[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
03 พฤษภาคม 2567 10:25:44 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ‘ให้มันจบที่รุ่นเรา’ ขบวนการ 'นักเรียน' ก่อน 6 ตุลา ความหวังของคนรุ่นใหม่เมื่  (อ่าน 42 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 ตุลาคม 2566 07:06:38 »

‘ให้มันจบที่รุ่นเรา’ ขบวนการ 'นักเรียน' ก่อน 6 ตุลา ความหวังของคนรุ่นใหม่เมื่อ 47 ปีที่แล้ว
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-10-19 17:52</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>โยษิตา สินบัว : รายงาน</p>
<p>ภาพปก ภาพกุลวดี (เครดิตภาพ iaonnic) - ภาพศราวุฒิ - ภาพวรพจน์ (เครดิตภาพ creativecitizen)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>14 ตุลา - 6 ตุลา การก่อตัวขึ้นของขบวนการนักเรียนก่อน 6 ตุลา 2519 ที่ได้รับอิทธิพลความคิดทางการเมืองหลัง 14 ตุลา 2516 กิจกรรมสานสัมพันธ์และการจัดตั้งโดยพรรคคอมมิวนิสต์ 47 ปีที่ไร้เงาผู้รับผิดชอบจากอาชญากรรมรัฐ ทำให้นักเรียนบางคนต้องเข้าป่าจับปืน พร้อมการสนับสนุนขบวนการนักเรียนในปัจจุบัน</p>
<div class="summary-box">
<ul>
<li>จาก 14 ตุลา 2516 สู่ 6 ตุลา 2519 มีอิทธิพลทางความคิดต่อนักเรียนผ่านหนังสือและกิจกรรมทางการเมือง ที่มีการชุมนุมกระแสสูง ประกอบกับการจัดตั้งโดย พคท. ทำให้นักเรียนหลายคนได้มีส่วนร่วมในขบวนการเคลื่อนไหวขณะนั้น</li>
<li>ชุมนุม-ค่ายอาสาฯ-ลอยกระทง กิจกรรมในโรงเรียนช่วงนั้นทำให้การเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวทุกคน ตั้งแต่วิทยาศาสตร์ สันทนาการ สังคมศึกษา นักเรียนต่างเข้าร่วมการชุมนุมตามประเด็นที่สนใจ</li>
<li>บรรยากาศการเมืองในโรงเรียนและการจัดตั้งทั้งจากฝ่ายซ้าย-ขวา มีการจัดตั้งนักเรียนฝ่ายซ้ายโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและการรวมตัวของศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย ขณะเดียวกันก็มีการจัดตั้งคุณครูจากฝ่ายขวาผ่านการอบรมเป็นกลุ่มนวพล กอ.รมน. และลูกเสือชาวบ้าน โดยครูเหล่านี้มักหยิบคำพูดตีตราฝ่ายซ้ายจากหน้าหนังสือพิมพ์มาเล่าให้นักเรียนฟัง </li>
<li>ก่อนวันที่ 6 ต.ค. 2519 ได้มีนักเรียนเข้าร่วมการชุมนุมอยู่เสมอแต่หลายคนไม่สามารถค้างคืนปักหลักได้ จึงไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุม ขณะที่นักเรียนบางคนไม่สามารถกลับบ้านได้ในคืนวันที่ 5 ต.ค. 2519 จึงต้องเผชิญกับเหตุความรุนแรงและถูกจับไปพร้อมนักศึกษาขณะนั้น</li>
<li>หลัง 6 ตุลาคม 2519 ขบวนการนักเรียนบางกลุ่มได้พยายามรื้อฟื้นกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองของตนเอง ขณะที่บางส่วนเข้าป่าไปพร้อมนักศึกษาในสมัยนั้น เมื่อออกจากป่ามาก็มีบางคนที่สามารถใช้ชีวิตทั่วไป เรียนจบมหาวิทยาลัย หางานทำ ขณะที่บางคนได้รับบาดเจ็บ ใจสลาย และหลีกหนีการพบปะผู้คน</li>
<li>มองย้อนไปเมื่อ 47 ปีที่แล้ว เหตุการณ์ 6 ตุลา เปรียบเหมือนแผนการของฝ่ายอำนาจนิยมพยายามสร้างสถานการณ์ความรุนแรงและช่วงชิงความคิดทางการเมือง พร้อมทิ้งมรดกเพิ่มโทษ มาตรา 112 จำคุกสูงสุด 15 ปี</li>
<li>รัฐควรชำระประวัติศาสตร์ ทำความจริงให้ปรากฎ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่ออาชญากรรมที่รัฐสร้างขึ้น พร้อมกำหนดแนวนโยบายเพื่อป้องกันเหตุการณ์ปราบปรามผู้เห็นต่างในอนาคต อย่างน้อยที่สุดควรมีการแก้ไขหรือปรับมาตรฐานการบังคับใช้ มาตรา 112</li>
<li>เสนอคนรุ่นใหม่กลับมาประสานพลัง นักเรียน-ชาวนา-กรรมกร อย่าลืมหาแนวร่วมสร้างความเข้าใจให้สังคม การต่อสู้ครั้งนี้ยังอีกไกล แม้ไม่จบที่รุ่นป้าแต่หวังให้จบที่รุ่นเรา</li>
</ul>
</div>
<p>หากกล่าวถึงเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือ 6 ตุลา หลายคนคงนึกถึงขบวนการเคลื่อนไหวของนักศึกษา ชาวนา และชนชั้นกรรมาชีพที่มีบทบาทสำคัญในการชุมนุมเรียกร้องต่อต้านการเดินทางกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่แท้จริงแล้วยังมีอีกหนึ่งขบวนการสำคัญที่เป็นส่วนสนับสนุนการเคลื่อนไหวดังกล่าวและยังไม่ถูกพูดถึงในสังคมมาก นั่นคือ ขบวนการนักเรียนมัธยม ที่มีทั้งผู้เป็นส่วนหนึ่งในการเข้าร่วมการชุมนุม ผู้สังเกตการณ์ และบางรายก็เข้าป่าไปพร้อมกันนักศึกษาในเวลานั้น </p>
