[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 20 พฤษภาคม 2554 22:00:41



หัวข้อ: เพ่งนิมิตจิตมุทรา : เมล็ดพยางค์มนตร์ พีชะมนตรา ใน เทพสาธนา
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 20 พฤษภาคม 2554 22:00:41
(http://tibetansacredarts.com/wp-content/uploads/2009/07/deities_padmasambhava_680.jpg)



การบำเพ็ญสมาธิทางพุทธศาสนาส่วนใหญ่ จะเพ่งจิตไปที่ลมหายใจ ไปที่ตังจิตเอง หรือบางครั้งก็ที่รูปทรงเรขาคณิตง่าย ๆ การทำสมาธิ ทางวัชรยานขึ้นอยู่กับคุณลักษณะที่เรียกว่า " จินตนาการสร้างสรรค์ " หรือ การจินตทัศน์ นี้เป็นสิ่งที่ทำให้วัชรยานแตกต่างจากพุทธปฏิบัติ แบบอื่น ๆ แม้จะไม่มีใครทราบว่าวัชรยานได้เข้าสู่กระแสของพุทธ ศาสนาครั้งแรกเมื่อใด แต่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่าศตวรรษ ต้น ๆ ของยุคสมัยปัจจุบัน อาจจะมีอยู่แล้วตั้งแต่เริ่มแรก ชาวธิเบต เชื่อว่ามันมีอยู่อย่างนั้นแล้วและได้มีการสอนโดยองค์สมเด็จพระสัม- มาสัมพุทธเจ้าเอง ไม่ว่าจะเป็นแบบใดเมื่อมาถึงศตวรรษที่ ๔ หรือ ๕ นั้น ก็มีความตื่นตัวแพร่หลายถึงขีดสุดแล้ว แม้ว่ามันจะยังคงรูปแบบ การปฏิบัติที่เป็นความลับมาก
 
 

ในเวลานั้นมีพระอารามใหญ่โตหลายแห่งในอินเดียที่เป็นมหาวิทยาลัย สงฆ์ด้วย ได้แก่ นาลันทา วิกรมศิลา และตักศิลา ที่เหล่านี้บรรจุนัก ปราชญ์ราชบัญฑิตของพระอารามนับเป็นพัน ๆ ที่ได้ศึกษาปรัชญาทาง พุทธศาสนาทุกแขนง ภายในมหาวิทยาลัยเหล่านี้ มีคุรุจำนวนมากที่ฝึก ฝนตามคำสอนวัชรยานอยู่ด้วย แต่ก็กระทำกันอย่างเงียบ ๆ กล่าวกันว่า จากภายนอกคุรุเหล่านี้จะดูเหมือนพระสงฆ์ แต่ด้านในนั้นท่าเป็นเหล่า โยคี พวกท่านจะไม่พูดถึงมันและการฝึกก็มิได้เผยและแพร่หลายด้วย แรงคะยั้นคะยอหรือใคร่รู้จากสาธารณะหรืออื่น ๆ แต่อย่างใด จนกระทั่ง มันได้กลายเป็นศาสนาประจำรัฐธิเบต ฉันคิดว่าวัชรยานไม่เคยมีความ มุ่งหวังให้เป็นศาสนาประจำรัฐแต่อย่างใด มันเป็นการปฏิบัติที่ตั้งใจเป็น การปฏิบัติเงียบ ๆ และเป็นความลับเพียงรู้กันในระหว่างครูกับศิษย์เท่า นั้นก่อนที่จะฝึกทางวัชยานได้ จำเป็นผู้ฝึกจะต้องได้รับการอภิเษกเสีย ก่อน ถ้าเธอพิจารณาหลักฐานบันทึกในยุคต้น ๆ ของอินเดียจะปรากฏ ให้เห็นว่าโดยปกติศิษย์จะได้รับการอภิเษกก็ต่อเมื่อผ่านการทดสอบปี แล้วปีเล่าจากคุรุเท่านั้น แล้วหลังจากนั้นก็จะเป็นการถ่ายทอดแบบคน ต่อคน จากจิตสู่จิต ในปัจจุบันสมเด็จทะไลลามะทรงประทานการ อภิเษกกาลจักรคราวละเป็นแสนคน
 
