[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 พฤษภาคม 2567 04:49:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เปิดวงคุย ‘6 ตุลา ในความทรงจำที่ไม่ลางเลือน’ กับสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและกา  (อ่าน 68 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 ตุลาคม 2566 17:39:08 »

เปิดวงคุย ‘6 ตุลา ในความทรงจำที่ไม่ลางเลือน’ กับสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมประท้วง 
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-10-12 16:35</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>แอมเนสตี้ฯ จัดวงคุยในหัวข้อ ‘6 ตุลา 19 : ทบทวนความทรงจำที่ยังไม่ลางเลือน’ หวังสมาชิก ประชาชน ย้อนรอยความทรงจำ ฟังเรื่องเล่าจากอดีตนักโทษทางความคิด ผู้ถูกทำร้ายและรอดชีวิตจากเหตุการณ์ สะท้อนเรื่องสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกในยุคนั้นที่น่าสนใจหลายประเด็น</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53251596797_aa0a74b5dd_b.jpg" /></p>
<p>12 ต.ค.2566 ฝ่ายสื่อสารองค์กร แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย รายงานว่า เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรม “Walk with Amnesty : ครบรอบ 47 ปี ชวนมาเรียนรู้ประวัติศาสตร์เหตุ<wbr></wbr>การณ์ 6 ตุลา 19” พร้อมจัดวงคุย ‘6 ตุลา 19 : ทบทวนความทรงจำที่ยังไม่ลางเลื<wbr></wbr>อน’ มีเป้าหมายให้สมาชิก ประชาชน ย้อนรอยความทรงจำ ฟังเรื่องเล่าจากอดีตนั<wbr></wbr>กโทษทางความคิด ผู้ถูกทำร้ายและรอดชีวิตจากเหตุ<wbr></wbr>การณ์ และสมาชิกกลุ่<wbr></wbr>มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม ในวงคุยเต็มไปด้วยเรื่องเล่าที่<wbr></wbr>สะท้อนเรื่องสิทธิในเสรี<wbr></wbr>ภาพการแสดงออกในยุคนั้นที่น่<wbr></wbr>าสนใจหลายประเด็น โดยมีขวัญชาย ดำรงค์ขวัญ เจ้าของเพจมนุษย์กรุงเทพ เป็นผู้ดำเนินรายการ </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53252835224_5d6c45ecab_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย</span></p>
<p>ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวเปิดงานในครั้งนี้ว่า การจัดวงคุยในหัวข้อ ‘6 ตุลา 19 : ทบทวนความทรงจำที่ยังไม่ลางเลื<wbr></wbr>อน’ กับกิจกรรม Walk with Amnesty ครั้งนี้ มีเป้าหมายให้ผู้เข้าร่วมได้ฟั<wbr></wbr>งเรื่องเล่าจากประสบการณ์จริ<wbr></wbr>งของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ จากนั้นทุกคนจะได้เดิ<wbr></wbr>นตามรอยประวัติศาสตร์การชุมนุ<wbr></wbr>มในจุดที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ตั้งแต่ลานโพธิ์ หน้าคณะศิลปศาสตร์ ด้านหน้าอาคารโดมธรรมศาสตร์ สนามฟุตบอล และหน้าหอประชุมธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แล้วมาจบที่ตึกนิติศาสตร์ ทุกพื้นที่มีความทรงจำที่เจ็<wbr></wbr>บปวดและบทเรียนอยู่ในนั้น ทุกคนจะได้เรียนรู้เรื่องการใช้<wbr></wbr>สิทธิในเสรี<wbr></wbr>ภาพการแสดงออกและการชุมนุมประท้<wbr></wbr>วง ควบคู่กับการร่วมกันถอดบทเรี<wbr></wbr>ยนว่าการชุมนุมในอดีตเหมือนหรื<wbr></wbr>อแตกต่างกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน<wbr></wbr> </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">แอมเนสตี้เกี่ยวข้องอะไรกั<wbr></wbr>บเหตุการณ์ 6 ตุลา 19? </span></h2>
<p>ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย อธิบายเพิ่มเติมว่า หากเกิดการตั้งคำถามว่า แอมเนสตี้เกี่ยวข้องอะไรกับเหตุ<wbr></wbr>การณ์ 6 ตุลา ถึงได้จัดงาน Walk with Amnesty ให้สมาชิก ผู้สนับสนุนและประชาชนเข้าร่วม เพราะหลังเกิดเหตุการณ์ แอมเนสตี้ได้ช่วยรณรงค์ให้ปล่<wbr></wbr>อยตัว ‘นักโทษทางความคิด’ ที่ใช้สิทธิในเสรี<wbr></wbr>ภาพการแสดงออกและการชุมนุมประท้<wbr></wbr>วง พร้อมทั้งรณรงค์ให้คนทั่วโลกเขี<wbr></wbr>ยนจดหมายส่งถึงรัฐบาลไทย เรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้เข้าร่<wbr></wbr>วมชุมนุมทุกคนที่ถูกจั<wbr></wbr>บจากการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุ<wbr></wbr>ษยชนในครั้งนั้นทุกคน ซึ่งทำให้ทั่วโลกได้รู้จักเหตุ<wbr></wbr>การณ์ 6 ตุลา ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และเป็นจุดเริ่มต้<wbr></wbr>นการทำงานของแอมเนสตี้<wbr></wbr>ในประเทศไทย  </p>
<p>“ถ้าจิตวิญญาณคนที่อยู่ในเหตุ<wbr></wbr>การณ์นั้นมีจริง ไม่รู้ว่าเขาเห็นความเคลื่<wbr></wbr>อนไหวของพวกเราทุกวันนี้เป็นอย่<wbr></wbr>างไร แต่ว่าวันนี้เมื่อ 47 ปีที่แล้ว ไม่ว่าใครก็ตามที่จะพยายามกลบ หรือทำให้ความจริงที่เกิดขึ้นถู<wbr></wbr>กลบเลือน ไม่ว่าจะเป็นด้วยอคติ หรือการโฆษณาชวนเชื่อ แอมเนสตี้ยืนยันจะยั<wbr></wbr>งมองหาความจริงต่อสู้เพื่<wbr></wbr>อความยุติธรรม เราพยายามทำงานเพื่อไม่ให้เกิ<wbr></wbr>ดเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำรอย คือการทำให้ทุกคนมีความเคารพศั<wbr></wbr>กดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่<wbr></wbr>องสิทธิมนุษยชนร่วมกัน ผ่านกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ เช่น แคมเปญปล่อยเพื่อนเรา เขียนจดหมายถึงเพื่อนที่อยู่<wbr></wbr>ในเรือนจำ รวมทั้งการให้ความรู้ผ่านห้<wbr></wbr>องเรียนสิทธิมนุษยชน ทำข้อเสนอเชิงนโยบายถึงหน่<wbr></wbr>วยงานของรัฐ และส่งเสริมประเด็นการสื่อสารผ่<wbr></wbr>านสื่อออนไลน์ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ เรายืนยันจะทำให้เรื่องสิทธิมนุ<wbr></wbr>ษยชนเป็นเรื่องของทุกคนต่อไป” ปิยนุช กล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เปิดใจแกนนำ ‘นักโทษทางการเมือง’ กับ เหตุการณ์ 6 ตุลา ที่เหมือนหนังเรื่อง The Empire Strikes Back </span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53252770783_f99bb02a9f_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">สุรชาติ บำรุงสุข</span></p>
