[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:20:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “โกอานก็คือการหลอกให้เราจนมุมครับ " ( อ.ประมวล เพ็งจันทร์)  (อ่าน 343 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Linux Linux
เวบเบราเซอร์:
Chrome 120.0.0.0 Chrome 120.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 29 มกราคม 2567 05:19:33 »

ประมวล เพ็งจันทร์ : “โกอานก็คือการหลอกให้เราจนมุมครับ 

ผู้ให้ธรรม อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์


วันเสาร์, 14 สิงหาคม 2564


ฮู้ซื่อๆปรากฏการณ์แห่งการเรียนรู้ภายใน

แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]




ผู้ถาม : “อยากจะขออนุญาต อาจารย์ ช่วยอธิบายเรื่องของเซนเหมือนกันเนี่ยแหละครับ แต่อยากจะให้อธิบายในส่วนของโกอาน ครับอาจารย์ครับ เพราะยังไม่เข้าใจครับ”

ประมวล เพ็งจันทร์ : “โกอานก็คือการหลอกให้เราจนมุมครับ เพราะเราเนี่ยเชื่อมั่นในความคิดไงครับ เพราะถ้าเราคิดไปแล้วเราจะได้คำตอบ โกอานก็คือปริศนาธรรมที่คิดยังไงก็ นึกถึงภาพโกอาน เช่น ให้นึกถึงประตูที่ไม่มีช่อง เป็นเรา เรามีประตู มันคือทางออกทางเข้าใช่ไหมครับ มันก็ต้องเป็นช่องใช่ไหม มันไปออกไปเข้าได้ไงใช่ไหม

พอเราคิดไป มันก็ มันเป็นกล เป็นกลวิธีให้เราคิดไปแล้วเนี่ย สุดท้ายเราจะตัน พอตันปุ๊บ เราจะถึง โอ้ กูมาเสียเวลาคิดทำไม ประมาณนี้นะ กูมาเสียเวลาคิดทำไม เพราะฉะนั้นเนี่ย โกอานเนี่ย ทีนี้ในญี่ปุ่นเนี่ยมันเป็นแบบแผน ปริศนาธรรมที่อาจารย์ใช้เพื่อให้ลูกศิษย์เนี่ย เข้าไปจะได้รู้ไงว่าความคิดที่ว่าเนี่ย คิดไปเนี่ย มันใช้ไม่ได้”



ผู้ถาม : “...”

ประมวล เพ็งจันทร์ : “ใช่ อย่าคิดเชียวนะครับ ฮ่าๆๆ...  

...