 
อย่างที่ฉันได้กล่าวก่อนหน้านี้แล้วว่า การฝึกปฏิบัติทางวัชรยานนั้น พึ่งพาการใช้จิตทัศน์สร้างสรรค์เป็นอย่างมาก ฉันจะยกตัวอย่างหนึ่ง สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยได้ทำอะไรแบบนี้มาก่อน สมมุติเรายกตัวอย่าง ท่านคุรุปัทมสัมภวะผู้ซึ่งเป็นชาวธิเบตเรียกว่าท่านคุรุ รินโปเช ท่าน คุรุปัทมสัมภวะเหมาะสมอย่างยิ่งต่อหัวข้อนี้เพราะว่าท่านเป็นคุรุมา จากประเทศอินเดียและสถาปนาพุทธศาสนานิกายตันตระขึ้นในธิเบต ในระหว่างศตวรรษที่ ๘ ท่านกลายเป็นจุดศูนย์รวมแห่งการอุทิศถวาย ที่ได้รับความนิยม สมมุติว่าเราจะกระทำการปฏิบัติที่จุดศูนย์กลาง อยู่ที่ท่านปัทมสัมภวะ ไม่ว่าเราจะทำอะไรสำคัญอย่างยิ่งที่เราจะก้าว ไปด้วยเจตนาที่ถูกต้อง นั่นก็คือด้วยความปรารถนาที่จะแทงสู่สัจภาวะ ที่ไร้เงื่อนไขเหนือเหตุปัจจัยปรุงแต่งใด ๆ และการได้มีหนทางเข้าถึง เมตตาและปัญญาญาณที่แฝงอยู่ของเราที่จะยังประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ ไม่มีมูลเหตุจูงใจอื่นใดที่จะถูกต้อง ในลำดับแรกเลย เราขอไตรสรณ- คมน์ในพุทธศาสนา พระธรรมคำสอน และชุมชนแห่งนักปฏิบัติที่ได้ ถึงซึ่งความตระหนักรู้แจ้ง ลำดับต่อไปเราโน้มนำความปรารถนาไป ที่ความรู้แจ้งเพื่อยังประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ณ จุดนี้เอง เรา เริ่มการทำสมาธิ
 
 
ถ้าเราทำการเจริญภาวนากับองค์พระปัทมสัมภวะ เราก็จะจินตทัศน์ ตัวเราเองกำลังนั่งอยู่ หลังจากนั้นกายของเราก็หลอมรวมไปสู่ที่ว่าง ในที่ว่างนั้น ที่กึ่งกลางหัวใจ อักขระตัวหนึ่งจะผุดขึ้น ในกรณีนี้ก็จะ เป็น พัม อักขระย่อสำหรับปัทมะ สิ่งนี้เรียกว่า พีชอักขระ และแล้ว อักขระ พัม นี้ก็จะเปล่งแสงออกไปทั่วทุกทิศ ชำระล้างจักรวาลโดย ทั่วทั้งสิ้น จักรวาลทั้งหมดและทุก ๆ สิ่งจักรวาลก็จะกลายเป็นภูมิแห่ง ความบริสุทธิ์อันหมดจดสมบูรณ์และสัตว์ทั้งหลายก็จะได้รับการชำระ ล้างจากเครื่องเศร้าหมองแปดเปื้อนทั้งหลายและกลายเป็นดั่งเทพ เทพยาดา จากนั้นแสงเจิดจรัสก็กลับคืนสู่อักขระ พัม และในชั่วพริบตา บุคคลนั้นก็จะปรากฏเป็นปางของปัทมสัมภวะ ผู้นั้นต้องเห็นตัวเอง เป็นองค์ปัทมสัมภวะ ผู้เป็นกายแห่งพระเมตตาและปัญญาญาณแห่ง องค์พระพุทธเจ้าทั้งปวง

Guru Rinpoche Padmasambhava (http://www.youtube.com/watch?v=wqandfwFTBc#)


หัวข้อ: Re: เพ่งนิมิตจิตมุทรา : เมล็ดพยางค์มนตร์ พีชะมนตรา ใน เทพสาธนา
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 20 พฤษภาคม 2554 22:01:26
(http://www.buddhistdharma.net/images/VajrasattvaA4.jpg)