<p>เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี 14 ตุลา และ 47 ปี 6 ตุลา จึงชวนพูดคุยกับ 3 อดีตนักเรียนที่เข้าร่วมในเหตุการณ์นั้น เพื่อย้อนทวนบรรยากาศกิจกรรมที่แทรกประเด็นการเมืองซึ่งนำพานักเรียนมัธยมสนใจปัญหาสังคม การจัดตั้งทั้งจากฝ่ายซ้าย-ขวา ขบวนการนักเรียนหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ความรับผิดชอบจากอาชญากรรมโดยรัฐ พร้อมทั้งชวนมองขบวนการนักเรียน-นักศึกษาช่วง 2563 – ปัจจุบัน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ชุมนุม-ค่ายอาสาฯ-ลอยกระทง กิจกรรมแทรกประเด็นการเมืองพาเด็กมัธยมสนใจปัญหาสังคม</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53269661538_7e6f17807e_h.jpg" style="width: 1600px; height: 1143px;" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพกุลวดี (เครดิตภาพ iaonnic) - ภาพศราวุฒิ - ภาพวรพจน์ (เครดิตภาพ creativecitizen)</span></p>
<p>“เมื่อ 47 ปีที่แล้ว เป็นนักเรียนมัธยมปลาย ปี 2519 อยู่ ม.ศ. 5 เป็นคณะกรรมการนักเรียนที่ รร. เตรียมอุดมศึกษา”</p>
<p>กุลวดี ศาสตร์ศรี (วรรณ) ได้เล่าถึงช่วงวัยมัธยมของเธอว่า เมื่อ 47 ปีที่แล้ว กุลวดีเป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ม.ศ. 5 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายในการเรียนมัธยมปลายตามแผนการศึกษา 2503 และได้เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งกิจกรรมที่ได้ทำในช่วงเวลานั้น คือ การออกค่ายอาสาพัฒนาชนบทแถบภาคอีสานประมาณ 2 ครั้ง แม้ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย (ศรท.) แต่ก็ได้มีส่วนร่วมในการทำโปสเตอร์เผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับสังคมและการเมือง การเคาะประตูชาวบ้านเพื่อประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง 2518 หรือชวนทำความเข้าใจข้อเรียกร้องในการชุมนุมแต่ละครั้ง นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมที่สานสัมพันธ์นักเรียนแต่ละโรงเรียนผ่านชมรมวิทยาศาสตร์สัมพันธ์ ศูนย์สังคมนิทรรศน์ (นิทรรศการเกี่ยวกับสังคมศาสตร์ในสมัยนั้น) การศึกษาปัญหาสลัม การเข้าร่วมเสวนาการเมือง หรือการอ่านหนังสือเกี่ยวกับปรัชญาและการเมือง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53242307113_9c598e35ee_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 13 ต.ค.2516</span></p>
<p>กุลวดีเล่าว่าหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก็ได้เริ่มมีการรวมกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยนักเรียนและนักศึกษาแล้ว และด้วยสถานการณ์ทางการเมืองที่ประชาชนเริ่มตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพพร้อมเรียกร้องให้มีประชาธิปไตยและมีการเลือกตั้ง ทำให้เกิดการตื่นตัวทางการเมืองและมีการชุมนุมอยู่บ่อยครั้ง เช่น การชุมนุมต่อต้านการเข้ามาของฐานทัพอเมริกาที่ใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพสำหรับการทิ้งระเบิดที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามในยุคสงครามเย็น การชุมนุมต่อต้านจอมพล ประภาส จารุเสถียร และจอมพล ถนอม กิตติขจร เดินทางกลับประเทศไทย เป็นต้น</p>
<p>นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมรื่นเริงอย่างงานเทศกาลหรือประเพณีที่เป็นพื้นที่ให้นักเรียนจากต่างโรงเรียนได้พบปะกันบ่อย ๆ นอกจากการชุมนุมทางการเมือง เช่น งานปีใหม่ ลอยกระทง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งงานเหล่านี้ก็จะมีการสอดแทรกประเด็นทางการเมืองด้วย </p>