<p>สุรชาติ บำรุงสุข ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตนักโทษทางความคิด 6 ตุลา กล่าวว่า เหตุการณ์เคลื่อนไหวชุมนุมเมื่<wbr></wbr>อวันที่ 6 ตุลา 19  เป็นผลพวงหนึ่งของปั<wbr></wbr>ญหาสงครามในประเทศไทยที่ใหญ่ที่<wbr></wbr>สุด เพราะมีข่าวไปถึงประเทศเพื่อนบ้<wbr></wbr>านในภูมิภาครวมถึงเวทีระดั<wbr></wbr>บโลกนานาชาติว่า มีนักเรียน นักศึกษา ประชาชน ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง จนมีผู้บาดเจ็บ ล้มตาย สูญหาย ถูกทรมาน และถูกกระทำย่ำยีศักดิ์ศรี<wbr></wbr>ความเป็นมนุษย์จำนวนมาก ในมุมมองของอาจารย์สุรชาติเปรี<wbr></wbr>ยบเหตุหารณ์วันที่ 6 ตุลา 19 เหมือนหนังเรื่อง The Empire Strikes Back ในเรื่องสตาร์ วอร์ส เพราะระหว่างการต่อสู้เพื่อให้<wbr></wbr>ได้สิ่งที่ต้องการมีหลายเรื่<wbr></wbr>องราว เช่น การต่อสู้ระหว่างคนรุ่นเก่ากั<wbr></wbr>บคนรุ่นใหม่ การต่อสู้ที่ชนชั้นเข้ามาเดิมพั<wbr></wbr>นชีวิตและความอยู่รอด </p>
<p>อาจารย์สุรชาติเล่าว่า ตอนนั้นเขามีสถานะเป็น ‘นักโทษทางการเมือง’ ที่ออกมาเป็นแกนนำเคลื่อนไหวชุ<wbr></wbr>มนุม เขายอมรับว่าสมัยนั้นผู้คนยั<wbr></wbr>งไม่คุ้นเคยกับคำว่า ‘นักโทษทางความคิด’ แต่เมื่อมีแอมเนสตี้เข้<wbr></wbr>ามารณรงค์ ปลุกกระแส หลังจากเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ทำให้เขาและผู้ร่วมอุดมการณ์รู้<wbr></wbr>จักคำว่านี้มากขึ้น สำหรับอาจารย์สุรชาติ เขาเป็นนักโทษทางการเมืองยุคที่ 2 ที่ต้องเข้าไปอยู่ในเรื<wbr></wbr>อนจำบางขวาง เขาเป็นหนึ่งในคนที่แอมเนสตี้<wbr></wbr>เข้ามาร่วมปลุกกระแสสังคมรณรงค์<wbr></wbr>ให้มีการนิรโทษกรรม จนทำให้ผู้ต้องขังหลายคนในเหตุ<wbr></wbr>การณ์ 6 ตุลาเป็นที่รู้จักในระดับสากล จนทำให้รัฐบาลไทยถูกตั้งคำถามถึ<wbr></wbr>งการกระทำต่อเหตุการณ์สลายการชุ<wbr></wbr>มนุมว่าเหมาะสมหรือไม่  </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53252777843_b0fe539cb0_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพ 19 ผู้ต้องหาคดี 6 ตุลา ภายหลังจากได้รับอิสรภาพ เมื่อ 17 กันยายน 2521 โดยมี พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ร่วมถ่ายด้วย</span></p>
<p>“ภาพ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ถ่ายภาพร่วมกับผู้ต้องหาคดี 6 ตุลา ทั้ง 19 ราย ภายหลังจากได้รับอิสรภาพ เมื่อ 17 กันยายน 2521 โดยนายกรัฐมนตรีชวนไปทานข้าว นายกทำอาหารพิเศษ ทำแกงไก่ใส่เขียวหวาน ชวนดื่มบรั่นดี ถามว่าอร่อยไหม ออกจากคุกกินอะไรก็อร่อย แต่จริงๆ แล้ว  นี่คือสิ่งที่สะท้อนอีกมุมหนึ่<wbr></wbr>งของเหตุการณ์บ้านเมืองในสมัยนั้<wbr></wbr>น หากใครอยู่ในเหตุการณ์วันนั้<wbr></wbr>นจะเข้าใจดีว่า ภาพเหล่านี้ส่งสัญญาณใหญ่<wbr></wbr>ทางการเมือง สื่อถึงความสมานฉันท์ในสั<wbr></wbr>งคมไทยได้”    </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ศิลปะการแสดง กับการต่อสู้เชิงวัฒนธรรมในเหตุ<wbr></wbr>การณ์ 6 ตุลา </span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53252976235_9532733a81_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ </span></p>