ในขณะนี้เราเห็นตัวเราเป็นองค์ปัทมะสัมภวะและมีความรู้สึกมั่นคงแรง กล้าแห่งการเป็นองค์ปัทมะสัมภวะ ณ จุดนี้ ถ้าธรรมชาติแห่งปัญญาญาณ เดิมแท้ของเราสามารถที่จะปรากฏเป็นรูปได้นั้น มันก็จะปรากฏเป็นรูป ขององค์ปัทมสัมภวะ นี่คือความเรืองรองแห่งธรรมชาติอันเป็นพุทธะ ของเรา มันเหมือนกับสายรุ้งสายหนึ่ง จินตทัศน์ไม่ใช่สิ่งที่เป็นรูปร่าง จับต้องได้ ปัทมสัมภวะไม่ได้มีตับไตไส้พุงและหัวใจ ท่านคือแสงแห่งรุ้ง ทุก ๆ ส่วนสัดนั้นมีความหมาย พระหัตถ์ทั้งสองนั้นคือพระปัญญาและ กรุณา ท่านคือผลผสมรวมของธาตุต่าง ๆ ทั้งหมดแห่งพุทธมรรคอันกลั่น ออกมาในรูปเดียว นั่คือสิ่งที่เราเป็นจริง ๆ นี่เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรู้ นี่ คืออะไรที่เราเป็นโดยแท้จริงไม่ใช่ตัวตนชั่วคราวที่เราโดยปกติคิดถึงใน ฐานะ " ตัวฉัน " แล้วเราก็เห็นตัวเราในฐานะคุรุ รินโปเช ( ปัทมสัมภวะ ) เพียรพยายามอย่างที่สุดที่จะจินตนาการให้เห็นอย่างชัดเจนที่สุดที่จะมาก ได้ถึงรายละเอียดทั้งหมด สำรวจผ่านจินตทัศน์ต่าง ๆ ทุกส่วน ๆ รวบ รวมแวบต่าง ๆ ที่เห็นขององค์รวมนั้นไว้ด้วยกัน องค์ปัทมสัมภวะกำลัง ประทับนั่งอยู่นั้น เปล่งประกายแห่งรัศมี ที่ใจกลางแห่งหัวใจนั้นคือดอก บัวดอกหนึ่ง และบนนั้นคือพระจันทร์เสี้ยว บนพระจันทร์เสี้ยวคือพีช- อักขระ พัม รายรอบนั้นเป็นอักขระของมนตราชูเด่น แสงเจิดจรัสออกจาก มนต์แห่งองค์ปัทมสัมภวะ แสงที่เปล่งรัศมีเหล่านี้แผ่ซ่านออกและชำระ ล้างทั่วทั้งพิภพจักรวาล สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็จะได้รับการชำระล้างโดย ธรรมชาติเพราะว่าขณะนี้เราคือพระพุทธเจ้า



นี่คือสิ่งที่ฉันอธิบายก่อหน้านี้ว่า " การถือเอามรรคผลเป็นเช่นมรรค " การเอามรรคผลเป็นเช่นมรรค หรือเป็นเช่นวิถี ตอนนี้เราคือพระพุทธ เจ้า และพระพุทธเจ้านั้นมีพลานุภาพที่จะชำระล้างสัตว์ทั้งหลาย ในจิต ของเรานั้เราประกอบกิจนี้ซึ่งองค์พระพุทธเจ้าจะทรงกระทำ นั่คือแผ่ รัศมีออกไปทั่วทุกทิศทาง ไปชำระล้างทุกสิ่งทุกอย่างและสัตว์ทั้งหลาย ทุก ๆ ที่อย่างหมดจด โดยคำ " สัตว์ทั้งหลาย " เรามิได้อ้างถึงเพียงพื้น ๆ แค่มนุษย์ สัตว์ทั้งหลายนั้นรวมสัตว์โลกต่าง ๆ แมลงทุกชนิด ปลานานา พันธุ์ วิญญาณทุกดวง และสัตว์ที่อยู่ในสวรรค์และนรกทุก ๆ ที่ สัตว์ทั้ง หลายทั้งปวงตลอดทั่วจักรวาลอันกว้างใหญ่พิศวงยิ่งนี้ได้รับการปลด ปล่อยหลุดพ้น กลับมีสำนึกรู้ตัวได้ถึงธรรมชาติแห่งปัญญาและกรุณา ของตัวเองและกลายเป็นองค์ปัทมสัมภวะ โลกทั้งโลกกลายมาเป็นแดน สุขาวดีอันบริสุทธิ์ จากนั้นแสงทั้งปวงกลับคืนและเปล่งประกายออกอีก ครั้ง น้อมถวายเครื่องพุทธบูชาต่อองค์พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ทั้งมวลในจักรวาลและต่อสัตว์โลกอันมีมโนสำนึกทั้งหลายทั้งปวงผู้ซึ่งใน ขณะนี้เป็นเป็นพระพุทธเจ้าเองด้วย ทั้งจักรวาลในเวลานี้คือพุทธเกษตร สุขาวดีอันบริสุทธิ์อันเต็มไปด้วยพระพุทธเจ้า ในขณะที่เราทำจินตทัศน์ นี้เราก็ท่องมนต์ แล้วในที่สุดจักวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลที่ตอนนี้เปี่ยมไป ด้วยองค์พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ก็หลอมละลายกลายเป็นแสงเรือง รอง แสงนั้นก็หลอมลงสู่ตัวเรา เราหลอมละลายลงสู่จุดใจกลาง ดอกบัว และดวงจันทร์ก็หลอมละลายลงสู่มนต์ มนต์ก็หลอมละลายลงสู่พีชอักขระ พัม พีชอักขระก็หลอมรวมขึ้นสู่เบื้องบนสู่วงกลมเล็ก ๆ เรียกว่า นาทะ ซึ่งต่อมาก็หลอมละลายไปด้วย เราเพ่งดูสิ่งนี้อย่างไกล้ชิดแม่นยำอย่างยิ่ง ขณะที่มันหลอมลง ทุก ๆ ขั้นจนกระทั่งว่าไม่มีอะไรเหลือ แล้วจิตก็ดำรง อยู่ในสภาวะธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของมัน มักพักอยู่นสภาวะนี้ซึ่งอยู่เหนือ ความคิดและแนวคิดนานที่สุดที่จะนานได้ เมื่อใดที่ความคิดเกิดขึ้น เราก็ จะปรากฏในภาคขององค์ปัทมสัมภวะอีกในทันใดและอุทิศกุศลกรรม อันบังเกิดจากการปฏิบัตินี้