<p>“ตอนเรียนมีเพื่อนที่ร่วมงานกับศูนย์นักเรียนอยู่บ้างแล้วเพื่อนก็ได้มาเล่าให้ฟังว่าทำอะไรบ้าง แต่เราก็ไม่ได้ไปเข้าร่วมแค่ฟังเฉย ๆ ตอนนั้นโรงเรียนค่อนข้างเข้มงวดเรื่องการชุมนุมเพราะกลัวว่านักเรียนจะกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองแต่ที่เพื่อนไปทำกิจกรรมพวกนี้โรงเรียนก็ไม่ได้ว่าอะไรนะ”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53269841710_26da2ea6cb.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ศราวุฒิ ประทุมราช</span></p>
<p>ศราวุฒิ ประทุมราช (ตู่) ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) อดีตนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เล่าว่าขณะนั้นตนเองอยู่ ม.ศ. 5 และไม่ได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศูนย์นักเรียนหรือองค์กรเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่ได้ติดตามสถานการณ์การชุมนุมของนักเรียนหรือนักศึกษาในยุคนั้นผ่านข่าวโทรทัศน์หรือวิทยุตลอด และได้เข้าร่วมการชุมนุมก่อนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา อยู่ 2-3 ครั้ง เพราะบรรยากาศทางการเมืองตอนนั้นเป็นช่วงตื่นตัว และมีกิจกรรมชมรมค่ายอาสาหรือชมรมเกษตรกรซึ่งเพื่อนที่เข้าร่วมก็จะมาเล่าให้ฟังว่ามีอะไรบ้าง</p>
<p>“ตอนนั้นพึ่งเข้า ม.ศ. 1 โรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งมีขบวนการนักเรียนในโรงเรียนอยู่แล้วทำให้มีหลายกิจกรรมนักเรียนมีเนื้อหาก้าวหน้าในสมัยนั้น โดยนักเรียนหัวก้าวหน้าเป็นแกนนำในการทำกิจกรรมในโรงเรียน”</p>
<p>วรพจน์ โอสถาภิรัตน์ (ตั้ม) กลุ่มดินสอสี ปัจจุบันทำงานเกี่ยวกับการรณรงค์เพื่อซัปพอร์ตองค์กรสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุยชน การเมือง เยาวชน และกระบวนการเรียนรู้ของเยาวชน ซึ่งช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เขาศึกษาอยู่เพียงมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่านั้น ได้เล่าว่าตอนนั้นเขาได้ถูกทาบทามจากรุ่นพี่ในโรงเรียนเทพศิรินทร์ให้เข้าร่วมชมรมสังคมศึกษา ซึ่งชมรมเหล่านี้จะมีทั้งกิจกรรมที่สอดรับกับประเด็นสังคมขณะนั้น เช่น การรณรงค์สนับสนุนประชาธิปไตย การต่อต้านฐานทัพอเมริกา </p>
<p>แต่มีบางกิจกรรมที่ปิดลับรู้กันเพียงไม่กี่คนในชมรม คือ การจัดกลุ่มศึกษา 5-6 คน ช่วงเวลาพักเที่ยงในวัดของโรงเรียน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับคติพตน์เหมาเจ๋อตุง ชีวทัศน์เยาวชน การเสียสละเพื่อมวลชน ซึ่งเป็นกลุ่มสำหรับแลกเปลี่ยนมุมมองที่มีทฤษฎีเหล่านี้พร้อมการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอก ทั้งนี้ หลายชุมนุมได้มีการจัดตั้งกลุ่มทฤษฎีศึกษาซ้อนในชุมนุมต่าง ๆ ดังนั้น ทุกชุมนุมเลยมีแกนนำที่สัมพันธ์กับฝ่ายซ้ายและนักเรียนที่สนใจในแต่ละประเด็นมาร่วมกันและคนที่เป็นแกนนำส่วนใหญ่ก็ไปม็อบกันหมด</p>
<p>วรพจน์มองว่าสาเหตุที่ตนได้รับการทาบทามเข้าร่วมชุมนุมสังคมศึกษาเพราะช่วงแรกเข้า ม.ศ. 1 ได้มีกิจกรรมรับเพื่อนใหม่ (เปลี่ยนจากคำว่า ‘รับน้อง’ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) รูปแบบกิจกรรมจะมีการแบ่งกลุ่มย่อยพร้อมพี่เลี้ยงประจำกลุ่มเพื่อพูดคุย ตั้งคำถาม แลกเปลี่ยน เพื่อสำรวจนักเรียนใหม่ว่าใครมีทีท่าสนใจประเด็นสังคมและการเมือง เช่น คิดอย่างไร? หากมีนักเรียนใส่รองเท้าแตะมาที่โรงเรียน ซึ่งมีทั้งคนที่แสดงความคิดเห็นและคนที่นั่งเงียบ จากนั้น พี่ที่เป็นแกนก็จะจดบันทึกไว้ว่าใครน่าชวนมาร่วมกิจกรรม เมื่อจบงาน พี่เลี้ยงที่เป็นแกนนำชุมนุมต่าง ๆ เช่น สังคม วิทย์ อนุรักษ์ ก็จะแบ่งกันว่าใครจะไปตามน้องคนไหนมาเข้าร่วม ซึ่งแกนหลายคนมักเป็นนักเรียนฝ่ายซ้ายอยู่แล้วหรือบางคนก็ได้รับการจัดตั้งจากภายนอกเข้ามา</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">บรรยากาศการเมืองในโรงเรียนและการจัดตั้งทั้งจากฝ่ายซ้าย-ขวา</span></h2>
<p>จากการบอกเล่าเรื่องกิจกรรมนักเรียนที่มีการสอดแทรกประเด็นการเมือง การเข้าร่วมการชุมนุมตามประเด็นที่สนใจ รวมถึงการจัดตั้งนักเรียนฝ่ายซ้ายโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและการรวมตัวของศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย ทำให้บรรยากาศในโรงเรียนหลายแห่งดูเป็นช่วงเวลาที่มีการตื่นตัวทางการเมืองสูงแต่นักเรียนที่สนใจประเด็นการเมืองจริงจังไม่ได้มีมากจนเป็นส่วนใหญ่ของโรงเรียน เพียงพวกเขามีบทบาทสำคัญทำให้สามารถชักจูงหรือเชิญเพื่อนนักเรียนด้วยกันมาทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับสังคมและการเมืองได้</p>
