[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 08:23:08 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (1) สื่อมองการชุมนุมอย่างไร การรายงานข่าวก็เป็น  (อ่าน 46 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2566 01:00:05 »

‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (1) สื่อมองการชุมนุมอย่างไร การรายงานข่าวก็เป็นแบบนั้น
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-11-25 22:35</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล : รายงาน</p>
<p>กิตติยา อรอินทร์ : ภาพปก</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>ชวน รีวิว ‘รายงานวิจัย' ที่ศึกษาการทำงานของสื่อมวลชนในการชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่ 5 ครั้ง ตั้งแต่ปี 35 ถึง 64 ซึ่งเผยผลลัพธ์การรายงานข่าวการชุมนุมของสื่อมีส่วนสร้างความชอบธรรมต่อการใช้ความรุนแรง ชี้สื่อมองการชุมนุมเป็นความขัดแย้งมากกว่าเป็นสิทธิ รวมทั้งมีการแปะป้ายผู้ชุมนุมว่าเป็นผู้ร้ายหรือพระเอก </li>
<li>ขณะที่ความรุนแรงทางกายภาพ เชิงโครงสร้าง และเชิงวัฒนธรรม ทำสื่อขาดอิสระ ปิดกั้นการถกเถียงในสังคม และพบประเด็น ‘ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์’ และ ‘มาตรา 112’ ทำให้สื่อต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง</li>
</ul>
</div>
<p>คำว่า ‘สื่อเสี้ยม’ เรามักเห็นได้บ่อยในคอมเม้นต์ข่าวการเมืองบนโซเชียลมีเดียไม่ว่าจากฟากฝั่งไหน จะมากจะน้อยคำนี้กำลังสื่อว่ามีผู้เสพข่าวที่เห็นว่าการทำหน้าที่ของสื่อเป็นตัวการสร้างความแตกแยก ขัดแย้ง หรือแม้กระทั่งความรุนแรง</p>
<p>คำถามที่น่าสนใจคือจริงหรือไม่ที่การทำหน้าที่ของสื่อเป็นปัจจัยหนึ่งของความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้น คำตอบจาก ‘รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การรายงานข่าวการประท้วง: บทบาทของสื่อมวลชนไทยในการชุมนุมและความรุนแรงทางการเมือง’ โดย พรรษาสิริ กุหลาบ ผู้ช่วยศาสตราจารยจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทำการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม เพื่อศึกษาการทำงานของสื่อมวลชนในการชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่ 5 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2535 ถึง 2564 เผยผลลัพธ์ว่าการรายงานข่าวการชุมนุมของสื่อมีส่วนสร้างความชอบธรรมต่อการใช้ความรุนแรง</p>
<p>ทำไม? นี่เป็นสิ่งที่เราจะค่อยๆ หาคำตอบกันในรายงาน ซึ่งแบ่ง 3 ตอน โดยเริ่มจากตอนแรกดังนี้</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50089086818_147947a355_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เมื่อสื่อมองการชุมนุมเป็นความขัดแย้งมากกว่าเป็นสิทธิ</span></h2>
<p>เราคงต้องเริ่มต้นกันที่ว่ามีสิ่งใดส่งผลให้แนวทางการทำข่าวการชุมนุมของสื่อออกมาอย่างที่เห็น พรรษาสิริอธิบายว่ามีอยู่ 4 ข้อ ไล่เรียงตั้งแต่ระดับความคิดจนถึงระดับอุตสาหกรรมสื่อ</p>
<p>ประการแรก วิธีการมองของสื่อหรือกรอบการอนุมาน (inferential framework) ที่มีต่อการชุมนุมก็คือมันเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้ชุมนุมกับรัฐบาล เป็นความรุนแรงเชิงกายภาพจากเหตุปะทะและการสลายการชุมนุมและเป็นการแข่งขันทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ</p>