หลังจากนั้น ในขณะเรากำลังทำกิจวัตรโดยปกติในระหว่างวัน เราเห็น ตัวเองเป็นองค์ปัทมสัมภวะ เราเห็นสัตว์โลกทั้งหลายที่เราพบปะเป็นการ สำแดงออกแห่งองค์ปัทมสัมภวะ ทันทีที่เราพบใครสักคน เราก็จะรู้จัก จำได้ถึงธรรมชาติแห่งพุทธะทีเร้นอยู่ของเขา ทุกเสียงที่เราได้ยินคือเสียง แห่งมนตรา เสียงเสาะหู เสียงกระโชกโฮกฮาก ล้วนเป็นเพียงมนตรา ความคิดทุกความคิด ความคิดดี ความคิดเลว ความคิดฉลาด ความคิด โง่ เป็นเพียงการละเล่นแห่งจิตอันเป็นพระปัญญาขอคุรุปัทมสัมภวะ เรา พยายามจะรักษาสติรู้สึกตัวนี้ไว้ทั้งวันว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งหมดที่เราพบ เป็นเพียงแสร้งว่าตนนั้นสามัญ แต่แท้จริงแล้ว คือ คุรุรินโปเช ในรูปแปลง ทุกเสียงที่เราได้ยินเป็นเสียงสะท้อนอันวิเศษของ โอม อา หุม วัชระ คุรุ ปัทมา สิทธิ หุม ( มนต์แห่งองค์ปัทมสัมภวะ ) ความคิดทั้งหมดที่เรา มีเป็นเพียงธรรมชาติอันเป็นสาระของการละเล่นอันว่างเปล่าของปัญญา ญาณ ไม่มีอะไรที่ต้องวิตก ถ้าเราสามารถดำรงอยู่ในภาวะนั้นตลอดทั้ง วัน เราก็จะเรียนรู้ว่าการพัฒนาให้เกิดความเห็นชอบนั้นคืออะไร
 
 
 