<p>ศราวุฒิเล่าว่าขณะที่ตนเรียนอยู่ที่สาธิตประสานมิตรได้มีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักเรียนซึ่งในกิจกรรมก็มีประเด็นเกี่ยวกับการเมือง พร้อมการเล่นดนตรีหรือร้องเพลงเพื่อชีวิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพลงที่รู้จักกันอยู่แล้วตั้งแต่หลัง 14 ตุลา เช่น เพลงเปิบข้าว</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/PDBYb83av_U?si=LB2jLSSXtry_K_Ii" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p>ขณะที่โรงเรียนของวรพจน์ได้มีกลุ่มกิจกรรมนักเรียนซึ่งนำโดยแกนนำเป็นฝ่ายซ้ายและบางคนก็เป็นเครือข่ายการจัดตั้งจากภายนอกเข้ามา เช่น พคท. สิ่งที่น่าสนใจ คือ มีครูที่เข้ามาสอนวิชาคณิตศาสตร์ขณะนั้นก็เป็นสายของ พคท. แม้จะมีการพยายามปิดเป็นความลับแต่ก็มีนักเรียนในสายจัดตั้งหลายคนรู้จักหรือบางครั้งก็พบครูคนนี้เมื่อมีการชุมนุม</p>
<p>แน่นอนว่าหากมีการจัดตั้งภายในโรงเรียนโดยฝ่ายซ้ายก็ต้องมีการจัดตั้งโดยฝ่ายขวาเช่นกัน วรพจน์เล่าว่าในโรงเรียนเทพศิรินทร์ได้มีครูบางคนที่ถูกจัดตั้งโดยฝ่ายขวาผ่านการอบรมเป็นกลุ่มนวพล กอ.รมน. และลูกเสือชาวบ้าน ซึ่งครูเหล่านี้มักหยิบคำพูดตีตราจากหน้าหนังสือพิมพ์มาเล่าให้นักเรียนฟัง เช่น เมื่อสมัยที่มีกลุ่มนักเรียนหรือนักศึกษาไปรวมตัวกันเกือบ 20 คน เพื่อคุยงานที่บ้านของคนหนึ่งแล้วถูกบุกจับทำให้ต้องติดคุกอยู่หลายวัน สื่อก็ได้เผยแพร่ว่าพบถุงยางจำนวนมาก พร้อมโจมตีว่านักเรียนเหล่านี้เป็นพวกรักรวมหมู่หรือมีเซ็กส์หมู่</p>
<p>“ตอนนั้นเราโดดเรียนทิ้งกระเป๋าไว้แล้วกระเป๋าก็มีสติกเกอร์ม็อบ หรือพอมีกิจกรรมเราก็เอาเพลงคนกับควายไปร้อง ก็โดนครูเรียกสอบสวนพร้อมมีการให้สาบานต่อพระพุทธรูปว่าไม่ได้มีเจตนามาปลุกปั่นปลุกระดม” วรพจน์เล่าประสบการณ์ที่พบจากครูฝ่ายขวา</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">6 ตุลาคม 2519 ตอนนั้นอยู่ที่ไหน?</span></h2>
<p>วรพจน์ได้ร่วมการชุมนุมที่สนามหลวงในวันที่ 3 ต.ค. 2519 และหลังย้ายการชุมนุมเข้าไปใน ม.ธรรมศาสตร์ ก็ยังโดดเรียนไป โดยระหว่างที่เข้าร่วมการชุมนุมนั้นเขาก็ได้เห็นภาพความรุนแรงเรื่อย ๆ ตั้งแต่การที่กลุ่มกระทิงแดงพยายามเข้ามาป่วนในสนามบอลหรือมีคนถูกยิงเสียชีวิต และในคืนวันที่ 5 วรพจน์ก็ได้สัมผัสถึงความตึงเครียดที่เกิดขึ้นบริเวณที่ชุมนุมแล้ว คือ มีการส่งข่าวว่าจะปักหลักตอนกลางคืนให้มากที่สุดไม่งั้นคนอาจจะน้อยและถูกสลายการชุมนุมได้ง่ายแต่ตนจำเป็นต้องกลับบ้านจึงไม่ได้อยู่ค้างคืน เมื่อตื่นเช้าวันที่ 6 กำลังเตรียมตัวไปโรงเรียนเหมือนปกติ ครอบครัวก็ไม่ให้ออกจากบ้านเพราะเห็นข่าวว่าเกิดอะไรขึ้น</p>
<p>ด้านศราวุฒิได้เข้าร่วมการชุมนุมก่อนวันที่ 6 ตุลาแต่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ธรรมศาสตร์เนื่องจากวันนั้นตนมีเรียนในช่วงเช้าและโรงเรียนประกาศหยุดเรียนในช่วงบ่าย ส่วนตัวศราวุฒิชอบฟังข่าวจากวิทยุอยู่แล้วและได้ติดตามสถานการณ์จากวิทยุยานเกราะอยู่บ้างทำให้ตนพอทราบว่ามีการระดมพลไปที่ธรรมศาสตร์ในวันนั้น เมื่อเลิกเรียนเขาและเพื่อนจึงแวะไปที่แถวสนามหลวงในช่วงบ่ายซึ่งเหตุการณ์ก็ยังไม่สงบ ทำให้เห็นคนโดนเผาบริเวณอาคารถนนราชดำเนินและหน้าศาลฎีกา พร้อมเสียงปืนดังอยู่ทาง ม. ธรรมศาสตร์ มีคนเสียชีวิตอยู่หน้าสนามฟุตบอลและหน้าหอประชุมใหญ่ เขารู้สึกว่ามันเป็นภาพที่น่าสะพรึงกลัวและได้ยืนอยู่ตรงนั้นสักพักหนึ่งค่อยกลับบ้าน</p>
<p>“ตอนนั้นผมไปกับเพื่อนกลุ่มอื่น ก็ชวนกันไปเดินดูเหตุการณ์ที่ธรรมศาสตร์ สนามหลวง เดินไปก็ยังหดหู่ใจอยู่เหมือนกันว่ามันเกิดเหตุการณ์แบบนี้ในบ้านเมืองของเราได้อย่างไร แต่ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดอะไรมากเพราะเราก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ เป็นเพียงผู้ติดตามสถานการณ์อยู่รอบนอกและคิดว่ามันเป็นเรื่องโหดร้ายนะที่เกิดการฆ่ากันแบบนี้” ศราวุฒิกล่าว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53269661588_ba36d52022_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพการจับกุมนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (เครดิต doct6.com)</span> </p>
