[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
03 พฤษภาคม 2567 03:56:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ภาพปริศนา ? "พระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก"  (อ่าน 11608 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2553 05:58:35 »

ภาพปริศนา ? "พระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก" ความเข้าใจผิดอันคลาดเคลื่อน
http://board.palungjit.com/showthrea...2445&page=1268




ใครก็ตามที่ผ่านสายตาไปยังหนังสือซึ่งรวบรวมเรียบเรียงเรื่องราวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม มาบ้างแล้ว อย่างน้อยต้องพบภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก

ภาพที่เข้าใจกันว่าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

อันเป็นภาพที่ปรากฏบนหน้าหนังสือเกี่ยวกับอัตโนประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) อยู่บ่อยๆ จนมีบางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนตลอดมา แท้จริงภาพนี้มีการเข้าใจผิดมาอย่างเนิ่นนาน

ในนิตยสาร "ชุมนุมจุฬาฯ" ปีที่ 14 เล่มที่ 3 ฉบับ 23 ตุลาคม พ.ศ.2503 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพนี้ทั้งบรรยายว่า

"พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระปิยมหาราช เมื่อทรงพระเยาว์กำลังทรงพระอักษรกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม

ภาพโดยความเอื้อเฟื้อของ พล.ร.ต.หลวงสุวิชาแพทย์"

หากสังเกตจะพบว่าสมณศักดิ์ของท่านนั้นผิด สมณศักดิ์ของท่านซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิติ" ในปี พ.ศ.2395 ขณะนั้นท่านมีอายุได้ 64 ปีแล้ว

ในปี พ.ศ.2397 ทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระเทพกวี" จนกระทั่งปี พ.ศ.2407 ทรงสถาปนาเป็น "สมเด็จพระพุฒาจารย์"

ขณะเดียวกัน ในคำแถลงจากสาราณียกรของหนังสือ "ชุมนุมจุฬาฯ" ดังกล่าว ก็ว่า "พระบรมฉายาลักษณ์ขององค์สมเด็จพระปิยมหาราชในสมัยยังทรงพระเยาว์อันเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่หาดูได้ยาก อัญเชิญมาประดับเป็นศรีแก่เล่ม เนื่องในวาระสำคัญนี้ด้วย" ยิ่งเสริมความเชื่อเป็นอันมากว่า คือ พระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ครั้งทรงพระเยาว์

แท้จริงภาพนี้มีที่มาในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2524 หน้า 33 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพใบนี้ พร้อมคำอธิบายจาก "นิวัติ กองเพียร" ว่า รูปนี้ไม่ใช่รัชกาลที่ 5 กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ เหตุผลประกอบดังนี้

1. รูปนี้ได้มาจากหนังสือฝรั่งชื่อ "SIAM"

2. พัดรองที่วางพิงผนังอยู่นั้น เป็นพัดที่นิยมทำก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาไม่มีความนิยมในการทำพัดรองอีกเลย

3. ถ้ารูปนั้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์จริง ท่านต้องห่มดองและรัดประคดอก มิใช่อย่างที่เห็นในรูป แม้แต่พระรุ่นเก่าที่วัดระฆังโฆสิตาราม ที่เคยเห็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ก็ยืนยันว่ามิใช่สมเด็จแน่

4. เจ้านายหลายพระองค์ ที่เป็นพระธิดาหรือพระโอรสก็ยืนยันว่า มิใช่พระราชบิดาแน่นอน

หนังสือฝรั่ง "SIAM" ที่ว่า ก็คือ หนังสือชื่อยาวเฟื้อยว่า "TWENTIETH CENTURY IMPRESSION OF SIAM : ITS HISTORY, PEOPLE COMMERCE, INDUSTRIES, AND RESOURCES WITH WHICH IS INCORPORATED AN ABRIDGED EDITION OF TWENTIETH CENTURY IMPRESSIONS OF BRITISH MALAYA"

แปลชื่อเป็นไทยว่า "เรื่องน่ารู้ของสยามในศตวรรษที่ 20 ว่าด้วยประวัติศาสตร์ พลเมือง พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และทรัพยากร รวมเรื่องน่ารู้ของบริติชมลายาในศตวรรษที่ 20 โดยสังเขป" อันเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์จากลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.2452 อันเป็นช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ทั้งยังให้คำอธิบายรูปนี้ไว้ว่า "Buddhist Priest and Disciple"



