[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 19 ตุลาคม 2555 20:07:06



หัวข้อ: เยือน ออสเตรีย (Austria) ถิ่นพระกำเนิดพระนางมารี อังตัวแน็ต ราชินีผู้โด่งดัง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 ตุลาคม 2555 20:07:06
.

ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจกันก่อน ว่า
สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria) ดินแดนพระกำเนิดพระนางมารี อังตัวแน็ต ราชินีผู้โด่งดังของโลก ตั้งอยู่เขตซีกโลกเหนือ
ส่วนประเทศออสเตรเลีย - Australia ซึ่งโพสท์เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๕  ตั้งอยู่ซีกโลกใต้ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ในมหาสมุทรแปซิฟิก
ใกล้กับประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเด็กๆ หลายคนเข้าใจไขว้เขว ว่า ออสเตรียเป็นประเทศเดียวกันกับออสเตรเลีย ...ซึ่งความจริงแล้วสองประเทศนี้อยู่กันคนละซีกโลกค่ะ)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90276718843314_scan0014.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/56644800967640_scan0013.jpg)

สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria)

เล่าเรื่องและถ่ายภาพ โดย kimleng
จากการเดินทาง ในปี พ.ศ.๒๕๕๕

ออสเตรีย (Austria) เป็นประเทศตั้งอยู่ในเขตซีกโลกเหนือทางตอนใต้ของยุโรปกลาง ประกอบด้วย ๙ รัฐ  แต่ละรัฐแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น เขต (districts) และนคร (cities) ในแต่ละเขตแบ่งย่อยออกเป็นเทศบาล (municipalities) ส่วนกลางผูกขาดการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ในแง่เสถียรภาพความมั่นคงหรือโอกาสพัฒนาเศรษฐกิจสังคมโดยส่วนรวม แต่โดยที่การรวมอำนาจในลักษณะเช่นนี้ไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการด้านต่างๆ ของประชาชนได้อย่างครอบคลุมและสอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของแต่ละชุมชน เหตุผลข้อนี้หมายความว่า รัฐบาลกลางย่อมไม่สามารถตระหนักถึงข้อเท็จจริง ปัญหา และความต้องการของชุมชนในแต่ละท้องถิ่นได้ จึงมีความจำเป็นต้องกระจายผลประโยชน์และการให้บริการให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการได้เองในบางส่วนอย่างอิสระรวมทั้งมีอำนาจในการกำหนดนโยบายขององค์กรปกครองท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย  ขณะเดียวกันยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมและกำกับดูแลของรัฐตามสมควร ซึ่งลักษณะดังกล่าวคล้ายคลึงการปกครองของประเทศไทย ที่มีการแบ่งลักษณะการบริหารราชการออกเป็น ๓ ส่วน คือ การบริหารราชการส่วนกลาง การบริหารราชการส่วนภูมิภาค และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหรือการปกครองท้องถิ่น  

การปกครอง : แบบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา เมืองหลวงคือกรุงเวียนนา (Vienna) ใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาพูดและภาษาทางราชการ

ประชากร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกประมาณร้อยละ ๗๔  คริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ประมาณร้อยละ ๕  อื่นๆ ร้อยละ ๔  ส่วนที่เหลือไม่นับถือศาสนาใดๆ  แต่ยังนับว่าประเทศนี้มีผู้นับถือศาสนาจำนวนค่อนข้างสูงในแถบประเทศยุโรปตะวันออก  ที่สาธารณรัฐเช็กเกีย (เดิมคือ ประเทศเชโกสโลวาเกีย) พลเมืองนับถือศาสนาเพียงร้อยละ ๒๐ ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ฟังแล้วน่าตกใจ แต่เป็นเรื่องจริงค่ะ ชาวเช็กเกียเคยอยู่ภายใต้การครอบงำทางการเมืองในระบอบคอมมิวนิสต์อย่างเข้มงวดของสหภาพโซเวียต หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง ในปี ๑๙๙๑ นายวาตสลัฟ ฮาเวล (Václav Havel) นำกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ได้สำเร็จโดยไม่เสียเลือดเนื้อแม้แต่หยดเดียว เราเรียกการปฏิวัติในครั้งนั้นว่า "เวลเวตเรโวลูชัน" หรือการปฏิวัติกำมะหยี่ และนายวาตสลัฟ ฮาเวล (Václav Havel) ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกียในปี ๒๕๓๒  ผู้โพสต์ (kimleng) ได้ไปเห็นผู้คนชาวเช็กเกียแล้วอยากกลับเมืองไทย ที่นั่นอากาศเย็นจัด พลเมืองใส่ชุดดำ สวมรองเท้าบู๊ตป้องกันความหนาวเย็นเกือบทั้งกรุงปราก (เมืองหลวงสาธารณรัฐเชก) ชาวเช็กรูปร่างค่อนข้างเตี้ย ผอม ไม่สูงใหญ่เช่นชาวยุโรปทั่วไป สูบบุหรี่จัดทั้งบุรุษและสตรี หน้าตาเคร่งเครียด เดินเร็วมาก จึงไม่รู้สึกแปลกใจเท่าใดนักที่ได้ฟังว่าพลเมืองนับถือศาสนาเพียงร้อยละ ๒๐