<p>วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ อดีตนักโทษทางความคิด 6 ตุลา เล่าว่า ขบวนการนักศึกษาในตอนนั้น แบ่งสายตามสิ่งที่ถนัด คือ การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ซึ่งเขาอยู่ในกลุ่มวัฒนธรรม ชอบเต้นกินรำกิน จึงใช้ความสามารถที่มีมาใช้ต่<wbr></wbr>อสู้ทางการเมืองด้วยการแต่<wbr></wbr>งกลอนเสียดสีเผด็จการ และแสดงละครล้อการเมือง สำหรับอาจารย์วิโรจน์มองว่<wbr></wbr>างานด้านวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ส่<wbr></wbr>งเสริมทางการเมืองได้ มีหน้าที่รักษาเวทีไม่ให้เงียบ การใช้ศิลปะการแสดง แต่งกลอน ถูกนำมาใช้เพื่อดึงคนให้อยู่กั<wbr></wbr>บเราจนจบ เรียกว่าเราด่าการเมืองตอนนั้<wbr></wbr>นด้วยการแสดงละคร และคิดว่าสิ่งนี้มันจะอยู่นาน เพราะมีทั้งภาพและเสียงที่ถูกบั<wbr></wbr>นทึกไว้ </p>
<p>“ถ้ามีเดดแอร์ผู้ชุมนุมจะไม่อยู่<wbr></wbr> เราจึงต้องรักษาให้เวทีไม่<wbr></wbr>เดดแอร์ ต้องมีต่อเล่น 24 ชั่วโมง งานวัฒนธรรมต้องโอบอุ้มม็อบไม่<wbr></wbr>ให้ตกไป ต้องช่วยฝ่ายการเมืองอย่างแรง ไม่ให้อารมณ์แกนนำ อารมณ์คนเข้าร่วมตก เราเหมือนมีหน้าที่ทำให้พวกนั้<wbr></wbr>นจิบน้ำ มีแรงต่อ เราก็ไปแสดง ผลัดกันกับคนที่ปราศรัย”  </p>
<p>อาจารย์วิโรจน์เล่าอีกว่า ช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา ถึง 6 ตุลา ยอมรับว่าไม่เคยได้ยินชื่ององค์<wbr></wbr>กรแอมเนสตี้ หรือคำว่า “สิทธิมนุษยชน” (Human Rights) มาก่อน มารู้ทั้ง 2 คำนี้หลังได้รับการปล่อยตั<wbr></wbr>วออกจากเรือนจำ สำหรับเขาตอนนั้นเป็นเรื่องใหม่<wbr></wbr>มากในสังคมไทย ยุคนั้นไม่มีอินเทอร์เน็ต ไม่มีเฟคนิวส์ อะไรที่เห็นภาพคือภาพจริง ไม่มีรีทัช ภาพที่คือการทำการรณรงค์ฟรีสุ<wbr></wbr>ธรรม ฟรีวิโรจน์ ที่เห็นบนศาลทหาร ล้วนเป็นของจริงทั้งสิ้นในเหตุ<wbr></wbr>การณ์ 6 ตุลา จดหมายที่เขียนด้วยลายมือก็ไม่<wbr></wbr>ใช่เรื่องโกหก  </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผู้ถูกทำร้าย และรอดชีวิตจากเหตุการณ์ 6 ตุลา </span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53252976230_8c617563f8_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">สมชาย หอมลออ</span></p>