นอกจากนี้ ในการจัดทำหนังสือเล่มดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระกรุณาประทานภาพส่วนพระองค์ อันเกี่ยวเนื่องกับประเทศสยามให้กับผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ด้วย

อย่างไรก็ตามแต่ ในหนังสือที่ระลึกงานสงกรานต์ชลบุรี ประจำปี พ.ศ.2507 ในเรื่อง "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)" อันเขียนโดย อธึก สวัสดิมงคล ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเป็นภาพที่เข้าใจผิดและคลาดเคลื่อน ดังในหน้า 11 ที่ให้ข้อมูลความเป็นมาของภาพใบนี้จากลายพระหัตถ์หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ว่า

"สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้นไม่ช้าจะเป็นอะไรๆ สักร้อยอย่างเป็นเรื่องหากินทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ใครอยากรู้อะไร ก็นั่งวิปัสสนาเอาได้ ไม่ช้าคงต้องร้อนถึงทางการเข้าเล่นด้วยเป็นแน่ มีผู้เอาภาพพระแก่กับเด็กลูกศิษย์สอนหนังสือกัน ฉันจำได้ว่า "โรเบิร์ต เลนส์" ขอประทานให้เสด็จพ่อทรงช่วยทำโปสการ์ดเผยแพร่เมืองไทย และท่านได้ถ่ายรูปฉันแต่งลาวน่าน หญิงเหลือส่องกระจก พร้อมกับทำรูปนี้ด้วย แต่บัดนี้กลายเป็นรูปสมเด็จโตสอนหนังสือพระพุทธเจ้าหลวง แย่จริงๆ น่ากลัวพงศาวดารจะเลอะเทอะกันใหญ่เสียแล้ว"

สำหรับ โรเบิร์ต เลนส์ เป็นช่างภาพชาวเยอรมัน เจ้าของห้องถ่ายรูปโรเบิร์ต เลสน์ ดำเนินธุรกิจถ่ายรูป เมื่อ พ.ศ.2437 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้เป็นช่างภาพราชสำนักรัชกาลที่ 5

นอกจากนี้ ยังมีผู้กล่าวว่า พระภิกษุในภาพคือ พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งภาพดังกล่าวอาจจะไม่ได้ถ่ายที่ชัยนาท ถ้าหากเป็นหลวงปู่ศุขจริง อาจจะถ่าย ณ ตำหนักเหลืองในวังพลเรือเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ก็เป็นไปได้

ทั้งนี้ เพราะหลวงปู่ศุข จะมาพำนักที่ตำหนักเหลืองเป็นประจำทุกปี เพื่อมาร่วมงานในพิธีไหว้ครูประจำปีของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งทรงเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข

อย่างไรก็ตาม ไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นภาพของหลวงปู่ศุข ทั้งนี้ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล เมื่อครั้งทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ก็มิได้เอ่ยถึงว่าเป็นพระภิกษุรูปใด

.......บทความคัดลอกจาก มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1302

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2553 06:01:08 »

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์


(เปลี่ยนทางมาจาก พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์)

ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือพระนามเดิม พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส หรือ น.ม.ส. ทรงเป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็น พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย ทรงเป็นต้นราชสกุล "รัชนี"

เนื้อหา



1 พระประวัติ
2 พระโอรส-ธิดา
2.1 พระโอรส-ธิดา เรียงตามพระประสูติกาล
3 การสหกรณ์ไทย
4 พระนิพนธ์
5 ราชตระกูล
6 อ้างอิง
 