ภูมิประเทศของออสเตรีย ร้อยละ ๖๐ เป็นภูเขา เนินเขา และไม่มีทางออกสู่ทะเล จึงได้รับการขนานนามว่า “ดินแดนแห่งขุนเขา”

ลักษณะภูมิอากาศ : อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ ๕°C ถ้าขึ้นไปที่สูงอุณหภูมิจะลดลงเรื่อยๆ และมีหิมะปกคลุมในแถบภูเขา ประเทศนี้มีทั้งหมด ๔ ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว      

ออสเตรียจึงเป็นดินแดนที่มีทัศนียภาพและอากาศสุดแสนโรแมนติกแห่งหนึ่งของโลก มีสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์และมีความสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ จึงเป็นที่น่าสนใจและประทับใจแก่นักท่องเที่ยว นอกจากนี้ออสเตรียยังได้ชื่อว่าเป็นดินแดนอันเป็นถิ่นกำเนิดของผู้ประพันธ์เพลงและนักดนตรีที่ยิ่งใหญ่ของโลกในยุคคลาสสิกหลายท่านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น บีโธเฟ่น โมสาร์ท, บราห์ม ฯลฯ


ด้านเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลออสเตรียมีบทบาทในกิจการอุตสาหกรรมสำคัญและวิสาหกิจหลัก เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า การธนาคาร ตลอดจนกิจการสาธารณูปโภคอื่นๆ  สาเหตุที่รัฐเข้ามามีบทบาทในกิจการดังกล่าวก็เพื่อป้องกันการครอบครองจากโซเวียต หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จนกระทั่งในช่วงต้นทศวรรษที่ ๙๐ ออสเตรียจึงเริ่มแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และได้พัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาดได้สำเร็จ ซึ่งทำให้ประชาชนมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีมากแห่งหนึ่งของโลก

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86888754533396_scan0010.jpg)
เข้ารับฟังการบรรยายสรุปการบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อมของกรุงเวียนนา
(Environmental Management in the Municipality of Vienna)
ที่ศาลาว่าการเมือง อาคารรัฐสภา กรุงเวียนนา สรุปได้ว่าประชาชนชาวออสเตรียเป็นผู้ที่โชคดี
ที่ได้เกิดในดินแดนของออสเตรีย รัฐให้สวัสดิการดูแลประชาชนอย่างดีเยี่ยม เจ้าหน้าที่ของร้อยละ ๓๐
รัฐบาลกำหนดให้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านการสาธารณสุขแก่ประชาชน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27943594339820_scan0004.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/67505996343162_scan0005.jpg)
สตรีทโชว์ (เล่นดนตรีตามท้องถนน แล้วแต่จะกรุณาให้เงินโดยใส่ไว้ในหมวกที่วางอยู่พื้นถนน)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/77581820347242_scan0003.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/64426541659567_scan0015.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51336491646038_scan0016.jpg)
ตลาดสดของกรุงเวียนนา  สะอาดตาน่าซื้อ จัดพื้นที่เป็นสัดส่วน
มีโซนเนื้อสัตว์ (เนื้อสัตว์ทุกชนิดถูกจัดวางขายในตู้กระจก)  
โซนผลไม้ พืชผักและดอกไม้สวยงาม พื้นอาคารปูกระเบื้องอย่างดี
สะอาดสะอ้าน ถอดรองเท้าเดินยังได้ค่ะ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/14152761797110_scan0002.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89546030056145_scan0007.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22791915138562_scan0008.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/17880263220932_scan0009.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54839872982766_scan0001.jpg)
"กิมเล้ง" อยู่ตรงไหน? ช่วยหาด้วยค่ะ