<p>ในทางกลับกัน การทำความเข้าใจว่าการชุมนุมโดยสงบเป็นสิทธิทางการสื่อสารและสิทธิทางการเมืองของพลเมืองเป็นสิ่งที่ลางเลือน ส่งผลให้การเสนอข่าวการชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากแปรเปลี่ยนเป็นเหตุการณ์แปลกประหลาดและดึงดูดความสนใจ</p>
<p>นอกจากนี้ยังดูเหมือนว่ากรอบดังกล่าวได้กลายเป็นวัฒนธรรมในการรายงานข่าวการชุมนุมไปแล้ว ทำให้สื่อมวลชนเน้นรายงานการแข่งขันระหว่างชนชั้นนำทางการเมืองและสังคม หรือรัฐบาลกับแกนนำการชุมนุมและกลุ่มการเมืองที่สนับสนุนการชุมนุม แต่ละเลยการวิเคราะห์ความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ที่ทำให้คนมาร่วมชุมนุม ละเลยการอธิบายการชุมนุมในฐานะสิทธิทางการสื่อสารและสิทธิทางการเมืองของพลเมือง ละเลยการอภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับแนวคิดสันติวิธีหรือปฏิบัติการที่ไม่ใช้ความรุนแรง รวมถึงละเลยการนำปมความขัดแย้งหรือคำอธิบายที่ท้าทายความคิดหลักในสังคมมาอภิปรายถกเถียงในพื้นที่สาธารณะ</p>
<p>เป็นเหตุให้แม้สื่อมวลชนจะพยายามรายงานเหตุการณ์เฉพาะหน้าอย่างตรงไปตรงมา มีจุดยืนต่อต้านการใช้ความรุนแรงเชิงกายภาพทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ชุมนุม และพยายามสร้างบทสนทนาเพื่อคลี่คลายความขัดแย้ง แต่ก็ไม่สามารถคลี่ปมความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์หรือรายงานประเด็นที่่โต้แย้งต่ออำนาจนำในสังคมได้อย่างเต็มที่ หลายกรณีสื่อกลับสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้ความรุนแรงโดยรัฐ แม้สื่อจะพยายามอธิบายตนเองว่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งก็ตาม</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>ภูมิทัศน์สื่อไทยมีผู้เล่นมากขึ้น จากความนิยม-เข้าถึงดิจิทัล เพิ่มโอกาสช่วงการเมืองเดือด-กระจายอำนาจ</li>
<li>สื่ออิสระไทยเจอปัญหาอะไรในปี 2565 [คลิป]</li>
<li>ภูมิทัศน์สื่อไทยในวิกฤติการเมือง EP.1: โฉมหน้าที่เปลี่ยนไปในสนามข่าวสาร</li>
<li>ภูมิทัศน์สื่อไทยในวิกฤติการเมือง EP.2: ความอยู่รอดของอุตสาหกรรมสื่อไทย</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">การคุกคามและอุตสาหกรรมสื่อกระทบเสรีภาพการสื่อสาร</span></h2>
<p>ประการที่ 2 เมื่อมีการปิดกั้นและคุกคามสิทธิทางการสื่อสาร รวมถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง โดยเฉพาะจากฝ่ายรัฐและผู้สนับสนุนรัฐ อิสระและเสรีภาพสื่อก็จะถูกลิดรอนควบคู่ไปด้วย สื่อจึงเลือกเซ็นเซอร์ตัวเองหรือไม่พูดถึงโดยตรงแทนการวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่อรัฐบาลหรืออำนาจนำ ทั้งในบางกรณีก็ถูกฝ่ายผู้ชุมนุมคุกคามเพราะเห็นว่าสื่อนั้นๆ สนับสนุนฝ่ายตรงข้ามจึงยิ่งทำให้การเสนอข่าวในพื้นที่ชุมนุมยากลำบากขึ้น ยิ่งถ้าเป็นสื่อพลเมืองด้วยแล้วก็ยิ่งเป็นที่จับตาและอาจถูกคุกคามจากรัฐเนื่องจากเห็นว่าสื่อพลเมืองอยู่ฝ่ายผู้ชุมนุม</p>
<p>ประการต่อมา การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมสื่อที่เรียกร้องความรวดเร็วและเม็ดเงินจากการโฆษณาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ทำให้การนำเสนอข่าวการชุมนุมให้น้ำหนักกับเหตุการณ์การปะทะคารมและแข่งขันทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์และการใช้ความรุนแรงเชิงกายภาพ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ขายได้คนทั่วไปสนใจ และเสี่ยงต่อการถูกแทรกแซงโดยรัฐหรือกลุ่มทุนน้อย อีกทั้งการเน้นความเร็วก็ทำให้การตรวจสอบข้อเท็จจริงและการใช้ถ้อยคำหละหลวมจนอาจสร้างความเข้าใจผิดได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้ความรุนแรงและเพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ปฏิบัติงานภาคสนามหากเกิดเหตุปะทะหรือสลายการชุมนุม</p>
