้อน ลาป่วย หรือขาดแคลน การตัดสินใจนี้สร้างความกังวลแก่หลายฝ่าย สหภาพแรงงานพยาบาลชี้ว่าเป็นการประหยัดงบประมาณที่ "ไม่สามารถยอมรับได้" และเสี่ยงต่อชีวิตประชาชน โดยมีรถพยาบาลในหลายภูมิภาคต้องจอดทิ้งไว้ทั้งสัปดาห์เพราะไม่มีคนขับ</p>
<p>ฝ่ายบริหารชี้แจงว่าเป็นการ "บริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ" โดยลดการจ่ายค่าล่วงเวลาแพง ๆ และยืนยันว่าการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินจะไม่ถูกกระทบ แม้ผู้ป่วยไม่รุนแรงอาจต้องรอรถพยาบาลนานขึ้น ทั้งนี้ Hato Hone St John กำลังเจรจาค่าแรงกับสหภาพแรงงาน แต่ฝ่ายบริหารอ้างว่าขาดทุน 5.5 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ในปีนี้ ย้อนแย้งกับข้อตกลงปรับเงินเดือนพยาบาลขึ้น 6% ที่เคยตกลงไว้ก่อนหน้านี้</p>
<p>รัฐบาลนิวซีแลนด์ชี้แจงว่าได้เพิ่มเงินอุดหนุนให้บริการรถพยาบาลฉุกเฉินอย่างมาก ภายใต้ข้อตกลง 4 ปีกับผู้ให้บริการ โดยงบประมาณเพิ่มขึ้น 32% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการภายในเป็นความรับผิดชอบของ Hato Hone St John เอง</p>
<p>ที่มา: RNZ, 19/2/2024</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ญี่ปุ่นเล็งเพิกถอนสถานภาพผู้พำนักถาวรที่ไม่จ่ายภาษีหรือละเมิดกฎหมาย</span></h2>
<p>หน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองของญี่ปุ่นมีแผนที่จะปรับปรุงแก้ไขระบบสถานภาพการพำนักในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถเพิกถอนสถานภาพพำนักถาวรกับผู้ที่ละเมิดกฎหมายหรือไม่จ่ายภาษีหลายครั้ง</p>
<p>ความเคลื่อนไหวนี้สอดคล้องกับการตัดสินใจของรัฐบาลญี่ปุ่นที่จะยกเลิกระบบปัจจุบันที่ใช้กับผู้ฝึกหัดทักษะอาชีพชาวต่างชาติ และเปลี่ยนเป็นโครงการฝึกใหม่ที่สถานที่ปฏิบัติงาน</p>
<p>รัฐบาลคาดหวังว่าผู้ฝึกทักษะจำนวนมากขึ้นอาจได้รับสถานภาพผู้พำนักถาวร</p>
<p>ภายใต้ระบบปัจจุบัน ผู้พำนักถาวรจะไม่เสียสถานภาพของตนแม้ว่าจะไม่จ่ายภาษีหรือเงินสมทบประกันสังคม หรือละเมิดกฎหมายหลายครั้งและถูกตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 1 ปี</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ภายใต้ระบบใหม่ รัฐบาลจะสามารถเพิกถอนหรือเปลี่ยนสถานภาพได้ หากบุคคลนั้นไม่จ่ายภาษีหรือถูกส่งตัวเข้าเรือนจำนานถึง 1 ปีในข้อหาก่ออาชญากรรม เช่น การโจรกรรม</p>
<p>หน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองยังวางแผนที่จะส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ทางการท้องถิ่นแจ้งกับทางหน่วยงานเกี่ยวกับผ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - รอบโลกแรงงาน สิงหาคม 2023
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 121 กระทู้ล่าสุด 22 สิงหาคม 2566 05:55:28
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - รอบโลกแรงงาน กันยายน 2023
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 99 กระทู้ล่าสุด 21 กันยายน 2566 10:53:25
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - รอบโลกแรงงาน พฤศจิกายน 2023
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 59 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2566 13:06:07
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - รอบโลกแรงงาน มกราคม 2024
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 52 กระทู้ล่าสุด 21 มกราคม 2567 09:18:25
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - รอบโลกแรงงาน มีนาคม 2024
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 37 กระทู้ล่าสุด 21 มีนาคม 2567 16:15:27
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.165 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 21 กุมภาพันธ์ 2567 14:34:59