<p>ขณะที่กุลวดีเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์เนื่องจากได้เข้าร่วมการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคมและไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้ด้วยสถานการณ์ภายนอกที่ไม่ปลอดภัย คือ เกิดการปะทะกันระหว่างการ์ดม็อบและขบวนการจากฝ่ายขวาบริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ กระทั่งเวลาประมาณ 05:00 น. ก็ได้มีการยิง M79 เข้ามาในมหาวิทยาลัย 2 รอบ หลังจากนั้นก็มีกระสุนยิงเข้ามาเยอะมาก ๆ พร้อม ตชด. ทหาร และกลุ่มจัดตั้งอย่างกระทิงแดงเข้ามาล้อมมหาวิทยาลัย ทำให้มีการประกาศให้ทุกคนหาที่ซ่อนตามอาคารเรียนซึ่งกุลวดีได้ไปซ่อนหลังตึกโดม และด้านหลังที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาก็มีนักศึกษาพยายามพังรั้ว กระโดดลงแม่น้ำ และพยายามปีนขึ้นกันตรงริมถนนพระจันทร์ </p>
<p>จากนั้นมีตำรวจมาช่วยดึงขึ้นจากแม่น้ำพร้อมตะโกนบอกว่า ‘วิ่ง! วิ่งหนีไป!’ กุลวดีและเพื่อนจึงรีบวิ่งไปบ้านเพื่อนที่อยู่แถวนั้นพร้อมผู้ที่หนีมาด้วยกันกว่า 20 คน เธอบอกว่าระหว่างที่อยู่ในบ้านเพื่อนก็ได้ยินเสียงปืนและระเบิดดังอยู่ตลอดต่อเนื่องประมาณ 2-3 ชั่วโมง ทำให้ทุกคนที่หลบอยู่ด้วยกันไม่สามารถออกไปไหนได้ เมื่อเวลาผ่านไปประมาณเที่ยงวันก็มีทหารหรือตำรวจไล่เคาะประตูและบังคับให้เปิดบ้านทุกหลัง โดยสั่งให้คนที่แอบอยู่ในบ้านทุกคนเอามือกุมศีรษะและออกมาเพื่อไปที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีผู้ชายบางคนโดนเตะและทำร้ายร่างกายระหว่างทาง บางคนก็โดนเอาปืนกระทุ้งหรือเหยียบย่ำบนตัว</p>
<p>“ระหว่างนั้นก็มีคนโดนบังคับให้ออกจากตึกเรียน ตอนนั้นเราเห็นมีรถเมล์จอดรออยู่ 2-3 คัน มีคนถูกจับกว่า 3080 คน เขาก็ควบคุมเราให้ทยอยขึ้นรถไปคุมขังตามที่ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนตำรวจพลบางเขน นครปฐม ชลบุรี ระหว่างขึ้นรถก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยก่นด่าตลอดทาง เขาสั่งห้ามเราเงยหน้า ห้ามมอง แต่ก็พูดว่า ‘มองสิ พวกมึงโดนแขวนคออยู่’ แต่เราก็ไม่ได้มองตามที่เขาบอก” กุลวดีเล่าประสบการณ์ที่ตนพบในวันที่ 6 ตุลา</p>
<p>แม้จะถึงพื้นที่คุมขังแล้วแต่ระหว่างเข้าตึกก็มีตำรวจคอยเตะ ต่อย ผลักทีละคน ผู้ชายทุกคนโดนบังคับให้ถอดเสื้อ </p>
<p>ส่วนผู้หญิงที่ถูกจับจากตึกบัญชีก็ถูกบังคับให้ถอดเสื้อและเหลือแค่เสื้อใน ตอนนั้นกุลวดีถูกขังอยู่ 3 คืนที่บางเขนและที่บ้านก็มาประกันตัว ก่อนออกมาก็ถูกบังคับให้เซ็นรับทราบข้อกล่าวหา เช่น ร่วมกันฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่น  ร่วมกันสะสมกำลังพลหรืออาวุธเพื่อเป็นกบฏ ร่วมกันมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดชนิดธรรมดาและชนิดที่ใช้แต่เฉพาะในการสงครามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ร่วมกันมีการกระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">หลัง 6 ตุลาคม 2519 ขบวนการนักเรียนเอาไงต่อ?</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53269841735_6010756c17.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพกุลวดี เมื่ออายุ 27 ปี หลังออกจากป่ากลับมาสอบเทียบ ม.ปลาย แล้วเข้าเรียน มศว. ประสานมิตรจนจบ</span></p>
<p>เมื่อมีการทำร้ายและจับกุมผู้ร่วมชุมนุมบางส่วนแล้ว ช่วงเย็นวันที่ 6 ก็มีการทำรัฐประหารโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้จัดตั้งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เข้ายึดอำนาจในเวลา 18:00 น. โดยอ้างเหตุนักศึกษาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและมีอาวุธหนัก ทำให้ตอนนั้นมีการตั้งข้อหาภัยสังคมเยอะมาก คือ เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเรียกตัวใครด้วยข้อหานี้เมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งช่วงนั้นเป็นเวลาปิดเทอมของโรงเรียนก็มีหมายจากนครบาลส่งถึงกุลวดีที่บ้าน จากนั้นเพื่อนกุลวดีก็มาบอกว่าเราต้องเข้าป่าเพราะสถานการณ์ไม่ปลอดภัยแล้ว ซึ่งตอนนั้นมีนักเรียนเตรียมอุดมถูกจับประมาณ 20 กว่าคน และตัดสินใจเข้าป่าประมาณ 10 คน</p>