พระประวัติ

พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสทรงเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระองค์เจ้า ยอดยิ่งยศ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับ เจ้าจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) ธิดานายสุดจินดา (พลอย ชูโต) [1] ประสูติเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๙ ในพระบวรราชวัง มีพระเชษฐภคินีหนึ่งพระองค์ คือ พระองค์เจ้าภัททาวดีศรีราชธิดา (พ.ศ. 2414 - 2442)
เมื่อเยาว์วัยเรียนหนังสือกับมารดาที่ตำหนัก เมื่อชันษา ๕ ขวบ ก็ทรงอ่านหนังสือได้คล่อง ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ และต่อมาศึกษาภาษาอังกฤษจนถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ จึงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายเวร กระทรวงธรรมการ ขณะพระชันษาได้ ๑๖ ปี และได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการใน ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทย ทรงเป็นกรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติพิจารณาความแพ่ง และทรงได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสตามเสด็จด้วย และทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นเวลา ๒ ปี ทรงเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี
พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงย้ายเป็นปลัดกรมธนบัตร และเจริญก้าวหน้าเป็น ผู้แทนเจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมกองที่ปรึกษาอธิบดีกรมประสาปน์สิทธิการ อธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี อธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ทรงจัดตั้งและวางรากฐานกิจการสหกรณ์ จนในที่สุดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองเสนาบดี กระทรวงพาณิชย์
พ.ศ. ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสเป็น องคมนตรี และโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมฯ เป็น กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖
พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ดำรงตำแหน่งอุปนายกกรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับกรมศิลปากร ต่อมาได้เปลี่ยนจากหอสมุดสำหรับพระนครเป็น "ราชบัณฑิตยสภา"
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงโปรดเล่นกีฬาเทนนิส ทรงพระดำริตั้ง ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๐
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน สิริพระชนมายุ ๖๘ ปี ๖ เดือน ๑๓ วัน

พระโอรส-ธิดา


พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงสมรสกับคุณพัฒน์ บุนนาค บุตรีเจ้าพระยาภาศกรวงศ์ และท่านผู้หญิงเปลี่ยน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงมีพระโอรส-ธิดา คือ
หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี
หม่อมเจ้ารัชนีพัฒน์พิทยากรณ์ รัชนี
หม่อมเจ้าศะศิธพัฒนวดี บุนนาค
หม่อมเจ้าจันทร์พัฒน์ รัชนี
ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี (วรวรรณ) พระธิดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ ทรงมีพระโอรส-ธิดา คือ
หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
พระโอรส-ธิดา เรียงตามพระประสูติกาล

หม่อมเจ้าหญิงจันทร์เจริญ (พ.ศ. 2445 - ?)[2]
หม่อมเจ้าหญิงศะศิเพลินพัฒนา
หม่อมเจ้าชายจันทร์จิรายุวัฒน์ (21 ก.ค. 2453 - 29 พ.ย. 2534)
หม่อมเจ้าชายพัฒน์พิทยากรณ์ (หม่อมเจ้าชายรัชนีพัฒน์พิทยาลงกรณ)
หม่อมเจ้าหญิงศะศิธรพัฒนวดี (18 มิ.ย. 2457 - 28 มิ.ย. 2549)
หม่อมเจ้าชายจันทร์พัฒน์โมฬีจุฑาพงศ์ (12 มิ.ย. 2459 - 8 มิ.ย. 2535)
หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี (20 พ.ย. 2463 - 16 ก.พ. 2520)
หม่อมเจ้าชายภีศเดช (20 ม.ค. 2464 - )
หม่อมเจ้าชายจันทรจิรากาล
หม่อมเจ้าชาย
หม่อมเจ้าชายจันทร์จรัส (? - 28 ธ.ค. 2450)

 การสหกรณ์ไทย

 ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้

 พระนิพนธ์


ในด้านงานพระนิพนธ์ ทรงเป็นกวีเอก ในการนิพนธ์ร้อยกรองและร้อยแก้วมากมายหลายเรื่อง ทรงใช้พระนามแฝงว่า "น.ม.ส." ย่อมาจากพระนามเดิม รัชนีแจ่มจรัส มีผลงานตีพิมพ์ ได้แก่
พ.ศ. ๒๔๔๘ - จดหมายจางวางหร่ำ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายเดือน "ทวีปัญญา" ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. ๒๔๕๓ -สืบราชสมบัติ
พ.ศ. ๒๔๕๙ - พระนลคำฉันท์ และ ตลาดเงินตรา
พ.ศ. ๒๔๖๑ - นิทานเวตาล พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมพัฒกร รัชนี
พ.ศ. ๒๔๖๕ - กนกนคร
พ.ศ. ๒๔๖๗ - ความนึกในฤดูหนาว
พ.ศ. ๒๔๖๙ - ปาฐกถา เล่ม ๑ พิมพ์แจกในงานพระราชเพลิงศพ เจ้าจอมมารดาเลี่ยม
พ.ศ. ๒๔๗๒ - ปาฐกถา เล่ม ๒
พ.ศ. ๒๔๗๓ - ประมวญนิทาน น.ม.ส. รวบรวมจากหนังสือ ลักวิทยาและทวีปัญญา
พ.ศ. ๒๔๗๔ - เห่เรือ ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีทรงเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕
พ.ศ. ๒๔๗๓ - กลอนและนักกลอน
พ.ศ. ๒๔๗๔ - คำทำนาย
พ.ศ. ๒๔๗๗ - เครื่องฝึกหัดเยเตลแมนในออกซ์ฟอร์ดและเคมบริดจ์
พ.ศ. ๒๔๘๐ - เสภาสภา
พ.ศ. ๒๔๘๑ - ปฤษาณาเหรันศิก
พ.ศ. ๒๔๘๗ - สามกรุง - พระนิพนธ์สุดท้ายในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ขณะนั้นพระองค์ประชวรพระเนตรมืด ต้องให้ หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต (พระธิดาในกรม) จดตามคำบอก
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2553 06:02:13 »