นี่คือวิถีแห่งความเป็นไปแห่งวัชรยาน ฉันได้ให้ภาพประกอบชนิดหนึ่ง ทำให้ง่ายอย่างยิ่ง แต่โดยหยาบ ๆ แล้วนั่นก็คือขั้นตอนกระบวนการของ มัน บางครั้งเวลาที่คนเข้ามาหาวัชรยาน จะรู้สึกเกรงกลัวกับภาพที่ดูสลับ ซับซ้อนไม่สิ้นสุด มีเทพเจ้ามากมายเหลือเกิน หลากหลายระดับ การ ปฏิบัติและวิธีการมากมายหลายแบบ แล้วจะไปเริ่มที่ไหนกัน มันอาจทำ ให้เราตื้อไปหมด แต่สาระสำคัญที่มุ่งเน้นสำหรับการปฏิบัติ โดยความ จริงแล้วมีความเรียบง่าย ปัญหาก็คือว่ามันเหมือนการปฏิบัติแบบอื่น ๆ คือเราจะต้องลงมือทำ มันไม่เพียงพอที่จะลงมือปฏิบัติเพียงแค่ ๑o นาที ต่อวัน เราจำเป็นจะต้องผนวกการปฏิบัติเข้ากับชีวิตประจำวัน ต้องทำ การแปรเปลี่ยนจิตของเรา มันไม่ได้เกี่ยวกับการเล่นกับความคิดที่สวยหรู แต่มันเป็นการแปรเปลี่ยนแก่นลึกที่สุดของความมีอยู่ของเรา มันจะไม่ได้ ผลเลยถ้าเราไม่รับการปฏิบัติเข้ามาสู่ตัวเราอย่างจริงจัง กัดกินมัน ย่อยมัน และใช้มันเพื่อบำรุงหล่อเลี้ยงตัวเราเอง ไม่ใช่จะเพียง แทะเล็มตรงนี้นิด ตรงนี้หน่อย บางคนลงมือปฏิบัตินิด ๆ หน่อย ๆ ทุกวันแล้วก็ลืมมันไป เลย แล้วก็มาสงสัยว่าทำไมไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่พระคัมภีร์นั้นชัดเจนมาก ว่านี่ไม่ใช่อะไรที่เธอจะทำเฉพาะตอนที่กำลังนั่งอยู่บนอาสนะเท่านั้น จะ ต้องนำจินตทัศน์นี้ติดตัวเข้าสู่ชีวิตประจำวันปกติของเธอ นี่คือสิ่งที่คุรุ ในยุคแรก ๆ นั้นกระทำ พวกเขาแปรเปลี่ยนจินตาการของตัวไปเป็น สัมมาทิฏฐิเพราะพวกเขาใช้มันอยู่ตลอดเวลา ในการเผชิญหน้าทุก ๆ ครั้ง


ยังมีอีกด้านหนึ่งของวัชรยานซึ่งสร้างบนพื้นฐานนี้ มันเกี่ยวกับการบังคับ พลังด้านในซึ่งจะทำได้เมื่อจินตทัศน์ของเราตั้งมั่นพอและเราได้ท่องสวด มตราตามที่กำหนดมากพอ มนต์ที่ว่านั้นถือว่าเป็นสาระของธรรมชาติของ เทพนั้น ๆ พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์มีมนต์พิเศษประจำ พระองค์ซึ่งเป็นหนทางที่จะได้เชื่อมโยงและประสบกับเทพเจ้านั้น ๆ เวลา เรากล่าวบทสวดมนต์ด้วยสมาธิและจินตทัศน์อย่างสมบูรณ์ เราตระหนัก ถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เทพเจ้านั้น ๆ เป็นตัวแทน มันถูกอัดไว้ในมนต์ซึ่งเป็น ดั่งรหัส เราถอดรหัสแล้วเข้าถึงพลังนั้นโดยทางสมาธิและการทำจินตทัศน์ ของเราและโดยการกล่าวบทสวดมนต์ ถ้าเราสวดดด้วยสมาธิจดจ่อแน่วแน่ อย่างแท้จริงกับจินตทัศน์และกลายเป็นหนึ่งเดียวกับการปฏิบัติ ผลก็จะมา อย่างรวดเร็วมาก ถ้าเราแบกความสงสัยเอาไว้ในใจเรา ก็จะไม่มีอะไรเกิด ขึ้นแท้จะปฏิบัตินับกัปกัลป์ พระคัมภีร์จะเฉพาะเจาะจงมากในการชี้ให้เห็น จุดนี้


หัวข้อ: Re: เพ่งนิมิตจิตมุทรา : เมล็ดพยางค์มนตร์ พีชะมนตรา ใน เทพสาธนา
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 20 พฤษภาคม 2554 22:02:07
(http://karmagardri.com/wp-content/gallery/others/white-manjushri.jpg)