<p>ขณะเดียวกัน เพื่อความอยู่รอดองค์กรสื่อจำต้องลดจำนวนบุคลากร ลดอุปกรณ์จำเป็นต่างๆ ในการผลิตข่าวอย่างปลอดภัย และทำให้ขาดการทำความเข้าใจความขัดแย้งในเชิงอุดมการณ์ เหล่านี้จึงเป็นเงื่อนไขและข้อจำกัดที่เพิ่มความเสี่ยงของสื่อมวลชนทั้งในระดับผู้ปฏิบัติงานภาคสนามและระดับกองบรรณาธิการ ขณะที่การขับเคลื่อนด้านสิทธิแรงงานของคนในวงการสื่อก็ขาดความเข้มแข็งและต่อเนื่อง การเรียกร้องสิทธิแรงงานของนักข่าวจึงเต็มไปด้วยอุปสรรค</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://prachatai.com/sites/default/files/cover-picture/ena12boucaconvd.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพการทำงานของสื่อมวลชนขณะเจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามสกัดและสลายการชุมนุม</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สื่อแปะป้ายผู้ชุมนุมว่าเป็นผู้ร้ายหรือพระเอก</span></h2>
<p>ประการสุดท้าย ความเข้าใจต่อการชุมนุมและบทบาทของสื่อก็ผันแปรไปตามการชุมนุมที่มีเป้าหมายและองค์ประกอบของผู้ชุมนุมต่างกัน กล่าวคือในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่ผู้ชุมนุมเห็นว่าไม่มีความชอบธรรม ได้แก่ การชุมนุมในเดือนพฤษภาคม 2535 การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในช่วงปี 2549-2551 และการชุมนุมของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในช่วงปี 2556-2557 สื่อส่วนใหญ่จะแสดงจุดยืนต่อต้านรัฐบาลเช่นเดียวกับผู้ชุมนุม วิพากษ์การกระทำของภาครัฐที่ไม่ชอบธรรม การใช้กำลังสลายผู้ชุมนุม การลิดรอนและละเมิดเสรีภาพสื่อของรัฐบาล ด้วยความเชื่อว่าสื่อต้องร่วมต่อสู้กับเผด็จการและอยู่ข้างประชาชน</p>
<p>ขณะที่การชุมนุมที่มีชุดความคิดท้าทายอำนาจนำในสังคมไทย อย่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ช่วงปี 2552-2553 และการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในช่วงปี 2563-2564 ซึ่งฝ่ายรัฐใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมบ่อยครั้ง กลับพบว่าภาพตัวแทนของการชุมนุมในการรายงานของสื่อกระแสหลักมักเป็นเชิงลบและไม่ตรวจสอบการใช้ความรุนแรงของรัฐมากนัก มีเพียงสื่อทางเลือก องค์กรสื่อออนไลน์ขนาดเล็ก และสื่อพลเมืองพยายามอธิบายเหตุผลและสภาพแวดล้อมที่ผลักดันให้ประชาชนร่วมชุมนุมและเชื่อมโยงกับหลักการประชาธิปไตย ซึ่งก็ต้องแลกด้วยการตกเป็นเป้าการถูกปิดกั้นและคุกคามจากที่รัฐและมวลชนที่สนับสนุนรัฐ</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เมื่อโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลมากขึ้นในการนำเสนอข่าว อย่างการชุมนุมช่วงปี 2563-2564 มีการใช้โซเชียลมีเดียในการเคลื่อนไหวและตั้งคำถามต่อคุณค่าหลักของสังคมอย่างกว้างขวาง บวกกับความจำเป็นต้องหารายได้จากช่องทางออนไลน์ ส่งผลให้สื่อกระแสหลักนำประเด็นของสื่อทางเลือกและสื่อพลเมืองไปรายงานต่อมากขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่าสื่อออนไลน์เป็นช่องทางที่ช่วยทำให้แง่มุมอื่นๆ ของการชุมนุมถูกนำเสนอผ่านสื่อกระแสหลัก แต่ในทางกลับกัน โซเชียลมีเดียก็เป็นพื้นที่แพร่กระจายข้อมูลเท็จหรือบิดเบือนของฝ่ายต่างๆ รวมถึงการคุกคามทางออนไลน์ซึ่งสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้ความรุนแรงได้เช่นกัน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สื่อต้องเตรียมตัวก่อนลงภาคสนาม</span></h2>