<p>สมชาย หอมลออ ผู้ถูกทำร้ายและรอดชีวิตจากเหตุ<wbr></wbr>การณ์ 6 ตุลา เผยว่า เขาเป็นคนที่อยู่นอกธรรมศาสตร์ กำลังจะเดินเข้าไปในมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจากถูกปิดล้อมเลยเข้<wbr></wbr>าไปไม่ได้ ขณะที่กำลังหันกลับออกมาก็ถูกตี<wbr></wbr>หัวแตก แขนหัก หน้าแตก และเลือดอาบ แต่โชคดีที่มีผู้หวังดีช่<wbr></wbr>วยเขาส่งโรงพยาบาลรักษาตัวได้ทั<wbr></wbr>น ตอนนั้นเขาต้องเย็บแผลถึง 32 เข็ม สำหรับสมชายแม้เหตุการณ์จะผ่<wbr></wbr>านมา 47 ปี แต่เขาคิดว่าโครงสร้างทางการเมื<wbr></wbr>องไทยยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะแม้จะมีรัฐบาล มีผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลื<wbr></wbr>อกตั้ง แต่พบว่ามีอำนาจน้อย ไม่สามารถควบคุมอำนาจต่างๆ ได้จริง ทั้งกองทัพและศาสนายังมีเงามื<wbr></wbr>ดบางอย่างอยู่เบื้องหลัง  </p>
<p>สมชายยังเล่าถึงเรื่องการส่<wbr></wbr>งจดหมายเรียกร้องสิทธิประกันตั<wbr></wbr>วให้ผู้ถูกจับกุมช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลาว่า หลังเกิดเหตุการณ์ข่<wbr></wbr>าวในประเทศถูกปิดเป็นเวลานาน แต่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศในไทย ส่งภาพและข่าวไปที่สำนักข่าวต่<wbr></wbr>างประเทศจำนวนมาก ทำให้คนทั่วโลกเห็นภาพเหตุการณ์ หลายคนตกใจและช็อกกับสิ่งที่เกิ<wbr></wbr>ดขึ้น ทำให้เริ่มมีการรณรงค์ตั้งกลุ่<wbr></wbr>มเรียกร้องในต่างประเทศ รวมทั้งมีคนไทยเรียกร้องให้ปล่<wbr></wbr>อยตัวนักโทษทางการเมือง และรัฐบาลไทยไม่สามารถอธิบายได้<wbr></wbr>เลยว่า คนที่เป็นเหยื่อในเหตุการณ์ชุ<wbr></wbr>มนุมรวมทั้งตัวเขา แทนที่จะได้เป็นโจทย์ยื่นฟ้องรั<wbr></wbr>ฐบาลไทย แต่ทำไมถึงกลายเป็นจำเลยที่ถู<wbr></wbr>กจับกุมคุมขังในเรือนจำ สำหรับเขามองว่าเป็นเรื่<wbr></wbr>องแปลกและตลก ซึ่งปัจจุบันเขายังต้องการให้พิ<wbr></wbr>สูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้   </p>
<p>“ในตอนนั้นไม่มีออนไลน์ ไม่มีอินเทอร์เน็ต ใช้วิธีเขียนจดหมาย อาจารย์ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณเล่าให้ฟังว่า มีจดหมายต่างประเทศส่งและหลั่<wbr></wbr>งไหลไปถึงสำนักพระราชวังและสำนั<wbr></wbr>กนายกรัฐมนตรีหลายคันรถ จดหมายแต่ละฉบับเรียกร้องให้มี<wbr></wbr>การปล่อยตัว ไม่ได้เรียกร้องให้ดำเนินคดีเป็<wbr></wbr>นธรรม แต่ให้ปล่อยตัวผู้ชุมนุมทุกคน ในตอนนั้นถือเป็นแรงกดดันอย่<wbr></wbr>างมากต่อกระบวนการยุติธรรมไทย”   </p>
<p>“แม้ในขณะนี้จะมีการส่งข้อมูลข่<wbr></wbr>าวสารทางออนไลน์แล้ว แต่ความเห็นของผมและแอมเนสตี้<wbr></wbr>พบว่า  การเขียนจดหมายด้วยลายมือ ลายเซ็น ยังมีความสำคัญอยู่มาก โดยเฉพาะกับผู้รับที่เป็นผู้ต้<wbr></wbr>องขังในเรือนจำ เพราะว่าคนๆ หนึ่งกว่าจะเขียนจดหมายได้ ต้องใช้เวลาคิดและกลั่นกรอง การเขียนและเซ็นชื่อในจดหมาย มันแสดงเจตนารมณ์ที่แน่วแน่<wbr></wbr>ของคนๆ นั้นว่า ต้องการอะไร ถ้าจดหมายต้องการให้ปล่อยตัว แสดงว่าเขามีความแน่วแน่เรื่<wbr></wbr>องนี้ สำหรับผมคิดว่าการเขียนจดหมายส่<wbr></wbr>งทางไปรษณีย์นั้นยังมีความสำคั<wbr></wbr>ญมากสำหรับนักโทษทางความคิ<wbr></wbr>ดและนักโทษทางการเมืองในเรื<wbr></wbr>อนจำ” สมชาย กล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เหตุการณ์ 6 ตุลาในประเทศไทยสู่สายตาคนทั่<wbr></wbr>วโลก </span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53252835229_88c680bdfa_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">วณี บางประภา</span></p>