ที่มา learners.in.th/file/be_sincere/ประวัตินักเศรษฐศาตร์.doc

พระประวัติกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสทรงเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระองค์เจ้า ยอดยิ่งยศ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับ เจ้าจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๙ ในพระบวรราชวัง

เมื่อเยาว์วัยเรียนหนังสือกับมารดาที่ตำหนัก เมื่อชันษา ๕ ขวบ ก็ทรงอ่านหนังสือได้คล่อง ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ และต่อมาศึกษาภาษาอังกฤษจนถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ จึงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายเวร กระทรวงธรรมการ ขณะพระชันษาได้ ๑๖ ปี และได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการใน ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทย ทรงเป็นกรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติพิจารณาความแพ่ง และทรงได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสตามเสด็จด้วย และทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นเวลา ๒ ปี ทรงเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี

พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงย้ายเป็นปลัดกรมธนบัตร และเจริญก้าวหน้าเป็น ผู้แทนเจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมกองที่ปรึกษาอธิบดีกรมประสาปน์สิทธิการ อธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี อธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ทรงจัดตั้งและวางรากฐานกิจการสหกรณ์ จนในที่สุดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองเสนาบดี กระทรวงพาณิชย์

พ.ศ. ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสเป็น องคมนตรี และโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมฯ เป็น กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖>>
พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ดำรงตำแหน่งอุปนายกกรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับกรมศิลปากร ต่อมาได้เปลี่ยนจากหอสมุดสำหรับพระนครเป็น "ราชบัณฑิตยสภา"

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงโปรดเล่นกีฬาเทนนิส ทรงพระดำริตั้ง ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๐
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน สิริพระชนมายุ ๖๘ ปี ๖ เดือน ๑๓ วัน
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2553 06:04:45 »

พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย
http://cu-banna.is.in.th/?md=content&ma=show&id=43



ประวัติการสหกรณ์ในประเทศไทย

การสหกรณ์ในประเทศไทย มีมูลเหตุสืบเนื่องมาจาก เมื่อประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ มากขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ระบบเศรษฐกิจของชนบทก็ค่อยๆ เปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อเลี้ยง ตัวเองมาสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อการค้า ความต้องการเงินทุนในการขยายการผลิตและการครองชีพจึงมีเพิ่มขึ้น ชาวนาที่ไม่มีทุนรอนของตนเองก็หันไปกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง และยังถูกเอาเปรียบจากพ่อค้านายทุนทุกวิถีทางอีกด้วย ชาวนาจึงตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่ตลอดเวลา ทำนาได้ข้าวเท่าใด ก็ต้องขายใช้หนี้เกือบหมด นอกจากนี้การทำนายังคงมีผลผลิตที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ถ้าปีไหนผลผลิตเสียหายก็จะทำให้หนี้สินพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆจนลูกหนี้บางรายต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่นาให้แก่เจ้าหนี้ และกลายเป็นผู้เช่านา หรือเร่ร่อนไม่มีที่ดินทำกินไปในที่สุด

