[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: sometime ที่ 14 พฤษภาคม 2553 13:32:30



หัวข้อ: ปรุงแต่งใจให้เป็นสุข โดย พระพรหมคุณาภรณ์
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 14 พฤษภาคม 2553 13:32:30
(http://image.ohozaa.com/ix/payoto.jpg)

http://www.fungdham.com/download/song/allhits/22.wma




ใช้ความสามารถปรุงแต่งสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ภายนอก
แล้วอย่า ลืมใช้ความสามารถนั้นปรุงแต่งสร้างสรรค์ความสุขภายในด้วย
พระพุทธ ศาสนาเปิดเผยความจริงว่าความสุขมีมากมาย ความสุขมีหลายแบบ ความสุขมีหลายชั้นหลายระดับ
ทั้งความสุขภายนอกภายในทั้งความสุขแบบแบ่งแยกและความสุขแบบประสาน
ทั้งความสุขที่อาศัยวัตถุและไม่อาศัยวัตถุ ทั้งความสุขทางร่างกายและความสุขทางจิตใจ
ทั้งความ - สุขระดับจิตและความสุขระดับปัญญา - ทั้งความสุขแบบมัวเมาติดจมและความสุขแบบโปร่งโล่งผ่องใส



...........ความสุขของ มนุษย์อย่างหนึ่ง คือ ความสามารถในการปรุงแต่งสร้างสรรค์คิดค้นซึ่งสัตว์อื่นไม่มี.......



การที่มนุษย์เจริญขึ้นมามีเทคโนโลยีมีสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ มากมาย ก็เกิดจากความสามารถของมนุษย์
ในการปรุงแต่งสร้างสรรค์นี่แหละ แต่กว่าจะออกมาเป็นวัตถุปรุงแต่งสร้างสรรค์ได้ ต้นเดิมมันมาจากไหน
มันก็มาจากในใจของเราคือใจที่มีสติปัญญา เริ่มด้วยใช้ปัญญาคิดปรุงแต่งข้างใน
แล้วจึงแสดงออกมาเป็นการปรุงแต่งประดิษฐ์วัตถุ สร้างสรรค์วัตถุข้างนอกได้
จนกระทั่งเป็นคอมพิวเตอร์และดาวเทียม ก็เกิดจากความคิดในใจเป็นจุดเริ่ม
ทีนี้ความคิดของเรานี่น่ะ นอกจากปรุงแต่งสร้างสรรค์วัตถุข้างนอกแล้ว
อีกอย่างหนึ่งก็คือปรุงแต่ง สุขปรุงแต่งทุกข์ข้างใน
เราไม่รู้ตัวหรอกว่าเราใช้ความสามารถนี้ตลอด เวลา ด้วยการปรุงแต่งความสุข และปรุงแต่งความทุกข์
จริงไหมว่าที่เรา ทุกข์เราสุขกันนี้ ส่วนมากเป็นสุขและทุกข์ที่เราปรุงแต่งขึ้นเอง ไม่เหมือนกับสัตว์อื่น
สัตว์อื่นนั้นไม่รู้จักความทุกข์ความสุขมาก เหมือนมนุษย์ มันมีความสุขความทุกข์ที่เกิดจากทางกายได้กินอาหาร
ได้หลับนอนพักผ่อนหรือต่อสู้หนีภัยอะไร ๆ ก็ตามประสา
แต่ความสุขความทุกข์ ทางใจที่เกิดจากการคิดปรุงแต่งมันไม่มี เราจะเห็นว่าสัตว์กลุ้มใจไม่เป็น
สัตว์มันเครียดไม่เป็น เครียดได้แต่เรื่องที่สืบเนื่องจากทางกาย ไม่เหมือนมนุษย์
มนุษย์นี้ปรุงแต่งสุขทุกข์ในใจกันมากมายพิสดาร ปรุงแต่งทุกข์ให้กลุ้มให้กังวล ให้เครียดจนกระทั้งเสียจิตไปเลย
สัตว์อื่นปรุงแต่งใจให้เป็นบ้าไม่ได้ แต่มนุษย์ปรุงแต่งจิตใจจนกระทั่งกลายเป็นบ้าไปก็มี
มนุษย์มีความสามารถนี้อยู่มากมายนัก
แต่น่าเสียดายที่มนุษย์ใช้ความสามารถนี้ไปในการปรุงแต่งทุกข์มากกว่าปรุงแต่งสุข
มีอะไรมากระทบตากระทบหู - ไม่สบายใจนิดหน่อยก็เก็บเอามาปรุงแต่งต่อเสียยืดยาวใหญ่โต


หัวข้อ: Re: ปรุงแต่งใจให้เป็นสุข โดย พระพรหมคุณาภรณ์
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 14 พฤษภาคม 2553 13:35:12

(http://i213.photobucket.com/albums/cc234/Corrupted-Sasuke/5GodofWaterandIceSeiryu.jpg)

 (:88:)  (:88:)  (:88:)