<p>วณี บางประภา หนึ่งในสมาชิกกลุ่<wbr></wbr>มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม เผยว่า เธอทำหน้าที่ไปเยี่ยมผู้ต้องขั<wbr></wbr>งหญิง แบ่งงานกันกับทีมงานไปฟังศาล ผลัดกันไปเยี่ยมนักโทษในเรือนจำ งานที่ทำแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ การเยียวยา ในการช่วยจัดหาทนาย หาเงินประกัน และสนับสนุนให้กำลังใจผู้ต้องขั<wbr></wbr>งด้วยการเข้าไปเยี่ยมที่เรือนจำ รวมถึงประสานงานเครือข่<wbr></wbr>ายทนายตามจังหวัดต่างๆ ฟังการพิจารณาคดี ไปเยี่ยมครอบครัวผู้ที่ถูกคุมขั<wbr></wbr>ง  อีกอันคือการประสานงานกับสื่อต่<wbr></wbr>างประเทศ  </p>
<p>ตอนนั้นมีคำสั่งคณะปฏิรูปที่ 42 ห้ามเผยแพร่หนังสือ 200 เล่ม โดยการทำให้หนังสือต้องห้าม มีการห้ามสื่อเผยแพร่ข่าว เซ็นเซอร์เกือบทุกช่องทาง ทำให้ไม่สามารถแสดงความเห็<wbr></wbr>นอะไรได้ งานสำคัญที่ทำตอน 6 ตุลา คือการทำสื่อภาษาไทยเพื่อสร้<wbr></wbr>างความสันติในสังคม และทำเป็นภาษาอังกฤษเน้นส่งไปต่<wbr></wbr>างประเทศ  เก็บสถิติการละเมิดสิทธิมนุษยชน ความคืบหน้าคดี ทำสกู๊ป ไปตามจังหวัดต่างๆ  เก็บข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมาเรียบเรียงเขี<wbr></wbr>ยนเป็นภาษาไทยและอังกฤษ เพื่อทำให้ข่าวการชุมนุมและผู้<wbr></wbr>ที่ถูกคุมขังไม่ถูกลืม </p>
<p>“เรื่องงานต่างประเทศมีหลายคนช่<wbr></wbr>วยกันให้ข้อมูล มีการสนับสนุนช่วยเหลือกั<wbr></wbr>นจากหลายเครือข่าย มีการส่งข้อมูลให้กับแอมเนสตี้ เครือข่ายด้านศาสนา และองค์กรสันติวิธีที่สนใจด้<wbr></wbr>านสิทธิมนุษยชน ตอนนั้นยุคเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ได้ขอให้มีการทำนิรโทษกรรม เราทำจดหมายนิรโทษกรรมไปที่<wbr></wbr>นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น มันเป็นกระแสที่ต่อเนื่องมา รวมทั้งอาจารย์ป๋วยก็ช่วยก็ให้<wbr></wbr>ข้อมูลต่างประเทศ ทำให้การรณรงค์ต่างๆ ส่งไปถึงทั่วโลก รูปนิสิตปี 1 ถูกแขวนคอ ถูกตี มันสะเทือนใจคนทั้งโลก เป็นรอยมลทินของประเทศไทย โดยเฉพาะรัฐบาลไทยในตอนนั้น ทำให้คนทั่วโลกยิ่<wbr></wbr>งสนใจประเทศไทย จนทำให้เกิดการรณรงค์นิรโทษกรรม และขอให้มีการปลดปล่อยนักโทษคดี<wbr></wbr>อื่นๆ ตามมา”  </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เหตุการณ์ 6 ตุลา กับ 'ความจริง ความยุติธรรม และการเยียวยา'</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53251596812_c2a0df6d8b_b.jpg" /></p>