<p>จากการศึกษาของพรรษาสิริค้นพบว่าแนวทางการทำงานของสื่อมวลชนในการรายงานการชุมนุมมี 2 ส่วนคือขั้นตอนการเตรียมการรายงานการชุมนุมและการดำเนินงานระหว่างการชุมนุม</p>
<p>ในส่วนแรก สำนักข่าวมักจัดสรรกำลังคนส่วนหนึ่งทำงานภาคสนามเพื่อรายงานการชุมนุมอย่างต่อเนื่องและกระจายงานให้โต๊ะข่าวสายอื่นๆ หาประเด็นต่างๆ จากการชุมนุมมานำเสนอ อย่างไรก็ตาม การชุมนุมทั้ง 4 ครั้งตั้งแต่เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 การชุมนุมของพันธมิตรฯ ปี 2549 และการชุมนุมของ กปปส. ปี 2554 ที่การใช้โซเชียลมีเดียยังไม่มากเท่าเวลานี้ ทำให้การชุมนุมของนักศึกษาและเยาวชนในปี 2563 นักข่าวภาคสนามต้องรับหน้าที่ไลฟ์สดจากพื้นที่ด้วย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50618026262_9416eb534b_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพการทำงานของสื่อมวลชนขณะเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าควบคุมฝูงชน</span></p>
<p>อีกสิ่งหนึ่งที่สื่อต้องก่อนลงภาคสนามคือการเตรียมการด้านความปลอดภัย ประกอบด้วยอุปกรณ์เพื่อรักษาความปลอดภัยในการรายงานภาคสนามซึ่งอุปกรณ์บางอย่างก็มีราคาค่อนข้างสูงและกลายเป็นภาระของนักข่าวเนื่องจากมีน้ำหนักมา สอง-ทักษะในการรายงานสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงและความขัดแย้ง เดิมทีเป็นลักษณะรุ่นพี่สอนรุ่นน้อง แต่หลังจากการชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่มีผู้เสียชีวิต ตั้งแต่นั้นสมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจึงทำปลอกแขนแสดงสัญลักษณ์ว่าเป็นสื่อมวลชนและพิมพ์ ‘คู่มือรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง’ รวมถึงมีการฝึกอบรมภาคปฏิบัติด้วย</p>
<p>จุดนี้มีประเด็นถกเถียงว่าทางสมาคมฯ ปฏิเสธการลงทะเบียนให้ปลอกแขนแก่สื่อพลเมืองและนักศึกษาที่ฝึกผลิตสื่อโดยให้เหตุผลว่า คนกลุ่มนี้ไม่มีประสบการณ์การทำข่าวการชุมนุมและไม่เคยผ่านการอบรม ทำให้สื่ออิสระและสื่อพลเมืองรวมกันตั้งเครือข่ายสมาพันธ์สื่อไทยเพื่อประชาธิปไตยและทำปลอกแขนใส่กันเอง ซึ่งก็ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐแฝงตัวมาเก็บข้อมูลหรือบางครั้งสื่อกลุ่มนี้ก็มีท่าทีเป็นผู้ชุมนุมเสียเองซึ่งสะท้อนความไม่เป็นมืออาชีพ</p>
<p>ในส่วนสุดท้ายของการเตรียมการคือการจัดระบบเครือข่ายนิรภัยในการรายงานจากพื้นที่ เช่น การสลับหมุนเวียนนักข่าว การประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้สื่อข่าวแต่ละจุด อีกเช่นกันการชุมนุมของนักศึกษาและเยาวชนปี 2563 ที่มีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และนัดหมายกันในเวลาสั้นๆ ทั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน (คฝ.) มักเข้าสลายการชุมนุมส่งผลให้สำนักข่าวต้องใช้ระบบ buddy กล่าวคือนักข่าวกับช่างภาพหรือกับนักข่าวอีกคนหนึ่งลงพื้นที่ด้วยกันเพื่อคอยช่วยเหลือดูแลกัน บางองค์กรยังจัดที่พักหลบภัยใกล้พื้นที่ชุมนุมแก่นักข่าวเพื่อให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่องและหลบภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน บางแห่งมีการให้ค่าเสี่ยงภัยแก่นักข่าวเพื่อเป็นแรงจูงใจ</p>