------------------------------------------



(http://webboard.sanook.com/forum/?action=dlattach;topic=2397806.0;attach=784921;image)
พระนางมารี  อังตัวแน็ต
เธอคือราชินีอันดับหนึ่งของแผ่นดิน มีชีวิตสุขสบายด้วยสมบัติมากล้น
และได้รับเกียรติยกย่องจากทุกผู้คนเคียงข้างกษัตริย์ แต่ใครจะรู้ว่า
พระราชวังอันสวยงามคือกรงทองที่กักขังสตรีสูงศักดิ์เหล่านี้ไว้
ท่ามกลางความกดดันรอบด้าน

พระนางมารี อังตัวแน็ต เป็นพระธิดาของจักรพรรดิฟรันซ์ที่ ๑ กับจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา แห่งราชวงศ์ฮับบูร์ก ออสเตรีย พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ค.ศ.๑๗๕๕ (พ.ศ.๒๒๙๘) เป็นพระธิดาองค์ที่ ๑๔ ในจำนวน ๑๖ พระองค์ของพระบิดาและพระมารดา ขณะพระชนม์ได้สิบสี่พรรษาพระนางได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับมกุฎราชกุมารฝรั่งเศสที่พระราชวังแวร์ซาย ผู้ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองบัลลังก์เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖  

ชาวฝรั่งเศสขนานนามพระนางมารี อังตัวแน็ตว่า “หญิงโสเภณีแห่งออสเตรีย” ด้วยพระนางมีสัมพันธ์ลับกับเคานต์แอ็กเซล เฟอร์เซ่น ชาวสวีเดน (Count Axel Fersen of Sweden) ผู้มีเรือนร่างผอมเพรียวและมีความเป็นสุภาพบุรุษทุกกระเบียดนิ้ว พระนางได้พบกับคนผู้นี้ในเดือนมกราคม ปี ๑๗๗๔ (พ.ศ.๒๓๑๗) ในงานเลี้ยงเต้นรำสวมหน้ากากมั่วโลกีย์ ซึ่งเป็นงานที่ได้รับความนิยมแห่งศตวรรษในกรุงปารีส  แอ็กเซล เฟอร์เซ่น เป็นผู้ที่มีบุคลิกสุขุม เป็นตัวของตัวเอง หน้าตาและกิริยามารยาทของเขาคือแบบฉบับของวีรบุรุษในนวนิยาย ตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ ผู้เป็นพระสวามีของพระนาง  

บารอน เดอ เฟรนิลลี เขียนบรรยายลักษณะของกษัตริย์หลุยส์ที่ ๑๖ ไว้ว่า “เขาเป็นคนดี เป็นสามีที่ดี จิตใจสะอาด มีจริยธรรม มีเมตตา ทรงความยุติธรรม แต่ขาดความเฉลียวฉลาด ขาดความมุ่งมั่นและประสบการณ์ พระวรกายของพระองค์เหมือนรูปปั้นมหึมาที่สลักด้วยฝีมือของช่างชั้นเลว อ้วนฉุ อุ้ยอ้าย ไร้รสนิยม” หลุยส์เคยตรัสว่า “ข้าอยากจะเป็นที่รู้จักในนามของ หลุยส์ผู้เคร่งครัด”


(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/ce/Antoine-Fran%C3%A7ois_Callet_-_Louis_XVI,_roi_de_France_et_de_Navarre_(1754-1793),_rev%C3%AAtu_du_grand_costume_royal_en_1779_-_Google_Art_Project.jpg/220px-Antoine-Fran%C3%A7ois_Callet_-_Louis_XVI,_roi_de_France_et_de_Navarre_(1754-1793),_rev%C3%AAtu_du_grand_costume_royal_en_1779_-_Google_Art_Project.jpg)
พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ แห่งฝรั่งเศส (Louis XVI of france)