<p>สุรชาติ พูดถึงสิ่งที่เป็นความจริงในมุ<wbr></wbr>มของเขาในฐานะแกนนำคนหนึ่งว่า ต้องยอมรับว่าความจริงในเหตุ<wbr></wbr>การณ์ 6 ตุลาคม 2519 มีหลายมิติ มีหลายบริบท เพราะวันเวลาผ่านไปอาจไม่รู้ได้<wbr></wbr>ว่าคนอีกฝั่งเขาจะคิดอย่างไร หรือคิดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้<wbr></wbr>นเหมือนเดิมหรือไม่ แต่สิ่งที่ชัดเจนคือ “ความรู้สึกของเขาทุกคนที่อยู่<wbr></wbr>ในเหตุการณ์<wbr></wbr>จางหายไปตามกาลเวลาแน่นอน”  </p>
<p>และอีกเรื่องที่ต้องขอชี้แจงข้<wbr></wbr>อมูลในฐานะอดีตผู้ต้องขังคดี 6 ตุลาว่า ข้อมูลที่ถูกเขียนในนิทรรศการต่<wbr></wbr>างๆ เกี่ยวกับเขาและคนที่ถูกจับกุม 6 คน ในเช้าวันที่ 6 ตุลา ว่าทั้งหมดมอบตัวกับรัฐบาลไทย ไม่เป็นความจริง แต่เป็นการไปเจรจาและมีการนั<wbr></wbr>ดหมายล่วงหน้า แต่ท้ายที่สุดถูกจับกุม ส่วนการที่มีการตัดสินใจนิ<wbr></wbr>รโทษกรรมคดี 6 ตุลา เชื่อว่ามาจากแรงกดดันในระดั<wbr></wbr>บสากลที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนอี<wbr></wbr>กแรงกดดันที่ใหญ่ที่สุด ที่หลายคนไม่เชื่อก็คื<wbr></wbr>อมาจากในกองทัพในตอนนั้น เพราะถ้าทุกคนยังเดินต่อ บ้านเมืองจะไม่ต่างจากเวียดนาม   </p>
<p style="text-align: center;"> </p>
<p>วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ในฐานะที่เรียนประวัติศาสตร์ มีคำๆ หนึ่ง คือ “ชำระประวัติศาสตร์” สำหรับเขามีข้อสรุปส่วนตัวว่<wbr></wbr>าเหตุการณ์ 14 ตุลา หรือ 6 ตุลา ยังไม่ได้รับการชำระทางประวัติ<wbr></wbr>ศาสตร์หรือทำให้ความจริ<wbr></wbr>งปรากฎเพื่อพิสูจน์ให้ผู้ร่<wbr></wbr>วมขบวนการหลายคนพ้นมลทิน เขายอมรับว่าการจะทำให้ประวัติ<wbr></wbr>ศาสตร์เจอความจริงเป็นสิ่งที่<wbr></wbr>ยาก โดยเปรียบเทียบกับแนวคิ<wbr></wbr>ดทางประเทศจีนว่า “คนที่ชนะเป็นอ๋อง คนแพ้เป็นโจร  คนชนะจะเป็นคนเขียนประวัติ<wbr></wbr>ศาสตร์ การเปลี่ยนจากราชวงศ์หนึ่ง ไปถึงราชวงศ์หนึ่ง” ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้<wbr></wbr>สิ่งที่ต้องการเกิดขึ้นได้ในเร็<wbr></wbr>ววัน </p>
<p>“ไม่ว่าจะเหตุการณ์14 ตุลา 6 ตุลา ก็ดี ยังมีความเจ็บปวดอยู่ ยังมีอารมณ์อยู่ บางทีที่เราพูดมันไม่ใช่ข้อมูล มันเป็นอารมณ์ หลายเรื่องเป็นข้อมูล และข้อมูลยังต้องเก็<wbr></wbr>บตกมาเยอะมาก ผมคิดว่าคำว่าชำระประวัติศาสตร์ ต้องใช้กาลเวลาพิสูจน์”  </p>
<p>ด้านสมชาย หอมลออ ย้ำถึงการเยียวยาผู้เสี<wbr></wbr>ยหายในเหตุการณ์ 6 ตุลา ว่า คนที่ได้รับผลกระทบหรือต้องเป็<wbr></wbr>นเหยื่อการละเมิดในเหตุการณ์<wbr></wbr>ความรุนแรงทุกคนต้องได้รั<wbr></wbr>บการเยียวยา เช่น ในเหตุการณ์ 6 ตุลา ต้องมีพื้นที่ที่มีการเยียวยา ช่วยเหลือ เพื่อกอบกู้สถานะศักดิ์ศรี<wbr></wbr>ความเป็นมนุษย์ให้ทุกคนยืนหยั<wbr></wbr>ดและมีชีวิตต่อได้โดยไร้มลทิน ส่วนตัวเขาเชื่อว่าตอนนี้มี<wbr></wbr>ครอบครัวผู้เสียชีวิตน้อยมาก ที่กล้าพูดความจริงหรือเปิ<wbr></wbr>ดเผยตัวตน ว่าลูกหลาน สามี ภรรยา เป็นผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ 6 ตุลา หรือเขาอาจจะได้รับบาดเจ็บ เพราะกลังถูกตราหน้าโดยประวัติ<wbr></wbr>ศาสตร์ของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งอยู่<wbr></wbr>ว่า  เป็นผู้ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมินิ<wbr></wbr>สต์   </p>