จากสภาพปัญหาความยากจนของชาวนาในสมัยนั้น ทำให้ทางราชการคิดหาวิธีช่วยเหลือ ด้วยการจัดหาเงินทุน มาให้กู้และคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำความคิดนี้ได้เริ่มขึ้นในปลายรัชการที่ 5 โดยกำหนดวิธีการที่จะช่วยชาวนาในด้านเงินทุนไว้ 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 จัดตั้งธนาคารเกษตรเพื่อให้เงินกู้แก่ชาวนา แต่ขัดข้องในเรื่องเงินทุนและหลักประกันเงินกู้ ความคิดนี้จึงระงับไป
วิธีที่ 2 วิธีการสหกรณ์ประเภทหาทุน วิธีนี้เกิดจากรัฐบาลโดยกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในปัจจุบันคือ กระทรวงการคลังได้เชิญเซอร์เบอร์นาร์ด ฮันเตอร์ หัวหน้าธนาคารแห่งมัดราช ประเทศอินเดียเข้ามาสำรวจหาลู่ทางช่วยเหลือชาวนาได้เสนอว่าควรจัดตั้ง "ธนาคารให้กู้ยืมแห่งชาติ" ดำเนินการให้กู้ยืมแก่ราษฎร โดยมีที่ดินและหลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันเพื่อป้องกันมิให้ชาวนาที่กู้ยืมเงินทอดทิ้งที่นาหลบหนี้สิน ส่วนการควบคุมเงินกู้และการเรียกเก็บเงินกู้ ท่านได้แนะนำให้จัดตั้งเป็นสมาคมที่เรียกว่า "โคออเปอราทีฟ โซไซ"(Cooperative Society) โดยมีหลักการร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันซึ่งคำนี้พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณได้ทรงบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทยว่า "สมาคมสหกรณ์" จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยเริ่มศึกษาวิธีการสหกรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2457 แต่ก็ยังมิได้ดำเนินการอย่างไร จนกระทั่งในปี 2458 ได้มีการเปลี่ยนกรมสถิติพยากรณ์ เป็นกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ประกอบด้วยส่วนราชการ 3 ส่วน คือ การพาณิชย์ การสถิติพยากรณ์ และการ สหกรณ์
การจัดตั้งส่วนราชการสหกรณ์นี้ ก็เพื่อจะให้มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นและพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ในฐานะทรงเป็นอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ขณะนั้นได้ทรงพิจารณาเลือกแบบอย่างสหกรณ์เครดิตที่จัดกันอยู่ในต่างประเทศหลายแบบ ในที่สุดก็ทรงเลือกแบบไรฟ์ไฟเซนและทรงยืนยันไว้ใน รายงานสหกรณ์ฉบับแรกว่า "เมื่อได้พิจารณาละเอียดแล้วได้ตกลงเลือกสหกรณ์ชนิดที่เรียกว่าไรฟ์ไฟเซน ซึ่งเกิดขึ้นในเยอรมันก่อน และซึ่งมุ่งหมายที่จะอุปถัมภ์คนจน ผู้ประกอบกสิกรรมย่อมๆ เห็นว่าเป็นสหกรณ์ชนิดที่เหมาะสม ที่สุดสำหรับประเทศไทย" จากการที่พระองค์ท่าน ทรงเป็นผู้บุกเบิกริเริ่มงานสหกรณ์ขึ้นในประเทศไทย บุคคลทั้งหลายในขบวนการสหกรณ์จึงถือว่าพระองค์ทรงเป็น "พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย" สำหรับรูปแบบของไรฟ์ไฟเซนก็คือ สหกรณ์เพื่อการกู้ยืมเงินที่มีขนาดเล็ก สมาชิกจะได้มีความรับผิดชอบร่วมกัน ทำให้สะดวกแก่การควบคุมท้องที่ที่ได้รับการพิจารณาให้จัดตั้งสหกรณ์ คือ จังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากเป็นจังหวัด ที่มีผู้คนไม่หนาแน่นและเป็นราษฎรที่เพิ่งอพยพมาจากทางใต้ จึงต้องการช่วยเหลือผู้อพยพซึ่งประกอบอาชีพการเกษตร ให้ตั้งตัวได้ รวมทั้งเพื่อเป็นการชักจูงราษฎรในจังหวัดอื่นทีมีผู้คนหนาแน่นให้อพยพมาในจังหวัดนี้ และเข้าทำประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มที่ ต่อมากรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ จึงได้ทดลองจัดตั้งสหกรณ์หาทุนขึ้น ณ ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกเป็นแห่งแรกใช้ชื่อว่า "สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้" โดยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 มีพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ พระองค์แรก นับเป็นการเริ่มต้นแห่งการสหกรณ์ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์