ฉันอาจพูดถึงอะไรต่ออะไรได้อีกมากเหลือเกิน แต่ก็รู้สึกรั้งรอที่จะกล่าว มากเกินไปเพราะว่าหลาย ๆ คนในพวกเธออาจไม่เคยได้รับพิธีอภิเษกทาง วัชรยานมาก่อนเลย อย่างไรก็ตามฉันจะกล่าวถึงในบางเรื่องที่ทำให้สับสน บ่อย ๆ ผู้ที่ไม่ใช่วัชรยานจะฉงนฉงายอยู่บ่อยเวลาเข้ามาวัดของวัชรยาน และพบตัวเองถูกห้องล้อมไปด้วยตัวแทนของสัตว์เหล่านี้ทั้งหลายทั้งปวง บนผนัง พวกเขามักถามว่า " อันนี้มันเกี่ยวกับศาสนาพุทธอย่างไรหรือ " ภาพหลายภาพนั้นเป็นรูปเปล่าเปลือย จำนวนไม่น้อยที่ดูเหนื่อยยาก ทุกข์ และแค้นเหมือนปีศาจ บางร่างก็มีแม้ให้เห็นในท่าร่วมสังวาส แต่ภาพพระ ฉายนี้ไม่ได้ประหลาดพันลึกหรือซับซ้อนแบบที่มันดูเป็นอย่างนั้นในครั้ง แรก ภาพของเทพต่าง ๆ นั้นเป็นตัวแทนแสดงถึงระดับพื้นฐาน ๓ ประการ ของอารมณ์ไม่อันใดก็อันหนึ่ง อารมณ์แรกก็คือสงบเย็น จะมีสัญลักษณ์ เป็นรูปอย่างเช่น พระอวโลกิเตศวรผู้เป็นพระโพธิสัตว์แห่งความกรุณา พระมัญชุศรี พระโพธิสัตว์แห่งปัญญาญาณ และพระนางตารา ผู้ช่วยให้ พ้นภัย ทั้งหมดแสดงให้เห็นในลักษณะที่งียบสงบและแย้มพระสรวลเล็ก น้อย คนปกติไม่มีปัญหาใด ๆ กับพระรูปเหล่านี้แม้บางครั้งอาจจะมีปัญหา กับเรื่องพระนางตาราเขียว บางรูปอื่น ๆ เหตุใดจึงเป็นสีน้ำเงิน แต่โดย พื้น ๆ แล้วก็ไม่มีปัญหาใด เพราะว่าเทพเจ้าเหล่านี้ดูงดงามและเป็นมิตร ประหนึ่งว่าพวกเขาอยู่ฝ่ายเดียวกับเรา


(http://www.rinnoji.or.jp/keidai/homotu/past/homotu-pic/fudo-nidoji.JPG)


ทีนี้ก็มีระดับที่ ๒ ซึ่งเรียกว่า ชิมาโทร ในภาษาธิเบต หมายความว่า " ไม่ใช่สงบเงียบหรือโกรธ " พวกนี้จะเป็นเทพยาดาที่ห้าวหาญ รู้จักกัน ในรูปเหรุกะ และฑาคินี พวกเขาเป็นตัวแทนของพลังที่มุ่งสู่การตรัสรู้ คุณสมบัติเฉพาะของพวกเขาคือมีความรู้สึกเร่าร้อน ทีนี้รูปแบบของ พุทธศาสนาในยุคแรก ๆ นั้นมองว่าตัณหาหรือความอยากเป็นอุปสรรค สำคัญต่อการหลุดพ้น แต่ในฝ่ายมหายานโดยเฉพาะในฝ่ายวัชรยานนั้น เป็นที่เข้าใจว่าอารมณ์เช่นความปรารถนาอย่างแรงกล้าและความโกรธนั้น เมื่อสาวไปถึงแหล่งกำเนิดของมันแล้ว จะพบว่าเป็นขุมของพลังมากมาย มหาศาล ณ จุดหนึ่งพลังนี้ได้บิดเบือนไปเป็นพลังเชิงลบ แต่อย่างไรก็ ตามพลังนี้โดยตัวของมันเองแล้วใสกระจ่างรอบรู้ยิ่ง หรือกล่าวอีกอย่าง หนึ่งว่าด้านที่สำหรับเราแล้วดูเหมือนจะเป็นพลังเชิงลบนั้น แท้จริงเป็น ปัญญาเดิมแท้ที่ซ่อนอยู่ นี่คือท่าทีที่มีต่ออารมณ์ด้านลบที่กลับตาลปัตร โดยสิ้นเชิง แทนที่จะถอนรากถอนโคนอารมณ์เช่นความโกรธ ความหยิ่ง ทะนง ความอิจฉา และความอยากอันเร่าร้อน เราอาจนำพลังนี้มาใช้เป็น เชื้อเพลิงสำหรับการรู้แจ้ง มันได้กลายมาเป็นผู้ช่วยสำคัญของเราบนวิถีนี้ นี่คือแรงบันดาลใจสำคัญอันอยู่เบื้องหลังวัชรยานทั้งหมด เมื่อใดที่เราเข้าใจ สิ่งนี้ เราก็จะเข้าใจสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่เป็นรูปเคารพของวัชรยาน
 
