[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
13 พฤษภาคม 2567 05:43:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อานาปานสติ ใช้ทำจิตให้เป็นสมาธิ  (อ่าน 1335 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1024


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 47.0.2526.106 Chrome 47.0.2526.106


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 ธันวาคม 2558 16:33:16 »

.



อานาปานสติ

อานาปานสติ สามารถใช้ทำจิตให้เป็นสมาธิ ตั้งแต่ระดับต้นๆ จนถึงระดับสูงละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไปได้, และแม้ว่าอานาปานสติสูตร บาลีแปลไทย จะเป็นเรื่องที่มีการเรียนการสอนกันมากอยู่แล้ว ในหมู่ชาวพุทธผู้ใฝ่ศึกษาและปฏิบัติธรรม คือ มีหนังสือ มีเอกสาร รวบรวมประเด็น แง่มุมในการปฏิบัติ รวมถึงอานิสงส์ต่างๆ ของอานาปานสติกันมากอยู่แล้วก็ตาม, คณะศิษย์ผู้จัดทำฯ ก็ได้นำอานาปานสติสูตร บาลีแปลไทย มาลงไว้ ณ ที่นี้ เป็นพิเศษอีกวาระหนึ่งด้วย

อานาปานสติสูตร
สูตรเต็ม อานาปานสังยุต–สังยุตตนิกาย–มหาวารวรรค
อานาปานสฺสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ฯ
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
กถํ ภาวิตา จ ภิกฺขเว อานาปานสฺสติ กถํ พหุลีกตา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ฯ
ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

[เตรียม]

อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม
นิสีทติ ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา อุชุ ํ กายํ ปณิธาย ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา ฯ
นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ฯ
เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก

[กาย]

ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ทีฆํ อสฺสสามีติ ปชานาติ
ทีฆํ วา ปสฺสสนฺโต ทีฆํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ ฯ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
รสฺสํ วา อสฺสสนฺโต รสฺสํ อสฺสสามีติ ปชานาติ
รสฺสํ วา ปสฺสสนฺโต รสฺสํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ ฯ
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
สพฺพกายปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”
ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”
ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราจักเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”
ว่า “เราจักเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”

[เวทนา]

ปีติปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
ปีติปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”
ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”
สุขปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
สุขปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”
ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”
จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”
ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”
ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”
ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”

[จิต]

จิตฺตปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
จิตฺตปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”
ว่า “เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”
อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า”
ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก”
สมาทหํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
สมาทหํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า”
ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก”
วิโมจยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
วิโมจยํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”
ว่า “เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”

[ธรรม]

อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
อนิจฺจานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราจักเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
ว่า “เราจักเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
วิราคานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
วิราคานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราจักเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
ว่า “เราจักเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
นิโรธานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
นิโรธานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราจักเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
ว่า “เราจักเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”
ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราจักเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
ว่า “เราจักเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”

[จบ]

เอวํ ภาวิตา โข ภิกฺขเว อานาปานสฺสติ เอวํ พหุลีกตา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ฯ
ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.
ที่มา : อานาปานสติสูตร — สํ. ม. ๑๙/(๑๓๑๑)–(๑๓๑๒)/๓๙๖–๓๙๗.

หมายเหตุ : จากเชิงอรรถ พระไตรปิฏกฉบับมหาจุฬาฯ
ตามอรรถกถาพระสูตร อัสสาสะ หมายถึงหายใจเข้า ปัสสาสะ หมายถึงหายใจออก (อสฺสาโสติ อนฺโตปวิสนนาสิกวาโต. ปสฺสาโสติ พหินิกฺขมนนาสิกวาโต. — ม.ม.อ. ๒/๓๐๕/๑๓๖)
ส่วนอรรถกถาพระวินัยกลับกันคือ อัสสาสะ หมายถึงหายใจออก ปัสสาสะ หมายถึงหายใจเข้า (อสฺสาโสติ พหินิกฺขมนวาโต. ปสฺสาโสติ อนฺโตปวิสนวาโต. — วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๖)

หมายเหตุ : สำนวนแปลไทย
สำนวนแปลไทยของ อานาปานสติสูตร จากพระไตรปิฏกฉบับต่างๆ มีความใกล้เคียงกันมาก แทบจะเรียกได้ว่าเหมือนกัน มีต่างกันก็เพียงการลงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆในเรื่องของการเลือกใช้คำไทย เช่น สิกฺขติ ซึ่งแปลว่า ย่อมศึกษา บางแห่งใช้ว่า ย่อมสำเหนียก เป็นต้น สำหรับสำนวนแปลที่นำมาลงในเวปนี้ ใช้จากฐานการแปลของท่านพุทธทาสภิกขุ ในผลงานชุดพระไตรปิฏกแปลไทยของท่าน ซึ่งมีอยู่ 5 เล่ม และเป็นที่รู้จักกันในชื่องานหนังสือพุทธโฆษณ์ชุดจากพระโอษฐ์

หมายเหตุ : การแสดงผลฟอนด์บาลีบนเวป
ตัวสูตรที่เป็นพระบาลีที่นำมาลงในที่นี้ นำมาจากต้นฉบับ–พระไตรปิฏกบาลีอักษรไทย–ฉบับสยามรัฐ และเมื่อเป็นการใช้งานเพื่ออ่านบนเวป จึงได้ใช้ตัวอักษร ญ–มีฐาน และ ฐ–มีฐาน แทนที่จะเป็นแบบไม่มีฐานตามแบบฉบับบาลีอักษรไทย ทั้งนี้ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็นหลัก ซึ่งโดยมากมักจะไม่มีฟอนด์ที่แสดงผลเฉพาะนั้นได้ ( สำหรับผู้ที่อยู่ในแวดวงศึกษาเฉพาะ ก็คงมีความเข้าใจในส่วนนี้อยู่แล้ว


หลวงพ่อ ดร.สะอาด ฐิโตภาโส

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2558 16:38:19 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
อานาปานสติ (ท่านพุทธทาส)
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
หมีงงในพงหญ้า 1 3775 กระทู้ล่าสุด 27 กรกฎาคม 2553 13:40:42
โดย หมีงงในพงหญ้า
อานาปานสติ 4.2 ขั้นธัมมานุปัสสนา นัย ๒ โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
เสียงธรรมเทศนา
ใบบุญ 0 1653 กระทู้ล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2556 16:03:36
โดย ใบบุญ
อานาปานสติ 3 ขั้นจิตตานุปัสสนา โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
เสียงธรรมเทศนา
ใบบุญ 0 1543 กระทู้ล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2556 16:12:40
โดย ใบบุญ
อานาปานสติ 2 ขั้นเวทนานุปัสสนา โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
เสียงธรรมเทศนา
ใบบุญ 0 1478 กระทู้ล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2556 16:14:45
โดย ใบบุญ
อานาปานสติ 1 ขั้นกายานุปัสสนา โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
เสียงธรรมเทศนา
ใบบุญ 0 1696 กระทู้ล่าสุด 27 กุมภาพันธ์ 2556 16:16:36
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.329 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 01:47:43