[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:20:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีสั่งจิต ป้องกันป่วย ด้วยตัวคุณเอง ( ทันตแพทย์สม สุจีรา )  (อ่าน 2338 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2559 03:21:15 »



วิธีสั่งจิต ป้องกันป่วย ด้วยตัวคุณเอง

"ชีวิตของคนเราประกอบด้วยรูปพรรณ ส่วนของรูปก็คือ กาย ส่วนของนามคือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

จะเห็นได้ว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ขึ้นอยู่กับนามถึง 4 ส่วน ซึ่งในทางพุทธศาสนาเรียกรวมกันว่า “จิต” ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคบอกไว้ว่า จิตและกายเป็นของคู่กัน แยกออกจากกันไม่ได้ เมื่อส่วนหนึ่งในห้าส่วนเสียหาย องค์รวมก็จะแตกสลายไปตามเหตุปัจจัย

จิตแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ จิตสำนึก กับจิตใต้สำนึกซึ่งเทียบได้กับวิถีจิตกับภวังคจิต และจตใต้สำนึกจะมีอิทธิพลต่อชีวิตถึง 90 เปอร์เซ็นต์

หนังสือ เดอะท็อปพาวเวอร์ ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดถึงกลไกการทำงานของจิตใต้สำนึก โดยจิตจะควบคุมร่างกายผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ และระบบฮอร์โมนเป็นสำคัญ แม้สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีจิตสำนึกอย่าเช่น สุนัข สุกร ช้าง ม้า วัว ควาย ก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้ เพราะการกำงานของจิตใต้สำนึก ซึ่งมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

ระบบประสาทอัตโนมัติไม่อยู่ภายใต้อำนาจของจิตสำนึก ดังนั้นจิตใต้สำนึกจะมีอิทธิพลต่อระบบประสาทอัตโนมัติอย่างเต็มที่ และที่สำคัญของมนุษย์มีสองชนิด คือ ระบบประสาทซิมพาเทติก และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

ระบบประสาทซิมพาเทติกจะทำงานเมื่อเรามีอารมณ์เชิงลบตื่นเต้น ตกใจ เตรียมต่อสู้หรือหนี ทำให้หลอดเลือดหดตัว หัวใจเต้นรัว ความดันขึ้นสูง

ส่วนพาราซิมพาเทติกจะทำงานเมื่อเรารู้สึกสงบผ่อนคลาย มีสมาธิ มีอารมณ์เชิงบวก หัวใจเต้นช้าลง หลอดเลือดขยาย ความดันลด เมื่อระบบใดทำงาน อีกระบบจะปิดตัวลง

ฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน อินซูลิน เมลาโทนิน ฯลฯ ซึ่งทำให้เกิดความสุข ความรู้สึกสบาย ถูกกระตุ้นจากระบบประสาทพาราซิมพาเทติก และในทางตรงกันข้าม ฮอร์โมนอะดรีนาลินกลูคากอน คอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียดถูกกระตุ้นโดยระบบประสาทซิมพาเทติก"



คุณหมอสมเป็นทันตแพทย์ ซึ่งถือว่าเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน ท่านมีความสนใจเป็นพิเศษด้าน พระพุทธศาสนา และเมื่อนำทั้งสองศาสตร์มารวมกัน อธิบายปรากฏการณ์ของจิตใจ จึงน่าสนใจ กลายเป็นวิธีป้องกันความเจ็บป่วยได้ทางหนึ่ง

"วิธีการกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติกวิธีหนึ่ง คือการกำหนดยุบหนอ พองหนอ หายใจเข้าท้องพอง หายใจออก ท้องยุบ กระบังลมที่ยกตัวขึ้นลงอย่างช้าๆ ตามจังหวะการหายใจจะกระต้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติกผ่านทางเส้นประสาทเส้นที่ 10 โดยเส้นประสาทเส้นนี้จะวิ่งจากสมองลงล่า ผ่านกระบังลมและเช้าควบคุมอวัยวะภายในเกือบทั้งหมด ซึ่งจะควบคุมอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย คือ หัวใจ ปอด หลอดลด กระเพราะ ลำไส้ ถุงน้ำดี ตับ และตับอ่อน ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย หลอดเลือดขยาย ความดันเลือดลดลง ชีพจรเต้นช้า เกิดภาวะสงบ