 
คัมภีร์ธิเบตบอกเราว่าอารมณ์เชิงลบยิ่งมากเท่าไร ปัญญาก็ยิ่งมากขึ้นเพียง นั้น ผลที่ตามมาก็คือถ้าปราศจากอารมณ์เชิงลบแล้ว ก็จะไม่มีปัญญาเกิด ขึ้น นี่หมายความว่าเราได้รับแรงสนับสนุนให้กระทำตามความโลภ ความ ทะยานอยาก และความเกลียดอย่างเต็มที่ในนามของการปฏิบัติทางจิต วิญญาณละหรือ บางคนคิดว่าใช่ แต่นี่คือการเข้าใจผิด คุณสมบัติด้านลบ ต่าง ๆ เหล่านี้ถ้าปล่อยมันไว้ในภาวะไร้การบังคับและควบคุมแล้วก็คือ ตัวการแห่งสังสารวัฏอันแน่แท้ แต่ถ้าเราควบคุมและแปรสภาพมัน เรา ก็จะสามารถใช้มันเป็นเชื้อเพลิงที่จะผลักดันเราไปพ้นจากวัฏสงสาร ตัวอย่างที่ผุดขึ้นในใจของฉันเสมอก็คือเรื่องของจรวด เธอจำเป็นต้องมี เชื้อเพลิงปริมาณมากมายมหาศาลที่จะปล่อยจรวดให้พ้นแรงดึงดูดของ โลก แต่เมื่อไรที่มันออกไปสู่อวกาศได้แล้ว เธอก็ไม่จำเป็นต้องใช้พลัง งานมากอีกต่อไป มันกลายเป็นการขับเคลื่อนด้วยตัวมันเอง ฉะนั้นกับ วิถีทางจิตวิญญาณก็เช่นกัน แรงโน้มถ่วงของธรรมชาติโดยสามัญของเรา ของจิตสามัญที่ตั้งอยู่บนอัตตาอันเป็นอวิชชานั้นแรงอย่างยิ่ง มันยาก เหลือเกินที่จะสร้างพลังขับไปสู่สภาวะที่เหนือปัจจัยปรุงแต่ง เพราะจิต ที่ถูกปรุงแต่งด้วยเหตุปัจจัยของเรานั้นทรงพลังยิ่งเหลือเกิน แม้ว่าเราจะ ทำสมาธิเพื่อให้เกิดความสงบรำงับและสมาธิเพื่อเห็นแจ้งตามปกติก็ตาม มันยากที่จะสร้างพลังขับให้ทะลุออกไปได้ เราจำเป็นต้องใช้ทุกอย่างที่ อาจรวมได้เพื่อแรงผลักเบื้องแรกนี้



วัชรยานนำทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีขึ้นมา แม้แต่ขยะ และใช้ทั้งหมดนั้น เป็นเชื้อเพลิงเพื่อเป็นพลังให้กับการแทงทะลุสู่ธรรมชาติเดิมแท้ของ จิตอันปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง นั่นคือเหตุผลว่าทำไมจึงอาจดูคุกคาม อย่างยิ่งและทำไมมันอาจเป็นอันตรายได้มากและทำไมเราจึงจำเป็นที่ จะต้องมีการชี้แนะจากครู พระคัมภีร์ทางวัชรยานนั้นเน้นถึงความจำ เป็นของการมีครูที่สมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง ไม่เช่นนั้นแล้วมันอาจเป็น หนทางที่อันตรายอย่างยิ่งได้ กล่าวกันว่าเราไม่อาจเจ็บตัวมากกับการ ขี่เกวียนไปตามท้องถนน แต่เมื่อไรที่เราอยู่หลังพวงมาลัยรถสปอร์ต แล้วละก็เราต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เธอต้องมีครูเก่ง ๆ ก่อนที่เธอ จะขับรถคันนั้น นี่เป็นเพราะว่าวัชรยานใช้พลังต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งพลังทางเพศ ซึ่งในทางพุทธศาสนายุคแรก ๆ นั้นถูกทำให้กลายเป็น เรื่องสูงส่งหรือแปรในทางที่นุม่นวลมากกว่า ในทางวัชรยาน พลังนั้น ถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นเครื่องมือที่จะไปเปิดศูนย์รวมแห่งปัญญาด้านใน ทั้งหมดออก