เป้าหมายของพระนางมารี อังตัวแน็ตมิใช่การเป็นพระราชินีที่ยิ่งใหญ่ แต่ต้องการเป็นผู้หญิงที่ทันสมัยที่สุดในฝรั่งเศส  ถึงแม้ว่ามารี อังตัวแน็ตจะสวยงามเฉิดฉายอันสามารถช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของราชสำนัก แต่พระนางกลับมีพระสติปัญญาน้อยยิ่งกว่าพระสวามีเสียอีก พระนางเป็นผู้ขาดไหวพริบปฏิภาณ มักทะนงว่าตนมีความปราดเปรื่องในด้านการเมืองและมักครอบงำพระสวามีผู้อ่อนแอ  พระนางถูกตั้งข้อหาจากชาวฝรั่งเศสว่ารู้เห็นเป็นใจและสนับสนุนให้มหาอำนาจยุโรป ยกกำลังบุกเข้ามาโจมตีฝรั่งเศสซึ่งเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางประวัติศาสตร์แข็งแกร่งที่สุด ร่ำรวยที่สุด และมีประชากรหนาแน่นที่สุดในยุโรป    

บั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพในปี ค.ศ.๑๗๘๙ (พ.ศ.๒๓๓๒) เกิดเหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส เมื่อฝูงชนลุกขึ้นโห่ร้องสร้างความวุ่นวายและบุกเข้าทลายคุกบาสตีลในปารีส การปฏิวัติทางการเมืองร้อนระอุถึงจุดเดือด กษัตริย์หลุยส์ที่ ๑๖ มีพระประสงค์โอนอ่อนตามรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะทำให้ราษฎรของพระองค์มีสิทธิมีเสียงมากขึ้น แต่พระนางมารี อังตัวแน็ต ยืนกรานว่ากษัตริย์คือผู้ทรงอำนาจสูงสุดที่ได้รับมอบมาจากพระผู้เป็นเจ้า และสาบานว่าจะไม่ยอมสูญเสียอำนาจนี้แม้แต่นิดเดียว ฝูงชนกลุ่มหนึ่งพร้อมปืนใหญ่จึงบุกเข้าล้อมพระราชวังแวร์ซายส์ที่ประทับอย่างกระหายเลือด เป้าหมายคือเลือดของราชินี ผู้หญิงชาวออสเตรีย ที่สวมใส่เครื่องประดับเพชรหรูหราไปงานเต้นรำ มีความเป็นอยู่ในราชสำนักหรูหราฟุ่มเฟือย ขณะที่พวกเขามีชีวิตอยู่กันอย่างอดอยาก พวกก่อความวุ่นวายลงมือเข่นฆ่าทหารองครักษ์ตายไปหลายคน และตัดศีรษะผู้คนเสียบประจานด้วยความโกรธแค้นที่ค้นหาพระนางไม่พบ ด้วยสมาชิกราชวงศ์ได้เสด็จออกจากพระราชวังตุยเยอรีในคืนวันที่ ๒๐ มิถุนายน ค.ศ.๑๗๙๑ โดยรถม้าคันมหึมาที่สามารถบรรทุกคนได้คันละเจ็ดคนเพื่อไปตั้งมั่นอยู่กับนายพลบุยเล่ ที่จงรักภักดีและสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่พระองค์ แต่ในที่สุดทหารปฏิวัติได้จับกษัตริย์และราชวงศ์ทุกพระองค์ได้ที่เมืองวาเรนน์ส  ห่างจากชายแดน ๓ ไมล์ หรือประมาณ ๕ กิโลเมตร ในวันต่อมา สิ้นสุดเอกสิทธิ์ทั้งปวง ถูกนำตัวกลับกรุงปารีสในฐานะนักโทษ ทั้งกษัตริย์หลุยส์ที่ ๑๖ และพระนางมารี อังตัวแน็ต ได้รับตัดสินโทษให้ประหารชีวิตด้วยเครื่องกิโยติน ซึ่งให้มีการจัดสร้างขึ้นที่ปลาซ เดอ แกรฟ เมื่อเดือนเมษายนปี ๑๙๗๒
 

(http://1.bp.blogspot.com/-XpBP9DcS8GE/Tf3Xoqi--AI/AAAAAAAAAKg/7oka0hMSmMI/s400/5.jpeg)
เครื่องประหารกิโยติน

(http://3.bp.blogspot.com/-caF9SC0WRPo/Tf3Vb6GL3_I/AAAAAAAAAKY/31iH0maESbo/s640/3.jpeg)

(http://www.vcharkarn.com/uploads/173/173614.jpg)