ในระยะแรกตั้งสหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้มีสมาชิกจำนวน 16 คน ทุนดำเนินงาน 3,080 บาท ซึ่งเป็นเงิน จากค่าธรรมเนียมแรกเข้า 80 บาท และเงินทุนจำนวน 3,000 บาท ได้อาศัยเงินกู้จากแบงค์สยามกัมมาจล จำกัด ซึ่งก็คือธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน โดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ค้ำประกัน และเสียดอกเบี้ยให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี คิดดอกเบี้ยจากสมาชิกในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี กำหนดให้สมาชิกส่งคืนเงินต้นในปีแรกจำนวน1,300 บาท แต่เมื่อครบกำหนดสมาชิกส่งคืนเงินต้นได้ถึง 1,500 บาท ทั้งส่งดอกเบี้ยได้ครบทุกราย แสดงให้เห็นว่าการนำวิธีการสหกรณ์เข้ามาช่วยแก้ไขความเดือดร้อนของชาวนาได้ผล และจากความสำเร็จของสหกรณ์วัดจันทร์ดังกล่าว รัฐบาลจึงได้คิดขยายกิจการสหกรณ์ไปยังจังหวัดอื่นๆแต่การจัดตั้งสหกรณ์ในระยะแรกนั้น นอกจากจะมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนแล้วยังมีข้อจำกัดในทางกฎหมายด้วย เพราะพระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ. 2459 ทำให้การจัดตั้งสหกรณ์ไม่กว้างขวางพอที่จะขยายสหกรณ์ออกไป หากจะให้การจัดตั้งสหกรณ์เจริญก้าวหน้าและมีความมั่นคงจะต้องออกกฎหมายควบคุมให้มีขอบเขตกว้าง ดังนั้นในเวลาต่อมาทางราชการจึงได้ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ. 2459 แล้วประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471นับเป็นกฎหมายสหกรณ์ฉบับแรก พระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้เปิดโอกาสให้มีการรับจดทะเบียนสหกรณ์ประเภทอื่นๆ จากนั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471อีก 3 ครั้ง นับว่าการประกาศให้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ช่วยให้การจัดตั้งสหกรณ์ได้ขยายออกไปอีกมาก
ปี พ.ศ. 2478 มีการริเริ่มจัดตั้งสหกรณ์เช่าซื้อที่ดินที่จังหวัดปทุมธานีและได้จัดตั้งสหกรณ์ประเภทใหม่ๆ ขึ้นอีกหลายประเภท เช่น สหกรณ์บำรุงที่ดินสหกรณ์ค้าขาย สหกรณ์นิคมฝ้าย สหกรณ์หาทุนและบำรุงที่ดิน ในปี พ.ศ. 2480 ร้านสหกรณ์ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชื่อว่าร้านสหกรณ์บ้านเกาะ จำกัดสินใช้ มีสมาชิกแรกตั้ง279 คน และได้มีการจัดตั้งร้านสหกรณ์ในลักษณะนี้อีกหลายแห่งเพื่อช่วยเหลือ ประชาชนเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ โดยจัดตั้งขึ้น ทั้งในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และส่วนของประชาชน การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย ก็คือการควบสหกรณ์หาทุนเข้าด้วยกัน โดยทางราชการได้ออกพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 เปิดโอกาสให้สหกรณ์หาทุนขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียวควบเข้ากันเป็นขนาดใหญ่ สามารถขยายการดำเนินธุรกิจเป็นแบบอเนกประสงค์ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิก ได้มากกว่า ด้วยเหตุนี้สหกรณ์หาทุนจึงแปรสภาพเป็นสหกรณ์การเกษตรมาจนปัจจุบัน และในปี 2511 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยได้ถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อเป็นสถาบันสำหรับให้การศึกษาแก่สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศ มีหน้าที่ติดต่อประสานงานกับสถาบันสหกรณ์ต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และความช่วยเหลือ ร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์สากลในด้านอื่นๆ ที่มิใช่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจโดยมีสหกรณ์ทุกประเภทป็นสมาชิก ซึ่งประเทศไทยได้กำหนดประเภทสหกรณ์ไว้ 6 ประเภท ตามประกาศกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2516 ประกอบด้วยสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ประมง สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ร้านค้า และสหกรณ์บริการ

ซึ่งนับแต่สหกรณ์ได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ ได้สร้างความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกจนทำให้จำนวนสหกรณ์ จำนวนสมาชิก ปริมาณเงินทุน และผลกำไรของสหกรณ์ เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีสหกรณ์ทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2542 ประมาณ 5,549 สหกรณ์ และสมาชิก 7,835,811 ครอบครัว การสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะ ต่อประชาชนที่ยากจน สหกรณ์จะเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น