<p>“ผมคิดว่าการเยียวยาสำคัญมาก การช่วยเหลือด้านชีวิตความเป็<wbr></wbr>นอยู่ก็เป็นส่วนหนึ่ง  แต่การทำให้เขารู้สึกมีศักดิ์<wbr></wbr>ศรีความเป็นมนุษยย์เป็นเรื่องที่<wbr></wbr>สำคัญมาก อย่างไรเสียต้องมีการชี้ถูก ชี้ผิด แน่นอนการลอยนวลพ้นผิดยังมีอยู่ การนำคนผิดมาดำเนินคดีหรื<wbr></wbr>อลงโทษไม่ใช่เรื่องง่าย แต่อย่างน้อยสังคมต้องรู้ว่<wbr></wbr>าคนที่ทำแบบนี้ คือสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่สังคมยอมรับไม่ได้ ไม่ควรที่จะเกิดขึ้นอีกไม่ว่<wbr></wbr>าจะเหตุการณ์ไหนหรือกับใครก็<wbr></wbr>ตาม”  สมชาย กล่าว</p>
<p>แอมเนสตี้ ประเทศไทยยังคงยืนหยัดช่วยเหลื<wbr></wbr>อนักโทษทางความคิดที่อยู่ในเรื<wbr></wbr>อนจำให้ได้รับการปล่อยตัวโดยทั<wbr></wbr>นทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข พร้อมทั้งรณรงค์ให้ทุกคนเขี<wbr></wbr>ยนจดหมายถึงเพื่อนที่อยู่ในเรื<wbr></wbr>อนจำที่อยู่ระหว่างการต่อสู้คดี<wbr></wbr>และสิ้นสุดคดีแล้ว เพื่อเป็นกำลังใจให้พวกเขาที่<wbr></wbr>อยู่ในนั้น</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/10/106335
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - นักศึกษา มช. จัด Performance Art รำลึก 6 ตุลา ตะโกนร้อง “อย่าหยุดวิ่ง แม้จะถูกยิง”
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 135 กระทู้ล่าสุด 06 ตุลาคม 2566 05:12:07
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ศิลปินเชียงใหม่ จัด Performance Art ปลุกผีเดือนตุลา รำลึก 6 ตุลา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 65 กระทู้ล่าสุด 06 ตุลาคม 2566 23:31:14
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - กวีประชาไท: แด่เสนาบดี ผู้เคยหนีเข้าป่าเพราะ 6 ตุลา ?
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 122 กระทู้ล่าสุด 13 ตุลาคม 2566 09:35:20
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประมวลภาพ 'นิทรรศการรำลึก 14 ตุลา'
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 96 กระทู้ล่าสุด 13 ตุลาคม 2566 17:12:51
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - วีรชน 14 ตุลา ทำหนังสือถึง 'เศรษฐา' ทวงค่าปลงศพ หลัง 'รบ.ประยุทธ์' หั่นงบฯ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 58 กระทู้ล่าสุด 13 ตุลาคม 2566 23:30:41
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.211 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 11 พฤษภาคม 2567 04:26:13