<p>“พอผ่านไป 4 ปีเขาก็ให้กลับเข้ามาได้เลยเลือกไปสอบเทียบวุฒิ ม.ปลาย และเข้าเรียนที่ มศว. เรียนจบก็ไปสอบข้าราชการได้เป็นครูที่ต่างจังหวัด สอนได้ 1 เทอมก็ตัดสินใจลาออก เพราะงานที่ทำตอนนั้นมันเหมือนทุกอย่างที่เราเคยต่อต้าน เช่น การคอรัปชั่น เส้นสาย ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น การขูดรีดชาวนา มันทำให้เรานึกได้ว่าตอนนั้นเราเข้าร่วมการชุมนุมเพราะเหตุผลเหล่านี้ เรามีความคิดในอุดมคติแบบนี้ และตอนนี้ปัญหานั้นก็ยังมีอยู่” กุลวดีกล่าว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53268480312_af9ecf21e1_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพวรพจน์ ร่วมวงดนตรีนักเรียนซึ่งเป็นกิจกรรมหลัง 6 ตุลา ที่ไปร่วมกิจกรรมของนักศึกษามหาลัย ในช่วงที่เริ่มกลับมาฟื้นฟูขบวนนักเรียนนักศึกษาในเมือง</span></p>
<p>ขณะที่วรพจน์และเพื่อนที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ก็รู้สึกเคว้งคว้างเพราะไม่รู้ว่าควรทำอะไรต่อหลังเกิดเหตุความรุนแรงเช่นนี้ ส่วนตัวได้พยายามติดต่อรุ่นพี่ ซึ่งพอเปิดเทอมคนที่เป็นแกนนำก็เริ่มหายไปทำให้รู้ว่าหลายคนก็เข้าป่าตั้งแต่ ม.ศ. 3 แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ไม่ได้เข้าไปและฝ่ายจัดตั้งยังให้ทำงานในเมืองต่อ โดยกิจกรรมแรก ๆ คือการรวมตัวกันไปเยี่ยมนักโทษคดี 6 ตุลา ที่เรือนจำบางขวาง ก็จะมีนักเรียน นักศึกษา และมวลชนบางส่วนไป นอกจากนั้นยังมีการเรียกร้องให้มีคณะกรรมการนักเรียนหรือสภานักเรียนที่ถูกยุบไปหลังเหตุการณ์ดังกล่าว และกิจกรรมในโรงเรียนก็มีสอดแทรกประเด็นทางการเมืองบ้างแต่ไม่ซ้ายเท่าก่อน 6 ตุลา</p>
<p>ด้านศราวุฒิไม่ได้มีเพื่อนนักเรียนที่ตนรู้จักเข้าป่าไปและเขาก็ใช้ชีวิตตามปกติเพราะมีรัฐประหารเลยทำได้แค่ติดตามสถานการณ์ข่าวอยู่ห่าง ๆ เขารู้สึกว่าการนักศึกษาตอนนั้นไปเข้าร่วมกับคอมมิวนิสต์เป็นเพราะไม่มีทางเลือก เนื่องจากในเมืองเกิดการฆ่าและปราบปรามนักศึกษาอย่างมาก ทั้งทำลายขบวนการแรงงานและชาวนาด้วย นอกจากนั้น ยังมีการสร้างเรื่องว่านักศึกษาเล่นละครแขวนคอหมิ่นฯ ซึ่งการสร้างเรื่องพวกนี้ขึ้นมาทำให้สังคมเกิดความเคียดแค้นและทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายโดยไม่จำเป็น</p>
<p>“ขณะที่มีภาพข่าวจากดาวสยามที่ใช้ภาพละครแขวนคอประกอบ ผมก็สงสัยว่า เอ๊ะ ทำไมทำภาพเหมือนพระบรมฯ นัก แต่เราก็ไม่ได้คิดว่าเขาจะใช้วิธีการแบบนี้ในตอนนั้นนะ ไม่เข้าใจว่าจะทำภาพแบบนี้ให้เหมือนทำไม เพื่ออะไร แต่ยุคนั้นยานเกราะก็ได้โหมประโคมข่าวมากเรื่องนักศึกษาเป็นคอมมิวนิสต์ ว่ามีพวกลาว ญวน เวียดนาม เข้ามาแทรกแซงหรือชุมนุมอยู่ในธรรมศาสตร์ มีอุโมงค์อาวุธต่าง ๆ” ศราวุฒิกล่าว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/48846135013_f980c944e2.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพข่าวจากดาวสยามที่ใช้ภาพละครแขวนคอประกอบขณะนั้น</span></p>
<p>สิ่งที่น่าสนใจจากการติดตามสถานการณ์ข่าวของศราวุฒิ คือ สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 (ช่อง 9 ในปัจจุบัน) โดย สรรพสิริ วิรยศิริ ผู้อำนวยการช่อง 4 ขณะนั้น ได้พยายามเข้าไปถ่ายภาพและรายงานข่าวว่าไม่ได้มีอุโมงค์ตามที่วิทยุยานเกราะได้กล่าวหา พร้อมเผยให้เห็นว่าคนที่เสียชีวิตจากเหตุความรุนแรงนี้มีแต่คนไทย ไม่มีลาว เวียดนาม ตามที่วิทยุยานเกราะบอก และนั่นก็กลายเป็นเหตุทำให้ช่องสี่ก็ถูกปิดจากคณะรัฐประหาร</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อิทธิพลทางความคิด จาก 14 ตุลา 2516 สู่ 6 ตุลา 2519 </span></h2>