ที่มา : กรมส่งเสริมสหกรณ์



http://www.cpd.go.th/ewt/web_cpd/index.html

กระทู้พระวังหน้าฯ หน้า 1277
http://board.palungjit.com/showthrea...=1#post1732587
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2553 06:09:01 »



สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทธสิริ)


สมเด็จพระวันรัต(ทับ พุทธสิริ) วัดโสมนัสวิหารเป็น สมเด็จพระวันรัตองค์ที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่าน เป็นมหาเถระองค์หนึ่งในจำนวนพระมหาเถระ 10 องค์ผู้เป็นต้นวงศ์ธรรมยุติกนิกาย เป็นเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายใต้เป็นพระมหาเถระที่มีความ รู้แตกฉานในพระไตรปิฎก เป็นนักกรรมฐานที่ชอบธุดงค์ เป็นผู้ที่มีปฏิปทามุ่งพระนิพาน และเป็นนักปฏิบัติที่เคร่งครัด ต่อพระธรรมวินัยมากท่านมีอาจารสมบัติที่ประทับใจ น่าเลื่อมใสและเป็นสมเด็จที่ทรงเกียรติคุณควรแก่ การเคารพบูชามากองค์หนึ่งของประเทศไทย 
ชาติภูมิ
             สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร มีนามเดิมว่า ทับ มีฉายาว่า พุทฺธสิริ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2349 ในรัชกาล ที่1 ณ. หมู่บ้านสกัดน้ำมันปากคลองผดุงกรุงเกษม ฝั่งตะวันออก ใกล้วัดเทวราชกุญชร กรุงเทพมหานคร โยมบิดาชื่อ อ่อน ผู้คนนิยมเรียกว่าท่านอาจารย์อ่อน โยมมารดาชื่อคง ท่านเป็นบุตรคนโตในตระกูล นี้ กล่าวกันว่าครอบครัวของท่านเป็นชาวกรุงเก่า แต่เมื่อกรุงศรีอยุธยา เสียแก่พม่าเมื่อพ.ศ. 2310 ก็ได้อพยพเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ

การศึกษาเมื่อปฐมวัย
             ในรัชกาลที่ 2 เมื่อท่านมีอายุ 9 ขวบ ได้เข้าเรียนอักษรสมัยอยู่ที่วัดภคินีนาถแล้วต่อมาได้ เข้าเรียนบาลีโดยเรียนสูตรมูลกัจจายน์ อยู่ที่วัดมหาธาตุ คือได้เรียนบาลีตั้งแต่สมัยที่ยังไม่ได้บวช ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงพอพระราชหฤทัยในตัวท่านจึงทรงให้อุปการะใน การเล่าเรียนศึกษาพระปริยัติธรรม ของท่าน ทรงจัดสอบความรู้ผู้ที่เรียนสูตรเรียนมูลที่วังเนื่องๆ ท่านได้ไปสอบถวาย โปรดทรงประทานรางวัล จึงได้ทรงเมตตาในตัวท่านแต่นั้นมา

การบรรพชาอุปสมบท
             ท่านได้บรรพชาเมื่ออายุเท่าไร ยังไม่ปรากฎหลักฐาน ทราบแต่ว่าท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสังเวชวิศยาราม บางลำภู ครั้นได้ บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว รัชกาลที่3ในสมัยที่ยังดำรง พระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงโปรดให้ท่านไปอยู่ที่วัดราชโอรส อันเป็นวัดที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น ครั้นเมื่ออายุครบอุปสมบทแล้ว คุณโยม ของท่านจึงให้ท่านมาอุปสมบทที่วัดเทวราชกุญชรอันเป็นวัดที่ตั้งอยู่ใกล้ บ้านเดิม ท่านจึงได้อุปสมบทเมื่อปีจอ พ.ศ. 2369 ที่วัดเทวราชกุญชร โดยมีพระ ธรรม วิโรจน์ (เรือง) วัดราชาธิวาส เป็นอุปัชฌาย์ พระพุทธโฆษาจารย์(ขุน) วัดโมกฬีโลกยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระวินัยมุนี(คง) วัดอรุณราชวราราม เป็นพระอนุกรรมวาจาจารย์ เมื่อบวชแล้วก็ได้อยู่ในสำนัก พระธรรมวิโรจน์ที่วัดราชาธิวาส ตั้งแต่นั้นมาท่านได้ไปอยู่และศึกษาเล่า เรียนในสำนักอาจารย์ นพรัตน์ ที่วัดไทรทอง (วัดเบญจบพิตร) บ้าง ที่พระมหาเกื้อวัดชนะสงครามบ้างเนืองๆ