เนื่องจากสังเกตการณ์เคลื่อนตัวของกระบังลมขณะหายใจได้ชัดเจนขณะท้องพองเมื่อหายใจเข้า และท้องยุบเมื่อหายใจออก การฝึกวิปัสสนากรรมฐานจึงมีผลพลอยได้คือ การกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติกด้วย ดังนั้นการฝึกกำหนดพองหนอ ยุบหนอ (พองก่อนยุบ) จะได้ผลต่อการกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติกมากกว่าการกำหนดลมหายใจเข้า-ออกที่ปลายจมูก

นอกจากนั้นการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างช้าๆ ก็สามารถกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติก เช่น การเดินจงกรม ฝึกโยคะ ไทเก๊ก วูซู ฤาษีดัดตน ฯลฯ จะทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติและฮอร์โมนฝ่ายบวกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การรำกระบองของชีวจิตจึงทำให้สุขภาพดีขึ้นอย่างได้ผล เนื่องจากท่ารำกระบองได้ผสมผสานส่วนที่ดีที่สุดของท่าจากศาสตร์แขนงต่างๆ ร่วมกับหลักการทางศัลยศาสตร์กระดูกและข้อทางการแพทย์

การนอนหลับก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้จิตใต้สำนึกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะขณะที่หลับ จิตสำนึกจะหยุดทำงาน ทำให้ระบบอัตโนมัติของร่างกายทำงานได้อย่างเต็มที่ มีการหลั่งฮอร์โมนฝ่ายบวกออกมามากมาย เช่น เลปติน เทสทอสเทอโรน โกร๊ธฮอร์โมน เมลาโทนิน ฯลฯ

เลปติน เป็นฮอร์โมนที่ช่วยสลายไขมันและทำให้รูปร่างดี ดังนั้นการนอนหลับให้สนิทก็สามารถลดความอ้วนได้โดยที่ไม่ต้องไปเข้าคอร์สใดๆ เลย เทสทอสเทอโรน ป้องกันโรคหลอดเลือดตีบ กล้ามเนื้อบลีบ โรคเบาหวาน โกร๊ธฮอร์โมน ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและชะลอความชรา ส่วน เมลาโทนิน มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ชะลอริ้วรอยแห่งวัย ต่อสู้หรือป้องกัน โรคมะเร็ง ป้องกันโรคหลอดเลือดอุตัน โรคหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน โรคหัวใจ

การนอนหลับให้สนิทระหว่างเจ็บป่วยจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะขณะหลับ กิเลสตัณหาจะหายไปชั่วขณะ ทำให้จิตใต้สำนึกได้ทำงาน แต่การใช้ยานอนหลับกลับเป็นผลเสีย เพราะยานอนหลับทุกชนิดมีคุณสมบัติกดการทานของสมอง ทำให้จิตไม่สามารถกระตุ้นสมองให้สร้างฮอร์โมนที่จำเป็นได้

เราไม่สามารถใช้จิตสำนึกไปบังคับระบบประสาทอัตโนมัติและฮอร์โมนให้ทำงานตามที่เราต้องการได้ เพราะระบบเหล่านี้ขึ้นอยู่กับจิตใต้สำนึกทั้งหมด แต่มีวิธีการดังที่กล่าวมาแล้วสำหรับการควบคุมระบบอัตโนมัติ

นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆ อีก ได้แก่ การสวดมนต์ นั่งสมาธิ สร้างความเชื่อ ความศรัทธา การควบคุมอารมณ์ ฝึกลดกิเลส ตัณหา การคิดบวก การยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ การออกกำลังกายและการทำงานอดิเรก

สั่งจิตได้ก็ป้องกันความเจ็บป่วยได้ครับ"

จาก http://www.megazy.com/square/Cheewajit

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.273 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 14 ตุลาคม 2567 17:41:26