เป็นการเข้าใจผิดที่จะคิดว่าวัชรยานออกใบอนุญาติให้ประกอบกามกิจ ได้อย่างไร้ขอบเขต ให้มีโทสะมากได้เท่าที่เธอต้องการ ให้เมามายหรือ ใช้ประสาทรับรู้ไปใทางใดก็ได้ ตรงกันข้าม วัชรยานเป็นการปฏิบัติที่ เคร่งที่สุดและต้องมีวินัยมากำกับดูแลมากที่สุดในบรรดาการปฏิบัติที่มี อยู่ในพุทธศาสนา วัชรยานมีศีลหลายต่อหลายข้อที่เกี่ยวกับจิต ไม่ใช่ วิถีแห่งใบอนุณาต ( ที่เธอจะทำอะไรตามใจ ) แต่อย่างใดแต่เป็นวิถีที่ ใช้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามี วัชรยานต้องอาศัยการอุทิศตัวที่ยิ่งใหญ่และ การชี้แนะที่ชัดเจน


(http://www.focalaxis.com/wp-content/gallery/buddha-art/chemchok_heruka_with_consort_tj06.jpg)



เทพเจ้าระดับที่ ๓ ที่มาหลังชั้นของความกล้าหาญก็คือ โทร วา หมาย ความว่าดุดัน เธออาจบอกความแตกต่างระหว่างสัญลักษณ์ของความกล้า หาญหรือสัญลักษณ์แห่งความดุดันได้โดยดูที่เปลวเพลิงโดยรอบเทพเจ้า เหล่านั้น เทพเจ้าในความสงบจะมีชั้รัศมีล้อมรอบ ในปางกล้าหาญจะมี ชั้นของเปลวไฟที่ประณีตมาก ในปางดุร้ายนั้นจะล้อมรอบไปด้วยเพลิงที่ พลุ่งพล่าน เทพเจ้าแห่งความกล้าหาญนั้นอยู่บนพื้นฐานของตัณหาราคะ ส่วนเทพแห่งความดุร้ายนั้นจะตั้งอยู่บนโทสะ เทพเจ้าเหล่านี้จัดการกับ อารมณ์ทั้งหลายที่เรามีอยู่ภายในตัว ตั้งแต่ความหงุดหงิดรำคาญเพียง เล็กน้อย ไปจนถึงการโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ แม้ว่าท่านทั้งหลายจะดูเกรี้ยว กราดมาก แต่หัวใจของท่านเต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตา ความกรุณา และปัญญา จริง ๆ แล้วพวกท่านมิได้กราดเกรี้ยวแต่อย่างใดเลย เพียง แต่ปรากฏออกมาในรูปนั้น มันคือโทสะที่ได้แปรเปลี่ยนแล้วและมีพลัง มหาศาลยิ่ง ฉันไม่รู้จักลามะคนไหนที่มีโทสะ แต่หลาย ๆ คนจะแสดง ลักษณะของเทพเจ้าที่เต็มไปด้วยความโกรธเกรี้ยวออกมาในการทำสมาธิ ของตน เทพเจ้าที่แสดงความเป็นเอกภาพกับคู่ครองของตนนั้นเป็น สัญลักษณ์แทนหลาย ๆ สิ่ง เราอยู่ในความเป็นคู่ตรงข้ามเหล่านี้ แต่คู่ ตรงข้ามเหล่านี้จะรวมตัวกันเป็นเอกภาพที่สูงขึ้นเสมอ คู่ตรงข้ามเหล่านี้ เป็นตัวแทนของเอกภาพแห่งปัญญาและกรุณา แห่งบรมสุขและความ ว่าง แต่ประเด็นก็คือว่าเราดึงเอาคุณสมบัติ ๒ อย่างของจิตซึ่งมารวม กันเป็นจิตหนึ่งเดียว เรื่องนี้แสดงออกมาเป็นภาพที่ชัดเจนมาก โดยอาศัย การรวมเป็นเอกภาพของชายและหญิง มันไม่ได้หมายความว่าเทพเจ้า กำลังชุมนุมเพศสัมพันธ์ไม่เลือกหน้าอย่างคึกคะนองในวัดตันตระ
 
 
 
- จาก รูปเงา ขุนเขา ทะเลสาป -
-โดย เทนซิน พัลโม-

Manjushri Mantra Om Ah Ra Pa Ca Na Dhih (http://www.youtube.com/watch?v=U4195GA-aSU#)