สอบได้เปรียญ 9 ประโยค
             ลุถึงปีวอก พ.ศ. 2379 เมื่อท่านมีพรรษา 11 อายุ 31 ปี ยังเป็นพระอันดับอยู่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะที่ทรงผนวช) เสด็จไปครองวัดบวรนิเวศวิหาร และในสมัยนั้นพระสงฆ์วัดราชาธิวาสมีทั้งพระมหานิกายและพระธรรมยุตอยู่ด้วยกัน แต่อธิบดี สงฆ์เป็นมหานิกายจึงได้โปรดให้ท่านอยู่ครองฝ่ายธรรมยุตที่วัดราชาธิวาส ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหารเรียบร้อยแล้ว จึงโปรดให้ท่านเข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ครั้งแรกท่านแปลได้ถึง ๗ ประโยค แล้วท่านไม่แปลต่อ รอมาอีกระยะหนึ่งจึงเข้าแปลได้อีก ๒ ประโยค รวมเป็น ๙ ประโยค หลังจากท่านเป็นเปรียญ ๙ อยู่ไม่นาน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หั วก็ทรงแต่งตั้งท่านเป็นพระราชาคณะที่พระอริยมุนี และท่านคงอยู่ที่วัดราชาธิวาสต่อมา

เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดโสมนัสวิหาร
              หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลาผนวชและขึ้นครองราชย์ในปี ๒๓๙๔ แล้ว พระองค์ได้ทรงสร้างวัดโสมนัสวิหารขึ้น ด้วยพระราชทรัพย์ของพระนางโสมนัสวัฒนาวดี อัครมเหสีของพระองค์ ได้พระราชทานนามว่า วัดโสมนัสวิหาร โดยทรงวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๖ ทรงสร้างเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชั้นราชวรวิหาร ในเนื้อที่ ๓๑ ไร่เศษ ครั้งสิ่งก่อสร้างสำเร็จลงบ้าง พอเป็นที่อาศัยอยู่จำพรรษา ของภิกษุสามเณรได้บ้างแล้ว ใน พ.ศ. ๒๓๙๙ พระองค์ก็ได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระวันรัต ในสมัยที่ยังเป็นพระอริยมุนี จากวัดราชาธิวาส พร้อมด้วยคณะสงฆ์ประมาณ ๔๐ รูป โดยขบวนแห่ทางเรือ ให้มาอยู่ครองวัดโสมนัสวิหาร ท่านจึงได้เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดนี้ ท่านปกครองวัดโสมนัสวิหารมาจนกระทั่งได้ถึงมรณภาพลงเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๔ 

ที่มา http://www.watsomanas.com/thai/abbot/abbot01.php

.
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
แกนโลกพลิก กลับขั้ว " Pole Shift " ในปี 2012 และการช่วยเหลือจาก UFO
รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
หมีงงในพงหญ้า 1 4919 กระทู้ล่าสุด 18 ธันวาคม 2552 15:28:26
โดย AMM
แกนโลกพลิก กลับขั้ว " Pole Shift " ในปี 2012 และการช่วยเหลือจาก UFO
หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
หมีงงในพงหญ้า 5 11530 กระทู้ล่าสุด 11 มกราคม 2553 09:54:20
โดย BOOGIMAN
"ในหลวง" ทรงขอบใจยื่นจดสิทธิบัตร"ยีนความหอมข้าวไทย"
สุขใจ ห้องสมุด
ไอย 0 2745 กระทู้ล่าสุด 30 ธันวาคม 2552 12:07:44
โดย ไอย
คำเตือน !! "เซ็กส์เสื่อม" ของแถม จาก "ออฟฟิศซินโดรม" (มนุษย์บ้างานระวังให้ดี)
สุขใจ อนามัย
หมีงงในพงหญ้า 1 3770 กระทู้ล่าสุด 13 เมษายน 2553 07:47:53
โดย PETER
หนังสั้น "ราตรีสวัสดิ์" เรียกน้ำตาอีกแล้ว (Shortfile - "GoodNight")
หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
Sweet Jasmine 0 2755 กระทู้ล่าสุด 29 เมษายน 2553 14:49:08
โดย Sweet Jasmine
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.578 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 30 มีนาคม 2567 14:56:25