เช่น โกอานข้อที่หนึ่ง “มู” ให้นึกถึงคำว่ามู คิดถึงคำว่ามู “มู” เป็นความว่าง เรานึกถึง คิดถึงความว่าง มันจะคิดถึงขึ้นมาอย่างไร ในปรัชญาปารมิตาที่ผมบอกว่าฉบับยาวสุดแสนโฉลก ฉบับสั้นอักษรอักขระตัวเดียว ใครเรียนบาลีสันสกฤตมาจะรู้เวลาเฉลยนี่ อักษร “อ (อะ)” อ (อะ) ไม่มีรูป อาจารย์เรียนบาลีมาแล้วรู้ใช่ไหม อ (อะ) เนี่ย มันออกเสียง อะ แต่จะไม่มีรูป อะ บ้านเราเมืองไทยเนี่ย ไปทำให้รูปเกิดขึ้น ประวิสรรชนีย์จะไม่สิ้นสุดแค่นี้นะ แต่ถ้าในบาลีสันสกฤต คำว่าอะ ไม่มีครับ ไม่มีรูป ไร้รูป และคำว่า อ (อะ) เนี่ยครับ นึกถึงภาพสิ เวลาเราต้องการจะเจริญกุศล ในพระพุทธศาสนาจึงบอกว่าจะต้องทำยังไงให้เป็น อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวลาเราพูดถึงสิ่งที่เจริญภาวนา เราไม่ได้พูดถึงกุศลอะไรนะ เราพูดถึงคำว่า อ (อะ) เลยนะ อโลภะ ไม่โลภ อโทสะ คือไม่โกรธ อโมหะ คือไม่หลง เนี่ย เพราะตอนที่มีผู้ ปรัชญาปารมิตามาถึงจุดๆ หนึ่ง อาจารย์เนี่ยบอกว่าฉบับที่สั้นสุดมีอักขระตัวเดียว เพราะฉะนั้นไม่มีปรากฎเป็นคัมภีร์ที่ไหน แต่รู้กันอยู่ทันทีว่า ที่สั้นที่สุดก็คืออักษร อ (อะ) ซึ่งไม่ปรากฏรูปให้เราเห็นด้วยตา ไม่มีความหมายให้เราต้องมาคิดถกเถียงกัน แต่ให้เราเข้าใจ เข้าถึง ปรัชญาปารมิตาฉบับสั้นสุดคืออักขระตัวเดียวเนี่ยครับ แต่ทีนี้ประเด็นที่พูดถึงนี้น่ะครับ ก็คือกลับไปสู่ความหมายที่เราพูดถึงเนี่ยนะครับ ก็คือการที่เราทำในสิ่งที่คิดนี่นะครับ เราจะได้รู้เท่าทันสิ่งที่เรียกว่าความคิดที่เราสร้างขึ้นมาในใจเรา เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่มันเป็นความหมายที่เกิดจากความคิด มันจะทำให้เกิดทวิภาวะ นี้เป็นหลักทางปรัชญาเลยนะครับ ในพุทธศาสนานิกายเซน ต้องการให้เราเนี่ยสลายทวิภาวะ ทวิภาวะคือสภาวะที่มีตัวเรา ที่เป็นผู้กระทำการ และมีสิ่งที่เรากระทำหรือถูกกระทำ ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่มันเป็นความหมายแบบนี้เขาเรียกว่าทวิภาวะ ทวิภาวะคือมีตัวผู้กระทำ มีสิ่งที่ถูกกระทำ ทวิภาวะที่เป็นสภาวะข้างนอก เช่นเรามีคำว่าผิด คำว่าถูก เราก็ผลิตสิ่งที่มันเป็นกรอบคิดเรื่องถูกขึ้นมา แล้วก็บอกว่าสิ่งที่ตรงข้ามนี้ผิด อย่างนี้เนี่ยนะครับ แล้วมันก็มีกระบวนการเยอะเลย เป็นในเรื่องของความคิดเนี่ย ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากว่าในพระพุทธศาสนา ช่วงหลังจากพุทธปรินิพพานแล้วเนี่ย ก็มีการจดจำพระพุทธวจน พอจดจำมาก็มีการนำมาถกเถียงกันว่าพระพุทธวจนที่พระองค์ตรัสไว้เช่นนี้ หมายความว่าอย่างนั้น แล้วก็โต้เถียงกัน สุดท้ายเต็มไปด้วยการโต้เถียง ไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติ ในความหมายเชิงการภาวนา เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เลยกลายมาเป็นว่า พุทธศาสนานิกายชาน หรือนิกายเซน หรือนิกายโยคาจาร ในอินเดีย ก็เกิดขึ้นเพื่อที่ทำหน้าที่แบบนี้ครับ

จาก https://pagoda.or.th/aj-pramuan/2021-08-14-15-32-04.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
โลก ฉัน และความรัก กับอาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 2371 กระทู้ล่าสุด 21 มิถุนายน 2553 20:40:00
โดย มดเอ๊ก
ประมวล ลักษณะเฉพาะ ของ อาร์ทตัวแม่
สุขใจ ตลาดสด
หมีงงในพงหญ้า 1 3049 กระทู้ล่าสุด 04 สิงหาคม 2553 15:37:07
โดย หมีงงในพงหญ้า
ประมวล พุทธศาสนสุภาษิต
พุทธศาสนสุภาษิต
Maintenence 10 10041 กระทู้ล่าสุด 27 ตุลาคม 2560 10:10:24
โดย Maintenence
ดูหนังหาแก่นธรรม กับ อ.ประมวล เพ็งจันทร์ เรื่อง เสวียนจ้าง บุรุษพุทธานุภาพ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 2097 กระทู้ล่าสุด 01 เมษายน 2560 15:59:24
โดย มดเอ๊ก
เดินสู่อิสรภาพ : อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์
สุขใจ ห้องสมุด
มดเอ๊ก 0 356 กระทู้ล่าสุด 23 มกราคม 2566 18:21:13
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.323 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 12 ตุลาคม 2567 11:41:30