<p>ประการสุดท้ายคือการวิเคราะห์ความขัดแย้งและประเมินความเสี่ยงทั้งภาพรวมและรายวัน โดยอาจดูจากรายงานการปะทะ จำนวนและปฏิกิริยาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร หรือ คฝ. ประเด็นที่ผู้ชุมนุมยกขึ้นมาปราศรัย เป็นต้น องค์กรสื่อบางแห่งยังจัดอบรมเชิงปฏิบัติให้นักข่าวนำแนวคิดการสื่อสารที่ไม่ใช้ความรุนแรง (non-violence communication) มาใช้วิเคราะห์สถานการณ์</p>
<p>ขณะที่สื่ออิสระ สื่อพลเมืองที่ไม่ได้สังกัดองค์กรการจัดการด้านความปลอดภัยและสวัสดิภาพมักเผชิญอุปสรรคมากกว่า โดยเฉพาะต้องรับมือการคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐทั้งในพื้นที่ชุมนุมและส่วนตัวเนื่องจากถูกมองว่าเป็นฝ่ายผู้ชุมนุม</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">‘ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์’ และ ‘มาตรา 112’ ทำให้สื่อต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง</span></h2>
<p>ในส่วนของการดำเนินงานระหว่างรายงานการชุมนุม พรรษาสิริ พบว่านักข่าวภาคสนามจำเป็นต้องประเมินสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ โดยการเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ มีความตื่นตัวตลอดเวลา และมองหาทางหนีทีไล่ในพื้นที่ไว้เสมอหากเกิดความรุนแรงขึ้น นอกจากนี้นักข่าวภาคสนามยังสร้างเครือข่ายทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อประเมินสถานการณ์ร่วมกัน ทั้งยังมีข้อแนะนำว่าควรอยู่ในจุดที่สามารถมองเห็นปฏิกิริยาของผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐได้ ไม่ฝังตัวอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อป้องกันการเข้าใจผิด</p>
<p>นอกจากส่วนของการประเมินสถานการณ์เฉพาะหน้าแล้ว ประเด็นแนวทางการรายงานข่าวก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ แน่นอนว่าในทางจรรยาบรรณของอาชีพจำเป็นต้องรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านแยกออกจากความคิดเห็น ไร้อคติ ขณะเดียวกันรัฐต้องไม่แทรกแซงการทำงานของสื่อ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50184785531_8c5c742eb4_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพอานนท์ นําภา ทนายความและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ขึ้นปราศรัยถึงบทบาทของสถาบันกษัตริย์ที่เกี่ยวกับการเมืองไทย พร้อมเปิดข้อเสนอปฏิรูปสถานบันกษัตริย์ เมื่อวันที่ 3 ส.ค.2563</span></p>
<p>แต่การชุมนุมในปี 2563 ได้ก่อให้เกิดประเด็นสำคัญว่าสื่อควรทำหน้าที่หรือไม่ อย่างไร นั่นก็คือการปราศรัยในประเด็นการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ซึ่งสื่อบางส่วนยอมรับว่าต้องเซ็นเซอร์ตัวเองเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีอาญามาตรา 112 หรือถ้าจะนำเสนอก็กองบรรณาธิการก็ต้องปรึกษากันว่าจะรายงานอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อนักข่าวและองค์กร</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความรุนแรงทางกายภาพ เชิงโครงสร้าง และเชิงวัฒนธรรม ทำสื่อขาดอิสระ ปิดกั้นการถกเถียงในสังคม</span></h2>
<p>ความขัดแย้งทางการเมืองนำไปสู่การชุมนุมจึงเลี่ยงไม่ได้ที่สื่อจะได้รับผลกระทบจากการรายงานข่าวของตน ตรงไปตรงมาที่สุดคือผลกระทบจากความรุนแรงเชิงกายภาพ เช่น ถูกลูกหลงจากการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ชุมนุม ระหว่างผู้ชุมนุมแต่ละฝ่าย หรือถูกผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐคุกคามเสียเอง ถึงกระนั้น การใช้ความรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐนั้นคาดการณ์ได้ยากกว่าจากฝ่ายผู้ชุมนุม โดยเฉพาะทหารที่คาดเดาได้ยากว่าจะใช้ความรุนแรงในระดับใด</p>