<p>“ไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมเมื่อ 14 ตุลา เพราะตอนนั้นอยู่ ม.ศ. 2 และเรียนอยู่ที่สมุทรปราการ เลยไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมการชุมนุมที่กรุงเทพฯ” กุลวดีกล่าว</p>
<p>หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ทำให้รัฐบาลทหารหมดอำนาจ เกิดบรรยากาศเสรีภาพทางการเมือง การเฟื่องฟูของความคิดฝ่ายซ้าย แม้กุลวดีจะไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมในวันที่ 14 ต.ค. 2516 แต่เมื่อมีเหตุการณ์ทางการเมืองให้ติดตามเยอะ ทั้งประเด็นนักเรียน นักศึกษา ชาวนา และกรรมกร ประกอบกับช่วง 2518-2519 มีการลอบสังหารผู้นำชาวนาและนักศึกษาหลายคน เช่น นายอมเรศ ไชยสะอาด นักศึกษามหิดล และมีการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองเพื่อเตรียมตัวหากมีการรัฐประหาร ทำให้ช่วงก่อน 6 ตุลา มีกระแสการชุมนุมสูง ทำให้กุลวดีสนใจและกลายเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหว</p>
<p>ขณะที่วรพจน์เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาขณะนั้น ก็ได้อิทธิพลทางความคิดจากเหตุการณ์14 ตุลา อยู่บ้าง คือ มีน้า 2 เป็นนักศึกษาขณะนั้น คนหนึ่งเรียนวารสาร มธ. อีกคนเรียนคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ทำให้ที่บ้านของวรพจน์มีหนังสือเยอะ ทั้งน้าที่เรียนวารสารก็เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยหาเสียงให้พรรคพลังใหม่ ขณะที่หนังสือของน้าที่เรียนคณะอักษรทิ้งไว้ให้ ทั้งสองอย่างนี้มีส่วนให้วรพจน์รับรู้ปัญหาสังคมและเข้าใจความคิดฝ่ายซ้ายส่งผลให้เขาสามารถตอบคำถามในกิจกรรมรับเพื่อนเมื่อ ม.ศ. 1 และทำให้ได้รับความสนใจจากรุ่นพี่</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผ่านมา 47 ปีแล้ว มองเหตุการณ์นั้นยังไง?</span></h2>
<p>เมื่อมองย้อนไป 47 ปีที่แล้ว ศราวุฒิในฐานะบุคคลที่วางตนเองเป็นผู้สังเกตการณ์และติดตามสถานการณ์การชุมนุมผ่านสื่ออยู่ตลอด เขารู้สึกว่าเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในวันที่ 6 ตุลา เป็นหนึ่งในแผนการของฝ่ายอำนาจนิยมที่อยากสร้างสถานการณ์ความรุนแรงและไม่อยากให้ประชาชนไทยตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตย ซึ่งการพยายามช่วงชิงอำนาจระหว่างสถาบันฯ กับฝ่ายประชาธิปไตยนั้นมีมาตลอดตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และฝ่ายประชาธิปไตยก็เป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำมาตลอดตั้งแต่ 14 ตุลา ที่ดูเหมือนว่าเราชนะแต่ความจริงก็ไม่</p>
<p>เมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ก็เห็นได้ชัดว่าฝ่ายอำนาจนิยมได้หยิบสถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้ในการทำลายขบวนการนักศึกษาและประชาชนที่ตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตย ทำให้พัฒนาการทางระบอบประชาธิปไตยของไทยสะดุดลงเป็นระยะ นอกจากนั้น วันที่ 21 ต.ค. 2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ก็ได้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยเพิ่มโทษเข้าไปตามคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ข้อ 1 จากเดิมที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีกลายเป็นโทษจำคุกสามปีถึงสิบห้าปี</p>
<p>“เพราะนักศึกษายุคนั้นไม่ได้มีความคิดในการล้มล้างสถาบันฯ เลย เขาแค่อยากได้ประชาธิปไตย พวกเขาเพียงไม่ต้องการให้เผด็จการกลับเข้ามา แต่ผู้มีอำนาจหรือฝ่ายขวาก็พยายามเข้ามาช่วงชิง... เรื่องพวกนี้ทำให้พัฒนาการประชาธิปไตยไทยไม่สามารถก้าวไปไหนได้เพราะเอาสถาบันฯ มาเป็นเครื่องมือ มันกลายเป็นปัญหาที่ทำให้เราขาดโอกาสในการพัฒนาประเทศ เราอาจจะก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจแต่ในทางการเมืองเราแทบไม่ไปไหนเลย” ศราวุฒิ</p>