หัวข้อ: Re: ปรุงแต่งใจให้เป็นสุข โดย พระพรหมคุณาภรณ์
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 14 พฤษภาคม 2553 13:35:44
(http://image.ohozaa.com/ix/payoto.jpg)



เวลาอยู่ว่าง ๆ แทนที่จะปรุงแต่งสุขก็ปรุงแต่งทุกข์ เอาเรื่องที่ไม่ดีมาวาดเป็นภาพ ทำให้เกิดความรู้สึกกลุ้มใจกังวล
มีความ โกรธเคียดแค้นต่าง ๆ ทำให้มีความทุกข์มากมาย
แสดงว่ามนุษย์ส่วนมากใช้ ความสามารถไม่ถูกทางจึงเป็นโทษแก่ตนเอง
ทีนี้ถ้ามนุษย์ฝึกตัวให้ใช้ความ สามารถนั้นให้ถูก เขาก็จะปรุงแต่งความสุขได้มากมายมหาศาล
ในทางพระพุทธศาสนาท่านแนะนำให้เราปรุงแต่งความสุข ท่านสอนวิธีทำใจหรือฝึกจิตฝึกใจ
และบอกวิธีใช้ปัญญามากมาย อย่างเช่น การบำเพ็ญสมาธิต่างๆ ก็คือวิธีปรุงแต่งจิตใจนั่นเอง
แต่เป็นการปรุงแต่ง ให้เป็นสุขในการมองโลกแม้แต่สิ่งเดียวกัน
ถ้าเรามองไม่เป็นก็เป็นเรื่อง ร้ายเกิดทุกข์ แต่ถ้ามองเป็นก็กลายเป็นดีเกิดสุขได้
ขอเล่าเรื่องพระท่านหนึ่ง ที่เป็นเพื่อนกันตอนเรียนหนังสือที่มหาจุฬาฯ ในวัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์
เวลาชั่วโมงว่างไม่ได้เรียนหนังสือ ท่านจะมองไปที่ท่าพระจันทร์ ซึ่งมีผู้คนเดินผ่านไปผ่านมาขวักไขว่จำนวนมาก
ท่าน มองไปมองมาแล้วก็นั่งหัวเราะ อาตมาก็ถามว่าหัวเราะอะไร ไม่เห็นมีอะไร
ท่านบอกว่า มองไปเห็นผู้คนเดินไปเดินมา ท่าทาง รูปร่างเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าสีสันต่าง ๆ กัน
คนนั้นเดินอย่างนี้ คนนี้เดินอย่างนั้น ดูแล้วขำ ท่านก็เลยหัวเราะ นี่ก็เป็นวิธีมองโลกอย่างหนึ่ง
บางคนมองอะไรก็น่าขำไปทั้งนั้น บางคนมองเห็นอะไรก็รู้สึกขัดหู ดูขัดตาไปทุกอย่าง
บางคนไม่มีอะไรก็นั่ง กังวลไม่สบายใจทุกข์ไปหมด นี้เป็นตัวอย่างง่ายๆ ของการปรุงแต่งจิตใจ
เรา ตั้งท่าทีของจิตใจอย่างไรก็สร้างจิตใจให้เป็นอย่างนั้น สุข-ทุกข์ก็เกิดตามมา
ในชีวิตประจำวันเมื่อทำงานทำการ เราก็มองโลก เราก็มองคนที่พบเห็น มาหาไปหา เช่น
เป็นแพทย์เป็นพยาบาลก็มองคนไข้ไปด้วย เราต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนทั่วไป
กับผู้ร่วมงานเราจะต้องหัดมองให้เป็น อย่ามองในแง่ที่กระทบหูกระทบตา
วิธีมองให้ไม่เกิดโทษมีหลายอย่าง อย่างน้อยก็ควรมองเห็นว่าเป็นประสบการณ์แปลกๆ
ในวันหนึ่ง ๆ เราพบเห็นผู้มีกิริยาอาการต่างๆ มากมาย คนนั้นลักษณะอย่างนั้น คนนี้ลักษณะอย่างนี้
เราก็มองในแง่ที่ว่าเป็นสิ่งที่ได้รู้ได้เห็น เป็นประสบการณ์หลากหลาย เป็นข้อมูลความรู้ อย่าเก็บมาเป็นอารมณ์
เราอาจ จะสบายใจหรือพอใจว่านี่เราได้รู้เห็นรู้จักโลกมากขึ้น โลกเป็นอย่างนี้
เมื่อเราทำใจอย่างนี้ สิ่งที่พบเห็นก็ไม่กระทบหูไม่กระทบตา ไม่กระทบใจ เราก็สบายใจ
แต่ไม่แค่นั้น ยังดีกว่านั้นอีกคือเราได้ความรู้ด้วย


------------------------------------------------------------------------------------------------------------


คัดลอกตัดตอนมาจาก
หนังสือ ทำอย่างไรจะให้งานประสานกับความสุข
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)