<p>แต่ยังมีผลกระทบอีกรูปแบบหนึ่งที่สำคัญ นั่นคือผลกระทบจากความรุนแรงเชิงโครงสร้างและความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่มาจากเจ้าหน้าที่รัฐทั้งในและนอกเครื่องแบบ ซึ่งมักใช้อำนาจและกฎหมายกันสื่อออกจากพื้นที่ชุมนุม คอยถ่ายรูปสื่อในพื้นที่ชุมนุมและตามไปถึงที่พักอาศัยโดยเฉพาะกับสื่อพลเมืองเพื่อต้องการกดดันและความกลัวในการทำหน้าที่สื่อ นอกจากนี้ การประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ยังทำให้เจ้าหน้าที่ได้รับการยกเว้นความรับผิดตาม พ.ร.บ.การรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นการซ้ำเติมวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดให้ฝังลึกในสังคมไทย</p>
<p>การไม่มีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งเพื่อต่อรองกับผู้บริหารและเจ้าของกิจการสื่อในการคุ้มครองสวัสดิภาพและสิทธิแรงงานของผู้ปฏิบัติงานสื่อก็นับเป็นจุดอ่อนสำคัญอีกประการหนึ่ง เพราะด้วยอุตสาหกรรมสื่อในปัจจุบัน เจ้าของสื่อให้ความสนใจต่อรายได้มากกว่าสวัสดิภาพของคนทำงาน ทั้งยังกระทบต่อเสรีภาพในการนำเสนอข่าวและเซ็นเซอร์ตัวเอง เนื่องจากองค์กรสื่อต้องการรักษาสถานภาพเดิมของตนไว้ในฐานะองค์กรธุรกิจและผู้แสดงทางการเมืองที่มีอำนาจต่อรองกับสถาบันอื่นๆ</p>
<p>เป็นผลให้การถกเถียงอภิปรายประเด็นที่เป็นความขัดแย้งในสังคมไม่เปิดกว้างพอ จึงถือเป็นความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่ปิดกั้นสื่อไม่ให้แสดงบทบาทที่ส่งเสริมสิทธิทางการสื่อสารของประชาชนได้เต็มที่</p>
<p>ทั้งหมดนี้ทำให้เห็นว่ามีปัจจัยหลากหลายทั้งที่เกี่ยวกับการทำงานของสื่อโดยตรงและปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ที่แปรเป็นความรุนแรงในระดับต่างๆ ซึ่งลดโอกาสไม่ให้สื่อมวลชนทำงานได้ตามหน้าที่ที่ถูกสังคมคาดหวัง</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพิ
บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - งานวิจัยชี้คนทำงานเป็นกะมีความเสี่ยงด้านความจำและการรับรู้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 190 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 14:19:50
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - รพ.มิตรประชาพร้อมรับส่งต่อผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 167 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2566 11:02:13
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (2) มุ่งรายงาน 'กรอบสันติภาพ-ขัดแย้ง' หรือ 'กร
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 105 กระทู้ล่าสุด 15 ธันวาคม 2566 04:59:45
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (3) อิสระ-ปลอดจากการคุกคามแทรกแซง หัวใจหลัก 'วา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 66 กระทู้ล่าสุด 20 ธันวาคม 2566 20:04:29
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (3) อิสระ-ปลอดจากการคุกคามแทรกแซง หัวใจหลัก 'วา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 87 กระทู้ล่าสุด 20 ธันวาคม 2566 21:36:06
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.722 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 20 กุมภาพันธ์ 2567 11:53:43