[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 29 พฤษภาคม 2556 16:34:46



หัวข้อ: สะตอ ต้นไม้ประจำภาคใต้
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 พฤษภาคม 2556 16:34:46
.
(http://www.thaipoem.com/common/images/m-content-fiction/10124-48193.jpg)
สะตอ
ภาพจาก : www.thaipoem.com

สะตอ ต้นไม้ประจำภาคใต้


“ตอ” หรือ “สะตอ” เป็นพืชตระกูลถั่วที่ไม่เป็น “ย่าน” หรือเถาเหมือนถั่ว แต่เป็นลำต้นยืนต้นเช่นเดียวกับ “ตอแต” กระถิน หรือมะขาม ลูกเหนียง มีชื่อตามวิชาพฤกษศาสตร์หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
     วงศ์  Mimosaceae
     สกุล Parkia
     ชื่อ ParkiaSpeciosaHassk
 
การตั้งชื่อพืชและสัตว์จะตั้งตามชื่อผู้ค้นพบและวงศ์สกุลหรือ Species หรือตามลักษณะธรรมชาติของพืช เช่น ตระกูลปาล์ม มีพืชปาล์ม หมาก มะพร้าว เป็นต้น

สะตอคือ “ตอแต” หรือ กระถินขนาดใหญ่ปักษ์ใต้เม็ดโต ส่วนต้นโตสูงใหญ่ รสชาติเหม็น  ลูกเดียวให้รสชาติสอดรับรสเผ็ดและกลิ่นรุนแรง ฝักสีเขียวเวลาสุกจะเป็นสีดำ หลายๆ ฝักจะเรียกว่า “มูน”

สะตอมี ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ สะตอป่าและสะตอบ้าน ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
๑. สะตอป่าจะงอกเองตามธรรมชาติ ส่วนของฝักจะเล็ก เม็ดเล็กรสชาติออกขม ขื่นนิดๆ
๒. สะตอบ้าน  รสชาติจะเหม็นพอหรอยหรืออร่อย  รสออกมันและเหม็นเขียวเล็กน้อย แต่ทั้งสะตอป่าและสะตอบ้านก็แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ
    ๒.๑ ฝักเล็กจะเรียกว่าตอข้าว ฝักจะเล็ก เม็ดจะเล็กออกมัน ฝักเรียวพลิ้ว
    ๒.๒ ฝักโตจะเรียกตอดาน หรือโตขนาด ๓ นิ้วเรียงกัน หรือโตเหมือนกระดานนั้นเอง รสชาติเหม็น เคี้ยวเต็มปากเต็มคำ เวลาผัดหรือแกงจึงดูน่ากินกว่าตอข้าว

ตามปกติสะตอจะงอกงามและออกฝักดก  โดยปลูกตามชายป่าหรือแซมพืชสวนชนิดอื่น เช่น ริมรั้วชายสวนเงาะ ชายสวนยาง ชายสวนลองกอง ฯลฯ

“สะตอ” เป็นอาหารพื้นบ้านพื้นเมืองของชาวปักษ์ใต้ โดยใช้ประกอบอาหารได้ดังนี้
     ๑. กินดิบๆ แก้หิว  ทั้งสะตอแก่สีเขียวและเปลือกสุกสีดำที่เปลือกนุ่มเม็ดด้านในสีแดงออกรสหวาน คนขึ้นสะตอบางคนถือโอกาสกินแก้หิว
     ๒. จิ้มน้ำพริกทานดิบๆ
     ๓. ต้มจิ้มน้ำพริก
     ๔. ใช้สะตออ่อนเป็นผักหนอก เช่น แกงเผ็ด แกงส้ม แกงพุงปลา แกงคั่วฯ
     ๕. ใช้ใส่แกงคั่วหรือแกงพุงปลา คือ นอกจากใช้เป็นผักหนอกอาหารแล้ว ยังใช้สะตอใส่แกงได้อีกด้วย
     ๖. ใช้ต้มกะทิร่วมกับหน่อไม้ ถั่วฝักยาว ชะอม ไก่หรือกุ้ง จะเป็นอาหารรสวิเศษอีกอย่างหนึ่ง หากใส่ผักครบ ๙ อย่าง จะเรียกว่า “ต้มนพรัตน์”
     ๗. ผัดสะตอกับหมู ๓ ชั้นใส่กะปิ – เคย และใส่ดีปลีดอกใหญ่อร่อยเด็ดไปอีกแบบ
     ๘. ผัดเม็ดสะตอกับกุ้งใส่เครื่องแกงและโหระพาแกล้มกับแม่โขงรสอร่อยเด็ดมาก และอาจจะมีวิธีกินอีกหลายวิธี
         แต่หากทำเป็นผักหนอกต้องใช้มีดตัดซ้าย-ขวา เพื่อให้เม็ดของสะตอออกมา เม็ดที่เหลือตรงกลางก็ใช้มีดปาดครึ่งเม็ดให้เป็นฝาปิดอยู่เช่นนั้น
         เวลากินเป็นผักหนอกจึง “ง้าง” ฝาที่ครอบเม็ดออก


(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRSoVqc8ZwccbA70KCdWtmh7rPyS9DzmJ43eBlGeRcfpxbfN8t_CA)
ภาพจาก : pitchaya.net

ข้อมูล : สะตอ ต้นไม้ประจำภาคใต้ วารสาร  “สารนครศรีธรรมราช”  จัดพิมพ์เผยแพร่โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช   และขอขอบคุณ ผอ.กองส่งเสริมการท่องเที่ยวฯ ที่กรุณาเอื้อเฟื้อข้อมูลดังกล่าวค่ะ