<p>สอดคล้องกับกุลวดีที่เห็นว่าปัจจุบันสังคมไทยดูเหมือนจะมีความก้าวหน้าในหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ สาธารณสุข เริ่มมีการเปิดกว้างและตระหนักถึงสิทธิมากขึ้น หรืออย่างน้อยตั้งแต่มีรัฐบาลทักษิณก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง คือ การเปิดโอกาสให้คนเข้าไปทำงานราชการได้มากขึ้น แต่สุดท้ายประเทศไทยก็ยังเต็มไปด้วยคนด้อยโอกาสซึ่งมันต้องถูกแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างและใช้อำนาจรัฐมาช่วย ตอนนี้ประเทศไทยยังมีการโกงอยู่มาก การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญหลายฉบับก็ยังไม่มีฉบับไหนที่ช่วยแก้ปัญหาโครงสร้างของประเทศได้จริงแม้แต่รัฐธรรมนูญ 60 ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทวงถามความรับผิดชอบจากอาชญากรรมโดยรัฐ</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53269730439_a16b9cd8f3_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพวรพจน์กับโปสเตอร์ 20 ปี 14 ตุลาอยู่ด้านหลัง</span></p>
<p>“ผลกระทบของ 6 ตุลา ที่มีต่อนักเรียน คือ การพรากอนาคตหรือความหวังดีของนักเรียนซึ่งยังเด็กอยู่ อายุไม่บรรลุนิติภาวะ มันเป็นเรื่องใหญ่มากสหรับสังคมไทยที่ทอดทิ้งให้พวกเขาไปเลือกใช้ชีวิตอีกแบบ (เข้าป่า) แม้ตอนนั้นเขาจะเลือกเองแต่สังคมมันผลักไสเขาไป แล้วเขาต้องกลับมาสู้กับชีวิตต่อหลัง พคท. แพ้ ป่าแตกกลับมา” วรพจน์กล่าว</p>
<p>จากการทำกิจกรรมร่วมกับรุ่นพี่ในโรงเรียนเทพศิรินทร์และได้ใกล้ชิดกับบุคคลที่มาจากสายจัดตั้งทำให้วรพจน์มองว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเหตุการณ์ที่รัฐไทยทอดทิ้งให้เยาวชนหลายคนจำเป็นต้องเลือกเส้นทางชีวิตแตกต่างจากนักเรียนคนอื่น ๆ คือ มีหลายคนที่เข้าป่าและเกิดเหตุบาดเจ็บจากการถูกยิงทำให้ขากระเผลก บางคนสามารถกลับมาเรียนต่อได้ บางคนพยายามไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองอีก บางคนก็ผิดหวังกับชีวิตไม่ออกมาเจอเพื่อนอยู่แต่บ้าน แต่ก็มีบางคนที่สามารถใช้ชีวิตต่อได้ซึ่งกลายเป็นนักเขียนหรืออาจารย์ในปัจจุบัน </p>
<p>ปัจจุบัน มีความพยายามในการรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลา พร้อมพูดถึงคนเสียชีวิตหรือวีรชน แต่ยังมีอีกหลายคนที่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวแต่ไม่ได้ถูกบันทึกไว้ พวกเขาเป็นตัวอย่างของคนที่ไม่ได้มีความฝันสำหรับตัวเองแต่ต้องการมีชีวิตเพื่อคนอื่น นอกจากนั้น ยังมีบางส่วนที่พยายามทำงานเก็บหลักฐานเรื่องราวต่าง ๆ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดความกระจ่างต่อสาธารณะชน แต่ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการทำงานของเอกชนและไม่ได้รับความสนใจจากภาครัฐเท่าที่ควร</p>
<p>วรพจน์เชื่อว่าการให้ความจริงปรากฏจะทำให้เราได้เห็นภาพความรุนแรงในมุมกว้างทั้งจากผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ เราไม่เห็นว่ารัฐไทยจะมีความกล้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ‘ให้มันจบที่รุ่นเรา’ และบางสิ่งที่ ‘จบ’ ไปแล้ว
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 69 กระทู้ล่าสุด 10 สิงหาคม 2566 17:30:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เปิดวงคุย ‘6 ตุลา ในความทรงจำที่ไม่ลางเลือน’ กับสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและกา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 64 กระทู้ล่าสุด 12 ตุลาคม 2566 17:39:08
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - กวีประชาไท: แด่เสนาบดี ผู้เคยหนีเข้าป่าเพราะ 6 ตุลา ?
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 120 กระทู้ล่าสุด 13 ตุลาคม 2566 09:35:20
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประมวลภาพ 'นิทรรศการรำลึก 14 ตุลา'
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 79 กระทู้ล่าสุด 13 ตุลาคม 2566 17:12:51
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'นักวิชาการ' เผยผลสำรวจ นักเรียน ม.ปลาย 504 คน พบ 76% ยังหวัง 'พิธา' เป็นนายกฯ 
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 67 กระทู้ล่าสุด 04 ธันวาคม 2566 19:39:28
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.844 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 15 มกราคม 2567 09:32:02